employment ordinance at a glance (thai) - labour · 2019-04-02 · labour department 勞工處...

14
Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

Upload: others

Post on 30-Dec-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

Labour Department勞工處

Employment Ordinance at a Glance(Thai Version)

กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

12/2012

EO Glance 2012_Thai_Cover.indd 1 12年12月18日 上午11:07

Page 2: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

1

แผ่นพับกฎหมายการจ้างงานนี้ (Cap. 57) จัดทำาขึ้นโดยกรมแรงงานฮ่องกง

โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การอ้างอิงใดๆ ให้ยึดถือตามบทบัญญัติในกฎหมาย รายละเอียด

ดูได้จาก กฎหมายฉบับเต็มหรือ “A Concise Guide to the Employment Ordinance”

การบังคับใช้ • นอกจากข้อยกเว้นบางอย่าง กฎหมายแรงงานมีผลต่อลูกจ้างทุกคน

• ลูกจ้่างทุกคนที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไม่ว่าจะเป็นงานเต็มเวลาหรือพาร์ทไทม์และโดยไม่คำานึงถึงชั่วโมงการทำางานของคนงานจะได้รับการคุ้มครองพื้นฐานภายใต้กฎหมาย เช่น การจ่ายเงินค่าจ้างข้อจำากัดในการหักเงินเดือน และการให้วันหยุดตามประเพณี ฯลฯ

• ลูกจ้างจะำาได้สิทธิประโยชน์ต่อไปหากจ้างภายใต้สัญญาจ้างงานต่อเนื่อง

สัญญาต่อเนื่อง • ลูกจ้างที่ถูกจ้างงานอย่างต่อเนื่องโดยนายจ้างคนเดิม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป

โดยทำางานอย่างน้อย 18ชั่วโมงในแต่ละสัปดาห์จะถือว่าเป็นการจ้างงานภายใต้สัญญาต่อเนื่อง

สัญญาการจ้างงาน • สัญญาการจ้างงานคือข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างงาน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาภายใต้เงื่อนไขการจ้างงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง หาก. เงื่อนไขใดๆของสัญญาการจ้างงานซึ่งมีเจตนาจะยกเว้นหรือลดสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายการจ้างงานถือเป็นโมฆะ

ค่าจ้าง • ค่าจ้างหมายถึงค่าค่าตอบแทนทั้งหมด เช่น รายได้ เบี้ยเลี้ยง (ค่าเดินทางค่าเบี้ยขยัน

ค่านายหน้าและค่าล่วงเวลา)ทิปและค่าบริการที่จ่ายให้กับลูกจ้างในส่วนของงานที่ทำาหรือที่จะทำาและสามารถทำาออกมาในรูปของเงิน ค่าล่วงเวลาควรจะรวมอยู่ในการคำานวณตามสิทธิของลูกจ้างหากเป็นค่าจ้างคงที่หรือค่าเฉลี่ยรายเดือนที่ผ่านมา 12 เดือน จะไม่น้อยกว่า 20%ของค่าจ้างรายเดือนโดยเฉลี่ยของลูกจ้างในช่วงเวลาเดียวกัน

• นายจ้างไม่สามารถหักค่าจ้างของลูกจ้างได้นอกเหนือจากที่กฎหมายการจ้างงานกำาหนด

• นายจ้างควรจะจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างภายใน 7วันหลังจากครบกำาหนดจ่ายหรือสิ้นสุดการจ้างงานมิฉะนั้นเขาจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราค่าจ้างที่ค้างชำาระ

• ลูกจ้างอาจถือว่าถูกนายจ้างยกเลิกสัญญาจ้าง หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายใน 1 เดือนหลังจากครบกำาหนดจ่ายและมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยอื่น ๆ

Page 3: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

2

• นายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้างต้นจะถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและมีบทลงโทษ สูงสุดตามกรณีต่อไปนี้(1) กรณีหักค่าจ้างไม่เป็นไปตามกฎหมาย โทษปรับ HK$100,000 และจำาคุก 1 ปี (2) กรณีเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างและไม่มีเหตุผลอันควร โทษปรับ HK$350,000 และจำาคุก 3 ปี (3) กรณีเจตนาไม่จ่ายดอกเบี้ยค่าจ้างที่ค้างชำาระและไม่มีเหตุผลอันควร โทษปรับ HK$10,000

ความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วงที่จะจ่ายค่าจ้างแทน • กรณีงานก่อสร้างที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วงให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป

ตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง 2 เดือนแรก

• ลูกจ้างที่ทำางานกับนายจ้างที่เป็นผู้รับเหมาช่วงหากนายจ้างค้างชำาระค่าจ้าง จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นทราบภายใน 60 วัน (หากได้รับอนุมัติจากกรรมาธิการแรงงาน สามารถขยายเป็น 90 วัน) นับจากวันครบกำาหนดจ่าย โดยหนังสือจะต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้:

1. ชื่อและที่อยู่ของลูกจ้าง

2. ชื่อและที่อยู่ของนายจ้าง

3. สถานที่ทำางานของลูกจ้าง

4. รายละเอียดของการทำางานและค่าจ้างในส่วนที่จะได้รับ และ

5. ระยะเวลาและจำานวนค่าจ้างที่ค้างชำาระ

• นายจ้างที่เป็นผู้รับเหมาช่วงชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงถัดลงมาตลอดรายต้องร่วมกันรับผิดช อบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วันนับจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากลูกจ้าง

Page 4: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

3

วันหยุดประจำาสัปดาห์ • ลูกจ้างภายใต้สัญญาจ้างต่อเนื่อง ทำางานครบ 7 วัน

มีสิทธิที่จะได้รับวันหยุดประจำาสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน

• หากเป็นความยินยอมของลูกจ้าง นายจ้างอาจชดเชยวันหยุดอื่นแทนวันหยุดเดิมในกรณีดังกล่าวจะต้องให้ลูกจ้างหยุดก่อนวันหยุดเดิมภายในเดือนเดียวกันหรือหลังวันหยุดเดิมภายใน 30วัน

• นายจ้างต้องไม่บังคับให้ลูกจ้างทำางานในวันหยุดยกเว้นในกรณีที่เครื่องจักรเสียหรือโรงงานหยุด หรือในกรณีฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดอื่น ๆ

• ลูกจ้าง ที่ทำางานในอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำางานด้วยความสมัครใจในวันหยุดพักยกเว้นเยาวชนอายุต่ำากว่า 18 ปี

• การจะจ่ายเงินให้ลูกจ้างในวันหยุดประจำาสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

• นายจ้างที่ไม่ยอมให้ลูกจ้างหยุดในวันหยุดประจำาสัปดาห์โดยไม่มีเหตุผลอันควรอาจต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากพบว่ามีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

• นายจ้างที่บังคับให้ลูกจ้างทำางานในวันหยุดพักจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากพบว่ามีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

วันหยุดตาม ประเพณีวันหยุดตาม ประเพณีลูกจ้าง ไม่ว่าจะมีระยะเวลาในการทำางานนานเท่าไร มีสิทธิที่จะได้หยุดวันหยุดตามประเพณี 12 วันดังไปนี้:

วันแรกของเดือนมกราคมวันตรุษจีน

วันที่สองของวันตรุษจีนวันที่สามของวันตรุษจีน

เทศกาลเช็งเม้งวันแรงงาน (วันที่ 1 พฤษภาคม)

วันประเพณีแข่งเรือมังกรวันสถาปนาฮ่องกง (วันที่ 1 กรกฎาคม)

วันถัดจากวันไหว้พระจันทร์วันเทศกาลฉ่งเหยิ่ง

วันชาติ (วันที่ 1 ตุลาคม)วันเทศกาลฤดูหนาวหรือวันคริสต์มาส (แล้วแต่ทางนายจ้างเลือก)

• ในกรณีที่นายจ้างต้องการให้ลูกจ้างไปทำางานในวันหยุดตามประเพณีเขาควรจะจัดให้มีวันหยุดชดเชยภายใน 60 วันก่อนหรือหลังวันหยุดเดิมแต่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันได้อาจกำาหนดให้เป็นวันใดวันหนึ่งภายใน 30วันก่อนหรือหลังวันหยุดเดิมเป็นวันหยุดชดเชยก็ได้

Page 5: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

4

• ลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานตามสัญญาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนที่จะถึงวันหยุดตามประเพณีมีสิทธิที่จะได้ค่าจ้างในวันหยุด อัตราการจ่ายเงินรายวันของวันหยุดคือผลรวมที่เทียบเท่ากับค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยของลู กจ้าง (ดูภาคผนวก)

• ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีควรจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหลังจากวันหยุดนั้นและไม่เกินกว่ากา รจ่ายค่าจ้างในงวดถัดไป

• ไม่ว่าลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้เงินค่าจ้างในวันหยุดหรือไม่ก็ตาม นายจ้างควรยอมให้ลูกจ้างได้หยุดในวันหยุดตามตามประเพณี หรือจัดให้มี "วันหยุดชดเชย" นายจ้างต้องไม่จ่ายเงินใดๆ ให้แก่ลูกจ้างแทนวันหยุด หรือไม่อนุญาตให้มี "การขอซื้อ" วันหยุดนั่นเอง

• นายจ้างที่เจตนาไม่ยอมให้ลูกจ้างหยุดในวันหยุดตามประเพณี ไม่มีวันหยุดชดเชย หรือไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุด โดยไม่มีเหตุผลอันควร จะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากพบว่ามีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

ค่าจ้างวันหยุดประจำาปี • ลูกจ้างภายใต้สัญญาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12

เดือนมีสิทธิลาในวันหยุดประจำาปีภายในระยะเวลา 12 เดือนถัดไป

• จำานวนวันหยุดประจำาปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 วันจนถึงสูงสุด 14 วันตามระยะเวลาอายุงานของลูกจ้าง

• วันหยุดประจำาสัปดาห์หรือวันหยุดตามประเพณีใดๆ ที่ตรงกับวันหยุดประจำาปีจะถูกนับเป็นวันหยุดประจำาป ี และนายจ้างควรจัดวันหยุดประจำาสัปดาห์หรือวันหยุดตามประเพณีชดเชยให้แก่ลูกจ้างในว ั นอื่น

• อัตราค่าจ้างรายวันของวันหยุดประจำาปีคือผลรวมที่เท่ากับค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยของลูกจ ้ าง (ดูภาคผนวก)

• หลังจากที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับวันหยุดประจำาป ี นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำาปีให้แก่ลูกจ้างไม่เกินกว่าวันครบกำาหนดจ่ายปก ติ

• ลูกจ้างอาจเลือกที่จะรับเงินแทนสิทธิในการลาในส่วนที่มากกว่า 10 วัน

• กรณีที่ยกเลิกสัญญาจ้างระหว่างที่มีวันหยุดประจำาปี ซึ่งลูกจ้างได้ทำางานครบ 3 เดือนแต่น้อยกว่า 12 เดือน (ยกเว้นกรณีที่การเลิกจ้างเกิดจากการที่ลูกจ้างกระทำาผิดร้ายแรง) ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างวันหยุดประจำาปีตามสัดส่วน

• นายจ้างที่ไม่ยอมให้วันหยุดประจำาปีแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากพบว่ามีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

• นายจ้างที่ไม่จ่ายเงินวันหยุดประจำาปีให้กับลูกจ้างจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหา กมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

Page 6: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

5

การลาป่วย • ลูกจ้างภายใต้สัญญาการจ้างงานอย่างต่อเนื่องใน 12 เดือนแรก

สามารถสะสมวันลาป่วยและได้รับค่าจ้าง เดือนละ 2 วัน และ หลังจากนั้นจะได้รับเดือนละ 4 วันของการจ้างงาน ทั้งนี้รวมกันแล้วสามารถสะสมได้สูงสุด 120 วัน

• หากลูกจ้างมีวันลาป่วยสะสมเพียงพอ มีสิทธิจะได้รับเงินค่าจ้างในวันลาป่วย ทั้งนี้จะต้องมีใบรับรองแพทย์ให้ลาป่วยได้ไม่น้อยกว่า 4 วันติดต่อกัน Note 1 อัตราเงินค่าจ้างในวันลาป่วยต่อวันเทียบเท่ากับผลรวมของสี่ส่วนห้าของค่าจ้างรายวันโดยเ ฉลี่ยของลูกจ้าง (ดูภาคผนวก)

• เงินค่าจ้างในวันลาป่วยควรจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่เกินวันกำาหนดจ่ายปกติ

• นายจ้างที่ไม่จ่ายเงินค่าจ้างในวันลาป่วยให้กับลูกจ้างจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและ หากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

