amyda cartilaginea (boddaert, 1770) k 5 : effect of ... · สารบาญตาราง....

25
เอกสารวิชาการฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ Technical Paper No. 14/2014 ผลของอุณหภูมิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) Effect of Temperature on Hatching Rate, Incubation Period and Sex Ratio of Asiatic Softshell Turtle Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) วชิระ กิติมศักดิWachira Kitimasak อ้อมเดือน มีจุ้ย สุริยา แสงอุทัศน์ Oamduen Meejui Suriya Sangautus ส้านักวิจัยและพัฒนาประมงน้าจืด Inland Fisheries Research and Development Bureau กรมประมง Department of Fisheries กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Ministry of Agriculture and Cooperatives กองวิ จัยและพัฒนาประมงน้ าจืด

Upload: others

Post on 27-Oct-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

เอกสารวิชาการฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ Technical Paper No. 14/2014

ผลของอุณหภมูิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

Effect of Temperature on Hatching Rate, Incubation Period and Sex Ratio of Asiatic Softshell Turtle Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

วชิระ กิติมศักดิ์ Wachira Kitimasak อ้อมเดือน มีจุ้ย สุริยา แสงอุทัศน์

Oamduen Meejui Suriya Sangautus

ส้านักวิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืด Inland Fisheries Research and Development Bureau กรมประมง Department of Fisheries กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Ministry of Agriculture and Cooperatives

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 2: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

ผลของอุณหภมูิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

Effect of Temperature on Hatching Rate, Incubation Period and Sex Ratio of Asiatic Softshell Turtle Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

วชิระ กิติมศักดิ์ Wachira Kitimasak อ้อมเดือน มีจุ้ย สุริยา แสงอุทัศน์

Oamduen Meejui Suriya Sangautus

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืดกาญจนบุรี Kanchanaburi Inland Fisheries Research and Development Center

ส้านักวิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืด Inland Fisheries Research and Development Bureau กรมประมง Department of Fisheries ๒๕๕๗ 2014

รหัสทะเบียนวิจัย 52-0563-52099

เอกสารวิชาการฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ Technical Paper No. 14/2014

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 3: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

สารบาญ

บทคัดย่อ Abstract ค ำน ำ วัตถุประสงค์ วิธีด ำเนินกำร 1. แบบแผนกำรวิจัย 2. วิธีกำรทดลอง 3. กำรวิเครำะห์ข้อมูล ผลกำรศึกษำ 1. กำรรวบรวมไข่ 2. ขนำดไข่และลูกตะพำบน ำ 3. อัตรำกำรฟัก 4. ระยะเวลำฟัก 5. อัตรำส่วนเพศ สรุปและวิจำรณ์ผล ข้อเสนอแนะ ค ำขอบคุณ เอกสำรอ้ำงอิง

หน้ำ 1 2 3 4 4 4 4 8 8 8 9

10 11 11 13 16 16 16

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 4: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

สารบาญตาราง

ตำรำงที่ หน้ำ

1 วันที่แม่ตะพำบน ำวำงไข่ จ ำนวนไข่ ขนำดและน ำหนัก (Mean±SD) ไข่ตะพำบน ำที่น ำมำศึกษำ จ ำแนกตำมรัง

2 ขนำดและน ำหนัก (Mean±SD) ของไข่และลูกตะพำบน ำแรกเกิด 3 จ ำนวนไข่ จ ำนวนไข่ที่ฟัก อัตรำกำรฟัก พิสัยเวลำฟัก เวลำฟักเฉลี่ย และ

อัตรำส่วนเพศ (Mean±SE) ของลูกตะพำบน ำจำกกำรฟักท่ีอุณหภูมิแตกต่ำงกัน 4 ค่ำ G for the log-likelihood ratio goodness of fit test ของอัตรำส่วนเพศตะพำบน ำ

ที่ฟักจำกชุดอุณหภูมิห้อง 29, 31 และ 33 องศำเซลเซียส

ตำรำงผนวกท่ี 1 ผลกำรศึกษำอัตรำส่วนเพศจำกำรฟักไข่เต่ำชนิดต่ำงๆ ที่อุณหภูมิคงที่

หน้ำ 9

10 11

12

19

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 5: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

สารบาญภาพ

ภำพที่ 1 ตู้ฟักไข่ท่ีควบคุมอุณหภูมิได้ (±0.5 องศำเซลเซียส) 2 ลักษณะต่อมเพศลูกตะพำบน ำอำยุ 6 เดือน ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ 3 ลักษณะต่อมเพศลูกตะพำบน ำอำยุ 8 เดือน ตรวจสอบด้วยกำรส่องกล้อง 4 อัตรำส่วนเพศตะพำบน ำที่ฟักที่อุณหภูมิห้อง 29, 31 และ 33 องศำเซลเซียส

ภำพผนวกท่ี

1 รูปแบบกำรเกิดเพศของสัตว์เลื อยคลำน

หน้ำ 5 6 7

12

20

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 6: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

ผลของอุณหภมูิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

วชิระ กิติมศักดิ์* อ้อมเดือน มีจุ้ย และสุริยา แสงอุทัศน์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของอุณหภูมิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) ด้าเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 โดยใช้ไข่ตะพาบน ้าจ้านวน 80 ฟอง จาก 11 รัง แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง คือฟักที่อุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) และฟักในตู้ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส พบว่าไข่ตะพาบน ้ามีอัตราการฟักเท่ากับ 20±9, 50±11, 65±11 และ 20±9 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าอัตราการฟักท่ีอุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกับการฟักที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส (p>0.05) แต่สูงกว่าอัตราการฟักที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส ระยะเวลาการฟักเฉลี่ยแต่ละชุดการทดลองเท่ากับ 99±3, 102±1, 94±2, 77±1 วัน ตามล้าดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าระยะเวลาฟักไข่เฉลี ่ยที ่อุณหภูมิห้องไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับการฟักที่อุณหภูมิ 29 และ 31 องศาเซลเซียส แต่แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กับชุดที่ฟักที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาครั งนี พบว่าอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิห้องและฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส เท่ากับ 1:3 และ 1:2.3 ตามล้าดับ ขณะที่อัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิ 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 1:1

จากผลการศึกษาครั งนี สรุปได้ว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฟักไข่ตะพาบน ้าอยู่ในช่วง 29 และ 31 องศาเซลเซียส เพราะมีอัตราการฟักสูง อุณหภูมิมีผลต่อระยะเวลาฟักไข่ตะพาบน ้าโดยการฟักที่อุณหภูมิสูงจะใช้เวลาในการฟักไข่น้อยกว่าฟักที่อุณหภูมิต่้า และมีแนวโน้มว่าการฟักที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส มีสัดส่วนเพศเมียมากกว่าเพศผู้ ในขณะที่ อุณหภูมิสูงขึ น (31-33 องศาเซลเซียส ) มีอัตราส่วนเพศเมียเท่ากับเพศผู้ แสดงว่าอุณหภูมิที่ศึกษาไม่ได้ก้าหนดเพศของตะพาบน ้า

ค้าส้าคัญ: ตะพาบน ้า Amyda cartilaginea อุณหภูมิ อัตราการฟัก ระยะเวลาฟัก อัตราส่วนเพศ * ผู้รับผิดชอบ: หมู่ ๑ ต.ม่วงชุม อ. ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110 โทร. 0 3461 1144 e-mail: [email protected]

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 7: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

2

Effect of Temperature on Hatching Rate, Incubation Period and Sex Ratio of Asiatic Softshell Turtle Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770)

Wachira Kitimasak* Oamduen Meejui and Suriya Sangautus

Kanchanaburi Inland Fisheries Research and Development Center

Abstract

The study of temperature on hatching rate, incubation period and sex ratio of Asiatic softshell turtle Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) was conducted at Kanchanaburi Inland Fisheries Research and Development Center during October 2008 - September 2010. Eighty eggs from eleven clutches were divided for incubating into 4 groups, ambient temperature (27.5±1.4), 29, 31 and 33 ๐C. It was found that the hatching rates were 20+9, 50+11, 65+11 and 20+9 percent, respectively. There were not significant differences between 29 and 31 ๐C groups (p>0.05) but the hatching rates of 29 and 31 ๐C groups were higher than ambient and 33 ๐C groups (p<0.05). Incubation periods were 99+3, 102+1, 94+2, 77+1 days, respectively. The statistical analysis showed that there were not significant differences among the incubation periods of the ambient, 29 and 31 ๐C groups (p>0.05) but they were significantly differences with 33 ๐C group (p<0.05). The results of this study showed that male and female sex ratios of ambient and 29 ๐C groups were 1:3 and 1:2.3, respectively, and the sex ratios of 31 and 33 ๐C groups were 1:1.

