หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข...

54
8-1 หน่วยที8 การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน และ การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน รองศาสตราจารย์จิตรา เพียรล้ำเลิศ

Upload: others

Post on 30-Dec-2019

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-1

หน่วยที่8การกระทำความผดิทางอาญาของเดก็และเยาวชนและ

การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

รองศาสตราจารย์จิตราเพียรล้ำเลิศ

Page 2: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่8

8.1.1 ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”

8.1.2 หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญา

ว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989

8.2.1 ทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ

ความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

8.2.2 ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

8.2.3 วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำ

ความผิดทางอาญา

8.3.1 การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและ

เยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา

8.3.2 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ

ความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

การกระทำ

ความผิดทาง

อาญาของเด็ก

และเยาวชนและ

การกระทำ

ความผิดทาง

อาญาต่อเด็ก

และเยาวชน

8.1 ความทั่วไป

8.2 การกระทำความผิด

ทางอาญาของเด็ก

และเยาวชน

8.3การกระทำความผิด

ทางอาญาต่อเด็ก

และเยาวชน

Page 3: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-3

หน่วยที่8

การกระทำความผดิทางอาญาของเดก็และเยาวชนและ

การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่8.1 ความทั่วไป

8.1.1 ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”

8.1.2 หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989

ตอนที่8.2 การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

8.2.1 ทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและ

เยาวชน

8.2.2 ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

8.2.3 วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา

ตอนที่8.3 การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

8.3.1 การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา

8.3.2 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

แนวคิด1. ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”ตามนิยามศัพท์ของกฎหมายต่างๆนั้นอาจสรุป

โดยรวมได้ว่าหมายถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์

2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ได้กำหนดหลักการคุ้มครองสิทธิต่างๆของเด็กซึ่ง

รวมถึงสิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครองทั้งในแง่มุมที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิดทาง

อาญาและในแง่มุมที่เด็กตกเป็นผู้เสียหาย

3. การศึกษาทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและ

เยาวชนจะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญา

ของเด็กและเยาวชน

4. ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญานั้นพิจารณาความ

ชั่วหรือความรู้ผิดชอบ โดยคำนึงถึงอายุของเด็กและเยาวชนผู้กระทำเป็นสำคัญ โดยถือ

หลกัวา่“ไมม่ีการลงโทษโดยปราศจากความชัว่หรอืความรู้ผดิชอบ”และหลกั“การลงโทษ

ให้เหมาะสมกับความชั่วหรือความรู้ผิดชอบของบุคคล”

Page 4: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-4

5. วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้นมีทั้ง1)วิธีการสำหรับเด็ก

และเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาและ2)วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งบัญญัติ

ไว้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ

6. กฎหมายอันเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเด็กและ

เยาวชนที่เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญา ได้แก่ 1) ประมวลกฎหมาย

อาญา ซึ่งมุ่งปราบปรามและลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดทางอาญาต่อเด็กและ

เยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา และ 2) กฎหมายอื่นเกี่ยวข้องกับการกระทำความ

ผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชนตามกฎหมายนั้นๆ แล้ว ยังมุ่งช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟู

หรือคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนผู้เสียหายดังกล่าวด้วย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่8จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ความหมายของ “เด็ก” และ “เยาวชน” และหลักการคุ้มครองสิทธิ

เด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนตลอดจนวิธีการสำหรับ

เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาได้

3. อธิบายและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชนได้

กิจกรรม1. กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่8

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่8

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่8

4)ศึกษาเนื้อหาสาระ

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่8

Page 5: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-5

2. งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่8

2)หนังสือและเอกสารประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง

2.1) ศาสตราจารย์ดร.หยุดแสงอุทัย(2551)กฎหมายอาญาภาค1พิมพ์ครั้งที่

20กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.2) ศาสตราจารย์ดร.คณิตณนคร (2551)กฎหมายอาญาภาคทั่วไปพิมพ์

ครั้งที่2กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.3)ศาสตราจารย์ดร.คณิตณนคร(2553)กฎหมายอาญาภาคความผิดพิมพ์

ครั้งที่10กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.4) รองศาสตราจารย์ดร.ทวีเกยีรติมีนะกนษิฐ(2553)คำอธบิายกฎหมายอาญา

ภาคความผิดและลหุโทษพิมพ์ครั้งที่6กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.มาตาลักษณ์ออรุ่งโรจน์(2551)กฎหมายเบื้องต้น

เกีย่วกบัการกระทำความผดิทางอาญาของเดก็และเยาวชนกรงุเทพมหานคร

โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

2.6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรียา ชูตินันท์ (2552)กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็ก

เยาวชนและคดีครอบครัวพิมพ์ครั้งที่3กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.7) วรวิทย์ ฤทธิทิศ (2553)หลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและ

ครอบครัวพิมพ์ครั้งที่3กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.8) วันชัยรุจนวงศ์(2548)เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่อง

ที่ 12.2.1 “สิทธิเด็กตามพันธกรณีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” นนทบุรี

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Page 6: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-6

2.9) ขวัญพัฒน์ ธนะธรรมนิตย์ (2551)การทำคำพิพากษาที่เหมาะสมต่อการ

กระทำความผิดของเด็กวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

2.10) อมรรัตน์ กริยาผล (2551) บทความเรื่อง “พระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ในทัศนะของ

ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว” ดุลพาหเล่ม2ปีที่55

2.11) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรกฎาคม2552)บันทึกสำนักงาน

คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม

ประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่....)พ.ศ.....(การกำหนดอายุของเด็ก

ที่เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา)

2. หนังสือตามที่อ้างในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1. ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 7: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-7

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “การกระทำความผิดทาง

อาญาของเด็กและเยาวชนและการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินผลตนเองชุดนี้

30นาที

1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ได้วางหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหาย

อย่างไร

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนมีอะไรบ้าง

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546มีมาตรการในการสงเคราะห์เด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำ

ความผิดเช่นเด็กที่ถูกทารุณกรรมหรือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอย่างไร

Page 8: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-8

ตอนที่8.1

ความทั่วไป

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่8.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่8.1.1 ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”

เรื่องที่8.1.2 หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989

แนวคิด1. กฎหมายไทยหลายฉบับกำหนดนิยามความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”ไว้สรุปโดย

รวมแล้วหมายถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์

2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ได้กำหนดหลักการคุ้มครองสิทธิต่างๆของเด็กซึ่ง

รวมถึงสิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครองทั้งในแง่มุมที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิดทาง

อาญาและในแง่มุมที่เด็กตกเป็นผู้เสียหาย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่8.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”ได้

2. อธบิายและวเิคราะห์หลกัการคุม้ครองสทิธิเดก็ตามอนสุญัญาวา่ดว้ยสทิธิเดก็ค.ศ.1989ได้

Page 9: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-9

เรื่องที่8.1.1 ความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”

สาระสังเขปในการพิจารณาความหมายของ “เด็ก” และ “เยาวชน” นั้น พบว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่ได้มี

บทบัญญัตินิยามความหมายไว้ดังนี้

1. ประมวลกฎหมายอาญา มิได้มีบทบัญญัติความหมายของ “เด็ก” และ “เยาวชน” ไว้ แต่มี

บทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของบุคคลซึ่งจะได้รับยกเว้นโทษหรืออาจได้รับการลดมาตราส่วน

โทษลงแล้วแต่กรณีโดยคำนึงถึงอายุของผู้กระทำความผิดทางอาญาเป็นเกณฑ์ดังนี้

มาตรา 73 บัญญัติว่า “เด็ก อายุ ไม่ เกิน สิบ ปี กระทำ การ อัน กฎหมาย บัญญัติ เป็น ความ ผิด เด็ก นั้น

ไม่ ต้อง รับ โทษ ....”

มาตรา 74 บัญญัติว่า “เด็ก อายุ กว่า สิบ ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน สิบ ห้า ปี กระทำ การ อัน กฎหมาย บัญญัติ เป็น

ความ ผิด เด็ก นั้น ไม่ ต้อง รับ โทษ แต่ ให้ ศาล มี อำนาจ ที่ จะ ดำเนิน การ ....”

มาตรา75บัญญัติว่า“ผู้ ใด อายุ กว่า สิบ ห้า ปี แต่ ต่ำ กว่า สิบ แปด ปี..... ถ้า ศาล เห็น ว่า ไม่ สมควร พิพากษา

ลงโทษ ก ็ให้ จัดการ ตาม มาตรา 74 หรือ ถ้า ศาล เห็น สมควร พิพากษา ลงโทษ ก ็ให ้ลด มาตราส่วน โทษ ที่ กำหนด

ไว้ สำหรับ ความ ผิด ลง กึ่ง หนึ่ง”

มาตรา 76บัญญัติว่า “ผู้ ใด อายุ ตั้งแต่ สิบ แปด ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน ยี่สิบ ปี...... ถ้า ศาล เห็น ควร สมควร จะ

ลด มาตราส่วน โทษ ที่ กำหนด ไว้ สำหรับ ความ ผิด นั้น ลง หนึ่ง ใน สาม หรือ กึ่ง หนึ่ง ก็ได้”

2. พระราชบญัญตัิจดัตัง้ศาลเยาวชนและครอบครวัและวธิีพจิารณาคดีเยาวชนและครอบครวัพ.ศ.

2534มีบทบัญญัติความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”ไว้ในมาตรา4ดังนี้

“เด็ก”หมายความว่าบุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์

“เยาวชน”หมายความว่าบุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

ทั้งนี้มาตรา5แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ

ครอบครัวพ.ศ.2534บัญญัติว่า“ใน คดี อาญา ที่ มี ข้อหา ว่า เด็ก หรือ เยาวชน กระทำ ความ ผิด ให้ ถือ อายุ เด็ก หรือ

เยาวชน นั้น ใน วัน ที่ การก ระ ทำความ ผิด ได้ เกิด ขึ้น”

ข้อที่น่าพิจารณาคือมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า“เด็ก”และ“เยาวชน”

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534

มาตรา 4ประกอบกับบทบัญญัติความรับผิดทางอาญาของบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 73

ถึงมาตรา75แล้วอาจสรุปได้ว่า1

1อัจฉรียาชูตินันท์กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็ก เยาวชนและคดีครอบครัวพิมพ์ครั้งที่ 3กรุงเทพมหานครวิญญูชน2552

หน้า71-72

Page 10: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-10

“เด็ก”หมายความว่าบุคคลอายุเกินกว่าสิบปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

“เยาวชน”หมายความว่าบุคคลอายุเกินกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

อีกทั้ง ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ความหมายของ “เยาวชน” นั้น ถืออายุเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงว่า

บุคคลนั้นจะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นพ้นสภาวะผู้เยาว์ตามกฎหมายแพ่ง

เท่านั้นและในทางกฎหมายอาญามิได้นำเอาการบรรลุนิติภาวะทางแพ่งมาพิจารณาในการลดมาตราส่วนโทษ

แต่อย่างใด2

อนึ่ง ปัจจุบันได้มีร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ

ครอบครัวพ.ศ.....3โดยมาตรา4ได้กำหนดความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”ที่กระทำความผิดทาง

อาญาให้ชัดเจน และสอดคล้องกับความรู้ผิดชอบของผู้กระทำตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 73 ถึง

มาตรา75ว่า

“เด็ก”หมายความว่าบุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

“เยาวชน”หมายความว่าบุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

ซึ่งการกำหนดนิยามดังกล่าวตรงกับการกำหนดนิยามของศาสตราจารย์ดร.คณิตณนคร4

การพจิารณาความหมายของ“เดก็”และ“เยาวชน”ตามกฎหมายดงักลา่วเปน็กรณีที่เดก็และเยาวชน

เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาจึงมีเหตุผลที่จะนิยามความหมายของ“เด็ก”และ“เยาวชน”โดยจำแนกอายุ

เนื่องจากเด็กและเยาวชนมีอายุแตกต่างกันย่อมมีความรู้ผิดชอบแตกต่างกันและอาจพิจารณาความรับผิด

ทางอาญาเพื่อลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นแตกต่างกันออกไปได้

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546ได้มีบทนิยามไว้ในมาตรา4ว่า

“เด็ก”หมายความว่าบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย

การสมรส

4. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ.2551ก็ได้บัญญัตินิยามเฉพาะความ

หมายของ“เด็ก”ไว้คล้ายคลึงกันในมาตรา4ว่า

“เด็ก”หมายความว่าบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

ขอ้ที่นา่สงัเกตคือพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546เป็นกฎหมายที่กำหนดวิธีการสงเคราะห์

คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติของเด็ก รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรมตกเป็น

เครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบฯลฯส่วนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

พ.ศ. 2551มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อป้องกัน และลงโทษผู้ค้ามนุษย์ซึ่งรวมถึงการค้าเด็ก รวมทั้งปรับปรุง

2วรวิทย์ฤทธิทิศหลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวพิมพ์ครั้งที่3กรุงเทพมหานครวิญญูชน2553

หนา้20–21;ประเทอืงธนยิผลกฎหมายเกีย่วกบัการกระทำความผดิของเดก็และเยาวชนและวธิีพจิารณาคดีครอบครวักรงุเทพมหานคร

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง2538หน้า703 ที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ได้ลงมติรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งสภาผู้แทน

ราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วไว้พิจารณาโดยตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา4 ศาสตราจารย์ ดร.คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร วิญญูชน 2551หน้า 258

260

Page 11: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-11

ช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ค.ศ.1989พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงนิยามคำว่า“เด็ก”ไว้สอดคล้องกับข้อ1แห่งอนุสัญญาดังกล่าวซึ่ง

นิยามว่า“เดก็ หมาย ถงึ มนษุย ์ทกุ คน ที ่อาย ุตำ่ กวา่ สบิ แปด ป ีเวน้ แต ่จะ บรรล ุนติภิาวะ กอ่น หนา้ นัน้ ตาม กฎหมาย

ที่ ใช้ บังคับ แก่ เด็ก นั้น” อันเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปดังปรากฏในตราสารระหว่างประเทศ

ต่างๆที่ให้การรับรองสิทธิเด็ก

(โปรดอา่นเนือ้หาสาระโดยละเอยีดในกฎหมายเกีย่วกบัคดีเดก็เยาวชนและคดีครอบครวัโดยผู้ชว่ย

ศาสตราจารย์อัจฉรียาชูตินันท์หน้า70–72;หลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวโดย

วรวิทย์ ฤทธิทิศหน้า 20–22;บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไข

เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ....)พ.ศ. .... (การกำหนดอายุของเด็กที่เป็นผู้กระทำความผิดทาง

อาญา)กรกฎาคมพ.ศ.2550หน้า4)

กิจกรรม8.1.1

การเข้าใจความหมายของ “เด็ก” และ “เยาวชน” กรณีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความ

ผิดทางอาญาอาจมีผลในเรื่องใด

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.1กิจกรรม8.1.1)

Page 12: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-12

เรื่องที่8.1.2 หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วย

สิทธิเด็กค.ศ.1989

สาระสังเขปโดยที่สภาวะทางร่างกาย และสติปัญญาของเด็กไม่เท่าเทียมกับผู้ใหญ่ จึงต้องได้รับการคุ้มครอง

เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้พัฒนาและเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และเป็นกำลัง

สำคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมต่อไปประชาคมระหว่างประเทศจึงเห็นความสำคัญในการคุ้มครอง

