บทคัดย่อ -...

31
Vol.4 No. 2 (July - December 2009) Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 87 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและพะเยา : บทสังเคราะห์จากงานวิจัย Local Administrations Image in Chiang Rai and Phayao Provinces :The Synthesis of the Research. เสริมศิริ นิลด�า* บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อค้นพบจากรายงานวิจัยที่ศึกษาสภาพการณ์ของ ภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับรู ้ของประชาชน ทั้งในระดับเทศบาลเมือง เทศบาลตำาบล และองค์การบริหารส่วนตำาบล โดยเป็นการสังเคราะห์งานวิจัยเชิง คุณลักษณะหรือเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านวัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดที่ใช้ในการ วิจัย วิธีวิทยาการวิจัย และผลการวิจัย และ (2) เพื่อสังเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวิจัย เกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการแก้ไขและ พัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสารจาก รายงานการศึกษาอิสระของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีการศึกษา 2552 จำานวน 13 เรื่อง โดยมี พื้นที่ศึกษาคือ จังหวัดเชียงรายและพะเยา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสำารวจจากประชาชนในเขตของ องค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่นนั้นๆ จำานวนกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 363 - 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิง ข้อค้นพบจากผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของ ภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับแรกคือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านผู้บริหาร ส่วนภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้ น้อยที่สุดจากประชาชนคือ ภาพลักษณ์ด้านการบริการ ค�าส�าคัญ : ภาพลักษณ์องค์กร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น * นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2550) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำา โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Upload: others

Post on 26-Dec-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 87

ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและพะเยา

: บทสังเคราะห์จากงานวิจัย

Local Administrations Image in Chiang Rai and Phayao

Provinces :The Synthesis of the Research.

เสริมศิริ นิลด�า*

บทคัดย่อ

งานวจิยันีเ้ป็นการสงัเคราะห์ข้อค้นพบจากรายงานวจิยัทีศ่กึษาสภาพการณ์ของภาพลกัษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ในการรบัรูข้องประชาชนทัง้ในระดบัเทศบาลเมอืงเทศบาลตำาบล และองค์การบริหารส่วนตำาบล โดยเป็นการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคณุลกัษณะหรอืเชงิบรรยายมวีตัถปุระสงค์คอื(1)เพือ่ศกึษางานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านวัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย วิธีวิทยาการวิจัย และผลการวิจัย และ (2) เพื่อสังเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสารจากรายงานการศึกษาอิสระของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายปีการศึกษา2552จำานวน13เรื่องโดยมีพื้นที่ศึกษาคือจังหวัดเชียงรายและพะเยา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสำารวจจากประชาชนในเขตขององค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่นนั้นๆ จำานวนกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 363 - 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถติเิชงิพรรณนาและสถติเิชงิอ้างองิข้อค้นพบจากผลการศกึษาพบว่าองค์ประกอบของภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับแรกคือ ด้านบุคลากรรองลงมาคือ ด้านผู้บริหาร ส่วนภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดจากประชาชนคือภาพลักษณ์ด้านการบริการ

ค�าส�าคัญ :ภาพลักษณ์องค์กร,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

*นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต(นิเทศศาสตร์)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(2550)ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำา

โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Page 2: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย88

Abstract

Theresearchwasthesynthesisofthefindingsontheresearchof

the status of local administrations image in Chiang Rai and Phayao

Provinces under people perception in Muang Municipality, District

MunicipalityandSub-districtMunicipality.Thisqualitativesynthesisstudy

aimedto(1)studytheimageoflocaladministrationsintermsofresearch’s

objectives,conceptualframework,andfindingsand(2)tosynthesizethe

findingsontheimageoflocaladministrationsandtofindsuggestionsand

developtheimageoflocaladministrations.Theresearchwasstudiedusing

documentary research from 13 of independent studies in Business

Administration Master Degree of Chiang Rai Rajabhat University in

academicyearof2009andbasedontheareaofChiangRaiandPhayao

Provinces.

Theresultsofthestudyindicatedthattheresearchmethodwas

usedasurveyresearchfrom363-400samples.Theinstrumentwasused

byquestionnaireandanalyzedbydescriptiveandinferentialstatistics.The

findings on the image of local administrations showed that the people

acknowledgedthemosttwoelements;personnelandtheadministrators,

inrespectively.Inaddition,theimageoflocaladministrationsintermsof

servicewasacknowledgedtheleast.

Keywords:OrganizationalImage,LocalAdministration

บทน�า การปกครองท้องถิ่นเป็นหัวใจและรากฐานของการปกครองในระบอบ

ประชาธปิไตยเพราะเป็นรปูแบบการปกครองในลกัษณะการกระจายอำานาจจากส่วนกลาง

ไปให้ท้องถิน่ดำาเนนิการซึง่มคีวามสำาคญัและจำาเป็นอย่างยิง่ต่อการพฒันาชมุชนกล่าวคอื

เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมส่ีวนร่วมในการบรหิารท้องถิน่ของตนเองอย่างเป็นอสิระ

ตามวถิทีางประชาธปิไตยเป็นการยอมรบัในคณุค่าศกัดิศ์รีและความสำาคญัของประชาชน

Page 3: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 89

ต่อการมส่ีวนร่วมในการปกครองตนเองเนือ่งจากมคีวามเชือ่ว่าประชาชนเจ้าของท้องถิน่

นั้นย่อมมีความรักความหวงแหนและความผูกพันในท้องถิ่นภูมิลำาเนาของตนเองย่อม

ต้องการมีส่วนร่วมในการกำาหนดวิถีชีวิตของ ตนเองและประชาคมให้เป็นทิศทางที่

ปรารถนาอนัเป็นสทิธอินัชอบธรรมของประชาชนในระบอบประชาธปิไตยจากเจตนารมณ์

ดังกล่าวจึงมีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ อาทิ องค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตำาบลเทศบาลฯลฯ

เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติสภาเทศบาล พ.ศ.

2496กำาหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงมีบทบาทอำานาจหน้าที่อย่างกว้างขวางความ

เป็นอิสระใน การปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน ขณะที่องค์การบริหาร

ส่วนตำาบลถูกจัดตั้งขึ้นโดยการปรับฐานะการบริหารราชการในระดับตำาบลจากสภาตำาบล

เป็นองค์การบริหารส่วนตำาบล(อบต.)ตามพระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหาร

ส่วนตำาบลพ.ศ.2537มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำานาจหน้าที่ในการพัฒนาตำาบลในด้าน

เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายแต่มีความเป็นอิสระในการ

กำาหนดนโยบาย การปกครอง การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง เพื่อแก้ไข

ปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มีรายได้ งบประมาณเป็น

ของตนเอง และอำานาจหน้าที่ในการพัฒนาตำาบลเพื่อความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน

(บัญญัติพุ่มพันธ์,2546:61)องค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้

มบีทบาทหน้าทีใ่นการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิน่

ของตนเองตลอดจนสนองนโยบายแห่งรัฐแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบริหารประเทศ

และการนำาทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่รปูแบบต่างๆจงึมคีวามสำาคญัอย่างยิง่ต่อการดำารง

ชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่ต้องมุ่งดำาเนินงานตามหลักกฎหมายและเจตนารมณ์ของ

รฐัธรรมนญูโดยยดึผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำาคญัอย่างไรกต็ามแม้องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นต่างๆ จะมีอำานาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาและ

พัฒนาท้องถิ่นตามกฎหมายแต่ความสำาเร็จราบรื่นในการดำาเนินงานจะเกิดขึ้นไม่ได้หาก

ปราศจากความเชื่อถือ ความนิยมชมชอบความไว้วางใจ และการเข้ามามีส่วนร่วมของ

ภาคประชาชน ทั้งนี้ การที่ประชาชนจะเกิดทัศนคติในทางบวกหรือเกิดความเชื่อถือไว้

วางใจในองค์กรปกครองท้องถิน่ได้นัน้โดยทัว่ไปแล้วพบว่ามาจากการรบัรูข้องประชาชน

ต่อภาพลักษณ์(Image)ขององค์กรแห่งนั้นๆ

Page 4: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย90

ClaudeRobinsonและWalterBarlowได้ให้ทศันะเกีย่วกบัคำาว่าภาพลกัษณ์

หมายถงึภาพทีเ่กดิขึน้ในจติใจซึง่บคุคลมคีวามรูส้กึนกึคดิต่อองค์การสถาบนัภาพในใจ

ดงักล่าวของบคุคลนัน้ๆ อาจจะได้มาจากทัง้ประสบการณ์ทางตรง(directexperience)

และประสบการณ์ทางอ้อม(indirectexperience)ของตัวเขาเช่นได้พบประสบมาด้วย

ตนเองหรอืได้ยนิได้ฟังมาจากคำาบอกเล่าของผูอ้ืน่เพือ่นฝงูญาตมิติรหรอืจากกติตศิพัท์

เล่าลือต่างๆนานาเป็นต้น(วิรัชอภิรัตนกุล,2544:77)จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้

ว่า ภาพลักษณ์องค์กรเป็นการรับรู้ที่ถูกสั่งสมจากการที่ฝ่ายประชาชนผู้รับข่าวสารมี

ปฏิสัมพันธ์กับองค์กรและสิ่งที่ได้รับรู้นั้นอาจเป็นสิ่งที่องค์กรเจตนาจะสื่อสารหรือไม่ก็ได้

ภาพลกัษณ์จงึมคีวามสำาคญัสำาหรบัทกุองค์กรเป็นอย่างยิง่โดยเฉพาะภาพลกัษณ์

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับระดับความสำาเร็จในการ

ดำาเนินงานบริหารจัดการในพื้นที่ โดยภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะ

นำาไปสู่การเกิดทัศนคติทางบวกและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนใน

พื้นที่ นำาไปสู่ความราบรื่นในการบริหารจัดการและผลประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน ซึ่ง

จากการสำารวจแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยในเอกสารตำาราต่างๆ อาจประมวลได้ว่า

องค์ประกอบสำาคัญที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่

ด้านผู้บริหารด้านบุคลากรด้านการจัดการงบประมาณด้านการบริการด้านการมีส่วน

ร่วมของประชาชนด้านพืน้ทีใ่ห้บรกิารและอาคารสถานที่ฯลฯซึง่จากการสำารวจงานวจิยั

ที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า มีการศึกษาไว้จำานวนหนึ่ง

เพื่อให้งานวิจัยดังกล่าวมีประโยชน์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับ

ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นรายงานการศึกษาอิสระในหลักสูตร

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในช่วงปี

พ.ศ. 2552 เพื่อศึกษาว่างานวิจัยเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดที่ใช้ใน

