ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ...

51

Upload: others

Post on 19-Sep-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ
Page 2: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

ค าน า

ด้วยส้านักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายให้จังหวัดจัดตั้ง “ศูนย์บันดาลไทย” ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลของส้านักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือในกรณีที่ไม่มีพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของส้านักงานวัฒนธรรมจังหวัด ให้จัดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ณ ส้านักงานวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเป็นแหล่งรวบรวมและเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากชุมชนคุณธรรม เพ่ือให้สอดคล้องกับการด้าเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศ ตามนโยบายประเทศไทย ๔.๐ ในมิติวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนโยบายส้าคัญของรัฐบาล การส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เชิงสร้างสรรค์เพ่ือสร้างมูลค่าเพ่ิมทางเศรษฐกิจและสังคม

“ศูนย์บันดาลไทย” (The Center of Thai Inspiration) เป็นศูนย์กลางในการสร้างแรงบันดาลใจในการน้า “เสน่ห์ไทย” จากทุนวัฒนธรรมในถิ่นต่างๆ มาเพ่ิมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ภารกิจของศูนย์บันดาลไทย คือ การรวบรวม สังเคราะห์ และบริหารทุนวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่อย่างมหาศาลให้ออกมาเป็น “เสน่ห์ไทย” ที่สามารถน้ามาใช้อย่างร่วมสมัย ท้าหน้าที่เป็นหน่วยงานต้นน้้า ส่งต่อแรงบันดาลใจไปยังหน่วยงานกลางน้้า เพ่ือให้น้าไปใช้ขยายผลให้แก่ปลายน้้า ซึ่งหมายถึงผู้ประกอบการหลากหลายระดับ ตั้งแต่อุตสาหกรรม การผลิตและบริการ จนถึงวิสาหกิจชุมชน ให้มีความเข้าใจในการใช้เสน่ห์ไทยสร้างสรรค์และผลิตงานที่มีมูลค่าเพ่ิม

Page 3: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

ส้านักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้ด้าเนินการส้ารวจและรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากชุมชนคุณธรรม น้ามาจัดท้าเป็นข้อมูลพ้ืนฐานเพ่ือให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากชุมชนคุณธรรม แต่ละชุมชนเพ่ือเป็นข้อมูลในการน้าไปพัฒนาต่อยอดต่อไป

กลุ่มส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ส้านักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

Page 4: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

สารบัญ เรื่อง หน้า ผ้าปักมือลายชนเผ่าอาข่า “ล้านปัน” ๑ ผ้าทอไทลื้อหาดบ้าย ๒ กระเป๋าหมวกถักโครเชต์ ๓ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย ๔ ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านป่าซางงาม ๕ ผ้าปักลายอ้ิวเมี่ยน ๖ ผ้าปักลายอ้ิวเมี่ยน ๗ ผ้าไหมทอมือ ๘ กระเป๋าผ้าเขียนเทียน ๙ ผ้าถุงยกดอก (ผ้าทอไทลื้อ) ๑๐ ผ้าฝ้ายทอมัดหมี (ยางฮอมรักษ์ฝ้ายไทย) ๑๑ ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ๑๒ ผ้าไหมทอมือ ๑๓ ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน ๑๔ ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า (ผ้าเช็ดเท้า) ๑๕ ผ้ารองเขียง และพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า ๑๖ ตุงผ้าทอ ๑๗ สร้อยมงคลไผ่สีทอง ๑๘ สร้อยข้อมือเชือกร้อยลูกปัด ๑๙ งานประดิษฐ์ใบตอง ๒๐ เครื่องเคลือบดินเผา เวียงกาหลง ๒๑ ดอกไม้ใยบวบ ๒๒ ขลุ่ยไม้ ๒๓ ชาเขียว ๒๔

Page 5: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

สารบัญ เรื่อง หน้า ข้าวแต๋น ๒๕ ข้าวไข่เจียว ๙ บาท ๒๖ น้้าพริกแกงส้าเร็จรูป ๒๗ แหนมหมู ๒๘ สมุนไพรลูกประคบ ๒๙ น้้าปู ๓๐ ชาอินทรีย์ดอยตุง ๓๑ สมุนไพรคือเวียงเก่า ๓๒ ชาสมุนไพร ๓ รส ๓๓ สบู่สมุนไพรดอยสันกู่ “สบู่น้้าผึ้ง-มะขาม” ๓๔ ข้าวไรซ์เบอรี่ ๓๕ เมี่ยง (จากใบชาอัสสัม) ๓๖ ข้าวปลอดสารพิษเพ่ือสุขภาพ ๓๗ จักสานตะกร้าพลาสติก ๓๘ เส้นสานพลาสติก ๓๙ จักสาน “ตุ้มปลาไหล/ตุ้มเอ่ียน” ๔๐ จักสานหวาย ๔๑ เตาอังโล้ ๔๒ ผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์ ๔๓ ไม้กวาดดอกหญ้า ๔๔ ประเพณีปอยส่างลอง ๔๕

Page 6: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑ ~

ข้อมูลผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมจากชุมชนคุณธรรม

จังหวัดเชียงราย

ผ้าปักมือลายชนเผ่าอาข่า “ล้านปัน” (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญทอง ปี ๒๕๕๘)

ศูนย์การเรียนรู้บ้านสันกอง เลขที่ ๑๐๙ หมู่ที่ ๒ ต าบลห้วยไร่ อ าเภอแม่จัน

จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๑๕๖๘-๙๓๘๕

ประวัติความเป็นมา ผ้าปักด้วยมือ เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือประณีตใช้ความอดทนสูง ใช้ระยะเวลาในการปักด้นด้วยมือท าให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่า เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนสูง มีความประณีต สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ลวดลายที่ใช้ปักลงบนผ้า ปักตามแบบลวดลายสมัยดั้งเดิมของชนเผ่าในพ้ืนที่ มีการปัก ๕ แบบ คือ ปักแบบไขว้ ปักแบบตารางหรือแบบตรง ปักแบบกากบาท ปักแบบสอดด้าย ปักแบบไขว้บนล่าง

Page 7: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒ ~

ผ้าทอไทลื้อหาดบ้าย (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญเงิน ปี ๒๕๕๙)

นางสุขาวดี ติยะธะ ศูนย์ทอผ้าไทลื้อบ้านหาดบ้าย เลขที่ ๓๑/๗ หมู่ ๑ ต าบลริมโขง อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘-๙๕๕๕-๗๖๔๔

ประวัติความเป็นมา เกิดจากภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ คือ ผ้าซิ่นของผู้หญิงไทยลื้อที่เรียกว่า “ซิ่นตา” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสี ตีนซิ่นสีด า ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่นซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิคขิด จก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา ลายเรขาคณิต เอกลักษณ์ท่ีส าคัญ คือการทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วง หรือที่รู้จักกันว่า “ลายน้ าไหล” ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ท าให้เกิดลวดลายและสีสันที่งดงามแปลกตา

