º··Õè 2 - prince of songkla...

37
บทที2 การตรวจเอกสาร สําหรับแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการเรียนรูของ ชุมชนในการจัดการปาชุมชน : กรณีศึกษา ปาชุมชนเขาหัวชาง ตําบลตะโหมด อําเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ผูวิจัยจะนําเสนอในหัวขอที่เกี่ยวของตามลําดับดังตอไปนี1. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความเปนชุมชน 2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรูของชุมชนและงานวิจัยที่เกี่ยวของ 3. แนวคิดเกี่ยวกับปาชุมชนและงานวิจัยที่เกี่ยวของ 1. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความเปนชุมชน การทําความเขาใจเกี่ยวกับชุมชนในประเด็นตาง นั้นจําเปนอยางยิ่ง เนื่องจากตองใชใน การวิเคราะหชุมชนเพื่อเชื่อมปรากฏการณตาง ใหเปนองครวม ดังนั้น จึงตองมีแนวคิดทางทฤษฎี เปนพื้นฐานในการศึกษาปรากฏการณและคนหาขอมูลที่เกี่ยวของ ในหัวขอนีประเด็นที่นํามา ประมวลเปนความรูความเขาใจเกี่ยวกับชุมชน ไดแก ความหมายของชุมชน ลักษณะความเปน ชุมชน พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับชุมชน รวมทั้งชุมชนและความเปนชุมชนภาคใต 1.1 ความหมายของชุมชน ชุมชนเปนคําที่มีการนําไปใชกันอยางกวางขวาง และใชในลักษณะแตกตางกันออกไป จึงมิอาจกลาวไดวาชุมชนเปนคําที่มีความหมายแนนอนตายตัวเพียงประการเดียว อาจพิจารณาได หลายแงมุม อาทิ ปรัชญา กายภาพ สังคมวิทยา จิตวิทยา โดยในบางครั้งความหมายของชุมชนไม ไดจํากัดอยูกับความหมายที่ใหความสําคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตรหรือบริเวณเล็ก ทีหมายถึงหนวยทางการปกครองในระดับหมูบานเทานั้น ความหมายของชุมชนอาจจะมีทั้งรูปธรรม และนามธรรม มีหลายขนาดและหลายระดับ ตั้งแตระดับหมูบานจนถึงระดับโลกก็ได (ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543: 1) ความหมายของชุมชนอาจเปรียบเทียบไดกับคําวา สังฆะในความหมายของหมูคณะ เปนชุมชนแหงกัลยาณมิตร คือ การที่บุคคลมาอยูดวยกัน เริ่มตั้งแตผูนําเปนกัลยาณมิตร คือ ผูที่จะ ชวยเหลือเกื้อหนุนผูอื่นในการพัฒนาชีวิตที่ดี ใหมีชีวิตที่เจริญงอกงาม และผูที่มาอยูดวยมีการชวย เหลือเอื้ออาทรตอกันใหแตละบุคคลพัฒนาตนใหเขาถึงชีวิตที่ดีงามขึ้น เมื่อแตละบุคคลไดรับ

Upload: others

Post on 17-Jul-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

บทที่ 2

การตรวจเอกสาร

สําหรับแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการเรียนรูของ ชุมชนในการจัดการปาชุมชน : กรณีศึกษา ปาชุมชนเขาหัวชาง ตําบลตะโหมด อําเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ผูวิจัยจะนําเสนอในหัวขอที่เกี่ยวของตามลําดับดังตอไปนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความเปนชุมชน2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรูของชุมชนและงานวิจัยที่เกี่ยวของ3. แนวคิดเกี่ยวกับปาชุมชนและงานวิจัยที่เกี่ยวของ

1. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความเปนชุมชนการทําความเขาใจเกี่ยวกับชุมชนในประเด็นตาง ๆ นั้นจําเปนอยางยิ่ง เนื่องจากตองใชใน

การวิเคราะหชุมชนเพื่อเชื่อมปรากฏการณตาง ๆ ใหเปนองครวม ดังนั้น จึงตองมีแนวคิดทางทฤษฎีเปนพื้นฐานในการศึกษาปรากฏการณและคนหาขอมูลที่เกี่ยวของ ในหัวขอนี้ ประเด็นที่นํามาประมวลเปนความรูความเขาใจเกี่ยวกับชุมชน ไดแก ความหมายของชุมชน ลักษณะความเปน ชุมชน พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับชุมชน รวมทั้งชุมชนและความเปนชุมชนภาคใต

1.1 ความหมายของชุมชน“ชุมชน” เปนคําที่มีการนําไปใชกันอยางกวางขวาง และใชในลักษณะแตกตางกันออกไป

จึงมิอาจกลาวไดวาชุมชนเปนคําที่มีความหมายแนนอนตายตัวเพียงประการเดียว อาจพิจารณาไดหลายแงมุม อาทิ ปรัชญา กายภาพ สังคมวิทยา จิตวิทยา โดยในบางครั้งความหมายของชุมชนไมไดจํากัดอยูกับความหมายที่ใหความสําคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตรหรือบริเวณเล็ก ๆ ที่หมายถึงหนวยทางการปกครองในระดับหมูบานเทานั้น ความหมายของชุมชนอาจจะมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม มีหลายขนาดและหลายระดับ ต้ังแตระดับหมูบานจนถึงระดับโลกก็ได (ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543: 1)

ความหมายของชุมชนอาจเปรียบเทียบไดกับคําวา “สังฆะ” ในความหมายของหมูคณะ เปนชุมชนแหงกัลยาณมิตร คือ การที่บุคคลมาอยูดวยกัน เร่ิมต้ังแตผูนําเปนกัลยาณมิตร คือ ผูที่จะชวยเหลือเกื้อหนุนผูอ่ืนในการพัฒนาชีวิตที่ดี ใหมีชีวิตที่เจริญงอกงาม และผูที่มาอยูดวยมีการชวยเหลือเอื้ออาทรตอกันใหแตละบุคคลพัฒนาตนใหเขาถึงชีวิตที่ดีงามขึ้น เมื่อแตละบุคคลไดรับ

10

ประโยชนจากชุมชน แตละบุคคลนั้นจะตองเปนสวนประกอบหรือเปนสวนรวมที่ดี เพื่อชวยเกื้อกูลตอชุมชนดวยเชนกัน (พระธรรมปฎก, 2539 อางถึงใน ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543)

ในขณะที่ ประเวศ วะสี (2540 อางถึงใน ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543) เห็นวา ความเปน ชุมชนอาจหมายถึงการที่คนจํานวนเทาใดก็ไดที่มีวัตถุประสงครวมกัน มีการติดตอส่ือสารหรือรวมกลุมกัน มีความเอื้ออาทรตอกัน มีการเรียนรูรวมกันในการกระทํา มีการจัดการ เพื่อใหเกิดความสําเร็จตามวัตถุประสงครวมกัน

อยางไรก็ตาม โดยสวนใหญการใหคํานิยามชุมชนมักจะระบุถึงองคประกอบที่สําคัญ เกี่ยวกับที่ต้ังหรืออาณาบริเวณของชุมชนดวย ซึ่งหมายถึงการที่คนจํานวนหนึ่งที่อาศัยอยูในพื้นที่แหงหนึ่ง มีความเชื่อ ผลประโยชน กิจกรรม และมีคุณสมบัติอ่ืนที่คลายคลึงกัน คุณลักษณะเหลานี้มีลักษณะเดนเพียงพอที่จะทําใหสมาชิกนั้นตระหนักและเกื้อกูลกัน (Mask S. Homan, 1994 อางถึงใน ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543) แตองคประกอบดานพื้นที่มิไดจํากัดเฉพาะพื้นที่ขนาดเล็กหรือหนวยพื้นที่ทางการปกครองระดับพื้นฐานเทานั้น ชุมชนอาจหมายถึงกลุมคนที่ใชชีวิตรวมกันตั้งแตระดับครอบครัวไปสูระดับเครือญาติ จนถึงระดับหมูบานและระดับที่ใหญกวาหมูบาน (กาญจนา แกวเทพ, 2538 อางถึงใน ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2543)

นอกจากนี้ งานเขียนบางชิ้นใหความหมายของคําวา “ชุมชน” ในระดับเดียวกับคําวา “สังคมหมูบาน” ซึ่งเปนหนวยของสังคมหรือหนวยทางการปกครองขนาดเล็กระดับพื้นฐานที่มีการอยูรวมกันของกลุมคนจํานวนหนึ่งในพื้นที่แหงหนึ่ง เพื่อพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนั้นในการดํารงชีวิต และจากเหตุที่มีคนกลุมดังกลาวอาศัยอยูรวมกันและใชทรัพยากรเพื่อการผลิต จึงมีการกําหนดรูปแบบความสัมพันธรวมกันขึ้น มีองคกรหรือสถาบันชุมชนและกฎเกณฑตาง ๆ เปนกลไกควบคุมการอยูรวมกัน ทั้งนี้ชุมชนหมายถึงสังคมขนาดเล็กในชนบทที่ยังไมพัฒนาหรือสังคมหมูบานที่สมาชิกของสังคมยังมีความสัมพันธแบบเครือญาติ และยังสามารถรักษาแบบแผนการดํารงชีวิตบางสวนได (ชยันต วรรธนะภูติ ใน อุทัย ดุลเกษม, บรรณาธิการ, 2544 : 45-108)

1.2 ลักษณะของความเปนชุมชนปาริชาติ วลัยเสถียร (2543: 4-7) ไดจําแนกชุมชนและความเปนชุมชนออกเปน 4 ลักษณะ

คือ1.2.1 ชุมชนหมูบาน ซึ่งแบงเปน 2 ลักษณะ ไดแก

1.2.1.1 ชุมชนในฐานะหนวยพื้นฐานของการพึ่งตนเอง เปนการมองวาชุมชนจะตองตั้งอยูบนพื้นฐานความสัมพันธของผูคนที่รูจักกันอยางใกลชิด มีการใชประโยชนจากพื้นที่นั้นรวมกัน ระบบความสัมพันธเปนแบบครอบครัว เครือญาติ มีการแลกเปลี่ยน

11

และพึ่งพา ชุมชนเปนระบบพื้นฐานของสังคมที่มีศักยภาพในการจัดการเพื่อตอบสนองความตองการของสมาชิกในดานตาง ๆ โดยมีพิธีกรรม ความเชื่อพื้นถิ่นชวยจรรโลงการดํารงอยูของ ชุมชนเอาไว

1.2.1.2 ชุมชนในฐานะหนวยทางการปกครอง ชุมชนเปนหนวยทางสังคมที่เล็กที่สุดที่ทางราชการกําหนดใหเปนหมูบาน มีฐานะเปนหนวยทางการปกครองของรัฐที่มีพื้นที่และอาณาเขตที่ชัดเจนตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย สมาชิกในชุมชนอาจผูกพันกันในรูปแบบของชุมชนในลักษณะแรก หรืออาจจะไมผูกพันแตถูกกําหนดความสัมพันธโดยกระบวนการของรัฐ

1.2.2 ชุมชนในฐานะขบวนการทางสังคม (Social movement) ชุมชนซึ่งเปนขบวนการทางสังคม เปนอุดมการณที่เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤตการณที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมสมัยใหม (Modernity) เนื่องจากเห็นวาวิธีการและกระบวนการแบบเดิมไมสามารถสนองตอบตอการ แกไขปญหาได จึงมีการรวมกลุมกันในรูปแบบตาง ๆ มีการกําหนดเปาหมายและขอเรียกรอง มีอุดมการณที่ชัดเจน และมีการจัดรูปองคกรในการดําเนินงาน โดยมีจุดมุงหมายสําคัญอยูที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และมุงที่จะพิทักษชุมชนจากการรุกรานของรัฐและกลุมทุน มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงคานิยมและสรางวิถีชีวิตรูปแบบใหม ๆ ข้ึนมาเปนทางเลือก โดยที่สมาชิกของชุมชนไมจําเปนตองมีความสัมพันธใกลชิดกัน แตมีการยึดโยงกันดวยปญหา อุดมการณ และจิตสํานึก เปนหลัก เชน การรวมตัวกันของสมัชชาคนจน กลุมประมงพื้นบานภาคใต เปนตน

1.2.3 ชุมชนในแนวมนุษยนิยมหรือเชิงอุดมคติ (Humanistic perspective)ชุมชนลักษณะนี้เกิดจากแนวคิดที่วา ความเปนสังคมสมัยใหมทําใหสูญเสียความเปนชุมชน (Sense of community) ซึ่งเปนผลจากการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วของสังคมสมัยใหม เกิดการแขงขัน เอารัดเอาเปรียบ สรางสภาวะแปลกแยก โดดเดี่ยว ส้ินหวัง ไมสนใจใยดี และสูญเสียความรูสึกของการเปนสวนหนึ่งในการรวมกันรับผิดชอบตอสังคมและเพื่อนมนุษยในที่สุด ขณะเดียวกันรัฐเองไมสามารถตอบสนองตอความตองการของสังคมและสภาวะปญหาที่เกิดขึ้นอยางสลับ ซับซอน และมีความเชื่อมโยงและออนไหวตอการเปลี่ยนแปลงได เนื่องจากกลไกรัฐมีลักษณะที่เปนทางการ ใหญโต และมีสายบังคับบัญชาในแนวดิ่ง นักคิดในสายนี้จึงเสนอวาควรจะมีการรื้อฟนความเปนชุมชนขึ้นมาใหม โดยเนนการรวมตัวกันเปนกลุม องคกร และเครือขาย เพื่อรวมกันแกไขปญหาอยางเปนกระบวนการ โดยมีกิจกรรมอันหลากหลายเพื่อการเรียนรูรวมกัน ลักษณะของ ชุมชนตามแนวคิดนี้จึงควรมีขนาดเล็ก เปนหนวยอิสระที่ประกอบไปดวยความแตกตางหลากหลาย โดยไมยึดติดกับอาณาเขตหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตรที่แนนอนตายตัว

12

1.2.4 ชุมชนในรูปแบบใหมหรือชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) เกิดจากแนวคิดที่วาความเปนชุมชนคือการสื่อสาร ชุมชนลักษณะนี้เปนชุมชนไรพรมแดน คือสมาชิกหรือผูที่สนใจสามารถเขารวมไดโดยไมจํากัดหลักแหลง เพียงแตมีระบบเทคโนโลยีครอบคลุมถึง อาจเปนชุมชนกลางอากาศซึ่งอาศัยการติดตอส่ือสารของบุคคลผานวิทยุกระจายเสียง ระบบโทรศัพทพื้นฐาน และระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ เชน รายการวิทยุ “รวมดวยชวยกัน” สถานีวิทยุ จส.100 เปนตน นอกจากนี้ ความกาวหนาทางเทคโนโลยีสมัยใหมเอื้อใหเกิดชุมชนไซเปอรสเปซ (Cyberspace) ซึ่งเปนการติดตอส่ือสารผานระบบอินเทอรเน็ต ชุมชนรูปแบบนี้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทําหนาที่ในการรอยรัดความเปนชุมชนไว อยางไรก็ตาม มีการตั้งขอสังเกตวา ชุมชนลักษณะนี้ทําใหคนรวมตัวกันงาย และแตกสลายงาย เปนชุมชนเฉพาะกิจ และเปนชุมชนที่ข้ึนอยูกับผลประโยชน เทคโนโลยี และยุคสมัยเปนเงื่อนไขสําคัญ

ไมวาจะมีการใหนิยามคําวาชุมชนในลักษณะตาง ๆ กัน อยางไรก็ตาม ความสําคัญของความเปนชุมชน คือ การที่กลุมคนไดสรางสรรคบางสิ่งบางอยางขึ้นมาดวยตนเอง เชน ความสัมพันธระหวางกัน คุณลักษณะหรืออัตลักษณและการทํางานรวมกัน ความเปนชุมชนมิใชส่ิงที่คงอยูตลอดเวลา อาจจะเกิดขึ้นแลวสลายไปไดและอาจจะฟนตัวขึ้นมาใหมอีกได สรุปไดวาความเปนชุมชนมีการปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขและสภาวะแวดลอมตาง ๆ

ชุมชนและความเปนชุมชนไมไดมีความหมายตายตัวหรือหยุดนิ่ง แตมีความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง และไมไดมีความหมายในตัวเอง (อาริยา เศวตามร, 2542) ดังนั้น การใหความหมายเกี่ยวกับชุมชนสามารถลื่นไหล เปลี่ยนแปลงได ข้ึนอยูกับพลวัตของสังคมในแตละยุคสมัย อยางไรก็ตาม ชุมชนยังคงมีความสําคัญในฐานะที่เปนพันธะแหงความรวมมือของสมาชิกในการสรางสรรคส่ิงที่ดีงามใหเกิดแกชุมชนและสังคมโดยรวม

1.3 ทุนของชุมชน (Community capitals)ในทุกชุมชนไมวาจะเปนชุมชนเล็กหรือใหญ ชุมชนนั้นมีทุน (Capital) เปนของตนเอง

ภายในชุมชน ทุนของชุมชนมี 5 ประเภท ดังนี้ (อุทัย ดุลยเกษม, 2545: 1)1.3.1 ทุนระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-cultural capital) หมายถึง การ

มีภูมิปญญาและประเพณีวัฒนธรรมทองถิ่นที่ประยุกตเขากับสภาพสังคม โดยโครงสรางทางธรรมชาติที่หลากหลายของทองถิ่นสงเสริมใหมีปฏิสัมพันธแบบเครือญาติ สรางระบบสังคมแบบพึ่งพา โดยใชวัฒนธรรมชุมชนเปนตัวเชื่อมรอยความหลากหลายหรือความแตกตางของบุคคลเขาดวยกัน จนเกิดเปนพลังตอรองและศักยภาพของชุมชนในการใชทรัพยากรและการทํากิจกรรมตาง ๆ ของชุมชนอยางเหมาะสม

13

1.3.2 ทุนคน (Human capital) หมายถึง การมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบดวย ผูนําชุมชนที่มีความรู ความสามารถในการบริหารจัดการองคกรตาง ๆ ของชุมชน และเปนที่ยอมรับของสมาชิกในชุมชน และสมาชิกในชุมชนคนอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายดานอายุ เพื่อใหการบริหารจัดการองคกรตาง ๆ ของชุมชนเขาถึงและตอบสนองความตองการคนทุกกลุมอายุ (ธฤษวรรณ นนทพุทธ, 2545: 123-124)

