ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค...

50
9-1 มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ หน่วยที9 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน อาจารย์ธนัท ศรีวิชัย อาจารย์จาตุรนต์ บุณยธนะ ชื่อ อาจารย์ธนัท ศรีวิชัย วุฒิ ตำแหน่ง หน่วยที่เขียน หน่วยที ่9 ชื่อ อาจารย์จาตุรนต์ บุณยธนะ วุฒิ ตำแหน่ง หน่วยที่เขียน หน่วยที ่9

Upload: others

Post on 30-Oct-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-1

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หน่วย ที่ 9ปัญหา สิ่ง แวดล้อม ใน ภาค อุตสาหกรรม และ พลังงาน

อา จาร ย์ ธนัท ศรี วิชัย

อาจารย์ จา ตุ รนต์ บุณย ธนะ

ชื่อ อาจารย์ธนัทศรีวิชัย

วุฒ ิ

ตำแหน่ง

หน่วยที่เขียน หน่วยที่9

ชื่อ อาจารย์จาตุรนต์บุณยธนะ

วุฒ ิ

ตำแหน่ง

หน่วยที่เขียน หน่วยที่9

Page 2: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-2

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แผนผัง แนว หน่วย ที่ 9

9.1.1 สาระสำคัญและแนวคิดอันเกี่ยวเนื่อง

กับนโยบายสิ่งแวดล้อม

9.1.2 นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

9.1.3 กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

9.1.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม

ในภาคอุตสาหกรรม

9.2.1 สาระสำคัญและแนวคิดเกี่ยวกับนโยบาย

พลังงาน

9.2.2 นโยบายพลังงานของประเทศไทย

9.2.3 กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน

9.2.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพลังงาน:

กรณีศึกษาการสำรวจและผลิต

ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ทับซ้อน

ไทย-มาเลเซีย

ปัญหา

สิ่งแวดล้อมใน

ภาคอตุสาหกรรม

และพลังงาน

9.1 นโยบายและ

การบังคับใช้กฎหมาย

สิ่งแวดล้อมใน

ภาคอุตสาหกรรม

9.2 นโยบายและ

การบังคับใช้

กฎหมายพลังงาน

Page 3: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-3

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หน่วย ที่ 9

ปัญหา สิ่ง แวดล้อม ใน ภาค อุตสาหกรรม และ พลังงาน

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่9.1 นโยบายและการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

9.1.1 สาระสำคัญและแนวคิดอันเกี่ยวเนื่องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม

9.1.2 นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

9.1.3 กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

9.1.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

ตอนที่9.2 นโยบายและการบังคับใช้กฎหมายพลังงาน

9.2.1 สาระสำคัญและแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายพลังงาน

9.2.2 นโยบายพลังงานของประเทศไทย

9.2.3 กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน

9.2.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพลังงาน:กรณีศึกษาการสำรวจและผลิต

ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย

แนวคิด1. การลงทุนทางด้านธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมส่งผลโดยตรงต่ออัตราการเติบโตทาง

เศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้สภาพอากาศน้ำ และดินใน

ปัจจุบันนั้นของประเทศไทยถูกปนเปื้อน และก่อให้เกิดปัญหาชุมชนเสื่อมโทรม สาเหตุ

สำคัญประการหนึ่งคือในการดำเนินการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเจ้าของธุรกิจไม่ได้

ให้ความสำคัญกับการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน

ทุกคนในสังคมไทยดังนั้นภาครัฐได้มีการออกนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งตรา

กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้นำกลไกการทำรายงานผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม (Environmental ImpactAssessment: EIA) เข้ามาบัญญัติไว้ เพื่อ

สร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเอาไว้ด้วยทำให้ผลประโยชน์

ด้านสิ่งแวดล้อมเกิดความสมดุลในบริบทของการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจ

2. พลังงานเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกประเทศในสังคมโลกนอกจากนี้

จะปฏิเสธไม่ได้ว่าพลังงานได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนส่วนมากในการ

ดำเนินชีวิตประจำวัน ภาคธุรกิจและประชาชนขาดการเข้าถึงทางพลังงานซึ่งประกอบไป

ด้วยไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซ จะส่งผลให้เกิดความชะงักในการที่จะดำเนินการต่างๆทาง

Page 4: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-4

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ธรุกจิดงันัน้ทกุๆประเทศทัว่โลกรวมทัง้ประเทศไทยกอ่ให้เกดิปญัหาตา่งๆในการดำเนนิ

ชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนมากภาครัฐจึงมีความจำเป็นในการออกนโยบายพลังงาน

รวมทั้งตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเพื่อที่จะเพิ่มหลักประกันในการเข้าถึงแหล่งพลังงาน

และเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับภาคธุรกิจและประชาชน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่9จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายแนวคิดและความสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

2. วิเคราะห์ถึงนโยบายรวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

เพื่อทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการบังคับใช้ดังกล่าวได้

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่9

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่9

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่9

4)ศึกษาเนื้อหาสาระ

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่9

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่ง วิทยาการ1.สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่9

2)หนังสือและเอกสารประกอบการสอน

2.1 เอกสารการสอนชดุวชิากฎหมายสิง่แวดลอ้มมหาวทิยาลยัสโุขทยัธรรมาธิราช

2.2 เอกสารประกอบการสัมมนาแถลงผลการดำเนินการ โครงการศึกษาความ

เหมาะสมในการออกกฎหมายกำกับพลังงานทดแทน เมื่อวันที่ 23มิถุนายน

พ.ศ.2554มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Page 5: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-5

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2.3 การศกึษาความเหมาะสมการศกึษาผลกระทบสิง่แวดลอ้มการประชาสมัพนัธ์

และประชาพิจารณ์โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อภูมิพล โดยบริษัท

ปัญญาคอนซัลแตนท์จำกัดบริษัทเซ้าท์อี๊สท์เอเชียเทคโนโลยีจำกัดบริษัท

โพเทนเชียลเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแท้นส์จำกัดฉบับเดือนมิถุนายน2549

2.4 กรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน พื้นที่ พัฒนา ร่วม ไทย-มาเลเซีย

http://www.dmf.go.th/index.php?act=petroleum&sec=co-area

2.5 นโยบายพลังงานwww.eppo.go.th

2.6 ปรีชา เปี่ยมพงศ์ศานต์ (2542) เศรษฐศาสตร์ สิ่ง แวดล้อม และ การ จัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติ กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.7 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยมาบตาพุดwww.tei.or.th/publications/2011-

download/2011-Maptaphut.pdf

2.8 โสมสกาว เพชรรานนท์ (2553) เศรษฐศาสตร์ สิ่ง แวดล้อม สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2.9 อำนาจวงศ์บัณฑิตย์(2550)กฎหมาย สิ่ง แวดล้อมโรงพิมพ์วิญญูชน

2.10 DanielYergin,(1991).The Prize The Prize: The Epic Quest for Oil,

Money, & Power.Freepress:NewYork.

2.11 DieterHelm, (2007).New Energy Paradigm.OxfordUniversity

Press:NewYork.

2.12 GrossmanM.GeneandAlanB.Krueger,“EconomicGrowthand

theEnvironment”in5Quar.J.Econ.112(2007)pp.353-377.

2.13 Malaysia-ThaiJointAuthority,Availableathttp://www.mtja.org/

aboutus.php(LastvisitedonJanuary11,2012).

2.14 WorldEnergyOutlook 2009,Available at http://www.iea.org/

textbase/npsum/weo2009sum.pdf (LastVisited on January 11,

2012).

3)หนังสือที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การ ประเมิน ผล การ เรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ในภาคการศึกษา

Page 6: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-6

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แบบ ประเมิน ผล ตนเอง ก่อน เรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเรื่อง “ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาค

อุตสาหกรรมและพลังงาน”

คำ แนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้นักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินผล

ชุดนี้30นาที

1. จงวิเคราะห์ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

2. จงวิเคราะห์ถึงปัญหาทางด้านพลังงานในประเทศไทย

Page 7: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-7

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 9.1

นโยบาย และ การ บังคับ ใช้ กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม ใน ภาค อุตสาหกรรม

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่9.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัว เรื่องเรื่องที่9.1.1 สาระสำคัญและแนวคิดอันเกี่ยวเนื่องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่9.1.2 นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

เรื่องที่9.1.3กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

เรื่องที่9.1.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

แนวคิด1. การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมส่งผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ แต่

ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะอันกระทบต่อประชากรของประเทศโดยรวม

ภาครัฐจึงได้ออกนโยบายควบคุมการเกิดมลภาวะจากการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม

และในการนี้รัฐได้ออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมโดยขึ้นมาโดยบัญญัติกลไกสำคัญในการ

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้หลายประการหนึ่งในนั้นคือการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดมลภาวะเป็นพิษจากภาคอุตสาหกรรม

2. นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยมุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสิ่งแวดล้อมจากการ

ถูกทำลายซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ สำหรับนโยบายสิ่งแวดล้อมอันเกี่ยวเนื่องกับ

การปฏิบัติงานของภาคอุตสาหกรรมมุ่งจำกัดและลดปริมาณการปล่อยมลพิษสู่ธรรมชาติ

และนอกจากนี้ยังมุ่งปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนรวมถึงเปิด

โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมต่อ

สิ่งแวดล้อม

3. กฎหมายอนัเปน็กลไกสำคญัของรฐัเพือ่ให้บรรลุผลดงัที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายสิง่แวดลอ้ม

ของชาติถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติส่งเสริม

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

4. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม

อนัเกดิจากการลงทนุทางดา้นอตุสาหกรรมที่เหน็เดน่ชดัปญัหาหนึง่ก็คอืปญัหาสิง่แวดลอ้ม

ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

Page 8: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-8

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่9.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายถึงความสัมพันธ์ของภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของรัฐต่อ

ความสัมพันธ์ดังกล่าว

2. อธิบายถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภาค

อุตสาหกรรมได้

3. อธิบายถึงกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจาก

ภาคอุตสาหกรรมได้

4. วิเคราะห์ถึงปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับการ

ควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้

Page 9: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-9

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.1.1 สาระ สำคัญ และ แนวคิด อัน เกี่ยว เนื่อง กับ นโยบาย

สิ่ง แวดล้อม

สาระ สังเขปเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงภาครัฐได้ออกนโยบายและกฎหมายขึ้นมาเพื่อสร้าง

ความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ ดังนั้นนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศจึง

ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในประเทศไทยอันเป็นผลดีต่ออัตราการเติบโต

ทางเศรษฐกิจของชาติ แต่ปัญหาที่เติบโตมาควบคู่กันคือปัญหาสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษทาง

ด้านต่างๆ อันส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรภายในประเทศทั้งหมด โดยปัญหาอาจก่อให้เกิด

ผลกระทบในระยะยาวหากภาครัฐไม่ยื่นมือเข้ามาสร้างมาตรการในการแก้ไขอย่างจริงจังแต่Grossmanand

Kruger เชื่อว่ารัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาดังกล่าวจะค่อยๆลดลงไปเองเมื่อประเทศ

มีความมั่นคงและมีทรัพยากรมากเพียงพอ1

ในกรณีของประเทศไทยรัฐได้เลือกที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยได้ออกนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม

ขึน้มาเพือ่ดแูลรกัษาสิง่แวดลอ้มภายในประเทศควบคู่ไปกบัการออกนโยบายเพือ่พฒันาเศรษฐกจิของประเทศ

ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญเพื่อบรรลุผลตามที่ได้กำหนดไว้ใน

นโยบายดังกล่าว และเพื่อควบคุมปริมาณมลภาวะอันเกิดจากการกระทำของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน

เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมคือ นโยบายสิ่งแวดล้อมในการกำหนดให้มีการทำรายงานการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม(EnvironmentalImpactAssessment:EIA)ซึ่งได้มีการนำกลไกในการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพ.ศ.2535

การทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันปัญหาผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำกลไกในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เข้ามาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.

2518 โดยได้นำรูปแบบและโครงสร้างในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่ง

ได้คิดและริเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)และในปีพ.ศ.2524รัฐบาลได้มีการออกประกาศกระทรวง

กำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นฉบับแรก

ซึ่งกำหนดให้โครงการพัฒนาจำนวน 10ประเภทต้องจัดทำรายงานฯต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการตรา

พระราชบัญญัติส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ

ดังกล่าวในปีพ.ศ.2552ได้มีการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดประเภท

และขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานฯ รวม 34 ประเภทโครงการรายละเอียดดังภาคผนวก ก จึง

กล่าวได้ว่าระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการนำมาใช้และขยายไปมากขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของ

1GrossmanM.GeneandAlanB.Krueger,“EconomicGrowthandtheEnvironment” in5Quar. J. Econ.

112(2007)p.357.