Page 8: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓ ~

กระเป๋าหมวกถกัโครเชต์

นางติ๋ม สุ่มพ่วง บ้านป่าตาลประชาสันติ เลขที่ ๔๕ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลป่าตาล อ าเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ๕๗๓๔๐ โทรศัพท์ ๐๘-๗๖๖๑-๘๓๒๘

ประวัติความเป็นมา กระเป๋าถักหรือหมวกผลิตภัณฑ์ที่ท าจากด้าย เป็นภูมิปัญญาที่มีแต่ดั้งเดิมโดยแต่ก่อนใช้ไหมพรมถัก เป็นกระเป๋า เป็นหมวก ต่อมามกีลุม่แม่บ้าน การพัฒนาจากไหมพรม มาเป็นด้าย แทนไหมพรม ทั้งนี้เพ่ือเน้นความคงทน แข็งแรง และสวยงามตามสีสันลวดลายของพลาสติก สามารถท าเป็นของใช้ต่างๆที่ใช้ส าหรับครอบครัว เน้นประโยชน์ใช้สอย และอายุการใช้งานที่ยาวนาน

Page 9: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔ ~

ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญทองแดง ปี ๒๕๖๐)

กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย นางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด เลขที่ ๑๘๘ หมู่ที่ ๑๔ ต าบลศรีดอนชัย อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๔๐ โทรศัพท์ ๐-๕๓๑๙-๒๕๕๗ มือถือ ๐๘-๙๗๕๙-๙๔๙๖

ประวัติความเป็นมา ไทลื้อ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิล าเนาเดิมอยู่ในเขตสิบสองปันนา ชาวไทลื้อมี การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ผ้าซิ่นของผู้หญิงไทลื้อที่เรียกว่า “ซิ่นตา” ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่มี ๒ ตะเข็บมีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีด า ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่นซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิค ขิดจก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต เอกลักษณ์การทอผ้าที่ส าคัญของกลุ่มชนนี้ คือ การทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วง (Tapestry Weaving) หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า“ลายน้ าไหล” ซึ่งเป็นเทคนิคท่ีมีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ท าให้เกิดลวดลาย และสีสันที่งดงามแปลกตา และเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่น

Page 10: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๕ ~

ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านป่าซางงาม นางอุสนา ปวนทา บ้านป่าซางงาม หมู่ที่ ๒ ต าบลหนองป่าก่อ อ าเภอ ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๐๐ โทรศัพท์ ๐๘-๒๓๘๔-๓๗๗๒

ประวัติความเป็นมา ชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยสัก และ บ้านป่าซางงาม ต าบลหนองป่าก่อ อพยพมาจากอ าเภอลี้ จังหวัดล าพูน ความเชื่อในเรื่องทอผ้ามีมาตั้งแต่อดีตว่า ผู้หญิงทุกคนจะต้องทอผ้าเป็น ผู้สูงอายุจึงให้ความส าคัญต่อวัฒนธรรมการทอผ้า และถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่บุตรสาวที่มีอายุ ๑๒ – ๑๕ ปี โดยเริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความช านาญและสามารถออกแบบลวดลายได้ด้วยตนเอง ชาวกะเหรียงปลูกฝ้าย และย้อมด้ายด้วยสีธรรมชาติจากพันธุ์ไม้ เช่น เปลือกไม้สัก เปลือกปอแดง ขมิ้น ต้นคราม ผลมะเกลือ ผ้าที่ทอส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งห่ม และของใช้ มีการประดับลวดลายบนลายผ้า ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย เช่น เสื้อของหญิงที่แต่งงานแล้ว จะมี ๒ แบบ แบบที่ ๑ ทอลายทั้งตัว และแบบที่ ๒ ทอเป็นผ้าพื้นทั้งผืน มักจะมีพื้นสีด าหรือสีน้ าเงิน แล้วทอดอกหรือปักลวดลายด้วยด้ายหรือไหมพรมสีชมพูเข้มหรือสีแดงหรือใช้เม็ดเดือยหินปักระหว่างด้ายสีต่างๆ

Page 11: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๖ ~

ผ้าปักลายอิ้วเมี่ยน

นางสาวมานิตา กันทะวงค ์บ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๑๐ ต าบลโชคชัย อ าเภอดอยหลวง จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ ๕๗๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๑๑๘-๗๒๐๖

ประวัติความเป็นมา การปักผ้าของชาวอ้ิวเมี่ยนที่มีความเป็นอัตลักษณ์ และ เอกลักษณ์แตกต่างจากการปักผ้าของชาติพันธุ์อ่ืนๆ คือ การปักผ้าจากด้านหลังผ้าขึ้นมายังด้านหน้าของผ้า เมี่ยนจึงต้องจับผ้าให้ด้านหน้าคว่ าลง ลวดลายของผ้าจะปรากฏอยู่ด้านหลัง การปักผ้าจะปักคล้ายแบบครอสติส เป็นกากบาทไขว้ โดย ๑ กากบาทจะเรียกว่า ๑ ดอก ส่วนทิศทางการปักจะเริ่มจากการปักหลังขึ้นมาข้างหน้า (ด้านที่แสดงลายผ้า) พันกัน และมีการเก็บปมและซ่อนรอยต่อของเส้นด้าย อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยท าให้เกิดเป็นลักษณะพิเศษของผ้าปักเมี่ยน คือ มีความงามทั้งสองด้าน ไม่เหมือนกับการปักผ้าแบบอ่ืนๆที่ด้านหลังเส้นด้ายจะพันกัน และมีความสวยงามเพียงด้านหน้าด้านเดียว สีที่ใช้ในการปักผ้าของชาวอ้ิวเมี่ยน แต่เดิมจะมีอยู่ ๕ สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ าเงิน สีเขียว และ สีขาว แต่ในปัจจุบันชาวเมี่ยนมีการใช้สีในการปักผ้าเพิ่มมากขึ้น แล้วแต่ลวดลายที่ปัก

Page 12: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๗ ~

ผ้าปักลายอิ้วเมี่ยน (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญทอง ปี ๒๕๖๐)

มูลนิธิพัฒนาอิ้วเมี่ยนไทย นางสาวไหนควร แซ่ว่าง เลขที่ ๙๑ หมู่ ๑๐ ต าบลป่าตึง อ าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๖๒ ๙๖๔๐

ประวัติความเป็นมา ชนเผ่าอ้ิวเมี่ยนในอดีตอาศัยอยู่ในแผ่นดินจีน ได้รับหนังสืออนุญาตให้เดินทางย้ายถิ่นฐานอย่างถูกต้อง จึงมีการย้ายถิ่นฐานบ่อย ได้สัมผัสธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละถ่ินฐาน ชนเผ่าอ้ิวเมี่ยนจึงเก็บลวดลายทางธรรมชาติไว้ในรูปแบบลากปักบนผืนผ้าทอ ลายปักอ้ิวเมี่ยนแต่ละลวดลายจะมีชื่อเรียกเฉพาะ มีประวัติความเป็นมาที่เก่ียวเนื่องกับชาติกาเนิด การเดินทางย้ายถิ่นฐาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีต ทาให้ได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติอันงดงาม ที่บรรพบุรุษได้เก็บไว้ในรูปแบบของลายปักบนผืนผ้าทอ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