The results of this study concluded that the appropriate temperatures for incubating A. cartilaginea eggs were 29 and 31 ๐C due to high hatching rate. The temperature effected on incubation periods, the high incubating temperature was shorter than low temperature. The incubation at ambient and 29 ๐C effected on female biased sex ratio. The higher temperature (31-33 ๐C) got equal sex ratio. Sex of A. cartilaginea did not depend on temperature in this study.

Key words: Asiatic softshell turtle, temperature, hatching rate, incubation period, sex ratio *Corresponding author: Moo 1, Muangchum, Thamuang, Kanchanaburi 71110 Tel. 0 3461 1144 e-mail: [email protected]

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 8: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

3

ค้าน้า ตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) มีชื่อสามัญคือ Asiatic Softshell Turtle

เป็นหนึ่งในหกชนิดของตะพาบพันธุ์พื นเมือง (native species) ของประเทศไทย (เสาวนีย์ และ ก้าธร, 2537; Kitimasak, 2002) พบในแหล่งน ้าจืดทั่วไป เช่น แม่น ้า ล้าธาร แหล่งน ้าที่ไหลช้า ในที่ราบลุ่มจนถึงล้าธารในภูเขาสูง (Smith, 1931) ปัจจุบันประชากรของตะพาบน ้าในธรรมชาติมีจ้านวนลดลงอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากถูกล่าเพ่ือการค้า บริโภค ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกท้าลาย หรือถิ่นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกจากการขยายตัวของชุมชน ด้วยเหตุเหล่านี ตะพาบน ้าจึงถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มสูญพันธุ์โดยสหภาพนานาชาติเพ่ือการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union of conservation for Nature and Natural Resources: IUCN) (Hilton-Taylor, 2000) ตะพาบน ้าถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ .ศ. 2535 และตามกฎกระทรวงที่ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 37 ก วันที่ 26 เมษายน 2556 ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สมควรส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์เพ่ิมเติม เพ่ือป้องกันมิให้สูญพันธุ์และเพ่ืออนุญาตให้บุคคลมีไว้ในครอบครอง ค้า และเพาะพันธุ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เนื อของตะพาบน ้าก็เป็นที่นิยมบริโภคทั งในและต่างประเทศ ซึ่ง Kuchling et al. (2004) รายงานว่าราคาตะพาบน ้าที่ถูกจับในประเทศพม่ามีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับเต่าและตะพาบทั่วไป โดยมีราคา 5-10 USD ต่อกิโลกรัม

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืดกาญจนบุรีเป็นหน่วยงานของกรมประมงที่ด้าเนินการศึกษาวิจัยและเพาะพันธุ์ตะพาบพันธุ์พื นเมืองของไทยซึ่งประสบความส้าเร็จในการเพาะพันธุ์แล้ว 3 ชนิด คือตะพาบม่านลาย ตะพาบหับ และตะพาบน ้า และได้ปล่อยลูกตะพาบน ้าคืนสู่ธรรมชาติที่แม่น ้าแควน้อย อ้าเภอไทรโยค เมื่อ พ.ศ. 2550 และปล่อยที่แม่น ้าแม่กลอง อ้าเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2551 ครั งละ 300 ตัว ท้าให้ประชากรตะพาบน ้าในธรรมชาติเพ่ิมสูงขึ น และ 2-3 ปี หลังจากนั นชาวประมงพบลูกตะพาบน ้าในแหล่งที่ปล่อยอย่างต่อเนื่อง ลูกตะพาบน ้าที่ได้จากการเพาะพันธุ์ส่วนหนึ่งถูกเลี ยงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ แต่จากผลการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ตะพาบน ้าที่ได้จากการเพาะพันธุ์พบว่าสัดส่วนเพศเมียมากกว่าเพศผู้ ซึ่งอาจเกิดจากตัวผู้มีอัตราการตายสูงกว่าตัวเมีย เช่นอาจเกิดจากพฤติกรรมการแก่งแย่งอาหาร พื นที่อยู่อาศัย หรืออาจเกิดจากอัตราส่วนเพศที่แตกต่างกันตั งแต่ฟักจากไข่ ซ่ึงจากเหตุดังกล่าวอาจส่งผลต่อประชากรตะพาบน ้าที่ได้ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเนื่องจากอัตราส่วนเพศที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ความส้าเร็จในการผสมพันธุ์และเพ่ิมจ้านวนประชากรในธรรมชาติของตะพาบน ้าลดลงกว่าที่ควรจะเป็น

ในประเทศไทยมีการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะและอนุบาลลูกตะพาบน ้า A. cartilaginea หลายครั ง (วิรุณ และคณะ, 2523; ประโยชน์ และคณะ, 2535; ถวัลย์, 2517; พรชัย, 2521; สุจินต์ และคณะ, 2538; วชิระ, 2539; ประวิทย์ และคณะ, 2522; สุวิมล และคณะ, 2532) และมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟักไข่ตะพาบน ้าคือความชื น (วชิระ, 2539) และการเปลี่ยนต้าแหน่ง (องศา) ของไข่ระหว่างการฟัก (วชิระ และ อ้อมเดือน, 2549) แต่ยังไม่มีรายงานผลการศึกษาสัดส่วนเพศของลูกตะพาบน ้าที่ได้จากการฟักแตกต่างกันเกิดจากปัจจัยใด นอกจากมีการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อสัดส่วนเพศของลูกเต่าและจระเข้ที่ฟักที่อุณหภูมิคงที่ที่แตกต่างกันจะให้ลูกที่มีสัดส่วนเพศต่างกัน ดังนั นการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ตะพาบน ้าว่ามีอิทธิพลต่อการก้าหนดเพศของตะพาบน ้าหรือไม่นั น หากผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิมีผลต่อการก้าหนดเพศของตะพาบน ้า ก็จะสามารถน้าไปใช้จัดการให้เหมาะสมในการฟักไข่เพ่ือก้าหนดเพศของตะพาบน ้าตามวัตถุประสงค์ เช่นผลิตลูกตะพาบน ้าในอัตราส่วนเพศที่ใกล้เคียงกันเพ่ือปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพ่ือส่งผลให้การปล่อยพันธุ์ตะพาบน ้าเพ่ือการอนุรักษ์ประสบความส้าเร็จอย่างยั่งยืนต่อไป หรือใช้วางแผนการผลิตได้ถูกต้อง เพ่ิมโอกาสของความส้าเร็จในการเพาะเลี ยงตะพาบน ้าในเชิงเศรษฐกิจในอนาคต

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 9: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

4

วัตถุประสงค์

เพ่ือทราบผลของอุณหภูมิต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาการฟัก และอัตราส่วนเพศของตะพาบน ้า A. cartilaginea

วิธีด้าเนินการ

1. แบบแผนการวิจัย

1.1 วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) โดยมีรังเป็นblock มีทั งหมด 11 รัง ใช้ไข่ตะพาบน ้าทดลองจ้านวน 80 ฟอง แบ่งไข่ตะพาบน ้าออกเป็น 4 ชุดการทดลอง แต่ละชุดการทดลองมี 20 ซ า้ คือ

ชุดการทดลองที่ 1 ฟักไข่ท่ีอุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) ชุดการทดลองที่ 2 ฟักไข่ท่ีอุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส ชุดการทดลองที่ 3 ฟักไข่ท่ีอุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส ชุดการทดลองที่ 4 ฟักไข่ท่ีอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส

1.2 สถานที่และระยะเวลาในการทดลอง ด้าเนินการทดลองท่ีศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551

ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553

2. วิธีการทดลอง

2.1 การเพาะพันธุ์ ปรับปรุงบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร จ้านวน 3 บ่อ เป็นบ่อเพาะพันธุ์ โดยกั นพื นที่มุมหนึ่ง

ของบ่อขนาด 120x300x40 เซนติเมตร ใส่ทรายละเอียดสูงประมาณ 40 เซนติเมตร เพ่ือเป็นที่วางไข่ ส้าหรับพื นที่บ่อที่เหลือใส่ทรายที่พื นก้นบ่อสูง 15 เซนติเมตร เติมน ้าให้สูงเหนือระดับทรายก้นบ่อประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปล่อยแม่พันธุ์ตะพาบน ้าจ้านวน 20 ตัว และพ่อพันธุ์ จ้านวน 10 ตัว ต่อบ่อ และให้ปลาเป็ด 2 วันต่อครั ง ในอัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ของน ้าหนักตัว เวลา 16.00 น. เปลี่ยนถ่ายน ้า 50 เปอร์เซ็นต์ทุกสัปดาห์

