แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง...

28
7-1 หน่วยที7 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ อาจารย์อัชพร จารุจินดา ชื่อ อาจารย์อัชพร จารุจินดา วุฒิ น.บ., น.บ.ท. ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยที ่เขียน หน่วยที ่7

Upload: others

Post on 24-Feb-2020

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-1

หน่วยที่7

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

อาจารย์อัชพรจารุจินดา

ชื่อ อาจารย์อัชพรจารุจินดา

วุฒิ น.บ.,น.บ.ท.

ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หน่วยที่เขียน หน่วยที่7

Page 2: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่7

7.1.1ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐ

7.1.2ความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.1.3สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.2.1เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญในอดีต

7.2.2เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)

แนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐ

7.1ความหมายของ

แนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐ

7.2ขอบเขตของ

แนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐ

Page 3: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-3

หน่วยที่7

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่7.1 ความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.1.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.1.2 ความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.1.3สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ตอนที่7.2 ขอบเขตของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7.2.1 เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญในอดีต

7.2.2 เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)

แนวคิด1. แนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐั(StatePolicy)เปน็กรอบพืน้ฐานในการบรหิารราชการแผน่ดนิ

ของรัฐบาลที่ทุกรัฐบาลมีพันธะจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางที่บทบัญญัติของ

รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายหรือการตรากฎหมายต่างๆเพื่อ

รองรับหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ซึ่งโดยปกติจะกำหนดในเรื่องสำคัญของประเทศ

และความเป็นอยู่ของประชาชน และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมิใช่แนวนโยบายของ

รัฐบาลคณะใดคณะหนึ่ง(GovernmentPolicy)ซึ่งสามารถกำหนดให้เปลี่ยนแปรไปได้

ตามความประสงค์ของพรรคการเมืองและรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศแต่แนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐจะไม่ผันแปรไปตามพรรคการเมืองและรัฐบาล โดยจะเป็นแนวทางขั้น

พื้นฐานที่ทุกรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามและทำให้เกิดขึ้นจริงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

และจะกำหนดนโยบายหรือปฏิบัติที่ขัดแย้งกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมิได้

2. โดยที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้ถูกยกเลิกและมีการตราขึ้นใหม่หลายครั้ง แต่

บทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐยังคงมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ทกุครัง้เพือ่ให้เปน็แนวทางพืน้ฐานให้รฐับาลและรฐัสภาปฏบิตัิตามโดยถอืเปน็หลกัประกนั

ให้รัฐบาลมีหน้าที่ปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดต่อหลักการที่กำหนดไว้เป็นแนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐและในขณะเดียวกันรัฐบาลมีหน้าที่ต้องผลักดันให้การปฏิบัติตามแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐบังเกิดผลขึ้นแต่จากการที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลายครั้งทำให้

Page 4: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-4

แนวความคิดในการบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการ

พัฒนาไปตามสภาพความต้องการของสังคมในขณะที่มีการตรารัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาหน่วยที่7จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทั้งที่มาและวัตถุประสงค์ในการ

บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญความสำคัญและสภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง

รัฐได้

2.อธิบายการพัฒนาการบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับได้

กิจกรรม1.กิกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่7

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่7

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่7

4)ศึกษาเนื้อหาสาระจาก

4.1)แนวการศึกษาหน่วยที่7

4.2)หนังสือประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

ชั้นสูง

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่องตรวจสอบกิจกรรมจากแนวคำตอบ

6)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่7

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

Page 5: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-5

แหล่งวิทยาการ1.สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่7

2)หนังสือประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง

2.1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

2.2)วษิณ ุเครอืงาม(2530)กฎหมายรฐัธรรมนญูกรงุเทพฯสำนกัพมิพ์นติิบรรณ-

การ

2.3)บุญศรีมีวงศ์อุโฆษ(2552)กฎหมายรัฐธรรมนูญโครงการตำราและเอกสาร

ประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิมพ์ครั้งที่3

กรุงเทพฯ

2.4)วริชัวริชันภิาวรรณ(2542)วเิคราะห์เปรยีบเทยีบรฐัธรรมนญูแหง่ราชอาณาจกัร

ไทยพุทธศักราช 2540กับรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญกรุงเทพฯสำนักพิมพ์

นิติธรรม

2.5)สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2551) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

กรุงเทพฯสำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

2.6)สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2550) เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 กรุงเทพฯสำนักการพิมพ์สำนักงาน

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

2.7)อมรรกัษาสตัย์(2541)รฐัธรรมนญูฉบบัประชาชนพรอ้มบทวจิารณ์กรงุเทพฯ

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.8)ชาติชัยเดชสุริยะและมานิตย์จุมปา(2541)รัฐธรรมนูญของเรากรุงเทพฯ

โรงพิมพ์เดือนตุลา

2.9)รติกร เจือกโว้นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ http:///www.thaipolitics-

govenment.org.

