ÀÙÁÔ»˜ÞÞÒ·ŒÍ§¶Ô蹤¹ä·Â àª×éÍÊÒÂÅÒǤÃÑ觠·...

66
ÀÙÁÔ»˜ÞÞÒ·ŒÍ§¶Ô蹤¹ä·Â àª×éÍÊÒÂÅÒǤÃÑè§ µÓºÅº‹Í¡ÃØ ÍÓàÀÍà´ÔÁºÒ§¹Ò§ºÇª ¨Ñ§ËÇÑ´ÊؾÃóºØÃÕ ÃͧÈÒʵÃÒ¨ÒÃÂÊØ¹Õ âªµÔ´ÔÅ¡ áÅФ³Ð ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÃÒªÀÑ®¾Ãй¤Ã

Upload: others

Post on 02-Sep-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • ÀÙÁÔ»˜ÞÞÒ·ŒÍ§¶Ô蹤¹ä·Âàª×éÍÊÒÂÅÒǤÃÑè§

    µÓºÅº‹Í¡ÃØ ÍÓàÀÍà´ÔÁºÒ§¹Ò§ºÇª¨Ñ§ËÇÑ´ÊؾÃóºØÃÕ

    ÃͧÈÒʵÃÒ¨ÒÃÂÊØ¹Õ âªµÔ´ÔÅ¡ áÅФ³ÐÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÃÒªÀÑ®¾Ãй¤Ã

  • หนังสือภูมิปัญญาท้องถิ่นคนไทยเชื้อสายลาวครัง่เล่มนี้เกิดจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซ่ึงคณะผู้วิจัยได้ด าเนินการแบบมีส่วนร่วมกับชาวต าบลบ่อกรุที่มีความประสงค์ต้องการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยเชื้อสายลาวครัง่ต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสพุรรณบุรี วิถีชีวิตของชาวลาวครั่งของต าบลบ่อกรุมีประวัติยาวนาน และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายมีการอนุรักษ์ สืบทอด และส่งต่อสู่เยาวชนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน ในหนังสือเล่มนี้จะรวบรวมประวัติ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวลาวครั่ง ต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ส าคัญๆ สมควรแก่การศึกษาค้นคว้า จึงได้รวบรวมและเรียบเรียง โดยจัดท าเป็นหนังสือ แบ่งเป็น 5 บท ได้แก่ บทน า ซึ่งเป็นประวัติความเป็นมาของชาวลาวครั่ง บทที่ 2 ประเพณียกธงสงกรานต์ บทที่ 3 ผ้าทอลาวครั่ง: บ่อกรุ บทที่ 4 การทอผ้าขาวม้า 5 สี และบทที่ 5 การทอผ้าซิ่นตีนจก ขอขอบคุณนายกเทศบาลมนตรี คุณศักดิ์ชัย จันทร์ใหม่มูล ที่อนุเคราะห์เป็นที่ปรึกษางานวิจัยเรื่องนี้และยังอ านวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลงานวิจัย ขอบคุณคุณสุพิศ ศรีพันธุ์ หัวหน้าส านักงานปลัดเทศบาลต าบลบ่อกรุ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรด้านผ้าทอลาวครั่งประจ าต าบลบ่อกรุ คุณประกาศิต แปลนพิมาย หัวหน้าฝ่ายอ านวยการ และผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเพ่ือพ่อหลวงเทศบาลต าบลบ่อกรุ และคุณสุพิทยา กาฬภักดี พนักงานธุรการเทศบาลต าบลบ่อกรุ ที่ร่วมเป็นนักวิจัยในพ้ืนที่ที่ร่วมงานวิจัยจนลุล่วงเป็นอย่างด ี

    สุนี โชติดิลก และคณะ

    มกราคม 2561

    ค ำน ำ

  • ค ำนิยม พระครูโกมุทสุวรรณภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ 12 มกราคม 2561

    วัฒนธรรมลาวครั่ง

    ปลูกฝังวิถีชุมชน

    สร้างตนเป็นเอกลักษณ ์

    ค ำนิยม

  • ค ำนิยม

  • หน้ำ

    ค ำน ำ ...................................................................................................................................... ก ค ำนิยม ................................................................................................................................... ข สำรบัญ .................................................................................................................................. ง

    บทที่ 1 บทน ำ ........................................................................................................................ 1 วิถีชีวิตบ้านบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี.. .................................. 2

    บทที่ 2 ประเพณียกธงสงกรำนต์............................................................................................. 6 ประวัติของประเพณียกธงสงกรานต์ .......................................................................... 6 เอกลักษณ์ของประเพณียกธงสงกรานต์ ..................................................................... 7 วิธีในการจัดงานประเพณียกธงสงกรานต์ ................................................................... 10 ประโยชน์ของประเพณียกธงสงกรานต์ ...................................................................... 15

    บทที่ 3 ผ้ำทอลำวครั่ง: บ่อกรุ ................................................................................................. 16 เส้นใยและสีสันบนผ้าทอพื้นเมืองโลบราณลาวซี-ลาวครั่ง .......................................... 16 เอกลักษณ์ของประเพณียกธงสงกรานต์ ..................................................................... 17 เทคนิคพิเศษท่ีใช้ในการทอผ้าของชาวลาวครั่ง .......................................................... 19

    บทที่ 4 กำรทอผ้ำขำวม้ำ 5 สี ................................................................................................. 21 ประวัติการทอผ้าขาวม้า 5 สี ..................................................................................... 21 เอกลักษณ์ผ้าขาวม้า 5 สี ........................................................................................... 22 กรรมวิธีการผลิตผ้าขาวม้า 5 สี ................................................................................. 23 ประโยชน์ของผ้าขาวม้า 5 สี ...................................................................................... 24 ตัวอย่างผ้าขาวม้า 5 สี ............................................................................................... 30 บทที่ 5 กำรทอผ้ำซิ่นตีนจก .................................................................................................... 33 ประวัติการทอผ้าซิ่นตีนจก ........................................................................................ 33 เอกลักษณ์ผ้าซิ่นตีนจก .............................................................................................. 35 กรรมวิธีการผลิตผ้าซิ่นตีนจก ..................................................................................... 36 ประโยชน์ของผ้าซิ่นตีนจก ......................................................................................... 39 ตัวอย่างผ้าขาวม้า 5 สี ............................................................................................... 39 บรรณำนุกรม........................................................................................................................... 43 ภำคผนวก................................................................................................................................ 47

    สำรบัญ

  • ข้อมูลพื้นฐาน

    จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้ งอยู่ ใน เขตภาคกลาง มี เนื้อที่ 5,358.008 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,348,755 ไร่ แบ่งออกเป็น 10 อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอเมืองสุพรรณบุรี อ าเภอเดิมบางนางบวช อ าเภอด่านช้าง อ าเภอบางปลาม้า อ าเภอศรีประจันต์ อ าเภอดอนเจดีย์ อ าเภอสองพ่ีน้อง อ า เภอสามชุก อ าเภออู่ทอง และอ าเภอหนองหญ้าไซ ดังภาพที่ 1.1

    ภาพที่ 1.1 แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มา: https://www.google.co.th/search?q = แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี+จากดาวเทียม

    จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 107 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับ

    จังหวัดใกล้เคียง 7 จังหวัด คือ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ติดต่อกับ จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดอุทัยธานี มีประชากรทั้งหมด 863,404 คน แยกเป็นชาย 420,807 คน หญิง 442,497 คน ประชากรเป็นคนไทย คนไทยเชื้อสายจีน ลาว (ลาวเวียง พวน โซ่ง คั่ง) กะเหรี่ยง ละว้า เขมร มอญ และญวน โดยกระจัดกระจายอยู่ในอ าเภอต่างๆ เช่น คนไทยเชื้อชาติลาว แบ่งออกเป็นลาวเวียง มีในเขตอ าเภอเมือง เดิมบางนางบวช อู่ทอง บางปลาม้า เชื้อชาติกระเหรี่ยง มีในเขตอ าเภอด่านช้าง

    ต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านประกอบด้วยบ้านบ่อกรุ บ้านดอนเก้า บ้านหนองฉนวน บ้านดอนมะเกลือ บ้านลาด บ้านหนองป่าแซง และบ้านทุ่งกฐิน (สุพิศ ศรีพันธุ์. 2560) มีการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ลักษณะ ได้แก่ เทศบาลต าบลบ่อกรุ ครอบคลุมพ้ืนที่บางส่วนของต าบลบ่อกรุ และ องค์การบริหารส่วนต าบลบ่อกรุ ครอบคลุม

    https://www.google.co.th/search?q%20=%20แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี+จากดาวเทียม

  • พ้ืนที่ต าบลบ่อกรุ (นอกเขตเทศบาลต าบลบ่อกรุ) ต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีประชากร จ านวน 2,041 ครัวเรือน และมีผู้อยู่อาศัย จ านวน 6,782 คน วิถีชีวิตของชาวต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณ์คล้ายคนไทยภาคกลางทั่ วไป แต่มีเอกลักษณ์ประจ าท้องถิ่นเป็นของตนเองได้แก่ ภาษา การแต่งกาย พิธีกรรม ความเชื่อ ประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีการยกธงสงกรานต์ สารทลาว บวชพระ แต่งงาน ที่ด าเนินการแตกต่างจากชุมชนทั่วๆ ไป และยังมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การที่ประชาชนในต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีเอกลักษณ์ดังกล่าวเนื่องมาจากบรรพบุรุษชาวลาวครั่งได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบางและทางตอนเหนือของลาวพร้อมกับคนลาวกลุ่มอ่ืนๆ มาอาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ส าหรับจังหวัดสุพรรณบุรีชาวลาวครั่งส่วนมากจะมาอาศัยอยู่ ในต าบลบ่อกรุ ต าบลหนองกระทุ่ม ต าบลป่าสะแกในอ าเภอเดิมบางนางบวช ต าบลหนอง มะค่าโมง ในอ าเภอด่านช้าง (เว็บไซต์ส านักงานเทศบาลต าบล. 2560) อาชีพของชาวลาวครั่งส่วนใหญ่มีอาชีพท าการเกษตรกรรม โดยปีหนึ่งจะท านาข้าว 2 ครั้ง ปัจจุบันน้ าอุดมสมบูรณ์จึงท าได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีการท าสวนผัก เช่น ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ขึ้นฉ่าย ผักชี ต้อนหอม เป็นต้น และเลี้ยงสัตว์จ าพวกวัวและหมู มีชาวลาวครั่งบางส่วนที่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย

  • วิถีชีวิตบ้านบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี สุพิศ ศรีพันธุ์ (2555) กล่าวว่า การปรากฏตัวของชาวลาวครั่งในประเทศไทย พบว่ามีการ

    อพยพโยกย้ายถิ่นฐานในรัชสมัยกรุงธนบุรี ดังปรากฏหลักฐานในปี พ .ศ. 2314 ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนแถบนครชัยศรี พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางลงมาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2358 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้ส่งครอบครัวลาวเมืองภูครังมายังกรุงเทพมหานคร โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนที่นครชัยศรี และในสมัยของรัชกาลที่ 3 ชาวลาวครั่ง ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองภูครัง ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้้าโขง ได้ถูกกวาดต้อนมาในประเทศไทยอีกครั้งในสมัยที่ไทยได้ท้าสงครามกับญวนโดยในการยกทัพกลับจากญวนยกทัพผ่านลาวได้ตั้งมั่นชั่วคราวอยู่ที่เมืองภูครังแล้วจึงน้าชาวลาวเหล่านี้มาด้วย และโปรดให้ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีและเมืองนครชัยศรีจึงได้เรียกว่า ลาวภูครังหรือลาวครั่ง (เว็บไซต์เทศบาลต้าบลบ่อกรุ, โรงเรียนบ่อกรุวิทยา, 2559: ออนไลน์)

    นายสง กาฬภักดี. (2547) ให้สัมภาษณ์ที่มาของชาวลาวครั่งในต้าบลบ่อกรุไว้ดังนี้ บรรพบุรุษลาวครั่งกลุ่มหนึ่งซึ่งมีนายวันนากับนายกัณหาเป็นหัวหน้าพร้อมเพ่ือนจ้านวน 9 ครอบครัว ได้อพยพหนีภัยแล้งจากหมู่บ้านหนองเหียงใหญ่ อ้าเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี มาตั้งถิ่นฐานที่ล้าห้วยกุดเข้ ในเวลาต่อมาชาวบ้านเรียกห้วยกุดเข้ว่า บ้านบ่อตุ (ปัจจุบันคือบ่อกรุ) ในปีเดียวกันครอบครัวนายทองดีและนายลานเป็นผู้น้าในการอพยพชาวบ้านอีกหลายครอบครัวจากบ้านทุ่งกะโหลก อ้าเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี มาสบทบบริเวณล้าห้วยกุดเข้ มีลักษณะพ้ืนที่กว้างและยาวมีน้้าขังตลอดปีจึงมีความอุดมสมบูรณ์รองรับผู้อพยพได้มาก จึงมีชาวลาวครั่งจากบ้านล้าเหย อ้าเภอก้าแพงแสน จั งหวัดนครปฐม อพยพตามมา อาชีพของชาวลาวครั่งกลุ่มนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่และปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และมีวัฒนธรรมที่ส้าคัญ คือ การทอผ้าส้าหรับใช้ในชีวิตประจ้าวันและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ

    ดังนั้นชาวลาวครั่งที่ต้าบลบ่อกรุ ในปัจจุบันจึงประกอบด้วยลาวครั่ง 2 สาย ได้แก่ ชาวลาวครั่งที่มาจากบ้านหนองเหียงใหญ่ และบ้านทุ่งกะโหลก อ้าเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี กับชาวลาวครั่งที่มาจากอ้าเภอก้าแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการขยับขยายหาพ้ืนที่ในการเพาะปลูกเพ่ิมขึ้น โดยนายเหลือ กาฬภักดี (2547) ให้ข้อมูลว่าใน ปี พ.ศ. 2476 ครอบครัวของนายเชียงบุญและนางสีดา กาฬภักดี กับชาวลาวครั่งประมาณ 5 ครอบครัวได้เดินทางมาจับจองที่ดินบริเวณบ้านทุ่งกระถินปัจจุบันเพ่ือท้าไร่ ท้านา ส่วนนายโสม กาฬภักดี (2547) ให้ข้อมูลว่าอีกสาเหตุหนึ่ง เกิดจากบ้านบ่อตุเกิดโรคห่า จึงท้าให้ชาวบ้านอพยพมาที่บ้านทุ่งกระถินซึ่งห่างจากบ้านบ่อตุ ประมาณ 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก และตั้งชื่อว่าบ้านทุ่งกระถิน ซึ่งสันนิษฐานว่าพ้ืนที่บริเวณนี้เป็นป่ากระถิน ต่อมาทางราชการก้าหนดให้มีชื่อหมู่บ้านจึงตั้งชื่อเป็น บ้านทุ่งกฐิน (พระสยาม กาฬภักดี. 2558.)

