cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒...

13
ปที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ ดำ คุณคาของถานอีกทางเลือกของพลังงานทดแทน ยังดูดี พูดใหรู ทำใหดู อยูใหเห็น และเปนใหจริง คาถาครองตนของคนทุงควายกิน หลังไฟปามอดไหม เมล็ดพันธุวิถีพอเพียงจะรอดและแทงทะลุขึ้นมาอีกครั้ง นายแพทยพลเดช ปนประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนทองถิ�นพัฒนา

Upload: others

Post on 25-Jul-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

ปที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพ

ันธ ๒๕๕๒

กอไผหนอไมกำเนิดจากเหงาไผ มันคอยๆ เติบใหญเปนลำไผ ที่ยังมีเหงาชวยยึดใหลำตั้งตรง

ระหวางที่เปนลำไผหนุม มีสายลมพัดโบกโยกไหว ชวยสรางทักษะในการดำรงชีวิตและยังมีไผลำอื่นที่อยูขางเคียง คอยประคองไมใหมันหักโคนลง

สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ลวนเกี่ยวเนื่องสัมพันธกับสิ่งมีชีวิตอื่นเสมอ ไมมีขอยกเวนเลย

ดำคุณคาของถานอีกทางเลือกของพลังงานทดแทน

ยังดูดีพูดใหรู ทำใหดู อยูใหเห็น และเปนใหจริงคาถาครองตนของคนทุงควายกิน

หลังไฟปามอดไหมเมล็ดพันธุวิถีพอเพียงจะรอดและแทงทะลุขึ้นมาอีกครั้งนายแพทยพลเดช ปนประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนทองถิ�นพัฒนา

Page 2: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

สรัญ รังคสิริ / พุทธชาด มุกดาประกร / ประเสริฐ สลิลอำไพ สมหญิง มานะจิตต์ พิทยา อุชัย / รักษพล เนื่องดุลยศักดิ์ / อุดม ไพรศร / รัชณีวรรณ์ ลิ่มสกุล / พงศกร ตันจันทร์พงศ์ / เจ้าหน้าที่โครงการฯ โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ๕๕๕ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๗ ๓๓๕๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๗ ๓๓๔๔ www.pttplc.com

ที่ปรึกษา บรรณาธิการ

กองบรรณาธิการเจ้าของ

“...ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป...

การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคญัอยา่งยิง่ยวด เพราะผูท้ีม่อีาชพีและฐานะเพยีงพอทีจ่ะพึง่ตนเอง ยอ่มสามารถสรา้งความเจรญิกา้วหนา้ระดบัทีส่งูขึน้

ต่อไปได้โดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว...”

ความเคลื่อนไหว ๔ หันมองพลังงานทดแทน

พลังยั่งยืนเพื่อไทย ๑๐ ถ่าน ความเก่าที่กำลังหวนกลับมาใหม ่รักษ์ป่า ๑๒ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ๘๔ ตำบลวิถีพอเพียง ๑๕ “ชาพร่องถ้วย” ที่ตำบลแม่ทา สร้างคน ๑๘ อ๋า พรมไธสง จากทะเลกลับขึ้นฝั่ง พลิกชีวิตชนิด “กลับหลังหัน” ของดีบ้านเรา ๒๑ ค ควายกำลังจะกลับมา พลิกใจ ๒๓ พลังสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่

๑๐

๑๘

๑๒

เรากำลังเดินไปในทิศทางเดียวกัน

จนถึงวันนี้ เชื่อว่าหลายตำบลได้เริ่มกิจกรรมวิถี

พอเพียงตามแผนของแต่ละตำบลไปบ้างแล้ว สิ่งสำคัญ

อนัเปน็เปา้หมายสงูสดุของโครงการฯ และเปน็เรือ่งเดยีวกนั

ทุกตำบล คือ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดกระบวนการ

เรียนรู้ที่จะนำไปสู่การปรับทัศนคติ วิธีคิด จนถึงการ

เปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างตำบลต้นแบบที่เกิดจาก

การน้อมนำเอาวิถีพอเพียงมาปฏิบัติร่วมกัน พร้อมที่จะ

น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พ่อหลวงของพวกเราได้ในปี ๒๕๕๔

“แผนตำบลวิถีพอเพียง” เป็นเสมือนช่องทางที่ทำให้

เกิด “กระบวนการเรียนรู้” จึงต่างจากการคิดและการทำ

แผนอื่นทั่วไป เราเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้สำเร็จ

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้ามีความมุ่งมั่นตั้งใจ

“วิถีพอเพียง” ไม่สามารถเกิดได้ด้วยการใช้เงินซื้อ หรือสร้างอาคาร หรือถาวรวัตถุ แต่เกิดจากวิธี

