dspace at silpakorn university: home -...

173
การเปลี่ยนแปลงของคาภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ..2493 และฉบับ ..2554 โดย นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Upload: others

Post on 29-Jan-2021

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • การเปลี่ยนแปลงของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และฉบับ พ.ศ.2554

    โดย นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ

    การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพ่ือการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต

    ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

    ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • การเปลี่ยนแปลงของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และฉบับ พ.ศ.2554

    โดย นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ

    การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพ่ือการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต

    ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

    ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • CHANGE OF COLLOQUIALIN THAI DICTIONARY, THE ROYAL INSTITUTE EDITION, B.E. 2493 AND B.E. 2554

    By

    MRS. Pornthip DEJTIPPRAPAB

    A Master's Report Submitted in partial Fulfillment of Requirements for Master of Arts (Thai for Career Development)

    Department of THAI Graduate School, Silpakorn University

    Academic Year 2017 Copyright of Graduate School, Silpakorn University

  • หัวข้อ การเปลีย่นแปลงของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑติยสถาน พ.ศ.2493 และฉบับ พ.ศ.2554

    โดย พรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ สาขาวิชา ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดับปริญญามหาบณัฑติ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ส าเนียงงาม

    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัศิลปากร ไดร้ับพิจารณาอนุมตัิให้เป็นส่วนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบณัฑิต

    คณบดีบณัฑติวิทยาลัย

    (รองศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์)

    พิจารณาเห็นชอบโดย

    ประธานกรรมการ

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรตัน์ แสงฉัตรแก้ว )

    อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ส าเนียงงาม )

    ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

    (รองศาสตราจารย์ จไุรรัตน์ ลักษณะศริิ )

  • บทคั ดย่อ ภาษาไทย

    56208306 : ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดบัปรญิญามหาบัณฑิต ค าส าคัญ : ภาษาปาก, พจนานกุรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

    นาง พรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ : การเปลี่ยนแปลงของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และฉบับ พ.ศ.2554 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ส าเนียงงาม

    การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค าและ

    ความหมายของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

    ผลการศึกษาการเปลี่ ยนแปลงด้านค าพบว่า มีค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ จ านวน ๑๓๗ ค า ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จ านวน๑,๒๑๖ ค า ซึ่งในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีจ านวนค ามากกว่าฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ จ านวน ๑,๐๗๙ ค า โดยแบ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค าออกเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่ ๑) ค าที่เป็นภาษาปากเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ มีจ านวน ๑๐๒ ค า ๒) ค าที่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับพ.ศ. ๒๕๕๔ มีจ านวน ๒๙ ค า ๓) ค าที่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ.๒๕๕๔ มีจ านวน ๖ ค า ๔) ค าที่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ.๒๕๕๔ มีจ านวน ๓๔๘ ค า และ ๕) ค าที่ไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ปรากฏเป็นค าภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีจ านวน ๗๖๖ ค า ส่วนผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายแบบกว้างออกมากที่สุด รองลงมาคือ แบบแคบเข้า และแบบย้ายที่ตามล าดับ

  • บทคั ดย่อ ภาษาอังกฤษ

    56208306 : Major (Thai for Career Development) Keyword : COLLOQUIAL, THAI DICTIONARY,THE ROYAL INSTITUTE

    MRS. PORNTHIP DEJTIPPRAPAB : CHANGE OF COLLOQUIALIN THAI DICTIONARY, THE ROYAL INSTITUTE EDITION, B.E. 2493 AND B.E. 2554 THESIS ADVISOR : ASSISTANT PROFESSOR SOMCHAI SUMNIENGNGAM, PH.D.

    This independent study aims to analyze colloquial in Thai Dictionary, the Royal Institute edition B.E. 2493 and B.E. 2554 involving change of entries and meanings

    The results show that number of entries in edition B.E. 2493 are 137 entries and in edition B.E. 2554 are 1,216 entries, which number of entries in B.E. 2554 are more than in B.E. 2493 at 1,079 entries. There are 5 changeable characteristics about number of entries: (1 to be colloquial in both editions; 102 entries, (2) to be colloquial in edition B.E. 2493 only; 29 entries, (3) to be colloquial in edition B.E. 2493, not be collected in B.E. 2554; 6 entries, (4) to be colloquial in edition B.E. 2554 only; 348 entries, and (5) to be new entries in edition B.E. 2554; 766 entries. There are 3 changeable clusters about its meanings: (1) restricted meaning, (2) extended meaning, and (3) shifted meaning, which extended meaning is the most, later is restricted meaning and shifted meaning, respectively.

  • กิตติกรรมประกาศ

    กิตติกรรมประกาศ

    การค้นคว้าอิสระเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔” นี้ จะส าเร็จไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความกรุณาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ส าเนียงงาม รับเป็นอาจารย์ผู้ควบคุมการค้นคว้าอิสระ และคอยให้ค าแนะน าตลอดจนให้ก าลังใจอยู่เสมอว่า “คุณท าได้” ขอขอบคุณศาสตราจารย์พิเศษจ านงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต และนางสาววัฒนา อินทรเกษตร ที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งหากไม่ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านทั้งสอง ข้อมูลการวิเคราะห์ในการค้นคว้าอิสระเร่ืองนี้ก็คงจะไม่สมบูรณ์

    ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว ประธานคณะกรรมการสอบ และรองศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ กรรมการสอบ ที่เสียสละเวลามาช่วยให้ค าแนะน าในการแก้ไขและปรับปรุงการค้นคว้าอิสระเล่มนี้จนส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านในภาควิชาภาษาไทยที่ให้ความรู้ ความช่วยเหลือ รวมทั้งให้ก าลังใจแก่ลูกศิษย์คนนี้เสมอมา