เมื่อแม่ตะพาบน ้าวางไข่ เก็บไข่ตะพาบน ้า โดยท้าเครื่องหมายกากบาท (X) ด้านบนสุด พร้อมเขียนหมายเลขแสดงล้าดับที่ของไข่ในหลุม เพ่ือแสดงต้าแหน่งเดิมของไข่ที่พบในหลุมและป้องกันการเปลี่ยนต้าแหน่งไข่เมื่อน้าไปฟัก เป็นการป้องกันอิทธิพลของการเปลี่ยนต้าแหน่งไข่ต่ออัตราการฟัก (วชิระ และ อ้อมเดือน, 2549) วัดขนาดและชั่งน ้าหนักไข่ทุกฟอง เลือกไข่ตะพาบน ้าจากรังเดียวกันที่มีการพัฒนาของตัวอ่อนตามวิธีของวชิระ (2539) โดยดูจุดกลมขาว (white spot) ที่ปรากฏด้านบนของไข่ภายใน 48 ชั่วโมงหลังวางไข่ ซึ่งแสดงว่ามีการพัฒนาของตัวอ่อน จากนั นน้าไปแยกฟักตามแผนการทดลอง

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 10: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

5

2.2 การฟักไข่ เตรียมวัสดุฟักประกอบด้วยทรายละเอียดแห้งขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ผสมกับขุยมะพร้าว

ที่ผ่านการตากแห้ง ในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร แล้วเติมน ้าให้มีความชื น 30 เปอร์เซ็นต์ ตามวิธีที่ใช้ในการศึกษาความชื นของวัสดุฟักไข่ตะพาบน ้าที่ให้อัตราการฟักสูงสุดตามท่ีกล่าวอ้างใน วชิระ (2539) จากสูตร

น้าวัสดุฟักที่ได้ใส่ในกล่องพลาสติกขนาด 20x30x15 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร จ้านวน 4 กล่อง น้าไข่ตะพาบน ้าแต่ละรังมาแยกฟักตามชุดการทดลองแล้วกลบด้วยวัสดุฟัก สูง 10 เซนติเมตร จากนั นน้ากล่องฟักไข่ไปชั่งน ้าหนักเริ่มต้นของแต่ละชุดการทดลองด้วยเครื่องชั่งไฟฟ้ามีความละเอียดทศนิยม 2 ต้าแหน่ง ปิดฝากล่องด้วยแผ่นพลาสติกเจาะรู ขนาด 1x1 เซนติเมตร 2 แถวๆละ 5 รู เพ่ือระบายอากาศและป้องกันวัสดุฟักแห้ง แล้วน้าไปฟักตามแผนการทดลอง โดยกล่องที่ 1 ฟักที่อุณหภูมิห้อง กล่องที่ 2-4 น้าไปฟักในตู้ฟักไข่ท่ีควบคุมอุณหภูมิได้ (±0.5 องศาเซลเซียส) ) (ภาพท่ี 1)

น้ากล่องฟักไข่มาชั่งน ้าหนักทุก 2 วัน เวลา 09.00 น. กล่องที่น ้าหนักลดลงจะพ่นน ้าเป็นละอองเหนือวัสดุฟักให้มีน ้าหนักเท่าน ้าหนักเริ่มต้นตามวิธีของ Booth (2002)

ภาพที่ 1 ตู้ฟักไข่ที่ควบคุมอุณหภูมิได้ (±0.5 องศาเซลเซียส) เมื่อไข่ตะพาบน ้ามีอายุ 80 วัน ย้ายไข่ไปแยกฟักในช่องที่กั นด้วยแผ่นพลาสติกในกล่องพลาสติก

ขนาด 20x30x15 เซนติเมตร เพ่ือให้ทราบว่าลูกตะพาบน ้าได้จากไข่ฟองใด เมื่อลูกตะพาบน ้าฟักออกเป็นตัวน้าไปชั่งน ้าหนักลูกตะพาบน ้าแรกเกิดทุกตัวด้วยเครื่องชั่งไฟฟ้ามีความละเอียดทศนิยม 2 ต้าแหน่ง แล้วแยกออกไปอนุบาลไว้หนึ่งวันเพ่ือให้ขอบกระดองแข็งเข้ารูปจึงวัดขนาดกระดอง โดยวัดความกว้างและความยาวกระดองหลังด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์ที่มีความละเอียดทศนิยม 2 ต้าแหน่ง บันทึกจ้านวนลูกตะพาบน ้าที่ฟัก

ความชื น (เปอร์เซ็นต์) = =

x 100 (น ้าหนักตัวอย่าง-น ้าหนักตัวอย่างแห้ง) น ้าหนักตัวอย่างแห้ง

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 11: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

6

และระยะเวลาที่ใช้ในการฟักของแต่ละฟอง เพ่ือศึกษาอัตราการฟักและระยะเวลาการฟัก เก็บข้อมูลอุณหภูมิระหว่างการฟักไข่ตะพาบน ้าด้วย Data logger ยี่ห้อ iButton รุ่น DS1921H-F5 ที่บันทึกอุณหภูมิทุก 2 ชั่วโมง

2.3 การอนุบาลลูกตะพาบน ้า น้าลูกตะพาบน ้าแรกเกิดที่ได้จากการเพาะพันธุ์มาอนุบาลในตู้กระจกขนาด 50X105X40

เซนติเมตร ใส่ทรายหนา 3 เซนติเมตร ระดับน ้าสูง 2 เซนติเมตร ให้น ้าไหลผ่านตลอดเวลาที่อัตรา 1 ลิตรต่อนาที ให้ปลาเป็ดสับประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน ้าหนักตัว วันละ 2 ครั ง เวลา 09.00 และ 16.00 น. เป็นเวลา 8 เดือน จากนั นปรับอาหารให้ตามความต้องการของลูกตะพาบน ้าจนสิ นสุดการทดลอง

2.4 การตรวจสอบเพศตะพาบน ้า ตรวจสอบเพศลูกตะพาบน ้า 2 วิธี คือ

2.4.1 ใช้กล้องจุลทรรศน์ก้าลังขยายสูง ศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ของเซลล์และเนื อเยื่อของต่อมเพศ (gonad) เนื่องจากลูกตะพาบน ้าที่เลี ยงไว้ได้ป่วยและตายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 มีอายุประมาณ 6 เดือน จึงท้าการตรวจสอบเพศโดยการผ่าตัดเอาต่อมเพศ มาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ก้าลังขยายสูง ก้าลังขยาย 40 เท่า โดยการจ้าแนกจากอัณฑะ (testis, Te) ในเพศผู้ (ภาพที่ 2ก) รังไข่ (ovary, Ov) และ ท่อน้าไข่ (oviduct, Od) ในเพศเมีย (ภาพท่ี 2ข) ตาม Kuchling (1999) โดยจ้าแนกอัณฑะตะพาบน ้าวัยอ่อนจากลักษณะรูปร่างเรียวยาวอยู่ติดกับไต มีสีเหลือง (ภาพที่ 2ก) ขณะที่รังไข่ตะพาบน ้าวัยอ่อนมีลักษณะเป็นเส้นยาว บางครั งมีลักษณะเป็นลอน ทอดตามความยาวของไต มีฟอลลิเคิล (follicle) เป็นเม็ดเล็กๆ อยู่ด้านใน มีท่อน้าไข่เชื่อมต่อเป็นเส้นบางๆเป็นเส้นตรง (ภาพท่ี 2ข)

ก. ข.

