supply chain science thai version -1

10
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING The Holistic Operational Strategy Series on Logistics and Supply Chain ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน SUPPLY CHAIN SCIENCE

Upload: eisquare-publishing

Post on 27-Apr-2015

216 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

The Holistic Operational Strategy Series on Logistics and Supply Chain

ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน SUPPLY CHAIN SCIENCE

Page 2: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

ลิขสิทธิ์ภาษาไทย : บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด แต่เพียงผู้เดียว ห้ามลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อมูลบรรณานุกรม

ฮอพพ์, วอลเลส.

ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน : Supply Chain Science.

-- กรุงเทพฯ : อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์, 2553.

320 หน้า.

1. การบริหาร. 2. การวินิจฉัยสั่งการ.

3. การตัดสินใจ. I. วิทยา สุหฤทดำรง, ผู้แปล,

II. บุญทรัพย์ พานิชการ, ผู้แปลร่วม. III. อธิศานต์ วายุภาพ, ผู้แปลร่วม.

IV .ชื่อเรื่อง. 658.403 ISBN 978-616-7062-02-0

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 57 56 55 54 53

• บรรณาธิการบริหาร บัญจรัตน์ สุหฤทดำรง • กองบรรณาธิการ ธีรกร เกียรติบรรลือ • การตลาด/ขาย ทิพย์สุคนธ์ จอกรบ, อัญชนา ตาอิน, คณิศรา นึบสูงเนิน, สุจิตรา อ่อนช่วย • ออกแบบปก [email protected] • ออกแบบรูปเล่ม อังสนา ชิตรัตน์

หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ้ำ หน้าขาดหาย สำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ หากต้องการซื้อจำนวนมากเพื่อใช้ในการฝึกอบรม ส่งเสริมการขาย หรือเป็นของขวัญ กรุณาสอบถามราคาพิเศษได้ ยินดีน้อมรับความเห็นหรือคำติชม

ผลิตโดย อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์

จัดจำหน่าย: บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด

เลขที่ 143/2 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวง พลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

พิมพ์: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด

ติดต่อ: [email protected] โทรศัพท์ 0 2539 3373, 081 923 4122 โทรสาร 0 2539 3379 www.eisquare.com

Original edition copyright © 2007 By McGraw-Hill Companies, as set forth in copyright notice of Proprietor’s edition. All rights reserved. Thai translation rights © 2010 by E.I.Square Publishing Company Limited. All rights reserved.

ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน : SUPPLY CHAIN SCIENCE แปลจาก Supply Chain Science, Wallace Hopp เขียนดร.วิทยา สุหฤทดำรง, ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ และ ดร.อธิศานต์ วายุภาพ แปล

Page 3: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

คำนำผู้แปล

คำนำของ Wallace J. Hopp ผู้เขียนกล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ

การจัดการ ซึ่งจากชื่อหนังสือ Supply Chain Science คงทำให้หลายคนคิดว่า

ไม่น่าจะใช่! คำว่า “Science” หรือวิทยาศาตร์นั้น จะเกี่ยวกับการจัดการอย่างไร โดย

เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับโซ่อุปทาน (Supply Chain) ก่อนอื่นผมจึงขอเรียนว่า คำว่า

“Science” นั้นหมายความถึงอะไร Science คือ การผสมรวมการใช้ประสาทสัมผัสของ

เราเพื่อที่จะสังเกตโลกที่อยู่รอบๆ ตัวเรา จากนั้นจะใช้กิจกรรมทางความคิดเพื่อหาสาระ

สำคัญจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับรู้มา กระบวนการเหล่านี้เราเรียกว่า การสร้างแบบ

จำลองความสัมพันธ์ (Modeling Relation) หรือกลไกของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก

เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ Science คือ การสร้างแบบจำลอง

เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในโลกเพื่อประโยชน์กับมนุษย์ ดังนั้น เรื่องราวของ

“ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน” (Supply Chain Science) จึงเป็นเรื่องของการสร้างแบบจำลอง

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในโซ่อุปทานนั่นเอง

ที่จริงแล้วเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้มีต้นทางมาจากหนังสือ “FactoryPhysics”

ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือระดับคลาสสิกของวงการ Industrial Engineering และ Operations

Management มีเนื้อหาค่อนข้างหนักและระบุถึงศาสตร์แห่งการผลิต (Science of

Manufacturing) เป็นหลัก เป็นหนึ่งในหนังสือหลายๆ เล่มที่บริษัทข้ามชาติกำหนดให้

ผู้ที่จะเป็น Lean Master อ่าน ผมเคยมีความคิดอยากแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาให้