1.3.3 ทุนสติปญญา (Wisdom capital) หมายถึง การมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู ความสามารถที่จะสงผลใหเกิดการพัฒนาสังคมหรือชุมชนในดานตาง ๆ ซึ่งความรูดังกลาวเปนทั้งความรูทางการศึกษาและความรูที่เปนภูมิปญญาทองถิ่น อีกทั้งมีการถายทอดความรูและภูมิปญญาสูคนรุนตอไปอยางตอเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการนําความรูหรือภูมิปญญาดังกลาวมาใชในการบริหารจัดการกลุมหรือองคกรชุมชนตาง ๆ ใหเปนไปอยางราบรื่น (ธฤษวรรณ นนทพุทธ, 2545: 128)

1.3.4 ทุนระบบนิเวศ (Ecological capital) หมายถึง ชุมชนมีแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเปนแหลงปจจัยสี่ของชุมชน โดยชุมชนใชประโยชนจากทรัพยากรเหลานั้นอยางมีประสิทธิภาพและยั่งยืนควบคูกับการอนุรักษดวย (ธฤษวรรณ นนทพุทธ, 2545: 122) หากชุมชนใดมีทรัพยากรรอยหรอ ชุมชนนั้นคงยั่งยืนไดยากเพราะตองพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอก (อุทัย ดุลยเกษม, 2545)

1.3.5 ทุนเงินตรา (Monetary capital) หมายถึง การที่ชุมชนมีการสะสมทุนทางการเงิน ไมวาจะเปนกลุมออมทรัพย สหกรณ รานคา หรือกองทุนสวัสดิการตาง ๆ โดยตั้งอยูบนหลักของการชวยเหลือและพึ่งพากันของสมาชิกในชุมชน การมีสวนรวมและการสรางศักยภาพในการพัฒนาตนเองของสมาชิกในชุมชน และการกระจายรายไดภายในชุมชน เพื่อเปนหลักประกันชีวิตที่มั่นคงแกสมาชิกในชุมชน และสรางระบบการเงินภายในชุมชนใหทุกคนไดใชประโยชนรวมกัน เพื่อพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจของตนเองและชุมชน (ธฤษวรรณ นนทพุทธ, 2545: 135)

ในการวิเคราะหชุมชน มีความจําเปนตองวิเคราะหในประเด็นนี้ดวยเพื่อใหเขาใจสภาพชุมชนอยางแทจริง (อุทัย ดุลยเกษม, 2545: 1)

1.4 พลังทองถิ่นสีลาภรณ บัวสาย (2547) ไดคนพบวา ความสามารถของทองถิ่นในการปรับตัวและพัฒนา

ไดนั้นเปนเพราะในทองถิ่นนั้นๆ มีฐานพลังที่ทําใหทองถิ่นสามารถจัดการตนเองได และหาความสมดุลของทองถิ่นไดดวย “พลังทองถิ่น” ซึ่งประกอบดวย 4 ฐานสําคัญ ดังนี้

14

1.4.1 ฐานทรัพยากร ไดแก ปาซึ่งเปนฐานทรัพยากรที่สําคัญและกระทบตอคนในชุมชนมากที่สุด และสายน้ําซึ่งมีความหมายในเชิงฐานทรัพยากรใน 2 นัยยะ นัยยะแรก คือ น้ําเปนปจจัยสําคัญตอการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอยางยิ่งการทํานา และการทําสวน และนัยยะที่สอง คือ ทรัพยากรที่มากับน้ํา ซึ่งหมายถึง สัตวน้ํา

1.4.2 เครือขายทางสังคม การตั้งถิ่นฐานของมนุษยเมื่อตองบุกเบิกพื้นที่ใหมๆ จําเปนตองอยูรวมกันเปนกลุมเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตหรือเพื่อความอยูรอดนั่นเอง และแมชุมชนนั้นไดกาวพนภาวะดิ้นรนเพื่อความอยูรอดแลว เครือขายทางสังคมยังคงเปนหัวใจสําคัญของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงตางๆ ในทองถิ่น ชาวบานในชุมชนชนบทไทยรูจักเครือขายทางสังคมนี้เปนอยางดีและใชเปนดวย เชน หากชุมชนจะสรางโรงเรียนใหสําเร็จโดยการระดมทรัพยากรและแรงงานชาวบาน จะตองไปหาใครกอนที่เปนผูนําที่ชาวบานเคารพนับถือ เปนตน เครือขายทางสังคมถือเปนพลังที่สําคัญในการพัฒนาชุมชน ประเด็นที่ควรพิจารณาในหัวขอนี้มีอยู 2 ประเด็น คือ ลักษณะของสายสัมพันธทางสังคม และคุณภาพของสายสัมพันธ (สีลาภรณ บัวสาย, 2547: 16)

1.4.3 ระบบความรู ระบบความรูเปนองคประกอบที่สําคัญมากที่เปนสิ่งตัดสินวา ทองถิ่นมีพลังแข็งแกรงเพียงใด สามารถเผชิญปญหาและอุปสรรคไดเพียงไหน ชุมชนที่อยูมานานในทองถิ่นสวนใหญจะมีการพัฒนาชุดความรูของตนเองขึ้นมาเพื่อการดํารงชีวิต ยิ่งชุมชนสามารถเรียนรู ปรับตัว รับความรูใหมๆ จากภายนอกมาตอยอดกับความรูเดิมที่มีอยูไดมาก ชุมชนนั้นจะยิ่งเขมแข็งมาก ประเด็นที่ควรพิจารณาในหัวขอนี้มีอยู 3 ประเด็น คือ ลักษณะของความรูทองถิ่น กระบวนการสรางและถายทอดความรูของชุมชน และการจัดการความรูเพื่อเปนพลังในการพัฒนาทองถิ่น (สีลาภรณ บัวสาย, 2547: 20)

1.4.4 ระบบคุณคาและความเชื่อ ในการยึดโยงเครือขายทางสังคมใหสามารถดํารงอยูไดตอเนื่องยาวนาน ชุมชนจําเปนตองสรางระบบคุณคาและความเชื่อชุดหนึ่งเพื่อทําหนาที่เปนเครื่องมือผูกรอย “ใจ” ของคนที่อยูรวมกันในทองถิ่นใหได รวมทั้งทําหนาที่เปนเครื่องมือกํากับควบคุมพฤติกรรมของคนในกลุมใหอยูในครรลองที่เปนที่ยอมรับ และยกระดับจิตวิญญาณความเปนมนุษยใหสูงขึ้น ซึ่งหากกลาวโดยสาระสําคัญแลว นี่คือบทบาทหนาที่ของศาสนานั่นเอง (สีลาภรณ บัวสาย, 2547: 30) โดยในที่นี้ไดจําแนกประเด็นของระบบคุณคาและความเชื่อออกมาเปน 2 ประเด็นเพื่อใหเห็นความหมายและหนาที่ทางสังคม (Social function) ที่สะทอนใหเห็นพลังของ ศาสนธรรมไดชัดเจนยิ่งขึ้น คือ หนาที่ทางสังคมของระบบคุณคาและความเชื่อ และการสืบทอดระบบคุณคาและความเชื่อ

15

1.5 พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในระยะแรก ๆ ความคิดและความหมายเกี่ยวกับชุมชนจะอยูภายใตวาทกรรม

(Discourse) ของรัฐเปนหลัก กลาวคือ การใหความหมายจะเกิดขึ้นในบริบทของการพัฒนาใหมีความทันสมัย (Modernization) ภายใตแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ชุมชนจะถูกแยกยอยออกเปนหนวยทางการปกครองขนาดเล็กที่งายตอการควบคุมและแทรกแซง ชุมชนถูกมองวาเปนพื้นที่ที่ลาหลัง ดอยพัฒนา รัฐจึงตองเขาไปเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง โอบอุม คํ้าจุน ชวยเหลือ ภาพของชุมชนจึงหมายถึงหมูบานที่มีอาณาเขตที่แนนอนตายตัว เปนหนวยทางสังคมที่เปนอิสระหรือโดดเดี่ยว แยกตัวออกจากหนวยทางสังคมอื่น ๆ (ยศ สันตสมบัติ, 2539 อางถึงใน ณฐพงศ จิตรนิรัตน และอดิศร ศักดิ์สูง, 2544: 7-8) สมาชิกภายในชุมชนมีวิถีชีวิตแบบปจเจกชน ไรพันธะสัญญารวมกันในชุมชน และไมมีความผูกพันกับชุมชน

ในขณะที่นักพัฒนาชุมชนกระแสหลักมองชุมชนแบบหยุดนิ่ง ยึดติดกับพื้นที่แบบตายตัว และพึ่งพิงภายนอกอยูตลอดเวลานั้น นักพัฒนาชุมชนอีกกระแสหนึ่งไดสรางวาทกรรมชุดใหมออกมาตอบโตเปนวาทกรรมทวนกระแส คือ “วัฒนธรรมชุมชน” ซึ่งมีความโดดเดนมากในชวงทศวรรษที่ผานมา โดยใชชุมชนและความเปนชุมชนเปนตัวตั้งแทน (ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร, 2542)

ชุมชนหมูบานไทยนั้นไดเผชิญหนากับความเปลี่ยนแปลงของพลังตาง ๆ ที่กําหนดความเปนไปของสังคมอยางรวดเร็วขึ้นตามลําดับ โดยเฉพาะอยางยิ่งกลไกตลาดซึ่งสงผลกระทบตอความสัมพันธทางการผลิตและการจัดองคกรสังคมในรูปแบบตาง ๆ เชน ระบบครอบครัว เครือญาติ เปนตน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยางรวดเร็วนี้ ทําใหมิอาจใชกรอบในการมองที่หยุดนิ่งเชนเดิมมาอธิบายชุมชนหมูบานไทยไดอีกตอไป และอิทธิพลของปจจัยภายนอกที่สงผลกระทบตอการเปลี่ยนผานของชุมชนหมูบานไทยอยางรวดเร็วมากขึ้นอยางตอเนื่องนี้ ทําใหมิอาจมองชุมชนในฐานะเปนหนวยของการวิเคราะหที่โดดเดี่ยวอีกตอไป การศึกษาในยุคตอมาจึงเริ่มใหความสําคัญตอพัฒนาการทางประวัติศาสตร ตลอดจนอิทธิพลของโครงสรางอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีตอชุมชนมากขึ้น และสถานภาพการศึกษาชุมชนของไทยจึงเริ่มเคลื่อนจากการทําความเขาใจโครงสรางสังคมไทยมาสูการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนามากขึ้น (อาภรณ จันทรสมวงศ, 2541)

การศึกษาประวัติศาสตรเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของชุมชนไทย เปนความพยายามในการสรางคําอธิบายเกี่ยวกับชุมชนหมูบานไทยอีกชุดหนึ่ง โดยชี้ใหเห็นภาพรวมของพัฒนาการของหมูบานไทยตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน เชน งาน “เศรษฐกิจหมูบานไทยในอดีต” ของฉัตรทิพย นาถสุภา (2533) ไดสรางคําอธิบายเกี่ยวกับการดํารงอยูและการเปลี่ยนแปลงของหมูบานอยางสัมพันธกับบริบทและมิติทางประวัติศาสตร ซึ่งชี้ใหเห็นวา แตเดิมนั้นหมูบานไทยมีลักษณะเปน ชุมชนด้ังเดิม ตอมาไดถูกครอบงําจากรัฐศักดินาที่เกิดขึ้นนอกหมูบาน และคอย ๆ ถูกดึงเขาสูระบบ

16

ทุนนิยม อันสงผลกระทบตอลักษณะเศรษฐกิจแบบยังชีพของชาวบาน ขณะที่ชาวบานเองก็พยายามรักษาระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไว

ในขณะที่การอธิบายเกี่ยวกับหมูบานไทยอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งควบคูกันมาในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของหมูบานไทย คือ การเนนประเด็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปญญาที่ดํารงอยูคูกับวิถีการผลิตทางการเกษตรของหมูบาน ซึ่งถือเปนศักยภาพพื้นฐานของชุมชนที่อาจนํามาปรับใชเพื่อรักษาความเปนชุมชนทามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยเฉพาะอยางยิ่งความเห็นของสํานักคิดแนว “วัฒนธรรมชุมชน” ที่เสนอวาคําตอบของเศรษฐกิจไทยอยูที่หมูบาน และเสนอใหหันกลับมาร้ือฟนภูมิปญญาของหมูบานไทย เพราะมองวาการพัฒนาที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมชุมชนที่เขมแข็ง จะทําใหชุมชนมีโอกาสในการเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกไดอยางเปนประโยชนมากข้ึน แนวคิดนี้สามารถเห็นไดชัดจากงาน “วัฒนธรรมหมูบานไทย” ของฉัตรทิพย นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา (2537)

การเปลี่ยนแปลงหมูบานไทยในยุคที่ผนวกเขากับเศรษฐกิจของประเทศแลวนั้น สามารถเห็นไดชัดในการเสนอเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรกรรมในรายงานเรื่อง “บนหนทางสูอนาคต” ของนิธิ เอียวศรีวงศ (2536 อางถึงใน อาภรณ จันทรสมวงศ, 2541) โดยเห็นวาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับชุมชนเกษตรกรรมยังคงเปนแกนกลางที่ใชอธิบายการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในดานตาง ๆ ซึ่งลวนมีความเกี่ยวโยงอยูในกระบวนการเดียวกันไดดี เนื่องจากชุมชนเกษตรกรรมยังคงเปนภาคการผลิตที่ครอบคลุมประชากรสวนใหญของประเทศ การเปลี่ยนแปลงดังกลาวเปนส่ิงที่เกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศและเชื่อมโยงใหเห็นถึงการใชทรัพยากรและการปรับตัวของเกษตรกร รวมทั้งสามารถใชคาดการณแนวโนมความเปลี่ยนแปลงในอนาคตไดอีกดวย การวิเคราะหดังกลาวระบุวา ในชวงกวาสามทศวรรษที่ผานมา สัดสวนการผลิตเชิงพาณิชยมีมากขึ้นอยางตอเนื่องจนเปนผลใหมีการขยายพื้นที่การเกษตรเขาไปในพื้นที่ปามากขึ้น ซึ่งสงผลใหพื้นที่ซึ่งเคยเปนทรัพยากรเพื่อการยังชีพของชุมชนรอยหรอลง ขณะเดียวกัน มีการขยายตัวของรัฐเขามาในชนบทโดยผานผูมีอิทธิพลในทองถิ่น ชาวบานมีความตองการการชวยเหลือจากรัฐมากขึ้น ขณะที่องคกรชาวบานและกลไกทางวัฒนธรรมที่เคยมีบทบาทดูแลจัดสรรทรัพยากรไมไดรับการสงเสริมจึงหมดพลังลงเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงใหเห็นวา ทรัพยากรตางๆ ถูกทําลายลงทุกขณะทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีความขัดแยงระหวางภาคการผลิตที่ใชทรัพยากรดิน น้ํา ปารวมกัน พรอม ๆ กับการเสื่อมถอยของจารีตประเพณีของชุมชน สถานการณดังกลาวทําใหมองเห็นแนวโนมของภาคชนบทไทยวา การผลิตในภาคเกษตรกรรมนั้นจะเปนการผลิตที่ใชทุนที่เขมขนมากขึ้น ดังนั้นกลุมที่มีทุนเดิมอยูจะปรับตัวไดงายกวา

17

ปจจุบันนี้ การเปลี่ยนแปลงของหมูบานไทยไดดําเนินมาถึงจุดที่ทําใหเห็นถึงอิทธิพลจากระบบภายนอกที่กวางขวางและซับซอนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การศึกษาการเปลี่ยนแปลงจึงมุงไปที่การใชประเด็นปญหาเปนแกนในการอธิบาย เชน อิทธิพลและผลกระทบของระบบเศรษฐกิจโลก บทบาทและอํานาจรัฐในชนบท เปนตน ทั้งนี้ เนื่องจากในปจจุบันชุมชนหมูบานมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาทุนนิยมทั้งในระดับประเทศและโลก การอธิบายการเปลี่ยนแปลงจึงตองอยูบนพื้นฐานความสัมพันธที่ผนวกเอาประเทศเขาเปนสวนหนึ่งของระบบทุนนิยมของโลก การที่ภาคเกษตรและสังคมชนบทถูกเชื่อมโยงเขากับเศรษฐกิจของประเทศและโลกอยางใกลชิด ทําใหเห็นกลไกการ โยกยายสวนเกินจากภาคเกษตรในรูปแบบตาง ๆ กัน สงผลตอแบบแผนการดําเนินชีวิตของชุมชนชนบท ที่เห็นไดชัด คือ การปรับเปลี่ยนระบบการผลิต การใชเครื่องทุนแรงและปจจัยการผลิต ใหม ๆ การเปลี่ยนแปลงโครงสรางและความสัมพันธระหวางกลุมคนตาง ๆ บทบาทและอํานาจรัฐที่แทรกแซงเขาไปในภาคชนบทในรูปแบบตาง ๆ เปนตน ซึ่งงานศึกษาระดับหมูบานหลายชิ้นมักเปนการวิเคราะหครอบคลุมประเด็นปญหาตาง ๆ ของชุมชนแทบทุกดาน และทําใหเห็นความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคและระดับจุลภาคที่มีตอกัน (วัฒนา สุกัณศีล, 2538 อางถึงใน อาภรณ จันทรสมวงศ, 2541)

