การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท...

10
กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที10 (2): 2553 28 การปรับตัวของพืชภายใตภาวะที่มีความเค็ม (Adaptation of Plants under Salinity) วิชิตพล มีแกว * ณัฐพล ขันธปราบ * สุรศักดิละลอกน้ํา *,** *ภาควิชาวิทยาศาสตรทั่วไป คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ **หนวยวิจัยวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และ สิ่งแวดลอมเพื่อการเรียนรู คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท 02-649-5000 ตอ 8660 บทคัดยอ ความเค็ม (salinity) เปนปญหาที่สําคัญตอการเจริญของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยูในสิ่งแวดลอมเหลานั้น อาจจะไปลดความสามารถในการเจริญเติบโต การสรางผลผลิตอันเนื่องจากอยูในสภาวะความเค็มจะไปยังยั้ง กระบวนการเมแทบอลิซึมตางๆ ที่มีเอนไซมเขามาเกี่ยวของ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตตองมีการปรับตัวใหเขาภาวะที่มี ความเค็มใหได โดยสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยูในสิ่งแวดลอมที่มีความเค็มสูงได เรียกวา ฮาโลไฟล (halophile) และสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวไดภายใตภาวะความเค็มเรียกวา สิ่งมีชีวิตทนเค็ม (halotolerant) พบไดทั้งในพวกยูคาริโอต (eukaryote) และโพรคาริโอต (prokaryote) สําหรับกลไกที่ใชในการทนตอความ เค็มนั้น ไดแก การแลกเปลี่ยนไอออน และการสะสมสารบางชนิด เชน น้ําตาล กรดอะมิโน และอนุพันธ ของ กรดอะมิโน หรือพืชบางชนิดเพิ่มความอวบของใบแก หรืออาจจะขับเกลือออกทางตอมเกลือซึ่งอยูที่ใบ แลวปลอยใหรวงหลน เชน แสม และ โกงกาง คําสําคัญ: ความเค็ม/ สิ่งมีชีวิตทนเค็ม/ การปรับตัว บทนํา สิ่งมีชีวิตแตละชนิดเจริญไดใน สิ่งแวดลอมที่แตกตางกัน โดยทั่วไปจะเจริญอยู ภายใตภาวะที่มีความเขมขนของสารละลาย ภายในและภายนอกเซลลเทากันเพื่อรักษาสมดุล ของน้ําใหคงทีภาวะที่สารละลายภายในและ ภายนอกเซลลเทากันเรียกวา สารละลายไอโซ- โทนิก (isotonic solution) ดังนั้นเมื่อสภาวะ ภายนอกเปลี่ยนแปลงไปโดยสารละลาย ภายนอกเซลลนอยกวาภายในเซลล เรียกวา สารละลายไฮโปโทนิก (hypotonic solution) ภาวะนี้น้ําจากภายนอกเซลลจะแพรเขาสูภายใน เซลลเพื่อทําใหสารละลายภายในเซลลมีความ เขมขนเขาสูภาวะสมดุล สังเกตไดจากเซลลสัตว จะมีลักษณะขยายใหญขึ้น เรียกวา ภาวะเซลล เตง (plasmoptysis) แตในเซลลพืชไมสามารถ สังเกตไดเพราะมีผนังเซลลชวยลดแรงดัน ออสโมติก (osmotic pressure) ในทางตรงขาม

Upload: others

Post on 10-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 28

 

การปรบัตัวของพืชภายใตภาวะที่มีความเค็ม (Adaptation of Plants under Salinity)

วิชิตพล มีแกว* ณัฐพล ขนัธปราบ* สุรศักด์ิ ละลอกน้ํา*,**

*ภาควิชาวิทยาศาสตรทั่วไป คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ **หนวยวิจัยวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และ ส่ิงแวดลอมเพื่อการเรียนรู คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท 02-649-5000 ตอ 8660

