swu

8
บทที31 การบริหารจัดการความปลอดภัยและ ความเสี่ยงของคนไข้ Patient safety and risk management วุฒิชัย ธนาพงศธร l แนวคิดเรื่องความปลอดภัยของคนไข้ Patient safety concept l ความเสี่ยงในการผ่าตัดรักษา Surgical risk l เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ Adverse events l ความสัมพันธ์ของระบบงานกับกลไกทำงาน System and mechanism relation l ระบบในการพัฒนาคุณภาพ Quality improvement system l วัฒนธรรมคุณภาพ Quality culture l การบริหารความเสี่ยงในการผ่าตัด Surgical risk management l ความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากคน Unsafe acts l ความเชื่อและความจริงในการแก้ไขเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ Belief and fact in adverse events

Upload: buaby005

Post on 03-Apr-2015

69 views

Category:

Documents


6 download

TRANSCRIPT

บทที3่1การบริหารจัดการความปลอดภัยและ

ความเสี่ยงของคนไข้Patient safety and risk management

วุฒิชัย ธนาพงศธร

l แนวคิดเรื่องความปลอดภัยของคนไข้ Patient safety conceptl ความเสี่ยงในการผ่าตัดรักษา Surgical riskl เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ Adverse eventsl ความสัมพันธ์ของระบบงานกับกลไกทำงาน System and mechanism relationl ระบบในการพัฒนาคุณภาพ Quality improvement systeml วัฒนธรรมคุณภาพ Quality culturel การบริหารความเสี่ยงในการผ่าตัด Surgical risk managementl ความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากคน Unsafe actsl ความเชื่อและความจริงในการแก้ไขเหตุการณ ์ ไม่พึงประสงค์ Belief and fact in adverse events

395วุฒิชัย ธนาพงศธร

การบริหารจัดการความปลอดภัย และความเสี่ยงของคนไข้Patient safety and risk management

แนวคิดเรื่องความปลอดภัยของคนไข้Patient safety concept ในกระบวนการรักษาคนไข้ให้มีคุณภาพนั้น แพทย์ทุกคนจะต้องเริ่มต้นด้วยด้วยกรอบแนวคิดที่ว่า “ First, Do no harm ” ซึ่งหมายถึงว่า ให้พิจารณาความปลอดภัยและความเสี่ยงของคน ไข้เป็นอันดับแรก โดยต้องพิจารณาความเสี่ยงหรือโรคแทรกซ้อน เปรียบเทียบกับผลดีที่ได้จากการรักษาว่าฝั่งใดจะมีน้ำหนักมาก กว่ากัน รวมทั้งต้องอธิบายให้คนไข้หรือญาติคนไข้ได้รับทราบและเข้าใจตรงกัน ความปลอดภัยและความเสี่ยงเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มอง คนละด้าน (ถ้าเสี่ยงมาก-ความปลอดภัยก็น้อย ถ้าเสี่ยงน้อย-ความ ปลอดภัยก็มาก) เปรียบเสมือนเหรียญเดียวกัน ซึ่งต้องมี 2 ด้าน เสมอ ความเสี่ยงของคนไข้ รวมความถึงโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรักษาโรคแทรกซ้อนนี ้ ซึ่งอาจจะรักษาให้หายได้ หรืออาจทำให้เกิดความพิการทุพลภาพ หรืออาจเสียชีวิตได้

แนวทางตัดสินใจในการรักษา แบ่งได้ 3 รูปแบบ รูปแบบ 1. รักษาตามมาตรฐานของโรคนั้น โดยมีเป้าหมาย ให้คนไข้หายจากโรค แต่ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพของทีมงานรักษาและโรงพยาบาลด้วย รูปแบบ 2. รักษาตามสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป และตามสภาพความพร้อมของคนไข้ (พิจารณาจากประโยชน์ใน ภาพรวมที่จะเกิดต่อคนไข้เป็นระยะๆ) รูปแบบ 3. รักษาตามอาการของโรคนั้น ไม่ได้หวังให้คนไข ้

