safety mar 2551

3
19 มีนาคม 2551 มุมความปลอดภัย เรื่อง... กรวิชญ์ เส้นแก้วใส กองมาตรฐานความปลอดภัย สีและเครื่องหมายความปลอดภัย สีและเครื่องหมายความปลอดภัยนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในสถานประกอบการ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ แบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี1.เตือนให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการห้ามและการบังคับต่างๆ 2.เตือนให้ทราบถึงข้อปฏิบัติในการป้องกันอันตรายและเหตุฉุกเฉิน 3.บอกตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ปฐมพยาบาล 4.บอกข้อมูลและทิศทางให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้มาเยี่ยมชมสถานที่ได้ทราบ ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานของสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ที่กำหนดโดยองค์กรต่างๆมากมาย อาจมีรายละเอียด แตกต่างกันบ้าง แต่ที่จะกล่าวถึงเฉพาะสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 635 เล่ม 1 ถึง 2 -2529 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมประเทศไทย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยอาศัยเอกสาร ISO 3864 -1984 ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) และ BS 5378 : Part 1-3 (1980 - 1982) ของสำนักงานมาตรฐานประเทศอังกฤษ(British Standard Institution : BSI) มาประกอบการพิจารณาจัดทำมาตรฐาน ขึ้นซึ่งมีขอบเขตที่สำคัญ คือ สีเพื่อความปลอดภัย รูปแบบของเครื่องหมายความปลอดภัย เครื่องหมายเสริม ขนาดของเครื่องหมายและ ตัวอักษรของสี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ใช้สื่อความหมายต่างๆ แทนการใช้ข้อความเพื่อจุดประสงค์ในการเตือนภัยหรือให้คำ แนะนำในการป้องกันอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ไม่รวมถึงเครื่องหมายที่ใช้ในการควบคุมการจราจร สีเพื่อความปลอดภัย นั้นหมายถึงสีที่กำหนดในการสื่อความหมายเพื่อความปลอดภัย โดยกำหนด สี สีตัด ความหมายและ ตัวอย่างการใช้งาน สี ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด - หยุด - เครื่องหมายหยุด สีขาว - เครื่องหมายหยุดฉุกเฉิน - เครื่องหมายห้าม - ระวัง - ชี้บ่งว่ามีอันตราย สีดำ - มีอันตราย - ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านมีอันตราย เครื่องกีดขวาง - เครื่องหมายเตือน - บังคับให้ต้องปฏิบัติ - บังคับให้ต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สีขาว - เครื่องหมายบังคับ - แสดงภาวะปลอดภัย - ทางหนี สีขาว - ทางออกฉุกเฉิน - ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน - หน่วยปฐมพยาบาล - หน่วยกู้ภัย - เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย - สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงและตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย - อาจใช้สีส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ห้ามใช้สีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

Upload: pkuchonthara383

Post on 16-Apr-2015

32 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Safety Mar 2551

19มีนาคม 2551

มุมความปลอดภัย เรื่อง... กรวิชญ์ เส้นแก้วใส กองมาตรฐานความปลอดภัย

สีและเครื่องหมายความปลอดภัย สีและเครื่องหมายความปลอดภัยนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

ทั้งในสถานประกอบการ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ แบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1.เตือนให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการห้ามและการบังคับต่างๆ

2.เตือนให้ทราบถึงข้อปฏิบัติในการป้องกันอันตรายและเหตุฉุกเฉิน

3.บอกตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

4.บอกข้อมูลและทิศทางให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้มาเยี่ยมชมสถานที่ได้ทราบ

ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานของสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ที่กำหนดโดยองค์กรต่างๆมากมาย อาจมีรายละเอียด

แตกต่างกันบ้าง แต่ที่จะกล่าวถึงเฉพาะสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 635 เล่ม 1 ถึง

2 -2529 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมประเทศไทย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยอาศัยเอกสาร ISO

3864 -1984 ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) และ BS 5378 : Part

1-3 (1980 - 1982) ของสำนักงานมาตรฐานประเทศอังกฤษ(British Standard Institution : BSI) มาประกอบการพิจารณาจัดทำมาตรฐาน

ขึ้นซึ่งมีขอบเขตที่สำคัญ คือ สีเพื่อความปลอดภัย รูปแบบของเครื่องหมายความปลอดภัย เครื่องหมายเสริม ขนาดของเครื่องหมายและ

ตัวอักษรของสี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ใช้สื่อความหมายต่างๆ แทนการใช้ข้อความเพื่อจุดประสงค์ในการเตือนภัยหรือให้คำ

แนะนำในการป้องกันอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ไม่รวมถึงเครื่องหมายที่ใช้ในการควบคุมการจราจร

