บทความประชุมวิชาการ...

7

Upload: -

Post on 23-Jul-2015

223 views

Category:

Education


0 download

TRANSCRIPT

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

218

ความชุกและปริมาณการปนเป้ือนเชือ้ซัลโมเนลลาในสุกรขุนเปรียบเทียบการเลีย้งระหว่างฟาร์ม

รูปแบบสหกรณ์และฟาร์มครบวงจรในพืน้ท่ีเชียงใหม่-ลาํพูน

Prevalence and Quantification of Salmonella Contaminated in Fattening Pig Comparing

between Co-operative and Integrated Farm Type in Chiang Mai-Lumphun

ประภาส พชันี1, ดวงพร พิชผล1, ภาณวุฒัน์ แย้มสกลุ1, ศภุชยั เนือ้นวลสวุรรณ2 และ กิตติพงษ์ กุมภาพงษ์1

Prapas Patchanee1, Duangporn Pichpol1, Panuwat Yamsakul1, Suphachai Nuanualsuwan2 and

Kittipong Kumpapong1

บทคัดย่อ

ทําการศกึษาหาความชุกและปริมาณการปนเปือ้นเชือ้ Salmonella ในสกุรขุนจากตวัอย่างอจุจาระของ

สุกรในช่วงอายุ 8 12 18 และ 24 สัปดาห์ตามลําดับ นํามาเพาะเชือ้ในห้องปฏิบัติการเพ่ือตรวจสอบเชือ้

Salmonella โดยวิธีการทางจุลชีววิทยา เปรียบเทียบใน 2 รูปแบบการเลีย้งคือ ฟาร์มรูปแบบสหกรณ์และฟาร์ม

ครบวงจร ผลการศกึษาพบการปนเปือ้นเชือ้ Salmonella ของสกุรในฟาร์มรูปแบบสหกรณ์โดยภาพรวมสงูกว่า

ฟาร์มรูปแบบครบวงจร โดยมีความชุก 71.87 31.25 และ 68.75% ของสกุรในช่วงอายุ 12 18 และ 24 สปัดาห์

ตามลําดับ เม่ือเปรียบเทียบกับความชุกของเชือ้ Salmonella ของสุกรในฟาร์มรูปแบบครบวงจรท่ีช่วงอายุ

เดียวกัน โดยพบความชุก 40.62 18.75 และ 12.5% ตามลําดบั ในการเปรียบเทียบปริมาณการปนเปื้อนเชือ้

Salmonella พบว่าสุกรท่ีเลีย้งในฟาร์มรูปแบบสหกรณ์มีปริมาณการปนเปื้อนเชือ้ Salmonella สูงกว่าฟาร์ม

รูปแบบครบวงจร ในช่วงอาย ุ8 12 และ 18 สปัดาห์ โดยคา่เฉลี่ยปริมาณการปนเปือ้นท่ี 15.01 63.06 และ 81.50

MPN ตอ่กรัมตามลําดบั

ABSTRACT

This study was conducted to determine the prevalence and number of Salmonella in fattening

pigs at ages 8, 12, 18 and 24 weeks respectively. Pigs’ fecal samples were cultured using

conventional microbiological method to detect Salmonella comparing between Salmonella

contamination in pigs of cooperative and integrated farm types. The higher Salmonella prevalence

was demonstrated in cooperative pigs. The prevalence was 71.87, 31.25 and 68.75% at pig age 12,

18 and 24 weeks comparing with 40.62, 18.75, and 12.5 of integrated pigs, respectively.

Contamination level of Salmonella in cooperative pigs at age 8, 12 and 18 weeks was also higher than

in integrated pigs. An average of Salmonella in pigs' fecal sample was 15.01, 63.06 and 81.5 MPN/g,

respectively.

Key Words: Salmonella, Prevalence, MPN, Fattening pig

E-mail address: [email protected] 1คณะสตัวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยัเชียงใหม ่จงัหวดัเชียงใหม ่50100 1Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai, 50100 2คณะสตัวแพทยศาสตร์ จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลยั, กรุงเทพมหานคร 10330 2Faculty of Veterinary Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, 10330

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

219

บทนํา

Salmonella เป็นเชือ้จุลินทรีย์สําคญัท่ีก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) กบัผู้บริโภคและ

เป็นสาเหตขุองปัญหาทางด้านสาธารณสขุอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก (Thorns, 2000) เน่ืองจาก