การคุ้มครองการจ้างงานสำาหรับลูกจ้าง

• นายจ้างไม่สามารถยกเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้างได้ในระหว่างที่ลูกจ้างลาป่วยและได้รับค่าจ้ าง ยกเว้นในกรณีที่เลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำาผิดอย่างร้ายแรง

• นายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้างต้นจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$100,000

• นอกจากนี้นายจ้างยังต้องจ่ายเงินค่าเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันหลังจากที่มีการบอกเลิกจ้างจากการที่เลิกจ้างโดยมิชอบเนื่องจากการเจ็บป่วยลูกจ้างอา จเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลสำาหรับ "การคุ้มครองการจ้างงาน" จากนายจ้าง หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุผลอื่นที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกฎหมาย (ดูที่ด้านล่างในส่วนที่เกี่ยวกับ"การคุ้มครองการจ้างงาน")

การคุ้มครองการคลอดบุตร • ลูกจ้างหญิงที่ทำางานภายใต้สัญญาต่อเนื่องก่อนที่จะขอลาคลอดได้แจ้งทันทีต่อนายจ้างเรื ่

องการตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิดังนี้

- ลาคลอดได้นานต่อเนื่องนาน 10 สัปดาห์

- หากการคลอดบุตรเกิดขึ้นล่าช้ากว่าเวลาที่คาดไว้ ระยะเวลาวันลาเพิ่มเติมเท่ากับจำานวนวันที่ล่าช้า

- ระยะเวลาที่ลาเพิ่มเติมไม่เกิน 4 สัปดาห์บนพื้นฐานของการเจ็บป่วยหรือความพิการเนื่องจากการตั้งครรภ์หรือการคลอ ดบุตร

Note 1 ตอนที่ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ขาดงานด้วยเหตุผลที่ต้องตรวจครรภ์ รักษาการคลอดก่อนกำาหนดหรือแท้งบุตรและการขาดงานนั้นมีใบรับรองแพทย์รับรอง วันที่เธอขาดงานควรนับเป็นวันลาป่วย

Page 7: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

6

• หากได้รับความเห็นชอบจากนายจ้าง ลูกจ้างอาจเลือกที่จะเริ่มการลาคลอดตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ก่อนวันที่จะถึงกำาหนดคลอด

• ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินจ้างระหว่างลาคลอด 10 สัปดาห์ หากได้รับการจ้างงานตามสัญญาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ โดยก่อนที่จะเริ่มลาคลอดได้มีการแจ้งทันทีให้นายจ้างทราบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์พร้อมทั้ง แจ้งวันที่ตนประสงค์จะใช้สิทธิลาคลอดง อัตราเงินค่าจ้างระหว่างลาคลอดต่อวันเทียบเท่ากับผลรวมของสี่ส่วนห้าของค่าจ้างรายวันโ ดยเฉลี่ยของลูกจ้าง (ดูภาคผนวก)

• การจ่ายเงินค่าจ้างระหว่างลาคลอดควรจะจ่ายตามกำาหนดวันที่จ่ายเงินค่าจ้างตามปกติ

• ลูกจ้างจะต้องให้ใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันกำาหนดคลอดแก่นายจ้าง หากนายจ้างต้องการ

• นายจ้างที่ไม่ยอมให้ลาคลอดหรือไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างระหว่างลาคลอดให้กับลูกจ้างที่ตั้ง ครรภ์และมีสิทธตามกฎหมายจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

การคุ้มครองการจ้างงานสำาหรับลูกจ้าง

• นายจ้างห้ามยกเลิกสัญญาจ้างอย่างต่อเนื่องของลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ที่ได้แจ้งเกี่ยวกับการตั้ง ครรภ์ให้นายจ้างทราบล่วงหน้า ยกเว้นในกรณีเนื่องจากการการกระทำาผิดร้ายแรงของลูกจ้าง

• ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้ข้างต้น นายจ้างจะมีความผิดกรณียกเลิกการจ้างลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ และจะถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่ามีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$100,000

• นอกจากนี้นายจ้างยังต้องจ่ายเงินค่ายกเลิกสัญญาจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์สำาหรับการเล ิ กจ้างที่ไม่เป็นธรรมภายใน 7 วันหลังจากวันที่มีการบอกเลิกสัญญาจ้าง ลูกจ้างอาจเรียกร้องค่าเสียหายสำาหรับ "การคุ้มครองการจ้างงาน" จากนายจ้าง หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลอื่นที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกฎหมาย (ดูที่ด้านล่างในส่วนที่เกี่ยวกับ"การคุ้มครองการจ้างงาน")