หายจากโรค โดยจะต้องให้การรักษาจิตใจของญาติคนไข้ด้วย (หยุดการรักษาโรคแต่รักษาตามอาการ และรักษาฟื้นฟูสภาพ จิตใจของญาติคนไข้) โดยจะต้องมีการพิจารณาร่วมกันของ ทีมแพทย์ผู้รักษากับคนไข้และญาติคนไข้ เพื่อให้เข้าใจซึ่งกันและเข้าใจตรงกันถึงผลการรักษา ในมุมมองของแพทย์ เมื่อนำคำว่า “ความปลอดภัย” มาใช ้ต้องการเน้นวิธีคิดเชิงบวกในการยอมรับความจริง การให้อภัย การ ไม่กล่าวโทษหรือค้นหาผู้กระทำผิด แต่ต้องการสาเหตุของปัญหาในเชิงระบบ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข เมื่อนำคำว่า “ความเสี่ยง” มาใช้ ต้องการให้มีกระบวนการค้นหาปัญหาในเชิงรุกเป็นการ เตือนสติของแพทย์ก่อนการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น รวมทั้งวางแผนแก้ไขปัญหา ในกรณีที่มีปัญหา เกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ให้รุกลามต่อ ซึ่งแพทย์ ผู้รักษาจะต้องทราบว่า วิธีการรักษานั้นๆ มีโอกาสเกิดอันตราย ต่อคนไข้มากน้อยเท่าไร ในมุมมองของคนไข้ คำว่า ความปลอดภัย ทำให้คนไข้รู้สึก อบอุ่นใจ มั่นใจ เชื่อมั่นในกระบวนการรักษาของแพทย์ว่า วิธ ีการนั้นไม่เป็นอันตรายต่อตนเองแต่คำว่า ความเสี่ยง เป็นมุมมอง ทางลบ ที่รู้สึกว่าตนเองมีโอกาสจะไม่หาย เกิดความพิการ และ เสียชีวิตได้จากกระบวนการรักษาความเสี่ยงในการผ่าตัดรักษาSurgical risk เป็นกระบวนการบริหารจัดการในการค้นหาปัญหาเชิงรุก ที ่

ตารางที่ 1 ความเสี่ยงของคนไข้และผลที่ได้รับจากการรักษา

ความปลอดภัย และความเสี่ยงของคนไข้ศัลยกรรมPatient safety and surgical risk396

ต้องการลดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (Adverse Events - AE) หรือ ความผิดพลาดในการผ่าตัดรักษาคนไข้ (Surgical Error) ในกระบวนการรักษาคนไข้ทั ่วไปที ่นอนในโรงพยาบาล (In-Patient-Department or IPD) จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่ามีจำนวน AE ตั้งแต่ร้อยละ 3.0 – 11.7 (ตารางที่ 2) โดย 50% เป็น AE ที่สามารถป้องกันได้ (ตารางที่ 3) ในกระบวนการรักษาคนไข้นอก (Out-Patient-Department or OPD) เกิด AE 3.7 ครั้ง/100,000 ครั้ง และพบว่าการเกิด AE ของคนไข้ในโรงพยาบาล (IPD) ประมาณ 41.74% เกิดในห้องผ่าตัด การวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่า มี 2 ปัจจัยที่ทำให้เกิด AE โดย วิเคราะห์เป็นกรณีศึกษาเฉพาะในห้องผ่าตัด ดังนี้ 1. ผู ้ปฏิบัติงาน หมายถึง ศัลยแพทย์, วิสัญญีแพทย์, พยาบาลห้องผ่าตัด, เจ้าหน้าที่ประจำห้องผ่าตัด จากการศึกษา สาเหตุของ AE พบว่า >80% เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน โดยมีประเด็นที่พบมากที่สุด คือ การปฏิบัติงานผิดพลาด การตัดสินใจผิดพลาด การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการส่งปรึกษาผิดพลาด 2. ระบบการทำงาน หมายถึง กระบวนการในห้องผ่าตัด ตั้งแต่การเตรียมคนไข้ก่อนผ่าตัด การรับคนไข้มายังห้องผ่าตัด การดมยาสลบ การผ่าตัด การดูแลรักษาหลังผ่าตัด การส่งผู้ป่วย กลับตึกคนไข้ ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสารและการประสานงาน ของบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผ่าตัดรักษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ Adverse eventsลักษณะของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ พบได้ 3 ลักษณะ

ดังนี้ 1. เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อของกระบวนการทำงาน ระหว่าง ระบบ → ระบบ ระบบ → คน คน → ระบบ คน→ คน 2. เกิดขึ้นภายในกระบวนการทำงานของระบบนั้นเอง 3. เกิดขึ้นภายในกระบวนการทำงานของคนนั้นเอง

แผนภูมิที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างระบบงาน คนทำงาน และ ผลงาน