    ในสมัยที่ลาวครั่งอพยพลงมาอยู่ที่ประเทศสยามได้เลี้ยงครั่งไว้ส้าหรับย้อมผ้าซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัดและคุ้นเคย ดังนั้นคนไทยจึงเรียกลาวกลุ่มนี้ว่า ลาวครั่งหรือลาวขี้ครั่ง ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของชื่อลาวครั่ง เพราะสีแดงที่ได้จากครั่งเป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นและสดใสที่ใช้ในการย้อมผ้าเพ่ือใช้ทอเป็นผ้าจกของชาวลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี อ้าเภอที่มีชาวลาวครั่งอยู่จะมีในเขตอ้าเภออู่ทอง อ้าเภอด่านช้าง และอ้าเภอเดิมบางนางบวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้าเภอเดิมบางนางบวช นั้นมีชาวลาวครั่งอาศัยอยู่

  • 2

    จ้านวน 3 ต้าบล ได้แก่ ต้าบลป่าสะแก ต้าบลบ่อกรุ และต้าบลหนองกระทุ่ม ซึ่งจ้านวนประชากรส่วนใหญ่ เกือบ ร้อยละ 80 เป็นชาวลาวครั่งที่มีภาษา วัฒนธรรม และประเพณีที่แตกต่างออกไป นอกจากนั้นยังมีผ้าทอที่สวยงามและประณีตที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง นายพยนต์ กาฬภักดี (2552) ได้ให้ข้อมูลว่าชาวลาวครั่งในเขตอ้าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อาศัยอยู่ในต้าบลป่าสะแก บ้านวัดขวาง บ้านทุ่งก้านเหลือง และบ้านใหม่ไร่อ้อย จะใช้นามสกุล “ภูฆัง” ส่วนลาวครั่ง ร้อยละ 80 ซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้าบลหนองกระทุ่มและต้าบลบ่อกรุ ส่วนใหญ่ใช้นามสกุล “กาฬภักดี” เอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวลาวครั่งที่สามารถแบ่งแยกได้ทันทีที่พบเห็น อ ภาษาพูด ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูง ชาวลาวครั่ง มักเรียกตัวเองตามส้าเนียงภาษาท้องถิ่นว่า “ลาวขี้คัง”หรือ“ลาวคัง”

    กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ รักษาวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจ้าวันของตนเอง ซึ่งการสืบทอดวัฒนธรรมที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมดั้งเดิมของเผ่าพันธุ์ไว้เป็นอย่างดี ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ ประเพณียกธง ที่ยังยึดถือและสืบต่อปฏิบัติกันมาโดยจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี และประเพณีขึ้นศาลจ้าวนาย ชาวลาวครั่งจะมีความผูกพันทางเครือญาติสูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่มีการด้ารงอยู่ของเผ่าพันธุ์และการธ้ารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส้าหรับประเพณียกธงนั้น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น

    การแต่งกายของชาวลาวครั่งในอดีต มีลักษณะการแต่งกายไม่มีอะไรแสดงถึงเอกลักษณ์ที่เด่นชัดส่วนใหญ่จะนิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย เช่น “แต่ก่อนผู้ชายจะสวมกางเกงขาก๊วยสั้นเพียงเข่า ส่วนเสื้อจะสวมเสื้อหม้อฮ่อมแขนสั้นที่ย้อมด้วยครามสีด้า หรือไม่เช่นจะสวมเสื้อผ้าฝ้ายสีขาวแขนสั้นและใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนผู้หญิงชอบนุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า นิยมสวมก้าไลมือและก้าไลเท้า นุ่งซิ่นหมี่ตีนแดง มีดอก หรือลวดลายต่างๆ และมีผ้าคาดที่อกเรียกว่า “บิงนม” หรือถ้าเป็นหญิงสูงอายุบางทีก็ไม่มีอะไรคาดเลย หรืออาจสวมเสื้อคอกระเช้ามีเสื้อหม้อฮ่อมแขนยาวสวมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วมีผ้าสไบพาดเฉวียงบ่า ทรงผมผู้ชายจะตัดสั้นทรงดอกกระทุ่ม ส่วนหญิงจะตัดผมสั้น” (วัน จันทร. 2547) ในปัจจุบันการแต่งกายของชาวลาวครั่งมีลักษณะคล้ายกับแบบที่นิยมทั่วไปในสังคมไทย แต่ผู้หญิงจะนิยมนุ่งห่มซิ่นมัดหมี่ตีนแดงในงานโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีงานบวช งานประเพณี หรืองานบุญเทศกาลต่างๆ การจัดงานประเพณีหรืองานที่มีการรวมกลุ่มที่เป็นงานซึ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะหรือการรับแขกคนส้าคัญของท้องถิ่น ผู้ชายจะมีผ้าขาวม้าคาดเอวเป็นลายตารางหมากรุก 5 สี ส่วนผู้หญิงจะมีการแต่งกายด้วยผ้าทอมัดหมี่ต่อผ้าซิ่นตีนจก นอกจากนั้นชาวลาวครั่งยังนิยมทอผ้าห่ม ซึ่งมักทอเป็นผืนใหญ่มีลายท้องฟ้าและลายเชิงชาย มักจะใช้สีที่ตัดกันมีสีอ่ืนแซมประปราย ส่วนผ้าม่านทอเป็นลวดลายรูปสัตว์ต่างๆ แต่เดิมนั้นเป็นของที่ชาวลาวครั่งทอมาถวายวัด ปัจจุบันชาวลาวครั่งทอผ้าม่าน เพ่ือขายซึ่งจะทอเมื่อมีผู้สั่งเท่านั้น การทอผ้าในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด โดยอาจจะมีการทอเป็นที่รองจาน ผ้าคลุมเตียงหรือผ้าตัดเสื้อแล้วแต่จะมีคนมาว่าจ้างให้ท้า การทอผ้าจึงเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่โดดเด่นของกลุ่มลาวครั่งเพราะแสดงออกถึงภูมิปัญญาที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งหรือไทครั่งยังคงสืบทอดการทอซิ่นลวดลายแบบดั้งเดิมอยู่ ผ้าซิ่นของชาวไทครั่งนั้นมี 4 แบบ คือ 1) ผ้าซิ่นหมี่โลด นิยมท้าเป็นลายหมี่ส้าเภา หมี่

  • 3

    จรวด หมี่โคม 2) ผ้าซิ่นหมี่ตา นิยมท้าเป็นลายนาค ลายหงส์ ส่วนลายขิดนิยมท้าเป็นลายดอกจันทร์ ดอกแก้ว ขิดฟันปลา 3) ผ้าซิ่นหมี่น้อย นิยมท้าเป็นลายนาค และ 4) ผ้าซิ่นก่าน เป็นซิ่นสองตะเข็บ ใช้เป็นหัวซิ่น