2.หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 6: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-6

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความรู้เดมิในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“แนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐั”

คำแนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1.นักศึกษามีความเข้าใจความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างไร

2.“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”กับ“นโยบายของรัฐบาล”ต่างกันอย่างไร

Page 7: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-7

3.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญอย่างไร

4.สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นอย่างไร

5.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) มีความแตกต่างจาก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับอื่นๆอย่างไร

Page 8: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-8

ตอนที่7.1

ความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่7.1.1ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

เรื่องที่7.1.2ความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

เรื่องที่7.1.3สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวคิด1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คือ นโยบายหลักของประเทศซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

เพื่อให้รัฐบาลหรือรัฐสภามีหน้าที่นำไปดำเนินการกำหนดนโยบายหรือตรากฎหมาย

2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นการแสดงหลักการสำคัญของการบริหารประเทศที่เป็น

นโยบายกลางที่ถาวร เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่

ได้รับการบริการตามหลักประกันที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

3. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้น เพื่อให้รัฐปฏิบัติ

รัฐจึงมีหน้าที่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเรื่องใด

ในเวลาใด และต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนการตรากฎหมายให้

สอดคล้องกัน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้

2. อธิบายความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้

3. อธิบายสภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้

Page 9: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-9

เรื่องที่7.1.1ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

สาระสังเขป1.ความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ(StatePolicy)

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540และพ.ศ.2550นั้น มี

ความหมายเดียวกับแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญเดิมฉบับก่อนหน้านั้นซึ่งได้มีการ

ให้ความหมายไว้หลายประการคือ

(1)แนวนโยบายแห่งรัฐหมายถึงนโยบายหลักซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแนวทางที่รัฐบาล

จะต้องปฏิบัติตาม เหตุที่ต้องมีการกำหนดไว้เกิดขึ้นเพราะมีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ

การเมือง จึงเกรงกันว่ารัฐสภาอาจออกกฎหมาย และรัฐบาลอาจบริหารราชการแผ่นดินผิดไปจากปรัชญา

อุดมการณ์ และแนวทางที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการด้วยเหตุนี้ จึงกำหนดขึ้นเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่ง

กำหนดไว้กว้างๆ เพื่อให้ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองนั้นหรือรัฐบาลนั้นจะ

กำหนดนโยบายของรัฐบาลหรือกระทำการให้เป็นการขัดแนวนโยบายแห่งรัฐมิได้ดังนั้นแนวนโยบายแห่งรัฐ

จึงเป็นความหวังหรือความตั้งใจของผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่ารัฐบาลควรจะวางหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน

และรัฐสภาควรจะออกกฎหมายมาในรูปลักษณะใด

(2)แนวนโยบายแห่งรัฐหมายถึงแนวนโยบายขั้นพื้นฐานที่รัฐฝ่ายบริหารหรือองค์กรของรัฐจะต้อง

ดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน

(3)แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหมายถึงหลักการแห่งนโยบายหลักซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้

รฐัจะตอ้งปฏบิตัิตามกลา่วคอืไม่วา่รฐับาลชดุใดจะเขา้มาบริหารประเทศรฐับาลก็มีพนัธะกรณีที่จะตอ้งปฏบิตัิ

ตามแนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐัแนวนโยบายแหง่รฐัจงึไม่เปลีย่นแปลงไปตามรฐับาลหากแต่เปน็สิง่ที่แนน่อน

อันสะท้อนเจตจำนงของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

(4)แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหมายถึงแนวนโยบายหลักของรัฐหรือประเทศเพื่อเป็นกรอบหรือ

แนวทางที่กำหนดในรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นภารกิจของรัฐที่ต้องดำเนินการแก่ประชาชน เป็นกรอบหรือ

แนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบาย ซึ่งมิใช่แนวนโยบายของรัฐบาลคณะใดคณะหนึ่ง ในขณะ

ที่แนวนโยบายของรัฐบาลเปลี่ยนไปได้ตามพรรคการเมืองและคณะรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ แต่แนว

นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐจะไม่ผันแปรไปตามพรรคการเมืองและคณะรัฐบาลและเป็นแนวทางขั้นพื้นฐานที่ทุก

รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามและทำให้เกิดขึ้นจริง

ความหมายต่างๆ ข้างต้นมีความหมายในลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจสรุปได้ว่า แนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐหมายถึงกรอบหรือแนวทางที่เป็นนโยบายหลักของประเทศซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิด

ความมั่นคงแห่งความเป็นรัฐและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนซึ่งรัฐบาลรัฐสภาหรือองค์กรของ

รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการกำหนดนโยบายบริหารราชการและออกกฎหมายให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนด

ไว้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและจะไม่ผันแปรไปตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

Page 10: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-10

2.การเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญต่างประเทศ

บทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของเกือบทุกประเทศ

แต่ส่วนใหญ่จะกำหนดเฉพาะหลักการใหญ่ที่เกี่ยวพันถึงลักษณะการปกครองประเทศที่ไม่ต้องการให้มีการ

เปลี่ยนแปลงและบัญญัติไว้เป็นมาตราเฉพาะแต่ละเรื่อง โดยไม่กำหนดเป็นหมวดหมู่ซึ่งบางครั้งทำให้ยาก