คิด และวิธีปฏิบัติ ซึ่งตามแนวคิดที่เป็นแก่นแท้ของในหลวงแล้ว เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้อง

พึ่งเงินเลย ที่สำคัญจากการแลกเปลี่ยนกับชุมชน ทำให้ทราบว่าบางครั้งการมีเรื่องเงินหรืองบประมาณ

เข้ามาเกี่ยวข้องกลับกลายเป็นตัวสร้างปัญหา

เพื่อผลักดันหรือหนุนเสริมให้เกิด “วิถีพอเพียง” ในระดับตำบลที่จะเป็นต้นแบบและนำไปขยายผล

ได้เร็วขึ้น โครงการฯ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นเงื่อนไขต่างๆ ทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมเพื่อให้

เกิดการเรียนรู้ โดยเริ่มที่การหนุนเสริมให้ชุมชนมีความรู้และตระหนัก เห็นคุณค่า ศักยภาพที่มีภายใน

ตำบลของตนเองเพื่อเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ หรือมาบริหารจัดการแก้

ปัญหาของตนและของชุมชน

๕๑ ตำบลทั้งระยะแรกและระยะที่ ๒ ล้วนผ่านการเรียนรู้ร่วมกับโครงการฯ มาจนถึงขั้นการนำแผน

ตำบลวิถีพอเพียงไปปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบในปี ๒๕๕๒ ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ท้าทายคนทำงานทุกระดับใน

การตอบโจทย์สุดท้ายอย่างเป็นรูปธรรมว่า เรากำลังเดินไปสูว่ิถีพอเพียงหรือไม ่ หากใช่ คำถามต่อไปคือ

แล้วมันจะยั่งยืนไปนานแค่ไหน ดังนั้น ในขั้นตอนนี้โครงการฯ จึงจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติทั้งในการทำ

กิจกรรม และการใช้งบประมาณที่เป็นมาตรฐานกลางไว้ระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน คือมีการ

ทำงานอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามที่ชุมชนตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อ

สามารถถ่ายทอดกระบวนการทำงานจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งได้

และไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะประสพผลสำเร็จหรือไม่ หากชุมชนสามารถตอบได้ว่าอะไรคือสาเหตุแห่ง

ความสำเร็จหรือล้มเหลว และใช้เป็นบทเรียน คือ นำเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จไปพัฒนาเพื่อจัดการกับ

ปัญหาในครั้งต่อไปให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือไม่ทำในสิ่งที่เราทราบแล้วว่าเป็นเหตุปัจจัยที่นำไปสู่ความ

ล้มเหลวอย่างนั้นแล้วก็ถือว่าเราได้ผ่านการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกขั้น

บรรณาธิการ

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗

๒๑

Page 3: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๔ ๕

ในวันที่ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้น ส่ง

ผลกระทบในทุกหย่อมหญ้า ตั้งแต่ระดับ

ประเทศที่ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชะงัก

ระดับชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ

โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคา

ก๊าซหุงต้มที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว จนเกิด

แนวคิดที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อ

ใช้ในครัวเรือนและชุมชน

พลังงานทดแทนที่จะนำมาใช้ในครัว

เรือนหรือชุมชน จะต้องมีการเรียนรู้ถึง

ความเหมาะสมในการนำทรัพยากรมาใช้

อย่างคุ้มค่า เช่น การนำเศษไม้จากหัวไร่

ปลายนามาเผาเป็นถ่านหุงต้ม หรือการนำ

มูลสัตว์มาทำเป็นแก๊สชีวภาพทดแทนการ

ใช้ LPG หากชาวบ้านมีความรู้ก็สามารถ

นำมาปรับใช้ได้

ตำบลคำแคน อำเภอมัญจาคีรี

จังหวัดขอนแก่น และตำบลพิมาน อำเภอ

นาแก จังหวัดนครพนม ตั้งใจไปศึกษา

ดูงานด้านพลังงานชุมชน ณ ศูนย์บริการ

วิชาการที่ ๓ จังหวัดมหาสารคาม สังกัด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวง

พลังงาน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก

คุณอำนวย อ๋องสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์

และคุณสมถวัลย์ นิโรจน์ พัฒนากร

พลังงาน โดยได้เน้นว่า สิ่งสำคัญที่สุดของ

การอนุรักษ์พลังงาน ควรเริ่มจากการ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ในครัวเรือน

ก่อน เช่น การถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน

หรือการใช้อย่างประหยัดไม่เปิดไฟหรือ

เครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ

ที่ไม่ต้องลงทุนอะไร

สำหรับจุดเรียนรู้ของศูนย์ฯ มีความรู้

ตั้งแต่ระดับครัวเรือน อาทิ การปั๊มน้ำ

ด้วยการปั่นจักรยาน การใช้ฝาครอบหัว

เตาแก๊ส การเผาถ่าน ๒๐๐ ลิตร รวมถึง

การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิต

กระแสไฟฟ้า (โซลาร์เซลล์) ตู้อบพลังงาน

แสงอาทิตย์ เครื่องทำน้ำร้อน และเครื่อง

กลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบบ่อ

หมักก๊าซชีวภาพ และเครื่องทำไบโอดีเซล

จากน้ำมันใช้แล้ว

ตำบลคลองเปรียะ อำเภอจะนะ

จังหวัดสงขลา เป็นอีกตำบลหนึ่งที่ ได้

ศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและ

พลังงานชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

ตำบลทุ่งสง อำเภอนาบอน จังหวัด

นครศรธีรรมราช โดยมนีายเอบิ สารานติย ์

แกนนำตำบลให้ความรู้ด้ านพลังงาน

ชุมชน มีการสาธิตการผลิตเตาเผาถ่าน

๒๐๐ ลิตรแบบตั้ง รวมถึงการเก็บน้ำส้ม

ควันไม้ การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดจากเตา

ประหยัดเชื้อเพลิง การใช้เตาบาร์บีคิว

ประหยัดถ่านความร้อนสูง และการใช้

พลังงานแสงอาทิตย์ในการอบแผ่นยาง

ให้ศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป

ในการศึกษาดูงานไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

พลังงาน หรือเรื่องอื่นใด ชุมชนจะต้อง

นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ

ทรัพยากร และศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชน

เพราะการดูงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิด

“การเรียนรู้” ไม่ใช่ “การเลียนแบบ”จึงจะ

นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

Page 4: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๖ ๗

หลายวันมานี้ผมและคณะกรรมการ

คัดสรรพื้นที่ระยะที่ ๓ ภาคอีสาน พากัน

นัง่รถกระบะของสำนกังานภาค รอนแรมไป

ตามพื้ นที่ ที่ ส่ ง ใบสมั คร เพื่ อ เข้ า ร่ วม

โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล

วิถีพอเพียง เราเริ่มต้นจากพื้นที่ในเขต

อีสานตอนใต้ ไล่เรียงเรื่อยไปจบในเขต

อีสานตอนบน รวมทั้งสิ้น ๒๖ ตำบล

กระจายอยู่ในพื้นที่ ๑๑ จังหวัด ซึ่งคณะ

กรรมการต้องพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ให้

เหลือ ๑๒ ตำบล

คณะของเราเดินทางเข้าไปแลก

เปลี่ยนเรียนรู้การทำงานพัฒนาตามวิถี

พอเพียงพึ่งพาตนเองกับแกนนำของแต่ละ

ตำบลเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เช้าตำบลหนึ่ง

บ่ายก็เดินทางไปอีกตำบลหนึ่ง บางช่วง

“เศรษฐี” ไม่ได้วัดกันที่เงินทอง หาก

แต่ชาวบ้านที่ตำบลแม่ทาก็ถือว่าตนเป็น

เศรษฐี เพราะพวกเขาร่ำรวยความสุข...!

“ตัวเราเป็นเจ้าของชีวิตเราเอง จะ

กินก็กิน จะนอนก็นอน ฝนตกก็ไม่ต้องไป

ทำงาน ไม่มีใครมาบังคับเราเหมือนกับที่

ไปเป็นลูกจ้างคนอื่น” พ่อพัฒน์ อภัยมูล

ผู้นำชุมชนเจ้าของแนวคิด “เส้นทาง

เศรษฐี” ได้เล่าไว้ ณ ศูนย์เรียนรู้สถาบัน

พัฒนาทรัพยากรและเกษตรยั่งยืนแม่ทา

อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับ

คัดเลือกให้เป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านของ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นศูนย์

เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทาง

เกษตรทฤษฎีใหม่ มีพื้นที่ให้ผู้สนใจร่วม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ของปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน ที่มี