• นายจ้างไม่อาจมอบหมายงานที่หนัก หรือเป็นอันตรายต่อลูกจ้างที่ตั้งครรภ์

• นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำาหนดข้างต้นจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความ ผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

Page 8: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

7

การจ่ายเงินสิ้นปี • หากสัญญาการจ้างงานให้สิทธิที่จะจ่ายเงินตอนสิ้นปี

ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับเงินนั้นหากได้รับการว่าจ้างตามสัญญาอย่างต่อเนื่องครบตามระยะเวลาการจ่ายเงิน

• จำานวนเงินที่จ่ายตอนสิ้นป คี ือจำานวนทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง หากไม่ได้ระบุไว้จำานวนเงินรวมทั้งหมดเทียบเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือนของลูกจ้าง (ดูภาคผนวก)

• ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินตอนสิ้นปีตามสัดส่วนถ้าเขาได้รับการว่าจ้างตามสัญญาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือนในระยะเวลาการจ่ายเงิน (ไม่รวมระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือนแรก)และ

- ยังคงเป็นลูกจ้างหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการจ่ายเงิน หรือ

- ให้ออกโดยนายจ้าง(ยกเว้นในกรณีให้ออกเนื่องจากการการกระทำาผิดร้ายแรงของลูกจ้าง)

• เวลาการจ่ายเงิน

เงื่อนไขการจ้างงาน เวลาการจ่ายเงินระบุวันจ่ายไว้ในสัญญาการจ้างงาน ตามวันที่ระบุไม่ได้ระบุวันจ่ายไว้ในสัญญาการจ้างงาน วันสุดท้ายของระยะเวลาการจ่ายเงินหรือ

ภายใน 7 วันหลังจากวันนั้นหากสัญญาการจ้างงานถูกยกเลิกก่อนครบระ ยะเวลาการจ่ายเงิน และลูกจ้างมีสิทธิตามสัดส่วนของการจ่ายเงิน ตอนสิ้นปี

วันที่สัญญาถูกยุติหรือภายใน 7 วันหลังจาก วันยุติ

การจ่ายเงินตอนสิ้นปีจะต้องคำานวณโดยอ้าง อิงกำาไรของนายจ้าง

วันที่กำาไรได้รับการตรวจสอบหรือภายใน 7 วันหลังจากวันตรวจสอบ

• นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะไม่จ่ายเงินตอนสิ้นปีแก่ลูกจ้างที่มีสิทธิจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

Page 9: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

8

การยุติสัญญาจ้างงาน • นายจ้างหรือลูกจ้างควรแจ้งให้ต่างฝ่ายทราบล่วงหน้าหรือจ่ายค่าจ้างแทนการแจ้งบอกเลิก

สัญญาจ้าง ในกรณีของสัญญาจ้างงานต่อเนื่องระยะเวลาในการแจ้งหรือจำานวนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จำาเป็นคือ:

เงื่อนไขการจ้างงาน ระยะเวลาการแจ้ง ค่าจ้างแทนการแจ้ ง

ระหว่าง ที่ทดลอง งาน

ภายในเดือนแรกของการทด ลองงาน

ไม่จำาเป็น ไม่จำาเป็น

หลังจาก เดือนแร กของก ารทดลอ งงาน

ตามข้อตกลงเรื่อง ระยะเวลาการแจ้ง ล่วงหน้า

ตามที่ตกลง แต่ไม่น้อยกว่า 7 วัน

ระยะเวลาในการแจ้ง เป็นวันหรือสัปดาห์: =”เงินเดือนเฉลี่ยต่อ วัน” x “จำานวนวันในระยะเว ลาการแจ้งซึ่งค่าจ้าง ปกติต้องจ่ายให้แก่ลู กจ้าง” (ดูภาคผนวก)

ระยะเวลาในการแจ้ง เป็นเดือน: =”เงินเดือนเฉลี่ย” x “จำานวนเดือนที่ระบุอ ยู่ในระยะเวลาการแจ ้ง” (ดูภาคผนวก)