อานันท กาญจนพันธุ (2544: 2-4) ต้ังขอสังเกตถึงปญหาประการหนึ่งในการศึกษาชุมชนหมูบานวา ความเชื่อที่วาหมูบานมีความกลมกลืนเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ทําใหละเลยที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงจากภายใน แตมักจะกลาวโทษอิทธิพลจากภายนอกวาเปนสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลง ไมวาจะเปนอิทธิพลของรัฐและตลาดก็ตาม อานันท กาญจนพันธุจึงพยายามจะถกเถียงกับประเด็นปญหานี้ดวยการเสนอใหมองชุมชนจากมิติของความสัมพันธที่ขัดแยงไวในงาน “มิติชุมชน: วิธีคิดทองถิ่นวาดวยสิทธิ อํานาจ และการจัดการทรัพยากร” โดยหยิบยกกรณีของความขัดแยงระหวางจารีตของทองถิ่นกับกฎหมายของรัฐที่เกิดขึ้นในบริบทของการเรงรัดออกโฉนดที่ดินใหชาวบาน โดยชี้ใหเห็นถึงวิธีคิดที่แตกตางกันระหวางชาวบานและรัฐเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน บนพื้นฐานที่วาชาวบานจะถือหลักการถือครองรวมกันในหมูเครือญาติ แตรัฐจะเนนหลักกรรมสิทธิ์เอกชนในการออกโฉนดที่ดิน เมื่อความแตกตางดังกลาวปรากฏขึ้นในหมูบานแลว ไดกลายเปนเงื่อนไขใหชาวบานสามารถเลือกวิธีคิดหรือหลักการในการถือครองที่ตางกัน จนกลายเปนสาเหตุของความขัดแยงกันเอง แมกระทั่งในหมูเครือญาติเดียวกัน เพราะชาวบานแตละคนอาจมีมุมมองที่แตกตางกัน ซึ่งชี้ใหเห็นถึงพื้นฐานของความแตกตางกันเองภายในชุมชน อันเปนพลังขับเคลื่อนที่นําไปสูการเปลี่ยนแปลงไดในที่สุด พรอม ๆ กันนั้นยังชวยใหมองเห็นความสัมพันธที่ซับซอนระหวางทองถิ่นกับรัฐดวย

18

นอกจากนี้ ชยันต วรรธนะภูติ (ใน อุทัย ดุลเกษม, บรรณาธิการ, 2544 : 45-108) พบวา ส่ิงที่มักขาดหายไปในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชน คือ การพิจารณาความสัมพันธทางสังคมและกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทําหนาที่เปนกลไกรองรับหรือปะทะกับการเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก โดยเฉพาะอยางยิ่งกลไกดานโครงสรางทางสังคมในแงที่วาพลังทางสังคมนี้มีพัฒนาการและการปรับตัวเขากับสถานการณใหมอยางไร รวมทั้งสงผลตอปรากฏการณทางสังคมและวัฒนธรรมอยางไร โดยความเปนชุมชนในแงมุมนี้เกี่ยวของกับอุดมการณอํานาจและความสัมพันธทางสังคมที่มีทั้งความกลมกลืน ความขัดแยง สามารถเปลี่ยนแปลงและผลิตซ้ําหรือผลิตใหมได ชุมชนไมไดเปนอุดมคติ และสามารถปรากฏอยูในหนวยที่มีขอบเขตหลายระดับต้ังแตครอบครัว หมูบาน จนถึงระดับเครือขายที่กวางขวางซึ่งอาจจะซอนกันอยูได และความเปนชุมชนไมใชหนวยอิสระที่อยูโดดเดี่ยว หากดํารงอยูในความสัมพันธกับสังคมภายนอกทั้งรัฐและตลาดดวย (อานันท กาญจนพันธุ, 2544: 56)

นอกจากนี้ ภายใตกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยมโลก (Global capitalism) นอกจากการตอบสนองหรือการปรับตัวที่มีหลากหลายรูปแบบของชุมชนชนบทตอระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วแลว ยังนําไปสูการปรับตัวของกรอบแนวคิดทฤษฎีในการศึกษาสังคมหมูบานที่ใหความสําคัญตอลักษณะเฉพาะแหง (Local specificity) ของแตละหมูบานที่มี รูปแบบของการปรับตัวที่แตกตางกัน ซึ่งอาจกลาวไดวาเปนความพยายามใหปรากฏการณเปนสิ่งที่อธิบายตัวเองมากกวาการยึดติดกับทฤษฎีใหญ (จามะรี พิทักษวงศ, 2538 อางถึงใน อาภรณ จันทรสมวงศ, 2541)

แนวทางการศึกษาดังที่กลาวมาขางตนชวยชี้ใหเห็นถึงพัฒนาการในการมองความเปลี่ยนแปลงของชุมชนหมูบานไทย ซึ่งกาวมาถึงจุดที่มิไดมองชุมชนเปนภาพนิ่งตายตัวอีกตอไป แตเปนหนวยทางเศรษฐกิจและสังคมที่อยูในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่กวางกวา ซึ่งนอกจากจะทําใหตองคํานึงถึงบริบททางประวัติศาสตรของชุมชนนั้น ๆ แลว ยังตองคํานึงถึงความสัมพันธระหวาง ชุมชนกับกลุมอํานาจภายนอก ทั้งในแงมุมของความสัมพันธที่เอื้อตอกันและขัดแยงกัน อันเปนกระบวนการที่ปฏิสัมพันธกัน ซึ่งจะชวยใหเขาใจพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงในดานความสัมพันธเชิงโครงสราง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนกลไกหรือพลังทางสังคมที่ใชในการปรับตัวทามกลางการเปลี่ยนแปลงในแตละยุคสมัยดวย

1.6 ชุมชนและความเปนชุมชนในภาคใตจากงาน “ภูมิปญญาทักษิณ” ที่ไดศึกษาถึงกระบวนการเรียนรูและการปรับตัวของ

ชาวบานในภาคใต เอกวิทย ณ ถลาง (2544: 51-53, 181-183) ใหขอสังเกตเกี่ยวกับความเปน

19

ชุมชนภาคใตไววา ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการทํามาหากินนั้นมีสภาพภูมิศาสตรเปนตัวกําหนดสําคัญทําใหชุมชนในภาคใตแตกตางจากชุมชนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ดวยการปรับตัวใหเขากับภูมิประเทศและภูมิอากาศของคาบสมุทรภาคใตที่มีการคบคาสมาคมกับกลุมชนตางชาติพันธุ ตางภาษา ตางศาสนา และตางวัฒนธรรมเปนเวลานานกวาพันป ทําใหเกิดการหลอหลอมลักษณะเดนเฉพาะตัวของชาวบานภาคใตบางประการ โดยจะหยิบยกมา 6 ประการดังนี้

1.6.1 ความรูความเขาใจและเขาถึงคุณคาของทรัพยากรที่มีอยูอยางหลากหลายในธรรมชาติแวดลอม ทําใหชาวบานภาคใตมีระบบอาหารการกิน การใชยาสมุนไพรรักษาโรค การปลูกสรางบานเรือน และการประดิษฐส่ิงของเครื่องใชที่มีลักษณะเฉพาะเปนของตนเอง ชี้ใหเห็นความรูและภูมิปญญาในการแกปญหาและการสรางสรรคที่ทําใหชีวิตสมดุลกับธรรมชาติเปนอยางดี

1.6.2 ชาวบานภาคใตแมจะตางชาติพันธุหรือตางวัฒนธรรมกัน ก็ไดสรางเครือขายความสัมพันธระหวางชุมชนที่มีวิถีการผลิตแตกตางกัน และตองพึ่งพากันระหวางชุมชนริมชายฝงทะเล ที่ราบเชิงเขา หลังเขา และที่ราบลุม ความจําเปนที่ตองพึ่งพาแลกเปลี่ยนผลผลิตกันนั้น มีผลพลอยไดเปนการขยายโลกทัศนและชีวทัศน ขยายความรูรอบตัวและขยายวงไมตรีสัมพันธ ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารระหวางชุมชนตางถิ่นกันอยูเสมอ โลกของชุมชนภาคใตจึงเปดกวางและเคลื่อนไหวอยางมีพลวัตตลอดเวลา

1.6.3 การอยูหางไกลจากศูนยกลางอํานาจทางการเมืองการปกครองทําให ชาวบานภาคใตมีอิสรภาพในการตัดสินใจดวยตนเองมากกวาการถูกครอบงําดวยอํานาจจากสวนกลาง การพึ่งพากันเองระหวางชุมชนและความเคยชินที่ตองตัดสินใจเองทําใหมีพัฒนาการของระบบความสัมพันธที่นิยมคนที่เขมแข็ง ปกปองรักษาชีวิต ทรัพยสิน และถิ่นฐานทํามาหากินของตนได จนบางครั้งบางกลุมจึงนิยมความเปน “นักเลง” ในความหมายของคนจริงที่นาเกรงขามมากกวาความเปนอันธพาล

1.6.4 สืบเนื่องจากเครือขายคบหาสมาคม ชาวบานภาคใตตางชุมชนและถิ่นฐานจึงไมเพียงแตแลกเปลี่ยนผลผลิตกัน แตยังขยายไปถึงการแลกเปลี่ยนแรงงาน ขอมูลขาวสาร วัฒนธรรม ความเชื่อ และศิลปะวิทยาการ โดยมีนายหนังตะลุง โนรา เพลงบอก เปนสื่อกลางที่มีความรู ขอมูล เพราะเปนผูนําทางปญญาที่ “เดินโรง” อยูเปนกิจวัตร อีกทั้งมีการผูกมิตรที่เปน “เกลอ” กันระหวางสายสกุลตาง ๆ ขามชั่วคน กอใหเกิดความรักและความสามัคคีของกลุมคนระดับพื้นฐานที่แตกตางไปจากสังคมเครือญาติของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

20

1.6.5 สืบเนื่องจากการพึ่งพากันเองจนเคยชิน และถูกสวนกลางดึงเอาทรัพยากรไปเปนจํานวนมากเปนเวลาตอเนื่องตั้งแตอดีต ชาวบานภาคใตจํานวนไมนอยจึงมีโลกทัศนและ ทาทีที่ทรนง ไมนับถือและไมสยบใหกับศูนยกลางอํานาจ และไมไววางใจคนแปลกหนาเทาไรนัก แตจะไววางใจโดยเคารพ “สัจจะ”ในพรรคพวกเดียวกันในเครือขายความสัมพันธที่กวาง มีการสรางสรรค คาดหวัง และรักษาปทัสถานทางสังคมที่เปนคตินิยมรวมกันของวัฒนธรรมภาคใต

1.6.6 ชาวบานภาคใตมีประสบการณยาวนานในการปรับตัวเขากับเขากับระบบทุนจากภายนอกกอนชุมชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลายคลึงกับภาคกลางที่เมืองเปดสูโลกกวาง ประสบกับความไดเปรียบเสียเปรียบมามาก จนเกิดพัฒนาการของการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับของชาวบานเอง เชน การทําสวนยางควบคูไปกับการทํานาและสวนผลไม การทําประมงคูกับการทํานา การคาขายคูกับการทําสวนทําไร เปนตน ตลอดจนเมื่อมีขอขัดแยงกันก็นิยมให “คนจริง" ที่เปนผูใหญแหงเครือขายชุมชนตัดสินและถือเปนยุติ แทนการพึ่งพาอํานาจรัฐระดับอําเภอหรือจังหวัด

จะเห็นไดวา ในการศึกษาชุมชนนั้น นอกจากจะทําความเขาใจในประเด็นขอมูลพื้นฐาน ลักษณะของชุมชน องคประกอบของชุมชน ความเปนชุมชนของแตละพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาการของชุมชนแลว ประเด็นสําคัญที่ควรศึกษา คือ กระบวนการเรียนรูของชุมชน เพื่อทําความเขาใจถึงกระบวนการของความเปนชุมชนนั้น ๆ ไดชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรูของชุมชนและงานวิจัยที่เกี่ยวของในหัวขอนี้ เนื้อหาที่จะกลาวถึง ไดแก ความหมายของกระบวนการเรียนรู ลักษณะของ

กระบวนการเรียนรูของมนุษย กระบวนการเรียนรูของชุมชน และงานวิจัยที่เกี่ยวของ เพื่อประมวลความเขาใจเกี่ยวกับชุมชนกับกระบวนการเรียนรู ซึ่งจําเปนตองใชในการวิเคราะหขอมูลของชุมชน

2.1 ความหมายของกระบวนการเรียนรูการเรียนรู หมายถึง การแสดงใหเห็นถึงลักษณะของกระบวนการที่ตอเนื่องของการเรียน

โดยมีกระบวนการในการหาขอมูล กระบวนการกําหนดปญหา กระบวนการจัดลําดับความสําคัญของปญหา กระบวนการวิเคราะหเหตุแหงปญหา การหาแนวทางแกไขและการวางแผนการแกปญหา (สีลาภรณ บัวสาย, ม.ป.ป. อางใน วิมลลักษณ ชูชาติ, 2540)

กระบวนการเรียนรูเปนการดําเนินการอยางเปนขั้นตอนในการเรียนรูโดยใชวิธีการเรียนรู รูปแบบตางๆ เชน การฟง การอาน การโตตอบกับผูอ่ืน การซักถาม การเขียน การสังเกต การจดจํา การเลียนแบบ การดูตัวอยาง การลองทํา การคิด (เปรียบเทียบ วิเคราะห ไตรตรอง ฯลฯ) การลงมือ

21

ทํา เปนตน กระบวนการเรียนรูไมสามารถเกิดขึ้นลอยๆ ได จําเปนตองมีสาระที่เรียนรูควบคูไปดวยเสมอ กลาวคือ เมื่อบุคคลนั้นใชกระบวนการเรียนรูหรือวิธีการเรียนรูเพื่อที่จะเรียนรูเร่ืองราวตางๆ แลว ผลที่ตามมา คือ ผูนั้นอาจจะเขาใจหรือไมเขาใจเรื่องนั้นๆ ก็ได แตส่ิงที่มักเกิดขึ้นควบคูกันไปโดยที่ผูนั้นอาจจะไมรูตัว คือ กระบวนการหรือวิธีการในการเรียนรูนั่นเอง (ทิศนา แขมมณี, 2544: 1-3) นอกจากนี้ กระบวนการเรียนรูยังเปนกระบวนการทางสังคม (Social process) เนื่องจากบุคคลตองอยูในสังคมซึ่งเปนสิ่งแวดลอมที่มีอิทธิพลตอตนเอง การปฏิสัมพันธทางสังคม เชน การแลกเปลี่ยนขอมูลและมุมมองกับผูอ่ืนจึงเปนสิ่งจําเปนและสามารถกระตุนการเรียนรูและขยายขอบเขตของความรูดวย (ทิศนา แขมมณี, 2544: 11) และกระบวนการเรียนรูมีลักษณะเปนพลวัต (dynamic) และเปนกลไกสําหรับการสรางเครือขายการเรียนรู การทําความเขาใจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงหรือความเคลื่อนไหวของชีวิตและชุมชนในชนบท จึงตองหยิบยกเอากระบวนการเรียนรูมาพิจารณา เพราะการเรียนรูเปนหัวใจหรือแกนกลางของความเคลื่อนไหวการศึกษาในวิถีชุมชน ดังนั้นการเรียนรูจึงประกอบดวยกระบวนการดังตอไปนี้ (วิมลลักษณ ชูชาติ, 2540)

2.1.1 การวิเคราะห – สังเคราะหปญหาทั้งของตนเองและชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงส่ิงเหลานี้เขากับสังคมไทยตลอดจนสังคมโลก

2.1.2 การแสวงหาทางออกที่เหมาะสมกับตนเองและชุมชนดวยวิธีการตางๆ เชน การประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน และการเรียนรูผานสื่อตางๆ

2.1.3 การสรางสรรคกิจกรรมที่เปนผลจากการตัดสินใจของตนเองและชุมชน ในสวนของชุมชน กิจกรรมที่ทําขึ้นนี้อาจเรียกวา กิจกรรมเครือขาย เพราะเปนตัวชักจูงและเชื่อมโยงคนเขาดวยกัน

2.1.4 การประเมินผลกิจกรรม และนําผลที่ไดไปแกไขปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด

2.2 ลักษณะกระบวนการเรียนรูของมนุษยการสรางสรรคและสั่งสมภูมิปญญาเปนกระบวนการเรียนรูตามธรรมชาติของมนุษย

ทามกลางสภาพแวดลอมธรรมชาติและสิ่งแวดลอมทางสังคมที่มีพัฒนาการมายาวนาน ธรรมชาติของการเรียนรูของมนุษยจึงมีความสําคัญและถือไดวาเปนศักยภาพอันยิ่งใหญของมนุษย ถึงแมวามนุษยจะสามารถพัฒนาความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอยางทันสมัยและตอเนื่อง และไดพัฒนาการเรียนรูดวยวิทยาการกาวหนาที่เรียกวา เทคโนโลยีขอมูลขาวสาร (Information Technology) มีทางดวนขอมูลขาวสาร มีระบบเครือขายขอมูลนานาชาติที่มีประสิทธิภาพ และคนธรรมดาสามัญทุกหนแหงสามารถเรียนรูขอมูลขาวสารและเขาถึงองคความรูไดอยางกวางขวาง

22

ลึกซึ้ง และรวดเร็ว แตโดยคูขนานกัน มนุษยยังตองเรียนรูจากการมีปฏิสัมพันธระหวางมนุษยดวยกัน และเรียนรูจากโลกกายภาพอันเปนสิ่งแวดลอมธรรมชาติที่เกื้อกูลชีวิตมนุษยตลอดมา กระบวนการเรียนรูตามธรรมชาติของมนุษยแลวสั่งสมไวเปนมรดกทางปญญาจึงยังคงมีความสําคัญควบคูไปกับการเรียนรูดวยวิทยาการกาวหนาดังกลาว นอกจากนี้ ประเวศ วะสี (อางถึงใน อาภรณ มณีรัตน, 2546: 13) ไดใหขอคิดไววา การเรียนรูในวิถีการปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงจริงในชีวิตและสังคม ยอมมีความแตกตางหลากหลายกันไปตามสภาพ เพื่อใหรูพอ รูทัน รูเผชิญ และรูจัดระบบชีวิตและสังคมใหอยูในดุลยภาพในสถานการณที่เปลี่ยนแปลงได

เทาที่ เอกวิทย ณ ถลาง (2540: 45-49) ไดศึกษาวิเคราะหและประมวลเอาลักษณะการเรียนรูของ “ชาวบาน” จนกอใหเกิดการพัฒนาภูมิปญญาไวอยางมากมาย พอจะสรุปไดวา กระบวนการเรียนรูตามธรรมชาติของมนุษย มีดังตอไปนี้

