บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด...

24
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บทที5 สรุป อภิปราย และขอเสนอแนะ การวิจัยครั้งนีเปนการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม และขนาดโรงเรียน กลุมตัวอยาง ไดแก ผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการ โรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที ่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จากจํานวน 33 โรงเรียน ประชากร 330 คน ไดกลุมตัวอยาง 290 คน โดยสุมกลุมตัวอยางดวยวิธีการสุมแบบงายๆ (simple random sampling) เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล เปนแบบสอบถามชนิดมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ แบงออกเปน 2 ตอน คือ ตอนที1 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับขอมูลขนาดโรงเรียนของผูตอบแบบสอบถาม และขนาด โรงเรียน ตอนที2 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยยึดกรอบแนวคิดและหลักการตาม แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษามีขั้นตอนรวม 7 ดาน ไดแก 1. ดานการเตรียมความพรอม ของสถานศึกษา 2. ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา 3. ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร 4. ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร 5. ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล 6. ดานการสรุปผล การดําเนินงานของสถานศึกษา และ 7. ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล ไดแก คาเฉลี่ย (Mean) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คาวิกฤติที (t-test) และคาความแปรปรวน ทางเดียว (F-test) และกรณีที่พบความแตกตางระหวางกลุมใชการทดสอบรายคูดวยวิธีของ Scheffe’s แลวทําการแปลผล และนําเสนอขอมูลเปนตารางประกอบคําอธิบาย 5.1 สรุปผล ผลจากการวิเคราะหขอมูลในการวิจัยครั้งนีผูวิจัยสรุปสาระสําคัญของผลการวิจัย ดังนี5.1.1 การศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และรายดาน พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทํา

Upload: others

Post on 30-Oct-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

บทที่ 5 สรุป อภิปราย และขอเสนอแนะ

การวิจัยคร้ังนี้ เปนการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถามและขนาดโรงเรียน กลุมตัวอยาง ไดแก ผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 จากจํานวน 33 โรงเรียน ประชากร 330 คน ไดกลุมตัวอยาง 290 คน โดยสุมกลุมตัวอยางดวยวิธีการสุมแบบงายๆ (simple random sampling) เคร่ืองมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล เปนแบบสอบถามชนิดมาตราสวนประมาณคา 5 ระดบั แบงออกเปน 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับขอมูลขนาดโรงเรียนของผูตอบแบบสอบถาม และขนาดโรงเรียน ตอนท่ี 2 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยยึดกรอบแนวคิดและหลักการตามแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษามีขั้นตอนรวม 7 ดาน ไดแก 1. ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา 2. ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา 3. ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร 4. ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร 5. ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล 6. ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา และ 7. ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล ไดแก คาเฉลี่ย (Mean) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คาวิกฤติที (t-test) และคาความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และกรณีที่พบความแตกตางระหวางกลุมใชการทดสอบรายคูดวยวิธีของ Scheffe’s แลวทําการแปลผล และนําเสนอขอมูลเปนตารางประกอบคําอธิบาย

5.1 สรุปผล

ผลจากการวิเคราะหขอมูลในการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยสรุปสาระสําคัญของผลการวิจัย ดังนี้ 5.1.1 การศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และรายดาน พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทํา

Page 2: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

145

หลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และเมื่อพิจารณารายดานปรากฏผล ดังนี้

1) ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลกัสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ ผูบริหารและคณะครเูยีย่มเยียนประชาชนหนวยงานองคกรของรัฐและเอกชน และขอความชวยเหลือในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาแตงตั้งคณะกรรมการวัดและประเมินผลการเรียนรูและเทียบโอนผลการเรียน และสถานศึกษาสํารวจบุคลากรเกี่ยวกับพื้นฐานความรูความเขาใจการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพืน้ที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นที่มีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉล่ียนอย 3 อันดับ คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการรวมกับวิทยากรทองถ่ินกําหนดโครงสรางหลักสูตรสถานศึกษาแตละชวงชั้นและสัดสวนเวลาเรียน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการรวมกับวิทยากรทองถ่ินกําหนดจัดทําคําอธิบายรายวิชาของหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานและทองถิ่น และคณะอนุกรรมการสาระการเรียนรู/กิจกรรมพัฒนาผูเรียนจัดทําแผนงบประมาณ อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณและบุคคล เอื้อตอการจัดกิจกรรมการเรียนรูสอดคลองหลักสูตรสถานศึกษา

3) ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ คณะกรรมการบริหารหลักสตูรและงานวิชาการวางแผนใหครูผูสอนทุกคนใชกิจกรรมแนะแนวพัฒนาผูเรียน คณะอนุกรรมการสาระการเรียนรูและครูผูสอนวางแผนรวมกันในการใชการวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคณะอนุกรรมการสาระการเรียนรูและครูผูสอนวางแผนรวมกันในการใชสื่อ นวัตกรรม วัสดุอุปกรณและเทคโนโลยี

Page 3: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

146

4) ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นที่มีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ ครูผูสอนใชการวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาศักยภาพผูเรียนดานการเรียนรู พัฒนาการและพฤติกรรมผูเรียนรายกลุมและรายบุคคล ครูผูสอนสงเสริมกระตุนใหผูเรียน ศึกษา คนควา แสวงหาความรูและคําตอบไดดวยตนเองจากแหลงการเรียนรูตางๆ ภายในและนอกสถานศึกษา และครูผูสอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยแบงกลุมผูเรียน ใหผูเรียนลงมือปฏิบัติจริงตามแผนจัดการเรียนรู

5) ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ สถานศึกษารวบรวมเอกสารหลักฐานรองรอยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยางเปนระบบ คณะผูใหการนิเทศภายในแจงผลการนิเทศใหผูรับการนิเทศทราบ และสถานศึกษาจัดทําแผนงาน โครงการนิเทศภายใน

6) ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ คณะกรรมการประเมินการอาน คิดวิเคราะหและสื่อความสรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการประเมินผลการอานคิดวิเคราะหและสื่อความภาคเรียนละครั้ง คณะอนุกรรมการสาระการเรียนรูสรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการนําหลักสูตรไปใชในการจัดการเรียนรูของแตละสาระการเรียนรูภาคเรียนละครั้ง และคณะกรรมการนิเทศภายในสรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการนิเทศภายในภาคเรียนละครั้ง

7) ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสตูรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกขอ โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย 3 อันดับ คือ สถานศึกษาดําเนินการปรับปรุง/พัฒนาบุคลากรใหมีความสามารถในกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรเมื่อส้ินปการศึกษา สถานศึกษาดําเนินการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเมื่อส้ินปการศึกษา และสถานศึกษานําผลการนิเทศภายในและภายนอกมาใชเปนขอมูลวางแผนปรับปรุง/พัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

Page 4: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

147

5.1.2 การศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถามและขนาดโรงเรียน

1) ผลการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม คือ ผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการ ปรากฏผลดังนี้

ผูบริหารโรงเรียน พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายดาน มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉล่ียมากไปหาคาเฉลี่ยนอย คือ ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร และดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล

ครูวิชาการ พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายดาน มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน โดยมีประเด็นท่ีมีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล

2) ผลการศกึษาปญหาการพฒันาหลักสูตรสถานศกึษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศกึษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบรุี เขต 3 จําแนกตามขนาดโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดใหญ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก ปรากฏผลดังนี้

โรงเรียนขนาดใหญ มีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมอยูในระดับนอย และเมื่อพิจารณาเปนรายดาน มีปญหาอยูในระดับนอยทุกดาน โดยมีประเด็นที่มีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย คือ ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร (การใชหลักสูตร) ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา และดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ

Page 5: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

148

โรงเรียนขนาดกลาง มีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายดาน มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน โดยมีประเด็นที่มีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร และดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล

โรงเรียนขนาดเล็ก มีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเปนรายดาน มีปญหาอยูในระดับปานกลางทุกดาน โดยมีประเด็นที่มีปญหาเรียงตามลําดับคาเฉลี่ยมากไปหาคาเฉลี่ยนอย คือ ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ และดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา

5.1.3 ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถามและขนาดโรงเรียน ปรากฏผลดังนี้

1) ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม คือ ผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการ พบวา โดยภาพรวม และรายดานทุกดาน คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร มีความแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามขนาดโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดใหญ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก พบวา โดยภาพรวม และรายดานทุกดาน คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร มีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

Page 6: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

149

5.1.4 ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 รายดานจําแนกตามขนาดโรงเรียน คือ ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการนเิทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร โดยภาพรวมและรายดาน พบวาโรงเรียนขนาดใหญมีปญหาอยูในระดับนอยทุกดาน โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก มีปญหาโดยรวมและรายดานอยูในระดับปานกลางทุกดาน โดยภาพรวมและรายดานทุกดานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว และเมื่อพิจารณารายดานปรากฏผลดังนี้

1) ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญ แตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถติิที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานท่ีตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็กอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

2) ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญแตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานท่ีตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

3) ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญแตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

4) ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญแตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานท่ีตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

Page 7: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

150

5) ดานการนิเทศ กํากับ ติดตามและประเมินผล ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศกึษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญแตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานท่ีตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

6) ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โรงเรียนขนาดใหญ แตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถติิท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานท่ีตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลางแตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว

7) ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวาโรงเรียนขนาดใหญ แตกตางกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้งไว และโรงเรียนขนาดกลาง แตกตางกับโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานที่ตั้ง ไว

5.2 อภิปรายผล

ผลจากการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ผูวิจัยไดแยกอภิปรายตามวัตถุประสงคและสมมุติฐานในการวิจัยแตละขอ ดังนี้

5.2.1 ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมและรายดานมีปญหาอยูในระดับปานกลาง ซึ่ง สอดคลองกับผลการวิจัยของ วราภรณ บางเลี้ยง (2535, หนา 145) ท่ีไดทําการศึกษาวิจัยเร่ือง สภาพปญหาการพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของทองถ่ินของหนวยงานในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของทองถิ่นของโรงเรียนประถมศึกษามีปญหาอยูในระดับปานกลาง สอดคลองกับงานวิจัยของ อุบล ชมประสพ (2541, บทคัดยอ) ที่ไดทําการศึกษาเรื่อง ปญหาการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานกังานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา พบวา ปญหาการพัฒนา

Page 8: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

151

หลักสูตรทองถ่ินของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา โดยภาพรวมและองคประกอบมีปญหาอยูในระดับปานกลาง สอดคลองกับงานวิจัยของ นิมิต ตอฑีฆะ (2544, หนา 69) ท่ีไดทําการศึกษาเรื่อง ปญหาการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพังงา พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพังงา โดยภาพรวมและรายขั้นตอนมีปญหาอยูในระดับปานกลาง สอดคลองกับงานวิจัยของ สายพิณ พิมล (2546, หนา 105) ที่ไดทําการวิจัยเรื่อง ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามทรรศนะของผูบริหารโรงเรียน และผูบริหารงานวิชาการโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตร ของกรมวิชาการ : กรณีศึกษา เขตการศึกษา 12 พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามทรรศนะของผูบริหารโรงเรียนและผูบริหารงานวิชาการโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตร ของกรมวิชาการ : กรณีศึกษา เขตการศึกษา 12 โดยภาพรวมมีปญหาอยูในระดับปานกลาง ผลจากการศึกษา พบวาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวม และรายดานอยูในระดับปานกลาง

ท้ังนี้อาจเปนเพราะวา หลักสูตรเปนหัวใจสําคัญในการกําหนดทิศทางในจัดการเรียนการสอนใหแกผูเรียน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใหโรงเรียนทั่วประเทศใชหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่ผานมานั้นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายังคงมีปญหาทุกดานและทุกขั้นตอนทําใหการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาไมสนองตอบความตองการของผูเรียน บริบทของสังคมในชุมชนและทองถ่ินตามความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมโลก (ยุทธนา ปฐมวรชาติ, 2545, หนา 12) ที่ผานมาโรงเรียนใชหลักสูตรท่ีสวนกลางกําหนดใหโดยสวนใหญ ไมมีการพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของทองถ่ิน ประกอบกับผูบริหาร ครูและผูเกี่ยวของขาดความรู ความเขาใจในการพัฒนาหลักสูตรและประชาชนในทองถ่ินขาดความตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษา ไมใหการสนับสนุนและเขามามีสวนรวมในการจัดการเรียนการสอนเทาที่ควร ซ่ึงสอดคลองกับงานวิจัยของกองการศึกษา กรมวิชาการ (2538, บทคัดยอ) ที่ศึกษาเรื่องการประเมินผลการใชหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวา การพัฒนาหลักสูตรตามความตองการของทองถิ่นโรงเรียนมีปญหาที่สําคัญคือ ครูขาดความรู ความเขาใจในการพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของทองถ่ิน ขาดบุคลากรท่ีมีความสามารถในดานนี้ ผูปกครองยังไมเขาใจ ไมยอมรับและไมเห็นความสําคัญ ขาดความรวมมือที่ดีจากแหลงวิทยากร นอกจากนี้การดําเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตองอาศัยทักษะพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรทองถิ่นมาปรับปรุง ประกอบกับความชํานาญในการนําหลักสูตรไปใชและแนวทางที่กําหนดไวในหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง 2533) มาเปนพ้ืนฐาน โดยพัฒนาใหสอดคลองกับผูเรียน ทองถิ่น สาระหลักสูตร

Page 9: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

152

การศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานที่กําหนดไว (ยุทธนา ปฐมวรชาติ, 2545, หนา 16) การสงเสริมใหทองถ่ินพัฒนาหลักสูตรไดนั้นหลักสูตรไดเปดโอกาสใหทองถ่ินสามารถดําเนินการจัดการศึกษาใหเหมาะสมสอดคลองกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของทองถ่ิน กรมวิชาการ (2540, หนา 39) อาณาเขตท่ีเหมาะสมของหลักสูตรจะอยูท่ีโรงเรียนแตละแหง โรงเรียนแตละแหงเปนอาณาเขตที่เหมาะสมของหลักสูตรนั้น ก็เนื่องจากชุมชนแตละแหงนั้นมักจะมีสภาพปญหาและความตองการแตกตางกัน นอกจากนี้ยังสามารถเปดโอกาสใหครูมีสวนรวมในการพัฒนาหลักสูตรไดโดยสะดวกอีกดวย (โปแชมพ, 1975; อางถึงใน ชัยพจน รักงาม, 2545, หนา 61) แตสิ่งตางๆ เหลานี้พบวาหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใหโรงเรียนทั่วประเทศใชหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เมื่อปการศกึษา 2546 มาจนถึงปจจุบันโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ไดดําเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตลอดเวลาอยางตอเนื่อง อาจเปนเพราะกอนเริ่มใชหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สํานักบริหารงานคณะกรรมการสงเสริมการศึกษาเอกชนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาแกผูบริหารโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียนละ 2 คน และโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาสวนใหญจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาแกผูบริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และครูผูสอนกอนที่กระทรวงศึกษาธิการจะประกาศใชหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทั่วประเทศ พรอมศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตร แนวทาง การบริหารจัดการหลักสูตรขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา และเอกสารตางๆ ท่ีเกี่ยวกับการนําหลักสูตรไปใชของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พรอมนี้ศึกษานิเทศกจากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ไดใหการนิเทศ ติดตามเปนระยะๆ อยางตอเนื่อง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 เปนรายดาน ปรากฏผลดังนี้ 1) ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา ผลจากการศึกษา ปญหาดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายขออยูในระดับปานกลาง ปญหาท่ีพบมากที่สุด คือ ผูบริหารและคณะครูเยี่ยมเยียนประชาชนหนวยงานองคกรของรัฐและเอกชน และขอความชวยเหลือในการบริหารจดัการหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของสุชาติ กะไชยวงษ (2546, หนา 61) ไดทําการศึกษาเรื่อง ศึกษาปญหาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดตราด พบวา ดานการเตรียมความพรอม โดยรวมอยูในระดบัปานกลาง ปญหาที่พบมากที่สุด ไดแก การประชาสัมพันธโดยวิธีการที่หลากหลายและผูบริหารและครูออกเยี่ยมเยียนพบปะผูปกครอง