ความรุนแรงของเชือ้ทําให้เกิดอาการอุจจาระร่วง ปวดช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบมีอาการไข้ในบาง

รายท่ีผู้ ป่วยมีระดบัภูมิคุ้มกันต่ํา เช่น เด็ก คนชรา หญิงตัง้ครรภ์ และผู้ ป่วยท่ีมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถือเป็น

ประชากรกลุม่เสี่ยง (Susceptible population) ในการติดเชือ้สงู ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงาน

จํานวนผู้ ได้รับเชือ้ Salmonella 17,883 ราย (CDC, 2008) ในขณะท่ีการศกึษาในประเทศแคนาดาบ่งชีว้่าเชือ้

Salmonella เป็นสาเหตสุําคญัเป็นอนัดบั 2 ท่ีก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารอกัเสบเฉียบพลนั (Thomas et al.,

2008) สําหรับประเทศไทยจากรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในปี พ.ศ. 2548 พบมีผู้ ป่วยด้วยโรคอาหาร

เป็นพิษจํานวนทัง้สิน้ 140,949 ราย และพบว่าเชือ้ Salmonella มีความสําคญัเป็นอนัดบั 2 ท่ีเป็นสาเหตใุห้เกิด

โรคดงักลา่ว (Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, 2005)

เนือ้สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ถือเป็นแหล่งสําคญัในการปนเปื้อนของเชือ้ Salmonella ในอาหาร

เน่ืองจากเชือ้ Salmonella เป็นจลุินทรีย์ท่ีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทางเดินอาหารของสตัว์ท่ีใช้เป็นอาหารแทบ

ทุกชนิด ดงัเช่นรายงานการปนเปือ้นของเชือ้ Salmonella ในเนือ้สกุรจากหลายขัน้ตอนและกระบวนการ ตัง้แต่

กระบวนการก่อนการเก็บเก่ียว (pre-harvest) เร่ิมตัง้แต่การปนเปื้อนมาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ การได้รับการ

ถ่ายทอดเชือ้ Salmonella จากแม่สกุรสู่ลกูสกุรขุน (Vertical transmission) การติดต่อและการแพร่กระจ่ายของ

เชือ้ในระหว่างการเลีย้งในระดบัฟาร์ม ระดบัโรงฆ่าและชําแหละสกุร และกระบวนการหลงัการเก็บเก่ียว (Post-

harvest) ตัง้แต่ระดบัโรงงานแปรรูป ระดบัค้าปลีกจนถึงผู้บริโภคในท่ีสดุ ในประเทศไทยมีรายงานความชุกของ

การพบเชือ้ Salmonella ในสุกรแม่พันธุ์สูงถึงร้อยละ 20 (Ngasaman, 2007) ในสุกรขุนร้อยละ 12.3

(Sangvatanakul, 2007) ในโรงฆ่าและชําแหละสกุรร้อยละ 28 (Padungtod and Kaneene, 2006) โดยพบว่า

สาเหตุหลักของการปนเปื้อนเกิดจากการแพร่กระจายของสิ่งปฏิกูลจากระบบทางเดินอาหารสุกร โดยในทาง

ทฤษฎีนัน้ หากกระบวนการฆ่าและชําแหละสกุรท่ีดีตามมาตรฐานจะไม่พบการปนเปือ้นของสิ่งปฏิกูลจากระบบ

ทางเดินอาหารดงักลา่วออกมาปนเปือ้นในเนือ้สกุร แตใ่นทางปฏิบติักลบัพบวา่การควบคมุในกระบวนการฆ่าและ

ชําแหละนัน้ยงัไม่สามารถควบคมุการแพร่กระจายของสิ่งปฏิกูลดงักล่าวในกระบวนการฆ่าและชําแหละสกุรได้

จริง โดยจะเห็นได้จากผลการศึกษาดงักล่าวข้างต้นท่ียงัมีการพบเชือ้ Salmonella ในเนือ้สุกรหลงัการฆ่าและ

ชําแหละ ดังนัน้ การควบคุมปริมาณเชือ้ Salmonella ในสุกรระดับฟาร์ม จึงถือเป็นการป้องกันการนําเชือ้

Salmonella เข้าสูก่ระบวนการฆ่าและการชําแหละสกุร เป็นการป้องกนัตัง้แต่ต้นสายการผลิต ซึง่จะส่งผลให้การ