2.2.1 การลองผิดลองถูก ในอดีต มนุษยเรียนรูที่จะดํารงชีวิตและรักษาเผาพันธุของตนใหอยูรอดดวยการ “ลองผิดลองถูก” ในการหาอาหาร ตอสูกับภัยธรรมชาติ การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บปวย ตอสูแยงชิงสิ่งของหรือที่อยูระหวางมนุษยดวยกัน และเผชิญโชคดวยความเสี่ยงตางๆ จากประสบการณของการลองผิดลองถูก มนุษยไดสะสมความรูความเขาใจของตนไวถายทอดสงตอใหแกลูกหลาน เมื่อเวลาผานไป ส่ิงที่ประพฤติปฏิบัติหรือหามปฏิบัติ จะกลายเปนจารีต ธรรมเนียม หรือขอหามในวัฒนธรรมของคนกลุมนั้น ๆ ไป กาลเวลาลวงไปมนุษยอาจลืมเหตุที่มาของธรรมเนียมปฏิบัติไปแลว รูแตวาในสังคมของตนตองประพฤติปฏิบัติเชนนั้น จึงจะอยูรอดปลอดภัยหรือแกไข-ปองกันปญหาได ความรูและประสบการณเหลานี้ไดรับการทดสอบอยูตลอดเวลาในการดําเนินชีวิตจริง บอยครั้งภูมิปญญาเหลานั้นใชการตอไปไมได เพราะเหตุปจจัยหรือสถานการณเปลี่ยนไป มนุษยก็ตองใชปญญาขบคิดแกปญหาใหม และเมื่อไดเรียนรูวาคิดอยางไร ทําอยางไรจึงจะแกปญหาไดก็จะจดจําความคิดและวิธีปฏิบัตินั้นไวตอไป ถาลมเหลวก็จะจดจําไวเปนขอหาม ดวยการสั่งสมประสบการณดังกลาว มนุษยจึงสั่งสมภูมิปญญาในการดํารงชีวิตมากข้ึนและมีความเสี่ยงนอยลง

2.2.2 การลงมือกระทําจริง มนุษยเรียนรูดวยการ “ลงมือกระทําจริง” ใน สถานการณหรือส่ิงแวดลอมที่มีอยูจริง เชน การเดินทาง ปลูกพืช สรางบาน ตอสูกับภยันตราย ฯลฯ ในกรณีของชาวบานในประเทศไทย จะเห็นไดวา ชาวบานภาคเหนือเรียนรูจากการรวมกันจัดระบบเหมืองฝายเพื่อการกสิกรรมในพื้นที่ลุมน้ําระหวางภูเขา แลวคอย ๆ พัฒนาเปนระบบความสัมพันธในการแบงปนน้ําระหวางคนที่ต้ังถิ่นฐานอยูในลุมน้ําเดียวกัน ชาวบานภาคอีสานเรียนรูที่จะเสาะหาแหลงดินดําน้ําชุมเปนที่ทํากินหรือขุดสระไวเปนบารายรอบเทวสถานเพื่อเลี้ยงชุมชน ชาวบาน

23

ภาคกลางเรียนรูที่จะอยูกับภาวะน้ําหลาก น้ําทวม น้ําลด ดวยการปลูกเรือนใตถุนสูง เดินทางดวยเรือ และทําไรทํานาใหสอดคลองกับฤดูกาล ในขณะที่ชาวบานภาคใตเรียนรูที่จะพึ่งพากันระหวางคนที่อยูตางถิ่นตางทําเลกันในเขตเชิงเขา ลุมน้ํา และชายฝงทะเล ดวยการผูกไมตรี แลกเปลี่ยน ผลผลิตระหวางพื้นที่ การเรียนรูและสะสมประสบการณตาง ๆ ไวในสถานการณจริง ปฏิบัติจริง แลวสงตอไปยังรุนลูกหลานแบบคอยเปนคอยไป ไดกลายเปนธรรมเนียมปฏิบัติในที่สุด

2.2.3 การสาธิต การสั่งสอนดวยการบอกเลา และการสรางองคความรูเปนลายลักษณอักษร การถายทอดความรู การเรียนรูจากการทําจริงไดพัฒนาตอมาจนเปนการสงตอ (Transmission) แกคนรุนหลังดวย “การสาธิต การสั่งสอนดวยการบอกเลา (Oral tradition)ในรูปของเพลงกลอมเด็ก คําพังเพย สุภาษิต และ “การสรางองคความรูไวเปนลายลักษณอักษร” (Literary tradition) ซึ่งโดยทั่วไปการถายทอดภูมิปญญาของชาวบานทุกภูมิภาคจะนิยมใช 2 วิธีแรก คือ การสาธิตและการสอนดวยวาจา ในกรณีที่เปนศิลปวิทยาการระดับที่มีความซับซอนหรือลึกซึ้ง จึงจะใชวิธีที่เปนลายลักษณในรูปของตํารา เชน ตํารายา ตําราปลูกบาน ตําราโหราศาสตร ฯลฯ หรือผูกเปนวรรณกรรมคําสอน ภาษิต คูมือ แผนที่ และตํานาน-นิทาน เปนตน

2.2.4 พิธีกรรม หากกลาวในเชิงจิตวิทยา พิธีกรรมมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอํานาจโนมนาวใหคนที่มีสวนรวมรับเอาคุณคาและแบบอยางพฤติกรรมที่ตองการเนนไวในตัว เปนการตอกย้ําความเชื่อ กรอบศีลธรรมจรรยาของกลุมชน แนวปฏิบัติ และความคาดหวัง โดยไมตองใชการจําแนกแจกแจงเหตุผล แตใชศรัทธา ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมเปนการสรางกระแสความเชื่อและพฤติกรรมที่พึงประสงค ถึงแมจะมีภูมิปญญา ความรอบรูอยูเบื้องหลังพิธีกรรม ก็ไมมีการเนนย้ําภูมิปญญาเหลานั้น แตจะเนนผลที่เกิดตอสํานึกของผูมีสวนรวมเปนสําคัญ ดวยเหตุนี้ พิธีสืบชะตาแมน้ํา สืบชะตาเมือง บวชตนไม บวชปา อุปสมบท บังสุกุล หรือพิธีสูขวัญในโอกาสตาง ๆ ฯลฯ จึงมีผลทางใจแกผูเขารวมพิธี และมีผลในการวางบรรทัดฐานความประพฤติ ตลอดจนควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมเปนอันมาก รวมทั้งตอกย้ําความสําคัญของคุณคาทางสังคมอยางมีพลังดวย พิธีกรรมจึงมิใชเร่ืองเหลวไหลหรืองมงาย แตเปนกรรมวิธีในทางวัฒนธรรมที่มีผลในการปลูกฝงและบมเพาะความเชื่อ คุณคา และแนวทางความประพฤติที่พึงประสงคตลอดมา โดยเฉพาะอยางยิ่งในสังคมชนบท อยางไรก็ตาม ในสังคมสมัยใหมที่นับถือความเปนเหตุเปนผลตอกันของสรรพสิ่งและใหความสําคัญตอขอมูลเชิงประจักษ พิธีกรรมก็ยังคงมีคุณคาตอการเรียนรูทางจิตวิญญาณอยูนั่นเอง เพราะมนุษยมิไดอยูภายใตกฎเกณฑของวิทยาศาสตรอยางเดียว

2.2.5 ศาสนา ทั้งในดานหลักธรรม คําสอน ศีล และวัตรปฏิบัติ ตลอดจนพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมที่มีวัดเปนศูนยกลางของชุมชน ในเชิงการเรียนรูลวนมีสวนตอกย้ํา

24

ภูมิปญญาที่เปนอุดมการณของชีวิต สรางกรอบและบรรทัดฐานความประพฤติ และใหความมั่นคง ความอบอุนใจ เปนที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เปนหลักในการหลอหลอมบมเพาะทั้งความประพฤติ สติปญญา และอุดมการณชีวิตไปพรอม ๆ กัน ถือไดวาเปนการศึกษาที่มีลักษณะเปนองครวมและมีอิทธิพลตอชีวิตของคนที่นับถือศาสนานั้น ๆ ทั้งโดยตรงและโดยออม อีกทั้งเปนแกนและกรอบในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ดวย สถาบันทางศาสนาจึงมีอิทธิพลตอการเรียนรูของคนที่อยูรวมกันเปนหมูเหลา

2.2.6 การแลกเปลี่ยนความรูและประสบการณ ระหวางกลุมคนที่แตกตางกันทั้งทางชาติพันธุ ถิ่นฐาน และวัฒนธรรม ทําใหกระบวนการเรียนรูขยายตัว มีสาระ ความคิด วิธีการ และรูปแบบใหม ๆ เขามาผสมกลมกลืนหรือขัดแยงกันบาง แตทําใหเกิดการเรียนรูที่หลากหลายและกวางขวาง

2.2.7 การผลิตซํ้าทางวัฒนธรรม (Cultural reproduction) ไดมีกลุมคนพยายามเลือกเฟนความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในสังคมของตนมาผลิตซ้ําทางวัฒนธรรม โดยยังคงสอดคลองกับฐานความเชื่อเดิม เพื่อแกปญหาทางสิ่งแวดลอม เศรษฐกิจ และสังคม การผลิตซ้ําทางวัฒนธรรมจึงเปนกระบวนการเรียนรูอีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคมไทย

2.2.8 ครูพักลักจํา เปนกระบวนการเรียนรูอีกวิธีหนึ่งที่มีมาแตอดีต เปนการ เรียนรูในทํานองแอบเรียน แอบเอาอยาง แอบลองทํา ตามแบบอยางที่เฝาสังเกตดูแลวรับมาเปนของตน เมื่อสามารถทําไดจริง วิธีนี้อาจดูเหมือนการลักขโมยสิ่งที่เปนภูมิปญญาของผูอ่ืน แตในความหมายที่แทจริงเปนวิธีธรรมชาติของบุคคลในการเรียนรูจากผูอ่ืน โดยในชีวิตจริงของคนทุกคนจะมีพฤติกรรมนี้อยูไมมากก็นอย และอาจกลาวไดวา วิธีการเรียนรูนี้มีคุณคาสูง เปนธรรมชาติของนิสัยมนุษย และเปนหนทางหาความรูที่มีประสิทธิภาพ อยางไรก็ตาม ครูพักลักจําเปนไมใชการขโมยลิขสิทธิ์ทางปญญาที่เปนปญหาหนึ่งของสังคมไทยยุคปจจุบันแตอยางใด

เมื่อคนเติบโตขึ้นดวยการเรียนรู คานิยม แบบอยางความประพฤติในสภาพแวดลอมทางวัฒนธรรมและกิจกรรมตามขนบประเพณีที่มีความหลากหลาย ยอมซึมซับรับเอาคุณคา คตินิยม และแบบอยางความประพฤติที่ไดรับการตอกย้ําในโอกาสตาง ๆ ไวโดยอัตโนมัติ ถือไดวา บุคคลและสังคมโดยรวมนั้นมีกระบวนการเรียนรูและการปลูกฝงทั้งเปนทางการและไมเปนทางการอยูตลอดเวลา (เอกวิทย ณ ถลาง, 2544: 148)

2.3 กระบวนการเรียนรูของชุมชน

25

พจนี เทียมศักดิ์ (2544: 76-77) ไดใหขอสรุปเชิงทฤษฎีของการเรียนรูในวิถีชีวิตของชุมชนไว 4 ประการดังนี้

2.3.1 ความรูและระบบความรู ระบบความรูของชุมชนเกิดขึ้นจากความสัมพันธระหวางคนกับธรรมชาติ คนกับส่ิงเหนือธรรมชาติ และคนกับคน อันเปนปรากฏการณที่ออกมาในวิถีชีวิตดานตางๆ เชน การทํานา การหาอาหาร การจักสาน การทอผา การเพาะพันธุ และการใชพืชสมุนไพร จะเห็นไดวา การเรียนรูที่เกิดขึ้นเปนการเรียนรูที่มีอยูตลอดเวลา

2.3.2 การสั่งสมและการกระจายความรู ภูมิปญญาเปนการสั่งสมทั้งระบบคิด ระบบความรู ระบบคุณคาที่สืบตอกัน เกิดจากการกระจายความรูหลายรูปแบบดวยกัน ไดแก การกระจายความรูภายในกลุมครอบครัวและเครือญาติ การกระจายความรูผานผูนํา การบอกเลาแบบปากตอปากจากคนในหมูบานเดียวกัน การรวมกลุมพูดคุย การอานเอกสารที่เขียนเปนลายลักษณอักษร การถายทอดจากศรัทธา ความเชื่อ พิธีกรรม จารีตประเพณี และการเรียนรูผานกิจกรรม ตาง ๆ เชน การทัศนศึกษา การรณรงค เปนตน

2.3.3 สถาบันสังคมซึ่งทําหนาที่ถายทอดความรูและระบบความรูในชุมชนสถาบันทางสังคมซึ่งเปนการจัดระเบียบความสัมพันธของบุคคล มีรูปแบบและมีจุดประสงคที่แนนอนรวมกัน ตัวอยางของสถาบันทางสังคม ไดแก ครอบครัว วัด และกลุมปราชญชุมชนซ่ึงเปนกลุมผูเชี่ยวชาญเฉพาะดาน

ครอบครัวเปนสถาบันหนึ่งที่ถายทอดความรูและระบบความรูแกสมาชิก เนื่องจากครอบครัวเปนองคกรทางสังคม ซึ่งมีหนาที่ขัดเกลาทางสังคม อบรม และถายทอดกระบวนการเรียนรูที่เกิดขึ้นจากประสบการณและการปฏิบัติจริงในวิถีชีวิตอันเปนการเรียนรูตลอดชีวิต

วัดเปนสถาบันที่ชวยสรางกระบวนการเรียนรูใหเกิดขึ้นในชุมชน เปนศูนยกลางของชุมชนในเชิงการเรียนรู เพราะวัดเปนสถาบันทางศาสนาที่อบรมถายทอดอุดมการณแหงชีวิต ใหกรอบและบรรทัดฐานความประพฤติและจริยธรรม ใหความมั่นคงและความอบอุนทางจิตใจ โดยผานพิธีกรรมอันเปนการเรียนรูแบบบูรณาการ

ปราชญของชุมชน เปนบุคคลที่มีความชํานาญหรือความสามารถเฉพาะทาง เชน มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคดวยสมุนไพร เปนตน

2.3.4 การสรางสรรคและปรับปรุงความรูและระบบความรูของชาวบานเนื่องจากระบบความรูเปนสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธระหวางคนกับส่ิงแวดลอม ระบบความรูจึงมีการเปลี่ยนแปลงและไดรับการปรับเปลี่ยนไปดวย เชน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให สอดคลองกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดการผสมผสานการสรางสรรคและปรับปรุง ภูมิปญญาขึ้นมาใหม เปนการรับแนวคิดและรูปแบบการจัดการเขามาผสมผสานตามบริบทของ

26

แตละทองถิ่น โดยนํามาปรับใชใหเขากับสภาพสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนอันเปนการบูรณาการใหเกิดการเรียนรู

การที่ชุมชนเขามามีบทบาทในการสรางกระบวนการเรียนรู ถือเปนปจจัยสําคัญที่สงผลใหเกิดการเรียนรูที่สอดคลองกับวิถีชีวิต เพราะการจัดการศึกษาของชุมชนมิไดเกิดขึ้นลอย ๆ เหมือนอยางการศึกษาในระบบโรงเรียน แตเปนการศึกษาที่มีรากฐานมาจากชุมชน นอกจากนี้ การจัดการศึกษาของชุมชนยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ การถายทอดความรูและประสบการณวางอยูบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมสังคมของชุมชน รูปแบบการเรียนรูจึงเรียบงาย เปนธรรมชาติ และสอดคลองกับแนวทางการดํารงชีวิตในชุมชน สามารถเรียนรูไดโดยตรง เร็วและกวาง เปนการเรียนรูจากการปฏิบัติจริง จึงตอบสนองความตองการของผูเรียนไดอยางแทจริง กระบวนการถายทอดความรูและประสบการณหรือการเรียนรูของชุมชนจึงไมไดมุงเฉพาะตัว ความรูหรือเทคนิค แตรวมถึงแนวคิด ศีลธรรมและจริยธรรม วิถีชีวิตของผูรู ผูนําและชุมชนดวย ซึ่งเรียกวาการเรียนรูแบบองครวม ไมแยกเปนสวนๆ เหมือนอยางการศึกษาในระบบโรงเรียน (วิมลลักษณ ชูชาติ, 2540 )

นอกจากการสรางกระบวนการเรียนรูแลว บทบาทที่ชุมชนตองทําควบคูกันไป คือการสนับสนุนและพัฒนากระบวนการเรียนรูใหเขมแข็งและยั่งยืน อยางไรก็ตาม บทบาทในการสราง สนับสนุนและพัฒนาการเรียนรูนี้มีลักษณะเปนกระบวนการ เกิดขึ้นพรอมๆ กัน และมี ปฏิสัมพันธตอกันตลอดเวลา บทบาทของชุมชนในการสนับสนุนและพัฒนากระบวนการเรียนรู (วิมลลักษณ ชูชาติ, 2540) พอจะสรุปไดดังนี้

(1) การสรางและพัฒนาองคกรชาวบานหรือองคกรชุมชน โดยทั่วไปกระบวนการเรียนรูที่เกิดขึ้นในชุมชนเปนผลมาจากการแลกเปลี่ยนความรู ประสบการณ ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และความรูระหวางชาวบาน ความสัมพันธจากการแลกเปลี่ยนนี้อาจสะดุดหยุดลงไดตลอดเวลา ซึ่งสงผลใหการเรียนรูไมยั่งยืน ฉะนั้น ชุมชนจึงตองเขาไปมีบทบาทในการกระตุนและสนับสนุนใหชาวบานมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และความรูรวมกัน การจัดการรวมกันนี้คือจุดเริ่มตนขององคกรชุมชน

(2) การสนับสนุนและพัฒนาเครือขายการเรียนรู การสนับสนุนและพัฒนาเครือขายการเรียนรู เปนอีกบทบาทหนึ่งของชุมชนในการที่จะชวยใหกระบวนการเรียนรูเติบโตและกาวหนาอยางมั่นคง การสนับสนุนและพัฒนานี้ ชุมชนโดยทั่วไปมักเริ่มตนจากการสนับสนุนใหองคกรชาวบานที่เกิดขึ้นแลวในชุมชนไดมีโอกาสนําทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และความรูของ

27

ตนไปแลกเปลี่ยนกับองคกรชาวบานและองคกรอื่นๆ ซึ่งจะสงผลใหเกิดการจัดความสัมพันธระหวางองคกรเหลานี้บนพื้นฐานของการเรียนรู การพึ่งพาอาศัยและการจัดการรวมกัน

