วัดบรมนิวาส · 2015-09-14 ·...

4
21 สายตรงศาสนา เข้าวัดวันธรรมสวนะ สถานะและที่ตั้ง วดบรมนวาส เปนพระอารามหลวงชนโท ชนดราชวรวหาร ตงอยูเลขท๒แขวงรองเมองเขตปทมวนกรงเทพมหานครมทดนตงวด เนอท๑๗ไร๑งาน๖๑ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอโบสถ เปนอาคารกออฐถอปูน ยกฐานสูง แนวเสาอยู ดานนอกหลงคาลด๒ ชนมงกระเบองประดบชอฟาใบระกา หางหงสหนาบนมลายปูนปนรูปมหามงกฎลอมดวยลายดอกไม มหามงกฎเปนตราประจำพระบาทสมเดจพระจอมเกลาเจาอยูหว จตรกรรมฝาผนงฝมอของขรวอนโขง จตรกรเอกสมยพระบาทสมเดจ พระจอมเกลาเจาอยูหว ผนงภายในเปนภาพวาดคลายกบภาพวาด ในพระอโบสถวดบวรนเวศวหาร มรายละเอยดแตกตางกนบาง คอ ภาพวาดระหวางชองหนาตางเปนภาพชวตความเปนอยูแบบไทย เกยวกบพระพทธศาสนาและการทำบญของชาวบานเชนการบวชนาค การลอยกระทง การทอดกฐน การทำบญเนองในวนมาฆบูชาและ วสาขบูชา เปนตน สวนภาพเหนอชองหนาตางเปนภาพปรศนาธรรม เกยวกบคณพระรตนตรย คอ เปนภาพชาวฝรงทงชายและหญง ทงหมด ดานหนาพระประธานเปนภาพเมอง ๆ หนงทตกอยูในความมด คอโลภะโทสะโมหะ พระประธาน ในพระอโบสถ เปนพระพทธรูปปางมารวชย หลอสมยกรงสโขทย ซงไดอญเชญมาจากเมองพษณโลก มพระนาม วาพระทศพลญาณ พระเจดีย์ สรางสมยรชกาลท๔อยูหลงพระอโบสถ ลกษณะเปนทรงกลมแบบสมยอยธยามประตูเขาออกตรงกบ พระอโบสถ บานประตูดานนอกลงรก ประดบมก เปนรูปราชกธภณฑ มฉตรเกาชนและหาชน พระมหาพชยมงกฎอณหสวาลวชน ฉลองพระบาท หบพระอโบสถลายเถาดอกไม อกเลามรูปพระนารายณ พระอนทร และรูปกษตรย๔พระองค ศาลาการเปรียญ เปนอาคารกออฐถอปูนลกษณะทรงไทย ยกพนสูง หนามขมชอฟา ใบระกา และลงรกปดทอง ประดบกระจก ภายในประดษฐานพระพทธรูปปูนปนลงรกปดทองพระนามวา พระพชตมารมธยมพทธกาล พระนิรันตราย เปนพระพทธรูปหลอดวยทองสำรด กะไหลทอง ปางสมาธเพชร เบองหลงมเรอนแกวพมมหาโพธ มอกษรจารกไวใน วงกลบบวยอดเรอนแกวมรูปมหามงกฎรองฐานพระเปนทสำหรบนำสรง ปจจบนพระเทพวรคุณ(ประศาสนปญญาธโร)เปนเจาอาวาส วดบรมนวาสเดมเรยกวดนอกพระบาทสมเดจพระจอมเกลา เจาอยูหว สรางขนเมอครงทรงผนวช ตอมาอาคารเสนาสนะชำรด ทรดโทรม พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหว โปรดใหปฏสงขรณ ทงพระอาราม แลวพระราชทานนามวา วดบรมนวาส และพระอบาล คณูปมาจารย (จนทร สรจนโท) ไดบูรณปฏสงขรณอกครงหนง โดย ทนทรพยจากเจาจอมมารดาทบทม ในรชกาลท ๕ พรอมทงพระโอรส พระธดา และพระประยูรญาตของพระบาทสมเดจพระมงกฎเกลา เจาอยูหว เมอครงทรงดำรงพระอสรยยศเปนสมเดจพระยพราช และ พระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานภาพ ครนปฏสงขรณ เรยบรอยแลวจงไดตดถนนเขาวด๒สายคอดานตะวนออก และดานตะวนตกไปบรรจบกน พระบาทสมเดจพระจอมเกลาเจาอยูหว ทรงมพระราช ประสงคใหเปนวดคูกนกบวดบวรนเวศวหารกลาวคอวดบวรนเวศวหาร เปนวดของคณะสงฆฝายคามวาสของธรรมยตกนกาย เปนศูนยกลาง ปรยตธรรมของธรรมยตกนกายสวนวดบรมนวาสเปนวดของคณะสงฆ ฝายอรญวาสของธรรมยตกนกาย วัดบรมนิวาส กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะณวัดใกล้บ้านหรือร่วมเข้าวัดกับ กรมการศาสนา ซึ่งในเดือนพฤษภาคม๒๕๕๓กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณวัดบรมนิวาส (วันพฤหัสบดีที๖ พ.ค.),วัดลครทำ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พ.ค.), วัดรวกบางบำหรุ (วันศุกร์ที๒๑ พ.ค.), วัดประสาท บุญญาวาส(วันศุกร์ที่๒๘พ.ค.)จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ

Upload: others

Post on 24-Jun-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: วัดบรมนิวาส · 2015-09-14 · กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดบรมนิวาส

21สายตรงศาสนา

เข้าวัดวันธรรมสวนะ

สถานะและที่ตั้ง วัดบรมนิวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๖๑ ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยกฐานสูง แนวเสาอยู่ด้านนอก หลังคาลด ๒ ชั ้น มุงกระเบื ้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันมีลายปูนปั ้นรูปมหามงกุฎล้อมด้วยลายดอกไม้ มหามงกุฎเป็นตราประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว จิตรกรรมฝาผนังฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนังภายในเป็นภาพวาดคล้ายกับภาพวาด ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง คือ ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และการทำบุญของชาวบ้าน เช่น การบวชนาค การลอยกระทง การทอดกฐิน การทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา เป็นต้น ส่วนภาพเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรม เกี ่ยวกับคุณพระรัตนตรัย คือ เป็นภาพชาวฝรั ่งทั ้งชายและหญิง ทั้งหมด ด้านหน้าพระประธานเป็นภาพเมือง ๆ หนึ่งที่ตกอยู่ในความมืด คือ โลภะ โทสะ โมหะ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก มีพระนามว่า พระทศพลญาณ พระเจดีย์ สร้างสมัยร ัชกาลที ่ ๔ อยู ่หลังพระอุโบสถ ลักษณะเป็นทรงกลมแบบสมัยอยุธยา มีประตูเข ้าออกตรงกับ พระอุโบสถ บานประตูด้านนอกลงรัก ประดับมุก เป็นรูปราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรเก้าชั้นและห้าชั้น พระมหาพิชัยมงกุฎอุณหิสวาลวิชนี ฉลองพระบาท หีบพระอุโบสถลายเถาดอกไม้ อกเลามีรูปพระนารายณ์ พระอินทร์ และรูปกษัตริย์ ๔ พระองค์ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย ยกพื้นสูง หน้ามุขมีช่อฟ้า ใบระกา และลงรักปิดทอง ประดับกระจก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั ้นลงรักปิดทอง พระนามว่า พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด กะไหล่ทอง ปางสมาธิเพชร เบื้องหลังมีเรือนแก้วพุ่มมหาโพธิ์ มีอักษรจารึกไว้ใน วงกลีบบัว ยอดเรือนแก้วมีรูปมหามงกุฎ รองฐานพระเป็นที่สำหรับน้ำสรง ปัจจุบัน พระเทพวรคุณ (ประศาสน์ ปญฺญฺาธโร) เป็นเจ้าอาวาส

