ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม...

13
41 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีท่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552 ปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น Communication Forms of Local Politicians . . . . . . . . . . . . . . . . . อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สำนักสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ E-mail: [email protected] รสชงพร โกมลเสวิน รองศาสตราจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ E-mail: [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรง จูงใจในการเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ศึกษารูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง ท้องถิ่นและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารที่ส่งผลต่อการทำงานของนักการเมืองท้องถิ่น โดยทำการ สัมภาษณ์เจาะลึกนักการเมืองท้องถิ่นใน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัด สุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง และจังหวัดระนอง พร้อมทั้งสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ พฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้ทำการ สัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้านซึ่งผลการวิจัยปรากฏ 3 รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก(ก) การสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับชาวบ้าน (ข) การสื่อสารโดยผ่าน ช่องทางการสื่อสารต่างๆ และ (ค) การประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนปัจจัยที่เป็น แรงจูงใจในการเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยเรื่องงบประมาณ รู

Upload: others

Post on 15-Feb-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

41วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น Communication Forms of Local Politicians

. . . . . . . . . . . . . . . . .

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์

สำนักสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

E-mail: [email protected]

รสชงพร โกมลเสวิน รองศาสตราจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรง

จูงใจในการเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ศึกษารูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง

ท้องถิ่นและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารที่ส่งผลต่อการทำงานของนักการเมืองท้องถิ่น โดยทำการ

สัมภาษณ์เจาะลึกนักการเมืองท้องถิ่นใน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัด

นครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัด

สุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง และจังหวัดระนอง พร้อมทั้งสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ

พฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้ทำการ

สัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้านซึ่งผลการวิจัยปรากฏ 3 รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่

(ก) การสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับชาวบ้าน (ข) การสื่อสารโดยผ่าน

ช่องทางการสื่อสารต่างๆ และ (ค) การประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนปัจจัยที่เป็น

แรงจูงใจในการเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยเรื่องงบประมาณ

รู

Page 2: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

42 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ประสิทธิผลของสื่อ ข้อดีและข้อเสียของสื่อ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนักการเมืองท้องถิ่น

ความเหมาะสมของเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน ความสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมหรือสภาพปัญหาของท้องถิ่นนั้น ความสอดคล้องกับวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ความสะดวก

และความพร้อมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ระดับการศึกษาของกลุ่มเป้าหมาย และการเป็น

สื่อที่สร้างความจดจำที่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ส่วนอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ อุปสรรคที่เกี่ยวกับผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร

คำสำคัญ: รูปแบบการสื่อสาร นักการเมืองท้องถิ่น ประสิทธิผลของสื่อ ข้อดีและข้อเสียของสื่อ

Abstract

This research investigates the forms of communication by local politicians, and the

factors influencing their selection of specific forms of communication. In addition, this

research also examines their problems of communication. In-depth interviews, focus-

group interviews and non-participation observation over a period of three weeks were

utilized in this research. The sample consisted of ten local politicians and local people

in ten provinces in southern Thailand, namely, Songkhla, Nakorn Sri Thammarat,

Phuket, Trung, Satuun, Kabi, Phungya, Suratthani, Ranong, and Pattalung. The results

indicate that three forms of communication are used by the politicians: face-to-face

interaction with villagers, communication via various media, and communication in

formal and non-formal meetings. The results also indicate that the local politicians

strongly considered the factor of budget, media efficiency, strengths and weaknesses

of the medium, the appropriateness of the form of communication relative to their

objectives, the degree to which the message met the needs of local people, the

appropriateness of the means of communication to the situation of problems in the

locality, the appropriateness of the means of communication in terms of local customs

and cultures, and the convenience of using the means of communication, the

capability of the president of the tambon administrative organization, the level of

education of the target group, and the ability of the means of communication to make

a lasting impression on local people. The obstacles arising in communication were

those concerning the communicator, the message, the channel of communication, and

the recipient of communication.

