nuclear watch (thailand) 18

8
ฉบับที่ 18, พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 โครงการจับตาพลังงาน (Energy Watch) email : [email protected] ในเล่ม “เซลลาฟิลด์” โรงงานนิวเคลียร์ที่มีพิษ ที่สุดในยุโรป ปลุกผีโครงการ ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ รื้อถอนเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิมะ : เรื่องที่ท้าทายกว่าเชอร์โนบิล พลังงานหมุนเวียน ทดแทนนิวเคลียร์ไม่ได้จริงหรือ ? ข่าว / ความเคลื่อนไหว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เสียท่า “แมงกระพรุน” 1 1 4 6 7 8 “เซลลาฟิลด์” ไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงหนึ่ง แต่เป็นเสมือน “นิคมอุตสาหกรรม นิวเคลียร์” ในเขตคัมเบรียทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีเนื้อที่ 6 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3,750 ไร่) อันเป็นที่ตั้งของโรงงานนิวเคลียร์หลายประเภท นับตั้งแต่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ ในทางทหาร โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานสกัดแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว โรงงานผนึกกากนิวเคลียร์ด้วย แก้ว และอื่นๆ รวมทั้งกากนิวเคลียร์อีกจ�านวนมหาศาลที่ถูกเก็บในบ่อและโกดังหลายแห่ง ด้วยอายุที่ยาวนานมากกว่า 50 ปีและอุบัติเหตุท่ท�าให้มีการรั่วไหลของรังสีหลายครั้ง ท�าให้เซลลาฟิลด์เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยพิษของรังสี และถูกจัดให้เป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่มีอันตราย มากที่สุดในทวีปยุโรป ตัวอย่างเล็กๆ ที่แสดงถึงอันตรายของมันก็คือ “นกพิราบปนเป้อนรังสี” ที่เปรียบเสมือน “ขยะรังสีบินได้” ที่สามารถบินเข้าไปในเขตชุมชนพร้อมกับสารกัมมันตรังสีที่ติดอยู่บนขนหรือแม้ กระทั้งมูลของมัน โดยในปี 2541 ทางการอังกฤษต้องออกประกาศเตือนขอให้ประชาชนอย่าแตะ ต้องหรือน�านกพิราบในรัศมี 10 ไมล์จากโรงงานเซลลาฟิลด์มารับประทาน ปัญหาขยะรังสีบินได้ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ต่อหน้า 2) “เซลลาฟิลด์” โรงงานนิวเคลียร์ที่มีพิษที่สุดในยุโรป โรงงานนิวเคลียร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอังกฤษแห่งนีก�าลังถูกปลดระวางและ รื้อถอนอาคาร อุปกรณ์ต่างๆ ที่เต็มไปด้วยกัมมันตภาพรังสี ซึ่งขณะนี้แม้แต่หน่วยงานที่รับ ผิดชอบเองก็ยังไม่ทราบว่าต้องใช้เวลานานกี่ปี และต้องใช้งบประมาณจ�านวนเท่าใด ปลุกผีโครงการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ เพิ่มก�าลังเป็น 30 เมกะวัตต์ 2 พฤศจิกายน 2555, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จะมีการเดินหน้าสานต่อโครงการ ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จ.นครนายก และจะเร่งด�าเนินการเพื่อไม่ให้ ประเทศชาติเสียประโยชน์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยก ตัวออกมาจากส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) เมื่อปี 2549 คือหน่วยงาน ที่จะเป็นผู้ด�าเนินโครงการนี้ โดย สทน.ได้ว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ต่อหน้า 5) การคัดค้านโครงการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์เมื่อปี 2544

Upload: santi-chakchai

Post on 02-Nov-2014

64 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

จับตานิวเคลียร์ ข้อมูลอีกด้านที่ควรรู้

TRANSCRIPT

Page 1: Nuclear Watch (Thailand) 18

จับตานิวเคลียร์ 1

ฉบับที่ 18, พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 โครงการจับตาพลังงาน (Energy Watch) email : [email protected]

ในเล่ม“เซลลาฟิลด์”

โรงงานนิวเคลียร์ที่มีพิษ

ที่สุดในยุโรป

ปลุกผีโครงการ

ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์

รื้อถอนเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิมะ :

เรื่องที่ท้าทายกว่าเชอร์โนบิล

พลังงานหมุนเวียน

ทดแทนนิวเคลียร์ไม่ได้จริงหรือ ?

ข่าว / ความเคลื่อนไหว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เสียท่า “แมงกระพรุน”

1

1

4

6

7

8

“เซลลาฟิลด์” ไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงหนึ่ง แต่เป็นเสมือน “นิคมอุตสาหกรรม

นิวเคลียร์” ในเขตคัมเบรียทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีเนื้อที่ 6 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ

3,750 ไร่) อันเป็นที่ตั้งของโรงงานนิวเคลียร์หลายประเภท นับตั้งแต่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้

ในทางทหาร โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานสกัดแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว โรงงานผนึกกากนิวเคลียร์ด้วย

แก้ว และอื่นๆ รวมทั้งกากนิวเคลียร์อีกจ�านวนมหาศาลที่ถูกเก็บในบ่อและโกดังหลายแห่ง

ด้วยอายุที่ยาวนานมากกว่า 50 ปีและอุบัติเหตุที่ท�าให้มีการรั่วไหลของรังสีหลายครั้ง

ท�าให้เซลลาฟิลด์เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยพิษของรังสี และถูกจัดให้เป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่มีอันตราย

มากที่สุดในทวีปยุโรป

ตัวอย่างเล็กๆ ที่แสดงถึงอันตรายของมันก็คือ “นกพิราบปนเปื้อนรังสี” ที่เปรียบเสมือน

“ขยะรังสีบินได้” ที่สามารถบินเข้าไปในเขตชุมชนพร้อมกับสารกัมมันตรังสีที่ติดอยู่บนขนหรือแม้

กระทั้งมูลของมัน โดยในปี 2541 ทางการอังกฤษต้องออกประกาศเตือนขอให้ประชาชนอย่าแตะ

ต้องหรือน�านกพิราบในรัศมี 10 ไมล์จากโรงงานเซลลาฟิลด์มารับประทาน ปัญหาขยะรังสีบินได้

เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ต่อหน้า 2)

“เซลลาฟิลด์”

โรงงานนิวเคลียร์ที่มีพิษที่สุดในยุโรป

โรงงานนิวเคลียร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอังกฤษแห่งนี้ ก�าลังถูกปลดระวางและ

รื้อถอนอาคาร อุปกรณ์ต่างๆ ที่เต็มไปด้วยกัมมันตภาพรังสี ซึ่งขณะนี้แม้แต่หน่วยงานที่รับ

ผิดชอบเองก็ยังไม่ทราบว่าต้องใช้เวลานานกี่ปี และต้องใช้งบประมาณจ�านวนเท่าใด

ปลุกผีโครงการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ เพิ่มก�าลังเป็น 30 เมกะวัตต์

2 พฤศจิกายน 2555, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.กระทรวง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จะมีการเดินหน้าสานต่อโครงการ

ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จ.นครนายก และจะเร่งด�าเนินการเพื่อไม่ให้

ประเทศชาติเสียประโยชน์

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยก

ตัวออกมาจากส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) เมื่อปี 2549 คือหน่วยงาน

ที่จะเป็นผู้ด�าเนินโครงการนี้ โดย สทน.ได้ว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ต่อหน้า 5) การคัดค้านโครงการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์เมื่อปี 2544

Page 2: Nuclear Watch (Thailand) 18

2 จับตานิวเคลียร์

การรื้อถอนหอหล่อเย็นโรงไฟฟ้าแคลเดอร์ฮอลล์ในเซลลาฟิลด์ ปี 2550

ยังมีการตรวจพบ “นกนางแอ่นปนเปื้อนรังสี” อีกด้วย

ในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา เคยมีอุบัติเหตุที่มีความรุนแรง

ระดับ 3-5 ของอุบัติเหตุนิวเคลียร์ (สูงสุดคือระดับ 7) เกิดขึ้นใน

โรงงานเซลลาฟิลด์ถึง 21 ครั้ง สารรังสีที่ปล่อยลงสู่ทะเลทั้งโดย

ตั้งใจและจากการรั่วไหล ท�าให้ทะเลไอริชถูกจัดให้เป็นทะเลที่ปน

เปื้อนรังสีสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่ในเซลลาฟิลด์ได้ปิดด�าเนิน

การไปนานแล้ว ส่วนที่ยังใช้งานอยู่มีเพียงโรงงานผลิตเชื้อเพลิง

นิวเคลียร์แบบอ็อกไซด์ผสมที่เรียกว่า “MOX” ซึ่งมีการประกาศ

ยืนยันเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จะหยุดด�าเนินการในปี 2561

หลังสิ้นยุคของการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เซลลาฟิลด์

ได้ถูกพัฒนาให้เป็นโรงงานสกัดซ�้า (reprocessing) แท่งเชื้อเพลิง

นิวเคลียร์ใช้แล้ว เพื่อสกัดเอาพลูโตเนียมและยูเรเนียมที่ยังหลง

เหลืออยู่กลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่ ด้วยเงินลงทุนหลายพันล้าน

ยูโรที่มาจากภาษีของประชาชน “โรงงานเชื้อเพลิง MOX เซล

ลาฟิลด์” ก็ได้เปิดกิจการในปี 2544 มันถูกออกแบบให้มีก�าลัง

ผลิต 120 ตันต่อปี แต่เอาเข้าจริง ในการด�าเนินการ 8 ปีแรกกลับ

สามารถผลิตเชื้อเพลิง MOX ได้เพียง 13 ตันเท่านั้น

โครงการนี้ถือเป็นการลงทุนที่ล้มเหลวอย่างมโหฬารที่สุด

ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งที่จริงแล้ว การ reprocessing

เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเป็นเรื่องที่ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

แต่เป็นความพยายามของฝ่ายอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่จะหา

ทางออกให้กับจุดอ่อนของพลังงานนิวเคลียร์ในเรื่องปัญหากาก

นิวเคลียร์ โดยท�าให้เห็นว่ามันสามารถน�ากลับมารีไซเคิลได้ แต่ใน

ความเป็นจริงก็คือ การ reprocessing กลับท�าให้มีกากนิวเคลียร์ที่

เป็นภาระในระยะยาวเพิ่มมากขึ้นไปอีก

กากนิวเคลียร์จ�านวนมหาศาลท่ีเก็บไว้ชั่วคราวในเซลลา

ฟิลด์มีปริมาณมากถึง 68,000 ลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากับ

ปริมาตรของสระว่ายน�้าโอลิมปิก 27 สระ ยังไม่นับรวมวัสดุ

อุปกรณ์ และซากอาคารต่างๆ ที่เลิกใช้งานแล้ว ซึ่งถือเป็นกาก

นิวเคลียร์ที่ต้องท�าการบ�าบัดและจัดเก็บด้วยวิธีการเช่นเดียวกับ

การจัดการกากนิวเคลียร์

นับจากปี 2548 เป็นต้นมา นิคมนิวเคลียร์เซลลาฟิลด์ได้

ถูกโอนให้อยู่ในความรับผิดชอบของ “ส�านักปลดระวางนิวเคลียร์”

(Nuclear Decommissioning Authority : NDA) ซึ่งเป็นหน่วยงาน

รัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เพื่อรับมอบภารกิจในการปลดระวางและรื้อถอน

โรงงานนิวเคลียร์เก่าที่หยุดด�าเนินการลงในประเทศอังกฤษ และ

“เซลลาฟิลด์” ก็คือภารกิจแรกของหน่วยงานใหม่แห่งนี้

ตามรายงานตรวจสอบการใช้งบประมาณโดยส�านักงาน

ตรวจเงินแห่งชาติของอังกฤษ (The National Audit Office : NAO)

ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนตุลาคม 2555 ระบุว่า

“นับตั้งแต่เปิดด�าเนินการมา ผู้ประกอบการโรงงานเซล

ลาฟิลด์ไม่ได้ค�านึงถึงการปลดระวางหรือการก�ากัดกากนิวเคลียร์

อย่างเพียงพอ ส�านักปลดระวางนิวเคลียร์ต้องรับสืบทอดมรดก

ของโครงการที่แย่และขาดการเอาใจใส่ อาคารและเครื่องจักร

อุปกรณ์กว่า 1,400 รายการซึ่งมีจ�านวน 240 รายการที่มีวัสดุ

นิวเคลียร์นั้น บางส่วนอยู่ในสภาพทรุดโทรมและมีความเสี่ยง

อย่างมีนัยส�าคัญที่จะเกิดอันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม”

การรื้อถอนนิคมฯ เซลลาฟิลด์จึงถือเป็นงานอภิมหาหิน

ที่จะต้องรื้อถอนด้วยความระมัดระวัง ท�าความสะอาดการปนเปื้อน

รังสี และผนึกกากนิวเคลียร์ทั้งหมดไว้ในภาชนะที่สามารถป้องกัน

รังสีได้นาน 100 ปี เพื่อรอเวลาที่จะพัฒนาสถานที่จัดเก็บกาก

นิวเคลียร์อย่างถาวรได้ส�าเร็จ (ซึ่งยังไม่ทราบว่าเมื่อไหร่)

ส�าหรับงบประมาณด�าเนินการที่ประเมินไว้ในปี 2548 อยู่

ที่ 31,500 ล้านยูโร (1.26 ล้านล้านบาท) แต่เมื่อถึงปี 2555 ตัวเลข

ประเมินก็พุ่งขึ้นเป็น 67,500 ล้านยูโร (ประมาณ 2.7 ล้านล้าน

บาท) ภายใต้งบประมาณนี้ เป้าหมายที่ก�าหนดไว้ก็คือ การรื้อถอน

โรงงานทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2563 ยกเว้นกรณีบ่อน�้าเก็บกาก

นิวเคลียร์และโกดังกากนิวเคลียร์ที่เต็มไปด้วยสารกัมมันตรังสีเข้ม

ข้นตั้งแต่สมัยพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จะต้องใช้เวลารื้อถอนจนถึงปี

2579 เท่านั้นยังไม่จบ เพราะยังเหลือการก่อสร้างสถานที่จัดเก็บ

กากนิวเคลียร์ถาวร ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสถานที่ที่เหมาะสม โดยเป้า

หมายที่คาดว่าจะท�าได้เสร็จสมบูรณ์ก็คือปี พ.ศ. 2663 หรืออีก

100 ปีข้างหน้า !!!

ส�านักงานตรวจสอบบัญชีแห่งชาติยังระบุในรายงานด้วย

ว่า “หนี้สินที่ถูกละเลยในประวัติศาสตร์ ท�าให้ผู้รับผิดชอบโครงการ

ต้องเผชิญกับความยากล�าบากในการที่จะเดินหน้าการปลดระวาง

เซลลาฟิลด์ต่อไป”

“หนี้สินที่ถูกละเลยในประวัติศาสตร์” ของเซลลาฟิลด์

ก้อนนี้ คือภาระจากอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่ชาวอังกฤษต้องร่วม

กันชดใช้ต่อไปอีกนับร้อยๆ ปี

แหล่งข้อมูล

- Sellafield nuclear waste storage is ‘intolerable risk’, www.bbc.co.uk, 7 Nov. 2012

- Managing risk reduction at Sellafield, National Audit Office, 7 November 2012

- Sellafield swallows contaminated by radioactivity, www.guardian.co.uk, 8 June 2012

- www.sellafieldsites.com

- Wikipedia

เซลลาฟิลด ์(ต่อจากหน้า 1)

การลงทุนที่ล้มเหลวอย่างมโหฬาร

การรื้อถอน : ต้นทุนที่ต้องจ่ายย้อนหลัง

Page 3: Nuclear Watch (Thailand) 18

จับตานิวเคลียร์ 3จับตานิวเคลียร์ 3

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของนิคมนิวเคลียร์เซลลาฟิลด์

เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตอาวุธของประเทศอังกฤษในสมัย

สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามโลกยุติลง การแข่งขันพัฒนา

อาวุธนิวเคลียร์ของชาติมหาอ�านาจก็เริ่มต้นขึ้น โรงงานเซลลา

ฟิลด์ถูกดัดแปลงให้เป็นโรงงานผลิตพลูโตเนียม เพื่อเป็นวัตถุดิบ

ส�าหรับสร้างระเบิดปรมาณู เตาปฏิกรณ์วินด์สเกลไพล์ 2 เครื่อง

จึงถูกก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2490 เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการนี้ ถัด

มาคือการก่อสร้างโรงงานสกัดพลูโตเนียมจากแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว

ของเตาปฏิกรณ์วินสเกลไพล์ ที่เรียกว่า “โรงงาน B204” ซึ่งเปิด

ด�าเนินการในปี 2494

ต่อมาในปี 2496 ก็มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แคลเดอร์ฮอลล์และสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2499 ซึ่งถือเป็น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชิงพานิชย์โรงแรกของโลก แต่แท้จริงแล้ว

วัตถุประสงค์หลักของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แคลเดอร์ฮอลล์ยังคงอยู่

ที่การผลิตพลูโตเนียมเพื่อใช้ในทางทหาร ส่วนไฟฟ้านั้นถือเป็น

ผลพลอยได้

ในปี 2505 ได้มีการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ต้นแบบของอังกฤษที่ใช้แก๊สเป็นตัวหล่อเย็นที่เรียกว่า Windscale

Advanced Gas Cooled Reactor (WAGR) ซึ่งเป็นเตาปฏิกรณ์รุ่น

ที่ 2 ที่พัฒนามาจากเตาปฏิกรณ์แบบ Magnox ที่ใช้อยู่ในโรงไฟ

ฟ้าแคลเดอร์ฮอลล์ ถัดมาในปี 2507 รัฐบาลอังกฤษก็ต้องก่อสร้าง

โรงงานสกัดแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบ Magnox (Magnox re-

processing plant) ขึ้นอีกหนึ่งโรง หลังจากพบว่าแท่งเชื้อเพลิงใช้

แล้วชนิดนี้ เมื่อน�าไปจัดเก็บโดยแช่ไว้ใต้น�้าจะเกิดการกัดกร่อน

ในปี 2537 โรงงานสกัดแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว

THORP (Thermal Oxide Reprocessing Plant) ก็ก่อสร้างเสร็จ

และเริ่มเปิดใช้งาน โรงงาน THORP เป็นโรงงานที่น�าแท่งเชื้อเพลิง

นิวเคลียร์ใช้แล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ WAGR มาสกัดเอา