Page 10: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-10

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

สาระหรือองค์ประกอบของรายงาน การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะพิจารณา

องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตซึ่งในองค์ประกอบด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต

ได้ครอบคลุมประเด็นด้านสาธารณสุขรวมทั้งชีวอนามัยไว้ด้วย

และในปี พ.ศ. 2535นี้เองนานาชาติได้มีการจัดประชุมU.N.Conference onEnvironment

andDevelopmentณกรุงริโอเดอจาเนโรโดยให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ของมนุษย์เพื่อการพัฒนา

ที่ยั่งยืน(SustainableDevelopment)โดยให้ความสำคัญกับการมีคุณภาพชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดีและได้อยู่

อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดีและจากข้อมูลผลการศึกษาระดับนานาชาติเรื่องInternationalStudyonthe

Effectiveness of EnvironmentalAssessmentค.ศ. 1997 ระบุว่าการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

และการประเมินผลกระทบทางสังคมยังไม่ได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญอย่างเพียงพอในการประเมิน

ผลกระทบของโครงการ โดยพบว่าผลการศึกษาด้านผลกระทบทางสุขภาพแนวโน้มมุ่งเน้นในด้านเยียวยา

รักษาหรือแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการมากกว่าการจัดหามาตรการป้องกันไว้เป็นส่วนหนึ่ง

ของการดำเนินโครงการอย่างเหมาะสมและมีความตระหนักกันมากขึ้นว่าการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในระดับนานาชาติได้มีการกล่าวถึงและ

เรียกร้องให้มีการให้ความสำคัญกับประเมินผลกระทบทางสังคม และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

มากขึ้นในประเทศไทยได้เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสถาบันวิจัย

ระบบสาธารณสุขภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โดยมีการพิจารณารูปแบบของระบบการประเมินผลกระทบ

ทางสขุภาพในเชงิกระบวนการเรยีนรู้ของสงัคมและเปน็ระบบที่ไม่ได้รวมอยู่ในกระบวนการประเมนิผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม

ภายหลังจากการเคลื่อนไหวของประเทศต่างๆทั่วโลกเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากลไกในการ

พัฒนารูปแบบการจัดทำกลไกในการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเทศไทยได้มีการประกาศ

ใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อการรักษา

ควบคุมมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมบนหลักการที่คำนึงถึงดุลยภาพของธรรมชาติอันได้แก่สัตว์พืชและ

ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆและสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นซึ่งตรงนี้หมายความรวมถึงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมด้วย

อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพของประชาชนและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติแต่ก็ได้ผลักดันให้

มีมาตรการด้านการส่งเสริมให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เช่น การบัญญัติเรื่องการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เรื่องกองทุนสิ่งแวดล้อมและที่มีผลต่อพัฒนาการด้านนโยบาย

และแผนโดยตรงคือการกำหนดให้มีการจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางของนโยบายในระยะยาวและการให้เริ่มมีแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การดำเนินงานตามนโยบายหรือการแปลง

นโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบนั่นเอง

Page 11: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-11

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นแผนหลักของประเทศไทย

ได้กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใน

แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และ

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2550ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่19มีนาคม2550ได้กำหนดในมาตรา11

ว่า“บุคคล หรือ คณะ บุคคล มี สิทธิ ร้องขอ ให้ มี การ ประเมิน และ มี สิทธิ ร่วม ใน กระบวนการ ประเมิน ผลก ระ ทบ

ด้าน สุขภาพ จาก นโยบาย สาธารณะ” และ “บุคคล หรือ คณะ บุคคล มี สิทธิ ได้ รับ รู้ ข้อมูล คำ ชี้แจง และ เหตุผล

จาก หน่วย งาน ของ รัฐ ก่อน การ อนุญาต หรือ การ ดำเนิน โครงการ หรือ กิจกรรม ใด ที่ อาจ มี ผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ

ของ ตน หรือ ของ ชุมชน และ แสดง ความ เห็น ของ ตน ใน เรื่อง ดัง กล่าว”

สำนกังานนโยบายและแผนทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มจงึเหน็ความสำคญัในการดำเนนิงาน

ตามแผนดงักลา่วในปงีบประมาณ2550สำนกังานนโยบายและแผนทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มได้รบั

อนุมัติให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้โดยมีแนวคิดว่าในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

จะให้ความสำคัญกับประเด็นทางด้านสุขภาพได้มากขึ้นอย่างไรและผู้เกี่ยวข้องจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้

ทั้งนี้ได้มีการประชุมหารือร่วมกับกรมอนามัยกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

(สช.) และเห็นชอบในหลักการร่วมกันว่า สำหรับบริบทประเทศไทยการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ

สุขภาพในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นวิธีการที่ปฏิบัติได้ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่

วันที่24สิงหาคมพ.ศ.2550ได้ระบุในมาตรา67ว่า“สิทธิ ของ บุคคล ที่ จะ มี ส่วน ร่วม กับ รัฐ และ ชุมชน ใน การ

อนุรักษ์ บำรุง รักษา และ การ ได้ ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติ และ ความ หลาก หลาย ทาง ชีวภาพ และ ใน การ

คุ้มครอง ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม เพื่อ ให้ ดำรง ชีพ อยู่ ได้ อย่าง ปกติ และ ต่อ เนื่อง ใน สิ่ง แวดล้อม

ที่ จะ ไม่ ก่อ ให้ เกิด อันตราย ต่อ สุขภาพ อนามัย สวัสดิภาพ หรือ คุณภาพ ชีวิต ของ คน ย่อม ได้ รับ ความ คุ้มครอง

ตาม ความ เหมาะ สม”และโดยเฉพาะวรรคสองของมาตราดังกล่าวได้ระบุชัดเจนว่า“การ ดำเนิน โครงการ หรือ

กิจกรรม ที่ อาจ ก่อ ให้ เกิด ผลก ระ ทบ ต่อ ชุมชน อย่าง รุนแรง ทั้ง ทาง ด้าน คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาต ิ

และ สุขภาพ จะ กระทำ มิได้ เว้น แต่ จะ ได้ ศึกษา และ ประเมิน ผลก ระ ทบ ต่อ คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม และ สุขภาพ

ของ ประชาชน ใน ชุมชน และ จัด ให้ มี กระบวนการ รับ ฟัง ความ คิด เห็น ของ ประชาชน และ ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ก่อน

รวม ทั้ง ได้ ให้ องค์การ อิสระ ซึ่ง ประกอบ ด้วย ผู้ แทน องค์การ เอกชน ด้าน สิ่ง แวดล้อม และ สุขภาพ และ ผู้ แทน

สถาบัน อุดมศึกษา ที่ จัดการ การ ศึกษา ด้าน สิ่ง แวดล้อม หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ด้าน สุขภาพ ให้ ความ เห็น

ประกอบ ก่อน มี การ ดา เนิน การ ดัง กล่าว”ขณะที่วรรคสามได้ระบุว่า“สิทธิ ชุมชน ใน การ ที่ จะ ฟ้อง หน่วย ราชการ

หน่วย งาน ของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ ส่วน ท้อง ถิ่น หรือ องค์กร อื่น ของ รัฐ ที่ เป็น นิติบุคคล เพื่อ ให้ ปฏิบัติ หน้าที่

ตาม บทบัญญัติ นี้ ย่อม ได้ รับ ความ คุ้มครอง”

ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไข

ตามคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ซึ่งได้มีการประชุมหารือเพื่อปรับปรุงแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Page 12: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-12

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

โดยนัยนี้ทำให้ประเทศไทยมีกระบวนการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนปฏิบัติการ และสามารถติดตาม

ประเมินผลได้ครบวงจรของการวางแผนด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในเอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราชหน่วยที่ 1 โดยอาจารย์พนัสทัศนียานนท์หน้า 1-3ถึงหน้า 1-16และ เศรษฐศาสตร์

สิ่งแวดล้อมโดยโสมสกาวเพชรรานนท์หน้า7ถึงหน้า15)

กิจกรรม 9.1.1

จงอธิบายถึงสาระสำคัญและแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาคอุตสาหกรรมกับ

สิ่งแวดล้อมและบทบาทของภาครัฐในเรื่องดังกล่าว

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.1.1

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.1 กิจกรรม 9.1.1)

Page 13: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-13

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.1.2 นโยบาย สิ่ง แวดล้อม ของ ประเทศไทย

สาระ สังเขป

1. นโยบาย ตาม แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 10 โดยแต่ละฉบับมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ

พัฒนาและปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของ

โลกสำหรับภาคอุตสาหกรรมนั้นนอกจากที่จะพิจารณาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแล้วยังคงต้องพิจารณาถึง

นโยบายของรัฐอันเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะการดำเนินการของภาคอุตสาหกรรมนั้นคงปฏิเสธ

ไม่ได้ว่าส่งผลกระทบทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ

2. นโยบาย ของ รัฐบาลนโยบายของคณะรัฐมนตรีสมัยนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี

นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1) คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดินทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี

ทรพัยากรทางทะเลและชายฝัง่รวมทัง้ฟืน้ฟูอทุยานทางทะเลอยา่งเปน็ระบบเรง่จดัทำแนวเขตการใช้ประโยชน์

ที่ดินโดยจัดประเภทที่ดินระหว่างของรัฐและเอกชนให้ชัดเจนเร่งประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์กำหนดเขตและ

ส่งเสริม การปลูกป่า ป่าชุมชน เพิ่มฝายต้นน้ำลำธารและฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมป่า

เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสมป้องกันการเกิดไฟป่า ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างจริงจัง ส่งเสริม

การปลูกหญ้าแฝก เพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน ลดการใช้สารเคมี และฟื้นฟูดินในบริเวณพื้นที่

ที่มีปัญหารวมทั้งจัดระบบบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเพื่อตอบสนองความ

ต้องการของภาคเศรษฐกิจและการอุปโภคบริโภค

2) คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลาย

ทางชีวภาพโดยสำรวจจัดทำระบบฐานข้อมูลอนุรักษ์พัฒนาและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทาง

ชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารพลังงานสุขภาพและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานภูมิปัญญา

และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการแบ่งผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งให้ความคุ้มครองเพื่อให้เกิดความ

ปลอดภัยทางชีวภาพ

3) จัดให้มีระบบการป้องกันรวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ

โดยนำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเตือนภัยพิบัติพัฒนาระบบฐานข้อมูลและ

ติดตั้งระบบเตือนภัยและจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยง

Page 14: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-14

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ต่อภัยพิบัติอันเกิดจากภาวะโลกร้อนเช่นน้ำท่วมแผ่นดินหรือโคลนถล่มน้ำแล้งตลอดจนธรณีพิบัติและ

เกิดคลื่นยักษ์ในทะเลเป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

3. นโยบาย คณะ กรรมการ สิ่ง แวดล้อม แห่ง ชาตินโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดเป็นนโยบายและ

แนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะยาว 20 ปี จากพ.ศ. 2540 ถึง 2559 เนื่องด้วย

ลักษณะงานการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องใช้เวลา และมีความต่อเนื่องในการดำเนินงานจึงจะ

สัมฤทธิผล ในการพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางในช่วงจากปีพ.ศ. 2540ถึงปี 2559นั้นนอกจาก

จะได้คำนึงถึงความสำคัญรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและความจำเป็นในการฟื้นฟูส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานดังกล่าวแล้ว ก็ยังได้คำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญอย่างอื่นที่จะมี

บทบาทเกี่ยวข้องเป็นตัวแปรในช่วง20ปีกล่าวคือ

1) ประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในฐานะผู้ทำการผู้บริโภคอุปโภคและผู้อาศัย

2) เทคโนโลยีซึ่งจะนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆทั้งการผลิตการสื่อสารการคมนาคมการบริการการ

ขจัดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมรักษา

3) บทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในทุกระดับ ซึ่งจะมีส่วนในการบริหารและการจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตลอดจนการเฝ้าระวังและการสร้างจิตสำนึก

ของชุมชน

4) บทบาทขององค์กรเอกชนในการมีส่วนร่วมในหน่วยงานระดับต่างๆในงานด้านสิ่งแวดล้อมโดย

เฉพาะการเฝ้าระวังและการสร้างจิตสำนึกของประชาชนและการระดมกำลังอาสาสมัครงานด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายและแผนการการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2540-2559ได้จัดทำ

ขึ้นตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้บัญญัติไว้ในมาตรา

13(1)กล่าวคือ

3.1คณะกรรมการผู้มีอำนาจ ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เสนอเพื่อ

ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี องค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินี้ บทบัญญัติ

ในมาตรา 12 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็น

รองประธานคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธาน

คนที่สอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

เกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเลขาธิการ

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนผู้อำนวย

การสำนักงบประมาณ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่เกินแปดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรี

แต่งตั้งเป็นกรรมการ ในจำนวนนี้จะต้องมีผู้แทนภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และมีปลัด

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการนโยบายและแผนการส่งเสริม

Page 15: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-15

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติดังกล่าวจึงได้รับการพิจารณาตรวจสอบและกลั่นกรองมาแล้วอย่าง

กว้างขวางเป็นขั้นตอนจากทุกฝ่ายก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ

3.2 ระยะเวลาในการดำเนินการ ระยะเวลาของนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา13(1)ที่ได้กำหนดไว้เป็นช่วง20ปีนั้นนอกจากจะได้คำนึงถึงลักษณะงาน

ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังได้คำนึง

ถึงรูปแบบและวิธีการที่จะถ่ายทอดนโยบายและแนวทางที่กำหนดไว้ในช่วง 20ปีไปดำเนินการโดยจัดทำ

เป็น “แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 35 และมาตรา 36 และจัดทำ

เป็น“แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด” ในมาตรา37มาตรา38มาตรา

39มาตรา40หรือมาตรา41แล้วแต่กรณี

3.3แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

เป็นผู้จัดทำ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อปฏิบัติตามนโยบายและแผน

การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งได้กำหนดขึ้นตามมาตรา13(1)และให้ส่วนราชการที่

เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อีกทั้งได้กำหนดว่าให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ส่วนราชการ

และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนงานหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแผนจัดการคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมนั้นนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559 จึง

เป็นกรอบนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในช่วง 20 ปี ที่จักพึง

ถ่ายทอดจัดทำเป็น “แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ต่อเนื่องกันเป็น 4 แผนๆละ 5ปี เพื่อปฏิบัติตาม

นโยบายและแนวทางตามนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2540-

2559โดยให้ครอบคลุมและประกอบด้วยแผนงานในเรื่องต่างๆซึ่งมาตรา36ได้กำหนดไว้แล้วด้วยรวมทั้ง

เรื่องที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติการและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันเป็นกรณีที่พึงถือได้ว่า คลุมถึง

กรุงเทพมหานคร

แผนงานและการดำเนินงานตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะ 5 ปีดังกล่าว ซึ่งกฎหมาย

กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะถ่ายทอดนำไปจัดทำเป็นแผนการดำเนินงานของส่วนราชการและ

รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนัยของมาตรา35

วรรคท้าย รวมทั้งการที่จะต้องถ่ายทอดนำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ในระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดทำให้สอดคล้องกับจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อขอ

ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามความในมาตรา 37มาตรา 38มาตรา 40หรือ

มาตรา41สำหรับจังหวัดในท้องที่เขตควบคุมมลพิษตามมาตรา59แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535นั้น แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ

ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตที่ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เป็นผู้จัดทำเสนอต่อ

ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ให้นำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมใน

Page 16: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-16

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ระดับจังหวัดด้วย ส่วนเขตกรุงเทพมหานครนั้น แม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในหมวด 3 ส่วนที่ 2 ที่ว่าด้วยการวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะมิได้มี

บทบัญญัติกล่าวถึงไว้โดยเฉพาะก็ตาม แต่นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559 มีขอบข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งเขตกรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้น

แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะเวลา 5 ปี ดังกล่าวข้างต้น จึงต้องรวมถึงแผนงานและแนวทางการ

ดำเนินงานในเขตกรุงเทพมหานคร และถ่ายทำเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมใน

เขตกรงุเทพมหานครโดยอนโุลมตามบทบญัญตัิของกฎหมายที่วา่ดว้ยแผนปฏบิตัิการเพือ่การจดัการคณุภาพ

สิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์http://www.onep.go.th/)

กิจกรรม 9.1.2

จงอธิบายถึงนโยบายอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยสังเขป

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.1.2

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.1 กิจกรรม 9.1.2)

Page 17: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-17

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.1.3 กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรม

สาระ สังเขป

1. รัฐธรรมนูญ แห่ง ราช อาณาจักร ไทยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ

พัฒนาโครงการทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและประชาชนทั่วไปการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติพ.ศ. 2518และโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศ

กระทรวงวทิยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลงังานกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ตอ้งจดัทำรายงาน

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม10ประเภทต่อมาในปีพ.ศ.2535ได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริม

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และมีการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมลงวันที่16มิถุนายนพ.ศ.2352กำหนดให้โครงการพัฒนารวม34ประเภทต้องจัดทำรายงาน

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลให้มีการใช้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่

สำคัญประการหนึ่งในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยโครงสร้างและกระบวนการ

ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช2550ได้กล่าวถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆมาโดยเปิดโอกาส

ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและ

ก่อให้เกิดมลพิษไว้ชัดเจนในมาตราต่างๆอาทิ

มาตรา 57 สิทธิ ใน การ รับ ข้อมูล และ แสดง ความ คิด เห็น ใน เรื่อง ที่ มี ผล เกี่ยว กับ ตน หรือ ชุมชน ท้อง ถิ่น

กำหนดให้มีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ

หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อ

คุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชน

ท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่อง

ดังกล่าวการวางแผนพัฒนาสังคมเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การวาง

ผังเมืองการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของ

ประชาชนให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

Page 18: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-18

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

มาตรา 67 การ ดูแล ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม

สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์

จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

อนามัยสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม

การดำเนนิโครงการหรอืกจิกรรมที่อาจกอ่ให้เกดิผลกระทบตอ่ชมุชนอยา่งรนุแรงทัง้ทางดา้นคณุภาพ

สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ

ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ

ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้าน

สิ่งแวดล้อมและสุขภาพและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร

ธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว สิทธิของชุมชนที่จะฟ้อง

หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลเพื่อ

ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา 85 แนว นโยบาย ด้าน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม ทรัพยากร น้ำ และ ความ

หลาก หลาย ทาง ชีวภาพ

รัฐต้องดำเนินการตามกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยให้คำนึงถึงความ

สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งผืนดิน ผืนน้ำ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษา

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนโดยต้องให้ประชาชน

ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย

รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากร

ธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบำรุง

รักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล

2. พระ ราช บัญญัติ ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม แห่ง ชาติ พ.ศ. 2535การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ

พัฒนาโครงการทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและประชาชนทั่วไปการประเมินผลกระทบ

สิง่แวดลอ้มของประเทศไทยเริม่ตน้เมือ่มีการตราพระราชบญัญตัิสง่เสรมิและรกัษาคณุภาพสิง่แวดลอ้มแหง่ชาติ

พ.ศ. 2518และโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศกระทรวง

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน กำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการ

ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม10ประเภทต่อมาในปีพ.ศ.2535ได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และมีการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมลงวันที่16มิถุนายนพ.ศ.2352กำหนดให้โครงการพัฒนารวม34ประเภทต้องจัดทำรายงาน

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งมีผลให้มีการใช้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่

Page 19: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-19

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

สำคัญประการหนึ่งในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมกว้างขวางยิ่งขึ้นโดยกระบวนการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ให้ทำการประเมนิผลกระทบสิง่แวดลอ้มซึง่อาจเกดิขึน้เนือ่งจากโครงการทัง้ที่เปน็ผลกระทบโดยตรง

และผลกระทบทางอ้อม ทั้งในลักษณะผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว และสำหรับการจัดทำรายงาน

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อประกอบการขอก่อสร้างโครงการจำเป็นจะต้องประเมินผลกระทบที่

อาจเกิดขึ้นในขึ้นก่อนสร้างด้วยโดยประเมินตามกลุ่มทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆที่มีต่อมนุษย์

ของมนุษย์ตามที่เสนอไว้ในข้อ 4 ว่าจะเกิดผลกระทบต่อกลุ่มทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ

ที่มีต่อมนุษย์แต่ละกลุ่มอย่างไร และมากน้อย รุนแรงเพียงใด รวมทั้งผลกระทบที่ไม่สามารถกลับคืนได้

(irreversible and irretrievable) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนนี้จะต้องใช้ความสัมพันธ์

ร่วมกันระหว่างข้อมูลรายละเอียดโครงการและสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาพิจารณาประกอบการ

คาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทางวิชาการ นอกจากนี้การ

ทำนายผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนเช่นการทำนายผลกระทบต่อคุณภาพอากาศควรใช้แบบจำลองทาง

คณิตศาสตร์มาช่วยในการประเมินเพื่อให้เกิดความแม่นยำและแน่นอนมากขึ้น

รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องอธิบายถึงการดำเนินงานของโครงการในอันที่

จะป้องกันและแก้ไขความเสียหายที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมหรือคุณค่าต่างๆตามข้อ4และในกรณี

ที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และกลับคืนมาได้ ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวที่มี

นยัสำคญัพรอ้มทัง้ความเปน็ไปได้และแนวทางที่เพิม่คณุคา่และทรพัยากรธรรมชาติที่ถกูทำลายโดยวธิีใดบา้ง

มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณารายงานการประเมิน

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ในกรณีที่โครงการจะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์

อย่างรุ่นแรงก็ควรจะได้มีการพิจารณาทางเลือกอื่นๆทั้งนี้ให้รวมถึงทางเลือกที่จะไม่ดำเนินการด้วยและใน

แต่ละแนวทางเลือกควรมีการพิจารณาทั้งด้านวิศวกรรมเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลกัน

ด้วยให้เปรียบเทียบผลดีและผลเสียต่างๆอันเนื่องจากทางเลือกเหล่านั้นซึ่งอาจจะเป็นที่ตั้งของโครงการเช่น

โครงการก่อสร้างท่าเรือควรจะมีการพิจารณาที่ตั้งในหลายๆบริเวณโดยมีการอธิบายรายละเอียดเพียงพอที่

จะแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของแต่ละที่ตั้ง และหรือแต่ละระบบนิเวศนอกจากนี้ยังได้แก่ การเสนอ

ทางเลือกในการดำเนินการ โดยเสนอกระบวนการกิจกรรมของโครงการอื่นที่ให้ผลผลิตหรือประโยชน์ของ

โครงการในลักษณะเดียวกันแต่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อไป

การพิจารณาทางเลือกของโครงการแต่ละทางเลือกนั้นจะประกอบด้วย2ขั้นตอนคือ

1) สรุปผลเสียหายทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2) วิเคราะห์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบเหล่านั้นกับโครงการและทางเลือกต่างๆ ของ

โครงการหลักการพิจารณาเปรียบเทียบทางเลือกทั้งหมดแล้วจะสามารถเลือกทางเลือกของโครงการซึ่งเป็น

ทางเลือกที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ใกล้เคียงกันแต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าทางเลือกอื่นๆ

แต่ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวจะต้องอยู่ในระดับที่จะสามารถยอมรับได้ด้วย

Page 20: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-20

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

การอธิบายเกี่ยวกับแผนงานการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบยืนยัน

ประสิทธิภาพของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานและเพื่อศึกษาความ

เปลีย่นแปลงของสิง่แวดลอ้มอยา่งมีระบบและมีระยะเวลาในการตดิตามเปน็เวลาตอ่เนือ่งกนัตามหลกัวชิาการ

และให้เหมาะสมทัง้ระดบัคณุคา่คณุภาพสิง่แวดลอ้มที่จะได้รบัผลกระทบจากการกอ่สรา้งหรอืดำเนนิโครงการ

ซึ่งในแผนงานดังกล่าวให้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานีตรวจวัดระยะเวลาในการวัดดัชนีคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมที่จะทำการตรวจวัดและวิธีวัดตลอดจนรายงานการตรวจสอบผลกระทบเป็นระยะๆ

นอกจากนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มีสาระสำคัญ

เกี่ยวกับมาตรการควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมคือส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วม

ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและให้มีการจัดทำการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม

โดยการจัดทำและพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ประกอบด้วย

2รูปแบบคือ

1) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (InitialEnvironmentalExamination: IEE)

เป็นรูปแบบรายงานที่ประเทศไทยนำมาใช้ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการขนาดเล็ก ที่

เห็นว่าอาจมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในบางประเทศนำ IEEมาใช้ในการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าโครงการจะ

ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่และเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษารายงานการ

ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป

2) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์

ข้อมูลการคาดการณ์ผลกระทบการจัดทำมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดทำ

รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

โดยในปัจจุบัน มีโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายงาน

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและโครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมดังนี้

1) ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาด

โครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ฉบับที่1(วันที่24สิงหาคม2535)ฉบับที่2(วันที่8กันยายน2535)และฉบับที่3(วันที่22มกราคม2539)

ได้กำหนดโครงการหรือกิจการที่ต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้22ประเภท

2) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องกำหนดพื้นที่และมาตรการคุ้มครอง

สิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดโครงการหรือกิจการที่ต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นมีจำนวน4ฉบับได้แก่

(1) ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ

จังหวัดเพชรบุรีอำเภอหัวหินอำเภอปราณบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(2) ในบริเวณพื้นที่เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี

(3) ในบริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่และ

(4) ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

Page 21: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-21

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

3) มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม(วันที่13กันยายนพ.ศ.2537)กำหนดโครงการ

หรือกิจการที่ต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เบื้องต้นและโครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยจัดทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด

ทัง้นี้ในอนาคตอาจมีการปรบัปรงุการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ตอ้งจดัทำรายงานการ

ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และอาจมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมรูปแบบการศึกษา

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รูปแบบอื่นๆ เช่น การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic

Environmental Assessment) การจัดทำข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Codes of

Practices)เป็นต้น

ในกรณีที่โครงการมีผลกระทบทางสังคม (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) อย่างมีนัยสำคัญ เช่น มีการ

เวนคืนที่ดิน การโยกย้ายครัวเรือน และหรือเกี่ยวข้องกับชุมชนดั้งเดิมหรือมีข้อเรียกร้องจากชุมชนท้องถิ่น

องค์กรเอกชนหรือเอกชนการศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมชุมชนดั้งเดิมสุขภาพอนามัยและด้านอื่นๆ

จำเป็นต้องศึกษาในรายละเอียดมากขึ้น ทั้งนี้จะได้เสนอกรอบนโยบายและแนวทางการศึกษาในเรื่องนี้

ต่อไป

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยอำนาจวงศ์บัณฑิตย์หน้า 10ถึง

หน้า50)

กิจกรรม 9.1.3

จงอธบิายกฎหมายสิง่แวดลอ้มอนัเกีย่วขอ้งกบัการควบคมุผลกระทบทางสิง่แวดลอ้มจากภาค

อุตสาหกรรมรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่ามีอย่างไรบ้าง

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.1.3

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว คำ ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.1 กิจกรรม 9.1.3)

Page 22: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-22

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.1.4 ปัญหาการ บังคับ ใช้ กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม

ใน ภาค อุตสาหกรรม

สาระ สังเขปพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม เรียกว่า “มาบตาพุดคอมเพล็กซ์”

ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาลเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ

ที่จะผลิตสินค้าอุปโภคต่างๆผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การดำเนินการของ

อุตสาหกรรมต่างๆภายในพื้นที่ดังกล่าวก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมากอีกทั้งยังทำให้ประชาชน

ในพื้นที่ที่รับมลพิษมาอย่างยาวนานต้องประสบกับปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงมีหลักฐานและงานศึกษาจาก

ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนชี้ว่ามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดมีความร้ายแรงและมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ

เช่น จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษพบว่าในพื้นที่มาบตาพุดมีสารอินทรีย์ระเหยง่ายประมาณ 20

ชนิดในอากาศและนอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ใหญ่จำนวน100คนมีถึงร้อยละ50ที่สารพันธุกรรมบ่งบอกถึง

ความผิดปกติของยีนในร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหรือกรณีที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข

เปิดเผยผลการตรวจปัสสาวะประชาชนใน28ชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดพบว่า300รายมีสารก่อ

มะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าค่ามาตรฐานเป็นต้น

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 43 คน (ผู้ฟ้องคดี) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติกับพวกรวม8คน(ผู้ถูกฟ้องคดี)บริษัทเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ดอินดัสเตรียลเอสเตทจำกัดกับ

พวกรวม36คน(ผู้มีส่วนได้เสีย)เป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่1กับพวกรวม8คนได้ร่วมกัน

ให้ความเห็นชอบอนุมัติอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมจำนวน76โครงการที่ดำเนินการในพื้นที่มาบตาพุด

และบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ว่า กรณีเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด

ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำ

มิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน

และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งให้องค์กรอิสระซึ่ง

ประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการ

การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นชอบก่อนมีการดำเนินการจึง

ขอให้เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิกถอนใบอนุญาตและให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดดำเนินการออก

ระเบียบหรือหลักเกณฑ์หรือการอื่นใดตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน30วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

ซึ่งศาลปกครองได้มีคำพิพากษาถึงกรณีดังกล่าวโดยให้เพิกถอนใบอนุญาตที่ได้ออกให้แก่โครงการซึ่งดำเนิน

การไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และมาตรา

67วรรค2แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550

Page 23: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-23

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอนหนึ่งของคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ เกี่ยวข้องกับสิทธิของตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 67

โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่า “สิทธิของบุคคลที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พทุธศกัราช2550มาตรา67บญัญตัิรบัรองไว้ยอ่มได้รบัความคุม้ครองการที่ยงัไมม่ีบทบญัญตัิแหง่กฎหมาย

กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้สิทธิดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เหตุที่องค์กรของรัฐจะยกขึ้นมาเป็นข้ออ้าง