ภาพที่ 2 ลักษณะต่อมเพศลูกตะพาบน ้าอายุ 6 เดือน ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก. อัณฑะ (testis, Te) ของตะพาบน ้า ข. รังไข่ (ovary, Ov) และท่อน้าไข่ (oviduct, Od) ของตะพาบน ้า

2.4.2 การส่องกล้อง (endoscopy) ด้าเนินการตรวจสอบเพศลูกตะพาบน ้า อายุ 8 เดือน ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องดูต่อมเพศ โดยมีขั นตอนดังนี

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 12: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

7

2.4.2.1 วางยาสลบลูกตะพาบน ้าด้วยการฉีด ketamine hydrochloride เข้าเส้นเลือดด้า ทีป่ริมาณ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที ่carpal sinus

2.4.2.2 วัดความยาวกระดองหลังและชั่งน ้าหนักลูกตะพาบน ้าทุกตัว 2.4.2.3 เมื่อลูกตะพาบน ้าสลบซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ดึงขาหลังตะพาบน ้าไป

ด้านหลังแล้วมัดติดกันให้แน่น ป้องกันการได้รับอันตรายจากการฟ้ืนจากการสลบก่อนเวลา เพราะหากขยับได้ อาจได้รับอันตรายจากมีดผ่าตัดหรือกล้องท่ีส่องเข้าไปในล้าตัว

2.4.2.4 ท้าความสะอาดผิวหนังบริเวณท้องใต้ขาหลัง กระดอง และขา ด้วยสบู่ฆ่าเชื อและ povidone-iodine

2.4.2.5 ใช้มีดผ่าตัดเปิดปากแผลกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร 2.4.2.6 ใช้กล้องส่องยี่ห้อ Storz Hopkins endoscope มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.7

มิลลิเมตร สอดเข้าช่องท้องเพ่ือตรวจสอบเพศ โดยการจ้าแนกจากอัณฑะ (testis, Te) ในเพศผู้ (ภาพที่ 3ก) รังไข่ (ovary, Ov) และ ท่อน้าไข่ (oviduct, Od) (ภาพที่ 3ข) ตามการศึกษาของ Kuchling and Kitimasak (2009) จากนั นท้าการเย็บแผล และใส่ยา povidone-iodine โดยใช้เวลาในการศึกษาตรวจสอบประมาณ 10 นาทีต่อตัว

ก. ข. ภาพที่ 3 ลักษณะต่อมเพศลูกตะพาบน ้าอายุ 8 เดือน ตรวจสอบด้วยการส่องกล้อง

ก. อัณฑะ (testis, Te) ของตะพาบน ้า ข. รังไข่ (ovary, Ov) และท่อน้าไข่ (oviduct, Od) ของตะพาบน ้า 2.4.2.7 น้าลูกตะพาบน ้าไปพักฟ้ืนในลังพลาสติก ซึ่งลูกตะพาบน ้าจะฟ้ืนภายใน 1-2

ชั่วโมง หลังการผ่าตัด พักลูกตะพาบไว้ในลังเป็นเวลา 1 คืน จึงน้าไปปล่อยบ่อเลี ยง

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 13: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

8

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

น้าข้อมูลอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียในแต่ละชุดการทดลองไปทดสอบด้วย G statistic for the log-likelihood ratio goodness of fit test (p≤0.05) และร้อยละอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียไปทดสอบด้วย Chi-square ตามวิธีที่กล่าวอ้างโดย Zar (1999) ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ และน ้าหนักไข่ ในแต่ละรังและแต่ละชุดการทดลอง ข้อมูลอัตราการฟัก ระยะเวลาการฟัก ความกว้าง-ความยาวกระดองหลัง น ้าหนักลูกตะพาบน ้าแรกเกิดและเพศในแต่ละชุดการทดลอง ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan’s new multiple range test และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่ น ้าหนักไข่ตะพาบน ้า ความกว้างและความยาวของกระดองหลัง และน ้าหนักลูกตะพาบน ้าแรกเกิด ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส้าเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา

1. การรวบรวมไข่

รวบรวมไข่ตะพาบน ้าจากบ่อเพาะพันธุ์ระหว่างวันที่ 2-19 มีนาคม 2552 คัดเอาไข่จากรังที่มีการ

พัฒนาของตัวอ่อนจ้านวน 4 หรือ 8 ฟองต่อรัง มาศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่ และน ้าหนักไข่เท่ากับ 35.53±1.10 มิลลิเมตร, 34.84±1.12 มิลลิเมตร และ 25.59±1.71 กรัม ตามล้าดับ

เมื่อน้าข้อมูลไข่ตะพาบน ้าแต่ละรังไปวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่รังที่ 6 และ 9 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่รังที่ 8 และ 11 ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และรังที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, และ 10 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และไม่แตกต่างจากไข่รังที่ 6, 8, 9 และ 11 (p>0.05) แต่เส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่รังที่ 6 และ 9 แตกต่างกับรังที่ 8 และ 11 (p<0.05) (ตารางที่ 1)

เส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งเฉลี่ยของไข่ตะพาบน ้ารังที่ 3 และ 6 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) รังที่ 1, 2, 3, 5, 7 และ 11 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) รังที่ 1, 2, 5, 7, 10 และ 11 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และรังท่ี 4, 8, 9 และ 10 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) (ตารางที่ 1)

ค่าเฉลี่ยของน ้าหนักไข่ตะพาบน ้ารังที่ 2, 3, 6 และ 11 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) รังที่1, 2, 5, 6, 7 และ 11 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) รังที่ 1, 2, 4, 5, 7, 8, 10 และ 11 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่น ้าหนักไข่ตะพาบน ้ารังที่ 9 แตกต่างทางสถิติ (p<0.05) จากรังอ่ืนๆ (ตารางที่ 1)

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 14: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

9

ตารางที่ 1 วันที่แม่ตะพาบน ้าวางไข่ จ้านวนไข่ ขนาดและน ้าหนัก (Mean+SD) ไข่ตะพาบน ้าที่น้ามาศึกษาจ้าแนกตามรัง

รังที ่ ขนาดและน ้าหนักไข่

วันที่วางไข่ จ้านวนไข่ที่ใช้ทดลอง (ฟอง)

เส้นผ่านศูนย์- เส้นผ่านศูนย์- น ้าหนัก กลางแนวนอน กลางแนวตั ง (ก.) (มม.) (มม.)

เฉลี่ย 35.53±1.10 34.84±1.12 25.59±1.71 หมายเหตุ อักษรภาษาอังกฤษที่ก้ากับตัวเลขในสดมภ์เดียวกันต่างกัน แสดงความแตกต่างกันทางสถิติท่ีระดับ

ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต ์

2. ขนาดไข่และลูกตะพาบน ้า เมื่อน้าไข่ตะพาบน ้าแต่ละรังไปแยกฟักตามแผนการทดลองที่ก้าหนด พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดเส้น

ผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 35.47±0.75, 35.61±0.95, 35.38±1.01 และ 35.67±1.58 มิลลิเมตร ตามล้าดับ

ค่าเฉลี่ยของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่ที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 35.06±1.26, 34.94±1.09, 34.65±0.83 และ 34.72±1.26 มิลลิ เมตร ตามล้าดับ

ค่าเฉลี่ยของน ้าหนักไข่ที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 26.06±1.79, 25.76±1.73, 25.21±1.37 และ 25.32±1.89 กรัม ตามล้าดับ

จากนั นน้าข้อมูลขนาดและน ้าหนักไข่ในแต่ละชุดการทดลองไปวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่และน ้าหนักไข่ ในแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) (ตารางที่ 2)

35.70±0.87 ab 35.19±1.09 ab 35.43±1.16 ab 35.26±0.86 ab 35.37±0.85 ab 36.25±1.68 a 35.44±1.23 ab 34.89±0.80 b 36.47±0.77 a 35.90±0.60 ab 34.73±1.02 b

34.68±0.40 bc 34.51±0.35 bc 33.94±0.67 cd 36.06±1.33 az 34.70±0.86 bc 33.25±0.64 dz 34.64±0.94 bc 35.89±0.82 az 36.01±1.17 az 35.40±0.51 ab 34.71±0.82 bc

25.64±1.41 bc 25.20±0.64 bcd 23.81±0.77 d 26.01±1.91 b 25.50±0.85 bc 24.17±0.75 cd 25.56±1.91 bc 25.95±1.99 b 28.19±1.44 a 26.64±0.78 b 25.01±1.80 bcd

1 2 3 4 5 6 7 8 9

10 11

8 8 8 4 8 8 4 8 8 8 8

2 มีนาคม 2552 2 มีนาคม 2552 6 มีนาคม 2552 9 มีนาคม 2552 9 มีนาคม 2552

10 มีนาคม 2552 10 มีนาคม 2552 10 มีนาคม 2552 18 มีนาคม 2552 19 มีนาคม 2552 19 มีนาคม 2552

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 15: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

10

ความกว้างของกระดองหลังลูกตะพาบน ้ามีค่าเฉลี่ย 40.62±3.06 มิลลิเมตร ความกว้างกระดองหลังจากการฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 43.43±2.11, 41.76±1.89, 40.39±2.69 และ 35.72±1.47 มิลลิเมตร ตามล้าดับ (ตารางที่ 2) เมื่อน้าข้อมูลความกว้างกระดองหลังของลูกตะพาบน ้าไปวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าความกว้างกระดองหลังชุดอุณหภูมิห้องกับการฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ความกว้างกระดองหลังชุดที่ฟักที่อุณหภูมิ 29 และฟักที่ 31 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนความกว้างกระดองหลังลูกตะพาบน ้าที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ชุดที่ฟักที่อุณหภูมิ 31 และ 33 องศาเซลเซียส แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05) (ตารางท่ี 2)