    ขอขอบคุณน้องแอ๋ม รุจิเรข กิมประพันธ์ รุ่นพี่ที่คณะอักษรศาสตร์ และรุ่นน้องที่ท างาน ที่คอยให้ความช่วยเหลือและค าแนะน าด้วยดีมาโดยตลอดทั้งในขณะเรียนและขณะท าการค้นคว้าอิสระ ขอขอบคุณน้องเต้ย ปิยะพงศ์ โพธิ์เย็น ที่ช่วยค้นหาหนังสือให้ทุกครั้งที่ขอความช่วยเหลือโดยไม่เคยปริปากบ่น ขอขอบคุณน้องน็อต กนิษฐ์รัตน์ นงค์นวล ที่ช่วยเก็บข้อมูลอย่างแข็งขัน ขอขอบคุณพี่ตุ่ม ชวนพิศ เชาวน์สกุล และน้องนุ่น ศยามล แสงมณี ที่เข้าประชุมเพียงล าพังเวลาที่ลาไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาหรือลาไปท างานส่งอาจารย์ ขอขอบคุณอาจารย์ในส านักงานราชบัณฑิตยสภา พี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ในกองศิลปกรรมทุกคน โดยเฉพาะพี่พัช พัชนะ บุญประดิษฐ์ ที่คอยให้ก าลังใจและสอบถามเรื่องเรียนอยู่เสมอ เสมือนเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้ศึกษาตระหนักว่ายังมีอีกภาระหนึ่งที่ต้องท าให้ส าเร็จรออยู่

    ท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณครอบครัวซึ่งเป็นแรงผลักดันและเป็นก าลังใจส าคัญที่ท าให้ผู้ศึกษามีความมุมานะและความพยายามจนส าเร็จการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตในวันนี้

    พรทิพย์ เดชทิพยป์ระภาพ

  • สารบัญ

    หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ............................................................................................................................. ง

    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ....................................................................................................................... จ

    กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................................. ฉ

    สารบัญ .............................................................................................................................................. ช

    บทที่ ๑ บทน า ................................................................................................................................... ๑

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ....................................................................................... ๑

    วัตถุประสงค์ของการศึกษา ........................................................................................................... ๖

    สมมติฐานของการศึกษา ............................................................................................................... ๗

    ขอบเขตของการศึกษา .................................................................................................................. ๗

    ข้อตกลงเบื้องต้น ........................................................................................................................... ๗

    วิธีด าเนินการศึกษา ....................................................................................................................... ๘

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ............................................................................................................ ๙

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................. ๑๐

    บทที่ ๒ การจัดท าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .................................................................. ๒๕

    ๒.๑ ความส าคัญของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ......................................................... ๒๕

    ๒.๒ การด าเนินงานจัดท าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .................................................. ๒๗

    ๒.๓ หลักเกณฑ์การจัดท าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .................................................. ๓๖

    ๒.๓.๑ การเก็บค า ............................................................................................................... ๓๖

    ๒.๓.๒ อักขรวิธ ี.................................................................................................................. ๓๖

    ๒.๓.๓ การบอกเสียงอ่าน ................................................................................................... ๓๘

    ๒.๓.๔ ความหมาย ............................................................................................................. ๓๘

  • ๒.๓.๕ ประวัติของค า ......................................................................................................... ๓๘

    ๒.๔ ส่วนประกอบของศัพท์ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ........................................... ๓๙

    ๒.๔.๑ ศัพท์หลักหรือแม่ค า ................................................................................................ ๓๙

    ๒.๔.๒ ศัพท์รองหรือลูกค า .................................................................................................. ๓๙

    ๒.๔.๓ ค าอ่าน .................................................................................................................... ๓๙

    ๒.๔.๔ ลักษณะของค าที่ใช้เฉพาะแห่ง ................................................................................ ๓๙

    ๒.๔.๕ ชนิดของค าตามหลักไวยากรณ์ ................................................................................ ๔๐

    ๒.๔.๖ บทนิยาม ................................................................................................................. ๔๑

    ๒.๔.๗ ตวัอย่างการใช้ค า .................................................................................................... ๔๑

    ๒.๔.๘ ที่มาของค า .............................................................................................................. ๔๑

    ๒.๔.๙ ค าท่ีอ้างอิงถึงกัน ..................................................................................................... ๔๑

    บทที่ ๓ การเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค า ......................................................................................... ๔๒

    ๓.๑ ค าท่ีเป็นภาษาปากเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ ............................................................................ ๔๓

    ๓.๒ ค าท่ีเป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ............. ๕๓

    ๓.๓ ค าท่ีเป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ........................ ๖๒

    ๓.๔ ค าท่ีไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ............. ๖๗

    ๓.๕ ค าท่ีไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ปรากฏเป็นค าภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ........ ๗๙

    บทที่ ๔ การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย ....................................................................................... ๙๖

    ๔.๑ ค าท่ีเป็นภาษาปากเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ ............................................................................ ๙๗

    ๔.๑.๑ ความหมายแคบเข้า ................................................................................................. ๙๗

    ๔.๑.๒ ความหมายกว้างออก ........................................................................................... ๑๐๑

    ๔.๑.๓ ความหมายย้ายที่ ................................................................................................. ๑๐๕

    ๔.๒ ค าท่ีเป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ .......... ๑๐๗

    ๔.๒.๑ ความหมายแคบเข้า .............................................................................................. ๑๐๗

  • ๔.๒.๒ ความหมายกว้างออก ........................................................................................... ๑๑๒

    ๔.๒.๓ ความหมายย้ายที่ ................................................................................................. ๑๑๒

    ๔.๓ ค าท่ีไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ .......... ๑๑๓

    ๔.๓.๑ ความหมายแคบเข้า .............................................................................................. ๑๑๔

    ๔.๓.๒ ความหมายกว้างออก ........................................................................................... ๑๑๗

    ๔.๓.๓ ความหมายย้ายที่ ................................................................................................. ๑๓๘

    บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ................................................................................ ๑๕๐

    สรุปผลการศึกษา .................................................................................................................... ๑๕๐

    อภิปรายผล ............................................................................................................................. ๑๕๑

    ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................................... ๑๕๕

    รายการอ้างอิง ............................................................................................................................. ๑๕๘

    ประวัติผู้เขียน .............................................................................................................................. ๑๖๓

  • บทที่ ๑ บทน า

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    พจนานุกรมเป็นหนังสือที่รวบรวมค าที่มีใช้อยู่ในภาษานั้น ๆ มีการเรียงค าตามล าดับ