การวิจัยวิธีวิทยาการวิจัยและผลการวิจัยเป็นอย่างไรและเพื่อสังเคราะห์ว่างานวิจัยเหล่า

นัน้มข้ีอค้นพบเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่อย่างไรบ้างตลอดจน

เสนอแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจาก

รายงานการวิจัยต่างๆ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน

ด้านวัตถุประสงค์การวิจัยกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยวิธีวิทยาการวิจัยและผลการวิจัย

Page 5: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 91

2.เพือ่สงัเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

การทบทวนวรรณกรรม บทความนี้มุ่งเน้นการสังเคราะห์รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพ

ลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและพะเยา จากงาน

วิจัยของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ได้ประมวลแนวคิดและงานวิจัยที่

เกี่ยวข้องดังนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์งานวิจัย

นงลกัษณ์วริชัชยั(2542)ให้ความหมายว่าการสงัเคราะห์งานวจิยั(research

synthesis)หรอืการปรทิศัน์งานวจิยั(researchreview)เป็นระเบยีบวธิกีารศกึษาตาม

ระเบยีบวธิทีางวทิยาศาสตร์เพือ่ตอบปัญหาวจิยัเรือ่งใดเรือ่งหนึง่โดยการรวบรวมงานวจิยั

เกี่ยวกับปัญหานั้นๆมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ หรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

เชิงคุณภาพและนำาเสนอข้อสรุปอย่างมีระบบให้ได้คำาตอบปัญหาวิจัยที่ต้องการ

สนุาณสโุหลง(2545)ให้ความหมายของการสงัเคราะห์งานวจิยัสรปุได้ว่าการ

สงัเคราะห์งานวจิยัเป็นการนำาหน่วยย่อยๆหรอืส่วนต่างๆของผลการวจิยัทีเ่ป็นข้อความรูจ้าก

งานวจิยัหลายๆเรือ่งทีศ่กึษาปัญหาเดยีวกนัหรอืใกล้เคยีงกนัทัง้ทีเ่ป็นข้อความรูท้ีส่อดคล้อง

กันหรือขัดแย้งกันมาสังเคราะห์อย่างมีระบบ และนำามาบรรยายสรุปรวมกัน ให้เป็นเรื่อง

เดยีวกนัจนเกดิเป็นองค์ความรูใ้หม่และเป็นข้อสรปุของปัญหานัน้ๆอย่างชดัเจน

จากความหมายต่างๆข้างต้นสามารถสรปุความหมายของการสงัเคราะห์งานวจิยั

ได้ดังนี้ การสังเคราะห์งานวิจัย หมายถึง การรวบรวมงานวิจัยหลายๆเรื่อง มาศึกษา

วเิคราะห์ด้วยวธิกีารทางสถติิหรอืวธิกีารเชงิคณุภาพและนำาเสนอข้อสรปุอย่างเป็นระบบ

เพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่และเป็นคำาตอบของปัญหาวิจัยที่ต้องการ

การสังเคราะห์งานวิจัยสามารถจำาแนกได้2ประเภทได้แก่(1)การสังเคราะห์

เชงิคณุลกัษณะหรอืเชงิบรรยาย(qualitativesynthesis)ได้แก่การอ่านรายงานการวจิยั

แล้วนำามาสรปุเข้าด้วยกนัและ(2)การสงัเคราะห์เชงิปรมิาณ(quantitativesynthesis)

เป็นการวเิคราะห์ตวัเลขหรอืค่าสถติทิีป่รากฏในงานวจิยัทัง้หลายการสงัเคราะห์เชงิปรมิาณ

จงึเป็นการวเิคราะห์ผลวเิคราะห์(analysisofanalysis)หรอืการวเิคราะห์เชงิผสมผสาน

(integrativeanalysis)หรอืการวจิยังานวจิยั(researchofresearch)(อทุมุพรจามร

มาน,2531)

Page 6: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย92

ทั้งนี้ การวิจัยนี้จะใช้การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณลักษณะหรือเชิงบรรยายซึ่ง

จะใช้หลักการสรุปย่อรายงานวิจัยที่นำามาสังเคราะห์แต่ละเรื่อง จากนั้นจะพิจารณาเปรียบ

เทียบผลการวิจัยแต่ละเรื่องว่ามีส่วนเหมือน หรือต่างกันอย่างไร แล้ววิเคราะห์ว่าความ

แตกต่างของผลการวิจัยระหว่างงานวิจัยแต่ละเรื่องนั้นเป็นเพราะงานวิจัยนั้นมีลักษณะ

ต่างกันอย่างไรโดยกำาหนดประเด็นว่าจะพิจารณาจากคุณลักษณะของตัวแปรในงานวิจัย

ในการสังเคราะห์

2. แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อ

องค์กรปกครองท้องถิ่น

เนื่องจากงานวิจัยนี้มุ ่งสังเคราะห์รายงานการวิจัยที่ศึกษาภาพลักษณ์ของ

ประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีสาระสำาคัญของแนวคิดและงานวิจัยที่

เกี่ยวข้องดังนี้

2.1แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์

แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ส่วนใหญ่ให้ความหมายสอดคล้องกันว่า

ภาพลักษณ์หมายถึงภาพที่เกิดขึ้นภายในจิตใจซึ่งบุคคลมีความรู้สึกนึกคิดต่อองค์กร

หรือสถาบันนั้นๆ(อำานวยวีระวรรณ,2540:90;พรทิพย์ฃวรกิจโภคาทร,2540

:51)การรบัรูภ้าพลกัษณ์อาจได้มาจากประสบการณ์ทัง้ทางตรงและทางอ้อมของบคุคล

(อำานวยวีระวรรณ,อ้างแล้ว:90)ภาพลักษณ์ที่บุคคลหรือประชาชนมีต่อองค์กรหรือ

สถาบันจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับหรือมี

ปฏิสัมพันธ์ด้วย

ทั้งนี้หน่วยงานสถาบันหรือบุคคลใดก็ตามหากมีภาพลักษณ์เป็น

ไปในทางทีเ่สือ่มเสยีแล้วย่อมไม่ได้รบัความเชือ่ถอืหรอืไว้วางใจจากประชาชนประชาชน

จะระแวงสงสัยหรือเกลียดชังหน่วยงานหรือบุคคลนั้น และไม่ให้ความร่วมมือสนับสนุน

แต่ในทางตรงกันข้ามหากหน่วยงาน สถาบัน หรือบุคคลใดมีภาพลักษณ์ที่ดี ภาพที่

เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนย่อมเป็นภาพที่ดีมีความน่าเชื่อถือน่าศรัทธาน่าไว้วางใจ

(นิธีสตะเวทิน,2542:60)ดังนั้นภาพลักษณ์จึงมีความสำาคัญเป็นอย่างมากต่อองค์กร

หรอืสถาบนัในสงัคมทางด้านช่วยเสรมิสร้างความสำาเรจ็ให้เกดิขึน้แก่กจิการต่างๆได้เป็น

อย่างดี

2.2แนวคิดเกี่ยวกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สุเทพพงศ์ศรีวัฒน์(2544:4)ได้ให้ความหมายว่าผู้นำาคือบุคคล

Page 7: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 93

ที่ได้รับมอบหมายซึ่งอาจโดยการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งและเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของ

กลุ่มรวมพลังเพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆของกลุ่มให้สำาเร็จในที่นี้ผู้บริหารองค์กรปกครอง

ท้องถิน่ถอืเป็นผูน้ำาขององค์กรซึง่มทีีม่าแตกต่างจากหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชน

ประเภทอื่นๆ คือ มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตามวิธีการของระบอบ

ประชาธปิไตยเพือ่เป็นตวัแทนให้กบัประชาชนในการบรหิารงานตามนโยบายทีไ่ด้แถลงไว้

คุณลักษณะของผู้บริหารที่สำาคัญซึ่งจะส่งผลต่อความสำาเร็จในการ

บริหารจัดการและภาพลักษณ์ขององค์กร โดยทั่วไปประกอบด้วย (1) คุณลักษณะของ

ผู้นำาด้านความรู้ความสามารถอาทิความมีพลังและความทะเยอทะยาน(Energyand

ambition)ความปรารถนาทีจ่ะนำาผูอ้ืน่(Thedesiretolead)ความซือ่สตัย์มจีรยิธรรม

ยึดมั่นหลักการ(Honestyandintegrity)ความเชื่อมั่นตนเอง(Self–confidence)

ความเฉลียวฉลาด(Intelligence)ความรอบรู้ในงาน(Job–relevantknowledge)

ฯลฯ(จรัสสุทธิกุลบุตร,2550:215)และ(2)ด้านคุณธรรมหมายถึงการยึดมั่น

ความถูกต้องดีงามส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความซื่อสัตย์

จริงใจขยันอดทนมีระเบียบวินัยประกอบอาชีพสุจริต(ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีพ.ศ.2542)

ผูบ้รหิารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่เป็นองค์ประกอบสำาคญัของการ

รับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรซึ่งทำาหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆขององค์กรนั้นรวมถึง

การสร้างกจิกรรมหรอืนโยบายใหม่ทีส่ร้างสรรค์เพือ่การพฒันาในทกุด้านของท้องถิน่นัน้ๆ

ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นจึงต้องมีคุณสมบัติของผู้นำาการเมืองและความสามารถ

ในเชิงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการด้วย คุณลักษณะเหล่านี้จะถูกรับรู ้ในสายตาของ

ประชาชนและเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กร

2.3แนวคิดเกี่ยวกับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บคุลากรขององค์กรเป็นองค์ประกอบสำาคญัทีส่่งผลต่อภาพลกัษณ์ของ

องค์กร ในที่นี้ หมายถึง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วบุคลากรในสายงานบริการต้องถูกคัดสรรจากผู้ที่มีคุณสมบัติ

เหมาะสมกับสายงาน มีความรู้ความสามารถในการทำางาน รู้เท่าทันเหตุการณ์ข่าวสาร

ในท้องถิ่นมีมนุษยสัมพันธ์ดีมีพฤติกรรมเหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่ปฏิบัติงานด้วย

ความซือ่สตัย์สจุรติมคีวามตัง้ใจทำางานเพือ่ส่วนรวมมคีวามขยนัและกระตอืรอืร้นในการ

ทำางาน(พนัสหันนาคินทร์,2542:21)ตลอดจนพฤติกรรมส่วนบุคคลบุคลิกภาพ

เหล่านี้มีส่วนในการสะท้อนความมีประสิทธิภาพของบุคลากรและการบริหารจัดการที่มี

Page 8: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย94

ระบบตลอดจนมีบทบาทมากในการที่จะสร้างความประทับใจหรือภาพลักษณ์ต่างๆต่อ

องค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งนั้นๆ

2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ 2 ทาง คือ

งบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนจัดสรรจากรัฐบาลและจากการจัดเก็บภาษีต่างๆในพื้นที่