ที่จะทำความเข้าใจว่าเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพหรือเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐ เช่นในประเทศฝรั่งเศสที่ได้บัญญัติไว้ในArticle1ที่ว่า“ประเทศฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ

อันหนึ่งอันเดียวที่มีระบอบการปกครองภายใต้หลักทางโลกหลักประชาธิปไตย และหลักสังคมซึ่งจะ

ต้องประกันความเท่าเทียมกันของประชาชนภายใต้กฎหมาย โดยไม่มีการแบ่งแยกกันในทางแหล่งกำเนิด

เชือ้ชาติหรอืศาสนาตลอดจนการเคารพความเชือ่ของทกุๆคนและให้มีการจดัระเบยีบในรปูแบบการกระจาย

อำนาจ” หรือเป็นแนวนโยบายทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่ต้องการกำหนดไว้เป็นกรอบในการบริหารประเทศ

เช่นในประเทศเดนมาร์กได้บัญญัติไว้ในSection43ที่ว่า“การกำหนดเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกภาษีอากร

จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเช่นเดียวกันนอกจากนี้การบังคับให้ชายใดรับราชการ

ทหารหรือการก่อหนี้สาธารณะจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเช่นเดียวกัน”Section44

ที่ว่า“(1)การแปลงสัญชาติบุคคลต่างด้าวจะกระทำได้เฉพาะที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย(2)ขอบเขตของสิทธิ

บุคคลต่างด้าวในการมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”และSection76

ที่ว่า“ให้เด็กที่อยู่ในวัยโรงเรียนมีสิทธิได้รับการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ในการนี้ บิดามารดาหรือผู้ปกครองซึ่งจัดให้บุตรหรือเด็กที่อยู่ในปกครองของตนได้รับการศึกษาในระดับ

ที่เทียบเท่ากับมาตรฐานโรงเรียนสามัญระดับประถมศึกษาไม่จำต้องจัดให้บุตรหรือเด็กที่อยู่ในปกครองนั้น

เข้าเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา” เป็นต้น แต่จะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่แยกบัญญัติไว้เป็นหมวดหนึ่ง

โดยเฉพาะดังเช่นรัฐธรรมนูญของประเทศไทย รัฐธรรมนูญของประเทศสเปนที่บัญญัติแยกไว้ในChapter

4PrinciplesGoverningEconomicandSocialPolicyรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดียที่บัญญัติไว้ใน

PartIVDirectivePrinciplesofStatePolicyประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่บัญญัติไว้ในChapter3Social

Objectivesและประเทศบราซิลที่บัญญัติไว้ในTitleIFundamentalPrinciplesเป็นต้นอย่างไรก็ตาม

บทบัญญัติในเรื่องเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันในความเข้าใจและความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญรวมทั้งการ

จัดหมวดหมู่ของรัฐธรรมนูญซึ่งอาจแตกต่างกันตามที่เห็นเหมาะสม

3.ความเป็นมาของการบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ

การกำหนดหลักการเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้เริ่มนำมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกใน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2492)โดยใช้ชื่อหมวดว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” ซึ่งสภาร่าง

รัฐธรรมนูญในขณะนั้นได้นำแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย ซึ่งได้กำหนดแนว

นโยบายให้รัฐส่งเสริมสวัสดิภาพของประชาชนคุ้มครองแรงงาน การจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับและยก

ระดับมาตรฐานการครองชีพมาใช้เป็นแนวทางโดยได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องสิทธิ

เสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยแล้วก็ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ด้วย เพื่อประโยชน์

ของประชาชนและแสดงอุดมการณ์ของชาติให้มีความมั่นคงในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวทาง

Page 11: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-11

ใหญ่ๆที่เป็นภารกิจหลักสำคัญๆของรัฐที่พึงปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหมวดที่ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่ง

รัฐ” เพื่อให้เป็นนโยบายกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ

ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายของคณะรัฐมนตรีแต่ละคณะมีความต่อเนื่องกัน และแนวทางในการกำหนดเป็น

หลักการของแนวนโยบายแห่งรัฐนี้ได้บัญญัติต่อมาในรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2475 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2495)

รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2511 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2517 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2521 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2534ซึ่งใน

เนื้อหาสาระได้มีการเปลี่ยนแปลงในการตรารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นสมควรหรือ

ตามข้อเรียกร้องของประชาชนในขณะที่ตรารัฐธรรมนูญจนต่อมาในการจัดทำรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540สภา

ร่างรัฐธรรมนูญได้เปลี่ยนชื่อหมวดนี้เสียใหม่โดยใช้ถ้อยคำว่า“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”เพื่อให้มีความ

เข้าใจชัดเจนว่าเป็นแนวนโยบายพื้นฐานไม่ใช่นโยบายทั่วไปของแต่ละรัฐบาลที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาล

เวลาและสถานการณ์และรัฐบาลมีหน้าที่พึงจะต้องดำเนินการให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐบังเกิดผลอย่าง

จริงจัง ด้วยการต้องรายงานต่อรัฐสภาว่าได้ดำเนินการไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดไว้

ในรัฐธรรมนูญได้เพียงใดและในการตรารัฐธรรมนูญพ.ศ.2550ก็ยังคงใช้คำเดิมว่า“แนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐ”