Keywords: Communication Forms, Local Politicians, Media Efficiency, Media Strengths

and Weaknesses

Page 3: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

43วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

มนุษย์เป็น “สัตว์การเมือง” และเป็นสิ่งมีชีวิต

เดียวที่มีความสามารถทางภาษา อริสโตเติล กล่าว

ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการเมือง ใน

หนังสือเรื่อง Politics and the Art of Rhetoric

การสื่อสารถือว่าเป็นศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะ

ทางการเมืองที่จำเป็นต้องใช้การสื่อสารเป็นสื่อใน

การถ่ายทอดนโยบายจากรัฐไปสู่ประชาชน และ

นักการเมืองจำเป็นต้องเป็นนักพูดที่ดี สามารถ

โน้มน้าวใจผู้ฟังให้ตัดสินใจเลือกตนเอง การเมือง

เป็นศาสตร์ที่เน้นเรื่องการสื่อสารโดยเฉพาะการ

สื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่

จะแยกการเมืองกับการสื่อสารออกจากกัน เสถียร

เชยประทับ (2540: 6) กล่าวว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างในทางการเมือง คือ การสื่อสาร

และหน้าที่ที่กระทำทั้งหมดในระบบทางการเมือง

เช่น การกล่อมเกลาทางการเมือง (Polit ical

Socialization) การเลือกสรรบุคคลทางการเมือง

(Political Recruitment) การรวมผลประโยชน์

(Interest Aggregation) การแสดงผลประโยชน์

ชัดเจน (Interest Articulation) การวางกฎ (Rule-

Making) การใช้กฎ (Rule-Application) ต้อง

กระทำโดยวิธีการสื่อสาร...ผู้นำกลุ่มผลประโยชน์

ผู้แทนราษฎร และผู้นำพรรคการเมืองทำหน้าที่แสดง

ผลประโยชน์และรวมผลประโยชน์ของตนโดยการ

สื่อสารความต้องการและข้อเสนอแนะด้านนโยบาย

นักการเมืองท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการ

พัฒนาชุมชน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ

อาชีพ สาธารณสุข และการเมือง ดังที่ชูศักดิ์ ชูช่วย

(2533: 52) ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้นำ

ชุมชนว่า “ผู้นำท้องถิ่นเป็นบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งที่

จะเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะผู้นำ

ท้องถิ่ น เป็นบุคคลที่ เ กี่ ยวข้องและใกล้ชิ ดกับ

ประชาชน จึงสามารถเข้าใจสภาพชุมชนได้อย่าง

แท้จริง มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนอย่างต่อ

เนื่อง” การสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นมีความสำคัญต่อ

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับ

ประชาชนในท้องถิ่นนั้น และแตกต่างกันไปตาม

บริบทต่างๆ อาทิ สภาพสังคม เศรษฐกิจ และ

วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป”

ดังนั้น ในงานวิจัยเรื่องนี้จึงศึกษาถึงรูปแบบ

การสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นไทยในภาคใต้ ซึ่งจะ

ศึกษารูปแบบการสื่อสารในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับ

สาร นอกจากนั้น ยังศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจใน

การเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

ไทย อาทิ สภาพท้องถิ่น ฐานะทางสังคม และ

เศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สุดท้ายศึกษา

ถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสื่อสารที่ส่งผลต่อการ

ทำงานด้านการเมืองและนักการเมืองท้องถิ่นไทย

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยคุณภาพที่ศึกษาโดยการ

สัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคลและกลุ่ม โดยมุ่งเน้นที่

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่นในภาคใต้

กับลูกบ้าน เนื่องจากคนใต้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด

กับนักการเมืองท้องถิ่นมากกว่าข้าราชการ และนิยม

คนพูดเก่งใช้สำนวนโวหารได้ดี และคิดว่าคนที่พูด

ได้ดีย่อมเป็นคนเก่งมีความรู้และความคิดเป็นระบบ

โดยมองว่าคนที่กล้าพูดในที่สาธารณะเป็นคน

กล้าหาญ คนใต้นิยมคนกล้าหาญมาก (สุธิวงศ์

พงศ์ไพบูลย์, 2542: 67 อ้างถึงใน ชื่นกมล ทิพยกุล,

2542: 45)

Page 4: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

44 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษารูปแบบของการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่นไทย

2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือก

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

3. เพื่อศึกษาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสาร

ต่อการทำงานด้านการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น

ขอบเขตของงานวิจัย

ข้อจำกัดในการศึกษารูปแบบการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ พื้นที่การศึกษาที่ศึกษา

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่นในเขต

ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดกระบี่

จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง

และจังหวัดระนอง

นิยามศัพท ์

นักการเมืองท้องถิ่น หมายถึง บุคคลที่เป็น

ตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นในการทำงาน

ประสานกับหน่วยงานของรัฐบาลกับประชาชนเพื่อ

ผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ในงาน

วิจัยเรื่องนี้ นักการเมืองท้องถิ่น ก็คือ นายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

รูปแบบการสื่อสาร หมายถึง วิธีการพูดคุย

แลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นระหว่างนายก

องค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชนในท้องถิ่น

นั้น ซึ่งรวมถึงการสื่อสารแบบเป็นทางการ เช่น การ

ประชุมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การประชุมกับหน่วย

งานราชการ เป็นต้น และไม่เป็นทางการ เช่น การ

ประชุมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอย่างไม่เป็นทางการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. พัฒนารูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง

ท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับชุมชน

2. แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเลือก

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

3. กระตุ้นให้เกิดการศึกษารูปแบบการสื่อสาร

ของนักการเมืองไทยในระดับชาติต่อไป

ระเบียบวิธีการวิจัย

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ

เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกรูปแบบ

การสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น รูปแบบ

การสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น และอุปสรรค

ที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารที่มีผลต่อการทำงานของ

นักการเมืองท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา

1. แหล่งข้อมูลประเภทบุคคล

แหล่งข้อมูลประเภทบุคคล เป็นแหล่งข้อมูลที่

ใช้เพื่อตอบคำถาม เกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ

ที่นำไปสู่การเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการ

เมืองท้องถิ่น และเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบการสื่อสาร

ของนักการเมืองท้องถิ่น รวมไปถึงแหล่งข้อมูลเพื่อ

ให้ทราบถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารที่ส่งผล

ต่อการทำงานด้านการเมืองของนักการเมือง

ท้องถิ่น

บุคคลที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น

ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยเลือกนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลเป็นกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากเป็น

บุคคลที่มีบทบาททางการเมืองท้องถิ่นอย่างสูงใน

บริเวณภาคใต้จำนวน 10 จังหวัด เนื่องจากเป็น

Page 5: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

45วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ประชากรในการวิจัยนี้ โดยตรง นอกเหนือจาก

นักการเมืองท้องถิ่นตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว

ประชากรท้องถิ่นยังเป็นแหล่งข้อมูลประเภทบุคคลที่

ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบซ้ำว่าข้อมูลที่ได้รับ

จากการสัมภาษณ์ผู้นำท้องถิ่นนั้นมีความถูกต้อง

ตรงกัน

2. แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร

เป็นการศึกษาจากหนังสือ วารสาร บทความ

ทฤษฎี แนวความคิด บทความวิจัยต่างๆ วิทยานิพนธ์

ตลอดจนสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ในงานวิจัยเรื่องนี้ ปรากฏกลุ่มตัวอย่างมีอยู่

สองกลุ่ม กล่าวคือ

1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นชาย

จำนวน 8 คน และเป็นหญิงจำนวน 7 คน จาก 10

จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรี-

ธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล

จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดพัทลุง และจังหวัดระนอง โดยใช้วิธีการสุ่ม

ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2. ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

(Purposive Sampling) ประชาชนในท้องถิ่นนั้น

จำนวน 10 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 5 คน

จากแต่ละชุมชนเพื่อสัมภาษณ์การรับรู้ข่าวสารที่ได้

จากผู้นำท้องถิ่นของชุมชนนั้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษารูปแบบ

การสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น มีดังต่อไปนี้

1. วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth

Interview) ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักการ

เมืองท้องถิ่นจำนวน 15 คน (นายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบลชายจำนวน 8 คน และเป็นหญิงจำนวน

7 คน) ผู้เก็บข้อมูลจัดเตรียมคำถามต่างๆ ไว้ล่วงหน้า

โดยถามแบบคำถามเปิด (Open Questions) เพื่อ

เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้แสดงความคิดเห็นได้

อย่างอิสระ โดยมีแนวคำถามในประเด็นต่างๆ ดังนี้

• คำถามทั่วไป อาทิ เพศ วัย การศึกษา

สถานภาพการสมรส ประวัติการทำงาน

และอื่นๆ

• รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

• ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกรูปแบบ

การสื่อสาร และ

• อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสาร ที่ส่งผล

ต่อการทำงานด้านการเมืองของนักการ

เมืองท้องถิ่น

2. วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group

Interview) ผู้วิจัยจะทำการสัมภาษณ์กลุ่ม โดยจะ

ทำการสัมภาษณ์กลุ่มต่อประชาชนท้องถิ่นจำนวน

10 ท้องถิ่น สถานที่ละ 2 กลุ่ม จำนวน 20 กลุ่ม

กลุ่มละ 5-7 คน โดยมีประเด็นต่างๆ ดังนี้

• คำถามทั่วไป อาทิ เพศ วัย การศึกษา

สถานภาพสมรส ประวัติการทำงาน และ

อื่นๆ

• รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองใน

ท้องถิ่นนั้น

• ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการรับรู้

ของตน หรือประชาชนในท้องถิ่นนั้นต่อ

การสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

Page 6: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

46 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

3. วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม

(Non-Participation Observation) ผู้วิจัยจะใช้

วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นวิธีเสริมเพื่อ

ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึก

และการสัมภาษณ์กลุ่มนั้น ส่งผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

