จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

16
อ่านต่อหน้า 2 การพัฒนาที่เริ่มด้วยการปรับปรุงระบบส่งน้ำ โดยเสริมตอม่อ บริเวณ Spillway เพื่อเพิ่มความจุเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ ปรับปรุงและซ่อมแซมฝายเดิม ขุดและวางแนวท่อส่งน้ำเข้าสูแปลงนา ทำให้มีพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิม 800 ไร่ เป็น 1,752 ไร่ และการทำแปลงเกษตรสาธิตโดยองค์ความรู้จาก ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนพื้นทีบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามสู่ความยั่งยืน พลังชุมชนขับเคลื่อน ของนายบุญมาก สิงห์คำป้อง เพียงแปลงเดียว ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่บ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม ภายในเวลาไม่ถึงสองปี ไม่ใช่แค่มูลค่าผลผลิตข้าวปี 2555 จะเพิ่มจาก 3,920,000 บาท เป็น 13,174,035 บาท จากการมีน้ำและพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้น และการมีแปลงเกษตรตามแนวทางฟาร์มตัวอย่างฯ วันที่ 28 มกราคม 2554 เมื่อชาวบ้านจากบ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัด อุดรธานี กว่า 200 คน พร้อมกันมาประชุมที่วัดป่าเลไลย์ เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้แนวทางของปิดทองหลังพระฯ เหตุการณ์ วันนั้น นับเป็นปฐมบทของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือพื้นทีต้นแบบปิดทองหลังพระฯ แห่งที่ 2 11 ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตน

Upload: pidthong-org

Post on 22-Mar-2016

218 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

TRANSCRIPT

Page 1: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

อ่านต่อหน้า 2

การพัฒนาที่เริ่มด้วยการปรับปรุงระบบส่งน้ำ โดยเสริมตอม่อ

บริเวณ Spillway เพื่อเพิ่มความจุเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ

ปรับปรุงและซ่อมแซมฝายเดิม ขุดและวางแนวท่อส่งน้ำเข้าสู่

แปลงนา ทำให้มีพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิม 800 ไร่ เป็น

1,752 ไร่ และการทำแปลงเกษตรสาธิตโดยองค์ความรู้จาก

ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนพื้นที่

บ้านโคกล่าม-แสงอร่ามสู่ความยั่งยืน พลังชุมชนขับเคลื่อน

ของนายบุญมาก สิงห์คำป้อง เพียงแปลงเดียว ส่งผลให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่บ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม

ภายในเวลาไม่ถึงสองปี

ไม่ใช่แค่มูลค่าผลผลิตข้าวปี 2555 จะเพิ่มจาก 3,920,000 บาท

เป็น 13,174,035 บาท จากการมีน้ำและพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้น

และการมีแปลงเกษตรตามแนวทางฟาร์มตัวอย่างฯ

วันที่ 28 มกราคม 2554 เมื่อชาวบ้านจากบ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัด

อุดรธานี กว่า 200 คน พร้อมกันมาประชุมที่วัดป่าเลไลย์ เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้แนวทางของปิดทองหลังพระฯ เหตุการณ์

วันนั้น นับเป็นปฐมบทของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือพื้นที่

ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ แห่งที่ 2

11ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่ ง เน้นประโยชน์ส่ วนตน

Page 2: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

เกิดขึ้นอีก 153 แปลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้น คือ ความเข้มแข็ง

ของชุมชน ความสามัคคี และการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน

บ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่ามวันนี้ มีกองทุนที่ เกิดจาก

ความคิดและการร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านถึง 9 กองทุน ที่

สามารถเชื่อมโยง เอื้อประโยชน์แก่กันและกันอย่างครบวงจร

เมื่อมีน้ำ ก็มีกองทุนผู้ใช้น้ำขึ้นมาบริหารจัดการแบ่งปันน้ำ

อย่างทั่วถึง การเพาะปลูกพืชผักให้งอกงามที่ต้องการเมล็ดพันธุ์

และปุ๋ย พืชผักที่เจริญเติบโตสมบูรณ์ จะถูกรวบรวมไปขายที่ตลาด

อำเภอหนองวัวซอ โดยกองทุนการตลาด หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

ชุมชน โดยกองทุนแม่บ้านศึกษาดูงาน

กองทุนเมล็ดพันธุ์ จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและพืชอื่น ๆ

ตามคำขอของกองทุนสุกรเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารเลี้ยงสัตว์

มูลของสุกรและเป็ดจะถูกส่งให้กองทุนปุ๋ย ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์

และปุ๋ยอัดเม็ด สำหรับการปลูกข้าวและผักกองทุนการตลาดจะให้

ข้อมูลความต้องการของตลาด เพื่อให้กองทุนเมล็ดพันธุ์จัดหาเมล็ด

พันธุ์ผักที่เป็นที่ต้องการของตลาดมาปลูก และร่วมกับกองทุนผู้ใช้น้ำ

วางแผนการใช้น้ำสำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิดในช่วงเวลาต่าง ๆ

กองทุนแม่บ้านศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นกองทุนที่มีเงินหมุนเวียน

มากที่สุด นอกจากจะเป็นแหล่งเงินลงทุนที่สำคัญให้แต่ละกองทุน

แล้ว ล่าสุด ยังลงทุนซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโรงสีชุมชน ด้วยเงิน

200,000 บาท ซึ่งเมื่อมีโรงสีในหมู่บ้าน นอกจากคนในหมู่บ้าน

จะไม่ต้องขนข้าวเปลือกไปสีไกล ๆ แล้ว รำข้าวก็ยังจำหน่ายให้

กับกองทุนสุกรเป็นอาหารได้ด้วย

ในแต่ละกองทุน ยังมีกติกาการบริหารจัดการกองทุนที่เข้มแข็ง

เช่น กองทุนผู้ใช้น้ำ ซึ่งทุกคนที่ใช้น้ำจะเป็นสมาชิก มีกรรมการ 28 คน

นายชาญ ชาวไทย เป็นประธาน มีเงินทุนหมุนเวียน 1,020 บาท

มีระเบียบการใช้น้ำที่สมาชิกของกองทุนตกลงร่วมกันกำหนดขึ้น

เช่น การจัดเก็บค่าบำรุงปีละ 10 บาทต่อไร่ คนที่ไม่มาร่วมใน

การพัฒนาซ่อมบำรุงแนวท่อ จะถูกปรับวันละ 100 บาท การทำ

ท่อแตกโดยเจตนาจะถูกปรับเป็นเงิน 2,500 บาท การเปิด-ปิดน้ำ

โดยพลการ ถูกปรับครั้งละ 500 บาท หลังจากตักเตือนก่อน 1 ครั้ง

การใช้น้ำทำการเกษตรนอกจากทำนา จะเก็บเงินงานละ 10 บาท

ต่อรอบการเก็บเกี่ยว ลำดับการเปิด-ปิดน้ำ ขึ้นอยู่กับกรรมการ

และชาวบ้านตกลงกัน การเปิด-ปิดน้ำ ต้องแจ้งคณะกรรมการทุกครั้ง

เป็นต้น

นายเสวต จันทร์หอม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 บ้านแสงอร่าม กล่าวว่า

กองทุนผู้ใช้น้ำตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลแนวท่อส่งน้ำ จัดสรรน้ำให้ได้

ประโยชน์กันทั่วถึง ทั้ง 80 แปลง และพูดคุยร่วมกันว่า ควรปลูกพืช

อะไร จะส่งน้ำให้ได้เท่าไร จะแบ่งน้ำกันอย่างไร รายได้ของกองทุน

ร้อยละ 50 เก็บไว้ซื้ออุปกรณ์ กรรมการกองทุนผู้ใช้น้ำ มีทั้งหมด 3 ชุด

ดูแลต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

“แต่ละกองทุนจะทำงานร่วมกัน มีการประชุมกันแทบทุกคืน

ดูว่ามีกลุ่มไหนเกิดปัญหาอะไร แล้วก็ช่วยกันคิดแก้ไข ทุกอย่าง

เริ่มต้นจากการประชุมทั้งสิ้น เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน”

กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีสมาชิก 84 ราย กรรมการ 7 คน

ทำหน้าที่จัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สมาชิกไปปลูก มีเงินทุนหมุนเวียน