แนวทางแก้ไขปัญหาตามสาเหต ุ 1. แก้ปัญหาที่ตัวบุคคล โดยมีสมมุติฐานว่าระบบการทำงาน นั้นดี ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นที่ตัวบุคคล (ความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ) เช่น อดนอน เหนื่อยล้า หลงลืม เหม่อลอย ไม่ระมัดระวัง ประมาท ชะล่าใจ เป็นต้น แนวคิดนี้เป็นแนวคิดดั่งเดิมที่โทษตัวบุคคลที่เป็นต้นเหตุหรือ สาเหตุว่า เป็นคนที่ทำพลาด และเป็น คนผิด ผู้บริหารส่วนใหญ ่จะใช้วิธีคิดแบบนี้เพราะเป็นการง่ายในการกล่าวโทษ และหาผู ้

ตารางที่ 2 ผลการศึกษาอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ตารางที่ 3 อัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การป้องกัน ความพิการ และการเสียชีวิต

397วุฒิชัย ธนาพงศธร

กระทำผิด เป็นการลงโทษที่คนมากกว่าตัวองค์กร และยังสอด คล้องกับแนวคิดที่ว่า “To Err is Human” โดยมองความผิดพลาด ของคนเป็นสาเหตุ มากกว่าเป็นผลลัพธ์ 2. แก้ปัญหาที่ตัวระบบงาน โดยมีสมมุติฐานว่าระบบไม ่สมบูรณ์ ไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม มีจุดอ่อน มีจุดบกพร่อง รวมทั้งไมม่ีระบบการสื่อสาร และการประสานงานที่ดี เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิด AE ซึ่งเป็นการมองความผิดพลาดของคนที่ทำพลาด นั้นว่า เป็นผลลัพธ์ของระบบมากกว่าเป็นสาเหตุ อธิบายจาก แนวคิด คือ มนุษย์ทำพลาดได้ แม้ว่าจะมีความรู้ความสามารถดีที่ สุดและอยู่ในองค์กรที่มีระบบงานดีที่สุด ดังนั้นถ้ามีความผิดพลาด เกิดขึ้น จึงจะต้องจัดระบบป้องกันไม่ให้บุคคลทำพลาด หรือทำ พลาดน้อยที่สุด เป็นการป้องกันความผิดพลาด จึงไม่ใช่การเปลี่ยน พฤติกรรมของมนุษย์ แต่เป็นการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเป็นเปลี่ยน ระบบงาน เช่น ระบบป้องกัน ระบบเตือนภัย ระบบเฝ้าระวัง ความสัมพันธ์ของระบบงานกับกลไกทำงานSystem and mechanism relation

แผนภูมิที่ 2 ความสัมพันธ์ของระบบงาน กับ กลไกทำงาน (คนปฏิบัติงาน)

ระบบในการพัฒนาคุณภาพQuality improvement system

แผนภูมิที่ 3 วงจรคุณภาพ PDCA (PDCAcycle)

คนทำงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน ซึ่งเป็นทั้งผู้สร้าง

ระบบงาน ทำงานตามระบบ ควบคุมระบบ ตรวจสอบระบบ

ประเมินระบบ และปรับปรุงระบบ

ดังนั้นการลดความผิดพลาด AE ต้องทำทั้งปรับปรุงคุณภาพ

ของคน เราไม่สามารถจะสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดได้ทุก

จุดของกระบวนการเพราะต้องใช้ทรัพยากร และเทคโนโลย ี

จำนวนมาก ซึ่งทำให้ระบบงานมีจำนวนมากเกินที่จะปฏิบัติได้

และไม่สามารถปรับตัวเองให้เหมาะสม คล่องตัว อย่างทันต่อ

เหตุการณ์กับสถานการณ์ รวมทั้งสภาพปัญหาและสาเหตุของ

ปัญหาที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันเราก็ไม่สามารถที่จะปรับปรุง

พัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ โดย ไม่ให้มีความผิดพลาดเลย (ผิดพลาด 0% หรืองานได้อย่างสมบูรณ์ 100% ตลอดเวลา) แม้ว่าคนนั้นจะมีศักยภาพดีที่สุด ในทางทฤษฏี ถ้าต้องการให้มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์จะต้องใช้ค่าจ่าย และทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก ซึ ่งจะเกิดสภาวะล่าช้าใน กระบวนการรักษา เรียกว่าเกิดสภาวะ over consultation, over investigation and over treatment การปรับปรุงเพื่อลด AE ของทางการแพทย์ จึงต้องม ีความสมดุล ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของระบบงานควบคู่กับ ปริมาณและคุณภาพของคนทำงาน ตัวระบบไม่สามารถปรับปรุง ตนเองได้ ต้องอาศัยคนทำงานเป็นผู้ปรับปรุงร่วมกับผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของคนในทุกระดับของการปฏิบัต ิงาน การสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดของคนให้มีจำนวน มากขึ้น จะทำให้มีภาระงานจำนวนมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นระบบป้อง กันความผิดพลาดของคนส่วนน้อย แต่จะสร้างปัญหา และเป็น ภาระให้กับคนส่วนใหญ่ขององค์กรนั้น รวมทั้งต้องใช้ทรัพยากร และค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นด้วย การบริหารความเสี่ยงหรือการบริหารความปลอดภัย จึงม ิใช่การแก้ไขที่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่จะต้องออกแบบระบบที่ลด ความผิดพลาด โดยใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุกดังนี้ 1. จัดระบบป้องกันความผิดพลาด ที่เหมาะสมและสมดุล 2. จัดระบบค้นหาและเฝ้าระวังความผิดพลาดโดยจัดแบ่ง ตามระดับความรุนแรงและความถี่ของโอกาสที่จะเกิดขึ้น 3. จัดระบบที่ช่วยลดความรุนแรง และความเสียหาย ใน กรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วและดูแลรักษาคนไข ้ ผู้ได้รับเหตุจาก AE นั้น วัฒนธรรมของการให้บริการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ได ้ปรับเปลี่ยนจากวัฒนธรรมความเป็นอิสระของปัจเจกบุคคลทาง การแพทย์ ไปสู่วัฒนธรรมที่ยึดการควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด ให้ปฏิบัติ เหมือนกับ ระบบการให้บริการของโรงงานอุตสาหกรรม สายการบิน ดังนั้นจึงต้องใช้การบริหารความเปลี่ยนแปลงในการทำให้เกิดสภาวะที่สมดุล และสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นวัฒนธรรมคุณภาพQuality culture หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมของบุคคลทุกคน (หรือส่วนใหญ่)

ความปลอดภัย และความเสี่ยงของคนไข้ศัลยกรรมPatient safety and surgical risk398

ในสถาบันนั้นแสดงออกมา โดยเป็นปกติวิสัย ไม่เสแสร้ง แสดง ออกมาเป็นประจำ ซึ่งเป็นการแสดงออกที่เป็นอยู่ในบุคลิกภาพ ของคนนั้นๆ ที่ยึดเอาเรื่องคุณภาพเป็นเป้าหมายหลัก เช่น วัฒนธรรม การตรงต่อเวลา วัฒนธรรมการเข้าแถวเรียงคิว วัฒนธรรมการ ทำงานที่มีเป้าหมายของสถาบันเป็นตัวตั้ง วัฒนธรรมการยอมรับผลการทำงานตามสภาพความจริง วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และในกลุ ่มวิชาชีพแพทย์ พยาบาล จะต้องยึดวัฒนธรรม “patient safety” (ความปลอดภัยของคนไข้) เป็นหลักสำคัญการบริหารความเสี่ยงในการผ่าตัดSurgical risk management หลักการที่สำคัญของการบริหารความเสี่ยง 1. ทำให้ทุกคนในองค์กร ยอมรับความจริงของการทำงาน และผลงาน - ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น - ยอมรับว่าทุกคนมีโอกาสที่จะทำงานพลาด - ยอมรับว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข ความผิดพลาด - ยอมรับว่าความผิดพลาดสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยสร้างระบบงานที่ปลอดภัย และปรับปรุงคุณภาพ ของตัวคนที่ปฏิบัติงาน - ยอมรับผลงานจริง ที่ปรากฏไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ 2. ใช้ระบบการรายงานอุบัติการณ์ความผิดพลาดโดยเป็น ความสมัครใจในการสร้างวัฒนธรรมของการบริหารความเสี่ยง 3. สร้างเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงที่ตรงกันใน เรื่องของประโยชน์ที่เกิดขึ้นในองค์กร - คนปฏิบัติงานได้ประโยชน์อะไร ? - โรงพยาบาลได้ประโยชน์อะไร ? - คนไข้ได้ประโยชน์อะไร ? - ประเทศชาติและสังคมได้ประโยชน์อะไร?

