พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้...

8
หนังสือข่าวรายปักษ์ ปีท่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อ่านต่อหน้า 7 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นการส่วนพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ สำหรับ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ” พร้อมเสด็จฯ เยี่ยมดูการปฏิบัติงานของ ฝ่ายโภชนวิทยาฯ และทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย โดยมี รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณะผู้บริหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เฝ้ารับเสด็จ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ยังความรู้สึก ปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่เจ้าหน้าทีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตลอดจน ครอบครัวอย่างหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ” อาศิรวาทราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ขออัญเชิญปวงเทวาทั่วทุกทิศ ขอจงมาประสิทธิ์ประสาทศรี ขอพรพระไตรรัตน์ทั่วธาตรี ขอจงมาประสิทธิ์ทวีรดีบันดาล ขอพระองค์...ทรงนิราศปราศโรคทุกข์ ขอพระองค์...ทรงสบสุขเกษมศานต์ ขอพระองค์...ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์...ทรงพระสำราญเนานิรันดร์ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ( สิริพงษ์ อรุณไพโรจน์ ร้อยกรอง )

Upload: others

Post on 27-Sep-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

หนังสือข่าวรายปักษ์ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

อ่านต่อหน้า 7

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ สำหรับ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ” พร้อมเสด็จฯ เยี่ยมดูการปฏิบัติงานของ ฝ่ายโภชนวิทยาฯ และทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย โดยมี รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณะผู้บริหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เฝ้ารับเสด็จ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ยังความรู้สึกปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตลอดจนครอบครัวอย่างหาที่สุดมิได้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”

อาศิรวาทราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ขออัญเชิญปวงเทวาทั่วทุกทิศ ขอจงมาประสิทธิ์ประสาทศรีขอพรพระไตรรัตน์ทั่วธาตรี ขอจงมาประสิทธิ์ทวีรดีบันดาล

ขอพระองค์...ทรงนิราศปราศโรคทุกข์ขอพระองค์...ทรงสบส ุ ข เกษมศานต ์ขอพระองค์...ทรงพระเจริญยิ ่งยืนนานขอพระองค์...ทรงพระสำราญเนานิรันดร์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

( สิริพงษ์ อรุณไพโรจน์ ร้อยกรอง )

Page 2: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

2

รพ.จุฬาฯ พร้อมรับสถานการณ์น้ำทวม l รายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 27 ตุลาคม 2554

เรียน คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทุกท่าน “ขอรายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม เพิ่มเติมสำหรับวันนี้ ตามที่ ได้ส่งแผนปฏิบัติการรับสถานการณ์น้ำท่วม ของ รพ.จุฬาฯ ให้ทุกท่านทราบเมื่อเย็นวานนี้นั้น ต้องเรียนว่า ขณะนี้เราอยู่ใน แผนระดับ 1 คือ การเตรียมการรับสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งในการป้องกันด้านกายภาพ การเตรียมสำรองระบบสาธารณูปโภค เวชภัณฑ์และยา ซึ่งข้อมูลที่ชี้แจงให้ทุกท่านทราบถึงกำลังความสามารถของระบบสำรองต่างๆ ของ รพ.จุฬาฯ นั้น พวกเราทุกคนน่าจะได้รับทราบข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ พวกเราจะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำเพื่อให้ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้อย่างดีที่สุด ประเด็นสำคัญของวันนี้ คือ l การป้องกันด้านกายภาพได้มีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป ์และ ผศ.นพ.โสภาคย์ มนัสนยกรณ์ พร้อมทีมได้เดินตรวจเยี่ยมตามจุดต่างๆ ทุกวัน l มีการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพิ่มเติมที่ศูนย์อพยพผู้ประสบภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ต้องขอขอบคุณแพทย์ประจำบ้านและฝ่ายการพยาบาลที่สามารถจัดทีมได้ภายใน 3 ชั่วโมงนอกจากนั้นนิสิตแพทย์ของเราก็ได้เข้าไปช่วยคัดกรองผู้อพยพที่จุฬาฯ ซึ่งทำหน้าที่อย่างเข็มแข็งมากได้รับคำชมจากอาจารย์หลายคณะฯ l การจัดบริการผู้ป่วยนอกในวันที่ 27, 28, 31 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการที่ ตึก “ภปร” (ชั้น 1) ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดีมาก l สำหรับการเตรียมการเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยกรณีที่มีความจำเป็นนั้นได้จัดทำแผนให้ชัดเจนขึ้นและสื่อสารให้ทุกท่านรับทราบโดยเร็ว สุดท้ายต้องขอแสดงความเห็นใจ อ.ชลเกียรติ และต้องขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยเล่าประสบการณ์ ให้พวกเรารับทราบความเห็นของอาจารย์เป็นประโยชน์มากพวกเราทุกคนเป็นกำลังใจให้ รวมทั้งขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จะพยายามดูแลพวกเราทุกคนให้ดีที่สุด ขอขอบคุณบุคลากรทุกท่านทุกระดับ ที่เสียสละและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ถ้ามีความคืบหน้าอย่างไร ผมจะรายงานให้ทราบเป็นระยะๆ” จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 27 ตุลาคม 2554

l รายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 28 ตุลาคม 2554

เรียน คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทุกท่าน “ขอรายงานการเตรียมการรับสถานการณ์น้ำท่วมที่ทาง รพ.จุฬาฯ ได้ดำเนินการเพิ่มเติม ในวันนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่เสียสละและทำงานกันอย่างหนักในช่วงเวลานี้ ขอขอบคุณพวกเราที่มาช่วยกันบริการผู้ป่วย ขอขอบคุณทุกคนที่มาช่วยกันดูแล/ป้องกันบ้านของเรา ในขณะนี้ รพ.จุฬาฯ ยังเป็นที่พึ่งหลักของประชาชนในกรุงเทพฯ เรายังคงเปิดบริการและยังคงดูแล ผู้ป่วยต่อไป การที่เราต้องเตรียมการในด้านต่างๆ ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญประเด็นสำคัญที่เราได้ดำเนินการไปในวันนี้มีดังนี้ 1. การป้องกันด้านกายภาพ การปรับแนวป้องกันเพิ่มเติมของหมู่ตึก X-Ray โดยได้รับ การสนับสนุนถุงปูนจากบริษัท TPI เพิ่มเติมเพื่อมาเสริมแนวป้องกัน การเตรียมการทางเดินระหว่างตึก การตรวจสอบและประสานกับบริษัทที่เติมออกซิเจนเหลว การตรวจเช็คระบบสำรองไฟทุกตึก 2. การบริการผู้ป่วย ณ วันนี้มีผู้ป่วยใน admit อยู่ประมาณ 800 เตียง เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสมัครใจย้ายไปที่โรงพยาบาลอื่นๆ โดยการช่วยประสานการส่งต่อจากแพทย์เจ้าของ เราจึงตัดสินใจปรับ ยุบ/รวมหอผู้ป่วยโดยพยายามให้อยู่ใน ตึก “ภปร” และ “สก” และตึกใกล้เคียง เพื่อความมั่นใจในระบบสำรองไฟ เพื่อสะดวกในการดูแลและการจัดการเรื่อง resource ต่างๆ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน 3. การเตรียมการส่งต่อผู้ป่วย โดยเมื่อวานและวันนี้ อ.ฉันชาย และ อ.สุเทพ และ ทีมพยาบาล ได้ไปเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยบูรพา และ โรงพยาบาลเพชรบุรี เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งเราพบว่าขณะนี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ได้รับผู้ป่วยเกินกำลังแล้วทั้งสิ้น แต่ทั้ง 3 โรงพยาบาลมีพื้นที่ที่สามารถให้นำทีมบุคลากรไปดูแลผู้ป่วยได้หากมีความจำเป็น ซึ่งคิดว่าน่าจะต้องไปจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์ให้พร้อมหากต้องย้ายผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วย โดยทีมอายุรกรรมได้ใช้เกณฑ์ในการย้ายผู้ป่วย โดยเน้นเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและสามารถส่งต่อได้ ส่วนที่เหลือรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแต่มีความซับซ้อนในการดูแล เราจะยังคงให้การรักษาต่อไป 4. การจัดทำแผนละเอียดในการส่งต่อ กรณีต้องใช้แผนรับสถานการณ์น้ำท่วมระดับ 3 และ 4 ทีมบริหารกำลังจัดทำรายละเอียด และจะสื่อสารให้ทุกท่านทราบต่อไป เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ทราบว่าทุกท่าน รวมถึงท่านหัวหน้าฝ่ายหลายฝ่ายเองก็มีภาระกังวล ในการดูแลบ้านและครอบครัวของตนเอง จึงไม่ได้รบกวนเชิญทุกท่านมาประชุมในช่วงวันหยุดยาวนี้ แต่ขออนุญาตสื่อสารข้อมูลผ่าน E-mail และโทรศัพท์โดยตรงกับบางท่าน หากท่านใดมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะใดๆ กรุณาแจ้งมาได้เลย ยินดีรับฟังทุกท่าน”