21,640 บาท และมีระเบียบกองทุน เป็นต้นว่า ผลกำไร 50 บาท

ต่อกระสอบ จะหักเข้ากองทุนร้อยละ 20 อีกร้อยละ 30 เป็นค่าบริหาร

จัดการกองทุน นอกจากเป้าหมายที่จะคัดพันธุ์ข้าวกันเองไว้ใช้

2

รายงานพิเศษ

เจ้าของ : มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สำนกังานปลดัสำนกันายกรฐัมนตร ีทำเนยีบรฐับาล เลขที ่1 ถนนนครปฐม เขตดสุติ กรงุเทพมหานคร 10300 : สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2611-5000 โทรสาร 0-2658-1413 ที่ปรึกษา : หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายพิพัฒน์ เลิศกิตติสุข บรรณาธิการ : นายธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายสุชาติ ถนอม ผู้จัดทำ : บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด 1519/21 ซอยลาดพร้าว 41/1 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2939-9700 โทรสาร 0-2512-2208 E-mail : [email protected]

www.pidthong.org www.twitter.com/pidthong

www.facebook.com/pidthong

www.youtube.com/pidthongchannel

Page 3: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ในปีต่อไปแล้ว ยังมีการทดลองทำแปลงสาธิตพื้นที่ 30 ไร่ เพื่อทำ

ข้าวอินทรีย์ครบวงจรอีกด้วย

นายอุบลชัย แสนฤทธิ์ ประธานกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว กล่าวว่า

กองทุนทั้งขายและให้ยืมเมล็ดพันธุ์ข้าว ถ้าขายก็ขายตามราคาตลาด

เอากำไรนิดหน่อย ถ้ายืม ก็ยืม 25 ถุง คืน 40 ถุง ตอนนี้มีสมาชิก

85 ครอบครัว รวมทั้งจากชุมชนอื่นที่ได้ยินเรื่องกองทุนขอเข้ามา

ร่วมด้วย ต่อไปเราจะมีโรงสีและเครื่องคัดข้าวที่หน่วยราชการ

เอามาช่วยเพื่อจะได้ผลิตพันธุ์ข้าวเอง จะได้ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว

จากข้างนอกอีก”

กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก มีกรรมการ 4 คน การจัดซื้อเมล็ดพันธุ์

ผักให้เป็นไปตามฤดูกาล ความเหมาะสมของพื้นที่ และต้องได้รับ

ความเห็นชอบจากกลุ่มก่อน การยืมเมล็ดพันธุ์ไปปลูก เมื่อจำหน่าย

ผลผลิตได้ ต้องคืนค่าเมล็ดพันธุ์ให้กองทุนทันทีร้อยละ 20 กรณี

สมาชิกซื้อเป็นเงินสด จะคิดจากสมาชิกร้อยละ 10 เป็นเงินเข้า

กองทุน ผลกำไรของกองทุนจะจัดสรรเป็นค่าตอบแทนกรรมการ

ร้อยละ 20 และเป็นค่าบริหารกองทุนร้อยละ 10 อีกร้อยละ 70

เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกองทุน

พืชหลังนา มีการปลูกบนพื้นที่ทั้งหมด 141 ไร่ 2 งาน และพืชที่

นิยมปลูกกันมาก คือ ฟักทอง มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ข้าวโพด

ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงร้าน ผักบุ้ง และฟักแฟง

นางเก่ง จันเทศ ประธานกลุ่มเมล็ดพันธุ์ผัก เล่าถึงที่มาของ

กองทุนว่า เพราะชาวบ้านไปเห็นแปลงผักตัวอย่างของนายบุญมาก

เลยอยากปลูกบ้าง ปิดทองฯ จึงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้ ใครอยากได้

ก็มาเอาไปปลูก ตอนนี้ทุกคนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกองทุน ใครอยาก

ได้อะไรก็จะมาบอกให้กองทุนจัดหาให้ อย่างกองทุนหมู อยากได้

ข้าวโพด เราก็หาให้ ส่วนใหญ่กองทุนเมล็ดพันธุ์ผักจะทำงานคู่กับ

กองทุนตลาด แบ่งข้อมูลกัน ผักที่ปลูกก็เอาไปขายให้กองทุนตลาด

กองทุนนี้มีไว้ช่วยเหลือ ไม่ได้มีไว้แสวงหากำไร”

กองทุนปุ๋ย มีสมาชิก 87 ราย กรรมการ 4 คน มีระเบียบกองทุน

กำหนดไว้ว่า กำไรจากการจำหน่ายปุ๋ย กระสอบละ 20 บาท จะหัก

เข้ากองทุน 10 บาท อีก 10 บาทเป็นค่าบริหารจัดการกองทุน การจัด

ซื้อปุ๋ยแต่ละปีจะถือราคาตลาดเป็นเกณฑ์ และจ่ายปุ๋ยเป็น 2 งวด

งวดแรก จ่ายให้เกษตรกรตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และจะ

เริ่มเก็บค่าปุ๋ยหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ถ้าไม่ยอมจ่ายค่าปุ๋ยตาม

สัญญา จะถูกปรับเพิ่มร้อยละ 50 กรรมการที่ไม่มาร่วมกิจกรรม

ของกองทุน จะถูกปรับ 200 บาท

เสวต จันทร์หอม อุบลชัย แสนฤทธิ์ เก่ง จันเทศ

3

รายงานพิเศษ

Page 4: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

กองทุนปุ๋ยยังจะผลิตปุ๋ยอัดเม็ดอินทรีย์ชีวภาพขายให้กับสมาชิก

เป็นการลดต้นทุนค่าขนส่งเพื่อให้ขายปุ๋ยได้ในราคาถูกกว่าท้องตลาด

โดยจะรับซื้อมูลสุกรและเป็ดจากกองทุนสุกรและกองทุนเปิด รวมทั้ง

ข้าวโพด ฯลฯ จากกองทุนการตลาดมาเป็นวัตถุดิบ

นายเสมือน โคตะมะ ประธานกองทุนปุ๋ย บอกว่า กองทุนนี้ตั้งขึ้น

มา เพราะสมาชิกในหมู่บ้านต้องการปุ๋ย ไม่มีเงินก็มาเชื่อไว้ก่อนได้

แล้วค่อยมาจ่าย เงินก่อตั้งกองทุนปุ๋ยมาจากเงินของกลุ่มแม่บ้าน

ศึกษาดูงาน 72,000 บาท กองทุนเริ่มมีรายได้เมื่อพฤษภาคม ปีที่แล้ว

ถึงปัจจุบัน กองทุนมีเงินแล้ว 350,000 บาท

“ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านที่นี่ ตัวใครตัวมัน แต่ตอนนี้เห็นการ

เปลี่ยนแปลง มีการรวมตัว มีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น เอื้อเฟื้อกัน

มากขึ้น แต่ก่อนเจอกัน มีแต่จะชวนกันกินเหล้า เดี๋ยวนี้ เปลี่ยนมา

เป็นคุยเรื่องหมู เรื่องผักกัน”

กองทุนสุกร กรรมการ 4 คน มีระเบียบกองทุนกำหนดให้

เกษตรกรต้องคืนลูกสุกรตัวเมียอายุ 2 เดือน จำนวน 2 ตัวแก่

กองทุน ปัจจุบันกองทุนมีรายได้จากการผสมพันธุ์ 23,700 บาท

และจำหน่ายลูกหมู 52,890 บาท ในเดือนตุลาคม 2555 มีแม่พันธุ์

ในกองทุน 71 ตัว พ่อพันธุ์ 4 ตัว มีลูกหมูในหมู่บ้าน 395 ตัว เป็น

ตัวผู้ 218 ตัว ตัวเมีย 177 ตัว และมีการวางแผนผสมพันธุ์แม่สุกร

เพื่อหลีกเลี่ยงสายเลือดชิด โดยใช้พ่อพันธุ์จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา

ภูพานฯ และการผสมเทียม พร้อมกับการปลูกกล้วยเหลืองนวลเป็น

วัตถุดิบอาหารสุกร

นายอัษฎา ศรีบุญเรือง ประธานกองทุนสุกร บอกว่า การเลี้ยง

หมูเป็นความต้องการของชาวบ้านอยู่แล้ว เห็นที่น่านเลี้ยงหมู

เหมยซานก็เลยอยากลองเลี้ยงดูบ้าง เลี้ยงหมูแล้ว ก็มีมูลเป็นปุ๋ย

ใส่ผักด้วย หมูเหมยซานเนื้อเยอะ เลี้ยงง่าย โตเร็ว กองทุนผู้เลี้ยงสัตว์

มีสมาชิกประมาณ 100 คน ประธานมีหน้าที่ดูแลแนะนำวิธีเลี้ยง

แก้ปัญหาให้ หนึ่งปีที่ผ่านมา ขายลูกหมูไปได้ 6,000 ตัว เป็นหมู

เกิดในโครงการ 1,600 ตัว ทั้งขายชำแหละเป็นเนื้อ และขายเป็นตัว

ให้ไปเลี้ยงต่อ ราคาขายตัวละตั้งแต่ 500-1,500 บาท

ตอนนี้มีปัญหาเรื่องอาหารสัตว์ เพราะแต่ก่อนไม่มีสัตว์มาก

แบบนี้ พวกเราก็ประชุมร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา เพราะจะมีหมู

ออกมาอีก 800 กว่าตัว เช่น ทำโรงสีจะได้มีรำข้าว เน้นการปลูก

ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ และตั้งกองทุนต่าง ๆ มาเกื้อหนุนกัน เช่น

ตั้งกองทุนอาหารสัตว์”

กองทุนเป็ด มีกรรมการ 7 คน ทำหน้าที่จัดสรรเป็ดจำนวน

2,000 ตัว ให้กับสมาชิกกองทุนที่ต้องการ 63 ครัวเรือน มีสมาชิก 49

รายได้รับเป็ดไปแล้ว 710 ตัว การคืนลูกเป็ดให้กับกองทุน อาจคืนลูก

เป็ดอัตราส่วน 1 : 2 ของเป็ดที่ได้รับ ภายในเวลา 1 ปี หรือคืนเป็น

เสมือน โคตะมะ อัษฎา ศรีบุญเรือง สงวน เผ่าหอม

4

รายงานพิเศษ

Page 5: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

เงินแทน ในราคาตัวละ 35 บาท กองทุนจะเริ่มคืนเงินทุนสนับสนุน

การจัดตั้งให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในเดือนมกราคม

2556 นี้ กำไรของกองทุน จัดสรรเป็นค่าตอบแทนกรรมการร้อยละ 50

ร้อยละ 30 เงินทุนคงที่ของกองทุน อีกร้อยละ 20 เป็นค่าบริหาร

จัดการกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน

นายสงวน เผ่าหอม ประธานกองทุนเป็ด เล่าว่า ปกติชาวบ้าน

ก็เลี้ยงเป็ดกันอยู่ แต่เลี้ยงแบบไม่มีความรู้ เลยไปศึกษาและชักชวน

ให้ชาวบ้านมาตั้งกลุ่มกัน โดยปิดทองฯ ให้เงินสนับสนุน 50,000 บาท

สำหรับซื้อลูกเป็ด ขณะนี้กองทุนได้ลูกเป็ดคืนเป็นบางส่วนให้คนอื่น

เอาไปเลี้ยงต่อแล้ว บางตัวก็เป็นแม่พันธุ์ได้

“กองทุนมีหน้าที่ดูแลและให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยง เช่น เป็ด

เครียดจะทำอย่างไร ทำบัญชี ตอนนี้มีปัญหาอยู่ว่ามีรำกับปลายข้าว

ไม่พอ ถ้าเลี้ยงแบบเดิม ให้กล้วยให้หอยเป็ดจะไม่โตเท่าที่ควร และมี

ปัญหาการตลาดอยู่บ้าง”

กองทุนการตลาด มีระเบียบกำหนดให้สมาชิกปลูกพืชผัก

ปลอดสารพิษเท่านั้น ไม่เช่นนั้น กองทุนจะไม่รับซื้อ สมาชิกต้องเก็บ

ผลผลิตตามที่กรรมการสั่ง ส่วนราคาจะอ้างอิงตามราคาตลาด ผล

กำไรจะจัดสรรเป็นค่าตอบแทนกรรมการร้อยละ 50 สมทบเข้า

กองทุนร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นสวัสดิการกองทุนร้อยละ 30 ในปีที่ผ่าน

มา ผลผลิตที่รับซื้อจากชาวบ้านมากที่สุด คือ ฟักทองและตะไคร้

นางหนูเดือน ไชยแสนฤทธิ์ รองประธานกองทุนตลาด กล่าวว่า

กองทุนเกิดขึ้นจากชาวบ้านถามกันว่า พืชผักเหลือกินแล้ว จะทำ

อย่างไร เอาไปขายที่ไหนดี แล้วยืมเงินจากกองทุนแม่บ้านมาซื้อผัก

ไปขาย แรก ๆ ขาดทุน แต่ต่อมารู้วิธี ค่อย ๆ แก้ไขไปก็ได้กำไรมากขึ้น

คือ ต้องรู้ตลาด รู้ เขารู้ เรา โดยมีหลักว่าทั้งคนขายคนซื้อต้อง

อยู่ได้ บางอย่างขายไม่ได้ เพราะคนไม่นิยมกินหรือคุณภาพไม่ได้

กองทุนก็มาบอกชาวบ้านว่า จะต้องปลูกอะไร บอกกลุ่มเมล็ดพันธุ์ผัก

ว่า ต้องเอาเมล็ดพันธุ์อะไรมาขาย ตอนนี้กองทุนคิดเรื่องแปรรูปด้วย

เพราะรายได้จะมากกว่า อนาคตคิดว่าจะทำแหนม ทำไส้กรอกอีสาน

แหนมซี่โครง เมื่อหมูมีมากพอ ทำชุดพร้อมปรุง โดยเอาผัก

เอาเครื่องปรุงมาบรรจุหีบห่อ ซื้อแล้วนำไปปรุงได้เลยเหมือนใน

ห้างสรรพสินค้า อยากส่งไปร้านอาหารด้วย แต่ยังไม่มีผักให้เขา

ทุกวัน ต้องทำให้สมาชิกส่งผักให้ได้อย่างสม่ำเสมอก่อน ตอนนี้ผัก

ของเรา บรรจุถุงยี่ห้อผักปลอดภัยบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ขายดีมาก”

กองทุนแม่บ้านศึกษาดูงาน มีกรรมการ 8 คน ข้อมูล ณ เดือน

ตุลาคม 2555 กองทุนมีรายได้จากการต้อนรับและทำอาหารให้

คณะที่มาศึกษาดูงานทั้งหมด 65 คณะ รวม 7,513 คน เป็นเงินถึง

1,238,800 บาท

นางทองลี บุญกว้าง ประธานกองทุน กล่าวว่า “กองทุนแม่บ้านฯ

ก่อตั้งขึ้นเป็นกองทุนแรก และเกิดขึ้นจากความเสียสละของแม่บ้าน

ที่มาช่วยกันทำอาหารเลี้ยงคณะที่มาดูงาน ทำกันมา จนได้เงิน

เป็นล้าน ตอนนี้กองทุนเอาเงินไปซื้อที่ดิน เพื่อทำโรงสีและโรงปุ๋ย

เงินของกองทุนไม่ได้เข้ากระเป๋าใคร แต่จะเป็นของหมู่บ้านไว้ใช้

ประโยชน์ร่วมกัน”

กองทุนใหม่ที่จะก่อตั้งขึ้น คือ กองทุนโรงสี ซึ่งจะเป็นการ

รวมกลุ่มรูปแบบใหม่ คือ การซื้อหุ้นเพื่อระดมทุนซื้อเครื่องจักร

และสร้างโรงเรือน ราคาหุ้นละ 100 บาท จำกัดคนละไม่เกิน 50 หุ้น

เพราะต้นทุนเครื่องจักร 1½-2 ตัน อยู่ที่ 2 แสนบาท ไม้ระแนง

และแรงงานมาจากชาวบ้าน ไม่คิดค่าบริการสีข้าว แต่จะเอารำ

กับปลายข้าวมาเป็นรายได้ และในอนาคตอาจรับซื้อข้าวจาก

ชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านขายข้าวได้ราคามากขึ้น”

แผนปฏิบัติการในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่สามของปิดทองหลังพระฯ

บ้านโคกล่ามแสงอร่าม จะเป็นการประยุกต์หลักการทรงงาน “ทำตาม

ลำดับขั้น” ในขั้นพอเพียงและเตรียมการสู่ขั้นยั่งยืน หลังจาก

ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาทำงานด้วยตนเองในลักษณะกองทุน และทำงาน