การทบทวนกระบวนการผ่าตัดรักษาคนไข้ส่วนใหญ่เป็น ประเมินคนไข้เฉพาะราย จะต้องมีการประเมินในเชิงระบบให ้ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่คนไข้ถูกส่งมายังห้องผ่าตัด จนกระทั่งถูกส่งออกนอกห้องผ่าตัดภายหลังการผ่าตัดเสร็จ โดย พิจารณาสาเหตุของความผิดพลาด ดังนี้ 1. ความผิดพลาด เกิดขึ้นที่ระดับตัวบุคคล เนื่องจากไม่ทำ ตามระบบ (สาเหตุจากคนนั้นเอง)หรือจากระบบป้องกัน ที่ไม่ได้ป้องกันไม่ให้คนทำงานผิดพลาด เช่น ระบบ check list หรือระบบ Double check โดยทีมงาน 2. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยที่คนทำตามระบบทุกประการ แต่ก็ยังเกิดความผิดพลาดขึ้นมา สาเหตุจากระบบการทำ งานไม่ดี ไม่สมบูรณ์ ไม่ชัดเจน และไม่ครอบคลุม

ความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากคน Unsafe acts ความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากคน แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้1. Error (พลาดพลั้ง หรือผิดพลั้ง) เป็นความผิดพลาดโดย ไม่ได้ตั้งใจ อาจเกิดจากความไม่รู้ ไม่มีทักษะ ความเหนื่อยล้า ความไม่พร้อม ไม่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ประเภทของ Error 1. Skilled-based error เกิดจากการทำงานที่ใช้ทักษะ ประจำตัวเดิม ซึ่งใช้อยู่ตลอดเวลา จนเคยชินหรือเป็น อัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีปัญหาใหม่ก็ยังคง ใช้ทักษะเดิม จึงทำให้เกิดผลพลาดขึ้น 2. Ruled-based error เกิดจากการทำงานที่ใช้กฎเกณฑ ์ ระเบียบปฏิบัติเดิมมาใช้ โดยขาดการประยุกต์ใช้ ขาด การปรับปรุงวิธีการระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้กับ การเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาใหม่ๆ 3. Knowledge - based error เกิดจากการทำงานที่ใช้ ความรู้ที่ผิด ความรู้เดิมที่ไม่ทันสมัย ไม่เหมาะสมกับ

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความผิดพลั้งกับการละเมิดกฎ

399วุฒิชัย ธนาพงศธร

ปัญหาที่เกิดขึ้น2. Violation (ตั้งใจละเมิดกฎละเมิดระบบ แหกคอกไม่ย่อม ทำตามแนวทางที่กำหนดไว้) เป็นความผิดพลาดที่ตั้งใจทำให้เกิด ขึ้น หรือตั้งใจไม่ปฏิบัติตามระบบความเชื ่อและความจริงในการแก้ไขเหตุการณ์ไม่ พึงประสงค์ Belief and fact in adverse events Adverse events (AE) ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายในตัวเอง เป็นสิ่ง ที่เป็นปกติ ซึ่งจะมีทั้งผลเสียและผลดีในตัวเอง 1. คนที่ดีที่สุด บางครั้งเป็นผู้ที่สร้างความผิดพลาดที่แย่ที่สุด 2. ความผิดพลาดไม่ได้เกิดแบบสุ่ม แต่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในกระบวนการทำงาน ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน 3. การพัฒนาศักยภาพให้กับผู ้ปฏิบัติงานจะสามารถลด ความผิดในบางลักษณะได้ 3.1 ความรู้ เมื่อมีมากขึ้นจะมีความผิดพลาดลดลง แต ่ ถ้ายังคงใช้ความรู้เก่า/ความรู้ที่ไม่ทันสมัย/ความรู้ ที่ไม่เหมาะสมก็จะมีความผิดพลาดมากขึ้น 3.2 ทักษะ เมื่อมีมากขึ้นจะเกิดความผิดพลาด ลดลง แต่เมื่อมี skill มากถึงระดับหนึ่งจะเกิดสภาพ over confidence ซึ่งจะทำให้เกิดมีความผิดพลาดมาก ขึ้นได้อีก 3.3 กฎระเบียบ ถ้านำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน จะทำให้มีความผิดพลาดลดลง แต่ถ้าไม่รู้จักปรับใช ้ ให้ตรงกับสถานการณ์/ปัญหาจะทำให้เกิดความ ผิดพลาดมากขึ้น

