สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (health in the park) น่ารู้ :...

2
น่ารู้ : “เดินนับก้าวในสวน” สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park) 3 2 คำว่า “เดินวันละหมื่นก้าว” เป็นสโลแกนที่ปัจจุบันนิยมใช้บ่งบอก ถึงระดับการออกกำลังกายที่เพียงพอและเป็นผลดีต่อสุขภาพ มีจุดกำเนิด ในประเทศญี่ปุ่นในราวปี ค.ศ.1960 (ประมาณ พ.ศ. 2500) โดย ชมรม นักเดินชาวญี่ปุ่น ซึ่งต่อมามีข้อมูลผลการวิจัยสนับสนุนว่าชาวญี่ปุ่น ที่กระฉับกระเฉงนั้นจะเดินโดยเฉลี่ยราววันละ 9,500-12,000 ก้าว (และเผาผลาญพลังงานได้วันละ 300 กิโลแคลอรี) และกระทรวงสุขภาพ แห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้นำมาตั้งเป็นเป้าหมายด้านสุขภาพแห่งชาติในปี ค.ศ. 2000 เพื่อส่งเสริมให้ชาวญี่ปุ่นเดินมากขึ้น” การเดินออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไร? การเดินออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ดังนีl ป้องกันโรค (ระบบไหลเวียนเลือด และเบาหวาน) l ลดความดันเลือด l ลดมวลไขมันในร่างกาย l ป้องกันกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน l เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของร่างกาย l เพิ่มความมั่นใจและความกระฉับกระเฉง l คลายเครียดและอารมณ์ดี นอกจากนี้ การเดินออกกำลังกายวันละ 12,000 – 15,000 ก้าว จะช่วยลดน้ำหนักได้ และการเดินวันละ10,000- 12,000 ก้าว จะช่วยคงน้ำหนักตัวไว้ได้สำหรับผู้ที่มีสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่แล้ว การเดินวันละเท่าไรจึงจะเพียงพอ? สำหรับบุคคลวัยผู้ใหญ่นั้น มีการจัดจำแนกระดับการเดินดังนีจำนวนก้าว การแปลผล น้อยกว่า 5,000 ก้าว/วัน เฉื่อยชามาก 5,000–7,499 ก้าว/วัน เฉื่อยชา 7,500–9,999 ก้าว/วัน เริ่มกระฉับกระเฉง 10,000–12,499 ก้าว/วัน กระฉับกระเฉง ตั้งแต่ 12,500 ก้าว/วัน กระฉับกระเฉงมาก ซึ่งนำมาแปลงเป็นการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน โดยการปฏิบัติ ตามข้อแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม สำหรับผู้ใหญ่ดังนี1. ออกกำลังกายระดับหนักปานกลางวันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย (เช่น การเดิน 3,000-4,000 ก้าว โดยมีความเร็ว 100 ก้าว/นาที หรือ รู้สึกว่าหายใจเร็วขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นหอบเหนื่อยจนพูดคุยขณะเดินไม่ได้) 2. อาจเป็นการออกกำลังกายติดต่อกันจนครบ 30 นาทีรอบเดียว หรือแบบสะสม อย่างน้อยรอบละ 10 นาที 3. และต้องเป็นการเดินเพิ่มเติมจากระดับการเดินขั้นต่ำ ในแต่ละวัน (คือ 5,000 ก้าว/วัน สำหรับผู้ที่มีวิถีชีวิตแบบเฉื่อยชาหรือ เคลื่อนไหวน้อย) เมื่อรวมๆ กันแล้วก็จะได้ประมาณ 8,000 – 9,000 ก้าว/วัน ทำไมจึงส่งเสริมให้ออกกำลังกายด้วยการเดิน? การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก ทั้งยังมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่หนักเกินไปและเกิดแรงกระแทก ไม่มาก จึงเหมาะสมกับบุคคลทุกเพศและวัย การ “นับก้าวเดินในสวน” คืออะไร? การ “นับก้าวเดินในสวน” เป็นการแข่งขันเดินเร็วในงานวันเปิดตัว โครงการ “สวนลุม สวนสุขภาพ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมิตร” ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ ได้จัดกิจกรรมแทรกในแต่ละสัปดาห์ ได้แก่ 1. กิจกรรมลดเพื่อน้อง กิจกรรมลดน้ำหนักเพื่อบริจาคสิ่งของให้แก่เด็กด้อยโอกาส 2. กิจกรรมปุยนุ่นลีค การแข่งขันลดน้ำหนักระยะยาวต่อเนื่อง 3. โครงการ DPP การอบรมกลุ่มย่อยการดูแลตนเอง เพื่อลดน้ำหนักและป้องกันโรค 4. กิจกรรมเดินล้านก้าว (สำหรับ บริษัท) การจัดแข่งขันเดินให้แก่ หน่วยงาน (ถนนสีลม) ที่สนใจ ระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้ เครื่องนับก้าว ติดกับตัวผู้แข่งขัน (ขั้นต่ำที่สุด 50 คน/หน่วยงาน และไม่เกิน 300คน/หน่วยงาน) ลักษณะกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” เป็นการดำเนินงานการให้ บริการและความรู้จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้สถานที่สวนลุมพินี บริเวณศาลาหน้าศูนย์อาหารหลักของสวนลุมพินี กำหนดกิจกรรมเป็น ประจำทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-10.00 น. ดำเนินการต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 1 ปี ในแต่ละสัปดาห์จะเป็นการหมุนเวียนกันไปจัดกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แกฝ่ายผู้ป่วยนอก ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายทันตกรรม ฝ่ายสรีรวิทยา และ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการ หมุนเวียนกันและมีไฮไลท์เด่นประจำเดือนที่น่าสนใจเป็นระยะ เช่น การตรวจสุขภาพฟันตลอดท้งเดือน เป็นต้น ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถเดินทางเข้ามาที่สถานที่จัดกิจกรรมทุกวันเสาร์ได้เลย หรือสามารถ ดูและสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อกำหนดวันเข้าร่วม กิจกรรมในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจผ่านทางเว็บไซด์โครงการ สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” : http://www.chula-park.com กิจกรรมต่างๆ ในวันเปิดโครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” 1. “การดูแลถนอมเข่า ชะลอเสื่อม” โดย ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การบรรยายให้ความรูเกี่ยวการดูแลรักษาข้อเข่าให้แข็งแรง หรือฟ้นฟูให้ดีขึ้น การปฏิบัติตนเพื่อ รักษาข้อเข่าให้ได้ยาวนาน การซักถามปัญหาสุขภาพเข่า 2. “เรื่องน่ารู้ โภชนาการ ใกล้ตัวคุณ” โดย ฝ่ายโภชนวิทยาและ โภชนบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ 1. ห่วงหรรษาโภชนาการ (ข้อควรรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ และเข้าใจสัดส่วนอาหาร) 2. หวานแค่ไหน (การประมาณปริมาณ น้ำตาลในชีวิตจริง) 3. จับคู่สุดมัน (เปรียบเทียบปริมาณไขมันในอาหาร) 3. “ฟันผุและอาการเสียวฟัน” โดย ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุและการ ประเมินความเสี่ยงอาหารเสียวฟันจากภาวะเนื้อฟันไวเกินรวมท้งคำแนะนำ ที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มความเสี่ยง 4. “มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้ พบไวหายแน่” โดย ภาควิชา ศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้จักเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค สาเหตุ และอาการ และวิธีการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจเลือดในอุจจาระ 5. “รู้เท่าทัน สัญญาณแก่ก่อนวัย” โดย ฝ่ายผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กิจกรรมตรวจเช็ครู้ทันสัญญาณ แก่ด้วนตนเอง Brain exercise กิจกรรมด้านความจำ วีธีการประเมิน และการทดสอบต่างๆ กิจกรรมฝึกสมองลองทำดู กิจกรรมเกี่ยวกับด้าน ความถนัด ความคิดสร้างสรรค์ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ 6. “ผักไร้สารพิษ” โดย Clean Farm และ ร้านส้มตำผักเพื่อ สุขภาพ การนำเสนอผักไร้สารพิษ วิธีการปลูก และทดสอบความอร่อยของ ผักไร้สารพิษต่างๆ (โดยการชิม) และส้มตำเพื่อสุขภาพโดยทำมาจาก ผักต่างๆ 7. “Login สุขภาพ” โดย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การรับสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อสุขภาพ แบบต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการเดินล้านก้าว การบันทึกก้าวเดินให้ได้ถึง 1 ล้านก้าว และ โครงการปุยนุ่นลีค การแข่งขันลดน้ำหนักระยะยาว การ บันทึกน้ำหนักแบบต่อเนื่อง ใครลดได้มากและยาวนานกว่ากัน 8. “นวัตกรรมทางการแพทย์ by NECTEC” โดย ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) การนำ เสนอ Application บนมือถือระบบ android เกี่ยวกับการบันทึก การเดิน กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน พลังงานที่ใช้ไป และการนำเสนอ เทคโนโลยีต่างๆ ที่กำลังพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ 9. ฝ่ายจิตวิทยา รพ. จุฬาฯ 10. การจัดกิจกรรม จาก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมงานพีธีเปิดตัวโครงการ “สวนลุมฯสวนสุขภาพ” สามารถรับของที่ระลึกภายในงานได้ทันทีเมื่อเข้าร่วมลงทะเบียนเข้างาน รับเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการฯ กำหนดการ วัน-เวลา ที่จัดโครงการ และสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทันที ทั้งผ่านระบบ online หรือ ส่งใบสมัคร นอกจากนี้ ผู้ลงทะเบียนเข้างาน จะได้รับ passport สำหรับ เก็บสถิติการเข้าชมและร่วมกิจกรรมในแต่ละบูทที่จัดขึ้นภายในงานวันนั้น และเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกบูทแล้วผู้เข้าร่วมงานสามารถนำ passport ไปแลกของรางวัลพิเศษได้ ซึ่งกิจกรรมในแต่ละบูทจะเป็นกิจกรรมที่สร้าง เสริมสุขภาพและให้ความรู้ที่น่าสนใจแก่ผู้รักสุขภาพอย่างมาก ภายในงาน ยังมีการแข่งขัน “เดินนับก้าวในสวน” เป็นการแข่งขันนับก้าวเดินชิงเงิน รางวัลและของรางวัลหากทำได้ตามเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมงานพิธีเปิดสามารถ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ทันทีก่อนการแข่งขันจะเริ่ม 30 นาที (อุปกรณ์ การแข่งขันมีจำกัด) ติดต่อสอบถาม ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาคาร “ อปร ” (ชั้น 6) โทรศัพท์ : 02 256 3540 Email : [email protected] Website : http://www.chula-park.com Fanpage : http://www.facebook.com/healthpromotioncenterchula ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 สวนลุมพินี เวลา 06.00 น. โดยการ ใช้ เครื่องนับก้าว หรือ pedometer นับจำนวนก้าวแข่งขัน การแข่งขัน จะจัดการแข่งขันเป็น 2 รุ่น รุ่นอายุต่ำกว่า 45 ปี (4,000 ก้าว) และรุ่นอายุ 45 ปีขึ้นไป (3,000 ก้าว) ภายในระยะเวลา 45 นาที ผู้ที่เดินเข้าเส้นชัย 5 ลำดับแรกของแต่ละรุ่น จะได้รับรางวัลมูลค่าประมาณก้าวละ 0.25-1.50 บาท (750-6,000 บาท) ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่สามารถเดิน เข้าเส้นชัยภายในเวลาที่กำหนด(45 นาที) จะได้รับรางวัลมูลค่าประมาณ ก้าวละ 0.05 บาท (150 บาท) หากท่านสนใจเข้าร่วมการแข่งขัน สมัครได้ทีศูนย์สร้างเสริม สุขภาพฯ อาคาร “อปร” (ชั้น 6) ห้อง 605/2 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การเตรียมตัว 1. ชุดออกกำลังกายที่เหมาะสม 2. สวมใส่รองเท้าผ้าใบ 3. ชุดออกกำลังกายควรมีขอบกางเกง หรือ เข็มขัดที่สามารถหนีบเครื่องนับก้าวได้โดยไม่หลุด 4. ต้องนำ บัตรประชาชนตัวจริง และ ใบเสร็จรับเงิน มาลงทะเบียนแลกกับ เครื่องนับก้าว (ยืม) 5. รับเครื่องนับก้าว 06.30-07.30 น. การแข่งขัน 1. เริ่มเดินและจับเวลาพร้อมกัน 2. เมื่อครบ 45 นาที สิ้นสุดการแข่งขัน 3. ผู้ที่ครบ 3,000 ก้าว 5 ท่านแรก จะได้รับ รางวัลใหญ่ (4,000 ก้าว อีก 5 ท่าน สำหรับอายุน้อยกว่า 45 ปรวม 10 รางวัลใหญ่) 4. เมื่อเดินครบกำหนดแล้ว สามารถรับของรางวัลได้ทันที โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” ได้มีกำหนดการเปิดโครงการขึ้น ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สนใจในเรื่องสุขภาพ ได้มีส่วนร่วมในวันงาน ทางโครงการจึงได้จัดการแข่งขันเดินนับก้าวขึ้น การแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 รุ่น 1. รุ่นอายุ 45 ปีขึ้นไป ทำการ เดินนับก้าวเดิน (ห้ามวิ่ง) ให้ได้ 3,000 ก้าว ภายใน 45 นาที 2. รุ่นอายุน้อยกว่า 45 ปี เดินนับก้าว (ห้ามวิ่ง) ให้ได้ 4,000 ก้าว ภายใน 45 นาที ของรางวัลมูลค่า รางวัลที่ 1 จำนวนก้าว คูณ 1.5 บาท รางวัลที่ 2 จำนวนก้าว คูณ 1.0 บาท รางวัลที่ 3 จำนวนก้าว คูณ 0.5 บาท รางวัลที่ 4 จำนวนก้าว คูณ 0.25 บาท รางวัลที่ 5 จำนวนก้าว คูณ 0.25 บาท รางวัลย่อย จำนวนก้าว คูณ 0.05 บาท กิจกรรมบริการด้านสุขภาพ l การดูแลถนอมเข่า ชะลอเสื่อม l การตรวจประเมินความผิดปกติของเท้า l ประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุและอาการเสียวฟัน l รู้เท่าทัน สัญญาณแก่ก่อนวัย กับ Brain Exercise l ทดสอบรสชาติผักไร้สารพิษ กับเมนูส้มตำผัก l เรื่องน่ารู้โภชนาการใกล้ตัว l มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันไดl เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ 4 Application I con link โครงการ แคลอรีมิเตอร์ ต้องการทำฐานข้อมูลอาหารและ กิจกรรมการออกกำลังกาย ในการไปคำนวนการรับประทานอาหารและ การใช้พลังงานจากกิจกรรมในแต่ละวัน เพื่อทำให้ทราบถึงสมดุลพลังงานทีได้รับในแต่ละวันว่ามีความเหมาะสม หรือไม่ ช่วยในการควบคุมและ วางแผนในการลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างสะดวกและถูกต้อง ฐานข้อมูลอาหารแบ่งหมวดย่อย 14 หน่วย เพื่อให้สะดวกในการบันทึก รายการอาหารตามต้องการ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเพิ่มเมนูอาหารทีนอกเหนือจากฐานข้อมูลเข้าไปได้ และเมื่อมีการอัพเดทฐานข้อมูลสุขภาพ ครั้งต่อไปเมนูอาหารที่เพิ่มนั้นจะถูกคำนวนเป็นค่าพลังงานออกกมาและ นำมาใช้งานในฐานข้อมูลต่อไป และเช่นเดียวกันในส่วนของกิจกรรมการ ออกกำลังกาย แคลอรีมิเตอร์หรือ My Cal จะถูกรวมอยู่ในเว็บไซด์ http://www.chula-park.com สามารถใช้งานได้ทั้งแบบสมัครสมาชิก และแบบไม่สมัครสมาชิก โดยผู้ที่สมัคร สมาชิกจะมีข้อมูลบันทึกไว้ ในเว็บไซด์ทำให้สามารถดูข้อมูลย้อนหลัง แสดงค่าสถิติเป็นกราฟไว้ เปรียบเทียบต่อไปได้ การทำงานหลักของ “My Cal” 1. คำนวนค่าพลังงานพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ประจำวัน 2. ฐานข้อมูลพลังงานที่ได้รับจากอาหาร 3. ฐานข้อมูลพลังงานที่ใช้ไปจากการออกกำลังกาย 4. การเพิ่มข้อมูลรายการอาหาร 5. การเพิ่มข้อมูลการออกกำลังกาย 6. คำนวนความสมดุลของพลังงาน ที่ได้รับและใช้ไป 7. ตั้งเป้าหมายและแนะนำปริมาณพลังงานที่ควรได้รับลดลง เพื่อการลดและควบคุมน้ำหนัก 8. การบันทึกสถิติการใช้พลังงานแต่ละวันแสดงเป็นกราฟ ภาพตัวอย่าง My Cal ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ และ NECTEC (ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) ร่วมกันจัดทำโครงการ ผลิต applications สำหรับมือถือระบบแอนดรอย เพื่อการบันทึกค่าการใช้ พลังงานประจำวันจากการ นั่ง นอน เดิน และ วิ่ง โดยใช้การทำงานของ ระบบ accelerometer ที่มีอยู่ในมือถือ smart phone ในยุคปัจจุบัน เป็นตัวบันทึกค่าการทำกิจกรรม โดยระบบจะทำการแยกความถี่ที่เกิดขึ้น กับมือถือในแต่ละช่วงเหตุการณ์และตีความออกมาเป็นกิจกรรม 4 ลักษณะ ได้แก่ การนั่ง การนอน การเดิน และการวิ่ง ความสามารถของโปรแกรม 1. แยกประเภทกิจกรรมที่เกินขึ้น เป็น นั่ง นอน เดิน หรือ วิ่ง 2. บันทึกเวลาของแต่ละกิจกรรม 3. คำนวนค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) ที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรมประจำวัน 4. นับจำนวนก้าวเดิน และวิ่ง 5. วัดระยะทางในการเดิน และวิ่ง 6. บันทึกค่าย้อนหลัง และกราฟแสดงผล 7. ส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูล เว็บไซด์สวนลุมฯสวนสุขภาพ กิจวัตรประจำวันในปัจจุบันที่น้อยลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไมเพียงพอต่อการเผาผลาญพลังงานที่เหมาะสม Apps “My Act” จะเป็น ตัวกระตุ้น และระบุการใช้พลังงานในแต่ละวัน ทำให้สามารถทราบ คำ นวน ได้ว่าวันนี้มีการใช้พลังงานที่มากเพียงพอหรือน้อยจนเกินไป นอกจากนี้แล้ว “My Act” ยังมีระบบประหยัดพลังงานสำหรับมือถือใน ปัจจุบันที่มักมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่หมดไวทำให้หมดปัญหาเรื่องการ เปิดใช้งานเป็นประจำทุกวัน การใช้งานสามารถติดตามผลในระยะยาวได้ “My Act” ยังสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เว็บไซด์ สวนลุมฯสวนสุขภาพ เพื่อ บันทึกค่าการเดินเปรียบเทียบปริมาณพลังงานกับผู้อื่นได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถดาวโหลด Apps ได้ทันทีผ่านทาง Play Store ตั้งแต่ วันศุกร์ที21 ธ.ค. 55 และสามารถแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุง apps ต่อไปในอนาคต ภาพตัวอย่าง My Act

Upload: others

Post on 26-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park) น่ารู้ : “เดินนับ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-27.pdf · สวนลุมฯ

น่ารู้ : “เดินนับก้าวในสวน” สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park)

3 2

คำว่า “เดินวันละหมื่นก้าว” เป็นสโลแกนที่ปัจจุบันนิยมใช้บ่งบอกถึงระดับการออกกำลังกายที่เพียงพอและเป็นผลดีต่อสุขภาพ มีจุดกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นในราวปี ค.ศ.1960 (ประมาณ พ.ศ. 2500) โดย ชมรม นักเดินชาวญี่ปุ่น ซึ่งต่อมามีข้อมูลผลการวิจัยสนับสนุนว่าชาวญี่ปุ่น ที่กระฉับกระเฉงนั้นจะเดินโดยเฉลี่ยราววันละ 9,500-12,000 ก้าว (และเผาผลาญพลังงานได้วันละ 300 กิโลแคลอรี) และกระทรวงสุขภาพแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้นำมาตั้งเป็นเป้าหมายด้านสุขภาพแห่งชาติในปี ค.ศ. 2000 เพื่อส่งเสริมให้ชาวญี่ปุ่นเดินมากขึ้น”

การเดินออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไร? การเดินออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ l ป้องกันโรค (ระบบไหลเวียนเลือด และเบาหวาน) l ลดความดันเลือด l ลดมวลไขมันในร่างกาย l ป้องกันกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน l เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของร่างกาย l เพิ่มความมั่นใจและความกระฉับกระเฉง l คลายเครียดและอารมณ์ดี นอกจากนี้ การเดินออกกำลังกายวันละ 12,000 – 15,000 ก้าว จะช่วยลดน้ำหนักได้ และการเดินวันละ10,000- 12,000 ก้าว จะช่วยคงน้ำหนักตัวไว้ได้สำหรับผู้ที่มีสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่แล้ว

การเดินวันละเท่าไรจึงจะเพียงพอ? สำหรับบุคคลวัยผู้ใหญ่นั้น มีการจัดจำแนกระดับการเดินดังนี้

จำนวนก้าว การแปลผล

น้อยกว่า 5,000 ก้าว/วัน เฉื่อยชามาก

5,000–7,499 ก้าว/วัน เฉื่อยชา

7,500–9,999 ก้าว/วัน เริ่มกระฉับกระเฉง

10,000–12,499 ก้าว/วัน กระฉับกระเฉง

ตั้งแต่ 12,500 ก้าว/วัน กระฉับกระเฉงมาก

ซึ่งนำมาแปลงเป็นการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ เหมาะสม สำหรับผู้ใหญ่ดังนี้ 1. ออกกำลังกายระดับหนักปานกลางวันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย (เช่น การเดิน 3,000-4,000 ก้าว โดยมีความเร็ว 100 ก้าว/นาที หรือ รู้สึกว่าหายใจเร็วขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นหอบเหนื่อยจนพูดคุยขณะเดินไม่ได้) 2. อาจเป็นการออกกำลังกายติดต่อกันจนครบ 30 นาทีรอบเดียว หรือแบบสะสม อย่างน้อยรอบละ 10 นาที 3. และต้องเป็นการเดินเพิ่ม เติมจากระดับการเดินขั้นต่ำ ในแต่ละวัน (คือ 5,000 ก้าว/วัน สำหรับผู้ที่มีวิถีชีวิตแบบเฉื่อยชาหรือเคลื่อนไหวน้อย) เมื่อรวมๆ กันแล้วก็จะได้ประมาณ 8,000 – 9,000 ก้าว/วัน

ทำไมจึงส่งเสริมให้ออกกำลังกายด้วยการเดิน? การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก ทั้งยังมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่หนักเกินไปและเกิดแรงกระแทก ไม่มาก จึงเหมาะสมกับบุคคลทุกเพศและวัย

การ “นับก้าวเดินในสวน” คืออะไร? การ “นับก้าวเดินในสวน” เป็นการแข่งขันเดินเร็วในงานวันเปิดตัวโครงการ “สวนลุม สวนสุขภาพ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมิตร”

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ ได้จัดกิจกรรมแทรกในแต่ละสัปดาห์ ได้แก่ 1. กิจกรรมลดเพื่อน้อง กิจกรรมลดน้ำหนักเพื่อบริจาคสิ่งของให้แก่เด็กด้อยโอกาส 2. กิจกรรมปุยนุ่นลีค การแข่งขันลดน้ำหนักระยะยาวต่อเนื่อง 3. โครงการ DPP การอบรมกลุ่มย่อยการดูแลตนเอง เพื่อลดน้ำหนักและป้องกันโรค 4. กิจกรรมเดินล้านก้าว (สำหรับ บริษัท) การจัดแข่งขันเดินให้แก่ หน่วยงาน (ถนนสีลม) ที่สนใจ ระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้ เครื่องนับก้าว ติดกับตัวผู้แข่งขัน (ขั้นต่ำที่สุด 50 คน/หน่วยงาน และไม่เกิน 300คน/หน่วยงาน) ลักษณะกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” เป็นการดำเนินงานการให้บริการและความรู้จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้สถานที่สวนลุมพินี บริเวณศาลาหน้าศูนย์อาหารหลักของสวนลุมพินี กำหนดกิจกรรมเป็นประจำทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-10.00 น. ดำเนินการต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 1 ปี ในแต่ละสัปดาห์จะเป็นการหมุนเวียนกันไปจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ ฝ่ายผู้ป่วยนอก ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายทันตกรรม ฝ่ายสรีรวิทยา และ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการหมุนเวียนกันและมีไฮไลท์เด่นประจำเดือนที่น่าสนใจเป็นระยะ เช่น การตรวจสุขภาพฟันตลอดทั้งเดือน เป็นต้น ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถเดินทางเข้ามาที่สถานที่จัดกิจกรรมทุกวันเสาร์ได้เลย หรือสามารถดูและสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อกำหนดวันเข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจผ่านทางเว็บไซด์โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” : http://www.chula-park.com กิจกรรมต่างๆ ในวันเปิดโครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” 1. “การดูแลถนอมเข่า ชะลอเสื่อม” โดย ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวการดูแลรักษาข้อเข่าให้แข็งแรง หรือฟื้นฟูให้ดีขึ้น การปฏิบัติตนเพื่อรักษาข้อเข่าให้ได้ยาวนาน การซักถามปัญหาสุขภาพเข่า 2. “เรื่องน่ารู้ โภชนาการ ใกล้ตัวคุณ” โดย ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 1. ห่วงหรรษาโภชนาการ (ข้อควรรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ และเข้าใจสัดส่วนอาหาร) 2. หวานแค่ไหน (การประมาณปริมาณน้ำตาลในชีวิตจริง) 3. จับคู่สุดมัน (เปรียบเทียบปริมาณไขมันในอาหาร) 3. “ฟันผุและอาการเสียวฟัน” โดย ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุและการประเมินความเสี่ยงอาหารเสียวฟันจากภาวะเนื้อฟันไวเกินรวมทั้งคำแนะนำที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มความเสี่ยง 4. “มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้ พบไวหายแน่” โดย ภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้จักเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค สาเหตุ และอาการ และวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจเลือดในอุจจาระ

5. “รู้ เท่าทัน สัญญาณแก่ก่อนวัย” โดย ฝ่ายผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กิจกรรมตรวจเช็ครู้ทันสัญญาณแก่ด้วนตนเอง Brain exercise กิจกรรมด้านความจำ วีธีการประเมิน และการทดสอบต่างๆ กิจกรรมฝึกสมองลองทำดู กิจกรรมเกี่ยวกับด้านความถนัด ความคิดสร้างสรรค์ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ 6. “ผักไร้สารพิษ” โดย Clean Farm และ ร้านส้มตำผักเพื่อสุขภาพ การนำเสนอผักไร้สารพิษ วิธีการปลูก และทดสอบความอร่อยของผักไร้สารพิษต่างๆ (โดยการชิม) และส้มตำเพื่อสุขภาพโดยทำมาจาก ผักต่างๆ 7. “Login สุขภาพ” โดย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การรับสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อสุขภาพแบบต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการเดินล้านก้าว การบันทึกก้าวเดินให้ได้ถึง 1 ล้านก้าว และ โครงการปุยนุ่นลีค การแข่งขันลดน้ำหนักระยะยาว การบันทึกน้ำหนักแบบต่อเนื่อง ใครลดได้มากและยาวนานกว่ากัน 8. “นวัตกรรมทางการแพทย์ by NECTEC” โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) การนำเสนอ Application บนมือถือระบบ android เกี่ยวกับการบันทึก การเดิน กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน พลังงานที่ใช้ไป และการนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ที่กำลังพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ 9. ฝ่ายจิตวิทยา รพ. จุฬาฯ 10. การจัดกิจกรรม จาก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมงานพีธีเปิดตัวโครงการ “สวนลุมฯสวนสุขภาพ” สามารถรับของที่ระลึกภายในงานได้ทันทีเมื่อเข้าร่วมลงทะเบียนเข้างาน รับเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการฯ กำหนดการ วัน-เวลา ที่จัดโครงการ และสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทันที ทั้งผ่านระบบ online หรือ ส่งใบสมัคร นอกจากนี้ ผู้ลงทะเบียนเข้างาน จะได้รับ passport สำหรับเก็บสถิติการเข้าชมและร่วมกิจกรรมในแต่ละบูทที่จัดขึ้นภายในงานวันนั้น และเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกบูทแล้วผู้เข้าร่วมงานสามารถนำ passport ไปแลกของรางวัลพิเศษได้ ซึ่งกิจกรรมในแต่ละบูทจะเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาพและให้ความรู้ที่น่าสนใจแก่ผู้รักสุขภาพอย่างมาก ภายในงานยังมีการแข่งขัน “เดินนับก้าวในสวน” เป็นการแข่งขันนับก้าวเดินชิงเงินรางวัลและของรางวัลหากทำได้ตามเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมงานพิธีเปิดสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ทันทีก่อนการแข่งขันจะเริ่ม 30 นาที (อุปกรณ์การแข่งขันมีจำกัด)

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

อาคาร “ อปร ” (ชั้น 6) โทรศัพท์ : 02 256 3540

Email : [email protected] Website : http://www.chula-park.com

Fanpage : http://www.facebook.com/healthpromotioncenterchula

ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 ณ สวนลุมพินี เวลา 06.00 น. โดยการใช้ เครื่องนับก้าว หรือ pedometer นับจำนวนก้าวแข่งขัน การแข่งขันจะจัดการแข่งขันเป็น 2 รุ่น รุ่นอายุต่ำกว่า 45 ปี (4,000 ก้าว) และรุ่นอายุ 45 ปีขึ้นไป (3,000 ก้าว) ภายในระยะเวลา 45 นาที ผู้ที่เดินเข้าเส้นชัย 5 ลำดับแรกของแต่ละรุ่น จะได้รับรางวัลมูลค่าประมาณก้าวละ 0.25-1.50 บาท (750-6,000 บาท) ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่สามารถเดิน เข้าเส้นชัยภายในเวลาที่กำหนด(45 นาที) จะได้รับรางวัลมูลค่าประมาณก้าวละ 0.05 บาท (150 บาท) หากท่านสนใจเข้าร่วมการแข่งขัน สมัครได้ที่ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ อาคาร “อปร” (ชั้น 6) ห้อง 605/2 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ ์สภากาชาดไทย

การเตรียมตัว 1. ชุดออกกำลังกายที่เหมาะสม 2. สวมใส่รองเท้าผ้าใบ 3. ชุดออกกำลังกายควรมีขอบกางเกง หรือ เข็มขัดที่สามารถหนีบเครื่องนับก้าวได้โดยไม่หลุด 4. ต้องนำ บัตรประชาชนตัวจริง และ ใบเสร็จรับเงิน มาลงทะเบียนแลกกับ เครื่องนับก้าว (ยืม) 5. รับเครื่องนับก้าว 06.30-07.30 น.

การแข่งขัน 1. เริ่มเดินและจับเวลาพร้อมกัน 2. เมื่อครบ 45 นาที สิ้นสุดการแข่งขัน 3. ผู้ที่ครบ 3,000 ก้าว 5 ท่านแรก จะได้รับ รางวัลใหญ่ (4,000 ก้าว อีก 5 ท่าน สำหรับอายุน้อยกว่า 45 ปี รวม 10 รางวัลใหญ่) 4. เมื่อเดินครบกำหนดแล้ว สามารถรับของรางวัลได้ทันที โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” ได้มีกำหนดการเปิดโครงการขึ้นในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สนใจในเรื่องสุขภาพได้มีส่วนร่วมในวันงาน ทางโครงการจึงได้จัดการแข่งขันเดินนับก้าวขึ้น

การแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 รุ่น 1. รุ่นอายุ 45 ปีขึ้นไป ทำการ เดินนับก้าวเดิน (ห้ามวิ่ง) ให้ได้ 3,000 ก้าว ภายใน 45 นาที 2. รุ่นอายุน้อยกว่า 45 ปี เดินนับก้าว (ห้ามวิ่ง) ให้ได้ 4,000 ก้าว ภายใน 45 นาที

ของรางวัลมูลค่า รางวัลที่ 1 จำนวนก้าว คูณ 1.5 บาท รางวัลที่ 2 จำนวนก้าว คูณ 1.0 บาท รางวัลที่ 3 จำนวนก้าว คูณ 0.5 บาท รางวัลที่ 4 จำนวนก้าว คูณ 0.25 บาท รางวัลที่ 5 จำนวนก้าว คูณ 0.25 บาท รางวัลย่อย จำนวนก้าว คูณ 0.05 บาท

กิจกรรมบริการด้านสุขภาพ l การดูแลถนอมเข่า ชะลอเสื่อม l การตรวจประเมินความผิดปกติของเท้า l ประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุและอาการเสียวฟัน l รู้เท่าทัน สัญญาณแก่ก่อนวัย กับ Brain Exercise l ทดสอบรสชาติผักไร้สารพิษ กับเมนูส้มตำผัก l เรื่องน่ารู้โภชนาการใกล้ตัว l มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้ l เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์

4

Application Icon link

โครงการ แคลอรีมิเตอร์ ต้องการทำฐานข้อมูลอาหารและกิจกรรมการออกกำลังกาย ในการไปคำนวนการรับประทานอาหารและการใช้พลังงานจากกิจกรรมในแต่ละวัน เพื่อทำให้ทราบถึงสมดุลพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ช่วยในการควบคุมและวางแผนในการลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างสะดวกและถูกต้อง ฐานข้อมูลอาหารแบ่งหมวดย่อย 14 หน่วย เพื่อให้สะดวกในการบันทึกรายการอาหารตามต้องการ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเพิ่มเมนูอาหารที่นอกเหนือจากฐานข้อมูลเข้าไปได้ และเมื่อมีการอัพเดทฐานข้อมูลสุขภาพครั้งต่อไปเมนูอาหารที่เพิ่มนั้นจะถูกคำนวนเป็นค่าพลังงานออกกมาและนำมาใช้งานในฐานข้อมูลต่อไป และเช่นเดียวกันในส่วนของกิจกรรมการออกกำลังกาย แคลอรีมิเตอร์หรือ My Cal จะถูกรวมอยู่ในเว็บไซด์ http://www.chula-park.com สามารถใช้งานได้ทั้งแบบสมัครสมาชิกและแบบไม่สมัครสมาชิก โดยผู้ที่สมัครสมาชิกจะมีข้อมูลบันทึกไว้ ในเว็บไซด์ทำให้สามารถดูข้อมูลย้อนหลัง แสดงค่าสถิติเป็นกราฟไว้ เปรียบเทียบต่อไปได้

การทำงานหลักของ “My Cal” 1. คำนวนค่าพลังงานพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ประจำวัน 2. ฐานข้อมูลพลังงานที่ได้รับจากอาหาร 3. ฐานข้อมูลพลังงานที่ใช้ไปจากการออกกำลังกาย 4. การเพิ่มข้อมูลรายการอาหาร 5. การเพิ่มข้อมูลการออกกำลังกาย 6. คำนวนความสมดุลของพลังงาน ที่ได้รับและใช้ไป 7. ตั้งเป้าหมายและแนะนำปริมาณพลังงานที่ควรได้รับลดลง เพื่อการลดและควบคุมน้ำหนัก 8. การบันทึกสถิติการใช้พลังงานแต่ละวันแสดงเป็นกราฟ

ภาพตัวอย่าง

My Cal ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพฯ และ NECTEC (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) ร่วมกันจัดทำโครงการ ผลิต applications สำหรับมือถือระบบแอนดรอย เพื่อการบันทึกค่าการใช้พลังงานประจำวันจากการ นั่ง นอน เดิน และ วิ่ง โดยใช้การทำงานของระบบ accelerometer ที่มีอยู่ในมือถือ smart phone ในยุคปัจจุบัน เป็นตัวบันทึกค่าการทำกิจกรรม โดยระบบจะทำการแยกความถี่ที่เกิดขึ้นกับมือถือในแต่ละช่วงเหตุการณ์และตีความออกมาเป็นกิจกรรม 4 ลักษณะ ได้แก่ การนั่ง การนอน การเดิน และการวิ่ง

ความสามารถของโปรแกรม 1. แยกประเภทกิจกรรมที่เกินขึ้น เป็น นั่ง นอน เดิน หรือ วิ่ง 2. บันทึกเวลาของแต่ละกิจกรรม 3. คำนวนค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) ที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรมประจำวัน 4. นับจำนวนก้าวเดิน และวิ่ง 5. วัดระยะทางในการเดิน และวิ่ง 6. บันทึกค่าย้อนหลัง และกราฟแสดงผล 7. ส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูล เว็บไซด์สวนลุมฯสวนสุขภาพ

กิจวัตรประจำวันในปัจจุบันที่น้อยลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงพอต่อการเผาผลาญพลังงานที่เหมาะสม Apps “My Act” จะเป็นตัวกระตุ้น และระบุการใช้พลังงานในแต่ละวัน ทำให้สามารถทราบ คำนวน ได้ว่าวันนี้มีการใช้พลังงานที่มากเพียงพอหรือน้อยจนเกินไป นอกจากนี้แล้ว “My Act” ยังมีระบบประหยัดพลังงานสำหรับมือถือในปัจจุบันที่มักมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่หมดไวทำให้หมดปัญหาเรื่องการเปิดใช้งานเป็นประจำทุกวัน การใช้งานสามารถติดตามผลในระยะยาวได้ “My Act” ยังสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เว็บไซด์ สวนลุมฯสวนสุขภาพ เพื่อบันทึกค่าการเดินเปรียบเทียบปริมาณพลังงานกับผู้อื่นได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถดาวโหลด Apps ได้ทันทีผ่านทาง Play Store ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 ธ.ค. 55 และสามารถแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุง apps ต่อไปในอนาคต

ภาพตัวอย่าง

My Act

Page 2: สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park) น่ารู้ : “เดินนับ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-27.pdf · สวนลุมฯ

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต”

สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park)

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒๗ วันจันทร์ที่ ๑๗ เดือนธันวาคม ๒๕๕๕

ต่อหน้า 2

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัด พิธีเปิดโครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 เวลา 07.00 น. ณ อาคารลุมพินีสถาน สวนลุมพินี ผศ.ดร.นพ.วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ชี้แจงรายละเอียดว่า “โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” จัดขึ้นเพื่อนำบริบทของ สวนลุมพินี มาประกอบในการจัดกิจกรรมบริการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แก่ประชาชนทั่วไป ทั้ง ผู้ที่มีสุขภาพดี ประชากรกลุ่มเสี่ยง และ ผู้เป็นโรคเรื้อรัง จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับกิจกรรมและบริการต่างๆ ที่มีอยู่ใน สวนลุมพินี ผ่านทางเว็บไซด์ http://www.chula-park.com จัดบริการและให้คำแนะนำปรึกษาด้านสุขภาพ เพื่อการป้องกันและจัดการดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญด้วยตนเอง การให้องค์ความรู้ เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายการบริโภคอาหารอย่างถูกหลัก และการควบคุมน้ำหนักอย่างยั่งยืนรวมถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นๆ แก่ผู้มาใช้บริการ ณ สวนลุมพินี และประชาชนทั่วไป” ระยะเวลากิจกรรม โครงการ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” จะจัดขึ้น ทุกวันเสาร์ ตลอดทั้งปี 2556 เริ่ม วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2556 – เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 เวลา 06.00-10.00 น. ณ บริเวณศาลาหน้าศูนย์อาหาร สวนลุมพินี