บทคัดยอ

ความเค็ม (salinity) เปนปญหาที่สําคัญตอการเจริญของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยูในสิ่งแวดลอมเหลานั้น อาจจะไปลดความสามารถในการเจริญเติบโต การสรางผลผลิตอันเนื่องจากอยูในสภาวะความเคม็จะไปยงัยัง้กระบวนการเมแทบอลิซึมตางๆ ที่มีเอนไซมเขามาเกี่ยวของ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตตองมีการปรับตัวใหเขาภาวะที่มีความเค็มใหได โดยสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยูในสิ่งแวดลอมที่มีความเค็มสูงได เรียกวา ฮาโลไฟล (halophile) และส่ิงมีชีวิตที่สามารถปรับตัวไดภายใตภาวะความเค็มเรียกวา ส่ิงมีชีวิตทนเค็ม (halotolerant) พบไดทั้งในพวกยูคาริโอต (eukaryote) และโพรคาริโอต (prokaryote) สําหรับกลไกที่ใชในการทนตอความเค็มนั้น ไดแก การแลกเปลี่ยนไอออน และการสะสมสารบางชนิด เชน น้ําตาล กรดอะมิโน และอนุพันธ ของกรดอะมิโน หรือพืชบางชนิดเพิ่มความอวบของใบแก หรืออาจจะขับเกลือออกทางตอมเกลือซ่ึงอยูที่ใบ แลวปลอยใหรวงหลน เชน แสม และ โกงกาง คําสําคัญ: ความเค็ม/ ส่ิงมีชีวิตทนเค็ม/ การปรับตัว

บทนํา ส่ิ ง มี ชี วิ ต แ ต ล ะ ชนิ ด เ จ ริ ญ ไ ด ใ น

ส่ิงแวดลอมที่แตกตางกัน โดยท่ัวไปจะเจริญอยูภายใตภาวะที่มีความเขมขนของสารละลายภายในและภายนอกเซลลเทากันเพื่อรักษาสมดุลของน้ําใหคงที่ ภาวะที่สารละลายภายในและภายนอกเซลลเทากันเรียกวา สารละลายไอโซ-โทนิก (isotonic solution) ดังนั้นเมื่อสภาวะภายนอกเปลี่ ยนแปลงไปโดยสารละลาย

ภายนอกเซลลนอยกวาภายในเซลล เรียกวา สารละลายไฮโปโทนิก (hypotonic solution) ภาวะนี้น้ําจากภายนอกเซลลจะแพรเขาสูภายในเซลลเพื่อทําใหสารละลายภายในเซลลมีความเขมขนเขาสูภาวะสมดุล สังเกตไดจากเซลลสัตวจะมีลักษณะขยายใหญขึ้น เรียกวา ภาวะเซลลเตง (plasmoptysis) แตในเซลลพืชไมสามารถสังเกตได เพราะมีผนังเซลลชวยลดแรงดันออสโมติก (osmotic pressure) ในทางตรงขาม

Page 2: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 29

 

เมื่อเซลลอยู ในสารละลายที่มีความเขมขนภายนอกสูงกวาภายในเซลล เรียกวา สารละลายไฮเปอรโทนิก (hypertonic solution) ภาวะนี้น้ําจากภายในเซลลจะแพรสูภายนอกเซลลเพื่อทําใหสารละลายภายนอกเซลลมีความเขมขนเขาสูภาวะสมดุล (Campbell and Reece, 2002) สังเกตไดจากเซลลพืชจะมีลักษณะเหี่ยวเพราะเซลลจะแยกออกจากผนังเซลล และเซลลสัตวจะมีลักษณะเหี่ยวเพราะมีขนาดเล็กกวาเดิม เรียกวา ภาวะเซลลเหี่ยว (plasmolysis) แสดงดังภาพที่ 1 ผลกระทบของเซลลอีโลเดีย (Elodea cell) และ เซลลเม็ดเลือดแดง ภายใตภาวะที่ความเขมขนสารละลายภายนอกเซลลตางกัน ดังนั้นเมื่อเซลลไมสามารถปรับตัวไดภายใตภาวะตางๆ นั้น ก็จะทําใหเซลลทํางานผิดปกติ สําหรับภาวะที่มีค ว าม เ ค็ มนั้ น คื อ ภ า ว ะที่ เ ซลล อ ยู ภ า ย ใ ตสารละลายไฮเปอรโทนิกนั่นเอง (Berg, 2000)

สิ่งมีชีวิตทนเค็ม ส่ิงมีชีวิตตองมีการปรับตัวใหเขาภาวะที่

มีความเค็มใหได โดยส่ิงมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยูในสิ่งแวดลอมที่มีความเค็มสูงได เรียกวา ฮาโล-ไฟล (halophile) โดยสามารถจัดจําแนกสิ่งมีชีวิตนี้ไดเปน 4 ประเภท ไดแก นันฮาโลไฟล (non-halophile) สไลทฮาโลไฟล (slight halophile) โม-เดอเรทฮาโลไฟล (moderate halophile) และ เอ็กซทรีมฮาโลไฟล (extreme halophile) ทั้งนี้สามารถจําแนกไดโดยความเขมขนของเกลือในส่ิงแวดลอมที่อาศัยอยู ซ่ึงสิ่งมีชีวิตทั้ง 4 ประเภทนี้จะอาศัยอยูในสิ่งแวดลอมที่มีความเขมขนของ

