โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula...

8
หนังสือข่าวรายปักษ์ ปีท่ 17 ฉบับที่ 24 ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ฝ่ายบริหาร” 2555...งานที่ผ่านมา โครงการที่จะทำ...2556 1.2 กำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกของของหน่วยงานต่างๆ แยกใหญ่ๆ เป็นวัสดุ สิ้นเปลืองกับวัสดุคงทนถาวร เกณฑ์ในเบื้องต้นที่จะเอามาคิด เช่น ต้องคืน ซาก, ลักษณะของหน่วยงาน (back, front, service, non-service, IPD, OPD, ICU, OR, etc) จำนวนเจ้าหน้าที่ส่วนพื้นฐานที่ต้องได้รับ, ส่วน spare, เป็นต้น 2. ประเมินกระบวนการอนุมัติชำรุด/หมดความจำเป็น และการจำหน่ายพัสดุของ โรงพยาบาลซึ่งได้ดำเนินการแบบใหม่มาประมาณหนึ่งปีแล้ว แต่ยังไม่คล่องตัว เท่าที่ควร อยู่ระหว่างการเสนอให้มีการปรับปรุง เช่น การให้หน่วยงานมีกรรมการ ชำรุด/หมดความจำเป็น และกรรมการจำหน่ายพัสดุของตัวเอง 3. การดำเนินงานของ Non-medical equipment Team สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” มีการเตรียมการรายการพัสดุที่จะต้องจัดซื้อสำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” ซึ่งเท่ากับ ความต้องการทั้งหมด ลบด้วยพัสดุที่รวมอยู่ในรายการตกแต่งภายใน ลบด้วยรายการ พัสดุที่มีอยู่ที่ตึกเดิมที่จะนำไปใช้ต่อ โดยเริ่มจากการสำรวจครุภัณฑ์และวัสดุคงทนถาวร ของ โรงพยาบาลจุฬาฯ การพัฒนาเรื่องประชาสัมพันธ์ 1. ประสานการจัดทำประชาสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ และ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 2. จัดตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อทำแผนประชาสัมพันธเชิงรุก โดยเน้น ความเป็นเลิศทางด้านการบริการทางการแพทย์ (Excellent center) และ ความทันสมัย การให้ความรู้ทางการแพทย์ การให้ข้อมูลการแพทย์ เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบัน และ เรื่องที่มีผลกระทบเชิงลบกับโรงพยาบาล 3. จัดทำ วิดีโอเชิญชวนบริจาคเงิน การพัฒนาฝ่ายเลขานุการ 1. ดำเนินการใช้สารบรรณอิเลคทรอนิกเพื่อเวียนเอกสาร 2. ดำเนินการจัดทำรูปแบบการประชุม e-meeting โดยจัดทำเอกสารอิเลคทรอนิก ในการประชุมคณะผู้บริหารโรงพยาบาล 3. ดำเนินการเร่งรัดการขั้นตอนการจัดทำประกาศให้รวดเร็ว การพัฒนาฝ่ายโภชนาการฯ 1. ดำรงรักษาคุณภาพอาหารและรสชาติให้ดียิ่งขึ้น 2. พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้รวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบการพัสดุฯ 3. พัฒนาการตรวจรับพัสดุและติดตามงบประมาณการใช้ l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 การพัฒนาสถานที่ สิ่งเเวดล้อมให้ปลอดภัยและ เอื้อต่อการรักษาพยาบาล (Environmental Excellence) 1. การดำเนินงานด้านสภาพเเวดล้อม อาคาร สถานที่ ดำเนินการเร่งรัดผู้รับเหมา เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องให้สมบูรณ์ระหว่างระยะเวลาประกันการซ่อมและเตรียมการ ตกแต่งภายใน และปรับปรุง 7 อาคาร ได้แก่ 1.1 อาคารจอดรถหลังที่ 3 เร่งรัดแบบตกแต่งภายในทั้ง 15 ชั้น เพื่อดำเนินการตกแต่ง ภายใน ให้ฝ่ายต่างๆ เข้าใช้ 1.2 อาคาร “สก” (ชั้น 20) 1.3 อาคาร “จงกลนี วัฒนวงศ์” 1.4 หอพักพยาบาล 1.5 การปรับปรุงซ่อมแซม 6 อาคาร (ตึก “อาทร” ตึก “วชิราวุธ” ตึก “หลิ่มซีลั่น” ตึก “ปัญจมราชินี” ตึก “สิรินธร” และ ตึก “วชิรญาณวงศ์”) 1.6 งานบันไดเลื่อนและโถงบันไดเลื่อน อาคาร “ภปร” ดำเนินการจัดจ้างผู้รับเหมา เพื่อตกแต่งชั้น 7 และชั้น 8 ส่วนต่อเติมเพื่อ ย้ายห้องผู้ตรวจการ ชั้น M ตึก “ภปร” มาที่ชั้น 7 1.7 หอพักแพทย์ประจำบ้าน เตรียมการจัดตั้งหาบริษัทดูแลรักษาและจัดการหอพัก แพทย์ประจำบ้าน รวมทั้งจัดทำโครงการให้เช่าห้องพักในอาคารหอพักแพทย์ ประจำบ้าน 2. เร่งรัดติดตามงานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 2.1 การก่อสร้าง อาคาร “ภูมิสิริฯ” ประกอบด้วย 2.1.1 เร่งรัดดำเนินงานติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน อ่านต่อหน้า 3 - ฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 การพัฒนาสถานที่ สิ่งเเวดล้อมให้ปลอดภัยและ เอื้อต่อการรักษาพยาบาล (Environmental Excellence) 1. การดำเนินงานด้านสภาพเเวดล้อม อาคาร สถานทีดำเนินการสรุปปิดงาน ตรวจรับ งานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และตรวจสอบบันทึกข้อบกพร่องและแจ้งผู้รับเหมา เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ระหว่างระยะเวลาประกันการซ่อม 7 งาน ได้แก่ 1.1 อาคารจอดรถหลังที่ 3 1.2 อาคาร “สก” (ชั้น 20) 1.3 อาคาร “จงกลนี วัฒนวงศ์” 1.4 หอพักพยาบาล ตรวจรับงานและสรุปค่าปรับ 1.5 การปรับปรุงซ่อมแซม 6 อาคาร (ตึก “อาทร” ตึก “วชิราวุธ” ตึก “หลิ่มซีลั่น” ตึก “ปัญจมราชินี” ตึก “สิรินธร” และ ตึก “วชิรญาณวงศ์”) 1.6 งานบันไดเลื่อนและโถงบันไดเลื่อน อาคาร “ภปร” เปิดใช้เดือนพฤษภาคม 2555 1.7 หอพักแพทย์ประจำบ้าน 2. งานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 2.1 การก่อสร้างอาคารภูมิสิริฯ ประกอบด้วย 2.1.1 ดำเนินการจัดจ้างงานติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน ต้องดำเนินการ ประมูลถึง 3 ครั้ง 2.1.2 จัดจ้างผู้ออกแบบตกแต่งภายใน อาคาร “ภูมิสิริฯ” ครบทั้ง 3 ส่วน เพื่อให้ผู้ตกแต่งภายในเข้าสอบถามความต้องการของผู้จะใช้งาน ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีการประชุมย่อยของผู้ออกแบบกับแต่ละส่วน เป็นจำนวนมาก 2.1.3 ประสานงานพร้อมผู้ตกแต่งภายใน ทีมก่อสร้าง และประชุมกลุ่มย่อย ทุกบ่ายวันจันทร์ อังคาร พุธ รวมทั้ง lead team ก่อสร้าง เพื่อหา ข้อสรุปความต้องการของฝ่ายต่างๆ สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” โดยเฉพาะ ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ โดยให้มีการปรับแบบเฉพาะ สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่วิกฤติ หรือผิดมาตรฐานการักษาเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด 2.1.4 เร่งรัดการก่อสร้าง ติดตามการประสานการก่อสร้างต่างๆ ให้ต่อเนื่อง จนปัจจุบันงานโครงสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 29 ชั้น 2.2 การก่อสร้าง อาคาร “ผู้สูงอายุ” เร่งรัดผู้ออกแบบให้ออกแบบก่อสร้างทุกชั้น เนื่องจากการย้ายสถานที่ก่อสร้างทำให้แบบต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งหมด (แบบเดิมที่กำหนดไว้) ซึ่งแบบเสร็จสมบูรณ์ เดือนกรกฎาคม 2555 จึงสามารถ แบบก่อสร้างทุกชั้นเพื่อเร่งรัดการก่อสร้าง และขออนุมัติคณะรัฐมนตรื ให้ขยาย เวลาก่อสร้างไปถึงเดือนกันยายน 2556 2.3 การก่อสร้าง ตึก “CSSD” กำหนดเสร็จเดือนมกราคม 2555ทั้งนี้ ได้จัดจ้างผู้รับเหมา งานระบบครัวระยะที่ 1 งานระบบซักรีดระยะที่ 1 และงานระบบ CSSD ทั้งหมด 2.4 การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ปลูกสร้างอาคารสาธารณูปโภคส่วนหลัง สถานี ไฟฟ้าย่อย (ระยะที่ 1 เสร็จ) อยู่ระหว่างขุดบ่อ เดินสายไฟใต้ดินเพื่อสามารถ ส่งไฟได้เดือนมิถุนายน 2556 2.5 ปรับปรุง ตึก “อับดุลราฮิม” เร่งรัดมิให้มีผลกระทบ 3. การปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของฝ่ายบริหารงานอาคารเพื่อให้งานซ่อมเร็วขึ้น 4. การดำเนินการโครงการนำร่องจดทะเบียนเครื่องปรับอากาศ และกำหนดการ บำรุงรักษาตามเวลาเพื่อให้เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด 5. พัฒนางานคลังอะไหล่ เพื่อกำหนดระยะเวลาในแต่ขั้นตอนของงานซ่อม และ เป็นพื้นฐานในการประกันเวลาต่อไป 6. ทดลองปรับระบบการรับขยะ เตรียมการจัดตั้งธนาคารขยะ การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุ 1. ดำเนินโครงการจัดสรรพัสดุคงคลังอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยจัดตั้งคณะทำงาน มีข้อสรุปที่สำคัญดังนี1.1 ให้เปลี่ยนไปใช้รหัสหน่วยงานที่จะเบิกจ่ายพัสดุตามรหัสหน่วยงานของศูนย์ ข้อมูลและต้นทุน เพื่อความเป็นเอกภาพและนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ได้ ของ โรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อไป โดยจะเริ่ม 1 ต.ค. 2555