วัดบรมนิวาส เดิมเรียกวัดนอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงผนวช ต่อมาอาคารเสนาสนะชำรุด ทรุดโทรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์ ทั้งพระอาราม แล้วพระราชทานนามว่า วัดบรมนิวาส และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้บูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดย ทุนทรัพย์จากเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ พร้อมทั้งพระโอรส พระธิดา และพระประยูรญาติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครั้นปฏิสังขรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงได้ตัดถนนเข้าวัด ๒ สาย คือ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกไปบรรจบกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู ่ห ัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นวัดคู่กันกับวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวคือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีของธรรมยุติกนิกาย เป็นศูนย์กลาง ปริยัติธรรมของธรรมยุติกนิกาย ส่วนวัดบรมนิวาสเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีของธรรมยุติกนิกาย

วัดบรมนิวาส

กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะ ณ วัดใกล้บ้านหรือร่วมเข้าวัดกับ

กรมการศาสนา ซึ่งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดบรมนิวาส

(วันพฤหัสบดีที่ ๖ พ.ค.),วัดลครทำ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พ.ค.), วัดรวกบางบำหรุ (วันศุกร์ที่ ๒๑ พ.ค.), วัดประสาท

บุญญาวาส (วันศุกร์ที่ ๒๘ พ.ค.) จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ

Page 2: วัดบรมนิวาส · 2015-09-14 · กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดบรมนิวาส

สายตรงศาสนา 22

เป็นพระประธาน พระประธานองค์นี ้ พระยาราชมนตรี

(สง่า สิงหลกะ) เป็นผู ้สร ้างขึ ้นเมื ่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ แทน

พระประธานองค์เดิม ซึ่งด้านหลังองค์พระระบุว่า สร้างเมื่อ

พ.ศ. ๒๓๘๕

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง

๑๑ เมตร ยาว ๒๐.๕๐ เมตร หน้าบ ันมีรูปนางละคร

เป็นสัญลักษณ์

เจดีย์นอน เป็นเจดีย์ ๒ องค์ ที่หันฐานเข้าหากัน

ยอดเจดีย์หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ และมีหมอนขวาน

หนุนที่ยอดเจดีย์ องค์เจดีย์ทาบไปกับพื้น เชื่อกันว่า สมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์

ว่าครั้งหนึ่งเคยมาที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันเจดีย์นอนทั้ง ๒ องค์

ได้ทรุดโทรมสูญสลายไปตามกาลเวลา สถานที่ตั้งเจดีย์ได้ใช้

เป็นที่สร้างอุโบสถในปัจจุบัน

ปัจจุบัน พระครูธรรมธรสุทัศน์ (ฐานนนฺโท) เป็น

เจ้าอาวาส

วัดลครทำ

ประวัติความเป็นมา วัดลครทำ สร ้างข ึ ้นในร ัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ นายบุญยัง หัวหน้า

คณะละครนอกเป็นผู้สร้าง คำว่า ละครนอก หมายถึง ละคร

รำแบบหนึ ่ง ปรับปรุงให้ดีข ึ ้นจากละครชาตรี ในชั ้นต้น

ต ัวละครเป ็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน

มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื ่องได้ไม่ต้องรักษา

ระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครใน

ใช้แสดง

นายบุญยังเป็นผู้มีฐานะเนื่องมาจากเป็นนายละคร

และเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้

สร้างวัดขึ้น ชาวบ้านได้เรียกว่า “วัดลครทำ” สถานะและที่ตั้ง วัดลครทำ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๖ ถนนอิสรภาพ แขวง

บ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๓ ไร่

๓ งาน ๖๑ ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับช่อฟ้า

ใบระกา หางหงส์ หลังคาลด ๒ ชั้น หน้าบันปั้นเป็นพระพุทธรูป

ปางประทานพร และมีตัวอักษรว่า “หน้าบันนี้จันทร์วิรัชสร้าง”

กว้าง ๗.๗๐ เมตร ยาว ๑๙ เมตร ประตูเข้าด้านหน้าอุโบสถ

มีสัญลักษณ์ ภปร มีพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว

Page 3: วัดบรมนิวาส · 2015-09-14 · กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดบรมนิวาส

23สายตรงศาสนา

ประวัติความเป็นมา

วัดรวกบางบำหรุ ประชาชนเรียกกันว่า “วัดรวก”

