บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต...

26
สํานวนและสุภาษิต: รูปแบบทางภาษาศาสตรและกลวิธีการแปลจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย Idioms and Proverbs: Linguistic Forms and English to Thai Translation Techniques รศ. ดร.พัชรี โภคาสัมฤทธิบทคัดยอ การวิจัยนี้มุงวิเคราะหสํานวนและสุภาษิต จํานวน 1,500 สํานวน ที่มีการแปลจาก ภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย โดยแบงเปนดานภาษาและดานกลวิธีการแปล ในการวิเคราะหทางภาษาได พบกลวิธีการเลือกคํา กลวิธีการใชความหมาย และชนิดและจุดประสงคของสํานวน ในดานกลวิธีการ แปลไดพบกลวิธีการแปลแบบตรงตัว การตีความ การใชสํานวนทดแทน การเทียบเคียงสํานวน และ ความยืดหยุนของรูปแบบภาษาในการแปล การอภิปรายผลการวิจัยกลาวถึงรูปแบบและลักษณะทาง ภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนวิธีการแปล ซึ่งอาจเปนประโยชนตอนักแปล นักวิชาการการแปล และ นักศึกษาการแปล มีขอเสนอแนะในการทําวิจัยเกี่ยวกับการแปลสํานวนและสุภาษิต คําสําคัญ: สํานวน สุภาษิต การแปล ภาษาโยงใย ภาษาและวัฒนธรรม Abstract This study aims to analyze 1500 English idioms and proverbs and their Thai translated versions. The main purposes are to analyze the linguistic patterns and the translation techniques. From the linguistic analysis, strategies on the word choice, the meaning selection and the types and purposes of the idioms and proverbs are found and listed. From the analysis of the English to Thai translation of the idioms and proverbs, the techniques of literal translation, interpretation, substitution, and the use of comparable Thai idioms and proverbs in the place of the English source language are found. Moreover, the flexible language patterns from the source to the receptor language versions are prominent. Discussion of the findings and recommendations for further research in figurative language analysis and translation are provided. Key words: idioms, proverbs, translation, figurative sense, language and culture.

Upload: others

Post on 30-Oct-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

สํานวนและสุภาษิต: รูปแบบทางภาษาศาสตรและกลวิธีการแปลจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย Idioms and Proverbs: Linguistic Forms and English to Thai Translation Techniques

รศ. ดร.พัชรี โภคาสัมฤทธิ ์

บทคัดยอ

การวิจัยนี้มุงวิ เคราะหสํานวนและสุภาษิต จํานวน 1,500 สํานวน ที่มีการแปลจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย โดยแบงเปนดานภาษาและดานกลวิธีการแปล ในการวิเคราะหทางภาษาไดพบกลวิธีการเลือกคํา กลวิธีการใชความหมาย และชนิดและจุดประสงคของสํานวน ในดานกลวิธีการแปลไดพบกลวิธีการแปลแบบตรงตัว การตีความ การใชสํานวนทดแทน การเทียบเคียงสํานวน และความยืดหยุนของรูปแบบภาษาในการแปล การอภิปรายผลการวิจัยกลาวถึงรูปแบบและลักษณะทางภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนวิธีการแปล ซ่ึงอาจเปนประโยชนตอนักแปล นักวิชาการการแปล และนักศึกษาการแปล มีขอเสนอแนะในการทําวิจัยเกี่ยวกับการแปลสํานวนและสุภาษิต

คําสําคัญ: สํานวน สุภาษิต การแปล ภาษาโยงใย ภาษาและวัฒนธรรม

Abstract

This study aims to analyze 1500 English idioms and proverbs and their Thai translated versions. The main purposes are to analyze the linguistic patterns and the translation techniques. From the linguistic analysis, strategies on the word choice, the meaning selection and the types and purposes of the idioms and proverbs are found and listed. From the analysis of the English to Thai translation of the idioms and proverbs, the techniques of literal translation, interpretation, substitution, and the use of comparable Thai idioms and proverbs in the place of the English source language are found. Moreover, the flexible language patterns from the source to the receptor language versions are prominent. Discussion of the findings and recommendations for further research in figurative language analysis and translation are provided.

Key words: idioms, proverbs, translation, figurative sense, language and culture.

Page 2: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

1

ความเปนมา

การแปลเปนสาขาวิชาภาษาศาสตรประยุกต (Applied Linguistics) ที่รวมทั้งความเปนศาสตรและศิลปอยูในตัวเอง การถายทอดความรูและเทคโนโลยีตลอดจนวัฒนธรรมและนันทนาการโดยผานการแปลเปนกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นพรอมๆ กับการสื่อสารที่ไรพรมแดนในปจจุบัน จากทฤษฎีในการแปลจะพบวา การแปลจะตองใหความสําคัญการถายทอดความหมายที่แมนยํา ชัดเจน และเปนธรรมชาติ นอกจากนั้นยังตองดํารงไวซ่ึงพลังของภาษา (force) ดวย (Larson, 1998; Goedde, 2007) ซ่ึงผูแปลจะทําเชนนั้นไดจะตองมีความรูทางภาษา มีความรูทางเทคนิคและวิธีการแปล มีความชํานาญประสบการณในการแปลและมีจริยธรรมในการแปล (พัชรี โภคาสัมฤทธิ์ 2006) การวิจัยเรื่องการแปลจึงตองใหความสําคัญของการทรงไวซ่ึงพลังของภาษาควบคูไปกับความถูกตองแมนยําในการถายทอดความหมายดวย ภาษาที่แสดงถึงพลังและความสรางสรรคในการแปลชนิดหนึ่งก็คือ ภาษาของสํานวน (expression) และสุภาษิต (proverb) เพราะเปนการแปลที่ตองถูกตองแมนยําในแงความหมาย (โดยไมตองคํานึงถึงรูปแบบ) และพลังที่จะใหเขาใจไดงาย เห็นภาพพจนและโนมนาวจิตใจดวยในเวลาเดียวกัน ที่สําคัญคือ สุภาษิตและสํานวนที่ใชสอนใจทั้งหลายยังเปนแหลงรวมของวัฒนธรรมและการมองโลก (World view) ของเจาของภาษาซึ่งในการถายทอดออกเปนอีกภาษาหนึ่งจะตองมีเทคนิคของการใชสิ่งแทนวัฒนธรรม (Cultural substitute) ที่เหมาะสมจึงจะไดทั้งความหมายและอรรถรส ควรคาแกการเปนผลงานแปลที่สมบูรณ

ความสําคัญ

1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เปนการใชภาษาที่มีอยูในแทบทุกชาติทุกภาษา เม่ือคนไทยติดตอเกี่ยวของกับคนที่ใชภาษาอังกฤษ มีการรับวัฒนธรรมในเชิงความคิดจากชนชาติที่ใชภาษาอังกฤษ มีการติดตอสื่อสารกันอยางสม่ําเสมอ ก็ทําใหมีการแปลภาษาอังกฤษเปนภาษาไทยเพ่ือจุดประสงคตางๆ จนทําใหการแปลอังกฤษเปนไทยกลายเปนชองทางสงผานวัฒนธรรม ความรู และเทคโนโลยีที่สําคัญชองทางหนึ่ง ทําใหเกิดการบัญญัติศัพทที่มาพรอมกับคํายืมภาษาอังกฤษ และทําใหเกิดอาชีพการแปลภาษา และสาขาวิชาการแปลในแทบทุกมหาวิทยาลัยในเมืองไทยในปจจุบัน การแปลสํานวนโวหาร คําพังเพย และสุภาษิตไดรับความสนใจในหมูนักวิชาการการแปลและนักแปล เพราะเปนการแปลเชิงสรางสรรคที่มีอิทธิพลตอความคิดของผูใชภาษาและยังเปนการแสดงฝมือในการแปลไดเปนอยางดีอีกดวย