(3) การสรางและพัฒนาสถาบันการเรียนรูของชุมชน เปนการรักษาองคกรชาวบาน กระบวนการและเครือขายการเรียนรูที่เกิดขึ้นแลวใหคงอยูและสืบทอดไปสูลูกหลานคนรุนหลัง เปนความพยายามที่จะพัฒนาองคกรและเครือขายใหมีความมั่นคงและเขมแข็ง มีการ ชักนําชาวบาน เด็กและเยาวชนใหเขามารวมกิจกรรมเพื่อใหเกิดการเรียนรูและถายทอดประสบการณที่มีอยูออกไปอยางกวางขวาง

การเรียนรูไดกอใหเกิดกลุมหรือองคกรชุมชนและเครือขายการเรียนรูที่สงผลตอการจัดการทรัพยากรรวมกัน และเปนเงื่อนไขสําคัญในกระบวนการสําคัญในการฟนฟู พัฒนาและประยุกตภูมิปญญาของทองถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน (วิมลลักษณ ชูชาติ, 2540)

อยางไรก็ตาม การศึกษาเรื่องกระบวนการเรียนรูเพียงวา ชุมชนมีกระบวนการเรียนรูอยางไรอาจไมเพียงพอ แตจําเปนตองศึกษาแนวคิดเบื้องหลังกระบวนการเรียนรูเร่ืองนั้น ๆ ดวย เพราะมนุษยมีแนวคิดอยูเบื้องหลังการเรียนรูเกี่ยวกับธรรมชาติเสมอ นั่นคือ แนวคิดที่ทําใหความรูที่ไดจากการเรียนรูนั้นแตกตางกันออกไป โดยมีการแยกประเภทหรือสรางกลุม (Category) วาสิ่งตาง ๆ มีความสัมพันธกันอยางไร อะไรที่เกี่ยวของกับตนเองหรือเกี่ยวของกับความสัมพันธทางสังคมหรือศาสนา เปนตน แนวคิดดังกลาวมีความสัมพันธอยางยิ่งกับระบบคานิยม ซึ่งแนวคิดและคานิยมนี้มาจากทัศนะในการมองโลก การศึกษาถึงกระบวนการเรียนรูจะตองเชื่อมโยงหรือสัมพันธกันเปนระบบ ดังนั้น ในการหยิบบางประเด็นขึ้นมาศึกษาจึงตองตระหนักวาเปนการศึกษาที่สามารถหยั่งลึกไปถึงระดับโลกทัศนของกลุมคนไดดวย นอกจากนี้ การเรียนรูจะถูกใชในเงื่อนไขของสังคมเสมอ ส่ิงที่เรียกวา “กระบวนทัศน” เปนตัวบังคับทิศทางการมองหรือการเห็นประโยชนจากการเรียนรู ดังนั้น การศึกษากระบวนการเรียนรู จึงตองศึกษาในบริบทของสังคม โดยเปนการศึกษาถึงกระบวนการสั่งสมความรูและกระบวนการถายทอดความรู ซึ่งเปนสิ่งที่ไมหยุดนิ่ง แตมีการสรางสรรคและปรับปรุงตลอดมา และคงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยอาจจะมีการผสมกลมกลืนได การศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนของชาวบานนั้นจะสะทอนใหเห็นถึงการคิดและการใหความหมาย วิธีคิดที่เปลี่ยนไปมีผลกระทบตอวิถีชีวิตในชุมชนอยางไร รวมทั้งสะทอนใหเห็นถึงศักยภาพของชุมชนหรือคนกลุมตาง ๆ ในการปรับตัวหรือแกปญหาดวย (นิธิ เอียวศรีวงศ, 2535: 2-8 อางถึงใน อาภรณ จันทรสมวงศ, 2541)

28

2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวของกับกระบวนการเรียนรูของชุมชน มีดังนี้2.4.1 ภาสกร เชมนะศิริ (2537:บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “เครือขายการเรียนรู

ของหมูบานเพื่อการพัฒนาชุมชน” พบวา ปจจัยที่สําคัญที่ทําใหเกิดเครือขายการเรียนรูในชุมชนคือ กลุมและองคกรในชุมชน ผูนํา และระบบความสัมพันธที่มีตอกันในชุมชนนั้น รูปแบบของ เครือขายการเรียนรูมีหลากหลายทั้งในลักษณะแนวนอน คือ เครือขายภายในชุมชนระหวาง ครอบครัวตอครอบครัว กลุมตอกลุมในหมูบาน และในแนวดิ่งซึ่งมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นทั้งใกลและไกล โดยที่นักพัฒนาทั้งจากภายนอกและภายในเปนผูเชื่อมประสาน แมรูปแบบเครือขายการเรียนรูมีหลากหลาย แตมีวัตถุประสงคเดียวกัน คือ เปนการถายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณระหวางคนภายในดวยกันเอง และกับคนภายนอกชุมชน แตเครือขายเหลานี้ไมมีกฎเกณฑที่ ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อย ๆ และนําวิธีการใหม ๆ มาใชเปนการกระตุนใหคนในชุมชนตื่นตัวและพัฒนาศักยภาพของตนเองไดในระดับหนึ่ง เครือขายเดิมถูกนํามาพิจารณาใหรัดกุม สามารถพัฒนาและนํากลับไปใชในชุมชนไดเปนอยางดี เครือขายการเรียนรูจะมีความสําคัญ มีประโยชนและมีความจําเปนตอชุมชน หากผูถายทอดและแลกเปลี่ยนกันในชุมชนเชื่อมั่นในศักยภาพซึ่งกันและกันของคนในชุมชน โดยเฉพาะอยางยิ่งนักพัฒนาจากภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนจะตองมีความเชื่อมั่นในศักยภาพสวนนี้ และสามารถถายทอดเครือขายการเรียนรูใหเกิดการพัฒนาไดในที่สุด

2.4.2 กอบกาญจน พจนชนะชัย (2537) ไดศึกษาเรื่อง “เครือขายการเรียนรูและการจัดการของชุมชนเกี่ยวกับปาชุมชน” พบวาการเรียนรูของชุมชนเกิดจากการประสบปญหารวมกันคือ ภาวะการขาดน้ําอันเนื่องมาจากปาที่เปนแหลงน้ําถูกทําลาย ทําใหชุมชนเกิดการเรียนรูและมีการอนุรักษปา มีการกระจายความรูที่ไดผานเครือขายทางสังคม และทําใหเกิดองคกรชุมชนขึ้นมา โดยทําหนาที่ออกกฎระเบียบและจัดการใหปาชุมชนคงอยู การถายทอดความรู ความเชื่อในการอนุรักษปาทั้งทางตรงและทางออม อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับภายนอก และขยายเครือขายกับชุมชนใกลเคียง การขยายเครือขายทั้งแนวตั้งและแนวนอนทําใหองคกรชุมชนเขมแข็ง โดยกระบวนการเรียนรูมีอยู 2 ลักษณะคือ กระบวนการเรียนรูแบบไมเปนทางการจากการเรียนรูวิถีชีวิต ความเชื่อ การถายทอดบอกเลาสืบตอกันมา และกระบวนการเรียนรูจากความสัมพันธกับภายนอกชุมชน

2.4.3 วิมลลักษณ ชูชาติ (2540) ศึกษาเรื่องการนําเสนอรูปแบบของกระบวนการสรางเครือขายการเรียนรูสําหรับการอนุรักษทรัพยากรปาไมของกลุมฮักเมืองนาน เครือขายการเรียนรูของกลุมอนุรักษลุมน้ําแมวาง เครือขายการเรียนรูขององคกรชุมชนลุมน้ําแมจัน-แมสะลอง และเครือขายการเรียนรูขององคกรชุมชนบานปานอด พบวา 1) องคประกอบหลักของเครือขาย

29

การเรียนรู ไดแก คน ความรู และทรัพยากร ศักยภาพขึ้นอยูกับผูนําสามารถเชื่อมความรูเกาและใหมที่เกี่ยวกับปาในการรวมพลังคนในชุมชนใหเห็นความสําคัญของการอนุรักษปาไม กระบวนการเรียนรูในเครือขายมีการนําความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีของทองถิ่นเปนฐานในการสรางความตระหนักตอปญหา และการถายทอดความรูในการอนุรักษทรัพยากรปาไม สมาชิกเรียนรูรวมกันโดยใชเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรูแบบเปนทางการเพื่อถายทอดวิทยาการสมัยใหมในการแกปญหาของชุมชน 2) ปจจัยในการสรางเครือขายการเรียนรู ไดแก ผูนําที่ไดรับความศรัทธาและมีความมุงมั่นในการแกปญหาชุมชน การสรางความเขมแข็งใหแกองคกรชุมชน การประสานภูมิปญญาทองถิ่นกับวิทยาการสมัยใหม และกระบวนการเรียนรูรวมกันอยางมีปฏิสัมพันธ 3) รูปแบบของกระบวนการสรางเครือขายการเรียนรูที่นําเสนอเครือขายการเรียนรูที่ประสบความสําเร็จ พัฒนาจากเครือขายระดับคน-คน ไปสูคน-กลุม และกลุม-กลุม และกระบวนการสรางเครือขายการเรียนรู เร่ิมจากการสรางผูนํา โดยอาจเปนผูนําตามธรรมชาติ หรืออาจเปน ผูนําภายในหรือภายนอกชุมชนที่ไดรับการสนับสนุนใหแกปญหาของชุมชน สวนการขยายและการเชื่อมประสานเนนการสรางการรวมกลุมใหเกิดองคกรชุมชนที่เขมแข็ง การรวมแกปญหา การเรียนรูรวมกันอยางมีปฏิสัมพันธ พัฒนาฐานความรูเดิมและสรางองคความรูใหมซึ่งเชื่อมโยงภูมิปญญาเดิมและวิทยาการสมัยใหม และการดํารงอยูเนนใหสมาชิกของเครือขายมีการรวมกิจกรรมการเรียนรูอยางตอเนื่อง พัฒนาศักยภาพของสมาชิกในการเรียนรูและรวมแกปญหา ตลอดจนมีการขยายพื้นที่เครือขายที่สนับสนุนกิจกรรมโดยมีการวางแผนอยางมีเปาหมาย

2 .4.4 งานวิจัยเรื่ อง “การกลอมเกลาทางสังคมในดานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาวเขาเผากะเหรี่ยง” เปนการศึกษาการถายทอดความรูเกี่ยวกับการจัดการและอนุรักษปาไมของชาวเขาเผากะเหรี่ยง ในหมูบานแมหาร ตําบลบานกาด อําเภอแมสะเรียง จังหวัดเชียงใหม รวมทั้งศึกษาในแงของกระบวนการกลอมเกลาทางสังคมที่แตกตางไปจากการเรียนรูในระบบการศึกษาสมัยใหม ซึ่งตุลวัตร พานิชเจริญ (2536) พบวาเปนการเรียนรูจากการปฏิบัติและสะสมเปนประสบการณ มีการแลกเปลี่ยนระหวางครอบครัว เครือญาติผานไปยังคน รุนตอ ๆ ไป วิธีการถายทอดอาจผานการขับลํานํา การประกอบพิธีกรรมรวมกันของชุมชน เชน การเลี้ยงผีขุนน้ํา การเลี้ยงผีฝาย ทามกลางการเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่ถูกกระทบจากพลังภายนอกชุมชน ชาวบานไดประดิษฐคิดคนองคความรูใหม ๆ ข้ึนมา รวมทั้งการตอตานในรูปแบบตาง ๆ

2.4.5 กฤษฎา บุญชัย (2540) ไดศึกษาภูมิปญญาของชาวบานลานนาเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมองพลวัตของการจัดการทรัพยากรทางชีวภาพของชาวบานในชุมชนแหงหนึ่งในจังหวัดนาน จากความเชื่อที่วาชาวบานมีภูมิปญญาเกี่ยวกับการ

30

จัดการความหลากหลายทางชีวภาพอยู ผูศึกษาจึงมุงศึกษาวาทามกลางกระแสการพัฒนาแบบทุนนิยมที่มีความเชื่อพื้นฐานอยูกับความรูทางวิทยาศาสตรนั้น มีแนวโนมที่ภูมิปญญาและระบบการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชาวบานจะสูญหายไป อยางไรก็ตาม ผูศึกษาเห็นวาชุมชนมิไดเปนฝายที่จะตั้งรับการเปลี่ยนแปลงดังกลาวดานเดียว แตชุมชนมีการปรับตัวเพื่อประยุกตและผสมผสานความรูทางนิเวศวิทยาสมัยใหมและความรูพื้นบานเขาดวยกัน และมิใชเพื่อการยังชีพเพียงอยางเดียว แตเพื่อการยืนหยัดอยูไดในระบบการผลิตแบบตลาดดวย วิธีการอนุรักษและฟนฟูทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพมีรูปแบบตาง ๆ เชน การเกษตรแบบผสมผสาน การอนุรักษปาในรูปของปาชุมชน โดยอาศัยระบบความเชื่อและพิธีกรรมตาง ๆ เชน การบวชปา ทั้งนี้เพื่อทําการผลิตซ้ําทางวัฒนธรรม มีการจัดตั้งองคกรรูปแบบใหมข้ึนมาเปนกลไกทางสังคมเพื่อ จัดการกับปญหาที่เกิดจากความสัมพันธทางสังคมที่เปลี่ยนไป

2.4.6 โกมล สนั่นกอง (2543 อางถึงใน สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย และคณะ, 2545)ไดศึกษาวิจัยโดยใชกระบวนการมีสวนรวมในกระบวนการวิจัยในเรื่องรูปแบบการสงเสริมอาชีพเกษตรกรรมขององคการบริหารสวนตําบลสันทรายและตําบลแมแฝกใหม จังหวัดเชียงใหม พบวา ชุมชนไดใชกระบวนการมีสวนรวมในการแกไขปญหาของชุมชน โดยชุมชนมีสวนรวมในทุกขั้นตอนของการดําเนินการวิจัย ทําใหชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรูและสามารถนําไปแกไขปญหาของ ชุมชนไดดวยตนเอง ทั้งนี้ชุมชนจะสามารถนํากระบวนการเรียนรูที่ไดไปใชพัฒนาและประยุกตใชในการแกปญหาดานอื่น ๆ ไดอีกดวย

3. แนวคิดเกี่ยวกับปาชุมชนในหัวขอนี้จะไดกลาวถึงความเปนมาของแนวคิดเกี่ยวกับปาชุมชน เงื่อนไขและปจจัยของ

การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน ศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรปา กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวของดวย เพื่อเปนพื้นฐานในการวิเคราะหการจัดการปาชุมชนของชุมชนที่ศึกษาตอไป

3.1 ความเปนมาของแนวคิดเกี่ยวกับปาชุมชนปาชุมชนเปนประเพณีปฏิบัติที่มีมาชานานแลวในแตละภูมิภาคของประเทศไทย แตถูก

ลิดรอนจากผลของการพัฒนาดานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอยางยิ่งในชวงสี่ทศวรรษที่ผานมา ดังนั้น การฟนฟูเร่ืองปาชุมชนในชวงเวลานี้แสดงใหเห็นถึงความพยายามของชุมชนภาคชนบทที่จะแกปญหาที่เกิดจากผลกระทบของการเรงพัฒนาดานอุตสาหกรรม ซึ่งทําใหทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดลอมที่เปนทุนสําคัญของภาคชนบทเสื่อมโทรมลงสูข้ันวิกฤต จนทําใหชุมชนทองถิ่นตองตกอยูในภาวะยากจนและพึ่งพาตนเองไมได

31

เร่ืองเกี่ยวกับปาชุมชนของไทยนั้น มีการศึกษาวิจัยหลายโครงการดวยกัน (เสนห จามริก และคณะ, 2536: 4-5) โดยในชวงประมาณป 2532 นั้น งานศึกษาออกมาในเชิงสรางความเขาใจและคูมือปฏิบัติการทางเทคนิคสําหรับเจาหนาที่ราชการ ซึ่งเปนการมองปาชุมชนจากแงมุมของทางราชการที่อยูในฐานะที่มีอํานาจสิทธิขาดในการบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรปา ตอมา ในชวงป 2534-2535 ซึ่งเปนชวงที่เกิดความขัดแยงและการวิพากษวิจารณหลักการและแนวทางการดําเนินงานของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เร่ิมปรากฏแนวคิดและงานศึกษาวิจัยที่มองประเด็นปญหาจากแงมุมของชาวบานและชุมชนทองถิ่นที่พึ่งพาทรัพยากรปา สังคมไทยไดรับรูและเรียนรูกิจกรรมพัฒนาของกลุมชาวบานและองคกรพัฒนาเอกชนที่แสดงถึงความตื่นตัว ความเคลื่อนไหวอยางแข็งขันและกวางขวาง เพื่อทําการปกปองและสงวนรักษาพื้นที่และทรัพยากรปาซึ่งเปนปจจัยสําคัญในวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งยังไดพิสูจนใหเห็นถึงภูมิปญญาของทองถิ่นในการควบคุมดูแลและการบริหารจัดการไดเปนอยางดี ทั้งๆ ที่ตองดําเนินงานกันดวยทุนและปจจัยอันจํากัด ภายใตสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ไมอํานวยจากภายนอก ความต่ืนตัวเรื่องปาชุมชนดังกลาวนี้ไดพัฒนามาจากจิตสํานึกและความรวมมือรวมใจภายในชุมชน ทองถิ่นเอง เชน กรณีของหมูบานทุงยาว ตําบลศรีบัวบาน จังหวัดลําพูน หมูบานเกริงบอ ตําบลแมจัน อําเภออุงผาง จังหวัดตาก บานโสกขุมปูน อําเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และบานดาโตะ ตําบลแหลมโพธิ์ อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปตตานี เปนตน (Pinkaew Leungaramsri and Noel Rajesh (ed.) อางถึงใน เสนห จามริก และคณะ, 2536 หนา 6)