สิทธิเด็ก ดังจะเห็นได้ว่า สิทธิเด็กได้รับการรับรองโดยองค์การสันนิบาตชาติ และองค์การสหประชาชาติ

เรื่อยมากระทั่งในปีค.ศ.1989องค์การสหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Conventionon

theRightsoftheChild,1989:CRC)ขึ้นและมีผลบังคับใช้เมื่อมีภาคีสมาชิกครบตามที่กำหนดเมื่อวันที่

2กันยายนค.ศ.1990โดยประเทศไทยได้ลงนามในภาคยานุวัติสารแล้วและมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 เมษายนพ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับ

หลักการในอนุสัญญาดังกล่าว

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989นี้ได้กำหนดหลักการคุ้มครองสิทธิต่างๆของเด็ก5ซึ่งรวมถึง

สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครองทั้งในแง่มุมที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาและในแง่มุมที่เด็ก

ตกเป็นผู้เสียหายดังจะแยกพิจารณาต่อไปนี้

1. หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กผู้กระทำความผิดทางอาญา6

1.1จะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมานหรือถูกปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม

หรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับ

ความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

1.2จะไม่มีเด็กคนใดถูกลิดรอนเสรีภาพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยพลการการจับกุม

กักขังหรือจำคุกเด็กจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้นและให้มีระยะเวลาที่

สั้นที่สุดอย่างเหมาะสม

1.3เด็กทกุคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะได้รบัการปฏบิัติดว้ยมนษุยธรรมและดว้ยความเคารพ

ในศกัดิศ์รีแต่กำเนดิของมนษุย์และในลกัษณะที่คำนงึถงึความตอ้งการของบคุคลในวยันัน้โดยเฉพาะอยา่งยิง่

เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะต้องถูกแยกต่างหากจากผู้ใหญ่เว้นแต่จะพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์

สูงสุดต่อเด็กที่จะไม่แยกเช่นนั้น และเด็กจะมีสิทธิที่จะคงการติดต่อกับครอบครัวทางหนังสือโต้ตอบและ

การเยี่ยมเยียนเว้นแต่ในสภาพการณ์พิเศษ

5ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ1“เด็ก”หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า18ปีเว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะ

ก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น6อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ37และข้อ40

Page 13: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-13

1.4เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพมีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่น

ที่เหมาะสมโดยพลันตลอดจนสิทธิที่จะค้านความชอบด้วยกฎหมายของการลิดรอนเสรีภาพของเขาต่อศาล

หรือหน่วยงานที่มีอำนาจอื่นที่เป็นอิสระและเป็นกลาง และที่จะได้รับคำวินิจฉัยโดยพลันต่อการดำเนินการ

เช่นว่านั้น

1.5เด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหาตั้งข้อหาหรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาจะต้องได้รับการ

ปฏิบัติต่อในลักษณะที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าของเด็กโดยต้องคำนึงถึง

อายุของเด็กและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคมและการมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของเด็กใน

สังคม

1.6จะไม่มีเด็กคนใดถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายอาญาโดยเหตุแห่ง

การกระทำซึ่งไม่ต้องห้ามตามกฎหมายที่มีอยู่ในขณะที่กระทำนั้น

1.7เด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหาหรือตั้งข้อหาว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาจะได้รับการสันนิษฐาน

ว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ได้รับแจ้งข้อหาทันทีและโดยตรง และใน

กรณีที่เหมาะสมโดยผ่านบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายและจะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย

หรือทางอื่นที่เหมาะสม เพื่อการตระเตรียมและการสู้คดี ได้รับการตัดสินโดยไม่ชักช้า โดยหน่วยงานหรือ

องค์กรทางตุลาการที่มีอำนาจเป็นอิสระและเป็นกลาง ในการพิจารณาความอย่างยุติธรรมตามกฎหมาย จะ

ไม่ถูกบังคับให้เบิกความหรือสารภาพผิด สามารถซักถามหรือซักค้านพยาน และอ้างพยานของตนได้ หาก

พจิารณาวา่ได้มีการฝา่ฝนืกฎหมายอาญาก็ใหก้ารวนิจิฉยัหรอืมาตรการใดที่กำหนดโดยผลของการวนิจิฉยันัน้

ได้รับการทบทวนโดยหน่วยงานหรือองค์กรตุลาการที่มีอำนาจเป็นอิสระและเป็นกลางในระดับสูงขึ้นไปหาก

เด็กไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ใช้อยู่ให้จัดหาล่ามโดยไม่คิดมูลค่าและในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณา

ให้เคารพต่อเรื่องส่วนตัวของเด็กอย่างเต็มที่

1.8ส่งเสริมให้มีการตรากฎหมายกำหนดกระบวนวิธีพิจารณา จัดตั้งหน่วยงานซึ่งจะใช้

เป็นการเฉพาะกับเด็กที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหาหรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา และกำหนดอายุขั้นต่ำ

ซึ่งเด็กที่มีอายุต่ำกว่านั้นจะถูกถือว่าไม่มีความสามารถที่จะฝ่าฝืนกฎหมายอาญาได้ กรณีที่เห็นว่าเหมาะสม

ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้กับเด็กเหล่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการ โดยเงื่อนไขว่า สิทธิ

มนุษยชนและการคุ้มครองตามกฎหมายจะยังคงอยู่

1.9การดำเนินการต่างๆ เช่น คำสั่งให้มีการดูแล แนะแนว และควบคุมการให้คำปรึกษา

การภาคทัณฑ์การอุปการะดูแลแผนงานการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพและทางอื่นนอกเหนือจากการให้

สถาบันเป็นผู้ดูแล จะต้องมีไว้เพื่อประกันว่าเด็กจะได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เหมาะสมแก่ความเป็นอยู่

ที่ดีของเด็กและได้สัดส่วนกับทั้งสภาพการณ์และความผิดของเด็ก

Page 14: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-14

2. หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กผู้เสียหาย

2.1เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

การทำร้ายหรือการกระทำอันมิชอบการทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาทการปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงหา

ประโยชน์รวมถึงการกระทำอันมิชอบทางเพศขณะอยู่ในความดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองตามกฎหมาย

หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแล7

2.2เด็กจะได้รับการคุ้มครองมิให้มีการใช้เด็กเพื่อการผลิต และค้าโดยผิดกฎหมายซึ่ง

ยาเสพติดหรือสารที่มีพิษต่อจิตประสาทอื่นๆ8

2.3เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และการกระทำทางเพศที่

มิชอบทุกรูปแบบรวมทั้งป้องกันการชักจูงหรือบีบบังคับให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศใดๆที่ไม่ชอบด้วย

กฎหมายการแสวงหาประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณีหรือการกระทำอื่นๆที่เกี่ยวกับเพศที่ไม่ชอบด้วย

กฎหมายหรือในการแสดงลามกอนาจารและที่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจาร9

2.4เด็กจะได้รับการคุ้มครองป้องกันมิให้มีการลักพาการขายหรือการลักลอบค้าเด็กไม่ว่า

ด้วยวัตถุประสงค์ใดหรือในรูปแบบใด10

2.5เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากการถูกแสวงหาประโยชน์ในทุกรูปแบบอื่นทั้งหมดที่เป็น

ผลร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็กไม่ว่าในด้านใด11

ทั้งนี้จะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจและ

การกลับคืนสู่สังคมของเด็กที่ได้รับเคราะห์จากการละเลยในรูปแบบใดๆการแสวงหาประโยชน์การกระทำ

อันมิชอบการทรมานหรือการลงโทษหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้าโดยรูปอื่นโดยการ

ฟื้นฟูหรือการกลับคืนสู่สังคมดังกล่าว จะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพการเคารพตนเองและ

ศักดิ์ศรีของเด็ก12

อนึ่งหลักการคุ้มครองสิทธิเด็กในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กดังกล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่

ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีสมาชิกมีพันธกรณีตามข้อ4ที่จะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงทั้งใน

ด้านนิติบัญญัติและด้านอื่นๆเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองไว้จึงสมควรที่ประเทศไทย

จะได้ตรวจสอบบรรดากฎหมายภายในต่างๆที่มีอยู่และดำเนินการตราปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายภายใน

ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว

7อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ198อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ339อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ3410อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ3511อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ3612อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989ข้อ39

Page 15: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-15

(โปรดอา่นเนือ้หาสาระโดยละเอยีดในเอกสารการสอนชดุวชิากฎหมายสทิธิมนษุยชนเรือ่งที่12.2.1

“สทิธิเดก็ตามพนัธกรณีในอนสุญัญาวา่ดว้ยสทิธิเดก็”โดยวนัชยัรจุนวงศ์หนา้415–438;บทความเรือ่ง“สทิธิ

เด็กกับกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับเด็ก”บทบัณฑิตย์เล่ม53ตอน4โดยวิชามหาคุณหน้า106–107;และ

โปรดอา่นเพิม่เตมิในบทความเรือ่ง“มาตรฐานการปฏบิตัิตอ่เดก็ที่ถกูกลา่วหาวา่กระทำความผดิตามอนุสญัญา

ว่าด้วยสิทธิเด็ก”บทบัณฑิตย์เล่ม53ตอน4โดยวัชรินทร์ปัจเจกวิญญูสกุลหน้า116–122;Conventionon

theRightsoftheChild,1989)

กิจกรรม8.1.2

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989วางหลักการคุ้มครองสิทธิเด็กผู้เสียหายจากการกระทำ

ความผิดทางอาญาไว้อย่างไรจงยกตัวอย่าง

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.1กิจกรรม8.1.2)

Page 16: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-16

ตอนที่8.2

การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่8.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่8.2.1 ทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและ

เยาวชน

เรื่องที่8.2.2 ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

เรื่องที่8.2.3 วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา

แนวคิด1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนได้แก่1)ทฤษฎี

โอกาสที่แตกต่าง 2) ทฤษฎีการเลียนแบบ 3) ทฤษฎีความสัมพันธ์ที่แตกต่าง 4) ทฤษฎี

ปฏิกิริยาของสังคมและ5)ทฤษฎีตราหน้าส่วนปัจจัยอันเป็นสาเหตุของการกระทำความ

ผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนอาจแบ่งออกเป็น 1) ปัจจัยภายในตัวเด็กและเยาวชน

และ2)ปัจจัยภายนอกตัวเด็กและเยาวชน

2. การพิจารณาความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในประมวล

กฎหมายอาญานั้น พิจารณาความชั่วหรือความรู้ผิดชอบโดยคำนึงถึงอายุของเด็กหรือ

เยาวชนผู้กระทำเป็นสำคัญ โดยถือหลักว่า “ไม่มีการลงโทษโดยปราศจากความชั่วหรือ

ความรู้ผิดชอบ” และหลัก “การลงโทษให้เหมาะสมกับความชั่วหรือความรู้ผิดชอบของ

บุคคล”

3. วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้นอาจแยกพิจารณาออกเป็น

1)วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาและ2)วิธีการสำหรับเด็ก

และเยาวชนตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

Page 17: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-17

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่8.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็ก

และเยาวชนได้

2. อธิบายและวิเคราะห์ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนได้

3. อธิบายและวิเคราะห์วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาได้

Page 18: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-18

เรื่องที่8.2.1 ทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

ทางอาญาของเด็กและเยาวชน

สาระสังเขปเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน ซึ่งจะนำไปสู่การ

ลงโทษหรือการกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อมุ่งคุ้มครองแก้ไขและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา

อย่างเหมาะสม รวมตลอดถึงนำไปสู่แนวทางในการป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญา

ต่อไปในอนาคต จึงควรศึกษาในเบื้องต้นถึงทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญา

ของเด็กและเยาวชนดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน ทฤษฎีทาง

อาชญาวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนมีหลายทฤษฎีทฤษฎีที่

สำคัญในปัจจุบันได้แก่

1.1 ทฤษฎี โอกาส ที่ แตก ต่าง (Different Opportunity Theory)13

RichardClowardและLloyE.Ohlinอธิบายว่าการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและ

เยาวชนขึน้อยู่กบัโครงสรา้งทางสงัคมและโอกาสเชน่เดก็หรอืเยาวชนที่ยากจนในแหลง่เสือ่มโทรมไมม่ีโอกาส

พบเห็นแบบอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จตามวิถีทางที่สังคมยอมรับแต่กลับพบเห็นแบบอย่างของการ

กระทำความผิดทางอาญาจึงพบว่าเด็กและเยาวชนดังกล่าวมักเลือกปฏิบัติตามแบบอย่างที่ตนพบเห็น

1.2 ทฤษฎี การ เลียน แบบ (Immitation Theory)

Garbriel Tard อธิบายว่า การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนเกิดจาก

พฤติกรรมเลียนแบบกล่าวคือ เคยพบเห็น เรียนรู้ จดจำ การกระทำความผิดทางอาญามาก่อน แล้วเกิด

การปฏิบัติตามแบบพฤติกรรมนั้นในเวลาต่อมา

1.3 ทฤษฎี ความ สัมพันธ์ ที่ แตก ต่าง (Differential Association Theory)

EdwardH. Sutherland อธิบายว่า การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

เกดิขึน้จากผลของความสมัพนัธ์หรอืคบหาสมาคมกบักลุม่คนที่มีพฤตกิรรมของการกระทำความผดิทางอาญา

และห่างเหินกลุ่มคนที่ต่อต้านการกระทำความผิดทางอาญาโดยการเรียนรู้ทัศนคติเทคนิคและพฤติกรรม

การกระทำความผิดทางอาญาของกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม เช่นคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิท

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่(frequency)และระยะเวลา(duration)ในการคบหาสมาคมรวมทั้งลำดับของความ

สัมพันธ์ (priority) กล่าวคือ ยิ่งเรียนรู้ตั้งแต่อายุน้อยก็ยิ่งมีผลต่อพฤติกรรมมากตลอดจนความเข้มข้น

13 สุดสงวนสุธีสรอาชญาวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานครคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์2547หน้า82

Page 19: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-19

(intensity)ของการคบหาซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความสำคัญหรือมีอิทธิพลมากในความสัมพันธ์ย่อมมีผลในการ

ชักจูงหรือต่อการเรียนรู้พฤติกรรมมาก

1.4 ทฤษฎ ีปฏกิริยิา ของ สงัคม (Social Reaction Theory) หรอื ทฤษฎี ตราบาป (The Labelling

Theory)

EdwardH. Sutherlandนักอาชญาวิทยาอเมริกัน และGabriel Tardนักอาชญาวิทยา

ฝรั่งเศส อธิบายว่า นิสัยหรือพฤติกรรมในการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นเพราะ

สงัคมเปน็ผู้ตราบาปโดยเกดิขึน้เมือ่เดก็หรอืเยาวชนผู้กระทำความผดิครัง้แรกตอ้งเขา้สู่กระบวนการยตุธิรรม

ทางอาญาและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้ในฐานะเป็นอาชญากรอันเป็นการสร้าง

ตราบาปติดตัวเด็กหรือเยาวชนผู้นั้นนับแต่นั้น อีกทั้งยังรวมถึงการที่สังคมเป็นผู้ตราบาปโดยแสดงความ

ห่างเหิน ไม่ให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญากลับคืนสู่สังคมอย่างปกติสุข ซึ่งยิ่งส่งผล

ให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นมีพฤติกรรมถลำลึกในการกระทำความผิดทางอาญาซ้ำหรือรุนแรงยิ่งขึ้น