Page 10: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

153

ทั้งนี้อาจเปนเพราะวา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาสวนใหญขาดการประชาสัมพันธหลักสูตรใหชุมชนในทองถ่ินในเขตพื้นที่บริการอยางสม่ําเสมอ สงผลใหโรงเรียนเอกชนขาดการประสานความรวมมือกับหนวยงานองคกรของรัฐและเอกชน วิทยากรทองถ่ิน ภูมิปญญาทองถ่ิน แหลงวิทยาการในชุมชนของทองถิ่น และไมไดรับการชวยเหลือในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา อันเปนผลมาจากขาดการประชาสัมพันธอยางเปนระบบ สอดคลองกับบรรจง ชูสกุลชาติ (2533, หนา 49) กลาววา การประชาสัมพันธที่ผานมายังเปนระบบ หรืออาจเปนเพราะหนวยงานของรัฐและเอกชนของชุมชนในทองถิ่นขาดบุคลากรที่มีความรูความชํานาญและประสบการณเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การที่ผูบริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และคณะครูออกเยี่ยมเยียนผูปกครองไมมีเปาหมายในการประชาสัมพันธหลักสูตรสถานศึกษาใหแกผูปกครองในชุมชนและทองถ่ินไดรับทราบ และเก็บรวบรวมขอมูลพื้นฐานของชุมชนในทองถ่ินมาใชใหเกิดประโยชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การประชาสัมพันธมีเปาหมายเพื่อใหผูปกครองรูจักโรงเรียนแตมีเปาหมายในการรับสมัครนักเรียนเขาใหมประจําปใหไดนักเรียนตามแผนการรับนักเรียน ซึ่งแตละโรงเรียนมีวิธีการที่หลากหลายแตกตางกันตามงบประมาณและขนาดโรงเรียน จากประเด็นดังกลาวอาจสงผลใหหนวยงานภาครัฐและเอกชน วิทยากรทองถ่ิน ภูมิปญญาทองถ่ิน แหลงวิทยาการในชุมชนภายในทองถ่ินขาดการสงเสริมสนับสนุนและชวยเหลือการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา อาจเปนเพราะโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญไมใชสมบัติของชุมชนภายในทองถ่ิน อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษาอยูในระดับปานกลาง

2) ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอท่ีพบปญหามากที่สุดคือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการรวมกับวิทยากรทองถ่ินกําหนดโครงสรางหลักสูตรสถานศึกษาแตละชวงชั้นและสัดสวนเวลาเรียน สอดคลองกับงานวิจัยของพอลลอซซี (Pollozzi, 1981, p. 1418-A; อางถึงใน จรัล ศรีประพันธ, 2540, หนา 73) ศึกษารูปแบบของชุมชนตอการเขาไปมีสวนเกี่ยวของกับกิจกรรมของโรงเรียนทองถิ่น ในรัฐนิวเจอรซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบวา รูปแบบที่ใชในการจัดการศึกษาควรขยายออกไปเปนรูปแบบของชุมชนเมือง การจัดการศึกษาในโรงเรียนทองถิ่นควรรวมมือกันทั้งสองฝายและโรงเรียนไมควรติดอยูกับนโยบายมากนัก สวนฝายชุมชนควรเสนอนโยบายที่ตรงกับความสามารถของตนเองและสิ่งที่โรงเรียนควรคาํนงึถึงคือ การรับผิดชอบกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นและอยูในวิสัยท่ีเปนไปได การปฏิบัติจะตองเปนไปอยางตอเนือ่งท้ังนี้อาจเปนเพราะวา ผูรับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษายังขาดความรูความเขาใจ

Page 11: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

154

อยางถองแทในแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สงผลใหขาดการใหความสําคัญการมีสวนรวมของหนวยงานภาครัฐและเอกชน วิทยากรทองถ่ิน ภูมิปญญาทองถ่ิน ภูมิปญญาไทยในชุมชนภายในทองถ่ิน ท่ีมีความรอบรูความชํานาญในแตละสาระการเรียนรู และปญหาสภาพสิ่งแวดลอม ปญหาสังคมของชุมชนภายในทองถิ่นเขามามีสวนรวมในการพัฒนาหลักสูตรรวมกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาในการกําหนดโครงสรางหลักสูตรสถานศึกษาแตละชวงชั้นและสัดสวนเวลาเรียน อาจสงผลทําใหการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาประสบปญหาไมสอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศกัราช 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 ที่กําหนดไววา กระบวนการจัดการศึกษาตองเปนการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับประชาชน สังคมในทองถ่ินตองมีสวนรวมในการจัดการศึกษา การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรูตองเปนไปอยางตอเนื่อง (มาตรา 8) ทําใหการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาประสบปญหาในบางขั้นตอน ในดําเนินงาน สอดคลองกับงานวิจัยของ มณฑิชา ชนะสิทธ์ิ (2539, หนา 187-191) ท่ีไดทําการวิจัยเร่ือง การศึกษาสภาพและปญหาการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินโดยภูมิปญญาชาวบาน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา พบวา การสรางหลักสูตรหลักแนวคิดโครงการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินโดยภูมิปญญาชาวบานของโรงเรียนสวนใหญ คือการศึกษาแบบยั่งยืน มีวัตถุประสงคเพ่ือใหผูเรียนเรียนรูการประกอบอาชีพโดยใชทรัพยากรในชุมชน โรงเรียนสวนใหญพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินโดยครูผูสอนในกลุมการงานพื้นฐานอาชีพระดับประถมศึกษาปที่ 5-6 และในวิชาเลือกเสรีระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ในลักษณะการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริมเปนการปฏิบัติ การสาธิต และลักษณะการปรับรายละเอียดเนื้อหาโดยปราชญชาวบานมีสวนรวมใหคําปรึกษาและเปนผูกําหนดเนื้อหา ปญหาในการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินของโรงเรียน ไดแก ขาดแคลนงบประมาณ ผูบริหารไมเห็นความสําคัญของโครงการ ปราชญชาวบานไมมีเวลา กิจกรรมการเรียนการสอนใชเวลามากกวาท่ีกําหนดและครูผูสอนไมมีเวลาจัดทําแผนการสอน ในการจัดการศึกษาสวนใหญโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษามุงเนนแขงขันความโดดเดนทางวิชาการใหสนองตอบความตองการของผูปกครองเปนสําคัญ เปนผลใหการจัดการเรียนการสอนไมเนนการจัดการเรียนรูเกี่ยวกับภูมิปญญาทองถ่ิน ปญหาของชุมชนและสิ่งแวดลอมในทองถ่ิน เพราะในการจัดกิจกรรมโดยใชวิทยากรทองถ่ินหรือภูมิปญญาทองถ่ินทําใหเสียเวลาและสิ้นเปลื้องงบประมาณ อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาอยูในระดับปานกลาง

Page 12: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

155

3) ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอที่พบปญหามากที่สุด คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการวางแผนใหครูผูสอนทุกคนใชกิจกรรมแนะแนวพัฒนาผูเรียน สอดคลองกับงานวิจัยของ พรพินิจ เสืออวม (2545, หนา 86) ที่ไดวิจัยเรื่อง ปญหาการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรในสังกัดสํานักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นท่ีนํารองปฏิรูปการศึกษาชลบุรี จําแนกเปนรายดานของโรงเรียนทุกขนาด พบวา ปญหาดานการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผูเรียนมีปญหาอยูในระดับปานกลาง กลาววา การกําหนดเกณฑ รูปแบบ และวิธีการประเมิน การจัดกิจกรรมประเภทตางๆ และการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผูเรียน สนองตอความตองการ ความสนใจ ความถนัดของผูเรียนและชุมชนเปนปญหาในอันดับแรก แสดงใหเห็นวาสถานศึกษาทุกขนาด ยังไมสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาผูเรียนใหมีประสิทธิภาพได