เกลือโซเดียมคลอไรดนอยกวา 0.2 โมลาร 0.2 – 1.2 โมลาร 1.2 – 2.5 มาลาร และ มากกวา 2.5 โมลารขึ้นไป ตามลําดับ และส่ิงมีชีวิตที่สามารถปรับตัวไดภายใตภาวะความเค็มเรียกวา ส่ิงมีชีวิตทนเค็ม (halotolerant) พบไดทั้งพืชขนาดใหญจนถึงจุลินทรียที่มีขนาดเล็กแบคทีเรีย และไซยา-โนแบคทีเรีย เชน Bacillus subtilis Aphanothece halophttica และ Avicinea marina เปนตน (Csonka and Hanson, 1991; Ventosa et al., 1998)

ความเค็ม เปนปญหาหนึ่ งทางด านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไมสามารถทําการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได ทั้งนี้เพราะความเค็มสงผลกระทบตอการเจริญของสิ่งชีวิตทั้งพืชและสัตวรวมถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไดแก แบคที เ รีย และไซยาโน -แบคทีเรีย ความเค็ม คือ ปริมาณเกลือที่ละลายอยูในน้ํามีหนวยวัดเปนกรัมตอน้ําหนึ่งตันหรือหนึ่งสวนในพันสวน หรือ พีพีที (ppt = part per ton) สําหรับประเทศไทยพื้นที่ที่ประสบปญหาความเค็มไดแก บริเวณที่อยูใกลกับทะเล และดินเค็มที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชน บริเวณทุงกุลารองไห ซ่ึงครอบคลุมจังหวัดดังตอไปนี้ สุรินทร (อําเภอชุมพลบุรี และ อําเภอทาตูม) มหาสารคาม (อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย) บุรีรัมย (อําเภอพุทไธสง) ศรีสะเกษ (อําเภอภาษีไศล) ยโสธร (อําเภอมหาชนะชัย) และ รอยเอ็ด (อําเภอปทุมรัตต อําเภอเกษตรวิสัย อําเภอสุวรรณภูมิ และอําเภอโพนทราย) แสดงบริเวณพื้นที่ดินเค็มทุงกุลารองไห ดังภาพที่ 2

Page 3: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 30

 

ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลือผสมอยูในเนื้อดิน จึงมีรสเค็ม ความเค็มทําใหสภาพแวดลอมในดินไมเหมาะสมตอการเจริญเติบโตของพืช เชน ทําใหดินมีเนื้อแนนทึบ รากพืชชอนไชยาก แรธาตุบางอยางละลายออกมาจนเปนพิษ ผล

ของความเค็มทําใหพืชขาดน้ํา พืชตางๆ ปรับตัวเขากับสภาพความเค็มไดตางกัน พืชตระกูลถ่ัวจัดวาเปนพืชทนเค็มนอย ขาว ออย หนอไมฝร่ังทนเค็มปานกลาง ฝาย ผักกาดหัวและหญาบางชนิด มีความสามารถทนตอความเค็มไดสูง

ก) เซลลอีโลเดีย

สารละลายไฮเปอรโทนิก

สารละลายไอโซโทนิก

สารละลายไฮโปโทนิก

ข) เซลลเม็ดเลือดแดง

สารละลายไฮเปอรโทนิก

สารละลายไอโซโทนิก

สารละลายไฮโปโทนิก

ภาพที่ 1 ลักษณะของเซลลอีโลเดียและ เซลลเม็ดเลือดแดง

ภายใตภาวะสารละลายแตกตางกัน ที่มา (Berg, 2002)

Page 4: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 31

 

ภาพที่ 2 แผนทีแ่สดงบริเวณทุงกุลารองไห ที่มา (วิริยะธุรกิจ, 2546; สหพืชผลทาตูม, 2550; แผนที่ประเทศไทย, 2552)

สาเหตุการเกิดดินเค็มมี 2 ประการคือ

ประการแรกมาจากการแพรของน้ําเค็มจากทะเลหรือน้ําเค็มใตดิน เชน ดินเค็มภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ และประการที่สองมาจากพาหะที่พาเกลือแพรกระจายไปสูที่ตางๆ เชน มนุษย ลม และน้ํา สําหรับประเทศไทยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการกระทําของมนุษย ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตไดชัดเจนจะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน ทั้งนี้ดินเค็มแบงเปน 4 ประเภท ขึ้นอยูกับความเขมขนของเกลือในดิน ตารางที่ 1 แสดงสมบัติของดินเค็มประเภทตางๆ ไดแก ดินเค็มนอย ดินเค็มปานกลาง และดินเค็มจัด ดินเค็มนอย หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณรอยละ 0.12 – 0.25 โดยน้ําหนักตอปริมาตร (2 – 4 เดซิซีเมนตอเมตร) ดินเค็มปาน