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 28 ตุลาคม 2554

l รายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 31 ตุลาคม 2554

เรียน คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากร รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทุกท่าน “นโยบายหลักของ รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คือ เราจะเป็นที่พึ่งของประชาชน และเราให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ และตามที่ได้เชิญหัวหน้าฝ่าย/ภาควิชา มาประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในช่วงเช้าวันนี้ มีประเด็นสำคัญที่อยากสื่อสารให้ทุกท่านรับทราบดังนี้ 1. การให้บริการผู้ป่วยนอก พรุ่งนี้เปิดดำเนินการตามปกติ และขอให้ท่านหัวหน้าฝ่ายทางคลินิก พิจารณาจัดแพทย์ออกตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากคาดว่าในวันพรุ่งนี้จะมีผู้ป่วยมารับบริการเป็นจำนวนมาก 2. การให้บริการผู้ป่วยใน l สามารถผ่าตัดได้กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยขอให้หัวหน้าฝ่ายช่วยพิจารณาตามความเหมาะสม l สามารถทำ day surgery และ intervention ต่างๆ ที่จำเป็นและใช้เวลานอนใน รพ.จุฬาฯ ไม่เกิน 1-2 วัน l การให้เคมีบำบัด ฉายแสง สามารถดำเนินการได้ l ขอให้งดผ่าตัด elective ทั้งในและนอกเวลาต่อไปก่อน l สามารถ admit ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นและฉุกเฉินได้ l ขอให้งดรับ refer ผู้ป่วย ยกเว้นว่าเป็นผู้ป่วยซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลที่ถูกน้ำท่วมแล้ว สาเหตุที่ยังคงต้องมีมาตรการดังกล่าว เนื่องจากว่าเราต้องเตรียมเตียงให้เหมาะสม เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการส่งต่อผู้ป่วย หากมีความจำเป็น 3. การจัดที่จอดรถ ในวันทำการ 1 พ.ย. 54 ทุกท่านคงทราบว่าในขณะนี้ที่จอดรถเต็มทุกอาคาร เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของ รพ.จุฬาฯ ที่ได้รับความเดือดร้อนนำรถมาจอด ทำให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในที่จอดรถบางท่านอาจไม่ได้รับความสะดวก ทาง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงอนุญาตให้รถที่มีสติ๊กเกอร์ของรพ.จุฬาฯ จอดรถได้ที่ ตึก “อปร” 4. การจัดหาที่พักให้เจ้าหน้าที่และครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อน ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ของเราจำนวนมากมาพักในที่ที่ทาง รพ.ได้จัดไว้ให้ ซึ่งยังมีที่สามารถรองรับพวกเราได้อีก ดังนั้นหากท่านใด เดือดร้อน ขอให้ติดต่อที่ศูนย์ประสานงานฯ (02-2564898-9) ได้ตลอดเวลา อยากฝากให้ทุกท่านช่วยสื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รวมทั้งแพทย์ประจำบ้านด้วย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจตรงกัน อย่างไรก็ตาม รพ.จุฬาฯ ของเรามีรายละเอียดและความซับซ้อนในการทำงานมาก แนวทางดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมทุกเรื่อง หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใดๆ สามารถแจ้งมาได้เลย”

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 31 ตุลาคม 2554

l รายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

เรียน คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทุกท่าน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทุกท่านคงทราบว่า น้ำได้เขยิบเข้าใกล้ รพ.จุฬาฯ ของเรามากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของบุคลากรของพวกเราในทุกระดับ และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ มา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นการส่วนพระองค์ โดยได้เสด็จไปทอดพระเนตรฝ่ายโภชนาการของ รพ.จุฬาฯ และทรงแสดงความเป็นห่วงเจ้าหน้าที่ผู้ประสบภัยทุกคน พระองค์ท่านได้พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ มาให้เจ้าหน้าที่และครอบครัวที่มาพำนักที่ ศูนย์พักพิงชั่วคราว (ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ) ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ของพวกเรา “ชาวจุฬา” เป็นล้นพ้น นับว่าเป็นบุญของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และพวกเราทุกๆ คน ที่มีเจ้านายที่ทรงเป็นห่วงเป็นใยดูแลพวกเราเสมอมา