พลูโตเนียมและยูเรเนียมที่ยังหลงเหลือในแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วออก

มาใช้ประโยชน์ใหม่

โรงงานสุดท้ายที่มีการก่อสร้างขึ้นก็คือโรงงานผลิตแท่ง

เชื้อเพลิง MOX เซลลาฟิลด์ (Sellafield MOX Plant) ที่เปิดด�าเนิน

การในปี 2544 เพื่อผลิตเชื้อเพลิง MOX (Mixed-Oxide) ซึ่งหมาย

ถึงอ็อกไซด์ผสมของพลูโตเนียมและยูเรเนียมที่สกัดได้จากโรงงาน

THORP

ประเทศอังกฤษสะสมพลูโตเนียมอ็อกไซด์ไว้เป็นจ�านวน

มาก ด้วยความฝันอันสวยหรูว่าวัตถุมหันตภัยนี้จะแปรเปลี่ยนเป็น

ก�าไรก้อนงามจากการขายแท่งเชื้อเพลิง MOX ท�าให้เซลลาฟิลด์

เป็นคลังพลูโตเนียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โครงการผลิตแท่งเชื้อเพลิง MOX ลงทุนก่อสร้างและ

ด�าเนินการมาเป็นเวลา 10 ปี ก่อนที่จะจบลงด้วยความล้มเหลว

ไม่เป็นท่า เพราะมีลูกค้าเพียงไม่กี่ประเทศที่สั่งซื้อเชื้อเพลิงชนิดนี้

จากโรงงานเซลลาฟิลด์ ลูกค้ารายส�าคัญที่สุดคือประเทศญี่ปุ่น แต่

เมื่อเกิดอุบัติเหตุฟูกูชิมะในปี 2554 ท�าให้อนาคตของอุตสาหกรรม

นิวเคลียร์ในญี่ปุ่นดับวูบ จนต้องขอยกเลิกค�าสั่งซื้อเชื้อเพลิง MOX

จากโรงงานเซลลาฟิลด์ทั้งหมด อย่างน้อยในเวลา 10 ปีข้างหน้านี้

ในเดือนมิถุนายน 2555 “ส�านักปลดระวางนิวเคลียร์” ซึ่ง

เป็นหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของนิคมนิวเคลียร์เซลลาฟิลด์ได้ประกาศ

ว่า โรงงานเชื้อเพลิง MOX เซลลาฟิลด์จะต้องถูกปลดระวางในปี

2561 เพื่อเริ่มกระบวนการรื้อถอน

ตามแผนที่ส�านักปลดระวางนิวเคลียร์วางไว้ การรื้อถอน

และจัดเก็บกากนิวเคลียร์จะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2663

นิคมนิวเคลียร์เซลลาฟิลด์

ภาระ 100 ปีในการปลดระวางและรื้อถอน

Page 4: Nuclear Watch (Thailand) 18

4 จับตานิวเคลียร์

ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3

2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 20-25 ปี 30-40 ปี

แผน 40 ปีในการรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

การเก็บกวาด

ซากปรักหักพัง

บริเวณบ่อเก็บ

แท่งเชื้อเพลิง

ใช้แล้วเสร็จสิ้น

เริ่มต้นย้ายเชื้อ

เพลิงใช้แล้ว

ออกจากบ่อ

การซ่อมแซม

อาคารเครื่อง

ปฏิกรณ์และ

อาคารเครื่อง

ปั่นไฟเสร็จสิ้น

การระบายน�้า

ปนรังสีออกจาก

อาคารปฏิกรณ์

และอาคารเครื่อง

ปั่นไฟเสร็จสิ้น

เริ่มเคลื่อนย้าย

แท่งเชื้อเพลิง

ออกจากเตา

ปฏิกรณ์

การเคลื่อนย้าย

แท่งเชื้อเพลิง

แล้วเสร็จ

การรื้อถอน

อาคารปฏิกรณ์

แล้วเสร็จ

ที่มา : บริษัทเท็ปโก

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ & สึนามิ (ต่อจากหน้า 1)รื้อถอนเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิมะ : เรื่องที่ท้าทายกว่าเชอร์โนบิล

ธันวาคม 2555, นายโตชิมิตสุ โมเตกิ รัฐมนตรีกระทรวง

อุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดสรร

งบประมาณพิเศษหลายหม่ืนล้านเยนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัย

และพัฒนาวิธีการรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ

งบประมาณก้อนนี้เป็นเงินก้อนที่สอง หลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนได้

อนุมัติงบประมาณ 2,000 ล้านเยน (25 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อใช้

ในการศึกษาวิธีการรื้อถอนเตาปฏิกรณ์อย่างปลอดภัย

นายโมเตกิกล่าวว่า “เป็นเรื่องจ�าเป็นที่จะต้องเร่งด�าเนิน

การรื้อถอนเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิมะ โดยรัฐบาลจะแสดงบทบาทอย่าง

เต็มก�าลัง รวมทั้งการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

ในการอุดรอยรั่วที่จมอยู่ใต้น�้าปนเปื้อนรังสีด้วย

การเคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงที่หลอมละลายออกจากเตา

ปฏิกรณ์ทั้งสามต้องใช้เวลาถึง 25 ปี (พ.ศ.2579) หลังจากนั้นจึงจะ

สามารถรื้อถอนอาคารเครื่องปฏิกรณ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้

โดยบริษัทเท็ปโกคาดว่าค่าใช้จ่ายในการด�าเนินการจะตกประมาณ

1 ล้านล้านเยน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายคาดว่าค่าใช้จ่ายน่าจะเพิ่ม