กลาง หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณรอยละ 0.25 – 0.50 โดยน้ําหนักตอปริมาตร (4 – 8 เดซิซีเมนตอเมตร) ดินเค็มมาก หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณรอยละ 0.5 – 1.0 โดยน้ําหนักตอปริมาตร (8 – 16 เดซิซีเมนตอเมตร) และดินเค็มจัด หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือมากกวารอยละ 1 (มากกวา16 เดซิซีเมนตอเมตร) ทั้งนี้พืชแตละชนิดเจริญไดภายใตภาวะที่มีความเค็มตางกัน หากพืชที่ปรับตัวไมไดจะแสดงลักษณะอาการตางๆ ดังนี้คือ การเจริญเติบโตลดลง ใบสีเขมขึ้น ใบหนาขึ้น ปลายใบไหม ปลายใบมวนงอ ผลผลิตลดลง และถาปรับตัวไมไดจะตายในที่สุด (อรุณี ยูวะนิยม และ สมศรี อรุณินท, 2540)

Page 5: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 32

 

ตารางที่ 1 การแบงประเภทดินเค็มและพืชที่เจริญภายใตภาวะดินเค็ม

ประเภท ของดิน

ความเขมขนของเกลือ การนําไฟฟา ชนิดพืช (รอยละน้ําหนักตอปริมาตร) (เดซิซีเมนตอเมตร)

เค็มนอย 0.12 2 ถ่ัวฝกยาว ผักกาด เยียบีรา ถ่ัวเขียว ถ่ัวเหลือง งา ล้ินจี่ มะมวง

เค็ม ปานกลาง

0.25 4 บวบ พริกยักษ หอมใหญ กุหลาบ ทานตะวัน ขาวโพด มะกอก องุน

เค็มมาก 0.5 8 กะหล่ําดอก กระเทียม หอมแดง แตงโม ขาวทนเค็ม ฝรั่ง ยูคาลิปตัส มะยม

0.75 – 1.0 12 - 16 ผักโขม ผักกาดหัว คะนา ชบา เฟองฟา ละมุด มะขาม มะพราว

เค็มจัด >1.0 >16 เข็ม เขี ยวหมื่นป โกงกาง แสม สะเม็ด ชะคราม หนามแดง หญาดิกซี

ที่มา (สมศรี อรุณินท, 2540)

ผลของความเค็มท่ีมีตอพืช พืชเจริญภายใตภาวะที่มีความเค็มไดไม

ดี เนื่องจากความดันออสโมติกที่รากพืช สัมผัสกับสารละลายที่มีเกลือในความเขมขนที่สูงทําให เกิดความแตกตางของค าชลศักย (water potential) จึงเปนผลใหพืชนําน้ําไปใชประโยชนไดนอยลงตามความเขมขนของสารละลายเกลือที่เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อความเขมขนของเกลือมากขึ้นทําใหคาชลศักยของสารละลายในดินต่ํากวาในตนพืช จึงทําใหน้ําในเซลลพืชเคลื่อนยายจากภายในเซลลออกสูภายนอก สงผลใหพืชแสดงอาการขาดน้ํา และเกิดความเปนพิษเนื่องจากไอออนบางชนิด (toxic effect) เมื่อสารละลาย

ในดินมีความเขมขนของไอออนสูง พืชจะดูดและสะสมไอออนเหลานั้นจนถึงระดับเปนพิษและมีผลโดยตรงตอสรีรวิทยาของพืช เมื่อพืชไดรับโซเดียมคลอไรดความเค็มของเกลือจะทําใหพืชดูดสะสมไอออน ผลที่เกิดสวนใหญเกิดจากความเปนพิษของโซเดียมและคลอไรดที่มีมากเกินไปหรือทําใหพืชขาดน้ําเนื่องจากเกลือเขาไปมากเกินไปแตพืชก็จะมีกรรมวิธีในการบรรเทาอาการเปนพิษจากเกลือโดยการขับเกลือออกทางรากหรือเก็บไวในแวคิวโอล นอกจากนี้การงอกของรากหอมใหญและถั่วเขียวจะลดลงเมื่อความเขมขนของเกลือโซเดียมคลอไรดสูงขึ้น (Laloknam et al., 2008)