ปนเปือ้นเชือ้ Salmonella ในเนือ้สกุรท่ีสง่ไปยงัผู้บริโภคมีความปลอดภยัมากย่ิงขึน้

วตัถปุระสงค์ในการศกึษาครัง้นี ้เพ่ือหาความชกุและปริมาณการปนเปือ้นเชือ้ Salmonella ในฝูงสกุรขุน

เปรียบเทียบระหว่างฟาร์มท่ีเลีย้งในรูปแบบสหกรณ์กบัฟาร์มท่ีเลีย้งในรูปแบบครบวงจร เพ่ือบ่งชีถ้ึงจุดท่ีพบการ

ปนเปื้อนและปริมาณการปนเปื้อนของเชือ้ Salmonella ในระดบัฟาร์ม ดงันัน้ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มสุกร รวมถึง

หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องสามารถนําผลการศึกษาครัง้นีไ้ปประยุกต์เพ่ือปรับใช้ในการควบคุมเชือ้ Salmonella ใน

ระดบัฟาร์มตอ่ไป

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

220

อุปกรณ์และวิธีการ

ทําการเก็บตวัอย่างอจุจาระจากสุกรขุนจํานวน 4 ฟาร์ม แบ่งเป็นฟาร์มรูปแบบสหกรณ์และฟาร์มครบ

วงจร อย่างละ 2 ฟาร์ม ทําการเก็บตวัอย่างจากสกุรอายุ 8 12 18 และ 24 สปัดาห์ โดยเก็บช่วงอายุละ 16

ตวัอย่าง จํานวนทัง้หมด 256 ตวัอย่าง โดยการล้วงเก็บอจุจาระจากทวารหนกัของสกุรใส่ลงในภาชนะปลอดเชือ้

และปิดสนิทท่ีอณุหภูมิ 4-8°C ทําการเพาะเชือ้ภายใน 24 ชัว่โมงหลงัจากการเก็บตวัอย่าง ในการตรวจวิเคราะห์

หาเชือ้ Salmonella และการตรวจหาปริมาณเชือ้โดยวิธี Most Probable Number (MPN) ชนิด 3 หลอด โดยทํา

การตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการตาม ISO 6579:2002, Amendment 1: 2007, Annex E (Detection of

Salmonella spp. in animal feces and in environmental samples from the primary production stage)

ตรวจหาเชือ้ Salmonella จากตวัอย่างอจุจาระสกุรขุน โดยชัง่ตวัอย่างอจุจาระ 25 กรัม ใส่ลงในอาหาร

เลีย้งเชือ้ Buffered peptone water 225 กรัม (อตัราส่วน 1:10) ตีผสมสารละลายตวัอย่างให้เข้ากนัด้วยเคร่ือง

stomacher เป็นเวลา 2 นาที และบ่มในตู้ควบคมุอณุหภูมิท่ีอณุหภูมิ 37°C±1°C นาน 18±2 ชัว่โมง จากนัน้ดดู

ตวัอย่าง 100 µl ใส่ลงในเพลทอาหารเลีย้งเชือ้ Modified semi-solid Rappaport-Vassiliadis (MSRV) agar

containing 20 mg/Inovobiocin และนําไปบ่มท่ีอณุหภูมิ 41.5°C±1°C เป็นเวลา 24±3 ชัว่โมง ถ้าให้ผลลบบ่ม

ตอ่อีก 24 ชัว่โมงแล้วจงึอา่นผลอีกครัง้ สว่นเพลทท่ีให้ผลบวกมีลกัษณะเป็นโซนขุ่นสีเทาขาว โดยเข่ียบริเวณท่ีเป็น

ขอบของโซนขุ่นเพ่ือนําไปเพาะเลีย้งต่อบน Xylose lysine deoxycholate (XLD) agar และ Brilliant-green

Phenol Lactose Sucrose (BPLS) agar บ่มท่ีอณุหภูมิ 37°C±1°C นาน 24±3 ชัว่โมง และทําการยืนยนัเชือ้

Salmonella โดยการทดสอบคณุสมบติัทางชีวเคมี และทางซีร่ัมวิทยาเพ่ือจําแนก Serogroup และ Serotype

ของเชือ้ Salmonella

วิเคราะห์ข้อมลูเพ่ือแสดงความชุกและค่าความเช่ือมัน่แบบช่วงท่ี 95% (95% Confident Interval) โดย

ใช้โปรแกรม PHStat 2.7 (Add-in for Microsoft Excel, Pentrice Hall, Inc) จากนัน้ทําการวิเคราะห์ ค่าความชุก