ต่อจากฉบับที่แล้ว

Page 3: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

3

รพ.จุฬาฯ พร้อมรับสถานการณ์น้ำทวม สำหรับการดำเนินการของ รพ.จุฬาฯ ในช่วงที่ผ่านมามีดังนี้ 1. การดูแลเจ้าหน้าที่และครอบครัวผู้ประสบภัย ณ วันนี้ มีเจ้าหน้าที่และครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อนที่มาติดต่อขอที่พักประมาณ 1,200 คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าที่พักได้ทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ แต่ก็เร่งจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมโดยเร็วเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเราทุกระดับ ได้รับการช่วยเหลือ ขณะนี้เราจัดพื้นที่ให้ได้ที่ (ชั้น 2) และ (ชั้น 3) ของส่วนสำนักงานใน อาคารจอดรถ หลังที่ 3 (ชั้นที่ 5-9) ของ ตึก 14 ชั้น แต่เนื่องจากจำนวนผู้ประสบภัยมากขึ้น เราจึงปรับระบบการดูแลเจ้าหน้าที่และครอบครัวที่ประสบภัยเพิ่มเติม โดย ทีมบริหารทรัพยากรบุคคล มารับผิดชอบดำเนินการ โดย l จัดเลี้ยงอาหาร 3 มื้อ โดย ฝ่ายโภชนาการ ช่วยรับดำเนินการ l จัดแจกที่นอน หมอน ผ้าห่ม ซึ่งได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 500 ชุด l จัดให้มีทีมแพทย์ตรวจสุขภาพ โดย ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ร่วมกับ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย l การจัดกิจกรรมให้เด็ก และผู้สูงอายุ l การปรับสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ให้เหมาะสม ปลอดภัย ขอขอบคุณทุกทีมทุกฝ่าย ที่เข้ามาช่วยกันสนับสนุนดูแลบุคลากรของเราให้ดีที่สุด เราได้กำหนดนโยบายว่า เนื่องจากขณะนี้ที่พักมีจำกัด มีเจ้าหน้าที่หลายคนอาศัยพักในหน่วยงาน โดยไม่ขอใช้ที่พักส่วนกลางที่ รพ.จุฬาฯ จัดให้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวที่เสียสละที่ให้ ผู้เดือดร้อนกว่า เราจึงจัดให้สิทธิเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวสามารถมาทานอาหารที่ อาคารจอดรถหลังที่ 3 (ชั้น 2) และรับที่นอน หมอน โดยขอให้ผู้ประสบภัยทุกท่านมาติดต่อและทำบัตร ได้ที่ ศูนย์ประสานงาน 0 2256 4898-9 ได้ 2. การให้บริการผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยใน ขณะนี้ยังคงใช้นโยบายเดิมตามที่ประกาศไว้ ขณะนี้หลายท่านอาจอึดอัดกับการให้บริการของเราที่ต้องลดลง โดยที่ยังไม่เห็นน้ำมา แต่อยากเรียนว่า เนื่องจากขณะนี้เมื่อน้ำท่วมเกิดมากขึ้น การขนส่งจะเริ่มเกิดปัญหาในขณะนี้ สิ่งที่เริ่มกระทบ รพ.จุฬาฯ คือ การดูแลผ้าใช้ของผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมา รพ.จุฬาฯ จัดจัางภายนอก ประมาณครึ่งหนึ่ง ซักเองครึ่งหนึ่ง เมื่อขณะนี้บริษัทที่รับผ้าไปซักไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้เราต้องซักเองทั้งหมด ซึ่งเราต้องกำหนดมาตรการการใช้ผ้าให้เหมาะสมเพิ่มเติม เพื่อให้เครื่องและคนของเรารองรับได้ 3. การเตรียมการทางกายภาพ มีการตรวจตราสม่ำเสมอ และค้นหาหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติม โดยเราไปเพิ่มการป้องกันที่ ตึก “ธนาคารเลือด” ขอขอบคุณทุกคนอีกครั้งที่ช่วยเหลือกัน ห่วงใยกัน และช่วยเสนอความคิดเห็นที่มีประโยชน์ มากมายมาให้ สุดท้ายขอแสดงความห่วงใยพวกเราทุกคน ที่ประสบภัยในครั้งนี้ ขอให้กำลังใจทุกคน”

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 พฤศจิกายน 2554

l รายงานความคืบหน้าการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554

เรียน คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทุกท่าน “ขอรายงานการเตรียมการรับสถานการณ์น้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยตลอดจน บุคคลากรของ รพ.จุฬาฯ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพิ่มเติมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผู้บริหารได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทุกวัน และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มายัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานในการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 โดยเฉพาะบริเวณอาคารของ ฝ่ายโภชนวิทยาฯ และ ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ 1. การป้องกันด้านกายภาพของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เราได้เชิญกลุ่มสถาปนิกและวิศวกรอาสา (ทีม อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์) เข้าสำรวจ การเตรียมการป้องกัน ด้านกายภาพของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 7-8 พ.ย. 2554 ซึ่งได้สรุปแนวคิดร่วมกันที่จะไม่ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมด แต่เฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่เป้าหมาย โดยมีการดำเนินการดังนี้ การคาดการณ์น้ำท่วม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีโอกาสน้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร 1. สำรวจระดับพื้นที่ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และกำหนดระดับความสูงที่จะทำคันกั้นตึกที่สำคัญ คือ ระดับ 1.3 เมตร เหนือฟุตบาทริมถนนราชดำริ (+1.8 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ปานกลาง)