Page 3: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

2

2. สํานวนโวหารและสุภาษิตเปนภาษาภาพพจน (figurative language) เปนการใชภาษาในเชิงเปรียบเทียบ กลาวคือ ความหมายของสํานวนโวหารจะไมตรงตัวแตนําไปสื่อใหเห็นภาพพจนซ่ึงอาจเปนนามธรรมและเขาใจยากหรือสลับซับซอนใหกลายเปนสิ่งที่จับตองไดหรือเปนรูปธรรมยิ่งขึ้น เชน เปรียบความดํากับอีกา คนที่จะเขาใจไดวาดําแคไหนก็ตองเห็นภาพของอีกาอยูในใจ สิ่งที่นํามาเปนตัวเปรียบจึงตองเปนสิ่งที่ยอมรับหรือรูจักกันดีในวัฒนธรรมของผูใชภาษานั้น ถาผูฟงเห็นภาพพจนของภาษา ผูสื่อจึงจะบรรลุจุดประสงคในการสงตอความหมาย ภาษาภาพพจนจึงเปนศิลปะของการเลือกหาสิ่งเปรียบเทียบใหตรงกันที่สุดใหสื่อภาพพจนอยางชัดเจน ลึกซึ้งที่สุด และยังตองเปนภาษาที่สละสลวย มีสุนทรีย พอที่จะใหคนจดจํานําไปใชตอๆ กันไปดวย ผูคิดสํานวนหรือสุภาษิตจึงจะบรรลุถึง “พลัง” (force) ของภาษาที่ตนสื่อออกไป

3. สํานวนภาษาและสุภาษิต เปนสิ่งที่ถูกกําหนดโดยกรอบของวัฒนธรรม เปนสิ่งที่เกิดขึ้นและถูกตีความโดยกรอบของการยอมรับของผูที่อยูในวัฒนธรรมเดียวกัน ซ่ึงความคิดหรือภาพพจนเดียวกันอาจรับรูและยอมรับโดยสิ่งเปรียบเทียบที่ตางๆกันไปตามแตรูปธรรมของวัฒนธรรมนั้นจะกําหนดไว เชน ความดํา ในวัฒนธรรมไทยจะเห็นภาพคลายๆกันวาเหมือนอีกาหรือถานไม (charcoal) แตในวัฒนธรรมผูพูดภาษาอังกฤษภาพที่กําหนดไวเปนรูปธรรม คือ ถานหิน (coal) ความแปลกแยกไมเหมือนคนอ่ืนในวัฒนธรรมอังกฤษซึ่งมีการเลี้ยงแกะและแกะสวนใหญจะเปน สีขาว จึงถูกนําไปเปรียบเทียบกับแกะดํา (Black sheep) เชน ลูกที่แปลกไปจากคนอื่นจะถูกเปรียบเปน “แกะดําในครอบครัว” ในขณะที่สังคมไทยเห็นความแปลกแยกเปน “ลูกนอกคอก” หรือถาจะมีชนชั้นเขามาเกี่ยวของดวยก็จะเปน “กาในฝูงหงส” ซ่ึงทั้งสามสํานวนอาจไมมีความหมายหรือภาพพจนเหมือนกันเสียทีเดียวเพียงแตคลายกันที่สุดเทานั้น การแปลสํานวนหรือการเทียบเทียงจับคูกับสํานวนไทยกับอังกฤษจึงเปนศิลปะวาจะจับคูเทียบเคียงไดเหมือนกันมากที่สุดในแงความหมายและความเขาใจความหมายนั้นอยางลึกซึ้ง สวนภาพพจนที่สื่อไปยังความหมายอาจแตกตางกันไปบางตามวัฒนธรรมและปจจัยทางภาษาศาสตรสังคม (sociolinguistic factors) ของผูใชภาษา

วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพ่ือศึกษาชนิด รูปแบบ และวัตถุประสงคของสํานวนและสุภาษิตที่มีการแปลจากภาษาอังกฤษ

เปนภาษาไทย โดยเนนการวิเคราะห ก กลวิธีการเลือกคํา ข กลวิธีของการใชความหมาย ค ชนิดและวัตถุประสงคของสํานวนและสุภาษิต

2. เพ่ือศึกษาวิธีการแปลสํานวนและสุภาษิตภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย ที่มีการแปลและตีพิมพเผยแพรไวแลว

Page 4: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

3

ขอบเขตของการวิจัย 1. ศึกษาเฉพาะสํานวนโวหาร สุภาษิตภาษาอังกฤษที่มีคูคําแปลภาษาไทยที่มีการตีพิมพหรือ

เผยแพรในเอกสารที่อางอิงไดเทานั้น และในกรณีที่หน่ึงสํานวนภาษาอังกฤษมีการแปลเปนภาษาไทยไวมากกวาหนึ่งสํานวนก็จะวิเคราะหทุกสํานวน

2. ผูวิจัยไมสามารถตัดสินไดโดยแนชัดวาเปนการแปลจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทยหรือจากภาษาไทยเปนภาษาอังกฤษ จึงขอถือวาเปน “คูแปล” ซ่ึงผูแปลแสดงความตั้งใจวามีความหมายเทาเทียมกันหรือเปนคําแปลของกันและกัน

วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง สํานวนและสุภาษิต : รูปแบบทางภาษาศาสตรและกลวิธีการแปลจากอังกฤษเปนไทย

เปนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพ่ือศึกษารูปแบบทางภาษาศาสตรและกลวิธีการแปลโดยมีขอมูลที่เก็บรวบรวมจากผลงานแปลสํานวนและสุภาษิตที่มีการเผยแพร เชน Behind the Phrases โดยบุษยาณี เกตุมณี (2549) Have Fun with Thai Proverbs โดย ดร.ดวงทิพย สุรินทราทิพย (2542) หนังสือแจกงานศพของ นางวนิดา แนวบุญเนียร (2550) และจากการเก็บขอมูลที่ผูวิจัยรวบรวมจากแหลงอ่ืนๆ อีก รวมเปนประมาณ 1,500 สํานวนและสุภาษิต

การเก็บรวบรวมขอมูล 1. คนควาขอมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ โดยแบงวรรณกรรมที่เกี่ยวของออกเปน

1.1 นิยามของศัพทที่เกี่ยวของ 1.2 ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับแปลเชิงภาพพจน 1.3 งานวิจัยเกี่ยวกับการแปลเชิงภาพพจน

2. รวบรวมขอมูลซ่ึงเปนสํานวนและสุภาษิตที่เปนภาษาอังกฤษ คําแปลภาษาไทย ซ่ึงมีการแปลไวเรียบรอยแลว โดยเลือกเฉพาะสํานวนและสุภาษิตที่มีการแปลและตีพิมพหรือเผยแพรในรปูแบบของหนังสือหรือเอกสารเผยแพร จํานวน 1,500 สํานวนและสุภาษิต บางสํานวนและสุภาษิตมีสํานวนแปลมากกวาหนึ่งสํานวนแปล ก็รวบรวมไวดวยโดยยึดถือสํานวนและสุภาษิตภาษาอังกฤษจํานวน 1,500 สํานวนและสุภาษิตเปนเกณฑ

นิยามศัพทท่ีใชในการวิจยั

สุภาษิต (Proverb) สุภาษิต คือ วลีหรือประโยคที่เปนที่รูจักกันดีโดยเปนการใหคําแนะนําหรือพูดถึงบางสิ่ง

บางอยางที่เปนความจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Oxford Advanced Learner’s Dictionary) และเปนสวนหนึ่งของภาษาพูดและวรรณกรรมพื้นบานสวนใหญจะใชในการพูดจากัน (Britanica Concise Encyclopedia) โดยอาจเปนคําพูดยอๆ แตเปนที่จดจําซึ่งกลาวถึงความเปนจริงที่สําคัญในประสบการณของมนุษยซ่ึงผูคนตางยอมรับกันวาจริง (www.wordnet.com)

Page 5: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

4

สํานวน (Idiom) คือกลุมคําที่ความหมายโดยรวมตางจากความหมายของคําแตละคําในกลุมคํานั้นมารวมกัน ดังน้ัน ถาแปลตรงตัวคําตอคําจะไมเขาใจ เชน Blue and White ไมไดแปลวานํ้าเงินและขาว แตแปลวาเครื่องลายคราม driveway ไมไดหมายถึงทางใหขับรถ แตหมายถึงทางในบานหรือทางเขาโรงรถในบาน เปนตน

ความหมายโยงใย (figurative senses) หมายถึงความหมายของคําที่ไดจากการโยงใยความหมายจากความหมายที่หน่ึงหรือความตรงตัวของคําๆ น้ัน เชน “เธอเปนแกวตาดวงใจ” หมายถึง เธอสําคัญที่สุดตอเขาเพราะแกวตาดวงใจเปนสิ่งที่สําคัญที่สุดหรือสิ่งที่มนุษยหวงแหนที่สุด เปนตน