คนไทยได้อ่าน เพราะว่าพวกเราไม่ค่อยอ่านหนังสือภาษาอังกฤษกัน ทำให้ไม่รู้ว่าคน

ทั่วโลกเขาเรียนรู้และถ่ายทอดอะไรกันบ้าง ทำให้ล้าหลังในทางความคิด แต่เจริญทาง

ด้านวัตถุอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่นอกจากมีเนื้อหาค่อนข้างหนักแล้ว หนังสือเล่มนี้ยัง

เล่มใหญ่มาก เกรงว่าจะหนักเกินไปในการดำเนินงานผลิตเป็นรูปเล่มและหนักเกินไป

สำหรับผู้อ่านด้วย

จนเมื่อ Wallace J. Hopp ได้เขียนหนังสือ “ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน” (Supply

ChainScience) ขึ้นมาโดยเล่มเล็กกะทัดรัดกว่าเดิมมาก แต่เนื้อหาและหลักการทั้งหมด

ก็ยังคงใช้กฎ (Law) ทั้งหมดที่อยู่ในหนังสือ “FactoryPhysics” ทั้งยังเพิ่มเติมเนื้อหาใน

มุมของโซ่อุปทานเข้ามาอีกด้วย ผมจึงไม่รีรอที่จะแปลออกมาเป็นภาษาไทย ดังนั้น หาก

ใครก็ตามอ่านเนื้อหาใน “ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน” แล้ว ยังต้องการเติมเต็มในความเข้าใจ

Page 4: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

ให้ลึกยิ่งขึ้น ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้หาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ “Factory Physics”

เพื่อเติมและต่อยอดความรู้และความเข้าใจในศาตร์แห่งการจัดการนี ้

ที่จริงแล้วแก่นของความคิดในหนังสือ “FactoryPhysics” และ “ศาสตร์แห่ง

โซ่อุปทาน” (Supply Chain Science) ได้มาจาก Little’s Law ซึ่งมีชื่อเสียงมากใน

ทฤษฎีแถวคอย (Queuing Theory) โดย J.D.C Little ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา Little’s Law

ได้มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนในวิชา Operation Management และมี

การประยุกต์ใช้ในหลายๆ วงการ จนกระทั่ง Wallace J. Hopp และ Mark Spearman ได้

นำ Little’s Law มาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอแนวคิด “วิทยาศาสตร์ของโรงงาน” ด้วย

การสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ที่เป็นพื้นฐานและที่น่าสนใจของ WIP, Cycle Time

และ Throughput ในหนังสือ “FactoryPhysics” ซึ่งได้รับความนิยมและประสบสำเร็จ

เป็นอย่างมาก จนมาถึงหนังสือเล่มนี้ “ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน(SupplyChainScience)

ซึ่ง Wallace Hopp ก็ยังคงใช้ Little’s Law และกฎต่างๆในหนังสือ “FactoryPhysics”

เป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจความสัมพันธ์ในโซ่อุปทานได้เป็นอย่างดี

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร? หนังสือเล่มนี้จะเหมาะกับผู้จัดการยุคใหม่จริงๆ

ผู้จัดการยุคใหม่ที่ต้องการเข้าใจความสัมพันธ์ (Relation) ขององค์ประกอบในโซอ่ปุทาน

เพื่อที่จะควบคุมและปรับปรุงโซ่อุปทานให้ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม หนังสือเล่มนี้

ไม่เหมาะกับผู้บริหารที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่เข้าใจในวิธีการเชิงวิทยาศาตร์ในการ

ระบุปัญหาและแก้ไขปัญหา และยังไม่เหมาะกับผู้บริหารที่คิดแต่จะใช้อะไรที่ง่ายๆ มา

แก้ปัญหาโดยไม่ต้องคิดอะไรให้มากนัก เพราะอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ต้องคิดให้มาก ต้อง

ต่อยอดให้ได้หรือนำไปใช้ในบริบทต่างๆ ให้ได้ อ่านแล้วไม่มีสูตรสำเร็จ มีแต่แนวคิดที่

จะต้องออกแรงไปประยุกต์ใช้อีก อย่างไรก็ตาม การอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อ “เข้าใจ

ด้วยตัวอย่างเปรียบเทียบ” และ “หลักการในชีวิตจริง” น่าจะช่วยทำให้เข้าใจและเห็นภาพ

ได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณเป็นผู้บริหารที่คิดง่ายและหาอะไรที่ง่ายๆ มาแก้ไขปัญหายาก