2. แบ่งระดับการป้องกันตึกสำคัญ เช่น 2 ระดับ คือ ระดับสีแดงและสีเหลือง ระดับสีแดง มีมาตรการป้องกันอย่างสูงสุด หมายถึงพื้นที่ไม่สามารถหยุดใช้งานได้เพราะอาจมีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ ตึก “ภปร” ตึก “สก” ตึก “อปร” ตึก “สิรินธร” ตึก “วชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร” กลุ่ม ตึกรังสี (นราธิปฯ โปสยานนท์ จุลจักรพงษ์ สวัสดิ์-ล้อมฯ อภันตรีฯ อับดุลราฮิมฯ ว่องวานิช เหลืองอมรเลิศ) โรงครัว อาคารซักฟอก และ ตึก “ระเบียบ” (ธนาคารเลือด) ระดับสีเหลือง มีมาตรการป้องกันอย่างสูงสุด หมายถึงพื้นที่ที่หากน้ำท่วมจะมีความเสียหายต่อการดำเนินการและทรัพย์สิน ได้แก่ ตึก “อำนวยการ” อาคาร “แพทยพัฒน์” อาคาร “ผู้ป่วยใน” 3. แบ่งการป้องกันออกเป็นการป้องกันรอบนอกและรอบใน การป้องกันรอบนอก 1. ป้องกันน้ำเข้าทางระดับผิวดิน - ใช้แนวรั้ว โรงพยาบาลลงกรณ์ ทั้งหมดเป็นแนวกันน้ำ (50 เซ็นติเมตรเหนือฟุตบาทริมถนนราชดำริ) - บริเวณทางเข้าจุฬาฯทำเนินหินคลุกราดยางมะตอย ระดับ 50 เซนติเมตรเหนือถนนราชดำริ 6 ประตู ได้แก่ ประตู “อปร” ประตู “สก” ประตู “พระรามสี่” (2 ประตู) ประตู “ยมราช ประตูวชิราลงกรณ์” (บางส่วน) - ใช้ถุงทรายกั้นระดับเดียวกันในประตูที่เหลือ 2. ป้องกันน้ำเข้าทางระดับใต้ผิวดิน - ป้องกันน้ำเข้าท่อระบายน้ำทุกจุดโดยรอบ รพ.จุฬาฯ โดยใช้ถุงทรายถมในบ่อพักน้ำ และใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำจากภายในสู่ท่อภายนอก เริ่มทำเมื่อหัวน้ำข้ามมาบริเวณสี่แยกราชประสงค์ - ป้องกันน้ำเข้าท่อระบายน้ำบริเวณคลองไผ่สิงโต โดยอุดด้วยแผ่นเหล็กไม้แบบพร้อมทำค้ำยันบริเวณถนนราชดำริ ส่วนบริเวณถนนอังรีดูนังต์ ให้ทำเมื่อหัวน้ำถึงย่านราชปรารภ พร้อมใช้ ถุงทรายอุดลงในปากท่อ การป้องกันรอบใน 1. การป้องกันน้ำลงใต้ดิน ก่อผนังกั้นน้ำระดับเส้นแดง (1.3 เมตรเหนือถนนราชดำริ) และเตรียมเครื่องสูบน้ำ สูบน้ำออกในกรณีที่น้ำล้นเข้ามาได้ 2. การป้องกันกลุ่มอาคารรังสี แนวป้องกันที่ 1 ล้อมตัวอาคารด้วยผนังกระสอบทราย ระดับเส้นแดง ถ้ามีน้ำเอ่อ ขึ้นมาจะใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกก่อนเข้าแนวป้องกันที่ 2 แนวป้องกันที่ 2 ทำคันกั้นน้ำจากถุงทรายป้องกันน้ำเข้าอาคาร บริเวณทางเข้าอาคาร ระดับสีแดง แนวป้องกันที่ 3 ทำคันกั้นน้ำหน้าห้องอุปกรณ์สำคัญ และหน้าห้องน้ำทุกห้องที่อยู่ ภายในอาคาร 2. การเตรียมการด้านการบริการภายในรักษาพยาบาล - เปิดให้บริการผู้ป่วยนอกทุกระบบตามปกติ - การดูแลผู้ป่วยใน ยังคงให้ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่กำหนดไว้ ได้แก่ การงดผ่าตัด case elective ยกเว้นกรณีจำเป็นฉุกเฉิน day care การสวนหลอดเลือดหัวใจ การทำผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกรณี cadaveric donor ทั้งนี้การดำเนินการให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง 3. การเตรียมการส่งต่อผู้ป่วย (หากจำเป็น) ตามที่ได้มีการเตรียมการจัดตั้งหอผู้ป่วยที่ โรงพยาบาลเพชรบุรี โดยโรงพยาบาลได้ จัดเตรียม เตียงและอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ไปเองนั้น เนื่องจากมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วมถนนพระรามที่ 2 จึงได้ระงับแผนการส่งต่อผู้ป่วยไปยัง โรงพยาบาลเพชรบุรี และประสานงานกับ โรงพยาบาล สมเด็จฯ ณ ศรีราชา เปิดหอผู้ป่วย โดยได้ขนย้ายอุปกรณ์ทางการแพทย์จาก โรงพยาบาลเพชรบุรี ไป โรงพยาบาล สมเด็จฯ ณ ศรีราชา แล้วเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2554 นอกจากนั้น ยังมีได้ทำความร่วมมือกับ รพ. ม.บูรพา นอกจากนั้น ทีมบริการได้มีการจัดทำแผนการ refer (หากจำเป็น) โดยจะ Activate แผน เมื่อน้ำท่วมบริเวณราชประสงค์ (น้ำข้ามคลองแสนแสบ) 4. การดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม รพ.จุฬา และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดที่พักให้เจ้าหน้าที่ที่บ้านพักถูกน้ำท่วมที่ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ” ที่อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น (6 ชั้น) อาคารจอดรถหลังที่ 3 และ หอ 4,180 รวมทั้งมีส่วนหนึ่งพักในหน่วยงาน โดยมีเจ้าหน้าที่และครอบครัว ลงทะเบียนเข้าพักประมาณ 1,900 คน และสามารถจัดที่พักให้ได้ประมาณ 1,400 คน ทั้งนี้ รพ.จุฬาฯ ได้จัดสิ่งอำนวย ความสะดวกให้ผู้เข้าพัก ได้แก่ อาหาร ที่นอน หมอน ผ้าห่ม รวมทั้งการดูแลเรื่องสุขภาพให้ แต่ขณะนี้มีปัญหาในเรื่องการสั่งซื้อเครื่องนอนบ้าง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ อนึ่งขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ของ รพ.จุฬาฯ และครอบครัว แจ้งความจำนงขอเข้าพักอาศัยใน “ศูนย์พักพิง” รอคิวอยู่ประมาณ 400 กว่าราย ซึ่ง รพ.จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กำลังสำรวจพื้นที่ว่างใน รพ.จุฬาฯ ที่จะรองรับได้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่างสำนักงานด้วย ขอขอบคุณทุกท่านๆ ที่ให้ข้อเสนอแนะ และขอแสดงความเห็นใจผู้ที่ประสบเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ เป็นอย่างยิ่งขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน”