ความหมายตรงกันขาม (antithesis) คือคูของความหมายที่เหมือนกันที่สุด เปนความหมาย ที่อยูคนละขั้วกันของสิ่งเดียวกนั เชน รวยกับจน เปนการพูดถึงฐานะ แตจนไมมีเงินในขณะทีค่นรวยน้ันมีเงิน ในสุภาษิตและสํานวนการใชความหมายตรงกันขามเปนการเนนใหเห็นภาพเชิงเปรียบเทียบ

การพูดใหไพเราะเกินจริง (Euphemism) เปนสํานวนโยงใยความหมายที่นําคําที่ไพเราะและมีความหมายดีกวามาแทนคําที่อาจขัดหู กระทบความรูสึกหรือนาเกลียดในบางบริบท เชน ใชคําวา ”ถึงแกอนิจกรรม” หรือ “ขึ้นสวรรคไปแลว” มาแทนคําวา “ตาย” คําวา “หองนํ้า” หรือ “หองสุขา” มาแทนคําวา “สวม” คําวา “วัยทอง” มาแทนคําวา “ความชราหรือความแก”

การพูดเกินจริง (Hyperbole) คือการพูดเกินความจริงเพ่ือเนนความหมายโดยมีหลักวาตองใหผูฟงเขาใจดวยวาเปนการพูดเกินจริงมิใชหมายความตามความหมายตรงตัว เชน หองน้ีหนาวยังกับขั้วโลก หมายถึงหนาวมาก หรือเธอแตงตัวนานชั่วกัปชั่วกัลป หรือไมไดพบกันนานเปนโกฐปแลว หมายถึงนานมาก

สิ่งทดแทนทางวัฒนธรรม (Cultural substitute) คือการนําสิ่งที่มีอยูในวัฒนธรรมของภาษาแปลอยูแลวมาใชเปนคําแปลแทนคําในตนฉบับ ซ่ึงอาจเขาใจยากหรือไมมีอยูหรือทําใหเขาใจไดงายและชัดเจนขึ้น เชน การแปล cart หรือ wagon วาเกวียน การแปล corner stones วาเสาเอก การแปลคําอุทานในภาษาอังกฤษเปนการอุทานแบบไทย เชน “Oh! My God” เปน “คุณพระชวย” เปนตน

Page 6: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

5

ผลการวิจัย

ลักษณะทางภาษาและความหมายของสาํนวนและสุภาษติ

เน่ืองจากสํานวนและสุภาษิตเปนการใชภาษาเชิงสรางสรรคและมุงใหเห็นภาพพจนที่ชัดเจนจนสามารถเขาใจไดอยางลึกซึ้ง และยังเปนการใชการเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัยเปนกลวิธีหลักในการแสดงความหมายใหกินใจและเปนที่จดจํา จึงประกอบดวยกลวิธีในการใชภาษาในโครงสรางของสํานวนดวยการเลือกคํา และการเลือกความหมายอยางเปนศิลปะ สามารถวิเคราะหออกไดเปน

1. กลวิธีของการเลือกคํา 2. กลวิธีของการใชรูปแบบของความหมาย 3. ชนิดและจุดประสงคของสํานวน

กลวิธีของการเลือกคํา

การเลือกคํามาใชในสํานวนและสุภาษิตมีจุดประสงคเพ่ือสื่อความหมายโดยแสดงภาพพจนเพ่ือใหความหมายชัดเจนและยังตองคลองจองกันหรือมีกลวิธีที่ทําใหจําไดงาย ซ่ึงกลวิธีเหลานี้พบไดทั้งในสํานวนและสุภาษิตภาษาอังกฤษและภาษาไทยประกอบดวย

1. สัมผัสอักษร คือ การใชเสียงพยัญชนะเดียวกันมาทําใหเกิดความคลองจอง และไพเราะจดจําไดงาย เชน

- To set people by the ears = ยุใหรํา ตําใหร่ัว - Rags to riches = จากดนิสูดาว - Look before you leap = ดูทิศทางลมกอน - Cut your coat according to your cloth = นกนอยทํารังแตพอตัว

2. สัมผัสสระ คือ การใชเสียงสระเดียวกันมาทําใหเกิดความคลองจอง และมีลักษณะเปนคําประพันธ และจดจําไดงาย

- Haste makes waste = ชาเปนการ นานเปนคุณ - Pot calling the kettle black = วาแตเขาอิเหนาเปนเอง - Take care of the pence and the = มีสลึง พึง บรรจบใหครบบาท pounds will take care of themselves - Shake a leg = เร็วๆ หนอย - Fair and square = ซ่ือสัตย, เที่ยงตรง

Page 7: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

6

3. สัมผัสทั้งเสียงสระและพยัญชนะอยางกลมกลืน

- Two men lookout through the same bars: one sees the mud, and one the stars สองคนยลตามชอง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคมมองเห็นดาวอยูพราวพราย

- When the cat’s away, the mice will play. แมวไมอยู หนู รา เริง

4. การซ้ําคํา (repetition) คือการใชคําเดิมซํ้าเพื่อใหเกิดความคลองจอง และเปนการเลนคําใหสํานวนคมคายและจดจําไดงาย

- To turn a blind eye = เอาหูไปนา เอาตาไปไร - You can’t make an omlette without

breaking an egg = ไดอยางเสียอยาง - To take something with a grain of salt = ฟงหู ไวหู - Rome was not built in one day = ชา ชา ไดพราเลมงาม - Early ripe, early rotten = อยาชิงสุกกอนหาม - Like mother, like daughter = ดูชางใหดูหาง ดูนางใหดูแม - To call a spade a spade = พูดจาขวานผาซาก - He that gives should never remember, = ผูใหไมควรจํา ผูรับไมควรลืม

he that receives should never forget

5. ใชคําในกลุมเดียวกัน หรือมีความเกี่ยวของกันในดานความหมายอยางเห็นไดชัด เพ่ือใหเห็นภาพพจนและโยงใยความหมายไดอยางถูกตอง

- Wall have ears = หนาตางมีหู ประตูมีชอง - To cut off one’s nose to spite one’s face = ตายประชดปาชา - Flies are easier caught with honey than

with vinegar = นํ้ารอนปลาเปน นํ้าเย็นปลาตาย - Venture small fish to catch a great one. = เอากุงฝอยไปตกปลากระพง

6. การใชคําที่มีความหมายตรงกันขาม (antithesis) เพ่ือเนนความหมายใหเห็นความแตกตางไดอยางชัดเจน

- All is not gold that glitters = ขางนอกสุกใส ขางในเปนโพรง - Jack of all trades, and master of none = รูอยางเปด - Out of the frying pan into the fire = หนีเสือปะจรเข - To wash dirty linen in public = ไฟในอยานําออก ไฟนอกอยานําเขา - One man’s meat is another man’s poison = ลางเนื้อชอบลางยา - Penny wise and pound foolish = ถี่ลอดตาชาง หางลอดตาเล็น - What comes from the heart, goes to the heart = สิ่งที่มาจากใจ จะเขาถึงใจ

Page 8: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

7

7. การกลับคูของคํา (chiasmus) เพ่ือใหเกิดความคลองจอง และเพื่อเปนการเลนคําใหสํานวนจดจําไดงาย

- When in Rome, do as Romans do = เขาเมืองตาหลิ่ว ใหหลิ่วตาตาม - When you have nothing to say, = เม่ือไมมีอะไรจะพูด ก็ไมตองพูด say nothing

กลวิธีของการใชรูปแบบความหมาย การใชความหมายในสํานวนสุภาษิต หรือคําพังเพย สวนใหญเปนการมุงเปรียบเทียบใหเห็น

ภาพพจน หรือเรียกวาการอุปมา (simile) และอุปลักษณ (metaphor) จากการวิเคราะห นอกจากนั้นในการพูดเปรียบเทียบใหเห็นภาพพจนยังใชเทคนิคการใชความหมายอื่นๆ ประกอบดวย รูปแบบ (form) ของการใชภาษาอาจแบงออกได เชน

1. อุปมา (simile) เปนการเปรียบเทียบโดยมีคําเชน as, like หรือเหมือน, ราวกับ มาเปนคําเชื่อมระหวางสิ่งที่กําลังเปรียบเทียบกับภาพพจน เชน - To be as quiet as a grave = เงียบเปนเปาสาก = เงียบเหมือนเปาสาก

- To cry one’s eyes out = นํ้าตาเปนสายเลือด - Jack of all trades, and master of none = รูอยางเปด

