cuba volume7

7
Vacation as Vocation (7) Cuba - Mexico - America โดย แง งามอณโช

Upload: bank-ngamarunchot

Post on 28-Mar-2016

249 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

แว๊บเดียว ต้องกลับจากคิวบาซะแล้ว ตอนสุดท้ายของคิวบาแล้วครัช (จริงๆ แค่สองตอนเองนิหน่า) หลังจากนี้จะเป้นช่วงเม็กซฺโก และ อเมริกาาาา

TRANSCRIPT

Page 1: Cuba volume7

Vacation as Vocation (7)Cuba - Mexico - America

โดย แบ๊งค์ งามอรุณโชติ

Page 2: Cuba volume7

7

ผมตื่นมาฟ้ายังมืดอยู่ ผมนอนนิ่งๆ รอให้ตาปรับแสงกับความมืดได้แล้วค่อนขยับตัวออกไปทางขวามือ เดินให้เบาเพื่อไม่ให้ป๊อปซึ่งนอนอยู่ข้างๆ ต้องตื่น เมื่ออาบน้ำแปรงฟันเรียบร้อยแล้วก็มาบันทึกการเดินทางต่อ

ซักพักหนึ่ง, เจ้าของบ้านก็เดินมานั่งที่โซฟารับแขกและเปิดทีวี, เขาดูซีรียส์อเมริกันเรื่อง House ตอนใหม่เสียด้วย เพ่งไปมาก็พบว่า คนคิวบาจำนวนหนึ่งเองก็เริ่มเรียนรู้โลกภายนอก โลกของทุนนิยม และมีความใฝ่ฝันในแบบทุนนิยม

1

อนุทินการเดินทางฉบับที่เจ็ด ผีถ้วยแก้, ผีมาร์กซ์ ผีเฮมมิงเวย์

Page 3: Cuba volume7

เราเคยพูดโดยมารยาทกับไกด์ของเราที่เป็นชาวคิวบาว่า ประเทศของยูสวยงามและน่าอยู่มาก คำตอบที่ได้คือ “คุณไม่รู้หรอก, (ว่าถ้ามาอยู่จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร)” พร้อมกับเปิดเผยว่า ตัวเขาเองกำลังเก็บเงินเพื่อที่จะสละสัญชาติคิวบาเข้าไปเป็นประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คงจะพร้อมในอีกไม่นานนัก (เงินของเราคงเป้นส่วนหนึ่งที่สมทบทุนให้เขาได้เดินทางเร็วขึ้นแน่ๆ)

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงหนังสือ Marketization and Democracy: East Asian Experiences ของ Samantha F. Ravich (2000) ที่บอกว่า เมื่อประเทศเข้าสู้ระบบตลาดและมีการขยายตัวของตลาด ก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของประชาธิปไตยไปพร้อมกันด้วย เนื่องจาก ตลาดเสรีส่งผลให้ประชาชนจะเริ่มตระหนักถึงความสุขที่ได้จากการมีทางเลือกที่มากขึ้น (Variety of choices) และเพราะดังนั้น การเรียกร้องทางเลือกในแง่การเมืองก็จะตามมา

นัยนี้ ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเผด็จการสังคมนิยมของคิวบาไม่อาจจะดำรงไปได้ตลอด ถึงที่สุดแล้ว รัฐบาลคิวบาก็ได้ยินยอมให้เกิดการทำงานของตลาดที่เสรีขึ้นเป็นลำดับ และการทำงานของตลาดเสรีเหล่านั้นก็ผลิตซ้ำความต้องการตลาดเสรีมากขึ้น เหมือนสิ่งมีชีวิตที่ผลิตซ้ำตนเองได้

เมื่อเพื่อนของผมทุกคนพร้อมที่จะออกเดินทาง เราร่ำลาเจ้าของบ้านสามีภรรยา และเดินเที่ยวในเมืองเพื่อร่ำลาคิวบา เป็นการร่ำลาที่ตั้งใจว่าจะกลับมา ยังมีอีกหลายอย่างที่อยากทำความเข้าใจ ไม่ใช่สถานที่สำคัญต่างๆ (ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป้นสิ่งปลูกสร้างของจักรวรรดิ์นิยมสเปน) แต่เป็นเรื่องการทำความเข้าใจคน และ ระบบเศรษฐกิจการเมืองของคิวบาเอง

