ฉบับที่ 3 - eefapps.qlf.or.th/.../prefix-01082558-103853-kf41n1.pdf · 2015-08-01 ·...

4
น ท 1 ง ห า ค ม 2 5 5 8 สวสดครบชาวจงหวดปฏรูปฯ ทกทาน เมอตนเดอน กรกฎาคม 2558 ทผานมาคณะทำงาน สสค.นำโดย นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล ผูทรงคณวฒ สสค. อด ตรองปล ดกระทรวงศกษาธการ นำคณะสอประชาสมพนธ ลงพนทดูงานขบเคลอนโครงการจงหวดปฏรูปการเรยนรู จ.ชลบ สาระสำคญคอพจารณารางหลกสูตรเตรยมเดกใหพรอม สูโลกของงานโดยเรมตงแตปฐมวยถงปรญญาตรและหารอ แผนการนำหลกสูตรดงกลาวไปใชในการศกษาทกระดบใน ภาคเรยนถดไป คณะทำงานเรยกรูปแบบการทำงานรวมกน วา “ชลบุรีโมเดล” ทเปนการขยายความรวมมอและ ตอยอดความสำเรจของการจดการศกษาแบบทวภาคใน ระดบอาชวศกษาใหมการทำงานรวมกนมากขนไมเฉพาะแต สถานประกอบการกบอาชวศกษาเทานน ครอบคลมเดก เยาวชนมากข นต งแต ปฐมว ยถ งปร ญญาตร ให เด กแต ละว ยม ทกษะชวตทกษะอาชพทเหมาะสมกบชวงวยไดเหนทางเลอก และคนหาตวเอง เพอใหเหนภาพการทำงานชดเจนขนทมสอมวลชนไดลง พนทเยยมชมโครงการแนะแนวสูอาชพโดยสถานประกอบการ ทโรงเรยนเกาะจนทรพทยาคาร ในกจกรรมศษยเกาแนะแนว รนนองระดบ ม.3 นายณัฐวุฒิ มะลิวัลย์ หรอ “พี่ซาเรฟ” ของนองๆ มาในชดยูนฟอรมโรงงานทะมดทะแมงเลาถงขอด การเรยนสายอาชพวา “...เรยนอาชวะมประสบการณ มงาน รองรบ มเงนเดอนแนนอน ไมตองวงแขงขนแยงงานกบใคร และยงไดชวยเหลอครอบครว...” ผูอำนวยการโรงเรยน “ชลบุรีโมเดล” เรียนจบแล้วมีงานทำทุกคน เกาะจนทรพทยาคาร ใหขอมูลเพมเตมถงสภาพ แวดลอมรอบโรงเรยนทมสภาพไมคอยดนก ฐานะ ครอบครวทางบานของเดกคอนขางยากจน แตกอน เดกมองไมเหนเสนทางทำงานในอนาคต โรงเรยนยนด ทมโครงการแนะแนวอาชพ ทำใหเดกเหนชองทางในการ ศกษาตอและการประกอบอาชพ พอแมเดกมความสข เหนลูกมงานทำ มคณภาพชวตดขน วนทสองคณะเดนทางไปทวทยาลยเทคนคสตหบ และโรงงานชนแพคประเทศไทย รวมพูดคยกบผูบรหาร วทยาลยและโรงงาน และนกศกษาทไดรบทนในโครงการ สตหบโมเดล ซงเปนความรวมมอระหวางวทยาลยเทคนค สตหบกบสถานประกอบการ ใหทนกบนกศกษาเพอแก ปญหาการขาดแคลนแรงงานชางเชอมทกษะฝมอด นกศกษาทไดรบการคดเลอกจะไดรบทนการศกษาตลอด จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รูอานตอหนา 3 เดนในฉบบ.. • กลไกจงหวด สูการยกระดบคณภาพครู • ตดตามความเคลอนไหวของจงหวดปฏรูป การเรยนรูท ABE Network’s Corner ฉบับที่ 3