เพื่อปฏิเสธไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าวได้ เพราะโดยหลักการใช้และการตีความกฎหมาย เจตนารมณ์

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจะมีผลตามที่บัญญัติโดยทันทีไม่ว่าจะมี

บทบัญญัติให้ต้องมีการตรากฎหมายกำหนดรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ซึ่งในกรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญ

ได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 3/2552ตั้งแต่วันที่ 18มีนาคม 2552 ซึ่งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535นี้เองว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550มี

เจตนารมณ์ให้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองไว้มีสภาพบังคับได้ทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศ

ให้มีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายมาใช้บังคับก่อนดังนั้น ก่อนการดำเนินโครงการ

หรือกิจกรรมใดๆที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและ

สุขภาพ จึงต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทั้งหลายที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของ

รัฐธรรมนูญดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดได้อนุมัติโครงการหรือกิจกรรมทั้ง 76 โครงการไปโดยไม่ได้

ดำเนินการให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์มาตรา67วรรคสองของรัฐธรรมนูญดังกล่าวการกระทำของผู้ถูกฟ้อง

คดีทั้งแปดจึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่สิบสามคนจึงมีมูล จึงเป็นการสมควรให้

ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดได้ตรวจสอบและศึกษาพิจารณาก่อนที่พิจารณาอนุมัติให้มีการดำเนินการตามโครงการ

ทั้ง76โครงการตามนัยมาตรา67วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550ให้

ครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทา

ทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่สิบสามคน

และในท้ายที่สุดศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดี

ระงับโครงการหรือกิจกรรมไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็น

อย่างอื่นยกเว้นโครงการบางประเภทคือ

1) โครงการหรอืกจิกรรมประเภทอตุสาหกรรมไดแ้ก่โครงการหมายเลขดงันี้หมายเลข16โครงการ

เชื้อเพลิงสะอาดและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยองจำกัด(มหาชน)หมายเลข

22 คือ โครงการปรับปรุงระบบหมุนวนก๊าซกลับคืนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน ของบริษัท

เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด หมายเลข 37คือ โครงการผลิตเชื้อเพลิงสะอาดติดตั้งหน่วยควบคุมไอน้ำมัน

เชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล ของบริษัท สตาร์ปิโตเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน)

หมายเลข 41 คือ โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล

ของบริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัด(มหาชน)หรือPTTARหมายเลข45คือการเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบำบัดมลพิษทางอากาศ โรงงานผลิต

PurifiedTerephthalicAcid(PTA)ของบริษัทอินโดรามาปิโตรเคมจำกัดหมายเลข50คือโครงการ

โรงแยกก๊าซธรรมชาติธรรมชาติหน่วยที่6(การเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อหมุนเวียน

Page 24: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-24

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

กลับมาใช้ใหม่)ของบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)หรือPTTหมายเลข54คือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด

โรงงานผลิตคลอ-อัลคาลี และ อีพิคลอโรไฮดรินภายใต้โครงการติดตั้ง Chlorine Vaporizer,Wet

ScrubberของHCLSectionและการปรับเปลี่ยนขนาดถังบรรจุคลอรีนเหลวของบริษัทอดิตยาเบอร์ล่า

เคมีคัลส์(ประเทศไทย)จำกัด

2) โครงการประเภทคมนาคมได้แก่โครงการหมายเลขดังนี้หมายเลข2คือโครงการเปลี่ยนแปลง

ตำแหน่งและขนาดถังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาบตาพุดแทงก์เทอร์มินัลจำกัดหมายเลข3

คือโครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์(การเก็บเพิ่มถังและอุปกรณ์

ขนถ่ายLPG/Butane)ของบริษัทปตท.เคมิคอลจำกัด(มหาชน)หรือPTTCHหมายเลข4คือรายงาน

การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมีและคลังเก็บวัตถุดิบและ

ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม(ถังโพรเพน/บิวเทน)ของบริษัทมาบตาพุดแทงก์เทอร์มินัลหมายเลข6คือโครงการ

ติดตั้งLoadingArmเพิ่มเติมที่ท่าเรือของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่งจำกัด(มหาชน)โดยนอกจาก

ที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

(โปรดอ่านเนือ้หาสาระโดยละเอียดเพิม่เติมในคำพพิากษาศาลปกครองสูงสุดคดีคำรอ้งที่586/2552

และเว็บไซต์www.tei.or.th/publications/2011-download/2011-Maptaphut.pdf)

กิจกรรม 9.1.4

จงอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุดโดยสังเขป

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.1.4

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.1 กิจกรรม 9.1.4)

Page 25: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-25

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 9.2

นโยบาย และ การ บังคับ ใช้ กฎหมาย พลังงาน

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่9.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัว เรื่องเรื่องที่9.2.1 สาระสำคัญและแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายพลังงาน

เรื่องที่9.2.2 นโยบายพลังงานของประเทศไทย

เรื่องที่9.2.3 กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน

เรื่องที่9.2.4 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพลังงาน: กรณีศึกษาการสำรวจและผลิต

ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย

แนวคิด1. พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศ

ต่างๆได้เริ่มมีการสร้างนโยบายพลังงานและจัดให้นโยบายพลังงานเป็นนโยบายหลักของ

ประเทศหลังจากที่ประเทศต่างๆเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านพลังงาน

2. นโยบายพลังงานของประเทศปรากฏอยู่ในแผนนโยบายแห่งชาติซึ่งเป็นนโยบายหลักของ

ประเทศโดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางด้านพลังงานเป็นหลัก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า

พลังงานมีเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละปีนอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนา

พลังงานทดแทนอันเป็นพลังงานทางเลือกอีกด้วย

3. กฎหมายพลังงานอันเป็นกลไกสำคัญของรัฐเพื่อให้บรรลุต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน

นโยบายพลังงานที่สำคัญมีทั้งหมด 7ฉบับครอบคลุมถึงธุรกิจทางด้านพลังงานต่างๆ

ประกอบไปด้วยไฟฟ้าก๊าซปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื้อเพลิง

4. ทรัพยากรปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างประเทศไทยและ

ประเทศมาเลเซียมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากทั้งสองประเทศได้มีการอ้างสิทธิในการทำ

ประโยชน์ต่อทรัพยากรดังกล่าวซึ่งทำให้เกิดปัญหาพิพาทระหว่างประเทศมาอย่างช้านาน

เพื่อระงับข้อพิพาทและขุดเจาะในพื้นที่ดังกล่าวทั้งสองประเทศได้มีการตกลงทำประโยชน์

ร่วมกัน

Page 26: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-26

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่9.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายถึงแนวคิดการกำหนดนโยบายพลังงานได้

2. อธิบายนโยบายพลังงานของประเทศไทยได้

3. อธิบายถึงกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับพลังงานได้

4. เข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพลังงานได้

Page 27: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-27

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.2.1 สาระ สำคัญ และ แนวคิด เกี่ยว กับ นโยบาย พลังงาน

สาระ สังเขปปัจจุบันพลังงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อโลกเป็นอย่างมากเพราะทรัพยากรพลังงานโดยทางตรง

และทางออ้มเกีย่วขอ้งในการดำเนนิชวีติประจำวนัของประชาชนโดยถา้พจิารณาถงึการใช้พลงังานของประเทศ

ในภาพรวม จะเห็นว่าทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนจำต้องใช้พลังงานแทบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงถือ

ได้ว่าพลังงานเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรวมทั้งสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้กับ

ประเทศชาติด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการนี้นานาอารยประเทศจึงได้มีการสร้างนโยบายพลังงานขึ้นมาและ

นโยบายดังกล่าวได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

พลังงานของประเทศและโลกและความต้องการการใช้พลังงานในแต่ละยุคแต่ละสมัย นอกจากนี้หลายๆ

ประเทศได้มีการกำหนดให้นโยบายพลังงานเป็นนโยบายหลักของประเทศ

นโยบายพลังงานได้ถูกกำหนดขึ้นมาครั้งแรกภายหลังจากที่ประเทศผู้นำเข้าพลังงานต่างๆ ได้พบ

กับปัญหาวิกฤตน้ำมัน(OilShocks)ในช่วง1980sถึง1990s2อันมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดความไม่มั่นคง

ทางด้านพลังงานในประเทศผู้นำเข้าน้ำมันเนื้อหาใจความสำคัญของโยบายพลังงานในช่วงทศวรรษดังกล่าว

คือการมุ่งแปรรูปธุรกิจพลังงานภายในประเทศเพื่อให้เอกชนเข้ามาบริหารเนื่องจากเชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะสร้าง

ความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ในระยะยาวโดยการแปรรูปนั้นอาจจะทำในรูปของรัฐวิสาหกิจ

(State-OwnCompany)ซึ่งเป็นการที่รัฐและเอกชนถือครองและบริหารงานร่วมกันหรือในรูปแบบบริษัท

เอกชน(Private-OwnCompany)ซึ่งเอกชนสามารถถือครองได้ทั้งหมดโดยหลังจากที่มีการแปรรูปธุรกิจ

พลังงานออกมาแล้วผลที่ตามมาคือทำให้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดทางด้านการเงินลดลงก่อนที่จะทำการแปรรูป

นั้นบริษัทน้ำมันภายใต้การถือครองและบริหารงานของรัฐประสบปัญหาด้านการขยายขนาดของบริษัท

มาโดยตลอดทำให้ไม่สามารถทำการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันถ่ายนอกประเทศรวมทั้งแข่งขันกับบริษัท

น้ำมันอื่นๆที่เป็นบริษัทเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การแปรรูปดังกล่าวส่งผลดีอย่างมากต่อตลาดพลังงานทั่วโลกเนื่องจากการที่มีบริษัทเอกชนหรือ

รัฐวิสาหกิจรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วเท่ากับ

เป็นการเพิ่มขึ้นซึ่งการแข่งขัน และที่สำคัญนอกเหนือกว่านี้ก็คือเป็นการลดโอกาสการผูกขาดของตลาดของ

บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ (Monopoly) ส่งผลให้กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งเจ็ดของโลกที่เรียกกันว่า Seven

2 เหตุการณ์วิกฤตน้ำมันOil Shock เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1973 โดยในช่วงนั้นกลุ่มประเทศอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่

ของโลกได้ลดกำลังการผลิตลงและมีการห้ามส่งออกน้ำมันไปยังบางประเทศโดยก่อให้เกิดวิกฤตน้ำมันอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ของโลกในภาพรวม

Page 28: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-28

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

Sisters3ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกลดบทบาทลงและมีการผุดขึ้นของบริษัทน้ำมันขนาดเล็กและขนาดกลาง

อย่างมากมายทั่วทุกมุมของโลกและตรงนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ยุคการแข่งขันในการสำรวจขุดเจาะ

และผลิตพลังงานอย่างเช่นในปัจจุบัน

อาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาสาระสำคัญของนโยบายพลังงานในปัจจุบันนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงทาง

ด้านพลังงานให้กับประเทศกล่าวคือหน้าที่ประการสำคัญของรัฐต่อประชาชนภายในประเทศและนักลงทุน

ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศคือต้องหาแหล่งพลังงานทางอุปสงค์(Supply)ให้เพียงพอสอดคล้อง

ต่อความต้องการของพลังงานในประเทศทางอุปทาน (Demand)กล่าวคือประเทศต่างๆต้องมีการคำนวณ

ถึงความต้องการพลังงานภายในประเทศในปีนั้นๆ และปีต่อๆ และจำต้องหามาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด

เพื่อที่จะคงปริมาณพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้พลังงานภายในประเทศดังนั้น หลายๆ

ประเทศได้ทลายข้อจำกัดในเชิงนิติบัญญัติลงมา ซึ่งเปลี่ยนจากการปิดกั้นเอกชนในการที่จะเข้ามาลงทุนใน

ธุรกิจพลังงานลงอันเนื่องมาจากขั้นตอนกระบวนการทางนิติบัญญัติที่ซับซ้อนยุ่งยาก ไปเป็นการให้โอกาส

เอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจพลังงานมากขึ้นอันจะเห็นได้จากการที่ขั้นตอนกระบวนการทางนิติบัญญัติได้รับ

การแก้ไขให้ง่ายและไม่ซับซ้อนในการทำความเข้าใจและขออนุมัติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ เป็นผลให้

ความมั่นคงทางด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญกว่านั้นก็คือการลงทุนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

อื่นๆภายในประเทศได้รับความสนใจในการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันทบวงพลังงานโลก (International EnergyAgency: IEA)4 ได้คาดการณ์ถึงแนวโน้ม

ของพลังงานโลกในช่วง 20ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2030) เอาไว้ว่า แนวโน้มและทิศทางด้านนโยบายพลังงานจะ

อยู่ภายใต้รูปแบบที่เรียกว่าReferenceScenarioกล่าวคือเป็นกรณีที่ภาครัฐไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายด้าน

พลังงานรวมทั้งมาตรการต่างๆไปจากปัจจุบันโดยนโยบายในการที่จะหาแหล่งพลังงานจากภายนอกประเทศ

เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยังคงดำเนินนโยบายในการพัฒนาและหาแหล่ง

พลังงานสะอาดเพิ่มเติม5 และนอกจากนั้นได้มีการคาดการณ์ว่ามาตรการในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนจะ

เป็นส่วนซึ่งมีอิทธิพลต่อนโยบายพลังงานภายในประเทศเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะ

โลกร้อนที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศต่างๆ ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีต่ออนุสัญญาสหประชาชาติ

วา่ดว้ยการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศ(UnitedNationsFrameworkConventiononClimateChange:

UNFCC)และได้มีการปฏิบัติตามกลไกที่ได้ระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต(KyotoProtocol)สำหรับประเทศไทย

3บริษัทSevenSistersประกอบไปด้วยStandardOilofNewJersey,StandardOilCompanyofNewYork(now

ExxonMobil),StandardOil ofCalifornia,GulfOil,Texaco (nowChevron),RoyalDutchShell, andAnglo-Persian

OilCompany(nowBP).4สภาพลงังานของกลุม่ประเทศอตุสาหกรรมซึง่มีประเทศสมาชกิทัง้หมด28ประเทศโดยประเทศสมาชกิทกุประเทศทำความ

ตกลงกันระหว่างประเทศสมาชิกเช่นตกลงช่วยเหลือกันหากประเทศสมาชิกหนึ่งมีความต้องการน้ำมันฉุกเฉินข้อตกลงในการแบ่งปัน

ข้อมูลพลังงานระหว่างประเทศสมาชิก โดยข้อตกลงทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้ในโครงการข้อตกลงพลังงานโลก (theAgreement on

anInternationalEnergyProgram)ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ทางหน่วยงานได้จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ.1974(พ.ศ.2517)5WorldEnergyOutlook 2009,Available at http://www.iea.org/textbase/npsum/weo2009sum.pdf (Last

VisitedonJanuary11,2012).