Page 6: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 33

 

การศึกษาผลของความเครียดจากน้ําที่ชักนําโดยโซเดียมคลอไรดและภาวะความแหงแลงตอใบของขาวสาลี ขาวบาเลย ถ่ัวแดง และ ถ่ัวเขียว ไดใชพืชอายุ 25 วัน ไปศึกษาในภาวะที่มีแรงดันออสโมติกเทากัน คือ สารละลายโซเดียมคลอไรดเขมขน 200 มิลลิโมลาร และ โพลิเอทีลีนไกลคอล (PEG) เขมขน 180 กรัมตอลิตร ตั้งทิ้งไวเปนเวลา 3 สัปดาห พบวา พืช 3 ชนิด คือขาวบาเลย ถ่ัวแดง และ ถ่ัวเขียว มีน้ําหนักแหงของใบลดลงทั้งสองภาวะ ในขณะที่ขาวสาลีในภาวะที่มี PEG น้ําหนักแหงของใบจะลดลงมากกวาภาวะที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด นอกจากนี้ยังพบวาในพืชทุกชนิดปริมาณของน้ําลดลงทั้งสองภาวะรวมถึงปริมาณ K+ และ NO3

- ดวย ในขณะที่ Na+และ Cl- เพิ่มขึ้น ในขาวสาลี ขาวบาเลย และ ถ่ัวแดง พบวาปริมาณกรดอะมิ-โนเพิ่มขึ้นเปน 3 เทา และปริมาณสารอินทรียและน้ําตาลมีปริมาณลดลงในพืชทุกชนิดทั้งสองภาวะแตมีปริมาณโพรลีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในขาวสาลี และถ่ัวเขียว ภายใตความเครียดของโซเดียมคลอไรด และ PEG มีผลทําใหปริมาณกรดมาลิกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในขาวสาลี ทั้งนี้ค ว ามสามารถของพื ช ในการปรับตั ว ใหเหมาะสมกับภาวะตางๆ จะขึ้นอยูกับสรีรวิทยาและเมแทบอลิซึมของพืช ซ่ึงจะแตกตางกันเมื่ออยูภายใตภาวะที่อันตราย

อยางไรก็ตามความเค็มเปนปจจัยหนึ่งที่สงผลตอการเจริญของพืชทําใหผลผลิตทาง

การเกษตรลดลงและสงผลกระทบตอเกษตรกรทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากความเค็มไปยับยั้งการเจริญของรากและยอดของพืช ทําใหการเจริญของใบลดลง และผนังเซลลหนาขึ้นจึงมีผลทําใหการแพรของคารบอนไดออกไซดลดลงไปดวย (เนื่องจากความเปนพิษของธาตุโซเดียม และคลอรีน และแรงดันออสโมติก) ดังนั้นพืชที่ไมสามารถปรับตัวไดอาจตองตายในที่สุด

สําหรับพืชหรือส่ิงมี ชีวิตที่สามารถปรับตัวไดจะใชกลไกการแลกเปลี่ยนไอออนระหวางภายนอกและภายในเซลล หรือการสะสมสารบางชนิดเชน สารอินทรีย กรดอะมิโน หรือ น้ําตาล ซ่ึงไดมีการทดลองใชสารละลายโซ เดี ยมคลอไรดทํ า ให เ กิ ดภาวะ เปนพิษ สารละลายนี้จะใหใหโซเดียมไอออนและคลอ-ไรดไอออน และใชพอลิเอทธิลีนไกลคอลทําใหเกิดภาวะแหงแลงดังเชนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยควบคุมใหแรงดันออสโมติกเทากัน พืชที่ใชในการทดสอบคือ พืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด ไดแก ขาวสาลี ขาวบาเลย ถ่ัวแดง และถั่วเขียว นําไปเพาะปลูกภายใตสภาวะความเค็ม จากนั้นตรวจสอบความสามารถในการกระจายตัวของสารอนินทรี ย ( Cl⁻, Na⁺, K⁺ และ NO₃⁻)สารละลายอินทรีย (กรดอะมิโน กรดอินทรีย และ น้ําตาล) และปริมาณโพรลีน (Laloknam et al., 2008; Saffan, 2008)

Page 7: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 34

 

ผลของความเค็มตอการงอกของพืช พืชสวนใหญจะมีความออนแอตอความ

เค็มในชวงที่เกิดการงอกมากกวาในชวงเวลาอ่ืนๆ เนื่องจากความเค็มของดินมีผลตอการงอกของเมล็ด 2 ประการ คือจะลดอัตราการดูดน้ําเขาสูเมล็ดและการมีไอออนในสารละลายของดินมากจนเปนพิษตอความงอก เมื่อมีการระเหยน้ําจากดินจะทําใหมีการนําเกลือขึ้นมาสะสมไวที่ดินชั้นบน ซ่ึงเปนบริเวณเดียวกับที่มีเมล็ดพืชอยู การไดรับเกลือที่มีความเขมขนสูงจะทําใหอัตราการงอกลดลงหรืออาจจะใชระยะเวลาในการงอกนานขึ้น และเมื่อเมล็ดเริ่มงอกการเจริญเติบโตของรากและการยืดของลําตนจะลาชา การใชอาหารสะสมในเมล็ดเพื่อการเจริญเติบโตของกลาออนเปนไปในอัตราต่ํา กลาออนจะไมคอยแข็งแรง เปนผลใหอัตราการงอกนอยลงดวย และเมล็ดพืชที่กําลังงอกในความเค็มที่ไมสูงเกินไปอาจปรับแรงดันออสโมติกไดโดยการดึงดูดไอออนตางๆ ในดินเค็มนั้นเขาไปทําใหเซลลเขาสูภาวะสมดุล แตถาพืชชนิดใดที่กําลังงอกไมสามารถดูดไอออนเหลานั้นเขาไปไดเพียงพอ เมล็ดพืชดังกลาวก็ไมสามารถปรับแรงดันออสโมติกได ตัวอยางเชน เมล็ดถ่ัวเขียวจะมีอัตราการงอกลดลงเมื่ออยูภายใตภาวะที่มีความเค็มสูงและมีความเขมขนของเกลือโซเดียมคลอไรดรอยละ 1 โดยน้ําหนักตอปริมาตร ซ่ึง

พบวาอัตราการงอกลดลงเปนครึ่งหนึ่งจากภาวะปกติ (Laloknam et al., 2008)

ผลของความเค็มตอการเจริญของพืช ความเค็มมีอิทธิพลตอการเจริญเติบโต

ขอ งพื ช โ ด ย เ มื่ อ ค ว า ม เ ค็ ม เ พิ่ ม ขึ้ น ก า รเจริญเติบโตของพืชจะลดลง เนื่องจากความเค็มจะมีผลตอกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืชในหลายๆ ดาน เชน มีผลทําใหอัตราการสังเคราะหดวยแสงของพืชลดลง นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลตอการหายใจของพืช ทําใหการเจริญเติบโตของพืชถูกจํากัดเพราะมีการหายใจมากขึ้นหรือมีการใชสารจากกระบวนการสังเคราะหดวยแสงมากขึ้ น และยั งพบว าความ เค็ มจะทํ า ใหกระบวนการเมแทบอลิซึมเปล่ียนแปลงไป คือยับยั้งการดูดธาตุอาหารอื่นๆ ซ่ึงมีผลตอสมดุลของประจุที่ทําใหเกิดความเค็ม โดยพบวาความสมดุลระหวางธาตุโซเดียมกับโพแทสเซียมในสภาพที่มีความเค็มสูงจะเปนแบบหักลางกัน คือ เมื่อปริมาณประจุชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นจะทําใหการดูดซึมประจุอีกชนิดหนึ่งลดลง เมื่อพืชมีการดูดโซเดียมเขาไปมากจึงทําใหพืชไมสามารถใชโพแทสเซียมไดเต็มที่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2539) นอกจากนี้พบวาภาวะที่มีไกลซีน บีเทน โพรลีน และกลีเซอรอล จะทําใหรากของหอมใหญและถ่ัวเขียวเจริญไดภายใตภาวะที่มีความเครียดจากเกลือเชนเดียวกับภาวะปกติ (Laloknam et al., 2008)

Page 8: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 35

 

กลไกในการทนเค็มของพืช การทนเค็มของพืชคือความสามารถของ

พืชที่เจริญไดภายใตภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความเขมขนของเกลือสูงขึ้น โดยพืชอาจมีการปรับตัวใหเหมาะสมในรูปแบบตางๆ เชน ความผิดปกติทางใบดวยการหอใบเพื่อลดการคายนํ้าทางปากใบ สีของใบพืชเขมขึ้นเนื่องจากใบมีคลอโรฟลลมาก และมีสารเคลือบใบ (cuticle) หนาเพื่อลดการสูญเสียนํ้า ถามีอาการรุนแรงอาจพบอาการปลายใบไหม เกิดจุดประบนใบ ใบมวนและใบเหลืองเนื่องจากขาดคลอโรฟลล การทนเค็มในชวงระยะการเจริญเติบโตของพืชก็แตกตางกันโดยชวงระยะเวลาเริ่มแรกอาจเกิดความรุนแรงมาก แตเมื่อเวลาผานไปสักระยะเวลาหนึ่งก็อาจปรับตัวเขาสูภาวะสมดุลของพืชแตละชนิดได (อรุณี ยูวะนิยม และ สมศรี อรุณินท, 2540)