    การแต่งกายของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐินนั้น นิยมสีสันที่ให้ความร้อนแรง โดยเฉพาะ สีแดงของครั่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวครั่ง นอกจากนั้นยังมีลวดลายที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้ โดยการน้าความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมศาสนา เช่น นาค คชสีห์ (ตัวมอม) หงส์ (นก) สิงห์ เป็นต้น หญิงสาวชาวลาวครั่งจะได้รับการฝึกฝนการทอผ้าจากย่า ยาย ป้า และแม่ จึงมีความสามารถในการทอผ้าโดยประดิษฐ์ชิ้นงานออกมาด้วยสีสันลวดลายที่ให้ความงดงาม และแสดงออกถึงคุณสมบัติของกุลสตรีที่ดีงามและมีความพร้อมจะออกเรือนได้ ผ้าทอนอกจากใช้ในชีวิตประจ้าวันเพ่ือการนุ่งห่ม ได้แก่ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ปลอกหมอน แล้วยังน้าไปใช้ในพิธีกรรมในงานบวช งานแต่ง หรือใช้ในประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณียกธงสงกรานต์ งานแห่เจ้าพ่อดงไม้งาม เป็นต้น หรืองานทางพระพุทธศาสนา เช่น ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าจุลกฐิน เป็นต้น (เพ่ิม ภูฆัง และจ้าปา พุ่มจ้าปา. 2547)

    หลังช่วงท้านาปลูกข้าวเสร็จแล้วชาวลาวครั่งจะปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน ไว้ตามจอมปลวกหรือบริเวณรอบๆ บ้าน เมื่อถึงช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวฝ้ายจะแก่เต็มที่ชาวลาวครั่งจะเริ่มเก็บฝ้ายตากแดดเพ่ือน้ามาท้าด้ายทอผ้า ถ้าต้องการสีก็น้ามาย้อมสี การย้อมสีมักจะใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ รากไม้ ลูกไม้ เช่น ลูกมะเกลือ คราม เป็นต้น (วัน จันทร. 2547)

    ประเภทผ้าทอของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐินผลิตขึ้นตามลักษณะของวัสดุและโอกาสใช้สอย ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ใช้ในประเพณีหรือใช้ในชีวิตประจ้าวันของสมาชิกในครอบครัว หรือในพิธีกรรมต่างๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

    1. ผ้าทอเพื่อใช้ในชีวิตประจ าวัน ได้แก่ 1) ผ้าห่ม ผ้าทอนี้ไว้ใช้ส้าหรับห่มนอนหรือใช้ห่มคลุมเพ่ือป้องกันความหนาวเย็น 2) ผ้าขาวม้า ที่ชาวบ้าน เรียกว่า “ผ้าขาวม้า 5 สี” เป็นผ้าทอส้าหรับผู้ชายใช้นุ่งห่มในชีวิตประจ้าวันและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และ 3) ย่าม หรือเรียกว่า “ถง” เป็นการทอผ้าที่มีหลายขนาดแล้วแต่ประโยชน์ใช้สอย เช่น ย่ามขนาดใหญ่ส้าหรับใส่แป้งข้าวจ้าวโม่แล้วแขวนให้สะเด็ดน้้า เพ่ือน้าไปท้าขนมจีนที่ชาวลาวครั่งเรียกว่า “ถงขนมเส้น” หากเป็นย่ามขนาดกลางส้าหรับใส่อุปกรณ์การทอผ้า เรียกว่า “ถงใส่เครือหูก” ส้าหรับย่ามขนาดเล็กส้าหรับใส่อุปกรณ์ในการกินหมาก เรียกว่า “ถงหมาก” หรือย่ามสะพายสิ่งของไปนาไปไร่ ในปัจจุบันการทอย่ามไม่มีแล้ว เนื่องจากชาวบ้านจะหันไปใช้ถุงพลาสติกหรือตะกร้าพลาสติกแทนเพราะความสะดวกสบายและหาซื้อได้ง่าย (วัน จันทร และทองมา จันทร. 2547)

    2. ผ้าทอเพื่อใช้ในงานพิธีหรือโอกาสพิเศษ ได้แก่ 1) ผ้าซิ่นตีนจก เป็นผ้าส้าหรับนุ่งของหญิงชาวลาวครั่งเป็นที่นิยมมาก ซึ่งทอไว้ส้าหรับสวมใส่ในโอกาสพิเศษ เช่น งานบวช งานแต่งงาน หรืองานบุญส้าคัญๆ จากงานวิจัยของพระสยาม กาฬภักดี (2558. สัมภาษณ์ วัน จันทร, จ้าปา พุ่มจ้าปา, เพ่ิม ภูฆัง, น้อย กาฬภักดี และนัน พุ่มจ้าปา.) กล่าวถึงลักษณะการทอจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งเป็นส่วนด้านบน เรียกว่า “ตัวซิ่น” และส่วนด้านล่าง เรียกว่า “ตีนซิ่น” ซึ่งตีนซิ่นนี้จะมีลวดลายต่างๆ เมื่อทอได้ทั้งสองส่วนแล้วจะน้ามาเย็บต่อกันเป็นผ้าซิ่น 2) ผ้าทอเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา ได้แก่ ผ้าห่มคัมภีร์ ทอด้วยผ้ามัดหมี่ไหม เย็บริมด้วยผ้าแดง ถวายวัดเพ่ือเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อ

  • 4

    ทางพระพุทธศาสนาของชาวบ้าน 3) ผ้าคลุมหัวนาค ทอด้วยฝ้ายหรือไหมสีขาว ทอขิดสลับลายจกมีชายครุยทั้งสองด้านเป็นลวดลายสัตว์ต่างๆ เช่น ลายช้าง ลายม้า ลายสิงห์ และลายคชสีห์ (ลายมอม) เป็นต้น ส้าหรับไว้ใช้คลุมหัวนาคขณะแห่เวียนประทักษิณรอบพระอุโบสถ 4) หมอนขวานหรือหมอนสามเหลี่ยม หมอนชนิดนี้ท้าเพ่ือถวายพระสงฆ์ในงานเทศกาลส้าคัญ ๆ ไว้ใช้ส้าหรับพิงหรือเท้าแขนพักผ่อน 5) ผ้าม่านติดธรรมาสน์ เป็นผ้าทอที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชายด้านล่างร้อยด้วยลูกปัดเป็นสายติดภู่ระย้า ใช้ส้าหรับติดหน้ามุขทั้ง 4 ด้านของธรรมาสน์ และ 6) หมอนหน้าหกหรือหมอนน้อย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กมีอยู่หกช่องส้าหรับยัดนุ่นลวดลายที่ใช้มีหลายลาย เช่น ลายคมตาล ลายขอบวยเล็ก ลายดอกจันทร์ ลายขอระฆัง เป็นต้น หรือลวดลายที่ช่างทอคิดประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยจินตนาการ หมอนชนิดนี้ท้าขึ้นเพ่ือถวายพระสงฆ์ใช้ส้าหรับหนุนศีรษะและใช้ในงานบุญต่างๆ เช่น ถวายพระสงฆ์ในงานศพ หรือใช้ในพิธีกรรมการแต่งงานเพ่ือน้าไปไหว้สมาญาติพ่ีน้องของสามี

    วิถีชีวิตของชาวลาวครั่งของต้าบลบ่อกรุดังกล่าว มีประวัติยาวนานและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายมีการอนุรักษ์ สืบทอด และส่งต่อสู่เยาวชนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน ในหนังสือเล่มนี้จะรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของต้าบลบ่อกรุ อ้าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 3 เรื่อง ได้แก่ ประเพณียกธงสงกรานต์ ในบทที่ 2 และวัฒนธรรมการทอซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ผ้าขาวม้า 5 สี ในบทที่ 4 และผ้าซิ่นตีนจกในบทที่ 5