Page 13: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๘ ~

ผ้าไหมทอมือ

นางบัวสอน รักศิลป์ เลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๘ ต าบลสันมะค่า อ าเภอป่าแดด จงัหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘-๗๑๗๒-๑๘๔๑

ประวัติความเป็น กลุ่มสตรีทอผ้าไหมได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีนางบัวสอน รักศิลป์ เป็นผู้ก่อตั้งชาวบ้านวังศิลา หมู่ที่ ๘ ต าบลสันมะค่า อ าเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย เป็นชาวอีสาน ที่อพยพมาจากหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี นอกจากท านาแล้วยังท าอาชีพเสริม คือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหม การทอผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาตั้งแต่อดีตสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น จึงกลายเป็นอาชีพเสริมเพ่ิมรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังศิลา การออกแบบลวดลาย ใช้ในการทอคือลายประจ าจังหวัดชื่อ ลายสาเกตุ

Page 14: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๙ ~

กระเป๋าผ้าเขียนเทียน (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญเงิน ปี ๒๕๖๐)

กลุ่มผ้าเขียนเทียนชนเผ่าม้ง เลขที่ ๑๗๔ บ้านขุนห้วยแม่เปาใต้ หมู่ที่ ๑๗ ต าบลแม่เปา อ าเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๙๐ โทรศัพท์ ๐๙-๓๑๙๓-๖๖๒๗

ประวัติความเป็นมา ผ้าเขียนเทียน บ้านขุนห้วยแม่เปาใต้ ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนเผ่าม้งที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตและรากเหง้าของชนเผ่าม้งในการด ารงชีวิต ที่อาศัยภูมิปัญญาของตนเองโดยการคิดค้นลวดลายที่ใช้ขี้ผึ้งต้มให้ละลายแล้วใช้ไม้ไผ่ติดปลายด้วยโลหะมาจุ่มขี้ผึ้งจากนั้นน ามาเขียนลวดลายลงบนผืนผ้าใยกัญชงซึ่งอาศัยความช านาญของผู้เขียนโดยไม่ใช้ไม้บรรทัดวัดหรือตลับเมตรในการท าให้ลวดลายตรง แต่อาศัยความช านาญประมาณด้วยสายตนเอง ก่อนน าไปย้อมสีธรรมชาติสีครามจากต้นฮ่อมเป็นการย้อมเย็นตามกระบวนการขั้นตอนที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อๆกันมา เมื่อน าผ้าที่ย้อมเสร็จไปต้มให้เทียนละลายออกก็จะได้ลวดลายบนผืนผ้าที่งดงาม ละเอียดประณีต เป็นเอกลักษณ์ของชาวม้ง จึงเรียกว่า “ผ้าเขียนเทียน”

Page 15: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๐ ~

ผ้าถุงยกดอก (ผ้าทอไทลือ้)

กลุ่มทอผ้าบ้านท่าหล่ม บ้านเลขท่ี ๑๕๑ หมู่ที่ ๔ ต าบลทานตะวัน อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๘๐ โทรศัพท์ ๐๘-๙๔๓๐-๑๕๘๙

ประวัติความเป็นมา บ้านท่าหล่ม ต าบลทานตะวัน อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีการทอผ้าซึ่งเป็นหัตถกรรมในครอบครัว ได้มีการสืบทอดการทอผ้ามาจากจังหวัดล าพูน เนื่องจากประชากรบ้านท่าหล่มย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดล าพูน ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอยกดอกของกลุ่มทอผ้าบ้านท่าหล่ม คือการผลิตที่มีความแตกต่างเป็นการทอด้วยกี่พ้ืนเมือง ลวดลายการยกดอกของผ้าทอยังคงลวดลายดั้งเดิมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอยกดอกแบบล าพูนไว้ โดยไม่เอาเทคนิคลวดลายภาคอ่ืนมาผสมผสานท าให้มีความโดดเด่นไม่เหมือนผ้าทอของที่อ่ืน

Page 16: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๑ ~

ผ้าฝ้ายทอมัดหมี (ยางฮอมรักษ์ฝ้ายไทย)

ร้านฮอมฟ้า เลขที่ ๘๕ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลยางฮอม อ าเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ๕๗๓๔๐ โทรศัพท์ ๐๕๓-๖๐๖๓๔๑, ๐๘-๕๒๗๒-๗๖๕๒

ประวัติความเป็นมา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมัดหมี่ (ยางฮอมรักษ์ฝ้ายไทย ) จัดตั้งกลุ่มเมื่อ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ด าเนินการผลิตและจ าหน่ายผ้าฝ้ายทอมืออันเป็นผลผลิตของคนในท้องถิ่น มีชื่อเสียงในการทอผ้าลายน้ าไหลแบบโบราณมาก่อน โดยใช้เส้นฝ้าย ๑๐๐% ทอเป็นลวดลายต่างๆ และน ามาแปรรูปเป็นเสื้อผ้าส าหรับบุรุษ สตรี เน้นการออกแบบเพ่ือให้สวมใส่ได้ในทุกๆ โอกาส เพ่ิมการออกแบบลวดลายโบราณและลายประยุกต์สอดแทรกเข้าไปในลายภูมิปัญญาท้องถิ่นเพ่ือให้เกิดความสวยงามและความหลายหลากในลวดลายผ้า ประกอบกับคุณสมบัติของผ้าฝ้ายที่เวลาสวมใส่จะสามารถซับเหงื่อได้ดีท าให้ไม่ร้อน ดังนั้นเสื้อผ้าฝ้ายของทางกลุ่มจึงได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างมาก

Page 17: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๒ ~

ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ

นางสมหมาย ศิริ บ้านหนองบัวสรวย หมู่ที่ ๓ ต าบลศรีถ้อย อ าเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๘๐ โทรศัพท์ ๐๘-๙๙๕๒-๕๖๗๙

ประวัติความเป็นมา กลุ่มแม่บ้านซึ่งน าโดย นางสมหมาย ศิริ ได้มองเห็นประโยชน์หลากหลายของฝ้ายจึงได้มีการพัฒนาแปรรูปให้เป็นเสื้อ กางเกง ถุงย่าม และอ่ืน ๆ ที่เป็นของใช้ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง สามารถเล่าเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร ทั้งกระบวนการผลิตเส้นใยการปลูกพืชใช้สีการย้อมและการซักล้างอย่างเป็นระบบ ผลิตภัณฑ์ ได้รับรางวัล เช่น ได้ OTOP ระดับ ๔ ดาว และชนะเลิศที่ ๑ โครงการ “รากวัฒนธรรม” ของ ส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เปน็ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารเคมี แหล่งผลิต เป็นศูนย์การเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เป็นแหล่งให้ความรู้กับลูกค้า

