การแพทย์แผนปัจจุบัน...

6
Volume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology 243 นับแต่การก่อตั้งโรงศิริราชพยาบาลเป็น โรงพยาบาลหลวงถาวรแห่งแรก และโรงเรียน แพทยากร เพื่อการอบรมกุลบุตรเป็นแพทย์ออก รับใช้สังคมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2431 และ พ.ศ. 2436 ตามลำดับ การแพทย์แผนตะวันตกต้องฝ่าฟัน อุปสรรคนานัปการ เนื่องจากในสมัยนั้นการแพทย์ แผนตะวันตกยังไม่เป็นที่นิยม ประชาชนชาวสยาม ยังนิยมการแพทย์แผนไทยมากกว่า สำหรับการเรียน การสอนวิชาแพทย์นั้นแรกเริ่มกำหนดความรู้เพียง อ่านออกเขียนได้เท่านั้น ระยะแรกมีผู้สมัครเรียน 40 คน ต่อมาค่อยๆ หายไปเหลือเพียง 13 คน ต้องรับ เพิ่มอีก สำหรับหลักสูตรมีกำหนด 3 ปี แต่การจัด หลักสูตรยังไม่แน่นอน ในระยะต้นนักเรียนแพทย์ได้ รับค่าจ้างเรียนโดยได้รับเงินเดือนคนละ 12 บาท ต่อเดือน บทความพิเศษ การแพทย์แผนปัจจุบัน: วิวัฒนาการในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ พ.บ. * , อมรพันธ์ุ เสรีมาศพันธ์ุ พ.บ. ** * ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ** ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์แพทย์ระยะแรกเริ่ม การจัดสอนวิชาแพทย์แบบฝรั่งที่โรงศิริราช พยาบาลนั้น เริ่มโดยมีนายแพทย์ ที. เฮย์วาร์ด เฮยส์ มิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้สอนการเรียนวิชาแพทย์ ระยะแรกนั้นเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นอีกทั้ง เครื่องมือทางการแพทย์มนสมัยนั้นก็ยังไม่พรั่งพร้อม อาจารย์มีความลำบากในการสอน เพราะนักเรียน ไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย ต่อมานายแพทย์ ยอร์ช บี. แมคฟาแลนด์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านศัลยกรรม และทันตกรรมมาจากสหรัฐอเมริกามาเป็นอาจารย์ สอนที่ศิริราช และมีอาจารย์ไทยเป็นแพทย์ที่สำเร็จ รุ่นแรกๆ มาช่วยสอน อำมาตย์เอกพระอาจวิทยาคม หรือนายแพทย์ ยอร์ช บี. แมคฟาแลนด์ เป็นบุตรของศาสนาจารย์ เอส. จี. แมคฟาร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาล แผนตะวันตกแห่งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ที_12-1673(243-248).indd 243 11/26/12 10:34:42 PM

Upload: others

Post on 02-Feb-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology 243

นับแต่การก่อตั้ งโรงศิริราชพยาบาลเป็น

โรงพยาบาลหลวงถาวรแห่งแรก และโรงเรียน

แพทยากร เพื่อการอบรมกุลบุตรเป็นแพทย์ออก

รับใช้สังคมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2431 และ พ.ศ.

2436ตามลำดับการแพทย์แผนตะวันตกต้องฝ่าฟัน

อุปสรรคนานัปการ เนื่องจากในสมัยนั้นการแพทย์

แผนตะวันตกยังไม่เป็นที่นิยมประชาชนชาวสยาม

ยังนิยมการแพทย์แผนไทยมากกว่าสำหรับการเรียน

การสอนวิชาแพทย์นั้นแรกเริ่มกำหนดความรู้เพียง

อ่านออกเขียนได้เท่านั้น ระยะแรกมีผู้สมัครเรียน

40คนต่อมาค่อยๆหายไปเหลือเพียง13คนต้องรับ

เพิ่มอีก สำหรับหลักสูตรมีกำหนด 3 ปี แต่การจัด

หลักสูตรยังไม่แน่นอน ในระยะต้นนักเรียนแพทย์ได้

รับค่าจ้างเรียนโดยได้รับเงินเดือนคนละ 12 บาท

ต่อเดือน

บทความพิเศษ

การแพทย์แผนปัจจุบัน:วิวัฒนาการในสมัย

สมบูรณาญาสิทธิราชย ์

สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ พ.บ.*,

อมรพันธ์ุ เสรีมาศพันธ์ุ พ.บ.**

* ภาควิชาวิสัญญีวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย** ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์แพทย์ระยะแรกเริ่ม