สูงขึ้นอีกในอนาคต

แม้ว่าอุบัติเหตุฟูกูชิมะจะมีความร้ายแรงน้อยกว่ากรณี

ของเชอร์โนบิล แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การแก้ไขปัญหาที่

เชอร์โนบิลกลับใช้วิธีการที่ง่ายกว่ามาก โดยการก่อสร้างเกราะ

ในการรื้อถอนเตาปฏิกรณ์ทั้ง 4 เครื่องที่ฟูกูชิมะ บริษัท

เท็ปโกได้ตั้งงบประมาณไว้ 1 ล้านล้านเยน (12,500 ล้านเหรียญ)

ตามแผนการรื้อถอนที่มีก�าหนดระยะเวลา 40 ปี

การรื้อถอน หรือ “decommissioning” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

มีความหมายรวมตั้งแต่การปลดระวางโรงไฟฟ้า การรื้อถอนเตา

ปฏิกรณ์ บ�าบัดและจัดเก็บกากนิวเคลียร์ทั้งหลายเข้าสู่ภาชนะ

ป้องกันที่มีความปลอดภัย ไปจนถึงการท�าความสะอาดและฟื้นฟู

สภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนรังสี ซึ่งส�าหรับโรง

ไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก

ตามแผนการที่วางไว้ อันดับแรกคือการซ่อมแซมอาคาร

เครื่องปฏิกรณ์ที่ยังมีการรั่วไหลของรังสี ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 6 ปี

จากนั้นจึงท�าการระบายน�้าปนเปื ้อนรังสีออกจากอาคารติดต้ัง

เครื่องปฏิกรณ์และอาคารเครื่องก�าเนิดไฟฟ้า ซึ่งใช้เวลาอีก 2 ปี

อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ก�าหนดขึ้นด้วยข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจน

นัก เพราะขณะนี้ยังไม่มีใครทราบเลยว่าจุดรั่วไหลอยู่ตรงไหน

เมื่อด�าเนินการขั้นแรกส�าเร็จ สิ่งที่ต้องท�าต่อมาคือการ

เคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงที่หลอมละลายออกจากเตาปฏิกรณ์ ซึ่ง

เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะแท่งเชื้อเพลิงที่หลอมละลายอยู่ใน

สภาพกระจัดกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอยู่ที่บริเวณฐานของเตา

ปฏิกรณ์ ขั้นตอนนี้คาดว่าจะเริ่มหลังจากปี 2565 ไปแล้ว ซึ่งใน

ระหว่างนี้จะต้องมีการพัฒนาหุ่นยนต์ท่ีสามารถเข้าไปปฏิบัติงาน

ในพื้นที่อันตรายแทนมนุษย์ให้ส�าเร็จ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี

คอนกรีตหนาครอบเตาปฏิกรณ์ท่ีเสียหายและอพยพประชาชน

ออกจากพื้นที่อย่างเป็นการถาวร แต่ส�าหรับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศ

ที่ขาดแคลนที่ดินและประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกับที่ดินอย่าง

ลึกซึ้งแล้ว การกอบกู้ที่ดินเพื่อให้ประชาชนกลับเข้าไปอาศัยอยู่ได้

อย่างปลอดภัยคือเป้าหมายของแผน

“เราจะต้องใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะก�าจัดการ

ปนเปื้อนของรังสี และฟื้นฟูสภาพของทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถจะ

ฟื้นฟูได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับเข้าไปอาศัยอยู่ได้อีกครั้ง”

นายโกชิ โฮโซโนะ รัฐมนตรีอุบัติเหตุนิวเคลียร์ให้สัมภาษณ์กับสื่อ

ต่างประเทศ “เพื่อที่จะฟื้นฟูสภาพสิ่งต่างๆ ให้กลับคืนมา เราต้อง

มีการพัฒนาเทคโนโลยี และจะสละงบประมาณจ�านวนมากให้กับ

อะไรก็ตามที่จะท�าให้มันส�าเร็จ”

นอกจากแผนการรื้อถอนโรงไฟฟ้าแล้ว รัฐบาลยังมีแผนที่

จะก�าจัดการปนเปื้อนรังสีในเมือง ถนน สวนสาธารณะ และอื่นๆ

ซึ่งต้องใช้งบประมาณอีก 1 ล้านล้านเยน

ไม่มีใครรู้ว่าต้นทุนที่แท้จริงในการจัดการปัญหาฟูกูชิมะ

จะมากเท่าไหร่ แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือ ประชาชนผู้เสียภาษีจะต้อง

ร่วมแบกรับภาระทางการเงินก้อนมหึมานี้ต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

ที่มา :

- Motegi: Budget earmarked to decommission Fukushima nuclear

reactors, ajw.asahi.com, 29 Dec., 2012

- Japan Plots 40-Year Nuclear Cleanup, online.wsj.com, 22 Dec., 2011

Page 5: Nuclear Watch (Thailand) 18

จับตานิวเคลียร์ 5

ย้อนรอยความเป็นมาของโครงการ

อาคารส�านักงานศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ บนเนื้อที่ 316 ไร่ ก่อสร้างเสร็จและถูกทิ้งร้างไว้หลายปี ก่อนจะกลายเป็น สทน. ในปัจจุบัน

เตาปฏิกรณ์วิจัยเครื่องใหม่ จ�าเป็นจริงหรือ ?