ไม่มีการตกลงเรื่อง ระยะเวลาในการแ จ้งล่วงหน้า

ไม่น้อยกว่า 7 วัน

ไม่มี /หลังจา กระยะท ดลองงา น

ตามข้อตกลงเรื่องระยะเวลาก ารแจ้งล่วงหน้า

ตามที่ตกลง แต่ไม่น้อยกว่า 7 วัน

ไม่มีการตกลงเรื่องระยะเวลา ในการแจ้งล่วงหน้า

ไม่น้อยกว่า 1 เดือน

• เกี่ยวกับการเลิกจ้างนายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งมักจะรวมถึงค่าจ้างที่ค้างชำาระค่าจ้างแทนบอกกล่าวล่วงหน้า (ถ้ามี) เงินวันหยุดประจำาปี เงินจ่ายตอนสิ้นปีเงินค่าทำางานนานหรือเงินชดเชย (ถ้ามี) และเงินอื่น ๆ ภายใต้สัญญาการจ้างงานเงินการเลิกจ้างทั้งหมดจะต้องชำาระภายใน 7 วัน ยกเว้นเงินชดเชยต้องจากนับจากวันที่สิ้นสุดการจ้าง สำาหรับเงินชดเชย นายจ้างต้องควรชำาระเงินภายใน 2เดือนนับจากได้รับแจ้งเรื่องเงินชดเชยจากลูกจ้าง

• นายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยของเงินเดือนที่ค้างชำาระให้แก่ลูกจ้างหากนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้ภายใน 7วันหลังจากวันที่มีการยกเลิกหรือหมดอายุของสัญญา

• นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะไม่จ่ายเลิกจ้างเมื่อถึงกำาหนดจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$350,000และจำาคุกเป็นเวลา 3 ปี

Page 10: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

9

การจ่ายเงินค่าทำางานนาน • ลูกจ้างภายใต้สัญญาการจ้างงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5

ปีมีสิทธิได้รับค่าทำางานนานถ้า:

- เขาถูกให้ออก(ยกเว้นว่าเหตุผลของการเลิกจ้างหรือให้ออกทันทีเนื่องจากการกระทำาผิดร้ายแรงขอ งลูกจ้าง)

- สัญญาการจ้างงานของเขาหมดอายุโดยไม่มีการต่อ

- เสียชีวิตระหว่างการจ้างงาน

- เขาได้ใบรับรองเฉพาะโดยแพทย์ที่จดทะเบียนหรือแพทย์ยาจีนที่จดทะเบียน รับรองว่าเขาจะไม่เหมาะสำาหรับงานปัจจุบันของเขาอย่างถาวร หรือ

- เขาอายุ 65 ปี หรือมากกว่าและลาออกเพราะอายุมาก

• ควรจ่ายค่าทำางานนานให้ลูกจ้างภายใน 7 วันนับจากวันที่การยกเลิกสัญญาจ้างงานยกเว้นตามที่ระบุไว้ว่าจ่ายเงินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ของลูกจ้างที่เสียชีวิต

• นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะไม่จ่ายเงินค่าทำางานนานแก่ลูกจ้างจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$350,000 และจำาคุกเป็นเวลา 3 ปี

• นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะไม่จ่ายเงินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ของลูกจ้างที่เสียชีวิต จะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและตามคำาพิพากษา มีโทษปรับ HK$50,000

การจ่ายเงินชดเชย • ลูกจ้างตามสัญญาจ้างงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 24 เดือนมีสิทธิได้รับเงินชดเชยถ้า:

- เขาถูกเลิกจ้างเนื่องจากการปลดออกจากงาน

- ระยะเวลาสัญญาการจ้างงานของเขาหมดอายุโดยไม่ต้องต่ออายุเนื่องจากการปลดออกจากงาน หรือ

- เลิกจ้าง

• นายจ้างควรจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างภายใน 2เดือนนับจากได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรสำาหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากลูกจ้าง

• นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะไม่จ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$50,000

Page 11: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

10

การคำานวณการจ่ายเงินค่าทำางานงานและเงินชดเชย

ลูกจ้างอัตรารายเดือน (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x 2/3)* x จำานวนปีที่ทำางาน

ลูกจ้างอัตรารายวันหรือต่อชิ้นงาน ค่าจ้าง 18 วันใดๆ ก็ตามที่เลือกโดยลูกจ้างจาก 30 วันการทำางานตามปกติ * x จำานวนปีที่ทำางาน