    ตัวอักษร และให้ความรู้เกี่ยวกับการสะกดค า การออกเสียง ความหมาย ขอบเขตการใช้ ตลอดจน

    ประวัติความเป็นมาของค า ฯลฯ พจนานุกรมที่เป็นแบบมาตรฐานส าหรับใช้เขียนหนังสือไทยให้เป็น

    ระบบเดียวกัน คือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ดังกล่าวไว้ในค าน าพจนานุกรม ฉบับราช-

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่อง

    ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ (ราชบัณฑิตยสถาน,

    ๒๕๕๖: ก) ว่า

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นหนังสืออ้างอิงที่มีความส าคัญ เพราะได้

    ประมวลค าทั้งหมดที่ใช้อยู่ในภาษาไทย ให้ค าอ่าน ความหมาย ตลอดจนที่มาของค า

    และเป็นพจนานุกรมที่มีประกาศส านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด

    ก าหนดให้บรรดาหนังสือราชการ และการศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนให้ใช้ตัวสะกด

    ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้ เพื่อให้การเขียนหนังสือไทยมี

    มาตรฐานลงรูปลงรอยเดียวกันไม่ลักลั่น ซึ่งจะก่อให้เกิดเอกภาพในด้านภาษาอันเป็น

    วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติส่วนหนึ่ง

  • อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่พิมพ์เผยแพร่แต่ละครั้ง

    จะพยายามรวบรวมค าที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

    ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในค าน าพจนานุกรม ฉบับราช-

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อพิมพ์ครั้งที่ ๒ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๒๔) ว่า

    ในการตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นครั้งที่สองนี้ ไม่ได้แก้ไข

    เพิ่มเติมอะไรมาก คงตีพิมพ์ไปตามเดิม นอกจากเติมค าที่ตกหล่นเมื่อคราวตีพิมพ์ครั้ง

    ที่หนึ่งลงไปค าหนึ่งคือ “ธรรมเนียม” และแก้ค าผิดบางค าที่หลงตาไป ให้ถูกต้อง ทั้งนี้

    มิได้หมายความว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สมบูรณ์จนไม่มีอะไรที่จะต้อง

    แก้ไข หากแต่ว่ายังไม่พร้อมที่จะแก้ไขในขณะนี้ เพราะภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าภาษา

    อะไร ย่อมไม่หยุดอยู่กับที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

    ด้วยเหตุนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพ่ิมเติมให้

    สมบูรณ์และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ดังกล่าวไว้ในค าน าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

    ๒๕๒๕ เมื่อพิมพ์ครั้งที่ ๑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๘: ญ) ว่า

    ราชบัณฑิตยสถานตระหนักดีว่าภาษาย่อมมีเกิด เสื่อม และดับไปเช่นเดียวกับ

    บุคคลผู้เป็นเจ้าของภาษา ส่วนความหมายของค าในภาษานั้นเล่าก็ตกอยู่ในลักษณะ

    เช่นนั้น บางทีก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและบางทีก็มีค าใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพราะ

    ฉะนั้นหนังสือพจนานุกรมจึงควรที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และทันสมัย

    อยู่เสมอ อย่างน้อยก็ ๑๐ ปีคร้ังหนึ่ง หรืออย่างมากก็ไม่ควรเกิน ๒๐ ปี

  • โดยมีหลักการในการท าพจนานุกรมซึ่งกล่าวไว้ในค าน าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

    ๒๔๙๓ เมื่อพิมพ์ครั้งที่ ๑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖: ป) ว่า

    เมื่อพูดตามหลักการท าพจนานุกรม ย่อมเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า หนังสือ

    พจนานุกรมภาษาใด จะต้องรวบรวมค าทั้งหมดที่มีใช้อยู่ในภาษานั้น ตลอดจน

    ให้ความรู้ในเรื่องอักขรวิธี, การบอกเสียงอ่าน, ความหมาย และประวัติของค า

    เพราะฉะนั้นในการท าพจนานุกรมนี้ คณะกรรมการจึงยึดหลักการดั่งกล่าวเท่าที่

    สามารถจะยึดได้.

    ในเรื่องค านั้น ถือกันเป็นหลักว่า พจนานุกรมเป็นที่รวมค าที่มีใช้อยู่ในภาษา

    ดุจทะเบียนส ามะโนครัวซึ่งเป็นที่รวบรวมจ านวนพลเมืองของชาติ ฉะนั้น ถ้าผู้ท า

    พจนานุกรมเก็บค าที่ใช้อยู่ไม่หมดก็ดีหรือเก็บค าที่ไม่มีที่ใช้เข้ามาไว้ก็ดี ย่อมเป็นเหตุ

    ให้จ านวนค าผิดพลาด ท าให้สถิติของค าที่ใช้ในภาษาเสียไป เฉพาะหลักข้อนี้อาจมี

    ข้อบกพร่องได้ แต่กระนั้นก็ดี คณะกรรมการก็ได้พยายามที่จะให้พจนานุกรมนี้บรรจุ

    ค าที่ยุติแล้วซึ่งมีใช้ในภาษาไทยมากที่สุดเท่าที่จะท าได้.

    ดังนั้น หากจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษา พจนานุกรมจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด

    แหล่งหนึ่ง เพราะพจนานุกรมได้รวบรวมค าต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในภาษาไว้จ านวนมาก เช่น ค าโบราณ

    ค าที่ใช้ในบทกลอน ค าราชาศัพท์ ค าภาษาถิ่น ค าที่ใช้ในกฎหมาย ค าที่ใช้ ในวงการทูต ค าที่ใช้ใน

    วงการเมือง ค าที่ใช้ในการเกษตรกรรม ค าที่เป็นส านวน ค าที่เลิกใช้แล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ค าภาษาปาก

    รวมอยู่ด้วย มีผู้ให้ความหมายและอธิบายลักษณะของภาษาปากหรือภาษาพูดไว้ ดังต่อไปนี้

  • อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (๒๕๓๒: ๗๓-๗๔) ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษาพูดไว้ว่า “รูปแบบของ