4.ความแตกต่างระหว่าง“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”กับ“นโยบายรัฐบาล”

“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในหมวด5ตั้งแต่มาตรา75ถึงมาตรา

87โดยกำหนดความมุ่งหมายไว้ในมาตรา75ว่าบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็น

เจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยในการแถลง

นโยบายต่อรัฐสภาคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใดในระยะเวลาใดเพื่อบริหาร

ราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและในมาตรา76รัฐจะต้องจัดทำแผนการบริหาร

ราชการแผ่นดินและแผนการตรากฎหมายที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้วย

ส่วนนโยบายของรัฐบาลนั้นได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 176 ของรัฐธรรมนูญว่า คณะรัฐมนตรีที่จะ

เข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และชี้แจงการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ

ดังนั้น แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายของรัฐบาลจึงมีความแตกต่างกัน โดยแนวนโยบาย

พืน้ฐานแหง่รฐัได้มีการกำหนดเปน็หลกัการแนน่อนถาวรในเรือ่งตา่งๆไว้ในรฐัธรรมนญูแลว้และรฐับาลมหีนา้ที่

ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจกำหนดเป็นอย่างอื่น รวมทั้งมีหน้าที่ชี้แจงต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินการให้เป็นผล

อยา่งไรในเวลาใดสว่นนโยบายของรฐับาลเปน็การแสดงความประสงค์ในการบรหิารประเทศของรฐับาลในชว่ง

เวลาการบริหารประเทศของรฐับาลวา่รฐับาลจะมนีโยบายดำเนินการในเรือ่งใดบ้างเพือ่ให้รฐัสภารับทราบและ

ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลนโยบายของรัฐบาลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการบริหารประเทศของ

รัฐบาลแต่ละคณะอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการกำหนดนโยบายของรัฐบาลอาจเป็นการกำหนดรายละเอียด

การดำเนินการต่างๆที่สอดคล้องกับเรื่องที่กำหนดไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้

Page 12: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-12

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. วิษณุเครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญบทที่11บทบัญญัติอื่นๆที่อาจกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

2. สำนกังานเลขาธกิารสภาผู้แทนราษฎรเจตนารมณ์รฐัธรรมนญูแหง่ราชอาณาจกัรไทยพทุธศกัราช

2550หมวด5แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

4. ชาติ ชัยเดชสุริยะ และมานิตย์ จุมปา รัฐธรรมนูญของเรา : รัฐธรรมนูญใหม่กับแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐ

5. รติกรเจือกโว้นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

กิจกรรม7.1.1

1.จงอธิบายความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าท่านมีความเข้าใจอย่างไร

2. “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”กับ“นโยบายของรัฐบาล”ต่างกันอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.1กิจกรรม7.1.1)

Page 13: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-13

เรื่องที่7.1.2ความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

สาระสังเขปแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญดังนี้

1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นบทบัญญัติที่กำหนดภาระหน้าที่สำคัญของรัฐที่จะต้องปฏิบัติ

ซึ่งครอบคลุมภารกิจที่สำคัญอันเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และความเป็นอยู่ของ

ประชาชนส่วนรวมในระยะยาวโดยครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในประเทศ

2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นนโยบายกลางขั้นพื้นฐานผูกพันรัฐสภาและรัฐบาลทุกชุดให้ต้อง

ดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามกรอบหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐส่งผลให้กฎหมายและนโยบาย

สำคัญที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่องและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน

3. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยโดย

สมบูรณ์เพราะประชาชนจะได้รับหลักประกันในการดำเนินการของรัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชนในแนวทาง

ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

4. แนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐัเปน็การแสดงหลกัการบรหิารประเทศของประเทศไทยให้บคุคลทัว่ไป

ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับทราบแนวทางการบริหารประเทศที่ชัดเจน

5. แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐเป็นเครื่องมือของรัฐสภาที่จะใช้ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน

ของรัฐบาลว่าเป็นไปตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ1.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐรติกาเจือกโว้น

2.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)

กิจกรรม7.1.2

ให้นักศึกษาอธิบายว่าแนวนโยบายแห่งรัฐมีความสำคัญอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.1กิจกรรม7.1.2)

Page 14: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-14

เรื่องที่7.1.3สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

สาระสังเขป1. สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญเดิมก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราช

อาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)

ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2492)เป็นต้นมาซึ่งได้เริ่มมีการบัญญัติเรื่องแนว

นโยบายแห่งรัฐได้บัญญัติในลักษณะเป็นคำแนะนำที่มิใช่เป็นบทบังคับโดยบัญญัติไว้ว่าบทบัญญัติในหมวด

แนวนโยบายแห่งรัฐมีไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายและไม่เกิดสิทธิ

ในการฟ้องร้องรัฐ ซึ่งหมายความว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐนี้มีไว้เป็นเพียงแนวทางที่ควร

ต้องปฏิบัติเท่านั้น ถ้ารัฐสภาหรือรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ผู้ใดจะฟ้องร้องบังคับหรือเรียก

ค่าเสียหายมิได้สภาพบังคับที่อาจมีก็จะเป็นเรื่องการดำเนินการในทางการเมือง เช่น เป็นช่องทางให้รัฐสภา

เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้

ต่อมา ในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)นอกจากจะเปลี่ยนชื่อเป็นแนว

นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแล้วได้เพิ่มสภาพบังคับของบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพื่อให้

เกิดผลในการนำไปปฏิบัติมากยิ่งขึ้นโดยยังคงหลักการเดิมในเรื่องกำหนดให้เป็นแนวทางในการตรากฎหมาย

และกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ได้ตัดเรื่อง “การไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องต่อ

รัฐ” ออก ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ไม่ต้องการสร้างอุปสรรคขัดขวางหรือปิดกั้นโอกาสของ

ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามเงื่อนไขของสิทธิที่ประชาชนจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญนอกจากนี้ ยัง

ได้เพิ่มหน้าที่ของรัฐบาลด้วยว่าในการเข้าบริหารราชการแผ่นดินรัฐบาลต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะ

ดำเนินการใดตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและรายงานผลให้รัฐสภาทราบด้วยซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลต้องให้

คำมั่นต่อรัฐสภาว่าในแต่ละปีรัฐบาลจะดำเนินการเรื่องใดที่กำหนดเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐบ้าง

2. สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.

2550)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)ยังคงบัญญัติให้บทบัญญัติในหมวดแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐมีผลใช้ในเรื่องการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินแต่ได้เพิ่ม

สภาพบังคับมากขึ้นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2540)เพื่อให้บทบัญญัติในหมวดนี้มีความ

ศักดิ์สิทธิยิ่งขึ้นและมีผลให้รัฐบาลนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังนี้

2.1กำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็น “เจตนำนง” แทนการบัญญัติ

ให้เป็น “แนวทาง” ตามที่เคยเป็นมาแต่เดิม เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนว่าเป็นความ

ประสงค์ของรัฐธรรมนูญให้บทบัญญัติในหมวดนี้มีสภาพบังคับที่รัฐบาลหรือรัฐสภาจะต้องดำเนินการตรา

Page 15: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-15

กฎหมายหรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ โดยไม่อาจละเมิดได้เพราะอาจทำให้การดำเนินการ

นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ

2.2 กำหนดเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจน

ว่าการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐจะดำเนินการใดและในระยะเวลาใดและต้องจัดทำรายงาน

แสดงผลการดำเนินการต่อรัฐสภา

2.3 คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะต้องแสดงมาตรการและ

รายละเอียดของแนวทางการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งต้องสอดคล้องกับ

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและต้องจัดทำแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

นั้น

3. ความแตกต่างระหว่างสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และมี

ผลบังคับทันทีโดยผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ รัฐมีหน้าที่จะต้องไม่ดำเนินการใดๆ รวมทั้งการตรากฎหมายที่

เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือมีผลเป็นข้อห้ามมิให้รัฐดำเนินการที่เป็นการละเมิด

บทบัญญัติที่กำหนดไว้

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นกรอบหรือแนวทางที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตรากฎหมายหรือ

กำหนดนโยบายให้เป็นไปในแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ หรือมีผลเป็นการกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้อง

กระทำให้เกิดผลตามรัฐธรรมนูญ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ1.กฎหมายรัฐธรรมนูญบทที่11บทบัญญัติอื่นๆที่

อาจกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญวิษณุเครืองาม2.เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช

2550หมวด5แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร3.แนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)

กิจกรรม7.1.3

ให้นักศึกษาอธิบายสภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าเป็นอย่างไร

Page 16: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-16

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.1.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.1กิจกรรม7.1.3)

Page 17: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-17

ตอนที่7.2

ขอบเขตของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่7.2.1เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญในอดีต

เรื่องที่7.2.2เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)

แนวคิดรฐัธรรมนญูของประเทศไทยมีการยกเลกิและจดัทำขึน้ใหม่หลายครัง้แต่บทบญัญตัิที่เกีย่วกบั

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐยังคงมีการกำหนดในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อให้เป็นแนวทาง

พื้นฐานให้รัฐบาลและรัฐสภาปฏิบัติตามโดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันไปตาม

สภาพความต้องการของสังคมในขณะที่มีการตรารัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายขอบเขตเนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญในอดีต

2. อธิบายขอบเขตเนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)

Page 18: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-18

เรื่องที่7.2.1เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญในอดีต

สาระสังเขปรัฐธรรมนูญในอดีตจะมีการกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในลักษณะกว้างๆ และคล้ายคลึง

กันคือ

1. กำหนดเรื่องต่างๆไว้ในหมวดเดียวกันโดยไม่แยกเป็นแต่ละด้าน

2. กำหนดเนื้อหาสาระที่เป็นหลักการสำคัญในการปกครองประเทศซึ่งอาจสรุปได้เป็น3ด้านคือ

(2.1)แนวนโยบายในทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะกำหนดให้เห็นว่ารัฐสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบ

เสรีโดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและการส่งเสริมอาชีพของประชาชน

(2.2)แนวนโยบายในทางสังคมซึ่งจะกำหนดในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาการสาธารณสุขการ

ส่งเสริมวัฒนธรรมการสังคมสงเคราะห์และการคุ้มครองแรงงาน

(2.3)แนวนโยบายทางการเมืองการปกครองซึ่งจะกำหนดในเรื่องการรักษาสถาบันพระมหา

กษัตริย์ เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขตความสัมพันธ์กับนานาประเทศการจัดกำลังทหารการรักษา

กฎหมายและการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ต่อมา ในการตรารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการเพิ่มเติมนโยบายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้มี

ขึน้ใหม่ในแนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐัเพือ่ให้รฐับาลปฏบิตัิตามจนทำให้รฐัธรรมนญูพ.ศ.2534(แกไ้ขเพิม่เตมิ

ฉบับที่5พ.ศ.2538)มีความยาวถึง35มาตราเป็นเหตุให้แนวนโยบายแห่งรัฐมีลักษณะคล้ายกับแนวนโยบาย

ของรัฐบาลซึ่งมีรายละเอียดเกินไปดังนั้น ในการตรารัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อหมวดนี้เสีย

ใหม่เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐโดยกำหนดให้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานจริงๆไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจ

เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและสถานการณ์ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหมด5ด้านคือด้านความมั่นคงแห่งชาติ

ด้านการบริหารและการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้านการเมืองการปกครองตามครรลองของระบอบ

ประชาธิปไตยด้านศาสนาสังคมการศึกษาและสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจโดยได้ตัดบทบัญญัติต่างๆที่

เป็นรายละเอียดออกแต่ก็ยังคงบัญญัติรวมกันไว้ในหมวดเดียวกันโดยไม่แยกเรื่องเป็นแต่ละด้าน

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระในรายละเอียดในหนังสือ1.กฎหมายรัฐธรรมนูญบทที่11บทบัญญัติอื่นๆ

ที่อาจกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญวิษณุ เครืองาม 2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐสำนักงานเลขาธิการสภา

ผู้แทนราษฎร3. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐรติกร เจือกโว้น 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540กับรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ)

Page 19: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-19

กิจกรรม7.2.1

จงอธิบายขอบเขตเนื้อหาที่สำคัญที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญในอดีต

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.2กิจกรรม7.2.1)

Page 20: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-20

เรื่องที่7.2.2เนื้อหาสาระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

(พ.ศ.2550)

สาระสังเขปรฐัธรรมนญูแหง่ราชอาณาจกัรไทย(พ.ศ.2550)นอกจากจะกำหนดให้รฐับาลตอ้งชีแ้จงวา่จะดำเนนิการ

ตามนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐัในเวลาใดและตอ้งจดัทำแผนการบรหิารราชการแผน่ดนิและแผนการตรากฎหมาย

ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแล้วในด้านเนื้อหาสาระยังได้กำหนดให้แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ

ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการกำหนดเป็นจำนวนเพียงไม่กี่มาตราก็ตามแต่ได้มีวิธีเขียนแนวใหม่โดยแต่ละมาตรา

จะแยกเป็นอนุมาตราต่างๆอีกมากซึ่งหากพิจารณาในภาพรวมแล้วจะพบว่าการกำหนดแนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550มีเนื้อหาสาระย้อนไปคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2534กล่าวคือมีการ

บัญญัติรายละเอียดไว้เป็นจำนวนมากซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540ซึ่งพยายามกำหนดไว้เฉพาะ

หลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานการปกครองประเทศจึงเป็นเหตุทำให้เนื้อหาสาระของแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง

รัฐเป็นการกำหนดรายละเอียดถึงขั้นการปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเนื้อหาสาระของนโยบายของ

รัฐบาลแต่ก็จะเป็นผลดีแก่ประชาชนที่จะมีหลักประกันการได้รับความคุ้มครองว่าจะได้รับการบริการในเรื่อง

ต่างๆมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550คือการจัดให้แต่ละเรื่องเป็นหมวดหมู่

เดียวกันซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลและในบางเรื่องได้

กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักการชัดเจนที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องได้รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การต่างๆขึ้นมาให้

เป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายในด้านนั้นซึ่งจะทำให้นโยบายสำเร็จผลขึ้นได้และมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ของประชาชนในการปกครองประเทศมากยิ่งขึ้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)ได้กำหนดหมวดหมู่ของแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง

รัฐไว้เป็น9ด้านดังนี้

1. ด้านความมั่นคงของรัฐ

2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

3. ด้านศาสนาสังคมการสาธารณสุขการศึกษาและวัฒนธรรม

4. ด้านกฎหมายและการยุติธรรม

5. ด้านการต่างประเทศ

6. ด้านเศรษฐกิจ

7. ด้านที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 21: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-21

8. ด้านวิทยาศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน

9. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ1.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐสำนักงานเลขาธิการ

สภาผู้แทนราษฎร 2. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 โดยสำนักงาน

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร3.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐรติกรเจือกโว้น)

กิจกรรม7.2.2

จงอธิบายความแตกต่างในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550กับรัฐธรรมนูญในอดีต

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.2กิจกรรม7.2.2)

Page 22: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-22

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่7

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ตอนที่7.1ความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวตอบกิจกรรม7.1.1