สีเพื่อความปลอดภัย นั้นหมายถึงสีที่กำหนดในการสื่อความหมายเพื่อความปลอดภัย โดยกำหนด สี สีตัด ความหมายและ

ตัวอย่างการใช้งาน

สี ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด

- หยุด - เครื่องหมายหยุด สีขาว

- เครื่องหมายหยุดฉุกเฉิน

- เครื่องหมายห้าม

- ระวัง - ชี้บ่งว่ามีอันตราย สีดำ

- มีอันตราย - ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านมีอันตราย เครื่องกีดขวาง

- เครื่องหมายเตือน

- บังคับให้ต้องปฏิบัติ - บังคับให้ต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สีขาว

- เครื่องหมายบังคับ

- แสดงภาวะปลอดภัย - ทางหนี สีขาว

- ทางออกฉุกเฉิน

- ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน

- หน่วยปฐมพยาบาล

- หน่วยกู้ภัย

- เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย

- สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงและตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย

- อาจใช้สีส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ห้ามใช้สีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

Page 2: Safety Mar 2551

20

ตัวอย่างการใช้สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัดเพื่อเตือนอันตราย ได้แก่ สีเหลืองและสีตัดดำ ใช้บริเวณหรือสถานที่ที่อาจมีภัย

อันตรายชั่วคราวหรือถาวร เช่น สถานที่อาจมีภัยอันตรายจากการชน การตกหล่น การสะดุด หรืออาจมีของตกหล่นจากที่สูง หรือสถานที่

ที่เป็นขั้นบันไดหรือมีหลุมบ่อ เป็นต้น

พื้นที่ของสีเหลือง มีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย คือ เครื่องหมายที่ใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยมี สี รูปแบบ และสัญลักษณ์ภาพ

หรือข้อความแสดงความหมายเพื่อความปลอดภัย ตาม มอก.635 เล่ม 1 แบ่งเป็น ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงความหมาย เช่น

เครื่องหมายห้าม เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายบังคับ และเครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับภาวะปลอดภัย

เครื่องหมายห้าม ความหมาย เครื่องหมายห้าม ความหมาย

ห้ามทั่วไป ห้ามใช้น้ำดับไฟ

(General prohibition) (Do not extinguish with water)

ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามใช้น้ำดื่ม

(No smoking) (Not drinking water )

ห้ามจุดไฟหรือสูบบุหรี่ ห้ามใช้บันได

(Smoking and naked (Do not use ladders)

flames prohibited )

ห้ามคนเดินผ่าน ห้ามเดินเครื่อง

(Pedestrians prohibited) (Do not operate)

เครื่องหมายห้าม รูปแบบที่ใช้จะเป็นรูปวงกลมมีแถบขวางดังตัวอย่าง สีที่ใช้ คือ สีพื้นใช้สีขาว สีแถบตามขอบวงกลมและแถบขวางเป็นสี

แดง สีของสัญลักษณ์ภาพเป็นสีดำ โดยแสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมายและไม่ทับแถบขวาง ทั้งนี้ พื้นที่สีแดงต้องมีอย่าง

น้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

สีดำ

สีเหลือง

Page 3: Safety Mar 2551

21มีนาคม 2551

รูปแบบและสีของเครื่องหมายห้าม

เครื่องหมายเตือน

รูปแบบที่ใช้จะเป็นรูปสามเหลี่ยมดังแสดงในภาพ โดยสีพื้นใช้สีเหลือง สีของแถบตามขอบและสีของสัญลักษณ์ภาพใช้สีดำ ทั้งนี้

พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย สำหรับตัวอย่างของเครื่องหมายเตือนที่แนะนำไว้ใน

มอก.635

รูปแบบและสีของเครื่องหมายเตือน

รูปแบบและสีของเครื่องหมายเตือน

เครื่องหมายห้าม ความหมาย เครื่องหมายห้าม ความหมาย

เตือนทั่วไป ระวังอันตรายจากลำแสงเลเซอร์

(General hazard) (Caution, Laser beam)

ระวังอันตรายจากไฟ ระวังอันตรายจากสุนัข

(Caution, Risk of fire) (Caution, Guard dog)

ระวังอันตรายจากการระเบิด ระวังหลังคาแตกหักง่าย

(Caution, Risk of explosion) (Caution, Fragile roof)

ระวังอันตรายจากวัตถุมีพิษ ระวังศีรษะกระแทก

(Caution, Toxic hazard) (Caution, Overhead hazard

(Fixed hazard))

สีดำ สีเหลือง

สีขาว สีแดง

...อ่านต่อฉบับหน้า