    ภาษาที่มีลักษณะเหมือนภาษาที่ใช้สื่อสารโดยการพูดเป็นส่วนใหญ่ ภาษาพูดไม่จ าเป็นต้องสื่อสาร

    ด้วยการพูดเสมอไป อาจสื่อสารด้วยการเขียนก็ได้ เช่น ภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายส่วนตัว

    การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนข่าวสังคม อาจกล่าวได้ว่า ภาษาพูดก็คือภาษาที่มีรูปแบบเหมือน

    ภาษาไม่เป็นทางการ”

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖: ๘๖๙)

    ได้ให้ความหมายของภาษาปากไว้ว่า “ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง

    เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ าเทท่า”

    สมชาย ส าเนียงงาม (๒๕๕๖: ๑๑) ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษาปากไว้ว่า “เป็นภาษาระดับ

    กันเองที่ใช้ถ้อยค าระดับต่ า ใช้ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ค านึงถึงหลักไวยากรณ์ มักมีค าสแลง ค าตัด

    หรือแม้กระทั่งค าหยาบปะปนอยู่ด้วย มักใช้ในการสนทนากับบุคคลที่สนิทสนมกันอย่างมาก เช่น

    บุคคลในครอบครัว เพ่ือนสนิท ในสถานการณ์ที่ต้องการความสนุกสนาน ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว

    หรือในการด่ากัน”

    ศิริพร รังสี (๒๕๕๖) ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษาปากไว้ว่า “เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารอย่าง

    ไม่เป็นทางการทั้งการพูดและการเขียน มีลักษณะการใช้ค าศัพท์ รูปแบบประโยคหรือวลี ความหมาย

    ของค าแตกต่างจากภาษาที่เป็นแบบแผน การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษา

    มาตรฐานของภาษาหลักนั้น เมื่อใช้นานไปจนเป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไป อาจกลายเป็นมาตรฐาน

    ย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้น จนไม่เป็น “ภาษาปาก” อีกต่อไป ภาษา

    ปากแม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จ าเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะ

    ของการใช้ภาษาท่ีสะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง”

  • ค าอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของภาษาปากดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าภาษาปากจัดอยู่

    ในระดับภาษาไม่เป็นทางการ ดังที่ วัลยา ช้างขวัญยืน (๒๕๔๗: ๑๐-๑๑) ได้กล่าวไว้ว่า “ภาษาแบ่ง

    ออกเป็น ๒ ระดับ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและภาษาแบบไม่เป็นทางการ ภาษาแบบเป็นทางการ

    คือ ภาษาที่ใช้ในโอกาสส าคัญ ๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานพระราชพิธี และในโอกาสส าคัญที่เป็น

    ทางการ เช่น การกล่าวค าปราศรัย แบ่งเป็น ๑. ภาษาระดับพิธีการ และ ๒. ภาษาระดับมาตรฐาน

    ราชการ ส่วนภาษาแบบไม่เป็นทางการ คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจ าวัน แบ่งเป็น

    ๑. ภาษาระดับกึ่งทางการ ๒. ภาษาระดับสนทนา และ ๓. ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก ซึ่งเป็น

    ภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมาก ๆ เช่น ในหมู่เพ่ือน ในครอบครัว และมักใช้พูดกัน

    ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง เป็นต้น ลักษณะภาษาระดับ

    กันเองหรือภาษาปากนี้มีค าตัด ค าสแลง ค าต่ า ค าหยาบปะปนอยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียน

    ทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย ข่าวกีฬา”

    ส่วน นัททวัญ ลาชโรจน์ (๒๕๓๗: ๑-๕) กล่าวว่า “ภาษาแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑. ภาษาทางการหรือภาษาแบบแผน ๒. ภาษากึ่งทางการหรือภาษากึ่งแบบแผน และ ๓. ภาษา

    ไม่เป็นทางการหรือภาษาปากซึ่งเป็นภาษาระดับต่ าสุด ใช้สนทนากับบุคคลที่สนิทกันมาก ๆ เช่น

    ในกลุ่มเพ่ือน ในครอบครัว หรือในหมู่คนที่อยู่ในวงการเดียวกัน เช่น วงการกีฬา ไม่ใช้ในการพูดกับ

    คนแปลกหน้าหรือกับผู้ที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน”

    อาจสรุปได้ว่า ภาษาปากเป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ ใช้พูดกับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย

    กัน เพราะอาจมีค าหยาบ ค าสแลง ค าตัด หรือค าย่อที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มปะปนอยู่ ไม่เหมาะที่

    จะน าไปใช้สื่อสารในบริบทที่เป็นทางการ แต่ที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นแบบ

    มาตรฐานส าหรับใช้เขียนหนังสือไทย ได้รวบรวมค าภาษาปากไว้ตั้งแต่พจนานุกรมฉบับแรก คือ ฉบับ

  • พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น เป็นเพราะตามหลักการ

    ท าพจนานุกรมจะต้องรวบรวมค าที่มีใช้อยู่ในภาษาไว้ทั้งหมด เพ่ือไม่ให้ตัวเลขของค าที่ใช้ในภาษา

    เสียไป ภาษาปากก็เป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้ใช้และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งด้านจ านวนค า

    และความหมาย จึงน่าสนใจที่จะศึกษา และจากการสังเกตในเบื้องต้นพบว่ามีค าภาษาปากบางค า

    ที่เคยปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ สูญไป และมีค าภาษาปากที่ปรากฏ

    ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพ่ิมจ านวนมากขึ้น ตลอดจนมีค าภาษาปาก

    บางค าท่ีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

    การเปลี่ยนแปลงที่พบในเบื้องต้นนี้ท าให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้าน

    จ านวนค าและความหมายของค าภาษาปากที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

    ๒๔๙๓ และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพ่ือให้เห็นความแตกต่างของค าภาษา

    ปากในแต่ละสมัยให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจาก “การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษาใดภาษาหนึ่ง

    ในระยะเวลาที่ต่างกัน จะพบความแตกต่างของภาษาในสมัยนั้นได้” (จิระพรรณ ดีพลงาม, ๒๕๔๑:

    ๑๓)

    วัตถุประสงค์ของการศึกษา

    ๑. เพ่ือศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย-

    สถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

    ๒. เพ่ือศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราช-

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

  • สมมติฐานของการศึกษา

    ๑. ค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีจ านวนมากกว่า

    ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

    ๒. การเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของค าภาษาปากท่ีพบมากท่ีสุด คือ การเปลี่ยนแปลง

    ความหมายแบบกว้างออก

    ขอบเขตของการศึกษา

    ศึกษาและวิเคราะห์ค าภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

    และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉพาะค าที่มีวงเล็บปาก “(ปาก)” หน้าบท

    นิยาม และค าที่อยู่ท้ายค าว่า “ภาษาปากว่า”, “ภาษาปากใช้ว่า” และ “ภาษาปากเรียกว่า” เท่านั้น

    โดยศึกษาท้ังค าทีเ่ป็นศัพท์หลักและศัพท์รอง

    ข้อตกลงเบื้องต้น

    ๑. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ หมายถึง พจนานุกรม ฉบับราช-

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๔

    ๒. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง พจนานุกรม ฉบับราช-

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๖

    ๓. การนับจ านวนค าที่เป็นภาษาปากในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

    และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จะนับทุกค า แม้ว่าจะปรากฏเป็นค าตั้งคู่กัน

    ก็ตาม ตัวอย่าง ขี้ไซ้, ขี้ซ้าย จะนับเป็น ๒ ค า

  • ๔. การพิมพ์ตัวสะกด วรรคตอน และเครื่องหมายวรรคตอนของข้อความที่ยกมาอ้างอิง

    หรือเป็นตัวอย่างจะยึดตามอักขรวิธีที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และเอกสารต้นฉบับอื่น ๆ ที่ผู้ศึกษาใช้อ้างอิง

    วิธีด าเนินการศึกษา

    ๑. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง

    ๒. รวบรวมค าภาษาปากที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

    และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉพาะที่มีวงเล็บปาก “(ปาก)” หน้าบทนิยาม

    และที่อยู่ท้ายค าว่า “ภาษาปากว่า”, “ภาษาปากใช้ว่า” และ “ภาษาปากเรียกว่า” เพ่ือวิเคราะห์การ

    เปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค า

    ๓. น าค าภาษาปากจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และพจนา-

    นุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มาเปรียบเทียบกัน โดยจ าแนกเป็น ๕ ลักษณะ เพ่ือน า

    ค าท่ีปรากฏในพจนานุกรมท้ัง ๒ ฉบับดังกล่าวมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค า ดังนี้

    ๓.๑ ค าท่ีเป็นภาษาปากเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ

    ๓.๒ ค าท่ีเป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔

    ๓.๓ ค าที่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔

    ลักษณะนี้เป็นการสูญค า

    ๓.๔ ค าท่ีไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔

    ๓.๕ ค าที่ไม่ปรากฏในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ปรากฏเป็นค าภาษาปากในฉบับ พ.ศ.

    ๒๕๕๔ ลักษณะนี้เป็นการเพิ่มค าใหม่

  • ๔. น าค าในข้อ ๓.๑ คือ ค าที่เป็นภาษาปากเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ ข้อ ๓.๒ คือ ค าที่เป็น

    ภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ไม่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ และข้อ ๓.๔ คือ ค าที่ไม่เป็น

    ภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่เป็นภาษาปากในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ มาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง

    ด้านความหมายโดยจ าแนกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

    ๔.๑ การเปลี่ยนแปลงความหมายแบบกว้างออก

    ๔.๒ การเปลี่ยนแปลงความหมายแบบแคบเข้า

    ๔.๓ การเปลี่ยนแปลงความหมายแบบย้ายที่

    ๕. วิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค าและความหมายของค าภาษาปาก

    ที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย-

    สถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จากข้อมูลที่พบและจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการจัดท า

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

    ๖. สรุปและอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า

    ๗. เรียบเรียงและน าเสนอในรูปแบบการค้นคว้าอิสระ

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. เพ่ือให้ทราบถึงลักษณะและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงด้านจ านวนค าและความหมาย

    ของค าภาษาปากที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

    ๒. เพ่ือเสนอเป็นข้อคิดเห็นในการเก็บรวบรวมค าภาษาปากของคณะกรรมการช าระ

    พจนานุกรมในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป

  • ๑๐

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    ๑. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาษา

    พระยาอนุมานราชธน (๒๕๑๔: ๑๖๒-๑๖๓) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษาไว้

    สรุปไดด้ังนี้

    ภาษาก็เหมือนสิ่งทั้งหลายในธรรมชาติ คือ จะอยู่คงที่ไม่มีเปลี่ยนแปลงเลยหามีไม่

    ถ้าไม่มีเปลี่ยนแปลงก็ต้องเป็นภาษาตาย จะเป็นภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่หาได้ไม่ การเปลี่ยนแปลงของ

    ภาษาย่อมเป็นไปอย่างช้า ๆ ค่อยเปลี่ยนและกลายไปทีละน้อย จึงไม่รู้สึกว่าเปลี่ยนไปในขณะที่เปลี่ยน

    อยู่

    ค าในภาษาบางค าตายไปเพราะด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม สิ่งที่เคยใช้

    ในสมัยก่อน เมื่อมีของใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาแทนที่ สิ่งที่เป็นของเก่าก็เสื่อมความนิยม ในที่สุดก็เลิกใช้

    ชื่อสิ่งของเหล่านี้ก็ตายไปด้วย ไม่มีเหลืออยู่ในภาษาที่ใช้กันเป็นปรกติสามัญ จะมีเหลือให้เห็นอยู่บ้าง

    ก็ในหนังสือเก่า เช่น อัจกลับ ชวาลา บางค าแม้ไม่สูญไปแต่ก็ย้ายความหมายไป เช่น หลังคา น้ าตาล

    ตกฟาก บางค าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ประเพณีและการเล่นบางอย่าง เมื่อเลิกนิยม