อย่างไรบ้างต่อท้องถิ่นและประชาชนในแต่ละท้องถิ่น

เป็นเวลา 3 สัปดาห์

การทดสอบแบบสัมภาษณ์

ก่อนที่จะนำแบบสอบถามไปใช้ในการเก็บ

รวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างไป

หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

และความน่าเชื่อถือของแบบสัมภาษณ์โดยมีขั้นตอน

ดังนี้

1. การทดสอบความเที่ยงตรง (Validity)

การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยใช้วิธีการ

สังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์

กลุ่มของประชาชนท้องถิ่นนั้นเป็นวิธีในการตรวจ

สอบความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์

ส่วนคำถามของการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การตรวจ

สอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity)

กับผู้เชี่ยวชาญ

2. การทดสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability)

ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบแบบสัมภาษณ์ก่อนนำไปใช้

จริง (Pre-Test) โดยการนำแบบสัมภาษณ์ทั้งหมด

ไปทดสอบกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชาย

จำนวน 1 คนและหญิงจำนวน 1 คนซึ่งไม่ใช่กลุ่ม

ตัวอย่างที่จะศึกษาเพื่อทดสอบความเข้าใจในคำถาม

ว่าตรงกับความหมายและเนื้อหาที่ผู้วิจัยตั้งใจไว้หรือ

ไม่และทดสอบภาษาที่ใช้ในแบบสัมภาษณ์ว่าผู้ตอบ

มีปัญหาในการตอบหรือไม่อย่างไรและจะนำผลของ

การทดสอบเนื้อหาไปปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม

ต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษารูปแบบการสื่อสารของนักการ

เมืองท้องถิ่นจะวิเคราะห์โดยการนำข้อมูลต่างๆ

ต่อไปนี้จัดไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน ข้อมูลต่างๆ เหล่า

นั้น มีดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกรูปแบบ

การสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

2. รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

3. อุปสรรคในการสื่อสารที่ส่งผลต่อการ

ปฏิบัติงานทางด้านการเมืองของนักการเมือง

ผู้วิจัยได้พิจารณาว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น อยู่

หมวดหมู่เดียวกันหรือไม่เมื่อได้ทำการแยกประเภท

ของข้อมูลจนหมดสิ้นแล้วก็จะนำชุดของข้อมูลใน

แต่ละประเภทมาพิจารณาเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบ

แนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)

กรอบแนวคิดการวิจัย

แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารกับการเมือง

(Political Communication) คุณลักษณะผู้นำชุมชน

(Community Leadership) การสื่อสารแบบสอง

จังหวะ (Two – Step Flow Model) และงานวิจัย

ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาอธิบายปัจจัยต่างๆ เช่น

เพศ อายุ การศึกษา และลักษณะของผู้นำชุมชน

มีผลอย่างไรต่อการเลือกรูปแบบการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่น รวมไปถึงปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ

ในการเลือกรูปแบบของการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่น

Page 7: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

47วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

หน่วยที่ใช้ในการวิเคราะห์

ในการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสารของนักการ

เมืองท้องถิ่นนี้ ผู้วิจัยได้ใช้หน่วยในการวิเคราะห์

ดังนี้

1. นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 15 ท่าน จาก

10 ท้องถิ่นซึ่งจำแนกเป็นผู้นำท้องถิ่นเพศหญิง 8

คนและเพศชาย 7 คน

2. ประชาชนท้องถิ่นจำนวน 100-150 ท่าน

จาก 10 ท้องถิ่นโดยเป็นท้องถิ่นเดียวกับนักการเมือง

ท้องถิ่น 20 ท่าน ข้างต้น

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยขอนำเสนอผลการวิจัยใน 5 ประเด็น

กล่าวคือ (ก) ข้อมูลทั่วไปของนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบล (ข) ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบของการ

สื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น (ค) รูปแบบการ

สื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น (ง) อุปสรรคที่ส่งผล

ต่อการเลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง

ท้องถิ่น และ (จ) ผลจากการสังเกตการณ์อย่างไม่มี

ส่วนร่วม

(ก) ข้อมูลทั่วไปของนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบล

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ (N

= 12) มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและมีวุฒิการศึกษา (N =

7) มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์

การทำงานทางด้านการเมืองท้องถิ่นมาก่อนที่จะได้

รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

เช่น ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วน

ตำบล ประธานกลุ่มพัฒนาสตรี ประธานลูกเสือ

ชาวบ้าน ประธานแม่บ้าน อดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

เป็นต้น

(ข) ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกรูปแบบ

การสื่อสาร

จากการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วน

ตำบลเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือก

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า

ปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้มีอิทธิพลมากต่อการพิจารณา

เลือกรูปแบบการสื่อสารเป็นอย่างมาก ได้แก่

1. ปัจจัยเรื่องงบประมาณโดยนักการเมือง

ท้องถิ่นให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องงบประมาณว่า

มีความเหมาะสมหรือไม่กับรูปแบบการสื่อสารที่

นักการเมืองท้องถิ่นใช้ ถ้ามีงบประมาณน้อยก็ส่งผล

ต่อการเลือกรูปแบบการสื่อสาร ดังตัวอย่าง นักการ

เมืองท้องถิ่นมีงบประมาณมาก ก็เลือกการออก

วารสารประจำเดือนที่เผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ของ

องค์การบริหารส่วนตำบล

2. ปัจจัยด้านประสิทธิผลของสื่อ เป็นอีกปัจจัย

หนึ่งที่นักการเมืองท้องถิ่นพิจารณาถึงประโยชน์ที่

นักการเมืองท้องถิ่นจะได้รับจากการเลือกใช้สื่อ

ต่างๆ เช่น การเลือกใช้วารสารในการบอกกล่าวถึง

กิจกรรมทั้ งหมดในแต่ละปีและวิสัยทัศน์ของ

เพศ รูปแบบการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

อายุ

การศึกษา

ผู้นำชุมชน

ประสบการณ์ทางการเมือง อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการสื่อสาร

➡ ➡

Page 8: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

48 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

นักการเมืองท้องถิ่น

3. ปัจจัยด้านข้อดีข้อเสียของสื่อ นักการเมือง

ท้องถิ่นได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของสื่อแต่ละ

สื่อทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เช่น เสียงตามสาย นักการเมืองท้องถิ่นบางแห่งใช้

สื่อหลายอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เลือกใช้

วารสารเพื่อบอกกล่าวถึงกิจกรรมในแต่ละปีและ

เลือกใช้เสียงตามสายเพื่อประกาศข่าวทั่วๆ ไปและ

ข่าวเร่งด่วนให้ชาวบ้านรับทราบ หรือการบอกกล่าว

โดยผ่านผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำที่ไม่เป็นทางการ

4. ปัจจัยด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นักการเมือง

ท้องถิ่นมีความเห็นว่าเนื้อหาที่เสนอตามสื่อต่างๆ ไม่

ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือเสียงตามสายต้องมีความ

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนักการเมืองท้องถิ่น

5. ปัจจัยด้านความเหมาะสมกับเนื้อหามาก

ที่สุด สำหรับเนื้อหาของข่าวที่เร่งด่วน นายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลนิยมเลือกใช้เสียงตามสาย เช่น

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา จังหวัด

สตูล เลือกใช้หอกระจายข่าวและเสียงตามสายใน

การส่งข่าวไปยังชาวบ้าน หรือการส่งข่าวผ่านผู้นำที่

เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

6. ปัจจัยด้านความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

ของท้องถิ่น ข่าวสารต่างๆ มักสอดคล้องกับสภาพ

ปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น เช่น ปัญหาเรื่อง

น้ำประปา ไฟฟ้า การเดินทาง เป็นต้น รวมทั้ง

วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

7. ปัจจัยด้านความสอดคล้องกับวัฒนธรรม

ของท้องถิ่นนั้น (เช่น สังคมพุทธ สังคมมุสลิม)