เพราะเดิมมีไม้รวกขึ ้นอยู ่ทั ่วไปในบริเวณวัด ประกอบกับ

มีวัดรวกสุทธารามอยู่ทางแขวงบางขุนศรี วัดนี้จึงได้นามว่า

“วัดรวกบางบำหรุ” ต่อท้ายนามวัดด้วยแขวงที่ตั้งวัด วัดนี้

สร้างขึ ้นราว พ.ศ. ๒๒๑๙ โดยพระเจ้าอู ่ทอง เมื ่อคราว

เสด็จหนีโรคระบาดผ่านมาและได้บนไว้ เมื่อปลอดภัยแล้ว

จึงสร้างวัดขึ ้น การบูรณะปฏิสังขรณ์เร ิ ่มขึ ้นเมื ่อพระครู

ธรรมรักขิตเป็นเจ้าอาวาสเรื ่อยมา วัดนี้ได้รับพระราชทาน

วิสุงคารามครั ้งหลังเมื ่อวันที ่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑

เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

สถานที่ตั้ง

วัดรวกบางบำหรุตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๐๓ ถนนจรัญสนิทวงศ์

แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กร ุงเทพมหานคร สังกัด

สงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งโฉนดเลขที่ ๙๓๙ เนื้อที่ ๓๑ ไร่

๒๑ งาน ๕๑๐ ตารางวา (รวมพื้นที่รอบ ๆ ที่ให้เช่าด้วย)

ทิศเหนือยาว ๑๓๐.๓๕ เมตร

ทิศใต้ยาว ๑๐๒.๔๐ เมตร

ทิศตะวันตกยาว ๑๒๗.๖๐ เมตร

ทิศตะวันออกยาว ๑๕๗.๕๐ เมตร

พื้นที่วัดเป็นที่ราบลุ่ม ล้อมรอบด้วยสวนผลไม้ดอกไม้

และบ้านเร ือนราษฎร มีคูระบายน้ำจากวัดไปถึงคลอง

บางบำหรุ

สิ่งสำคัญภายในวัด

พระอุโบสถใหม่ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๐ ทรงไทยหลังคา

ลด ๓ ชั้น มีมุขหน้าหลังกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๓๐.๕๐ เมตร

พระประธานในอุโบสถหลังใหม่ นามว่า “พระพุทธชัยวัฒน์

รัตนมหามุนี” หน้าตักกว้าง ๖๕ นิ้ว สร้างด้วยโลหะลงรัก

ปิดทอง

พระอุโบสถหลังเก่า สร้างมาแต่เดิมสมัยพระเจ้าอู่ทอง

มีภาพเขียนรูปปราสาทที ่ฝาผนัง พระประธานในอุโบสถ

หลังเก่าเป็นพระพุทธรูปศิลาแลงลงรักปิดทองปางมารวิชัย

หน้าตักกว้าง ๕๕ นิ้ว

วัดรวกบางบำหรุ

Page 4: วัดบรมนิวาส · 2015-09-14 · กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดบรมนิวาส

สายตรงศาสนา 2�

วัดประสาทบุญญาวาส

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้าง

แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒

เจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับวัด

ปัจจุบัน พระมุนีอโนมคุณ (ว ิเชียร วชิโร) เป็น

เจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดประสาทบุญญาวาส เดิมชื่อว่า วัดคลองสามแสน

เพราะอยู ่ใกล้คลองสามแสน ซึ ่งปัจจุบันเร ียกว่า คลอง

สามเสน แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดขวิด เนื่องจากบริเวณ

ที ่ต ั ้งของวัดนั ้นเดิมมีต ้นมะขวิดขึ ้นอยู ่ เป ็นจำนวนมาก

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานะและที่ตั้ง

วัดประสาทบุญญาวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ ถนนดาวข่าง

แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๔ ไร่

๓ งาน ๕๕ ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับช่อฟ้า

ใบระกา หางหงส์ หลังคาลด ๓ ชั้น กว้าง ๘ เมตร ยาว

๒๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว สูง ๔๙ นิ้ว เป็นพระประธาน

วิหาร เป ็นอาคารก่ออ ิฐถ ือปูน ประดิษฐาน

หลวงปู ่ทวด ซ ึ ่งเช ื ่อก ันว ่า เคยมาพักปักกลดบร ิเวณ

วัดประสาทบุญญาวาส