ความยาวกระดองหลังเฉลี่ยของลูกตะพาบน ้าแรกเกิด เท่ากับ 46.94±3.67 มิลลิเมตร ส่วนความยาวกระดองหลังลูกตะพาบน ้าที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 49.75±3.26, 48.28±2.98, 46.80±2.94 และ 41.21±1.58 มิลลิเมตร ตามล้าดับ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าความยาวของกระดองหลังลูกตะพาบน ้าที่ฟักจากชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29 และ 31 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่แตกต่างจากชุดที่ฟักที่ 33 องศาเซลเซียส (p<0.05) (ตารางที่ 2)

น ้าหนักเฉลี่ยของลูกตะพาบน ้าแรกเกิด เท่ากับ 15.84±2.22 กรัม ส่วนน ้าหนักเฉลี่ยของลูกตะพาบน ้าที่ฟักในชุดอุณหภูมิห้อง ฟักที่ อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 18.47±1.94, 16.14±1.98, 15.39±2.11 และ 13.94±0.99 กรัม ตามล้าดับ เมื่อน้าข้อมูลน ้าหนักของลูกตะพาบน ้าไปวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าน ้าหนักลูกตะพาบน ้าที่ฟักในที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่แตกต่างกับการฟักในชุดอุณหภูมิห้อง (p<0.05) (ตารางท่ี 2)

ตารางท่ี 2 ขนาดและน ้าหนัก (Mean+SD) ของไข่และลูกตะพาบน ้าแรกเกิด

อุณหภูมิฟัก

(องศาเซลเซียส)

ขนาดและน ้าหนักไข่ ขนาดกระดองและน ้าหนักลูกตะพาบแรกเกิด เส้นผ่านศูนย์- เส้นผ่านศูนย์- น ้าหนัก กลางแนวนอน กลางแนวตั ง (ก.) (มม.) (มม.)

ความกว้าง ความยาว น ้าหนัก (มม.) (มม.) (ก.)

เฉลี่ย 35.53±1.10 34.84±1.12 25.59±1.71 40.62±3.06 46.94±3.67 15.84±2.22 หมายเหตุ อักษรภาษาอังกฤษที่ก้ากับตัวเลขในสดมภ์เดียวกันต่างกัน แสดงความแตกต่างกันทางสถิติท่ีระดับ ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ 3. อัตราการฟัก

ผลการฟักไข่ในแต่ละชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 20 ฟอง พบว่าได้ลูกตะพาบน ้าจากชุด

อุณหภูมิห้อง ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 4, 10, 13 และ 4 ตัว ตามล้าดับ คิดเป็นอัตราการฟัก 20±9, 50±11, 65±11 และ 20±9 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ (ตารางท่ี 3)

43.43±2.11 a 41.76±1.89 ab 40.39±2.69 b 35.72±1.47 c

49.75±3.26 a 48.28±2.98 a 46.80±2.94 a 41.21±1.58 b

18.47±1.94 a 16.14±1.98 b 15.39±2.11 b 13.94±0.99 b

35.47±0.75 a 35.61±0.95 a 35.38±1.01 a 35.67±1.58 a

35.06±1.26 a 34.94±1.09 a 34.65±0.83 a 34.72±1.26 a

26.06±1.79 a 25.76±1.73 a 25.21±1.37 a 25.32±1.89 a

ห้อง 29 31 33

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 16: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

11

เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าอัตราการฟักของชุดอุณหภูมิห้องไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการฟักที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส และอัตราการฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียสไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการฟักที่และการอุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส (p>0.05) แต่อัตราการฟักของชุดอุณหภูมิห้องฟักที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส แตกต่างกันทางสถิติกับการฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส และ 31 องศาเซลเซียส (p<0.05) (ตารางที่ 3)

4. ระยะเวลาฟัก

ไข่ตะพาบน ้าที่ฟักในอุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใน

รอบวันระหว่าง 23.9-31.4 องศาเซลเซียส มีระยะเวลาการฟักไข่อยู่ระหว่าง 91-104 วัน เฉลี่ย 99±3 วัน ส่วนระยะเวลาฟักและระยะเวลาการฟักเฉลี่ยของลูกตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 95-108, 89-105, 74-80 และ 102±1, 94±2, 77±1 วัน ตามล้าดับ (ตารางท่ี 3)

ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าเวลาฟักไข่เฉลี่ยของชุดอุณหภูมิห้องไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับการฟักที่อุณหภูมิ 29 และ 31 องศาเซลเซียส แต่แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กับเวลาฟักเฉลี่ยของไข่ตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส ในขณะที่เวลาฟักไข่เฉลี่ยที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 จ้านวนไข่ จ้านวนไข่ท่ีฟัก อัตราการฟัก พิสัยเวลาฟัก เวลาฟักเฉลี่ย และอัตราส่วนเพศ (Mean+SE)

ของลูกตะพาบน ้าจากการฟักที่อุณหภูมิแตกต่างกัน

อุณหภูมิฟัก (องศาเซลเซียส)

จ้านวนไข่ (ฟอง)

จ้านวนไข่ที่ฟัก

(ฟอง)

อัตราการฟัก

(เปอร์เซ็นต์)

พิสัยเวลาฟัก (วัน)

เวลาฟักเฉลี่ย (วัน)

อัตราส่วนเพศ

(ผู้:เมีย) ห้อง (27.5) 20 04 20±9 b 91-104 099±3 ab 1:3

29 20 10 50±11 a 95-108 102±1a 1:2.3 31 20 13 65±11 a 89-105 094±2b 1:1 33 20 04 20±9 b 74-800 077±1c 1:1

หมายเหตุ อักษรภาษาอังกฤษท่ีก้ากับตัวเลขในสดมภ์เดียวกันต่างกัน แสดงความแตกต่างกันทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์

5. อัตราส่วนเพศ

ผลการตรวจสอบอัตราส่วนเพศผู้:เพศเมียของลูกตะพาบน ้าในชุดอุณหภูมิห้อง ชุดฟักที่อุณหภูมิ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เท่ากับ 1:3, 1:2.3, 1:1 และ 1:1 ตามล้าดับ อัตราส่วนเพศคิดเป็นร้อยละ 25:75, 30:70, 50:50 และ 50:50 ตามล้าดับ (ภาพที่ 4, ตารางที่ 3 และ 4)

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 17: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

12

อุณหภูมิฟักไข่ (องศาเซลเซียส) ภาพที่ 4 อัตราส่วนเพศตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิห้อง 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส เมื่อน้าอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของลูกตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิห้องและ อุณหภูมิ

29 องศาเซลเซียส ไปวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่แตกต่างจากอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของลูกตะพาบน ้าที่ฟักที่อุณหภูมิ 31 และ 29 องศาเซลเซียส (p<0.05) (ตารางที่ 4)

น้าข้อมูลร้อยละของอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมีย ไปวิเคราะห์ด้วย G statistic for the log-likelihood ratio goodness of fit test พบว่าค่า G ของอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของชุดอุณหภูมิห้องและชุดฟักท่ีอุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:2 ขณะที่ค่า G ของอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของชุดที่ฟักท่ีอุณหภูมิ 31 และ 33 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:1 (ตารางท่ี 4)

ตารางท่ี 4 ค่า G for the log-likelihood ratio goodness of fit test ของอัตราส่วนเพศตะพาบน ้าที่ฟักจาก

ชุดอุณหภูมิห้อง 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิฟัก (องศา

เซลเซียส)

ร้อยละอัตราส่วนเพศ

ผู้:เมีย

ค่า G อัตราส่วนเพศ

2:1

ค่า G อัตราส่วนเพศ

1:1

ค่า G อัตราส่วนเพศ

1:2 ห้อง 25:75 a 72.62 (p<0.05) 26.16 (p<0.05) 3.30 (p>0.05) 29 30:70 a 55.98 (p<0.05) 16.46 (p<0.05) 0.53 (p>0.05) 31 50:50 b 11.79 (p<0.05) 0 (p>0.05) 11.79 (p<0.05) 33 50:50 b 11.79 (p<0.05) 0 (p>0.05) 11.79 (p<0.05)

หมายเหตุ อักษรภาษาอังกฤษที่ก้ากับตัวเลขในสดมภ์เดียวกันต่างกัน แสดงความแตกต่างกันทางสถิติท่ีระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต ์

0%

20%

40%

60%

80%

100%

ห้อง 29 31 33

เพศเมีย

เพศผู้

อัตรา

ส่วนเ

พศ (เ

ปอร์เซ

็นต์)

100

80

60

40

20

0

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 18: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

13

สรุปและวิจารณ์ผล

1. การรวบรวมไข่ จากผลการวิเคราะห์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