1.5 ทฤษฎี ตรา หน้า (Symbolic Interaction Theory)

FrankTannenbaumอธิบายว่าการที่สังคมไม่ยอมเปิดโอกาสให้เด็กหรือเยาวชนที่กระทำ

ความผิดแก้ไขกลับตัว แต่กลับตอบโต้อย่างไม่เหมาะสมด้วยการตราหน้า เช่น แสดงความรังเกียจ เหยียด

หยาม ไม่ยอมรับมิได้ก่อให้เกิดผลดี หากแต่เป็นการผลักดันเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดไปสู่ความ

ชั่วร้ายและการกระทำความผิดทางอาญาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเป็นภัยแก่สังคมในที่สุด14

2. ปัจจัยอันเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน นักอาชญาวิทยา

นักสังคมวิทยา และนักจิตวิทยา ได้ศึกษาถึงสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

แล้ว อาจสรุปได้ว่า ปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนอาจ

จำแนกออกได้เป็น2.1)ปัจจัยภายในตัวเด็กและเยาวชนและ2.2)ปัจจัยภายนอกตัวเด็กและเยาวชนซึ่งจะ

แยกอธิบายได้ดังนี้

2.1 ปัจจัย ภายใน ตัว เด็ก และ เยาวชนได้แก่

2.1.1 สติ ปัญญา และ ประสบการณ์ น้อย เด็กและเยาวชนทั่วไปมีสติปัญญา และ

ประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมด้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เกิดความรู้เท่า

ไม่ถึงการณ์ถูกชักจูงให้กระทำความผิดได้โดยง่าย

2.1.2 ภาวะ แห่ง จิต เด็กและเยาวชนมีภาวะทางจิตใจที่ยังไม่เจริญเต็มที่ โดยเฉพาะ

เยาวชนที่เป็นวัยรุ่น เป็นวัยที่มีอารมณ์รุนแรง คึกคะนอง ขาดความยับยั้งหรืออดทนต่อสิ่งเร้าหรือสิ่ง

แวดล้อม

2.1.3 พันธุกรรมความบกพร่องที่ได้รับถ่ายทอดจากบิดามารดา เช่น โรคปัญญาอ่อน

หรือความบกพร่องทางบุคลิกภาพอาจส่งผลให้ขาดความยับยั้งชั่งใจในการกระทำความผิด

14มาตาลักษณ์ออรุ่งโรจน์กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร

โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์2551หน้า56-57

Page 20: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-20

2.1.4 ความ ไม่ สม ประกอบ ทาง กาย เช่น ความพิการ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคภัย ซึ่งส่ง

ผลกระทบให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ มีปมด้อย ไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ มีปฏิกิริยาหรือแสดงพฤติกรรม

ก้าวร้าวรุนแรงหรือกระทำความผิด

2.1.5 ความ ไม่ สม ประกอบ ทาง ใจ เช่น จิตบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือ

ไม่สามารถบังคับตนเองได้อาจเป็นเหตุให้กระทำความผิดได้ง่ายกว่าปกติ

2.2 ปัจจัย ภายนอก ตัว เด็ก และ เยาวชนได้แก่

2.2.1 สภาพ ปัญหา ภายใน ครอบครัว เช่น ปัญหาความอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาการ

อบรมเลี้ยงดูไม่ว่าโดยการไม่เอาใจใส่หรือเข้มงวดเกินไปในการอบรมสั่งสอนปัญหาการซึมซับพฤติกรรม

ของคนในครอบครัวหรือปัญหาฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว

2.2.2 สภาพ ปัญหา ภายนอก ครอบครัว เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกล่าวคือ

พักอาศัยใกล้แหล่งเสื่อมโทรม แหล่งอบายมุขหรือสถานเริงรมย์ ปัญหาการลอกเลียนแบบพฤติกรรมใน

สังคมที่ไม่เหมาะสมไม่ว่าลอกเลียนจากกลุ่มเพื่อนสื่อประเภทต่างๆหรือกระแสความเชื่อผิดๆอาทิกระแส

วัตถุนิยมหรือปัญหาเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำเป็นต้น

จากการศึกษาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน อาจ

มิได้เนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่อาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุประกอบกันโดยแต่ละสาเหตุต่าง

มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หรือสาเหตุหนึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุอื่น ซึ่งกระตุ้นหรือผลักดันให้เด็กหรือ

เยาวชนกระทำความผิดทางอาญามากขึ้น การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนมิได้เกิดจาก

จิตใจที่ชั่วร้าย แต่มักเกิดจากความหลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความเขลาเบาปัญญา หรือความอ่อนแอ

ทางจิตใจ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่า รัฐไม่ควรปฏิบัติต่อ

เด็กและเยาวชนเหล่านี้เช่นอาชญากร เพราะจะเป็นการผลักดันให้เด็กและเยาวชนถลำลึกไปสู่หนทางที่

ชั่วร้ายจนไม่อาจกล่อมเกลาให้กลับตัวเป็นคนดีได้ แต่ควรปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทาง

อาญาด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ที่กระทำความผิดทางอาญา กล่าวคือ รัฐไม่ควรลงโทษเด็กหรือ

เยาวชนด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้เข็ดหลาบเพื่อเป็นการแก้แค้นหรือเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น แต่ควร

มุ่งให้การสงเคราะห์ อบรมแก้ไขให้กลับตัวเป็นคนดียิ่งกว่ามุ่งการลงโทษทางอาญาและในการพิจารณาว่า

ควรลงโทษหรือใช้วิธีการอย่างใด จึงจะทำให้เด็กหรือเยาวชนกลับตนเป็นคนดีได้นั้นควรพิจารณาเด็กหรือ

เยาวชนเป็นรายกรณีไป เพราะการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนย่อมมีสาเหตุแตกต่างกัน

และหากมีวิธีการใดที่จะทำให้เด็กหรือเยาวชนกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องลงโทษก็ควรใช้วิธีการนั้นแทน

การลงโทษ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของ

เด็กและเยาวชนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.มาตาลักษณ์ออรุ่งโรจน์หน้า54–65;กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็ก

เยาวชนและคดีครอบครัวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรียาชูตินันท์หน้า25–30;หลักกฎหมายการดำเนิน

คดีในศาลเยาวชนและครอบครัวโดยวรวิทย์ฤทธิทิศหน้า14–16;วิทยานิพนธ์ เรื่องการทำคำพิพากษาที่

เหมาะสมต่อการกระทำความผิดของเด็กโดยขวัญพัฒน์ธนะธรรมนิตย์หน้า20-29)

Page 21: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-21

กิจกรรม8.2.1

ปัจจัยภายนอกตัวเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญการกระทำความผิดทางอาญาของเด็ก

และเยาวชนได้แก่อะไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.2กิจกรรม8.2.1)

Page 22: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-22

เรื่องที่8.2.2ความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

สาระสังเขปในการพิจารณาความรับผิดทางอาญาของบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยซึ่ง

ยึดถือระบบCivilLawนั้นนอกจากจะพิจารณาว่าการกระทำของบุคคลนั้นครบองค์ประกอบที่กฎหมาย

บัญญัติไว้ (Tatbestandmassigkeit) และการกระทำนั้นเป็นความผิดกฎหมาย (Rechtswidrigkeit)

แล้ว ยังต้องพิจารณาว่าได้กระทำไปโดยมี “ความชั่ว” (Schuld) ซึ่งหมายถึง การตำหนิได้ของการกำหนด

เจตจำนง (Vorwerfbarkeit/blameworthiness) กล่าวคือ ได้กระทำไปโดยมีความรู้ผิดชอบหรือมีความ

สามารถแยกแยะผิดถูกได้15

ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายอาญามีหลักประการหนึ่งคือ“หลักไม่มีการลงโทษโดยปราศจากความชั่ว”

(nullapoenasineculpa)ซึ่งนอกจากจะหมายความว่าจะลงโทษบุคคลโดยปราศจากความชั่วไม่ได้แล้ว

ยังหมายความรวมถึงว่าจะลงโทษบุคคลเกินกว่าความชั่วของบุคคลนั้นไม่ได้หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ“หลักการ

ลงโทษให้เหมาะสมกับความชั่วของบุคคล”(IndividualizationofPunishment)16

สำหรับการพิจารณาว่าผู้กระทำมี“ความชั่ว”หรือ“มีความรู้ผิดชอบ”หรือไม่นั้นอาจพิจารณาได้

ประการหนึ่งจากความเจริญวัยหรืออายุของผู้กระทำดังเช่นที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาของไทยซึ่งมี

บทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนโดยอาจแยกพิจารณาดังต่อไปนี้

1. ความรับผิดทางอาญาของเด็ก

มาตรา7317บัญญัติว่า“เด็ก อายุ ยัง ไม่ เกิน สิบ ปี กระทำ การ อัน กฎหมาย บัญญัติ เป็น ความ ผิด เด็ก นั้น

ไม่ ต้อง รับ โทษ”

มาตรา7418บัญญัติว่า“เด็ก อายุ กว่า สิบ ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน สิบ ห้า ปี กระทำ การ อัน กฎหมาย บัญญัติ เป็น

ความ ผิด เด็ก นั้น ไม่ ต้อง รับ โทษ แต่ ให้ ศาล มี อำนาจ ที่ จะ ดำเนิน การ ดัง ต่อ ไป นี้......”

จากบทบัญญัติดังกล่าวเด็กซึ่งในที่นี้หมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่เกินสิบห้าปี19แม้กระทำความผิด

ขณะอยู่ในช่วงอายุดังกล่าวย่อมไม่มีความรับผิดทางอาญา โดยมีพื้นฐานมาจากความคิดที่ว่า เด็กในช่วง

อายุดังกล่าวยังไม่เจริญวัยพอที่จะมีความรู้ผิดชอบซึ่งจะถูกตำหนิได้การกระทำของเด็กในช่วงอายุดังกล่าว

จึงปราศจากความชั่ว กฎหมายจึงห้ามเด็ดขาดมิให้ลงโทษทางอาญาแก่เด็กนั้น โดยถือเป็นข้อสันนิษฐาน

เด็ดขาดของกฎหมายว่า เด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีความรู้ผิดชอบแม้ตามข้อเท็จจริงเด็กอาจมีความรู้

ผิดชอบมากพอกับผู้ใหญ่หรือมีความเฉลียวฉลาดเพียงใดก็ตาม

15คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคทั่วไปพิมพ์ครั้งที่3กรุงเทพมหานครวิญญูชน2551หน้า251-25216 เรื่องเดียวกันหน้า25125617แก้ไขโดยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่21)พ.ศ.255118แก้ไขโดยมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่21)พ.ศ.255119คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคทั่วไปหน้า258

Page 23: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-23

2. ความรับผิดทางอาญาของเยาวชน

มาตรา7520บัญญัติว่า“ผู ้ใด อาย ุกวา่ สบิ หา้ ป ีแต ่ตำ่ กวา่ สบิ แปด ป ีกระทำ การ อนั กฎหมาย บญัญตั ิเปน็

ความ ผิด ให้ ศาล พิจารณา ถึง ความ รู้ ผิด ชอบ และ สิ่ง อื่น ทั้ง ปวง เกี่ยว กับ ผู้ นั้น ใน อัน ที่ จะ ควร วินิจฉัย ว่า สมควร

พิพากษา ลงโทษ ผู้ นั้น หรือ ไม่ ถ้า ศาล เห็น ว่า ไม่ สมควร พิพากษา ลงโทษ ก็ ให้ จัดการ ตาม มาตรา 74 หรือ ถ้า ศาล

เห็น สมควร พิพากษา ลงโทษ ก็ ให้ ลด มาตราส่วน โทษ ที่ กำหนด ไว้ สำหรับ ความ ผิด ลง กึ่ง หนึ่ง”

ตามบทบัญญัติข้างต้น เยาวชน ซึ่งในที่นี้หมายถึง บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี แต่ต่ำกว่าสิบแปดปี21

กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่กฎหมายให้พิจารณา“ความ

รู้ผิดชอบ”ของเยาวชนโดยมีแนวคิดว่าเยาวชนอาจมีความรู้ผิดชอบอีกทั้งให้พิจารณา“สิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยว

กับผู้นั้น”ด้วย

ข้อที่น่าพิจารณาก็คือความว่า“สิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น”นั้นนักนิติศาสตร์ได้อธิบายไว้ดังนี้

ศาสตราจารย์ดร.คณิตณนครอธิบายว่า“สิ่งอื่นทั้งปวง....”หมายถึงสิ่งที่แสดงให้เห็น“ความรู้

ผิดชอบ” นั่นเอง โดยพิจารณาความเฉลียวฉลาดของเยาวชนและระดับความเข้าใจในศีลธรรมจริยธรรม

และพัฒนาการด้านจิตใจของผู้กระทำในขณะกระทำ22

ส่วนนักนิติศาสตร์บางท่านอธิบายว่าตามแนวคิดปัจจุบัน ไม่ควรพิจารณาความรู้ผิดชอบแต่เพียง

อย่างเดียวแต่ควรพิจารณา“สิ่งอื่นทั้งปวง....”ประกอบซึ่งอาจเป็นสาเหตุแห่งการกระทำความผิดลักษณะ

เฉพาะตัว หรือสิ่งแวดล้อมของผู้กระทำ เป็นต้นดังนั้น แม้เยาวชนจะมีความรู้ผิดชอบดีในขณะกระทำผิด

แต่เมื่อศาลพิจารณา“สิ่งอื่นทั้งปวง....”แล้วอาจเห็นว่าไม่สมควรลงโทษทางอาญาแก่เยาวชนผู้กระทำความ

ผิดแต่ควรจัดการโดยใช้วิธีการตามมาตรา74(ดังจะกล่าวในเรื่องที่8.2.3)ซึ่งจะทำให้เยาวชนกลับตนได้ดี

กว่าก็เป็นได้23

อย่างไรก็ตามหากศาลพิพากษาว่าสมควรลงโทษทางอาญาแก่เยาวชนผู้กระทำความผิดกฎหมาย

มาตรานี้บังคับให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง24เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ

ลงโทษให้เหมาะสมกับความชั่วหรือความรู้ผิดชอบของบุคคล(IndividualizationofPunishment)ดังได้

กล่าวไว้ตอนต้นแล้ว

ขอ้สงัเกตคือจากบทบัญญัติข้างต้นเห็นได้ว่าผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีจึงไม่อาจถูกลงโทษประหาร

ชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา18วรรคสองก็ได้บัญญัติ

ชัดเจนมิให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีและ

20แก้ไขโดยมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่21)พ.ศ.255121คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคทั่วไปหน้า26022 เรื่องเดียวกันหน้า25826023 หยุด แสงอุทัย ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ (บรรณาธิการ)กฎหมายอาญา ภาค 1 พิมพ์ครั้งที่ 20 กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์2551หน้า16124 คือ ลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำลงกึ่งหนึ่ง แล้วลงโทษระหว่างนั้น (โปรดดู หยุด แสงอุทัยกฎหมายอาญาภาค 1

หน้า162)

Page 24: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-24

แม้กระทำความผิดซึ่งมีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต มาตรา 18 วรรคสาม ก็ให้ถือว่าระวางโทษ

ดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี

อนึ่งมาตรา7625บัญญัติว่า“ผู้ ใด อายุ ตั้งแต่ สิบ แปด ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน ยี่สิบ ปี กระทำ การ อัน กฎหมาย