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 พฤศจิกายน 2554

Page 4: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

4

n ศุกร์ 4 พฤศจิกายน 2554 : 10.50 น. : ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริหาร และรศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ รับมอบ อควาแทปส์ เม็ดฟู่ฆ่าเชื้อในน้ำ มูลค่า 250,000 บาท จาก Mr.Cyrille F.Buhrman ประธานบริษัทแปซิฟิค เฮลแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำหรับ ใช้ในการฆ่าเชื้อในน้ำก่อนนำมาใช้ และมีส่วนช่วย ป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดจากเชื้อโรคที่มากับน้ำ n จันทร์ 14 พฤศจิกายน 2554 : 16.30 น. : อาคารจอดรถหลังที่ 3 รพ.จุฬาฯ ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผศ.พญ.พริมา หิรัญวิวัฒน์กุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านงานพัฒนาคุณภาพ ร่วมชี้แจงกติกาการอยู่ร่วมกันของผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิง “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”

n พุธ 16 พฤศจิกายน 2554 : 10.45 น. : ห้องประชุม ตึก “อำนวยการ” (ชั้น 2) รพ.จุฬาฯ รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้การต้อนรับ Dr.Mohamed El Maadheed รองประธานสหพันธ์สภากาชาดและ สภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) และดำรงตำแหน่ง รองประธานสภาเสี้ยววงเดือนแดงกาตาร์ พร้อมคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมกิจการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาทิ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หอผู้ป่วยใน ตึก “มงกุฎ-เพชรรัตน” (ชั้น 3) และ ICU ศัลยกรรมประสาท ตึก “สก” (ชั้น 8)

n จันทร์ 14 พฤศจิกายน 2554 : 09.15 น. : ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รับมอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท จาก คุณทองใบ จันทร์มณี และ คุณทองห่อ จันทร์มณี สมทบโครงการก่อสร้าง อาคาร “ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Page 5: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

5

n พุธ 16 พฤศจิกายน 2554 : 11.00 น. : ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริหาร และรศ.นพ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริการ รับมอบเงินจำนวน 50,000 บาท จาก ศ.นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งประเทศไทย เพื่อ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม n ศุกร์ 18 พฤศจิกายน 2554 : 10.35 น. : ตึก “วชิรญาณวงศ์” (ชั้นล่าง) รพ.จุฬาฯ น.ส.มาลินี ดุสิตากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านงานบริการ และ น.ส.กาญจนี โอภาสทิพากร หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มอบกระเช้าดอกไม้อวยพร คุณสมถวิล อมาตยกุล ผู้มีอุปการคุณ เนื่องใน โอกาสคล้ายวันเกิดครบรอบ 88 ปี n พุธ 23 พฤศจิกายน 2554 : 09.40 น. : ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ คุณกนกนภัส พิชญพิศตระกูล บริจาค รถกอล์ฟ จำนวน 1 คัน มูลค่า 500,000 บาท สำหรับ ใช้ในกิจการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมี รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริหาร และ รศ.นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านจัดซื้อและบริหารพัสดุ รับมอบ

n ศุกร์ 25 พฤศจิกายน 2554 : 13.50 น. : ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับเกียรติจาก มูลนิธิ iCare Thailand มูลนิธิเพื่อประโยชน์ต่อสังคมไทย โดยมี นักร้องสาวสวยฝรั่งหัวใจลูกทุ่ง คริสตี้ กิ๊บสัน มาเติมเต็มกิจกรรมดูแลสุขภาพให้ผู้ประสบอุทกภัย ที่ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ” ซึ่งมีบรรดาเด็กๆ และผู้พักพิงฯ ทยอยเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆ กับนักร้องสาว นอกจากนี้คริสตี้ยังจัดโชว์มินิคอนเสิร์ตอย่างเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขความสนุกสนาน n จันทร์ 28 พฤศจิกายน 2554 : 11.00 น. : ตึก “วชิรญาณวงศ์” (ชั้นล่าง) รพ.จุฬาฯ รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายการคลัง รับมอบเงินจำนวน 5,000,000 บาท จาก นายสุทัศน์ โกมลโรจนาภรณ์ เพื่อสมทบโครงการก่อสร้าง อาคาร “ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ n พุธ 30 พฤศจิกายน 2554 : 10.15 น. : ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ น.ส.มาลินี ดุสิตากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านงานบริการ รับมอบเงินจำนวน 200,000 บาท จาก นายบุญชู โรจน์หิรัญสกุล และ คุณดาวยุพา โรจน์หิรัญสกุล เพื่อสมทบโครงการก่อสร้าง อาคาร “ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Page 6: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