การต่อสู้ในการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปปรับ

ใช้ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนได้อย่าง

เหมาะสม

หลักสูตรเส้นทางเศรษฐี มุ่งเน้นเรื่อง

การลดรายจ่าย เพื่อให้เกิดแนวคิดในการ

ปรับตัวของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน เช่น

การจดบัญชีครัวเรือนรายรับ-รายจ่าย

ประจำวนั เพือ่ใหเ้หน็ผลวา่รายจา่ย รายรบั

มีมากน้อยแค่ไหน รวมถึงวิธีการลดราย

จ่าย โดยการปลูกพืชผักเพื่อใช้บริโภคใน

ครวัเรอืนและจำหนา่ยในหมูบ่า้นและแมค่า้

ในท้องถิ่น

วันนี้...แกนนำตำบลวังน้ำลัด และ

ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัด

นครสวรรค์ไดเ้ขา้อบรมหลกัสตูร“เสน้ทาง

เศรษฐี”เพื่อวันหนึ่งตำบลฝาแฝดนี้จะมีวิถี

ชีวิตตามแบบเศรษฐีพอเพียงกับเขาบ้าง

บางตอน รถพาคณะของเราโยกคลอน

แกว่งไกวไปตามหลุมบ่อบนถนนขรุขระ

บางช่วงบางตอนก็มีม่านฝุ่นดินแดงม้วน

ตลบอยู่ด้านหลัง บางช่วงบางตอนต้องไต่

เลาะเรยีบไปตามขอบเขา ชวนใหห้วาดเสยีว

จงัหวดัไหนมพีืน้ทีส่ง่ใบสมคัรเขา้มา ๓ ตำบล

คณะกรรมการก็เหนื่อยมากหน่อย กว่าจะ

เสร็จภารกิจ ดวงตะวันก็ลาลับยอดไม้พอดี

บนทางสายเปลี่ยวมีบทวิเคราะห์

สังคมให้เรียนรู้ มีคำหยอกล้อของคนใน

คณะ มีเสียงหัวเราะคลายความเมื่อยล้า

ถึงพื้นที่หนึ่งเราก็ตั้งวงแลกเปลี่ยนกัน

อย่างสนุก เราได้พบเห็นการต่อสู้ดิ้นรน

เพื่อหาทางออกให้กับตนเองและชุมชน

หลากหลายรูปแบบ

“พวกเรานี่เหมือนขบวนธรรมยาตรา

ของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เลยนิ”

คณะกรรมการท่านหนึ่งเปรยออกมาหลัง

จากที่เราผ่านการเรียนรู้งานในพื้นที่ตำบล

ท่ามะไฟหวาน จังหวัดชัยภูมิ มาแล้ว

“อือ...แต่ของเราเป็นขบวนธรรม

ยาตราแบบไฮเทค ไม่ต้องเดิน นั่งรถเอา”

เสียงคนในรถสวนขึ้นมา เรียกเสียงฮือ

อย่างเห็นด้วยจากทุกคน วันนี้ เป็นอีก

วันหนึ่งที่ดวงตะวันลับยอดไม้ไปแล้ว แต่

คณะของเรายังแกว่งไกวอยู่ในรถ

“พี่ ผมอยากกลับบ้าน”

“เอ้า...คิดถึงลูกแล้วเหรอ”

“ไม่หรอก...ผมอยากกลับไปลงมือทำ

น่ะครับ มาเห็นที่อื่นแล้ว ของตัวเองยังมี

อีกมากที่ยังไม่ได้ทำ”

“อือ...”

วันนี้เราสรุปแล้วว่าบนเส้นทางสาย

เปลี่ยว แม้ต้องเดินสวนกระแส เรายังมี

เพื่อนเดินทาง มีความหวัง มีกำลังใจ ให้

เราได้เติมเต็มกันในทุกถิ่นที่ตลอดเส้นทาง

คำเพียงร่องลำมูล

Page 5: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๘ ๙

ภาคกลาง จำนวน ๘ ตำบล

๑. ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๒. ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

๓. ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

๔. ตำบลชะไว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

๕. ตำบลหนองไม้แก่น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

๖. ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

๗. ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

๘. ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

คณะกรรมการคัดเลือกตำบลระยะที่ ๓ ของแต่ละภาค ลงพื้นที่ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมของ

ปีก่อนและตลอดเดือนมกราคมของปีนี้ คณะกรรมการฯ ได้อาศัยหลักเกณฑ์ความพร้อมของตำบล คัดเลือกพื้นที่ของแต่ละภาคได้ดังนี้