ประชากรในท้องถิ่นบางแห่งนับถือศาสนาพุทธและ

ศาสนามุสลิม การส่งข่าวสารจะต้องพิจารณาถึง

ศาสนาและความเชื่อของคนในสังคม เช่น สังคม

มุสลิมไม่นิยมการแสดงมหรสพ ดังนั้น การส่งข่าว

อาจส่งข่าวผ่านผู้นำมุสลิมที่เป็นที่นับถือในสังคมนั้น

หรือการส่งข่าวโดยผ่านเสียงตามสาย เป็นต้น

8. ปัจจัยด้านความสะดวกและความพร้อม

ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเรื่องของ

เวลาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ถ้าเวลา

น้อยจะเลือกใช้เสียงตามสายหรือพูดคุยทางโทรศัพท์

มือถือ

9. ปั จจั ยด้ านระดั บการศึ กษาของกลุ่ ม

เป้าหมาย เป็นปัจจัยที่นายกองค์การบริหารส่วน

ตำบลพิจารณาให้ความสำคัญโดยพยายามส่งเสริม

ให้เด็กมีโอกาสในการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น

10. ปัจจัยด้านการเป็นสื่อที่สร้างความจดจำ

ที่ดีแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง

ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความสำคัญต่อ

การสร้างความจดจำที่ดีแก่ประชาชน เช่น การจัด

ทำวารสารประจำปีซึ่งแจกจ่ายไปยังประชาชนใน

ท้องถิ่นโดยตีพิมพ์ สี่สี สวยงาม และรวบรวม

กิจกรรมทั้งหมดในแต่ละปี

สรุป ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการพิจารณา

เลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

อยู่ ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้าน

งบประมาณ ด้านประสิทธิผลของสื่อ ด้านข้อดี

ข้อเสียของสื่อ ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านความ

เหมาะสมของเนื้อหา ด้านความสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมของท้องถิ่น ด้านความสอดคล้องกับ

วัฒนธรรมของท้องถิ่น ด้านความสะดวกและความ

พร้อมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และด้าน

การเป็นสื่อที่สร้างความจดจำที่ดีแก่ประชาชนใน

ท้องถิ่น

Page 9: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

49วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

(ค) รูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง

ท้องถิ่น

จากการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วน

ตำบลและสัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้านใน 10 จังหวัด

ภาคใต้ สรุปรูปแบบของการสื่อสารได้ เป็น 3

ประเภท คือ (ก) การสื่อสารแบบการพูดคุยโดยตรง

(Face to Face Communication) (ข) การสื่อสาร

มวลชน (Mass Communication) และ (ค) การ

ประชุมอย่างเป็นทางการและไม่ เป็นทางการ

(Formal and Informal Communication) ดัง

ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดของรูปแบบการสื่อสาร

ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดของรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

รูปแบบการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร

1. การสื่อสารแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล 1. การพูดคุยเป็นการส่วนตัวแบบพูดคุยกันโดยตรงระหว่าง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร

2. การอภิปรายอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน

ผู้ใหญ่บ้าน

3. การพูดคุย ซุบซิบ การพูดต่อๆ กันเวลาที่ชาวบ้านพบปะกัน

4. การพูดคุยกับชาวบ้านเวลาทีี่ไปประกอบพิธีทางศาสนา เช่น

ตามโบสถ์ ตามวัด ตามมัสยิด

5. การสาธิตภาคสนาม เช่น การผสมปุ๋ย

2. การสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสาร 1. หอกระจายข่าว

2. เสียงตามสาย และวิทยุชุมชน

3. รถกระจายเสียงตามหมู่บ้าน

4. บอร์ดประชาสัมพันธ์

5. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร แผ่นพับ ใบปลิว

6. การแสดงต่างๆ เช่น การแสดงโนรา หนังตะลุง เป็นต้น

3. การประชุมอย่างเป็นทางการ 1. การประชุมผู้นำอย่างเป็นทางการ เช่น การประชุมกับ

ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. การประชุมกับหน่วยงานราชการ เช่น การประชุมกับ

สหกรณ์จังหวัด

3. ศูนย์การเรียนรู้ หรือ ศูนย์ท้องถิ่นในหมู่บ้าน

-- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ 1. การประชุมผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ

2. การจัดทัศนศึกษานอกสถานที่ เช่น การจัดทัศนศึกษากลุ่ม

เกษตรกร หรือ กลุ่มแม่บ้าน

Page 10: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

50 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

(ง) อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่น

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารอันเป็นผล

จากการทำงานด้านการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น

ซึ่งพิจารณาถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบ

ของการสื่อสาร ปรากฏรายละเอียด ดังนี้

1. ผู้ส่งสาร (Sender) ได้แก่ นายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากชาวบ้าน

ในท้องถิ่นต้องเข้าใจในสภาพปัญหาในท้องถิ่นและ

ความต้องการของชาวบ้านโดยการจัดองค์การ

บริหารส่วนตำบล (อบต.) สัญจรประจำเดือน

เป็นการออกไปพบปะชาวบ้านและเป็นการสร้าง

ความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน

2. เนื้อหาของข่าวสาร (Message) หมายถึง

ความชัดเจนของเนื้อหาที่สื่อสารไปยังชาวบ้านใน

ท้องถิ่น ปรากฏว่า มีชาวบ้านเป็นส่วนน้อยไม่เข้าใจ

ในเนื้อสาระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนโยบายของรัฐบาล

แต่ชาวบ้านมีความเข้าใจมากขึ้นจากการพบปะกับ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการส่วนตัว เช่น

งานแต่งงาน งานบวช งานศพ และในช่วงเวลาของ

องค์การบริหารส่วนตำบลสัญจรประจำเดือน

เป็นต้น

3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) เมื่อ

พิจารณาถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้สื่อให้มี

ความเหมาะสม ปรากฏว่า อุปสรรคที่เกิดขึ้นจาก

ปัญหาดังกล่าวมีน้อย เนื่องจากนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลมีความเข้าใจในคุณลักษณะของ