6

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 น. เวลา 17.00-19.00 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านบริหารความเสี่ยง จัดทีม แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์ บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ให้กับบรรดา ผู้ประสบอุทกภัย ที่พักอาศัยอยู่ใน ศูนย์พักพิง “จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ รพ.จุฬาลงกรณ์” อาทิ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น เพื่อสร้างเสริมสุขสุขภาพที่ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งยังมีกิจกรรมการดูแลสุขภาพต่างๆ มากมาย ณ อาคารจอดรถหลังที่ 3 (ชั้น 2) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

“รพ.จุฬาฯ” ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญให้ผู้พักพิงฯ l รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา ไปประชุม “PHILIPPINE ACADEMY OF OPHTHALMOLOGY ALLERGAN LUNCHEON SYMPOSIUM” และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “Fixed Dose Combinations” ณ มะนิลา ฟิลิปปินส์ ระหว่าง 1 - 2 ธันวาคม 2554

l อ.นพ.วศิน พุทธารี ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “ASEAN CARDIOVASCULAR SUMMIT IN THE ISLANDS : THE SUNRISE AND SUNSET OF CV CONCEPTS AND PARADIGMS” ณ ฟิลิปปินส์ ระหว่าง 1 - 4 ธันวาคม 2554

l อ.ดร.ชาลิสา หลุยเจริญ ภาควิชาชีวเคมี ไปเป็นผู้บรรยายการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Detection Glucose 6 - Phosphate Dehydrogenase (G6PD) Deficiency Using Fluorescent Test Kit” ณ เวียงจันทน์ ลาว ระหว่าง 1 - 5 ธันวาคม 2554

l ผศ.นพ.ทายาท ดีสุดจิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “AMERICAN EPILEPSY SOCIETY 65th Annual Meeting” ณ บอลทิมอร์ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1 - 6 ธันวาคม 2554

l ศ.นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “Thai -Korean Dementia Conference” และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “The impact of cerebrovascular disease on progression of dementia” ณ โซล เกาหลีใต้ ระหว่าง 2 - 4 ธันวาคม 2554

l รศ.นพ.พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “Cocoon Septal and Duct Occluder Implantation Tips and Tricks” ณ พม่า ระหว่าง 2 - 6 ธันวาคม 2554

l รศ.นพ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริการ และ ผศ.นพ.ธิติ สนับบุญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “IDF ครั้งที่ 21 ปี 2011 (21st World Diabetres Congress 2011)” ณ ดูไบ อาหรับเอมิเรสต์ ระหว่าง 3 - 9 ธันวาคม 2554

l รศ.พญ.กาญจนา โชติเลอศักดิ์ และ รศ.ศิวลี สุริยาปี ภาควิชารังสีวิทยา ไปประชุมวิชาการ “Advanced Technologies” ณ National Cancer Centre Singapore สิงคโปร์ ระหว่าง 3 - 9 ธันวาคม 2554

l รศ.ดร.นพ.วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ ณ ดูไบ อาหรับเอมิเรตส์ ระหว่าง 3-10 ธันวาคม 2554

l รศ.นพ.อรรณพ ใจสำราญ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิรัชกิจ และ พญ.พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ไปเป็นผู้บรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “The Training on LNG-IUS to the Providers of Grameen Kalyan” ณ ธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 4 - 7 ธันวาคม 2554

l ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุม “Meeting of Collaborating/ Reference Centres on EID and zoonoses” ณ ซัปโปโร ญี่ปุ่น ระหว่าง 4 - 7 ธันวาคม 2554

l ผศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “SAN ANTONIO BREAST CANCER SYMPOSIUM 2011” ณ แซนอันโทนีโอ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 4 - 12 ธันวาคม 2554

l ดร.สุณี ศิริวิชยกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ ไปประชุม “HIV Drug Resistance Sequence Data Management” ณ กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ระหว่าง 5 - 8 ธันวาคม 2554

l รศ.พญ.พรรธนมณฑน์ อุชชิน หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร ไปประชุมวิชาการ “The Siemens Healthcare Diagnostics Hematology User Meeting 2011” ณ กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ระหว่าง 5 - 9 ธันวาคม 2554

l รศ.ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ภาควิชารังสีวิทยา ไปประชุม “Progress Review Meeting, Hanoi, Vietnam, 6 - 9 December 2011” ณ ฮานอย เวียดนาม ระหว่าง 5 - 10 ธันวาคม 2554

l ผศ.ดร.นพ.โสภาคย์ มนัสนยกรณ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ไปประชุมวิชาการ “2011 CTRC-AACR San Antonio Breast Cancer Symposium” ณ แซนแอนโทนีโอ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 5 - 11 ธันวาคม 2554

l นพ.มาวิน วงศ์สายสุวรรณ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ไปประชุม “SAN ANTONIO BREAST CANCER SYMPOSIUM 2011” ณ แซนอันโทนีโอ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 6 - 9 ธันวาคม 2554

Page 7: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

7

ต่อจากหน้า 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”