2. อุปลักษณ (metaphor) คือการเปรียบเทียบโดยไมมีคําเชื่อมที่แสดงการเปรียบเทียบใหเห็นเหมือนการอุปมาแตผูฟงก็เขาใจความหมายของอุปลักษณไดเทาเทียมกับที่เขาใจอุปมา - One man’s meat is another man’s poison = ลางเนื้อชอบลางยา

- Meat is poison = เน้ือคือยาพิษ - Beauty without grace is a violet = สวยแตรูปจูบไมหอม without smell - All is not gold that glitter = ผาขี้ร้ิวหอทอง

3. การพูดเกินจริง (hyperbole) การพูดเนนใหเกินจริง เปนวิธีแสดงใหเห็นภาพพจน การเปรียบเทียบวิธีน้ีใชมากเมื่อตองการเนนใหเชื่อหรือหามไมใหทําสิ่งหน่ึงสิ่งใด เชน - The way to a man’s heart is = เสนหปลายจวัก ผัวรักจนตาย through his stomach

- To cry one’s eyes out = รองไหนํ้าตาเปนสายเลือด - To look for a needle in a hay stack = งมเข็มในมหาสมุทร - Dog tired = เหน่ือยสายตัวแทบขาด - Mad as a March hare = โกรธแทบเปนบา / บาคลั่งพลุงพลาน - Daylight robbery = ขูดเลือดขูดเนื้อ - Once in a blue moon = นานทีปหน - For ages = ชั่วกัปชั่วกัลป

Page 9: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

8

4. การพูดเยยหยัน หักมุม ผิดคาด (irony) เปนการใชความหมายเพื่อใหเห็นวาเปนคนหรือการกระทําที่ผิดไปจากธรรมดา หรือตรงกันขามกับความคาดหมาย อาจใชเพ่ือเยยหยันหรือแสดงวาไมเห็นดวย เชน - A kiss after a kick = ตบหัวแลวลูบหลัง

- He has honey in the mouth and = ปากหวานกนเปร้ียว a razor at the girdle - To reap what others have sown = ชุบมือเปบ - When pigs fly = ชาติหนาตอนบายๆ, เปนไปไมได

5. การนํามากลาวเหมือนเปนบุคคล (personification) เปนการกลาวถึงสิ่งที่ไมมีชีวิตหรือสิ่งของราวกับวาเปนบุคคล เปนลักษณะหนึ่งที่สามารถเปรียบเทียบใหเห็นภาพจนได และทําใหเขาใจไดงายขึ้นกวาการพูดถึงคนหรือมนุษยอยางเดียว เชน - Pot calls the kettle black = วาแตเขาอิเหนาเปนเอง

- Like a dog in a manger = หมาหวงกาง - Manners make the man = สําเนียงบอกภาษา กิริยาบอกตระกูล - Love is blind = ความรักทําใหคนตาบอด - Anger punishes itself = ความโกรธลงโทษตัวเอง

6. การพูดถึงสวนหนึ่งแทนทั้งหมด (metonymy) ไดแกการนําสวนใดสวนหนึ่งที่มีคุณสมบัติเดนมาใชแทนการกลาวถึงสิ่งน้ันโดยตรง เชน ไมเห็นหนาเจากินขาวไมลง คําวา “หนา” แทนตัวทั้งหมด และคําวา “ขาว” หมายถึงอาหารทุกอยางที่กิน ในหนึ่งม้ือ - Take care of the pence, and the = มีสลึงพึงบรรจบใหครบบาท pounds will take care of themselves (pence, pounds, สลึง, บาท หมายถึง เงินทองทั้งหมด)

- To take the bread out of one’s mouth = ทุบหมอขาว (หมอขาว, bread หมายถึง อาหาร หมายถึง การมีกิน, การดํารงชีวิตอยูได) - Teach your grandmother to suck eggs = สอนจระเขใหวายน้ํา (suck eggs, วายน้ํา หมายถึง วิชาความรูทุกชนิด)

7. การพูดใหไพเราะเกินจริง (euphemism) หมายถึงการกลาวถึงความคิดที่นาเกลียด นากลัว ใหฟงดูเบาลงหรือไพเราะรื่นหูกวาการกลาวตรงๆ - To have one foot in the grave = ไมใกลฝง

- Old age = วัยทอง - Senior citizen = ราษฎรอาวุโส - Restroom, powder room = หองน้ํา หองสุขา - Shotgun wedding = วิวาห สายฟาแลบ

Page 10: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

9

8. การใชความหมายเกี่ยวกับศาสนา (religious language) หมายถึงนําความคิดทางศาสนามากลาวเพื่อใหเห็นภาพและเขาใจงาย - To teach your grandmother to suck eggs = บอกหนังสือสังฆราช

- To do good by stealth = ปดทองหลังพระ - A god has his day = วันพระไมมีหนเดียว - By hook or by crook = ไมไดดวยเลหก็เอาดวยกล ไมไดดวยมนต ก็เอาดวยคาถา - He that sows good seed, shall reap = ทําดีไดดี ทําชั่วไดชัว่ good corn - Blessing in disguise = ตนรายปลายดี - Bless you = ขอใหพระคุมครอง - To keep one finger crossed = หวังไวในใจ / อธิษฐาน

9. การใชสิ่งทดแทนทางวัฒนธรรม (cultural substitute) หมายถึง การใชคําที่แสดงสิ่งของ ความคิด หรือความเชื่อที่อยูในวัฒนธรรมของไทยโดยเฉพาะมาเปนคําแปลของสํานวนในวัฒนธรรมของตนฉบับ เชน - To use a sledgehammer to crack a nut = ขี่ชางจับตั๊กแตน

- To wash dirty linen in public = สาวไสใหกากิน - Take care of the pence, and the = มีสลึงพึงบรรจบใหครบบาท pounds will take care of themselves - To carry coals to Newcastle = เอามะพราวหาวไปขายสวน - To call a spade, a spade = เถรตรง - Practice what you preach = มือถือสากปากถือศีล

ชนิดและจุดประสงคของสาํนวนและสุภาษิต

สํานวนและสภุาษิตเปนการพูดเพื่อจุดประสงคในการเปรียบเทียบใหเห็นภาพพจนหรือเปนการสอนใจเกี่ยวกบัแงมุมตางๆ ในการดํารงชีวิต อาจแบงออกไดตามชนิดของความหมาย หรือจุดประสงคของสํานวนและสุภาษิตไดเปน

Page 11: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

10

ก. เพื่อสอนใหเขาใจ โดยมีจุดประสงคในการสอนเพื่อ

1. ปลอบใจหรืออธิบาย เม่ือคนกระทําพลาดไปแลวเพ่ือใหเห็นภาพพจนและสบายใจขึ้น เชน - To come home to roost = กรรมสนองกรรม - The wisest man may fall = สี่เทายังรูพลาด นักปราชญยังรูพลัง้ - Every cloud has a silver lining = ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน - A dog has his day = วันพระไมมีหนเดียว - You can’t make an omlette without

breaking an egg = ไดอยางเสียอยาง - Not worth a tinker’s dam = ไรคา ไรราคา

2. สอนไมใหโลภมากหรือใหพอเพียง - Cut your coat according to your cloth = นกนอยทํารังแตพอตวั - A bird in the hand is worth two in the bush = สิบเบีย้ใกลมือ - You can’t make an omlette without = ไดอยางเสียอยาง

breaking an egg - Don’t look a gift horse in the mouth = จงพอใจในสิ่งที่ได - To win some to loose some = ตาได ตาเสยี

3. ใหรอบคอบไมประมาท - Rome was not built in one day = กรุงโรมไมไดสรางในหนึ่งวนั ชาชา ไดพราเลมงาม - Haste makes waste = ชาเปนการ นานเปนคุณ - Speech is silvern, silence is golden = พูดไปสองไพเบี้ย น่ิงเสียตําลึงทอง - To nip in the bud = ตัดไฟแตตนลม - To save it for a rainy day = เก็บไวใชยามยาก - A stitch in time = กันไวดีกวาแก - Look where you leap = ดูทิศทางลม - Beware of Greeks bearing gifts = อยาไวในทาง อยาวางใจคน

4. สอนหญิง - The way to a man’s (an English man’s) = เสนหปลายจวกั ผัวรักจนตาย

heart is through his stomach - Fine feathers make fine birds = ไกงามเพราะขน คนงามเพราะแตง - A penny saved is a penny earned = มีสลึงพึงบรรจบใหครบบาท