* ผลรวมไม่ควรเกิน 2 / 3 ของ HK$22,500 (เช่น HK$15,000)ลูกจ้างอาจเลือกที่จะใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของเขาในช่วง 12 เดือนสำาหรับการคำานวณ

การคุ้มครองการจ้างงาน • ลูกจ้างอาจเรียกร้องค่าเสียหายจากการคุ้มครองการจ้างงานจากนายจ้างของเขาภายใต้สถ

านการณ์ดังต่อไปนี้:

- การเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลพอ (ลูกจ้างควรจะทำางานภายใต้สัญญาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า24 เดือน)

- การเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีเหตุผลของเงื่อนไขของสัญญาจ้างงาน(ลูกจ้างจะต้องทำางานภายใต้สัญญาต่อเนื่อง)

- การเลิกจ ้างโดยไม่มีเหตุผลและผิดกฎหมาย

• หากนายจ้างไล่ลูกจ้างของเขาหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้างงานของลูกจ้างนอกเหนือจากเหตุผลดังต่อไปนี้ การเลิกจ้างหรือการเปลี่ยนแปลงนั้นถือว่าไม่มีเหตุผล:

- ความประพฤติของลูกจ้าง

- ความสามารถหรือคุณสมบัติของลูกจ้างสำาหรับทำางานของเขา

- การปลดหรือตามข้อกำาหนดอื่นในการปฏิบัติงานที่แท้จริงของธุรกิจ

- ข้อกำาหนดตามกฎหมาย

- เหตุผลสำาคัญอื่น

• การชดใช้ค่าเสียหายสำาหรับการคุ้มครองการจ้างงาน รวมถึงการฟื้นสัญญาการกลับเข้าทำางาน การจ่ายเงินชดเชยที่ให้ออกจากงาน และค่าตอบแทน(ค่าตอบแทนจะใช้ได้เฉพาะในกรณีของการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลและไม่ชอบด้วยกฎหมาย)

ความผิดทางอาญาของนายจ้างที ่ไม่จ่ายตามคำาสั ่งของของศาลแรงงาน (Labour Tribunal – “LT”) หรือคณะกรรมการพิจารณาคำาร้องการจ้างงาน (Minor Employment Claims Adjudication Board – “MECAB”) • นายจ้างที่เจตนาและไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ชำาระเงินที่ตัดสินชี้ขาด#โดย LT หรือ

MECAB ภายใน 14 วันหลังจากวันที่ถึงกำาหนดจะต้องถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายและหากมีความผิดจริง มีโทษปรับ HK$350,000และให้จำาคุก 3 ปี

• ข้อกำาหนดนำาไปใช้กับคำาตัดสินที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2010 # สำาหรับรายละเอียด กรุณาดูที่บทที่ 12 ของ “A Concise Guide to the Employment Ordinance”

(คู่มือฉบับย่อกับกฎหมายการจ้างงาน)

Page 12: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

11

ภาคผนวก • ค่าจ้างรายวันหรือรายเดือนเฉลี่ยในการคำานวณค่าใช้จ่ายวันหยุด วันหยุดประจำาปี

เงินช่วยเหลือการเจ็บป่วย เงินลาคลอดเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและการจ่ายเงินสิ้นปีหมายถึงค่าจ้างรายวันหรือรายเดือนเฉลี่ยที่ลูกจ้างหาได้ใน 12 – เดือนNote 2

ระยะเวลาก่อนวันที่ที่ระบุดังต่อไปนี้ หากลูกจ้างทำางานน้อยกว่า 12 เดือนการคำานวณจะต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สั้นกว่า