บัญญัติ เป็น ความ ผิด ถ้า ศาล เห็น สมควร จะ ลด มาตราส่วน โทษ ที่ กำหนด ไว ้สำหรับ ความ ผิด นั้น ลง หนึ่ง ใน สาม

หรือ กึ่ง หนึ่ง ก็ได้”

ตามบทบัญญัติมาตรา 76บุคคลที่อายุตั้งแต่สิบแปดปี โดยทั่วไป กฎหมายถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ย่อมมีความรู้ผิดชอบเช่นผู้ใหญ่บุคคลในกลุ่มนี้จึงต้องมีความรับผิดทางอาญากล่าวคือเมื่อกระทำความผิด

ทางอาญาก็จะต้องถูกลงโทษทางอาญาและการที่มาตรา76นี้ให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วน

โทษลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้นั้นก็เพื่อให้สอดคล้องกับ“หลักการลงโทษให้เหมาะสมกับความชั่วหรือ

ความรู้ผิดชอบของบุคคล”26โดยกฎหมายคำนึงว่าในความจริงบุคคลอายุตั้งแต่สิบแปดปีอาจมิได้มีความรู้

ผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ใหญ่เสมอไป27

(โปรดอ่านเน้ือหาสาระโดยละเอียดในกฎหมายอาญาภาคท่ัวไปโดยศาสตราจารย์ดร.คณิตณนคร

หน้า251–256และหน้า258–261;กฎหมายอาญาภาค1โดยศาสตราจารย์ดร.หยุดแสงอุทัยหน้า152–153

และหน้า161–162)

กิจกรรม8.2.2

ประมวลกฎหมายอาญากำหนดความรับผิดทางอาญาของเด็กอายุไม่เกินสิบปีไว้เช่นไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.2กิจกรรม8.2.2)

25แก้ไขมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่21)พ.ศ.255126 คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคทั่วไปหน้า25727หยุดแสงอุทัยกฎหมายอาญาภาค1หน้า162

Page 25: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-25

เรื่องที่8.2.3วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน

ที่กระทำความผิดทางอาญา

สาระสังเขปในการศึกษาวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้นจะแยกพิจารณาออกเป็น

วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามกฎหมาย

วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะดังต่อไปนี้

1. วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา

1.1 เดก็ อาย ุไม ่เกนิ สบิ ปีดังที่กล่าวแล้วว่าเด็กอายุไม่เกินสิบปีกฎหมายมาตรา73สันนิษฐาน

เด็ดขาดว่า เด็กไม่มีความรู้ผิดชอบนอกจากไม่สามารถลงโทษทางอาญาแก่เด็กได้แล้ว กฎหมายยังมิได้

กำหนดให้ใช้วิธีการใดๆสำหรับเด็ก

แต่ทั้งนี้ มาตรา 73 วรรคสอง กำหนดให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กให้พนักงานเจ้าหน้าที่

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก28

1.2 เด็ก อายุ กว่า สิบ ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน สิบ ห้า ปี มาตรา 74สันนิษฐานเด็ดขาดว่า เด็กในช่วงอายุ

ดังกล่าวไม่มีความรู้ผิดชอบ จึงไม่ต้องรับโทษ แต่กฎหมายได้กำหนดให้ศาลใช้วิธีการสำหรับเด็ก ตามที่

บัญญัติไว้ในมาตรา74(1)ถึง(5)ซึ่งมุ่งหมายจะให้เด็กกลับตนเป็นคนดีอันได้แก่วิธีการดังต่อไปนี้

(1) การ ว่า กล่าว ตัก เตือน

วิธีการว่ากล่าวตักเตือนเด็กแล้วปล่อยตัวไปนั้น แต่เดิมเห็นว่า ควรพิจารณาว่า หาก

เด็กมีความรู้ผิดชอบน้อยก็ว่ากล่าวตักเตือนแต่แนวคิดสมัยใหม่เห็นว่าวิธีการสำหรับเด็กมิใช่โทษแต่เป็น

วิธีการที่จะทำให้เด็กกลับตนเป็นคนดี จึงควรพิจารณาใช้วิธีการตักเตือน เมื่อเป็นความผิดครั้งแรกหรือ

ความผิดที่ไม่รุนแรง และเด็กสามารถกลับตนเป็นคนดีได้ โดยว่ากล่าวตักเตือนให้เหมาะสมกับสาเหตุการ

กระทำความผิดของเด็ก

และเมื่อเห็นสมควร ศาลอาจเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่เด็กอาศัยอยู่มา

ตักเตือนด้วยก็ได้เช่นตักเตือนให้กำจัดหรือลดสาเหตุที่เด็กกระทำความผิดหรือคอยระวังมิให้เด็กกระทำ

ความผิดซ้ำอีก

28โปรดดูรายละเอียดในระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติว่าด้วยวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ต้องหาว่ากระทำ

การอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องรับโทษทางอาญาพ.ศ. 2551ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา14

(4)และมาตรา47แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546

Page 26: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-26

(2) การ วางข้อ กำหนด แก่ บิดา มารดา ผู้ ปกครอง หรือ บุคคล อื่น ซึ่ง เด็ก อาศัย อยู่ ถ้าศาล

เห็นว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ศาลจะมอบตัวเด็กให้และวางข้อกำหนดให้บุคคล

ดังกล่าวระวังไม่ให้เด็กก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสามปี และหากเด็กก่อเหตุด้วย

บุคคลดังกล่าวจะต้องชำระเงินตามที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินครั้งละ10,000บาท

กรณีที่เด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองและศาลเห็นว่า

ไม่สมควรเรียกบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นเช่นบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี หรือปล่อยปละละเลยไม่อบรมสั่งสอนเด็ก เป็นต้นศาลจะเรียกบุคคลที่

เด็กอาศัยอยู่ด้วยมาสอบถามว่าจะรับข้อกำหนดทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วข้างต้นหรือไม่ก็ได้ถ้าบุคคลนั้น

ยอมรับข้อกำหนดก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้โดยวางข้อกำหนดดังกล่าว แต่ถ้าบุคคลซึ่งเด็กอาศัยอยู่ไม่

ยอมรับข้อกำหนดศาลจะบังคับมิได้เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะเลี้ยงดูเด็กกรณี

เช่นนี้ศาลอาจพิจารณาใช้วิธีการตามมาตรา74(4)หรือ(5)แล้วแต่กรณี

(3) การ กำหนด เงื่อนไข เพื่อ คุม ประพฤติ เด็ก กรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดา

ผู้ปกครองหรือบุคคลซึ่งเด็กอาศัยอยู่ตาม (2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น เช่นที่

บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือ

พนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น

อนึ่ง ในการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น มีการตั้งข้อสังเกตว่า ศาล

ควรทราบสาเหตุของการกระทำความผิดของเด็กนั้น เพื่อที่จะได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติได้

อย่างเหมาะสม

(4) การ มอบ เด็ก ให้ บุคคล หรือ องค์การ เพื่อ ดูแล อบรม และ สั่ง สอน ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา

มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้นได้ หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่น

นอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำสั่ง

ให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแลอบรมและสั่งสอนตามระยะเวลา

ที่ศาลกำหนดก็ได้ ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม ในกรณีนี้ ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่น

ผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอน รวมถึงกำหนดที่อยู่และจัดให้เด็กมีงานทำตามสมควรหรือ

ให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้หรือ

(5) การ ส่งตัว เด็ก ไป โรงเรียน หรือ สถาน ฝึก อบรม เพื่อ ฝึก อบรม เด็ก ศาลจะใช้วิธีการ

ส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนดซึ่ง

ต้องไม่เกินกว่าเด็กนั้นมีอายุครบสิบแปดปีก็ได้

สำหรับวิธีการนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าโดยปกติควรใช้ในกรณีที่เด็กกระทำผิดหลายครั้ง

และการใช้วิธีการตาม(1)ถึง(4)จะไม่ช่วยให้เด็กกลับตนได้29

29หยุดแสงอุทัยกฎหมายอาญาภาค1หน้า160

Page 27: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-27

ทั้งนี้ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งข้างต้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจในมาตรา 74 นี้

เมื่อพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป ในขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ เช่น

บุคคลหรือองค์การที่รับเด็กไว้ไม่สามารถดูแล อบรมสั่งสอนเด็กได้ ศาลอาจส่งเด็กไปสถานฝึกและอบรม

เด็กแทนเป็นต้น

1.3 เยาวชน อายุ กว่า สิบ ห้า ปี แต่ ต่ำ กว่า สิบ แปด ปี โดยที่มีแนวคิดว่า เยาวชนอาจมีความรู้

ผิดชอบบ้างมาตรา75จึงให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นว่าสมควรลงโทษ

ทางอาญาหรือไม่ถ้าเห็นว่าสมควรลงโทษทางอาญากฎหมายบังคับให้ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง(ดังที่ได้

อธิบายแล้วในเรื่องที่ 8.2.2) แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรลงโทษทางอาญา โดยจะสามารถทำให้เด็กกลับตน

เป็นคนดีได้กฎหมายก็ให้ใช้วิธีการตามมาตรา74(1)ถึง(5)ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

1.4 บุคคล อายุ ตั้งแต่ สิบ แปด ปี แต่ ยัง ไม่ เกิน ยี่สิบ ปี โดยทั่วไปถือว่ามีความรู้ผิดชอบเช่นเดียว

กับผู้ใหญ่แล้วเมื่อกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดมาตรา76จึงบัญญัติให้ต้องรับโทษทางอาญา

แต่ก็เปดิโอกาสให้ศาลใช้ดลุพนิจิลดมาตราสว่นโทษลงหนึง่ในสามหรอืกึง่หนึง่กไ็ด้(ดงัที่ได้อธบิายแลว้ในเรือ่ง

ที่8.2.2)ดังนั้นศาลจะไม่ลงโทษทางอาญาและจะใช้วิธีการตามมาตรา74แก่บุคคลดังกล่าวไม่ได้30

ข้อสังเกตคือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาดังที่กล่าวแล้วเป็น

วิธีการสำหรับศาลธรรมดาและศาลเยาวชนและครอบครัวจะใช้ปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด

ทางอาญาอย่างไรก็ตามสำหรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวศาลเยาวชนและครอบครัวยัง

มีวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ

ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปอีกด้วย

2. วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธี

พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 โดยทั่วไปแล้วการดำเนินคดีอาญาธรรมดาแก่บุคคลที่กระทำ

ความผิดทางอาญามุ่งที่จะพิจารณาว่า บุคคลนั้นกระทำความผิดหรือไม่ สมควรได้รับโทษอย่างไร แต่การ

ดำเนินคดีอาญาแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดทางอาญานั้น ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งจัดตั้งขึ้น

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯพ.ศ.2534นอกจากจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์

ทั่วไปเช่นเดียวกับคดีอาญาธรรมดาแล้วศาลเยาวชนและครอบครัวยังต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการกระทำ

ความผิดและสภาพแวดล้อมทั้งปวงอันมีส่วนผลักดันให้กระทำความผิดดังเช่นมาตรา78ให้พิจารณาอายุ

ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญาการศึกษาอบรมสุขภาพภาวะแห่งจิตนิสัย อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ

และสังคมของเด็กหรือเยาวชนและบิดามารดาผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยและ

ในการพิพากษาคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญามาตรา 82 ก็ให้ศาลเยาวชนและครอบครัว

คำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับ

ตนเป็นคนดียิ่งกว่าการลงโทษและคำนึงถึงบุคลิกลักษณะสุขภาพและภาวะแห่งจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่ง

แตกต่างเป็นคนๆ ไป รวมถึงการลงโทษ เปลี่ยนโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนให้เหมาะสมกับ

ตัวเด็กหรือเยาวชนเป็นรายบุคคล

30อัจฉรียาชูตินันท์กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กเยาวชนและคดีครอบครัวหน้า218

Page 28: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-28

ดังนั้น ศาลเยาวชนและครอบครัวนอกจากจะมีอำนาจลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือ

เยาวชนเหมือนศาลธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา74ถึง76ดังได้กล่าวแล้วศาลเยาวชนและ

ครอบครัวยังมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบ

ครัวฯพ.ศ.2534บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังต่อไปนี้

2.1 การ ใช ้วธิ ีการ สำหรบั เดก็ และ เยาวชน แทน การ ลงโทษ ทาง อาญาศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี

เยาวชนและครอบครัวเท่านั้น31 ที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาตาม

มาตรา104อันได้แก่

(1)เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกกั และ อบรมในสถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลา

ที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์

(2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึก และ อบรมยังสถานพินิจ สถาน

ศึกษา สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือ

เยาวชนนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

(3)เปลี่ยนโทษปรับเป็นการ คมุ ประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไขข้อเดียวหรือหลายข้อตาม

มาตรา100ด้วยหรือไม่ก็ได้

ข้อสังเกตคือ

1) มาตรา 104 (1) (2) และ (3) เป็นบทบัญญัติให้ดุลพินิจแก่ศาลเยาวชนและ

ครอบครัวมิใช่บทบังคับ

2)การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการกักและอบรมหรือฝึกและอบรมตามมาตรา104

(1)และ(2)มีผู้เห็นว่าอาจมีระยะเวลานานกว่าโทษจำคุกได้ เพราะวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมิใช่โทษ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1832

3)กรณีที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักและอบรมหรือควบคุมเพื่อฝึกและอบรม

ตาม (1)หรือ (2) แล้วหากศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าควร

กักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อไปหลังจากมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ศาลต้องระบุในคำพิพากษา

ให้ชดัเจนวา่เมือ่เดก็หรอืเยาวชนนัน้อายุครบยีส่บิปบีริบรูณ์ให้สง่ตวัไปจำคกุในเรอืนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด

ทั้งนี้ตามมาตรา104วรรคท้าย

นอกจากนั้น ศาลเยาวชนและครอบครัว ยังมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน

และครอบครัวฯพ.ศ.2534ดังต่อไปนี้

2.2 การ กำหนด ระยะ เวลา ขั้น ต่ำ และ ขั้น สูง ใน การ กัก และ อบรม หรือ ฝึก และ อบรม แทน การ

ลงโทษ ทาง อาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงในการกักและอบรม

31 โดยหลักก็คือศาลเยาวชนและครอบครัวมิได้รวมถึงศาลธรรมดาด้วย เว้นแต่กรณีฟ้องเด็กหรือเยาวชนร่วมกับบุคคล

ซึ่งมิใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาซึ่งมาตรา59 ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดามีอำนาจโอนคดีเด็ก

หรือเยาวชนไปพิจารณายังศาลเยาวชนและครอบครัวได้แต่ถ้าเห็นว่าไม่สมควรให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดามีอำนาจใช้วิธีการ

สำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯพ.ศ.2534แก่เด็กหรือเยาวชนได้32อัจฉรียาชูตินันท์กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กเยาวชนและคดีครอบครัวหน้า214

Page 29: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-29

หรือฝึกและอบรมเด็กหรือเยาวชน และจะปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไปในระหว่างระยะเวลาขั้นต่ำและ

ขัน้สงูนัน้กไ็ด้ตามที่บญัญตัิไว้ในมาตรา105ทัง้นี้เพือ่ให้เกดิความคลอ่งตวัและเปน็การจงูใจเดก็หรอืเยาวชน