Page 12: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

11

ข. เพื่อหามไมใหทําสิ่งที่ไมดี แบงออกเปน

1. ความเกินพอดี เสียเปลา ไรประโยชน - To keep up with the Jones = เห็นชางขี้ ขีต้ามชาง - To use a sledgehammer to crack a nut = ขี่ชางจับตั๊กแตน - To make a mountain out of a mole hill = ทําเรื่องเล็กใหเปนเรื่องใหญ - Thin end of the wedge = นํ้าผึ้งหยดเดียว - To flog a dead horse = เสียแรงเปลา - Pipe dream = สรางวิมานในอากาศ / ฝนเฟอง - To cut off one’s nose to spite one’s face = ตายประชดปาชา - Teach your grandmother to suck eggs = สอนจระเขใหวายน้ํา

2. ความไมรอบคอบ ประมาท - To cast the first stone = ดวนวิจารณ / ติเรือทั้งโกลน

ตําหนิผูอ่ืนโดยไมยอนดูตัว - To buy a pig in a poke = หลับหูหลบัตาซื้อ - To put all one’s eggs in one basket = เทหมดหนาตกั / เสี่ยงโดยทุมสุด

ตัว - A long shot in the dark = เดาสุม - Barking up the wrong tree = กลาวหาผิดคน - To go out on a limb = เสี่ยงอันตราย / เดินไตลวด - To jump the gun = ไมเห็นน้ําตัดกระบอก - To let the cat out of the bag = เผลอหลุดความลับ

ค. เพื่อติเตียนหรืออธิบายวาไมดี โดยพูดเปรียบเทียบใหเห็นภาพพจน แบงออกเปน 1. บุคคลที่นารังเกียจไมพึงปรารถนา

- Indian giver = ใหแลวเอาคืน - Black sheep = แกะดํา - Dog in the manger = หมาหวงกาง - Bull in a china shop = คนซุมซาม มุทะล ุ- Three sheets to the wind = เมาหัวราน้ํา / เมาแประ - One bad apple = ปลาเนาตัวเดียว - Backseat driver = คนชอบแส - Peeping Tom = นักถ้ํามอง - Whipping boy = กระโถนทองพระโรง - Couch potato = น่ังๆ นอนๆ เกียจคราน - Bat in one’s belfry = บาๆ บอๆ สติไมเต็ม - Lame duck = ผูที่กําลังสิ้นสดุอํานาจ

Page 13: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

12

- Sitting duck = เปนเปานิ่ง - Fish out of water = อึดอัด ทําตัวไมถูก - A bad workman blames his tools = รําไมดีโทษปโทษกลอง

2. สภาพการณทีไ่มดี ไมเหมาะสม ไมควรเอาอยาง - Neither fish nor fowl = หัวมงกุฎ ทายมังกร - When pigs fly = ชาติหนาตอนบายๆ / เปนไปไมได - Indian summer = ฤดูรอนจอมปลอม - Achilles’s heel = จุดออน จุดบอด - Down at heel = ยากจนขนแคน - Below the salt = มีสถานะต่ําตอย - Under fire = โดนวิจารณดุเดือด - Dead in the water = ชะงักงัน - High and dry = ถูกปลอยเกาะ ถูกทิ้งโดดเดี่ยว - Not enough room to swing a cat = เล็กอยางกับรูหนู / ที่แคบเทาแมวด้ินตาย - Zero tolerance = ปราศจากการผอนปรน - Mad as a hatter = เปนบา เสียสต ิ- At the end of one’s rope = ถึงทางตัน จนมุม - Behind bars = ติดคุก - Beyond the pale = ความประพฤติสุดทน - Dead as a Dodo = สูญพันธุ - Handwriting on the wall = ลางราย - Down and out = สภาพนาสังเวช - Crocodile tears = บีบนํ้าตา แสรางทําเปนนาสงสาร - Chalk and cheese = ตางกันราวฟากับดิน

3. การกระทําที่ไมดี ไมเหมาะสม ไมควรเอาอยาง - To get on one’s high horse = วางทายะโส - To bury one’s head in the sand = ขี้ขลาดตาขาว - To rub salt in the wound = ซํ้าเติมใหเจ็บปวด - To cry wolf = ทําตวัเปนเด็กเลี้ยงแกะ โกหก - To pull the wool over one’s eyes = หลอกลวง - To wash one’s dirty linen in public = สาวไสใหกากนิ - To move red rag to a bull = ยั่วใหบันดาลโทสะ - To blow one’s own trumpet = ยกหางตัวเอง - To sail under false colors = หลวงลวง ตมตุน - To rest to one’s laurels = กินบุญเกา

Page 14: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

13

- To spill the beans = เผยความลับ - To go bananas = บาๆ บอๆ สติไมเต็ม - To drink like a fish = ด่ืมจัด

ง. เพื่อบรรยายการทํางานและการแกปญหา - To fight tooth and mail = สูยิบตา - To bring home the bacon = เลี้ยงปากทองคนในครอบครัว - Hair of the dog = หนามยอกเอาหนามบง - By hook or by crook = ไมไดดวยเลห ก็เอาดวยกล - To play by ear = ทําไปทลีะขั้น ทําโดยไรแผน - To pull strings = บงการอยูเบื้องหลัง - To burn the midnight oil = ทํางานหามรุงหามค่ํา - More than one way to skin the cat = ทําไดหลายวธิี มีวิธีการหลากหลาย - Off the hook = ลอยตวั พนปญหา - To set people by their ears = เสี้ยมเขาควายใหชนกัน - To play second fiddle = รับบทรอง - To paddle one’s own canoe = อยูดวยลําแขงตนเอง / ยืนอยูบนขาตัวเอง - To pull one’s weight = อุทิศตนทํางาน - Burning the candle at both ends = ทํางานหักโหม - To clip one’s wings = จํากัดอิสรภาพ ตัดหนทาง - To get ducks in a row = จัดเตรียมใหเปนระเบยีบ - To wash one’s hands of something = บอกศาลา ถอนตัวออก - To run with the hares and hunt with

the hounds = เหยียบเรือสองแคม - To play possum = แสรงหลับ ทําเปนไมรูเรื่อง

จ. เพื่อชมเชย แบงออกเปน

1. ชมเชยวาอยูในสภาพที่ดีเหมาะสม - Cool as a cucumber = สุขุมเยือกเย็น - Cut and dried = สําเร็จรูป เตรยีมพรอมไวแลว - Olive branch = ยื่นไมตรี คืนดีกัน - Salad day = วันที่สดชื่นแจมใส - A feather in one’s cap = ความสําเร็จทีน่าภูมิใจ - Full fledged = ปกกลาขาแขง็ - Saved by the bell = รอดพนทันพอดี - In the pink = สุขภาพเยี่ยม - Soup to nuts = ครบถวน มีทัง้ชุด ไมจ้ิมฟนยันเรือรบ - To fit as a fiddle = แข็งแรง กระปรี้กระเปรา / ฟตเปรี๊ยะ

Page 15: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

14

- Dark horse = มามืด - Square meal = อาหารคุณคาครบหมู

2. ชมวาซื่อสัตย ตรงไปตรงมา - To hit the nail right on the head = พูดไดตรงประเด็น - To take the bulls by the horns =- แกปญหาใหตรงจุด - To come out of one’s shell = เผยตวั / บอกความรูสึก - To call a spade a spade = พูดจาขวานผาซาก - Fair and square = ซ้ือสัตยตรงไปตรงมา - Dutch uncle = วิจารณแบบตรงไปตรงมา - Even stevens = เสมอเหมือนกัน - Talk turkey = เจรจาตรงไปตรงมาและเด็ดขาด - To hit the bull’s eye = ตรงเปาพอดี - To wear one’s heart on the sleeve = เผยหนาไพ - Eagle eye = สายตาคมกรบิ

Page 16: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

15

กลวิธีการแปล

จากการวิเคราะหสํานวนและสุภาษิตที่ไดรับการแปลเปนภาษาไทยตามขอมูล ไดพบกลวิธีการแปลดังตอไปน้ี

1. การแปลตรงตัว (literal translation) คือ การแปลใหตรงตามตัวอักษร หรือการแปลความหมายใหครบถวนตามคํา (word by word) แบงออกไดเปน 1.1 แปลตรงตัวอยางแทจริง (very literal) หรือการแปลตรงตัวทั้งความหมายและที่ตั้งของคาํในแต

