ethnographies as text.pdf

14
Ethnographies as Text Marcus and Cushman (1982) สรุปโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร

Upload: yukti-mukdawijitra

Post on 28-Apr-2015

90 views

Category:

Documents


2 download

TRANSCRIPT

Page 1: ethnographies as text.pdf

Ethnographies as Text

Marcus and Cushman (1982)!สรุปโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร

Page 2: ethnographies as text.pdf

การเขียนกับความจริง

การเขียนไม่สามารถนําเสนอโลกได้อย่างตรงไปตรงมา!

การเขียนกรองโลกผ่านตัวตนของนักเขียน บริบททางสังคมและการเมืองของนักเขียน ยุคสมัยของนักเขียน!

รูปแบบการประพันธ์ (genre) ไม่ใช่แค่ลีลาการนําเสนอ แต่ยังมีส่วนกําหนดสาระของเนื้อหา!

การเมืองของแนวการประพันธ์ การประพันธ์บางแนว เช่น สัจนิยม มักได้รับการยอมรับหรืออ้างว่าตนเองอยู่เหนือการประพันธ์แนวอื่น เพราะสมจริงที่สุด

Page 3: ethnographies as text.pdf

แนวทางการเขียนงาน

ethnographic realism ชาติพันธุ์นิพนธ์สัจนิยม!

experimental ethnography ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวทดลอง ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวใหม่ ชาติพันธุ์นิพนธ์ทางเลือก อื่นๆ อีกมากมาย!

การประพันธ์แนวสัจนิยมอ้างว่าตนเหนือการประพันธ์รูปแบบอื่น เนื่องจากเขียนมาจากเรื่องจริง ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ แนวสัจนิยมในชาติพันธุ์นิพนธ์ก็อ้างเช่นนั้น

Page 4: ethnographies as text.pdf

แนวสัจนิยม

แนวการประพันธ์ที่นําเสนอความจริงของโลกหรือชีวิต!

แสดงความใกล้ชิดกับข้อมูล ได้ข้อมูลชั้นต้น (first-handed data)

Page 5: ethnographies as text.pdf

สัจนิยมในมานุษยวิทยา

เกิดมาพร้อมกับการสร้างความรู้ทางมานุษยวิทยา มาลินอฟสกีเลียนแบบการเขียนแนวสัจนิยมจากโจเซฟ คอนราด!

เกิดมาพร้อมกับการที่นักมานุษยวิทยาต้องทําวิจัยสนามอย่างเข้ม

ข้นด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่ในอดีตไม่ได้เป็นเช่นนั้น!

การเขียนแนวสัจนิยมกลายมาเป็นแนวทางหลักของมานุษยวิทยา

สมัยใหม่ โดยเฉพาะในโลกภาษาอังกฤษ

Page 6: ethnographies as text.pdf

ลักษณะทั่วไปของ!ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวสัจนิยม

นําเสนอภาพสังคมโดยรวม!

ปกปิดตัวตนของนักมานุษยวิทยา!

เสนอภาพรวมของทั้งสังคม แทบไม่มีปัจเจก!

ให้คนอ่านเชื่อถือว่านักมานุษยวิทยา "ไปอยู่ที่นั่น" (being there)!

เน้นภาพชีวิตประจําวัน!

นําเสนอมุมมองของชนพ้ืนเมือง!

นําเสนอในเชิงข้อสรุปรวม!

ใช้ศัพท์แสงทางวิชาการ (jargon)!

ปกปิดความสามารถทางภาษาของนักมานุษยวิทยาเอง

Page 7: ethnographies as text.pdf

1 นําเสนอภาพสังคมโดยรวม

งานแนวสัจนิยมมักเสนอภาพรวมของสังคมด้านต่างๆ แสดงส่วนย่อยโดยเชื่อมกับส่วนรวม!

มักใช้แนวคิดแบบโครงสร้าง-การหน้าที่ ให้ภาพกลมกลืนของสังคม!

เช่น งานของโบแอส ของมาลินอฟสกี!

แนวทางใหม่ๆ ที่ฉีกออกไปคือ การนําประสบการณ์ส่วนตัวของนัก

มานุษยวิทยาไปเป็นข้อมูลตีความสังคม (Briggs 1981) หรือการนําเสนอปัญหาที่จะวิเคราะห์ในบทแรก แล้วค่อยๆ คลี่คลายให้กระจ่างขึ้น

Page 8: ethnographies as text.pdf

2 ปกปิดตัวตนของนักมานุษยฯ

งานแนวนี้มักไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งของผู้เขียน เลี่ยงใช้คําอื่น !

พยายามไม่แสดงการมีอยู่ของผู้เขียนเลย เขียนราวกับมองจากเบ้ืองบน มองมุมพระเจ้า (omniscience)!

ผลคือ ทําให้ "ดูเป็นวิทยาศาสตร์" เป็นภาววิสัย ปราศจากอคติ และยังปิดบังความจริงที่ว่า การทํางานภาคสนามจริงๆ แล้วมีปัญหามากมาย และมีหลายอย่างที่อาจไม่สามารถเข้าใจหรือตีความได้!