ท่ีแท้จริง (True Prevalence) ค่าเฉลี่ยปริมาณการปนเปือ้น (Average MPN/g) รวมทัง้ลกัษณะการกระจายตวั

ของเชือ้ Salmonella ในสกุรขุนท่ีให้ผลบวกต่อเชือ้ของแต่ละฟาร์ม ด้วยโปรแกรม @Risk 5.5 (@Risk Palisade

Decision Tools) เพ่ือแสดงข้อมลูการกระจายตวัของความชกุและปริมาณการปนเปือ้นเชือ้ Salmonella

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง

การเปรียบเทียบความชุกของเชือ้ Salmonella ในฝูงสุกรขุนท่ีเลีย้งในฟาร์มรูปแบบสหกรณ์และฟาร์ม

ครบวงจรพบวา่ โดยภาพรวมฟาร์มรูปแบบสหกรณ์มีความชุกของเชือ้ Salmonella สงูกว่าฟาร์มครบวงจรในช่วง

อายุ 12 18 และ 24 สปัดาห์ โดยพบค่าความชุกท่ี 71.87 31.25 และ 68.75% ตามลําดบั แต่ในช่วงอายุ 8

สปัดาห์พบว่าฟาร์มรูปแบบสหกรณ์มีค่าความชุกต่ํากว่าฟาร์มรูปแบบครบวงจร (6.25%) ดงัแสดงใน Table 1

เม่ือนําข้อมลูมาวิเคราะห์หาค่าความชุกท่ีแท้จริง (True Prevalence) ตามการคํานวณโดยฟังก์ชัน่ @RiskBeta

(s+1, n-s+1) และคา่การกระจายตวัของค่าความชุกโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป @Risk 5.5 พบว่าค่าความชุกของ

การติดเชือ้ Salmonella ท่ีแท้จริงของสกุร อายุ 8 12 18 และ 24 สปัดาห์ ในฟาร์มรูปแบบสหกรณ์มีค่า 8.82

70.59 32.35 และ 67.64% ตามลําดบั คา่ความชุกท่ีแท้จริง (True Prevalence) ของเชือ้ Salmonella ในสกุรขุน

ช่วง 8, 12, 18 และ 24 สปัดาห์ ในฟาร์มรูปแบบการเลีย้งแบบครบวงจร มีค่า 26.47 42.42 20.58 และ 14.7%

ตามลําดบั (Table 1)

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

221

Table 1 Salmonella prevalence and contamination level in pigs: Comparison between Co-operative and

Integrated Farm

Type of farm Age

(Weeks)

Prevalence

(%)

True

Prevalence

95%

Confidence

Interval

Average

MPN

Type of

distribution

Co-operative 8 6.25 (2/32) 8.82 2.13-14.64 15.01 ‘Expon’

12 71.87(23/32) 70.59 56.29-87.45 62.11 ‘InvGauss’

18 31.25(10/32) 32.35 15.19-47.32 171.43 ‘InvGauss’

24 68.75(22/32) 67.64 52.69-84.81 22.82 ‘InvGauss’

Integrated 8 25(8/32) 26.47 9.99-40.00 5.46 Log Normal

12 40.62(13/32) 42.42 23.60-57.64 7.28 Log Normal

18 18.75(6/32) 20.58 5.22-32.27 - -

24 12.5(4/32) 14.7 1.04-23.96 - -

ส่วนปริมาณค่าเฉลี่ยและรูปแบบการแจกแจงการกระจายตัวของการปนเปื้อนเชือ้ Salmonella

(Average MPN/g) หาได้โดยการนําค่าปริมาณการปนเปื้อน (MPN/g) เชือ้ Salmonella ของสกุรในแต่ละ

ตวัอย่างอายมุาเทียบลกัษณะการกระจายตวั (Fit distribution to data) โดยมีคา่เฉลี่ยและรูปแบบการกระจายตวั

ดงัแสดงใน Table 1

ในการแจกแจงข้อมลูการกระจายตวัของปริมาณการปนเปือ้นเชือ้ (MPN/g) นัน้เลือกแบบการแจกแจง

จากข้อมูลเท่าท่ีมีอยู่แล้วทาบกับลกัษณะการกระจายชนิดต่างๆโดยโปรแกรม @Risk (Fit distribution) มี

ข้อจํากดัคือ ไมส่ามารถแจกแจงข้อมลูในกรณีท่ีเป็นค่าซํา้กนัและมีข้อมลูน้อยกว่า 5 ค่าได้ ซึง่ข้อมลูการกระจาย