ท้ังนี้อาจเปนเพราะวา ผูสอนสวนใหญยังขาดความรูความเขาใจ ขาดประสบการณ และไมเขาใจเปาหมายของกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปนผลใหผูสอนไมสามารถออกแบบกิจกรรมแนะแนวมาใชในการจัดกิจกรรมแนะแนวใหแกผูเรียน สงผลใหการจัดกจิกรรมแนะแนวไมประสบความสําเร็จตามเปาหมายของหลักสูตร เพราะในการจัดกิจกรรมแนะแนวผูสอนไมมีจุดมุงหมายและขาดวัตถุประสงคที่ทําใหผูเรียนสรางภูมิคุมกันใหกับตนเองได เชน ความเปนผูมีวินัย ความรับผิดชอบ และการปรับปรุงพัฒนาตนเอง จําเปนที่คณะกรรมบริหารหลักสูตรและงานวิชาการตองรวมมือกับผูสอนวางแผน เพื่อใหผูสอนทุกคนสามารถจัดกิจกรรมแนะแนวใหเปนกิจกรรมพัฒนาผูเรียนอยางมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดกิจกรรมแนะแนวดวยวิธีการที่หลากหลายอยางเปนระบบ โดยผูเรียนตองเขารวมกิจกรรมแนะแนวและผูสอนตองประเมินผลตามเกณฑการประเมินผลท่ีหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กําหนด ชัยรัตน แกวแสนสุข (2545, หนา 31) กลาววา การแนะแนวในสถานศึกษามีปญหา ดังนี้

(1) การบริหารงานแนะแนวยังไมเปนระบบ ไมมีการกําหนดบทบาทหนาที่ของแตละหนวยงานใหชัดเจน ขาดการประสานงานที่ดี ผูบริหารมีความรู ความเขาใจและเจตคติที่แตกตางกัน

(2) ระบบงานในสถานศึกษาไมมีประสิทธิภาพ ไมมีการกําหนดหลักการ ขอบขายของงานแนะแนว ไมมีแผนและโครงสรางสําหรับดําเนินงาน ขาดผูรับผิดชอบงานแนะแนวที่มีคุณภาพ

(3) สถานศึกษาทุกระดับขาดบุคลากรที่มีความรูเรื่องแนะแนวโดยตรง ถึงแมบางโรงเรียนจะมีบางแตก็มีปริมาณไมเพียงพอจะดูแลนักเรียนอยางทั่วถึง

Page 13: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

156

(4) สถานศึกษาสวนใหญขาดแคลนอุปกรณ เคร่ืองมือที่จําเปน เชนแบบทดสอบทางจิตวิทยา และไมมีการประสานงานกันในการผลิตเอกสาร สรางเครื่องมือและแลกเปลี่ยนการใช

(5) ขาดการประชาสัมพันธ แตละหนวยงานขาดการประชาสัมพันธใหสถานศึกษารูและเขาใจถึงความสําคัญ ความจําเปนในการจัดงานแนะแนว

(6) ขาดการประสานงาน ความรวมมือของแตละหนวยงาน ทําใหไมทราบความเคล่ือนไหวซ่ึงกันและกัน

(7) ขาดงบประมาณในการดําเนินงานไมมีงบประมาณในการดําเนินการเพราะผูสนับสนุนไมทราบถึงความตองการ ความจําเปน

(8) ขาดการศึกษาวิจัย งานวิจัยดานการแนะแนวมีนอย ทําใหยากที่จะศึกษาและพัฒนาการดําเนินใหมีประสิทธิภาพ (สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ, 2539, หนา 38) อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตรอยูในระดับปานกลาง

4) ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอที่พบปญหามากที่สุดคือครูผูสอนใชการวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาศักยภาพผูเรียนดานการเรียนรู พัฒนาการและพฤติกรรมผูเรียนรายกลุมและรายบุคคล สอดคลองกับงานวิจัยของ มณฑา จําปาเหลือง (2546, หนา 62) ที่ไดวิจัยเร่ือง การศึกษาปญหาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอําเภอเมือง จังหวัดตราด พบวา ปญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอําเภอเมือง จังหวัดตราด โดยรวมและรายดานอยูในระดับปานกลาง ดานที่มีปญหาสูงสุดเรียงตามลําดับ คือ ดานขั้นดําเนินการวจิัยในชั้นเรียน ดานขั้นกําหนดแผนการวิจัยในชั้นเรียน ดานขั้นนําเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียน และดานขั้นเตรียมการวิจัยในชั้นเรียน

ทั้งนี้อาจเปนเพราะการจัดการเรียนรูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานมีวิธีการที่หลากหลายในการพัฒนาผูเรียนตามความถนัด ความสนใจและความตองการของผูเรียน โดยใหผูสอนใชการวิจัยในชั้นเรียนเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู ปญหาที่พบสวนใหญพบวาผูสอนยังมีพฤติกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรูที่มุงใหผูเรียนลงมือปฏิบัติจริงยังไมประสบความสําเร็จ เนื่องจากครูยังไมเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการสอน ยังยึดตัวเองเปนศูนยกลางมากกวายึดผูเรียนเปนศูนยกลาง สํานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแหงชาติ (2542, หนา 78-79) นับวาเปนการจัดการเรียนรูไมสอดคลองกับความตองการของหลักสูตร ผลที่ตามมาสงผลที่ใหผูสอนขาดการวิจัยในชั้นเรียนตามที่

Page 14: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

157

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที ่2) พ.ศ. 2545 กาํหนด เพราะผูสอนสวนใหญมองวาการวิจัยในชั้นเรียนเปนนวัตกรรมใหมที่มีขั้นตอนยุงยากซับซอนทําใหส้ินเปลื้องเวลาในการดําเนินการและประเมินผลและมีความคิดวาการวิจัยในชั้นเรียนไมสงผลใหผูเรยีนพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไดจริงสูเอาเวลาไปใชจัดการเรียนรูใหแกผูเรียนจะเกิดประโยชนมากกวา สงผลใหการวิจัยในชั้นเรียนเปนปญหาอยูในระดับแรกของการนําหลักสูตรไปใชที่เปนลักษณะเชนนี้ นาจะเปนผลมาจากครูผูสอนมีภาระงานมาก ขาดความรูความเขาใจในขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียนอยางแทจริง สอดคลองกับ พระมหาปรีชา ฉัตรแกว (2548, หนา 108) ที่ไดวิจัยเรื่อง ศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุม 12 พบวา ดานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยูในระดับปานกลาง สอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 (2542 ก, หนา 13) ท่ีกลาวถึงการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา และหมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลาววาผูเรียนตองนํากระบวนการวิจัยมาใชเพ่ือพัฒนากระบวนการเรียนรู ครูผูสอนตองวิจัยเพ่ือพัฒนาการสอนและผูบริหารสถานศึกษาตองวิจัยเพ่ือประกันคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ผูบริหารและครูวิชาการควรสงเสริมพัฒนาผูสอนใหมีความรู ความเขาใจ มีความตระหนัก และเห็นคุณคาของการวิจัยในชั้นเรียนใหตรงกันโดยการนิเทศ กํากับ ติดตามและประเมินผลอยางตอเนื่อง อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตรอยูในระดับปานกลาง

5) ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอที่พบปญหามากที่สุดคือ สถานศึกษารวบรวมเอกสารหลักฐานรองรอยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยางเปนระบบ สอดคลองกับงานวิจัยของ สุชาติ กะไชยวงษ (2546, หนา 65) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ศึกษาปญหาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดตราด ท่ีกลาววา ผูบริหารสถานศึกษายังขาดความรูความเขาใจและทักษะในการควบคุม กํากับ ติดตามประเมินผล จัดทํารายงานการประเมินผล เนื่องจากอาจจะไมเห็นความสําคัญของงานนี้ เพราะมีภารกิจอื่นๆ อีกมาก จึงทําใหขาดการรายงานผลการดําเนินงานใหผูเกี่ยวของทราบ