ให้กลับตนเป็นคนดีและในกรณีนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติตามมาตรา

100ด้วยหรือไม่ก็ได้

2.3 อำนาจ รอ การ กำหนด โทษ หรือ รอ การ ลงโทษ แทน การ ลงโทษ ทาง อาญา สำหรับคดีอาญา

ที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว33 นั้นมาตรา 106 ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและ

ครอบครัว มีอำนาจที่จะพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเด็กหรือเยาวชน ตามประมวล

กฎหมายอาญามาตรา 56 ได้ อย่างกว้างขวางกว่าศาลธรรมดากล่าวคือหากเห็นว่าควรให้โอกาสเด็กหรือ

เยาวชนนั้นกลับตนเป็นคนดีและยังไม่สมควรลงโทษก็ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้แม้ว่า

(1)เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เคยรับโทษจำคุกหรือโทษอื่นตามคำพิพากษามาก่อนแล้ว

(2)โทษที่จะลงแก่เด็กหรือเยาวชนเป็นโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก

(3)ศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่าสองปี

2.4 อำนาจ สง่ตวั ไป ควบคมุ เพือ่ ฝกึ และ อบรม แทน การ ชำระ คา่ ปรบัในกรณีที่เด็กหรือเยาวชน

ตอ้งโทษปรบัไม่วา่จะมีโทษจำคกุดว้ยหรอืไม่กต็ามถา้เดก็หรอืเยาวชนนัน้ไม่ชำระคา่ปรบัมาตรา107บญัญตัิ

ห้ามมิให้ศาลเยาวชนและครอบครัวสั่งกักขังเด็กหรือเยาวชนแทนค่าปรับแต่ให้ส่งตัวไปควบคุมหรือฝึกและ

อบรมในสถานพินิจ สถานศึกษา สถานฝึกและอบรมหรือสถานแนะนำทางจิตตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่

ต้อง ไม่ เกิน หนึ่ง ปี

ข้อที่น่าพิจารณา คือหากพิจาณาว่า การส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปฝึกและอบรมแทนค่าปรับ

นั้นมิใช่การลงโทษทางอาญาแต่เป็นการส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปฝึกและอบรมเพื่อขัดเกลานิสัยและจิตใจ

เพือ่ประโยชน์ของเดก็หรอืเยาวชนนัน้เองจงึไม่อาจนำจำนวนวนัที่เดก็หรอืเยาวชนอยู่ในความควบคมุระหวา่ง

สอบปากคำหรอือยู่ในความควบคมุของสถานพนิจิมาหกัออกจากจำนวนเงนิคา่ปรบัหรอืระยะเวลาการควบคมุ

เพือ่ฝกึและอบรมแทนคา่ปรบัได้เชน่นี้จะเปน็การยตุธิรรมหรอืไม่ประเดน็นี้มีผู้แสดงความเหน็วา่มาตรา56

เปิดช่องให้ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้ดุลพินิจหักจำนวนวันที่จำเลยถูกควบคุมระหว่างสอบปากคำหรืออยู่

ในความควบคุมของสถานพินิจแทนค่าปรับได้ แต่ต้องหักก่อนที่จะมีคำสั่งส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปฝึกและ

อบรมแทนค่าปรับ34และบางท่านแสดงความเห็นว่าควรบัญญัติเพิ่มเติมในมาตรา107ให้ชัดเจนว่าให้ศาล

หักจำนวนวันดังกล่าวแทนค่าปรับได้35

อนึ่ง เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็ก

หรือเยาวชนแล้วต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามมาตรา78และมาตรา82ได้เปลี่ยนแปลง

ไปจากเดิมศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ

หรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ตามมาตรา99

33โปรดดูมาตรา11(1)และ(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯพ.ศ.253434วรวิทย์ฤทธิทิศหลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวหน้า78-7935 ขวัญพิพัฒน์ ธนาธรรมนิตย์ “การทำคำพิพากษาที่เหมาะสมต่อการกระทำความผิดของเด็ก” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร-

บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ.2551หน้า88-91

Page 30: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-30

3. อยา่งไรกต็ามปจัจบุนั36ได้มีรา่งพระราชบญัญตัิศาลเยาวชนและครอบครวัและวธิีพจิารณาคดี

เยาวชนและครอบครัวพ.ศ....... ซึ่งมีหลักการและเหตุผลโดยสรุปคือ โดยที่ศาลเยาวชนและครอบครัว

จัดตั้งขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ในการมุ่งพิทักษ์คุ้มครองฝึกอบรม และสั่งสอนเด็กและเยาวชนให้กลับตนเป็น

พลเมอืงดีมากกวา่มุง่ลงโทษทางอาญาประกอบกบัอนสุญัญาวา่ดว้ยสทิธิเดก็ค.ศ.1989ได้รบัรองสทิธิเดก็4

ประการคือสิทธิที่จะอยู่รอดสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและสิทธิที่จะ

มีส่วนร่วมดังนั้นเด็กจึงควรได้รับการคุ้มครองดูแลปรับปรุงคุณภาพและเสริมสร้างค่านิยมทางจริยธรรม

ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและเนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิ

และความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรมโดยกำหนดให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการ

ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสมในกระบวนการยุติธรรมและได้รับความคุ้มครองให้ปราศจากการ

ใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมแต่ปรากฏว่าวิธีปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำ

ผิดยังแตกต่างและต่ำกว่ามาตรฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและยังไม่มีวิธีพิจารณาคดี

คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมหรือถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จึงจำเป็นต้อง

แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

พ.ศ.2534โดยมีสาระสำคัญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังเช่น

3.1แก้ไขอายุเด็กและเยาวชนให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา

3.2เพิม่ให้ศาลตัง้ผู้เชีย่วชาญดา้นเดก็เพือ่ให้ความเหน็เกีย่วกบัเดก็และเยาวชนและมีอำนาจ

กำหนดให้เด็กหรือเยาวชนเข้ารับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟู หรือรับการสงเคราะห์ในสถานศึกษา สถานแนะนำ

ทางจิตหรือสถานพยาบาล เพื่อให้ศาลสามารถค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหา

ว่ากระทำผิด

3.3แก้ไขเพิ่มบทบาทของสถานพินิจให้ครอบคลุมและชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ

สามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน

3.4เพิ่มเติมให้มีมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเพื่อนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้

แทนการดำเนินคดีอาญาปกติ โดยให้ผู้เสียหายหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู

เด็กหรือเยาวชน เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชนบรรเทา ทดแทนหรือชดเชย

ความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคมและในกรณีที่การจัดทำแผน

แก้ไขบำบัดฟื้นฟูไม่สำเร็จและต้องดำเนินคดีกับเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อไปห้ามมิให้นำข้อเท็จจริงหรือพยาน

หลักฐานที่ได้มาจากการประชุมเพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูมาใช้อ้างต่อศาล

3.5แก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชน

กว้างขวางยิ่งขึ้น กรณีที่เห็นว่ายังไม่สมควรมีคำพิพากษา และเพิ่มให้สามารถนำเรื่องการบริการสาธารณะ

(community service) มาใช้ในกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่มีเงินชำระค่าปรับ อีกทั้งเพิ่มให้สามารถหักระยะ

เวลาที่ถูกควบคุมตัวออกจากค่าปรับที่ต้องชำระตามอัตราที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญาได้เป็นต้น

36วุฒิสภาได้มีประกาศตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่25มีนาคม

2553

Page 31: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-31

ดังนั้นนักศึกษาจึงควรติดตามและศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในกฎหมายอาญาภาค1โดยศาสตราจารย์ดร.หยุดแสงอุทัย

หน้า153–162;กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กเยาวชนและคดีครอบครัวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรียาชูตินันท์

หนา้211–219;หลกักฎหมายการดำเนนิคดีในศาลเยาวชนและครอบครวัโดยวรวิทย์ฤทธิทศิหนา้62–69และ

หน้า77–79;ร่างพระราชบัญญติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว)

กิจกรรม8.2.3

ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.2.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.2กิจกรรม8.2.3)

Page 32: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-32

ตอนที่8.3

การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่8.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่8.3.1 การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา

เรื่องที่8.3.2กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

แนวคิด1. ประมวลกฎหมายอาญาเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของรัฐในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของ

เด็กและเยาวชนโดยมุ่งปราบปรามและลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดทางอาญาต่อ

เด็กและเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา

2. รัฐยังมีกฎหมายอื่นๆ อันเป็นเครื่องมือในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเด็กและ

เยาวชน ซึ่งนอกจากจะมีบทบัญญัติกำหนดโทษสำหรับการกระทำอันเป็นความผิดทาง

อาญาต่อเด็กและเยาวชนตามกฎหมายนั้นๆ แล้ว ยังมีบทบัญญัติเพื่อการช่วยเหลือ

บำบัดฟื้นฟูหรือคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำ

ความผิดทางอาญาดังกล่าวด้วยดังเช่นพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546 และ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550เป็นต้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่8.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชนตามประมวล

กฎหมายอาญาได้

2. อธิบายและวิเคราะห์กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็ก

และเยาวชนได้

Page 33: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-33

ความนำ

ดังได้กล่าวแล้วในเรื่องที่ 8.1.2 ว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ. 1989 (Convention on the

RightsoftheChild)ได้ให้การรับรองสิทธิของเด็กที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทำร้ายทั้งทาง

ร่างกายจิตใจการทอดทิ้ง การแสวงหาประโยชน์อันมิชอบหรือการกระทำอันมิชอบทางเพศฯลฯ รวมทั้ง

กำหนดพันธกรณีให้รัฐภาคีสมาชิกต้องดำเนินการที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการ

กลับคืนสู่สังคมของเด็กที่ได้รับเคราะห์ดังกล่าวประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีสมาชิกจึงมีพันธกรณีที่จะต้อง

ดำเนินการในทุกด้านเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาข้างต้นดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช2550มาตรา52วรรคสองซึ่งได้บัญญัติรับรองว่า“เด็ก และ เยาวชน มี สิทธิ ได้ รับ ความ คุ้มครอง

จาก รัฐ ให้ ปราศจาก การ ใช้ ความ รุนแรง และ การ ปฏบิัต ิอนั ไม่ เปน็ ธรรม ทัง้ มี สทิธิ ได ้รบั การ บำบัด ฟืน้ฟู ใน กรณี

ที่ มี เหตุ ดัง กล่าว”

ทั้งนี้ กฎหมายอันเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนที่ตก

เป็นเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการใช้ความรุนแรงหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่างๆได้แก่ประมวลกฎหมาย

อาญาและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนดังจะได้กล่าวถึง

ต่อไปในตอนที่8.3นี้

เรื่องที่8.3.1 การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

ตามประมวลกฎหมายอาญา

สาระสังเขปประมวลกฎหมายอาญาถือเป็นกฎหมายอันเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งที่รัฐจะใช้ในการปกป้องคุ้มครอง

สิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งตกเป็นผู้เสียหาย โดยมีบทบัญญัติที่กำหนดความผิดและโทษทางอาญาแก่ผู้ที่

ล่วงละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนไว้โดยตรงดังจะแยกพิจารณาต่อไปนี้

1. ความผิดเกี่ยวกับเพศเช่น

1.1 ความ ผิด ฐาน กระทำ ชำเรา เด็กหากเด็กนั้นอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นยินยอมหรือไม่

ก็ตามต้องระวางโทษตามมาตรา277วรรคหนึ่งแต่หากกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีต้องระวางโทษ

หนักขึ้นตามมาตรา277วรรคสามและหากเป็นการกระทำความผิดตามสองวรรคข้างต้นในลักษณะเป็นการ

Page 34: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-34

โทรมเด็กโดยมีอาวุธหรือโดยใช้อาวุธต้องรับโทษหนักขึ้นอีกอีกทั้งต้องรับโทษหนักขึ้นหากเป็นเหตุให้ผู้ถูก

กระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายตามมาตรา277ทวิและตรี

1.2 ความ ผิด ฐาน กระทำ อนาจาร หากเป็นการกระทำต่อบุคคลอายุเกินกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญ

โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่า

ตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษตามมาตรา278

แต่หากเป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวต้อง

ระวางโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 279 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และยังต้องรับโทษหนักขึ้นหากเป็นเหตุให้

ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายตามมาตรา280

1.3 ความ ผิด ฐาน จัดหา ล่อ ไป หรือ พา บุคคล ไป เพื่อ การ อนาจาร หรือ เพื่อ สนอง ความ ใคร่ ของ

ผู้ อื่น หากกระทำต่อบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษหนักกว่ากระทำต่อผู้ใหญ่

ทั้งนี้ ตามมาตรา 282 วรรคสองและหากกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ต้องระวางโทษหนักขึ้นตาม

มาตรา282วรรคสามแต่หากได้กระทำโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำ

ผดิคลองธรรมหรอืใช้วธิีขม่ขนืใจดว้ยประการอืน่ใดแก่ผู้เยาว์หรอืเดก็ดงักลา่วก็ตอ้งรบัโทษหนกัยิง่ขึน้ตาม

ลำดับตามมาตรา283วรรคสองและวรรคสาม

1.4 ความ ผดิ ฐาน รบั ตวั เดก็ หรอื เยาวชน ซึง่ ม ีผู ้จดัหา ลอ่ ไป หรอื พา ไป หรอื สนอง ความ ใคร ่ของ

ผู้ อื่น ตาม ข้อ 1.3ต้องระวางโทษเท่ากับผู้จัดหาส่งไปหรือพาไปทั้งนี้ตามมาตรา282วรรคสี่และมาตรา

283วรรคสี่

อนึง่ถา้การกระทำความผดิตามมาตรา277มาตรา277ทวิมาตรา277ตรีมาตรา278มาตรา

279มาตรา280มาตรา282หรือมาตรา283ดังกล่าวแล้วข้างต้น เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดานศิษย์ซึ่ง

อยู่ในความดูแลผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครองในความพิทักษ์หรือใน

ความอนุบาลผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆหนึ่งในสามทั้งนี้ตามมาตรา285

ข้อสังเกตคือความหมายของ“ผู้ อยู่ ใน ความ ปกครอง ใน ความ พิทักษ์ หรือ ใน ความ อนุบาล”

ตามมาตรา 285 ข้างต้นนั้นนักนิติศาสตร์เห็นว่า หมายถึง ตามกฎหมายเท่านั้นมิใช่ตามข้อเท็จจริง37 ซึ่ง

ศาลฎีกาก็ได้วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกัน38

อย่างไรก็ตามนักนิติศาสตร์บางท่านเห็นว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้น่าจะมุ่งคุ้มครองเด็ก

หรือผู้เยาว์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลัก จึงควรคำนึงถึงการปกครองตามความเป็นจริง เพราะผู้ปกครอง

ตามความเป็นจริงย่อมมีอิทธิพลต่อเด็กหรือเยาวชนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การตีความโดยคำนึงถึงการ

ปกครองตามกฎหมายจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อุปการะเด็กหรือเยาวชนตามข้อเท็จจริงกระทำความผิดต่อ

เด็กหรือเยาวชนและเป็นการตีความปะปนกับอำนาจปกครองตามกฎหมายแพ่ง39

37คณิตณนครกฎหมายอาญาภาคความผิดพิมพ์ครั้งที่10กรุงเทพมหานครวิญญูชน2553หน้า42038คำพิพากษาฎีกาที่2029/2520บิดาเลี้ยงข่มขืนกระทำชำเราลูกเลี้ยงไม่เพิ่มโทษตามมาตรา285นี้เพราะอำนาจปกครอง