เช่น เงินภาษีบำารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ไพรัช ตระการศิรินนท์, 2548 :

152-154) งบประมาณดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่จะทำาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สามารถนำาไปบริหารจัดการและจัดทำาโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมตามลำาดับ

ความสำาคัญของปัญหา

อย่างไรกต็ามเนือ่งจากงบประมาณดงักล่าวล้วนมทีีม่าจากเงนิภาษขีอง

ประชาชน ดังนั้นการบริหารจัดการด้านงบประมาณจึงต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

คือ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และดำาเนินไปเพื่อประโยชน์สุขของสังคม (บัญญัติ

พุ่มพันธ์,อ้างแล้ว)ทั้งนี้ความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา

และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผล

ต่อภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยเช่นกัน

2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องเอาใจใส่

ให้บรกิารแก่ประชาชนในพืน้ที่โดยจะเกีย่วข้องกบัการรบัชำาระภาษีได้แก่ภาษบีำารงุท้องที่

ภาษป้ีายภาษโีรงเรอืนฯลฯขณะเดยีวกนัยงัต้องมหีน้าทีแ่ก้ไขปัญหาแก่ชมุชนโดยปัญหา

ต่างๆจะสะท้อนหรอืส่งผ่านมาทางประชาคมหมูบ้่านเช่นปัญหาการจดัเกบ็ภาษีปัญหา

ด้านสาธารณูปโภค ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ ฯลฯ บุคลากรขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นจึงมีหน้าที่ให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์และนำาเสนอปัญหาสู่ผู้บริหารให้มีหน้าที่

จัดการแก้ไขภาระหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นลักษณะของการให้บริการสาธารณะ

การให้บรกิารสาธารณะจงึถอืเป็นหวัใจสำาคญัทีจ่ะส่งผลภาพลกัษณ์ของ

องค์กรดังที่หัทกาญจน์อดุลถิรเขตต์(2548:22)กล่าวว่าการให้บริการขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการให้บริการที่เป็นสาธารณะและลักษณะการดำาเนินงานโดย

ระบบราชการมุง่ประโยชน์สขุและสวสัดภิาพของประชาชนเป็นสำาคญัเช่นการให้บรกิาร

Page 9: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 95

ด้านสาธารณสขุโดยการแจกทรายอะเบทในการกำาจดัลกูนำา้ยงุลายอย่างทัว่ถงึการให้เงนิ

สวสัดกิารเบีย้ยงัชพีผูส้งูอายุผูพ้กิารผูต้ดิเชือ้การส่งเสรมิกลุม่อาชพีผลติสนิค้าออกขาย

ภายในหมู่บ้านเพื่อก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นฯลฯการให้บริการด้วยความเสมอภาคและ

ยุติธรรม อย่างทันเวลาตามลักษณะความจำาเป็นเร่งด่วนและความต้องการของผู้มารอ

รับบริการสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อทิศทางของภาพลักษณ์องค์กร

2.6แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการและอาคารสถานที่

พืน้ทีใ่ห้บรกิารและอาคารสถานทีเ่ป็นองค์ประกอบหนึง่ทีส่่งผลต่อภาพ

ลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากต้องมีหน้าที่ให้บริการด้านการชำาระภาษี

แก่ประชาชนดงันัน้จงึต้องมกีารจดัเตรยีมพืน้ทีใ่ห้เอือ้ต่อประชาชนทีเ่ข้ามาตดิต่อราชการ

สะดวกต่อการติดต่อประสานงานของประชาชน(อรรจน์ สีหะอำาไพ,2546:1)จาก

การประมวลแนวคิดพบว่า พื้นที่ให้บริการประชาชนควรมีการแบ่งส่วนงานเป็นสัดส่วน

ติดต่อได้ง่ายจัดทำาป้ายแสดงขั้นตอนในการให้บริการอย่างชัดเจนในด้านอาคารสถานที่

ควรมกีารจดัสภาพแวดล้อมให้มคีวามสะอาดมบีรรยากาศทีร่่มรืน่มคีวามปลอดภยัของ

ตัวอาคารมีที่จอดรถบริการสำาหรับประชาชนที่มาติดต่อฯลฯปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลที่

ดก่ีอให้เกดิความประทบัใจและชืน่ชมต่อการดแูลจดัการอาคารสถานทีข่ององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น สามารถนำาไปสู่ทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แห่งนั้นได้

2.7แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในการบรหิารราชการเพือ่ประโยชน์สขุของประชาชนตามรฐัธรรมนญู

แห่งราชอาณาไทยพ.ศ.2540 ให้ความสำาคัญต่อการบริหารราชการอย่างโปร่งใส สุจริต

เปิดเผยข้อมลูโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามส่ีวนร่วมในการกำาหนดนโยบาย

สาธารณะการตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐในทุกระดับ

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจึงมีความสำาคัญต่อการบริหารงานขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการที่ประชาชนจะต้องมีอิสระในทาง

ความคดิมคีวามรู้ความสามารถในการกระทำาและมคีวามเตม็ใจทีจ่ะเข้าร่วมกจิกรรมนัน้ๆ

โดยที่การมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องมีลักษณะการเข้าร่วมอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้น

จนถงึทีส่ดุคอืเริม่ตัง้แต่การเกดิจติสำานกึในตนเองและถอืเป็นภาระหน้าทีข่องตนร่วมคดิ

ร่วมวางแผนงาน ร่วมดำาเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์ (อรทัย

ก๊กผล,2548:32)ถ้าองค์กรเหน็คณุค่าของการมส่ีวนร่วมของประชาชนและประชาชน

Page 10: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย96

ได้มกีารเข้าร่วมกจิกรรมกบัองค์กรอย่างแท้จรงิส่งผลให้การดำาเนนิงานตามโครงการต่างๆ

ตรงกบัความต้องการของประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาในพืน้ทีไ่ด้อย่างประสทิธภิาพ

การเปิดโอกาสให้เกดิการมส่ีวนร่วมอาจอยูใ่นรปูแบบของการสะท้อน

ปัญหาตรวจสอบการทำางานและการดำาเนินกิจกรรมขององค์กรเช่นการเข้าร่วมประชุม

สภา การเข้าร่วมการประชุมประชาคม การได้แสดงความคิดเห็นในการจัดทำาโครงการ

ต่างๆการร่วมเป็นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงาน

จ้างฯลฯ(ชูชาติพ่วงสมจิตร์,2540:12)กิจกรรมเหล่านี้มุ่งเน้นให้ประชาชนได้รับรู้

ข้อมลูข่าวสารและความเคลือ่นไหวในการดำาเนนิงานตลอดจนเป็นการแสดงความโปร่งใส

ในการบรหิารงานทำาให้ประชาชนไว้เนือ้เชือ่ใจเกดิความภมูใิจในการมส่ีวนของตนเองใน

การร่วมกจิกรรมกบัองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ตลอดจนเกดิความไว้วางใจในการทำางาน

ย่อมเป็นส่วนหล่อหลอมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรต่อไป

2.8 แนวคิดที่สัมพันธ์กับนโยบายการบริหารขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

ผูน้ำาและผูบ้รหิารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่มทีีม่าจากการลงคะแนน

เสียงเลือกตั้งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย มีวาระการดำารงตำาแหน่งคราวละ

4ปีซึ่งผู้บริหารแต่ละชุดย่อมมีการเน้นยำ้านโยบายสำาคัญเร่งด่วนที่ตนเองจะยึดเป็นหลัก

ในการบริหารงานและดำาเนินโครงการ อาทิ การจัดการศึกษาในพื้นที่ การส่งเสริม

การเกษตรการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี

ท้องถิ่นฯลฯโดยแต่ละส่วนมีแนวคิดดังนี้

2.8.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ในการดำาเนินโครงการ

ต่างๆเพือ่ส่งเสรมิคณุภาพชวีติและแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิน่ด้วยการส่งเสรมิ

การศึกษารูปแบบต่างๆทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม

อัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนสามารถนำาความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาบุคคล ครอบครัว ชุมชน

องค์กรชมุชนและส่งเสรมิความเข้มแขง็ของชมุชนอนัจะนำาไปสูเ่ป้าหมายทีส่ำาคญัของการ

จัดการศึกษาท้องถิ่นคือการสร้างคนสร้างชุมชนและสร้างชาติ(เกษมวัฒนชัย,2551

:13)การส่งเสริมโครงการต่างๆที่พัฒนาการเรียนรู้ของประชาชนทุกระดับในพื้นที่ย่อม

ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.8.2แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตร

Page 11: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 97

นอกจากนีภ้าพลกัษณ์ของประชาชนองค์การบรหิารส่วนตำาบลยงัอาจ

มาจากการดำาเนิน โครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนภาคการเกษตร ซึ่งเป็น

อาชีพที่สำาคัญของประชาชนในพื้นที่ โดยต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกร

ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความรู้ความเข้าใจ

มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพมีนักวิชาการทางการเกษตร เข้ามาให้คำาปรึกษาแนะนำา และให้

ความรู้ทางการเกษตรด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า

ทางการเกษตรให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทำาให้

ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้น (ชัยชาญ วงศ์สามัญ, 2543 : 51) ส่งผลให้

ภาพลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำาบลในสายตาประชาชนเป็นไปในทางบวกมากขึ้น

2.8.3แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว

ชุมชนแต่ละแหล่งล้วนมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่สามารถ

จัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ อาทิเช่น นำ้าตก ภูเขา ถำ้า อ่างเก็บนำา้ ฯลฯ เนื่องจาก

แหล่งท่องเทีย่วนีช้มุชนไม่ต้องลงทนุเพยีงแต่มกีารบรหิารจดัการในแหล่งท่องเทีย่วอย่าง

เป็นระบบและปลอดภัยก็จะส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนกลายเป็นแหล่งพักผ่อน

หย่อนใจและก่อเกิดรายได้ของชุมชนในเวลาเดียวกัน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานสำาคัญที่มีบทบาทหน้าที่

ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการ

ปรบัปรงุและพฒันาส่งเสรมิสถานทีท่่องเทีย่วในเรือ่งการเดนิทางสะดวกปลอดภยัสะอาด

และสวยงามรวมถงึมสีิง่อำานวยความสะดวกครบถ้วนและส่งเสรมิแหล่งท่องเทีย่วให้เป็น

ที่นิยมมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทำาให้ปริมาณการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเป็น

แหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนก่อให้เกิดรายได้จากการขายสินค้าและบริการ

ย่อมส่งผลให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความประทับใจและเกิด

ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.8.4แนวคดิเกีย่วกบัการอนรุกัษ์และส่งเสรมิวฒันธรรมประเพณท้ีองถิน่

นอกจากบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเกี่ยวข้อง

กับการให้บริการและแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้ว ยังต้องมีบทบาทในการสร้างเสริมความ

ภาคภูมิใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชุมชนโดยการการกระตุ้นให้ท้องถิ่น

เหน็ถงึความสำาคญัของการมส่ีวนร่วมในการดำาเนนิงานหรอืกจิกรรมอนัจะเป็นการเผยแพร่

สืบสาน อนุรักษ์และพัฒนาท้องถิ่นให้ยังคงดำารงอยู่อย่างยั่งยืนท่ามกลางกระแสการ

เปลี่ยนแปลงของโลกและก่อประโยชน์ให้กับท้องถิ่น

Page 12: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย98

องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่บางแห่งจงึมกีารชนูโยบายในการอนรุกัษ์

วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนจะเป็นวัฒนธรรมล้านนา

รวมทัง้วฒันธรรมชาวไทยภเูขาชนเผ่าต่างๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่จงึต้องมบีทบาท

ในการให้การส่งเสรมิและอนรุกัษ์วฒันธรรมประเพณท้ีองถิน่เหล่านีด้้วยการส่งเสรมิการจดั

กจิกรรมต่างๆการให้ความรูท้ีถ่กูต้องเกีย่วกบัวฒันธรรมประเพณีเพือ่สร้างความพงึพอใจ

และความภาคภูมิใจแก่ชุมชน ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นได้เช่นกัน

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการทบทวนงานวจิยัทีเ่กีย่วข้องกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรพบว่ามกีารศกึษา

วิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ในบริบทต่างๆเช่น

- บริบททางการศึกษา ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรสถาบัน

การศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา อาทิ ด้านหลักสูตรการสอน

คณาจารย์นักศึกษาคุณภาพบัณฑิตฯลฯ

- บริบทขององค์กรเอกชน ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กร

สายการบิน บริษัทประกันภัย ธนาคาร องค์การสหประชาชาติ สำานักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำานักงานคณะกรรมการกำากับหลักทรัพย์และ

ตลาดหลักทรัพย์

- บริบทขององค์กรราชการและองค์กรทางการเมืองได้แก่งานวิจัยเกี่ยวกับภาพ

ลักษณ์ขององค์กรตำารวจ กองทัพ พรรคการเมือง สำานักอัยการสูงสุด ศาล

ปกครองโรงพยาบาล

นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ อาทิ

คุณลักษณะต่างๆของผู้นำาองค์กรและบุคลากรที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์บทบาทของผู้นำา

ที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ปัญหาในองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ฯลฯ

ระเบียบวิธีศึกษา งานวิจัยนี้เป็นลักษณะการวิจัยเอกสาร(DocumentaryResearch)ประชากร

ในการวิจัยได้แก่ รายงานการศึกษาอิสระของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ศึกษาไว้ในปีการศึกษา2552

จำานวน13 เรื่อง โดยมีพื้นที่ศึกษาคือ จังหวัดเชียงรายและพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการ

Page 13: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 99

วิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลโดยดำาเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้

1.อ่านและจดบันทึกงานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะการวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับ

วตัถปุระสงค์การวจิยักรอบแนวคดิและทฤษฎทีีใ่ช้ในการวจิยัการออกแบบวธิดีำาเนนิการ

วิจัยและผลการวิจัยโดยพิจารณาจากตัวรายงานวิจัย

2. วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้ได้ข้อสรุปตามหลักการสังเคราะห์งานวิจัย และสรุป

ผลการสังเคราะห์

3.สรุปรายงานผลการสังเคราะห์อภิปรายผลและให้ข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบ

ผลการศึกษาดังนี้

1. วตัถปุระสงค์การวจิยั กรอบแนวคดิทีใ่ช้ในการวจิยั วธิวีทิยาการวจิยัและ

ผลการวิจัยในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.1วัตถุประสงค์การวิจัย ในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้อง

ถิ่นในจังหวัดเชียงรายและพะเยาจำานวน13เรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพ

ลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็นองค์การบริหารส่วน

ตำาบลเทศบาลเมอืงและเทศบาลตำาบลโดยมุง่เปรยีบเทยีบองค์ประกอบทีส่่งผลต่อการรบั

รู้ภาพลักษณ์องค์กรในด้านต่างๆ ได้แก่ด้านผู้บริหารด้านบุคลากรด้านการจัดการงบ

ประมาณด้านการบริการด้านพื้นที่ให้บริการและอาคารสถานที่ด้านการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนด้านการส่งเสริมการศึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรและ

ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีโดยงานวิจัยแต่ละชิ้น

จะศกึษาองค์ประกอบทีส่่งผลต่อภาพลกัษณ์5องค์ประกอบขึน้อยูก่บัลกัษณะเฉพาะของ

พื้นที่การปกครองท้องถิ่นที่ศึกษา

งานวิจัยดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรของ

ประชาชนในด้านต่างๆได้แก่เพศช่วงอายุระดับการศึกษากลุ่มอาชีพและรายได้ว่า

ส่งผลทำาให้การรบัรูภ้าพลกัษณ์ของประชาชนทีม่ต่ีอองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่แตกต่าง

กันหรือไม่

Page 14: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย100

1.2 กรอบแนวคิดที่ใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้อง

ถิ่นประมวลแนวคิดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวแปรที่ศึกษาในแต่ละงานวิจัยประกอบด้วย

แนวคดิเกีย่วกบัการรบัรูภ้าพลกัษณ์แนวคดิเกีย่วกบัผูบ้รหิารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

แนวคิดเกี่ยวกับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงบ

ประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่แนวคดิเกีย่วกบัพืน้ทีใ่ห้บรกิารแนวคดิเกีย่วกบัอาคารสถาน

ที่ แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตร

แนวคดิเกีย่วกบัการบรหิารจดัการพืน้ทีท่่องเทีย่วแนวคดิเกีย่วกบัการอนรุกัษ์และส่งเสรมิ

วัฒนธรรมประเพณีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่

1.3 วิธีวิทยาการวิจัยในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยทั้งหมดใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการ

สำารวจ(SurveyResearch)จากกลุม่ตวัอย่างทีเ่ป็นประชาชนในเขตขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นนั้นๆจำานวนกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง363-400คนเครื่องมือที่ใช้ในการ

เกบ็รวบรวมข้อมลูได้แก่แบบสอบถามมกีารวเิคราะห์ข้อมลูโดยสถติเิชงิพรรณนาได้แก่

ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอ้างอิงได้แก่

การทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง (IndependentSample t – test)และการ

เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

(One-wayANOVA)แล้วนำาเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง

1.4ผลการวจิยัในงานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ในภาพรวมของผลการวิจัยพบว่างานวิจัยแต่ละเรื่องมีการศึกษาองค์ประกอบ

ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า

กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับมาก เมื่อพิจารณาจาก

ค่าเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบพบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านบคุลากรมากเป็นอนัดบัแรกจำานวน5เรือ่งด้านผูบ้รหิาร

จำานวน4เรือ่งด้านพืน้ทีใ่ห้บรกิารและอาคารสถานที่จำานวน2เรือ่งและด้านการอนรุกัษ์

ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีจำานวน2เรื่อง

Page 15: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 101

ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับที่2ได้แก่

ภาพลักษณ์ในด้านผู้บริหารมีจำานวน5เรื่องด้านบุคลากรจำานวน3เรื่องส่วนด้านการ

จดัการงบประมาณด้านการบรกิารด้านการมส่ีวนร่วมของประชาชนด้านนโยบายในการ

พัฒนาพื้นที่และด้านการอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีจำานวนอย่างละ1เรื่อง

ขณะที่ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ 3

ได้แก่ภาพลักษณ์ด้านบุคลากรจำานวน4เรื่องด้านผู้บริหารด้านการจัดการงบประมาณ

และด้านการให้บริการจำานวนเท่ากันคือ 2 เรื่อง ส่วนด้านพื้นที่ให้บริการ ด้านการมี

ส่วนร่วมของประชาชนและด้านการส่งเสริมการศึกษาจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ส่วนภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู ้น ้อยที่สุดคือ

ภาพลักษณ์ด้านการบริการจำานวน5เรื่องด้านการจัดการงบประมาณจำานวน4เรื่อง

ด้านผู้บริหาร จำานวน 2 เรื่อง และด้านการส่งเสริมการเกษตรและด้านการส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

เมื่อแยกพิจารณาองค์ประกอบของภาพลักษณ์ในแต่ละด้านพบผลการศึกษาใน

ภาพรวมดังนี้

1.4.1ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านผู้บริหาร

ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติและคุณลักษณะต่างๆ ของผู้บริหารส่งผลทำาให้

รบัรูภ้าพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่แตกต่างกนัโดยภาพลกัษณ์ด้านผูบ้รหิาร

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับที่1คือด้านความมีมนุษยสัมพันธ์

จำานวน5เรือ่งความรูเ้ท่าทนัเหตกุารณ์ข่าวสารในท้องถิน่จำานวน4เรือ่งความสามารถ

ด้านการบริหารงาน จำานวน 3 เรื่อง และความมีวิสัยทัศน์หรือมองการณ์ไกลด้านการ

วางแผนบริหารงานจำานวน1เรื่อง

ภาพลกัษณ์ด้านผูบ้รหิารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ทีถ่กูรบัรูม้ากเป็นอนัดบัที่

2 ได้แก่ ความมีประสบการณ์ด้านการบริหาร และความสามารถด้านการบริหารงาน มี

จำานวนเท่ากนัคอื4เรือ่งความเป็นประชาธปิไตยจำานวน3เรือ่งความรูเ้ท่าทนัเหตกุารณ์

ข่าวสารในท้องถิ่นและมีความสามารถในการทำางานร่วมกับผู้อื่นมีจำานวนเท่ากันคือ 2

เรื่องและความมีมนุษยสัมพันธ์จำานวน1เรื่อง

อันดับที่3ได้แก่ความมีประสบการณ์ด้านการบริหารจำานวน3เรื่องความรู้

เท่าทันเหตุการณ์ข่าวสารในท้องถิ่น จำานวน 2 เรื่อง ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความเป็น

ประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์สุจริต ความตั้งใจในการบริหารงานเพื่อส่วนรวม ความคิด

Page 16: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย102

รเิริม่สร้างสรรค์ในการบรหิารงานและมคีวามสามารถในการทำางานร่วมกบัผูอ้ืน่มจีำานวน

เท่ากันคือ1เรื่อง

ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้น้อยที่สุด

คือ ความซื่อสัตย์สุจริต จำานวน 2 เรื่อง ความรู้เท่าทันเหตุการณ์ข่าวสารในท้องถิ่น

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารงาน และความมีวิสัยทัศน์หรือมองการณ์ไกลด้าน

การวางแผนบริหารงานมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

1.4.2ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านบุคลากร

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านบคุลากรที่

ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ความสามารถด้านการปฏิบัติงานในสายงานที่ตนเอง

รับผิดชอบจำานวน5เรื่องความมีมนุษยสัมพันธ์จำานวน4เรื่องปฏิบัติงานด้วยความ

ซื่อสัตย์สุจริต จำานวน 2 เรื่อง และใช้เวลาปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลา และมีพฤติกรรม

เหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่มีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

อันดับ2ได้แก่บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจำานวน4เรื่องมี

ความสามารถด้านการปฏบิตังิานในสายงานทีต่นเองรบัผดิชอบมมีนษุยสมัพนัธ์มจีำานวน

เท่ากนัคอื3เรือ่งมพีฤตกิรรมเหมาะสมกบัตำาแหน่งหน้าที่และรูเ้ท่าทนัเหตกุารณ์ข่าวสาร

ในท้องถิ่นมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ภาพลักษณ์ด้านบุคลากรที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ 3 ได้แก่ มีพฤติกรรม

เหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่ จำานวน 5 เรื่อง มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความสามารถ

ด้านการปฏบิตังิานในสายงานทีต่นเองรบัผดิชอบมจีำานวนเท่ากนัคอื2เรือ่งการใช้เวลา

ปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลาและความรู้เท่าทันเหตุการณ์ข่าวสารในท้องถิ่นมีจำานวนเท่ากัน

คือ1เรื่อง

ผลการศึกษายังพบว่า ภาพลักษณ์ของบุคลากรที่ถูกรับรู้น้อยสุด ได้แก่ การ

ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จำานวน 3 เรื่อง ความรู้เท่าทันเหตุการณ์ข่าวสาร

ในท้องถิ่นและการใช้เวลาปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลามีจำานวนเท่ากันคือ2เรื่อง

1.4.3ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการงบประมาณ

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ด้านการจดัการงบประมาณขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิน่ทีถ่กูรบัรูม้ากเป็นอนัดบั1ได้แก่การให้เงนิสวสัดกิารเบีย้ยงัชพีในเขตอบต.

เช่นผู้สูงอายุผู้พิการผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์จำานวน6เรื่องการสนับสนุนการสาธารณสุข

เช่น การแจกทรายอะเบท การพ่นหมอกควันกำาจัดยุงลาย ฯลฯ อย่างทั่วถึง จำานวน 5

เรื่อง และการส่งเสริมการจัดงานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น จัดงานลอยกระทง

Page 17: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 103

สงกรานต์อย่างเหมาะสมจำานวน1เรื่อง

อันดับ2ได้แก่การสนับสนุนการศึกษาเช่นจัดอาหารกลางวันอาหารเสริม

(นม)สร้างอาคารเรียนอุปกรณ์การเรียนฯลฯอย่างเหมาะสมจำานวน5เรื่องการส่งเสริม

การจัดงานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ฯลฯ อย่างเหมาะสม

จำานวน3เรื่องการให้เงินสวัสดิการเบี้ยยังชีพในเขตอบต.เช่นผู้สูงอายุผู้พิการผู้ป่วย

ตดิเชือ้เอดส์ฯลฯจำานวน2เรือ่งส่วนการสนบัสนนุการกฬีาเช่นจดัซือ้อปุกรณ์กฬีาจดั

สถานที่ออกกำาลังกายอย่างเหมาะสม การสนับสนุนการสาธารณสุข เช่น การแจกทราย

อะเบทการพ่นหมอกควนักำาจดัยงุลายฯอย่างทัว่ถงึการสนบัสนนุช่วยเหลอืผูป้ระสบภยั

ธรรมชาติ เช่น ภัยหนาว นำ้าท่วม ไฟไหม้ พายุ อย่างเป็นธรรม และการก่อสร้างและ

ซ่อมแซมด้านสาธารณูปโภคเช่นประปาไฟฟ้าถนนอย่างทั่วถึงพบจำานวนเท่ากันคือ

1เรื่อง

ภาพลักษณ์ด้านการจัดการงบประมาณที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ 3 ได้แก่ การ

สนับสนุนการศึกษาเช่นจัดอาหารกลางวันอาหารเสริม(นม)สร้างอาคารเรียนอุปกรณ์

การเรยีนฯลฯจำานวน3เรือ่งการสนบัสนนุช่วยเหลอืผูป้ระสบภยัธรรมชาติเช่นภยัหนาว

นำ้าท่วม ไฟไหม้พายุ อย่างเป็นธรรมและการให้เงินสวัสดิการเบี้ยยังชีพ เช่นผู้สูงอายุ

ผู้พิการและผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในเขตเทศบาลอย่างเหมาะสมการก่อสร้างและซ่อมแซม

ด้านสาธารณูปโภคเช่นประปาไฟฟ้าถนนฯลฯอย่างเหมาะสมและการสนับสนุนการ

สาธารณสุข เช่น การแจกทรายอะเบท การพ่นหมอกควันกำาจัดยุงลายฯ อย่างทั่วถึง

มีจำานวนเท่ากันคือ 2 เรื่อง ส่วนการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่น

ภัยหนาว นำ้าท่วม ไฟไหม้ พายุ อย่างเป็นธรรม และการส่งเสริมการจัดงานวัฒนธรรม

ประเพณท้ีองถิน่เช่นลอยกระทงสงกรานต์ฯอย่างเหมาะสมมจีำานวนเท่ากนัคอื1เรือ่ง

ส่วนภาพลกัษณ์ด้านการจดัการงบประมาณทีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุได้แก่การจดัทำา

และการใช้จ่ายเงนิงบประมาณโดยเปิดโอกาสให้มกีารตรวจสอบและรายงานผลสูป่ระชาชน

จำานวน3เรือ่งและการสนบัสนนุช่วยเหลอืผูป้ระสบภยัธรรมชาติเช่นภยัหนาวนำา้ท่วม

ไฟไหม้พายุฯลฯอย่างเป็นธรรมจำานวน1เรื่อง

1.4.4ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริการ

ผลการศึกษาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริการที่ถูก

รับรู้เป็นอันดับ 1 ได้แก่ การปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว จำานวน 3 เรื่อง ส่วนการ

ให้บริการอย่างเหมาะสม ยินดีให้คำาแนะนำาเมื่อเกิดปัญหา การปฏิบัติต่อประชาชนที่มา

ใช้บริการด้วยความเสมอภาคและไม่มีอคติ การให้บริการนอกสถานที่ และการนำา

Page 18: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย104

เทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

อันดับ 2 ได้แก่ ความเป็นกันเองในการให้บริการ จำานวน 4 เรื่อง เข้าใจ

ความต้องการของประชาชนทีม่าใช้บรกิารจำานวน3เรือ่งความเอาใจใส่และให้ความเป็น

มิตรและยินดีให้คำาแนะนำาเมื่อเกิดปัญหาจำานวน2 เรื่อง ส่วนการนำาเทคโนโลยีมาช่วย

ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและภายในหน่วยงานมีการจัดทำาป้ายแสดงขั้นตอนให้

บริการอย่างชัดเจนมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ภาพลักษณ์ด้านการบริการที่ถูกรับรู้เป็นอันดับ3 ได้แก่ ปฏิบัติงานด้วยความ

รวดเร็วและความเป็นกันเองในการให้บริการมีจำานวนเท่ากันคือ4เรื่องการปฏิบัติต่อ

ประชาชนที่มาใช้บริการด้วยความเสมอภาคและไม่มีอคติ จำานวน 2 เรื่อง ส่วนภายใน

หน่วยงานมีการจัดทำาป้ายแสดงขั้นตอนให้บริการอย่างชัดเจน และมีการให้บริการ

นอกสถานที่มีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ภาพลักษณ์ด้านการบริการที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ ยินดีรับฟังความคิดเห็นของ

ผูใ้ช้บรกิารจำานวน2เรือ่งภายในหน่วยงานมกีารจดัทำาป้ายแสดงขัน้ตอนให้บรกิารอย่าง

ชัดเจนและการให้บริการนอกสถานที่มีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

1.4.5ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอาคารสถานที่

ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ด้านอาคารสถานที่ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้ในอันดับ1คืออาคารสถานที่มีความสะอาดจำานวน5เรื่องส่วน

ทีจ่อดรถเพยีงพอสำาหรบัผูม้าตดิต่องานหน่วยงานมกีารจดัทำาป้ายแสดงขัน้ตอนให้บรกิาร

อย่างชัดเจน จัดให้มีห้องนำ้าสะอาดถูกสุขลักษณะและอาคารสถานที่มีความสวยงาม

มีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

อันดับ 2 คือ อาคารสถานที่มีความสวยงามและจัดให้มีการบริการนำ้าดื่มให้

ประชาชนที่มารับบริการ มีจำานวนเท่ากันคือ 2 เรื่อง ส่วนการจัดที่นั่งพักอย่างเพียงพอ

สำาหรับผู้มาติดต่องาน จัดให้มีห้องนำ้าสะอาดถูกสุขลักษณะและจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน

ง่ายต่อการติดต่อประสานงานมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ส่วนอันดับ 3 ได้แก่ ภายในอาคารมีอากาศเย็นสบายเหมาะสมกับผู้มารอรับ

บริการ พื้นที่ให้บริการมีความสะอาด มีการจัดภูมิทัศน์ ได้แก่ สนามหญ้า สวนหย่อม

บริเวณอาคารสำานักงานได้อย่างเหมาะสมโดยมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอาคารสถานที่ที่ถูกรับรู้จาก

ประชาชนน้อยทีส่ดุคอื ภายในอาคารมอีากาศถ่ายเทสะดวกเหมาะสมกบัการรอรบับรกิารมี

การตกแต่งบรเิวณอาคารสำานกังานทีส่ะท้อนเอกลกัษณ์ท้องถิน่โดยมจีำานวนเท่ากนัคอื1เรือ่ง

Page 19: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 105

1.4.6 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการมีส่วนร่วมของ

ประชาชน

ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการมี

ส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกรับรู้เป็นอันดับ 1 คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามี

ส่วนร่วมในการดำาเนนิงานในโครงการต่างๆขององค์กรการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มี

ส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการบรกิารให้มปีระสทิธภิาพการเปิดโอกาสให้ประชาชน

มีส่วนร่วมในการจัดงานต่างๆโดยมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

อันดับ 2 คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการแต่งตั้งร่วมเป็นกรรมการ

จัดซื้อจัดจ้างจำานวน2เรื่องการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำาเนินงาน

ในโครงการต่างๆจำานวน1เรื่องส่วนอันดับ3ได้แก่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มี

ส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการบริการให้มีประสิทธิภาพจำานวน1เรื่อง