ทั้งนี้อาจเปนเพราะวา ผูบริหารโรงเรียน หัวหนาฝายวิชาการ หัวหนากลุมสาระ และ หัวหนากิจกรรมพัฒนาผูเรียน และครูผูสอนสวนใหญขาดความรูความเขาใจในทักษะกระบวนการการดําเนินการกํากับ ติดตามและประเมินผลการนําหลักสูตรไปใชตามขั้นตอนการบริหารจัดการหลักสูตร

Page 15: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

158

การศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาอยางถูกตอง สงผลใหโรงเรียนไมมีระบบ ไมมีแผนการนิเทศและไมมีการแตงตั้งมอบหมายหนาที่ผูรับผิดชอบในการนิเทศภายในโดยตรง ผูใหการนิเทศขาดความรูความสามารถในการนิเทศ ผูรับการนิเทศไมยอมรับผลการนิเทศภายในของผูใหการนิเทศ สงผลการดําเนินการนิเทศภายในไมมีความตอเนื่อง และครูผูสอนไมมีสวนรวมในการนิเทศภายในซึ่งกันและกัน ทําใหสถานศึกษาจัดเก็บขอมูลรองรอย เอกสารและรายงานสรุปผลการดําเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดานตางๆ ไมเปนระบบ อาจเนื่องจากครูโรงเรียนเอกชนมีภาระงานมากหลายดานตามที่โรงเรียนมอบหมาย สงผลผูปฏิบัติงานใหไมมีเวลาและไมใหความสําคัญตอการรวบรวมเอกสารรองรอยตางๆ ในการประเมินผลการนําหลักสูตรไปใช สอดคลองกับงานวิจัยของ เกรียงศักดิ์ จินาพงศ (2544, หนา 75) ที่ทําการวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานการใชหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ของผูบริหารโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 4 พบวาผูบริหารโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 4 ไดปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม และประเมินการใชหลักสูตรอยูในระดับปานกลาง ขอท่ีมีปญหามากที่สุด คือการจัดการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาและปรับปรงุการดําเนินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ประเด็นหลักท่ีสําคัญ พบวาโรงเรียนเอกชนสวนใหญขาดระบบบริหารจดัการที่ดีในการเบิกจายวัสดุอุปกรณ ขาดการทําแผนงบประมาณคาใชจาย ประจําป งานเอกสารหลักฐานตางๆ ที่ผูสอนเปนผูจัดดําเนินการไมเอ้ือผลตอการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจําป และไมมีผลตอการปรับเล่ือนวิทยฐานะในการประกอบวิชาชีพครูเหมือนครูโรงเรียนของรัฐในสังกัดตางๆ ซ่ึงทําใหการจัดทําและการเก็บรวบรวมขอมูลเอกสารหลักฐานรองรอยตางๆ อยางเปนระบบ อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผลอยูในระดับปานกลาง

6) ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 พบวา โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอที่พบปญหามากที่สุดคือคณะกรรมการประเมินการอาน คิดวิเคราะห และส่ือความ สรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการประเมินผลการอาน คิดวิเคราะหและส่ือความภาคเรียนละคร้ัง สอดคลองกับกระทรวงศึกษาธิการ (2544, หนา 41) ที่วาการวัดผลประเมินผลการเรียน นอกจากจะมีจุดมุงหมายเพื่อนําผลไปใชพัฒนาคุณภาพผูเรียน โดยใชเปนขอมูลสารสนเทศที่แสดงการพัฒนา ความกาวหนาและความสําเร็จทางการเรียนของผูเรียน ซึ่งจะเปนประโยชนตอการสงเสริมใหผูเรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรูอยางเต็มศักยภาพแลว จุดสําคัญอีกประการหนึ่ง คือเพื่อใชเปนขอมูลสําหรับตัดสินความสําเร็จในการเรียนของผูเรียนในการจบชวงชั้นและจบหลักสูตรการศึกษาระดับตางๆ ซึ่งจะ

Page 16: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

159

ทําใหผูเรียนไดรับการรับรองความรูและวุฒิการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ สามารถนําไปใชในการศึกษาตอ สมัครงานและใชเปนหลักฐานดําเนินการในเรื่องอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวของ

ท้ังนี้อาจเปนเพราะวา ผูสอนสวนใหญยังจัดกิจกรรมและประเมินการอาน คิดวิเคราะหและสื่อความ ยังดําเนินการอยางไมเปนกระบวนการที่ถูกตองและเปนระบบ ขาดความเปนมาตรฐานในการประเมินผลและไมใชเครื่องมือที่เหมาะสม สงผลใหการประเมินผลไมมีประสิทธิภาพไมบรรลุผลตามเปาหมายที่หลักสูตรกําหนด ซึ่งอาจเปนผลมาจากผูบริหารโรงเรียนและครูวิชาการขาดความรูความเขาใจในแนวทางปฏิบัติจึงไมใหความสําคัญในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลในการนําหลักสูตรไปใชในการปฏิบัติจริง ผูบริหารโรงเรียนอาจไมใหความสําคัญแกคณะกรรมการประเมินการอาน คิดวิเคราะหและสื่อความของสถานศึกษาไดทําหนาท่ีในการตัดสินผลการประเมินการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความของผูเรียนกอนจบการศึกษาในชั้นสุดทายของแตละชวงชั้นใหเปนไปตามขั้นตอนที่ถูกตอง ซ่ึงอาจเปนผลใหผูสอนทุกกลุมสาระการเรียนรูไมใหความสําคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรูท่ีเนนผูเรียนเปนสําคัญและการประเมินผลการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความอยางเปนระบบตามระเบียบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรูของโรงเรียนกําหนด อาจเปนผลทําใหคณะกรรมการประเมินการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความที่ไดรับการแตงตั้งมอบหมายไมสามารถปฏิบัติหนาที่ในการวัดผลและประเมินผลได ทําใหไมสามารถนําขอมูลมาใชในการสรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการประเมินฯ ไดเมื่อส้ินปการศึกษาเสนอแกครูใหญอนุมัติผลได โดยเฉพาะอยางยิ่งในปจจุบันโรงเรียนเอกชนไมมีหนวยงานการศึกษาที่รับผิดชอบโดยตรงในการสงเสริมและพัฒนาบุคลากร สงผลกระทบตอกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในสวนท่ีจําเปนขาดหายไปนับแตมีการปฏิรูปการศึกษาสูสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา จึงเปนหนาท่ีของโรงเรียนเอกชนทุกโรงเรียนตองเรงพัฒนาบุคลากรของตนใหสามารถในการปฏิบัติงาน การสงเสริมสนับสนุนของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสวนใหญมุงพัฒนาเฉพาะในสวนโรงเรียนภาครัฐและไมใหความสําคัญตอโรงเรียนเอกชนเทาที่ควรตามนโยบายกระจายอํานาจ แตจะดําเนินการเฉพาะในสวนท่ีเปนนโยบายที่สําคัญๆ เทาน้ัน อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษาอยูในระดับปานกลาง

7) ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ขอที่พบปญหามากที่สุดคือสถานศึกษาดําเนินการปรับปรุง/พัฒนาบุคลากรใหมีความสามารถในกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรเมื่อสิ้นปการศึกษาสอดคลองกับงานวิจัยของกรมวิชาการ (2544 ก, หนา 38) ไดสํารวจความคิดเห็นครูเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน

Page 17: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

160

พุทธศักราช 2544 พบวา ครูผูสอนสวนใหญ (รอยละ 80 ขึ้นไป) มีความเห็นวา การนําหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไปใชใหไดผลน้ัน ควรมีการพัฒนาใน 4 ดาน คือ การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวของทุกระดับ ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการศึกษาใหเขมแข็ง ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรยีนรูและปรับปรุงกระบวนการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู

ทั้งนี้อาจเปนเพราะวา การประเมินผลการนําหลักสูตรไปใชเปนกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรท่ีสําคัญที่โรงเรียนเอกชนสวนใหญยังขาดความเขาใจถึงกระบวนการและประโยชนในการนําขอมูลที่ไดรับจากการประเมินผลการนําหลักสูตรไปใชจัดการเรียนรูใหแกผูเรียนมาใชวิเคราะหผลถึงสภาพความสําเร็จ ปญหาและอุปสรรคเมื่อส้ินปการศึกษา สงผลใหโรงเรียนเอกชนสวนใหญไมใหความสําคัญในการดําเนินการพัฒนาครูวิชาการและครูผูสอนใหมีความรูความเขาใจในการกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาอยางตอเน่ืองเปนผลทําใหโรงเรียนไมมีแผนปฏิบัติการใหครูผูสอนนําขอมูลตางๆ มาใชเปนขอมูลพ้ืนฐานในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนรู พัฒนาแผนการเรียนรู พัฒนาการวัดผลและประเมินผล พัฒนาส่ือ นวัตกรรม เทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ และแหลงการเรียนรูใหมีคุณภาพ เพื่อใหครูผูสอนนําหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไปใชปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนรูแกผูเรียนใหมีคุณภาพบรรลุผลตามเปาหมายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กมีการพัฒนาบุคลากรอยูในวงจํากัดผูเขารับการพัฒนาสวนใหญไดแก ครูใหญ หัวหนาฝายวิชาการ และหัวหนาระดับสาระ เพราะงบประมาณมีจํากัด ทําใหผูสอนไมไดรับการพัฒนาอยางทั่วถึง และผูเขารับการพัฒนาไมสามารถถายทอดใหผูสอนเขาใจและนําไปปฏิบัติไดอยางครบถวน สาเหตุสําคัญที่เปนปญหา คือ ผูสอนที่โรงเรียนสงเขารับการพัฒนาสวนใหญเมื่อไดงานที่ดีกวามีความมั่นคงกวาลาออกไปทํางานใหมทําใหขาดความตอเนื่อง ประเด็นสําคัญโรงเรียนเอกชนสวนใหญขาดพัฒนาบุคลากรอยางทั่วถึงและอยางตอเนื่อง ซึ่งเปนผลใหผูสอนขาดทักษะ ขาดความชํานาญ ขาดประสบการณ ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนรู พัฒนาแผนการเรียนรู พัฒนาการวัดผลและประเมินผล พัฒนาส่ือ นวัตกรรม เทคโนโลยี อาจเปนผลใหปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรอยูในระดับปานกลาง

5.2.2 นําเสนอการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถามและขนาดโรงเรียน ผลการศึกษามีประเด็นที่จะนํามาอภิปรายผล ดังนี้

Page 18: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

161

1) ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม ไดแก ผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการ โดยภาพรวมและรายดาน พบวา แตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว และไมสอดคลองกับงานวิจัยของ สายพิณ พิมล (2546, บทคัดยอ) วิจัยเรื่อง ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามทรรศนะของผูบริหารโรงเรียนและผูบริหารงานวิชาการ โรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรของกรมวิชาการ : กรณีศึกษา เขตการศึกษา 12 พบวา ปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามทรรศนะของผูบริหารโรงเรียนและผูบริหารงานวิชาการ โรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรของกรมวิชาการ : กรณีศึกษา เขตการศึกษา 12 โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง เม่ือพิจารณาเปนรายดานปรากฏวา ดานการดําเนินการจัดทําสาระของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ดานการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ดานการปฏบิัติการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม อยูในระดับปานกลาง สวนดานความพรอมของสถานศึกษาอยูในระดับนอย ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จําแนกตามตําแหนงงาน ขนาดของโรงเรียน และสังกัดของโรงเรียน พบวา มีปญหาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายดานไมแตกตางกัน

ท้ังนี้อาจเปนเพราะผูบริหารโรงเรียนและครูวิชาการไดรับความรูจากการอบรม การศึกษาจากขอมูลขาวสาร เอกสารของกระทรวงศึกษาธิการท่ีมอบใหโรงเรียนใชศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานของสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูวิชาการสวนใหญไมไดเขารับการพัฒนาอบรมและไมมีวุฒิการศึกษาวิชาชีพครูทําใหขาดความเขาใจในแนวทางการบริหารจดัการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีทัศนคติที่แตกตางกันในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา และดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร จึงทําใหมีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแตกตางกัน ผลการวิจัยนี้สอดคลองกับการวิจัยของดวงจันทร เดี่ยววิไล (2539, หนา 84) ไดศึกษาสภาพปญหาและความตองการของครูระดับมัธยมศึกษาตอนตนจงัหวัดลําปางเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรทองถิน่ตามแนวการใชหลกัสตูรมธัยมศกึษาตอนตน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ผลการศึกษาพบวา ผลการเปรียบเทียบตามลักษณะของตําแหนงหนาท่ี หมวดวิชา ระดับการศึกษา ความมีวุฒิครู ไมมีวุฒิครู การมีและไมมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทองถ่ินในโรงเรียน พบวามีสภาพปญหาและความตองการในการพัฒนาหลักสูตรทองถ่ินดานหลักการ ดานวิธีการ และดานทัศนคติแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ

Page 19: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

162

2) ผลการเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 จําแนกตามขนาดโรงเรียน ไดแก โรงเรียนขนาดใหญ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมและรายดาน มีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดเล็กมีปญหาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามากกวาโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ สอดคลองกับสมมุติฐานการวิจัยท่ีตั้งไว สอดคลองกับงานวิจัยของ พรพินิจ เสืออวม (2545, บทคัดยอ) วิจัยเรื่อง ปญหาการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรในสังกัดสํานักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่นํารองปฏิรูปการศึกษาชลบุรี พบวา ปญหาการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรในสังกัดสํานักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่นํารองปฏิรูปการศึกษาชลบุรี อยูในระดับปานกลาง เรียงตามลําดับดังนี้ ดานการออกแบบการเรียนรู ดานการจัดทําสาระของหลักสูตร ดานการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผูเรียน ดานการจัดทําโครงสรางหลักสูตรสถานศึกษา และดานการกําหนดวิสัยทัศน ภารกิจ เปาหมาย เมื่อเปรียบเทียบปญหาการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนํารองการใชหลักสูตรในสังกัดสํานักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่นํารองปฏิรูปการศึกษาชลบุรี พบวา การกําหนดวิสัยทัศน ภารกิจ เปาหมาย ของโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ

ทั้งนี้อาจเปนเพราะวา โรงเรียนท่ีมีขนาดแตกตางกัน ยอมสงผลกระทบตอความพรอมเกี่ยวกับปจจัยเกื้อหนุนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาแตกตางกัน ซึ่งอภิปรายประเด็นไดดังนี้

(1) ความพรอมดานบุคลากร โรงเรียนขนาดใหญมีบุคลากรมากกวาโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก ยอมสงผลใหการปฏิบัติภารกิจของโรงเรียนมีความแตกตางกันในความประสบความสําเร็จบรรลุผลตามเปาหมาย อาจเปนเพราะโรงเรียนขนาดใหญมีการกําหนดโครงสรางการบริหารงานที่เปนระบบทําใหการวางแผนจัดบุคลากรเขาปฏิบัติงานในหนาท่ีตางๆ ไดอยางครบถวนทุกงาน โครงการและกิจกรรม และมีคาตอบแทน สวัสดิการดานตางๆ เปนที่พึงพอใจแกบุคลากร สงผลใหบุคลากรมีขวัญและกําลังใจ มีความมั่นคงในประกอบวิชาชีพ ทําใหเกิดผลดีตอการปฏิบัติงาน ของบุคลากร ปจจัยเกื้อกูลเหลานี้ลวนสงผลกระทบแกบุคลากรของโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กตอการวางแผนจัดสรรอัตราและจัดบุคลากรเขาปฏิบัติงานตามโครงสรางการบริหารงานของโรงเรียน และบุคลากรไดรับคาตอบแทนในการปฏิบัติงานตามตําแหนงงานที่ตํ่ากวาโรงเรียนขนาดใหญและตามที่รัฐกําหนด บุคลากรขาดสวัสดิการดานตางๆ ในขั้นพื้นฐาน ขาดขวัญและกําลังใจ ขาดความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ และมีภาระงานที่ไดรับมอบหมายหลายดานนอกเหนือจาก