Page 29: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-29

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ได้มีการสร้างนโยบายเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศชาติและตรากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ภาครัฐได้วางเอาไว้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในเอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราชหน่วยที่14โดยโสภณศรีวิชัยหน้าที่14-9ถึงหน้า14-30)

กิจกรรม 9.2.1

พลังงานมีความสำคัญอย่างไร และเพราะเหตุใดประเทศต่างๆ จำเป็นต้องมีการกำหนด

นโยบายพลังงานขึ้นมาใช้

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.2.1

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.2 กิจกรรม 9.2.1)

Page 30: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-30

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.2.2 นโยบาย พลังงาน ของ ประเทศไทย

สาระ สังเขปแนวทางในการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานนั้น ต้อง

พิจารณาในลักษณะของกระบวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบพลังงานของประเทศให้เกิดความสมดุล

ระหว่างความต้องการใช้พลังงานกับการจัดหาพลังงานผ่านกลไกด้านตลาดพลังงาน โดยรัฐช่วยส่งเสริมให้

เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมเพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนที่สุดโดยประเทศไทยได้กำหนด

นโยบายพลังงานทั้งหมด5ด้านดังนี้

นโยบาย ที่ 1: ความ มั่นคง ด้าน พลังงาน พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มาก

ขึ้นโดยจัดการพลังงานให้เพียงพอมีเสถียรภาพด้วยการเร่งสำรวจพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่างๆทั้ง

ภายในประเทศและต่างประเทศและเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนา

แหล่งพลังงานวางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา

ความผนัผวนทางดา้นราคาและลดตน้ทนุการผลติสง่เสรมิการผลติไฟฟา้จากพลงังานหมนุเวยีนที่มีศกัยภาพ

โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากรวมทั้งศึกษาความเหมาะสม

ในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า โดยส่งเสริมการผลิตน้ำมันดิบและ

คอนเดน-เสทในประเทศ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องจัดหาก๊าซธรรมชาติจากในประเทศและ

ต่างประเทศให้เพียงพอพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องพัฒนากิจการไฟฟ้าให้เหมาะสมเพียงพอ

กับความต้องการ ส่งเสริมการกระจายชนิดเชื้อเพลิงศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาทางเลือกอื่นๆ ใน

การผลิตไฟฟ้า เช่น นิวเคลียร์ ถ่าน หินสะอาดหินน้ำมันแสวงหาแหล่งพลังงานในต่างประเทศ โดยเน้น

การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการไทยและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน

และอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มีความเข้มแข็งมีแผนเตรียมพร้อมรองรับวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน

นโยบาย ที ่2: การ อนรุกัษ์ พลงังาน และ พลงังาน ทดแทน ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทน

เปน็วาระแหง่ชาติโดยสนบัสนนุการผลติและการใช้พลงังานทดแทนโดยเฉพาะการพฒันาเชือ้เพลงิชวีภาพและ

ชีวมวล(E10E20และE85)ไบโอดีเซลขยะและมูลสัตว์เป็นต้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานลด

ภาวะมลพิษและเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับ

ชมุชนหมูบ่า้นภายใต้มาตรการสรา้งแรงจงูใจที่เหมาะสมรวมทัง้สนบัสนนุการใช้กา๊ซธรรมชาติในภาคขนสง่ให้

มากขึ้นโดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพลังงาน

ทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนน้ำมันเช่น

เอทานอลไบโอดีเซลส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง(NGV)ภาคอุตสาหกรรมภาคธุรกิจและภาค

ครัวเรือน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบทั้งลมแสงอาทิตย์พลังน้ำ ชีวมวลก๊าซชีวภาพพลังงาน

จากขยะวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือกพลังงานทดแทนและพลังงานในรูปแบบใหม่ผลักดันให้พลังงาน

Page 31: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-31

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ทดแทนเป็นวาระแห่งชาติพร้อมกำหนดมาตรการจูงใจสร้างเครือข่ายพลังงานหมุนเวียนให้มีความเข้มแข็ง

โดยสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอและจังหวัด เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระดับ

ฐานราก

เพื่อให้มีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนกระทรวงพลังงานได้สร้าง“แผนพัฒนาพลังงานทดแทน

15 ปี”(Renewable EnergyDevelopment Plan: REDP) อันเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็น

มุ่งพัฒนาสู่“พลังงานหลักของประเทศ”ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน

ให้กับประเทศด้วยราคาที่ประชาชนยอมรับและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรวมไปถึงลดปริมาณ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนโดยให้มีกรอบการพัฒนาพลังงานทดแทน

ของประเทศในระหว่างปีพ.ศ.2551-2565อันแบ่งได้เป็น3ระยะคือระยะสั้น(พ.ศ.2551-2554)ระยะกลาง

(พ.ศ.2555-2559)และระยะยาว(พ.ศ.2560-2565)โดยมีเป้าหมายเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันได้รวม19,799

ktoe6ในพ.ศ.2565คิดเป็นร้อยละ20ของการใช้พลังงานของประเทศ

ระยะสัน้(พ.ศ.2551-2554)เพือ่เสรมิสรา้งความมัน่คงทางดา้นพลงังานอยา่งยัง่ยนืในชว่งระยะเวลา

ดังกล่าวภาครัฐมุ่งเน้นส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ได้รับการยอมรับแล้ว(ProvenTechnologies)

และมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตไฟฟ้าและความร้อนจาก

ชีวมวลและก๊าซชีวภาพและNGVโดยมีเป้าหมายในพ.ศ.2554คือ ให้ผลิตพลังงานไฟฟ้า3,273MW

(1,587 ktoe)ความร้อน 4,150 ktoe เชื้อเพลิงชีวภาพ 6ล้านลิตร/วัน (1,755 ktoe) และNGV ได้ 393

ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(3,469ktoe)จากแหล่งพลังงานทดแทน

ระยะกลาง(พ.ศ.2555-2559)เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในช่วงระยะ

เวลาดังกล่าว ภาครัฐมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และสนับสนุนพัฒนาต้นแบบ

เทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ เช่น การผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตน้ำมันจาก

ชีวมวลและเชื้อเพลิงไฮโดรเจนให้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี

ใหม่ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานต้นแบบGreenCityและนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับ

การผลิตพลังงานทดแทนระดับชุมชนโดยมีเป้าหมายในพ.ศ.2559คือให้ผลิตพลังงานไฟฟ้า4,191MW

(1,907ktoe)ความร้อน5,582ktoeเชื้อเพลิงชีวภาพ9.85ล้านลิตร/วัน(2,831ktoe)และNGVได้596

ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(5,260ktoe)จากแหล่งพลังงานทดแทน

ระยะยาว (พ.ศ. 2560-2565) ส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ ที่มีความคุ้มค่าทาง

เศรษฐศาสตร์ เช่นพลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น รวมถึงการขยายผลGreenCityและพลังงานชุมชนและ

สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์ส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพและการส่งออกเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ในภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในพ.ศ. 2565 คือ ให้ผลิตพลังงานไฟฟ้า 5,608MW (2,290 ktoe)

ความร้อน 7,433 ktoe เชื้อเพลิงชีวภาพ 13.50 ล้านลิตร/วัน (3,986 ktoe) และNGV ได้ 690 ล้าน

ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(6,090ktoe)จากแหล่งพลังงานทดแทน

6 Ktoe=kilotonofoilequivalentเป็นหน่วยในการเทียบพลังงานดังกล่าวต่อการเผาไหม้ของน้ำมันดิบหนึ่งพันตันโดย

อาจเรียกโดยย่อว่า“พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ”

Page 32: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-32

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

นโยบาย ที่ 3: กำกับ ดูแล ราคา ความ ปลอดภัย กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

มีเสถยีรภาพและเปน็ธรรมตอ่ประชาชนโดยกำหนดโครงสรา้งราคาเชือ้เพลงิที่เหมาะสมและเอือ้ตอ่การพฒันา

พืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน

เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงานรวมทั้งพัฒนา

คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยโดยกำกับดูแลราคาพลังงานให้มีเสถียรภาพและเป็นธรรมสะท้อน

ต้นทุนที่แท้จริงตามกลไกตลาด ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของกิจการ

สถานประกอบการ สถานีบริการและอุปกรณ์ด้านพลังงานส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจ

พลังงาน

นโยบาย ที่ 4: การ อนุรักษ์ พลังงาน และ ประสิทธิภาพส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานทั้ง

ในภาคครัวเรือนอุตสาหกรรมบริการและขนส่งโดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัด

พลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนใน

การปรบัเปลีย่นอปุกรณ์ประหยดัและมาตรการสนบัสนนุให้ครวัเรอืนลดการใช้ไฟฟา้ในชว่งการใช้ไฟฟา้สงูสดุ

รวมทั้งการวิจัยพัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานตลอดจน

สนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งระบบรางเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

และสามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ โดยการพัฒนาและการอนุรักษ์พลังงาน

ของประเทศ รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานและการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

สร้างแรงจูงใจและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน วิจัยและพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่

ทำให้ประหยัดพลังงานกำหนดมาตรฐานกฎระเบียบสำหรับอุปกรณ์วัสดุและวิธีการบริหารจัดการในการ

ประหยัดพลังงานส่งเสริมการสร้างเครือข่ายต้นแบบเช่นประกอบการขนาดกลางหรือขนาดเล็กSMEที่มี

ความโดดเด่นสนใจในการประหยัดพลังงาน

นโยบาย ที่ 5: การ ดูแล สิ่ง แวดล้อม ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อ

สิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆรวมทั้งส่งเสริมให้

เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนและลดปริมาณ

ก๊าซเรือนกระจก โดยการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากการผลิต การแปรรูปและการใช้พลังงาน

ส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CleanDevelopmentMechanism:CDM) สาขาพลังงาน เพื่อลด

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคุมดูแลมาตรฐานการปลดปล่อยสารพิษจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

และการกลั่นไม่ให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้สำนักนโยบายและแผนกระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติราชการขึ้น

ทุกปีเพื่อให้บรรลุตามนโยบายดังกล่าวในพ.ศ.2544 ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการสำหรับ

พ.ศ. 2555 เพื่อใช้ในปฏิบัติราชการ 4ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ2555ของสำนักงาน

นโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดเพิ่มเติมในนโยบายพลังงานจากเว็บไซต์www.eppo.go.th)

Page 33: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-33

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

กิจกรรม 9.2.2

รัฐได้กำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไว้ในเรื่องใดบ้าง

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.2.2

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.2 กิจกรรม 9.2.2)

Page 34: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-34

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.2.3 กฎหมาย สำคัญ ที่ เกี่ยวข้อง กับ พลังงาน

สาระ สังเขปธุรกิจพลังงานรวมไปถึงธุรกิจการค้าไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมัน สำหรับการประกอบธุรกิจพลังงาน

ดงักลา่วนัน้จะได้รบัการสง่เสรมิจากรฐัมากนอ้ยเพยีงใดเปน็ไปตามนโยบายของภาครฐัซึง่ในสว่นของกฎหมาย

พลังงานนั้นถือเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อให้ธุรกิจพลังงานนั้นเป็นไปตามนโยบายที่ได้มีการวางเอาไว้

กฎหมาย พลังงาน ที่ สำคัญ ประกอบ ด้วย

1. พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพ.ศ.2535พระราชบัญญัตินี้กำหนด

ให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายก

รัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็น

กรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการเลขานุการคณะกรรมการ

ดงักลา่วมีอำนาจหนา้ที่ในการพจิารณาเสนอนโยบายและแผนการบรหิารและพฒันาพลงังานการตดิตามดแูล

ประสานและเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพลังงานรวมทั้งการประเมิน

ผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ

2. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550 เหตุผลในการประกาศใช้พระราช

-บัญญัตินี้เพื่อปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงานโดยให้แยกงานดังต่อไปนี้ออกจากกัน งานนโยบาย

งานกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมและ

มีบทบาทมากขึ้นเพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานมีประสิทธิภาพมีความมั่นคงเพียงพอและทั่วถึงในราคาที่

เป็นธรรมคุณภาพได้มาตรฐานตอบสนองความต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ในด้านสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอันสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2543 พระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ

น้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ.2521และพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2522 โดยใจความสำคัญ

คือเป็นการบัญญัติหลักเกณฑ์และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ค้นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยได้กำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมัน

เป็น3ระดับดังนี้

(1)ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่

100,000เมตริกตันขึ้นไปหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวแต่เพียงชนิดเดียวปีละตั้งแต่50,000เมตริกตันขึ้นไป

จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

(2)ผู้ค้าน้ำมันรายย่อยซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันปีละไม่ถึงตาม (1) ข้างต้นแต่มีปริมาณ

การค้าน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือมีถังที่สามารถเก็บ

น้ำมันเชื้อเพลิงได้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจะต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมธุรกิจ

พลังงาน

Page 35: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-35

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

(3)ผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งสถานีบริการ จะต้องยื่นขอจดทะเบียนต่อ

อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

พระราชบัญญัติยังกำหนดให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามขนาดและปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศ

กำหนดต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน60วันนับแต่วันประกาศดังกล่าวใช้บังคับและให้

ผู้ขนส่งน้ำมันนั้นและผู้ค้าน้ำมันข้างต้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีในกรณีของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่

ให้ดำเนินการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรจัดทำแผน

ปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซื้อกลั่นผลิตหรือจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นปริมาณ

การค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบต่ออธิบดีก่อนปีที่จะทำการค้านั้น และสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน

ร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี

นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจอธิบดีกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะทำการ

จำหน่ายและกำหนดมาตรการในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวผู้ค้าน้ำมัน

รายใดจำหน่ายน้ำมันที่มีลักษณะและคุณภาพแตกต่างไปจากที่กำหนดหรือไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดของ

กฎหมายหรือเงื่อนไขที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตจำคุกหรือปรับแล้วแต่กรณี

4. พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพ.ศ. 2535 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ

อนุรักษ์พลังงานเป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอันจะเป็นพลังงาน

ทางเลือกที่สำคัญในอนาคตเนื่องจากพลังงานปิโตรเลียมซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน

อาจจะหมดไปในอนาคตอนัใกล้โดยคณะกรรมการดงักลา่วได้สง่เสรมิให้ภาคเอกชนได้เขา้มามีสว่นรว่มดว้ย

เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(SustainableDevelopment)ทางด้านพลังงานของประเทศตามนโยบายของภาครัฐ

ด้วย

พระราชบัญญัตินี้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงาน

ทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในปัจจุบัน)ในด้านการสำรวจรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และตรวจสอบเกี่ยวกับ

พลังงานในแง่ของแหล่งพลังงาน การกำกับดูแล ปฏิบัติการ และกำหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับ

การผลิต การส่งและการจำหน่ายพลังงาน และการเปลี่ยนประเภทของวัตถุดิบหรือวัตถุธรรมชาติที่ใช้

ในการผลิตพลังงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

นอกจากนี้พระราชบัญญัติยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

ซึ่งกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอาจมอบให้หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติการแทนได้ อีกทั้ง

กำหนดให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้พลังงานไฟฟ้าซึ่งขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิต

ตั้งแต่200กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไปเป็นพลังงานควบคุมโดยผู้ผลิตหรือการขยายการผลิตพลังงานควบคุม

จะต้องได้รับใบอนุญาต และกำหนดห้ามการกระทำใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อการผลิตพลังงานควบคุม

หรือทำให้การผลิตพลังงานควบคุมน้อยลงโดยไม่มีเหตุอันควรซึ่งผู้กระทำผิดต้องระวางโทษทั้งจำและปรับ

5. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอุนรักษ์พลังงานพ.ศ. 2535 พระราชบัญญัตินี้ได้มีการตรา

ออกมาในพ.ศ.2535แต่ได้มีการแก้ไขในพ.ศ.2550 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1มิถุนายนพ.ศ.2551

โดยพระราชบัญญัตินี้ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมโรงงานรวมถึงอาคารควบคุมในการอนุรักษ์

Page 36: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-36

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

พลงังานและนอกจากนีพ้ระราชบญัญตัิการสง่เสรมิการอนรุกัษ์พลงังานยงัได้มีการตัง้คณะกรรมการนโยบาย

พลังงานแห่งชาติขึ้นมารวมทั้งกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

6. พระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ.2514แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่6ปี2550และพระราชบัญญัติภาษี

เงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. 2514แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6ปีพ.ศ. 2550 พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายแม่บท

สำหรับการให้และการได้รับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรปิโตรเลียมโดยรูปแบบของระบบสัมปทาน

ปิโตรเลียมของประเทศไทยคือ “ระบบสัมปทานใหม่” (ModernConcession) ซึ่งไทยเราได้ใช้ระบบนี้

อันเป็นการพัฒนามาจากระบบสัมปทานดั้งเดิม (Concession) ภายใต้ระบบดังกล่าวประเทศไทยได้มี

การพัฒนาเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับกรจัดเก็บภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผันผวนของราคา

ปิโตรเลียม โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 บัญญัติข้อกำหนดในการให้สัมปทานของรัฐและ

หลักเกณฑ์การได้รับสัมปทานเอาไว้ ส่วนการเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอยู่ภายใต้ข้อบัญญัติของ

พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514

7. พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียพ.ศ. 2533 เขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่านไทย

ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซียนั้นส่งผลให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างยาวนานอันเกิดจากการอ้างสิทธิในการ

เข้าไปทำประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ดังกล่าวปัญหาดังกล่าวได้ยุติโดยที่ทั้งสองประเทศตกลง

ทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันหลังจากที่ได้ทำบันทึกข้อตกลง(MemorandumofUnderstanding:

MOU)ระหว่างสองประเทศแล้วทางประเทศไทยก็ได้มีการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา

พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นนิติบุคคลและมีภูมิลำเนาใน

ราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย โดยให้มีสิทธิในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่

ไม่มีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับ

จากการประกอบกิจการ รัฐบาลทั้งสองจะรับภาระและแบ่งปันเท่าๆ กัน โดยในการดำเนินการสำรวจและ

แสวงประโยชน์ข้างต้นองค์กรร่วมโดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองสามารถทำสัญญากับบุคคลอื่นเพื่อให้

สิทธิในการดำเนินกิจการดังกล่าวโดยผู้ได้รับสัญญาจะต้องชำระค่าภาคหลวงจำนวนร้อยละสิบของผลผลิต

รวมของปิโตรเลียมให้แก่องค์กรร่วม โดยผู้ได้รับสัญญามีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 50ผลผลิต

ที่เหลือจะแบ่งให้แก่องค์กรร่วมและผู้ได้รับสัญญาฝ่ายละเท่าๆ กัน นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยัง

กำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้ได้รับสัญญาจะต้องใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามสัญญา

เงินบำรุงการวิจัยให้แก่องค์กรร่วมการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ การออกกฎกระทรวง และเขต

อำนาจทางแพ่งและทางอาญาของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียซึ่งไม่รวมถึงเขตอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวกับ

ศุลกากรสรรพสามิตและภาษีอากร

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์www.eppo.go.th)

Page 37: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-37

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

กิจกรรม 9.2.3

จงอธิบายถึงกฎหมายที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับพลังงานว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งอธิบายถึงความ

สำคัญของกฎหมายฉบับต่างๆโดยสังเขป

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.2.3

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.2 กิจกรรม 9.2.3)

Page 38: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-38

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 9.2.4 ปัญหา การ บังคับ ใช้ กฎหมาย พลังงาน: กรณี ศึกษา

การ สำรวจ และ ผลิต ทรัพยากรธรรมชาติ

ใน เขต พื้นที่ ทับ ซ้อน ไทย-มาเลเซีย

สาระ สังเขปทรัพยากรปิโตรเลียมในบริเวณอ่าวไทยได้มีการสำรวจพบมากว่า 30ปี โดยสภาวะโดยธรรมชาติ

ของทรัพยากรปิโตรเลียมนั้นจะอยู่กันอย่างกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างอันสามารถจะพบได้บริเวณต่างๆ

ภายในบริเวณพื้นที่อ่าวไทยทั้งหมดสำหรับการเข้าไปทำการสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น

ประเทศต่างๆรวมทั้งบริษัทข้ามชาติพบกับอุปสรรคประการสำคัญคือพื้นที่บางส่วนที่สำคัญอยู่ภายใต้เขต

ทับซ้อนทางทะเลยระหว่างสองหรือหลายประเทศโดยพื้นที่ทับซ้อนหนึ่งซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรปิโตรเลียม

และเป็นปมขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีมาเป็นระยะเวลานานคือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทย

และมาเลเซียโดยทั้งมาเลเซียและไทยต่างก็อ้างสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวโดยอาศัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

ขึ้นมา และข้อยุติของปัญหาอันเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2521ด้วยการที่ทั้งสอง

ประเทศมีการตกลงในการทำประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวทั้งสองประเทศ

ได้ทำบันทึกความเข้าใจขึ้นมา(MemorandumofUnderstandingหรือMOU)ซึ่งมีอายุ50ปีโดยบันทึก

ดังกล่าวสร้างขึ้นโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแบ่งผลประโยชน์เท่าๆกันระหว่างสองประเทศ

ในการนี้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม (Malaysia-Thai Joint Authority หรือMTJA) เพื่อ

แสวงหาประโยชน์จากทรพัยากรในพืน้ดนิใต้ทะเลในบรเิวณที่กำหนดของไหลท่วปีของประเทศทัง้สองเมือ่วนัที่

21กุมภาพันธ์พ.ศ.2522โดยรวมสิทธิแทนรัฐบาลทั้งสองในกิจกรรมดังกล่าวซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

ได้ยอมรับสิทธิที่มีอยู่แล้วของผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยและประเทศมาเลเซียดังนั้นบริษัท

ไตรตนัและบรษิทัปตท.สผ.จงึได้รบัเลอืกจากรฐับาลไทยให้มาเจรจาทำสญัญาแบง่ปนัผลผลติกบัองคก์รรว่ม

ไทย-มาเลเซียในพื้นที่แปลงเอ-18และบี-17โดยมีบริษัทปิโตรนาสชาลิการี(เจดีเอ)เซนเดอเรียนเบอร์ฮาด

ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PETRONAS เป็นผู้สืบสิทธิจากฝ่ายมาเลเซียให้เป็นผู้ประกอบกิจการร่วมกันโดย

ถือหุ้นฝ่ายละ50เปอร์เซ็นต์ในแต่ละแปลงการเจรจาเพื่อให้องค์กรร่วมฯสามารถดำเนินการได้อย่างเป็น

รูปธรรมโดยได้ดำเนินงานมากว่า 11ปีจนกระทั่งวันที่ 30พฤษภาคมพ.ศ. 2533 รัฐบาลไทยและรัฐบาล

มาเลเซียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วม

ไทย-มาเลเซียและได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียพ.ศ. 2533 ขึ้นและมีผลใช้บังคับ

พร้อมกันในทั้งสองประเทศเมื่อวันที่23มกราคมพ.ศ.2534

Page 39: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-39

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เมื่อรัฐบาลไทยและมาเลเซียสามารถทำความตกลงกันได้ในเรื่องการพัฒนาร่วมในพื้นที่พัฒนา

ร่วมไทย-มาเลเซียเมื่อพ.ศ.2522แล้วยังต้องใช้เวลาอีก15ปีกว่าที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียจะอนุญาตให้

บริษัทฯ เข้าไปดำเนินการสำรวจในพื้นที่ตามสัญญาของตนภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิตทั้งนี้กลุ่มบริษัท

ผู้ประกอบการผู้ได้รับสัญญาในแต่ละแปลงคือแปลงสำรวจA-18 (พื้นที่ประมาณ3,000ตารางกิโลเมตร)

บริษัทTritonOilจากประเทศไทย(50%)กับบริษัทPetronasCarigaliจากประเทศมาเลเซีย(50%)ซึ่ง

บริษัททั้งสองได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทCarigali-TritonOperatingCompanySdn.Bhd.(CTOC)ขึ้นเป็น

ผู้ดำเนินงาน(Operator)แปลงสำรวจB-17และC-19(พื้นที่ประมาณ4,250ตารางกิโลเมตร)บริษัทปตท.

สผ.อนิเตอร์เนชัน่แนลจำกดัจากประเทศไทย(50%)กบับรษิทัPetronasCarilaliจากประเทศมาเลเซยี(50%)

ซึ่งบริษัททั้งสองได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทCarigali-PTTEPIOperatingCompanySdn. Bhd. (CPOC)

ขึ้นเป็นผู้ดำเนินงาน(Operator)

สัญญาแบ่งปันผลผลิตนี้ได้กำหนดให้องค์กรร่วมได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 10 จากผลผลิตเป็น

ค่าภาคหลวงและให้บริษัทผู้ได้รับสัญญาฯสามารถหักค่าใช้จ่ายในการลงทุนตามที่จ่ายจริง(โดยได้รับความ

เห็นชอบจากองค์กรร่วมฯ) ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือของผลิตรวมปิโตรเลียมหลังหักค่าภาค

หลวงและคา่ใช้จา่ยในการลงทนุแลว้ให้แบง่ให้แก่องคก์รรว่มและบรษิทัผู้ได้รบัสญัญาเทา่ๆกนัดงันัน้เมือ่เริม่

ทำการผลิตปิโตรเลียมในแต่ละปีประเทศไทยและมาเลเซียจะได้รับส่วนแบ่งเท่าๆกันจากพื้นที่พัฒนาร่วมฯนี้

สำหรบัพืน้ที่พฒันารว่มปจัจบุนัได้มีการคน้พบปรมิาณกา๊ซธรรมชาติในเชงิพาณชิย์จำนวน18แหลง่มีปรมิาณ

สำรองกว่า 8.9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ไม่รวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) และบริษัทผู้ได้รับสัญญาได้ลงทุน

ไปแล้วกว่า1,069ล้านเหรียญสหรัฐ(ถึงณวันที่31ธันวาคมพ.ศ.2545)ดังนั้นจึงเป็นสิทธิอันชอบธรรม

ของผู้ลงทุนในอันที่จะพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วนี้ขึ้นมาเพื่อขายให้แก่ลูกค้า โดยให้ผลประโยชน์

ตอบแทนต่อรัฐตามข้อกำหนดในสัญญา และหากไทยและมาเลเซียไม่พร้อมจะซื้อก๊าซที่จะผลิตได้

องค์กรร่วมฯ และบริษัทผู้ได้รับสัญญามีสิทธิที่จะขายให้กับประเทศอื่นได้หากได้ผลตอบแทนที่ดี แต่

ประเทศไทยและมาเลเซียจะไม่ได้รับประโยชน์อื่นๆที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้นี้

ก๊าซธรรมชาติที่สำรวจและขุดเจาะขึ้นมานั้นได้ผ่านการคัดแยกที่โรงคัดแยกก๊าซธรรมชาติอำเภอ

จะนะจงัหวดัสงขลาและลำเลยีงผา่นทอ่กา๊ซที่ได้สรา้งขึน้จากบรษิทัทอ่กา๊ซรว่มไทย-มาเลเซยีผา่นโรงคดัแยก

ก๊าซดังกล่าวโดยได้มีการลำเลียงไปทั้งประเทศมาเลเซียและไทยซึ่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่

เหตุผลหลักคือกระบวนการทำประชามติซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ได้มี

การทำขึ้นโดยขาดการเข้าร่วมให้ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ เมื่อมีการสร้างท่อก๊าซและโรงคัดแยกก๊าซ

ธรรมชาติดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในบริเวณดังกล่าวกล่าวคือวงจรชีวิตของ

สัตว์ทะเลถูกรบกวนส่งผลต่อการทำประมงของชาวบ้านนอกจากนั้นธรรมชาติซึ่งแต่เดิมสมบูรณ์ถูกทำลาย

จากการที่รัฐต้องเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อนำไปใช้สร้างสิ่งต่างๆ การเกิดก๊าซพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์