แนวตั งของไข่ และน ้าหนักไข่ตะพาบน ้าแต่ละรังพบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างรัง (ตารางที่ 1) แม้ว่าขนาดแม่พันธุ ์ตะพาบน ้ามีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ ่ง วชิระ (2539) รายงานว่าขนาดและน ้าหนักของไข่ตะพาบน ้า A. cartilaginea ไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดของแม่ตะพาบน ้า แตกต่างจากไข่ตะพาบม่านลาย Chitra chitra ที่ขนาดและน ้าหนักของไข่มีความสัมพันธ์กับขนาดของแม่ตะพาบม่านลาย (Kitimasak et al., 2003)

2. ขนาดไข่และลูกตะพาบน ้า

จากผลการทดลองพบว่าขนาดไข่ตะพาบน ้าในแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทั ง

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวนอนของไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแนวตั งของไข่ และน ้าหนักไข่ แต่พบว่าลูกตะพาบน ้าที่ฟักท่ีอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส มีความกว้างและความยาวของกระดองหลังน้อยกว่าทุกชุดการทดลอง (p<0.05) แต่น ้าหนักเฉลี่ยไม่แตกต่างจากการฟักท่ี 29 และ 31 องศาเซลเซียส (ตารางที่ 2) สอดคล้องกับการศึกษาของ Plummer et al., (1994) ที่ได้ลูกตะพาบ Apalone muticus จากการฟักที่อุณหภูมิคงที่ที่ 27, 30 และ 33 องศาเซลเซียส มีน ้าหนักไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างจากการทดลองของ de Souza and Vogt (1994) ที่ฟักไข่เต่า Podocnemis unifilis ที่อุณหภูมิ 28, 30, 31, 32 33 และ 34 องศาเซลเซียส พบว่าที่อุณหภูมิสูงจะได้ลูกเต่าที่น ้าหนักมากกว่าอุณหภูมิต่้า ขณะที่ Booth (1998) ทดลองฟักไข่เต่า Emydura signata ที่อุณหภูมิ 24, 26, 28 และ 31องศาเซลเซียส พบว่าขนาดและน ้าหนักของลูกเต่าแรกเกิดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับน ้าหนักไข่เริม่ต้น ตามสมการ y = 0.53 x +0.127, r2 = 0.91, P <0.001, n= 43

น ้าหนักเฉลี่ยของลูกตะพาบน ้าที่ฟักท่ีอุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) มีน ้าหนักมากกว่าชุดการทดลองที่ฟักที่อุณหภูมิคงที่ที่ 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส ซึ่งต่างจากการศึกษาของ Xiang et al., (2003) ที่รายงานว่าการฟักไข่ตะพาบไต้หวันที่ อุณหภูมิ 28 และ 30 องศาเซลเซียส ได้ลูกตะพาบน ้าหนักมากกว่าฟักที่อุณหภูมิ 24 และ 34 องศาเซลเซียส

3. อัตราการฟัก

อัตราการฟักไข่ตะพาบน ้าที่อุณหภูมิคงที ่ 29 และ 31 องศาเซลเซียส เท่ากับ 50 และ 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าฟักที่ 33 องศาเซลเซียสและชุดอุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส, 23.9-31.4 องศาเซลเซียส) คือมีอัตราการฟักประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ นั่นอาจหมายความว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมในการฟักไข่ตะพาบน ้าอยู่ในช่วง 29 และ 31 องศาเซลเซียส ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Xiang et al., (2003) ที่ฟักไข่ตะพาบไต้หวัน Pelodiscus sinensis ที่อุณหภูมิ 24, 28, 30, 34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง (23.7-36.2 องศาเซลเซียส) พบว่าอัตราการฟักที่ 28 และ 30 องศาเซลเซียส สูงกว่าการฟักที่อุณหภูมิ 24, 34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง ขณะที่ Zhu et al., (2006) รายงานว่าการฟักไข่เต่า Mauremys mutica ที่อุณหภูมิ 29.0±0.5 องศาเซลเซียส เหมาะสมที่สุดต่ออัตราการรอดและการพัฒนาของตัวอ่อน ขณะที่การฟักไข่ที่อุณหภูมิ 33.0±0.5 องศาเซลเซียส มีผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและปัจจัยที่

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 19: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

14

10/(t1- t2)

ส้าคัญในการฟักไข่เต่าคือ ออกซิเจน อุณหภูมิ และความชื น (Highfield, 1994) ขณะที่ วชิระ (2539) พบว่าในการฟักไข่ตะพาบน ้า Amyda cartilaginea นั นถ้าความชื นสูงหรือต่้าเกินไปจะท้าให้อัตราการฟักต่้าลง 4. ระยะเวลาฟัก

จากผลการทดลองพบว่าระยะเวลาการฟักไข่ตะพาบน ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ โดย

อุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ที่ 29 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟักไข่มากที่สุด (102±1 วัน) และอุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ที่ 33 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟักไข่น้อยที่สุด (77±1 วัน) ขณะที่อุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ที่ 31 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟักไข่เท่ากับ 94±2 วัน แต่ที่อุณหภูมิห้องซ่ึงมีค่าเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟักไข่ 99±3 วัน ไม่แตกต่างจากการฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิห้องมีการเปลี่ยนแปลงสูงต่้าในรอบวัน ท้าให้ระยะเวลาการฟักไข่ตะพาบน ้าไม่แตกต่างจากการฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาครั งนี สอดคล้องกับที่ Plummer et al., (1994) รายงานว่าระยะเวลาการฟักไข่ตะพาบ Apalone mutica ขึ นกับอุณหภูมิ โดยฟักไข่ที่อุณหภูมิ 24, 27, 30 และ 33 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการฟักไข่ 120, 75, 58 และ 50 วัน ตามล้าดับ ซึ่งผลที่ท้าให้การฟักไข่ที่อุณหภูมิสูงกว่าใช้ระยะเวลาในการฟักไข่สั นกว่าการฟักที่อุณหภูมิต่้าเนื่องจากผลของอุณหภูมิต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีจาก rate change per 10oC (Q10) (Booth, 1998) ขณะที่มีการพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว Q10 เป็นอัตราการเกิดปฎิกริยาทางเคมีที่ขึ นกับอุณหภูมิซึ่งรวมถึงระดับเซลล์ ความสัมพันธ์นี สามารถแสดงในรูปของสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ (temperature of coefficient) จากสูตร

Q10 = (𝑅1

𝑅2)

เมื่อ R1 และ R2 เป็นอัตราทางสรีรวิทยา (สัดส่วนของอัตราปฎิกริยา) ที่พบที่อุณหภูมิ t1 และ t2

ตามล้าดับ ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิกริยาทางชีววิทยา ค่า Q10 อยู่ระหว่าง 2 และ 3 ซึ่งค่า Q10 2.5 แสดงถึงอัตราปฏิกริยาที่เพ่ิมขึ น 9.6 เปอร์เซ็นต์ ต่ออุณหภูมิที่เพ่ิมขึ น 1 องศาเซลเซียส

ผลการศึกษาครั งนี สอดคล้องกับ Booth (1998) ที่วัดปริมาณของการใช้ออกซิเจน (VO2) ของตัวอ่อนในไข่เต่า Emydura signata ฟักที่อุณหภูมิ 26, 28 และ 31 องศาเซลเซียส พบว่าที่เวลาเดียวกันตัวอ่อนเต่าในไข่ที่ฟักท่ี 31 องศาเซลเซียส ใช้ออกซิเจนปริมาณสูงกว่าฟักที่ 28 และ 26 องศาเซลเซียส ตามล้าดับ แต่ปริมาณรวมของการใช้ออกซิเจนตลอดการฟักไข่ไม่แตกต่างกัน แสดงว่าอุณหภูมิที่สูงกว่ามีผลต่อความเร็วในการพัฒนาของตัวอ่อน

5. อัตราส่วนเพศ

ผลการศึกษาครั งนี พบว่าอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของชุดอุณหภูมิห้องมีค่าเท่ากับ 1:3 และ

ชุดฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 1:2.3 ไม่แตกต่างกันและสอดคล้องกับอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:2 ขณะที่ค่า G ของอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของชุดที่ฟักท่ีอุณหภูมิ 31 และ 33 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันและสอดคล้องกับอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:1

ผลการศึกษาก่อนหน้านี ซึ่งรวมรวบโดย Ewert et al., (2004) จากตารางผนวกท่ี 1 พบว่าจากเต่าทั งหมด 13 วงศ์ มี 8 วงศ์ ที่เป็น Temperature-dependent sex determination (TSD) และมี 2 วงศ์ ที่เป็น

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 20: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

