งานไทยแลนด์อาเซี่ยน คอฟฟี่...

2
รายงานพิเศษ เรื่อง/ภาพ กองบรรณาธิการ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของโลก เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำวัน โดยในเมล็ดกาแฟ ประกอบด้วยสารคาเฟอีนมีส่วนกระตุ้นประสาท ทำให้สมองปลอดโปร่งเกิดความกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวไม่ง่วงนอน ปัจจุบันผู้บริโภคกาแฟในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดูน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟ แต่ จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2553 นั้น ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวข้องกับสินค้ากาแฟที่ต้องลดภาษีการนำเข้า เป็น 0% ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังมีกรอบความร่วมมือของ กลุ่มอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น) และ อาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแข่งขันทาง ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาน้น นายธีรวัฒน์ วงค์วรทัต ได้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2553 จนถึง ปัจจุบัน เกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทย จัดให้กาแฟเป็นสินค้าอยู่ในประเภท อ่อนไหว พร้อมได้มีมาตรการปกป้องภาคการผลิตกาแฟภายในประเทศ ทีนับวันจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจ ชนิดอื่นที่ให้ราคาดีกว่า จึงได้กำหนดให้การลดภาษีการนำเข้ากาแฟมาอยู่ที5% อีกทั้งยังได้มีเงื่อนไขการนำเข้ากาแฟ แต่ในปี 2558 อีก 2 ปีข้างหน้า กาแฟไทยจะเข้าสู่การแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ อันเนื่องจากอัตราภาษีจะ ต้องลดเหลือ 0% สมาคมกาแฟและชาไทย ได้ให้ความสำคัญ เตรียม ความพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น จึงได้ประสานกับองค์กรทั้งภาครัฐ งานไทยแลนด์อาเซี่ยน คอฟฟี่แอนด์ที 2012 88 :September 2012

Upload: others

Post on 17-Jul-2020

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: งานไทยแลนด์อาเซี่ยน คอฟฟี่ ...thaifranchisedownload.com/dl/group7320120912150251.pdfจากการเข าส ประชาคมเศรษฐก

รายงานพิเศษ

เรื่อง/ภาพ กองบรรณาธิการ

กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของโลก เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำวัน โดยในเมล็ดกาแฟ

ประกอบด้วยสารคาเฟอีนมีส่วนกระตุ้นประสาท ทำให้สมองปลอดโปร่งเกิดความกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวไม่ง่วงนอน

ปัจจุบันผู้บริโภคกาแฟในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่าง

ต่อเนื่อง ดูน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟ แต่

จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี

2553 นั้น ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวข้องกับสินค้ากาแฟที่ต้องลดภาษีการนำเข้า

เป็น 0% ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งยังมีกรอบความร่วมมือของ

กลุ่มอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น) และ อาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้

นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแข่งขันทาง

ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น นายธีรวัฒน์ วงค์วรทัต ได้

กล่าวว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2553 จนถึง

ปัจจุบัน เกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ

มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทย จัดให้กาแฟเป็นสินค้าอยู่ในประเภท

อ่อนไหว พร้อมได้มีมาตรการปกป้องภาคการผลิตกาแฟภายในประเทศ ที่

นับวันจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจ

ชนิดอื่นที่ให้ราคาดีกว่า จึงได้กำหนดให้การลดภาษีการนำเข้ากาแฟมาอยู่ที่

5% อีกทั้งยังได้มีเงื่อนไขการนำเข้ากาแฟ แต่ในปี 2558 อีก 2 ปีข้างหน้า

กาแฟไทยจะเข้าสู่การแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ อันเนื่องจากอัตราภาษีจะ

ต้องลดเหลือ 0% สมาคมกาแฟและชาไทย ได้ให้ความสำคัญ เตรียม

ความพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น จึงได้ประสานกับองค์กรทั้งภาครัฐ

งานไทยแลนด์อาเซี่ยน คอฟฟี่แอนด์ที 2012

88 :September 2012

Page 2: งานไทยแลนด์อาเซี่ยน คอฟฟี่ ...thaifranchisedownload.com/dl/group7320120912150251.pdfจากการเข าส ประชาคมเศรษฐก

กันยายน 2555 : 89

และเอกชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาหามาตรการ เพิ่มทักษะ ความรู้ ขีดความ

สามารถในการแข่งขัน ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และในโอกาสการจัดงาน ไทยแลนด์

อาเซี่ยน คอฟฟี่ แอนด์ ที 2012 ภายใต้แนวคิดกาแฟเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี

2555 ปีที่ 9 โดยสมาคมกาแฟและชาไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย สมาคมกาแฟไทย สมาคมชาวสวนกาแฟ และมูลนิธิกาแฟ

ไทยร่วมจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความสำนึกใน

พระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนา ส่งเสริมให้

เกษตรกรบนพื้นที่สูง นำไปปลูกเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนส่งผลให้กาแฟ

มีคุณภาพ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย กิจกรรมภายใน

งานได้พัฒนารูปแบบการจัดงานให้ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการของประเทศไทย

ประเทศอาเซี่ยน และประเทศชั้นนำ มากกว่า 100 ราย เข้าร่วมโชว์ศักยภาพ จัดแสดง

สาธิต จำหน่าย สินค้า วัตถุดิบเทคโนโลยี่ เครื่องมืออุปกรณ์ ธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจที่

เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมลดราคา แบบสุดๆ ประจำปี นอกจากนี้ในงานยังได้เปิดเวทีจัดประชุม

สัมมนา แลกเปลี่ยนทักษะความรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์ แสวงหาความร่วมมือทางการค้า

การลงทุน และการส่งเสริมพัฒนากาแฟ ชาระหว่างกัน การเจรจาธุรกิจ เชิญผู้ซื้อพบผู้ขาย

จัดการฝึกอบรบเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์ ให้เลือกหลายหลักสูตร อาทิ การ

เปิดร้านกาแฟให้ประสบผลสำเร็จ การชิมทดสอบรสชาติกาแฟของไทย อาเซี่ยนและกาแฟ

จากแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก รวมถึงการคั่ว และ การสร้างแบรนด์กาแฟ การสร้าง

เมนูกาแฟสไตล์อิตาลี เมนูเสริมสร้างรายได้เพิ่มในร้านกาแฟ เช่น อาหาร เบเกอรี่ น้ำผลไม้

คอฟฟี่คาเฟ่ คอฟฟี่ไวน์บาร์ เป็นต้น โดยเรียนเชิญวิทยากรจากสถาบันกาแฟแห่งชาติประเทศ

เอธิโอเปียและประเทศอิตาลี กิจกรรมการแข่งขันชิงความเป็นอันดับ 1 ด้านการชงกาแฟของ

ประเทศไทย “ไทยแลนด์ บาริสต้า และไทยแลนด์ แชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งที่ 9” การประกาศ

เกียรติคุณแก่บุคคล หน่วยงาน องค์กรและโครงการที่สร้างคุณประโยชน์แก่วงการกาแฟ ชา

ประจำปีของประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน รางวัลโล่ประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ

พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ด้านกิจกรรมไฮไลท์ประจำปี ผู้เข้าชมงานจะได้

พบกับความยิ่งใหญ่อลังการ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกิดจากการ

จัดเรียงเมล็ดกาแฟในรูปแบบของศิลปะโมเสด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นครั้งแรกในประเทศ

ไทยเพื่อทำลายสถิติโลก เวิลด์ กินเนส เรคคอร์ด และยังได้พบกับการชงกาแฟ เพื่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก รวมจัดแสดงโชว์/และให้ชิมไว้ในงานมากที่สุดทั้ง กาแฟ เรนฟอร์เรส

กาแฟแฟร์เทรด เบิร์ดเฟรนด์ลี่ และออแกนิก นอกจากนี้ยังได้พบกับกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

การจัดงานจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 25-30 กันยายน 2555 ตั้งแต่ 9.00-18.00 น.

ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ถนนรัชโยธิน กรุงเทพฯ คนใน

วงการกาแฟ ทั้งผู้ประกอบการ ผู้สนใจที่จะประกอบธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องข้อง และผู้ที่นิยม

ชมชอบในรสกาแฟ อย่าลืมได้ไปสัมผัสบรรยากาศ ความสุนทรีของกาแฟ ชา ที่จัดขึ้น

โดยเฉพาะ เป็นแห่งเดียวและแห่งแรกในประเทศไทย