ประชาชนในท้องถิ่นนั้นและช่องทางการสื่อสารที่จะ

สื่อสารกับชาวบ้านก็เป็นวิธีเก่าที่ได้นิยมปฏิบัติกันมา

ในท้องถิ่นนั้น เช่น การพูดคุยในงานต่างๆ การ

สื่อสารผ่านหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน และผ่าน

สื่อแผ่นพับและใบปลิว เป็นต้น

4. ผู้รับสาร (Receiver) ได้แก่ ประชาชนใน

ท้องถิ่น ในประเด็นของระดับการศึกษา ความไว้

วางใจ ทัศนคติ และความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้รับ

ปรากฏว่าชาวบ้านได้ให้ความไว้วางใจนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลเนื่องจากได้รับการเลือกตั้งอย่าง

ชอบธรรมจากความไว้วางใจของชาวบ้าน ส่วน

ประเด็นในเรื่องการศึกษามีผลต่ออุปสรรคในการ

สื่อสารเล็กน้อย เนื่องจากชาวบ้านบางคนไม่

สามารถรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์แต่สามารถ

รับข้อมูลจากช่องทางอื่นได้ เช่น หอกระจายข่าว

เสียงตามสาย เป็นต้น

สรุป อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากผู้ส่งสาร เนื้อหา

สาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร ตาม

กระบวนการสื่อสารไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน

ของนักการเมืองท้องถิ่นเนื่องจากนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลได้ตระหนักถึงการสร้างผลงาน

เป็นที่ประจักษ์และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายก

องค์การบริหารส่วนตำบลกับชาวบ้านซึ่งเป็นคะแนน

เสียงของตน ถ้านายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มี

ผลงานเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านหรือมีความ

สัมพันธ์ที่ ไม่ดีก็อาจไม่ได้รับเลือกตั้ งเป็นนายก

องค์การบริหารส่วนตำบลในสมัยหน้า

(จ) การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม

ผลของการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม

เป็นเวลา 3 สัปดาห์เพื่อศึกษาการทำงานและการ

สื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งสรุป

ได้ดังนี้

รูปแบบการสื่อสารของนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบลมีความสอดคล้องกับการรับรู้ ของ

ชาวบ้าน กล่าวคือ การสื่อสารผ่านหอกระจายข่าว

วิทยุชุมชน ประกาศ แผ่นพับ การประชุมอย่างเป็น

Page 11: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

51วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ทางการ (การประชุมหมู่บ้าน) การสื่อสารผ่านการ

พูดคุยระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับ

ชาวบ้านและการบอกต่อๆ กันเวลามีกิจกรรมทาง

สังคม เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานบวช การเข้า

มัสยิด เป็นต้น รูปแบบ “อบต.สัญจร” เป็นกิจกรรม

ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

ระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับชาวบ้าน

โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถรับรู้

ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน นอกเหนือจาก

การประชาคมหมู่บ้าน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการ

สื่อสารทางเดียวเกิดขึ้น (One-Way Communica-

tion) และการได้รับข่าวสารบางครั้งไม่ครบถ้วนใน

บางตำบลโดยมีผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจของ

พวกพ้องมาเกี่ยวข้องกับโครงการของท้องถิ่น

สรุปและอภิปรายผล

รูปแบบการสื่อสารของนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบลสามารถสรุปเป็น 3 รูปแบบ กล่าวคือ

(ก) การสื่อสารแบบพูดคุยกันโดยตรง (ข) การ

สื่อสารมวลชน และ (ค) การประชุมอย่างเป็น

ทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการ

เลือกรูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

ได้แก่ ปัจจัยด้านงบประมาณ ด้านประสิทธิผลของ

สื่อ ด้านข้อดีข้อเสียของสื่อ ด้านความสอดคล้องกับ

วัตถุประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ด้านความเหมาะสมของเนื้อหา ด้านความ

สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ด้านความ

สอดคล้องกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น ด้านความ

สะดวกและความพร้อมของนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบลและด้านการเป็นสื่อที่สร้างความจดจำที่ดี