15

Genotypic sex determination (GSD) คือ วงศ ์Chelidae และ Trionychidae มี 1 วงศ ์ที่ยังไม่มีผลการศึกษาคือ วงศ์ Platysternidae และมี 2 วงศ์ คือ Emydidae และ Kinosternidae มีสมาชิกจ้านวน 25 และ 16 ชนิด ตามล้าดับ พบว่าส่วนใหญ่เป็น TSD คือ 24 และ 16 สปีชีส์ แต่มี 1 และ 3 สปีชีส์ ตามล้าดับ ที่เป็น GSD

ซึ่ง Pough et al., (2001) กล่าวว่าในสัตว์เลี ยงลูกด้วยนมนั นเพศก้าหนดจากยีน เรียกว่า genotypic sex determination (GSD) ขณะที่ จระเข้และเต่ าส่ วนใหญ่นั น เพศก้าหนดด้ วยอุณหภูมิ (temperature-dependent sex determination, TSD) ในรังฟักไข่ โดยพบว่าบางอุณหภูมิให้ลูกเพศผู้เท่านั นขณะที่บางอุณหภูมิให้ลูกเพศเมีย โดยช่วงของอุณหภูมิที่ผลิตลูกทั งสองเพศนั นแคบมากปกติอยู่ในช่วง 1 องศาเซลเซียส และเรียกช่วงของอุณหภูมิที่ได้ลูกทั งสองเพศว่า pivotal temperature

Bull (1983) กล่าวว่ารูปแบบของ TSD มี 3 รูปแบบคือ รูปแบบ Ia: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิต่้าและเพศเมียพัฒนาที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบในเต่าส่วน

ใหญ่ รูปแบบ Ib: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิสูงและเพศเมียพัฒนาที่อุณหภูมิต่้า ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบในกลุ่ม

กิ งก่าส่วนใหญ่ รูปแบบ II: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิระหว่างกลางของเพศเมียที่พัฒนาที่อุณภูมิต่้าและสูง เป็นรูปแบบที่

พบในจระเข้ (ภาพผนวกที่ 1) Wibbels et al., (1994) กล่าวว่าอุณหภูมิมีผลต่อการก้าหนดเพศช่วงก่อนการเปลี่ยนสภาพของ

อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (gonad) ที่จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นอัณฑะ (testes) หรือรังไข่ (ovary) โดยอยู่ในช่วงกึ่งกลางของระยะหนึ่งในสามถึงหนึ่งในสองของการพัฒนาของตัวอ่อน ขณะที่ Wennstrom and Crews (1995) กล่าวว่ากลไกการก้าหนดเพศด้วยอุณหภูมิเกิดจากยีนกระตุ้นการสร้างเอ็นไซม์ซึ่งเปลี่ยน steroid รูปแบบหนึ่งไปเป็นรูปหนึ่งตามอุณหภูมิ ซึ่งตัวอย่างของฮอร์โมนที่เปลี่ยนสภาพของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือ testosterone (อยู่ ในไข่แดง) ที่ อุณหภูมิที่ ได้ เพศเมียนั นเอ็นไซม์ aromatase ถูกกระตุ้นและเปลี่ยน testosterone ไปเป็น estradial (estrogen) โดย estradial จับกับ estrogen receptor บนอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ยังไม่เปลี่ยนสภาพท้าให้เกิดการเปลี่ยนสภาพไปเป็นรังไข่ ขณะที่อุณหภูมิที่ได้เพศผู้นั น เอ็นไซม์ 5α- reductase ถูกกระตุ้นและเปลี่ยน testosterone เป็น dihydrotestosterone จับกับ androgen receptor บนอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ยังไม่เปลี่ยนสภาพท้าให้เกิดการเปลี่ยนสภาพไปเป็นอัณฑะ

การฟักไข่ตะพาบน ้าที่อุณหภูมิห้อง (27.5±1.4), 29, 31 และ 33 องศาเซลเซียส ไม่มีอุณหภูมิใดที่ให้เพศลูกตะพาบน ้าเพียงเพศผู้หรือเพศเมียเพียงเพศเดียวแสดงว่าอุณหภูมิในช่วงดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวก้าหนดเพศของตะพาบน ้า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาผลของอุณหภูมิต่ออัตราส่วนเพศในตะพาบซึ่งอยู่ใน วงศ์ Trionychidae จ้านวน 3 ชนิด จาก 27 ชนิด ที่ด้าเนินการก่อนหน้านี (ภาพผนวกที่ 1) พบว่าทั ง 3 ชนิดเป็น GSD แต่อย่างไรก็ตามผลการศึกษาในครั งนี ที่อัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียของชุดอุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) และชุดฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส มีอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:3 และ 1:2.3 ตามล้าดับ ซึ ่งต่างจากอัตราส่วนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลังที ่มี sex chromosome ที ่มีอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 1:1 ผลของอัตราส่วนเพศที่ได้จากอุณหภูมิฟักไข่ตะพาบน ้า ซึ่งแม้ว่าไม่แสดงลักษณะของ TSD แต่อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ตะพาบน ้าก็แสดงถึงอัตราส่วนเพศที่ไม่เท่ากัน (biased sex ratio) เมื่อฟักที่อุณหภูมิห้อง (27.5±1.4 องศาเซลเซียส) และชุดฟักที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียสให้ลูกตะพาบน ้าเพศเมียสูงกว่าเพศผู้ ซึ่งแตกต่างจากอัตราส่วนเพศของลูกตะพาบม่านลาย Chitra chitra ที่ฟักที่อุณหภูมิห้อง จ้านวน 29 ตัว พบว่ามีเพศผู้ 23 ตัว เพศเมีย 6 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ 3.8:1 (Kuchling and Kitimasak, 2010)

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 21: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

16

การศึกษาครั งนี ท้าให้ทราบว่าอุณหภูมิมีผลต่อระยะเวลาฟักไข่ตะพาบน ้าโดยการฟักที่อุณหภูมิสูงคือ 33 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการฟักไข่น้อยกว่าฟักท่ีอุณหภูมิต่้ากว่า (27.5, 29 และ 31 องศาเซลเซียส) แต่มีอัตราการฟักท่ีต่้ากว่าเมื่อเทียบกับการฟักท่ีอุณหภูมิ 29 และ 31 องศาเซลเซียส ที่มีอัตราการฟักระหว่าง 50-65 เปอร์เซ็นต์ การฟักไข่ที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส จะได้ลูกตะพาบน ้าที่มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:2.3 ขณะที่การฟักไข่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส จะได้ลูกตะพาบน ้าที่มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:1ดังนั นสามารถน้าผลการศึกษาครั งนี ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการเพาะพันธุ์ตะพาบน ้าในเชิงอนุรักษ์ เพ่ือปล่อยคืนสู่ธรรมชาติโดยฟักไข่ที่อุณหภูมิ 29-31 องศาเซลเซียส เพ่ือปล่อยที่อัตราส่วนเพศ 1:1 หรือเพศเมียมากกว่าเพ่ือเพ่ิมโอกาสของการแพร่พันธุ์ (Seigel and Dodd, 2000) หรือฟักไข่ที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส เพ่ือผลิตลูกที่มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:2.3 เพ่ือเพ่ิมเพศเมียในบ่อเพาะพันธุ์เนื่องจากสามารถใช้อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:2-1:5 ในบ่อเพาะพันธุ์ได้ เป็นการเพ่ิมโอกาสในการผลิตลูกพันธุ์และใช้ศักยภาพของระบบการเพาะพันธุ์อย่างคุ้มค่า

ข้อเสนอแนะ

เกษตรกรควรฟักไข่ตะพาบน ้าที่อุณหภูมิ 29-31 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้มีการ

เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบวันมากเกินไปเพราะมีผลต่ออัตราการฟักไข่ตะพาบน ้า

ค้าขอบคุณ

ขอขอบคุณ คุณชุติพงค์ ว่องส่งสาร ที่ให้การสนับสนุนในการท้าการวิจัย ขอบคุณ Dr. Gerald Kuchling และ Ms. Guundie Kuchling ที่ช่วยตรวจสอบเพศลูกตะพาบน ้าด้วยวิธีส่องกล้อง คุณสกล รักษาธรรม คุณสงกรานต์ เผือกจีน และคุณเช้า ด้าเลิศ ที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างการทดลอง

เอกสารอ้างอิง

ถวัลย์ ชูขจร. 2517. การเลี ยงตะพาบน ้าที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารการประมง 27(2): 183-188. ประโยชน์ แผ้วสาสน์, อนันต์ สี่หิรัญวงศ์ และ ช่อทิพย์ จรูญศักดิ์. 2535. ผลของวิตามินรวม และไดแคลเซียม

ฟอสเฟต ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของตะพาบน ้าไทยและตะพาบน ้าไต้หวัน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 9/2545. กองประมงน ้าจืด, กรมประมง. 17 หน้า.