Page 18: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๓ ~

ผ้าไหมทอมือ

นางสาวหทัยรัตน์ มูลสานต์ บ้านห้วยเคียน หมู่ที่ ๕ ต าบลทุ่งก่อ อ าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๑๐ โทรศัพท ์๐๘-๙๘๕๑-๖๖๗๘

ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าไหมทอมือ มีลักษณะเด่น เป็นงานหัตถกรรม ผ้าไหมแท้ทอมือที่มีรูปแบบสวยงามเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นผ้าทอที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าได้แก่ ผ้าสี่ตะกอ ผ้าสายฝน และผ้าขิต เป็นต้น กรรมวิธีการผลิตที่แสดงถึงภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่มีความช านาญ และการพัฒนา สร้างสรรค์ และปรับประยุกต์ ท าให้ผ้าไหมที่ทอแล้วมีความสวยงาม ละเอียดอ่อน ประณีต โดยกระบวนการผลิตนั้นจะใช้การท ามือทุกขั้นตอนเพราะจะท าให้สินค้ามีคุณภาพ มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น อยู่ตรงที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ผูกมัด และการเหลื่อมล้ าในต าแหน่งต่าง ๆ ของเส้นด้ายเมื่อถูกน าไปขึ้นกี่ ในขณะที่ทอลวดลาย สีสันอันวิจิตรได้มาจากความช านาญ ของการผูกมัดและย้อมหลายครั้งในสีที่แตกต่างซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

Page 19: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๔ ~

ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน

กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเชียงแสน วัดพระธาตุผาเงา บ้านสบค า หมู่ที่ ๕ ต าบลเวียง อ าเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘-๙๔๒๙-๐๗๓๒

ประวัติความเป็นมา ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ จัดตั้ง กลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุกโดยการสนับสนุนฝึกอบรมการทอผ้าจากส านักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๙ พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะอ าเภอเชียงแสนปัจจุบัน ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ท าให้ทราบว่าอดีตมีการทอผ้าลวดลายเชียงแสนมาแต่ดั้งเดิม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว ท่านจึงได้ก่อสร้าง “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน” ขึ้นในบริเวณ วัดพระธาตุผาเงา เพ่ือรวบรวมผ้าทอเชียงแสนและถ่ินใกล้เคียง จึงได้สืบแหล่งทอผ้าเชียงแสนพบว่ามีการทออยู่ที่จังหวัดราชบุรี จึงได้น าสมาชิกกลุ่มผ้าทอ เพ่ือไปศึกษาลายผ้าและน ามาเป็นตัวอย่าง และไปฝึกทอผ้าที่อ าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จึงท าให้เกิด “ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน” ขึ้น

Page 20: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๕ ~

ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า (ผ้าเช็ดเท้า)

นางบุญยวง จันทาพูน บ้านโปง เลขที่ ๒๓๙ หมู่ ๑ ต าบลทุ่งก่อ อ าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๙-๗๑๕๗-๗๕๖๑

ประวัติความเป็นมา เริ่มด าเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เริ่มจากการประชุมผู้น าชุมชน และกรรมการหมู่บ้านจึงได้รวบรวมสมาชิก กลุ่มสตรี แม่บ้านที่มีความสนใจในชุมชน โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนต าบลทุ่งก่อในเบื้องต้น และมีการพัฒนาต่อยอดถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า (ผ้าเช็ดเท้า) ท ามาจากเศษผ้าที่เหลือใช้ หรือจากโรงงานทอผ้าลดปัญหาขยะได ้

Page 21: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๖ ~

ผ้ารองเขียง และพรมเช็ดเท้าจากห่วงถงุเท้า

กลุ่มสัมมาชีพบ้านแม่เลียบ หมู่ที่ ๒ ต าบลโชคชัย อ าเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๑๘๕-๖๒๙๒

ประวัติความเป็นมา เป็นการน าเอาวัสดุเหลือใช้ คือ เศษถุงเท้าซึ่งไม่มีประโยชน์แล้ว น ามาสร้างมูลค่าโดยการน ามาท าเป็นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น ผ้ารองเขียง พรมเช็ดเท้า เปลญวน ซึ่งเศษถุงเท้าที่ใช้ในการประดิษฐ์มีลักษณ์ยืดหยุ่น เหนียว และมีความนุ่ม วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ และการท านั้นก็ไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยากอีกทั้งก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน

Page 22: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๗ ~

ตุงผ้าทอ

นางน้อย ปวนทา บ้านทุ่งห้าเหนือ เลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลสันสล ี อ าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ๑๕๑๗๐ โทรศัพท์ ๐๙-๔๒๒๘-๑๙๑๗

ประวัติความเป็นมา ตุงไชย (ตุงผ้าทอตัวช้าง) ชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุง เพ่ือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาลและเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยงานทั้งภาคราชการและเอกชนมักนิยมใช้ตุงประดับตามสถานที่จัดงานต่างๆ เพ่ือความสวยงาม หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนน าไปใช้แล้ว อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่างๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้เพี้ยนไปในที่สุด

Page 23: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๘ ~

สร้อยมงคลไผ่สทีอง

นายพิรุณ เขื่อนเพชร หมู่บ้านเด่น หมู่ที่ ๕ ต าบลนางแล อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๐๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๑๘๔-๑๘๖๔

ประวัติความเป็นมา เดิมทีนั้นได้น าแขนงไผ่สีสุกกึ่งแห้ง(ไม่แห้งเกินไป) มาลองท าเป็นสร้อยก่อน แต่เกิดเชื้อรา จึงน าไปอบกับโอ่งมังกร และบังเอิญได้ความคิดจากการค่ัวถั่ว จึงได้ทดลองท าโดยใช้ทรายคั่วแล้วน าวัสดุแขนงไผ่ลงคัวเพื่อให้แขนงไม้ไผ่แห้งแล้วน ามาผึ่งไว้จนเย็น จากนั้นก็น ามาร้อยเป็นสร้อยคอที่มีส่วนประกอบคือแขนงไผ่ - กะลา-ลูกหมาก-ประค าดีควาย-โลหะจากเงิน-ทอง เป็นต้น

Page 24: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๑๙ ~

สร้อยข้อมือเชือกร้อยลูกปัด

นางฟองเมฆ ใจศีลธรรม เลขที่ ๙๓ หมู่ที่ ๑ ต าบลแม่พริก อ าเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๘๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๑๘๘-๕๙๖๓

ประวัติความเป็นมา เริ่มท ามาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เนื่องจากมีเวลาว่าง เลยลองหัดท าดู เพ่ือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แรกๆ ก็ท าให้ลูกหลานใส่เล่น จนกระทั่งมีคนพบเห็น และต้องการ จึงขอซื้อ ท าให้เกิดความคิดว่าควรท าจ าหน่ายเพราะมีคนถามมากขึ้น อีกทั้งวัสดุและต้นทุนมีราคาไม่สูงมาก ท าอยู่ในบ้าน พอท าจ าหน่ายได้ จึงเกิดแรงบันดาลใจในการท าข้ึน

