sound system 2016

38

Upload: -

Post on 27-Jul-2016

222 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอนุภาควัสดุ ที่ส่งถ่ายพลังงานต่อเนื่องกับไปในลักษณะของคลื่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วยความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียง การเปลี่ยนความดันอากาศนี้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า จนถึง หูของ ผู้ฟังทำให้ได้

ค ลื่ นเ สี ย ง !

การเกิดคลื่นเสียงจากการสั่นของสายกีต้า

เมื่อคลื่นเสียงเดินทางเข้ากระทบเยื่อแก้วหู เปลี่ยนความดันอากาศเคลื่อนที่ไปถึงหูทำให้เยื่อแก้วหู แปรเป็นกระแสประสาทส่งไปยังสมอง

ระบบการได้ยินของมนุษย์

ภาพเครื่องบินไอพ่น บินผ่านทะลุกำแพงเสียง หรือบินเร็วเหนือเสียง จะเห็นคลื่นกระแทกเกิดขึ้นเป็นแนวกรวยอยู่ทางด้านหลัง

ความสามารถในการได้ยินเสียงของมนุษย์ จะอยู่ในช่วง 20-20,000 เฮิร์ซ โดยมีค่าแตกต่างกัน เสียงพูดปกติ (125-8,000 เฮิร์ซ) เสียงเปียนโน (31.5-4,000 เฮิร์ซ) ความสามารถในการได้ยินของคนหนุ่มสาว (20-20,000เฮิร์ซ) ความสามารถในการได้ยินของผู้สูงอายุ (20-4,000เฮิร์ซ)

ระดับเสียง (Decibel A) แหล่งกำเนิด10 เสียงใบไม้สีกั นเสียงกระซิบ20 ห้องทำงาน30 การสนทนาทั่วไป40 สำนักงานทั่วไป50 ร้านค้าใหญ่, การสนทนา60 สำนักงานที่พลุกพล่าน70 เครื่องดูดฝุ่น, การสัญจรบน

ถนน80 นกหวีดตำรวจ90 รถไฟใต้ดิน, เสียงเครื่องพิมพ์100 รถไฟลอยฟ้า เสียงขุดถนน

ดิสโกเธค 120 เสียงเครื่องปั๊มโลหะ เสียงปืนใหญ่140 เสียงเครืองบินไอพ่นขึ้น

เสียงพึงพอใจ (Sound) หมายถึงเสียงที่มนุษย์พึงพอใจในการรับรู้ เสียงดัง (Noise) หมายถึงเสียงที่รบกวนการรับรู้ เป็นอันตรายต่อการได้ยิน เสียงรนกวน คือ ระดับเสียงที่ผู้ฟังไม่ต้องการได้ยิน เพราะสามารถกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึกแม้ไม่เกินเก็ณฑ์อันตราย

เสียงที่มีระดับคงที่ (Continuous Noise) เป็นเสียงที่มีแถบเสียงกว้าง มีระดับเสียงและความถี่ค่อนข้างคงที่ มีการเปลี่ยบของระดับเสียงน้อยกว่า 1 วินาที

เสียงดังเป็นครั้งคราว (Intermittent Noise) เป็นการได้ยินเลียงดังหลายๆครั้งในการทำงาน

เสียงกระทบ (Impact-Type Noise) เป็นเสียงที่มีลักษณะเสียงแหลมและดัง เช่นเสียงค้อนหรือเสียงระเบิด ระยะเวลาที่เกิดเสียง น้อยกว่า 0.5 วินาที ต่อครั้ง

ที่เกิดขึ้นต่อคนเราเกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะคือ !

1) เกิดภาวะรำคาญ (Annoyance) อาทิ เสียงที่ดัง มีความถี่สูง และมีการเปลี่ยนแปลงมาก 2) ประสิทธิภาพการทำงาน (Work Efficiency) เสียงดนตรีเบาๆ จะช่วยให้คนฟังจิตใจสงบและมีสมาธิในการทำงาน 3) มีผลต่อสุขภาพ(Health) หากคนเราฟังเสียงดังๆเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือหูหนวก ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำงานผิดปรกติ ทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ การเต้นของหัวใจและการหดตัวของเส้นเลือดผิดปรกติ

อันตรายต่อความปลอดภับในการทำงาน ทำให้พฤติกรรมส่วนบุคคล (Individual behavior effects) เปลี่ยแปลง เช่น เกิดความเชื่องช้า และเกิดความวุ่นวายในการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รบการการนอนหลับพักผ่อน รบกวนการสื่อสาร