ละสํานวน เชน - Bald as a coot = หัวลานราวกับนกตะกรมุ - Save face = รักษาหนา - Lose face = เสียหนา - Anger punishes itself = ความโกรธลงโทษตัวเอง - When it is dark enough, you can = เม่ือมันมืดมากพอ เราก็จะมองเห็นดวงดาว see the stars - The time to be happy is now; the = เวลาที่จะมีความสุขคือเด๋ียวนี้ สถานที่ที่จะมี place to be happy is here ความสุขไดคอืที่น้ี - He who has never hoped can = คนที่ไมเคยหวังจะไมมีวันสิน้หวัง never despair

1.2 แปลตรงตัวโดยปรับปรุง (modified literal translation) คือมีการปรับปรุงคําหรือที่ตั้งของคําใหเปนไปตามกฎไวยากรณไทยเพื่อใหเขาใจไดงาย หรือเปนการปรับปรุงตามกฎไวยากรณภาษา ไดแก 1.2.1 ยายที่ตั้งของคําตามหลักไวยากรณ (word order)

- Dark horse = มามืด - Black sheep = แกะดํา - Still water runs deep = นํ้านิ่งไหลลึก - Final straw = ฟางเสนสุดทาย - First come, first served = มากอนไดกอน - It is sure to be dark if you shut = มันตองมืดแนถาทานหลบัตา

your eyes

Page 17: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

16

1.2.2 คงความหมายแตอาจละคําหรือไมละทิ้งคํา (implicit and explicit) - What is past is prologue = อดีตเปนเพียงคํานํา

(ไมละทิ้งคํา only) - A promise made is a debt unpaid = คําสัญญาคือหน้ีที่ยังไมไดชําระ

(ละทิ้ง made) - Barking dogs seldom bite = หมาเหาไมกัด (ละทิ้ง seldom)

1.2.3 ปรับความหมายเล็กนอย แตความหมายรวมยังคลายเดิม - Love is blind = ความรักทําใหคนตาบอด

(ปรับเปน “ทําให”) - It is evil striving a gainst the stream = นํ้าเชี่ยวอยาขวางเรือ

(ปรับ evil เปนการหาม) - Take care of the pence, and the = มีสลึงพึงบรรจบใหครบบาท

pounds will take care of themselves (ปรับใหฟงดูเปนการแนะนาํยิ่งขึ้น)

2. การตีความ (Interpretation) หมายถึงการตีความหมายของสํานวนโดยรวม แลวถายทอดความหมายออกเปนภาษาไทยโดยไมคํานึงถึงรูปแบบของภาษาอังกฤษตนฉบับ โดยแปลเปนภาษาไทยธรรมดา เชน - A baker’s dozen = สิบสาม - Not fit to hold a candle to someone = เทียบไมติด - Not worth a tinker’s dam = ไรคาไรราคา - To pour cold water on something = ระงับทันทีทันใด - Every Tom, Dick and Harry = คนทั่วไป - Even Stevens = ทัดเทียมกัน / เสมอกัน - To hit the nail right on the head = พูดไดตรงประเด็น - Olive branch = การคืนดีกัน - Sitting duck = เปดโลงใหโจมตี

ซ่ึงการบอกความหมายเปนภาษาไทยธรรมดานี้ อาจแบงตามรูปแบบไดเปน

2.1 บรรยายคําหลัก โดยบอกรูปแบบ (modified by form) หมายถึงใชคํากวางๆ ที่แสดงความคิดหลักของสํานวนเปนหลักและใชคําแสดงรูปแบบมาบรรยาย (central concept + form) - Talk turkey = เจรจาตรงไปตรงมาและเด็ดขาด - Cold turkey = เลิกกระทันหัน - Turkey shoot = โอกาสไดเปรียบ - Back handed compliment = คําชมแกมเหน็บแนม - A ball in one’s court = ถึงรอบที่จะตองตัดสินใจ - Loan shark = เจาหนี้หนาเลือด - To pay through the nose = จายแพงลิบลิ่ว

Page 18: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

17

2.2 บรรยายคําหลักโดยบอกหนาที่ (modified by function) - Whipping boy = กระโถนทองพระโรง - To pull one’s weight = อุทิศตนทํางาน - To save it for a rainy day = เก็บหอมรอมริบไวใชยามจําเปน - Flea market = ตลาดนัดขายสินคาราคาถูก - Icing on the cake = สิ่งเติมเต็มสมบูรณ

2.3 บรรยายคําหลัก โดยบอกเหตุหรือผล (modified by reason) - Dutch Courage = กลาเพราะเหลาเขาปาก - To kill one’s goose = โลภมากลาภหาย - To have ants in one’s pants = กระวนกระวายเพราะตื่นเตน

3. การใชสํานวนทดแทน (idiom to idiom) คือการแปลโดยมุงถายทอดความหมายโดยไมคํานึงถึงรูปแบบของภาษา โดยตีความสํานวนอังกฤษแลวใชสํานวนไทยที่เทาเทียมกันเปนสํานวนแปล แบงออกเปน 3.1 คงภาพพจนไวแตเปลี่ยนเปนสํานวนไทย

- Dog in the manger = หมาหวงกาง - To talk nineteen to the dozen = พูดเปนตอยหอย

3.2 เปลี่ยนภาพพจนแตคงความหมาย - Whipping boy = กระโถนทองพระโรง - Apple of one’s eyes = แกวตาดวงใจ - First water = เพชรนํ้าหนึ่ง - One bad apple = ปลาเนาตัวเดียว - Hair of the dog = หนามยอกเอาหนามบง - A piece of cake = เร่ืองหวานหมู - Don’t teach your grandma to suck egg = อยาสอนหนังสือใหสังฆราช - A bird in hand = สิบเบี้ยใกลมือ - To beat around the bush = ชักแมนํ้าทั้งหา - To show one’s true color = เผยธาตุแท

Page 19: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

18

3.3 ไมคงภาพพจนโดยแปลเฉพาะความหมายออกเปนสํานวนไทย - Cold turkey = หักดิบ - Three sheets to the wind = เมาแประ - A dime a dozen = ของพื้นๆ - Dead in the water = ชะงักงัน - Brand new = ใหมเอ่ียม / ถอดดาม - To play one card close to one’s chest = อุบไต - Not worth the candle = ไดไมคุมเสีย - Second nature = พรสวรรค - Sitting duck = เปนเปานิ่ง

4. การเทียบเคียงสํานวน (cultural substitute) คือ การที่ผูแปลพยายามโยงใยวาสํานวนภาษาอังกฤษที่ตนแปล มีสํานวนไทยที่ใชกันอยูแลว ที่มีความหมายใกลเคียงหรือเหมือนกัน แลวนํามาเปนสํานวนแปล จะสังเกตุไดจากการที่สํานวนไทยเหลานี้เปนที่ติดปากหรือใชกันมานานแลว

- Out of the frying pan into the fire = หนีเสือปะจระเข - Still water runs deep = คมในฝก - To make a mountain out of a mole hill = ทําเรื่องเล็กใหเปนเรื่องใหญ - Haste makes waste = ชาเปนการนานเปนคุณ - Goose and gander and goslings = ลูกไมหลนไมไกลตน / เชื้อไมทิ้งแถว

are three sounds but one thing - To do good by stealth = ปดทองหลังพระ - Jack of all trades, and a master of = รูอยางเปด none - To put one’s foot in it = หาเหาใสหัว / เอามือซุกหีบ - Too many cooks spoil the broth = มากหมอมากความ - To turn a blind eye = เอาหูไปนาเอาตาไปไร - To use a sledgehammer to crack a nut = ขี่ชางจับตั๊กแตน - A bad workman blames his tools = รําไมดีโทษปโทษกลอง

Page 20: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

19

5. ความยืดหยุนของรูปแบบภาษา (flexible format) ในการถายทอดความหมายดวยการแปล ผูแปลสามารถเลือกรูปแบบของภาษาในการถายทอดความหมาย โดยมุงความเขาใจที่ชัดเจน หรืออาจเปนการเลือกชนิดหรือระดับของภาษาใหตรงกับจุดประสงคในการแปลและกลุมผูอาน เชน การแปลสํานวน อาจถายทอดเปนภาษาธรรมดา การแปลอุปมาอาจเลือกแปลเปนอุปมาหรืออาจเลือกสํานวนแปลจากสุภาษิตที่มีอยูแลว จากการวิเคราะหไดพบการปรับปรุงหรือการยืดหยุนของรูปแบบภาษาจากภาษาตนฉบับและภาษาแปลไดดังตอไปน้ี