Page 25: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๐ ~

งานประดิษฐ์ใบตอง

กลุ่มบายศรีวัดเชตะวัน (พระนอน) เลขที่ ๘๕ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลเวียง อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๖-๒๒๙๘–๓๐๙๕

ประวัติความเป็นมา เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนกับวัดเชตวัน(พระนอน) มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น สร้างมูลค่าและรายได้ให้กับสมาชิก เป็นการประดิษฐ์ใบตองที่อาศัยความอดทน ความเพียรพยายามในการเย็บแบบจีบใบตองให้มีรูปร่างตามต้องการมีความงดงามสวยงามจึงต้องอาศัยฝีมือของแต่ละบุคคล การท าบายศรี ใช้ ใน พิธีสู่ ขวัญทั้ ง พิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา

Page 26: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๑ ~

เครื่องเคลือบดินเผา เวียงกาหลง (ผลิตภัณฑ์ CPOT เหรียญเงิน ปี ๒๕๕๙)

นายทัน ธิจิตตัง บ้านทุ่งม่าน เลขที่ ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต าบลเวียงกาหลง อ าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๖๐ โทรศัพท์ ๐๘-๙๙๓๘-๕๘๗๔

ประวัติความเป็นมา เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะบางและมีน้ าหนักเบา เนื่องจากดินที่ใช้ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงเป็นดินที่มีคุณสมบัติดี แสดงให้เห็นว่าบริเวณพ้ืนที่เวียงกาหลง เป็นแหล่งดินที่มีคุณภาพ เนื้อดินมีสีขาว เนื้อละเอียด มีเม็ดทรายปนน้อย สามารถขึ้นรูปภาชนะได้ดีกว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากที่ผลิตแหล่งอ่ืนๆ ส่วนการเคลือบนิยมเคลือบถึงบริเวณเชิงขอบภาชนะ น้ าเคลือบขี้เถ้าไม้จากธรรมชาติน้ าเคลือบใส มีทั้งสีฟ้าและสีเขียวอ่อน สีเขียนจากธรรมชาติ รูปทรงที่ผลิต ส่วนมากจะเป็นจาน ถ้วย แจกัน เป็นต้น

Page 27: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๒ ~

ดอกไม้ใยบวบ

นางศิริพร ทุนอินทร์ บ้านสันยาว หมู่ที่ ๓ ต าบลห้วยไคร้ อ าเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๒๐ โทรศัพท์ ๐๙-๕๖๗๕-๖๐๙๐

ประวัติความเป็นมา กลุ่มเมล็ดพันธุ์เพ่ือนช่วยเพ่ือน บ้านสันยาว ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์บวบหอม น้ าเต้า เพ่ือส่งขายให้กับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ในมูลนิธิชัยพัฒนา) และจะมีเศษวัสดุ เช่น ใยบวบ เปลือกน้ าเต้า ซึ่งปกติสมาชิกก็จะน าไปเผาท าลาย หรืออาจน าไปใช้ประโยชน์บ้างเพียงเล็กน้อย เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ณ บ้านสันยาว หมู่ที่ ๓ ต าบลห้วยไคร้ เพ่ือทอดพระเนตรการผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิก ได้ประดิษฐ์ของใช้ ของประดับตกแต่ง จากใยบวบและเปลือกน้ าเต้า น ามาแสดงในงานรับเสด็จ ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ท่านได้ทอดพระเนตรของใช้ ของประดับตกแต่งท่ีประดิษฐ์จากใยบวบหอมและเปลือกน้ าเต้า อย่างสนพระทัย กลุ่มแม่บ้าน จึงได้แรงบันดาลใจที่จะจัดตั้งกลุ่มงานประดิษฐ์จากใยบวบหอมและน้ าเต้าขึ้น เพ่ือน าของเหลือใช้มาสร้างประโยชน์แก่สมาชิก โดยมีนางศิริพร ทุนอินทร์ เป็นประธานกลุ่มฯ จนถึงปัจจุบัน

Page 28: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๓ ~

ขลุ่ยไม ้

นางสาวเกวลินทร์ สุแก้ว บ้านท่าสันกลาง เลขที่ ๑๐๐ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลดงมะดะ อ าเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ ๐๘-๗๘๐๕-๗๔๒๗

ประวัติความเป็นมา ขลุ่ยไม้ เป็นเครื่องดนตรีพ้ืนบ้านดั้งเดิมของไทย ที่ต้องอนุรักษ์สืบทอดในการท าขลุ่ยไม้ไว้ เพื่อเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ และต้องอนุรักษ์ไว้ เพ่ือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย ให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาต่อไป หลายคนเลือกสะสมขลุ่ยเป็นงานอดิเรก เพราะ เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นง่ายหรือฝึกเป่าได้ง่าย หยิบพกพาสะดวก ดูแลรักษาง่าย ทนทาน ได้สัมผัสความสวยงามตามธรรมชาติของเนื้อไม้และความไพเราะของเสียงขลุ่ย

Page 29: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๔ ~

ชาเขียว

แม่ลอย (Mae loy Tea) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตชาแม่ลอย บ้านหนองข่วง เลขที่ ๑๑๙/๑ หมู่ที่ ๑ ต าบลแม่ลอย อ าเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๓๐ โทรศัพท์ ๐๙–๓๒๖๑-๒๖๒๙

ประวัติความเป็นมา “ชาเขียว แม่ลอย” ผลิตจากยอดต้นเมี่ยง ที่คัดสรรมาจากยอดชาป่าที่มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ในเขตพ้ืนที่ต าบลแม่ลอย ถูกผสานเข้ากับภูมิปัญญาความรู้ของการท าชาจากรุ่นสู่รุ่น ใบชาสดจะผ่านกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันทุกขั้นตอน ท าให้ได้ “ชาเขียวแม่ลอย” ที่มีกลิ่นหอมละมุน

Page 30: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๕ ~

ข้าวแต๋น

นางทัศนีย์ พรหมมินทร์ บ้านกลางเวียง หมู่ที่ ๑ ต าบลเวียงชัย อ าเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๕๓-๖๖๒๕๘๑

ประวัติความเป็นมา ข้าวแต๋นเป็นข้าวเหนียวข้าว และข้าวเหนียวด าทอดกรอบ ราดด้วยน้ าอ้อยเป็นขนมโบราณของคนแต่งงานท าเพ่ือเลี้ยงแขกในงานมงคลต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงานข้าวข้าวแต๋น ถือว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอีกประเภทหนึ่งเนื่องจาก น าข้าวที่เหลือจากการบริโภค ประจ าวันน ามาขึ้นรูปต่างๆ เช่นวงกลม สี่เหลี่ยม แล้วตากแดด เก็บไว้ได้นาน เมื่อต้องการรับประทานก็จะน าไปทอดให้สุกแล้วน าไปราดน้ าอ้อยอีกครั้งหนึ่งข้าวแต๋นขนมพ้ืนบ้านของภาคเหนือที่น าเอาข้าวเหนียว