แบบ “องค์รวม” ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างครบวงจร มอง

เหตุการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาเชื่อมโยงกันทุกกองทุน

และสอดคล้องกับปฏิทินการเพาะปลูก ต่อจากนั้น จะเป็นการเตรียม

การปรับปรุงเข้าสู่ระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ

และจังหวัด ในปีงบประมาณ 2557 โดยมีแผนดำเนินงาน ได้แก่

ปรับปรุงและสร้างแหล่งเก็บน้ำเพิ่มเติม เตรียมทำนาปีต่อไป ปลูกพืช

หลังนา ดูแลและเพิ่มมูลค่าผลผลิตในท้องถิ่น เป็นต้น

ในระยะยาวไกลไปกว่านี้ อนาคตของบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม

จะเป็นไปอย่างที่ นายสุดใจ เจริญสุข ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านโคกล่าม

บอกว่า “ปิดทองฯ เข้ามายกระดับให้ชุมชนยืนอยู่บนขาตนเองได้

อย่างแท้จริง ทำให้เกิดความสามัคคี เกิดพลังและกำลังใจที่จะก้าวไป

ข้างหน้า ในวันข้างหน้า ถึงปิดทองฯ จะถอยออกไป ชาวบ้านโคกล่าม

และบ้านแสงอร่ามจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้

เรียนรู้จากปิดทองฯ และมีพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ”

หนูเดือน ไชยแสนฤทธิ์ ทองลี บุญกว้าง สุดใจ เจริญสุข

5

รายงานพิเศษ

Page 6: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

การพฒันาพืน้ทีบ่า้นโปง่ลกึ-บางกลอย ตำบลหว้ยแมเ่พรยีง

อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามแผนพัฒนาชนบท

เชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริเริ่มต้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 6

ธันวาคม 2555 เป็นต้นมา ด้วยงบประมาณสนับสนุนจาก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ ์กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 15.75 ล้านบาท

สำหรับแผนจัดการน้ำ และปรับปรุงดินให้ราษฎรบ้านโป่งลึก

และบางกลอย 148 ครัวเรือน มีน้ำเพื่อการเกษตรและน้ำกิน

น้ำใช้ รวมทั้งขุดนาขั้นบันไดบนพื้นที่ 365 ไร่ ให้แล้วเสร็จใน

เดือนเมษายน 2556 เพื่อเริ่มการเพาะปลูกให้ได้ก่อนฤดูฝนปีนี้

ในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งมีนายมณเฑียร

ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธาน ร่วมด้วย

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ

สืบสานแนวพระราชดำริ นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการ

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ สำนักงาน

จงัหวดัเพชรบรุ ีผูแ้ทนกองทพับก ผูแ้ทนหนว่ยเฉพาะกจิทพัพระยาเสอื

กองกำลังสุรสีห์ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โครงการชลประทาน

เพชรบุรี พัฒนาที่ดินจังหวัดเพชรบุรี เกษตรอำเภอแก่งกระจาน

พัฒนาการอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ และตัวแทน

ชาวบ้าน

ปฐมบทการพัฒนาโป่งลึก-บางกลอย

6

บทความ

Page 7: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

การสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดแนวท่อส่งน้ำ ทหารช่างจะร่วม

ดำเนินการกับโครงการชลประทานเพชรบุรี โดยแบ่งเส้นทางสำรวจ

เป็น 3 เส้นทาง คือ เส้นทางสำรวจที่ 1 จากฝายหินก่อห้วยบาง

ยายโปงถึงสบห้วยบางยายโปง ระยะทาง 3.53 กม. ดำเนินการ

โดยช่างสำรวจของทหารกองพลพัฒนาที่ 1 เส้นทางสำรวจที่ 2

จากสบห้วยบางยายโปงถึงท่าวังคา ระยะทาง 4.39 กม. โดยช่าง

สำรวจของทหารกองพลพัฒนาที่ 1 และเส้นทางสำรวจที่ 3 จาก

ท่าวังคาถึงบริเวณก่อสร้างสระเก็บน้ำบ้านบางกลอย ระยะทาง 6.16

กม. ดำเนินการโดยช่างสำรวจชลประทาน โดยมีชาวบ้านจากทั้งสอง

หมู่บ้าน จัดเวรผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเป็นลูกมือ

แผนการพัฒนาพื้นที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย ยังต้องมีปรับสภาพ

พื้นที่ 365 ไร่ ให้เป็นนาขั้นบันได โดยพัฒนาที่ดินอำเภอแก่งกระจาน

จะทำการสำรวจแร่ธาตุในดิน เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของ

สภาพพื้นที่และปรับปรุงบำรุงดินให้พร้อมสำหรับการเพาะปลูก ใน

การวางแผนการเพาะปลูก เกษตรอำเภอแก่งกระจานยังได้ออกแบบ

แผนการเพาะปลูกในพื้นที่ 2 ไร่ ไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้ชาวบ้าน

เลือกไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพพื้นที่

ที่ประชุมกำหนดแผนการทำงานว่า จะต้องทำการขุดสระเก็บน้ำ

2 สระและวางท่อส่งน้ำ ระยะทาง 14.08 กิโลเมตร จากต้นน้ำที่

ฝายห้วยบางยายโปงถึงบ้านบางกลอย ผ่านเส้นทางรกทึบ ลาดชัน

และคดเคี้ยวตามแนวเขา โดยใช้แรงงานชาวบ้าน และกำลังพล

ของทหารเป็นหลักในการแบกขนอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยท่อส่งน้ำ

ประเภทและขนาดต่าง ๆ รวมแล้วประมาณ 4,000 ท่อน ในจำนวนนี้

เป็นท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ความยาว 6 เมตร น้ำหนัก

แต่ละท่อนประมาณ 300 กิโลกรัม จำนวนถึง 332 ท่อน

การแบกขนและการวางท่อส่งน้ำ เป็นประเด็นที่มีการหารือกัน

อย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้การทำงานสะดวกขึ้น ทางอุทยานแห่งชาติ

แก่งกระจาน จะทำการปรับปรุงเส้นทางในอุทยานที่เป็นหลุมเป็นบ่อ

พร้อมเปิดเส้นทางให้กว้างขึ้นกว่าเดิม บริเวณทางเข้าหมู่บ้าน โดยใช้

รถแทรกเตอร์ล้อยาง และใช้รถแทรกเตอร์เดินตามพ่วงด้วยสาลี่

ช่วยขนส่งอุปกรณ์ขึ้นไปถึงแยกวังคา เพื่อช่วยย่นระยะทางขนย้าย

ด้วยแรงงานคนลง 3 กิโลเมตร

ระหว่างการหารือ ชาวบ้านได้เสนอให้ทำการขนส่งท่อเหล็ก

นำ้หนกั 300 กโิลกรมั ดว้ยแพทีส่รา้งจากภมูปิญัญาชาวบา้น ลากผา่น

แก่งหินในแม่น้ำ จากนั้นจึงลำเลียงต่อทางบกไปยังแนววางท่อ

7

บทความ

Page 8: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

“อุทยานเหมือนครูฝ่ายปกครอง ที่

ต้ อ ง ใ ห้ เ ด็ ก นั ก เ รี ย น อ ยู่ ใ น ก ร อ บ ใ น

ระเบียบ เด็กเลยไม่ค่อยฟัง ปิดทอง ฯ มา

เหมือนครูสอนพิเศษ สอนในสิ่งที่จับต้อง

ได้ ผมสอนมีแต่ลม มีแต่โทษ มีแต่ความ

ผิด ปิดทองฯ มาเหมือนสวรรค์มาโปรด

เหมือนครูคนหนึ่งที่มาให้แสงสว่างกับ

นักเรียน เมื่อปิดทองฯ เข้ามา ต่อไปเขา

จะเลี้ยงสัตว์เป็น ทำการเกษตรเป็น ปลูก

พืชที่จะขายเป็น อีก 5 ปี 10 ปี ก็ต้องรอ

ตอนนี้ปิดทองฯ สอน เขาจะฟัง เพราะได้

เห็นเลยว่า พูดจบมีกะเพรา มีพริก

ต้นหอมขึ้น ปิดทองฯ มาสอนแล้วได้งาน

ได้เห็นรูปธรรม

“โป่งลึกบางกลอย คือ ความร่วมมือของทุกฝ่าย”

“เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมทำงานกับปิดทองฯ เพราะโครงการโป่งลึก-บางกลอยเป็นโครงการ

ดีมาก ที่จะช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นหนึ่งเอ และอนุรักษ์ป่าไม้เพชรบุรี ด้วยการให้

ชาวบ้านอยู่กับที่ ไม่บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ถ้าเขาอยู่กับที่ มีรายได้อย่างที่ปิดทองฯ คาดไว้ วิถีชีวิตความ

เป็นอยู่ของชาวบ้านจะดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ ความจริงใจและความทุ่มเทจากราชการทุก

ส่วน ทั้งจังหวัด ชลประทาน เกษตร พัฒนาที่ดิน อุทยาน กองทัพ ที่จะร่วมมือกันผลักดันโครงการนี้

แต่งานนี้ พระเอกจริง ๆ คือ ชาวบ้าน เพราะเขาต้องอยู่ที่นี่ และโครงการนี้ก็เกี่ยวพันกับวิถีชีวิต

ของเขาโดยตรง ชาวบ้านจึงต้องลุกขึ้นมาช่วยตัวเองก่อน ไม่รอรับความช่วยเหลืออย่างเดียว

ถ้าโครงการประสบความสำเร็จ ชาวบ้านก็จะกินดีมีสุข จังหวัดก็ได้หน้าได้ตา ได้ผลงาน และจะ

เป็นต้นแบบให้กับอีกหลาย ๆ พื้นที่ที่มีปัญหาคล้าย ๆ กัน

ผมมั่นใจว่า โครงการนี้จะประสบความสำเร็จ เพราะก่อนทำโครงการ มีการสำรวจข้อมูลเป็น

อย่างดี ตามหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ต้องเข้าใจก่อน เข้าใจพื้นที่ มีข้อมูล และ

เข้าถึง คือ เข้าถึงปัญหาความต้องการของเขา แล้วก็ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนา เมื่อใช้หลักของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำในพื้นที่อื่นประสบความสำเร็จมาแล้ว พื้นที่นี้ก็คงเหมือนกัน

ไม่เกินความสามารถไปได้”

ทั้งพืชระยะสั้นและพืชระยะยาวที่จะให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งป ี และพัฒนาการ

อำเภอ มีหน้าที่ทำความเข้าใจชาวบ้าน และเตรียมแรงงานเข้าร่วมในทุก

กิจกรรม

นอกจากนี้ จังหวัดเพชรบุรี ยังมีคำสั่งแต่งตั้งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิต

อักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นผู้จัดการโครงการพัฒนา

พื้นที่โป่งลึก-บางกลอย นายนิพนธ์ บุตรเมือง เกษตรอำเภอแก่งกระจาน

และนายจรัญ ขาวนุ่น หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ กจ. 10

ห้วยแม่สะเลียง เป็นรองผู้จัดการโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ในการทำงาน และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้ามาทำงานในพื้นที่

หลังเสร็จการประชุมวางแผนการทำงานของส่วนราชการทั้งหมด

นายมณเฑียร ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้นำทีมผู้ปฏิบัติทั้งหมด

มาประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านก็ได้ให้

คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมมือร่วมใจทำงานเต็มที่

นางทิซิ ชื่นฤทัย ชาวบ้านในพื้นที่ กล่าวว่า ดีใจที่กำลังจะมีน้ำมาให้

นายมณเฑียร ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

8

บทความ

Page 9: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

“หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ

กองกำลังสุรสีห์ เข้ามามีส่วนร่วมกับ

โครงการนี้ ตั้งแต่ปี 2555 ทั้งจัดทำ

ข้อมูล จัดทำแผน และสำรวจ งาน

หลักของหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยา

เสือ จะเป็นการสนับสนุนกำลังพล ทั้ง

จากทหารช่าง กองพลพัฒนาที่ 1

กองทัพภาค 1 ในงานที่ต้องใช้กำลัง

เช่น แบกท่อ ขุด-วางท่อ ขุดนาขั้น

“ปิดทองฯ เหมือนแสงสว่าง”

“โครงการนี้ ถือเป็นภารกิจของทหาร”

คนกลุ่มนี้ เขามีวิถีชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างมีความสุข

และไม่เรียกร้องอะไร เราก็อะลุ่มอล่วยน้อมนำแนวทาง

พระราชดำริของทั้งสองพระองค์มาใช้ คือ คนต้องอยู่

กับป่า และป่าต้องอยู่ร่วมกับคนได้ ทั้งคนทั้งสัตว์ป่าทั้ง

ป่าไม้ ทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ต้องอยู่

ร่วมกันได้ แต่ถ้ายึดตามกฎหมายอุทยานอย่างเคร่งครัด

ตัดไม้ หาปลาในเขตอุทยานก็ไม่ได้ ความร่วมมือสามัคคี

ก็จะไม่เกิด จะพังหมดทั้งป่าทั้งคน

ตอนนี้ ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นประมง เกษตร

ชลประทาน พร้อมทำงานเต็มที่ ปิดทองฯ เข้ามาทำให้การ

ผสานกำลังของหน่วยราชการแน่นแฟ้นขึ้น มีแต่ดีกับดี

มีแต่รอยยิ้มกับความภูมิใจ และความสำเร็จที่ไม่ต้อง

ทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งยิ่งใหญ่กว่าอย่างอื่น”

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ผู้จัดการโครงการแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ ประยุกต์ตามพระราชดำริบ้านโป่งลึก-บางกลอย

พันเอกอดิศร โครพ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ กองกำลังสุรสีห์ กองพลทหารราบที่ 9

โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าทำได้และพร้อมร่วมมือเต็มที่ เช่นเดียวกับนางสาวหัสบดี

วอมอ ชาวบ้านโป่งลึกที่บอกว่า รู้สึกดีใจที่หลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ

ชาวบ้าน และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ชาวบ้านต้องการจริง ๆ ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่

บ้าน ได้ชี้แจงให้ลูกบ้านเตรียมพร้อมทำงานแล้ว เมื่อได้มาฟังผู้ว่าฯ ก็ยิ่งมี

ความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า โครงการนี้จะประสบความสำเร็จได้ตามที่วางแผนไว้

เพราะมีการร่วมมือจากทุกฝ่าย”

การดำเนินการในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า การสำรวจวางแนว

ท่อส่งน้ำและแผ้วถางทางตามแนวท่อ ระยะทาง 14.08 กิโลเมตร ดำเนินการ

เสร็จแล้ว การเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปตรวจหาธาตุอาหารและปริมาณ

อินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของดินและวิเคราะห์ความ

เหมาะสมหรือต้องปรับปรุงเพิ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่ดี รวมทั้งการวางแผน

การเพาะปลูกทั้งพืชก่อนนาข้าว พืชหลังนาดำเนินการเสร็จแล้ว และการไถ

ปรับพื้นที่บริเวณนาขั้นบันไดเสร็จแล้ว พร้อมสำหรับลงมือขุดนาขั้นบันได

ในราวปลายเดือนมกราคมนี้

บันได ซึ่งทหารพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะ

โครงการนี้เป็นประโยชน์มาก ทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่

รักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน ไปพร้อม ๆ กับการดูแลป่าและต้นน้ำ

ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของทหาร”

9

บทความ

Page 10: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ขณะที่การพัฒนาพื้นที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อวันเด็กที่ผ่านมา ปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติ

แก่งกระจาน ชาวบ้าน โรงเรียน ตชด. ทหารและหน่วยงานภาคี จัดงานวันเด็กให้กับเด็กบ้านโป่งลึกและบางกลอยกว่า 400 คน ได้สนุกสนาน

เพลิดเพลินกับกิจกรรมส่งเสริมความรู้ เช่น ตอบปัญหาชิงรางวัลการวาดภาพ “หมู่บ้านที่ฉันรัก” แข่งขันต่อจิ๊กซอว์ ปิดตาวาดภาพ และสันทนา

การต่าง ๆ เช่น การ์ตูน ร้องเพลง การแข่งขันกีฬา การละเล่นท้องถิ่น และสอยดาวของขวัญอีกมากมาย สร้างความสุขและความสนุกสนานให้