5.1 ภาษาธรรมดาเปนภาษาธรรมดา (nonfigurative sense to nonfigurative sense) First come, first served = มากอนไดกอน Now is the best time of life = ปจจุบันคือชวงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต 5.2 ภาษาธรรมดาเปนอุปลักษณ (nonfigurative sense to metaphor) คือการแปลภาษาธรรมดาใหเปนการเปรียบเทียบโดยภาษาเชิงภาพพจน เชน Haste makes waste = ชาเปนการ นานเปนคุณ, ชาๆ ไดพราเลมงาม 5.3 อุปลักษณเปนภาษาธรรมดา (metophor to similes nonfigurative sense) คือการแปลภาษาเปรียบเทียบเชิงภาพพจนใหเปนภาษาไทยธรรมดาที่ไมตองเห็นภาพพจนเพราะไมมีการเปรียบเทียบ เชน Red-eye flight = เที่ยวบินรอบดึก No one’s cup of tea = ไมนิยมชมชอบ To pour oil on troubled water = ไกลเกลี่ยขอพิพาท 5.4 อุปลักษณเปนอุปลักษณ (metophor to metophor) เปนการแปลภาษาเปรียบเทียบใหเห็นภาพพจนเชนเดียวกัน Time is money = เวลาเปนเงินเปนทอง Everyone is a moon, and has a dark = ทุกคนคือพระจันทรและมีดานมืดที่ไมเคย side which he never shows to anybody แสดงใหใครเห็น 5.5 การละรูปแตคงความหมาย (implicit / explicit) หมายถึง การแปลที่ทั้งภาษาตนฉบับและภาษาแปล มีความหมายครบถวนเทาเทียมกัน แตการแสดงออกดวยคําอยางโจงแจง (explicit meaning) อาจทําตามความเหมาะสมของภาษา กลาวคือ อาจลดรูปโดยยังคงความหมาย ไว (implicit) ก็ได เชน Red-handed = ถูกจับไดคาหนัง คาเขา (ถูกจับได = explicit) Yellow belly = คนตาขาว คนขี้ขลาด (คน = explicit) Green thumb = พรสวรรคดานการเพาะปลูก (ดานการเพาะปลูก = explicit) To show one’s true color = เผยธาตุแท (one’s = ของตน = implicit)

Page 21: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

20

5.6 การใชความหมายแคบและความหมายกวาง (specific / generic) ในการแสดงความหมาย ผูแปลอาจตองแปลโดยใชคําที่มีความหมายที่แคบกวา (specific) หรือกวางกวา (generic) คําในภาษาตนฉบับเพ่ือแสดงความหมาย เพ่ือใหเหมาะสมกับธรรมชาติของภาษาหรือเพ่ือใหเหมาะสมกับจุดประสงคในการแปล เชน Every Tom, Dick and Harry = คนทั่วไป (ทั่วไปมีความหมายกวางกวาชื่อของคน แตละคน) Red letter day = โอกาสพิเศษ (Red letter day คือ วันหยุดงานหรือวันสําคญั ถูกแปลวา โอกาสซ่ึงกวางกวาวันหยุด)

Page 22: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

21

อภิปรายผลการวิจัย

1. จากผลการวิจัยรูปแบบของสํานวนและสุภาษิต ซ่ึงเปนการใชภาษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อใหเห็นภาพพจน ไดพบวาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีวิธีการสรางสํานวนและสุภาษิตที่มีรูปแบบที่คลายคลึงกัน เชน มีการเปรียบเทียบโดยภาพพจนที่เขาใจงายในวัฒนธรรมของตน เชน ในภาษาอังกฤษเปรียบคนโงวา Turkey เปรียบคนนอกคอกวา Black sheep เปรียบคนมุทะลุวาเปน bull เปรียบคนมีอํานาจวาเปน lion ซ่ึงเปนสัตวที่เขาใจรวมกันในวัฒนธรรมอังกฤษวามีลักษณะดังที่เปรียบเทียบ ในภาษาไทยเปรียบคนรูหนังสือวาเปนสังฆราช เปรียบคนมีอันตรายวาเปนงูเหา เปรียบสิ่งที่มีขนาดใหญวาชาง เปรียบสิ่งที่หายากและมีขนาดเล็กกวาเข็ม

2. สุภาษิตและสํานวนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย มีรูปแบบที่ตองการใหคนฟงงาย จดจํางาย และกระทัดรัด คลองจอง จึงมีรูปแบบที่มีการสัมผัสสระ สัมผัสอักษร มีการซ้ําคํา กลับคํา เปนกลวิธีการเลือกคําที่สรางสรรคมาก มักมีลักษณะเปนภาษาพูดที่พูดบอกกัน สั่งสอนกันปากตอปากมากกวาจะตั้งใจใหเปนภาษาเขียน สํานวนและสุภาษิตที่มีถอยคําไพเราะ คลองจอง กระทัดรัด จดจํางาย จะยืนยงคงทนในภาษามากกวาที่มีความยาวมาก หรือไมมีความคลองจองสละสลวย จะเห็นวาสํานวนและสุภาษิตที่มีการแปลขามภาษาที่พบในการวิจัยครั้งน้ีสวนใหญมีลักษณะทางภาษาเชนที่กลาวมา

3. แงมุมของความคิดที่สงผานตัวสํานวนและสุภาษิตมีความคลายคลึงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กลาวคือ ทั้งสองภาษามีสํานวนภาษาที่สอนใหอดทน ใหรอบคอบ ใหพยายาม มีสํานวนภาษาที่หามไมใหทําสิ่งไมดี เชน หามความเกินพอดี หามไมใหทําสิ่งที่เสียเปลาไรประโยชน และหามไมใหประมาท ทั้งสองภาษามีการติเตียน ยกตัวอยางใหเห็นความไมดีที่ไมควรเอาอยาง ทั้งที่เปนบุคคล การกระทํา และสภาพการณที่ไมเหมาะสม ทั้งสองภาษาพูดถึงการทํางานเพื่อสอนใจใหทําใหดีโดยการเปรียบเทียบใหเขาใจลึกซึ้ง และที่แนนอนที่สุดก็คือการชมเชยซึ่งเปนสิ่งที่ประเทืองสังคมและแรงบันดาลใจใหคนทําดี ทั้งสองภาษามีสํานวนสุภาษิตที่เปนการชมเชย เชน ชมเชยความเหมาะสม ความตรงไปตรงมา ความซื่อสัตย จากการวิเคราะหสํานวนและสุภาษิตที่ใชกันอยูในสังคมจะทําใหเขาใจคานิยมและมาตรฐานโดยประมาณของคุณภาพชีวิตและศีลธรรมจรรยาในสังคมน้ันได

4. ผลของการวิเคราะหกลวิธีการแปล พบวาโดยทั่วไปการแปลจะเนนความถูกตอง แมนยํา (accuracy) ความชัดเจน (clearness) และความเปนธรรมชาติของภาษา (naturalness) ซ่ึงจะปรากฏในรูปของการแปลตรงตัว (literal) การแปลตรงตัวแบบปรับปรุง (modified literal) การตีความ (interpretation) และการใชสํานวนเดิมในภาษาที่มีอยูแลวมาเทียบเคียงเปนคําแปล (cultural substitute) ซ่ึงการจะใชกลวิธีใดขึ้นอยูกับความหมายของสํานวนเปนสําคัญ เม่ือความหมายไมซับซอนมากและสามารถเปรียบเทียบใหเห็นภาพพจนที่เทาเทียมกันในทั้งสองภาษา ผูแปลอาจใชวิธีแปลตรงตัว แตถาภาพพจนในภาษาสื่อไมไดในอีกวัฒนธรรมก็ตองใหความหมายดวยภาพพจนอ่ืน

Page 23: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

22

หรืออาจตองใชภาษาธรรมดามาเปนภาษาแปลในการถายทอดความหมาย อยางไรก็ตามผูแปลลวนมีจรรยาบรรณในการมุงม่ันถายทอดความหมายใหแมนยําที่สุด และไดแสดงความสามารถในการเลือกเฟนคําแปลที่ใหทั้งภาพพจน สุนทรียภาพทางภาษา และความหมายที่ชัดเจนในเวลาเดียวกัน

