ภาษาไทย - apple

23
ระน โรงเยน สาต ลเญคณะกษาศาสต มหาทยายรพา ภาษาไทย ระบนประถมกษา

Upload: khangminh22

Post on 03-Feb-2023

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ระพิน ชูชื่น โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง...

ลักษณะของอักษรนำ

คำพ้อง

ชนิดของคำพ้อง

ตัวอย่างคำพ้องรูป

แบบฝึกหัด

การอ้างอิง

อักษรควบ

ชนิดของอักษรควบ

อักษรนำ

การลดรูป เปลี่ยนรูปสระ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

อักษรควบ

คือคำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว (ตัวที่สองเป็น ร, ล, หรือ ว) และประสมอยู่ในสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงเป็นพยางค์เดียว๑

อักษรควบ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ชนิดของอักษรควบ อักษรควบมี ๒ ชนิด คือ

อักษรควบแท้

ออกเสียงพร้อมกัน เช่น

- ควบตัว ร ได้แก่ ไกร กรน กรง ตราด ครั่นคร้าม ครื้นเครง ขรุขระ พระ พริก

- ควบตัว ล ได้แก่ เกลียด กลอง กลัว เพลง คลาน พลอย ปล่อย เผลอ พลาด

- ควบตัว ว ได้แก่ ไกว ขว้าง เคว้งคว้าง ขวนขวาย กวาด ขวิด ขวาน ความ

บุตรี อ่านว่า บุด - ตรีจิตรา อ่านว่า จิต - ตราจักรี อ่านว่า จัก - กรีนิทรา อ่านว่า นิด - ทรา

เป็นตัวสะกดด้วยกัน เช่น บุตร เนตร มิตร จิตร บัตร สมัคร สมุทร ฯลฯ ถ้าตัวสะกดเหล่านี้มีรูปสระกำกับ ก็ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวสะกดและออกเสียงด้วยในคราวเดียวกัน เช่น

เป็นตัวการันต์ด้วยกัน เช่น พักตร์ ศาสตร์ อินทร์ อรินทร์ จันทร์ ฯลฯ

หมายเหตุ อักษรควบแท้นี้พยัญชนะอื่นที่มาควบด้วยจะต้องเรียงไว้ข้างหน้า ร ล ว เสมอ

คือ คำที่มีพยัญชนะต้นที่ควบหรือกล้ำกับ ร ล ว อยู่ในสระเดียวกัน และออกเสียงพยัญชนะทั้งสองพร้อมกัน ถ้าเป็นตัวสะกดหรือการันต์ต้องเป็นด้วยกัน เช่น

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ชนิดของอักษรควบ

อักษรควบไม่แท้

คือ คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ควบหรือกล้ำอยู่ในสระเดียวกัน ได้แก่ พยัญชนะที่ควบกับตัว ร แต่ไม่ออกเสียง ร หรือออกเสียงแปรเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะตัวอื่น เช่น สร้อย จริง ทราบ

ตัวอย่างการอ่านคำควบกล้ำ๒

นกกางปีกบินกลางหว่างม่านฟ้า มันบินปราดปาดหน้าอีกาหนี

นกกะปูดปรูดลาพนาลี บินพุ่งก่อนพรุ่งนี้ลัดลี้ไกล

นกยางเกาะคันนาอยู่ดูมากครัน เคียงคู่กันมันเคล้าอยู่เป็นครูใหญ่

บนคาคบครบคู่จู๋จี๋ไป ภาพตรึงตราตรึงใจให้ชื่นชม

แต่ถึงภาคพรากกันพลันใจหาย ค่อยเคลื่อนกายกรายไปให้ขื่นขม

ต้องตากทุกข์ตรากตรำซ้ำระทม เหมือนตกตมตรมอยู่มิรู้วาย

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

อักษรนำ

คือคำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว รวมกับสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงจะมีเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวประสมกันสนิท๓ เช่น หนู หนอ หมอ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

บางคำก็ออกเสียงคล้ายกับเป็น ๒ พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าผสมกับพยัญชนะตัวหลัง แต่พยัญชนะทั้งสองนั้นประสมกันไม่สนิทกลมกลืนเหมือนอักษรควบแท้ จึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังแทรกออกมา เป็นลักษณะอักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว การที่มี “ห” แทรกกลางเพราะต้องผันวรรณยุกต์ให้เท่ากับตัวแรก เช่น ขนม จรัส ฉมวก กนก แถลง ผนวก ไสว ฯลฯ

อักษรนำ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ลักษณะของอักษรนำเป็นอย่างไรนะ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ลักษณะของอักษรนำ

๑. ต้องเป็นพยัญชนะ ๒ ตัว ประสมกันและร่วมอยู่ในสระเดียวกัน

๒. ตามปกติอักษรนำ เวลาออกเสียงจะปรากฏเสียงพยัญชนะ ๒ ตัว ประสมกัน คนละครึ่ง พอสังเกตได้ว่าพยัญชนะอะไรประสมกัน แต่มียกเว้นพยัญชนะอยู่ ๒ ตัว คือ ตัว ห กับตัว อ

ตัว ห นำ เมื่อเป็นตัวนำอักษรเดี่ยว ไม่ต้องออกเสียงคนละครึ่ง เหมือนอักษรนำตัวอื่น ๆ แต่ให้ออกเสียงประสมกันสนิทเหมือนอักษรควบแท้ เช่น หนู หงอ หมอ ใหญ่ ฯลฯ

ตัว อ นำ เมื่อนำหน้าตัว ย ให้ออกเสียงทำนองเดียวกับ ห นำ แต่เป็นเสียงอักษรกลาง ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก มีใช้เพียง ๔ คำเท่านั้น

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ลักษณะของอักษรนำ

๓. ถ้าพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรสูง หรือ อักษรกลางและตัวหลังเป็นอักษรเดี่ยวนั้น จะต้องออกเสียงและผันเสียงอย่างอักษรสูง หรืออักษรกลางซึ่งเป็นตัวนำ เช่น

อักษรสูง นำอักษรเดี่ยว ได้แก่

ถวาย อ่านว่า ถะ-หวาย

สมัคร อ่านว่า สะ-หมัก

เฉลียว อ่านว่า ฉะ-เหลียว

สนอง อ่านว่า สะ-หนอง

สง่า อ่านว่า สะ-หง่า

ขยาย อ่านว่า ขะ-หยาย

อักษรกลาง นำอักษรเดี่ยว ได้แก่

จรด อ่านว่า จะ-หรด

ปลัด อ่านว่า ปะ-หลัด

ตลาด อ่านว่า ตะ-หลาด

อนาถ อ่านว่า อะ-หนาด

กนก อ่านว่า กะ-หนก

หมายเหตุ บางคำที่ไม่อ่านตามกฎนี้ เช่น กฤษณะ, วิษณุ, อัศวิน, ปลาต

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ลักษณะของอักษรนำ

ปรวด (หนองที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อ) อ่านว่า ปะ-หรวดปรอด (ชื่อนกชนิดหนึ่ง) อ่านว่า ปะ-หรอดแปรก (ชื่อเครื่องเกวียนหรือรถ) (ชื่อช้าง) อ่านว่า ปะ-แหรกปรอท (ชื่อธาตุชนิดหนึ่ง) อ่านว่า ปะ-หรอด

อักษรนำที่มี ร, ล, ว เป็นตัวตามอ่านว่าต้น มีรูปเหมือนอักษรควบ แต่อ่านแบบอักษรนำ คือ อ่าน ๒ พยางค์๔ เช่น

ปรัมปรา (เก่าก่อน, สืบ ๆ กันมา) อ่านว่า ปะ-รำ-ปะราปราชัย (ความพ่ายแพ้) อ่านว่า ปะ-รา-ไชปริวิตก (เป็นทุกข์ หนักใจ) อ่านว่า ปะ-ริ-วิ-ตกปรามาส (การจับต้อง, การลูบคลำ) อ่านว่า ปะ-รา-มาดปรากรม (ความเพียร) อ่านว่า ปะ-รา-กรม

คำบางคำมีรูปแบบอักษรนำและอักษรควบ แต่อ่านออกเสียงเรียงพยางค์ธรรมดา ไม่จัดว่าเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบ เช่น