อยู่ที่บิดามารดาไม่ถือว่าอยู่ในความปกครองของผู้อุปการะ(คำพิพากษาฎีกาที่6811/25381017/2538)39 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร วิญญูชน

2553หน้า207

Page 35: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-35

1.5 ความ ผดิ ฐาน พา เดก็ หรอื เยาวชน ไป เพือ่ การ อนาจารเมื่อกระทำต่อบุคคลอายุเกินสิบห้าปี

แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีแม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตามต้องระวางโทษตามมาตรา283ทวิหากเป็นการกระทำแก่

เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีต้องระวางโทษหนักขึ้นตามวรรคสอง

1.6 ความ ผดิ ฐาน ซอ่น เรน้ เดก็ หรอื เยาวชน ซึง่ ถกู พา ไป เพือ่ การ อนาจาร ตาม ขอ้ 1.5ต้องระวาง

โทษเท่ากับผู้พาไปนั้นทั้งนี้ตามมาตรา283ทวิวรรคสาม

2. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเช่น

2.1 ความ ผดิ ฐาน ชว่ย หรอื ยยุง เดก็ อาย ุไม ่เกนิ สบิ หก ป ีให ้ฆา่ ตนเองและถ้าการฆ่าตนเองได้เกิด

ขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเองต้องระวางโทษตามมาตรา293

2.2 ความ ผดิ ฐาน ทอด ทิง้ เดก็ อาย ุไม ่เกนิ เกา้ ปีไว้ณที่ใดเพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตนโดย

ประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแลต้องระวางโทษตามมาตรา306

ขอ้สงัเกตคอืผู้กระทำความผดิตามมาตรานี้ตอ้งเปน็ผู้ที่ใหก้ารดแูลเดก็นัน้อยู่แลว้ตามความ

เป็นจริง40และกฎหมายจำกัดอายุผู้ถูกกระทำตามมาตรานี้ไว้ไม่เกิน9ปีเนื่องจากคำนึงว่ายังพึ่งตนเองมิได้

และสมควรต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

การกระทำความผิดตามมาตรา306นี้หากเป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งได้รับอันตรายสาหัสหรือ

ถึงแก่ความตายผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา290หรือ297ทั้งนี้ตามมาตรา308

3. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพเช่น

3.1 ความ ผิด ฐาน หน่วง เหนี่ยว หรือ กักขัง เด็ก อายุ ไม่ เกิน สิบ ห้า ปี หรือกระทำด้วยประการใด

ให้เด็กนั้นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและ ให้ เด็ก นั้น กระทำ การ ใด ให้ แก่ ผู้ กระทำ หรือ บุคคล อื่น ต้องระวาง

โทษหนักขึ้นตามมาตรา312ทวิวรรคหนึ่ง

3.2 ความ ผิด ฐาน ปฏิบัติ ต่อ เด็ก เยี่ยง ทาสกล่าวคือนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

พามาจากที่ใดซื้อ ขายจำหน่าย รับหรือหน่วงเหนี่ยวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี เพื่อเอาลงเป็นทาสหรือให้มี

ฐานะคล้ายทาสต้องระวางโทษตามมาตรา312ทวิวรรคหนึ่ง

ทั้งนี้หากการกระทำความผิดตามมาตรา312ทวิวรรคหนึ่งดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ

รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือรับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น

แล้วแต่กรณีตามลำดับตามมาตรา312ทวิวรรคสอง

อนึง่เหตผุลในการประกาศใช้มาตรา312ทวิขา้งตน้นัน้เนือ่งจาก“ปรากฏวา่มีการลอ่ลวงเดก็

ไปทำงานในโรงงานและเจา้ของโรงงานได้หนว่งเหนีย่วหรอืกกัขงัเดก็เหลา่นัน้โดยให้ทำงานอยา่งไร้มนษุยธรรม

และฝ่าฝืนมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งเป็นการ

กระทำที่กระทบกระเทือนความสงบสุขของสังคม จึงสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดขึ้น

เป็นพิเศษ” 41

40คณิตณนครกฎหมายอาญา ภาคความผิดหน้า163;ทวีเกียรติมีนะกนิษฐคำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิด

และลหุโทษหน้า26041โปรดดูราชกิจจานุเบกษาเล่ม111ตอนที่22กหน้า1วันที่10มิถุนายน2537

Page 36: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-36

3.3 ความ ผิด ฐาน ค้า เด็ก หรือ เยาวชน กล่าวคือ รับไว้ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือ

พาไปซึ่งบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีโดยทุจริต แม้ผู้นั้นยินยอม ต้องระวางโทษตาม

มาตรา312ตรีวรรคหนึ่ง

แต่ถ้าเป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ต้องระวางโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 312ตรี

วรรคสอง

3.4 ความ ผิด ฐาน เอา ตัว เด็ก หรือ เยาวชน ไป เพื่อ ค่า ไถ่ กล่าวคือ

(1)เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อค่าไถ่ไม่ว่าเด็กยินยอมหรือไม่

(2)เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไปเพื่อค่าไถ่ โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง

ประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนด้วยประการอื่นต้องระวางโทษตามมาตรา313

วรรคหนึ่ง

แต่ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปนั้นรับอันตรายสาหัสหรือเป็นการกระทำโดย

ทรมานหรอืโดยทารณุโหดรา้ยจนเปน็เหตุให้รบัอนัตรายแก่กายหรอืจติใจตอ้งระวางโทษหนกัขึน้ตามมาตรา

313วรรคสองหรือหากเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายก็ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา313วรรคสาม

4. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เช่น

- ความ ผดิ ฐาน ฉอ้โกงถ้าได้กระทำโดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก

ต้องระวางโทษหนักขึ้นตามมาตรา342

ข้อสังเกตคือ“ความเบาปัญญาของเด็ก”นั้นหมายถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันเป็นสภาพ

ธรรมดาของเด็กทั่วไปมิใช่ว่าเด็กนั้นต้องโง่กว่าเด็กปกติในระดับอายุเดียวกัน42

5. ความผิดลหุโทษเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจได้แก่

- ความ ผิด ฐาน กระทำ ทารุณ ต่อ เด็ก อายุ ไม่ เกิน สิบ ห้า ปี ซึ่งต้องพึ่งผู้นั้นในการดำรงชีพหรือ

การอื่นใดต้องระวางโทษตามมาตรา398ซึ่งเป็นลหุโทษ

ขอ้สงัเกตคือเพียงแต่มีการกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการทารุณเด็กเช่นให้เด็กทำงาน

หนักเกินกำลัง ให้อยู่อย่างอดอยาก แม้ยังไม่เกิดผลเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจของเด็กนั้น ก็ผิดตาม

มาตรานี้แล้ว

กลา่วโดยสรปุ ประมวลกฎหมายอาญามุ่งที่จะปราบปรามลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิด

สิทธิของเด็กและเยาวชน โดยมีบทบัญญัติให้การกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเด็กหรือเยาวชนดังได้

กล่าวแล้วนั้นเป็นความผิดทางอาญารวมทั้งมีบทบัญญัติกำหนดโทษที่หนักขึ้นสำหรับความผิดที่ได้กระทำ

ต่อเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะหากแต่มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชน

ซึ่งตกเป็นผู้เสียหายดังกล่าว43

42 จิตติติงศภัทิย์กฎหมายอาญาภาค2ตอน2และภาค3พิมพ์ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง

เนติบัณฑิตยสภา2525หัวข้อ131843วรวิทย์ฤทธิทิศหลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวหน้า124

Page 37: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-37

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในคำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ โดย

รองศาสตราจารย์ดร.ทวีเกียรติมีนะกนิษฐหน้า195–208หน้า235–236หน้า259–260หน้า264–284หน้า

343–350และหน้า416;กฎหมายอาญาภาคความผิดโดยศาสตราจารย์ดร.คณิตณนครหน้า155–156หน้า

163–165หน้า216–230หน้า354–361และหน้า414-458)

กิจกรรม8.3.1

ประมวลกฎหมายอาญามีบทบัญญัติกำหนดความผิดและโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่ล่วงละเมิด

สิทธิของเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะในเรื่องใดบ้าง

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.3กิจกรรม8.3.1)

Page 38: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-38

เรื่องที่8.3.2 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

ทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

สาระสังเขปกฎหมายอื่นที่สำคัญซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

ได้แก่

1. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 253944 พระราชบัญญัติฉบับนี้

นอกจากจะมุ่งปราบปรามการค้าประเวณีแล้วยังมีวัตถุประสงค์เพือ่ คุม้ครอง บคุคล โดย เฉพาะ เดก็ และ เยาวชน

ที่ อาจ ถูก ล่อลวง ชัก พา หรือ บังคับ ให้ ทำการ ค้า ประเวณี รวม ทั้ง ให้การ คุ้มครอง และ พัฒนา อาชีพ แก่ เด็ก และ

เยาวชน ดัง กล่าวโดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.1 กำหนด ความ ผิด และ โทษ ทาง อาญา แก่ บุคคล ต่อ ไป นี้

1.1.1ผู้กระทำชำเราหรือกระทำการอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเองหรือผู้อื่นแก่

บคุคลอายุกวา่สบิหา้ปีแต่ไม่เกนิสบิแปดปีหรอืเดก็อายุไม่เกนิสบิหา้ปีในสถานการคา้ประเวณีตอ้งระวางโทษ

ตามมาตรา8วรรคหนึ่งและวรรคสอง

1.1.2ผู้เป็นธุระจัดหาล่อไปหรือชักพาบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีหรือ

เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้ทำการค้าประเวณีไม่ว่าบุคคลนั้นยินยอมหรือไม่ก็ตามและไม่ว่าจะกระทำใน

หรือนอกราชอาณาจักรต้องระวางโทษตามมาตรา9วรรคสองและวรรคสาม

1.1.3บดิามารดาหรอืผู้ปกครองของเดก็หรอืเยาวชนซึง่มีสว่นรู้เหน็เปน็ใจในการจดัหา

ล่อไปหรือชักพาผู้อยู่ในความปกครองของตนไปเพื่อให้ทำการค้าประเวณีต้องระวางโทษตามมาตรา10

1.1.4 เจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือ

สถานการคา้ประเวณีหรอืผู้ควบคมุผู้กระทำการคา้ประเวณีในสถานการคา้ประเวณีซึง่มีบคุคลอายุกวา่สบิหา้ปี

แต่ไม่เกินสิบแปดปี หรือมีเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีทำการค้าประเวณีอยู่ด้วยต้องระวางโทษตามมาตรา 11

วรรคสองและวรรคสาม

1.2 การ ถอน อำนาจ ปกครอง และ แต่ง ตั้ง ผู้ ปกครอง แทน หากบิดามารดาหรือผู้ปกครองของ

เด็กหรือเยาวชนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อยู่ในความปกครองของตนกระทำการค้าประเวณีเมื่อคณะกรรมการ

คุ้มครองและพัฒนาอาชีพมีคำขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครอง และแต่งตั้ง

ผู้ปกครองแทนบิดามารดาหรือผู้ปกครองนั้นแต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่มีผู้เหมาะสมศาลจะตั้งผู้อำนวยการสถาน

แรกรับหรือผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเป็นผู้ปกครองแทนก็ได้ตามมาตรา13

44ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม113ตอนที่54กวันที่22ตุลาคม2539

Page 39: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-39

1.3 การ คุม้ครอง และ พฒันา อาชพีกรณีเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกบังคับให้ทำการ

ค้าประเวณียินยอมให้นำตัวไปรับการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ให้ดำเนินการเพื่อส่งตัวผู้นั้นไปยังสถาน

คุ้มครองและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม

2. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ.2551 พระราชบัญญัตินี้ มุ่งหมายที่

จะอุดช่องโหว่ของพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กพ.ศ. 2540

เนื่องจาก มี การก ระ ทำ เพื่อ แสวงหา ประโยชน์ โดย มิ ชอบ จาก บุคคล ซึ่งรวม ทั้ง เด็ก และ เยาวชน ด้วยวิธีการที่

หลากหลายมากขึ้น เช่น การนำบุคคลเข้ามาค้าประเวณีในหรือส่งไปค้านอกราชอาณาจักรบังคับใช้แรงงาน

หรือบริการบังคับให้ขอทานบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า เป็นต้นซึ่งในปัจจุบันได้กระทำในลักษณะองค์กร

อาชญากรรมขา้มชาติมากขึน้จงึ ได ้กำหนด ลกัษณะ ความ ผดิ ให ้ครอบคลมุ การก ระ ทำ ดงั กลา่ว เพือ่ ใหก้าร ปอ้งกนั

และ ปราบ ปราม การ ค้า มนุษย์ มี ประสิทธิภาพ ยิ่ง ขึ้น รวม ทั้ง ปรับปรุง การ ช่วย เหลือ และ คุ้มครอง สวัสดิภาพ

ผู้ เสีย หาย ให้ เหมาะ สมโดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังนี้

2.1 กำหนด ความ ผิด และ โทษ ทาง อาญา แก่ บุคคล ดัง ต่อ ไป นี้

2.1.1ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์กล่าวคือเป็นธุระจัดหาซื้อขายจำหน่ายพามา

จากหรือส่งไปยังที่ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังจัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็ก45 เพื่อ“แสวงหาประโยชน์โดย

มิชอบ” ซึ่งตามมาตรา 4 หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส

การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้าหรือการอื่นใดที่

คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามตามมาตรา6 (2)ต้องระวาง

โทษหนักขึ้นตามมาตรา52วรรคสองและวรรคสาม

2.1.2ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ผู้อุปการะโดยให้ทรัพย์สินจัดหา

ที่ประชุมหรือที่พักให้แก่ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ผู้ช่วยเหลือด้วยประการใดเพื่อให้ผู้กระทำความผิด

ฐานค้ามนุษย์พ้นจากการถูกจับกุมผู้เรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากผู้กระทำความผิด

ฐานค้ามนุษย์เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือผู้ชักชวนชี้แนะหรือติดต่อบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิก

ขององค์กรอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ มาตรา 7 กำหนดให้ระวางโทษ

เช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

2.1.3ผู้ตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษหนึ่งในสามของ

โทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นส่วนผู้สมคบกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา6ต้องระวางโทษไม่เกิน

กึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา8และมาตรา9

2.1.4 ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปหรือโดยเป็น

สมาชิกองค์กรอาชญากรรมต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง และถ้าได้กระทำเพื่อ

ให้ผู้เสียหายที่ถูกพาเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา10

45ตามมาตรา4“เด็ก”หมายความว่าบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

Page 40: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-40

2.1.5 ผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหาร

ท้องถิ่นข้าราชการพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกรรมการ

หรือผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าพนักงานหรือกรรมการองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ กระทำ

ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

และหากกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อนุกรรมการ สมาชิกของ

คณะทำงาน และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เสียเอง

ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา13

2.1.6นิติบุคคลใดกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ต้องระวางโทษปรับสูงตั้งแต่สองแสน

ถึงหนึ่งล้านบาทตามมาตรา53

ทั้งนี้ โดยมาตรา 14บัญญัติให้ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดมูลฐาน

ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542ด้วย

2.2 การ ช่วย เหลือ และ คุ้มครอง สวัสดิภาพ ผู้ เสีย หายอาทิ

2.2.1 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความช่วยเหลือ

ผู้เสียหายซึ่งรวมถึงเด็กหรือเยาวชนผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในด้านอาหารที่พักรักษาพยาบาลการบำบัด

ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจการให้การศึกษาการฝึกอบรมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการส่งกลับไปยัง

ประเทศเดิมหรือภูมิลำเนาของผู้นั้นการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย

การให้ความชว่ยเหลอืนี้อาจจดัให้ผู้เสยีหายได้รบัการดแูลในสถานแรกรบัตามกฎหมาย

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี สถานแรกรับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กหรือ

สถานสงเคราะห์อื่นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ตามมาตรา33

2.2.2ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายซึ่งรวม

ถึงเด็กหรือเยาวชนผู้เสียหายระหว่างที่อยู่ในความดูแลไม่ว่าก่อนขณะหรือหลังการดำเนินคดีโดยให้คำนึง

ถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายด้วยตามมาตรา36

ทัง้นี้โดยมีกองทนุเพือ่การปอ้งกนัและปราบปรามการคา้มนษุย์เพือ่การใช้จา่ยในกจิการ

ดังกล่าวตามมาตรา44

อีกทั้งยังมิให้ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายซึ่งรวมถึงเด็กหรือเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อของการ

ค้ามนุษย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตามมาตรา 41 โดยคำนึงถึงสิทธิ

มนุษยชนและสิทธิเด็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546 พระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมุ่งกำหนดขั้นตอนและ

ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและมี

พัฒนาการที่เหมาะสมอันเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแล้วยัง มุ่ง ป้องกัน มิ ให้ เด็ก46 ตก เป็น เหยื่อ ของ

การก ระ ทำความ ผิด เช่น ถูกทารุณกรรมหรือตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รวมทั้ง

46ตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว“เด็ก”หมายความว่าบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์แต่ไม่รวมถึง

ผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

Page 41: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-41

ปรับปรุงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการคุ้มครองเด็กซึ่ง รวม ถึง การ

สงเคราะห์ และ คุ้มครอง สวัสดิภาพ เด็ก ที่ ตก เป็น เหยื่อ ของ การก ระ ทำความ ผิด ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้

สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยมีบทบัญญัติ

ที่เกี่ยวข้องดังนี้

3.1 การ ปฏิบัติ ต่อ เด็ก

3.1.1 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดๆ ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

และไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา22

3.1.2 “ผู้ปกครอง” ซึ่งตามมาตรา 4 หมายถึง บิดา มารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตร

บญุธรรมผู้ปกครองตามกฎหมายรวมถงึพอ่เลีย้งแม่เลีย้งผูป้กครองสวสัดภิาพนายจา้งตลอดจนบคุคลอืน่

ซึ่งรับเด็กไว้ในอุปการะหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย มีหน้าที่ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทอดทิ้ง ละทิ้ง

ขัดขวางพัฒนาการของเด็กตามมาตรา25

3.2 กำหนด ความ ผิด และ โทษ ทาง อาญา แก่ บุคคล ดัง ต่อ ไป นี้

3.2.1ผู้ใดกระทำการดังบัญญัติไว้ในมาตรา26ต่อไปนี้

1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็กที่

อยู่ในความดูแลของตนจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

3) บังคับขู่เข็ญชักจูงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือ

น่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็ก

ให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการ

แล้ว

5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอมหรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไป

เป็นขอทานเด็กเร่ร่อนหรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิดหรือกระทำด้วยประการใด

อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก

6) ใช้จ้างหรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกาย

หรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก

7) บงัคบัขูเ่ขญ็ใช้ชกัจงูยยุงสง่เสรมิหรอืยนิยอมให้เดก็เลน่กฬีาหรอืให้กระทำ

การใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของ

เด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

8) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด หรือเข้าไปในสถานที่เล่น

การพนันสถานค้าประเวณีหรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า

Page 42: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-42

9) บังคับขู่เข็ญใช้ชักจูงยุยงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการ

อันมีลักษณะลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด

10)จำหนา่ยแลกเปลีย่นหรอืให้สรุาหรอืบหุรี่แก่เดก็เวน้แต่การปฏบิตัิทางการแพทย์

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อสังเกตคือ

1) คำว่า “ผู้ใด” ตามมาตรา 26หมายถึง บุคคลใดก็ตามซึ่งรวมถึงบิดามารดาหรือ

ผู้ปกครองด้วย

2) มาตราดังกล่าวกำหนดอัตราโทษไว้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม มาตรา 26 วรรคสอง

บัญญัติว่าถ้า การก ระ ทำความ ผิด ตาม วรรค หนึ่ง มี โทษ ตาม กฎหมาย อื่น ที่ หนัก กว่า ก็ ให้ ลงโทษ ตาม กฎหมาย

นั้น ได้

3.2.2ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูล

เกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือ

สิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา 27

ต้องระวางโทษตามมาตรา79

3.2.3หา้มมิให้ผู้ปกครองสวสัดภิาพหรอืผู้คุม้ครองสวสัดภิาพเดก็เปดิเผยชือ่ตวัชือ่สกลุ

ภาพหรือข้อมูลใดๆเกี่ยวกับตัวเด็กผู้ปกครองในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ

หรือสิทธิประโยชน์ของเด็กหรือผู้ปกครองตามมาตรา50หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา79

3.2.4 ห้ามมิให้เจ้าของ ผู้ปกครองสวัสดิภาพ และผู้ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก

สถานแรกรับสถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและสถานพัฒนาและฟื้นฟูทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ

กักขัง ทอดทิ้ง หรือลงโทษเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยวิธีการรุนแรง เว้นแต่เท่าที่สมควรเพื่ออบรม

สั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา61หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา79

3.3 การ สงเคราะห์ และ คุ้มครอง สวัสดิภาพ

3.3.1 การ สงเคราะห์ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา32นั้นรวมถึงเด็กที่ตก

เป็นเหยื่อของการกระทำความผิด เช่น เด็กที่ถูกทารุณกรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหา

ประโยชน์โดยมิชอบเป็นต้น

วธิีการสงเคราะห์เดก็ดงักลา่วมาตรา33ให้พนกังานเจา้หนา้ที่พจิารณาใหก้ารสงเคราะห์

ตามวิธีการที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

1) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวให้สามารถอุปการะ

เลี้ยงดูเด็กได้ตามมาตรา23

2) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมตามระยะ

เวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน

3) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วย

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

Page 43: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-43

4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเล้ียงเด็กท่ีเหมาะสม

และยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ

5) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับหรือสถานสงเคราะห์

6) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในสถาน

พัฒนาและฟื้นฟู

3.3.2 การ คุม้ครอง สวสัดภิาพ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา40นั้น

รวมถึงเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการทารุณกรรมซึ่งหมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ

จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศแก่เด็ก

การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมาย

หรือศีลธรรมอันดีไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม47

วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพ48 คือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือ

ตำรวจหรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้รับแจ้งเหตุหรือเป็นผู้พบเห็นพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการ

ทารุณกรรมต่อเด็ก ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครอง

สวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุด และต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าพนักงาน

เจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมแก่เด็กก็อาจ

ส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้หรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้การสงเคราะห์ตามมาตรา33และ

ถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู

กรณีที่ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นผู้ทารุณกรรมต่อเด็กแยกพิจารณาดังนี้

1)ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ปกครอง

หรือญาติของเด็กนั้นจะทารุณกรรมแก่เด็กอีก ให้ศาลมีอาจกำหนดมาตรการคุมประพฤติ โดยห้ามเข้าเขต

กำหนดหรอืหา้มเขา้ใกล้ตวัเดก็เพือ่ปอ้งกนัมิให้กระทำการดงักลา่วและจะสัง่ให้ผู้นัน้ทำทณัฑบ์นตามประมวล

กฎหมายอาญามาตรา46และมาตรา47ก็ได้

2)ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีอาญาหรืออัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาแต่มีพฤติการณ์

น่าเชื่อว่าจะมีการทารุณกรรมแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีหน้าที่

คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือพนักงานอัยการยื่นคำขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุมประพฤติ

และเรียกประกันด้วยก็ได้

ทั้งสองกรณีข้างต้นหากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูก

ทารุณกรรมอีกให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้นั้นกักขังไว้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน

ทั้งนี้การพิจารณาออกคำสั่งให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

47 นิยามศัพท์ตามมาตรา448มาตรา41ถึงมาตรา43

Page 44: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-44

3.4 ศาล ที่ มี อำนาจ พิจารณา คดี ตามพ ระ ราช บัญญัติ นี้ คดีที่มีฐานความผิดตามพระราช-

บัญญัตินี้ รวมทั้งการยื่นคำร้องเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณา เว้นแต่ในจังหวัดใดยังไม่เปิดทำการศาลเยาวชน

และครอบครัวหรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดให้ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณา

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ. 2550 โดยที่ปัญหา

การแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเกี่ยวพันกับบุคคลใกล้ชิดมีลักษณะ

พเิศษแตกตา่งจากการทำรา้ยรา่งกายระหวา่งบคุคลโดยทัว่ไปการใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมาย

อาญามาบังคับการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจึงไม่เหมาะสมเนื่องจากกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์

ที่จะลงโทษผู้กระทำความผดิมากกวา่ที่จะแกไ้ขฟืน้ฟูผู้กระทำผดิหรอืปกปอ้งคุม้ครองผู้ที่ถกูกระทำดว้ยความ

รุนแรงในครอบครัวดังนั้นจึงมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

พ.ศ. 2550นี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการ และขั้นตอนที่มีลักษณะแตกต่างจากการ

ดำเนินคดีอาญาทั่วไป โดยนอกจากจะมุ่งให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ

และสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวไว้ได้แล้ว ยังมุ่งให้การ ปกป้อง คุ้มครอง แก่ เด็ก เยาวชน

และ บุคคล ใน ครอบครัว ผู้ ถูก กระทำ ด้วย ความ รุนแรง ใน ครอบครัว รวม ทั้ง ให้การ ช่วย เหลือ บรรเทา ทุกข์ และ

ป้องกัน มิ ให้ เกิด ความ รุนแรง ใน ครอบครัว อีกโดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังนี้

4.1 กำหนด ความ ผิด และ โทษ ทาง อาญา แก่ บุคคล ดัง ต่อ ไป นี้

4.1.1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษตามมาตรา 4

วรรคหนึ่ง

ทั้งนี้ ลักษณะของการกระทำความผิดฐานกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวนั้น มี

ลักษณะดังนี้49

1) เป็นการกระทำการใดๆโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจหรือ

สุขภาพของบุคคลในครอบครัว

2) เป็นการกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย

จิตใจหรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัวหรือ

3) เป็นการบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้อง

กระทำไม่กระทำหรือยอมรับการกระทำใดโดยมิชอบแต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาทเช่นการข่มขืน

การบังคับใช้เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวให้กระทำการที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี

เป็นต้น

49พิจารณาจากนิยามศัพท์“ความรุนแรงในครอบครัว”มาตรา3

Page 45: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-45

ข้อสังเกตคือ

1)การกระทำความผิดฐานกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวนี้ ผู้กระทำความผิด

และผู้ถูกระทำความผิดน่าจะต้องเป็นบุคคลในครอบครัวนั้นเอง50 ส่วนบุคคลอื่นที่มิใช่บุคคลในครอบครัว

หากมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยก็ไม่น่าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายนี้แต่อาจถูกดำเนินคดีตาม

กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้51

2)ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวนี้มาตรา4วรรคสองบัญญัติให้เป็น

ความผดิอนัยอมความได้และหากเปน็ความผดิตามประมวลกฎหมายอาญาหรอืกฎหมายอืน่ดว้ยก็ยงัคงเปน็

ความผิดตามกฎหมายดังกล่าวนั้น เป็นแต่ถ้าเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 295 ซึ่งปกติเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ด้วยแล้ว มาตรา 4 วรรคสองให้ถือว่า ความผิดฐาน

ทำร้ายร่างกายนั้นเป็นความผิดอันยอมความได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผ่อนคลายการดำเนินคดีอาญา เนื่องจาก

ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงอาจไม่ต้องการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว

4.1.2 ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใดๆ ซึ่งภาพ

เรื่องราว หรือข้อมูลใดๆ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้ถูก

กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เมื่อมีการแจ้งเหตุหรือมีการร้องทุกข์แล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ

ตามมาตรา9

4.2 การ ช่วย เหลือ และ บรรเทา ทุกข์ ให้ แก่ เด็ก หรือ เยาวชน ผู้ ถูก กระทำ ด้วย ความ รุนแรง ใน

ครอบครัว พระราชบัญญัตินี้จะมีมาตรการคล้ายกับมาตรการในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546

โดยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลกำหนดมาตรการและวิธีบรรเทาทุกข์ดังต่อไปนี้

4.2.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นหรือได้รับแจ้งเหตุ ให้มีอำนาจจัดให้บุคคลซึ่ง

อาจเป็นเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์และขอรับ

คำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และเป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้ หากผู้นั้น

ไม่อยู่ในวิสัยที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง

ข้อสังเกตคือ

1) มาตรการดังกล่าวทำให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงได้รับการรักษาโดยเร็ว และ

เป็นวิธีการบรรเทาทุกข์เบื้องต้นโดยแยกผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงออกจากผู้กระทำด้วยความรุนแรงใน

ครอบครัว

50ตามนิยามศัพท์มาตรา3“บุคคลในครอบครัว”หมายความว่าคู่สมรสคู่สมรสเดิมผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยา

โดยมิได้จดทะเบียนสมรสบุตรบุตรบุญธรรมสมาชิกในครอบครัวทั้งบุคคลใดๆที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน51 อมรรัตน์ กริยาผล “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ในทัศนะของ

ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว” ดุลพาหเล่ม2ปีที่55พฤษภาคม–สิงหาคม2551หน้า70

Page 46: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-46

2) ก่อนที่จะใช้อำนาจร้องทุกข์แทนพนักงานเจ้าหน้าที่อาจช่วยให้คู่กรณีตระหนัก

ถึงสาเหตุของการเกิดความรุนแรงในครอบครัว และช่วยหาทางแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยแนวทางความ

ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อให้ครอบครัวดำรงสถานภาพต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์เสมอไป52

4.2.2 ในชั้นสอบสวน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือ

วิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคล ซึ่งอาจเป็นเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็นและสมควรซึ่งรวมถึงการให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจ

รกัษาจากแพทย์การให้ผู้กระทำความรนุแรงในครอบครวัชดใช้เงนิชว่ยเหลอืบรรเทาทกุข์เบือ้งตน้ตามสมควร

แก่ฐานะ การออกคำสั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวเข้าใกล้ตัว

บุคคลในครอบครัวตลอดจนการกำหนดวิธีการดูแลบุตรตามมาตรา 10ทั้งนี้ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือ

และบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งดังกล่าวแล้ว ต้องเสนอมาตรการ

หรือวิธีการดังกล่าวต่อศาลภายใน48ชั่วโมงนับแต่ออกคำสั่งเพื่อให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนั้นทบทวน

หากศาลเห็นชอบก็ให้มีผลบังคับต่อไป แต่หากไม่เห็นชอบศาลมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหรือ

เพิกถอนคำสั่งรวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ตามมาตรา10

4.2.3ในระหว่างการพิจารณา ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ

เพื่อบรรเทาทุกข์ตามมาตรา 10หรือออกคำสั่งใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควร อีกทั้งยังมีอำนาจแก้ไข เพิ่มเติม

เปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคำสั่งรวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ตามมาตรา11

ข้อสังเกต คือมาตรา11ให้อำนาจศาลกว้างขวางมากการให้อำนาจตามมาตรานี้จึง

สมควรพิจารณาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ที่มุ่งปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย

ความรุนแรงในครอบครัวและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวเพื่อให้โอกาส

แก่ผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำรวมทั้งสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดี

ในครอบครัวได้

4.2.4ในชั้นพิพากษาให้ศาลมีอำนาจใช้วิธีการฟื้นฟูบำบัดรักษาคุมประพฤติผู้กระทำ

ความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำ

อันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือทำทัณฑ์บนไว้แทนการลงโทษก็ได้ ตามมาตรา 12

วรรคหนึ่ง

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 15 จึงวางแนวทางให้ศาลว่า

ไม่ว่าการพิจารณาคดีกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบ

ให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้

คำนึงถึงหลักการดังเช่นการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวการคุ้มครองและ

ช่วยเหลือครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ครอบครัวนั้นต้องรับผิดชอบในการดูแลแก่สมาชิกที่เป็นเด็ก

หรือเยาวชนฯลฯประกอบด้วย

52 เรื่องเดียวกันหน้า75

Page 47: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-47

4.3 ศาล ที่ มี อำนาจ พิจารณา คดี ตามพ ระ ราช บัญญัติ กรณีที่การกระทำเป็นความผิดฐานกระทำ

ความรนุแรงในครอบครวัและเปน็ความผดิตามกฎหมายอืน่ดว้ยมาตรา8วรรคสองให้ดำเนนิคดีฐานกระทำ

ความรุนแรงในครอบครัวต่อศาลเยาวชนและครอบครัว53รวมไปกับความผิดตามกฎหมายอื่นเว้นแต่ความ

ผิดตามกฎหมายอื่นนั้นมีอัตราโทษสูงกว่าให้ดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่น

นั้นโดยให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม

5.ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ........

ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ กำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและ

ครอบครัวในคดีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและ

ผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง

ในครอบครัวและกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพเช่นห้ามผู้ถูกกล่าวหาเสพสิ่งมึนเมา

เข้าใกล้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานของผู้ร้องหรือกระทำการใดอันอาจนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัวเป็นต้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหลักกฎหมายการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว

โดยวรวิทย์ฤทธิทิศหน้า123–154;บทความเรื่อง“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง

ในครอบครัวพ.ศ.2550ในทัศนะของผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว”โดยอมรรัตน์กริยาผลดุลพาห

เล่ม 2ปีที่ 55หน้า 64–89; โปรดอ่านเพิ่มเติมในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ รวบรวม

โดยสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็กกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนา

สังคมและความมั่นคงของมนุษย์;และโปรดอ่านเพิ่มเติมจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)

กิจกรรม8.3.2

จงยกตัวอย่างกฎหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟู หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ

เด็กและเยาวชนซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดทางอาญา

บันทึกคำตอบกิจกรรม8.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่8ตอนที่8.3กิจกรรม8.3.2)

53 ตามนิยามศัพท์มาตรา 3 “ศาล” หมายความว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชน

และครอบครัวฯพ.ศ.2534

Page 48: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-48

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่8

การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและ

การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

ตอนที่8.1ความทั่วไป

แนวตอบกิจกรรม8.1.1

การเข้าใจความหมายของ “เด็ก” และ “เยาวชน” ในกรณีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด

ทางอาญามีความสำคัญเนื่องจากเด็กและเยาวชนมีอายุแตกต่างกันย่อมมีความรู้ผิดชอบแตกต่างกันและ

อาจมีผลให้การพิจารณาความรับผิดทางอาญาเพื่อกำหนดโทษหรือกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้น

แตกต่างกันออกไป

แนวตอบกิจกรรม8.1.2

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ.1989วางหลักการคุ้มครองเด็กผู้เสียหายจากการกระทำความผิด

ทางอาญาไว้ดังเช่น

1) เดก็จะได้รบัการคุม้ครองจากรปูแบบทัง้ปวงของความรนุแรงทัง้ทางรา่งกายและจติใจการทำรา้ย

หรือการกระทำอันมิชอบการทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาทการปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงหาประโยชน์

รวมถึงการกระทำอันมิชอบทางเพศขณะอยู่ในความดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองตามกฎหมายหรือบุคคล

อื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแล

2) เด็กจะได้รับการคุ้มครองป้องกันมิให้มีการลักพา การขายหรือการลักลอบค้าเด็ก ไม่ว่าด้วย

วัตถุประสงค์ใดหรือในรูปแบบใด

3) เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากการถูกแสวงหาประโยชน์ในทุกรูปแบบอื่นทั้งหมดที่เป็นผลร้าย

ต่อสวัสดิภาพของเด็กไม่ว่าในด้านใดเป็นต้น

Page 49: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-49

ตอนที่8.2การกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

แนวตอบกิจกรรม8.2.1

ปัจจัยภายนอกตัวเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นสาเหตุสำหรับของการกระทำความผิดทางอาญาของเด็ก

และเยาวชนไดแ้ก่สภาพปญัหาภายในครอบครวัและสภาพปญัหาภายนอกครอบครวัเชน่ปญัหาสิง่แวดลอ้ม

ใกล้แหล่งอบายมุขปัญหาการลอกเลียนแบบเป็นต้น

แนวตอบกิจกรรม8.2.2

ตามประมวลกฎหมายอาญาหากเด็กกระทำความผิดในขณะอายุไม่เกินสิบปีย่อมไม่มีความรับผิด

ทางอาญาโดยกฎหมายสันนิษฐานว่าเด็กช่วงอายุดังกล่าวยังไม่เจริญวัยพอที่จะรู้ผิดชอบมาตรา73จึงห้าม

เด็ดขาดมิให้ลงโทษทางอาญาแก่เด็กนั้น

แนวตอบกิจกรรม8.2.3

ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจลงโทษ หรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามประมวล

กฎหมายอาญานอกจากนั้น ยังมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล

เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534บัญญัติไว้โดยเฉพาะอีกด้วย

ตอนที่8.3การกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน

แนวตอบกิจกรรม8.3.1

ประมวลกฎหมายอาญามีบทบัญญัติกำหนดความผิดและโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่ล่วงละเมิดสิทธิ

ของเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะในเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพความผิดเกี่ยวกับ

ชีวิตและร่างกายที่กระทำต่อเด็กหรือเยาวชนเป็นต้น

แนวตอบกิจกรรม8.3.2

กฎหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน

ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายนั้น ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

พ.ศ.2546และ2)พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550เป็นต้น

Page 50: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-50

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “การกระทำความผิด

ทางอาญาของเด็กและเยาวชนและการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็กและเยาวชน”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินผลตนเองชุดนี้

30นาที

1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ. 1989 ได้วางหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กซึ่งเป็นผู้กระทำความ

ผิดทางอาญาอย่างไร

2. การศึกษาทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนมีประโยชน์

อย่างไร

3. พระราชบญัญตัิคุม้ครองเดก็พ.ศ.2546มีมาตรการในการคุม้ครองสวสัดภิาพเดก็ที่ตกเปน็เหยือ่ของการ

ทารุณกรรมอย่างไร

Page 51: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-51

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่8

ก่อนเรียน1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ. 1989 ได้วางหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กซึ่งตกเป็น

ผู้เสียหายดังนี้

(1) เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

การทำร้ายหรือการกระทำอันมิชอบการทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาทการปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงหา

ประโยชน์รวมถึงการกระทำอันมิชอบทางเพศขณะอยู่ในความดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองตามกฎหมาย

หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแล

(2) เด็กจะได้รับการคุ้มครองมิให้มีการใช้เด็กเพื่อการผลิตและค้าโดยผิดกฎหมายซึ่ง

ยาเสพติดหรือสารที่มีพิษต่อจิตประสาทอื่นๆ

(3) เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และการกระทำทางเพศที่

มิชอบทุกรูปแบบ รวมทั้งป้องกันการชักจูง หรือบีบบังคับให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศใดๆที่ไม่ชอบ

ด้วยกฎหมายการแสวงหาประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณีหรือการกระทำอื่นๆที่เกี่ยวกับเพศที่ไม่ชอบ

ด้วยกฎหมายหรือในการแสดงลามกอนาจารและที่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจาร

(4) เด็กจะได้รับการคุ้มครองป้องกันมิให้มีการลักพาการขายหรือการลักลอบค้าเด็ก ไม่ว่า

ด้วยวัตถุประสงค์ใดหรือในรูปแบบใด

(5) เด็กจะได้รับการคุ้มครองจากการถูกแสวงหาประโยชน์ในทุกรูปแบบอื่นทั้งหมดที่เป็น

ผลร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็กไม่ว่าในด้านใด

ทั้งนี้จะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจและ

การกลับคืนสู่สังคมของเด็กที่ได้รับเคราะห์จากการละเลยในรูปแบบใดๆการแสวงหาประโยชน์ การกระทำ

อันมิชอบการทรมานหรือการลงโทษหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้าโดยรูปอื่นโดยการ

ฟื้นฟูหรือการกลับคืนสู่สังคมดังกล่าว จะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพการเคารพตนเองและ

ศักดิ์ศรีของเด็ก

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนได้แก่

(1)ปัจจัยภายในตัวเด็กและเยาวชนได้แก่

1)สติปัญญาและประสบการณ์น้อย

2)ภาวะแห่งจิต

3)พันธุกรรม

4)ความไม่สมประกอบทางกาย

5)ความไม่สมประกอบทางใจ

Page 52: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-52

(2)ปัจจัยภายนอกตัวเด็กและเยาวชนได้แก่

1)สภาพปัญหาภายในครอบครัว

2)สภาพปัญหาภายนอกครอบครัว

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546มีมาตรการในการสงเคราะห์เด็กที่ตกเป็นเหยื่อของ

การกระทำความผิด เช่น เด็กที่ถูกทารุณกรรมหรือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

ดังนี้

(1) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวให้สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้

ตามมาตรา23

(2) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมตามระยะเวลาที่เห็น

สมควรแต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน

(3)ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็ก

เป็นบุตรบุญธรรม

(4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและ

ยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ

(5)ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับหรือสถานสงเคราะห์

(6) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานพัฒนาและ

ฟื้นฟู

หลังเรียน1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กค.ศ. 1989 ได้วางหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กผู้กระทำความ

ผิดทางอาญาดังเช่น

(1)จะไมม่ีเดก็คนใดได้รบัการทรมานหรอืถกูปฏบิตัิหรอืลงโทษที่โหดรา้ยไร้มนษุยธรรมหรอื

ต่ำช้าจะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับความผิด

ที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

(2)จะไม่มีเด็กคนใดถูกลิดรอนเสรีภาพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยพลการการจับกุม

กักขังหรือจำคุกเด็กจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้นและให้มีระยะเวลาที่

สั้นที่สุดอย่างเหมาะสม

(3) เด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหาตั้งข้อหาหรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาจะต้องได้รับการ

ปฏิบัติต่อในลักษณะที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าของเด็กโดยต้องคำนึงถึง

อายุของเด็กและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคมและการมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของเด็กใน

สังคม

Page 53: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-53

(4)สง่เสรมิให้มีการตรากฎหมายกำหนดกระบวนวธิีพจิารณาจดัตัง้หนว่ยงานซึง่จะใช้เปน็การ

เฉพาะกับเด็กที่ถูกกล่าวหาตั้งข้อหาหรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาและกำหนดอายุขั้นต่ำ ซึ่งเด็กที่

มีอายุต่ำกว่านั้นจะถูกถือว่าไม่มีความสามารถที่จะฝ่าฝืนกฎหมายอาญาได้กรณีที่เห็นว่าเหมาะสมให้กำหนด

มาตรการที่จะใช้กับเด็กเหล่านั้นโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการโดยเงื่อนไขว่าสิทธิมนุษยชนและ

การคุ้มครองตามกฎหมายจะยังคงอยู่

(5)การดำเนินการต่างๆเช่นคำสั่งให้มีการดูแลแนะแนวและควบคุมการให้คำปรึกษาการ

ภาคทณัฑ์การอปุการะดแูลแผนงานการศกึษาและฝกึอบรมวชิาชพีและทางอืน่นอกเหนอืจากการให้สถาบนั

เป็นผู้ดูแลจะต้องมีไว้เพื่อประกันว่าเด็กจะได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เหมาะสมแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก

และได้สัดส่วนกับทั้งสภาพการณ์และความผิดของเด็ก

2. การศึกษาทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน

เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจถึงสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนซึ่งจะนำไปสู่

แนวทางในการพจิารณากำหนดโทษหรอืการกำหนดวธิีปฏบิตัิเพือ่มุง่คุม้ครองแกไ้ขและฟืน้ฟูเดก็และเยาวชน

ที่กระทำความผดิทางอาญาอยา่งเหมาะสมรวมไปถงึนำไปสู่แนวทางในการปอ้งกนัมิให้เดก็และเยาวชนกระทำ

ความผิดทางอาญาต่อไปในอนาคต

3. พระราชบญัญตัิคุม้ครองเดก็พ.ศ.2546มีมาตรการในการคุม้ครองสวสัดภิาพเดก็ที่ตกเปน็เหยือ่

ของการทารุณกรรมดังนี้

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

ได้รับแจ้งเหตุหรือเป็นผู้พบเห็นพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการทารุณกรรมต่อเด็ก ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและ

มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุด และต้องรีบจัดให้มีการ

ตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องสืบเสาะ และพินิจเกี่ยวกับเด็ก

และครอบครัวเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมแก่เด็ก ก็อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้ หรือถ้าจำเป็นต้อง

ให้การสงเคราะห์ก็ให้การสงเคราะห์ตามมาตรา 33 และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็ก

ไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู

กรณีที่ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นผู้ทารุณกรรมต่อเด็กแยกพิจารณาดังนี้

(1) ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ปกครองหรือญาติ

ของเด็กนั้นจะทารุณกรรมแก่เด็กอีกให้ศาลมีอาจกำหนดมาตรการคุมประพฤติโดยห้ามเข้าเขตกำหนดหรือ

ห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กเพื่อป้องกันมิให้กระทำการดังกล่าวและจะสั่งให้ผู้นั้นทำทัณฑ์บนตามประมวลกฎหมาย

อาญามาตรา46และมาตรา47ก็ได้

(2) ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีอาญา หรืออัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา แต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า

จะมีการทารุณกรรมแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีหน้าที่คุ้มครอง

สวัสดิภาพเด็กหรือพนักงานอัยการยื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุมประพฤติและเรียก

ประกันด้วยก็ได้

ทัง้สองกรณีขา้งตน้หากศาลเหน็วา่มีเหตุจำเปน็เรง่ดว่นเพือ่คุม้ครองเดก็มิให้ถกูทารณุกรรมอกี

ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้นั้นกักขังไว้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน

Page 54: หน่วย ที่ การกร ะท ำความผิ ดท างอ าญาข องเ ด็กแ ละเ ยาวชน ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-8.pdf ·

8-54