  • ประเพณียกธงสงกรานต์เป็นประเพณีหนึ่งที่ชาวลาวครั่งต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช

    จังหวัดสุพรรณบุรี อนุรักษ์และส่งต่อเยาวชนรุ่นหลังอย่างมีระบบและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดมา หนังสือเล่มนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการอนุรักษ์ประเพณีดังกล่าวโดยจะน าเสนอในส่วนของประวัติประเพณียกธงสงกรานต์ เอกลักษณ์ของประเพณียกธงสงกรานต์ กรรมวิธีในการด าเนินการประเพณียกธงสงกรานต์ และประโยชน์ของประเพณียกธงสงกรานต์

    ประวัติของประเพณียกธงสงกรานต์ ประเพณียกธงสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านมักเรียกว่า “งานยกทุง” ทุง คือ ธง

    น่าจะ คล้ายกับท่ีชาวเหนือเรียกว่า “ตุง” เป็นประเพณีพ้ืนบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษในหมู่คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ซึ่งมีภูมิล าเนาอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ประเพณีเก่าแก่นี้ชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์ เอาไว้ โดยความร่ว มมือกันของผู้คนในต าบลนั้นๆ ซึ่งจะประกอบด้วยหลายๆ หมู่บ้าน ผู้รู้ได้เล่าประวัติยกธงไว้ว่า “พอถึงวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือว่าเป็นวันสงกรานต์ลง บรรดาเทวดาและนางฟ้าขึ้นสวรรค์ แต่คนเฒ่าคนแก่บางคนก็เล่าว่า ประเพณียกธงเป็นการยกธงเพ่ือฉลองความส าเร็จของกลุ่มหรือของชุมชน จึงก าหนดให้เป็นวันที่ 19 เมษายน ของทุกปีเป็นวันยกธง เมื่อมีการยกธงสงกรานต์ขึ้นที่หมู่บ้านใด ก็หมายถึงวันสงกรานต์ที่หมู่บ้านนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว และชาวบ้านก็จะเริ่มท าไร่ท านากันต่อไปตามแบบวิถีชาวบ้าน ดังนั้นในวันที่ 13 เมษายน - 19 เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีแห่ดอกไม้ในตอนเช้า และก าหนดวันสิ้นสุดสงกรานต์จะมีประเพณียกธงสงกรานต์ ในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี

    การแห่ดอกไม้ก็จะมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรเดินถือดอกไม้ไปด้วย โดยชาวบ้านจะเตรียมขันน้ าใส่ขมิ้นและน้ าหอมและดอกไม้คอยรับอยู่ตลอดทางที่พระจะผ่านมา พอพระผ่านมาถึงก็จะเอาดอกไม้จุ่มในขันน้ าของชาวบ้านและประพรมให้เพ่ือเป็นศิริมงคล เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะเดินตามพระไปด้วยพอผ่านบ้านถัดไปก็ร่วมกันเอาดอกไม้ประพรมให้ชาวบ้านที่รออยู่ต่อจากพระด้วย ซึ่งผู้คนก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางกลับเข้าวัด จากนั้นชาวบ้านก็จะน าดอกไม้ไปถวายพระพุทธรูป เป็นอันเสร็จพิธี นับเป็นงานบุญอย่างหนึ่งที่ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีร่วมกันจัดขึ้น ได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลืองมากนัก

    ประเพณียกธงสงกรานต์สงกรานต์

  • 7

    ภาพที่ 2.1 ประเพณีแห่ดอกไม้ 2560 ที่มา: เทศบาลต าบลบ่อกรุ. 2560.

    พระครูโกมุทสุวรรณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ่อกรุองค์ปัจจุบันเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนที่ชาวลาวซี - ลาวครั่ง อพยพมาจากเวียงจันทร์และมาพบกับพ้ืนที่บริเวณบ้านบ่อกรุ ซึ่งเป็นพ้ืนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มากจึงปักหลักตั้งฐานท ามาหากินอยู่ที่ต าบลบ่อกรุ และก็มีการยกธงเพ่ือเอาฤกษ์เอาชัย และเพ่ือเป็นการแสดงถึงความส าเร็จของกลุ่มชนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ การจัดงานยกธงสงกรานต์นี้จะมีการนัดหมายกันว่าในแต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นวันใดเพ่ือไม่ให้ตรงกัน โดยชาวบ้านจะน าคันธงหรือเสาธงและธงที่แต่ละหมู่บ้านเตรียมเอาไว้แห่มาที่วัด คันธงนั้นท าด้วยไม้ไผ่ทั้งล า โดยมีการประกวดประขันกันด้วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็นการประกวดความยาวโดยวัดจากโคนถึงปลายยอด ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะปกปิดไม่ยอมให้ใครรู้ การประกวดความใหญ่โดยวัดโดยรอบของโคนคันธง การประกวดความสวยงามของผืนธงซึ่งชาวบ้านจะช่วยกันเย็บ และการประกวดความสามัคคีของคนในชุมชนโดยการนับจ านวนของคนท่ีมาร่วมงานว่าหมู่บ้านใดสามารถดึงคนมาร่วมแห่ได้มากที่สุด

    ปัจจุบันประเพณีนี้มีการสืบทอดกันหลายหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบ่อกรุ หมู่บ้านทุ่งกฐิน หมู่บ้านหนองกระทุ่ม หมู่บ้านสระบัวก่ า และบ้านพุน้ าร้อน ปัจจุบันช่วงกลางวันจะมีการแข่งกีฬา และการละเล่นต่างๆ และมีการรดน้ าด าหัวผู้สูงอายุเพ่ิมขึ้นมาเพ่ือเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพนับถือผู้สูงอายุด้วย

  • เอกลักษณ์ของประเพณียกธงสงกรานต์ ผืนธงที่ชาวบ้านร่วมกันประดับประดาให้สวยงามเพ่ือน าไปใช้ในประเพณียกธงสงกรานต์นั้น

    จะใช้ ผ้าขาวม้า 5 สี ทอขึ้นมาเป็นพ้ืนของธง ดังภาพที่ 2.2 – 2.5 และประดับด้วยอุปกรณ์อ่ืนๆ บนพ้ืนธง ส่วนผู้หญิงจะนัดกันใส่ผ้าซิ่นตีนแดงหรือผ้าซิ่นตีนจกที่ทอเองด้วยมือของกลุ่มแม่บ้าน โดยตัวซิ่นนิยมสีแดงมาร่วมงาน เพ่ือเป็นการอนุรักษ์งานหัตถกรรมพ้ืนบ้าน ซึ่งในต าบลอ่ืนๆ ใส่ผ้าซิ่นตีนจกเช่นกันแต่ตัวซิ่นอาจหลากสีในประเพณียกธงสงกรานต์ ดังภาพที่ 2.6 – 2.8

    ภาพที่ 2.2 ผืนธงเป็นสีพ้ืนของหมู่บ้านหนองกระทุ่ม ต าบลหนองกระทุ่ม อ าเภอเดิมบางนางบวช ที่มา: https://www.suphan.biz/songkran01.htm ประเพณียกธงสงกรานต์ สุพรรณบุรี 2559