การจัดสอนวิชาแพทย์แบบฝรั่งที่โรงศิริราช

พยาบาลนั้น เริ่มโดยมีนายแพทย์ที. เฮย์วาร์ด เฮยส์

มิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้สอนการเรียนวิชาแพทย์

ระยะแรกนั้นเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นอีกทั้ง

เครื่องมือทางการแพทย์มนสมัยนั้นก็ยังไม่พรั่งพร้อม

อาจารย์มีความลำบากในการสอน เพราะนักเรียน

ไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย ต่อมานายแพทย์ ยอร์ช

บี. แมคฟาแลนด์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านศัลยกรรม

และทันตกรรมมาจากสหรัฐอเมริกามาเป็นอาจารย์

สอนที่ศิริราช และมีอาจารย์ไทยเป็นแพทย์ที่สำเร็จ

รุ่นแรกๆมาช่วยสอน

อำมาตย์เอกพระอาจวิทยาคมหรือนายแพทย์

ยอร์ช บี. แมคฟาแลนด์ เป็นบุตรของศาสนาจารย์

เอส. จี. แมคฟาร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาล

แผนตะวันตกแห่งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่

_12-1673(243-248).indd 243 11/26/12 10:34:42 PM

Page 2: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

244 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2555

จังหวัดเพชรบุรี ท่านเกิดที่สำนักงานแพทย์ของ

หมอบรัดเลย์ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ศึกษาขั้นต้น

ที่โรงเรียนสวนอนันต์ ธนบุรี สำเร็จการศึกษาด้าน

ศัลยกรรมและทันตกรรมจากสหรัฐอเมริกา เป็นชาว

ต่างประเทศซึ่งสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดีทำให้

การเรียนการสอนวิชาแพทย์ที่โรงศิริราชพยาบาล

ดีขึ้นมาก1ท่านได้จัดทำตำราแพทย์หลายเล่มแจกจ่าย

แก่นิสิตแพทย์โดยไม่คิดมูลค่านอกจากการสอนวิชา

แพทย์ท่านยังปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของความ

เป็นแพทย์แก่ศิษย์อีกด้วยนอกจากผลงานด้านการ

แพทย์แล้วท่านเป็นผู้นิพนธ์ปทานุกรมฉบับภาษา

ไทยเป็นภาษาอังกฤษ มีคำ 167,546 คำ มีผลงาน

ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

และเปิดโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดขึ้น นอกจากนี้ท่าน

ยังเป็นผู้ก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัยอีกด้วยด้วยผลงานอันเป็นที่ประจักษ์

ท่านได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาเป็น

ศาสตราจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น

ที่เคารพของแพทย์ทั้งหลาย จนได้สมญานามเป็น

อิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์

การผ่าตัดในระยะแรก

งานด้านการผ่าตัดในโรงศิริราชพยาบาลระยะ

แรกส่วนใหญ่เป็นการรักษาบาดแผล เย็บห้ามเลือด

มีการทำคลอด ทั้งรายปรกติและใช้กับภาคปฏิบัติ

การเข้าเฝือกนิสิตแพทย์เข้าช่วยผ่าตัดเพื่อให้คุ้นเคย

และใจกล้า1 ในระหว่างนักเรียนแพทย์รุ่นแรกเรียน

อยู่นั้นทางการต้องการแพทย์ประจำหัวเมือง เมือง

พิชัยและเมืองภูเก็ต ขอตัวนักเรียนแพทย์ไป 2 คน

ได้แก่ นายเข็มใหญ่ไปเป็นแพทย์เมืองพิชัย และ

นายสร้อย ธนบุรีไปเป็นแพทย์ที่เมืองภูเก็ต ทั้งสอง

ท่านนี้ต้องไปเป็นแพทย์ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ แต่ก็

สามารถทำงานได้อย่างดี นอกจากนี้ นายแพทย์เข็ม

ใหญ่ยังได้ไปราชการทัพในการปราบฮ่อด้วย เมื่อ

แพทย์รุ่นแรกจบ 4 คน ใน 9 คน เข้าร่วมราชการ

ทหารไปกองทัพปราบฮ่อ สำหรับนายแพทย์กลิ่น

นิยมสิน เมื่อสำเร็จเป็นแพทย์แล้วนายแพทย์ ยอร์ช

บี.แมคฟาแลนด์ขอตัวไว้เป็นแพทย์สำหรับผ่าตัดตัด

เย็บ นับได้ว่านายแพทย์กลิ่น นิยมสินเป็นแพทย์

ประจำบ้านคนแรกของประเทศไทย1การผ่าตัดสมัย

แรกเริ่มเป็นสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ ยอร์ช บี. แมคฟาแลนด์