    กันแล้ว ค าเหล่านั้นก็ตายไปด้วย แม้ยังคงเหลือใช้อยู่ในภาษา ความหมายก็กลายไป เช่น เสียรังวัด

    ไม่เอาถ่าน ตัดหางปล่อยวัด แม้ว่าจะมีค าบางค าในภาษาสูญไป แต่ก็มีค าเกิดขึ้นใหม่มาชดใช้ตามส่วน

    แห่งความเจริญ

    นอกจากนี้ พระยาอนุมานราชธน (๒๕๑๔: ๒๑๙-๒๒๙) ยังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง

    ความหมายไว้ด้วยว่าแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ความหมายแคบเข้า ๒. ความหมายกว้างออก

    และ ๓. ความหมายย้ายที่

  • ๑๑

    ความหมายแคบเข้า หมายถึง การที่ผู้ใช้น าค าที่มีความหมายรวมหลายชนิด ไปใช้ให้

    มีแก่ชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ค าว่า เสือ หมอ ซึ่งมีความหมายเป็นค ารวม ถ้าน าไปใช้ให้

    หมายความว่า เสือโคร่ง หรือ หมอรักษาโรค โดยเฉพาะ เมื่อใช้บ่อย ๆ ก็อาจเข้าใจว่าความหมายเป็น

    เช่นนั้น ถ้าจะให้หมายความถึงเสือหรือหมอชนิดอ่ืนโดยเฉพาะ ก็ต้องน าค าอ่ืนมาประกอบเข้าด้วย

    เช่น เสือปลา หมอความ ถ้าพูดว่า เสือ หรือ หมอ เฉย ๆ ก็มักจะเข้าใจว่าหมายถึง เสือโคร่งและ

    หมอรักษาโรค

    ความหมายกว้างออก หมายถึง ค าที่มีความหมายเฉพาะอย่าง ซึ่งน าไปใช้หมายถึง

    สิ่งอ่ืนที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน เช่น สวน ซึ่งเดิมหมายถึงที่ เพาะปลูกต้นไม้ซึ่งกั้นไว้

    เป็นขอบเขต แตป่ัจจุบันใช้ในความหมายกว้างออกไปเป็นสวนงู สวนสัตว์

    ความหมายย้ายที่ หมายถึง การที่ความหมายกลางย้ายไปเป็นความหมายข้างเคียง

    ซึ่งเกิดจากผู้ใช้เข้าใจความหมายผิดเพราะขาดความรู้ เพียงแต่ได้ยินผู้อ่ืนพูดหรือเขียนไว้ ก็เข้าใจว่า

    มีความหมายอย่างนั้น แล้วน าไปใช้จนมีผู้อ่ืนใช้ตามกันอย่างแพร่หลายจนเกิดเป็นความหมายใหม่

    ขึ้นในภาษา เช่น วิกยี่เก รถเมล์ หรือหมายถึง การที่ค ามีความหมายเปลี่ยนแปลงไปเพราะการ

    เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม ยิ่งบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้ามากเท่าใด ธรรมเนียมประเพณีและ

    เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างที่เป็นของเดิมก็ต้องเสื่อมไปเพราะไม่มีผู้นิยมใช้ ถ้ายังคงอยู่ก็ต้องเป็นค า

    ที่มีความหมายย้ายที่ เช่น ตกฟาก ไปทุ่ง ตีต๋ัว

  • ๑๒

    ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา,

    ๒๕๒๖, อ้างถึงใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ๒๕๔๒: ๑๒๕) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษาไว้

    ดังนี้

    ปัจจุบันเรามักจะได้อ่านได้ฟังอยู่เสมอ จากปากค า และจากข้อคิดเห็นของ

    นักภาษาเขียนไว้ในวารสาร นิตยสาร ทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศ พากัน

    วิตกกังวลถึงการก้าวหน้าอย่างโลดโผนและรวดเร็วของภาษาประจ าชาติใหญ่ ๆ

    ในทุกวันนี้ พาให้ไม่แน่ใจว่าภาษาของชาติก าลังจะเปลี่ยนไปในทางเจริญหรือ

    ทางเสื่อม แต่สรุปแล้วอยู่ข้างจะไม่พอใจกันเป็นส่วนใหญ่ ห่วงใยกลัวภาษา

    ของชาติจะวิบัติ โดยเฉพาะที่เป็นกันมากก็คือ การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียนที่เป็น

    ภาษาทางการอันเป็นภาษาสุภาพแบบแผนระดับมาตรฐาน ซึ่งสากลใช้ค าว่า

    standard นั้น ก าลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าร าคาญ เพราะการใช้ค าและ

    เรียบเรียงค าไม่ใคร่ประณีต ไม่ระมัดระวัง การเลือกใช้ถ้อยค า ไม่ยึดหลักเกณฑ์

    ของภาษาแบบแผนไว้บ้าง ถ้อยค าไม่สม่ าเสมอ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ประโยคขาด ๆ

    เกิน ๆ ข้อความสับสนวกวน ซ้ าซาก ไม่กะทัดรัดชัดเจน จับความมุ่งหมายยาก

    บางทีก็น าเอาภาษาปากมาใช้ในภาษาแบบแผน

    ดุษฎีพร ช านิโรคศานต์ (๒๕๒๖: ๑๒-๕๕) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษาไว้

    สรุปไดด้ังนี้

    ภาษาทุกภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ยังมีผู้ใช้อยู่ การ

    เปลี่ยนแปลงของภาษาอาจเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเมื่อมีการสร้างศัพท์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ขึ้นใช้ และการ

    ใช้ศัพท์นั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

    จนไม่ทันได้สังเกตเห็น การเปลี่ยนแปลงของภาษาจ าแนกได้เป็น ๔ ประเภท คือ ๑. การเปลี่ยนแปลง

  • ๑๓

    ด้านเสียง ๒. การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์ ๓. การเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์ และ ๔. การเปลี่ยนแปลง

    ด้านความหมาย ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์และการเปลี่ยนแปลงด้าน