2

Page 4: Cuba volume7

นอกจากนี้เรายังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนเมืองอื่นๆ อาทิ Trinidad ซึ่งร่ำลือว่า... หากฮาวานาเวลาเดินช้า, เมืองตรินิแดดคือเมืองที่เวลาหยุดนิ่ง แต่ก็ไม่รู้จะนิ่งได้นานเพียงใด เพราะกระทั่งฮาวานาเองก็เริ่มหมุนคว้างด้วยความเร็ว เหมือนลุงแก่เต้นระบำ Jazz เสียแล้ว

ในวันสุดท้ายนี้... เราเดินไปหาร้านขนมปังชื่อ Panaderia San Jose Cafe Santo Domingo ผมสั่งขนมพายเลมอนและคีชแฮมชีสชิ้นละ 0.5 ดอลลาร์โดยประมาณ ยุ้ยสั่งเบเกอรีอื่นๆ มาอีก รวมทั้งหมดอย่างมากก็ 3 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าค่อนข้างถูก ส่วนร้านข้างๆ ชื่อร้าน La Luz เป็นร้านกาแฟที่ขายเพียง Espresso อย่างเดียวไม่ขายอย่างอื่น รสชาติใช้ได้ ส่วนใหญ่ทั้งสองร้าน ผู้ที่ซื้อจะเป็นคนท้องถิ่นคิวบา ราคาแตกต่างจากร้าน Cafe el Esco-rial ที่หรูหราและต้อนรับนักท่องเที่ยวลิบลับ

เมื่อทานมื้อเช้าควบเที่ยง (Brunch) กันเสร็จแล้ว ก็เดินเที่ยวชมรอบๆ เมืองเป็นการปิดท้าย เราเดินเข้าร้านหนังสือท้องถิ่น ร้านขายยาโบราณ โถกลั่นยาและตำราสูตรยาเก่าถูกใส่ตู้กระจกปิดผนึกไว้เพียงอวด เหมือนคิวบาในยุคเช กาบารา และ ฟิเดล คาสโตร กำลังจะถูกยัดใส่โถแก้วปิดผนึกไว้เพียงรำลึกเช่นเดียวกัน

ห่ะ ผีถ้วยแก้ว ผีมาร์กซ์

เวลายังเหลืออีกเล็กน้อยก่อนที่รถแท็กซี่จะมารับ เราจึงไปสถานที่สุดท้าย, ไปร้าน Forifita Cuba ซึ่งเป็นร้านโปรดของเฮมมิงเวย์ ลือกันว่าเขาชอบมาทานคอกเทลชื่อ Daiquiri ที่ร้านนี้ ทางร้านเอาชื่อของเฮมมิงเวย์มาทำเป็นเมนูต่างๆ มากมาย แน่อนนว่าเรียกลูกค้าได้ถนัดนัก ขนาดคนที่ไม่เคยอ่านงานเฮมมิงเวย์ หรือ งงว่าตาแก่นี่คือใคร ก็ยังต้องเข้ามาทาน นี่มันแผนโฆษณาชั้นเลิศโดยธุรกิจในประเทศสังคมนิยม

3

Page 5: Cuba volume7

ห่ะ,แปลง(นักเขียน)อเมริกันเป็นทุน... จับเฮมมิงเวย์ใส่แก้วคอกเทล, ผีถ้วยแก้ว ผีเฮมมิงเวย์