    ภาพที่ 2.3 ผืนธงเป็นสีพ้ืนของบ้านพุน้ าร้อน ต าบลด่านช้าง อ าเภอด่านช้าง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Ec0ADgnzY6E ประเพณียกธงเก่าแก่ของชาวบ้าน พุน้ าร้อน จ.สุพรรณบุรี

    http://www.suphan.biz/songkran01.htmhttps://www.youtube.com/watch?v=Ec0ADgnzY6E

  • 7

    ภาพที่ 2.4 ผืนธงเป็นผ้าขาวม้า 5 สี ของบ้านบ่อกรุ ต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช ที่มา: http://www.suphan.biz/songkran01.htm ประเพณียกธงสงกรานต์ สุพรรณบุรี 2560

    ภาพที่ 2.5 ผืนธงของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุ ที่ใช้ผ้าขาวม้าเป็นพื้นของธงและตกแต่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่มา: http://www.suphan.biz/songkran01.htm ประเพณียกธงสงกรานต์ สุพรรณบุรี 2560

    ภาพที่ 2.6 ผู้หญิงชาวลาวครัง่ ต าบลบ่อกรุ ใส่ผ้าซิ่นตีนจกในประเพณียกธงสงกรานต์ ที่มา: http://www.suphan.biz/songkran01.htm ประเพณียกธงสงกรานต์ จ.สุพรรณบุรี 2560

    http://www.suphan.biz/songkran01.htm%20ประเพณียกธงสงกรานต์ สุพรรณบุรี%202560http://www.suphan.biz/songkran01.htm%20ประเพณียกธงสงกรานต์ สุพรรณบุรี%202560http://www.suphan.biz/songkran01.htm

  • 8

    ภาพที่ 2.8 ผู้หญิงชาวลาวครั่งบ้านสระบัวก่ า–ดงอู่ทอง ต าบลหนองมะค่าโมง อ าเภอด่านช้าง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=ltCF6kthb2A ประเพณียกธงสงกรานต์ 2559 ชาติพันธุ์ลาวครั่ง บ้านสระบัวก่ า ดงอู่ทอง

    https://www.youtube.com/watch?v=ltCF6kthb2A

  • วิธีการจัดงานประเพณียกธงสงกรานต์ การจัดงานประเพณียกธงสงกรานต์ที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้ คือ การเตรียมงาน การตกแต่ง

    ผืนธง การแห่ธง และการปักธง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. การเตรียมงาน การเตรียมงานประกอบด้วยการท าคันธง และการตกแต่งผืนธง การผลิตคันธงของชาวลาว

    ครั่งต าบลบ่อกรุ จะมีกรรมวิธีเหมือนชาวลาวครั่งในพ้ืนที่อ่ืนๆ ด าเนินการโดยเข้าไปคัดเลือกต้นไผ่ที่ต้องการใช้เป็นคันธง ซึ่งต้นไผ่นี้อาจเกิดจากการปลูกเพ่ือเตรียมการในการจัดงานยกธงสงกรานต์ หรืออาจเกิดจากธรรมชาติ เมื่อคัดเลือกต้นไผ่ที่ต้องการได้แล้ว ชาวบ้านก็ช่วยกันตัดต้นไผ่นั้นมาท าคันธง ดังภาพที่ 2.9 (ก) และ (ข) หลังจากนั้น จึงขนย้ายต้นไผ่และน าไปตกแต่งท าเป็นคันธง ดังภาพที่ 2.10 (ก) เริ่มตัด (ข) ต้นไผ่ที่ตัดและลิดกิ่งแล้วเตรียมเคลื่อนย้าย ภาพที่ 2.9 การตัดต้นไผ่มาท าคันธง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk ยกธงสงกรานต์ 2557 ภาพที่ 2.10 ขนย้ายต้นไผ่ที่ตัดแล้วไปท าคันธงและตัดแต่งต้นไผ่ที่จะท าคันธง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk ยกธงสงกรานต์ 2557

    https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmkhttps://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk

  • 7

    2. การตกแต่งผืนธง ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจในการประกอบส่วนที่จะน ามาตกแต่งผืนธงในงานประเพณี ซึ่งพ้ืน

    ธงจะใช้ผ้าขาวม้า 5 สี ที่ทอขึ้นเป็นอุปกรณ์หลักในการท าผืนธงและท าการตกแต่งด้วยอุปกรณ์อ่ืนๆ ดังภาพที่ 2.11 ชายธงประดับด้วยลายผ้าทอตีนจกลายขอนาค ดังภาพที่ 2.12.

    ภาพที่ 2.11 ชาวลาวครั่งต าบลบ่อกรุก าลังเตรียมอุปกรณ์ประดับธง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk ยกธงสงกรานต์ 2557

    ภาพที่ 2.12 ผืนธงของต าบลบ่อกรุ ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk ยกธงสงกรานต์ 2557

    เมื่อถึงวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นวันสุดท้ายของวันสงกรานต์ในต าบลบ่อกรุ อ าเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เทศบาลต าบลบ่อกรุและชาวบ้านร่วมใจกันจัดงานยกธงสงกรานต์

    https://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmkhttps://www.youtube.com/watch?v=TfvYvNxNBmk

  • 8

    ณ วัดบ่อกรุ ซึ่งในวันนี้จะมีการแห่หลวงพ่อด า ดังภาพที่ 2.13 และแห่ดอกไม้รอบหมู่บ้าน การแห่ดอกไม้ก็จะมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรเดินถือดอกไม้ไปด้วย โดยชาวบ้านจะเตรียมขันน้ าใส่ขมิ้นและน้ าหอมและดอกไม้คอยรับอยู่ตลอดทางที่พระจะผ่านมา พอพระผ่านมาถึงก็จะเอาดอกไม้จุ่มในขันน้ าของชาวบ้านและประพรมให้เพ่ือเป็นสิริมงคล เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะเดินตามพระไปด้วย พอผ่านบ้านถัดไปก็ร่วมกันเอาดอกไม้ประพรมให้ชาวบ้านที่รออยู่ต่อจากพระด้วย ซึ่งผู้คนก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางกลับเข้าวัด จากนั้นชาวบ้านก็จะน าดอกไม้ไปถวายพระพุทธรูปเป็นอันเสร็จพิธี นับเป็นงานบุญอย่างหนึ่งที่ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีร่วมกันจัดขึ้น ได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลืองมากนัก

    3. การแห่ธง เวลา 8.00 น. จะตั้งขบวนแห่ธง (ภาพที่ 2.13 - 2.15) และรูปจ าลองหลวงพ่อด า (ภาพที่

    2.13) มายังสถานที่จัดงาน คือ วัดบ่อกรุ น าคันธงและคลี่ผืนธงแห่เข้าวัดบ่อกรุ โดยน าคันธงไปวางยังที่เตรียมไว้เพื่อให้กรรมการตัดสินคันธง“หลังด าเนินการแห่ดอกไม้ของชาวบ่อกรุวันที่ 19 เมษายน แล้ว เวลา 8.00 น. จะตั้งขบวนแห่ธงมายังสถานที่จัดงาน คือ วัดบ่อกรุ น าคันธงและคลี่ผืนธงแห่เข้าวัดบ่อกรุ โดยน าคันธงไปวางยังที่เตรียมไว้เพื่อให้กรรมการตัดสินคันธง เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดก็จะมีการละเล่นต่างๆ ที่จัดขึ้น เช่น การประกวดร าวงย้อนยุคของแต่ละหมู่บ้าน การละเล่นประเภทกีฬา เช่น ชักเย่อ ปิดตาชกมวย ปิดตาตีหม้อ เป็นต้น