สรุปว่า ประเทศไทยควรมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่

เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม

เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์เดิมใช้ประโยชน์ได้ไม่เพียงพอ

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ภายใต้โครงการใหม่

นี้ เตาปฏิกรณ์จะต้องมีขนาดระหว่าง 10-30 เมกะวัตต์

โครงการดังกล่าวน้ีเคยด�าเนินการโดยส�านักงานปรมาณู

เพื่อสันติเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่การก่อสร้างเตาปฏิกรณ์วิจัย

ต้องยกเลิกไป แม้ว่าจะมีการท�าสัญญาจัดซื้อและก่อสร้างเครื่อง

ปฏิกรณ์ขนาด 10 เมกะวัตต์กับบริษัทเจเนอรัล อตอมมิค (จีเอ)

จากสหรัฐอเมริกาแล้วก็ตาม เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ของบริษัทจี

เอ ไม่เคยผ่านการตรวจประเมินความปลอดภัยจากประเทศผู้ผลิต

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างในโครงการนี้เป็นสัญญาแบบ Turn

Key (จ้างเหมาทั้งออกแบบและก่อสร้าง) ระยะเวลาด�าเนินการ

มิ.ย. 2540 - มิ.ย. 2544 แต่จนกระทั่งปัจจุบันการก่อสร้างก็ยังไม่

ได้เริ่มต้น โดยที่ส�านักงานปรมาณูฯ ได้จ่ายเงินไปแล้ว 1,800 ล้าน

บาท และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการให้แก่ บ.อิเลคโทรวัตต์ อีก 247

ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้าน อ.องครักษ์ได้ยืนเรื่องร้องเรียนต่อ

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ สตง. สรุปผลการสอบสวน

ในปี 2549 ว่า มีการประพฤติมิชอบของข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน

โครงการ ปัญหาทั้งหมดนี้ยังคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบัน

ทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม เช่นการฉายรังสีเพื่อ

ถนอมอาหารหรือปรับปรุงพันธ์พืช การฉายรังสีเพื่อเพิ่มมูลค่าของ

อัญมณี และการน�ารังสีไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใน

ทางการแพทย์ก็ได้แก่ การใช้รังสีในการวินิจฉัยและรักษาโรค โดย

เฉพาะโรคมะเร็ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม “ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสี” ไม่ใช่

สิ่งเดียวกันกับ “ประโยชน์ของเครื่องปฏิกรณ์วิจัย” โดยเราจะ

เห็นได้ว่า สทน.มีศูนย์ฉายรังสีเพื่อให้บริการฉายรังสีผลิตภัณฑ์

การเกษตรและอื่นๆ ตั้งอยู่ที่รังสิตคลอง 5 จ.ปทุมธานี และมีศูนย์

ฉายรังสีอัญมณีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่

ในส�านักงานที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก โดยใช้โคบอลต์-60 และ

เครื่องเร่งอนุภาคอิเลคตรอนเป็นต้นก�าเนิดรังสี เป็นต้น

ดังนั้นจึงมีค�าถามว่าการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท

เพื่อก่อสร้างเตาปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่องเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

และคุ้มค่าหรือไม่

ย้อนกลับไปก่อนที่ ครม. จะมีมติอนุมัติโครงการเเมื่อปี

2536 ดร.สวัสดิ์ ศรีสุข อดีตเลขาธิการส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม

2535 โดยแสดงการคัดค้านโครงการอย่างแข็งขันว่า

“...อันตรายจากการแผ่รังสีท่ีบางเขนอยู่ที่มีเชื้อเพลิง

ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่

27 ธันวาคม 2532 ให้ “ด�าเนินการย้ายเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของ

ส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติซึ่งตั้งอยู่ที่บางเขนไปจัดสร้าง ณ สถาน

ที่แห่งใหม่ที่เหมาะสมและปลอดภัยโดยด่วน” เนื่องจากสถานที่

ตั้งเดิมไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของทบวงการ

ปรมาณูระหว่างประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การย้ายเตา

ปฏิกรณ์ไปก่อสร้างยังสถานท่ีแห่งใหม่เป็นสิ่งท่ีไม่สามารถท�าได้

เนื่องจากจะเกิดอันตราย อย่างไรก็ตาม ส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ได้ใช้โอกาสที่ ครม.มีมติในเรื่องนี้ ท�าการส�ารวจสถานที่และจัดท�า

โครงการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์วิจัยเครื่องใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเตา

ปฏิกรณ์บางเขนเก่าและมีขนาดเล็กเกินไป ไม่เพียงพอต่อการใช้

ประโยชน์ และได้รับการอนุมัติจาก ครม. ในปี 2536

ส�านักงานปรมาณูเพื่อสันติอ ้างว่าโครงการนี้จะเป็น

ประโยชน์อย่างมากจากการที่ประเทศไทยจะมีเครื่องปฏิกรณ์

นิวเคลียร์วิจัยที่ทันสมัยทัดเทียมนานาประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ใน

นิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว และที่ก�าลังใช้อยู่ ในเมื่อเกรงจะมีอุบัติเหตุ ก็

ด้วยเหตุใดจึงจะมีเครื่องปฏิกรณ์ที่ใหญ่กว่า 5-10 เท่า ใช้เชื้อเพลิง

นิวเคลียร์ปรมาณูมากขึ้นไปอีกที่จังหวัดนครนายก ท�าให้มีแหล่งที่

อาจเกิดอันตรายขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งเป็นสองแห่ง

ข้าพเจ้าได้ชี้แจงในตอนแรกๆ แล้วว่า ไม่มีผู้มาใช้งาน

จากสถาบันอื่นๆ กันมากนักที่เครื่องปฏิกรณ์ ไม่ว่าด้านฟิสิกส์ หรือ

ด้านเทคนิคการวิเคราะห์นิวเคลียร์เคมี ชนิดของไอโซโทปที่วงการ

แพทย์นิยมใช้ในปัจจุบันก็ไม่ต้องอาศัยเครื่องปฏิกรณ์ โครงการที่

ขยายไปเป็นกึ่งอุตสาหกรรมได้ก็ไม่ได้อาศัยเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

... ที่อ้างว่าเพื่อพัฒนานิวเคลียร์เทคโนโลยีนั้น เขาพัฒนา

กันมากแล้วที่อื่น เพียงแต่เราท�าอะไรให้เกิดประโยชน์ในบ้านเราก็

น่าจะดี...”