1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง กรอบหรือแนวทางที่เป็นนโยบายหลักของประเทศ ซึ่ง

กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งความเป็นรัฐและตอบสนองต่อความต้องการของ

ประชาชนซึ่งรัฐบาลรัฐสภาหรือองค์กรของรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการกำหนดนโยบายบริหารราชการและ

ออกกฎหมายให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและจะไม่ผันแปรไปตามการ

เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้มีการกำหนดเป็นหลักการแน่นอนถาวรในเรื่องต่างๆ ไว้ใน

รัฐธรรมนูญแล้วและรัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจกำหนดเป็นอย่างอื่นรวมทั้งมีหน้าที่ชี้แจงต่อ

รัฐสภาว่าจะดำเนินการให้เป็นผลอย่างไรในเวลาใดส่วนนโยบายของรัฐบาลเป็นการแสดงความประสงค์ใน

การบริหารประเทศของรัฐบาลในช่วงเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาลว่ารัฐบาลจะมีนโยบายดำเนินการใน

เรื่องใดบ้างนโยบายของรัฐบาลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการบริหารประเทศของรัฐบาลแต่ละคณะ

แนวตอบกิจกรรม7.1.2

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นการแสดงหลักการบริหารประเทศให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและเป็น

แนวทางการบรหิารราชการแผน่ดนิในระบอบประชาธปิไตยโดยสมบรูณ์เพราะเปน็หลกัประกนัให้แก่ประชาชน

ว่ารัฐธรรมนูญได้กำหนดนโยบายกลางขั้นพื้นฐานที่มีผลผูกพันรัฐสภาและรัฐบาลทุกชุดต้องดำเนินนโยบาย

และปฏิบัติตามกรอบหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและความเป็น

อยู่ของประชาชนสว่นรวมในระยะยาวโดยไมม่ีการเปลีย่นแปลงวถิีชวีติของคนไทยและเปน็เครือ่งมอืที่รฐัสภา

จะใช้ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลได้

แนวตอบกิจกรรม7.1.3

1. กำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงของรัฐธรรมนูญ เพื่อแสดง

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าประสงค์ให้บทบัญญัติในเรื่องนี้มีสภาพบังคับที่รัฐบาลหรือรัฐสภามีหน้าที่ต้อง

กำหนดนโยบายหรือตรากฎหมายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้โดยไม่อาจละเมิดได้

Page 23: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-23

2. กำหนดเป็นหน้าที่รัฐบาลต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจนว่า การดำเนินการ

ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐจะดำเนินการในเรื่องใดและในระยะเวลาใดและต้องจัดทำรายงานแสดงผล

การดำเนินการต่อรัฐสภาด้วย

3. รัฐบาลต้องจัดทำแผนการบรหิารราชการแผน่ดินและแผนการตรากฎหมายให้สอดคลอ้งกับแนว

นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ตอนที่7.2ขอบเขตของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวตอบกิจกรรม7.2.1

รัฐธรรมนูญในอดีตที่ผ่านมาจะกำหนดแต่เพียงหลักการกว้างๆในเรื่องดังต่อไปนี้

(1)แนวนโยบายในทางเศรษฐกิจ

(2)แนวนโยบายในทางสังคม

(3)แนวนโยบายในทางการเมืองการปกครอง

ต่อมารัฐธรรมนูญพ.ศ.2540ได้มีการกำหนดเป็น5ด้านคือด้านความมั่นคงแห่งชาติด้านการ

บริหารและการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้านการเมืองการปกครองด้านศาสนาสังคมการศึกษา

และสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ

แนวตอบกิจกรรม7.2.2

รัฐธรรมนูญในอดีตส่วนใหญ่จะกำหนดเนื้อหาในลักษณะกว้างๆในด้านเศรษฐกิจสังคมการเมือง

และการปกครอง โดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดการปฏิบัติและมิได้แบ่งหมวดหมู่ แต่ตามรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)นอกจากจะกำหนดให้รัฐบาลต้องชี้แจงว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐในเวลาใด และต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนการตรากฎหมายให้

สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ในด้านเนื้อหาสาระยังได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้น

เป็นจำนวนมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับโดยบางเรื่องได้กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักการชัดเจนที่จะปฏิบัติ

ให้ถูกต้องได้รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การต่างๆเป็นผู้ดำเนินการและมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในการปกครองประเทศมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดให้แต่ละเรื่องอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันทำให้ง่าย

ต่อการทำความเข้าใจและสามารถตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาลได้อย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น

Page 24: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-24

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“แนวนโยบายพื้นฐาน

แห่งรัฐ”

คำแนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1.นักศึกษามีความเข้าใจความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างไร

2.“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”กับ“นโยบายของรัฐบาล”ต่างกันอย่างไร

Page 25: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-25

3.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญอย่างไร

4.สภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นอย่างไร

5.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) มีความแตกต่างจาก

รัฐธรรมนูญเดิมอย่างไร

Page 26: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-26

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่7

ก่อนเรียน1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง การกำหนดแนวทางการตรากฎหมายและการกำหนด

นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาลมีหน้าที่จะต้องนำไปปฏิบัติ