Page 8: พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ “ศูนย์จุฬาฯ เพื่อชาวจุฬาฯ”pr.md.chula.ac.th/sansampan/2011/12-1.pdf ·

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๓ ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

สารสัมพันธ์

8

ผลิต

เผยแ

พร่

ประช

าสัมพ

ันธ์

คณะแ

พทยศ

าสตร

์ จุฬาฯ

ตึก

อานัน

ทมหิด

โทรศ

ัพท์ (0

2) 25

6 418

3, 25

6 446

2 โท

รสาร

(02)

252 5

959

http

://ww

w.m

d.ch

ula.ac

.th

http:/

/www

.face

book

.com/

prmdc

u.pr

http:/

/www

.twitte

r.com

/prm

dcu

E-m

ail :

pr@

md.

chula

.ac.th

,

prm

dcu@

gmail

.com

โรงพย

าบาล

จุฬาล

งกรณ

์ ตึก

อำนว

ยการ

โทรศ

ัพท์ (0

2) 25

6 440

9, 25

6 426

0 โท

รสาร

(02)

256 4

368

http:/

/www

.chula

longk

ornho

spita

l.go.t

h ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในขณะนี้ที่เป็นข่าวเรื่อง ไวรัสมรณะ ฮิวแมนเมทตานิวโมไวรัส ทาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขอชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ไวรัสฮิวแมนเมทตานิวโมไวรัส ไม่ใช่เป็นไวรัส ที่อุบัติใหม่ มีการศึกษาย้อนไปกว่า 60 ปีก็พบว่ามีไวรัสนี้อยู่แล้ว แต่ไวรัสชนิดนี้ ได้มีการพัฒนาการตรวจพบได้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พศ. 2543 ทางศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวไวรัสชนิดนี้ในประเทศไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พศ.2545 เป็นต้นมา พบว่าไวรัสดังกล่าว มีอาการโรค เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ ่ จะมีอาการ มีไข้ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการหอบ ปอดบวม ส่วนมากจะพบในเด็กที่มีอายุที่ ต่ำกว่า 5 ปี ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่พบในประเทศไทย จะพบเชื้อไวรัสดังกล่าวประมาณ ร้อยละ 5-7 อาการแสดงของโรคไม่ได้แตกต่างไปจากโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสชนิดอื่น ในปีนี้การตรวจพบ ไวรัสฮิวแมนเมทต้านิวโมไวรัส ในกรุงเทพและชุมแพ ขอนแก่น ไม่ได้มาก ไปกว่าในปีที่ผ่านๆ มา โดยมีฤดูการระบาดเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม ในปัจจุบันไม่มีวัคซีนและยาต้านไวรัสใช้ในการรักษา การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะหายได้เอง ดังจะเห็นได้จากการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่มีอายุเกิน 5 ปี จะมีภูมิต้านทานต่อโรคดังกล่าวจากการที่เคยได้รับเชื้อมาก่อน การตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้โดยใช้ swab จากคอและจมูกผู้ป่วย นำมาตรวจ ทางชีวโมเลกุล ทาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำการตรวจทั้งงานทางด้านศึกษาวิจัยและบริการมาโดยตลอด โดยสามารถตรวจได้ผลภายใน 24 ชั่วโมง

ชื่อ : นางสาวนิตยา สีหาชาติ

ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่บริการทั่วไป

สังกัด : ห้องปฏิบัติการ “อปร” (ชั้น 11)

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

วุฒิการศึกษา : มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถาบัน : โรงเรียนตลาดไทยพิทยาคม

วันบรรจุ : 1 พฤศจิกายน 2554

ชื่อ : นายศรชัย สีทน

ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่บริการทั่วไป

สังกัด : ห้องปฏิบัติการ “ อปร ” (ชั้น 11)

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

วุฒิการศึกษา : มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถาบัน : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน

อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

วันบรรจุ : 1 พฤศจิกายน 2554

D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D

D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D D

à¾×è͹ãËÁ‹..ã¹ ¨ØÌÒÏ

ประเด็น : โรค “ฮิวแมนเมทตานิวโมไวรัส”

ทอดผ้าป่าสามัคคี วัดบวรนิเวศวิหาร - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดพิธี ทอดผ้าป่าสามัคคี วัดบวรนิเวศวิหาร - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เพื่อนำรายได้สมทบทุนดูแลพระภิกษุสงฆ์ สามเณรอาพาธ และผู้ป่วยสามัญของโรงพยาบาล พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์

โดยมีกำหนดทอดผ้าป่าใน วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2554 เวลา 13.30 น. ณ ตึก “ภปร” (ชั้นล่าง) (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (02) 256 4505 , 256 4382 หรือ (02) 256 4000 ต่อ 3291

ประกวดผู้สูงวัยสุขภาพดี ประจำปี 2555 เสริมความรู้ ดูแลสุขภาพประชาชน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดกิจกรรม ประกวดผู้สูงวัยสุขภาพดีประจำปี 2555 โดยจะเปิดรับสมัครผู้เข้าประกวด ชาย-หญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ถึง วันที่ 13 มกราคม 2555 ณ อาคาร “ภปร” (ชั้น G) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (02) 256 4584 , (081) 567 4645