5. จากการวิเคราะหไดพบวากลวิธีในการแปลเปนทางเลือกของผูแปลโดยแทจริง (flexible format) ผูแปลที่มุงหวังจะถายทอดความหมายโดยคงรูปของสํานวนตนฉบับจะสามารถทําไดโดยพยายามแปลใหตรงตามตัวอักษรมากที่สุดดังตัวอยางจาการแปลสํานวนสุภาษิตในหนังสือที่ระลึกงานศพของนางวนิดา แนวบุญเนียร (2550) ซ่ึงสํานวนสุภาษิต จํานวน 92 สํานวน ในภาษาอังกฤษถูกแปลเปนภาษาไทยที่คอนขางตรงตัวแทบทั้งหมด โดยไมมีการเทียบเคียงเปนสุภาษิตไทยที่มีอยูแลว หรือแปลเปนสํานวน (idiom) ไทยเลย ในขณะที่เม่ือผูแปลตองการเปรียบเทียบสํานวนสุภาษิตอังกฤษกับสํานวนหรือสุภาษิตไทยที่มีอยูแลว เชน ในหนังสือ Have Fun with Thai Proverbs (ดวงทิพย สุรินทรา 1999) สํานวนแปลจะเทียบเคียงเปนสํานวนสุภาษิตไทยที่ใชกันอยูแลวที่มีความหมายคลายคลึงกับสํานวนสุภาษิตภาษาอังกฤษโดยไมมีการแปลขึ้นมาใหม ในกรณีที่ผูแปลแปลขึ้นมาใหมก็อาจทําโดย 2 วิธี คือ วิธีแรก ผูแปลอาจแปลเองโดยอาจแปลเปนสํานวนหรือแปลเปนภาษาไทยธรรมดา หรือวิธีที่สองผูแปลอาจนําเอาสํานวนไทยที่เปนคูเทียบเคียงมาเปนคําแปล เชน ใน Behind the Phrases โดย บุษยาณี 2549) ดังน้ัน จากการวิเคราะหการแปลจึงอาจสรุปไดวาผูแปลมีทางเลือกในการแปลและอาจเลือกตามความถนัดหรือจุดประสงคในการแปล แตผลทางอารมณและการเห็นภาพพจนในใจของผูอานยอมแตกตางกันไปบางในขณะที่ความเขาใจความหมายของสํานวนอาจเทาเทียมกันได

6. การวิจัยสํานวนและสุภาษิตเปนสวนหน่ึงของการอนุรักษแนวคิดและคานิยมของสังคมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีดําเนินชีวิต (life style) แนวคิดที่เคยไดรับการยอมรับวาเปนคุณสมบัติที่พึงปรารถนาอาจกําลังจางหายไป เชน ในสุภาษิต “the way to a man’s heart is through his stomach” หรือ “เสนหปลายจวักผัวรักจนตาย” เปนการแสดงคุณสมบัติของสตรีที่พึงประสงค ซ่ึงมีตรงกันทั้งในภาษาอังกฤษและไทย ซ่ึงในปจจุบันอาจลดความสําคัญลงเพราะเทคโนโลยีและความเสมอภาคกันของทั้งสองเพศ แนวคิดในการใหพูดนอย “Speech is silvern, silence is golden หรือ พูดไปสองไพเบี้ย น่ิงเสียตําลึงทอง” ก็อาจถูกแนวคิดใหรุกไปขางหนาในโลกของการแขงขันโดยเฉพาะในโลกธุรกิจมาบดบังความสําคัญลง การรวบรวมและวิเคราะหความหมายของสํานวนและสุภาษิตจึงอาจใชเปนการอนุรักษวัฒนธรรมไดวิธีหน่ึง

Page 24: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

23

ขอเสนอแนะ

1. ผลของการวิจัยรูปแบบทางภาษาศาสตรของสํานวนและสุภาษิต สามารถใชเปนขอมูลในการสอนการแปล และการสอนการเขียนภาษาอังกฤษ และการเขียนภาษาไทยไดโดยเฉพาะการแปลความหมายเชิงภาพพจนและการแปลเชิงเปรียบเทียบในขอความชนิดตางๆ รวมทั้งนําไปใชในการสอนการเขียนเชิงสรางสรรคได

2. ควรมีการวิจัยการแปลเฉพาะดานในดานอ่ืนๆ เชน การแปลเชิงวิทยาศาสตรและการแปลภาษาธุรกจิ เพ่ือเปรียบเทียบเทคนิคในการแปลซึ่งจะนําไปเปนขอมูลในการเรียนการสอนวิชาการแปลและการประกอบอาชีพวิชาแปลตอไป

3. ควรมีการวิจัยที่เนนทางการเปรียบเทียบวัฒนธรรมโดยเฉพาะเกี่ยวกับสํานวนและสุภาษิต ระหวางภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยครอบคลุมวัฒนธรรมในแงตางๆ และการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด ที่เกิดการถายทอดวัฒนธรรม

Page 25: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

24

บรรณานุกรม

Dobrzyń ska, T. “Translating metaphor: Problems of meaning”. Journal of Pragmatics 24 (1995): 595-604.

Goedde, B. The New York Times; Nonfiction in translation. Retrieved Jan 15, 2009 from

http://www.creativenonfiction.org/brevity/craft goedde.htm, 2007.

Khaolat, N. English-Thai Proverbs & Sayings. Bangkok: Animate Print and Design, Col. Ltd. 1994.

Larson, Mildred L. Meaning-Based Translation. New York: University Press of America, 1998.

Newmark, P. Approaches to Translation. Hertfordshire: Prentice Hall International (UK) Ltd., 1995.

Newmark, P. Approaches to Translation. Cambridge: Cambridge University Press, 1992.

Samovar, L.A., Porter, R.E. & Stefani, L.A. Communication Between Cultures. Belmont: Wadworth. 1998.

Surintatip, D. On Thai Proverbs and Sayings. Bangkok National Identity Board, Prime Minister’s Office, 1985.

Thriveni, C. Cultural Elements in Translation. Translation Journal, V.6, No.1 January 2002.

Retrieved January 08, 2009 from http://acurapid.com/journal/19culture.htm, 2002.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. สํานวนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2545.

บุษยาณี เกตมุณี. Behind the Phrases. กรุงเทพฯ: ว.ีเจ พรินติ้ง จํากัด, 2549.

พัชรี โภคาสมัฤทธิ.์ การแปลอังกฤษเปนไทย : ทฤษฎีและเทคนิค. สถาบันบัณฑติพัฒนบรหิารศาสตร, 2006.

รัชนี ซอโสตถิกุล. สํานวนอังกฤษและสาํนวนไทยที่มีความหมายคลายคลึงกัน. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2548.

ราชบัณฑติยสถาน. ภาษิต คําพังเพย สํานวนไทยประเภทตางๆ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: เพ่ือนพิมพ จํากัด, 2529.

Page 26: บทคัดย อ · 1. สํานวนโวหาร สุภาษิต และคําพังเพย เป นการใช ภาษาท ี่มีอยู

25

ราชบัณฑติยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑติยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑติยสถาน, 2538.

ราชบัณฑติยสถาน. พจนานุกรมศัพทวรรณกรรม: ภาพพจน โวหาร และกลการประพันธ. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑติยสถาน, 2539.

วิทย เทีย่งบรูณาธรรม. พจนานุกรมสํานวนอังกฤษ อเมริกัน ไทย. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุญดีการพิมพ, 2536.

วิทย ศวิะศรยิานนท. คนไทยกับภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ปาณยา, 2531.

วิทย ศวิะศรยิานนท. สํานวนภาษาอังกฤษนารู (ฉบบัพิมพที่ 5). พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน, 2540.

ศุภกาญจน ผาทอง. รายงานการวิจัยเรือ่ง กลวิธีการแปลภาพพจนในนวนยิายแปลเรื่องกามนิต. ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลยัศิลปากร, 2550.

สมพร ไชยภูมิธรรม. เรียนรูภาษิตไทยเทียบเคียงอังกฤษ. กรุงเทพฯ: พิมพการ การพิมพ, ม.ป.ป.

สิทธา พินิจภูวดล. คูมือนักแปลอาชีพ. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส, 2543.

สิทธา พินิจภูวดล. “การแปลสํานวนและคําเปรียบเทยีบ” ใน จากภาษาตางประเทศสูภาษาไทย. (อนุสรณเน่ืองในงานพระราชทานเพลิงศพนายเฮง เกษมเศรษฐ), 2532.

สุพรรณี ปนมณี. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวทิยาลัย, 2548.

หนังสือที่ระลกึในงานฌาปนกิจ นางวนิดา แนวบุญเนียร กรุงเทพมหานคร 2550