Page 31: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๖ ~

ข้าวไข่เจียว ๙ บาท

กลุ่มแม่บ้านโพธนาราม ๑๒๙ หมู่ที่ ๘ บ้านโพธนาราม ต าบลสันทราย อ าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๐๐ โทรศัพท์ ๐๘-๑๕๙๔-๖๔๑๘

ประวัติความเป็นมา เป็นโครงการสืบสานปณิธานของพ่อหลวง ร.๙ เพ่ือเป็นการเพ่ิมรายได้และเก้ือกูลกันในชุมชน ในชุมชนบ้านโพธนาราม โดยจัดตั้งในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยกลุ่มแม่บ้านจัดจ าหน่ายตอนมีคณะศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียงและร่วมกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆในชุมชน

Page 32: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๗ ~

น้้าพริกแกงส้าเร็จรูป

กลุ่มน้ าพริกส าเร็จรูปบ้านป่าก่อด า เลขที่ ๒๒๒ หมู่ที่ ๘ ต าบลป่าก่อด า อ าเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ ๐๘-๔๖๑๖-๕๔๔๘

ประวัติความเป็นมา กลุ่มแม่บ้านประกอบอาหารต้องมีการต าน้ าพริกโดยใช้ครกต าส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน จึงใช้เวลาในการท าน้ าพริกพอสมควร เพ่ือให้การประกอบอาหารไม่ล่าช้าจึงเกิดความคิดท าน้ าพริกแกกงส าเร็จรูปเพ่ือประกอบอาหารเกิดความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลามากขึ้น เป็นน้ าพริกแกงส าเร็จรูป ส าหรับประกอบอาหารพื้นเมือง

Page 33: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๘ ~

แหนมหม ู

นางณัฐรัตน์ ค ามูล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านเหมืองหลวง เลขที่ ๓ หมู่ที่ ๙ บ้านเหมืองหลวง ต าบลป่าหุ่ง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘-๗๑๗๙-๘๔๘๑

ประวัติความเป็นมา กลุ่มแปรรูปอาหาร เป็นการถนอมอาหารพ้ืนบ้านด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น “แหนมหมู” โดยได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมานานเกือบ ๑๐๐ ปี และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปรรูปอาหารบ้านเหมืองหลวง หมู่ที่ ๙ ต าบลป่าหุ่ง อ าเภอพาน ได้รับการรับรองมาตรฐานและรางวัล มชช.ต้นแบบ ด้านการบริหารจัดการดีเด่น และ ผลิตภัณฑ์ OTOP คัดสรร ๔ ดาว

Page 34: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๒๙ ~

สมุนไพรลูกประคบ

๙๑/๙ โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ต าบลสันกลาง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๒๐ โทรศัพท ์๐๘-๑๖๘๒-๗๑๙๗

ประวัติความเป็นมา จากเอกสารปับสาหรือจารึกในคัมภีร์ใบลานที่น าเอาสมุนไพรชนิดต่างๆมาหั่น สับ ตากแห้งรวมกันแล้วน ามาห่อท าเป็น ลูกประคบในรูปทรงกลม หรือหมอนแล้วน าไปนึ่ง หรืออังความร้อนจากปากหม้อแล้วน ามาประคบบริเวณท่ีปวด

Page 35: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๐ ~

น้้าป ู

นางสุพิน ซาวค าเขต เลขที่ ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต าบลสันมะค่า อ าเภอป่าแดด จงัหวัดเชียงราย โทรศัพท ์ ๐๘๗-๗๒๖๙๐๑๑

ประวัติความเป็นมา เนื่องจากพ้ืนที่ภายในหมู่บ้าน เป็นที่ราบลุ่มและมีอาชีพเกษตรกรรม(ท านา) ซึ่งเป็นแหล่งของปูนาจ านวนมาก ปูนากัดกินต้นข้าวท าให้เกิดความเสียหาย จึงมีแนวความคิดท าน้ าปู ซึ่งเป็นอาหารที่อยู่คู่บ้านคู่ครัวของคนภาคเหนือ เหมือนมีกะปิ ปลาร้า นั่นเองการน้ าปู เป็นวิธีการแปรรูปและการถนอมอาหารที่ท ามาจากปูนา โดยการน าปูมาต าให้ละเอียดและค้ันเอาแต่น้ าปูมาต้ม/เคี่ยวจนจนแห้งก็จะได้น้ าปูที่มีสีด ากลิ่นหอม ซึ่งจะสามารถท าได้ในเฉพาะฤดูกาลท านาหรือหน้าฝนที่มีปูนาจ านวนมาก

Page 36: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๑ ~

ชาอินทรีย์ดอยตุง

นายสุนันทา แซ่บู้ สวนชาดอยตุง เลขที่ ๑๐๙ หมู่ ๑๗ ต.แม่ฟ้าหลวง อ าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๔๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๙๑๑-๒๕๘๙

ประวัติความเป็นมา เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพัฒนามาจากกลุ่มอิสระและผู้น าชุมชน และกรรมการหมู่บ้านได้รวบรวมสมาชิกเพียงไม่กี่ราย ต่อมา สมเด็จย่าได้พระราชทานให้กลุ่มด าเนินการเพาะปลูกในพ้ืนที่เขตป่าสงวนในโครงการพัฒนาดอยตุง ปัจจุบันมีพ้ืนที่ปลูกชา ๓๐๐ – ๔๐๐ ไร่ การเก็บใบชา เป็นขั้นตอนที่ส าคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพดีต้องใช้แรงงานคนในการเก็บ จะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ าจากยอดตูมลงมา ๒-๓ ใบ เนื่องจากสารประกอบพอลิฟีนอลซึ่งเป็นสาระส าคัญที่ส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาจะมีอยู่มากเฉพาะในยอดชาเท่านั้น

Page 37: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๒ ~

สมุนไพรคือเวียงเก่า

ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรคือเวียงเก่า ต าบลแม่สรวย อ าเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๙-๓๒๔๖-๖๕๗๙

ประวัติความเป็นมา กลุ่มสมุนไพรคือเวียงเก่า เริ่มก่อตั้งขึ้นมาเมื่อเดือนมกราคม 2558 มีสมาชิกทั้งหมด ๑๕ คน ในต าบลแม่สรวย อ าเภอแม่สรวย เนื่องจากพ้ืนที่ในเขตต าบลแม่สรวย ปลูกพืชสมุนไพรกันมาก ทางกลุ่มจึงต้องการอนุรักษ์ มรดกภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ จึงได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มสมุนไพรคือเวียงเก่าข้ึน เป็นสมุนไพรแผนโบราณ สืบทอดมาจากรุ่นต่อรุ่น

Page 38: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๓ ~

ชาสมุนไพร ๓ รส

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจ าปี เลขที่ ๒๗๐ หมู่ที่ ๗ ต าบลป่าสัก อ าเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐๘-๙๕๑๒-๖๔๓๔