กับเด็ก ๆ อย่างมาก

ร.ต.อ.ไสว อัครพันธุ์ ครูใหญ่โรงเรียน ตชด. บ้านโป่งลึก เล่าว่า “ที่นี่เคยมีงานวันเด็กครั้งเดียวที่อุทยานฯ เมื่อปี 2540 ในความรู้สึก

ของเด็ก งานปีนี้จึงยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมี เด็กบางคนตื่นเต้นจนมาบอกว่า ครู หนูตื่นเต้นจนหัวใจเต้นแรงแทบจะหลุดออกมาเลย และดีที่สุด

ที่ได้เห็นหน่วยงานในพื้นที่และชาวบ้านสามัคคีกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มาช่วยกันทำงานเพื่อลูกหลาน เห็นเด็ก ๆ มีความสุข ก็ชื่นใจ”

เด็ก ๆ หลายคน เช่น ด.ช.พนมพร จีโบ้ง ชั้น ป.6 ด.ช.สายชล ทองเกิด ชั้น ป.3 ด.ญ.ดอกบัว จีโบ้ง ชั้น ป.3 และ ด.ญ.พรทิยา จีโบ้ง

ชั้น ป.3 พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งสนุกและมีความสุขมากในวันเด็กปีนี้ อยากให้มีงานวันเด็กทุกปีเลย

10

บทความ

Page 11: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

“มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์” กัลยาณมิตรปิดทองฯ พื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง

จงัหวดัเชยีงราย คอื ตน้แบบการพฒันารปูแบบใหม ่ทีน่ำพระธรรม

คำสอนของพระพุทธศาสนามาพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพฒันา

ชีวิตความเป็นอยู่ด้วยองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำร ิ ทั้ง 6 มิต ิ

โดยความร่วมมือระหว่าง “มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์” กับ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

“มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์” ก่อตั้งขึ้นโดยพระมหาวุฒิชัย

วชิรเมธี ให้เป็นสถาบันการศึกษาทางเลือกที่จัดการศึกษาโดย

บูรณาการพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์ร่วมสมัย เป็นการศึกษา

ในมิติใหม่ ที่ไม่ได้มุ่งเน้นพัฒนาคนเพื่อสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

เท่านั้น แต่มุ่งส่งเสริมให้คน สัตว์ สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่าง

กัลยาณมิตร ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และเกิดการพัฒนาอย่าง

สมดุล

ทั้งสององค์กรซึ่งมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะร่วมกัน

ทำงานตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น คือการลงพื้นที่ตำบลห้วยสักเพื่อสำรวจ

ปัญหาและความต้องการของชุมชนด้วยกัน แล้วนำข้อมูลนั้นมา

หารือร่วมกับท่าน ว.วชิรเมธี

ขณะที่ทีมปฏิบัติการระดับอำเภอและปิดทองหลังพระฯ พัฒนา

ระบบน้ำ ดิน เกษตร ฯลฯ มหาวิชชาลัยฯ จะพัฒนาด้านการดำรงชีวิต

ตามวิถีแห่งชาวพุทธ เช่น หลักการบริหารจัดการเงินแบบพุทธศาสนา

หลักการประกอบอาชีพตามหลัก “หัวใจเศรษฐี” ซึ่งเป็นหลักธรรม

ทางเศรษฐกิจของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการ

คือ 1. ขยันหา พึ่งพาตนเองได้ ยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง 2. รักษาดี

รู้จักบริหารจัดการทรัพย์ที่มีอยู่อย่างเหมาะสม 3. มีกัลยาณมิตร

อยู่ท่ามกลางชุมชนที่เต็มไปด้วยคนดี และ 4. ใช้ชีวิตพอเพียง รู้จัก

พอประมาณ และการสอดแทรกหลักคิดทางพระพุทธศาสนาไว้

ในการพัฒนาทั้ง 6 มิติ ด้วย

ขณะนี้ มหาวิชชาลัยฯ ยังเริ่มปลูกผักออแกนิกส์และผักปลอด

สารพิษ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชาวบ้าน ก่อนที่จะมีการปลูกพืช

หลังนาอย่างจริงจัง อีกทั้งในอนาคตยังจะมีโครงการสร้างพลังงาน

ทดแทน ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อีกด้วย

ความร่วมมือระหว่างมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์และ

ปิดทองหลังพระฯ จะทำให้ตำบลห้วยสักเป็นพื้นที่พัฒนาที่เข้มแข็ง

ทั้งกายและใจไปพร้อมกัน

ภาคีภาครีวมใจรวมใจ

11

บทความ

Page 12: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

เวลาเพียง 18 เดือน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย

ที่บ้านท่าลอบ ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัด

สิงห์บุรี

นับจากปิดทองหลังพระฯ เชื่อมโยงความรู้มาให้กับชาวบ้าน

ท่าลอบ เพื่อแก้ปัญหาที่ชาวบ้านประสบอยู่ ทั้งต้นทุนการผลิต ไม่ว่า

ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน ฯลฯ มีราคาสูง ซ้ำร้าย การทำนา 5 ครั้ง

ในเวลา 2 ปี โดยไม่มีการพักดิน ทำให้ยิ่งต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมี

เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และนับวัน ดินก็จะยิ่งเสื่อมคุณภาพลงเรื่อย ๆ

ซ้ำเติมด้วยปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชอีกมาก เป็นต้นว่า เพลี้ย

กระโดดสีน้ำตาล โรคใบขาว หนอนกอ เชื้อรา ข้าวดีด

ความกระตือรือร้นของผู้นำชุมชนและชาวบ้านเอง ที่เชื่อมั่นว่า

แนวทางปิดทองหลังพระฯ จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ คือจุดเริ่มต้น

การพัฒนาด้วยองค์ความรู้

นายประจวบ เพชรทอง อดีตครูและแกนนำชาวบ้าน บอกว่า

“ที่ผ่านมา ปัญหาเกิดจากความไม่รู้ เลยโดนคนขายปุ๋ย ขายยาฆ่า

แมลงหลอกเอา อีกทั้งแข่งกันเพราะอยากรวย เลยทำตาม ๆ กันไป

ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้อะไร ไม่รู้ด้วยว่า ที่ทำไปจะกลายเป็นผลร้ายทั้งนั้น”

ปิดทองหลังพระฯ เริ่มต้นด้วยการเชิญนายพัฒน์ สันทัด ครู

ภูมิปัญญา ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนาทั่วประเทศ มาถ่ายทอดความรู้

และฝึกอบรมเกษตรกรบ้านท่าลอบ เรื่องการป้องกันและกำจัดเพลี้ย

กระโดดสีน้ำตาล ด้วยการพักดินเพื่อตัดวงจรอาหารของเพลี้ย

กระโดดสีน้ำตาล แทนการปราบปรามด้วยสารเคมี และการเพิ่ม

ผลผลิตข้าว โดยใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ปรับปรุงดิน แทนการใช้สารเคมี

ไม่เผาฟางในนาข้าว

“ตอนนี้ชาวบ้านลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในการปลูก

ข้าวได้ 60-70% แล้วหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำกันเอง

ลดค่าใช้จ่ายลงไปได้เยอะเลย นาที่แล้ว เฉพาะค่าปุ๋ยก็ประหยัด

ไปได้ตั้งแสนหนึ่ง ข้าวก็ได้มากขึ้น จากเดิม 70-80 ถังต่อไร่ ตอนนี้

ได้ 100 ถังต่อไร่” นางกัลยา แก้วเกิด เจ้าของที่นากว่า 70 ไร่

กล่าวอย่างชื่นใจ

แม้รายได้จากการทำนาแต่ละครั้ง จะเป็นตัวเลขสูงเกือบ

สายเลือดชาวบางระจัน สู้ยิบตา

12

บทความ

Page 13: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

เจ็ดหลัก แต่นางกัลยาก็บอกว่า ยอมพักดินแล้วครั้งหนึ่ง เพราะรู้

แล้วว่า การพักดินเป็นผลดีอย่างไร

“เพลี้ยกระโดดหายไป ไม่มีอีกเลย พอหว่านข้าวรอบใหม่ เห็น

เลยว่าข้าวเขียวขึ้น ต้นสมบูรณ์ขึ้นกว่าแต่ก่อน”

ชาวบ้านท่าลอบ ยังได้รับความรู้เรื่องการทำสบู่ แชมพู น้ำยา

ลา้งจาน นำ้ยาซกัผา้ไวใ้ชเ้อง และการปลกูพชืผกัสวนครวัรอบ ๆ บา้น

เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การทำไข่ดองฮ่องเต้และฮอร์โมนไข่