ได้พยายามปรับปรุงการผ่าตัดให้ดียิ่งขึ้น ท่านได้

ออกแบบสร้างโรงผ่าตัดโรงหนึ่งยาว 20ฟุต กว้าง

10ฟุต เป็นรูปแปดเหลี่ยมสูงจากพื้นดินถึงหลังคา

15ฟุตครึ่ง โรงนี้ถือเป็นโรงผ่าตัดโรงแรกมีภาพถ่าย

การผ่าตัดภายในโรงผ่าตัด จะสังเกตเห็นว่าที่ด้าน

ศีรษะของผู้ป่วยมีผู้ให้ยาระงับความรู้สึกอยู่ ซึ่งผู้ที่

ทำหน้าที่เป็นวิสัญญีแพทย์ก็คือ ศัลยแพทย์รุ่นเยาว์

นั่นเอง

ภาพที่ 1 อำมาตย์เอกพระอาจวิทยาคม

(นายแพทย์ยอร์ชบี.แมคฟาแลนด์)

_12-1673(243-248).indd 244 11/26/12 10:34:42 PM

Page 3: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology 245

สตรีไทยได้เข้าเรียนแพทย์

ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สังคมไทยซึ่ง

เป็นสังคมตะวันออก สิทธิของสตรียังไม่เท่าเทียม

ชาย ในปีพ.ศ.2469หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี

คณบดี คณะอั กษรศ าสตร์ และวิ ท ย าศ าสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอให้สตรีเข้าเรียน

แพทย์ ในระยะต้นมีการคัดค้าน เนื่องจากเกรงว่า

การที่จะให้ เด็กหนุ่มสาวเรียนด้วยกันอาจเกิด

เรื่องที่ไม่งดงามขึ้นได้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน

สงขลานครินทร์ทรงสนับสนุน ในที่สุดจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่รับ

นิสิตหญิงเข้าเรียนเตรียมแพทย์ นับเป็นเหตุการณ์

ครั้งสำคัญในประวัติการศึกษาของชาติ ตั้งแต่นั้น

มาสตรีไทยได้ เข้า เรียนในมหาวิทยาลัยมากขึ้น

ตามลำดับ

ภาพที่ 3 การผ่าตัดในโรงกระโจมที่โรงศิริราชพยาบาลในภาพเห็นวิสัญญีแพทย์ทางด้านศีรษะของผู้ป่วย

ภาพที่ 2 การผ่าตัดที่โรงศิริราชพยาบาล

_12-1673(243-248).indd 245 11/26/12 10:34:43 PM

Page 4: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

246 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2555

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก จัดขึ้น

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกระทรวงธรรม-

การ เมื่อวันที่ 25ตุลาคมพ.ศ.2473ณห้องประชุม

ตึกอักษรศาสตร์ โดยแพทย์ปริญญารุ่นที่ 1และรุ่นที่

2 รับพระราชทานปริญญาพร้อมกัน ในครั้งนั้น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ

พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จ

พระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วย

พระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระ

มหากษัตริย์ไทยที่มีต่อพสกนิกรที่ดำเนินต่อมาจนถึง

ปัจจุบัน คือ มีการกล่าวคาถาญัตติกรรมก่อนการ

พระราชทานปริญญา โดยผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย

อ่านคาถาว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อบรมบ่ม

นิสัยของนิสิต ตามพระบรมราชโองการมา จนเห็น

สมควรแล้วที่นิสิตเหล่านี้จะได้ปริญญา” เมื่อออกชื่อ

นิสิตทั้งปวงแล้ว จึงถามที่ประชุมสามครั้งว่า “จะมี

สมาชิกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคัดค้านมิให้

นิสิตคนใดได้รับพระราชทานปริญญา” ครั้งนั้นไม่มี

ผูใ้ดคดัคา้นจงึขานชือ่บณัฑติใหม่เขา้รบัพระราชทาน

ปริญญาเวชบัณฑิตตรี เมื่อรับพระราชทานปริญญา

บัตรแล้ว เหล่าบัณฑิตแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์

ศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้

กล่าวปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพ

พรรณีพระบรมราชินีดังนี้

ภาพที่ 5 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพที่ 4 นิสิตแพทย์หญิงเป็นสตรีไทยกลุ่มแรก

ที่มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา

_12-1673(243-248).indd 246 11/26/12 10:34:44 PM

Page 5: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology 247

คำปฏิญญาของเวชบัณฑิต

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระราช

วโรกาสทำปฏิญญาต่อหน้า พระพุทธ พระธรรม

พระสงฆ์ ต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวและคณะมหาวิทยาลัยซึ่งชุมนุมเฝ้าทูลละออง

ธุลีพระบาทณสถานที่นี้ว่า

1. ข้าพระพุทธเจ้าจะประพฤติตนในหน้าที่

แพทย์ เพือ่นำมาซึง่เกยีรตแิกจ่ฬุาลงกรณม์หาวทิยาลยั

และเพื่อให้มหาชนนับถืออาชีพแพทย์ทั่วไป

2. บรรดาผู้ป่วยไข้ในความอารักขาของ

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจะตั้งใจรักษาด้วย

สุจริต และพากเพียรจนสุดกำลังที่จะให้เขาเหล่านั้น

ฟื้นจากความไข้ ความลับส่วนตัวใดๆ ของคนไข้ที่

ขา้พระพทุธเจา้ไดท้ราบโดยหนา้ทีแ่พทย์ขา้พระพทุธเจา้

จะสงวนไว้โดยมิดชิด

3. ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ใช้ยา หรือวิธีบำบัด

โรคประการใดอันจะนำมาซึ่งชื่อเสียงอันไม่ดีงามแก่

อาชีพแพทย์ไม่ว่าขณะใดๆ

4. ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติตนโดยสุจริต

และยุติธรรมต่อเพื่อนร่วมอาชีพแพทย์ด้วยกันและ

ในความติดต่อโดยอาชีพ จะประพฤติเป็นสัมมาจารี

ทุกประการ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ภาพที่ 6บัณฑิตแพทย์กล่าวคำปฏิญาณการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก

เป็นการพระราชทานแก่บัณฑิตแพทย์

_12-1673(243-248).indd 247 11/26/12 10:34:44 PM

Page 6: การแพทย์แผนปัจจุบัน ...anesthai.org/.../journal/1458878983-_12-1673(243-248).pdfVolume 38 Number 4 October – December 2012 Thai Journal of Anesthesiology

248 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2555

ภาพที่ 7แพทย์ปริญญารุ่นที่1และ2ถ่ายภาพร่วมกันที่ตึกอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง 1. สรรใจแสงวเิชยีร.โรงศริริาชพยาบาลโรงพยาบาล

แหง่แรก.ใน:จนิตนาศรินิาวนิ,ศภุชยัรตันมณฉีตัร,

ประเสริฐทองเจริญ(บรรณาธิการ)ศิริราชร้อยปี:

ประวัติและวิวัฒนาการ. วิคตอรี่เพาเวอร์พอยต์,

กรุงเทพมหานคร,2531;27-34.

2. สรรใจ แสงวิเชียร. โรงเรียนแพทยากร.ใน:

จินตนาศิรินาวิน,ศุภชัยรัตนมณีฉัตร,ประเสริฐ

ทองเจริญ (บรรณาธิการ)ศิริราชร้อยปี:ประวัติ

และววิฒันาการ.วคิตอรีเ่พาเวอรพ์อยต,์กรงุเทพ-

มหานคร,2531;27-34.

3. แสงจนัทร์ศาสตรส์ขุ,สรรใจแสงวเิชยีร.ววิฒันา

การของโรงเรียนแพทย์ศิริราชหลังสงครามโลก

ครั้งที่ 2. ใน:อนุสรณ์๘๔ปีศิริราช.กรุงสยาม

การพิมพ์,กรุงเทพมหานคร,2517;339-371.

4. สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. กำเนิดจุฬาลงกรณ์

มหาวทิยาลยั.ใน:จฬุาลงกรณแ์พทยานสุรณ์พ.ศ.

2490-2540 ประวัติและวิวัฒนาการ. ศิริวัฒนา

อินเตอร์พรินท์,กรุงเทพมหานคร,2540;14-19.

_12-1673(243-248).indd 248 11/26/12 10:34:45 PM