เราทั้งสี่คน, ผม ยุ้ย ป๊อป พี่แป้ม เดินทางกลับเมกซิโกในบ่ายวันนั้น... ยุ้ยและพี่แป้มจะเดินทางกลับอเมริกาก่อนในวันรุ่งขึ้น ส่วนผมและป๊อป เราจะเที่ยวใน Mexico City ต่ออีกสองสามวัน เราจึงวางแผนที่จะทานข้าวเย็นเป็นมื้อร่ำลา ร้านที่เลือกสำหรับคืนนี้นั้นคืออาหารอาเจนตินาชื่อ Cambalache

ร้านนี้ยุ้ยเป็นคนคัดสรร จิตไร้สำนึกของเธอสั่งการมาว่าน่ากิน เพราะระหว่างทางเธออ่าน Motorcycle Diary ของเช กาบารา ไปค่อนเล่ม, โดนเสน่ห์นักปฏิวัติชาวอาเจนตินาเข้าให้แล้ว, เมื่อเดินเข้ามาในร้าน ผนังและเสาทั้งหมดประดับไปด้วยขวดไวน์นอนเรียงรายอยู่ ร้านอาบด้วยแสงโทนเหลือง พวกเราเลือกโต๊ะที่อยู่ริมหน้าต่าง และเป็นส่วนตัว

รายการอาหารรร้านนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นสเต็ก, ผมเกิดคำถามทันทีว่า แล้วมันต่างจากสเต็กอเมริกันอย่างไร? อะไรทำให้ร้านนี้สามารถบอกได้ว่าตัวเองเป็น Argentinian ไม่ใช่ America stake house ธรรมดา... ยุ้ยเฉลยให้ฟังว่า สเต็กอเมริกันจะมีจำนวนส่วนที่แบ่งแยก (Cut) เพื่อมาทำอาหารเพียงราวๆ 5 cuts แต่สำหรับชาวอาเจนตินามีอยู่ด้วยกันถึงกว่า 40 cuts และแต่ละส่วนต้องมีวิธีการปรุงเฉพาะแบบของมัน

นอกจากเนื้อย่างแบบ Medium แล้ว, พี่แป้มรับเป็นเจ้าภาพเลี้ยงไวน์อาเจนติเนียนรสชาติดีสองขวดได้แก่ Finca La Florencia (Special edition) ปี2010 และ Ter-razas de los Andes ปี2011 ทั้งสองตัวเป็นไวน์แดงที่ผลิตจากจากแถบ Mendoza โดยใช้องุ่นพันธุ์ Malbec

มื้อแสนสุข เนื้อที่ดี ไวน์ที่ดี และเพื่อนที่ดี

4

Page 6: Cuba volume7

เมื่อพูดถึงเพื่อนที่ดี มื้อเย็นนี้และรวมถึงหลังจากนี้อีกสองสามวันใน Mexico City จะมีเพื่อนของป๊อปชื่อ ยู-เชง, ดิเรค, และ นาน ร่วมการเดินทางด้วย ทั้งสามคนเป็นเชื้อชาติไต้หวัน แต่มีคนหน่ึงถือสัญชาติแคนนาดา คงต้องแนะนำไว้เผื่อบันทึกในอนาคตมีการอ้างถึง

ยู-เชง เป็นนักเรียนทันตแพทย์ และ นานเป็นนักเรียนด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งสองเรียนอยู่ที่ U-Penn เหมือนกับป๊อปและยุ้ย ดังนั้นจึงรู้จักกัน, ส่วนดิเรคนั้นเป็นเพื่อนของยูเชงอีกทีหนึ่ง ทำธุรกิจอยู่ในแวนคู เวอร์ เนื่องจากทั้งสามคนตั้งใจเดินทางมาเที่ยวในแคนคูน (เม็กซิโก) อยู่แล้ว ป๊อปเลยชวนให้มาแวะเที่ยวด้วยกันก่อนในเม็กซิก ซิตี้