ขณะที่ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนติดตามความก้าวหน้า

ตามแผนการดำาเนนิงานการเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอแนะแนวทางแก้ไขพฒันาและ

เข้าร่วมในกระบวนการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนการเปิดโอกาสให้ประชาชน

สามารถตรวจสอบการดำาเนินงานในโครงการต่างๆโดยมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

1.4.7ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริมการศึกษา

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิ

การศกึษาทีถ่กูรบัรูม้ากทีส่ดุคอืมกีารจดัหาอปุกรณ์สือ่การเรยีนให้โรงเรยีนต่างๆจำานวน

1เรื่องอันดับ2ได้แก่มีการสนับสนุนเงินทุนการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเช่น

การจัดงานวันเด็กการจัดงานแข่งขันกีฬา จำานวน1 เรื่อง และอันดับ3 ได้แก่ มีการ

จัดสรรทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียนทุกระดับการศึกษาจำานวน1เรื่องส่วนภาพ

ลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริมการศึกษาที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ

มีการจัดสรรทุนเงินทุนในการพัฒนาอาคารสถานที่ด้านการศึกษาจำานวน1เรื่อง

1.4.8ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการพฒันาคณุภาพสนิค้า

ทางการเกษตร

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการพฒันา

คุณภาพสินค้าทางการเกษตรที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1คือมีการสนับสนุนเงินอุดหนุน

ให้เกษตรในการจดังานด้านเกษตรกรในการจดังานด้านเกษตรกรรมจำานวน1เรือ่งอนัดบั

2คือมีงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเป็นธรรม

Page 20: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย106

และเหมาะสมจำานวน1เรื่องและอันดับ3คือมีการจัดทำาเอกสารข้อมูลข่าวสารเพื่อ

เผยแพร่และให้ความรู้แก่เกษตรกรให้ทันต่อเหตุการณ์จำานวน1 เรื่องส่วนภาพลักษณ์

ที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ มีการช่วยเหลือพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกตำ่าหรือขาดทุน จำานวน

1เรื่อง

1.4.9ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนาพื้นที่

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการพฒันา

พื้นที่ภายในชุมชนที่ถูกรับรู้มากที่สุดคือ การจัดลานเอนกประสงค์สำาหรับให้ประชาชน

ทำากิจกรรม จำานวน 1 เรื่อง รองลงมาคือ การปรับปรุงสวนหย่อมให้สวยงาม จำานวน

1เรือ่งและอนัดบั3ได้แก่การปรบัปรงุถนนให้ดขีึน้จำานวน1เรือ่งส่วนภาพลกัษณ์ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ การจัดระเบียบ

การค้าขายในพื้นที่ต่างๆจำานวน1เรื่อง

1.4.10 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริมการ

ท่องเที่ยว

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิ

การท่องเที่ยวในพื้นที่ที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1ได้แก่การสนับสนุนงบประมาณในการ

พัฒนาปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จำานวน 1 เรื่อง รองลงมาคือ การจัดให้ภายใน

สถานทีท่่องเทีย่วมสีิง่อำานวยความสะดวกครบถ้วนเช่นทีจ่อดรถนำา้ดืม่นำา้ใช้ห้องสขุาฯ

จำานวน1เรื่องอันดับ3ได้แก่มีการพัฒนาให้การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวมีความ

สะดวกมีป้ายบอกทางชัดเจนและมีจุดประชาสัมพันธ์จำานวน1เรื่อง

ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิการท่องเทีย่วทีถ่กู

รับรู ้น้อยที่สุดคือ มีการจัดการดูแลความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยว เช่น มียาม

รักษาความปลอดภัยจำานวน1เรื่อง

1.4.11ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิวฒันธรรม

ประเพณี

ผลการศกึษาพบว่าภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิ

วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1คือมีนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมอนุรักษ์

วฒันธรรมประเพณล้ีานนามกีารกำาหนดช่วงเวลาในการจดักจิกรรรมเกีย่วกบัการอนรุกัษ์

วัฒนธรรมประเพณีไทลื้ออย่างต่อเนื่องตลอดปีโดยมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่อง

อันดับ 2 ได้แก่ มีการสนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับการส่งเสริมอนุรักษ์

วัฒนธรรมประเพณีล้านนา มีการกำาหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม

Page 21: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 107

ประเพณี(ไทลื้อ)โดยมีจำานวนเท่ากันคือ1เรื่องขณะที่อันดับ3ได้แก่มีการเผยแพร่

และประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีล้านนาจำานวน1เรื่อง

ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการส่งเสรมิวฒันธรรมประเพณี

ทีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุคอืมกีารให้ความรูค้วามเข้าใจอย่างถกูต้องเกีย่วกบัวฒันธรรมประเพณี

(ไทลื้อ)แก่บุคคลในพื้นที่หรือชุมชนจำานวน1เรื่อง

ผลการศกึษาในภาพรวมยงัพบว่าลกัษณะประชากรของกลุม่ตวัอย่างได้แก่เพศ

และอายุไม่มคีวามแตกต่างกนัอย่างมนียัสำาคญัทางสถติใินการรบัรูภ้าพลกัษณ์ขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่ตัวแปรด้านระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความ

แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติในการรับรู ้ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะในด้านผู้บริหารด้านบุคลากรและด้านการจัดการงบประมาณ

2. ข้อค้นพบจากงานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา ปรากฏข้อค้นพบและสามารถเสนอ

แนะแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน

ภาพรวมและองค์ประกอบแต่ละด้านได้ดังนี้

2.1 งานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด

เชียงรายและพะเยา จำานวน 13 เรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของ

ประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่มีรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำาบล

เทศบาลเมอืงและเทศบาลตำาบลโดยมุง่เปรยีบเทยีบองค์ประกอบด้านต่างๆขององค์กร

ที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านบุคลากร ด้านการจัดการ

งบประมาณ ด้านการบริการ ด้านพื้นที่ให้บริการและอาคารสถานที่ ด้านการมีส่วนร่วม

ของประชาชน ด้านการส่งเสริมการศึกษา ด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตร

และด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี

ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จากสมมติฐานของงานวิจัยล้วนมีความเชื่อ

เบื้องต้นว่า โครงสร้างการบริการจัดการในองค์กรซึ่งเป็นโครงสร้างตามพระราชบัญญัติ

การปกครองส่วนท้องถิ่น ผนวกกับนโยบายของผู้บริหารแต่ละชุดเป็นองค์ประกอบที่

สำาคัญของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง

2.2แนวคดิทีใ่ช้ในงานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ประกอบด้วยแนวคดิเกีย่วกบัการรบัรูภ้าพลกัษณ์แนวคดิเกีย่วกบัผูบ้รหิารองค์กรปกครอง

Page 22: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย108

ส่วนท้องถิ่นแนวคิดเกี่ยวกับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแนวคิดเกี่ยวกับ

การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการให้บริการ

สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ แนวคิด

เกีย่วกบัอาคารสถานที่แนวคดิเกีย่วกบัการมส่ีวนร่วมของประชาชนนอกจากนัน้ยงัพบ

การสำารวจแนวคิดต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละ

พื้นที่ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิด

เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่

ท่องเที่ยว แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และแนวคิด

เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่

2.3งานวจิยัทัง้หมดใช้ระเบยีบวธิวีจิยัเชงิปรมิาณโดยใช้วธิกีารสำารวจ(Survey

Research)จากประชาชนในเขตขององค์กรปกครองส่วนทัง้ถิน่นัน้ๆจำานวนกลุม่ตวัอย่าง

อยู่ระหว่าง363-400คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม

มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าความ

เบีย่งเบนมาตรฐานและใช้สถติเิชงิอ้างองิได้แก่การทดสอบค่าเฉลีย่ระหว่างกลุม่ตวัอย่าง

และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า การศึกษาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองท้องถิ่น

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยนำาร่อง ใช้ระเบียบวิธีศึกษาที่มุ่งสำารวจการรับรู้ภาพลักษณ์จาก

ประชากรในแต่ละพื้นที่โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปยังประชากรจริงและมีความเชื่อ

เบือ้งต้นว่าลกัษณะประชากรของประชาชนในพืน้ทีย่่อมส่งผลต่อการรบัรูภ้าพลกัษณ์ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน

2.4ข้อค้นพบจากผลการวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้อง

ถิ่น

2.4.1องค์ประกอบของภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูก

รับรู้มากเป็นอันดับแรกด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านผู้บริหาร ส่วนภาพลักษณ์ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดจากประชาชนคือ ภาพลักษณ์ด้านการ

บริการ

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า บุคลากรขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิน่เป็นองค์ประกอบสำาคญัต่อการรบัรูภ้าพลกัษณ์ทัง้ด้านคณุสมบตัแิละบทบาทหน้าที่

ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ จะถูกประกอบสร้างขึ้นเป็นภาพลักษณ์ของ

องค์กรระหว่างผู้กำาหนดนโยบายและผู้สนองนโยบาย

Page 23: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 109

2.4.2 ภาพลักษณ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูก

รับรู้มากที่สุดคือด้านความมีมนุษยสัมพันธ์อันดับที่2ได้แก่ความมีประสบการณ์ด้าน

การบริหารและความสามารถด้านการบริหารงานอันดับที่3ได้แก่ความมีประสบการณ์

ด้านการบรหิารขณะทีภ่าพลกัษณ์ด้านผูบ้รหิารทีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุคอืความซือ่สตัย์สจุรติ

ผลการศกึษาสอดคล้องกบัทีม่าของผูน้ำาองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านผู้บริหารองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิน่ทีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุคอืความซือ่สตัย์สจุรติจากผลการศกึษาดงักล่าว

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการหรือแนวทางการปฏิบัติ

งานในท้องถิน่ให้ประชาชนรบัทราบข้อมลูการดำาเนนิงานของผูบ้รหิารโดยผ่านผูน้ำากลุม่

ต่างๆ เช่น กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มแม่บ้าน ประธานกลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน

ประธานกลุ่มอาชีพผู้นำาชุมชนฯลฯเพื่อเป็นการเพิ่มการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านผู้บริหาร

ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาจมีการแต่งตั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการจัดซื้อ การจัดจ้าง

หรือควรแต่งตั้งคณะกรรมการจากภาคประชาชนให้เข้าร่วมมีบทบาทในการประชุมและ

ดำาเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นการให้บุคคลต่างๆ เหล่านี้ทำาหน้าที่ตรวจสอบความซื่อสัตย์

โปร่งใสในการบริหารจัดการของผู้บริหารและเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนอีกทอดหนึ่ง

2.4.3ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านบคุลากรทีถ่กู

รับรู้มากที่สุด ได้แก่ ความสามารถด้านการปฏิบัติงานในสายงานที่ตนเองรับผิดชอบ

อันดับ2ได้แก่บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันดับ3ได้แก่มีพฤติกรรม

เหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่ ส่วนภาพลักษณ์ของบุคลากรที่ถูกรับรู้น้อยสุด ได้แก่ การ

ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

จากผลการศึกษาข้างต้นเพื่อให้ภาพลักษณ์ด้านบุคลากรมีระดับการ

รับรู้ภาพลักษณ์ในทางที่ดีอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆจึง

ต้องยึดหลักในการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับตำาแหน่งหน้าที่ที่จะปฏิบัติงาน ควร

กำาหนดขอบเขตหรือแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรควรเน้นคุณลักษณะพิเศษของ

บคุลากรแต่ละฝ่ายให้ชดัเจนเพือ่ให้เกดิทกัษะความรูค้วามชำานาญในงานทีร่บัผดิชอบมาก

ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันบุคลากรฝ่ายต่างๆ ต้องมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมในตำาแหน่งที่

ตนเองปฏิบัติหน้าที่อย่างสมำ่าเสมอ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพ

ในการปฏิบัติงานให้มีความเป็นเลิศและส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร

ผลการศกึษายงัพบว่าภาพลกัษณ์ของบคุลากรทีถ่กูรบัรูน้้อยสดุได้แก่

การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากประชาชนขาดการรับรู้

Page 24: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย110

ข่าวสารหรือการมีส่วนร่วมในการดำาเนินกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในพื้นที่ดังนั้นการแก้ไขปรับปรุงภาพลักษณ์จึงควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามี

ส่วนร่วมในการดำาเนนิกจิกรรมต่างๆร่วมเจ้าหน้าทีข่ององค์กรขณะเดยีวกนัองค์กรต้อง

มีการดำาเนินการตามหลักธรรมมาภิบาล เช่น ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ฯลฯ

เพื่อให้ภาพลักษณ์ที่ปรากฎออกไปสามารถเชื่อถือได้จริง

นอกจากนัน้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ยงัต้องให้ความสำาคญัในการ

ทำากิจกรรมมวลชนสัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการที่ได้ดำาเนินการไป

แล้วให้ประชาชนในพืน้ทีท่ราบหรอืเข้าใจเพือ่เผยแพร่นโยบายและผลการดำาเนนิงานเช่น

งบประมาณทางการเงิน แผนพัฒนาตำาบล ฯลฯ โดยผ่านผู้นำาชุมชนในการประชุมเวที

ชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเป็นการแสดงความโปร่งใสในการดำาเนินงาน

อีกช่องทางหนึ่ง

2.4.4 ภาพลักษณ์ด้านการจัดการงบประมาณขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิน่ทีถ่กูรบัรูม้ากเป็นอนัดบั1ได้แก่การให้เงนิสวสัดกิารเบีย้ยงัชพีในเขตอบต.

เช่นผู้สูงอายุผู้พิการผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ฯลฯอันดับ2ได้แก่การสนับสนุนการศึกษา

เช่น จัดอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) สร้างอาคารเรียน อุปกรณ์การเรียน ฯลฯ

ส่วนภาพลักษณ์ด้านการจัดการงบประมาณที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดได้แก่ การจัดทำาและการ

ใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและรายงานผลสู่ประชาชน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขและปรับปรุงภาพลักษณ์ ตลอดจนเพิ่มการ

รับรู้ภาพลักษณ์ในทางบวก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรจัดให้มีช่องทางการ

ประชาสัมพันธ์เพื่อรายงานผลการดำาเนินงาน เช่น งบประมาณทางการเงิน แผนพัฒนา

ตำาบลโดยผ่านช่องทางต่างๆให้หลากหลายอาทิป้ายประกาศสือ่มวลชนท้องถิน่ผูน้ำา

ชุมชนหอกระจายข่าวฯลฯเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลด้านการจัดการงบประมาณ

อย่างสมำ่าเสมอสะท้อนถึงความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบผลการดำาเนินงานได้

นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิน่ถกูใช้ในการดำาเนนิโครงการด้านการพฒันาปรบัปรงุเส้นทางคมนาคม

และสาธารณปูโภคต่างๆในพืน้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่จงึควรเผยแพร่ข้อมลูในการ

ดำาเนินโครงการต่างๆ โดยการติดป้ายแสดงรายละเอียดของโครงการต่างโดยเฉพาะ

ด้านการจัดการงบประมาณในการก่อสร้าง รายละเอียดของโครงการ วันเริ่มต้น

สัญญา วันสิ้นสุดสัญญา ชื่อผู้รับจ้าง ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบผล

การดำาเนินงานก่อให้เกิดภาพลักษณ์ด้านความโปร่งใสในการบริหารจัดการงบประมาณ

Page 25: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 111

2.4.5 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริการที่

ถูกรับรู้เป็นอันดับ1ได้แก่การปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วอันดับ2ได้แก่ความเป็น

กนัเองในการให้บรกิารอนัดบั3ได้แก่ปฏบิตังิานด้วยความรวดเรว็และความเป็นกนัเอง

ในการให้บริการ ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านการบริการที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ ยินดีรับฟัง

ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ

จากผลการศึกษาเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น จึงควรพัฒนา

ประสิทธิภาพการให้บริการ โดยเพิ่มความชัดเจนในขั้นตอนการให้บริการแก่ประชาชน

ทีม่าตดิต่อมกีารจดัทำาป้ายแสดงขัน้ตอนให้บรกิารอย่างชดัเจนมองเหน็ได้ง่ายเพือ่ความ

สะดวกและรวดเร็วของประชาชนผู้มาใช้บริการ ขณะเดียวกันต้องสร้างจิตสำานึกการให้

บรกิารแก่บคุลากรฝึกฝนการใช้วจิารณญาณและไหวพรบิในการแก้ปัญหาส่วนงานบรกิาร

ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เช่นงานพัสดุ งานจัดซื้อจัดจ้างควรจัดทำาป้าย

แสดงขั้นตอนและระยะเวลาให้ละเอียดมากขึ้น และเจ้าหน้าที่ควรอธิบายให้ผู้รับบริการ

เข้าใจอย่างถ่องแท้เพือ่ให้ประชาชนทีม่าใช้บรกิารเกดิความพงึพอใจและเพิม่การรบัรูภ้าพ

ลักษณ์องค์กรในด้านประสิทธิภาพการบริการมากยิ่งขึ้น

2.4.6ภาพลกัษณ์ด้านอาคารสถานทีข่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ที่ถูกรับรู้ในอันดับ 1คือ อาคารสถานที่มีความสะอาดอันดับ 2คือ อาคารสถานที่มี

ความสวยงามและจดัให้มกีารบรกิารนำา้ดืม่ให้ประชาชนทีม่ารบับรกิารส่วนอนัดบั3ได้แก่

ภายในอาคารมอีากาศเยน็สบายเหมาะสมกบัผูม้ารอรบับรกิารส่วนภาพลกัษณ์ด้านอาคาร

สถานที่ที่ถูกรับรู ้จากประชาชนน้อยที่สุดคือ ภายในอาคารมีอากาศถ่ายเทสะดวก

เหมาะสมกบัการรอรบับรกิารและมกีารตกแต่งบรเิวณอาคารสำานกังานทีส่ะท้อนเอกลกัษณ์

ท้องถิ่น

อาคารสถานทีข่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่กเ็ป็นส่วนหนึง่ของการ

ส่งเสรมิภาพลกัษณ์ทีด่ใีนการรบัรูข้องประชาชนผลการศกึษาสะท้อนให้เหน็ว่าประชาชน

มคีวามภาคภมูใิจในอตัลกัษณ์ด้านวฒันธรรมและชาตพินัธุข์องตนอาทิอตัลกัษณ์ล้านนา

วัฒนธรรมชาวไทลื้อ ฯลฯ ดังนั้น นอกจากต้องเพิ่มพูนประสิทธิภาพการให้บริการและ

พัฒนาอาคารสถานที่แล้ว ยังควรต้องมีการตกแต่งบริเวณอาคารสำานักงานสะท้อน

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำาคัญกับท้องถิ่น

และเป็นการสร้างความภาคภมูใิจของประชาชนในท้องถิน่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

2.4.7ภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ด้านการมส่ีวนร่วม

ของประชาชนทีถ่กูรบัรูเ้ป็นอนัดบั1คอืการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามส่ีวนร่วมในการ

Page 26: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย112

ดำาเนนิงานในโครงการต่างๆขององค์กรการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มส่ีวนร่วมในการ

เสนอแนะแนวทางการบริการให้มีประสิทธิภาพ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ในการจัดงานต่างๆอันดับ2คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการแต่งตั้งร่วมเป็น

กรรมการจัดซื้อจัดจ้างอันดับ3ได้แก่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการ

เสนอแนะแนวทางการบรกิารให้มปีระสทิธภิาพขณะทีภ่าพลกัษณ์ด้านการมส่ีวนร่วมของ

ประชาชนที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนติดตามความก้าวหน้าตาม

แผนการดำาเนินงาน การเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอแนะแนวทางแก้ไข พัฒนาและ

เข้าร่วมในกระบวนการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน การเปิดโอกาสให้ประชาชน

สามารถตรวจสอบการดำาเนินงานในโครงการต่างๆ

ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถพัฒนาและ

รักษาไว้ได้ด้วยการเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้กว้างขวางและหลากหลายเพื่อให้ประชาชน

ได้เข้ามามส่ีวนร่วมทกุขัน้ตอนทีส่ามารถทำาได้เช่นการเข้าร่วมตรวจงานกบัคณะกรรมการ

ตรวจรบังานจ้างการตรวจสอบผลการทำางานขององค์กรฯขณะเดยีวกนัองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นต้องส่งเสริมวิถีทางต่างๆในการสร้างจิตสำานึกแก่ประชาชนหรือตระหนักถึง

ศักยภาพของตนเองในการที่จะมีบทบาทเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

2.4.8 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริม

การศึกษาที่ถูกรับรู้มากที่สุดคือมีการจัดหาอุปกรณ์สื่อการเรียนให้โรงเรียนต่างๆอันดับ

2ได้แก่มกีารสนบัสนนุเงนิทนุการจดักจิกรรมต่างๆของโรงเรยีนเช่นการจดังานวนัเดก็

การจดังานแข่งขนักฬีาฯลฯและอนัดบั3ได้แก่มกีารจดัสรรทนุการศกึษาแก่นกัเรยีนใน

โรงเรยีนทกุระดบัการศกึษาส่วนภาพลกัษณ์ด้านการส่งเสรมิการศกึษาทีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุ

คือมีการจัดสรรทุนเงินทุนในการพัฒนาอาคารสถานที่ด้านการศึกษา

2.4.9 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนา

คุณภาพสินค้าทางการเกษตรที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1คือมีการสนับสนุนเงินอุดหนุน