    ความหมาย

    การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. การสูญศัพท์ และ

    ๒. การเพ่ิมศัพท ์

    การสูญศัพท์ หมายถึง การที่ค า ถ้อยค า หรือส านวนสูญไปจากภาษา เนื่องจาก

    ความคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นสูญไปจึงท าให้ค าซึ่งสื่อความคิดนั้นสูญไปด้วย นอกจากนี้ การสูญศัพท์

    ยังอาจเกิดจากการที่ในสังคมนั้น ๆ มีศัพท์หรือค าต้องห้าม จึงท าให้ค าเหล่านั้นไม่มีผู้ใช้และสูญไป

    ในที่สุด หรืออาจสูญไปเพราะการสร้างค าที่มีความหมายไม่ต่างกันมากหรือมีความหมายเหมือนกัน

    ขึ้นใช้ เมื่อค า ๒ ค ามีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกันมาก ค าหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าจะคงอยู่

    ต่อไป ส่วนค าที่ไม่เป็นที่นิยมก็จะสูญไปจากภาษา

    การเพ่ิมศัพท์ อาจเกิดจากการสร้างศัพท์หรือการยืม การที่ต้องสร้างศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้น

    ใช้เพราะมีความคิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น เมื่อมีการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ก็ต้องมีค าส าหรับเรียก

    หรืออ้างถึงสิ่งนั้น บางครั้ง อาจมีศัพท์ใช้อยู่แล้ว แต่อาจเป็นค าต้องห้ามหรือเป็นค าซึ่งไม่เป็นที่นิยม

    จึงเกิดการสร้างศัพท์ใหม่ขึ้น การสร้างศัพท์อาจเกิดจากความต้องการที่จะมีศัพท์รวมส าหรับเรียก

    สิ่งต่าง ๆ หลายสิ่งพร้อม ๆ กัน หรืออาจสร้างศัพท์เพ่ือให้เกิดความแปลกใหม่ เด่น สะดุดหูสะดุดตา

    เมื่อใช้กันแพร่หลายและใช้ต่อ ๆ มาจนติดอยู่ในภาษา ค านั้นก็จะกลายเป็นค าสามัญ แต่ถ้า

    แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และต่อมาไม่นิยมใช้ ค านั้นจะสูญไปจากภาษา

  • ๑๔

    การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ความหมายแคบ

    เข้า ๒. ความหมายกว้างออก และ ๓. ความหมายย้ายที่

    ความหมายแคบเข้า หมายถึง ค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีความหมายกว้าง ต่อมาเปลี่ยนไป

    มีความหมายเฉพาะเจาะจงขึ้น หรือหมายถึงค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีหลายความหมาย ต่อมาเปลี่ยนไป

    มีความหมายน้อยลง หรือหมายถึงค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยปรากฏในบริบทกว้าง ต่อมาเปลี่ยนไปปรากฏ

    ในบริบทที่แคบกว่าเดิม เช่น ดัดจริต เดิมมีความหมายว่า ท าจริตให้น้อมไปตามต้องการ เป็น

    ความหมายกลาง ๆ ไม่ได้มุ่งไปทางดีหรือร้าย ปัจจุบันจะใช้ค าว่า ดัดจริต ในความหมายทางไม่ดี

    คือ ฝืนจริตจนเกินพอดี เป็นค าต าหนิ แสดงความไม่พึงใจ

    ความหมายกว้างออก หมายถึง ค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีความหมายเฉพาะเจาะจง ต่อมา

    เปลี่ยนไปมีความหมายกว้าง หรือหมายถึงค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีความหมายเดียว ต่อมาเปลี่ยนไป

    มีความหมายมากขึ้น หรือหมายถึงค าซึ่งสมัยหนึ่งปรากฏในบริบทแคบ ต่อมาเปลี่ยนไปปรากฏ

    ในบริบทที่กว้างกว่าเดิม เช่น อา เดิมมีความหมายเฉพาะว่า น้องชายของพ่อ ปัจจุบันมีความหมาย

    กว้างออก หมายถึง น้องของพ่อ (จะเป็นน้องสาวหรือน้องชายก็ได้)

    ความหมายย้ายที่ หมายถึง ค าซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีความหมายอย่างหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนไป

    มีความหมายเป็นอย่างอ่ืน เช่น อาสา เดิมมีความหมายว่า หวัง ต่อมาความหมายย้ายที่เป็น สมัครใจ

    ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ (๒๕๓๗: ๔๖-๖๕) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษา

    ไว้ สรุปได้ดังนี้

    การเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นลักษณะปรกติของภาษาที่ยังไม่ตาย ภาษาที่ยังไม่ตาย

    คือ ภาษาที่ยังมีผู้พูดในชีวิตประจ าวัน ผู้ที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา คือ ผู้ใช้ภาษา การ

    เปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของภาษา ได้แก่ คลังค า ระบบเสียง และระบบไวยากรณ์

  • ๑๕

    โดยส่วนของภาษาที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด คือ คลังค า ปัจจัยที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนในภาษา ได้แก่

    ๑. ความสะดวกในการออกเสียงของผู้พูด ๒. ความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อภาษา กล่าวคือ ผู้พูดรู้สึกว่า

    ค าท่ีใช้สื่อความหมายนั้น ๆ ไม่สามารถสื่อความหมายได้เท่าที่ต้องการ จึงเลือกใช้ค าอ่ืนแทน หรือรู้สึก

    ว่าค าบางค ามีความหมายตรงเกินไปอาจท าให้ผู้ฟังตกใจหรือผิดหวัง จึงเลี่ยงไปใช้ค าอ่ืนที่ฟังรื่นหู

    กว่าแทน ๓. ฐานะของผู้ใช้ภาษาในสังคม กล่าวคือ ความแตกต่างทางการศึกษาหรือสถานภาพ

    ทางสังคมมีส่วนท าให้ประสบการณ์ทางภาษาของผู้พูดแตกต่างกันออกไป และ ๔. ความเจริญก้าวหน้า

    ทางวิชาการ กล่าวคือ ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการมีส่วนท าให้ภาษาโดยเฉพาะคลังค าเปลี่ยนไปได้

    อย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการมีผลท าให้เกิดสิ่งของใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ ขึ้น จึงมี