Page 20: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

163

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ยอมสงผลแกบุคลากรของโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก ท้ังนี้อาจเปนผลใหโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนผูสอนที่มีวุฒิการศึกษาวิชาชีพครูในวิชาเอก ที่ตองการ สงผลใหโรงเรียนท่ีมีขนาดแตกตางกันมีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแตกตางกัน สอดคลองกับงานวิจัยของ สมปอง นิลลวน (2530, บทคัดยอ) ไดวิจัยเรื่อง การศึกษาปญหาการบริหารบุคลากรของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานประถมศึกษาจังหวัดสงขลา พบวา ผูบริหารโรงเรียนที่มีประสบการณตางกันและมีขนาดโรงเรียนที่แตกตางกัน มีปญหาในการบริหารบุคลากรแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 ในดานการวางแผนบุคลากรและจัดบุคลากรเขาปฏิบัติงาน

(2) ความพรอมดานงบประมาณ โรงเรียนขนาดใหญมคีวามพรอมดานงบประมาณมากกวาโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กตามลําดับ สงผลใหโรงเรียนมีการบริหารจัดการงบประมาณดานบุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ เทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก ไดอยางเพียงพอถือเปนปจจัยเกื้อหนุนตอการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาไดอยางมีประสิทธิภาพ เปนผลทําใหผูปกครองท่ีมีฐานะทาง เศรษฐกิจในระดับดีและปานกลางมีความพึงพอใจและนิยมสงบุตรหลานมาเขาเรียนจํานวนมาก เปนผลใหโรงเรียนขนาดใหญสามารถกําหนดเพดานคาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคาธรรมเนียมตางๆ ทําใหโรงเรียนมีงบประมาณที่เพียงพอตอการใหการบริการและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาทุกดานในระดับสูง สวนโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กมีการบริหารจัดการงบประมาณในการใหบริการและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยูในภาวะจํากัดสงผลทําใหการบริหารงานดานบุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ เทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวกไมเพียงพอ เพราะผูปกครองนักเรียนมีฐานะทางเศรษฐกิจอยูในระดับปานกลาง เปนผลทําใหโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กไมสามารถกําหนดเพดานเกบ็คาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคาธรรมเนียมตางๆ ไดเทาเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ ประกอบกับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญขาดการบริหารจัดการงบประมาณอยางเปนระบบ ยอมสงผลใหโรงเรียนที่มีขนาดตางกันมีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่แตกตางกัน

(3) ความพรอมดานอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ เทคโนโลยีและสิ่งอํานวยความสะดวก โรงเรียนขนาดใหญมีความพรอมมากกวาโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก ซ่ึงเปนผลมาจากความพรอมดานการวางแผนและการใชงบประมาณคาใชจายอยางเปนระบบตอการบริหารงานในการสงเสริมสนับสนุนแผนงาน โครงการ กิจกรรม ทุกๆ ดานอยางมีประสิทธิภาพ สําหรับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญขาดความพรอมดานงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ เทคโนโลยี และสิ่งอํานวยความสะดวกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอยูในวงจํากัดเพราะขาดงบประมาณสนับสนุน เปนผลมาจากอํานาจในการตัดสินใจในการใชงบประมาณ

Page 21: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

164

พัฒนาคุณภาพการศึกษาดานตางๆ ขึ้นอยูกับเจาของโรงเรียนเปนสวนใหญ ผูบริหารโรงเรียนไมไดรับการสนับสนุนและการนํางบประมาณมาใชอยางเปนระบบ สิ่งเหลานี้ถือเปนปจจัยเกื้อหนุนท่ีสงผลสําคัญตอการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกๆ ดาน จากเหตุผลดังกลาวสงผลใหโรงเรียนที่มีขนาดตางกนัมีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่แตกตางกัน

(4) ความพรอมดานการบริหารจัดการ โรงเรียนขนาดใหญสวนใหญมีความพรอมในดานการบริหารจัดการที่เปนระบบ โดยมีการบริหารงานในรูปแบบนิติบุคคล มีการกระจายอํานาจและกระจายงานอยางเปนระบบ โดยใหการสงเสริมสนับสนุนใหความสําคัญแกบุคลากรไดมีสวนรวมในการบริหารงานทุกๆ ดาน ในรูปแบบคณะกรรมการ สงผลใหบุคลากรสวนใหญมีความรักและหวงแหนองคกร ทําใหบุคลากรมีความรับผิดชอบทุมเทการทํางานงานและมีความสุขในการทํางานที่ไดรับมอบหมายจนบรรลุผลสําเร็จตามเปาหมายและนโยบายโรงเรียนที่กําหนด สําหรับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญมีการบริหารงานที่เปนนิติบคุคลซึ่งในการบริหารงานของโรงเรียนสวนใหญเปนอํานาจของผูรับใบอนุญาตและบุคคลในครอบครัว ขาดการสงเสริมสนับสนุนใหบุคลากรมีสวนรวมและไมมีการกระจายอํานาจในการตัดสินใจในงานที่ไดรับมอบหมาย ทําใหผูบริหารโรงเรียน และครูวิชาการไมมีอํานาจในการบริหารงานและกลาตัดสินใจในหนาที่งานที่ไดรับมอบหมาย เปนผลใหบุคลากรในทุกระดับขาดความรักและหวงแหนในองคกรไมมีความมุงมั่นทุมเทอยางเต็มความสามารถ ขาดความสุขตอการปฏิบัติงานทําใหการปฏิบัติงานสวนใหญขาดประสิทธิภาพ ผลการศึกษามีความสอดคลองกับงานวิจัยของ คูนทซ (Koontz, 1968, p. 48-49; อางถึงใน สุชาติ กะไชยวงษ, 2546, หนา 66) ท่ีกลาววา การบริหารจะบรรลุวัตถุประสงคไดตองปจจัยทั้งหลาย ไดแก คน เงิน วัสดุสิ่งของเปนอุปกรณในการปฏิบัติงาน สงผลใหโรงเรียนที่มีขนาดตางกัน มีปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ

5.3 ขอเสนอแนะ 5.3.1 ขอเสนอแนะในการนาํผลการวิจยัไปใช จากผลการวิจัยคร้ังนี้ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะสําหรับการศึกษาปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ดังนี้ 1) ดานการเตรียมความพรอมของสถานศึกษา โรงเรียนควรจัดทําโครงการออกเยี่ยมเยียนชุมชนภายในทองถ่ินและเขตบริการของโรงเรียน โดยผูบริหารโรงเรยีน ครูวิชาการ และคณะครู