๔. ถ้าเป็นตัวสะกด ให้ถือตัวหน้าเป็นตัวสะกดแต่ตัวเดียว แต่ในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวนำด้วย เช่น วาสนา พิศวง พิสมัย กฤษณา

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

คำพ้อง

คือ คำที่ออกเสียงอย่างเดียวกัน หรือคำที่เขียนรูปอักษรอย่างเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน

คำพ้อง

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ชนิดของคำพ้อง

๑. คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนต่างกัน อ่านออกเสียงเหมือนกัน และมีความหมายต่างกัน เช่น

คำ คำแปล ตัวอย่างที่ใช้มั่น แน่นอน, เชื่อ, แน่น มั่นใจ, ผูกให้มั่น

หมั้น มอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงว่าจะแต่งงานด้วย

นายป่องได้หมั้นกับนางสาวแป๋วแล้วเมื่อวานนี้

การ การงาน เขาทำการบ้านกาล เวลา กาลครั้งหนึ่งกานต์ ที่รัก เขาชื่อกานต์

คำพ้องแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๒. คำพ้องรูป คือคำที่เขียนเหมือนกัน อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน เช่น

เพลา อ่านว่า เพลา ถ้าหมายถึงส่วนประกอบของรถ เรียกว่า เพลาขับ หรือ เพลาเกวียนอ่านว่า เพ-ลา ถ้าหมายถึง เวลา เช่น เพลาเช้า อ่านว่า เพ-ลา-เช้า

จะอ่านคำพ้องรูปได้ถูกต้องจะต้องดูบริบท (คำหรือข้อความที่แวดล้อมคำที่จะอ่าน) จากตัวอย่างข้างบน คือคำว่า รถ ขับ เกวียน เช้า เป็นต้น๕

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตัวอย่างคำพ้องรูป

เพลา เพ - ลา

เพลา

= เวลา

= เบา ๆ หรือตัก

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตัวอย่างคำพ้องรูป

พระยาศรีสุนทรโวหาร ได้เขียนคำกลอนเกี่ยวกับคำพ้องรูปไว้ดังนี้

กระบวนหนึ่งตัวเขียนไม่เปลี่ยนแปลก แต่อ่านแยกสองความตามวิถี

วัดเขมาโกฐเขมาเพลาก็มี แต่ที่นี่ไปถึงป่าเพลาเย็น

ที่ริมเชิงเสลาภูผาใหญ่ ล้วนกอไผ่ลำสร้างเสลาเห็น

หัดบวกปูนใบเสมากว่าจะเป็น หน้าโฮเต็ลปลูกเสมาดูเพราตา

ใครไปตัดต้นโสนที่คลองโสน ตัดจนโกร๋นเหี้ยนหักเอาหนักหนา

ปูแสมแลเขดาเขดาระงา เป็นวาจาสองเงื่อนอย่าเฟือนทาง

(คำพ้องคำใดจะอ่านอย่างไรให้ดูที่ข้อความข้างเคียง)

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตัวอย่างคำพ้องรูป

หมายเหตุ มีคำบางคำมีรูปอักษรและอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกันและไม่ใช่เป็นคำพ้องเสียง เช่น

ขัน - เป็นภาชนะตักน้ำชนิดหนึ่ง

ขัน - เป็นการทำให้ตึง

ขัน - ไก่หรือนกบางชนิดส่งเสียงร้อง

กัน - สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนชื่อผู้พูด

กัน - กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป

กัน - โกนให้เป็นเขตเสมอกัน

ซอย - ทำถี่ ๆ ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ

ซอย - เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่

เกาะ -ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมโลกโดยตลอดและมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป

เกาะ - จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

มาทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้กันเถอะ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนขีดเส้นใต้คำที่เป็นอักษรควบแท้

๑) กลม

๕) จริง

๙) เศร้า

๑๓) ขว้าง

๑๕) ปทุมธานี

๑๙) เลอะเทอะ

๒๓) ตีเกราะ

๒) กลาย

๖) ใคร

๑๐) ตรวจ

๑๔) ไกล

๑๖) มิตรสหาย

๒๐) ตักบาตร

๓) สร่าง

๗) สร้อย

๑๑) เพลิน

๑๕) สงขลา

๑๗) ลุงไปล่

๒๑) มหาสมุทร

๔) เคลื่อน

๘) คลอง

๑๒) เสริม

๑๖) เกษตรกร

๑๘) เม็ดทราย

๒๒) โกรธ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

ตอนที่ ๒ จงขีดเส้นใต้ ๑ เส้น ใต้คำอักษรควบแท้ และขีดเส้นใต้ ๒ เส้น ใต้คำอักษรควบไม่แท้

๑) ฉันไปดูเจ้าเข้าทรงเพื่อคลี่คลายความสงสัย

๒) เขาสร้างสะพานคร่อมลำธาร

๓) หมอดูปลอบโยนด้วยคำเคลือบแฝง

๔) กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

๕) เขาทราบความจริงเมื่อครูเสริมความ

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตอนที่ ๓ จงนำคำต่อไปนี้เติมลงในตารางที่กำหนดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งเขียนคำอ่านด้วย

อักษรควบแท้ อักษรควบไม่แท้ อ่านว่า

๑) กวาด - กวาด๒)

๓)

๔)

๕)

๖)

๗)

๘)

๙)

๑๐)

อักษรควบแท้ อักษรควบไม่แท้ อ่านว่า

๑๑)

๑๒)

๑๓)

๑๔)

๑๕)

๑๖)

๑๗)

๑๘)

๑๙)

๒๐)

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

กวาด ไซร้ ไขว่คว้า สรง กลอง สรวล ปลอบ ฉะเชิงเทรา สร้าง คลี่คลายคร่อม สรวล แทรกแซง เสริม ขวนขวาย ความ เคลือบ ปรากฏ เกรียม มัทรี

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตอนที่ ๔ จงเลือกคำควบแท้และควบไม่แท้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

อักษรควบแท้ อักษรควบไม่แท้

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

กรวดทราย สงเคราะห์ พร้อมเพรียง อาศรม ทุจริต ขวนขวาย สร้อยคอ ปรัมปรา

หรูหรา ผลีผลาม เสริมสร้าง ปลิดทิ้ง ศรัทธา ทรุดโทรม จริงใจ โครงการ

ปลานิล สระน้ำ หม่อมเจ้า ลุงไปล่ โศกเศร้า ซาบซึ้ง ความหมาย ทรง

มิตรสหาย เกษตรกร ทราบแล้ว ใกล้ชิด เมล็ด มีทรัพย์

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

ตอนที่ ๕ จงขีดเส้นใต้คำที่เป็นอักษรนำ

๑) คุณป้าไสวเล่าเรื่องชาวเขมรอพยพให้ฟัง

๒) คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

๓) ปลัดอำเภอคนใหม่หน้าตาดีและท่าทางสง่างามมาก

๔) ไฟไหม้ผ้าไหมผืนใหม่

๕) เด็กเหลือขอส่วนใหญ่มักจะมาจากครอบครัวที่พ่อแม่หย่าขาดจากกัน

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

ตอนที่ ๖ คำต่อไปนี้อ่านอย่างไร และมีอักษรใดเป็นพยัญชนะต้น

คำ อ่านว่า อักษรนำ๑) ฉมวก ฉะ - หมวก ฉม๒) แหน๓) สมุย

๔) ผนัง

๕) สยาย

๖) สวรรค์

๗) เมล็ด

๘) อเนก

๙) เหมือง

๑๐) อยาก

แบบฝึกหัดบทที่ ๙

บทที่ ๙ อักษรควบ อักษรนำ และคำพ้อง

การอ้างอิง

๑ กรมการศึกษานอกโรงเรียน, กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดวิชาไตรยางค์และการผันอักษร. ๒๕๓๗, หน้า ๗.

๒ เอกฉัท จารุเมธีชน. การใช้ภาษาไทย. ๒๕๔๔, หน้า ๔๗.

๓ กรมการศึกษานอกโรงเรียน, กระทรวงศึกษาธิการ. เล่มเดิม, หน้า ๘.

๔ สมถวิล วิเศษสมบัติ. สอบภาษาไทยง่ายนิดเดียว. ม.ป.ป., หน้า ๖๐.

๕ แหล่งเดิม, หน้า ๑๐.

๖ เอกฉัท จารุเมธีชน. เล่มเดิม, หน้า ๑๘.