ประวัติความเป็นมา ชาสมุนไพร ๓ รส เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านดอยจ าปี ต าบลป่าสัก อ าเภอเชียงแสน ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรดอยจ าปี ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๓ ซึ่งรวมตัวกันด าเนินกิจการแปรรูปสมุนไพรพ้ืนบ้าน ที่หาได้ง่ายในชุมชนและท้องถิ่น เช่น ข่า ตะไคร้ ใบเตย มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ๓ รส ซึ่งน่าจะเป็นชาสมุนไพรเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยทีมีการน า “ข่า” มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์ดีเด่นหนึ่งต าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ ปี ๒๕๔๕ และเป็นผลิตภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

Page 39: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๔ ~

สบู่สมุนไพรดอยสันกู่ “สบู่น้้าผึ้ง-มะขาม”

นางเพียงรวี ยาละ เลขที่ ๑๐๑/๒ หมูที่ ๑ ต าบลหล่ายงาว อ าเภอ เวียงแก่น จงัหวัดเชียงราย ๕๗๓๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๗๑๙๘-๐๒๙๓

ประวัติความเป็นมา บ้านหล่ายงาว มีแหล่งโบราณ “ดงเวียงแก่น” ซึ่ง ดงเวียงแก่น จะเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรมากมาย เป็นแหล่งที่ชุมชนได้มีการอนุรักษ์ป่าสมุนไพร ดังนั้นจากจุดเด่น “ดงเวียงแก่น” กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหล่ายงาว จึงมีแนวคิดผลิตภัณฑ์สบู่ ใช้ในครัวเรือน เพ่ือการลดรายจ่าย แล้วสามารถสร้างรายได้ โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ สบู่สมุนไพรดอยสันกู่ “สบู่น้ าผึ้ง-มะขาม”ซึ่งกลุ่มได้รับการส่งเสริมจากส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอเวียงแก่น ประกอบกับวัตถุดิบที่ใช้ในชุมชนมีสมุนไพรต่างๆ เยอะ แรกผลิตเพ่ือใช้ในครัวเรือน หลังจากนั้นทางกลุ่มก็พัฒนาผลิตภัณฑ์เพ่ือเป็นสินค้า OTOP ของอ าเภอแล้วมีการขยายการผลิต มีการพัฒนารูปแบบของก้อนสบู่ การบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

Page 40: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๕ ~

ข้าวไรซ์เบอรี่

กลุ่มผลิตเมล็ดข้าวไรซ์เบอรี่ บ้านดงชัย เลขท่ี ๕๕๒ หมู่ที่ ๒ บ้านดงชัย ต าบลทุ่งก่อ อ าเภอเวียงเชียงรุ้ง จงัหวัดเชียงราย ๕๗๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๑๗๔๖-๖๘๒๐

ประวัติความเป็นมา กลุ่มเริ่มด าเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๖ เริ่มจากการประชุมผู้น าชุมชน ผู้น าท้องถิ่นและกรรมการหมู่บ้านจึงได้รวบรวมสมาชิก กลุ่มสตรี แม่บ้านและผู้ที่สนใจในชุมชน โดยการสนับสนุนจากธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และมีการพัฒนาต่อยอดถึงปัจจุบันข้าวกล้องอินทรีย์ไรซ์เบอรี่ ผลิตจากนาอินทรีย์ปลอดสารพิษ

Page 41: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๖ ~

เมี่ยง (จากใบชาอัสสัม)

นางป่วน ปันติ๊บ ประธานกลุ่มผลิตเมี่ยงหนองข่วง เลขที่ ๑๔๑ หมู่ที่ ๑ ต าบลแม่ลอย อ าเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๓๐

โทรศัพท์ ๐๙-๙-๐๔๑-๑๖๒๘

ประวัติความเป็นมา การท าใบเมี่ยง จากใบชาอัสสัม เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยใบชาที่เก็บนั้นขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ปู่ย่าตายายปลูกทดแทนไว้บนภูเขา ชาวบ้านจะเก็บใบแก่น ามาใบเมี่ยงมานึ่ง และหมัก ตามกรรมวิธีทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก็จะได้เมี่ยงส าหรับขบเคี้ยวยามว่างหลังอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ออแกนิค

Page 42: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๗ ~

ข้าวปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

กลุ่มวิสาหกิจ ศูนย์ข้าวชุมชน เลขที่ ๘๕ หมู่ที่ ๑๒ ต าบลเวียง อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทรศัพท ์๐๖-๒๒๙๘–๓๐๙๕

ประวัติความเป็นมา “ข้าวไรซ์เบอรี่” ข้าวสีม่วงที่อุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย ลองมาดูกันสิว่าข้าวสายพันธุ์นี้แตกต่างจากข้าวที่เรารับประทานกันอย่างไร บางคนอาจยังไม่ค่อยค้นหูกับชื่อ ข้าวไรซ์เบอรี ่สักเท่าไหร่ แต่ก็มีผู้ที่หันมาดูแลสุขภาพอยู่ไม่น้อยที่รู้จักข้าวชนิดนี้กันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นสายพันธุ์ข้าวที่สร้างความตื่นตัวในตลาดข้าวเพื่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง เพราะด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ ที่มีอย่างอัดแน่น ช่วยแก้ปัญหาภาวะโรคต่างๆ ได้อย่างทุเลาเบาบางอย่างเห็นได้ชัด จึงท าให้ข้าวไรซ์เบอรี่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพ่ิมมากข้ึนอย่างต่อเนื่อง

Page 43: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๘ ~

จักสานตะกร้าพลาสติก

กลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก (นางทรวง สิทธิสาร) บ้านเวียงหวาย หมู่ที่ ๘ ต าบลเม็งราย อ าเภอพญาเม็งรายเชียงราย ๕๗๒๙๐ โทรศัพท์ ๐๘-๕๗๒๑-๑๓๑๕

ประวัติความเป็นมา ตะกร้าพลาสติกหรือผลิตภัณฑ์ที่ท าจากพลาสติก เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั้งเดิม โดยแต่ก่อนใช้ไม้ไผ่จักสานเป็นตะกร้าใส่สิ่งของต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาจากไม้ไผ่ก็เอาสายพลาสติกแทน ทั้งนี้เพ่ือเน้นความคงทน แข็งแรง และสวยงามตามสีสันลวดลายของพลาสติก สามารถท าเป็นของใช้ต่างๆที่ใช้ภายในบ้าน เน้นประโยชน์ใช้สอย และอายุการใช้งานที่ยาวนาน

Page 44: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๓๙ ~

เส้นสานพลาสติก

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นสานพลาสติก เลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๑๓ ต าบลห้วยซ้อ อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๔๐ โทรศัพท์ ๐๘-๑๐๒๕-๖๖๕๒

ประวัติความเป็นมา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นสานพลาสติกต าบลห้วยซ้อ ได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ จึงได้รวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการสาน โดยใช้วัสดุในการสานคือ เส้นสานพลาสติก ออกขายในพ้ืนที่ต าบลห้วยซ้อและใกล้เคียง รวมไปถึงการออกร้ านแสดงสินค้าในงานประจ าอ าเภอและแสดงสินค้าในงานประจ าจังหวัด ตามห้วงเวลาของกิจกรรมต่างๆเพ่ือเป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเส้นสานพลาสติกมีความหลากหลายและเน้นลวดลายอัตลักษณ์ท้องถิ่น