Upload: others

Post on 25-Jul-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ฉบับที่ 3 - EEFapps.qlf.or.th/.../prefix-01082558-103853-Kf41n1.pdf · 2015-08-01 · ว ั น ท ่ี 1 ส ิ ง ห า ค ม 2 5 5 8 สวัสดีครับชาวจังหวัดปฏิรูปฯ

วั น ท่ี 1 สิ ง ห า ค ม 2 5 5 8

สวัสดีครับชาวจังหวัดปฏิรูปฯ ทุกท่าน เมื่อต้นเดือน

กรกฎาคม 2558 ท ี ่ผ ่านมาคณะทำงาน สสค.นำโดย

นางศรีวิการ ์ เมฆธวัชชัยกุล ผู ้ทรงคุณวุฒ ิ สสค.

อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นำคณะสื่อประชาสัมพันธ์

ลงพื ้นที ่ดูงานขับเคลื ่อนโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู ้

จ.ชลบุรี

สาระสำคัญคือพิจารณาร่างหลักสูตรเตรียมเด็กให้พร้อม

สู่โลกของงานโดยเริ่มตั้งแต่ปฐมวัยถึงปริญญาตรีและหารือ

แผนการนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาทุกระดับใน

ภาคเรียนถัดไป คณะทำงานเรียกรูปแบบการทำงานร่วมกัน

ว่า “ชลบุรีโมเดล” ที ่เป็นการขยายความร่วมมือและ

ต่อยอดความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบทวิภาคีใน

ระดับอาชีวศึกษาให้มีการทำงานร่วมกันมากขึ้นไม่เฉพาะแต่

สถานประกอบการกับอาชีวศึกษาเท่านั ้น ครอบคลุมเด็ก

เยาวชนมากข้ึนต้ังแต่ปฐมวัยถึงปริญญาตรี ให้เด็กแต่ละวัยมี

ทักษะชีวิตทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับช่วงวัยได้เห็นทางเลือก

และค้นหาตัวเอง

เพื่อให้เห็นภาพการทำงานชัดเจนขึ้นทีมสื่อมวลชนได้ลง

พื้นที่เยี่ยมชมโครงการแนะแนวสู่อาชีพโดยสถานประกอบการ

ที่โรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร ในกิจกรรมศิษย์เก่าแนะแนว

รุ่นน้องระดับ ม.3 นายณัฐวุฒิ มะลิวัลย์ หรือ “พี่ซาเรฟ”

ของน้องๆ มาในชุดยูนิฟอร์มโรงงานทะมัดทะแมงเล่าถึงข้อดี

การเรียนสายอาชีพว่า “...เรียนอาชีวะมีประสบการณ์ มีงาน

รองรับ มีเงินเดือนแน่นอน ไม่ต้องวิ่งแข่งขันแย่งงานกับใคร

และยังได้ช่วยเหลือครอบครัว...” ผู ้อำนวยการโรงเรียน

“ชลบุรีโมเดล” เรียนจบแล้วมีงานทำทุกคน

เกาะจันทร์พ ิทยาคาร ให้ข ้อมูลเพิ ่มเต ิมถึงสภาพ

แวดล้อมรอบโรงเรียนที ่มีสภาพไม่ค่อยดีนัก ฐานะ

ครอบครัวทางบ้านของเด็กค่อนข้างยากจน แต่ก่อน

เด็กมองไม่เห็นเส้นทางทำงานในอนาคต โรงเรียนยินด ี

ที่มีโครงการแนะแนวอาชีพ ทำให้เด็กเห็นช่องทางในการ

ศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ พ่อแม่เด็กมีความสุข

เห็นลูกมีงานทำ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

วันที่สองคณะเดินทางไปที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

และโรงงานชินแพ็คประเทศไทย ร่วมพูดคุยกับผู้บริหาร

วิทยาลัยและโรงงาน และนักศึกษาที่ได้รับทุนในโครงการ

สัตหีบโมเดล ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิค

สัตหีบกับสถานประกอบการ ให้ทุนกับนักศึกษาเพื่อแก้

ป ัญหาการขาดแคลนแรงงานช่างเช ื ่อมทักษะฝีม ือด ี

นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษาตลอด

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

อ่านต่อหน้า 3

เด่นในฉบับ.. • กลไกจังหวัด สู่การยกระดับคุณภาพครู • ติดตามความเคลื่อนไหวของจังหวัดปฏิรูป