แก่ประชาชนในท้องถิ่น การสื่อสารและผลงานเป็น

ที่ประจักษ์มีความสำคัญสำหรับนักการเมืองระดับ

ชาติและท้องถิ่น เนื่องจากกิจกรรมการเมืองมีความ

เกี่ยวพันต่อความเป็นอยู่ของประชาชน การที่ผู้นำ

ท้องถิ่นรับนโยบายจากหน่วยงานราชการแล้วนำไป

เผยแพร่แก่ประชาชนในท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ

เช่น การจัด อบต. สัญจรและการเผยแพร่ข่าวสาร

โดยผ่านหอกระจายข่าว เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ

แนวคิดการไหลของข่าวสารแบบ 2 จังหวะ

นอกจากนั้น การศึกษาพบว่า นักการเมืองท้องถิ่นได้

ใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลในการติดต่อสื่อสารกับ

ประชาชนในท้องถิ่นนั้นซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย

ของ Katz and Lazarsfeld (1955: 57) ที่ทำการ

ศึกษารูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interper-

sonal Communication) หรือการสื่อสารแบบ

เผชิญหน้า (Face-to-Face Communication) กับ

นักการเมืองท้องถิ่น

ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาถึงรูปแบบการสื่อสารของ

นักการเมืองท้องถิ่นในเขตภาคใต้และปัจจัยที่ส่งผล

ต่อการเลือกรูปแบบการสื่อสารและอุปสรรคที่ส่งผล

ต่อการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น งานวิจัยเรื่อง

นี้เป็นงานวิจัยคุณภาพ (Quantitative Research)

ซึ่ ง ใช้ วิ ธี การสัมภาษณ์กลุ่ มตั วอย่ างและการ

สังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม ในส่วนนี้ผู้วิจัยใคร่

ขอเสนอแนะ ดังนี้

ข้อเสนอแนะต่อวงการศึกษา

1. ควรมีการศึกษารูปแบบการสื่อสารในระดับ

ที่สูงกว่าระดับท้องถิ่นซึ่งจะทำให้เห็นการสื่อสารใน

เชิงมหภาค

2. ควรมีการศึกษาความต้องการของชาวบ้าน

ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อสนองตอบความต้องการของ

คนในท้องถิ่น

Page 12: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

รูปแบบการสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่น

52 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

ข้อเสนอแนะต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

1. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรให้ความ

สำคัญต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็น

หลักในการกำหนดนโยบายหรือการพัฒนาท้องถิ่น

ต่อไปซึ่งเป็นการสื่อสารแบบล่างขึ้นบน (Bottom-

Up)

2. หน่วยงานราชการควรให้มีการทำประชาคม

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านและผู้นำ

ท้องถิ่นก่อนการออกนโยบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการสื่อสารของนัก

การเมืองท้องถิ่น” ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจาก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี

2547

เอกสารอ้างอิง

แก้วตา ชัยมะโน. 2542. “รูปแบบการสื่อสารเพื่อ

การบริหารองค์การสวัสดิการสังคม: ศึกษา

เฉพาะกรณีกรมคุมประพฤติ กระทรวง

ยุติธรรม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคม

สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต การบริหาร

และนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

ชื่นกมล ทิพยกุล. 2542. “รูปแบบการสื่อสารในสภา

กาแฟของประชาชนในจังหวัดตรัง.” วิทยา

นิพนธ์ปริญญานิ เทศศาสตรมหาบัณฑิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศักดิ์ ชูช่วย. 2533. “บทบาทของผู้นำท้องถิ่นใน

การพัฒนาชุมชน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหา

บัณฑิต ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาลชนิด วรวงศ์. 2545. “การมีส่วนร่วมของสมาชิก

องค์การบริหารส่วนตำบลหญิงในการพัฒนา

ท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล

ในเขตจังหวัดชลบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

นโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสถียร เชยประดับ. 2540. การสื่อสารกับการเมือง.

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Everett, Roger M. 1995. Diffusion and

Innovations. 3rd ed. New York:

Macmillan.

Katz, E., and Lazarsfeld, P.F. 1955. Personal

Influence: The Part Played by People

in the Flow of Mass Communication.

Glencoe, IL: Free Press.

Page 13: ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม ...utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/อรอนงค์...และความพร อมของนายกองค

ผศ.อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี รศ.รสชงพร โกมลเสวิน

53วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552

Asst. Prof. Dr. Oranong Swasburi received her doctoral degree in

Interpersonal Communication from the joint doctoral program between

Bangkok University and Ohio University. She is currently a senior lecturer

at the School of Informatics, Walailak University. She is also a guest

lecturer at Tongsuk College and College of Management, Mahidol University

Center. Her area of interest focuses on Interpersonal Communication,

Organizational Communication and Mass Communication.

Assoc. Prof. Dr. Rosechongporn Komolsevin received her doctoral

degree in Interpersonal Communication from Ohio University. She is

currently the head of the doctoral programs at Bangkok University. She is

also a guest lecturer at several universities.