พืชมีกลไกในการทนเค็มแตกตางกัน ไดแก การใชตอมเกลือ (salt gland) ลดปริมาณการสะสมเกลือในไซโทพลาสซึมโดยนําไปเก็บสะสมไวที่แวคิวโอล มีการสรางเอนไซมตางๆ เพื่อใหมีความสามารถทนตอความเขมขนของเกลือสูง สะสมเกลือไวในบริเวณรากและลําตน และมีการดูดน้ําเขาสูเซลลเพื่อลดความเขมขนของเกลือในไซโทพลาสซึม รากพืชสามารถที่จะแทรกตั ว ในดินที่ เปนแผนทึบได หรือรากพืชจะหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเค็มสูง (เชน รากจะอยูบริเวณผิวดินถาดินชั้นลางเค็ม) อาจสรางสารเคลือบใบ หรือสรางใบใหหนาขึ้นเพื่อเก็บน้ําไว

ใช พืชบางชนิดจะมีการยายโซเดียมจากใบออนไปยังใบแก ซ่ึงจะไดรับอันตรายนอยกวา มีการเปลี่ยนแปลงใหออกดอกเร็วหรือชาเพื่อหลีกเลี่ยงชวงที่ดินเค็ม หรือมีการลดความเครียดจากเกลือโดยการสะสมกรดอะมิโนและอนุพันธกรดอะมิ-โนบางชนิด เชน โพรลีน กลูตาเมต และไกลซีน-บีเทน เปนตน (อรุณี ยูวะนิยม และ สมศรี อรุณินท, 2540; Laloknam et al., 2008; Laloknam et al., 2006)

พืชชอบเกลือสามารถปรับตัวใหเจริญไดโดยใชกลไกการทนเค็ม 2 ลักษณะ คือ กลไกการหลีกเลี่ยงเกลือ (salt avoidance) เชน การอวบน้ํา (succulence) เพื่อรักษาสมดุลออสโมติกภายในเซลล พืชพวกนี้ ไดแก ชะคราม (Suaeda maritema Dum.) และ ผักเบี้ยทะเล (Sesuvium portulacustum L.) พืชบางชนิดจึงมีกระบวนการหลีกเลี่ยงเกลือ โดยรากจะเคลื่อนไปในทิศทางที่ดินไมเค็มมาก หรือมีความชื้นเพียงพอที่เจือจางเกลือในดิน ทําใหทนเค็มไดปานกลาง เชน หญาชันอากาศ (Panicum repens L.) และ หญาแพรก สําหรับหญาคาลลา (Leptochloa fusca L.) ทนเค็มไดในระดับสูงเพราะมีการลดจํานวนและปรับขนาดของโครงสรางภายใน ไดแก ทอลําเลียงน้ําและอาหาร พืชบางชนิดใชกลไกการกําจัดเกลือ (salt excluded) เชน การขับเกลือ (excretion) ออกจากใบและกาบใบ เพื่อปรับสมดุลออสโมติกในพืช เชน โกงกาง (อรุณี ยูวะนิยม และ สมศรี อรุณินท, 2540)

Page 9: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 36

 

บทสรุป ความเค็มมีผลตอการเจริญของพืช

เพราะทําใหกระบวนการเมแทบอลิซึมผิดปกติ ทําใหการสังเคราะหดวยแสงลดลง สงผลทําใหการงอกและการเจริญของพืชลดลง ส่ิงมีชีวิตที่มีความสามารถทนเค็มเรียกวา ฮาโลไฟล ซ่ึงอาศัยอยูภายใตระดับความเขมขนของเกลือที่แตกตางกัน ดํารงชีวิตอยูไดโดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออนที่เยื่อหุมเซลลและแวคิวโอล รวมถึงการสะสมสารบางชนิด เชน น้ําตาล กรดอะมิโน และ อนุพันธของกรดอะมิโน

เอกสารอางอิง กรมพัฒนาที่ดิน. (2539). ดินเค็ม. แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ 2540-2544) กับโครงการพัฒนาดิน เค็ม เอกสารคู มื อ เ จ าหน าที่ รั ฐ . กระทรวงเกษตรและสหกรณ. หนา 1-4. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

แผนที่ประเทศไทย . (2552). แผนที่ทุงกุลารองไห. สืบคนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 จากเว็บไซต: http:// maps.google.co.th/ maps/mpl?ie=UTF8&moduleurl=http://maps.google.co.th/help/maps/local_search/

วิริยะธุรกิจ. (2552). นิตยสาร สารคดี. สืบคนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 จากเว็บไซต: http://www.sarakadee. com/m-boran/

2003/04-06/images/thungkula_14.jpg ยงยุทธ โอสถสภา. (2524). พืชกับความเค็มของ

ดิน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาปฐพี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

สหพืชผลทาตูม. (2550). แผนท่ีทุงกุลารองไห. สืบคนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 จากเว็บไซต: http://www. myjasminerice. 

com/images/contact/our_location_ map.jpgmapplet.html&z=7&utm_ campaign=th&utm_medium=et&

utm_source=th-et-apac-th-gns-ls เ ล็ก มอญเจริญ . (2540). ความเค็มกับการ

เจริญเติบโต. เอกสารคูมือเจาหนาที่ของรั ฐ เ รื่ อ ง ก า ร อนุ รั ก ษ ดิ น แ ล ะน้ํ า . กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาที่ดิน.

สมศรี อรุณินท. (2539). ดินเค็มในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

สันติ ภ าพ ปญจพรรด . ( 2 5 4 3 ) . เ อกสารประกอบการสอนเรื่องดินเค็มและพืชทนเค็ม. ขอนแกน: ภาควิชาทรัพยากรที่ ดิ น แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล อ ม ค ณ ะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ศุภจิตรา ชัชวาล, กนกวรรณ เกิดในมงคล, ปรีดา บุญ-หลง. (2545). สรีรวิทยาของการตอบสนองตอสภาวะเครียดของพืช. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร, 1(1): 221-241.

Page 10: การปรับตัวของพ ืชภายใต ภาวะท ...sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/10-2/chapter-4.pdf · 2011-03-08 · ก าวทันโลกว

กาวทันโลกวิทยาศาสตร ปที่ 10 (2): 2553 37

 

อรุณี ยูวะนิยม และ สมศรี อรุณินท. (2540). การวิจัยชอบเกลือเพื่อปลูกบนพื้นที่ดินเค็มจัด. วารสารอนุรักษดินและน้ํา, 13 (1): 4-23.

Berg, S. (2000). Principle biology 241. Retrieved August 1, 2010, from  

http://course.winna.edu/sberg/////241 f99/Lec-note/Membrane.htm Campbell, N.A., and Reece, J.B. (2002).

Biology (6 th edition). San Francisco, USA: Pearson Education.

Csonka, L.N., and Hanson, A. D. (1991). Prokaryotic osmoregulation: Genetics and Physiology. Annual Review of Microbiology, 45: 569 – 606.

Laloknam, S., Tanaka, K., Buaboocha, T., Waditee, R., Incharoensakdi, A., Hibino, T., Tanaka, Y., and Takabe, T. (2006). Halotolerant Cyanobacterium Aphanothece halophytica Contains a Betaine Transporter Active at Alkaline pH and High Salinity. Applied Environmental Microbiology, 72(9): 6018 – 6026.

Laloknam, S., Sirisopana, S., Limchoovong, S., Phornphisutthimas, S., Kosiarpa, T., Areeyadej, W., Puangkwan, P., and Nilapai, Y. (2008). Betaine, Glycerol, and Proline enhance seed germination and plant growth of

Mung bean (Vignaradiate L.) under high salinity. The 34th Congress on Science and Technology of Thailand. Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok, Thailand:(CD-ROM).

Laloknam, S., Suksanchananun, C., Phornphi- sutthimas, S., Sirisopana, S., Limchoo- wong, S., and Rai, V. (2008).

Reduction of salt stress in onion root by glycerol, betaine and proline. The 4th Naresuan Research Conference. Naresuan University, Pisanulok, Thailand: (CD-ROM).

Saffan, S.E.S. (2008). Effect of salinity and osmotic stresses on some economic plants. Research Journal of Agriculture and Biological Sciences, 4(2): 159 – 166.

Ventosa, A., Nicto, J. J., and Oren, A. (1998). Biology of moderately halophilic aerobic bacteria. Microbiology and Molecular Biology Reviews, 62: 504 – 544.