ประวิทย์ สุรนีรนาถ, วิทย์ ธารชลานุกูล และ ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ. 2522. การเพาะขยายพันธุ์ตะพาบน ้า. วารสารการประมง 32(4): 333-340.

พรชัย ศรีสมบูรณ์. 2521. การเพาะเลี ยงตะพาบน ้าที่เกาะสีชัง. วารสารการประมง 31(4): 305-310. วชิระ กิติมศักดิ์. 2539. ผลของความชื นต่ออัตราการฟักและผลของชนิดอาหารต่ออัตราการเติบโตของลูก

ตะพาบน ้า Amyda cartilaginea. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 100 หน้า.

วชิระ กิติมศักดิ์ และ อ้อมเดือน มีจุ้ย. 2549. ผลของการเปลี่ยนต้าแหน่งไข่และเวลาในการเปลี่ยนต้าแหน่งไข่ต่ออัตราการฟักของตะพาบน ้า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770). เอกสารวิชาการฉบับท่ี 6/2549. ส้านักวิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืด, กรมประมง. 18 หน้า.

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 22: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

17

วิรุณ บุญหมั่น, นิตย์ คูเจริญไพศาล และ เรณู วนาเดช. 2523. ศึกษาอุปนิสัยการวางไข่ การฟักไข่ และอัตราการเจริญเติบโตของตะพาบน ้า. ใน: รายงานประจ้าปี 2523 สถานีประมงน ้าจืดอุบลราชธานี, กองประมงน ้าจืด, กรมประมง. หน้า 22-24.

สุจินต์ หนูขวัญ, ภาณุ เทวรัตน์มณีกุล และ อนุสิน อินทร์ควร. 2538. การเพาะพันธุ์และอนุบาลตะพาบน ้าพันธุ์ไทย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 167. กองประมงน ้าจืด, กรมประมง. 31 หน้า.

สุวิมล พานิชย์กุล, ก้าพล อุดมคณานาค และ อนันต์ สี่หิรัญวงค์. 2532. การเพาะและอนุบาลลูกตะพาบน ้า. วารสารการประมง 42(2): 133-139.

เสาวนีย์ เสมาทอง และก้าธร ธีรคุปต์. 2537. คีย์จ้าแนกเต่าและตะพาบที่พบในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ 48: 140-143.

Booth, D. T. 1998. Effect of incubation temperature on the energetic of embryonic development and hatchling morphology in the Brisbane river turtle Emydura signata. Journal of Comparative Physiology B 168: 399-404.

Booth, D. T. 2002. Incubation of rigid-shelled turtle eggs: do hydric conditions matter? Journal of Comparative Physiology B 172(7): 627-633.

Bull, J. J. 1983. Evolution of Sex Determining Mechanisms. Benjamin/Cummings Puublishing Co., Menlo Park, CA.

Ewert, M. A., C. R. Etchberger and C. E. Nelson. 2004. Turtle sex-determining modes and TSD patterns, and some TSD pattern correlates. In: Temperature-dependent sex dertermination. Valenzuela, N. and V. Lance. (eds.) pp. 21–32. Smithsonian Books, Washington, DC.

Highfield, A. C. 1994. Keeping and breeding tortoises in captivity. The Longdunn Press, Bristol. 149 pp.

Hilton-Taylor, C. (Compiler). 2000. 2000 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge, UK. 61 pp.

Kitimasak, W. 2002. Natural history and captive breeding of the Siamese Narrow-headed softshell turtle Chitra chitra Nutphand, 1986. Doctor’s Thesis. Biological Science Program. Faculty of Science, Chulalongkorn University. 128 pp.

Kitimasak, W., K. Thirakhupt and D. Moll. 2003. Captive Breeding of the Siamese Narrow-headed Softshell Turtle Chitra chitra Nutphand, 1986 (Testudines: Trionychidae). Thai Journal of Agricultural Science 36(2): 141-154.

Kuchling, G. 1999. The Reproductive Biology of the Chelonia. Zoophysiology Vol. 38 Berlin Springer. 223 pp.

Kuchling, G., Win Ko Ko, Tint Lwin, Sein Aung Min, Khin Myo Myo, Thin Thin Khaing (II) and Win Win Mar. 2004. The softshell turtles and their exploitation at the upper Chindwin River, Myanmar: range extensions for Amyda cartilaginea, Chitra vandijki, and Nilssonia formosa. Salamandra 40(3/4): 281-296.

Kuchling, G. and W. Kitimasak. 2009. Endoscopic Sexing of Juvenile Softshell Turtles, Amyda cartilaginea. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 9(1): 91-93.

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 23: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

18

Kuchling, G. and W. Kitimasak. 2010. Male biased sex ratio in captive bred Siamese Narrow-headed Softshell Turtles Chitra chitra: Does the incubation temperature influence hatchling sex in the family Trionychidae. Tropical Natural History. 10(2):189-197.

Plummer, M. V., C. E. Shadrin and R. C. Cox. 1994. Thermal limits of incubation in embryos of softshell turtles (Apalone mutica). Chelonian Conservation and Biology 1(2):141-144.

Pough, F. H., R. M. Andrews, J. E. Cadle, M.L. Crump, A. H. Savitzky and K. D. Wells. 2001. Herpetology. Upper Saddle River, New Jersey, Prentice Hall. 612 pp.

Seigel, R. A. and Jr. C. Dodd. 2000. Manipulation of turtle populations for conservation: halfway technologies or viable options? In: Klemens, M. W. (ed.) Turtle Conservation. Smithsonian Institution Press, Washington, pp. 218-238.

Smith, M. A. 1931. The Fauna of British India. Ralph Curtis Book, Florida. 185 pp. de Souza, R. R. and R. C. Vogt. 1994. Incubation temperature influences sex and hatchling

size in the Neotropical turtle Podocnemis unifilis. Journal of Herpetology 28(4): 453-464.

Wennstrom, K. L. and D. Crews. 1995. Making males from females the effects of aromatase inhibitors on a parthenogenetic species of whiptail lizard. General and Comparative Endocrinology 99:316-322.

Wibbels, T., J. J. Bull and D. Crews. 1994. Temperature-dependent sex determination: a mechanistic approach. Journal of Experimental Zoology 270:71-78.

Xiang, J., C. Fang., D. Wei-Guo and C. Hui-Li. 2003. Incubation temperature affects hatchling growth but not sexual phenotype in the Chinese soft-shelled turtle, Pelodiscus sinensis (Trionychidae). Journal of Zoology 261: 409-416.

Zar, J.H., 1999. Biostatistical analysis. Prentice Hall, New Jersey. 718 pp. Zhu, X. P., C. Q. Wei, W. H. Zhao, H. J. Du, Y. L. Chen and J. F. Gui. 2006. Effects of incubation

temperatures on embryonic development in the Asian yellow pond turtle. Aquaculture 259: 243-248.

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 24: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

19

ตารางผนวกที่ 1 ผลการศึกษาอัตราส่วนเพศจาการฟักไข่เต่าชนิดต่างๆที่อุณหภูมิคงท่ี

วงศ ์ จ้านวนชนิดทั งหมด

จ้านวนชนิดที่ทดสอบ

TSD GSD

Carettochelyidae Chelidae Cheloniidae Chelydridae Dermatemydidae Dermochelyidae Emydidae Geoemydidae Kinosternidae Pelomedusidae Platysternidae Testudinidae Trionychidae

1 48 7 2 1 1

38 59 24 26 1

45 27

1 8 6 2 1 1

25 8

16 4 - 4 3

1 0 6 2 1 1

24 8

13 4 - 4 0

0 8 0 0 0 0 1 0 3 0 - 0 3

รวม 280 79 64 15 หมายเหตุ TSD ย่อจาก Temperature-dependent sex determination GSD ย่อจาก Genotypic sex determination

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด

Page 25: Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) K 5 : Effect of ... · สารบาญตาราง. ตำรำงที่. หน้ำ. 1 . วันที่แม่ตะพำบน

20

ภาพผนวกที่ 1 รูปแบบการเกิดเพศของสัตว์เลื อยคลาน รูปแบบ Ia: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิต่้าและเพศเมีย พัฒนาที่อุณหภูมิสูง รูปแบบ Ib: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิสูงและเพศเมียพัฒนาที่อุณหภูมิต่้า

รูปแบบ II: เพศผู้พัฒนาที่อุณหภูมิระหว่างกลางของเพศเมียที่พัฒนาที่อุณหภูมิต่้าและสูง

กองวจิยัและพัฒ

นาประมงน้�าจืด