ความเข้มหรือความดังของเสียง ความถี่ของเสียง ระยะการได้ยินเสียง จำนวนปีที่ทำงาน อายุของคนงาน การสูญเสียการได้ยินและโรคที่เกี่ยวกับหู ลักษณะสิ่งแวดล้อม ระยะทางจากแหล่งกำเนิด

อันตรายจากการได้ยิน

การทำงานในที่เสียงดังมากๆ จะส่งผลให้เซลล์ขนรูปหอยโข่งในหูชั้นใน ถูกทำลายไปทีละน้อย มีผลให้หูอื้อ หูตีง เมื่อเซลล์ขนตายหมด จะไม่สามารถรักษาหรือซ่อมแซมได้

เสียงและการควบคุมเสียงในอาคาร!

เสียงส่งผ่านเข้าไปในอาคารได้หลายทางแบ่งตามลักษณะการส่งผ่านของเสียง เสียงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ! 1) Air-borne Sound เป็นเสียงที่มีอากาศเป็นตัวกลางในการส่งผ่าน เช่น เสียงตบมือ, เสียงจากลำโพง เป็นต้น ! 2) Structure-borne Sound เป็นเสียงที่ส่งผ่านตัวกลางต่างๆ อาทิ พื้น ผนัง หรือเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่องกลบนพื้นโครงสร้าง

การควบคุมเสียงสำหรับอาคาร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้งาน ของแต่ละพื้นที่ใช้สอย เสียงที่มีผลกระทบต่ออาคารจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.เสียงจากภายนอกอาคาร (External Noises) 2.เสียงจากภายในอาคาร (Internal Noises)

External NoisesInternal Noises

การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !1) ควบคุมด้วยระยะทาง ทุกระยะห่างจากต้นกำเนิดเสียง ความดังของเสียงจะลดลง 2)หลีกเลี่ยงบริเวณที่เสียงกระทบโดยตรง อาทิ การทำแผงหรือผนังกันเสียง ซึ่งอาจเป็นผนัง แนวรั้ว แนวต้นไม้ ที่จะช่วยกั้นเสียงและลดความเข้มของเสียงโดยตรงก่อนที่จะที่จะถึงตัวอาคาร

การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !3) การวางผังอาคาร โดยให้พื้นที่ใช้สอยส่วนที่ไม่ต้องการความเงียบมากเป็นตัวป้องกันเสียง หรือกำหนดตำแหน่งช่องเปิดของอาคารหลีกเลี่ยงแนวทางของเสียง 4) การเลือกใช้วัสดุกันเสียงให้กับกรอบอาคาร อาทิ การบุฉนวนใยแก้วให้กับผนังรอบอาคาร การเลือกใช้กระจกสองชั้น หรือการใส่ฉนวนกันเสียงให้กับส่วนหลังคา

การป้องกันเสียงจากภายใน สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !แบ่งเสียงภายในออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เสียงโดยตรง(Direct Noise) 2) เสียงสะท้อน (Reverberant Noise)

การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !1) ลดเสียงจากแหล่งกำเนิด เสียงโดยตรง ได้ด้วยการใช้แผงกั้นระหว่างต้นกำเนิดเสียงกับผู้ฟัง เก็บต้นกำเนิดเสียงไว้ในกล่อง /ห้องที่ปิดมิดชิดที่ทำด้วยวัสดุป้องกันเสียง / ห้องที่มีผนังหนาทึบ หรือทำพื้นสองชั้นที่มีความยืดหยุ่นรองรับเครื่องกล เพื่อช่วยลด Structure-borne Sound

การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !2) ลดเสียงที่มาตกกระทบ โดยการวัสดุดูดซับเสียง และวัสดุป้องกันเสียง อาทิ การใช้แผ่นฉนวนใยแก้วบุเสริมตรงผนังด้านที่เป็นทางต้นกำเนิดเสียง หรือบุแผ่นชานอ้อยเพื่อดูดซับเสียงในโรงแสดงมหรสพ

การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ !3) การวางผังอาคาร โดยการแยกบริเวณที่มีเสียงดัง ออกจากบริเวณที่ต้องการความเงียบ หรืออาจจะกั้นพื้นที่สองส่วนนี้ด้วยห้องอื่น

ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ วัสดุดูดซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอยเป็นรูพรุน (อาทิ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนเซลลูโลส โฟมประเภทต่างๆ) และการใช้งาน เหมาะสำหรับเสียงที่มีความถี่สูง

ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ วัสดุดูดซับเสียงที่มีผิวปรุเป็นรู (อาทิ แผ่นดูดซับเสียงยิบซับบอร์ดที่มีรู แผ่นชานอ้อยแผ่นไม้คอร์ก) สำหรับเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับเสียง

ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ วัสดุดูดซับเสียงที่เป็นเยื่อแผ่น (อาทิ ผนังที่มีหลายชั้น กระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนัง/ช่องเปิด) สำหรับเสียงที่มีความถี่ต่ำ

ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ วัสดุดูดซับเสียงที่พื้นผิวมาก ที่ช่วยลดเสียงสะท้อน (อาทิ ผนังที่มีการออกแบบ เป็นช่องๆ รูปแบบต่างๆ) จะใช้วัสดุที่มีพื้นผิวมากประกอบกับวัสดุที่เป็นรูพรุน

จะต้องคำนึงถึงประเภทของอาคาร ประเภทของห้องหรือพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนตามการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงระดับความดังที่เหมาะสม การออกแบบระบบเสียงเป็นเรื่องสำคัญ อาทิ การออกแบบภายในโรงภาพยนตร์, โรงละคร หรือห้องฟังดนตรี ที่ตำแหน่งของผู้ฟังในทุกจุดภายในห้อง จะต้องได้ยินเสียงชัดเจนและเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาการสะท้อนเสียงที่เหมาะสม

การออกแบบระบบเสียง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญ รูปร่างของห้อง (Room Shape) ที่ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมคางหมู การแบ่งผนังและเพดานเป็นส่วนจะช่วยการกระจายเสียงที่สม่ำเสมอ

การออกแบบระบบเสียง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญ ขนาดของห้อง (Room Size) การพูดธรรมดาจะได้ยินได้ในระยะประมาณ 20-30 เมตร หรือทิศทางด้านหน้าของผู้พูด ประมาณ 13 เมตร จึงมีผลต่อการกำหนดขนาดของห้อง

การออกแบบระบบเสียง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญ ตำแหน่งของต้นกำเนิดเสียง (Sound Source Position) ต้นกำเนิดเสียง ควรอยู่ด้านหน้าของแผ่นแข็งสะท้อนเสียง หากความสูงของห้องสูงมาก ควรมีแผ่นสะท้อนเสียงเหนือต้นกำเนิดเสียง และปัจจัยสุดท้าย

การออกแบบระบบเสียง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญ ช่วงเวลาเสียงสะท้อน (Reverberation Time)เ สียงสะท้อนเกิดจากการสะท้อนของเสียงตรงจากผนังและเพดาน ดังนั้นช่วงเวลาที่ต่างกันมากระหว่างเสียงตรงกับเสียงสะท้อน จะทำให้เกิดเสียงสะท้อน (Echo) ซึ่งต้องหลีกเลี่ยง

ลำโพง ทวีทเตอร์ tweeter คือลำโพงที่มีเสียงที่มีความถี่สูง ซึ่งมีความถี่ 2,000 - 20,000 เฮิตช์ มาจากเสียงของนกทวีตเตอร์ที่มีความถี่สูง มิดเรนจ์ mid range คือลำโพงขนาดกลางเสียงในช่วงความถี่เป็นกลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำมากเกินไป วูฟเฟอร์ คือลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุดเสียงที่มีความถี่ต่ำจากเสียงของสุนัข จากเสียง วูฟ วูฟ ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก

ระบบเสียง Dolby Digital ระบบเสียงแบบเซอราวนด์ ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล รองรับช่องสัญญาณเสียง 5.1 ช่อง มาจากช่องสัญญาณทางซ้าย เซ็นเตอร์ ขวา เซอราวนด์--ซ้าย เซอราวนด์ขวาและซับวูเฟอร์

ระบบ THX พัฒนาขึ้นโดย Lucasfilm มาจาก Tomlinson Holman's eXperiment ระบบเสียงนี้จากโรงภาพยนตร์โดยทั่วไป เพราะว่าในโรงภาพยนตร์ที่ต่างที่กัน จึงกำหนดมาตรฐานเพื่อให้โรงภาพยนตร์มีระบบเสียงที่เหมือนๆ กัน

ระบบ SDDS : Sony Dynamic Digital Sound คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทโซนี่ มีทั้งหมด 8 Channel เพิ่ม เข้าไปอีก 2 Channel โดยเพิ่มเสียง จากลำโพงด้านหน้าตำแหน่งกลางซ้ายและกลางขวา ทำให้เสียงจากภาพยนตร์จอใหญ่มีความลึกและครอบคลุมบริเวณได้มากกว่า ซึ่งทำให้เกิดความเร้าใจในการชมมากขึ้น