การเรียนรู้ที่ ABE Network’s Corner

ฉบับที่ 3

Page 2: ฉบับที่ 3 - EEFapps.qlf.or.th/.../prefix-01082558-103853-Kf41n1.pdf · 2015-08-01 · ว ั น ท ่ี 1 ส ิ ง ห า ค ม 2 5 5 8 สวัสดีครับชาวจังหวัดปฏิรูปฯ

โดย ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

2

ผลสำรวจของธนาคารโลกในช่วงปี พ.ศ.2548 ถึง 2552

พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของแรงงานไร้ฝีมือร้อยละ 83.5

ของแรงงานทั ้งหมดจากธุรก ิจท ี ่ทำการสำรวจ สูงกว ่า

มาเลเซีย 0.3 เท่า สูงกว่ากัมพูชา 3.2 เท่า สูงกว่าเวียดนาม

และอินโดนีเซีย 4 เท่า และสูงกว่าฟิลิปปินส์ถึง 8 เท่า การ

สำรวจเดียวกันนี้ยังพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยมีปัญหา

การขาดแคลนคนที่สามารถทำงานได้ตามที่นายจ้างคาดหวัง

สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนถึง 3 เท่า

ผลที ่ได้นี ้สะท้อนอาการป่วยเรื ้อร ังที ่ก ัดกร่อนความ

เข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงตอนนี้อาการ

ป่วยก็ยังไม่ทุเลา และตอนนี้อาการอาจจะหนักกว่าเดิมหลาย

เท่าเสียด้วยซ้ำ

อาการป่วยเกิดจากเหตุปัจจัยสำคัญสามอย่าง ปัจจัย

แรก คือ การสร้างคนในระดับปริญญาตรีในจำนวนมาก

โดยลืมนึกถึงความต้องการจริงในตลาดแรงงาน และการ

เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากประเทศกำลัง

พัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้นั้น ไม่ได้ต้องการแรงงาน

ที่จบในระดับปริญญาตรีมาก ในทางตรงกันข้ามกลับต้องการ

แรงงานในระดับปฏิบัติการที่ “เก่ง” และจำนวนมากเพียงพอ

กับความต้องการของนายจ้าง เพื่อช่วยให้การปรับเปลี่ยน

โครงสร้างการผลิตในระดับธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่าง

ราบรื่นที่สุด

ดังนั ้น การที ่ม ีคนได้ใบปริญญาเพิ ่มขึ ้นอีกหนึ ่งคน

หมายความว่าประเทศได้สูญเสียแรงงานในระดับปฏิบัติการ

เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนด้วยเช่นกัน หากมองในแง่นี้ ต้นทุนในการ

ผลิตแรงงานระดับปริญญาตรี จึงไม่ได้มีแค่ค่าใช้จ่ายในการ

เรียน แต่ยังรวมไปถึงโอกาสที ่ธุรกิจต้องเสียไปเนื ่องจาก

ขาดแคลนแรงงานในระดับปฏิบัติการด้วย

ปัจจัยที่สอง คือ ระบบการศึกษาของเรายังไม่ให้ความ

สำคัญกับการสร้างประสบการณ์ในการทำงานด้วยการ

ทำงานจริงระหว่างเรียน กระบวนการคิด และทัศนคติ ทั้งที่

ความจริงแล้ว การจะทำงานได้ดีนั ้น มีแค่ประสบการณ ์

เดินหน้า.. สัมมาชีพ

ข้อมูลตลาดแรงงาน: กุญแจของการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