ก็ให้รีบวางหนังสือเล่มนี้ แล้วไปหาหนังสือเล่มที่อ่านง่ายกว่า ไม่ต้องคิดมาก และอาจ

ราคาถูกกว่าแทน แต่คุณจะพบว่าแนวคิดเหล่านั้นตื้นเขินเกินไป ลองคิดครับว่า ถ้า

แนวทางง่ายๆ นั้นใช้การได้จริงในทุกกรณีแล้ว ผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยที่ชอบอะไร

ง่ายๆ น่าจะสร้างธุรกิจให้อยู่รอดได้และรุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว

ผมอยากสื่อออกไปว่า ทุกวันนี้อะไรๆ หรือปัญหาต่างๆ ที่เราประสบอยู่นั้น ยาก

ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังมีจำนวนมากขึ้น มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ไม่มีแล้วที่จะง่ายเหมือนเดิม

Page 5: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

ดังนั้น เราจึงต้องทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ต่างๆ ขององค์ประกอบในโซ่อุปทาน ซึ่ง

จะมองอย่างเฉพาะส่วนหรือฝ่ายในองค์กรก็ไม่ได้ ต้องอาศัยความเป็นศาสตร์ (Science)

มากกว่าการเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ต่อให้คุณมีเครื่องมือมากมาย แต่ถ้าไม่

พยายามสร้างแบบจำลองของความสัมพันธ์ของสิ่งที่เราสนใจ หรือคิดอย่างเป็นศาสตร์

หรือวิทยาศาสตร์ (Scientific Thinking) แล้ว คุณก็คงจะควบคุมและปรับปรุงมันไม่ได้

และก็คงจะแก้ปัญหาไม่ได้ในที่สุด เมื่อเริ่มศึกษาในศาสตร์ต่างๆ ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจก็

ย่อมจะยากเสมอ แต่เมื่อเข้าใจแล้ว ก็จะง่ายไปเอง ดังนั้น ผมจึงอยากให้กำลังใจผู้ที่

จะอ่านหนังสือเล่มนี้และต่อยอดไปให้ถึงหนังสือ “FactoryPhysics” ให้มีความพยายาม

และความอดทน ประเทศไทยจะได้มีผู้บริหารที่เป็นนักคิดที่เข้าใจในกลไกของสิ่งที่

ตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นนำไปสู่ความสำเร็จ มากกว่ามีผู้บริหารที่ใช้วาทะเพื่อ

ประสบความสำเร็จ

ผมหวังว่าหนังสือ “ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน” (SupplyChainScience) จะเป็น

อีกแรงหนึ่งที่ช่วยพัฒนาประเทศไทยครับ

ดร.วิทยาสุหฤทดำรง

สถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

[email protected]

Page 6: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

บทนำ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือด้านการจัดการ ดังนั้น จึงมีเป้าหมายเดียวคือช่วยผู้จัดการให้ทำงานของตนเองได้ดีขึ้น

เพราะเหตุใดจึงมีคำว่าศาสตร์อยู่ในชื่อหนังสือด้วย? ศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของพวกเฉิ่มๆ ที่สวมเสื้อแล็บหรือ? นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นกลุ่มที่ห่างไกลจากโลกของการจัดการมากที่สุด (นอกเหนือจากศิลปิน) หรอกหรือ?

เป็นความจริงที่ผู้จัดการไม่สนใจวิทยาศาสตร์เพื่อจะสนใจวิทยาศาสตร์ แต่มีมืออาชีพจำนวนมากที่ไม่สนใจวิทยาศาสตร์เลยแม้แต่น้อย แต่พึ่งพาวิทยาศาสตร์ในการทำงาน วิศวกรโยธาใช้ศาสตร์ของกลศาสตร์ในการออกแบบสะพาน แพทย์ใช้ศาสตร์ของกายวิภาคศาสตร์เพื่อวินิจฉัยความเจ็บป่วย แม้แต่ทนาย (ขอยกตัวอย่างให้สุดโต่ง) ก็ใช้ศาสตร์เรื่องตรรกะในการโต้ความคดี สมมติฐานหลักของหนังสือเล่มนี้คือ ผู้จัดการจำเป็นต้องใช้ศาสตร์ด้วยเช่นกัน

แล้วศาสตร์ประเภทใดล่ะ? โดยเนื้อแท้แล้ว การจัดการเป็นเรื่องที่หลากหลายวิทยาการ ผู้จัดการต้องจัดการกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด การบัญชี พฤติกรรมขององค์กร ปฏิบัติการ และเรื่องอื่นๆ อีกหลากหลายอยู่เป็นประจำ ดังนั้น ศาสตร์ด้านการจัดการที่ครบบริบูรณ์คงเกิดขึ้นได้แค่ในจินตนาการ แต่ความจริงที่ว่า ไม่มีศาสตร์ด้านการแพทย์ที่เป็นสากล ก็ไม่ได้หยุดให้แพทย์พึ่งพากรอบวิทยาศาสตร์หลายๆ แขนง แล้วจะหยุดไม่ให้ผู้จัดการพึ่งพาวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?