2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นนโยบายหลักของประเทศที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและรัฐบาล

มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสำหรับนโยบายของรัฐบาลเป็นเรื่องที่รัฐบาลแต่ละรัฐบาลจัดทำขึ้นเองและแถลงต่อ

รัฐสภาว่าจะดำเนินการสิ่งใดในช่วงเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาล

3. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นหลักการสำคัญที่กำหนดแนวทางการตรากฎหมาย และการ

กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าในการบริหารราชการแผ่นดินรัฐมีหน้าที่ต้อง

ปฏิบัติในเรื่องใดบ้างให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

4. รัฐบาลมีหน้าที่ต้องนำแนวนโยบายแห่งรัฐไปปฏิบัติในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายให้

สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

5. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)มีการกำหนดให้

รัฐบาลต้องชี้แจงว่าจะดำเนินการตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในเวลาใดและต้องจัดทำแผนการบริหารราชการ

แผ่นดินและแผนการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)ได้บัญญัติแยกแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นหมวดหมู่ทำให้มีความชัดเจน

ยิ่งขึ้นว่านโยบายในแต่ละด้านมีเรื่องใดบ้าง

หลังเรียน1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง กรอบหรือแนวทางที่เป็นนโยบายหลักของประเทศ ซึ่ง

กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งความเป็นรัฐและตอบสนองต่อความต้องการของ

ประชาชนซึ่งรัฐบาลรัฐสภาหรือองค์กรของรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการกำหนดนโยบายบริหารราชการและ

ออกกฎหมายให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและจะไม่ผันแปรไปตามการ

เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้มีการกำหนดเป็นหลักการแน่นอนถาวรในเรื่องต่างๆ ไว้ใน

รัฐธรรมนูญแล้วและรัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจกำหนดเป็นอย่างอื่นรวมทั้งมีหน้าที่ชี้แจงต่อ

รัฐสภาว่าจะดำเนินการให้เป็นผลอย่างไรในเวลาใดส่วนนโยบายของรัฐบาลเป็นการแสดงความประสงค์ใน

การบริหารประเทศของรัฐบาลในช่วงเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาลว่ารัฐบาลจะมีนโยบายดำเนินการใน

เรื่องใดบ้างนโยบายของรัฐบาลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการบริหารประเทศของรัฐบาลแต่ละคณะ

Page 27: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ

7-27

3. แนวนโยบายพืน้ฐานแหง่รฐัเปน็การแสดงหลกัการบรหิารประเทศให้บคุคลทัว่ไปได้ทราบและเปน็

แนวทางการบรหิารราชการแผน่ดนิในระบอบประชาธปิไตยโดยสมบรูณ์เพราะเปน็หลกัประกนัให้แก่ประชาชน

ว่ารัฐธรรมนูญได้กำหนดนโยบายกลางขั้นพื้นฐานที่มีผลผูกพันรัฐสภาและรัฐบาลทุกชุดต้องดำเนินนโยบาย

และปฏิบัติตามกรอบหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและความ

เป็นอยู่ของประชาชนส่วนรวมในระยะยาว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยและเป็นเครื่องมือ

ที่รัฐสภาจะใช้ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลได้

4. (1)กำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงของรัฐธรรมนูญเพื่อแสดง

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าประสงค์ให้บทบัญญัติในเรื่องนี้มีสภาพบังคับที่รัฐบาลหรือรัฐสภามีหน้าที่ต้อง

กำหนดนโยบายหรือตรากฎหมายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้โดยไม่อาจละเมิดได้

(2)กำหนดเปน็หนา้ที่รฐับาลตอ้งชีแ้จงในการแถลงนโยบายตอ่รฐัสภาให้ชดัเจนวา่การดำเนนิการ

ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐจะดำเนินการในเรื่องใดและในระยะเวลาใดและต้องจัดทำรายงานแสดงผล

การดำเนินการต่อรัฐสภาด้วย

(3)รัฐบาลต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับ

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

5. รัฐธรรมนูญในอดีตส่วนใหญ่จะกำหนดเนื้อหาในลักษณะกว้างๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม

การเมอืงและการปกครองโดยไม่ได้กำหนดรายละเอยีดการปฏบิตัิและมไิด้แบง่หมวดหมู่แต่ตามรฐัธรรมนญู

แห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2550)นอกจากจะกำหนดให้รัฐบาลต้องชี้แจงว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบาย

พื้นฐานแห่งรัฐในเวลาใด และต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนการตรากฎหมายให้

สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ในด้านเนื้อหาสาระยังได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้น

เป็นจำนวนมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับโดยบางเรื่องได้กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักการชัดเจนที่จะปฏิบัติ

ให้ถูกต้องได้รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การต่างๆเป็นผู้ดำเนินการและมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในการปกครองประเทศมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดให้แต่ละเรื่องอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันทำให้ง่าย

ต่อการทำความเข้าใจและสามารถตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาลได้อย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น

Page 28: แนว นโยบาย พื้น ฐาน แห่ง รัฐlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41711-7.pdf · 2015-03-24 · ไทย พุทธศักราช 2540 กับ