อาหารบำรุงสุขภาพสำหรับรับประทานเอง

ผลที่เกิดขึ้นในบ้านท่าลอบ นอกจากผลผลิตข้าวที่ เพิ่มขึ้น

จากเดิม 80 ถังต่อไร่ เป็นอย่างน้อย 100 ถังต่อไร่ ชาวบ้านมีรายได้

เพิ่มขึ้นจากการขายพืชผักและรายจ่ายที่ลดลง เกิดกลุ่มกองทุนที่

บริหารจัดการโดยชาวบ้านเอง เช่น กองทุนหมู ซึ่งมีเงินกองทุนอยู่

ประมาณ 14,000 บาท กองทุนข้าวมีเงิน 70,000 บาท และกองทุน

ผักมีเงินประมาณ 10,000 บาท แล้วชาวบ้านท่าลอบยังรวมพลัง

ความคิด วางอนาคตของชุมชนไว้แล้ว

“พวกสบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน อีกหน่อย เราจะพัฒนาทำ

หีบห่อ ทำกล่องให้สวยงาม แล้วจะตั้งร้านค้าชุมชนขึ้นให้เป็น

ศูนย์จำหน่ายสินค้าพวกนี้ที่เราผลิตกันเอง” นางกัลยา ในฐานะ

ประธานกลุ่มแม่บ้านกล่าว

แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ที่ เกิดขึ้นในชุมชนนี้ คือ

ความรักความสามัคคี เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน “จากแต่ก่อนที่ต่างคน

ต่างอยู่ ไม่สนใจกัน ใครมีอะไรดี ๆ ก็เก็บไว้กับตัว ไม่ยอมบอกใคร แต่

เมื่อปิดทองฯ เข้ามา ทำให้พวกเรารู้จักการเป็นผู้ให้ แบ่งปัน

และเอาใจใส่ดูแลกันและกัน ตอนนี้ใครมีสูตร มีอะไรดี ๆ ก็จะบอก

ต่อ ๆ กัน ทุกอาทิตย์จะพร้อมใจกันมาประชุม 2-3 ครั้ง มาคุยกันว่า

เราจะพัฒนาหมู่บ้านของเราอย่างไร” นายประจวบ กล่าว

ความเอื้ออาทร เอาใจใส่ดูแลกัน ที่เห็นได้เด่นชัด คือ การที่

ชาวบ้านรวมตัวกัน ขอพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในหมู่บ้าน ประมาณ 8 ไร่

ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ มาให้ชาวบ้านที่ไม่มีที่ทำกิน

หรือมีอาชีพรับจ้างที่รายได้ไม่แน่นอนมาจัดสรรเป็น 16 แปลง ๆ ละ

2 งาน สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวเป็นรายได้

“เวลาไม่มีงานรับจ้าง แทนที่จะอยู่บ้านเฉย ๆ ก็มาปลูกผัก ได้

วันละ 100-200 บาทก็ยังดี”

นางพิกุล ขุนเณร หนึ่งในผู้ที่ได้รับการจัดสรรแปลงปลูกผัก

จากชุมชน บอกว่า เมื่อก่อนรับจ้างทั่วไป ย่ำนาบ้าง ถางหญ้าบ้าง

แต่ก็ไม่ได้มีงานทุกวัน จึงดีใจมากที่ได้ที่ดินไว้ทำกิน ทุกวันนี้เก็บผัก

ขายได้ทุกวัน

นางสำรวม เมืองช้าง หญิงชราวัยเกือบเจ็ดสิบ ทุกวันนี้ได้เก็บผัก

ขายเลี้ยงตัวเองกับสามี ทดแทนรายได้จากการรับจ้างที่ทำไม่ไหว

แล้ว “ปลูกกระเจี๊ยบ มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว เก็บขายได้ทุกวัน

เลยไม่ต้องไปรับจ้างนอกหมู่บ้านอีก ได้อยู่กับบ้านมีกินมีใช้แบบนี้

ก็มีความสุขแล้ว”

ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญาและผู้เชี่ยวชาญ

ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังความสามัคคีที่ยิ่งใหญ่ ทำให้บ้านท่าลอบ

ก้าวข้ามอุปสรรค และพร้อมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

ประจวบ เพชรทอง กัลยา แก้วเกิด พิกุล ขุนเณร สำรวม เมืองช้าง

13

บทความ

Page 14: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

คูพัฒนาคูพัฒนาเรียนรูเรียนรู

มะเขือเทศ เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ปลูกกันมากใน

พื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อตอบสนอง

ทั้งอุตสาหกรรมแปรรูปและการบริโภคผลสด

แต่การปลูกมะเขือเทศซ้ำ ๆ ในพื้นที่ เดิมตลอด ทำให้เกิด

การระบาดของโรคเหี่ยวเขียว ศัตรูร้ายหมายเลขหนึ่งของมะเขือเทศ

ที่แม้แต่การใช้สารเคมีหรือการจัดการดินก็ไม่สามารถควบคุม

การระบาดของโรคได้

วิธีการเดียวที่ยับยั้งการเกิดโรคเหี่ยวเขียวได้ คือ การต่อยอด

มะเขือเทศพันธุ์ที่ต้องการบนต้นตอมะเขือเทศ มะเขือ หรือมะเขือพวง

ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อ ค.ศ.

1920 จากนั้นก็เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัด

สกลนคร ซึ่งเน้นการแปรรูปมะเขือเทศเป็นซอสมะเขือเทศเข้มข้น

การต่อยอดมะเขือเทศ โดยใช้ต้นตอมะเขือพวง

เปน็หลกั มกีารสง่เสรมิปลกูมะเขอืเทศในพืน้ทีเ่ดมิ ๆ รอบโรงงานหลวง

ประมาณ 2,500-3,000 ไร่ ต่อปี ดังนั้น โรงงานหลวงจึงได้นำวิธีการ

ต่อยอดมะเขือเทศโดยใช้ต้นตอมะเขือพวงมาทดลองทำในพื้นที่

แปลงสาธิตของโรงงานหลวง เพื่อยับยั้งการเกิดโรคเหี่ยวเขียว และ

ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรเป็นทางเลือกในการพัฒนาการผลิต

มะเขือเทศให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

การต่อยอดมะเขือเทศบนต้นตอมะเขือเทศพวงของโรงงานหลวง

เป็นต่อยอดแบบใช้ท่อ เนื่องจากประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย วิธีการ

ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องมีความชำนาญก็สามารถทำได้ อุปกรณ์

มีเพียงมีด หลอดต่อยอดหรือสายน้ำเกลือ) และแอลกอฮอล์เท่านั้น

วิธีการง่ายมาก เพียงเพาะกล้าต้นตอมะเขือพวงก่อน แล้วเพาะ

กล้ากิ่งพันธุ์ (มะเขือเทศ) 7 วัน เมื่อกิ่งพันธุ์มะเขือเทศ มีอายุ 21 วัน

หรือมีใบจริง 3-4 ใบก็นำมาทำการต่อยอด โดยตัดต้นตอให้เฉียง

ประมาณ 30 องศา นำหลอดสวมลงในปลายที่ตัด และตัดกิ่งพันธุ์

ให้เฉียงเช่นเดียวกับต้นตอ แล้วนำกิ่งพันธุ์ใส่เข้าไปในท่อ ให้รอยตัด

ของต้นตอและกิ่งพันธุ์ประกบกันพอดี เพื่อให้รอยตัดประสานกัน

ได้รวดเร็วขึ้น

หลังจากต่อยอดเสร็จ ให้รีบนำต้นกล้าเข้าไว้ในห้องที่มีความชื้น

อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียสและความเข้มแสง 45 เปอร์เซ็นต์

ปิดทางเข้า-ออกของอากาศ 3 วัน ครบ 3 วันแล้วจึงเริ่มเปิดพลาสติก

ให้อากาศถ่ายเท เพื่อปรับความชื้นระหว่างภายนอกและภายใน

ให้เท่ากันอีก 3 วัน แล้วจึงย้ายต้นกล้าต่อยอดไปไว้ในโรงเรือน เพื่อให้

ได้รับแสงแดดเป็นเวลา 7 วันจึงย้ายไปปลูกในแปลงต่อไป

ขอ้มลูความรูจ้าก บรษิทั ดอยคำผลติภณัฑอ์าหาร จำกดั

14

บทความ

Page 15: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

เมื่อสิบห้าปีก่อน วิถีชีวิตของนายปลุ จีโบ้ง ชนกะหร่าง

แห่งบ้านบางกลอย ใจกลางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ก็ไม่

ต่างจากเพื่อนบ้านเกือบทั้งหมด ที่ต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล

ผ่านทางหินปนลูกรัง ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ออกมาทำงาน

รับจ้างนอกหมู่บ้าน

ปลุ เดินเท้าออกจากบ้านบางกลอย 3 ชั่วโมง เพื่อมาเป็นคนงาน

เก็บมะนาวที่บ้านโป่งแดง ห่างจากบ้านบางกลอยมา 13 กิโลเมตร

เพื่อแลกกับเงินจุนเจือครอบครัวเดือนละพันบาท ที่ได้จากค่าแรง

วันละ 100 บาท และหาปลาหาผักพอเป็นกับข้าว

เมื่อมาเป็นคนงานไร่สับปะรดในอำเภอแก่งกระจาน รายได้

วันละ 100 บาทเหมือนเดิม แต่เงินจุนเจือครอบครัวลดลงเหลือไม่กี่

ร้อยบาท เพราะหมดไปกับค่ากับข้าวที่ต้องซื้อหามากินเองในแต่ละ

วัน แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าการอยู่ในป่า ที่หางานหาเงินไม่ได้ ซ้ำยัง

ไม่อาจเพาะปลูกประทังชีวิตได้ เพราะบนที่สูงขนาดนั้น “น้ำ” เป็นสิ่ง

ที่หาได้ยากเย็นยิ่งนัก

เมื่อรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 บ้านบางกลอย

ตำบลห้วยแม่เพรียง ในปี 2551 ผู้ช่วยปลุ เลิกรับจ้างหันมาปลูก

ข้าวไร่ โดยอาศัยพื้นที่ทำกินรกร้างของเพื่อนบ้านที่อุทยานแห่งชาติฯ

จัดสรรให้ แต่นานวันเข้า ผลผลิตที่น้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งน้อยลงไป

เรื่อย ๆ ด้วยดินเสื่อมสภาพ ข้าวไร่จึงไม่อาจเป็นความหวังที่จะเลี้ยง

ชีวิตเขาและสมาชิกในครอบครัวอีก 4 ปากท้องได้อีก

อนาคตสดใส ที่จะสร้างได้ด้วย “ผัก”

3 ปีต่อมา ปลุ หันมาทดลองปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ที่ได้รับ

การจัดสรรให้ทำกินจากอุทยานฯ แต่ทั้งหมดก็กลายเป็นอาหารของ

หมูป่า การลงทุนที่ผลตอบแทนเป็นศูนย์ ทำให้ ปลุ แทบมองไม่เห็น

อนาคตของตัวเอง

เดือนตุลาคม 2555 ผลผลิตอันงดงามจาก “แปลงสาธิต

ชาวบ้านปลูกผักกินเอง บ้านบางกลอย” ที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ

สืบสานแนวพระราชดำริ สนับสนุนองค์ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ให้

ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปลูกกันขึ้นมาเอง ได้จุดประกายความหวัง

ของผูช้ว่ยปลุ ให้เรืองรองขึ้นมา

“เมื่อก่อนนี้ไม่รู้อะไรเลย ผักนี่ปลูกยังไง แต่ตอนนี้ตั้งใจไว้แล้ว

ว่าจะทำแปลงผัก ที่ทั้ง 7 ไร่ จะเอาไว้ปลูกผักขาย รอให้น้ำปิดทองฯ

มาถึงหมู่บ้านก่อน จะเอาความรู้ที่ได้จากแปลงผักนี่ไปช่วยกันทำ

ทั้งครอบครัว”

ไม่ได้จะเป็นเกษตรกรสวนผักเต็มตัวเท่านั้น แต่ภายใน 5 ปี

ข้างหน้า ผู้ช่วยปลุ ตั้งใจว่า จะเป็นพ่อค้าที่จะมีผักทั้งจากสวนของ

ตัวเอง และที่รับซื้อจากเพื่อนบ้านไปขายข้างนอก เพื่อรายได้ที่เป็น

กอบเป็นกำ เลี้ยงชีวิตได้สบาย ๆ

แววตาของผู้ช่วยปลุเป็นประกาย เมื่อพูดถึงอนาคตในวันหน้า

ของครอบครัวว่า “ผักนี่จะทำให้ลูกผม อย่างน้อยก็ได้เรียนจบ

ปริญญาตรี เพราะผมไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องทำไร่ไถนา แต่ลูกเขาอยู่

กับครู เขาเก่งหนังสือ ก็เลยอยากให้ลูกได้เรียนมาก ๆ”

15

บทความ

15

Page 16: จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 11

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ในพื้นที่ 155,200 ไร่ หรือเกือบ 250 ตารางกิโลเมตร ของ

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ที่ความสูง 300-1,752 เมตร เหนือระดับ

ทะเลปานกลาง เต็มไปด้วยผืนป่าเขียวขจี ถ้ำขนาดใหญ่ น้ำตก

งดงามถึง 6 แห่ง จุดชมทะเลหมอก มียอดดอยจี๋เป็นยอดเขาสูงที่สุด

ที่สำคัญ ผืนป่านี้ยังเป็นจุดกำเนิดลุ่มน้ำถึงสามลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำยม

ตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ต้นน้ำสำคัญของลำน้ำ

หลักของประเทศทั้งลำน้ำยม และลำน้ำน่าน

ความงดงามอันน่ามหัศจรรย์ที่รอคอยผู้มาเยือนอยู่ภายใน

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน มีทั้งถ้ำหลวงสะเกิน ถ้ำทอง ที่มีผนังถ้ำ

เป็นเกล็ดสีทองระยิบระยับ เมื่อกระทบกับแสงไฟก็จะส่องแสงสีทอง

วิบวับราวกับทองคำเปลว และเชื่อกันว่าเป็นรอยเท้าพระอรหันต์

ที่เมื่อผู้ประสงค์สิ่งใด อธิษฐานจิตขอพร ก็จะได้สมปรารถนา

ยังมีน้ำตกห้วยหาด น้ำตกผาธาร น้ำตกผาลาด น้ำตกน้ำคะ

น้ำตกสีธน น้ำตกหงษ์เวียงจันทร์ ที่เมื่อละอองน้ำตกกระทบบนหิน

ผ่านแสงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์หินเปลี่ยนสีที่หาดูได้ยาก

ความน่าสนใจยังอยู่ที่สุสานฟอสซิลเพรียงหินล้านปี อายุ 270-299

ล้านปี และเส้นทางเดินสำรวจธรรมชาติหลากหลาย แต่เส้นทาง

ที่สำคัญที่สุด คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติต้นพระเจ้าห้าพระองค์

ที่มีต้นพระเจ้าห้าพระองค์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นพระเจ้าห้าพระองค์

ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นท่ามกลางพันธุ์ไม้สวยงาม

แปลกตา หายาก นานาพันธุ์ เช่น ไม้ก่อ พญาไม้ พญาเสือโคร่ง

มะขามป้อมดง สนสามพันปี อบเชย กฤษณา ไม้ยาง กระบาก สมพง

ลำพูป่า กระทุ่ม กูดต้น กูดพร้าว เอื้องกุหลาบพวง ยางแดง ยางขาว

ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง สมอพิเภก ตะคร้อ เสี้ยว ดอกขาว มอส

และเฟิร์นต่าง ๆ

อุทยานแห่งนี้ยังสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าหายาก ทั้งเสือ เลียงผา เก้ง

หมูป่า กระรอก กระแต หมาใน เหยี่ยว นกขุนทอง นกเขา ฯลฯ รอให้

ทุกคนได้มาเห็นมาชม

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อันซีนแห่งน่าน ท่ามกลางไอหมอกที่ทอดตัวระเรี่ยรายปกคลุมทิวเขาหลวงพระบาง กำแพงธรรมชาติกั้นพรมแดนจังหวัดน่านกับประเทศลาว

คือ ผืนป่าสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดน่าน คือ ท่าวังผา เชียงกลาง ทุ่งช้าง

สองแคว และอีก 2 อำเภอในจังหวัดพะเยา คือ ปงและเชียงคำ

16

สารคดี