Upload: others

Post on 28-Oct-2019

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

หนังสือข่าวรายปักษ์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 24 ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ฝ่ายบริหาร”

2555...งานที่ผ่านมา โครงการที่จะทำ...2556

1.2 กำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกของของหน่วยงานต่างๆ แยกใหญ่ๆ เป็นวัสดุ สิ้นเปลืองกับวัสดุคงทนถาวร เกณฑ์ในเบื้องต้นที่จะเอามาคิด เช่น ต้องคืน ซาก, ลักษณะของหน่วยงาน (back, front, service, non-service, IPD, OPD, ICU, OR, etc) จำนวนเจ้าหน้าที่ส่วนพื้นฐานที่ต้องได้รับ, ส่วน spare, เป็นต้น 2. ประเมินกระบวนการอนุมัติชำรุด/หมดความจำเป็น และการจำหน่ายพัสดุของ โรงพยาบาลซึ่งได้ดำเนินการแบบใหม่มาประมาณหนึ่งปีแล้ว แต่ยังไม่คล่องตัว เท่าที่ควร อยู่ระหว่างการเสนอให้มีการปรับปรุง เช่น การให้หน่วยงานมีกรรมการ ชำรุด/หมดความจำเป็น และกรรมการจำหน่ายพัสดุของตัวเอง 3. การดำเนินงานของ Non-medical equipment Team สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” มีการเตรียมการรายการพัสดุที่จะต้องจัดซื้อสำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” ซึ่งเท่ากับ ความต้องการทั้งหมด ลบด้วยพัสดุที่รวมอยู่ในรายการตกแต่งภายใน ลบด้วยรายการ พัสดุที่มีอยู่ที่ตึกเดิมที่จะนำไปใช้ต่อ โดยเริ่มจากการสำรวจครุภัณฑ์และวัสดุคงทนถาวร ของ โรงพยาบาลจุฬาฯ

การพัฒนาเรื่องประชาสัมพันธ์ 1. ประสานการจัดทำประชาสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ และ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 2. จัดตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อทำแผนประชาสัมพันธ์ เชิงรุก โดยเน้น ความเป็นเลิศทางด้านการบริการทางการแพทย์ (Excellent center) และ ความทันสมัย การให้ความรู้ทางการแพทย์ การให้ข้อมูลการแพทย์ เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบัน และ เรื่องที่มีผลกระทบเชิงลบกับโรงพยาบาล 3. จัดทำ วิดีโอเชิญชวนบริจาคเงิน

การพัฒนาฝ่ายเลขานุการ 1. ดำเนินการใช้สารบรรณอิเลคทรอนิกเพื่อเวียนเอกสาร 2. ดำเนินการจัดทำรูปแบบการประชุม e-meeting โดยจัดทำเอกสารอิเลคทรอนิก ในการประชุมคณะผู้บริหารโรงพยาบาล 3. ดำเนินการเร่งรัดการขั้นตอนการจัดทำประกาศให้รวดเร็ว

การพัฒนาฝ่ายโภชนาการฯ 1. ดำรงรักษาคุณภาพอาหารและรสชาติให้ดียิ่งขึ้น 2. พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้รวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบการพัสดุฯ 3. พัฒนาการตรวจรับพัสดุและติดตามงบประมาณการใช้ l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556

การพัฒนาสถานที่ สิ่งเเวดล้อมให้ปลอดภัยและ เอื้อต่อการรักษาพยาบาล (Environmental Excellence) 1. การดำเนินงานด้านสภาพเเวดล้อม อาคาร สถานที่ ดำเนินการเร่งรัดผู้รับเหมา เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องให้สมบูรณ์ระหว่างระยะเวลาประกันการซ่อมและเตรียมการ ตกแต่งภายใน และปรับปรุง 7 อาคาร ได้แก่ 1.1 อาคารจอดรถหลังที่ 3 เร่งรัดแบบตกแต่งภายในทั้ง 15 ชั้น เพื่อดำเนินการตกแต่ง ภายใน ให้ฝ่ายต่างๆ เข้าใช้ 1.2 อาคาร “สก” (ชั้น 20) 1.3 อาคาร “จงกลนี วัฒนวงศ์” 1.4 หอพักพยาบาล 1.5 การปรับปรุงซ่อมแซม 6 อาคาร (ตึก “อาทร” ตึก “วชิราวุธ” ตึก “หลิ่มซีลั่น” ตึก “ปัญจมราชินี” ตึก “สิรินธร” และ ตึก “วชิรญาณวงศ์”) 1.6 งานบันไดเลื่อนและโถงบันไดเลื่อน อาคาร “ภปร” ดำเนินการจัดจ้างผู้รับเหมา เพื่อตกแต่งชั้น 7 และชั้น 8 ส่วนต่อเติมเพื่อ ย้ายห้องผู้ตรวจการ ชั้น M ตึก “ภปร” มาที่ชั้น 7 1.7 หอพักแพทย์ประจำบ้าน เตรียมการจัดตั้งหาบริษัทดูแลรักษาและจัดการหอพัก แพทย์ประจำบ้าน รวมทั้งจัดทำโครงการให้เช่าห้องพักในอาคารหอพักแพทย์ ประจำบ้าน 2. เร่งรัดติดตามงานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 2.1 การก่อสร้าง อาคาร “ภูมิสิริฯ” ประกอบด้วย 2.1.1 เร่งรัดดำเนินงานติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน อ่านต่อหน้า 3

- ฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555

การพัฒนาสถานที่ สิ่งเเวดล้อมให้ปลอดภัยและ เอื้อต่อการรักษาพยาบาล (Environmental Excellence) 1. การดำเนินงานด้านสภาพเเวดล้อม อาคาร สถานที่ ดำเนินการสรุปปิดงาน ตรวจรับ งานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และตรวจสอบบันทึกข้อบกพร่องและแจ้งผู้รับเหมา เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ระหว่างระยะเวลาประกันการซ่อม 7 งาน ได้แก่ 1.1 อาคารจอดรถหลังที่ 3 1.2 อาคาร “สก” (ชั้น 20) 1.3 อาคาร “จงกลนี วัฒนวงศ์” 1.4 หอพักพยาบาล ตรวจรับงานและสรุปค่าปรับ 1.5 การปรับปรุงซ่อมแซม 6 อาคาร (ตึก “อาทร” ตึก “วชิราวุธ” ตึก “หลิ่มซีลั่น” ตึก “ปัญจมราชินี” ตึก “สิรินธร” และ ตึก “วชิรญาณวงศ์”) 1.6 งานบันไดเลื่อนและโถงบันไดเลื่อน อาคาร “ภปร” เปิดใช้เดือนพฤษภาคม 2555 1.7 หอพักแพทย์ประจำบ้าน 2. งานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 2.1 การก่อสร้างอาคารภูมิสิริฯ ประกอบด้วย 2.1.1 ดำเนินการจัดจ้างงานติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน ต้องดำเนินการ ประมูลถึง 3 ครั้ง 2.1.2 จัดจ้างผู้ออกแบบตกแต่งภายใน อาคาร “ภูมิสิริฯ” ครบทั้ง 3 ส่วน เพื่อให้ผู้ตกแต่งภายในเข้าสอบถามความต้องการของผู้จะใช้งาน ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีการประชุมย่อยของผู้ออกแบบกับแต่ละส่วน เป็นจำนวนมาก 2.1.3 ประสานงานพร้อมผู้ตกแต่งภายใน ทีมก่อสร้าง และประชุมกลุ่มย่อย ทุกบ่ายวันจันทร์ อังคาร พุธ รวมทั้ง lead team ก่อสร้าง เพื่อหา ข้อสรุปความต้องการของฝ่ายต่างๆ สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” โดยเฉพาะ ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ โดยให้มีการปรับแบบเฉพาะ สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่วิกฤติ หรือผิดมาตรฐานการักษาเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด 2.1.4 เร่งรัดการก่อสร้าง ติดตามการประสานการก่อสร้างต่างๆ ให้ต่อเนื่อง จนปัจจุบันงานโครงสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 29 ชั้น 2.2 การก่อสร้าง อาคาร “ผู้สูงอายุ” เร่งรัดผู้ออกแบบให้ออกแบบก่อสร้างทุกชั้น เนื่องจากการย้ายสถานที่ก่อสร้างทำให้แบบต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งหมด (แบบเดิมที่กำหนดไว้) ซึ่งแบบเสร็จสมบูรณ์ เดือนกรกฎาคม 2555 จึงสามารถ แบบก่อสร้างทุกชั้นเพื่อเร่งรัดการก่อสร้าง และขออนุมัติคณะรัฐมนตรื ให้ขยาย เวลาก่อสร้างไปถึงเดือนกันยายน 2556 2.3 การก่อสร้าง ตึก “CSSD” กำหนดเสร็จเดือนมกราคม 2555ทั้งนี้ ได้จัดจ้างผู้รับเหมา งานระบบครัวระยะที่ 1 งานระบบซักรีดระยะที่ 1 และงานระบบ CSSD ทั้งหมด 2.4 การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ปลูกสร้างอาคารสาธารณูปโภคส่วนหลัง สถานี ไฟฟ้าย่อย (ระยะที่ 1 เสร็จ) อยู่ระหว่างขุดบ่อ เดินสายไฟใต้ดินเพื่อสามารถ ส่งไฟได้เดือนมิถุนายน 2556 2.5 ปรับปรุง ตึก “อับดุลราฮิม” เร่งรัดมิให้มีผลกระทบ 3. การปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของฝ่ายบริหารงานอาคารเพื่อให้งานซ่อมเร็วขึ้น 4. การดำเนินการโครงการนำร่องจดทะเบียนเครื่องปรับอากาศ และกำหนดการ บำรุงรักษาตามเวลาเพื่อให้เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด 5. พัฒนางานคลังอะไหล่ เพื่อกำหนดระยะเวลาในแต่ขั้นตอนของงานซ่อม และ เป็นพื้นฐานในการประกันเวลาต่อไป 6. ทดลองปรับระบบการรับขยะ เตรียมการจัดตั้งธนาคารขยะ

การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุ 1. ดำเนินโครงการจัดสรรพัสดุคงคลังอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยจัดตั้งคณะทำงาน มีข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1.1 ให้เปลี่ยนไปใช้รหัสหน่วยงานที่จะเบิกจ่ายพัสดุตามรหัสหน่วยงานของศูนย์ ข้อมูลและต้นทุน เพื่อความเป็นเอกภาพและนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ได้ ของ โรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อไป โดยจะเริ่ม 1 ต.ค. 2555

Page 2: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สารสัมพันธ์

2

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ฝ่ายวิชาการ”

- ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555

การคัดเลือก 1. ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธี

รับตรง (โควตาพื้นที่) ปีการศึกษา 2555 มีนิสิตได้รับการคัดเลือกจำนวน 113 คน ประกอบด้วยโครงการ CPIRD 90 คน, ODOD 20 คน และโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา) 3 คน

2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2555 ผ่านระบบรับตรงร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทย (กสพท.)

3. ประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบโครงการ ODOD ปีการศึกษา 2556 ร่วมกับสำนักงานบริหารโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และสถาบันสมทบ

4. ประสานงานการรับสมัคร และตรวจเอกสารการสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรแพทยศสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ผ่านระบบรบตรงของ กสพท.

5. ดำเนินการรับสมัครและตรวจคุณสมบัติผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยาสตร์ โดยวิธรับตรง (โควตาพื้นที่) ปีการศึกษา 2556 จำนวน 7,676 คน จำแนกเป็น

- โครงการ CPIRD ผู้สมัคร 1,671 คน - โครงการ ODOD ผู้สมัคร 269 คน - โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา) ผู้สมัคร 24 คน - โครงการผลิตแพทย์ร่วมกรมแพทย์ทหารอากาศ ผู้สมัคร 5,712 คน

หลักสูตร/การเรียนการสอน 1. รับการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย (หลักสูตรปรับปรุง 2554) (มคอ.2) โดย กสพท. ซึ่งมีมติรับรองหลักสูตร 2. จัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง 2545) ประจำปี 2555 ณ

โรงแรมอมารี พัทยา จังหวัดชลบุรี 3. กำกับและติดตามการดำเนินงานในการบริหารหลักสูตรของเฟส 1, 2, 3 และ 4 4. ประสานงานการจัดการเรียนการสอนชั้นปีที่ 1, 4, 5 5. เยี่ยมและรับฟังปัญหาพร้อมแลกเปลี่ยนข้อหารือเกี่ยวกับการส่งนิสิตเวชปฏิบัติไป

ศึกษาและฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลตำรวจ 6. จัดอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ เยี่ยมนิสิตเวชปฏิบัติที่โรงพยาบาลเครือข่าย 12 แห่ง 7. พัฒนาโปรแกรมรายวิชาเลือก 8. เปิดรายวิชาเลือกใหม่สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 รายวิชา และชั้นปีที่ 6 จำนวน

3 รายวิชา 9. ประสานงานรายวิชาเลือกสำหรับนิสิตที่เลือกไปศึกษาต่างประเทศ

การบริหารการสอบ 1. ผลิต/จัดทำข้อสอบ และจัดสอบข้อเขียนรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร 2. บริหารการจัดสอบเพื่อปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (Comprehensive Basic

Science, Comprehensive Clinical Science และ OSCE) 3. บริหารการจัดสอบเพื่อใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ส่วนของการสอบ MEQ 5. บริหารคลังข้อสอบ (ปัจจุบันโปรแกรมคลังข้อสอบยังไม่นิ่ง)

การพัฒนาวิชาการสำหรับนิสิต 1. ประสานงานโครงการสอนเสริมสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 2. รับสมัครและคัดเลือกนิสิตโครงการเพชรชมพู ปีการศึกษา 2555 มีนิสิตชั้นปีที่ 2 และ

3 สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 16 คน 3. จัดโครงการ “ต้นกล้าแพทย์จุฬาฯ” ในวันที่ 29 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2555

เพื่ออบรมนิสิตแพทย์ ก่อนขึ้นชั้นปีที่ 2 เพื่อเตรียมตัวในการศึกษาแพทย์ทั่วไป และ การปรับตัวเพื่อเป็นแพทย์อย่างมีคุณภาพ มีนิสิตเข้าร่วม 309 คน

4. จัดโครงการ“ข้อมูลในการสมัครแพทย์ใช้ทุน” ในวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ให้แก่นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5

5. จัดโครงการปฐมนิเทศและมอบเสื้อกาวน์แก่นิสิตเวชปฏิบัติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555

6. สนับสนุนนิสิตแพทย์ไปนำเสนอผลงาน ณ ต่างประเทศ - นิสิตแพทย์อภินัทธ์ วงศ์เกียรติขจร ไปนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Cnodom as a

Fashion : Evaluation of Thai youth attitude and behavior, a new approach to fight against HIV” ในการประชุม The xixth International AIDS Conference ประเทศสหรัฐอเมริกา

- นิสิตแพทย์เจตน์ รัตนจีนะ ไปนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง “Exploring factors effecting the decision of newly graduated physicians in choosing future practice areas” ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

งานอาจารย์ที่ปรึกษา 1. จัดหาอาจารย์ที่ปรึกษานิสิตใหม่ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 54 คน 2. จัดกิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิตใหม่และผู้ปกครอง 3. แจ้งผลการเรียนของนิสิตติดวิทยาทัณฑ์/F ไปยังผู้ปกรอง 15 ราย

งานแพทยศาสตรศึกษาและ WHO – SEARO 1. จัดอบรมให้แก่ผู้ดูงานด้านแพทยศาสตรศึกษาจากประเทศเกาหลีจำนวน 9 คน

ระหว่างวันที่ 6 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2555 2. จัดอบรมด้านแพทยศาสตรศึกษาให้แก่คณาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

จำนวน 11 คน ทุกวันอังคาร ระหว่างวันที่ 17 มกราคม – 8 พฤษภาคม 2555 3. สนับสนุนคณาจารย์ไปเข้าร่วมประชุมด้านแพทยศาสตรศึกษา - การประชุม 15th Ottawa Conference ระหว่างวันที่ 9 – 13 มีนาคม 2555

ที่ประเทศมาเลเซีย - การประชุมวิชาการแพทยศาสตรศึกษา ครั้งที่ 11 (CPIRD) ระหว่างวันที่ 19 – 21

กันยายน 2555 ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - การประชุมวิชาการแพทยศาสตรศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่

8 – 9 ตุลาคม 2555 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - การประชุม AMEE 2012 ระหว่างวันที่ 25 – 29 สิงหาคม 2555 ณ เมือง Lyon

สาธารณรัฐฝรั่งเศส - การประชุมแพทยศาสตรศึกษานานาชาติ SEARAME-NCHPE 2012 International

Conference on Health Professions Education ระหว่างวันที่ 5 – 8 กันยายน 2555 ณ เมือง Coimbatore สาธารณรัฐอินเดีย

4. ประชุมทางไกลกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Ludwing Maximilliam University เรื่อง ความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรปริญญาโทด้าน Health professional education

5. ร่างหลักสูตรฝึกอบรมด้านแพทยศาสตรศึกษา (หลักสูตร 4 เดือน และหลักสูตร ระยะสั้น 2 สัปดาห์) คาดว่าจะเปิดหลักสูตรฝึกอบรมได้ในปี 2556

6. จัดประชุม Regional meeting on roles of medical education to address the current health challenges วันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

7. ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม จัดโครงการ Development of regional training program for medical school teachers on public health teaching in undergraduate medical education และประสานงานจัดประชุม Regional consultative meeting on regional training program on public health teaching in undergraduate medical education ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2555 มีผู้เข้าประชุมจาก 8 ประเทศ รวม 29 คน

8. สนับสนุนการเป็นสำนักงานของวารสาร South – East Asian Journal of Medical Education และมีการพัฒนา website ด้วยระบบ OJS เพื่อเพิ่ม ความสะดวกในการดำเนินงานวานสารด้วยระบบออนไลน์ที่ http://www.seajme. digitaljournals.org/index.php/SEAJME โดยองค์การอนามัยโลกให้ความช่วยเหลือสร้างระบบฐานข้อมูล

งานอื่นๆ 1. จัดสัมมนาบุคลากรสายปฏิบัติการหน่วยงานฝ่ายวิชาการ 2. จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันผลิตแพทย์แห่งประเทศไทย

(MSE) รุ่นที่ 13 3. จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการร่วมกับคณะกรรมการบริหารกลุ่มสถาบัน

แพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย 4. รับการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับภาควิชา/หน่วยงาน (ฝ่ายวิชาการ) ประจำปี

การศึกษา 2554 อ่านต่อหน้า 3

Page 3: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สารสัมพันธ์

3ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

2.1.2 เร่งรัดผู้ออกแบบตกแต่งภายใน อาคารภูมิสิริฯ ทั้ง 3 ส่วน ให้ออกแบบ เรียบร้อยเพื่อดำเนินการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง 2.1.3 ประสานงานพร้อมผู้ตกแต่งภายใน ทีมก่อสร้าง รวมทั้ง lead team ก่อสร้าง เพื่อหาข้อสรุปความต้องการของฝ่ายต่างๆ สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ โดยเฉพาะ ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ โดยให้มีการปรับแบบเฉพาะ สิ่งที่ จำเป็น สิ่งที่วิกฤติ หรือผิดมาตรฐานการักษาเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด 2.1.4 เตรียมแผนการย้ายและ แผน logistic 2.2 การก่อสร้าง อาคาร “ผู้สูงอายุ” เร่งรัดการก่อสร้าง ตามแบบที่เสร็จสมบูรณ์เดือน กรกฎาคม 2555 ให้เสร็จในเดือนกันยายน 2556 รวมทั้งประสานเรื่องการใช้งาน ในพื้นที่ต่างๆ 2.3 ตึกผู้ป่วยพิเศษชั้น 1-6 เร่งรัดการย้ายหน่วยงานใน ตึก “อายุรศาสตร์” มาใช้งาน และเตรียมจัดทำกรอบแนวคิดและแผนพัฒนาคลินิกพิเศษและอาคาร 14 ชั้น เสนอต่อ สภากาชาดไทย เพื่อเปิดให้บริการผู้ป่วยในนอกเวลาเพิ่มเติม 2.4 การก่อสร้าง ตึก “CSSD” กำหนดเสร็จเดือนมกราคม 2556 แต่อาจเลื่อนเป็น มีนาคม 2556 เนื่องจากมีการปรับแบบส่วนต่อเติม ทั้งนี้ ได้จัดจ้างผู้รับเหมา งานระบบครัวระยะที่1 งานระบบซักรีดระยะที่ 1 และงานระบบ CSSD ทั้งหมด เตรียมการจัดซื้อเฟอร์นิเจอร์ เพื่อย้าย ฝ่าย CSSD ฝ่ายโภชนวิทยาฯ หน่วยซักรีดฯ งานเวชภัณฑ์ ฝ่ายเวชระเบียน และฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา รวมทั้งเปิดศูนย์ อาหาร ห้องอาหารและโครงการหลวง(เช่นผักปลอดสารพิษโครงการจันกะผัก) 2.5 เร่งรัดการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ปลูกสร้างอาคารสาธารณูปโภคส่วนหลัง สถานี ไฟฟ้าย่อย (ระยะที่ 1 เสร็จ) อยู่ระหว่างขุดบ่อ เดินสายไฟใต้ดินเพื่อสามารถส่งไฟได้ เดือนมิถุนายน 2556 2.6 ปรับปรุง ตึก “อับดุลราฮิม” เร่งรัดมิให้มีผลกระทบ 3. ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของฝ่ายบริหารงานอาคารเพื่อให้งานซ่อมเร็วขึ้น 4. ดำเนินการโครงการนำร่องจดทะเบียนเครื่องปรับอากาศ และกำหนดการบำรุงรักษา ตามเวลาเพื่อให้เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด 5. พัฒนางานคลังอะไหล่เพื่อกำหนดระยะเวลาในแต่ขั้นตอนของงานซ่อม และเป็น พื้นฐานในการประกันเวลาต่อไป 6. ทดลองปรับระบบการรับขยะเตรียมการจัดตั้งธนาคารขยะ

การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุ 1. ดำเนินโครงการจัดสรรพัสดุคงคลังอย่างมีหลักเกณฑ์โดยจัดตั้งคณะทำงาน มีข้อสรุป ที่สำคัญดังนี้ 1.1 ให้เปลี่ยนไปใช้รหัสหน่วยงานที่จะเบิกจ่ายพัสดุตามรหัสหน่วยงานของศูนย์ข้อมูล และต้นทุนเพื่อความเป็นเอกภาพและนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ได้ของ โรงพยาบาลต่อไป โดยจะเริ่ม 1 ต.ค. 2555 1.2 กำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกของของหน่วยงานต่างๆ แยกใหญ่ๆ เป็นวัสดุสิ้นเปลือง กับวัสดุคงทนถาวรเกณฑ์ในเบื้องต้นที่จะเอามาคิด เช่นต้องคืนซาก, ลักษณะของ หน่วยงาน (back, front, service, non-service, IPD, OPD, ICU, OR, etc) จำนวนเจ้าหน้าที่ส่วนพื้นฐานที่ต้องได้รับ, ส่วน spare เป็นต้น 2. ประเมินกระบวนการอนุมัติชำรุด/หมดความจำเป็น และการจำหน่ายพัสดุของ โรงพยาบาล ซึ่งได้ดำเนินการแบบใหม่มาประมาณหนึ่งปีแล้ว แต่ยังไม่คล่องตัวเท่าที่ควร อยู่ระหว่างการเสนอให้มีการปรับปรุง เช่น การให้หน่วยงานมีกรรมการชำรุด/หมด ความจำเป็น และกรรมการจำหน่ายพัสดุของตัวเอง

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ฝ่ายบริหาร” และ “ฝ่ายการคลัง” ต่อจากหน้า 1

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ฝ่ายวิชาการ” 5. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการผลิตแพทย์ร่วมระหว่างจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และกองทัพอากาศ 6. พิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอนรางวัล “อาจาริยมิตต์”

ประจำปี 2555 7. ตรวจสอบการจบการศึกษาหลักสูตร พบ. ตามคำขอจากสถาบัน/หน่วยงานในประเทศ/

ต่างประเทศ 109 ราย 8. ผลิตเอกสารการเรียนการสอนให้ภาควิชา/หน่วยงานมากกว่า 2,000,000 แผ่น 9. ต้อนรับสถาบันที่มาเยี่ยม - สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี วันที่ 4 มกราคม 2555 - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 15 – 16 มีนาคม 2555

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556

“โครงการ” ของฝ่ายวิชาการที่คาดว่าจะดำเนินการในปี 2556 1. โครงการรับนิสิตในกลุ่มประเทศอาเซียน (เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา) เข้าศึกษาใน

หลักสูตร พบ. 2. โครงการเปิดรายวิชาในระดับปริญญาบัณฑิตสำหรับนิสิตนานาชาติ 3. โครงการหลักสูตรปริญญาโทด้าน Health Professional Education ร่วมกับ

คณะครุศาสตร์ 4. โครงการจัดประชุมผู้ปกครองของนิสิต นิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อการมีส่วนร่วม

ของผู้ปกครองในการพัฒนานิสิตเพื่อบรรลุ outcome ของหลักสูตร 5. โครงการ Clinico-pathophysiological conference สำหรับนิสิตแพทย์

6. โครงการเพชรชมพู

3. การดำเนินงานของ Non-medical equipment Team สำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” มีการเตรียมการรายการพัสดุที่จะต้องจัดซื้อสำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” ซึ่งเท่ากับความ ต้องการทั้งหมด ลบด้วยพัสดุที่รวมอยู่ในรายการตกแต่งภายใน ลบด้วยรายการพัสดุ ที่มีอยู่ที่ตึกเดิมที่จะนำไปใช้ต่อ โดยเริ่มจากการสำรวจครุภัณฑ์และวัสดุคงทนถาวรของ โรงพยาบาล

การพัฒนาเรื่องประชาสัมพันธ์ 1. ประสานการจัดทำประชาสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ และ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 2. จัดตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อทำแผนประชาสัมพันธ์ เชิงรุก โดยเน้นความเป็นเลิศทางด้านการบริการทางการแพทย์ (Excellent center) และความทันสมัย การให้ความรู้ทางการแพทย์ การให้ข้อมูลกรณ์การแพทย์เรื่อง เหตุการณ์ปัจจุบัน และ เรื่องที่มีผลกระทบเชิงลบกับโรงพยาบาล 3. จัดทำวิดีโอเชิญชวนบริจาคเงิน

การพัฒนาฝ่ายเลขานุการ 1. ดำเนินการใช้สารบรรณอิเลคทรอนิกเพื่อเวียนเอกสาร 2. ดำเนินการจัดทำรูปแบบการประชุม e-meeting โดยจัดทำเอกสารอิเลคทรอนิก ในการประชุมคณะผู้บริหารโรงพยาบาล 3. ดำเนินการเร่งรัดการขั้นตอนการจัดทำประกาศให้รวดเร็ว

การพัฒนาฝ่ายโภชนาการฯ 1. ดำรงรักษาคุณภาพอาหารและรสชาติให้ดียิ่งขึ้น 2. พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้รวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบการพัสดุฯ 3. พัฒนาการตรวจรับพัสดุและติดตามงบประมาณการใช้

- ฝ่ายการคลัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. ปรับปรุงระบบการจัดสรรเงินงบประมาณและระบบเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ 2. ปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลให้ครบถ้วนตรวจสอบได้ 3. บริหารระบบอัตราค่าบริการและดำเนินโครงการพัฒนาความสมบูรณ์ของเวชระเบียน 4. ระดมทุนสำหรับ อาคาร “ภูมิสิริฯ” ได้แก่ o โครงการบูชาสักการะวัตถุมงคลของโรงพยาบาล o โครงการ 120 ปีกาชาด “ต่างใจเดียวกัน” o ของบประมาณเงินกู้ DPL เพิ่มเติมจาก กระทรวงการคลัง l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการเงินการบัญชีและพัสดุ (CDG) เตรียมความพร้อมในการ

ใช้ระบบการเงินสามมิติเชื่อมโยงกับ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย 2. พัฒนาระบบการเงินการบัญชีของคลินิกพิเศษผู้ป่วยนอก รองรับระบบจ่ายตรงและ

เงินเชื่อต้นสังกัดต่างๆ 3. เริ่มใช้ระบบ FAX Claim ในหอผู้ป่วยพิเศษ 4. ดำเนินโครงการระดมทุนและจัดหารายได้เพิ่มต่อเนื่อง

ต่อจากหน้า 2

Page 4: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สารสัมพันธ์

4

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ภาควิชา/ฝ่าย” การบริการทางห้องปฏิบัติการ 1. ทำการตรวจวิเคราะห์ทาง เคมีคลินิก โลหิตวิทยา และ ตรวจปัสสาวะ ให้ผู้ป่วยในและ

ผู้ป่วยนอก ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวนรวม 2,579,673 การทดสอบ

2. ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ได้รับการต่ออายุ ใบรับรองความสามารถทางห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO 15189 จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

3. ให้บริการเจาะเลือดแก่ประชาชนทั่วไป ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

4. ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ได้รับการเยี่ยมสำรวจเพื่อต่ออายุการรับรอง (Re-accreditation Survey) HA จาก สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

5. ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ได้รับ การเยี่ยมสำรวจโดยผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน ตามระบบ ISO 15189 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 การเรียนการสอน 1. ประเมินผลและนำผลการประเมินมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนการสอน

ในทุกรายวิชาที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบการเรียนการสอน จำนวน 4 รายวิชา อย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ

2. เพิ่ม Section ในรายวิชา Laboratory Interpretation & Practice Laboratory Medicine ในเดือนกุมภาพันธ์

3. จัดทำคู่มือปฏิบัติการสำหรับนิสิต 4. ประเมินผลและปรับแผนการสอนในรายวิชาอื่นๆ ที่คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีส่วนร่วม

สอนอีก 10 รายวิชา ในคณะฯ รวมทั้ง 9 รายวิชา นอกคณะฯ และนอกมหาวิทยาลัย

การวิจัย 1. ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยของคณาจารย์ใน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ

บุคลากร ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 2. มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ระดับชาติ และ นานาชาติ อย่างต่อเนื่อง

การบริการทางห้องปฏิบัติการ 1. ปรับปรุงระบบการตรวจวิเคราะห์ทาง เคมีคลินิก โลหิตวิทยา และ ปัสสาวะ ให้มี

ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ตามดัชนีชี้วัดทางคุณภาพที่ตั้งไว้ 2. เตรียมความพร้อมรับ การตรวจรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 15189 โดย กรม

วิทยาศาสตร์การแพทย์ ในเดือนเมษายน 2556 3. เตรียมความพร้อมเข้ารับ การตรวจรับรองสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขา

พยาธิวิทยาคลินิก จาก ราชวิทยาพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย 4. ให้บริการเจาะเลือดแก่ประชาชนทั่วไป ในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 เนื่องในวันเฉลิม

พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 5. ให้บริการเจาะเลือดแก่ประชาชนทั่วไป ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 เนื่องในวันเฉลิม

พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - พยาธิวิทยา l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. พัฒนาการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ โดยจัดให้มีการประชุมความพร้อมของอาจารย์

และแพทย์ประจำบ้านก่อนการสอนปฏิบัติการของนิสิตแพทย์ปีที่ 3 ทุกครั้ง และจัดเต็มอาจารย์และแพทย์ประจำบ้านชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน

2. โครงการสัมมนาภาควิชาเรื่องการประเมินผลที่ดี และการวิเคราะห์ข้อสอบ 3. เป็นปีแรกของหัวหน้าภาคคนใหม่และมีแพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ใช้ทุน เต็มจำนวน

โควตา 4. จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรและงานของภาควิชา โดยสรุปภายใต้คำสำคัญ 4 คำ คือ

ผูกพัน กลมเกลียว สัมพันธ์ และ คารวะ

งานวันพยาธิวิทยา จุฬาฯ รำลึก ปี 2555 วันที่ 30 มีนาคม 2555 ณ ห้องสัมมนาภาควิชาพยาธิวิทยา ตึก “อปร” (ชั้น 12) ผูกพัน ... ได้จัดงานวันพยาธิวิทยาจุฬาฯ รำลึก ครั้งที่ 1 อาจารย์ผู้ใหญ่และพี่ๆ เจ้าหน้าที่ได้กลับมาร่วมในงาน ศิษย์เก่าและแพทย์ประจำบ้าน นิสิตปริญญาโท ได้มารวมกลุ่มกันร่วมกับบุคคลากรของภาควิชาฯ ...

รดน้ำขอพรครูบาอาจารย์

- กุมารเวชศาสตร์ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 - งานประกวดสุขภาพเด็ก (เดือนธันวาคม 2554 – มีนาคม 2555) - งานพิธีเปิดห้องเรียนสก.10 และ ห้องประชุมสก.11 ณ ตึก “ สก ” (วันที่ 31 มกราคม 2555) - การจัดอบรมระยะสั้นประจำปีภาควิชากุมารเวชศาสตร์ (วันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2555) - งานเกษียณอายุราชการ (วันที่ 18 กันยายน 2555) - งานผู้มีอุปการคุณ “ปันภาพฝัน ปันสุขให้น้อง” (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555)

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 - งานประกวดสุขภาพเด็ก (เดือนธันวาคม 2555 – มีนาคม 2556) - การจัดอบรมระยะสั้นประจำปีภาควิชากุมารเวชศาสตร์ (เดือนสิงหาคม 2556) - งานเกษียณอายุราชการ (เดือนกันยายน 2556) - จุลชีววิทยา l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 ด้านการเรียนการสอน ภาคจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย 4 หน่วยตามสาขาวิชา ได้แก่ หน่วยแบคทีเรียวิทยา หน่วยราวิทยา หน่วยไวรัสวิทยา และ หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา โดยมี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญประจำสาขาต่างๆ จัดการเรียนการสอนให้กับ นิสิต คณะแพทยศาสตร์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาโรคติดเชื้อ นิสิต และ นักศึกษา จาก สถาบันต่างๆ เช่น นักศึกษาพยาบาล สภากาชาดไทย นักศึกษาพยาบาลตำรวจ นิสิตเทคนิคการแพทย์ จาก หลายสถาบัน และสอน นิสิต ระดับ บัณฑิตศึกษา หลักสูตร สหสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ มีการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมในการจัดโครงการอบรมทางวิชาการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ อบรมเชิงปฏิบัติการ Chula International Workshop PEP 2012 Protein Expression & Purification Strategies และ อบรมทางวิชาการ เรื่อง การตรวจวิเคราะห์ทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก

ด้านวิจัย • อาจารย์ ของ ภาควิชาฯ ได้รับ ทุนวิจัยทั้งแหล่งทุนภายในและภายนอก ในปี 2555 • มีการผลิตผลงานวิจัย ดังนี้ o ผลงานวิจัยที่จดอนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ ชุดตรวจโปรตีนของ ไวรัสฮิวแมนแปปิโลมา ชนิด 16 โดยวิธีการรวบรวมกลุ่มของอนุภาคนาโนทองคำ o มีการตึพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระดับนานาชาติ จำนวน 20 บทความ o นำเสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 4 เรื่อง

ด้านบริการทางการแพทย์ มีส่วนร่วมในการบริการตรวจทางห้องปฎิบัติการสำหรับผู้ป่วยของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ ์ทั้งแผนกผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน และหน่วยงานต่างๆ จากภายนอก รวมทั้งผู้ตรวจสุขภาพเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ

กิจกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมภายใน ภาควิชาจุลชีววิทยา เพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของไทย เช่น งานรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ งานวันเกษียณอายุราชการ เป็นต้น - เวชศาสตร์ชันสูตร l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 การเรียนการสอน 1. จัดการเรียนการสอน ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับแผนการสอนใน

รายวิชา Clinical Hematology and Systemic Infection, Laboratory Interpretation และ Practice Laboratory Medicine

2. จัดทำ ตำราพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical Pathology) พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง 3. ประเมินผลและปรับแผนการสอนในรายวิชาอื่นๆ ที่คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีส่วนร่วม

สอนอีก 10 รายวิชา ในคณะฯ รวมทั้ง 9 รายวิชา นอกคณะฯ และนอกมหาวิทยาลัย

การวิจัย 1. ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยของคณาจารย์ใน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ

บุคลากร ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 2. มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ระดับชาติ และ นานาชาติ อย่างต่อเนื่อง

บริการวิชาการ 1. นิสิต คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ นิสิต คณะสหเวชศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เป็นแหล่งเยี่ยมชมดูงานจากองค์กรภายนอก ได้แก่ • คณะผู้บริหาร จาก โรงพยาบาลมหานครเชียงใหม่ • นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม • ผู้บริหาร โรงพยาบาลมิตรภาพ นครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว • Dr.ZHANG Wei แพทย์จาก Kunming Medical University ประเทศสาธารณรัฐ

ประชาชนจีน

Page 5: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สารสัมพันธ์

5ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ภาควิชา/ฝ่าย” สัมมนาระดับภาควิชา ปีงบประมาณ 2555 เรื่อง “การพัฒนาคลังข้อสอบภาควิชาพยาธิวิทยา” วันที่ 17-19 สิงหาคม 2555 ณ ห้องสัมมนาภาควิชาพยาธิวิทยา ตึก “อปร” (ชั้น 12) และ ไร่กุสุมา รีสอร์ท อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กลมเกลียว ... ในงานสัมมนาที่ไร่กุสุมา มวกเหล็ก พวกเราสนุกสนานกันมาก พร้อมใจกันฝากอายุคนละ 18 ปี ไว้ที่ภาควิชา เล่นเกมส์ ร้องเพลง ชื่นชมธรรมชาติ และ อิ่ม... โครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง “การพัฒนาทักษะในการสื่อสาร” วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องสัมมนาฝ่ายพยาธิวิทยา ตึก “อปร” (ชั้น 12) สัมพันธ์ .. จัดให้มีการอบรมการสื่อสารที่ดี ปรมาจารย์บุคลิกภาพและการสื่อสาร คุณครูศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์.. เป็นวิทยากรให้กับพวกเรา นำเรื่องปัญหามาตีแผ่ให้เราเกิดปัญญา บุคลากรของภาคไหว้สวยและพูดเพราะ... โครงการสัมมนาระดับฝ่ายพยาธิวิทยา เรื่อง “การพัฒนางานแต่ละหน่วยงานของฝ่ายพยาธิวิทยา” วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ คารวะ .. พวกเราได้ไปเที่ยวเมืองโบราณและขอไปเยี่ยมท่านอาจารย์สนั่น รังรักษ์ศิริวร ที่บ้าน แสดงความคารวะ เป็นสิริมงคล ท่านอาจารย์ดีใจ พวกเราอิ่มท้อง..

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. พัฒนาการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ จะเปิดตัวเต็มรูปแบบของห้องสมุดสไลด์ 2. โครงการต่างๆที่คิดโดยบุคลากรของภาควิชา อาทิ one day one word, ขยับกาย

สบายจิต เป็นต้น จะได้เริ่มต้นนับหนึ่ง 3. หัวหน้าตื่นเต้นเข้าสู่ปีที่ 2 โดยแพทย์ประจำบ้าน/ แพทย์ใช้ทุนเต็มอัตราโควต้า 2 ปีซ้อน 4. กิจกรรมในปีนี้ อยู่ในคำสำคัญ คือ สี่ รัก ได้แก่ รักพยาธิวิทยา รักเพื่อนร่วมงานรักตัวเอง

และ รักการออม - เวชศาสตร์ฟื้นฟู

l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 ด้านการเรียนการสอน 1. หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต • สอนนิสิตแพทย์ชั้นปี 4 รายวิชา Principle of Rehabilitation Medicine • สอนนิสิตแพทย์ชั้นปี 5 รายวิชา Care for Critical, Chronic and Terminal

Illness และ Traumatology and Surgical Emergency • สอนนิสิตแพทย์ชั้นปี 6 รายวิชาเลือก Rehabilitation for Common

Musculoskeletal Pain 2. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้นปีละ 6 คน 3 ชั้นปี

สำเร็จการศึกษา 6 คน 3. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 1 คน ชั้น

ปีที่ 2 จำนวน 6 คน 4. นิสิตแพทย์จากต่างประเทศมา elective จำนวน 2 คน

ด้านการวิจัย 1. จำนวนงานวิจัยที่ลงตีพิมพ์ระดับชาติ 1 เรื่อง ระดับนานาชาติ 3 เรื่อง 2. จำนวนงานวิจัยที่นำเสนอผลงานระดับชาติ 0 เรื่อง ระดับนานาชาติ 3 เรื่อง 3. จำนวนทุนวิจัย ทุนภายใน 4 ทุน จำนวนเงิน 521,730 บาท ทุนภายนอก 2 ทุน

จำนวนเงิน 924,920 บาท 4. จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) จำนวน 30 เรื่อง จำนวน 46 ครั้ง

ด้านการบริการวิชาการ 1. แพทย์ประจำบ้านต่างสาขา / สถาบัน มาดูงาน จำนวน 37 คน 2. นิสิตกายภาพบำบัดมาฝึกงาน 11 คน 3. นิสิตกิจกรรมบำบัดมาฝึกงาน 2 คน

4. นิสิตกายอุปกรณ์มาฝึกงาน 2 คน 5. หน่วยงานที่มาดูงานด้านต่างๆ 12 หน่วยงาน 6. จัดประชุมวิชาการ 3 เรื่อง

ด้านการบริการทางวิชาชีพ 1. จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู • ผู้ป่วยนอก • OPD “ภปร” (ชั้น 5) 24,929 คน • ตึก “เจริญสมศรี” และ “เวชศาสตร์ฟื้นฟู” 19,334 คน 80,263 ครั้ง • ผู้ป่วยในรับปรึกษา 11,690 คน 61,982 ครั้ง 2. จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกเฉพาะทางต่างๆ • ตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย 931 คน 931 ครั้ง • คลินิกเท้าเบาหวาน 755 คน 786 ครั้ง • คลินิกฝังเข็ม 200 คน 267 ครั้ง • คลินิกฟื้นฟูทางมือ 379 คน 379 ครั้ง • คลินิกเด็กออทิสติก 75 คน 425 ครั้ง • คลินิกฟื้นฟูหัวใจ-ปอด 104 คน 227 ครั้ง • คลินิกลดเกร็ง 451 คน 451 ครั้ง

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 - โครงการรองเท้าผู้สูงอายุ - โครงการสร้างเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่นโรคหลอด

เลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคปวดข้อไหล่ - โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเช่น การฝึกใช้ภาษาอังกฤษ การพัฒนา

บุคลิกภาพ - เภสัชวิทยา

l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รับผิดชอบงานผลิตบัณฑิตแพทย์ มหาบัณฑิตและ ดุษฏีบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยา ร่วมกับการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมทั้งให้บริการวิชาการสู่สังคม ในรอบปี พ.ศ. 2555 มีผลงานสรุปได้ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน สอนวิชาเภสัชวิทยาแก่นิสิตแพทย์ 300 คน นักศึกษาพยาบาล 180 คน และนิสิตบัณฑิตศึกษาหลักสูตรต่างๆ 50 คน

ด้านการวิจัย 2.1 ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ 5 เรื่อง 2.2 ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ พัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อนำไปสู่การรักษาโรคต่างๆ ทางคลินิก

ด้านงานบริการวิชาการ 3.1 ให้บริการวิชาการด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่บุคลากรสาธารณสุข 23 ครั้ง 3.2 ร่วมกับ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา

คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 34 สมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย วันที่ 22-24 มีนาคม 2555 ภายใต้หัวข้อหลัก Novel Targets for Drug Actions

3.3 ร่วมกับ ฝ่ายวิจัย จัดอบรมเรื่อง การพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการในระบบ OECD:GLP และ ISO:IEC 17025 สู่มาตรฐานอาเซียน (ASEAN HARMONIZATION) วันที่ 17 ธันวาคม 2555

3.4 จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ในงานกาชาดประจำปี 2555 วันที่ 29 มีนาคม – 6 เมษายน 2555 เรื่อง การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ

3.5 บริการศึกษาชีวสมมูลของ 3 ตำรับ 3.6 บริการวิชาการแพทยศาสตร์ศึกษา 27 ครั้ง

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 ด้านการเรียนการสอน 1. พัฒนาการเรียนการสอนสู่สากลโดยเพิ่มรายวิชาที่เปิดสอนภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิต

ศึกษา 2. จัดการทรัพยากรการศึกษาเพือสนับสนุนการการเรียนรู้ของนิสิตโดยเพิ่มการผลิตสื่อ

การสอน online

ด้านการวิจัย 1. จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้าน stem cell ร่วมกับห้องปฏิบัติการวิจัย

เซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

2. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ Chula Pharmacokinetic Research Center ไปสู่ระบบมาตรฐาน OECD:GLP

ด้านงานบริการวิชาการ ให้บริการการศึกษาชีวสมมูลตามระบบมาตรฐาน OECD:GLP 5 ตำรับ

อ่านต่อหน้า 8

Page 6: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สารสัมพันธ์

6

- เทคโนโลยีสารสนเทศ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (สามารถรองรับการ

ควบคุมอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายได้ 500 ตัว)

รูป A แสดงอุปกรณ์ควบคุมอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

1.1 ติดตั้งอุกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย เพื่อรองรับการเรียนการสอน เพิ่มเติมจำนวน 25 ตัวสามารถรองรับการใช้งานได้เพิ่ม 6,250 คน ใน อาคาร “อปร” และ อาคาร “แพทยพัฒน์”

รูป B แสดงอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

1.2 ติดตั้ง Switch Gigabit 24 Ports 10/100/1000 Base-T จำนวน 2 ตัว เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สายจำนวน 25 ตัว

รูป C แสดงอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. ติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบไอพี ที่ อาคาร “อปร” จำนวน 109 ตัว

รูป D แสดงเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบไอพี

รูป E แสดงอุปกรณ์บันทึกภาพระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบไอพี

รูป F แสดงห้องควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบไอพีแบบรวมศูนย์

ทาง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบไอพีจำนวน 109 ตัว ทั้งภายในและภายนอก อาคาร “อปร” และได้ติดตั้งระบบมอนิเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิดทั้งหมด อาทิเช่น เครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์บันทึกภาพแบบไอพีและอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 3. จัดซื้อเครื่อง New iPad เพื่อใช้งานสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน

รูป G แสดงเครื่อง New iPad สำหรับใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่อง New iPad จำนวน 200 เครื่องและโปรแกรมเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับนิสิตแพทย์ปี 3 ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มีความสะดวกในแสดงความคิดเห็นทั้งนิสิตแพทย์และอาจารย์ ตลอดจนการประเมินผล และการทดสอบแบบต่างๆ

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “หน่วยงาน”

4. ปรับปรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องเรียนและ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

รูป H แสดงเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในสำหรับการเรียนการสอนและการประชุม

ศูนย์ทเคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงจำนวน 100 เครื่อง เพื่อรองรับการเรียน การสอน การประชุมและการฝึกอบรมต่างๆ ให้กับนิสิตแพทย์ อาจารย์ และ บุคลากร ภายใน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. ระบบเส้นทางสำรองของระบบอินเทอร์เนตไปยังมหาวิทยาลัย (Internet Network

Redundant) 2. ระบบบริหารจัดการ DNS/DHCP 3. ระบบบริหารจัดการผู้ใช้งานเครือข่าย (AD System) 4. ระบบดับเพลิงศูนย์ข้อมูลเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ (Fire Extinguishing System.) 5. ระบบป้องกันภัยบนเว็บไซด์ (Web Security) 6. ระบบป้องกันภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Firewall) 7. จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในห้องเรียนและสำรองการใช้งานต่างๆ

จำนวน 100 เครื่อง 8. จัดซื้ออุปกรณ์กระจายภาระงาน (Load Balance) 9. ปรับปรุงระบบ LAN ภายในคณะฯ (LAN System) - นวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. จัดทำโครงการ Interactive Classroom โดยจัดหาคอมพิวเตอร์ Tablet ให้นิสิตใช้

ในห้องเรียน มี Application ในการโต้ตอบกับผู้สอน 2. พัฒนา ระบบการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หัตถการด้วยตัวเอง รวมถึง

ปรับปรุงระบบบันทึกภาพและเสียงของศูนย์ฝึกทักษะฯ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. รวบรวมข้อมูลการเข้า Electronic journal เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 4. พัฒนาระบบการใช้ E-learning ให้สามารถใช้ได้ในทุก platform การใช้งาน ทั้ง

คอมพิวเตอร์ Tablet และ Smart phone

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. Tablet ในการเรียนการสอน 2. พัฒนาระบบป้องกันและดูแลเครือข่าย internet คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 3. พัฒนาระบบเรียน online 4. New Library model 5. พัฒนาระบบให้บริการศูนย์ฝึกผ่าตัด - พัฒนาคุณภาพการศึกษา l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ด้านการพัฒนาเพื่อความเป็นนานาชาติในหลายประการ ได้แก่ ประการแรก เป็นเรื่องการนำผลการดำเนินการของคณะแพทยศาสตร์มารายงานเพื่อรับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานของชาติทั้งในระดับ สกอ. และ สมศ. ซึ่งผลการดำเนินงานของคณะฯ ได้รับการประเมินอยู่ในระดับดีมากคือ ได้คะแนน 4.91จาก 5 คะแนน และ 4.95 จาก 5 คะแนน ตามลำดับ ผลการประเมินทั้งสองเป็นการยืนยันคุณภาพงานของคณะแพทยศาสตร์ในระดับชาติได้เป็นอย่างดี ประการที่สอง ได้มุ่งขยายผลเรื่องการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินพันธกิจหลักของคณะฯ ให้สำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมาย มีการสร้างเครือข่ายคุณภาพทั้งภายในคณะฯ และเครือข่ายระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดสัมมนาเรื่องเครือข่ายคุณภาพ จัดอบรมเจ้าหน้าที่ในการทำหน้าที่เลขานุการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา หน้าที่เลขานุการในฐานะผู้ช่วยผู้บริหาร ตลอดจนเปิดโอกาสให้ระดับหัวหน้างานได้เข้าอบรมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในเรื่องเทคนิคในการบริหารงาน การวางแผนกลยุทธ์และการเป็นหัวหน้างานที่ดี ประการที่สาม ดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารให้กับคณาจารย์ที่มีหน้าที่ในการบริหารด้วยการสนับสนุนให้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในเรื่องของการบริหาร และทำความเข้าใจกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการทำงานที่ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ ประการที่สี่ พัฒนาปรับปรุงระบบเอกสารสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นมิตรกับผู้ใช้มากที่สุดรวมทั้งการจัดการอบรมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการประเมิน ประการที่ห้า ดูแลระบบฐานข้อมูลของคณะฯ ให้มีการกรอกข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ อย่างครบถ้วน

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะการพัฒนาคู่มือการเขียนรายงานให้ใช้งานได้ดีขึ้นและพัฒนาแบบการเขียนรายงานการดำเนินงานตามกลุ่มสถาบันที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและใช้งานได้ง่าย รวมถึงการใช้งานของสถาบันสมทบทั้ง 3 แห่งด้วย มีแผนปรับตัวชี้วัดในระบบฐานข้อมูล

Page 7: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สารสัมพันธ์

7ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “หน่วยงาน” ที่กำหนดให้หน่วยงานและภาควิชากรอกให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นต้องได้รับข้อมูลจากหน่วยงานและภาควิชาเท่านั้น รวมถึงจัดทำปฏิทินสำหรับกำหนดการกรอกข้อมูลให้ชัดเจนและปฏิบัติ ได้จริง เตรียมการณ์สำหรับส่งผลการดำเนินงานเข้าขอรับรางวัลระดับชาติ และยังคงมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพในการทำงานให้เกิดคุณภาพอย่างแท้จริง และที่ขาดไม่ได้คือ ดำเนินการเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในทั้งในระดับคณะและภาควิชาประจำปีการศึกษา 2555 เพื่อให้ผลการประเมินเป็นเครื่องยืนยันความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชาว คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ประจักษ์โดยทั่วกัน - วิรัชกิจ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 - ความร่วมมือทางวิชาการ - ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ - ความร่วมมือในงานด้านการศึกษา - ประสานงานจัดประชุมหารือกับสถาบันต่างประเทศ - การรับแพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ - การส่งแพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องไปต่างประเทศ - ทุนการศึกษาดูงานในต่างประเทศ - การศึกษาดูงานจากหน่วยงานจากต่างประเทศ ประเทศที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

มีความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน เนเธอแลนด์ ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. ความร่วมมือทางวิชาการ - ขยายความร่วมมือ ครอบคลุมสถาบันหลักในภูมิภาค ASEAN - ดำเนินการด้านความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันชั้นนำทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง 2. การรับแพทย์ นิสิตแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากต่างประเทศ 3. การส่งแพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องไปต่างประเทศ 4. ทุนการศึกษาดูงานในต่างประเทศ 5. ขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยวิรัชกิจ ให้สามารถรับภาระงานที่จะเพิ่ม

มากขึ้นในอนาคต - จุฬาลงกรณ์เวชสาร l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 หน่วยจุฬาลงกรณ์เวชสาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบายในการจัดทำและเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแพทย์ให้กว้างขวาง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา และการให้บริการทางการแพทย์ และเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการแก่สังคม ตลอดจนเป็นสื่ออย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาต่อเนื่องสำหรับแพทย์ ทางหน่วยฯ มีผลงานที่ผ่านมาในรอบปี 2555 ดังนี้ 1. Asian Biomedicine (วารสารระดับนานาชาติ) จำนวน 6 ฉบับ มีจำนวนต้นฉบับ

ลงตีพิมพ์ตามรายละเอียดดังนี้ Editorial 4 เรื่อง Review Article 5 เรื่อง Original Article 54 เรื่อง Brief Communication 47 เรื่อง Clinical Report 11 เรื่อง Others 2 เรื่อง 2. จุฬาลงกรณ์เวชสาร (วารสารระดับชาติ) จำนวน 6 ฉบับ มีจำนวนต้นฉบับลงตีพิมพ์

ตามรายละเอียดดังนี้ Editorial 5 เรื่อง Special Article 5 เรื่อง Original Article 27 เรื่อง Case Report 6 เรื่อง Review Article 6 เรื่อง Modern Medicine 12 เรื่อง Abstract 5 เรื่อง Book Review 3 เรื่อง

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 หน่วยจุฬาลงกรณ์เวชสาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบาย ในการจัดทำและเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแพทย์ให้กว้างขวาง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา และการให้บริการทางการแพทย์ และเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการแก่สังคม ตลอดจนเป็นสื่ออย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาต่อเนื่องสำหรับแพทย์ ปี 2556 ทางหน่วยฯ คาดว่าจะมีดำเนินการดังนี้ 1. Asian Biomedicine (วารสารระดับนานาชาติ) จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งเป็นวารสารของ

ประเทศไทยปรากฏในฐานข้อมูล ISI, Scopus, Chemical Abstracts โดยวารสารนี้ได้จัดทำเป็น Open Journal Online System และมีเป้าหมายที่ปรากฎในฐานข้อมูล PubMed ต่อไป

2. จุฬาลงกรณ์เวชสาร (วารสารระดับชาติ) จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งเป็นวารสารของประเทศไทยปรากฏในฐานข้อมูล Index Medicus (South East Asian Region) และฐานข้อมูล Thai - Journal Citation Index Centre (TCI) ซึ่งได้ผ่านการรับรองคุณภาพ เป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึง ธันวาคม 2557 และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป

- แพทยศาสตรศึกษา l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 การพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ เป็นหน้าที่สำคัญของ หน่วยแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งรับผิดชอบในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่คณาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการประเมินผล และการทำความเข้าใจกับการพัฒนาหลักสูตร หรือระบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสังคม

หน่วยแพทยศาสตรศึกษา ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ ได้แก่ การประเมินผล Outcome ให้แก่คณาจารย์ปรีคลินิกของคณะฯ การเป็นวิทยากรรับเชิญเรื่องการประเมินผลให้ภาควิชาจักษุวิทยา รวมไปถึงการบริการวิชาการโดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานภายนอก เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งได้มีโอกาสรับเชิญเป็นวิทยากรให้สถาบันอื่นโดย รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ และ หัวหน้าหน่วยแพทยศาสตรศึกษา เป็นวิทยากรในการอบรมอาจารย์ใหม่ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยากรในหัวข้อเฉพาะเรื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติที่จัดโดยสถาบันอื่น เช่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นอกจากการจัดอบรมแล้ว หน่วยแพทยศาสตรคึกษา ได้จัดสรรทุนสนับสนุนให้คณาจารย์ไปเข้าประชุมแพทยศาสตรศึกษาทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น การประชุม แพทยศาสตรศึกษา แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การประชุม The 15th Ottawa Conference: Assessment of Competence in Medicine and the Healthcare Professions ที่ประเทศมาเลเซีย การประชุมแพทยศาสตรศึกษานานาชาติ SEARAME-NCHPE 2012 International Conference on Health Professions Education ในหัวข้อ Social Accountability ที่สาธารณรัฐอินเดีย และการประชุม AMEE 2012: Incorporating the 4th SIFEM Conference ที่เมืองลีออง ประเทศฝรั่งเศส ในการทำหน้าที่เป็น WHO Collaborating Center for Medical Education หน่วยแพทยศาสตรศึกษา ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมและดูงานให้แก่คณาจารย์ชาวต่างประเทศ ได้แก่ แพทย์จากเกาหลี พม่า และเวียดนาม และให้ความร่วมมือกับ WHO Regional Office for South-East Asia ในการจัดประชุม Regional Meeting on Role of Medical Education to Address the Current Health Challenges มีผู้บริหารและเครือข่ายองค์กรแพทยศาสตรศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมประชุม และได้จัดการประชุม Regional Consultative Meeting เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูแพทย์ด้านการสอน Public Health สำหรับโรงเรียนแพทย์ในภูมิภาค รวมทั้งการดำเนินงานเป็น กองบรรณาธิการวารสารนานาชาติ South-East Asian Journal of Medical Education รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความ งานวิจัยด้านแพทยศาสตรศึกษา จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 หน่วยแพทยศาสตรศึกษา มีแผนงานที่จะดำเนินการ ได้แก่ - การจัดหลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะเรื่อง ให้แก่คณาจารย์ภายในคณะฯ ได้แก่ เรื่องการประ

เมินผลการเรียนการสอนทางคลินิก การประเมินการเขียน log book หรือ การตัดเกรด เป็นต้น

- การจัดทำหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาโท Master of Sciences in Health Professional Education เป็นหลักสูตรนานาชาติ

- การจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ด้านแพทยศาสตรศึกษาสำหรับคณาจารย์แพทย์จากประเทศภูฏาน จำนวน 4 รุ่น ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2556

- การจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับคณาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- การจัดประชุมคณะกรรมการบริหาร South-East Asian Regional Association for Medical Education

- การจัดโครงการ Training of Trainers ด้านการสอน Public Health ในโรงเรียนแพทย์ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

- การสนับสนุนให้คณาจารย์คณะฯ ไปเข้าร่วมการประชุมแพทยศาสตรศึกษาระดับชาติ และนานาชาติ

- หอสมุด l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. เป็นห้องสมุดโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทยที่จัดซื้อ ebook ของ UCentral

และมีผู้สร้าง account เพื่อดาวโหลดหนังสือเพื่อใช้ทาง smart phone มากที่สุด 2. ขยายเวลาเปิดบริการเพื่อให้สมาชิกได้ศึกษาหนังสือตำราใกล้สอบ 4 ม.ค. – 12 เม.ย., 14

พ.ค.-15 มิ.ย., 16 ก.ค.-14 ต.ค., 19 พ.ย.-21 ธ.ค 2555 โดยจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ 8.00-24.00 น. และ เสาร์-อาทิตย์ เปิดบริการ 09.00-20.00 น.