แผนภูมิที่ 4 โอกาสเกิดความผิดพลาดของผลการรักษาตามระยะเวลาของ

ประสบการณ์

4. ความผิดพลาดของศัลยแพทย์ จะต้องเกิดขึ้นอยู่เสมอไม ่ สามารถทำให้หมดไปได้ และความผิดพลาดเป็นสิ่งที ่ เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เราคิดแต่นานๆ ครั้งจึงจะเกิดผลเสียหาย ต่อคนไข้ โดยมีรายงานปรากฏทางเอกสารการแพทย์ 5. การเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล เป็นเรื่องที่จัดการได้

ยากกว่าการจัดการระบบงาน และสิ่งแวดล้อมในการ ทำงาน ตัวอย่าง เช่น - บุคลิกภาพ - ความคิด - ความเชื่อ - ความรับผิดชอบ - การทำงานเป็นทีม - การตัดสินใจ 6. ความผิดพลาดที่เกิดผลเสียหายต่อคนไข้ มักเกิดซ้ำได ้ เสมอในสถานการณ์คล้ายกัน โดยที่อาจจะมีบุคคลหรือ ทีมงานที่เกี่ยวข้องนั้นต่างกัน

การบริหารความเสี่ยงจะต้องอาศัยสภาวะผู้นำต่อไปนี ้ 1. มีความมุ่งมั่นในระบบบริหารความเสี่ยง 2. มีความเข้าใจในธรรมชาติของความเสี่ยง 3. เลือกใช้เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม 4. สร้างทีมงานบริหารความเสี่ยง 5. สร้างบรรยากาศลดการกล่าวโทษตัวบุคคล และการจับ ผิดบุคคล 6. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความปลอดภัย ทั้งของผู้รับ บริการ ผู้ให้บริการหรือทีมงาน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภาย ในและภายนอกโรงพยาบาล 7. ให้ยึดว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการ เรียนรู้ขององค์กรและคนในองค์กร โดยสรุป เป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทุกคนที่จะต้องแสดงให้สังคมและคนไข้ได้เห็นความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบการ ผ่าตัดให้มีความปลอดภัยในลักษณะที่ยั ่งยืนต่อเนื่อง และได ้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์เป็นราย บุคคลแต่ขึ้นอยู่กับระบบความปลอดภัยหรือระบบบริหารความเสี่ยง การจัดระบบงานที ่ป ้องกันการผิดพลาดเพื ่อลดความ ผิดพลาดโดยใช้ swiss cheese model 1. ถ้ามีจำนวนระบบป้องกันมากเกินไปพบว่างานไม่สำเร็จ แต่ไม่ผิดพลาด 2. ถ้ามีจำนวนระบบป้องกันน้อยเกินไปพบว่างานสำเร็จ แต่ผิดพลาดได้ง่าย โดยต้องจัดให้มีความสมดุลของระบบงานและระบบป้องกันความผิดพลาดอย่างเหมาะสม

ความปลอดภัย และความเสี่ยงของคนไข้ศัลยกรรมPatient safety and surgical risk400

Reference

1. Brennan, et al. Incidence of adverse events and

negligence in hospitalized patients : Results of

Harvard medical pratice study I. N Engl J Med

1991; 324: 370-6.

2. Gawande AA, et al. Yhe incidence and nature of

surgical adverse events in Colorado and Utah in

1991. Surg 1999; 126: 66-75.

3. Wilson RM,et al. The quality in Australian health

care study. Med J Aust 1995; 163: 458-71.

4. Vincent C,et al. Adverse events in British

hospitals : Preliminary retrospective record review.

BMJ 2001; 322: 517-9.

5. Fischer G,et al. Adverse events in primary care

identified from a risk-management database. J Fam

Pract 1997; 45: 38-9.

6. Brennan TA, et al. Hospital characteristics associated

with adverse events and substandard care. JAMA

1991; 265: 3265-9.

7. Wilson RM, et al. An analysis of the cause of adverse

events from the quality in Australian health care

study MJA 1999; 17.: 411-5.

8. Patient safety : Concept and practice. สถาบันพัฒนา

และรับรองคุณภาพโรงพยาบาลพิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร,

บริษัท ดีไซร์ จำกัด, 2546: 1-77.

9. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. สถาบัน

พ ัฒนาและร ับรองค ุณภาพโรงพยาบาลพ ิมพ ์คร ั ้ งท ี ่ 5 ,

กรุงเทพมหานคร, บริษัท ดีไซร์ จำกัด, 2543: 2-44.