งานวิจัยที่นับวามีความสําคัญตอการเสนอแนวคิดปาชุมชนที่มีความเปนรูปธรรมมากที่สุด ไดแก การวิจัยเชิงปฏิบัติการอยางมีสวนรวม เร่ือง “ปาชุมชนในประเทศไทย” (2536) ที่มีการรวบรวมผลการศึกษาออกมาเปนหนังสือ 3 เลม โดยเสนห จามริก และยศ สันตสมบัติ ซึ่งเปนบรรณาธิการ ไดรวบรวมผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรของชุมชนทองถิ่น ซึ่งสรุปวา คนกับสภาพแวดลอมนั้นมีวิวัฒนาการ และเปนสิ่งที่เกิดขึ้นอยูในแนวคิดและหลักการของชุมชนมานาน มีการปรับตัวทางสังคมเพื่อการบริหารและจัดการทรัพยากรของชุมชนทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของชุมชนไดดวยตนเอง โดยเฉพาะอยางยิ่งในยุคที่ชุมชนยังเปนชุมชนบานปาในชวงกอน พ.ศ. 2506 การติดตอกับโลก ภายนอกมีนอย ชุมชนจึงพึ่งตนเองเปนหลัก รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรจึงอิงอยูกับระบบวัฒนธรรมและความเชื่อ (Culture-based model) ซึ่งมนุษยมีความผูกพันในทางเครือญาติสูง ภายใตรูปแบบความสัมพันธในเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะอยางยิ่งระบบเครือญาติและระบบอาวุโส ดังจะเห็นไดจากชุมชนบานปาดั้งเดิมมีอายุนับ 50 – 100 ปข้ึนไป

32

ตอมา อานันท กาญจนพันธุ (2544: 254, 263) ไดวิเคราะหเพิ่มเติมไวในหนังสือ “มิติ ชุมชน: วิธีคิดทองถิ่นวาดวยสิทธิ อํานาจ และการจัดการทรัพยากร” วา ในสถานการณปจจุบัน ชาวบานตองเผชิญกับพลังตาง ๆ จากภายนอกมากมาย ไมวาจะเปนกระบวนการทําใหกลายเปนชายขอบและการแยงชิงทรัพยากรอยางเขมขน ซึ่งมองเห็นไดจากอํานาจรัฐและพลังทางเศรษฐกิจระดับโลกไดเขามาปดลอมอํานาจทองถิ่นในการจัดการทรัพยากรมากยิ่งขึ้น ชาวบานในชนบทจึงตองพยายามสรางอุดมการณตอตานความคิดครอบงําขึ้นมาจากพื้นฐานที่ไมใชเปนเพียงคติ ทองถิ่นเทานั้น แตยังรวมเอาความคิดในระดับสากลเกี่ยวกับสิทธิเขามาผสมผสานดวย เพื่อใหเกิดพลังตอบโตไดเทาทันกับบริบททางสังคมที่เปนจริงในปจจุบัน ในสวนของชาวบานนั้น พวกเขาไดรับความคิดเกี่ยวกับสิทธิดังกลาวมาจากแรงกระทบของกระแสโลกาภิวัตนและกระบวนการสรางรัฐประชาชาติที่ผานมา โดยอานันท กาญจนพันธุมองความเคลื่อนไหวในการจัดการปาชุมชนนี้วา เปนความสามารถของชาวบานในการเลือกหยิบเอาความคิดสากลที่มากับกระแสโลกาภิวัตนมาใชเพื่อการผลิตซ้ํา และการแปรเปลี่ยนใหประเพณีปฏิบัติของจารีตทองถิ่นกลายสภาพไปเปนสิทธิตามกฎหมาย

จากการที่ปาชุมชนแฝงไวดวยคุณคาทั้งในดานการใชประโยชนและความหมายทาง วัฒนธรรม ชาวบานจึงพยายามผลิตซ้ําคุณคาทางวัฒนธรรมและศีลธรรมของตนเพิ่มข้ึนในรูปของปฏิบัติการที่มีลักษณะเปนทางการมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเปนความพยายามที่จะปกปองสิทธิการใชตามประเพณีในฐานะที่เปนทรัพยสินรวมกันเฉพาะในชุมชนของตน ลักษณะที่เปนทางการดังกลาวมักจะปรากฏในหลายรูปแบบดวยกัน ชาวบานหลายแหงจะใชองคกรทางการ เชน คณะกรรมการ หมูบาน องคการบริหารสวนตําบล และแมแตการจัดตั้งองคกรอนุรักษข้ึนใหมโดยเฉพาะ โดยปกติแลวองคกรทองถิ่นเหลานี้จะพยายามปรับเปลี่ยนกฎเกณฑตามจารีตใหเปนขอบังคับที่บันทึกไวเปนลายลักษณอักษร และจัดตั้งกลุมข้ึนมาตรวจตราดูแลปาเพื่อปองกันคนภายนอกบุกรุก เหตุผลหลักประการหนึ่งในการทําใหจารีตประเพณีมีลักษณะเปนทางการมากขึ้น เพราะตองการเรียกรองใหรัฐบาลยอมรับตามกฎหมาย และเพื่อใหรัฐชวยสนับสนุนในการปองกันปาจากการเขามา ยึดครองพื้นที่ของผูมีอิทธิพลทางการเมืองและธุรกิจ (อานันท กาญจนพันธุ, 2544: 261-262)

งานวิจัยที่เกี่ยวของกับปาชุมชนนั้นไดชวยชี้ใหเห็นวา การจัดการปาเปนสวนหนึ่งของ ธรรมเนียมประเพณีวิถีปฏิบัติของคนไทยมาเปนเวลานานแลว เพราะสังคมไทยมีรากเหงาพื้นฐานเปนสังคมเกษตร ในอดีตสมัยที่ปายังคงอุดมสมบูรณ วิถีชีวิตของประชาชนโดยทั่วไปอาศัยหาเลี้ยงชีพดวยการบุกเบิกหักรางถางพงทํามาหากิน และดํารงชีวิตอยางผูกพันกับปามาเปนเวลาชานาน ตอมา ทางราชการไดใหการสนับสนุนและรับรองสิทธิในที่ดินทํากินที่บุกเบิกนั้น เชน นโยบายสง

33

เสริมการขยายพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อสงออกผลผลิตทางการเกษตร การที่บานเมืองสามารถพัฒนาเจริญกาวหนามาไดทุกวันนี้ ก็ดวยการอาศัยเกษตรกรผูไดชื่อวาเปนกระดูกสันหลังของชาติเปนผูแบกภาระสําคัญนั่นเอง

ดังนั้น ทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของประชาชนสวนใหญ และนโยบายของทางราชการ ทําใหวิถีชีวิตของประชาชนและชุมชนทองถิ่นกับปาดําเนินควบคูกันไปดวยความผูกพันและเอื้ออํานวยตอกันมาเปนเวลาชานาน โดยในกระบวนการดํารงชีวิตของประชาชนและชุมชนทองถิ่นไดมีการสั่งสมประสบการณและภูมิปญญาความรูเกี่ยวกับสภาพแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะที่คนกับธรรมชาติ คือ ปา สามารถดํารงอยูรวมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งหมดประกอบเปนพื้นฐานของสังคมวัฒนธรรมที่มีคุณคาและเห็นไดชัดเจนใน “อุดมการณปา ชุมชน” ซึ่งเปนการรักษาปาบนพื้นฐานของความเชื่อบางประการ เชน ความเชื่อเร่ืองผีขุนน้ําทางภาคเหนือ ความเชื่อเร่ืองดอนปูตาของภาคอีสาน เปนตน ความเชื่อเหลานี้เปนสัญลักษณของอํานาจในการรักษาปา และเปนพื้นฐานของความรวมมือรวมใจของชุมชนเพื่อปกปกษรักษาปาของตน (เสนห จามริก และคณะ, 2536: 156-157)

งานวิจัยเรื่องปาชุมชนในพื้นที่ตาง ๆ ไดพิสูจนใหเห็นอยางชัดเจนวา ปาที่ชุมชนยังคงรักษาอยูมีมากมายหลายรอยหลายพันแหงในแทบทุกภูมิภาคของประเทศ ลักษณะสําคัญที่อยูเบื้องหลังการจัดการปาชุมชนก็คือ การยอมรับวาปาเปนสิทธิรวมกันของชุมชน ปามิใชของรัฐหรือของบุคคลภายนอก สมาชิกของชุมชนทองถิ่นจึงมีสํานึกรวมกันถึงสิทธิและหนาที่ในการดูแลจัดการและใชประโยชนจากปาไปพรอม ๆ กัน สํานึกรวมกันในสิทธิของชุมชนเปนพื้นฐานของการพัฒนาจารีตประเพณี วิถีปฏิบัติ และกฎระเบียบเกี่ยวกับการดูแลจัดการและใชประโยชนจากปาที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน

ปาชุมชนหรือการจัดการปาและทรัพยากรธรรมชาติอ่ืน ๆ โดยชุมชนทองถิ่น จึงมิใชเร่ืองแปลกใหม หากแตมีประวัติความเปนมายาวนานและปรากฏใหเห็นอยางแพรหลายในชุมชนชนบท ปาชุมชนเปนรูปแบบหนึ่งของประเพณีการอนุรักษปาของชาวบาน ซึ่งเชื่อมโยงแนบแนนกับ วัฒนธรรมการผลิตในภาคเกษตร โดยมีจารีตประเพณีและความเชื่อในส่ิงศักดิ์สิทธิ์เปนพื้นฐานในการจัดระบบความสัมพันธระหวางคนและชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติ

3.2 เงื่อนไขและปจจัยในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนในสวนของเงื่อนไขและปจจัยสําคัญของการจัดการทรัพยากรปาโดยชุมชนนั้น มีผลการ

วิจัยจากงานศึกษาชิ้นตาง ๆ ออกมาในทํานองเดียวกัน กลาวคือ สมยศ ทุงหวา และคณะ (2543:157-158) ไดเปรียบเทียบลักษณะตาง ๆ ของหมูบานที่เปนชุมชนใหมกับหมูบานที่เปนชุมชน

34

ด้ังเดิมและมีประวัติการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนานกวาและคนพบวา เงื่อนไขเชิงประวัติศาสตรมีผลตอการจัดการปาของชุมชนดวย กลาวคือ หมูบานที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนาน ชุมชนจะมีความยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมทองถิ่นสูง มีความเชื่อตอผูนําทั้งที่เปนทางการและไมเปนทางการ โดยเฉพาะอยางยิ่งกับผูอาวุโสและผูนําทางศาสนา รวมทั้งมีจิตสํานึกรวมกันในการสืบทอดทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน มีการรวมมือในการดูแลรักษาปา รวมทั้งการปองกันการลักลอบ ตัดไมทําลายปาของคนภายนอกมีประสิทธิภาพมากกวาชุมชนที่เกิดขึ้นใหม ทั้งสองชุมชนตางมีองคกรชาวบานที่ดูแลรักษาปา แตชุมชนเกาจะใชการควบคุมทางสังคมมากกวาการเขียน กฎเกณฑข้ึนมาอยางเปนทางการแบบชุมชนใหม อยางไรก็ตาม ชุมชนทั้งสองประเภทมีขอเรียกรองตอรัฐเหมือนกัน คือ การกําหนดเขตปาอนุรักษใหถูกตองกับความเปนจริงในสภาพปจจุบัน และการขอมีสวนรวมในการดูแลรักษาปาและจัดการปาในพื้นที่ที่ชุมชนตั้งอยู ประเด็นนี้สอดคลองกับผลการศึกษาปาชุมชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบเชนกันวา วัฒนธรรมประเพณีมีผลตอการรักษาปาโดยเฉพาะเปนชุมชนที่เกาแก (มงคล ดานธานินทร และคณะ, 2536; ฉลาดชาย รมิตานนท และคณะ, 2536 อางถึงใน สมยศ ทุงหวา และคณะ, 2543) และผลวิจัยของสุภาวิณี ทรงพรวาณิชย และคณะ (2545: 22) ที่ชี้วา องคกรชาวบานโดยเฉพาะอยางยิ่งองคกรที่มีมาแตด้ังเดิมนั้นจะมีบทบาทสําคัญในการดูแลรักษาปา

นอกจากนี้ งานวิจัยของ Northeastern Thailand Upland Social Forest (1987) และ Royal Forestry Department (1989) อางถึงใน อานันท กาญจนพันธุ และคณะ, 2543 พบวา เมื่อชาวบานมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน ชาวบานจะหันมารักษาปาหรือปลูกตนไมตามไรนามากข้ึน อีกทั้งมีความสนใจที่จะใชระบบวนเกษตรมากขึ้น สอดคลองกับขอคนพบของอานันท กาญจนพันธุ (2544 : 259-260) ที่วา เงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ทําใหชุมชนตองการรักษาปาของ ชุมชนนั้นเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะเห็นไดชัดวา ในชุมชนที่มั่งคั่งรํ่ารวยกวาชุมชนทั่ว ๆ ไป ชาวบานจะถือโอกาสรักษาปา หากไมตองลงทุนสูงมากจนเกินไป แสดงวาแรง กดดันที่จะขยายพื้นที่ปาเพื่อการเกษตรลดลง เพราะชาวบานมีรายไดมากขึ้นจากพื้นที่เกษตรกรรมที่มีอยูเดิมแลว หรือจากรายไดเพิ่มเติมจากทํางานนอกภาคเกษตร และเมื่ออํานาจการซื้อของ ชาวบานสูงเพียงพอจนพวกเขาสามารถซื้อหาสิ่งของที่จําเปนตาง ๆ ได ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเก็บหาจากปาไดอยางเสรี ในสถานการณเชนนี้ถือวาชุมชนประสบความสําเร็จในการพึ่งพาปาอยางมีดุลยภาพ โดยนัยดังกลาวชี้ใหเห็นวา ความอยูดีกินดีทางเศรษฐกิจของชาวบานจะเปนเสมือนแรงกระตุนใหชาวบานริเร่ิมรักษาปา แตเงื่อนไขนี้เพียงอยางเดียวไมเพียงพอ เพราะคงตองรวมเอา เงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวของกับการตอบโตของชาวบานตอสถานการณที่ซับซอนดวย นอกจากนี้

35

เจิมศักดิ์ ปนทอง และคณะ (2535: 37) ไดทําการศึกษาวิจัย “วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดิน ทํากินในเขตปา และคนพบวา จากกรณีของปาชุมชนในภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออก เฉียงเหนือนั้น มีขอสังเกตที่นาสนใจ 3 ประการเกี่ยวกับชุมชนที่รักษาปาชุมชน คือ 1) ชุมชนจะตองมีองคกรของชุมชนที่สามารถใหคนในชุมชนมีสวนรวมในการดูแล ติดตาม และกําหนดเงื่อนไขได 2) ชุมชนไดรับประโยชนจากผลพลอยไดของปาชุมชนที่ทยอยไดเปนประจํา เชน เปนแหลงตนน้ํา หนอไม เห็ด ไมฟน ไมใชสอย และแหลงเลี้ยงวัวควายของชุมชน และ 3) ชุมชนสามารถปกปอง ดูแลปาชุมชนไดโดยมีตนทุนต่ํา เพราะปาชุมชนอยูใกลบาน และทางเขาออกของบุคคลภายนอกตองผานชุมชน เปนตน และปจจัยเกื้อหนุนที่ทําใหเกิดปาชุมชน คือ 1) แรงกดดันจากราชการและชาวบานในการแยงที่ดินและไม 2) โอกาสของชาวบานในชุมชนในเรื่องอาชีพและรายได เพราะหากมีทางเลือกประกอบอาชีพและรายไดสูง แรงกดดันในการขยายพื้นที่เพื่อเกษตรกรรมจะมีนอยลง และ 3) ที่ดินที่เปนปาชุมชนไมเหมาะกับการเกษตร

นอกจากนี้ อานันท กาญจนพันธุและมิ่งสรรพ ขาวสอาด (2538 อางถึงใน จามะรี เชียงทอง, 2543) ไดวิเคราะหไวในงานวิจัย “วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทํากินในเขตปา: กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน” วา การที่ชาวบานลุกขึ้นตอตานและคัดคานการใชปาของคนภายนอกไดกลายเปนเงื่อนไขสําคัญของการอนุรักษปาและการเกิดปาชุมชน เพื่อใชเปนการตอรองกับรัฐวาพวกเขาสามารถรักษาพื้นที่ปาเอาไวได และนฤมล หิญชีระนันทน (2543: 507) ไดใหขอสังเกตเพิ่มเติมวา องคกรทองถิ่นที่รวมตัวกันไดนั้น สวนหนึ่งนั้นเนื่องมาจากมีประสบการณเกี่ยวกับ ผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติหรือเผชิญปญหาอุปสรรคตาง ๆ มากอน จึงเกิดแรงจูงใจที่จะแกปญหา และเกิดจิตสํานึกในการอนุรักษและรวมตัวกันไดอยางเขมแข็ง เชน ชุมชนคีรีวง

3.3 ศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรปาในสวนของศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรปานั้น ฉลาดชาย รมิตานนท และ

คณะ (2536) พบวา ชุมชนที่รวมกันอนุรักษปานั้นมีวิถีชีวิตที่สอดคลองและสัมพันธกับปาตามความผันแปรของธรรมชาติ แสดงใหเห็นวาชุมชนตองมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธและระบบการจัดการปาอยูตลอดเวลา

อยางไรก็ตาม ทามกลางความแตกตางหลากหลายของชุมชนตาง ๆ ที่อนุรักษปานั้น ชุมชนเหลานี้มักจะมีลักษณะรวมกัน 8 ประการซึ่งถือเปนปจจัยพื้นฐานที่จําเปนตอการดํารงอยูและความยั่งยืนของปาชุมชน ดังนี้

3.3.1 ชุมชนที่อนุรักษปามักมีความเปนชุมชนสูง ความเปนชุมชนมิไดหมายความเพียงแคการตั้งบานเรือนอยูอาศัยรวมกันเทานั้น หากแตยังขึ้นอยูกับรูปแบบและความเขมขน

36

ของความสัมพันธทางสังคมระหวางสมาชิกของชุมชน เชน ความสัมพันธทางเครือญาติที่แนนแฟนหรือความสัมพันธระหวางเพื่อนบานที่ชวยเหลือเกื้อกูลและแลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งกันและกัน สํานึกของความเปนชุมชนอาจสะทอนออกมาในรูปของความเชื่อ อุดมการณ และพิธีกรรมที่ชุมชนยึดถือและปฏิบัติรวมกัน ความเชื่อและพิธีกรรมเหลานี้ชวยตอกย้ําสํานึกของความเปนชุมชนใหมั่นคงและแนนแฟนยิ่งขึ้น