แต่ก็มีบ้างที่จะแสดงมุมมองส่วนตนไว้ในภาคผนวก บทนํา หรือเชิงอรรถ

Page 9: ethnographies as text.pdf

3 เสนอภาพรวมทั้งสังคม

งานแนวนี้มักเสนอภาพเหมารวมของทั้งสังคม ไม่ระบุว่าได้ข้อมูลมาจากใครกันแน่ พูดรวมๆ ว่า "ชาวไทยเป็นคนรักสงบ" "ชาว...นิยมความรุนแรง" !

ไม่มีมุมมองของปัจเจกชนในสังคมที่ศึกษา ไม่มีมุมมองที่หลากหลายหรือขัดแย้งกันในสังคม!

งานยุคหลังๆ จะดีขึ้น เนื่องจากให้รายละเอียดของความแตกต่างในสังคมมากขึ้น มีมุมมองที่หลากหลายขึ้น มีการใช้บทสนทนา ให้ภาพความหมายในสังคมไม่ตายตัวมากขึ้น

Page 10: ethnographies as text.pdf

4 being there

งานแนวนี้มักเล่าฉากหรือประสบการณ์เฉพาะบางอย่าง เพ่ืออวดให้เห็นว่านักมานุษยวิทยาไปที่นั่นเองจริงๆ !

การทําอย่างนี้เพ่ือสร้างความน่าเชื่อถือให้กับงาน มากกว่าจะมีประโยชน์อื่นใด !

เป็นการทําให้คนอ่านรู้สึกว่า สิ่งที่จะอ่านเป็นประสบการณ์ตรงของคนเขียนเอง และทําให้เสมือนว่า คนอ่านได้เข้าไปอยู่ในสังคมที่คนเขียนกําลังเขียนถึงด้วย!

วิธีนี้เกิดมาจากการเปลี่ยนขนบของการศึกษาทางมานุษยวิทยาตอนปลายคศ.19 ที่กําหนดว่านักมานุษยวิทยาต้องเก็บข้อมูลเอง

Page 11: ethnographies as text.pdf

5 เน้นชีวิตประจําวัน

การพรรณาภาพชีวิตประจําวัน กลบเกลื่อนการตีความ เป็นการแปลงการตีความให้ออกมาในรูปของรายละเอียดที่ดูเหมือนมาจากประสบการณ์ตรง

ไปตรงมา !

อันที่จริิงประสบการณ์ใดก็ตามย่อมผ่านการตีความของผู้เล่ามาแล้ว จากการเลือกหยิบบางประสบการณ์มา จากการเรียงร้อยเรื่องราว จากการสรุปวิเคราะห์ประสบการณ์!

นักมานุษยวิทยารุ่นหลังๆ ยิ่งประสบความสําเร็จในการเขียนด้วยวิธีนี้ คือนําประสบการณ์ประจําวันของคนเพียงบางเสี้ยว มาตีความด้วยทฤษฎีต่างๆ

Page 12: ethnographies as text.pdf

6 นําเสนอมุมมองชนพ้ืนเมือง

เริ่มจากวลีว่า "the native's point of view" ของมาลินอฟสกี !

มุมมองชนพ้ืนเมืองขยับขยายไปจนถึง "โครงสร้างความคิดของชนดั้งเดิม" แบบเลวี-สโตรทส์ ไปจนถึง "ศาสตร์ของชนพ้ืนเมือง" และ "ระบบความหมายของชนพ้ืนเมือง" แบบเกีร์ยซ!

ไม่ว่าจะแบบไหน ก็ยากที่จะตอบได้ว่า นักมานุษยวิทยาสามารถนําเสนอ "มุมมองของชนพ้ืนเมือง" ได้จริงๆ หรือ

Page 13: ethnographies as text.pdf

7 เสนอภาพสรุปรวมงานแนวนี้มักอ้างว่าเสนอภาพสังคมโดยรวม!

เวลานําเสนอ จึงมักเขียนราวกับว่าสิ่งที่ได้พบเห็นนั้นเป็นลักษณะที่พบ

ได้ทั่วไป และเป็นจริงอย่างนั้นมาตลอดกาล อกาลิโก!

แต่อันที่จริงนักมานุษยวิทยาทําได้เพียงเสนอ "ส่วนเสี้ยว" ของสังคม-วัฒนธรรมที่ตนศึกษา!

ปัจจุบันกล่าวกันถึง ethnography of the particular มากขึ้น

Page 14: ethnographies as text.pdf

9 ปิดบังความสามารถทางภาษา

เนื่องจากภาษาเป็นเงื่อนไขสําคัญในการเก็บข้อมูล นักมานุษยวิทยาแนวสัจนิยมจึงมักปกปิดว่าตนเองไม่ได้รู้ภาษาดีขนาดที่จะเข้าใจได้ทุกอย่าง!

หรือบางทีไม่บอกชัดเจนว่าใช้ล่าม ล่ามดีแค่ไหน หรือบอกได้หรือไม่ว่าล่ามดีหรือไม่ดี เพราะตนเองภาษาไม่ดีพอ!

นักมานุษยวิทยามักใส่คําศัพท์ชนพ้ืนเมือง คําศัพท์ท้องถิ่น เข้าไปในงานเขียน เพ่ือแสดงว่าตนรู้คําศัพท์ที่สําคัญๆ ทําให้ดูเหมือนว่า นักมานุษยวิทยาไม่ต้องรู้ภาษาดีก็ได้ ขอให้รู้คําสําคัญๆ บางคําก็พอแล้ว