ไดอ๊อกไซด์ รวมทั้งก๊าซธรรมชาติบางส่วนถูกปล่อยออกมาในอากาศซึ่งส่งผลต่อวงจรชีวิตของสัตว์ป่า

และสุขภาพของผู้คนสำหรับผลดีจากการสร้างโรงแยกก๊าซและท่อก๊าซนั้น ประการแรกคือสร้างงานให้กับ

ชาวบ้านในพื้นที่นอกจากนั้นก๊าซธรรมชาติดังกล่าวส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า

Page 40: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-40

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับพื้นที่ทางภาคใต้ทั้งหมดดังนั้นปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้จึงถูก

แก้ไขลงส่งผลให้เอกชนมีความเชื่อมั่นและกล้าลงทุนในพื้นที่บริเวณภาคใต้มากขึ้น

(โปรดอา่นเนือ้หาสาระโดยละเอยีดเพิม่เตมิในเวบ็ไซต์ของกรมเชือ้เพลงิพลงังานกระทรวงพลงังาน

http://www.dmf.go.th)

กิจกรรม 9.2.4

จงอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศไทยและ

มาเลเซีย

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 9.2.4

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 9 ตอน ที่ 9.2 กิจกรรม 9.2.4)

Page 41: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-41

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แนว ตอบ กิจกรรม หน่วย ที่ 9

ปัญหา สิ่ง แวดล้อม ใน ภาค อุตสาหกรรม และ พลังงาน

ตอน ที่ 9.1 นโยบาย และ การ บังคับ ใช้ กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม ใน ภาค อุตสาหกรรม

แนว ตอบ กิจกรรม 9.1.1

ภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเป็น

อย่างมาก เม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ

ประเทศไทยแต่ปัญหาที่เติบโตมาควบคู่กันคือปัญหาสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษทางด้านต่างๆ

อันส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรภายในประเทศทั้งหมด รัฐบาลไทยได้เลือกที่จะแก้ไขปัญหา

ดังกล่าวโดยการออกนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในประเทศควบคู่ไป

กับการออกนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยนโยบาย

ของรัฐบาลที่สำคัญเพื่อบรรลุผลตามที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายดังกล่าวและควบคุมปริมาณมลภาวะอัน

เกิดจากการกระทำของภาคอุตสาหกรรมและรักษาสิ่งแวดล้อมคือ นโยบายสิ่งแวดล้อมในการกำหนดให้

มีการทำรายงานการปะรเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental ImpactAssessment: EIA) ซึ่ง

ได้มีการนำกลไกในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมพ.ศ.2535

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้ระบุถึงการคุ้มครองประชาชน

จากผลกระทบสิ่งแวดล้อมเอาไว้ เช่นมาตรา67ว่า“สิทธิ ของ บุคคล ที่ จะ มี ส่วน ร่วม กับ รัฐ และ ชุมชน ใน การ

อนุรักษ์ บำรุง รักษา และ การ ได้ ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติ และ ความ หลาก หลาย ทาง ชีวภาพ และ ใน การ

คุ้มครอง ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม เพื่อ ให้ ดำรง ชีพ อยู่ ได้ อย่าง ปกติ และ ต่อ เนื่อง ใน สิ่ง แวดล้อม

ที่ จะ ไม่ ก่อ ให้ เกิด อันตราย ต่อ สุขภาพ อนามัย สวัสดิภาพ หรือ คุณภาพ ชีวิต ของ คน ย่อม ได้ รับ ความ คุ้มครอง

ตาม ความ เหมาะ สม”และโดยเฉพาะวรรคสองของมาตราดังกล่าวได้ระบุชัดเจนว่า“การ ดำเนิน โครงการ หรือ

กิจกรรม ที่ อาจ ก่อ ให้ เกิด ผลก ระ ทบ ต่อ ชุมชน อย่าง รุนแรง ทั้ง ทาง ด้าน คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาต ิ

และ สุขภาพ จะ กระทำ มิได้ เว้น แต่ จะ ได้ ศึกษา และ ประเมิน ผลก ระ ทบ ต่อ คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม และ สุขภาพ

ของ ประชาชน ใน ชุมชน และ จัด ให้ มี กระบวนการ รับ ฟัง ความ คิด เห็น ของ ประชาชน และ ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ก่อน

รวม ทั้ง ได้ ให้ องค์การ อิสระ ซึ่ง ประกอบ ด้วย ผู้ แทน องค์การ เอกชน ด้าน สิ่ง แวดล้อม และ สุขภาพ และ ผู้ แทน

สถาบัน อุดมศึกษา ที่ จัดการ การ ศึกษา ด้าน สิ่ง แวดล้อม หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ด้าน สุขภาพ ให้ ความ เห็น

ประกอบ ก่อน มี การ ดา เนิน การ ดัง กล่าว”ขณะที่วรรคสามได้ระบุว่า“สิทธิ ชุมชน ใน การ ที่ จะ ฟ้อง หน่วย ราชการ

Page 42: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-42

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หน่วย งาน ของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ ส่วน ท้อง ถิ่น หรือ องค์กร อื่น ของ รัฐ ที่ เป็น นิติบุคคล เพื่อ ให้ ปฏิบัติ หน้าที่

ตาม บทบัญญัติ นี้ ย่อม ได้ รับ ความ คุ้มครอง”เป็นต้น

แนว ตอบ กิจกรรม 9.1.2

นโยบายอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยประกอบไปด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

1. นโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและ

ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของโลกสำหรับ

ภาคอุตสาหกรรมนั้นนอกจากที่จะพิจารณาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแล้วยังคงต้องพิจารณาถึงนโยบายของรัฐ

อนัเกีย่วขอ้งกบัสิง่แวดลอ้มดว้ยเพราะการดำเนนิการของภาคอตุสาหกรรมนัน้คงปฏเิสธไม่ได้วา่สง่ผลกระทบ

ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ

2. นโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายของคณะรัฐมนตรี สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายก-

รัฐมนตรีซึ่งมุ่งคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทรัพยากรดินทรัพยากรน้ำทรัพยากรธรณี

ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ และยังจัดให้มีระบบ

การป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยนำระบบข้อมูล

ภูมิสารสนเทศมาใช้กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเตือนภัยพิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูล และติดตั้งระบบ

เตือนภัยและจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยงต่อภัยพิบัติ

อันเกิดจากภาวะโลก

3. นโยบายคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางการส่งเสริม

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะยาว 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2540 ถึง พ.ศ.2559 เนื่องด้วยลักษณะงาน

การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องใช้เวลาและมีความต่อเนื่องในการดำเนินงานจึงจะสัมฤทธิผล

ในการพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางในช่วงพ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ.2559นั้น นอกจากจะได้คำนึง

ถึงความสำคัญรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และความจำเป็นในการฟื้นฟู ส่งเสริมและรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐาน โดยให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินการควบคู่

ไปกับรัฐบาลในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

แนว ตอบ กิจกรรม 9.1.3

กฎหมายที่ถูกใช้โดยภาครัฐและเอกชนในการควบคุมและจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย

1. กฎหมายรฐัธรรมนญูแหง่ราชอาณาจกัรไทยพทุธศกัราช2550ซึง่ประกอบไปดว้ยมาตราที่สำคญั

ดังนี้

(1) มาตรา 57 สิทธิในการรับข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลเกี่ยวกับตนหรือ

ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดให้มีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ

รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระ

ทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชน

Page 43: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-43

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่อง

ดังกล่าวการวางแผนพัฒนาสังคมเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การวางผัง

เมืองการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของ

ประชาชนให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

(2)มาตรา67การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดสิทธิของบุคคลที่จะมี

ส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความ

หลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่าง

ปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิต

ของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสมและ

(3)มาตรา85แนวนโยบายด้านที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรน้ำและ

ความหลากหลายทางชวีภาพโดยกำหนดให้รฐัตอ้งดำเนนิการตามกำหนดหลกัเกณฑ์การใช้ทีด่นิให้ครอบคลมุ

ทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งผืนดิน ผืนน้ำ วิถีชีวิตของ

ชุมชนท้องถิ่นและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดิน

อย่างยั่งยืนโดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการ

ตัดสินใจด้วยนอกจากนี้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและ

ทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ

สงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล

2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ซึ่งกำหนดให้มีการ

จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อประกอบการขอก่อสร้างโครงการจำเป็นจะต้องประเมิน

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในขึ้นก่อนสร้างด้วยโดยประเมินตามกลุ่มทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆที่มี

ต่อมนุษย์ของมนุษย์ตามที่เสนอไว้ในข้อ4ว่าจะเกิดผลกระทบต่อกลุ่มทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและคุณค่า

ต่างๆที่มีต่อมนุษย์แต่ละกลุ่มอย่างไรและมากน้อยรุนแรงเพียงใดรวมทั้งผลกระทบที่ไม่สามารถกลับคืน

ได้ (irreversibleand irretrievable)การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนนี้จะต้องใช้ความสัมพันธ์

ร่วมกันระหว่างข้อมูลรายละเอียดโครงการและสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาพิจารณาประกอบการ

คาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทางวิชาการ นอกจากนี้การ

ทำนายผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนเช่นการทำนายผลกระทบต่อคุณภาพอากาศควรใช้แบบจำลองทาง

คณติศาสตร์มาชว่ยในการประเมนิเพือ่ให้เกดิความแมน่ยำและแน่นอนมากขึน้รายงานการประเมนิผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมจะต้องอธิบายถึงการดำเนินงานของโครงการในอันที่จะป้องกันและแก้ไขความเสียหายที่อาจมีต่อ

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมหรือคุณค่าต่างๆตามข้อ 4 และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และกลับ

คืนมาได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวที่มีนัยสำคัญพร้อมทั้งความเป็นไปได้และแนวทางที่

เพิ่มคุณค่าและทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยวิธีใดบ้างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมถือเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Page 44: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-44

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แนว ตอบ กิจกรรม 9.1.4

นคิมอตุสาหกรรมมาบตาพตุถกูจดัตัง้ขึน้ตามนโยบายรฐับาลเพือ่พฒันาเปน็พืน้ที่อตุสาหกรรมตน้นำ้

สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆที่จะผลิตสินค้าอุปโภคต่างๆผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม

ปิโตรเคมีการดำเนินการของอุตสาหกรรมต่างๆภายในพื้นที่ดังกล่าวก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจำนวน

มากอีกทั้งยังทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่รับมลพิษมาอย่างยาวนานต้องประสบกับปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง

ภายหลังสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกรวม43คน(ผู้ฟ้องคดี)คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

กับพวกรวม 8คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) บริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด กับพวก

รวม36คน(ผู้มีส่วนได้เสีย) เป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่1กับพวกรวม8คนได้ร่วมกันให้

ความเห็นชอบอนุมัติ อนุญาต โครงการหรือกิจกรรมจำนวน 76 โครงการที่ดำเนินการในพื้นที่มาบตาพุด

และบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กรณีเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด

ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำ

มไิด้เวน้แต่จะได้ศกึษาและประเมนิผลกระทบตอ่คณุภาพสิง่แวดลอ้มและสขุภาพของประชาชนในชมุชนและ

จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียรวมทั้งให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบ

ด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษา

ด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นชอบก่อนมีการดำเนินการ จึงขอให้

เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพิกถอนใบอนุญาต และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดดำเนินการออก

ระเบียบหรือหลักเกณฑ์หรือการอื่นใดตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน๓๐วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

และศาลปกครองได้มีคำพิพากษาถึงกรณีดังกล่าว โดยให้เพิกถอนใบอนุญาตที่ได้ออกให้แก่โครงการซึ่ง

ดำเนินการไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และ

มาตรา67วรรค2แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550และในท้ายที่สุดศาลปกครอง

สูงสุดได้มีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับโครงการหรือกิจกรรมไว้เป็นการ

ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นยกเว้นโครงการหรือกิจกรรม

ประเภทอุตสาหกรรมบางประเภท

ตอน ที่ 9.2 นโยบาย และ การ บังคับ ใช้ กฎหมาย เกี่ยว กับ พลังงาน

แนว ตอบ กิจกรรม 9.2.1

ปัจจุบันพลังงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อโลกเป็นอย่างมากเพราะทรัพยากรพลังงานโดยทางตรง

และทางออ้มเกีย่วขอ้งในการดำเนนิชวีติประจำวนัของประชาชนโดยถา้พจิารณาถงึการใช้พลงังานของประเทศ

ในภาพรวมจะเหน็วา่ทกุภาคสว่นไม่วา่จะเปน็ภาครฐัหรอืเอกชนจำตอ้งใช้พลงังานแทบทัง้สิน้ดงันัน้จงึถอืได้วา่

พลงังานเปน็สว่นสำคญัสว่นหนึง่ในการขบัเคลือ่นเศรษฐกจิรวมทัง้สรา้งความมัง่คัง่และมัน่คงให้กบัประเทศชาติ

ด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการนี้นานาอารยประเทศจึงได้มีการสร้างนโยบายพลังงานขึ้นมา และนโยบาย

Page 45: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-45

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ดังกล่าวได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงาน

ของประเทศและโลกและความต้องการการใช้พลังงานในแต่ละยุคแต่ละสมัย นอกจากนี้หลายๆประเทศ

ได้มีการกำหนดให้นโยบายพลังงานเป็นนโยบายหลักของประเทศ

นโยบายพลังงานได้ถูกกำหนดขึ้นมาครั้งแรกภายหลังจากที่ประเทศผู้นำเข้าพลังงานต่างๆ ได้พบ

กับปัญหาวิกฤตน้ำมัน (OilShocks)ในช่วง1980sถึง1990sอันมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดความไม่มั่นคง

ทางด้านพลังงานในประเทศผู้นำเข้าน้ำมันเนื้อหาใจความสำคัญของโยบายพลังงานในช่วงทศวรรษดังกล่าว

คือการมุ่งแปรรูปธุรกิจพลังงานภายในประเทศเพื่อให้เอกชนเข้ามาบริหารเนื่องจากเชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะสร้าง

ความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ในระยะยาวโดยการแปรรูปนั้นอาจจะทำในรูปของรัฐวิสาหกิจ

(State-OwnCompany)ซึ่งเป็นการที่รัฐและเอกชนถือครองและบริหารงานร่วมกันหรือในรูปแบบบริษัท