3. เปิดบริการทุกวันหยุดราชการ ยกเว้น วันหยุดสงกรานต์และปีใหม่ โดยเปิดบริการ 9.00-17.00 น.

4. เริ่มปรับปรุง อาคาร “หอสมุด” เป็น อาคาร “หอสมุดและพิพิธภัณฑ์” 5. บรรณารักษ์ และ ผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ University of Malaya เยี่ยมชมหอสมุด 6. จำนวนหนังสือที่จัดซื้อตลอดปี 669 เล่ม จำนวนผู้ใช้ตลอดปี 231,611 คน จำนวนการ

ยืมคืน 13,375 ครั้ง บริการดาวโหลดเอกสาร 5,916 บทความ 7. จำนวน ebooks 996 รายชื่อ ejournals 2,430 รายชื่อ journal back file 347

รายชื่อ ฐานข้อมูล 9 ฐาน

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. กำหนดช่วงเวลาขยายเวลาใกล้สอบที่แน่นอน ดังนี้ 15 มกราคม-31 มีนาคม, ตลอด

เดือนพฤษภาคม, กรกฎาคม, กันยายน, พฤศจิกายน 2. เปิดบริการทุกวันหยุดราชการ ยกเว้น สงกรานต์และปีใหม่ 3. อาคารหอสมุด ปรับปรุงแล้วเสร็จประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อม • ลิฟท์โดยสาร 2 ตัว - ระบบรับคืนหนังสืออัตโนมัติภายนอกอาคาร • ระบบยืมหนังสือด้วยตนเอง - ประตูปีกนกเพื่อ screen บุคคลภายนอก • โรงหนังพร้อมร้านกาแฟ

Page 8: โครงการที่จะทำ.. - pr.md.chula ...pr.md.chula.ac.th/sansampan/2012/12-2.pdf · (ชีววิทยา) 3 คน 2. ดำเนินการจัดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๔ ปักษ์หลัง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สารสัมพันธ์

8

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ภาควิชา/ฝ่าย”

สรุปงานที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 ... โครงการที่จะทำ พ.ศ. 2556 ... “ศูนย์ประชาสัมพันธ์”

ผลิต

เผยแ

พร่

ประช

าสัมพ

ันธ์

คณะแ

พทยศ

าสตร

์ จุฬาฯ

ตึก

อานัน

ทมหิด

โทรศ

ัพท์ (0

2) 25

6 418

3, 25

6 446

2 โท

รสาร

(02)

252 5

959

http

://ww

w.m

d.ch

ula.ac

.th

http:/

/www

.face

book

.com/

prmdc

u.pr

http:/

/www

.twitte

r.com

/prm

dcu

E-m

ail :

pr@

md.

chula

.ac.th

,

prm

dcu@

gmail

.com

โรงพย

าบาล

จุฬาล

งกรณ

์ ตึก

อำนว

ยการ

โทรศ

ัพท์ (0

2) 25

6 440

9, 25

6 426

0 โท

รสาร

(02)

256 4

368

http:/

/www

.chula

longk

ornho

spita

l.go.t

h

ต่อจากหน้า 5

- รังสีวิทยา l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา ในรอบปี 2555 มี งานด้านการเรียนการสอน การวิจัย และ งานด้านบริการทางการแพทย์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสอนในระบบ Integration ร่วมกับภาควิชาอื่นๆ ในระดับปริญญาบัณฑิต งานสอนแพทย์ประจำบ้าน หลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูง งานสอนแพทย์ประจำบ้านต่อยอดหลักสูตรแพทยสภา/โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งานสอนนิสิตปริญญาโท หลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ และงานสอนหลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูงสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ งานที่ผ่านมาในปี 2555 มีดังนี้ 1. นิสิต หลักสูตร ปริญญาบัณฑิตชั้นสูง สอบผ่านวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญในการ

ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ในปีการศึกษา 2554 ทั้งหมด และนิสิต ดังกล่าวมีงานทำทั้งหมด

2. งานด้านการบริการทางวิชาการ/วิชาชีพสู่สังคม อาจารย์และบุคลากร ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการ, กรรมการวิทยานิพนธ์ทั้งต่างคณะและต่างสถาบันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แพทย์/บุคลากรจากสถาบันต่าง ๆ มาฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้น รวมทั้งนิสิตแพทย์จากต่างประเทศเลือกมาฝึกอบรมวิชาเลือกทุกปีและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

3. งานบริการทางการแพทย์ • สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางรังสีและภาพวินิจฉัยอื่น

รวมทั้งรังสีร่วมรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยระบบดิจิตอลอย่างครบวงจร พยายามลดขั้นตอนการใช้ฟิลม์โดยนำระบบ PACS มาให้บริการเพื่อให้การบริการผู้ป่วยมีความรวดเร็ว นอกจากนี้ทางสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ได้ให้บริการด้านการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI) ที่ตึก 14 ชั้น ซึ่งมีเครื่อง MRI จำนวน 2 เครื่อง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่ไม่ต้องคอยคิวนาน

• สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ให้บริการรักษาผู้ป่วยทางด้านการฉายรังสี, เคมีบำบัด, การใส่แร่, การตรวจโรคและติดตามผล, Tumor registry การให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มเป็นเทคนิคการรักษาที่ซับซ้อนเป็นการฉายรังสีตามขอบเขตของก้อนมะเร็งแบบ 3 มิติ หลีกเลี่ยงบริเวณอวัยวะปกติทำให้ลดผลแทรกซ้อน การรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิค 4 มิติ เป็นการรักษาตามจังหวะการหายใจที่กำหนดใช้ในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณที่มีการเคลื่อนที่ เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา มีเครื่อง MRI Simulator เป็นเครื่องกำหนดเป้าหมายการฉายรังสีด้วย MRI เป็นเครื่องมือชนิดใหม่เป็นเครื่องแรกของประเทศไทยและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้จัดโครงการถ่ายภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มาทำการรักษาเพื่อวางแผนการรักษาด้วยรังสี

โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 – 31 ธันวาคม 2555 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่สมเด็กพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนม์มายุ 80 พรรษา

• สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสี เช่น การตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูก (Bone Scan) การตรวจด้วยเครื่อง PET/CT การรักษาภาวะต่อมไทยรอยด์เป็นพิษ และมะเร็งต่อมไทยรอยด์ด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (1 – 131) การรักษาอาการปวดกระดูกจากการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูกทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดกระดูกลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4. งานด้านการพัฒนาบุคลากร ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรได้มีโอกาสศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในสายวิชาชีพทั้งภายในและต่างประเทศ

- ศัลยศาสตร์ l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. ให้การดูแลรักษาพยาบาลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยศัลยกรรมทุกระดับทางด้านศัลยกรรมทั่วไป

ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมทรวงอกหัวใจและหลอดเลือด ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง และกุมารศัลยกรรม แบบครบวงจร

2. ให้การศึกษาอบรมทางด้านศัลยกรรม 3. สร้างงานวิจัย 4. พัฒนางานบริหาร เสริมสร้างสามัคคี 5. พัฒนาสภาพแวดล้อมและสวัสดิการ

l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 1. ให้บริการทางการแพทย์ รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรคและส่งเสริมสุข

ภาพผู้ป่วยศัลยกรรม ให้มีคุณภาพระดับสากล โดยมีความเสียงน้อยทีสุด และความพึงพอใจสูงสุดเท่าที่จะทำาได้ โดยที่พยายามให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้

2. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาล ฝึกอบรม ค้นคว้าวิจัย และบริการวิชาการ สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการทางด้านศัลยกรรม เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากรในฝ่ายศัลยกรรม

l สรุปงานที่ผ่านมา ปี 2555 1. ประชาสัมพันธ์ภายใน n โครงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชนิดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 31 งาน o สื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย Billboard, Cutout, Poster,

Rollup, Handbill และ Banner n Newsletter o Spotlight 28 ฉบับ (ตามเหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่เป็นเรื่องเด่น ณ ตอนนั้น ) o สารสัมพันธ์ 24 ฉบับ เดือนละ 2 ฉบับ (ปักษ์แรก – ปักษ์หลัง)

12 เดือน (มกราคม - ธันวาคม)

2. ประชาสัมพันธ์ภายนอก n กิจกรรมที่ เผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์และอื่นๆ โดยทาง

สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ Free TV Cable TV รวมทั้งสิ้น 287 ข่าว o Press Conference 5 งาน o Release 270 ข่าว o Activity 12 งาน n Social Network o Facebook 445 ข่าว n Website 284 ข่าว n ถ่ายภาพ 185 งาน l โครงการที่จะดำเนินการ ปี 2556 โครงการจัดทำ “Group e-mail” โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ n อาจารย์ n เจ้าหน้าที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ n เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Billboards - 31 งาน

Spotlight - 28 ฉบับ

สารสัมพันธ์ - 24 ฉบับ

Facebook - 445 ข่าว