    ความจ าเป็นที่จะต้องหาค าที่จะใช้พูดถึงสิ่งของหรือความคิดใหม่ ๆ นั้น ภาษาทุกภาษาต่างมีวิธีการ

    ที่จะท าให้เกิดค าใหม่ ๆ ขึ้นใช้ เช่น การสร้างค าขึ้นใหม่ การยืมค าต่างประเทศที่ใช้เรียกสิ่งนั้นเข้ามา

    การแปลค าต่างประเทศให้เป็นค าในภาษาของตน

    นอกจากนี้ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของค าไว้ สรุปได้ว่า การเปลี่ยน

    แปลงทางความหมายของค าเกิดจากสาเหตุ ๓ ประการ คือ ๑. ค ามีความหมายกว้างออก กล่าวคือ

    ค าที่ใช้ในสมัยที่ใหม่กว่า มีความหมายมากขึ้นกว่าที่เคยใช้ในสมัยเก่า ตัวอย่าง ค าว่า อา เดิมมี

    ความหมายว่า น้องสาวของพ่อ ปัจจุบันมีความหมายว่า น้องสาวหรือน้องชายของพ่อ ๒. ค าม ี

    ความหมายแคบเข้า มีลักษณะตรงกันข้ามกับค าที่มีความหมายกว้างออก คือ มีการเปลี่ยนแปลง

    ความหมายแบบแคบเข้า ตัวอย่าง ค าว่า ไข้ เดิมมีความหมายว่า ไม่สบาย ปัจจุบัน หากพูดว่า เป็นไข้

    จะหมายความว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ได้หมายความว่า ไม่สบาย และ ๓. ความหมายส่อไป

    ในทางที่เลวลง การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เกิดจากการที่ผู้พูดต้องการเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเรื่อง

  • ๑๖

    หรือการกระท าที่เป็นส่วนตัวซึ่งไม่สมควรน ามาเปิดเผย ค าที่น ามาใช้แทนมักมีความหมายเป็นกลาง ๆ

    ตัวอย่าง ค าว่า เย็ด เดิมมีความหมายว่า ท า ปัจจุบันมีความหมายในทางลบ

    หม่อมราชวงศ์กัลยา ติงศภัทิย์ (๒๕๔๘: ๔๒๗-๔๓๑) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทาง

    ด้านความหมายในภาษาไทยไว้ สรุปได้ว่า ความหมายเป็นส่วนของภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

    ที่สุด เหตุที่เป็นดังนี้อาจเป็นเพราะความหมายเป็นเรื่องที่ไม่มีข้อสรุปที่คนโดยทั่วไปยอมรับ การให้

    ความหมายของค าใดค าหนึ่งนั้นก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีได้หลายหลาก เมื่อไม่มีข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับ

    ความแตกต่างก็ย่อมเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงก็เป็นผลตามมาและเกิดได้โดยง่าย

    ปัจจัยที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของค า มี ๔ ปัจจัย ได้แก่

    ๑. ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ การที่ค าค าหนึ่งเคยมีความหมายหมายถึง

    สิ่งหนึ่งที่มีลักษณะ รูปร่าง และคุณสมบัติที่แน่นอน ต่อมาความเจริญทางวิทยาการท าให้ของสิ่งนั้น

    มีรูปร่างหรือคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในอดีต หากพูดถึงค าว่า ปากกา จะนึกถึงเครื่องมือที่ใช้

    เขียนซึ่งมีรูปร่างแบบเดียวกับปากนก ต้องใส่กับด้าม ใช้จุ่มหมึกเขียน แต่ในปัจจุบันจะไม่นึกถึงปากกา

    แบบที่กล่าวมา แต่จะนึกถึงปากกาหมึกแห้งมากกว่า

    ๒. ความเปรียบ เป็นเรื่องธรรมดาที่คนจะเห็นความคล้ายคลึงกันของของสองอย่าง

    เมื่อเห็นความคล้ายคลึงกันแล้ว ก็จะใช้ค าที่เรียกสิ่งหนึ่งไปเรียกอีกสิ่งหนึ่งที่ เห็นว่าคล้ายคลึงกัน เช่น

    ค าว่า น้อยหน่า โดยปรกติหมายถึง ผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีเปลือกขรุขระเป็นตา ๆ มีขนาดพอดีมือ ผู้ที่ใช้

    ลูกระเบิดมือเห็นความคล้ายคลึงกัน จึงเรียกลูกระเบิดมือว่า น้อยหน่า ด้วย ค าว่า น้อยหน่า จึงมี

    ความหมายกว้างออก

  • ๑๗

    ๓. การใช้ค าร่วมกัน ค าที่มักใช้ร่วมกันนั้น เมื่อใช้บ่อย ๆ อาจท าให้ค าค าหนึ่งมี

    ความหมายกว้างขึ้นโดยไปเอาความหมายของค าที่เกิดร่วมด้วยมารวมไว้ ต่อมา ค าดังกล่ าวสามารถ

    ใช้เดี่ยว ๆ ได้โดยมีความหมายแทนอีกค าหนึ่งได้เลย เช่น ค าว่า หนทาง เดิมค าว่า หน มีความหมายว่า

    ทาง ปัจจุบันไม่มีผู้ใช้ค าว่า หน ในความหมายว่า ทาง แล้ว

    ๔. ค าต้องห้าม ค าบางค าในสมัยใดสมัยหนึ่งอาจเป็นค าต้องห้าม คือ เป็นค าที่ใช้แล้ว

    ส่อความหมายไปในเรื่องเพศ หรือในเรื่องที่น่ากลัวอาจน าความโชคร้ายมาสู่ หรือมีความหมายไป

    ในทางลบ จึงเลี่ยงที่จะใช้ค าอ่ืนแทน ค าที่น ามาแทนจะมีความหมายกว้างขึ้น เช่น ค าว่า แก่

    มีความหมายไปในทางลบ มีความหมายว่าไร้ประโยชน์ ไร้สมรรถภาพ เป็นต้น เพ่ือจะหลีกเลี่ยง

    ความหมายในทางลบนี