สิทธิตามกฎ

หมาย

วันที่หยุด วันที่ระบุ

การจ่ายเงินวั นหยุด

1 วัน ในวันหยุดตามประเพณีมากกว่า 1 วันติดต่อกัน วันแรกของวันหยุดตามประเพณี

การจ่ายเงินวั นหยุดประจำาปี

1 วัน ในวันหยุดประจำาปีมากกว่า 1 วันติดต่อกัน วันแรกของวันหยุดประจำาปี

วันที่ไม่ได้ลาจนถึงวันที่ยกเลิก

สัญญา

วันที่ยกเลิกสัญญา

เงินช่วยเหลือ การเจ็บป่วย

1 วัน ในวันลาป่วยมากกว่า 1 วันติดต่อกัน วันแรกของวันลาป่วย

เงินลาคลอด มากกว่า 1 วันติดต่อกัน วันแรกของวันลาคลอดเงินแทนการบ อกกล่าวล่วงห น้า

- วันที่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาNote3

เงินจ่ายสิ้นปีNote4 - วันที่กำาหนดจ่าย

• ในการคำานวณค่าจ้างเฉลี่ย สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรรวมเข้าไป : (i)ช่วงเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างหรือค่าจ้างเต็มของเขา รวมถึงวันหยุดประจำาสัปดาห์วันหยุดตามประเพณี วันหยุดประจำาปี วันลาป่วย วันลาคลอดลาเนื่องจากบาดเจ็บจากการทำางานหรือวันลาที่ได้ตกลงกับนายจ้างและวันทำางานปกติที่ลูกจ้างไม่ได้ทำางานให้นายจ้าง ร่วมกับ (ii)ผลรวมที่จ่ายให้กับลูกจ้างสำาหรับระยะเวลาดังกล่าว

Note 2 “ เดือน” หมายถึง “เดือนตามปฏิทิน”Note 3 ในกรณีที่ไม่มีการแจ้งให้ทราบ “วันที่ยกเลิกสัญญาจ้าง” ควรถูกนำามาใช้Note 4 ใช้กับสถานการณ์ที่จำานวนการจ่ายเงินวันสิ้นปีไม่ได้ระบุอยู่ในสัญญา

Page 13: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

Hong KongHong Kong

34/F, Revenue Tower,5 Gloucester Road,Wan Chai, Hong Kong.

Hong Kong East 3/F, Western Magistracy Building,2A Pokfulam Road,Hong Kong.

Hong Kong West

KowloonKowloon

New TerritoriesNew Territories

Room 1009, 10/F,Cheung Sha Wan Government Offices,303 Cheung Sha Wan Road, Sham Shui Po, Kowloon.

Kowloon West

2/F, Mongkok Government Offices,30 Luen Wan Street,Mongkok, Kowloon.

Kowloon South 6/F, Kowloon East Government Offices,12 Lei Yue Mun Road,Kwun Tong, Kowloon.

Kwun Tong

Tuen Mun Unit 2, East Wing, 22/F, Tuen Mun Central Square, 22 Hoi Wing Road, Tuen Mun, New Territories.

5/F, Tsuen Wan Government Offices,38 Sai Lau Kok Road,Tsuen Wan, New Territories.

Tsuen Wan

Rooms 304 – 313, 3/F,Sha Tin Government Offices,1 Sheung Wo Che Road, Sha Tin,New Territories.

Shatin & Tai Po

6/F, Kwai Hing Government Offices,166-174 Hing Fong Road,Kwai Chung, New Territories.

Kwai Chung

หน้าโฮมเพจของกรมแรงงาน :www.labour.gov.hk

สายด่วนบริการสอบถามหมายเลขตลอด 24 ชั่วโมง :2717 1771(สายด่วนนี้ดูแลโดย “1823”)สำนักงานของแผนกแรงงานสัมพันธ์ขอกระทรวงแรงงาน

UGF, Trade and Industry Tower, 3 Concorde Road, Kowloon.

Kowloon East (updated in May 2015)

http://www.labour.gov.hk/eng/tele/lr1.htm

Please click here for "A Concise Guide to the Employment (Amendment) Ordinance 2010"[the amendment relating to the criminalisation of defaulting payment of an award of a tribunal]

Please click here for "A Concise Guide to Paternity Leave under the Employment Ordinance"[relating to the Employment (Amendment) Ordinance 2014]

Please note that according to the Employment (Amendment) (No. 3) Ordinance 2018, male employees with child born on or after 18 January 2019 are entitled to 5 days’paternity leave for each confinement of their spouse/partner if they fulfil other requirements as stipulated in law. If his child is born on or after 27 February 2015 but before 18 January 2019, the number of paternity leave days is 3 days.

Page 14: Employment Ordinance at a Glance (Thai) - Labour · 2019-04-02 · Labour Department 勞工處 Employment Ordinance at a Glance (Thai Version) กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

Labour Department勞工處

Employment Ordinance at a Glance(Thai Version)

กฎหมายแรงงานฉบับย่อ

3/2019

EO Glance 2012_Thai_Cover.indd 1 12年12月18日 上午11:07