3.3.2 การมีทรัพยากรดิน น้ํา ปา ที่อยูในสภาพที่ใชไดหรือยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะพลิกฟนใหคืนกลับมาสูความอุดมสมบูรณไดอยางยั่งยืน ทรัพยากรเหลานี้มีความสัมพันธกับการผลิตภาคการเกษตร ดังนั้น ลักษณะทางกายภาพของชุมชนที่มีจิตสํานึกในการรักษาปาจะตองมีทรัพยากรเหลานี้ที่อยูในลักษณะที่เอื้อตอการผลิตในภาคการเกษตร

3.3.3 การมีผลประโยชนรวมกัน การอนุรักษปาของชาวบานมีพื้นฐานเบื้องตนมาจากการมีผลประโยชนรวมกันในการใชทรัพยากรดิน น้ํา ปา เพื่อการเกษตร และการใชผลผลิตจากปาในชีวิตประจําวัน เชน เปนแหลงอาหาร ยารักษาโรค ไมสําหรับกอสรางบานเรือนและเปนเชื้อเพลิง รวมทั้งการเก็บของปาเพื่อขาย เปนตน การอนุรักษปาจึงเปนการพิทักษผลประโยชนรวมของชุมชนไวนั่นเอง

3.3.4 การมีจิตสํานึกในการรักษาปา ซึ่งมีความลึกซึ้งกวาการมีผลประโยชนรวมกัน เพราะครอบคลุมถึงอุดมการณ ความเชื่อ และการพิทักษสิทธิชุมชนและสิทธิตามธรรมชาติของความเปนมนุษยมิใหถูกรุกล้ําจากบุคคลภายนอก จิตสํานึกในการรักษาปาอาจเกิดขึ้นจากเงื่อนไขดังตอไปนี้

3.3.4.1 ประเพณี ความเชื่อ การอนุรักษปาของชาวบานมีพื้นฐานมาจากแนวคิดเรื่องความสัมพันธระหวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับธรรมชาติและมนุษย ชาวบานมีความเชื่อในเรื่องของผีอารักษซึ่งเปนผูดูแลปาของหมูบาน การเขาไปใชทรัพยากรในปา จึงตองปฏิบัติตามกฎเกณฑที่ชุมชนกําหนด เพื่อใหส่ิงศักดิ์สิทธิ์พอใจและไมลงโทษ กลาวไดวา ระบบการจัดการปาลักษณะนี้วางอยูบนพื้นฐานของจารีตประเพณีและกฎเกณฑที่ไมไดเขียนเปนลายลักษณอักษร หากแต ส่ังสอนสืบทอดตอกันมาจากรุนสูรุน

3.3.4.2 ความจําเปนในการปองกันและรักษาดุลยภาพของระบบนิเวศชุมชน ปาชุมชนมีความสัมพันธแนบแนนกับการรักษาดุลยภาพของระบบนิเวศชุมชน โดยเฉพาะอยางยิ่งการรักษาน้ําซึ่งมีความสําคัญตอการผลิตในภาคเกษตร การรักษาปาตนน้ําหรือแหลง ซับน้ําถือเปนเรื่องสําคัญ ความเชื่อมโยงระหวางปากับระบบนิเวศและระบบการผลิตสงผลใหการรักษาปาชุมชน คือ การรักษาชีวิตเพื่อความอยูรอดและการสืบทอดของชุมชน

37

3.3.4.3 การตอตานการรุกรานจากภายนอก การรุกรานจากภายนอกหรือการเขาแยงชิงทรัพยากรโดยคนภายนอกมักกอใหเกิดปฏิกิริยาตอตานอยางรุนแรงจากชุมชน เชน การทําสัมปทานปาไม การตอตานโครงการของรัฐซึ่งเขาไปเบียดบังทรัพยากรปาและที่ดิน ทํากินของชาวบาน การตอตานธุรกิจเอกชน การแยงชิงทรัพยากรกับชุมชนใกลเคียง เปนตน

3.3.4.4 ปญหาภัยแลง ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอยางยิ่งการขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตร ภาวะฝนแลงหรือลาชาซึ่งสงผลตอวิถีชีวิตและการผลิตชวยกระตุนใหชาวบานตระหนักวา หากปลอยใหเปนเชนนี้ตอไปจะมีผลกระทบตอการยังชีพของชุมชนอยางตอเนื่อง ประวัติของการรักษาปาของชุมชนบางแหงจึงเปนประวัติของการเผชิญภัยแลงและความพยายามในการฟนฟูปา

นอกเหนือจากปจจัยสําคัญ 4 ขอขางตนแลว จิตสํานึกในการรักษาปาอาจเกิดจากปจจัยอื่น ๆ ไดอีก เชน ความพยายามของชาวบานในการรักษาปาไวเพื่อการใชสอยและเปนแหลงอาหารของชุมชน การรักษาปาอาจเกิดจากการสนับสนุนขององคกรภายนอก เชน องคกรพัฒนาเอกชน หนวยงานของรัฐ หรือพระสงฆ เปนตน

3.3.5 การมีผูนําชุมชนที่เขมแข็ง ทั้งผูนําตามธรรมชาติและผูนําที่เปนทางการ ผูนําเหลานี้จะมีความเขมแข็งและมีภูมิปญญาสูง นอกจากจะสามารถควบคุมและรักษากฎระเบียบตาง ๆ ของชุมชนไดแลว ยังตองสามารถปรับใชภูมิปญญาและจารีตประเพณีทองถิ่นใหเขากับสภาวการณทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงได และที่สําคัญที่สุด คือ ตองทํางานบนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชนของชุมชนสวนรวมเปนหลัก

3.3.6 การจัดต้ังองคกรชาวบาน เชน กลุมอนุรักษปา คณะกรรมการหมูบาน สภาตําบล องคกรเหลานี้จะตองทําหนาที่รับผิดชอบในดานการจัดการทรัพยากรอยางเหมาะสมและเปนธรรมตามเงื่อนไขที่แตกตางกันออกไป การทํางานขององคกรชาวบานมักวางอยูบน พื้นฐานภูมิปญญาดั้งเดิม จารีตประเพณี และประสบการณที่ส่ังสมและถายทอดสืบกันมา นอกจากนั้น องคกรชาวบานในแตละชุมชนยังตองเปนสวนหนึ่งของเครือขายการใชทรัพยากรระหวางชุมชนตาง ๆ ที่อยูในละแวกเดียวกัน เชน เครือขายของชุมชนในลุมน้ําเดียวกัน หรือเครือขายของชุมชนที่ใชผืนปาเดียวกัน เปนตน มีการประชุมปรึกษาหารือและวางแผนการจัดการทรัพยากรในระดับเครือขาย เพื่อลดความขัดแยงระหวางชุมชนตาง ๆ

3.3.7 จารีตของการจัดการทรัพยากรที่ถือวาทรัพยากรเปนสิทธิและทรัพยสินรวมของชุมชน และชุมชนมีสิทธิในการจัดการและออกกฎเกณฑเพื่อควบคุมการใชประโยชน อยางไรก็ตาม ในบางพื้นที่การยึดมั่นในสิทธิชุมชนและจารีตประเพณีไดเร่ิมเสื่อมคลายลง หลังจาก

38

ที่รัฐออกกฎหมายควบคุมทรัพยากรเอง ชุมชนที่ยังสามารถอนุรักษปาไวไดมักเปนชุมชนที่ยังคง ยึดมั่นในจารีตประเพณีที่วาปาเปนของชุมชน ผูที่รักษาปาเทานั้นจึงจะมีสิทธิใชประโยชน และ ชุมชนมีสิทธิในการจัดการเพื่อผลประโยชนอยางยั่งยืนและเปนธรรมตอสมาชิกของชุมชน

3.3.8 ระบบการจัดการทรัพยากรอยางยั่งยืนและเปนธรรม โดยจําแนกระบบการจัดการได 3 ประเด็นใหญ ๆ คือ

3.3.8.1 หลักการจัดการ โดยทั่วไปแลว ระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนวางอยูบนพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) การยอมรับในจารีตประเพณีและสิทธิชุมชนในการ จัดการทรัพยากร 2) การคํานึงถึงผลประโยชนรวมกันของสมาชิกและความเปนธรรมของสังคม 3) ความยั่งยืนของระบบการผลิตและความสมดุลของระบบนิเวศ และ 4) การมีสวนรวมของสมาชิกทั้งหมดของชุมชน

3.3.8.2 วิธีการจัดการ อาจจําแนกได 3 ลักษณะ คือ 1) มีการจําแนกปาออกเปนประเภทตาง ๆ และกําหนดขอบเขตของปาชุมชน 2) มีการรางกฎเกณฑและแนวทางการใชประโยชน และ 3) มีการประชุมปรึกษาหารือระหวางสมาชิกของชุมชนเปนครั้งคราว เพื่อทบทวนกฎเกณฑและกติกาของชุมชน และมีการจัดตั้งองคกรของชุมชนเพื่อทําหนาที่ดูแล ตรวจตรา และควบคุมการใชประโยชนจากทรัพยากร

3.3.8.3 รูปแบบการจัดการ อาจมีรูปแบบแตกตางหลากหลายตาม เงื่อนไขทางกายภาพและสภาวการณทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของแตละพื้นที่

นอกจากนี้ อานันท กาญจนพันธุ (2544: 261) ใหขอคิดเห็นเพิ่มเติมวา การที่ ชาวบานจํานวนมากยังคงรักษาความรูสึกผูกพันในแงวัฒนธรรมกับชุมชนไดอยูบางนั้น ถือเปนพลังสําคัญอยางหนึ่งในการจัดตั้งปาชุมชนขึ้นใหมและรักษาปาชุมชนที่มีอยูเดิม โดยคุณคาทางวัฒนธรรมเชนนี้แสดงถึงศักยภาพของชาวบานในการปรับเปลี่ยนความรูสึกทองถิ่นใหกลายเปนปฏิบัติการภายใตแรงกดดันจากภายนอก

อยางไรก็ตาม ยศ สันตสมบัติ (2543: 103-105) ใหขอสังเกตเพิ่มเติมวา ในปจจุบันอุดมการณปาชุมชนในหลาย ๆ พื้นที่เร่ิมมีศักยภาพลดลงดวยสาเหตุหลักอยางนอย 2 ประการ คือ ประการแรก สิทธิชุมชนของชาวบานไมไดรับการยอมรับตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อปาที่ชาวบานรักษาไวถูกประกาศเปน “ที่ดิน” ของรัฐในรูปของอุทยานหรือปาสงวนแหงชาติ หรือ บางแหงรัฐอนุญาตใหเอกชนภายนอกไดสัมปทานทําไม หรือมีการจัดตั้งสวนปาเพื่อปลูกไมโตเร็ว ชุมชนที่เคยดูแลรักษาปามาหลายชั่วอายุคนจึงมีความรูสึกวาตนไรอํานาจ บางชุมชนเริ่มปลอยใหสมาชิกของชุมชนและชาวบานจากที่อ่ืนบุกรุกปาโดยปราศจากการควบคุมเขมงวดเชนเดิม และ

39

ประการที่สอง แรงกดดันของระบบเศรษฐกิจแบบการคาจากภายนอก มีสวนสําคัญอยางยิ่งในการทําใหอุดมการณปาชุมชนในหลาย ๆ พื้นที่ถูกลดทอนความสําคัญลง ชาวบานในบางพื้นที่เร่ิม บุกรุกพื้นที่ปาที่เคยรักษาไวเพื่อขยายพื้นที่ปลูกพืชพาณิชย บางชุมชนเริ่มละเลิกจากประเพณีการเซนไหวส่ิงศักดิ์สิทธิ์ในปา เปนตน

3.4 กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยปาชุมชนหากจะมีการพิจารณาถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในรูปของ

ปาชุมชน จําเปนตองพิจารณาอยางเปนองครวม ครอบคลุมถึงเงื่อนไขและการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธตาง ๆ ระหวางชุมชนกับทรัพยากร และชุมชนกับสังคมภายนอกอยางรอบดานและเปนพลวัต (เสนห จามริก และคณะ, 2536: 158) โดยในการวิจัยครั้งนี้ จะใชกรอบแนวคิดที่หลากหลายจากมุมมองของนักวิชาการ นักวิจัย และผูรูสาขาตาง ๆ ซึ่งพอจะสรุปไดดัง ตอไปนี้

3.4.1 แนวคิดที่พิจารณาปาชุมชนในบริบทของการเปลี่ยนแปลงโครงสรางทางเศรษฐกิจ การเมือง และระบบนิเวศ โดยเฉพาะอยางยิ่งการปรับเปลี่ยนอํานาจในการจัดการทรัพยากรซึ่งมีลักษณะรวมศูนยมากยิ่งขึ้น เปนแนวความคิดที่ชวยใหเราสามารถ เชื่อมโยงความสัมพันธระหวางปรากฏการณในทองถิ่นกับเงื่อนไขภายนอก และชวยชี้ใหเห็น ทิศทางของการพัฒนาประเทศที่มีผลตอวิถีชีวิตของชุมชนทองถิ่นอยางชัดเจน เชน แนวทางการพัฒนาที่มุงเนนการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเปนหลักและการที่รัฐเขามาผูกขาดอํานาจในการจัดการทรัพยากร อาจทําใหภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไดรับประโยชน แตในขณะ เดียวกันมีผลทําใหเกิดการทําลายภูมิปญญาทองถิ่นในการจัดการทรัพยากรและการผลิตเพื่อยังชีพ ซึ่งสงผลตอเนื่องใหเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในชนบท การแยงชิงทรัพยากรและความยากจน เพราะชุมชนทองถิ่นขาดอํานาจในการจัดการทรัพยากรและไมสามารถพัฒนาศักยภาพของการพึ่งตนเองไดอยางตอเนื่อง การพิจารณาปาชุมชนในบริบทของการพัฒนาที่เนนทิศทางเดียวและขาดความสมดุล จะชวยใหสามารถเขาใจกับปญหาการจัดการทรัพยากรของชุมชนอยางมีความสัมพันธกับภายนอกไดอยางชัดเจน (เสนห และคณะ, 2536)

ในบริบทของระบบนิเวศ งานวิจัยของโกมล แพรกทอง (2535 อางถึงใน สุภาวิณี และคณะ, 2545) กลาวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธระหวางสังคมมนุษยและสังคมตนไมในระบบนิเวศ ในสังคมมนุษยมีโครงสรางทางสังคมซึ่งประกอบดวยหนวยตาง ๆ เร่ิมจากปจเจกชน ครอบครัว กลุมและองคกรตาง ๆ มีระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง ระบบการปกครอง ฯลฯ โยงยึดหนวยยอยตาง ๆ สวนในสังคมพืชประกอบขึ้นดวยโครงสรางของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไมมีชีวิตซึ่งมี

40

ความเชื่อมโยงกันดวยวงจรตาง ๆ เชน วงจรอาหาร วงจรของแรธาตุ ฯลฯ ดังนั้น สังคมมนุษยและสังคมตนไมจึงมีความสัมพันธระหวางกัน ซึ่งอาจเปนการสงเสริมและการทําลายซึ่งกันและกัน

นอกจากนั้น แนวคิดดังกลาวยังสัมพันธกับแนวความคิดเกี่ยวกับปาชุมชนที่วา ปาไมเปนทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญที่เอื้อประโยชนตอมนุษยทั้งทางตรงและทางออม การขยายตัวของจํานวนประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทําใหมีการใชทรัพยากร ปาไมเปนปริมาณมากจนเกินกําลังที่ธรรมชาติจะฟนตัวทดแทนไดทัน สงผลกระทบตอระบบนิเวศ ประกอบกับการดําเนินการจัดการดูแลรักษาปาโดยเจาหนาที่ของรัฐเพียงฝายเดียวนั้นไมสามารถสัมฤทธิ์ผลได จึงควรใหความสําคัญและเปดโอกาสใหชาวบานในฐานะที่ใกลชิดกับปามากที่สุด เขามามีสวนรวมในการดูแลรักษาทรัพยากรปาไมในพื้นที่ เพื่อผลประโยชนของชาวบานเอง และเพื่อใหการใชประโยชนจากปาเปนไปอยางยั่งยืน

3.4.2 การศึกษาปาชุมชนในมิติทางวัฒนธรรม หมายถึง การวิเคราะหความสัมพันธระหวางชีวิตมนุษยกับธรรมชาติอยางเปนองครวมและรอบดาน เชน การมองความสัมพันธระหวางคนกับปาในฐานะที่อยูในระบบนิเวศเดียวกัน โดยไมอาจแบงแยกออกจากกันได เพราะความสัมพันธดังกลาวเปนทั้งพัฒนาการทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนในปาไปพรอม ๆ กัน การศึกษาปาชุมชนจากมิติทางวัฒนธรรมเนนการทําความเขาใจถึงวิธีคิดของชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่สัมพันธกับปาที่มีความหลากหลาย ลึกซึ้ง ซับซอน และมีรากเหงาจาก ภูมิปญญาทองถิ่นซึ่งพัฒนาอยางตอเนื่องมาหลายชั่วอายุคน การสืบสานภูมิปญญาของทองถิ่นยังผลใหวิธีคิดซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากความสัมพันธระหวางชุมชนกับปาเปนวิธีคิดที่มีระบบ มีเหตุมีผล ผานการตรวจสอบและพิสูจนในชีวิตจริงมาเปนเวลานาน (เสนห จามริก และคณะ, 2536) นอกจากนั้น อานันท กาญจนพันธุ (2543) ใหความสําคัญกับมนุษยในฐานะผูกระทําและการปฏิบัติการ อีกทั้งยังจะเนนลงไปที่วิธีการสรางสรรค ซึ่งชวยใหชาวบานปรับความคิดทางวัฒนธรรมเพื่อเผชิญกับเงื่อนไขใหม ๆ ขณะที่ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมจะกําหนดโครงสรางใหกับการดําเนินชีวิตประจําวัน พรอม ๆ กับวางกรอบใหกับสถาบันในระดับตาง ๆ และใหความสําคัญกับการเปดพื้นที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Space) ที่ใหชาวบานสามารถเคลื่อนไหวตอสูรวมกันในการปลุกชีวิตของความเปนชุมชนใหฟนขึ้นมาใหม เพื่อตอบรับกับการทาทายซึ่งเกิดจากการใหความสําคัญกับผลประโยชนของปจเจกบุคคลที่กําลังขยายตัวมากขึ้น อันเปนผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการพาณิชยกรรมอยางเขมขน

3.4.3 การพิจารณาปาชุมชนในฐานะเปนขบวนการทางสังคม (Social movement) ซึ่งอาจเปนการสืบทอดวิถีปฏิบัติและจารีตประเพณีในการรักษาปาของชุมชนมานาน หรืออาจเปนขบวนการที่เกิดใหมอันเปนผลมาจากการรวมตัวของชาวบานเพื่อตอตานการแยงชิง

41

ทรัพยากรจากภายนอก ในแงมุมของขบวนการทางสังคม ปาชุมชนมิไดเปนเพียงปรากฏการณของระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนเทานั้น แตยังเปนความพยายามในการปรับตัวของชุมชน ภายใตบริบทและสภาวการณที่เปลี่ยนแปลงไปอยางตอเนื่อง เพื่อสรางดุลยภาพระหวางการผลิตในภาคการเกษตรของชุมชนกับระบบนิเวศ ตลอดจนการสรางสรรคความเปนธรรมในสังคมและการรวมตัวกันตอสูเพื่อปกปองทรัพยสินรวมของชุมชนจากการรุกรานของบุคคลภายนอก บอยครั้งที่ปาชุมชนในฐานะของขบวนการทางสังคมมิไดจํากัดตัวเองอยูในชุมชนใดชุมชนหนึ่งอยางโดด ๆ แตเปนไปในลักษณะของเครือขาย เชน ชุมชนในลุมน้ําเดียวกัน หรือชุมชนที่ใชปาผืนเดียวกัน โดยรวมตัวกันเพื่อจัดการทรัพยากรหรือตอสูจากการรุกรานของบุคคลภายนอกรวมกัน ในแงนี้ปาชุมชนจึงเปนขบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชนและระดับเครือขาย ภายใตบริบทของระบบนิเวศของแตละพื้นที่ เพื่อดูแลทรัพยสินรวมของชุมชน และเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอยางเปนธรรมและยั่งยืน (เสนห จามริก และคณะ, 2536) 3.4.4 การศึกษาปาชุมชนในบริบทของการพัฒนาชนบทและอนุรักษฟนฟูทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืน โดยนัยนี้ ปาชุมชนเปนกระบวนการแสวงหาทางเลือกเพื่อกําหนดทิศทางในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันหลากหลายของชุมชนชนบท และยังเปนความพยายามในการอนุรักษฟนฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพ แวดลอมไปพรอมๆ กัน ในสถานการณที่ชุมชนชนบทสวนใหญของประเทศตองเผชิญหนากับวิกฤตการณความยากจน และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอม ปาชุมชนจึงนาจะเปนสวนหนึ่งของการแกไขปญหา

ในขณะที่ชูศักดิ์ วิทยาภัค (2543: 144) เสนอแนะเพิ่มเติมวา ในการวิเคราะห ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรนั้น ประเด็นหนึ่งที่ไมควรมองขาม คือ การมองในระดับโครงสรางของสังคมและความสัมพันธทางสังคม โดยเฉพาะอยางยิ่งความสัมพันธในเร่ืองของอํานาจ ความสัมพันธทางดานสิทธิ การควบคุมการเขาถึงทรัพยากร และการจัดการเชิงสถาบัน

อยางไรก็ตาม จากการทบทวนและประเมินสถานภาพของเอกสารเกี่ยวกับชุมชนและการจัดการทรัพยากรปาไมในภาคใต ทั้งในรูปของรายงานการวิจัย บทความ รายงานขององคกรพัฒนาเอกชน เอกสารประกอบการสัมมนาและการประชุม ขาวจากหนังสือพิมพ นฤมล หิญชีระนันท (2543) พบวา เอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนและทรัพยากรปาไมในภาคใตมีคอนขางจํากัด เอกสารสวนใหญที่มีอยูมักจะจัดทําโดยหนวยงานของรัฐ และเปนการวิเคราะหปาไมในเชิง พฤกษศาสตร การบรรยายถึงลักษณะทางกายภาพของปา พรรณไม และสัตวปา เปาหมายของ

42

การศึกษาวิจัยเพื่อการบริหารจัดการและวางมาตรการดูแลปาไมโดยรัฐ นอกจากนั้น ยังเสนอภาพสถานการณทั่วไปและปญหาของการจัดการปาไม การดําเนินงานของรัฐ และขอเสนอแนะรวมทั้งการวางแผนพัฒนาแหลงทรัพยากรปาไม การพัฒนาแหลงทองเที่ยวและโครงสรางพื้นฐานเพื่ออํานวยความสะดวกใหแกนักทองเที่ยว

สรุปไดวา งานศึกษาวิจัยเรื่องปาไมในภาคใตสวนมากนําเสนอในมิติของวิทยาศาสตร เศรษฐศาสตรและการจัดการ สวนมิติดานสังคมและวัฒนธรรมมักจะถูกละเลย เนื่องจากเอกสารเกี่ยวกับชุมชนและการจัดการปาไมในภาคใตมีคอนขางจํากัดดังที่กลาว นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับชุมชนก็ยังมีจํากัดอยูมาก แมวารัฐธรรมนูญฉบับปจจุบันจะไดระบุไวถึงการกระจายอํานาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การใหโอกาสชุมชนทองถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ จัดการ ฟนฟู ดูแล และใชประโยชนทรัพยากรทองถิ่นแลวก็ตาม (นฤมล หิญชีระนันท, 2543)

นอกจากนี้ จากประสบการณศึกษาชุมชนในปาภาคใต ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะและคณะ (2536: 18-19) ไดพบลักษณะพิเศษของชุมชนบางแหงวามีความไมยอมจํานนตออํานาจ แตลักษณะพิเศษนี้อาจจะไมมีในทุกทองถิ่นภาคใต เนื่องจากความแตกตางอันสืบเนื่องมาจากเงื่อนไขของวัฒนธรรมดั้งเดิมและพัฒนาการในดานตาง ๆ ในขณะที่ Vandergeest (1996 อางถึงใน ชูศักดิ์ วิทยาภัค, 2543) กลาวถึงแนวทางการใชกฎหมายปาชุมชนในการรับรองสิทธิของคนทองถิ่นอยางระมัดระวัง เนื่องจากวาอาจจะไมสะทอนสภาพความเปนจริงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอยางยิ่งในภาคใตซึ่งการจัดการปาชุมชนในลักษณะของกรรมสิทธิ์รวมไมชัดเจนเหมือนกรณีของภาคเหนือ

อยางไรก็ตาม ภายใตกรอบความคิดและประเด็นตาง ๆ ที่นําเสนอขางตน อาจสรุปไดวา ปาชุมชนนั้นเปนขบวนการทางสังคมหรือการรวมตัวกันขององคกรประชาชนในระดับชุมชน และ/หรือระดับเครือขายภายในระบบนิเวศแหงหนึ่ง เพื่อทําการใชประโยชนและจัดการทรัพยากรดิน-น้ํา-ปา ซึ่งถือเปนทรัพยสินสวนรวมของทองถิ่นอยางยั่งยืนและเปนธรรม โดยวางอยูบนฐานของระบบความคิด ภูมิปญญา อุดมการณ และสิทธิชุมชนซึ่งเนนหลักการศีลธรรมและความมั่นคงในการยังชีพของชุมชนเปนสําคัญ (เสนห จามริก และคณะ, 2536: 163)

3.5 งานวิจัยที่เกี่ยวของกับปาชุมชนและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนมีดังนี้

3.5.1 ผลการวิจัยเรื่องพฤติกรรมและการรับรูของประชาชนในการอนุรักษทรัพยากรปาไมที่บานแพะ อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม และบานทุงยาว อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน กิตติ จรรยาวัฒน (2535) คนพบวา ชาวบานมีการรับรูถึงปญหาการทําลายปาที่เปนมาในอดีต จึงพรอมใจกันรักษาปาเพื่อเปนแหลงตนน้ําสําหรับการเพาะปลูก ผูอาวุโสของหมูบานได

43

ถายทอดประสบการณความแหงแลงใหลูกหลานไดรับรู และสั่งสอนใหตระหนักถึงความสําคัญของปาไม ชาวบานรับรูปญหาการตัดไมทําลายปาวามีสาเหตุมาจากพวกนายทุนผูมีอิทธิพลที่ใช เครื่องมือที่ทันสมัยในการลักลอบตัดไม ดังนั้น จึงเห็นรวมกันวาชาวบานตองรวมมือกันในการอนุรักษปาของหมูบาน การที่หมูบานนี้ไดรับการเลาขานในทางที่เปนตัวอยางของการรักษาปาโดยชุมชน ทําใหหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเดินทางมาดูงานบอย ๆ และมีการเผยแพรชื่อเสียงของหมูบานผานทางสื่อตาง ๆ เชน โทรทัศน ส่ิงพิมพ และวิทยุ ทําใหตอกย้ําการรับรูของชาวบาน เกี่ยวกับเร่ืองการจัดการปาชุมชนวาเปนสิ่งที่ถูกตองและควรภาคภูมิใจ

3.5.2 สุธาวัลย เสถียรไทย (2538) พบความซับซอนในการจัดการปาไมแบบกรรมสิทธิ์รวม กลาวคือ ชุมชนที่รวมกันจัดการปาไมในรูปของปาชุมชนอาจแบงไดเปน 2 กลุม คือ กลุมที่มีองคกรในการจัดการดูแลรักษาปามาเปนเวลานานกวา 10 ปข้ึนไป จนกลายเปนสถาบัน (Institutionalized) ที่สําคัญของชุมชน ซึ่งจะเห็นไดชัดวา สภาพปามีความอุดมสมบูรณ สวนอีกกลุมหนึ่งเปนชุมชนที่ริเร่ิมใหมีการจัดการปาเมื่อไมเกิน 10 ปมานี้เอง กลุมแรกจะเปนชุมชนที่เห็นประโยชนของการอนุรักษโดยตรง เชน การมีน้ําไหลมาหลอเลี้ยงชุมชนตลอดป อยางเชน กรณีของบานทุงยาว จังหวัดลําพูน ซึ่งพัฒนาการที่ยาวนานทําใหชาวบานเกิดความไววางใจกันและสรางกฎระเบียบที่ไดผลและมั่นคงจนมีความเปนสถาบันขึ้นมา ซึ่งในประเด็นนี้ ถาสิทธิตามกฎหมายไมยอมรับสิทธิตามพฤตินัยแลว ก็อาจทําใหเกิดการทําลายเงื่อนไขที่สําคัญที่ทําใหเกิดความรวมมือในการจัดการดูแลรักษาทรัพยากรสวนรวม และนําไปสูการกลายเปนทรัพยากรแบบเปดเสรีที่ ทุกคนมุงแตจะใชประโยชนสวนตนเพียงอยางเดียว สําหรับในกรณีของปาชุมชนที่ดําเนินการมานอยกวา 10 ปนั้น เงื่อนไขที่ทําใหเกิดความรวมมือในการอนุรักษปาในรูปของปาชุมชนเกิดมาจากปจจัยภายนอก คือ แรงบีบจากการที่ทางรัฐไมยอมรับสิทธิโดยพฤตินัยของชุมชนเหลานี้ในการ จัดการดูแลทรัพยากรปาไม ในประเด็นนี้ สุธาวัลย เสถียรไทย ไดใหขอสรุปวา ถารัฐยอมรับสิทธิในทรัพยากรปาของชุมชนเหลานี้โดยมีเงื่อนไขของการอนุรักษ อาจเปนแรงกระตุนใหพวกเขาสามารถดูแลรักษาทรัพยากรปาไมในทองถิ่นไวได

3.5.3 อัจฉรา รักยุติธรรมและคณะ (2543) พบวา การดูแลรักษาปาของชุมชนสวนใหญนั้นเปนไปเพื่อการอนุรักษแหลงตนน้ําที่ไหลหลอเลี้ยงชุมชน การรักษาที่อยูอาศัยของสัตวปาและการใชสอยทรัพยากรธรรมชาติใหเปนไปอยางเหมาะสมและยั่งยืน แตการรักษาปาของ ชุมชนก็ยังประสบกับอุปสรรคสําคัญ คือ ขาดการยอมรับและการใหการสนับสนุนจากหนวยงานของรัฐ และไมมีกฎหมายรองรับสิทธิของชุมชนในการจัดการดูแลรักษาทรัพยากรปาไมอยาง

44

ถูกตอง ทําใหหลายชุมชนเกิดความไมมั่นใจในการดําเนินการอยางตอเนื่อง แตชุมชนยังคงยึดถือรูปแบบการจัดการทรัพยากรปาไมโดยชุมชนตอไป

3.5.4 สมนึก ทับพันธุ และฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ (2535) ไดศึกษาพฤติกรรมของชุมชนที่ชวยกันรักษาพื้นที่ปากวา 2,500 ไรไวไดที่ปากราด จังหวัดสงขลา และพบวา ชุมชนที่อาศัยอยูรอบ ๆ เขตปาไดตกลงวางกติกาการใชประโยชนจากปา และชุมชนไดรวมแรงรวมใจกันผลักดันและปองกันมิใหอิทธิพลภายนอกเขาไปใชประโยชนทั้งจากไมและพื้นที่ปา แตกรณีนี้มีความพิเศษตรงที่ผูนําชุมชนสมัยกอนซึ่งเปนบรรพบุรุษของผูนําชุมชนปจจุบันนั้นเปนผูที่ชาวบานใหความนับถือมาก สวนหนึ่งอาจเพราะเปนชุมชนที่เปนเครือญาติกันและไดพิจารณาวาลูกหลานของชุมชนจะไมมีไมไวใชสอยในอนาคต จึงประกาศหามผูใดเขาไปจับจองในพื้นที่นี้ และกําหนดกฎเกณฑการใชประโยชนจากผลผลิตจากปา ปจจุบันปากราดไดรับการประกาศใหเปนเขตหามลาสัตวปา โดยชาวบานสามารถใชประโยชนจากปาไดตามกฎเกณฑที่ตกลงกันภายในชุมชน โดยการผลักดันของผูนําชุมชนคนปจจุบัน ซึ่งตองใชความพยายามผลักดันเปนอยางมากดวย เหตุผลที่ ผูนําชุมชนเองไมแนใจวาในอนาคตปานี้จะไมหายไป เพราะมีแรงกดดันที่จะเขาไปจับจองพื้นที่ปาอยูเสมอ เนื่องจากปาผืนนี้เปนเขตปาสงวนแหงชาติและเปนปาอีกแหงในจํานวนไมกี่แหงของพื้นที่จังหวัดที่ยังคงมีตนไมใหญ ๆ เหลืออยู อิทธิพลภายนอกอาจทําใหพลังภายในชุมชนออนแอลงและสัมปทานทําไมจะเขามา ซึ่งหากรัฐประกาศใหเปนเขตอนุรักษจะปองกันการทําไมไดสวนหนึ่ง

3.5.5 งานวิจัยวิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทํากินในเขตปา ชานนท คําทอง (2537) พิจารณาความสามารถในการควบคุมและจัดการทรัพยากร จากพัฒนาการในการใชประโยชนจากทรัพยากร โดยในอดีตมักจะยึดอยูกับหลักการในการจัดการทรัพยากรที่อยูภายใตการควบคุมของระบบเครือญาติ ซึ่งเห็นไดจากการถือครองที่ดินรวมกันของคนในตระกูล ตลอดจนการใชประโยชนทรัพยากรตามหลักของการผลิตเพื่อการยังชีพเปนหลัก ระบบการผลิตของชุมชนจึงถือเปนการใชทรัพยากรอยางยั่งยืน และสามารถจะเอื้อประโยชนตอเกษตรกรในชุมชนไดอยางเปนธรรม อยางไรก็ตาม เมื่อชุมชนมิไดดํารงอยูอยางโดดเดี่ยวหรือเปนอิสระจากพลวัตทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่ใหญกวาขึ้นไป การเขามาของรัฐในรูปของการประกาศเขตปาสงวนแหงชาติ การประกาศเปนพื้นที่อุทยานและตามมาดวยระบบการผลิตแบบทุนนิยม ยังผลใหชาวบานเริ่มที่จะสูญเสียอํานาจในการควบคุมปจจัยการผลิต เชน ที่ดินและแรงงาน ทายที่สุดก็สูญเสียสิทธิในการเขาถึงทรัพยากรปาไมอันเปนที่พึ่งพิงของวิถีการดํารงชีพแหลงสุดทาย โดยเฉพาะอยางยิ่งชาวนาที่ไมมีที่ดินทํากินของตนเอง ทั้งนี้เพราะรัฐไทยไมใหการรับรองสิทธิการใชทรัพยากรในปา นอกจากนี้การสถาปนาระบบกรรมสิทธิ์เอกชนยังทําใหชาวบานสูญเสียที่ดินจากการ

45

จําหนาย จาย โอน หรือจํานองไดงายขึ้น เพราะการตัดสินใจอยูที่ปจเจกบุคคล ไมใชอยูที่เครือญาติหรือชุมชนดังแตกอน อยางไรก็ตาม ทามกลางการเขามาของรัฐและระบบตลาด ในลักษณะของการปะทะประสานของวิถีการผลิต ชาวบานก็มีการปรับตัวในลักษณะที่เปนไปเพื่อความมั่นคงในวิถีการดํารงชีพ (Livelihood Security) มากกวาที่จะเปลี่ยนไปสูระบบทุนนิยมแบบเต็มตัว

จะเห็นไดวา กระบวนการเรียนรูของชุมชนในการจัดการปาชุมชนนั้น มีแนวคิดทางทฤษฎีและประเด็นของชุมชนที่ตองคํานึงถึงมากพอสมควร เนื้อหาจากการตรวจสอบเอกสารในบทนี้ ซึ่งวาดวยชุมชนและความเปนชุมชน กระบวนการเรียนรูของชุมชน ปาชุมชนและพัฒนาการของปาชุมชนในประเทศไทย รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวของนั้น ผูวิจัยไดใชเปนแนวทางในการศึกษาขอมูลชุมชน วิเคราะหและสังเคราะหกระบวนการเรียนรูของชุมชนในการจัดการปาชุมชนและปจจัยสําคัญตาง ๆ ที่เกี่ยวของ ดังจะไดอธิบายในกระบวนการวิจัยและผลการวิจัยในบทตอ ๆ ไป