ในหนังสือเล่มนี้ เราเน้นไปที่ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน(SupplyChainScience)อย่างเฉพาะเจาะจง “ศาสตร์” นี้เกี่ยวข้องกับคน ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำวัตถุดิบและข้อมูลสารสนเทศมารวมกันเพื่อผลิตและจัดส่งสินค้าและบริการให้กับลูกค้า เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงร่างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของระบบการผลิตและโซ่อุปทานที่ซับซ้อน และช่วยให้คุณมีพื้นฐานในการตัดสินใจที่ดีขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เช่น:

คุณได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ JIT และลีนแล้ว และรู้เรื่องราวของ Toyota จน

แทบ “ล้นทะลัก” แล้ว แต่ธุรกิจของคุณแตกต่างจากอุตสาหกรรมยานยนต์

อย่างสิ้นเชิง มีองค์ประกอบส่วนใดบ้างในระบบการผลิตแบบโตโยต้าที ่

เกีย่วขอ้ง และสว่นใดบา้งทีไ่มเ่กีย่วขอ้งกับธุรกิจของคุณ?

Page 7: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

คุณได้ประยุกต์ใช้งานหลักการผลิตแบบลีนบ้างแล้ว และลดสินค้าคงคลัง

ระหว่างกระบวนการได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปควรเป็นอะไร? คุณจะบ่งชี้

ตำแหน่งในระบบของคุณที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร?

คณุกำลงัจดัการปฏบิตักิารการบรกิารและ (เนือ่งจากวา่การบรกิารไมส่ามารถ

เตรียมเป็นสินค้าคงคลังได้) กำลังคิดว่าแนวคิดพื้นฐานของการผลิตแบบลีน

เกีย่วขอ้งกบัคณุหรอืไม ่ คณุตดัสนิใจไดอ้ยา่งไรวา่จะประยกุตใ์ชส้ว่นใดบา้ง?

คุณกำลังจัดการระบบการผลิตที่มีหลายผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ใดควรเป็น

แบบผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make-to-stock) และส่วนใดควรเป็นแบบผลิตเพื่อ

จัดเก็บ (Make-to-order)? คุณควรพิจารณาอะไรบ้างในการควบคุมระดับ

สินค้าคงคลังของทั้งส่วนประกอบและสินค้าสำเร็จรูป?

คุณกำลังมีปัญหาเรื่องการจัดส่งที่ไม่ตรงเวลาจากผู้จัดส่งวัตถุดิบของคุณ

สิ่งนี้มีผลกระทบอย่างไรต่อผลกำไรขาดทุนของคุณ? ทางเลือกที่ดีที่สุดใน

การปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์นี้คืออะไร?

คุณกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นส่วนหนึ่งในความสัมพันธ์แบบร่วมมือกัน

ทำงาน (Collaboration) กับผู้จัดส่งวัตถุดิบของคุณ คุณควรพิจารณาปัจจัย

อะไรบ้างในการตัดสินใจว่าโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการเป็นหุ้นส่วนกัน

ควรเป็นอย่างไร?

คุณรู้สึกว่าการจัดการโซ่อุปทานที่ดีขึ้นอาจสร้างความได้เปรียบเชิงการ

แข่งขันได้ คุณจะบ่งชี้การปรับปรุงซึ่งมีประโยชน์มากที่สุดได้อย่างไร? เมื่อ

คุณบ่งชี้ได้แล้ว คุณจะนำเสนอแก่ฝ่ายบริหารได้อย่างไร?

แน่นอนว่า คำถามเหล่านี้เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เนื่องจากว่า

แต่ละระบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัญหาที่ผู้จัดการต้องเผชิญในโซ่อุปทานจึงแทบไม่รู้

จบ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ต้องใช้แนวทางเชิงวิทยาศาสตร์ หนังสือที่บอกคุณว่าจะแก้ไข

ปัญหาได้อย่างไรคงช่วยให้คำตอบได้แค่ไม่กี่สถานการณ์ แต่หนังสือเล่มนี้ที่บอกคุณว่า

ทำไมระบบจึงมีพฤติกรรมดังที่เป็น คงช่วยให้คุณมีเครื่องมือและความเข้าใจมากพอที่จะ

จัดการกับทุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิผล

เป้าหมายของเรา คือ การให้คุณเข้าใจเรื่องราวทำไมต่างๆ ในโซ่อุปทาน

Page 8: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

สารบัญ

บทที่ 0 พื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ 11

0.1 เริ่มต้นที่ยุทธศาสตร์ 11

0.2 การกำหนดเป้าหมายของเรา 15

0.3 นิยามข้อตกลงของเรา 16

0.4 โครงสร้างการศึกษาของเรา 19

ส่ ว น ที ่1 ศาสตร์เกี่ยวกับ “สถานี” บทที่ 1 กำลังการผลิต 25

1.1 บทนำ 25

1.2 การวัดกำลังการผลิต 26

1.3 ขีดจำกัดด้านกำลังการผลิต 29

1.4 ผลกระทบของอัตราการใช้ประโยชน์ 32

บทที่ 2 ความแปรผัน 39

2.1 บทนำ 39

2.2 กฎของLittle 39

2.3 การวัดความแปรผัน 42

2.4 อิทธิพลของความแปรผัน 49

บทที่ 3 การจัดชุดของงาน 61

3.1 บทนำ 61

3.2 งานชุดแบบทำพร้อมกัน 63

3.3 งานชุดแบบทำต่อเนื่องกัน 66

3.4 การจัดชุดของงานแบบหลายผลิตภัณฑ์ 73

Page 9: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

ส่ ว น ที ่2 ศาสตร์เกี่ยวกับสายการผลิต บทที่ 4 การไหล 85

4.1 บทนำ 85

4.2 คุณสมบัติของการไหล 87

4.3 สมรรถนะในกรณีที่ดีที่สุด 88

4.4 สมรรถนะในกรณีที่เลวร้ายที่สุด 93

4.5 สมรรถนะของกรณีที่เลวร้ายที่ ใช้การได้ 97

4.6 การเทียบเคียงภายใน 99

4.7 การกระจายความแปรผัน 102

4.8 การปรับปรุงสมรรถนะการไหลของกระบวนการ 108

บทที่ 5 การรองรับความแปรผันด้วยกันชน 117

5.1 บทนำ 117

5.2 หลักพื้นฐานของการสร้างกันชน 118

5.3 บทบาทของยุทธศาสตร์ 119

5.4 ความยืดหยุ่นของกันชน 123

5.5 ตำแหน่งของกันชน 125

5.6 ศาสตร์ของการผลิตแบบลีน 129

บทที่ 6 ระบบผลัก/ดึง 137

6.1 บทนำ 137

6.2 การดึงคืออะไร? 138

6.3 ตัวอย่างของระบบดึง 141

6.4 ความมหัศจรรย์ของการดึง 143

6.5 เปรียบเทียบระหว่างการผลักและการดึง 146

6.6 การนำระบบดึงมาใช้ 151

Page 10: Supply Chain Science THAI Version -1

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

ส่ ว น ที ่3 ศาสตร์เกี่ยวกับเครือข่าย บทที่ 7 สินค้าคงคลัง 165

7.1 บทนำ 165

7.2 การจัดประเภทของสินค้า 168

7.3 สินค้าคงคลังวัฏจักร 171

7.4 สินค้าคงคลังสำรอง 175

7.5 ระบบทบทวนตามช่วงเวลา 181

7.6 ระบบทบทวนแบบต่อเนื่อง 187

7.7 ระบบแบบสินค้าหลายรายการ 194

บทที่ 8 ความเสี่ยง 205

8.1 บทนำ 205

8.2 การใช้กันชนร่วมกัน 209

8.3 การวางแผนฉุกเฉิน 227

8.4 การจัดการภาวะวิกฤต 232

บทที่ 9 การประสานงาน 249

9.1 บทนำ 249

9.2 การจัดการสินค้าคงคลังแบบตามลำดับชั้น 253

9.3 จุดเชื่อมระหว่างสินค้าคงคลัง/คำสั่ง 260

9.4 ปรากฏการณ์แส้ม้า 264

9.5 สัญญาในโซ่อุปทาน 271

9.6 การจัดการข้อมูลสารสนเทศ 277

9.7 การปรับโครงสร้างของโซ่อุปทาน 293

ภาคผนวก A สรุปคำย่อ 302

ภาคผนวก B หลักการ 306

หนังสืออ้างอิง 310

เกี่ยวกับผู้เขียน 313

เกี่ยวกับผู้แปล 314