ประเด็นจาก ดร.สวัสดิ์ ศรีสุข ถือเป็นเรื่องส�าคัญ เพราะ

หนึ่งนั้น เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องใช้ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงและ

จะเกิดกากนิวเคลียร์ที่เป็นภาระในการดูแลต่อไปนับหมื่นปี สอง

คือ เตาปฏิกรณ์เครื่องใหม่อาจจะไม่ใช่สิ่งจ�าเป็นก็ได้... โครงการนี้

สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการตรวจสอบจากสาธารณะ

ปลุกผีนิวเคลียร์องครักษ ์(ต่อจากหน้า 1)

Page 6: Nuclear Watch (Thailand) 18

6 จับตานิวเคลียร์

แสงอาทิตย์

เครื่องก�าเนิดไฟฟ้า

เครื่องก�าเนิดไอน�้า

ถังเกลือเย็น

ถังเกลือร้อน

หอสะสมความร้อน

ที่มา : บริษัท Torresol Energy

ผู ้สนับสนุนระบบพลังงานรวมศูนย์มักจะอ้างว่า

พลังงานหมุนเวียนไม่ใช่ค�าตอบที่จะสามารถทดแทนโรง

ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างเป็นจริง เนื่องจากพลังงานหมุนเวียน

มีความไม่แน่นอน ไม่สามารถใช้เป็น Base Load หรือก�าลัง

ผลิตไฟฟ้าพื้นฐานที่ต้องเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมงได้ ดังนั้น

ถึงอย่างไรเราก็ยังต้องพึ่งพาพลังงานถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ

และนิวเคลียร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้ออ้างข้างต้นก�าลังมีน�้าหนักน้อยลงเรื่อยๆ เพราะ

ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนก้าวหน้าไป

อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแสงอาทิตย์

ที่ก่อสร้างขึ้นใช้งานในเชิงพานิชย์ที่ประเทศสเปนเมื่อปีที่แล้ว

โรงไฟฟ้า Gemasolar เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน

แสงอาทิตย์ (solar thermal power plant) ที่มีหลักการท�างาน

แตกต่างจากโซล่าร์เซลล์ที่เปล่ียนแสงแดดให้เป็นพลังงาน

ไฟฟ้า แต่จะใช้แผงกระจกจ�านวนมากสะท้อนแสงอาทิตย์ไป

ต้มน�้าเกลือให้มีอุณหภูมิสูงถึง 500 องศาเซลเซียส และความ

ร้อนนี้จะถูกน�าไปผลิตไอน�้าเพื่อปั่นไฟฟ้า โดยสิ่งที่พิเศษก็คือ

ระบบกักเก็บความร้อนที่สามารถเก็บความร้อนไว้ใช้ได้นาน

ถึง 15 ชั่วโมงแม้ว่าพระอาทิตย์จะตกดินไปแล้วก็ตาม

โรงไฟฟ้า Gemasolar ประกอบด้วยแผ่นกระจก

สะท้อนแสง 2,650 แผ่น หอรวมแสงอาทิตย์สูง 140 เมตร มี

ก�าลังผลิต 20 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าป้อนครัวเรือนได้

ถึง 25,000 หลัง

ผลจากการวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่จะมุ่งสู่พลังงาน

หมุนเวียนในยุโรปท�าให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในเทคโนโลยี

พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสิ่งบ่งบอกว่า

พลังงานหมุนเวียนมีความหวังเสมอ จึงไม่น่าแปลกใจที่

ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านพลังงานของประเทศเยอรมัน กล้า

ที่จะตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2050 เยอรมันจะเลิกพึ่งพาพลังงาน

ฟอสซิลทั้งหมด และทดแทนมันด้วยพลังงานหมุนเวียน

ส�าหรับพลังงานนิวเคลียร์ ดูเหมือนสิ่งใหม่ๆ ที่ค้น

พบจะมีแต่ปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่นภัยจากแผ่นดินไหว สึนามิ

และการคุกคามของภาวะโลกร้อน ซึ่งการปรับปรุงเทคโนโลยี

มีแต่จะท�าให้พลังงานนิวเคลียร์

มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนแสงอาทิตย์ “Gemasolar” ในประเทศสเปน สามารถผลิตไฟฟ้าได้แม้ในเวลากลางคืน

พลังงานหมุนเวียนทดแทนนิวเคลียร์ ไม่ได้จริงหรือ ?

Page 7: Nuclear Watch (Thailand) 18

จับตานิวเคลียร์ 7

ข่าว / ความเคลื่อนไหวข่าว / ความเคลื่อนไหว

7

ธันวาคม 2555, ลูกเรือ 8 คนที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อ

ปี 2554 ยืนฟ้องต่อศาลในแคริฟอร์เนียเพื่อเรียกค่าเสียหายจากบริษัทเท็ปโกเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ จากการที่

ไม่ยอมแจ้งให้ทราบถึงระดับกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตราย โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 10 ล้านเหรียญ และอีก 30 ล้าน

เหรียญเป็นค่าเสียหายเชิงลงโทษต่อการที่บริษัทเท็ปโกหลอกลวงและสร้างความเสียหายต่อสาธารณะและปัจเจกบุคคล

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้เท็ปโกจัดตั้งกองทุน 100 ล้านเหรียญเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของพวกเขา

โจทก์ทั้ง 8 คนเป็นลูกเรือที่ประจ�าการบนเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โรแนลด์ เรแกน ในขณะน�าอาหารและน�้า

ไปแจกจ่ายผู้ประสบภัยในเมืองเซนได ตามค�าฟ้องได้กล่าวหาบริษัทเท็ปโกและรัฐบาลญี่ปุ่นว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์

ของตัวเอง บริษัทเท็ปโกและรัฐบาลญี่ปุ่นได้สมคบกันให้ข้อมูลเท็จว่า กัมมันตภาพรังสีที่แพร่ออกมาจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ

อยู่ในระดับที่ไม่มีอันตราย เพื่อกล่อมให้หน่วยกู้ภัยโถมเข้าสู่พื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะเกินไป

ลูกเรือสหรัฐที่ยื่นฟ้องกล่าวว่า หลังจากทราบความจริงเกี่ยวกับปริมาณรังสีที่ได้รับ พวกเขาต้องตรวจสุขภาพ

อย่างเข้มงวด และยังต้องตรวจต่อไปในอนาคตเพราะพวกเขามีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งและอายุสั้นลง ซึ่งเป็นผลกระทบทาง

สุขภาพที่ไม่อาจรักษาให้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้

บริษัทเท็ปโกยังมีคดีที่ถูกฟ้องร้องอีกมากมายจากผู้ถือหุ้นบริษัท ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ

และธุรกิจต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ โดยเมื่อเดือนมีนาคม กลุ่มผู้ถือหุ้นบริษัทเท็ปโกได้

ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อผู้บริหารเท็ปโกเป็นเงินถึง 67,000 ล้านเหรียญ โทษฐานที่ไม่แจ้งเตือนให้ทราบถึงความเป็นไป

ได้ที่จะเกิดสึนามิ และเมื่อต้นเดือนธันวาคม กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะก็ได้

ยื่นฟ้องเรียกค่าชดเชยจากการได้รับผลกระทบทางจิตใจและการถูกบังคับให้อพยพออกจากพื้นที่

ลูกเรือสหรัฐฟ้องเรียกค่าเสียหายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวญี่ปุ่นปวดหัว

พบเห็ดป่าปนเปื้อนรังสีห่างจากฟูกูชิมะ 350 กิโลเมตร

พฤศจิกายน 2555, ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและร้านอาหารในหลายบริเวณของญี่ปุ่น ก�าลังกลุ้มใจเกี่ยวกับ

ปัญหาการปนเปื้อนรังสีของเห็ดตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นอาหารตามฤดูกาลที่มีราคาแพง โดยในปีนี้ เห็ดป่าที่หาได้จากพื้นที่

ที่ห่างไกลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะหลายร้อยกิโลเมตร ก็มีการตรวจพบสารกัมมันตรังสีซีเซียมในระดับสูง จากที่เมื่อ

ปีที่แล้วมีเพียงเห็ดในเขตจังหวัดฟูกูชิมะเท่านั้นที่ตรวจพบซีเซียมเกินมาตรฐาน

ในปีนี้ จังหวัดอาโอโมริ นากาโนะ และชิสุโอกะ ซึ่งล้วนอยู่ห่างจากฟูกูชิมะมากกว่า 200 กิโลเมตร ต่างก็ตรวจพบ

เห็ดป่าปนเปื้อนรังสี จนรัฐบาลกลางต้องมีค�าสั่งให้ 17 จังหวัดทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นตรวจสอบและควบคุมการซื้อ

ขายเห็ดป่าอย่างเข้มงวด

ที่จังหวัดอาโอโมริ มีการห้ามจ�าหน่ายเห็ดป่าทั้งหมดที่ขึ้นในจังหวัด ผู้ประกอบการร้านอาหารส�าหรับนักท่อง

เที่ยวรายหนึ่งของเมืองโทวาดะ จังหวัดอาโอโมริ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไปทางเหนือ 350 กิโลเมตร กล่าวว่า

“เราไม่สามารถท�าอาหารประเภทตุ๋นและเทมปุระที่มีเห็ดให้กับลูกค้าถึง 80% ที่สั่งมา มันเป็นความสูญเสียใหญ่หลวงทาง

ธุรกิจ” เขากล่าวว่ามีนักท่องเที่ยวจ�านวนมากที่กลับมาเที่ยวที่น่ันอีกเพราะหวังว่าจะได้รับประทานเห็ดป่า “ผมไม่อยาก

อธิบาย (กับลูกค้า) ว่าท�าไมเราจึงหาเห็ดไม่ได้ เพราะมันจะท�าให้เกิดความรู้สึกที่เป็นลบว่า ในจังหวัดอาโอโมริยังมีความ

น่าเป็นห่วงในเรื่องการปนเปื้อนรังสี” เขากล่าว

ในหลายๆ จังหวัด เจ้าหน้าที่พบว่า ระดับของรังสีในเห็ดเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการตั้งสมมติฐานจากผู้

เชี่ยวชาญว่า สาเหตุเป็นเพราะสารรังสีที่ตกค้างอยู่ตามกิ่งไม้ใบไม้ในป่าได้ถูกฝนชะล้างลงสู่พื้นดิน และถูกเห็ดราต่างๆ ดูด

ซึมเข้าไป การที่จะก�าจัดสารรังสีเหล่านี้ออกจากป่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับปัญหาการปน

เปื้อนรังสีในของป่าต่อไปอีกหลายปี(ที่มา : Wild mushrooms far from Fukushima show high levels of cesium, The Asahi Shimbun, November 21, 2012)

(ที่มา : rt.com, 26 Dec., 2012 / blogs.wsj.com, 28 Dec., 2012 / ajw.asahi.com, 30 Dec., 2012)

Page 8: Nuclear Watch (Thailand) 18

8 จับตานิวเคลียร์

โครงการจับตาพลังงาน32 ซอย 1 ถนนประจวบ (หน้าสนามกีฬา)

อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000กรุณาส่ง ..............................................................................................................

..............................................................................................................

..............................................................................................................

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เสียท่า “แมงกระพรุน”

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไดอโบล แคนยอน ในแคริฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องปิดเตาปฏิกรณ์

ขนาด 1,100 เมกะวัตต์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2555 เนื่องจากฝูง “ซาล์ป” สัตว์ทะเลรูปร่าง

ประหลาด ลักษณะเป็นวุ้นคล้ายแมงกระพรุนได้เข้าไปอุดตันในท่อสูบน�้าหล่อเย็นจากทะเล ท�าให้

การท�างานของเตาปฏิกรณ์เกิดการขัดข้องจนต้องหยุดเดินเครื่องเพื่อแก้ ไขปัญหาอยู่หลายวัน

ก่อนหน้านี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในสหรัฐ ญี่ปุ่น อิสราเอล และสก๊อตแลนด์ ก็เคยเกิด

ปัญหาแบบเดียวกันนี้จาก “แมงกระพรุน” มาแล้ว รวมทั้ง “เศษสวะ” ที่เข้าไปอุดตันท่อสูบน�้า

หล่อเย็นจนต้องหยุดเดินเครื่อง ปัญหาช่างจุกจิกจริงหนอ... โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ !

(ข้อมูลจาก http://usnews.nbcnews.com, 27/04/2012)

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไดอโบล แคนยอน สหรัฐอเมริกา ฝูง “ซาล์ป” สัตว์ทะเลที่คล้ายแมงกระพรุน