Page 22: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

165

ไดออกเยี่ยมเยียนหนวยงานองคกรของรัฐและเอกชน วิทยากรทองถิ่น ภูมิปญญาทองถ่ิน ผูปกครอง และขอความชวยเหลือในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสวนของปญหาสภาพสังคม การอนุรักษส่ิงแวดลอม วัฒนธรรมไทย ภูมิปญญาทองถ่ินและภูมิปญญาไทย ของชุมชนภายในทองถ่ินและในเขตบริการ พรอมสํารวจขอมูลพื้นฐานและรับทราบขอมูลความตองการของชุมชนภายในทองถ่ิน และเขตบริการอยางทั่วถึงอยางนอยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพ่ือโรงเรียนจะไดนําขอมูลที่ไดรับมาใชเปนขอมูลพ้ืนฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใหมีคุณภาพสามารถตอบสนองความตองการแกผูปกครอง นักเรียน ในเขตบริการและชุมชนภายในทองถ่ิน โรงเรียนควรจัดแตงตั้งคณะกรรมการวัดผลและประเมินผลการเรียนรูและเทียบโอน มาทําหนาที่ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียนรูปลายปและการเทียบโอนผลการเรียนรูของผูเรียนใหเปนไปตามระเบียบโรงเรียนเสนอตอครูใหญอนุมัติผล และโรงเรียนควรจัดใหบุคลากรเขารับการอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการหรือฝกปฏิบัติอยูเสมอในการเตรียมความพรอมของสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใหมีคุณภาพและทันความเปลี่ยนแปลงอยางนอยปละ 2 คร้ัง 2) ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนควรแตงตั้งวิทยากรทองถ่ิน ภูมิปญญาทองถ่ิน และผูทรงคุณวุฒิในสาขาตางๆ ภายในชุมชนภายในทองถ่ินรวมเปนคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา เพื่อใหมีสวนรวมในการวิเคราะหมาตรฐานการเรียนรูแตละชวงชั้นในการกําหนดสาระการเรียนรูรายป ผลการเรียนรูที่คาดหวังรายป คําอธิบายรายวิชา โครงสรางหลักสูตรและสัดสวนเวลาเรียนในการจัดทําและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใหตอบสนองความตองการของผูปกครองและชุมชนภายในทองถ่ิน เพ่ือใหโรงเรียนมีหลักสูตรสถาน ศึกษาที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษาและสามารถจัดการศึกษาใหบรรลุผลเปาหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โรงเรียนควรสนับสนุนใหคณะอนกุรรมการกลุมสาระหรือกลุมสาระรวมกันจัดทําแผนการใชงบประมาณ อาคาร สื่อ สิ่งพิมพ วัสดุอุปกรณ แหลงการเรียนรูภายในและภายนอกสถานศึกษา วิทยากรทองถ่ิน และภูมิปญญาทองถ่ิน ใหเอ้ือตอการจัดกิจกรรมการเรียนรูในทุกกลุมสาระทุกปการศึกษา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาศึกษาควรศึกษารายงานประเมินตนเองของผูสอน ขอมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูทุกกลุมสาระและสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษามาใชเปนขอมูลในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกปลายปการศึกษา

3) ดานการวางแผนดําเนินการใชหลักสูตร คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาควรรวมมือกับผูสอนวางแผนใชกิจกรรมแนะแนวมาพัฒนาผูเรียนทุกดานคณะอนุกรรมการระดับกลุมสาระทุกกลุมสาระควรรวมมือกับผูสอนวางแผนการใชการวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรูของผูเรียนใหมีประสิทธิภาพทุกคน และคณะอนุกรรมการระดับกลุมสาระทุกกลุมสาระควรรวมมือกับผูสอนภายในกลุมสาระวางแผนใชสื่อ สิ่งพิมพ นวัตกรรม วัสดุ

Page 23: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

166

อุปกรณ เทคโนโลยีและแหลงการเรียนรูภายในและภายนอกสถานศึกษามาใชในการจัดกิจกรรมการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญใหผูเรียนบรรลุผลตามผลการเรียนรูที่คาดหวังที่กําหนดทุกปการศึกษา

4) ดานการดําเนินการบริหารหลักสูตร (การใชหลักสูตร) ผูบริหารโรงเรียนและครูวิชาการควรกํากับ ติดตาม ผูสอนใหดําเนินการจัดทําการวิจัยในชั้นเรียนอยางสม่ําเสมอในการพัฒนาขีดความสามารถของผูเรียนใหผูเรียนมีพัฒนาการและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูอยางเต็มศักยภาพ ผูสอนควรจัดกิจกรรมสงเสริมสนับสนุนและกระตุนใหผูเรียนเห็นความสําคัญในการศึกษา คนควา และแสวงหาความรูดวยตนเองในการพัฒนาความคิดริเริ่มสรางสรรคและศักยภาพในการเรียนรูจากแหลงการเรียนรูภายในและภายนอกสถานศึกษา เพราะความรูของผูเรียนไมไดอยูเฉพาะภายในหองเรียนเทาน้ัน

5) ดานการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผล ผูบริหารโรงเรียนควรใหฝายวิชาการและครูวิชาการดําเนินการจัดเก็บรวบรวบรองรอยหลักฐานขอมูลในการดําเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยางเปนระบบและตอเนื่องทุกปการศึกษา เพื่อใชเปนขอมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา ผูใหการนิเทศควรแจงผลการนิเทศใหผูรับการนิเทศไดรับทราบทุกครั้งตามความเปนจริง เพ่ือใหผูรับการนิเทศนําขอมูลไปใชพัฒนาการทํางานตนเองใหมีคุณภาพบรรลุผลตามเปาหมาย และผูใหการนิเทศไดใชเปนขอมูลตรวจสอบในการพัฒนางานของผูรับการนิเทศ และโรงเรียนควรจัดทําโครงการนิเทศภายในและวางแผนการนิเทศภายในอยางเปนระบบ เพ่ือใชเปนกําหนดและแนวทางในการปฏิบัติการนิเทศภายในของผูท่ีไดรับมอบหมายไดปฏิบัติงานอยางมีประสิทธิภาพ

6) ดานการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา คณะกรรมการประเมินการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความของสถานศึกษาควรสรุปผลการดําเนินงานและรายงานผลการประเมินผลการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความอยางนอยปการศึกษาละ 1 ครั้ง เสนอตอครูใหญอนุมัติผลการประเมินการอาน คิดวิเคราะห และสื่อความ เมื่อผูเรียนจบชวงชั้น คณะอนุกรรมการระดับกลุมสาระ และกิจกรรมพัฒนาผูเรียนควรสรุปผลและรายงานผลการนําหลักสูตรไปใชในจัดกิจกรรมการเรียนรูอยางนอยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เสนอตอฝายวิชาการ และฝายวิชาการจะไดรวบรวมสภาพความสําเร็จ ปญหาอุปสรรคและขอเสนอแนะไปใชเปนขอมูลในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในระดับกลุมสาระและกิจกรรมพัฒนาผูเรียนเมื่อส้ินปการศึกษาใหมีคุณภาพและสนองตอบความตองการของผูปกครองและชุมชนภายในทองถ่ิน และคณะนิเทศภายในควรสรุปผลและรายงานผลการนิเทศภายในเสนอตอผูบริหารโรงเรียนและผูเกี่ยวของอยางนอยภาคเรียนละ 1 คร้ัง

Page 24: บทที่ 5 - thesis.rru.ac.ththesis.rru.ac.th/files/pdf/1202197128บทที่ 5f.pdfด านการดํิาเนนการบริหารหลัูกส

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

167

7) ดานการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาทุกคนใหความสามารถดําเนินการในกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาทุกสิ้นปการศึกษาอยางสม่ําเสมอ ดวยเหตุบุคลากรของโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงอยางตอเนื่องตลอดเวลา และถือเปนการเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรใหมีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้น โรงเรียนควรใหคณะอนุกรรมการระดับกลุมสาระและกิจกรรมพัฒนาผูเรียนนําขอมูลที่ไดรับมาใชปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเมื่อส้ินปการศึกษา โรงเรียนควรกําหนดใหคณะอนุกรรมการระดับกลุมสาระและกิจกรรมพัฒนาผูเรียนปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกส้ินปการศึกษาใหเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงดานการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม และโรงเรียนควรนําผลการนิเทศภายในและภายนอกมาใชเปนขอมูลในการปรับปรุงพัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจําป และโรงเรียนควรใหผูสอนทุกกลุมสาระและกิจกรรมพัฒนาผูเรียนนําบันทึกหลังสอนมาใชเปนขอมูลในการปรับปรุงพัฒนาแผนการเรียนรูใหเหมาะสมกับเนื้อหาสาระอยางนอยปละ 1 ครั้ง

5.3.2 ขอเสนอแนะสําหรับการวจิัยครั้งตอไป 1) ควรศึกษาการมีสวนรวมของชุมชนภายในทองถ่ินที่มีตอการพัฒนาหลักสูตร

สถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 2) ควรศึกษาเปรียบเทียบปญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานของ

สถานศึกษาทกุสังกัดของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 3) ควรศึกษาบทบาทการมีสวนรวมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของคณะกรรมการ

อํานวยการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาชลบุรี เขต 3

4) ควรศึกษาปจจัยท่ีสงผลตอการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3

5) ควรศึกษาเปรียบเทียบปญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ที่เปนนิติบุคคลและไมเปนนิติบุคคล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3