เอกชน(Private-OwnCompany)ซึ่งเอกชนสามารถถือครองได้ทั้งหมดโดยหลังจากที่มีการแปรรูปธุรกิจ

พลังงานออกมาแล้วผลที่ตามมาคือทำให้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดทางด้านการเงินลดลงก่อนที่จะทำการแปรรูป

นั้นบริษัทน้ำมันภายใต้การถือครองและบริหารงานของรัฐประสบปัญหาด้านการขยายขนาดของบริษัท

มาโดยตลอดทำให้ไม่สามารถทำการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันถ่ายนอกประเทศรวมทั้งแข่งขันกับบริษัท

น้ำมันอื่นๆที่เป็นบริษัทเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนว ตอบ กิจกรรม 9.2.2

แนวทางในการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานนั้น ต้อง

พิจารณาในลักษณะของกระบวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบพลังงานของประเทศให้เกิดความสมดุล

ระหว่างความต้องการใช้พลังงานกับการจัดหาพลังงานผ่านกลไกด้านตลาดพลังงาน โดยรัฐช่วยส่งเสริมให้

เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมเพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนที่สุดโดยประเทศไทยได้กำหนด

นโยบายพลังงานทั้งหมด5ด้านดังนี้

นโยบายที่1ความมั่นคงด้านพลังงานพัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

โดยจัดการพลังงานให้เพียงพอมีเสถียรภาพด้วยการเร่งสำรวจพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่างๆทั้งภายใน

ประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานเพื่อให้พร้อมรองรับวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน

นโยบายที่2การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทน

เปน็วาระแหง่ชาติโดยสนบัสนนุการผลติและการใช้พลงังานทดแทนโดยเฉพาะการพฒันาเชือ้เพลงิชวีภาพและ

ชีวมวล(E10E20และE85)ไบโอดีเซลขยะและมูลสัตว์เป็นต้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

ลดภาวะมลพิษและเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับ

ชมุชนหมูบ่า้นภายใต้มาตรการสรา้งแรงจงูใจที่เหมาะสมรวมทัง้สนบัสนนุการใช้กา๊ซธรรมชาติในภาคขนสง่ให้

มากขึน้และเพือ่ให้มีการพฒันาแหลง่พลงังานทดแทนกระทรวงพลงังานได้สรา้ง“แผนพฒันาพลงังานทดแทน

15ปี”(RenewableEnergyDevelopmentPlan:REDP)อันเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นการ

มุ่งพัฒนาสู่“พลังงานหลักของประเทศ”ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน

ให้กับประเทศด้วยราคาที่ประชาชนยอมรับและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรวมไปถึงลดปริมาณ

Page 46: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-46

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนโดยให้มีกรอบการพัฒนาพลังงานทดแทน

ของประเทศในระหว่างพ.ศ.2551-2565อันแบ่งได้เป็น3ระยะคือระยะสั้น(พ.ศ.2551-2554)ระยะกลาง

(พ.ศ.2555-2559)และระยะยาว(พ.ศ.2560-2565)โดยเป้าหมายเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันได้รวม19,799

ktoeในพ.ศ.2565คิดเป็นร้อยละ20ของการใช้พลังงานของประเทศ

นโยบายที่ 3กำกับดูแลราคาความปลอดภัย กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี

เสถียรภาพและเป็นธรรมต่อประชาชนโดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนา

พืชพลังงานรวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุดและบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมันเพื่อ

ให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน

นโยบายที่ 4การอนุรักษ์พลังงานและประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานทั้ง

ในภาคครัวเรือนอุตสาหกรรมบริการและขนส่งโดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัด

พลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายที่ 5 การดูแลสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อ

สิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆรวมทั้งส่งเสริมให้

เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนและลดปริมาณ

ก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้สำนกันโยบายและแผนกระทรวงพลงังานได้กำหนดยทุธศาสตร์แผนปฏบิตัิราชการขึน้ทกุปี

เพื่อให้บรรลุตามนโยบายดังกล่าวในพ.ศ.2544ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการสำหรับพ.ศ.2555

เพื่อใช้ในปฏิบัติราชการ4ปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ2555ของสำนักงานนโยบายและ

แผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

แนว ตอบ กิจกรรม 9.2.3

กฎหมายพลังงานที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับพลังงานประกอบไปด้วย

(1)พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้มีคณะ

กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอนโยบายและแผนการบริหารและ

พัฒนาพลังงาน การติดตามดูแลประสานและเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่มีอำนาจหน้าที่

เกี่ยวกับพลังงานรวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของ

ประเทศ

(2)พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550 เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงาน

มีประสิทธิภาพมีความมั่นคงเพียงพอและทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรม คุณภาพได้มาตรฐานตอบสนองความ

ต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

อันสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(3)พระราชบญัญตัิการคา้นำ้มนัเชือ้เพลงิพ.ศ.2543ซึง่กำหนดหลกัเกณฑ์และรายละเอยีดเกีย่วกบั

ผู้ค้นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยได้กำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมันระดับต่างๆ

Page 47: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-47

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

(4)พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพ.ศ.2535เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้เข้ามา

มีส่วนร่วมด้วย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ทางด้านพลังงานของประเทศ

ตามนโยบายของภาครัฐ

(5)พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอุนรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการ

ควบคุมโรงงาน รวมถึงอาคารควบคุม ในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการส่งเสริม

การอนุรักษ์พลังงาน ยังได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขึ้นมา รวมทั้งกองทุนส่งเสริม

การอนุรักษ์พลังงาน

(6)พระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ.2514แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่6พ.ศ.2550และพระราชบัญญัติ

ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดถึงการให้และการได้รับ

สัมปทานสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรปิโตรเลียมและการเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

(7)พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียพ.ศ. 2533 ซึ่งถึงบทบาทและหน้าที่ขององค์กรร่วม

ไทย-มาเลเซียซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียโดยให้มีสิทธิในการสำรวจ

และแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม

แนว ตอบ กิจกรรม 9.2.4

ประเทศมาเลเซียและประเทศไทยมีการตกลงร่วมกันในการทำประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

ระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียในรูปของบันทึกความเข้าใจขึ้นมา (MemorandumofUnderstanding

หรือMOU) และได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม (Malaysia-Thai JointAuthority หรือMTJA) เพื่อ

แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณดังกล่าว โดยอนุญาตให้บริษัทปิโตรเลียมจาก

ทั้งสองประเทศเข้ามาร่วมกันทำการสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติโดยทรัพยากรธรรมชาติที่สำรวจ

พบเป็นจำนวนมากคือก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซธรรมชาติที่สำรวจและขุดเจาะขึ้นมานั้นจะถูกนำมาคัดแยกที่

โรงคัดแยกก๊าซธรรมชาติอำเภอจะนะจังหวัดสงขลาและลำเลียงผ่านท่อก๊าซที่ได้สร้างขึ้นจากบริษัทท่อก๊าซ

ร่วมไทย-มาเลเซียผ่านโรงคัดแยกก๊าซดังกล่าวโดยได้มีการลำเลียงไปทั้งประเทศมาเลเซียและไทยซึ่งได้รับ

การต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เหตุผลหลักคือกระบวนการทำประชามติอันประชาชนสามารถมีส่วนร่วม

ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นได้มีการทำขึ้นโดยขาดการเข้าร่วมให้ความเห็นของประชาชนในพื้นที่เมื่อมีการ

สร้างท่อก๊าซและโรงคัดแยกก๊าซธรรมชาติดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในบริเวณ

ดงักลา่วกลา่วคอืวงจรชวีติของสตัว์ทะเลถกูรบกวนสง่ผลตอ่การทำประมงของชาวบา้นนอกจากนัน้ธรรมชาติ

ซึ่งแต่เดิมสมบูรณ์ถูกทำลายจากการที่รัฐต้องเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อนำไปใช้สร้างสิ่งต่างๆการเกิด

ก๊าซพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมทั้งก๊าซธรรมชาติบางส่วนถูกปล่อยออกมาในอากาศซึ่งส่งผลต่อ

วงจรชีวิตของสัตว์ป่าและสุขภาพของผู้คนสำหรับผลดีจากการสร้างโรงแยกก๊าซและท่อก๊าซนั้นประการแรก

คือ สร้างงานให้กับชาวบ้านในพื้นที่นอกจากนั้นก๊าซธรรมชาติดังกล่าวส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงใน

การผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับพื้นที่ทางภาคใต้ทั้งหมดดังนั้นปัญหาไฟฟ้า

ดับในภาคใต้จึงถูกแก้ไขลงส่งผลให้เอกชนมีความเชื่อมั่นและกล้าลงทุนในพื้นที่บริเวณภาคใต้มากขึ้น

Page 48: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-48

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แบบ ประเมิน ผล ตนเอง หลัง เรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน

ภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน”

คำ แนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้ แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม

2. จงอธิบายถึงแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางด้านพลังงาน

Page 49: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-49

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เฉลย แบบ ประเมิน ผล ตนเอง หน่วย ที่ 9

ก่อน เรียน1. นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับโอกาสจากรัฐบาลจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

ต่างๆเพื่อเข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตต่างๆซึ่งส่งผลดีต่อสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแต่สิ่ง

ที่กลายเปน็ผลกระทบตามมาคอืปญัหาสิง่แวดลอ้มในภาคอตุสาหกรรมซึง่เกดิจากการใช้ทรพัยากรธรรมชาติ

อยา่งไม่ประหยดัและขาดความรบัผดิชอบของเจา้ของโครงการอตุสาหกรรมตา่งๆดงัจะเหน็ได้จากการเกดิขึน้

ของปัญหามลพิษในเขตอุตสาหกรรมต่างๆซึ่งสร้างความกระทบกระเทือนต่อประชาชนจำนวนมากซึ่งอาศัย

อยู่บริเวณเขตอุตสาหกรรมปัญหาที่ปรากฏอย่างเด่นชัดที่ประชาชนพบเจอในปัจจุบันคือปัญหาสิ่งแวดล้อม

เสื่อมโทรมปัญหามลพิษปนเปื้อนทรัพยากรธรรมชาติปัญหาเสื่อมโทรมของคุณค่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์

เช่นดินน้ำอากาศเป็นต้นและปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศตามธรรมชาติตลอดจนปัญหาการ

เปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม

2. ปัญหาทางด้านพลังงานที่สำคัญ คือ ปัญหาการขาดความมั่นคงทางด้านพลังงานพลังงานถือ

เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะในการดำเนินชีวิต

ประจำวันของประชาชนและการดำเนินกิจการต่างๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเกี่ยวข้องกับทรัพยากร

พลังงานโดยทางตรงและทางอ้อมโดยในแต่ละปีความต้องการพลังงานจะเพิ่มสูงขึ้นดังนั้นรัฐบาลจึงสร้าง

มาตรการในการแสวงหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการพลังงานทั้งประเทศเพื่อสร้างความมั่นคง

ทางด้านพลังงานให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนแนวทางการในการแสวงหาและจัดการพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคง

ทางด้านพลังงานจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอยู่ในนโยบายของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย

หลัง เรียน1. รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมโดยในเบื้องต้นได้มีการออก

นโยบายอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยประกอบไปด้วยนโยบายดังต่อไปนี้ โดยได้สอดแทรก

แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในนโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและได้มีการกำหนด

ให้มีการคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ในนโยบายพลังงานของรัฐบาลในแต่ละสมัยและยัง

กำหนดแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะยาว20ปีตั้งแต่พ.ศ.2540ถึงพ.ศ.2559

เนื่องด้วยลักษณะงานการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดตั้งให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมผู้มี

อำนาจในการดำเนินการควบคู่ไปกับรัฐบาลในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

Page 50: ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในภาค อุตสาหกรรมและพลังงานlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-9.pdf · ดำเนินชีวิตประจำวัน

9-50

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

นอกจากนี้ยังได้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมยังได้รับการยอมรับและถูกกำหนดให้อยู่ในกฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 โดยกำหนดถึงสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการรับข้อมูล

และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลเกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ

และชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย

ทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและ

ต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตนย่อม

ได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535โดยกำหนดให้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตตามหลักเกณฑ์และวิธีการ

ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมและเยียวยา

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว

2. แนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานของประเทศไทยได้ถูกกำหนด

เอาไว้ในนโยบายพลังงานของประเทศ เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดการ

พลงังานให้เพยีงพอมีเสถยีรภาพดว้ยการเรง่สำรวจพฒันาแหลง่พลงังานประเภทตา่งๆทัง้ภายในประเทศและ

ต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานเพื่อให้พร้อมรองรับวิกฤตการณ์ด้านพลังงานดำเนินการ

ให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนโดย

ได้สร้าง“แผนพัฒนาพลังงานทดแทน15ปี”(RenewableEnergyDevelopmentPlan:REDP)อันเป็น

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นมุ่งพัฒนาสู่“พลังงานหลักของประเทศ”ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและ

สรา้งความมัน่คงทางดา้นพลงังานให้กบัประเทศดว้ยราคาที่ประชาชนยอมรบัและลดผลกระทบตอ่สิง่แวดลอ้ม

และชมุชนรวมไปถงึลดปรมิาณการปลอ่ยกา๊ซเรอืนกระจกและกำกบัดแูลราคาพลงังานให้อยู่ในระดบัที่เหมาะ

สมมีเสถียรภาพและเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสมส่งเสริมการ

อนรุกัษ์และประหยดัพลงังานทัง้ในภาคครวัเรอืนอตุสาหกรรมบรกิารและขนสง่โดยรณรงค์ให้เกดิวนิยัและ

สรา้งจติสำนกึในการประหยดัพลงังานและสนบัสนนุการใช้พลงังานอยา่งมีประสทิธภิาพและสง่เสรมิการจดัหา

และการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนอกจากนี้

สำนักนโยบายและแผนกระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติราชการขึ้นทุกปีเพื่อให้บรรลุ

ตามนโยบายดังกล่าวในพ.ศ.2544ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการสำหรับพ.ศ.2555เพื่อใช้ใน

ปฏิบัติราชการ4ปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555ของสำนักงานนโยบายและแผน

พลังงานกระทรวงพลังงานนอกจากนี้ยังได้มีการตรากฎหมายพลังงานที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับพลังงานเพื่อ

สร้างความมั่นคงพลังงานเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศภาครัฐภาคเอกชนและนักลงทุน

ต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย