หนังสือเรียน...

11
ก ฎ ห ม า ย อ ส ล า ม หนังสือเรียน อิสลามศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กฎหมายอิสลาม กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หนังสือเล่มนี้มีอายะฮฺอัล-กุรฺอานควรจัดเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม

Upload: others

Post on 09-Oct-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

ก ฎ ห ม า ย อิ ส ล า ม

หนังสือเรียน

อิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กฎหมายอิสลาม

กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หนังสือเล่มนี้มีอายะฮฺอัล-กุรฺอานควรจัดเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม

Page 2: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

หนังสือเรียน

อิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กฎหมายอิสลามกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ลิขสิทธิ์ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดําเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท 0 2288 5743 โทรสาร 0 2628 5335

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ดําเนินการพิมพ

ISBN : 978-974-01-9597-9

พิมพครั้งที่ : 1

พ.ศ. : 2554

จํานวนพิมพ : 30,000 เลม

พิมพที่โรงพิมพ สกสค.ลาดพราว

2249 ถนนลาดพราว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทรศัพท 0 2538 3033, 0 2514 4033 โทรสาร 0 2539 9956

¤Ó ¹Ó

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 มุงเนนพัฒนาผูเรียนให

เปนมนษุยทีม่คีวามสมดลุทัง้ดานรางกาย ความรู คณุธรรม มจีติสาํนกึในความเปนพลเมอืงไทย

และเปนพลโลก ยดึมัน่ในการปกครองตามระบอบประชาธปิไตยอนัมพีระมหากษตัรยิทรงเปน

ประมุข โดยเนนใหผูเรียนไดเรียนรูศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อนําหลักคําสอนของศาสนาไปใช

เปนแนวทางในการดําเนินชีวิต สําหรับผูเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม สถานศึกษาจะตองจัด

การเรยีนรูอสิลามศกึษา เพือ่พฒันาผูเรยีนใหมคีวามรู ความเขาใจ ยดึมัน่ ศรทัธา และปฏบิตัติน

ตามหลักการศาสนาอิสลาม มคีุณธรรมและจริยธรรมสอดคลองตามเจตนารมณของหลักสตูร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนังสือเรียนอิสลามศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รายวิชากฎหมายอิสลาม เปน

หนังสือเรียนท่ีนําเสนอเน้ือหาสาระเกี่ยวกับหลักนิติศาสตรอิสลาม เชน ลักษณะครอบครัวใน

อิสลาม มรดก การแบงมรดก การทําพินัยกรรม ส่ิงตองหามสําหรับมุสลิมในเรื่องของการ

ผิดประเวณี การลักขโมย การประทุษราย การเสพสิ่งเสพติด ขอหามเกี่ยวกับการใสราย

การละทิ้งละหมาด เศรษฐศาสตรอิสลาม ลักษณะการซื้อขายแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย การ

ประกันภัย การจํานอง จํานํา เศรษฐกิจในระบบอิสลาม ธนาคารอิสลาม เปนตน สถานศึกษา

สามารถนําไปใชในการจัดการเรียนรูอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขัน้พืน้ฐาน พทุธศกัราช 2551 เพือ่พฒันาผูเรยีนใหมคีวามรู ความเขาใจ มีคณุธรรม จริยธรรม

และสามารถนําไปใชเปนแนวทางในการดําเนินชีวิตรวมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมไดอยางสันติสุข

สาํนักงานคณะกรรมการการศกึษาขัน้พ้ืนฐานหวงัวา หนังสอืเรยีนเลมน้ีจะเปนประโยชนตอ

การจัดการเรียนรูอิสลามศึกษาใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ ถูกตองตามหลักการอิสลาม

และบรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร หากมีขอเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุงหนังสือ กรุณาแจง

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อปรับปรุงแกไขใหสมบูรณยิ่งขึ้น

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานขอขอบคุณผูเขียน คณะผูตรวจ และ

ผูที่มีสวนเกี่ยวของในการจัดทําหนังสือนี้ใหสําเร็จลุลวงดวยดีไว ณ โอกาสนี้

(นายชินภัทร ภูมิรัตน)

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

21 มกราคม 2554

Page 3: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

บทที่ 1 ความเปนมาและความสําคัญของกฎหมายอิสลาม 1 หลักนิติธรรมอิสลามและกฎหมายอิสลาม 2 ที่มาของกฎหมายอิสลาม 3 ความเปนมาและพัฒนาการของกฎหมายอิสลาม 9 ความสําคัญของกฎหมายอิสลาม 13

บทที่ 2 คุณคาขององคประกอบหลักในอิสลาม 15 คุณคาของการปฏิญาณตน 18 คุณคาของการละหมาด 19 คุณคาของการจายซะกาฮฺ 21 คุณคาของการถือศีลอด 23 คุณคาของการประกอบพิธีหัจญ 24

บทที่ 3 ครอบครัวและมรดกในอิสลาม 27 การนิกาหฺ 28 การสูขอหรือการหมั้น 31 มะฮัรฺ 41 สิทธิและหนาที่ของสามีภรรยา 47 การหยา 48 การเลี้ยงดูบุตร 54

บทที่ 4 มรดกและการแบงมรดก 61 ความหมายและความสําคัญ 62 องคประกอบของการแบงมรดก 63 การทําพินัยกรรม 88

บทที่ 5 ลักษณะอาญาและบทลงโทษในกฎหมายอิสลาม 93 การฆาตกรรม 95 การลักทรัพยหรือโจรกรรม 105

˹ŒÒ

ÊÒúÑÞ

การผิดประเวณี 109 การรักรวมเพศ 112 การดื่มสุรา 114 การพนัน 117 การแขงขัน 121 ขอหามเกี่ยวกับการใสราย 124 การละทิ้งการละหมาด 127

บทที่ 6 เศรษฐศาสตรอิสลาม 131 ที่มาของเศรษฐศาสตรอิสลาม 132 หลักพื้นฐานสําคัญของเศรษฐศาสตรอิสลาม 133 เศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการอิสลาม 137 ลักษณะการซื้อขายแลกเปลี่ยน 152

บทที่ 7 การทําธุรกรรมประเภทตาง ๆ 171 การประกันภัย 172 การจํานํา จํานอง และการขายฝาก 175 การหุนสวน 179 การยกให 186 การอุทิศ 193 การมอบฉันทะ 199 การอุปโภคบริโภค 204 ขอปฏิบัติเกี่ยวกับการแตงกายตามศาสนบัญญัติ 209

บทที่ 8 ระบบเศรษฐกิจในอิสลาม 213 ดอกเบี้ย 214 ธนาคารอิสลาม 220 ระบบสหกรณอิสลาม 223 การแกปญหาเศรษฐกิจในระบบอิสลาม 224

˹ŒÒ

Page 4: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

ÊÙàÃÒÐ ÍÑÅ-¿ÒµÔËÐÎÚ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

1

Page 5: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

2

ËÅÑ¡¹ÔµÔ¸ÃÃÁÍÔÊÅÒÁáÅС®ËÁÒÂÍÔÊÅÒÁ

หลักนิติธรรมอิสลาม หมายถึง สิ่งที่อัลลอฮฺ ไดทรงบัญญัติ

แกมวลบาวของพระองคจากบรรดาหลักการท่ีเก่ียวกับการยึดม่ัน จริยธรรม

และการจัดระเบียบทางดานวจีกรรม กายกรรม และธุรกรรมตาง ๆ ของมนุษย

กฎหมายอิสลาม หมายถึง ประมวลหลักการปฏิบัติตาง ๆ ตามศาสน

บัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบพฤติกรรม วจีกรรม และการทําธุรกรรมตาง ๆ ของผูที่เขาอยู

ในเกณฑบังคับของศาสนา โดยมีท่ีมาจากอัล-กุรฺอานและอัส-สุนนะฮฺ ตลอดจนบรรดาหลักฐาน

ทางศาสนบัญญัติอื่น ๆ

ดังนั้น นัยของหลักนิติธรรมอิสลามจึงมีความครอบคลุมกวานัยของกฎหมายอิสลาม

เน่ืองจากหลักนิติธรรมอิสลามประมวลถึงหลักการยึดม่ันและหลักจริยธรรม ตลอดจนประมวล

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

3

กฎหมายอิสลามไวดวย จึงกลาวไดวา กฎหมายอิสลามเปนสวนหน่ึงของหลักนิติธรรมอิสลาม

โดยรวม

กฎหมายอิสลาม แบงออกเปน 2 หมวดใหญๆ คือ

1. หมวดการประกอบศาสนกิจ เปนหมวดท่ีกลาวถึงบรรดาหลักการเฉพาะ

ที่วาดวยความสัมพันธของปจเจกบุคคลกับอัลลอฮฺ เชน การละหมาด การจายซะกาฮฺ

การถือศีลอด และการประกอบพิธีหัจญ เปนตน

2. หมวดปฏิสัมพันธ หมายถึง บรรดาหลักการเฉพาะท่ีวาดวยความสัมพันธ

ระหวางมนุษยดวยกัน เชน การซื้อขาย การทําธุรกรรมรูปแบบตาง ๆ การสมรส การตัดสิน

ขอพิพาท เปนตน

สวนนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟอียฺ ไดแบงหมวดของกฎหมายอิสลามออกเปน

4 หมวด คือ

หมวดการประกอบศาสนกิจ

หมวดปฏิสัมพันธ

หมวดลักษณะอาญา

หมวดการสมรส หรือกฎหมายครอบครัว

จากสิ่งที่กลาวมายอมเปนที่ประจักษวา กฎหมายอิสลามมีความครอบคลุมถึงเรื่องราว

ทางศาสนาและทางโลก ในขณะท่ีหลักนิติธรรมอิสลามต้ังอยูบนหลักพ้ืนฐานของการจัดระเบียบ

ที่ครอบคลุมกิจกรรมทุกมิติของมนุษย ไมวาจะเปนมิติทางจิตวิญญาณ จริยธรรม และวัตถุ

ท่ีมาของกฎหมายอิสลาม

ที่มาของกฎหมายอิสลามถูกเรียกวา หลักฐานทางศาสนบัญญัติ หรือ

หลักมูลฐาน ซึ่งนักกฎหมายอิสลามสวนใหญมีความเห็นตรงกันวามี 4 ประการ คือ

1. อัล-กุรฺอาน

หมวดการประกอบศาสนกิจ

หมวดปฏิสัมพันธ

หมวดลักษณะอาญา

หมวดการสมรส

Page 6: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

4

2. อัล-หะดีษ

3. อัล-อิจฺมาอฺ

ทั้งสามประการขางตนเรียกวา หลักฐานอันเปนตัวบทที่มีการรายงานสืบเนื่องกันมา

4. อัล-กิยาส จัดอยู ในหมวดหลักฐานที่ใชการวิเคราะหทางสติปญญา

ซึ่งนักกฎหมายอิสลามไดผนวกประเภทของหลักฐานในหมวดนี้ไวแตกตางกัน

เชน อัล-อิสติหฺสาน อัล-อิสติสหาบฺ อัลอุรฺฟ และอัล-มะศอลิฮุลมุรฺสะละฮฺ เปนตน

นักวิชาการเรียกท่ีมาของกฎหมายอิสลามท้ัง 4 ประการวา หลักฐานปฐมภูมิ

และเรียกประเภทอื่น ๆ ที่ถูกจัดอยูในหมวดของหลักฐานที่ใชการวิเคราะหทางสติปญญาวา

หลักฐานสืบเนื่อง หรือหลักฐานทุติยภูมิ

ÍÑÅ-¡ØÃÚÍÒ¹ËÃ×Í¡ÔµÒºØÅÅÍÎÚ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

5

อัล-กุรฺอานหรือกิตาบุลลอฮฺ คือ พระดํารัสของอัลลอฮฺ ที่ประทาน

ลงมาใหนบีมุฮัมมัด เปนภาษาอาหรับ เพื่อเปนปาฏิหาริยแมสูเราะฮฺที่สั้นที่สุด พระดํารัส

นี้ถูกบันทึกอยูในคัมภีรซึ่งถายทอดแบบมุตะวาติรฺ และเปนอิบาดะฮฺดวยการอาน เริ่มตนดวย

บทอัล-ฟาติหะฮฺ และจบลงดวยบทอัน-นาส อัล-กุรฺอานมี 114 สูเราะฮฺ แบงออกเปน 30 ุซอฺ

ซึ่งนับเปนแมบทของกฎหมายอิสลาม และเปนที่มาของบทบัญญัติและขอบังคับตาง ๆ

ซึ่งแบงออกไดดังนี้

1. หลักความเชื่อ

2. หลักจริยธรรม

3. หลักปฏิบัติซึ่งครอบคลุมทั้งหมวดการประกอบศาสนกิจ และหมวด

ปฏิสัมพันธ โดยหมวดปฏิสัมพันธแบงออกเปนหลักการครองเรือนกฎหมายแพง

และพาณิชย กฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายธรรมนูญการปกครอง หลักวิธีพิจารณา

คดีความท้ังแพงและอาญา หลักวิเทโศบายหรือกฎหมายระหวางประเทศ หลักเศรษฐศาสตร

และการคลัง เปนตน

ÍÑÅ-ËдÕÉËÃ×ÍÍÑÊ-Êع¹ÐÎÚ

อัล-หะดีษหรืออัส-สุนนะฮฺ หมายถึง คําพูด การกระทํา หรือการยอมรับ

ของนบีมุฮัมมัด ซ่ึงเปนคําสอนท่ีมีการจดจํา บันทึก ถายทอดโดยผูใกลชิดและผูเก่ียวของ

เพ่ือยึดถือปฏิบัติสืบตอกันมา อัล-หะดีษเปนแมบทของกฎหมายอิสลามในลําดับท่ี 2 รองจาก

อัล-กุรฺอาน

อนึ่ง นักกฎหมายอิสลามเรียกที่มาของกฎหมายอิสลามในลําดับที่ 2 นี้วา อัส-สุนนะฮฺ

เนื่องจากมีนัยกวางและครอบคลุมมากกวาคําวา อัล-หะดีษ โดยแบงประเภทของอัส-สุนนะฮฺ

ออกเปน 3 ประเภทใหญ ๆ คือ

Page 7: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

6

1. อัส-สุนนะฮฺที่เปนคําพูด คือ คําพูดที่นบีมุฮัมมัด กลาวในโอกาสและเปาหมาย

ตาง ๆ เชน หะดีษที่วา ความวา “แทจริงการปฏิบัติทั้งหลายขึ้นอยูกับ

การตั้งเจตนา…” เปนตน

2. อัส-สุนนะฮฺที่เปนการกระทํา คือ การกระทําที่นบีมุฮัมมัด ไดปฏิบัติไว เชน

การปฏิบัติละหมาด 5 เวลา การประกอบพิธีหัจญ การตัดสินคดีความโดยใชพยานและการ

สาบาน เปนตน

3. อัส-สุนนะฮฺที่เปนการรับรอง คือ การที่นบีมุฮัมมัด นิ่งเงียบโดยไมปฏิเสธหรือ

คัดคานคําพูด การกระทําท่ีเกิดข้ึนตอหนาทาน หรือคําพูด การกระทําท่ีเกิดข้ึนในยุคสมัยของ

ทาน โดยรับรูถึงคําพูด การกระทํานั้นโดยนบีมุฮัมมัด เห็นดวย แสดงความยินดี ถือวา

คําพูดหรือการกระทําที่เกิดขึ้นนั้นเปนสิ่งที่ดีงาม

ในสวนของอัส-สุนนะฮฺที่เปนการกระทําของนบีมุฮัมมัด นั้น นักวิชาการแบงเปน

3 ลักษณะ ดังนี้

1. การกระทําตาง ๆ อันเปนอัธยาศัยของนบีมุฮัมมัด เชน การยืน การนั่ง การ

รับประทาน และการด่ืม เปนตน ส่ิงเหลาน้ีไมมีขอขัดแยงวาเปนท่ีอนุมัติสําหรับนบีมุฮัมมัด

และประชาคมของทาน แตไมถือวาเปนสิ่งที่จําเปนตองปฏิบัติ ตามทัศนะของปวงปราชญ

2. การกระทําตาง ๆ ซึ่งมีการยืนยันวาเปนกรณีเฉพาะของนบีมุฮัมมัด เทานั้น เชน

การถือศีลอดติดตอกัน การอนุญาตใหมีภรรยาไดมากกวา 4 คนในคราวเดียวกัน เปนตน

การกระทําดังกลาวเปนกรณีพิเศษเฉพาะนบีมุฮัมมัด และไมจําเป็นตองปฏิบัติตาม

3. การกระทําตาง ๆ ที่นอกเหนือจาก 2 ลักษณะแรก ซึ่งมีเปาหมายในการวางบัญญัติ

ทางศาสนา การกระทําดังกลาวเปนส่ิงท่ีถูกเรียกรองใหมีการปฏิบัติตามโดยมีลักษณะแตกตาง

กันวาเปนสิ่งที่จําเปน สงเสริม หรืออนุญาต เปนตน

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

7

ÍÑÅ-ÍÔ¨�Ú ÁÒÍÚ

อัล-อิจฺมาอฺ หมายถึง การเห็นพองกันของบรรดานักปราชญทางศาสนา

จากประชาคมของนบีมุฮัมมัด ในขอบัญญัติทางศาสนา ภายหลังการเสียชีวิต

ของนบีมุฮัมมัด ในยุคใดยุคหนึ่ง

อัล-อิจฺมาอฺ มี 2 ชนิด คือ

1. การเห็นพองโดยชัดเจน คือ การที่บรรดานักปราชญทางศาสนา

มีทัศนะ คําพูด และการกระทําพองกันตอขอชี้ขาดในประเด็นปญหาหนึ่งที่เจาะจงแนนอน

เชน มีการรวมชุมนุมของบรรดานักปราชญในสถานท่ีแหงหน่ึง นักปราชญแตละคนไดนําเสนอ

ทัศนะของตนอยางชัดเจนในขอปญหานั้น ๆ และทัศนะของทุกคนก็พองกันตอขอชี้ขาดของ

ปญหานั้น หรือการที่มีนักปราชญผูหนึ่งตอบปญหาศาสนาดวยทัศนะหนึ่ง แลวปรากฏวาการ

ตอบปญหาศาสนาจากนักปราชญผูอ่ืนพองกันในขอช้ีขาดน้ัน ปวงปราชญถือวาอัล-อิจฺมาอฺ

ชนิดนี้เปนหลักฐานทางศาสนา

2. การเห็นพองโดยนิ่งเงียบ คือ การที่นักปราชญทางศาสนาบาง

ทานในยุคหน่ึงไดกลาวคําพูดเอาไวในประเด็นขอปญหาหน่ึง และนักปราชญผูอ่ืนท่ีอยูรวมสมัย

น่ิงเงียบหลังจากท่ีรับรูถึงคําพูดน้ีโดยไมมีการปฏิเสธหรือคัดคาน อัล-อิจฺมาอฺชนิดน้ีนักปราชญ

ทางศาสนามีความเห็นตางกันในการถือเปนหลักฐานทางศาสนา

ÍÑÅ-¡ÔÂÒÊ

อัล-กิยาส หมายถึง การนําขอปญหาที่ไมมีตัวบทระบุถึงขอชี้ขาดทาง

ศาสนาไปเปรียบเทียบกับขอปญหาที่มีตัวบทระบุถึงขอชี้ขาดทางศาสนาไวแลว เนื่องจากทั้ง

2 ขอปญหานั้นมีเหตุผลในขอชี้ขาดรวมกัน

Page 8: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

8

องคประกอบของอัล-กิยาส มี 4 ประการ ดังนี้

1. หลักมูลฐาน หมายถึง ตําแหนงของขอชี้ขาดซึ่งไดรับการยืนยันดวยตัวบท

หรืออัล-อิจฺมาอฺ หรือหมายถึง ตัวบทที่บงชี้ถึงขอชี้ขาดนั้น

2. ขอปลีกยอย คือ ตําแหนงที่ไมมีตัวบทหรืออัล-อิจฺมาอฺระบุขอชี้ขาดไว

3. คุณลักษณะรวมกันระหวางหลักมูลฐานและขอปลีกยอย คือ เหตุผล

4. ขอชี้ขาดของหลักมูลฐาน

µÑÇÍ‹ҧ

ขอชี้ขาดของไวนคือเปนสิ่งตองหาม เนื่องจากขอชี้ขาดของไวนไมมีตัวบทระบุ

ช้ีชัดเอาไว ไวนจึงเปนขอปลีกยอย ในขณะท่ีสุรามีตัวบทบงช้ีอยางชัดเจนวาเปนส่ิงตองหาม

สุราจึงเปนหลักมูลฐาน เหตุผลที่สุราเปนสิ่งตองหามคือการทําใหมึนเมา และการทําให

มึนเมาถือเปนเหตุผล อันเปนคุณลักษณะรวมกันระหวางสุราและไวน จึงมีขอชี้ขาดวา ไวน

เปนส่ิงตองหามตามขอช้ีขาดของสุราน่ันเอง ซ่ึงเปนขอช้ีขาดท่ีเกิดจากการใชหลักอัล-กิยาส

หลักฐานที่บงชี้วา ที่มาทั้ง 4 ประการของกฎหมายอิสลามเปนหลักฐานทางศาสนา

คือ อัล-หะดีษท่ีมีรายงานวา รสูลไดกลาวแกมุอาซฺ อิบนุญะบัล ขณะท่ีสงเขาไปยังเมืองยะมัน

วา “หากมีคดีความเกิดข้ึน ทานจะตัดสินอยางไร” มุอาซตอบวา “ฉันจะตัดสินดวยคัมภีรของ

อัลลอฮฺ ” รสูลกลาววา “หากทานไมพบ (ขอชี้ขาด) ในคัมภีรของอัลลอฮฺ ทาน

จะตัดสินอยางไร” มุอาซฺตอบวา “ฉันจะตัดสินดวยสุนนะฮฺของรสูลุลลอฮฺ” รสูลกลาววา

“หากทานไมพบในสุนนะฮฺของรสูลุลลอฮฺ ทานจะตัดสินอยางไร” มุอาซฺตอบวา “ฉันจะ

วินิจฉัยดวยความเห็นของฉันโดยฉันจะไมบกพรอง” รสูลไดจับอกของมุอาซฺแลวกลาววา

“การสรรเสริญทั้งมวลเปนสิทธิแดอัลลอฮฺ พระผูทรงเอื้ออํานวยใหทูตของรสูลุลลอฮฺมี

ความคิดสอดคลองกับสิ่งที่รสูลุลลอฮฺพึงพอใจ” (รายงานโดยอะหฺมัด อบูดาวูด อัต-ติรฺมีซียฺ

อิบนุอะดียฺ อัฏ-ฏ็อบรอนียฺ อัด-ดารีมียฺ และอัล-บัยฮะกียฺ เปนหะดีษมุรฺสัล)

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

9

¤ÇÒÁ໚¹ÁÒáÅоѲ¹Ò¡Òâͧ¡®ËÁÒÂÍÔÊÅÒÁ

นักวิชาการไดแบงชวงเวลาที่กฎหมายอิสลามมีการเปลี่ยนผานและพัฒนาการเปน

4 ชวงเวลา ดังนี้

1. ชวงเวลาแหงการเริ่มตน

ชวงเวลาแหงการเริ่มตน ครอบคลุมถึงสมัยของนบีมุฮัมมัด โดยเริ่มตนตั้งแตมี

การประกาศศาสนาอิสลาม (ค.ศ. 610) และสิ้นสุดลงดวยการเสียชีวิตของนบีมุฮัมมัด

(ฮ.ศ. 11/ค.ศ. 636) ในชวงเวลาดังกลาว สาสนแหงอิสลามมิไดจํากัดอยูเฉพาะดานการชี้นํา

ทางจิตวิญญาณ จริยธรรม และการประกอบศาสนกิจเทานั้น แตยังไดจัดระเบียบกิจกรรมของ

มนุษยในดานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับวิถีชีวิตในโลกนี้อีกดวย ดวยเหตุนี้ ศาสนาอิสลามจึงได

ยกเลิกขนบธรรมเนียมและประเพณีบางสวนของชาวอาหรับในดานการครองเรือน การมี

ปฏิสัมพันธระหวางปจเจกบุคคลและความสัมพันธระหวางรัฐตอรัฐ ที่มาของกฎหมายอิสลาม

ในชวงแรกจํากัดอยูใน 2 ประการ คือ อัล-กุรฺอานและอัส-สุนนะฮฺ ซึ่งเปนรากฐานของ

กฎหมายอิสลามในลักษณะหลักมูลฐานตาง ๆ โดยท่ัวไป ตลอดจนกฎเกณฑพ้ืนฐานตาง ๆ

จากหลักมูลฐานและกฎเกณฑพื้นฐานดังกลาว นักปราชญทางศาสนาไดวิเคราะห

หลักการที่มีรายละเอียดซึ่งกลายเปนประมวลหลักนิติธรรมอิสลามในยุคตอมา ไมวาจะเปน

รายละเอียดในการจัดระเบียบทางสังคม เศรษฐกิจ ระบอบรัฐศาสตร หลักการในการ

ประกอบศาสนกิจและการมีปฏิสัมพันธในรูปของธุรกรรมตาง ๆ

ชวงเวลาแหงการเริ่มตน แบงเปน 2 ระยะ คือ

ระยะเวลาประมาณ 13 ป ณ นครมักกะฮฺ ชาวมุสลิมเปนชนสวนนอยที่มีความ

ออนแอ ถูกกดขี่ และมิไดมีสวนรวมในการปกครองนครมักกะฮฺ ซึ่งชนชั้นปกครองเปนพวก

ตั้งภาคี ดวยเหตุนี้บรรดาอายะฮฺอัล-กุรฺอานที่เรียกวาอายะฮฺมักกียะฮฺ และบรรดาอัล-หะดีษ

ของนบีมุฮัมมัด จึงกลาวถึงการจัดระเบียบการปกครองและหลักการที่วาดวยธุรกรรม

ตาง ๆ ไวเพียงเล็กนอยเทานั้น แตเนนการอธิบายถึงหลักยึดมั่น หลักศรัทธาของศาสนา และ

Page 9: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

10

เรียกรองเชิญชวนสูการใหเอกภาพตออัลลอฮฺ การขัดเกลาจิตใจ และวิพากษความเชื่อ

ของพลเมืองมักกะฮฺที่ยึดติดกับการตั้งภาคีและขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีบอเกิดจาก

อวิชชา สวนการประกอบศาสนกิจในระยะแรกที่มีบัญญัติไวคือเรื่องการละหมาดเทานั้น

ระยะเวลา ประมาณ 10 ป ณ นครมะดีนะฮฺซึ่งเริ่มตนภายหลังการอพยพ

ของนบีมุฮัมมัด และบรรดาเศาะหาบะฮฺจากนครมักกะฮฺสูนครมะดีนะฮฺ ชาวมุสลิมได

สถาปนารัฐอิสลามขึ้น ณ นครมะดีนะฮฺ โดยมีโครงสรางของรัฐอันประกอบดวยพลเมือง คือ

ผูอพยพที่เรียกวา และพลเมืองมะดีนะฮฺที่เรียกวา ตลอดจนชาวยิว

และชนอาหรับกลุมอื่น ๆ มีดินแดน คือ นครมะดีนะฮฺ และเขตปริมณฑล และมีระบอบการ

ปกครองทางรัฐศาสตรและการเมือง ซึ่งอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ

รวมอยูในประมุขสูงสุดของรัฐ คือ นบีมุฮัมมัด ทั้งนี้ ทานไดมีพันธสัญญาที่เรียกวา

ซึ่งเปนปฏิญญาที่พลเมืองของมะดีนะฮฺยอมรับรวมกันทุกฝายโดยมีสถานะ

เชนเดียวกับรัฐธรรมนูญ ตามคํานิยามของนักวิชาการรวมสมัย ในระยะเวลานี้ประมวล

กฎหมายอิสลามท่ีเปนแมบทในดานตาง ๆ ท้ังท่ีเก่ียวกับการศาสนาและทางโลกไดถูกกําหนด

วางอยางเปนกิจลักษณะและมีความครบถวนสมบูรณ

2. ชวงเวลาแหงการวางหลักมูลฐานของกฎหมายอิสลาม

ชวงเวลาแหงการวางหลักมูลฐานของกฎหมายอิสลาม เริ่มตนตั้งแตการเสียชีวิตของ

นบีมุฮัมมัด จนถึงการลมสลายของอาณาจักรอัล-อุมะวียะฮฺ (ฮ.ศ. 132/ค.ศ. 750) ทาง

ดานการเมืองน้ันครอบคลุมสมัยของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผูทรงธรรม (ฮ.ศ. 11-41/ค.ศ. 632-661)

และสมัยของอาณาจักรอัล-อุมะวียะฮฺ (ฮ.ศ. 41-132/ค.ศ. 661-750) สวนทางดานกฎหมาย

อิสลามนั้นครอบคลุมสมัยของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ชนรุนตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน ซึ่ง

เรียกวา “ยุคสะลัฟ ศอลิหฺ” ในชวงเวลาที่ 2 นี้มีการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ ความคิด

และการเมืองที่สงผลตอพัฒนาการของกฎหมายอิสลาม และมีการวิเคราะหอยางทุมเททาง

สติปญญาที่เรียกวา “อัล-อิจฺญติฮาด” เกิดขึ้นซึ่งนําไปสูการปรากฏหลักฐานในการชี้ขาด

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

11

2 ประการ คือ อัล-อิจฺญมาอฺและอัล-กิยาส ตลอดจนระบอบการปกครองแบบคิลาฟะฮฺ

ก็ปรากฏชัดในฐานะระบอบการปกครองทางรัฐศาสตรอิสลามอีกดวย

พัฒนาการที่เดนชัดในชวงเวลานี้คือ

1. ศาสนาอิสลามแผปกคลุมดินแดนของรัฐอิสลามที่มีอาณาเขตทางทิศตะวันออก

จรดประเทศจีน มหาสมุทรอินเดีย และเขตตอนกลางของแอฟริกา ทางทิศใตจรดมหาสมุทร

แอตแลนติกทางทิศตะวันตก และมีอาณาเขตทางตอนเหนือครอบคลุมทะเลสาบแคสเปยน

ทะเลดํา และหมูเกาะในทะเลเมดิเตอรเรเนียนจนถึงภาคใตของฝรั่งเศสและคาบสมุทร

ไอบีเรีย (สเปน)

2. ภาษาอาหรับมีความแพรหลายและกลายเปนภาษาทางราชการและวิชาการใน

ศาสตรแขนงตาง ๆ

3. มีความตื่นตัวในการแปลตําราจากภาษาอื่น ๆ เปนภาษาอาหรับและมีการสราง

ผลงานทางวิชาการในศาสตรแขนงตาง ๆ

4. บรรดาเศาะหาบะฮฺและชนรุนตาบิอีนไดกระจายไปต้ังหลักแหลงในหัวเมืองตาง ๆ ท่ี

ถูกพิชิต นับตั้งแตยุคของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน เปนผลทําใหเกิดเมืองแหงวิชาการตามมา เชน

เมืองกูฟะฮฺ บัศเราะฮฺ ฟุสฏอฏ และแบกแดด เปนตน

5. เกิดกลุมสํานักทางความคิดหลากหลาย เชน กลุมอัล-เคาะวาริจญ กลุมชีอะฮฺ

กลุมมุรญิอะฮฺ และกลุมมุอฺตะซิละฮฺ เปนตน

3. ชวงความสุกงอมและความสมบูรณ

ชวงความสุกงอมและความสมบูรณ เร่ิมตนต้ังแตการสถาปนาอาณาจักรอัล-อับบาสียะฮฺ

(ฮ.ศ. 132/ค.ศ. 750) และสิ้นสุดลงดวยการปดประตูแหงการอิจฺติฮาดในตอนปลาย

ศตวรรษที่ 4 แหงฮิจฺเราะฮฺศักราช นับเปนยุคทองของกฎหมายอิสลาม ในชวงนี้มีการ

รวบรวมและจดบันทึกอัล-หะดีษของนบีมุฮัมมัด และกฎหมายอิสลาม ตลอดจนมีการ

ปรากฏบรรดาสํานักกฎหมายอิสลามซึ่งเรียกวา “มัซฮับ” ไดแก

Page 10: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

12

1. มัซฮับหะนะฟยฺ มีอิมามอบูหะนีฟะฮฺ อัน-นุอฺมาน อิบนุ ษาบิต (ฮ.ศ. 70-150)

เปนผูนํา แนวทางของสํานักนี้เปดกวางในการใชทัศนะและหลักเหตุผลในการวิเคราะหตัวบท

ทางศาสนา

2. มัซฮับมาลิกียฺ มีอิมามมาลิก อิบนุ อะนัส อิบนิ อบีอามิรฺ (ฮ.ศ. 95-179) นักปราชญ

แหงนครมะดีนะฮฺในแควนอัล-ฮิญาซฺและนักวิชาการสายอัล-หะดีษเปนผูนํา

3. มัซฮับชาฟอียฺ มีอิมามอบูอับดิลลาฮฺ มุฮัมมัด อิบนุ อิดรีส อัช-ชาฟอียฺ (ฮ.ศ. 150-

204) เปนผูนํา มีแนวทางสายกลางที่รอมชอมระหวางการใชทัศนะและการยึดถือตัวบท

4. มัซฮับฮัมบะลียฺ มีอิมามอะหฺมัด อิบนุ ฮัมบัล อัช-ชัยบานียฺ (ฮ.ศ. 164-241)