ให้เกษตรในการจัดงานด้านเกษตรกรในการจัดงานด้านเกษตรกรรม อันดับ 2 คือ

มีงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเป็นธรรมและ

เหมาะสมและอันดับ3คือมีการจัดทำาเอกสารข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้

แก่เกษตรกรให้ทันต่อเหตุการณ์ ส่วนภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการ

เกษตรที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือมีการช่วยเหลือพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกตำ่าหรือขาดทุน

2.4.10 ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพัฒนา

พืน้ทีภ่ายในชมุชนทีถ่กูรบัรูม้ากทีส่ดุคอืการจดัลานเอนกประสงค์สำาหรบัให้ประชาชนทำา

Page 27: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 113

กจิกรรมอนัดบั2คอืการปรบัปรงุสวนหย่อมให้สวยงามและอนัดบั3ได้แก่การปรบัปรงุ

ถนนให้ดีขึ้นส่วนภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกรับรู้น้อยที่สุดคือการจัดระเบียบ

การค้าขายในพื้นที่ต่างๆ

2.4.11ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริม

การท่องเที่ยวในพื้นที่ที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1ได้แก่การสนับสนุนงบประมาณในการ

พัฒนาปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆอันดับ2คือการจัดให้ภายในสถานที่ท่องเที่ยว

มีสิ่งอำานวยความสะดวกครบถ้วนเช่นที่จอดรถนำ้าดื่มนำ้าใช้ห้องสุขาฯลฯอันดับ3

ได้แก่ มีการพัฒนาให้การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวก มีป้ายบอกทาง

ชัดเจน และมีจุดประชาสัมพันธ์ ส่วนภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ถูกรับรู้

น้อยที่สุดคือมีการจัดการดูแลความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยว

2.4.12ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริม

วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกรับรู้มากเป็นอันดับ1คือมีนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมอนุรักษ์

วฒันธรรมประเพณล้ีานนามกีารกำาหนดช่วงเวลาในการจดักจิกรรรมเกีย่วกบัการอนรุกัษ์

วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องตลอดปี อันดับ 2 ได้แก่ มีการสนับสนุน

งบประมาณเกีย่วกบัการส่งเสรมิอนรุกัษ์วฒันธรรมประเพณล้ีานนามกีารกำาหนดนโยบาย

เกีย่วกบัการส่งเสรมิอนรุกัษ์วฒันธรรมประเพณีส่วนภาพลกัษณ์ด้านการส่งเสรมิวฒันธรรม

ประเพณทีีถ่กูรบัรูน้้อยทีส่ดุคอืมกีารให้ความรูค้วามเข้าใจอย่างถกูต้องเกีย่วกบัวฒันธรรม

ประเพณีท้องถิ่นแก่บุคคลในพื้นที่หรือชุมชน

จึงอาจสรุปได้ว่า ประชาชนในพื้นที่มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์

ของตนและต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ในพืน้ทีม่กีารอนรุกัษ์วฒันธรรมทีเ่ป็น

รากฐานประเพณีต่างๆของชุมชนทั้งการจัดกิจกรรมโดยตรงการสนับสนุนงบประมาณ

แก่องค์กรอื่นๆและการสอดแทรกอัตลักษณ์ชุมชนในสิ่งปลูกสร้างของทางราชการต่างๆ

เนื่องจากเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ

การส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามวิถีชีวิตที่ประชาคมปรารถนา

ดังนั้น แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการรับรู้ภาพลักษณ์ดังกล่าวจึงควรมุ่งเน้นพัฒนา

จุดเด่นของแต่ละบริบทพื้นที่อาทิด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ตามธรรมชาติองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ควรมนีโยบายในการปรบัปรงุและพฒันาแหล่ง

ท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นิเวศและจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่ใช้

ธรรมชาตเิป็นพืน้ฐานโดยนำาศลิปวฒันธรรมพืน้บ้านทีเ่ป็นเอกลกัษณ์ตลอดจนประเพณี

ของชนเผ่าต่างๆ เป็นจุดดึงดูดใจ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้จะส่งต่อการสร้างเสริมรายได้แก่

Page 28: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย114

ประชาชนในพืน้ที่มผีลทำาให้คณุภาพชวีติของประชาชนดขีึน้ขณะเดยีวกนักส็ามารถดแูล

พัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวไม่เสื่อมโทรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถจัดเก็บราย

ได้เพื่อพัฒนาชุมชนได้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีภาพลักษณ์ที่ดีในการรับรู้ของชุมชนยิ่งขึ้น

สำาหรบังานวจิยันีม้ข้ีอจำากดัด้านความหลากหลายของประเดน็การศกึษาในแง่มมุด้านภาพ

ลักษณ์และพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เฉพาะพื้นที่จ.เชียงรายและจ.พะเยาอย่างไรก็ตามหากได้มีการเปรียบเทียบข้อค้นพบ

ของงานวิจัยเกี่ยวกับการรับรู ้ภาพลักษณ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรูปแบบ

แตกต่างกันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตำาบล เทศบาลฯลฯ

ตลอดจนได้มกีารศกึษาข้อมลูด้านภาพลกัษณ์แต่ละด้านในเชงิลกึจะทำาให้การสงัเคราะห์

งานวจิยัเกีย่วกบัภาพลกัษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ให้ภาพรวมทีค่รอบคลมุยิง่ขึน้

รายการอ้างอิง

เกษม วัฒนชัย. (2546) . ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร:สำานักนโยบายและแผนการศึกษา.

เกสรีแก้วทิตย์.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหาร

ส่วนต�าบลทุง่รวงทอง อ�าเภอจนุ จงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

คมสนัยนืยงั.(2552).การรบัรูภ้าพลกัษณ์ของประชาชนทีม่ต่ีอองค์การบรหิารส่วน

ต�าบลสระ อ�าเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา.การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหา

บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จรัสสุทธิกุลบุตร.(2550).พฤติกรรมองค์การ.เชียงราย:นครนิวส์การพิมพ์.

จารุวรรณวงศ์มณีวรรณ.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การ

บริหารส่วนต�าบลบ้านใหม่ อ�าเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงราย.

จลิดาปงรงัส.ี(2552).การรบัรูภ้าพลกัษณ์ของประชาชนทีม่ต่ีอเทศบาลเมอืงพะเยา

อ�าเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา

วิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Page 29: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 115

ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2543).การวางแผนการสอน. ขอนแก่น : ภาควิชาส่งเสริม

การเกษตรคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูชาติพ่วงสมจิตร์.(2540).การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค

ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล

กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : ปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงคราญฟักแก้ว.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหาร

ส่วนต�าบลแม่ลาว อ�าเภอเชยีงค�า จงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นงลกัษณ์วริชัชยั.(2542).การวเิคราะห์อภมิาน.กรงุเทพมหานคร:โรงพมิพ์จฬุาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นิธีสะตะเวทิน.(2542).การประชาสัมพันธ์.กรุงเทพมหานคร:สถาบันเทคโนโลยี

ราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุขกรวรรดิ.

บัญญัติ พุ่มพันธ์. (2546). รวมกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงพ.ศ. 2546.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร

:บพิธการพิมพ์.

พนสัหนันาคนิทร์.(2542).ประสบการณ์ในการบรหิารงานบคุคล.กรงุเทพมหานคร

:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรัชตระการศิรินนท์.(2544).งบประมาณแผ่นดิน.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์

อาสารักษาดินแดน.

ลฎาภาทำาดี.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วน

ต�าบลจ�าป่าหวาย อ�าเภอเมือง จังหวัดพะเยา.การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วรรณศรีวัดเกตุ.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อเทศบาลต�าบล

แม่ค�า อ�าเภอแม่จนั จงัหวดัเชยีงราย.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิมหาบณัฑติ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วาสนาธรรมชยักลุ.(2552).การรบัรูภ้าพลกัษณ์ของประชาชนทีม่ต่ีอองค์การบรหิาร

ส่วนต�าบลป่าแฝก อ�าเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา.การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Page 30: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย116

วาสนาหงส์ทอง.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหาร

ส่วนต�าบลร่มเยน็ อ�าเภอเชยีงค�า จงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิรัช อภิรัตนกุล. (2544). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีณาพรหมเผ่า. (2552). การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อเทศบาลต�าบล

ท่าวงัทอง อ�าเภอเมอืง จงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิมหาบณัฑติ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศันศนีย์กิจสดับ.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหาร

ส่วนต�าบลบ้านมาง อ�าเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงราย.

สุเทพพงศ์ศรีวัฒน์.(2544).ภาวะผู้นำา:ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ.เชียงราย:สถาบัน

ราชภัฏเชียงราย.

สวุมิลพรมสรุนิทร์.(2552).การรบัรูภ้าพลกัษณ์ของประชาชนทีม่ต่ีอเทศบาลต�าบล

บ้านต๋อม อ�าเภอเมอืง จงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิมหาบณัฑติ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุนาณสุโหลง.(2545).การสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถม

ศึกษา สังกัดส�านักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงทวนวงศ์ราษฏร์.(2552).การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อเทศบาลตำาบล

หงส์หนิอำาเภอจนุจงัหวดัพะเยา.การศกึษาอสิระบรหิารธรุกจิมหาบณัฑติสาขา

วิชาการจัดการทั่วไป.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

หทักาญจน์อดลุถริเขตต์.(2548).ความพงึพอใจของผูร้บับรกิารต่อ 10 บรกิารฉบัไว

จากใจ สพฐ. กรณีศึกษา : ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1.

การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา).พิษณุโลก:

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรทัยก๊กผล.(2548).คู่มือการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ตามระเบียบส�านัก

นายกรั ฐมนตรี ว ่ าด ้ วยการรับฟ ั งความคิด เห็นของประชาชน.

กรุงเทพมหานคร:สำานักนายกรัฐมนตรี.

Page 31: บทคัดย่อ - CRRUjms.crru.ac.th/datas/MJ_24_2_2552_112_ExJournal.pdfตามพระราชบ ญญ ต สภาตำาบล ำาบลและองค

Vol.4 No. 2 (July - December 2009)Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 117

อรรจน์สีหะอำาไพ.(2546).เจตคติและความพึงพอใจในงานบริการ.นครราชสีมา

:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อุทุมพรจามรมาน.(2531).การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณ.กรุงเทพมหานคร:

ห้างหุ้นส่วนจำากัดฟันนี่พับลิชชิ่ง.

อำานวย วีรวรรณ. (2540). “การแก้ไขวิกฤตการณ์และการสร้างภาพพจน์ของ

องค์การ” ใน ภาพพจน์นั้นสำาคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์,

บรรณาธิการ โดย พรทิพย์ พิมลสินธุ์. กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์

ประกายพรึก.