ด้านการใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะ

ต้องเสริมด้วยความสามารถด้านกระบวนการคิด และทัศนคติ

ในการทำงานที่ถูกต้อง ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ปัจจัยที่สาม ซึ่งมักจะได้รับการพูดถึงกันน้อย แต่มีความ

สำคัญไม่น้อยกว่าสองปัจจัยแรก คือ การขาดข้อมูลตลาด

แรงงานในระดับจังหวัดที่จะสามารถฉายภาพได้ว่า จังหวัด

นั ้นมีความต้องการแรงงานในแต่ละกลุ ่มมาน้อยเพียงใด

นายจ้างมีความคาดหวังอย่างไรกับแรงงานบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้

จะแตกต่างกันไปตามพื้นที ่ ยิ่งถ้าจังหวัดต้องการจะขับเคลื่อน

การศึกษาเพื่อการมีงานทำในระดับจังหวัดด้วยแล้ว ข้อมูลใน

เชิงพื้นที่เป็นเรื ่องที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้มั่นใจว่า

หลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น จะสามารถตอบสนอง

ความต้องการของจังหวัดได้อย่างแท้จริง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

มีข้อมูลที่ถูกต้องไปสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ เด็กนักเรียน

ผู้ปกครอง ครู และผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจ

ที่ตรงกัน

ขณะนี้ สสค. กำลังเริ ่มนำร่องวิจัยสำรวจข้อมูลตลาด

แรงงานในระดับจังหวัดในปีแรก 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่

ตราดและภูเก็ต เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรและ

การเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานระดับ

จังหวัดในโอกาสหน้าจะขอมาเล่าให้สมาชิกได้รับทราบกัน

ต่อไป

ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไทย (2006) 83.5%

65.0%

25.7%

20.8%

20.4%

10.4%

% ของแรงงานทั้งหมดจากกลุ่มตัวอย่างของธุรกิจ ในภาคการผลิตที่ทำการสำรวจ

ที่มา: รวบรวมจาก Emterprise Surveys (www.enterprisesurveys.org)

มาเลเซีย (2007)

กัมพูชา (2007)

เวียดนาม (2009)

อินโดนิเซีย (2009)

ฟิลิปปินส์ (2009)

Page 3: ฉบับที่ 3 - EEFapps.qlf.or.th/.../prefix-01082558-103853-Kf41n1.pdf · 2015-08-01 · ว ั น ท ่ี 1 ส ิ ง ห า ค ม 2 5 5 8 สวัสดีครับชาวจังหวัดปฏิรูปฯ

ต่อจาก หน้า 1

การพัฒนาระบบกลไก และแนวทางการหนุนเสริมชุมชน

การเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นงานชิ้นสำคัญอีก

หนึ่งชิ้น ที่ สสค. กำลังดำเนินงานร่วมกับจังหวัดปฏิรูปการ

เรียนรู้ 5 จังหวัดโดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบและกลไกการ

พัฒนาครูในระดับจังหวัด การพัฒนาระบบกลไกการหนุน

เสริมการพัฒนาชุมชนการเรียนรู ้ทางวิชาชีพของโรงเรียน

เป้าหมาย 45 โรงเรียน ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วยเชียงใหม่

น่าน อำนาจเจริญ นครราชสีมา และสุราษฎร์ธานี โดยขณะน้ี

ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาครูของจังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

และพร้อมสำหรับปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 -

กรกฎาคม 2559

พัฒนาคน... พัฒนางาน

กลไกจังหวัด สู่การยกระดับคุณภาพครู

โดย รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์

สสค.ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้

และประสบการณ์ด้านการพัฒนาคร ู5 ท่าน ประกอบด้วย

รศ.ดร.จิราภรณ ์ ศิริทว ี รศ.ดร.พิมพันธ ์ เดชะคุปต ์

รศ.ดร.สิริพันธ์ สุวรรณมรรคา ผศ.ดร.พิณสุดา

สิริรังธศรี และ อาจารย์ชำนาญ ม่วงศักดิ์ศรี ร่วมให้

แนวคิดเพื่อออกแบบการทำงานแก่คณะทำงานพัฒนาครู

โดยมุ่งเน้นให้มีการสร้างเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน

โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานแบบไร้สังกัด และรวม

พลังกันทำงานเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน การ

เปิดใจเรียนรู้ร่วมกัน และการระดมสรรพกำลังเพื่อสร้าง

ชุมชนการเรียนรู ้ของครูให้มีความเข้มแข็งและยั ่งยืน

นอกจากนี้ยังได้ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูล

วิธีการพัฒนาครูนำเสนอในเอกสาร “9 วิถี

สร้างครูสู่ศิษย์” เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญ

ทั้งนี้ มุ่งหวังให้การพัฒนาครูเป็นส่วนหนึ่ง

ที ่จะหนุนเสริมภารกิจการขับเคลื ่อนจังหวัด

ปฏิรูปการเรียนรู ้ให้เกิดผลก้าวหน้า ชัดเจน

ต่อไป

3

หลักสูตร ได้เร ียนรู ้การทำงานจริงที ่โรงงาน และได้ร ับ

ค่าตอบแทนระหว่างการฝึกงาน ตัวแทนนักศึกษากล่าวถึง

โอกาสที่ได้เข้าร่วมโครงการว่า “...ได้ทำในสิ่งตัวเองชอบ

ถนัด และทำได้ดี ที่สำคัญเห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น เพราะ

กว่าจะได้เงินมาต้องผ่านการทำงานหนัก จะใช้เงินซื้อของ

แต่ละครั้งคิดแล้วคิดอีก...”

โจทย์ที่น่าสนใจของ ชลบุรีโมเดล คือการดึงทุกภาคส่วน

มาร่วมมือออกแบบการจัดการศึกษา ผ่านการจัดทำหลักสูตร

การศึกษาเพ่ือการมีงานทำในทุกช่วงช้ัน สอดคล้องกับข้อเสนอ

ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายคมสัน เอกชัย

เกี่ยวกับการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา บนฐาน

ความร่วมมือของหลายหน่วยงานโดยยึดประโยชน์ของเด็ก

เป็นที่ตั ้ง มีการดึงภาคเอกชน หน่วยงานราชการ องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมจัดการศึกษาที่ดีที่เหมาะกับ

บริบทท้องถิ่น ให้นักเรียนมองเห็นทางเลือกที่หลากหลาย

เลือกศึกษาหรือทางงานท่ีตนถนัด ผูท่ี้เรียนต่อจบแล้วมีงานทำ

รายได้ดี และควบคู่กับการปรับค่านิยมพ่อแม่ต่อการเรียน

อาชีวศึกษาให้เห็นว่า “...เรียนอาชีวะแล้วดี มีงานทำ มีเกียรติ

มีศักดิ์ศร ี มีรายได้ที่มั่นคง เพราะเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน...”

เพื่อการบรรลุเป้าหมายเด็กชลบุรีทุกคนเรียนจบแล้วต้องมี

งานทำ

สำหรับเครือข่ายภาคีจังหวัดฯ มีข่าวดีในการขับเคลื่อน

งานการจัดการศึกษาเชิงพ้ืนท่ี สามารถส่งตรงมายังบรรณาธิการ

สานปัญญาที ่ [email protected] เพื ่อเผยแพร่ต ่อไป

ขอบคุณครับ

เกินศักดิ์ ศรีสวย

ผู้ประสานงานเครือข่ายจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ สสค.

Page 4: ฉบับที่ 3 - EEFapps.qlf.or.th/.../prefix-01082558-103853-Kf41n1.pdf · 2015-08-01 · ว ั น ท ่ี 1 ส ิ ง ห า ค ม 2 5 5 8 สวัสดีครับชาวจังหวัดปฏิรูปฯ

จังหวัดตราดเป็นหนึ ่งในจังหวัดที ่ประสบปัญหาขาดแคลน

แรงงานด้านเทคนิคและแรงงานฝีมือ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของเยาวชน

และผู้ปกครองที่จะสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนต่อในสายวิชาชีพ หรือ

การเรียนเพื่อสานต่อกิจการของครอบครัวในพื้นที่

การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การใช้แรงงานต่ำกว่า

ระดับการศึกษา จึงมิใช่เพียงแต่มุ่งพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรให้

ตอบสนองต่อผู้ประกอบการในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญต่อ

ความสำเร็จในการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยน

ทัศนคติ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อสร้างความ

เข้าใจที่ถูกต้องต่อการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพให้กับเยาวชน ผู้ปกครอง และสร้างค่านิยมใหม่ให้ใส่ใจและให้ความสำคัญ

กับความสามารถและทักษะการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากกว่าการให้ความสำคัญกับใบปริญญาบัตร

เป็นที่น่ายินดีว่าในการเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานสื่อสารเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดตราดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ได้มีสื่อมวลชนท้องถิ่นทั้งด้านวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เคเบิลทีวี สวท.ตราดและประชาสัมพันธ์จังหวัดได้ให้ความร่วมมือ

และร่วมกันวางแผนจนถึงการทำงานสื่อสารผ่านการบูรณาการสื่อเพื่อชูประเด็น “การประสบความสำเร็จในอาชีพได้โดย

ไม่ต้องพึ่งใบปริญญาบัตร” ตามเป้าหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำในจังหวัดตราด

เมื่อสื่ออาสาลงมาทำหน้าที่สื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นก็เชื่อว่าจะเป็นก้าวยาวๆ สำหรับงานด้านสื่อสารเพื่อ

ปฏิรูปการเรียนรู้สำหรับจังหวัดตราดต่อไป

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

สื่อมวลชนตราดหนุนสร้างค่านิยมใหม่ ชูประเด็น “ประสบความสำเร็จได้โดยไม่จบปริญญา”

อำนาจเจริญ: อ.สุพรรณ สืบสิงห์ ดูคลายกังวลเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ

ของจังหวัดไปมาก เพราะได้มือดีอย่าง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว จาก

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตมาช่วย รวมถึงได้ข้อมูลสนับสนุนอีกเพียบจากสถิติ

จังหวัด แรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด รวมถึงผู ้ประกอบการในพื ้นที ่

อาจารย์นรงฤทธิ์ จันทรเนตร

น่าน: จังหวัดที่ต้อง “ห้ามพลาด” อย่างน่านชูประเด็น “คุณภาพสถานศึกษา”

ที่มีโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลอยู่มากกว่าร้อยละ 70 รองนายกองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดอย่างว่าที่ร้อยตรีสมเดช อภิชยกุล จึงต้องลงแรงตระเวน

คุยรายพื้นที่ด้วยตัวเอง

สุราษฎร์ธานี : “นายกแป๊ะ” นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงทุนออกแรง

จัดรายการวิทยุทาง สวท.สุราษฎร์ธานี FM 89.75 MHz ด้วยตัวเองเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานจังหวัดปฏิรูปการ

เรียนรู้ โดยเน้นเป็นพิเศษให้การดูแลกลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้งานนี้ผู้ฟังทางบ้านคงต้องลุกมาช่วยกันเต็มที่แล้ว

ABE Network’s Corner

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

โดย กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค.

โดย รศ.ดร.บุษบา สุธีธร หัวหน้าโครงการวิจัยติดตามฯ การสื่อสารรณรงค์โครงการในกลุ่มจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้