Page 45: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๐ ~

จักสาน “ตุ้มปลาไหล/ตุม้เอี่ยน”

นายมานพ ชัยบัวค า เลขที่ ๑๒๒ ม.๑๑ ต าบลโรงช้าง อ าเภอป่าแดด จงัหวัดเชียงราย ๕๗๑๙๐ โทรศัพท์ ๐๘-๑๒๘๙-๖๙๔๔

ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องมือดักปลา สานด้วยไม้ไผ่ มีงากลม เรียกว่า “งา ปิด” อยู่บริเวณด้านข้างของตัวตุ้มห่างจากฐานล่างของตุ้มประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กล่าวคือ เมื่อปลาจะเข้าไปในตุ้มจะต้องแทรกตัว ผ่านงาเข้าไปจากนั้นงาจะปิด ชื่อผลิตภัณฑ์ และความหมาย คล้องเสียงเป็นมงคล ตุ้ม ภาษาเหนือ แปลว่า ค้ าชู ค้ าจุนอุปถัมภ์ , และลักษณะของตุ้มคือมีทางเข้าของปลาทางเดียวไม่มีทางออก

Page 46: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๑ ~

จักสานหวาย

กลุ่มผู้สูงอายุ “จักสานหวาย” วัดปอกลาง หมู่ที่ ๕ ต าบลปอ อ าเภอเวียงแก่น จงัหวัดเชียงราย ๕๗๓๑๐ โทรศัพท์ ๐๘-๖๑๑๗-๕๖๖๒

ประวัติความเป็นมา จักสานหวายคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ท าจากหวายที่มีความละเอียดลวดลายแบบไทยๆ ประณีต สวยงานสืบสานภูมิปัญญาจากรุ่นปู่ย่าตายาย หัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลา โดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การด ารงชีวิตประจ าวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาความรู้จากหนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้โดยอาศัยการฝึกหัด และบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึกสะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความส าคัญอย่ างยิ่ งที่ มิปัญญาท้องถิ่ นนั้ นคงอยู่ ต่ อ เนื่ องและยั่ งยืน

Page 47: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๒ ~

เตาอังโล้

นายสมจิตร ชัยปัน บ้านร้องหลอด เลขที่ ๕๘ หมู่ที่ ๓ ต าบลเมืองพาน อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๘๐ โทรศัพท ์ ๐๘-๑๗๐๖-๐๘๖๓

ประวัติความเป็นมา หมู่บ้านร้องหลอด ตั้งอยู่ที่ ต าบลเมืองพาน อ าเภอพาน เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีดินเหนียวที่มีคุณภาพเหมาะส าหรับงานปั้น มีแหล่งน้ าที่ อุดมสมบูรณ์ ไม่แห้งแล้งและไม่เคยเกิดภัยธรรมชาติ ทางหมู่บ้านได้เล็งเห็นความส าคัญจึงได้มีการจัดตั้งโรงงานท าเตา อังโล้ขึ้นเ พ่ือให้ เกิดรายได้กับชุมชนและชาวบ้าน และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นหลังสู่คนรุ่นปัจจุบันสืบไป

Page 48: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๓ ~

ผลิตภัณฑ์ดอกไมจ้ันทน์

หมู่บ้านบุญเรืองเหนือ หมู่ที่ ๑ ต าบลบุญเรือง อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๔๐ โทรศัพท ์ ๐๘-๙๙๓๘-๘๑๘๕

ประวัติความเป็นมา กลุ่มผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์บ้านบุญเรืองเหนือ เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มสตรีวัยทองในหมู่บ้านในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยการให้การสนับสนุนของ ก.ศ.น.อ าเภอเชียงของ อาชีพหลักของบ้านบุญเรืองเหนือ คือท านา สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร หากว่างเว้นจากจากภารกิจการเกษตรก็ไม่มีงานท า จึงได้รวมตัวกันในกลุ่มสตรีวัยทองในการผลิตดอกไม้จันทน์ขึ้นภายในหมู่บ้านบุญเรืองเหนือ เพ่ือเป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกกลุ่ม

Page 49: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๔ ~

ไม้กวาดดอกหญ้า

นางเทวีรัตน์ ศักดิ์สม บ้านเวียงหมอก เลขที่ ๑๒๓ หมู่ที่ ๒๐ บ้านต้าหัวฝาย ต าบลต้า อ าเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ๕๗๓๔๐ โทรศัพท์ ๐๙๔-๗๓๙๑๕๑๙

ประวัติความเป็นมา นางเทวีรัตน์ ศักดิ์สม ได้ศึกษาเรียนรู้จากชาวใต้หวัน ซึ่งได้มาท าโรงงานที่บ้านเวียงหมอก ต าบลห้วยซ้อ อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายมีลวดลายถักด้ามไม้กวาดที่สวยงาม ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นด้วยความมั่นคงและแข็งแรง ดอกหญ้าไม้หลุด ผู้ผลิตมีความคิดสร้างสรรค์/ ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

Page 50: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ

~ ๔๕ ~

ประเพณีปอยส่างลอง

ชุมชนคุณธรรมวัดห้วยน้ าขุ่น หมู่ที่ ๑๗ ต าบลแม่ฟ้าหลวง อ าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย ๕๗๒๔๐ โทรศัพท์ ๐๘-๓๗๖๑-๑๖๗๙

ประวัติความเป็นมา ปอยส่างลอง คือ งานบวชลูกแก้ว เพ่ือบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาของชาว ไทยใหญ่ที่อ าเภอแม่ฟ้าหลวง มีชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่ ณ บ้านห้วยน้ าขุ่น ต าบลแม่ฟ้าหลวง ประเพณี “ปอยส่างลอง” เป็นประเพณีที่ส าคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยใหญ่ ถือว่าการบวชลูกแก้ว การบวชเณรนี้ได้กุศลแรง ภาษาไทยใหญ่เรียกว่า “ส่างลอง” และเมื่อถึงก าหนดจัดงานก็จะโกนผม โกนคิ้ว ประดับประดาเครื่องแต่งการอย่างสวยงามด้วย เช่น สายสร้อย ก าไล แหวน ใช้ผ้า โพกศีรษะแบบพม่า สวมถุงเท้าสีขาว นุ่งโสร่ง ทาแป้งขาว เขียนคิ้ว และทาปาก สีแดง เพราะมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าก่อนจะออกบวชมีฐานะเป็นเจ้าชายบุตรของกษัตริย์ผู้ครองนครแต่ก็สละกิเลสเพ่ือค้นหาทางสว่างของชีวิตได้

Page 51: ค าน า...ประว ต ความเป นมา การป กผ าของชาวอ วเม ยนท ม ความเป นอ ต ล กษณ และ