สัปดาห์ที่ 1 (ผู้ป่วยนอก)

สัปดาห์ที่ 2 (โภชนวิทยา)

สัปดาห์ที่ 3 (เวชศาสตร์ฟื้นฟู)

สัปดาห์ที่ 4 (ฝ่ายการพยาบาล)

สัปดาห์ที่ 5 (ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ)

ส. 5 ม.ค. 56 ส. 12 ม.ค. 56 : น้ำตาล ส. 19 ม.ค. 56 : ปวดคอ ส. 26 ม.ค. 56

ส. 2 ก.พ. 56 ส. 9 ก.พ. 56 : ไขมัน ส. 16 ก.พ. 56 : ปวดหลัง ส. 23 ก.พ. 56

ส. 2 มี.ค. 56 ส. 9 มี.ค. 56 : โซเดียม ส. 16 มี.ค. 56 : กระดูกพรุน ส. 23 มี.ค. 56 ส. 30 มี.ค. 56 : ทดสอบสมรรถภาพผู้สูงอายุ

ส. 6 เม.ย. 56 : (ทันตกรรม) ส. 13 เม.ย. 56 : (ทันตกรรม) ส. 20 เม.ย. 56 : (ทันตกรรม) ส. 27 เม.ย. 56 : (ทันตกรรม)

4 พ.ค. 56 11พ.ค. 56 18 พ.ค. 56 : Office syndrome 25 พ.ค. 56

1 มิ.ย. 56 8 มิ.ย. 56 15 มิ.ย. 56 : วิ่งเพื่อสุขภาพ 22 มิ.ย. 56 29 มิ.ย. 56 เดินนับก้าว

6 ก.ค. 56 13 ก.ค. 56 20 ก.ค. 56 : สุขภาพเท้า 27 ก.ค. 56

3 ส.ค. 56 10 ส.ค. 56 17 ส.ค. 56 : ข้อเสื่อม 24 ส.ค. 56 31 ส.ค. 56 การทรงตัว

7 ก.ย. 56 14 ก.ย. 56 21 ก.ย. 56 : การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

28 ก.ย. 56

5 ต.ค. 56 12 ต.ค. 56 19 ต.ค. 56 : การออกกำลังกายและกิจวัตรประจำวัน

26 ต.ค. 56

2 พ.ย. 56 9 พ.ย. 56 16 พ.ย. 56 ปวดไหล่ 23 พ.ย. 56 30 พ.ย. 56

7 ธ.ค. 56 14 ธ.ค. 56 21 ธ.ค. 56 ปวดข้อศอก 28 ธ.ค. 56

5

สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park)

แผนที่ “สวนลุมฯ สวนสุขภาพ” (Health in the Park)

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected] และ [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th

http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/mdcu.page http://www.facebook.com/prmdcu.pr

http://www.twitter.com/prmdcu

กำหนดการ พิธีเปิด “โครงการสวนลุมฯ สวนสุขภาพ” โดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมิตร

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 เวลา 07.00 น. ณ อาคาร “ลุมพินนีสถาน” สวนสาธารณะลุมพินี

07:00 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน

07:05 น. การแสดงเปิดงานจาก ชมรมสุขภาพ สวนลุมพินี

07:15น. พิธีกรเรียนเชิญ รศ.นพ.วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานรายละเอียด

โครงการและกิจกรรมภายในงานพร้อมนำชมวิดีทัศน์รายละเอียดโครงการ

07:25 น. พิธีกรเรียนเชิญประธานจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร และ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ขึ้นร่วมทำพิธีเปิดงานและถ่ายภาพบนเวที

07:30 น. พิธีกรกล่าวแนะนำกิจกรรมการแข่งขันเดินนับก้าวกติกาและรางวัลในการแข่งขัน พร้อมชี้แจงรายละเอียดของเครื่องนับก้าว

พร้อมแจ้งให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมการแข่งขันประจำ ณ จุดเริ่มต้นการแข่งขันบริเวณด้านนอกอาคาร

07:30 – 07:40 น. ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมการแข่งขันเดินออกมาประจำ ณ จุดเริ่มต้นการแข่งขันบริเวณด้านนอกอาคาร

07:40 น. พิธีกรกล่าวแนะนำกติกาการแข่งขันและเชิญประธานทำพิธีเปิดการแข่งขันเดินนับก้าวบริเวณด้านหน้าอาคาร

07:45 – 07:55 น. ประธานและผู้บริหารออกเดินนับก้าวร่วมกับผู้แข่งขันด้านหน้าอาคาร และกลับมาบริเวณภายในอาคารเพื่อเดินชมกิจกรรม

08:00 น. พิธีกรกล่าวแนะนำโครงการ ปฏิทินกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์และกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพภายในบริเวณงาน

08:05 น. พิธีกรเรียนเชิญประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กล่าวถึงกติกาการเข้าร่วมกิจกรรมและการบริจาคสมทบทุนโครงการ

08:10 - 09:00 น. พักเวที

09:00 น. พิธีกรประกาศผลการแข่งขันและเรียนเชิญประธาน/ผู้บริหารขึ้นมอบรางวัลผู้ชนะ 3 อันดับแรก

09:10 – 10:00 น. พิธีกรเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพภายในบริเวณงาน

สวนลุมฯ สวนสุขภาพ (Health in the Park)