    ภาพที่ 2.13 การแห่รูปจ าลองหลวงพ่อด า ที่มา: https://banjamatgame.files.wordpress.com หลวงปู่ด า/ประเพณียกธงสงกรานต์ 2558

    https://banjamatgame.files.wordpress.com/

  • 9

    ภาพที่ 2.14 ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้านมายังวัดบ่อกรุ ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=OXjCAfhe-U0&t=318s ยกธงสงกรานต์ 2559

    ภาพที่ 2.15 ขบวนแห่คันธงและน าธงเข้าบริเวณวัด ที่ ม า : https://www.youtube.com/watch?v=aIM37 f9u4OE ประเพณี ยกธงสงกรานต์ จ .สุพรรณบุรี

    4. การปักธง

    เวลา 15.00 เริ่มการสรงน้ าพระ และรดน้ าขอพรผู้สูงอายุดังภาพที่ 2.16 จากนั้นจะเริ่มประเพณีแห่ธง (ภาพที่ 2.17) รอบวัดสามรอบก่อนจะน าไปปักลงหลุมที่เตรียมขุดเอาไว้ การแห่ธงของแต่ละหมู่บ้านนั้นก็จะมีเครื่องเป่าและร าวงกันอย่างสนุกสนาน ระหว่างวนรอบโบสถ์นี้ใช้เวลานานพอสมควร เนื่องจากบรรดาผู้แบกธงจะดึงคันธงชักเย่อกัน ในตอนที่จะน าธงไปปักลงหลุมนั้นก็จะมีการ

    https://www.youtube.com/watch?v=OXjCAfhe-U0&t=318shttps://www.youtube.com/watch?v=aIM37f9u4OE

  • 10

    แกล้งกันพอหอมปากหอมคอ เพ่ือไม่ให้อีกฝ่ายน าคันธงไปปักลงหลุมที่เตรียมไว้ได้ง่ายๆ ในปัจจุบันมีการใช้รถยกเข้ามาช่วยในการน าคันธงปักลงหลุมที่เตรียมไว้เนื่องจากคันธงมีความยาว หลังปักธง (ภาพที่ 2.17) ได้แล้วชาวบ้านก็จะร าวงรอบเสาธงสามรอบเพ่ือเป็นการสักการะ คันธงจะถูกตั้งไว้ 3 วัน 3 คืน

    ภาพที่ 2.16 การสรงน้ าพระและรดน้ าขอพรผู้สูงอายุ ที่มา: http://www.suphan.biz/songkran01.htm: ประเพณียกธงสงกรานต์ต าบลบ่อกรุ 19 เมษายน 2558

    ภาพที่ 2.17 ประเพณียกธงสงกรานต์ต าบลบ่อกรุปี2560 ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=ประเพณียกธงสงกรานต์ต าบลบ่อกรุปี2560

    http://www.suphan.biz/songkran01.htmhttps://www.google.co.th/search?q=ประเพณียกธงสงกรานต์ตำบลบ่อกรุปี2560

  • ประโยชน์ของประเพณียกธงสงกรานต์ ประเพณียกธงสงกรานต์ เป็นงานบุญอย่างหนึ่งที่ประชาชนในหมู่บ้านแสดงออกถึงความสามัคคี ร่วมกันจัดงานขึ้น ซึ่งได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลืองมากนัก เป็นกุศโลบายทีท่ าให้ชุมชนมีความรัก ความสามัคคี และรักษาประเพณีอันดีงามดั้งเดิมเอาไว้

  • การทอผ้าของชาวลาวครั่งจะใช้สีที่มาจากธรรมชาติมาย้อมสีฝ้ายหรือไหม ซึ่งชาวลาวครั่ง

    ได้รับการสืบทอดมาเป็นรุ่นต่อรุ่น ผ่านการบอกเล่าและการปฏิบัติแบบแม่สอนลูก จึงท าให้ไม่มีบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแสดงรายละเอียดที่ชัดเจน เพ่ือเป็นการอนุรักษ์ผ้าทอโบราณของชาวลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรีไว้อย่างยั่งยืน ชาวลาวครั่งต าบลป่าสะแก ต าบลบ่อกรุ และต าบลหนองกระทุ่ม จึงรวมตัวกันก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าพ้ืนเมืองโบราณลาวซี ลาวครั่ง เพ่ืออนุรักษ์สืบสานผ้าทอลายโบราณอันเป็นวัฒนธรรมลาวซี ลาวครั่ง และเป็นสถานที่ฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูการผลิตผ้าทอโบราณ ส่งเสริมการสร้างอาชีพแก่ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีงานท า เส้นใยและสีสันบนผ้าทอพ้ืนเมืองโบราณลาวซี-ลาวครั่ง

    เส้นใยที่ใช้ทอผ้าของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งมี 2 ประเภท ได้แก่ เส้นใยฝ้ายกับเส้นใยไหม ปัจจุบันวิทยาการด้านการทอผ้าเพิ่มข้ึน ท าให้มีการพัฒนาเส้นใยที่เรียกว่า เส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยสงเคราะห์ขึ้น ท าให้ชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งมีเส้นใยที่สามารถเลือกใช้ในการทอผ้าสะดวกขึ้น แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เส้นใยฝ้าย เส้นใยไหม เส้นใยประดิษฐ์ (เรยอน วิสคอส เบมเบอร์ก อาซิเตรท) และเส้นใยสงเคราะห์ (โพลีเอสเตอร์) ซึ่งชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งต าบลบ่อกรุเลือกใช้ 3 ประเภทคือ เส้นใยฝ้าย เส้นใยไหม และเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนสีสันบนผ้าทอของชาวลาวครั่งเกิดจากการย้อมเส้นใย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการย้อมสีฝ้าย ซึ่งฝ้ายที่ใช้ในการย้อมได้มาจากการที่ชาวบ้านปลูกไว้ตามท้องไร่ท้องนาหว่านเมล็ดภายในแปลงนา เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวฝ้ายก็ออกดอก พอเริ่มลงนาเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วดอกฝ้ายก็จะบาน เก็บเอามาใส่ตะกร้าตากแดดให้ใยฟู ดอกฝ้ายจะมีทั้งสีขาวและสีน้ าตาล จากนั้นน าฝ้ายมาอ๊ิว การอ๊ิวฝ้าย คือ การเอาเมล็ดฝ้ายออก แล้วน ามาดีดให้ฟูเป็นใยบางๆ ขั้นต่อไป คือ การหล่อฝ้ายให้เป็นตัวหลอดโดยใช้ไม้กลมเล็กๆ ที่มีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงน ามาปั่นเป็นเส้นด้ายและน าเส้นด้ายมาเปียเป็นไจหรือลูก ถ้าจะท าเป็นด้ายยืนก็จะปั่นให้เป็นเส้นเล็กๆ ถ้าท าเป็นด้ายพุ่งต้องท าให้เส้นใหญ่กว่าด้ายยืนเล็กน้อย หลังจากนั้นจึงน าฝ้ายไปย้อม ซึ่งนิยมย้อมด้วยสีธรรมชาติ สามารถศึกษาวิธีการย้อมสีเส้นใยฝ้ายได้ที่เว็บไซต์ของ TNN24 (https://www.youtube.com/watch?v= iZoOzdnF8mE)

    สีธรรมชาติที่น ามาย้อมผ้านั้นเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น รากไม้ แก่น เปลือก

    ไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ใบ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ย้อมว่าอยากได้สีอะไร ก็จะไปหาวัสดุธรรมชาตินั้นมาเพ่ือเข้าสู่กระบวนการย้อม ซึ่งสีที่ชาวลาวครั่งใช้ในการย้อมผ้านั้นมีหลากหลายสี แต่สีดั้งเดิมที่ใช้ในการทอผ้า ได้แก่ สีแดง ซึ่งเป็นสีเอกลักษณ์ของชาวลาวครั่งที่ใช้ในการทอผ้าซิ่น นอกจากนี้ยังมีฝ้ายสีอ่ืนๆ ที่ย้อมมาเพ่ือทอประกอบสร้างให้เป็นลวดลายที่สวยงามบนผ้าซิ่น เช่น สีคราม สีน้ าตาล สีด ามะเกลือ สีเขียว เป็นต้น ปัจจุบันมีการย้อมสีให้กับเส้นใยด้ายนั้น แบ่งเป็นการใช้สีธรรมชาติกับสีวิทยาศาสตร์หรือสีเคมี

    ผ้าทอลาวครั่ง : บ่อกร ุ

    https://www.youtube.com/watch?v=%20iZoOzdnF8mEhttps://www.youtube.com/watch?v=%20iZoOzdnF8mE

  • 17

    อุปกรณ์ในการทอผ้าพื้นเมืองของชาวลาวครั่งประกอบด้วย 13 ส่วน ดังนี้ 1. ก่ี เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งมีทั้งก่ีพ้ืนบ้านที่ต้องอาศัยการพุ่งกระสวยด้วยตนเองใน

    การขึ้นลาย และกี่กระตุกเป็นการพัฒนากี่ให้สามารถพุ่งกระสวยได้เองเพียงแค่ผู้ทอท าการกระตุกสายของกระสวย ทั้งนี้จะช่วยให้ผู้ทอสามารถทอผ้าได้เร็วขึ้น

    2. ฟืม เป็นอุปกรณ์หนึ่งในการทอผ้า มีลักษณะเป็นซี่เรียงกันอยู่ในกรอบของไม้ ใช้ส าหรับกระทบเส้นด้ายพุ่งจากกระสวยให้ชิดเป็นระเบียบ และท าให้ผ้ามีความแน่น ความถี่ของฟันฟืมนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเส้นด้าน หากเป็นผ้าไหมฟันฟืมจะถี่ หากเป็นผ้าฝ้ายฟันฟืมจะห่าง ในปัจจุบันใช้ฟันฟืมที่เป็นโลหะเพ่ือความแข็งแรง และความทนทาน

    3. ด้าย ที่ใช้ในการทอผ้า แบ่งออกเป็น ไหม และฝ้าย ที่ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติแล้วน ามากรอใส่กระสวยเพื่อความสะดวกในการทอ

    4. กระสวย เป็นตัวพุ่งของเส้นด้ายของก่ีแบบพ้ืนบ้าน 5. ไม้เก็บลาย เป็นไม้ขนาดเล็กลักษณะแบน ใช้ในการเก็บลายผ้าที่ข้ึนไว้ 6. ไม้กระดาน เป็นไม้ขนาดหน้ากว้าง ลักษณะแบน ใช้เก็บลายผ้าขนาดใหญ่ 7. ไม้คิ้ว ใช้ส าหรับเก็บลวดลายในการทอผ้า 8. กง ใช้ส าหรับเปลี่ยนหลอดด้าย 9. หลอดพุ่งไว้ใช้ใส่ในกระสวย 10. ไม้ค้้าพั้น ไว้ใช้หมุนผ้าที่ทอเสร็จแล้วเก็บไว้ 11. ไม้ตีนเหยียบ ใช้เหยียบขึ้นลง เป็นการสลับกันของด้าย 12. ไม้หามผูก เป็นไม้ที่ติดกับไม้ตีนเหยียบไม่ให้ฟืมห้อยลง 13. หวีหูก เป็นแปรงด้ายเส้นยืน เพ่ือไม่ให้ด้ายพันกัน ท าด้วยกาบมะพร้าว (ศูนย์การเรียนรู้

    ลาวซี-ลาวครั่ง: อุปกรณ์การทอผ้าพ้ืนเมืองโบราณลาวซี -ลาวครั่ง. 2541, และทรงพล ต่วนเทศ. 2555.)

  • การเตรียมการทอผ้า กี่ที่ใช้ในการทอผ้ามีอยู่หลายประเภท แต่กี่ที่ชาวบ้านลาวครั่งใช้ในการทอผ้าคือ กี่ที่ใช้การยกตะกอด้วยระบบลูกรอก เป็นกี่พ้ืนบ้านขนาดเล็ก ที่ส่งกระสวยพุ่งด้วยมือ ซึ่งใช้เวลาในการทอค่อนข้างนาน ตัวกี่ ทอผ้าจะประกอบไปด้วย 1) โครงกี่ ท าหน้าที่ยึดและติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ ให้อยู่ในต าแหน่งที่ถูกต้อง และท างานได้ 2) ไม้ค้้าพั้น ซึ่งมีหน้าที่ม้วนเส้นด้ายยืนเพ่ือไว้ใช้ทอตามจ านวนที่ต้องการ และ “ม้วนผ้า” ใช้ส าหรับม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว 3) ฟันหวี ใช้ก าหนดจ านวนเส้นด้ายยืนต่อหน่วยความกว้างเป็นเบอร์ เช่น ฟันหวีเบอร์ 40 ในความกว้าง 1 นิ้ว จะมีช่องฟันหวี 20 ช่อง และเมื่อร้อยเส้นด้ายเข้าไปในช่องหวี ช่องหวีละ 2 เส้น จะมีเส้นด้ายรวม 40 เส้นต่อ 1 นิ้ว และ 4) ตะกอ คือ ส่วนที่ท าหน้าที่บังคับเส้นด้ายที่ร้อยอยู่ในตาหรือหูของตะกอให้ขึ้นลงสลับกันไปตามลักษณะของลายโครงสร้างผ้าที่ก าหนด (ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าโบราณลาวซี ลาวครั่ง : กระบวนการทอผ้าพ้ืนเมืองโบราณลาวซี-ลาวครั่ง. 2541)

    การเตรียมด้ายยืนหรือเส้นยืน หลังจากการปั่นใส่หลอดเรียบร้อยแล้วก็จะน าด้ายเหล่านั้นไปใส่เครื่องเดินด้าย ซึ่งมีราวส าหรับบรรจุหลอดด้ายลงแคร่ส าหรับเดินด้ายต่อไป ราวนี้มีขนาดใหญ่สามารถบรรจุหลอดด้ายประมาณ 200 หลา และแคร่สามารถบรรจุเส้นยืนได้ยาว 200 หลา เมื่อเดินด้ายเสร็จแล้วก็จะปลดเอาด้ายออกมาจากแคร่และขมวดให้เป็นลูกโซ่เพ่ือป้องกันมิให้เส้นด้ายยุ่ง น าเก็บส าหรับหวีต่อไป ซึ่งเรียกว่าการเดินด้าย ดังภาพที ่3.1

    ภาพที่ 3.1 การเดินด้ายยืน ที่มา: http://mll.aru.ac.th/weaving.html. ศูนย์การเรียนรู้ลาวซี-ลาวครั่ง: อุปกรณ์การทอผ้าพ้ืนเมืองโบราณลาวซี-ลาวครั่ง. 2541

    เมื่อเดินด้ายยืนแล้วก็จะท าการหวีด้าย คือ การแผ่เส้นจากลักษ