เปนผูนํา แนวทางของสํานักนี้ยึดถือตัวบทอยางเครงครัดและไมยอมรับการใชทัศนะเหมือน

อยางมัซฮับหะนะฟยฺ

มัซฮับหะนะฟยฺ เปนแนวทางที่แพรหลายในกลุมประเทศที่เคยเปนสวนหนึ่งของ

อาณาจักรอุษมานียะฮฺแหงตุรกี ตลอดจนกลุมประเทศมุสลิมในเอเชียกลางและเอเชียใต

สวนมัซฮับมาลิกียฺเปนที่นิยมในหมูชาวแอฟริกา ในขณะที่มัซฮับชาฟอียฺ เปนที่นิยมของชาว

มุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เยเมน และอียิปต สวนมัซฮับฮัมบะลียฺเปนมัซฮับที่ยึดถือ

เปนทางการในประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีผูนิยมนอยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ

4. ชวงการถือตาม

ชวงการถือตาม เริ่มตั้งแตการปดประตูแหงการอิจฺติฮาด ในปลายศตวรรษ

ที่ 4 แหงฮิจฺเราะฮฺศักราช และดําเนินเร่ือยมาจวบจนปัจจุบัน ในดานการเมืองโลก

อิสลามในชวงที่ 4 นี้แตกออกเปนรัฐเล็กรัฐนอย มีกลุมชาติพันธุมุสลิมที่มิใชชาวอาหรับเขา

มามีอํานาจผลัดเปลี่ยนกัน เชน ชาวเติรก (ตุรกี) ชาวเปอรเซีย (อิหราน) เปนตน และเนื่องจาก

ชาวมสุลมิขาดความสามคัคีและเอกภาพทาํใหดินแดนของชาวมสุลมิตกอยูใตอาณตัขิองกลุม

ประเทศตะวันตกที่ลาอาณานิคม โดยเฉพาะภายหลังการลมสลายของอาณาจักรอุษมานียะฮฺ

แหงตุรกี มีการประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบคิลาฟะฮฺในป ค.ศ. 1924 ผลจาก

การลาอาณานิคมของกลุมประเทศตะวันตกทําใหกฎหมายอิสลามสวนใหญถูกยกเลิก และมี

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

13

การนํากฎหมายตะวันตกเขามาใชแทน ภายหลังจากการที่กลุมประเทศมุสลิมไดรับเอกราช

จากกลุมประเทศตะวันตกไดมีการเรียกรองใหหันมาใหความสําคัญกับการฟ้นฟูกฎหมาย

อิสลาม และนํามาบังคับใชอีกครั้ง ซึ่งกระแสการเรียกรองดังกลาวเริ่มขึ้นนับตั้งแตชวงปลาย

คริสตศตวรรษที่ 19 เปนตนมา

¤ÇÒÁÊÓ ¤Ñޢͧ¡®ËÁÒÂÍÔÊÅÒÁ

กฎหมายอิสลามมีอัล-กุรฺอานและอัล-หะดีษเปนแมบทท่ีสมบูรณครบถวน และเปน

ธรรมนูญในการดําเนินชีวิตของมุสลิม ที่กําหนดภารกิจของมนุษยตออัลลอฮฺ หนาที่ตอ

ตัวเอง และหนาที่ตอเพื่อนมนุษยดวยกัน โดยมีเปาหมายในการพิทักษคุมครองสิ่งสําคัญ

5 ประการ คือ ศาสนา ชีวิต สติปญญา สายโลหิต และทรัพยสิน กฎหมายอิสลาม

มีความสําคัญดังนี้

1. กฎหมายอิสลามเปนธรรมนูญแหงชีวิตที่มุสลิมทุกคนตองยึดถือปฏิบัติโดยเครงครัด

ท้ังน้ีการปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามมีผลทําใหปจเจกบุคคลมีความเปนปกติสุข และทําให

สังคมโดยรวมเกิดความสันติสุข

2. กฎหมายอิสลามไดกําหนดสิทธิและหนาที่สวนบุคคลและสิทธิประโยชนสวนรวม

ไวอยางมีดุลยภาพและครบถวน ชัดเจน มีความเปนธรรมและสมเหตุสมผล ยืดหยุนและ

เหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย

3. กฎหมายอิสลามไดจัดระเบียบสังคมทุกระดับตามครรลองที่ถูกตองและเปนธรรม

ทั้งในดานสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และมุงพิทักษรักษาผลประโยชนของ

ทุกฝาย

Page 11: หนังสือเรียน อิสลามศึกษาacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1001562_example.pdf2. อัล-หะดีษ 3. อัล-อิจ

¡ ® Ë Á Ò Â ÍÔ Ê Å Ò Á

14

1. นักเรียนอธิบายความแตกตางระหวางหลักนิติธรรมอิสลามและกฎหมาย

อิสลาม

2. นักเรียนอภิปรายหัวขอ “ยาเสพติด 4 คูณรอยกับขอชี้ขาดทางศาสนา”

(ในเรื่องหลักการอัล-กิยาส)

3. นกัเรยีนศึกษาคนควาและทาํรายงานหวัขอ “ความเปนมาและความสาํคญัของ

กฎหมายอิสลาม”

¡Ô¨¡ÃÃÁ·ŒÒº·