หลังเนื้อและไวน์ผ่านไป, พี่แป้มจัดให้มีการชิมเมสกัล (Mezcal) มาให้พวกยูเชงและเพื่อนๆ ได้ชิม จุดเด่นของ เมสกัลที่แตกต่างจากเตกิลาทั่วไป นอกจากจะทำมาจากผล Agave ที่เก็บในป่าแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญนั่นคือ ตอนหมักกลั่นจะมีหนอนอยู่ในเนื้อผล Agave ด้วย, เป็นหนอนที่จะมีอยู่ในผลไม้ป่าตามธรรมชาติอยู่แล้ว (ตอนเก็บผลเขาจะเผาไฟให้หนอนพวกนี้ตายคาผลเสียก่อนแล้วค่อยนำมาหมัก)

อันที่จริงผมเป็นคนที่ทานหนอนได้ รถด่วนพวกนี้ก็เคยทานมาบ้าง แต่สำหรับเมสกัล ผมไม่ค่อยจะชอบกลิ่นของมันเท่าไหร่ เลยตั้งใจว่าจะไม่ซื้อกลับบ้าน คงซื้อเตกิลาธรรมดาแบบบ่มในถังไม้โอคน่าจะพอ --- เครื่องดื่มสุดท้ายของวันที่ผมสั่งคือ กาแฟสูตรพิเศษแบบเม็กซิกัน, ผสมระหว่างกาแฟ วิสกี และคาลัว (Liquor รสกาแฟที่ผลิตในเม็กซิโก)

5

Page 7: Cuba volume7

ลำดับกาทำเริ่มจากนำปากแก้วกดลงไปบนเปลือกเลมอนที่ยังชุ่มน้ำอยู่ แล้วนำขอบที่ติดน้ำเลมอนมาประทับบนน้ำตาลให้เคลือบโดยรอบ ราด I r ish Whisky Jameson ลงไป หลังจากนั้นนำไปเผาไฟให้ร้อนจนกระทั่งวิสกีลุกไหม้เพื่อเผาแอลกอฮอลออกไป เติมกาแฟดำที่ต้มไว้แล้วให้ได้ทั้งหมดประมาณ 2/3 ของแก้วทรงสูง แล้วนำครีมใส่ตามลงไปเพื่อประดับหน้า ปิดท้ายด้วยการราดคาลัว

ไม่อร่อย (หวานไป) แต่ก็นับเป็นการแสดงที่ดี

หลังมื้อนั้นเราต่างร่ำลากลับที่พัก ยุ้ยและพี่แป้มกลับไปโรงแรมข้างสนามบินเพื่อกลับอเมริกาวันพรุ่งนี้ ผม ป๊อป ยูเชงและเพื่อนๆ เรากลับเข้าไปโรงแรมในเมือง พรุ่งนี้จะไปปีนพีระมิดที่สร้างในสมัยก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะค้นพบอเมริกา (Pre-Colombian Period)

เมื่อกลับถึงห้อง ป๊อปปิดไฟนอน, ผมมองเพดานในความมืดนึกถึงเรื่องผีเม็กซิกันที่ผมค้นหาจากกูเกิลก่อนมาเที่ยว ใช่, ผมเป็นคนกลัวผีมาก ยิ่งกลัวยิ่งค้นเพื่อให้แน่ใจ ยิ่งค้นก็เจอเนื้อหายิ่งน่ากลัว... กฎพื้นฐานของความกลัว กลัวอะไร ได้อย่างนั้น (เพราะเราเฝ้ามองหามันด้วยความระแวดระวัง ทำให้เจอมันง่าย)

เท่าที่ดูๆ ในแถบอเมริกานี้ไม่ค่อยมีเรื่องผีที่ขึ้นชื่อเท่าไหร่ มีบ้างที่เป็นผีตามโรงพยาบาล (La Planchada) และสัตว์ประหลาดที่เรียกว่า The Goat Sucker (ตัวดูดแพะ) ซึ่งจะคอยดูดเลือกสัตว์เลี้ยงของคนท้องถิ่นจนแห้ง, ห่ะ ไม่น่ากลัวซักตัว เพราะเรานอนในโรงแรม (ไม่ใช่ รพ.) และแน่นอนว่าหน้าผมไม่เหมือนแพะซักหน่อย คิดได้เช่นนี้ก็หลับตาลงสนิท

หลับเป็นตาย...

6