ตวัของเชือ้ท่ีระดบั MPN ในช่วง 18 และ 24 สปัดาห์พบว่ามีข้อมลูน้อยกว่า 5 ค่า จึงไม่สามารถนํามาแจกแจง

ด้วยข้อมลูการกระจายตวัของเชือ้ด้วยวิธีดงักล่าวได้ สาเหตขุองการปนเปือ้นเชือ้ Salmonella ในฟาร์มมีสาเหตุ

มาจากหลายปัจจัย จากการทดลองโดยเปรียบเทียบฟาร์มทัง้ 2 รูปแบบการเลีย้ง พบว่าอัตราการปนเปื้อน

Salmonella โดยรวม สกุรท่ีเลีย้งในรูปแบบสหกรณ์จะมีความชกุและปริมาณการปนเปือ้นของเชือ้ Salmonella ท่ี

สงูกว่าสกุรท่ีเลีย้งแบบฟาร์มครบวงจร ในช่วงอายุ 12, 18 และ 24 สปัดาห์ โดยมีความชุกเฉลี่ยร้อยละ 71.81

31.25 และ 68.75 ตามลําดบั ยกเว้นในช่วง 8 สปัดาห์ ท่ีพบว่าในฟาร์มครบวงจรมีความชุกของเชือ้สงูกว่าฟาร์ม

สหกรณ์ (25 ต่อ 6.25) สุกรช่วงอายุ 8 สัปดาห์ ท่ีพบความชุกของเชือ้ Salmonella น้อยนัน้ อาจเป็นเพราะ

ปัจจุบัน มีการเน้นการจัดการภายในฟาร์มและการใช้ยาปฏิชีวนะท่ีมีประสิทธิภาพและเข้มงวดมากขึน้อัน

เน่ืองมาจากสาเหตขุองโรคระบาดร้ายแรงคือโรค Swine high fever syndrome หรือ PRRS (Dietze et al.,

2011) แต่ในสุกรช่วงอายุ 12-18 สปัดาห์พบว่ามีค่าความชุกสูงขึน้มาก สาเหตุอาจเกิดจากการปนเปื้อนเชือ้

ระหวา่งตวัสกุรภายในคอกและโรงเรือนเดียวกนัจากการเลีย้งแบบตอ่เน่ือง (Continuous flow) และในสกุรขุนช่วง

อาย ุ24 สปัดาห์พบคา่ความชกุของเชือ้สงูถงึ 68.75% ซึง่สอดคล้องกบัการศกึษา ของ Patchanee et al. (2002)

ท่ีรายงานความชกุของเชือ้ Salmonella ในสกุรขุน จ.เชียงใหม่ พบมีความชุก 69.5% และเช่นเดียวกนักบั Dorn-

In (2005) ได้รายงานความชกุของเชือ้ในสกุรขนุเฉลี่ยท่ีพบถงึ 62.9% ฟาร์มท่ีเลีย้งในรูปแบบสหกรณ์จะเป็นฟาร์ม

เกษตรกรรายย่อย ท่ีพบว่ามีการปนเปื้อนเชือ้ Salmonella สูงอาจเป็นเพราะเน่ืองจากไม่มีการจัดการด้าน

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

222

สุขอนามยัท่ีดีภายในฟาร์มตลอดจนผู้ปฏิบัติงานภายในฟาร์ม และโครงสร้างท่ีตัง้ของฟาร์มตลอดจนรูปแบบ

โรงเรือน ซึง่แตกตา่งจากฟาร์มท่ีเลีย้งในรูปแบบครบวงจร สว่นใหญ่จะเป็นฟาร์มขนาดใหญ่และมีการจดัการด้าน

สุขอนามัยภายในฟาร์มท่ีดี มีระบบป้องกันการนําพาเชือ้เข้าสู่ฟาร์มและจากฟาร์มสู่ภายนอก การจัดการ

สุขอนามยัภายในฟาร์มมีส่วนช่วยลดการปนเปื้อนเชือ้ลงได้ หากฟาร์มท่ีมีการจัดการในด้านสุขอนามัยในนํา้

อาหาร และสขุอนามยัคนปฏิบติังานภายในฟาร์ม มีการล้างมือ เปลี่ยนชุด รองเท้าและพ่นยาฆ่าเชือ้ก่อนเข้าและ

หลงัจากเสร็จสิน้การปฏิบติังานภายในฟาร์ม ตลอดจนควบคมุการเข้าออกฟาร์มจากบุคคลภายนอก ตลอดจน

การมีสตัว์เลีย้งอ่ืนๆภายในฟาร์ม เช่น แมว สนุขั ไก่ ก็อาจเป็นสาเหตขุองการติดเชือ้โรคต่างๆต่อตวัสกุรในฟาร์ม

ได้

การจดัการฟาร์มท่ีดีในด้านสขุอนามยัภายในฟาร์ม ตลอดจนการเลือกใช้อาหาร จะช่วยลดความเสี่ยงใน

การติดเชือ้ Salmonella และเชือ้ต่างๆภายในฟาร์ม ได้ การศึกษาในครัง้นีเ้ป็นเพียงการศกึษาในขัน้ต้นของการ

ประเมินความเสี่ยงเท่านัน้ ดงันัน้ควรจะมีการศกึษาความเสี่ยงในขบวนการขนส่งไปยงัโรงฆ่าและการแปรรูปเป็น

ผลิตภณัฑ์อาหารตอ่ไป

กิตตกิรรมประกาศ

คณะผู้ วิจัยขอขอบคุณฝ่ายสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม ศูนย์พันธุ วิศวกรรมและ

เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ท่ีให้การสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการวิจัยในครัง้นี ้(รหัส

โครงการ P-10-10409)

เอกสารอ้างอิง

Bureau of Epidemiology, Department of Disease control, Ministry of Public Health. Annual

Epidemiological surveillance report 2005:http://epid.moph.go.th/Annual/Annual48/Part1/

Annual_MenuPart1.html.

CDC (2008): Preliminary Food Net data on the incidence of infection with pathogens transmitted

Commonly through food-10 states, 2007. MMWR Morb. Mortal. Wkly. Rep. 57(14), 366-370.

Centers for Disease Control and Prevention, Atlanta, GA., USA.

Davies, R.H., Wray, C., 1997. Distribution of Salmonella contamination in ten animal feed mills.

Veterinary Microbiology. 51, 159-169.

Dietze, K., J. Pinto, S. Wainwright, C. Hamilton and S. Khomenko. 2011. Porcine reproductive and

respiratory syndrome (PRRS) virulence jumps and persistent circulation in Southeast Asia.

Emergency Prevention System 5: 1-8.

Dorn-In, S. “Prevalence of salmonella in pre-slaughter pigs in Chiang Mai, Thailand”. M.S.

Thesis, Freie Universitat Berlin and Chiang Mai University, 2005.

Ngasaman, R. 2007. “Prevalence of Salmonella in breeder sows in Chiang Mai, Thailand”

(Unpublished data)

Padungtod P, Kaneene JB. Salmonella in food animals and humans in northern Thailand. Int

Journal Food Microbial. 2006 May1;108(3):346-354. Epub 2006 Feb 20.

การประชมุทางวิชาการของมหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ครัง้ท่ี 50 สาขาสตัวเพทยศาสตร์

223

Patchanee, P., Zessin, K.-H., Staak, C., Srikijkarn, L., Taravijitkul, P., Tesaprateep, T. (2002). Pre-

slaughter infection of Salmonella spp. and consideration of using The Danish Mix ELISA for

Monitoring Salmonella in pigs. Journal Veterinary Medicine .Chiangmai. 1, 33-38.

Sangvatanakul, P. “Prevalence of Salmonella in Piglets and in the Fattening Period in Chiang

Mai,Thailand”. M.S.Thesis, Freie Universitat Berlin and Chiang Mai University, 2007.

Thomas MK, Majowicz SE, Pollari F, Sockett PN. Burden of acute gastrointestinal illness in

Canada, 1999-2007: interim summary of NSAGI activities. Can Commun Dis Rep. 2008

May; 34(5):8-15. English, French.

Thorns, C.J. 2000. Bacteria foor-borne zoonoses. Rev Sci Thech 19:226-239.

Van Schie FW, Overgoor GH. An analysis of the possible effects of different feed upon the

excretion of Salmonella bacteria in clinically normal groups of fattening pigs. Veterinary

Quality. 1987; 9:185-188.

Van Winson, R.L., Keuzenkamp, D., Urlings, B.A.P., Lipman, L.J.A., Snijders, J.A.M., Verheijden,

J.H.M., van Knapen, F., 2002. Effect of fermented feed on shedding of Enterobacteriaceae by

fattening pigs. Veterinary Microbiology. 87, 267-276.