ภาคอีสาน จำนวน ๑๒ ตำบล

๑. ตำบลสะโน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

๒. ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

๓. ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

๔. ตำบลทุ่งนาโงก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

๕. ตำบลป่ากอ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

๖. ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

๗. ตำบลโนภิบาล อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

๘. ตำบลหนองบัวระเหว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

๙. ตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

๑๐. ตำบลกุดดินจี่ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

๑๑. ตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู

๑๒. ตำบลบ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

ผลการคัดเลือก ตำบลระยะที่ ๓ เข้าร่วมโครง การรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง

ภาคเหนือ จำนวน ๖ ตำบล

๑. ตำบลถืมตอง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

๒. ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

๓. ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

๔. ตำบลหัวถนน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

๕. ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

๖. ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ภาคใต้ จำนวน ๙ ตำบล ๑. ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

๒. ตำบลปากคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

๓. ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง

๔. ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

๕. ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

๖. ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

๗. ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

๘. ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

๙. ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Page 6: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

มีฐานะเหนือกว่าไม้ฟืนใน

ครัวเรือนของสังคมไทยมา

นมนาน มันให้ความร้อนที่คุโชนนานกว่า ไม่มีควันทำให้

แสบตาและไม่มีกลิ่นเหม็นติดตัวติดเสื้อผ้าเหมือนกับ

ไม้ฟืน ก้นหม้อและภาชนะไม่ดำเปื้อน ในยุคสมัยหนึ่ง

ถ่านจึงเป็นพลังงานที่บอกฐานะของเจ้าของเรือนได้ว่า

มีอันจะกินมากกว่าครัวเรือนที่ใช้ไม้ฟืน

แต่ถ่านก็มีพัฒนาการมาจากไม้ หรือพูดอีกอย่างว่า

ถ่านคือไม้ที่ได้จากการเผาไหม้ภายในสภาพแวดล้อมที่มี

อากาศอยู่เบาบาง ขณะนั้นคือระหว่างที่ไม้ถูกสลายตัว

ด้วยความร้อน ภายในเนื้อไม้เกิดกระบวนการกำจัดน้ำ

น้ำมันดินและสารประกอบอื่นๆ ออกไป คงเหลือถ่านที่มี

คารบ์อนสงูกวา่ ๘๐% และไมม่คีวามชืน้หลงเหลอือยู ่เปน็

ผลให้ถ่านสามารถให้พลังงานได้สูงกว่าไม้แห้งถึงสองเท่า

วิทยาการสมัยใหม่บอกเราว่า สิ่งที่เราเห็นด้วยตา

คือ ถ่าน เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาไม้เพียง ๒๕%

ส่วนที่เป็นของเหลวที่กลั่นตัวได้ (Distilled Liquids)

ประมาณ ๕๐% และเป็นก๊าซที่กลั่นตัวไม่ได้ (Undistilled

Gas) อีกประมาณ ๒๕%

กล่าวเฉพาะถ่าน เมื่อไม้สลายเป็นถ่าน จะมี

คุณสมบัติเปลี่ยนไปดังนี้

ที่เคยได้รับลงบ้าง แล้วหันไปใช้พลังงานพื้นฐานอย่าง

ถ่าน นับว่าสอดคล้องต่อสภาพเศรษฐกิจไม่น้อยเลย

ดูกราฟราคาพลังงานชนิดต่างๆ เปรียบเทียบ

ถ่านที่ดีต้องให้ค่าความร้อนสูง ดูการเปรียบเทียบ

การให้ค่าความร้อนของถ่านกับพลังงานอื่นๆ

ไม้ฟืนสด ถ่านไม้ น้ำหนัก ๑ กก. ๐.๒๕ กก.

ปริมาตร ๑ ลบ.ม. ๐.๕ ลบ.ม.

ปริมาณความร้อน ๑๐๐% ๕๐%

ค่าความร้อน ๓,๖๐๐ กิโลแคลอรี/กก. ๗,๔๐๐ กิโลแคลอรี/กก.

ความสูญเสียขณะเก็บ จากเชื้อราและแมลง ไม่มีการสูญเสีย

มลพิษขณะเผาไหม้ สูงมาก ต่ำมาก

ระยะเวลาเผาไหม้ เร็วมาก ช้า

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๑๕-๒๐% ๑๕-๒๐%

ถ่านไม้

แต่วิธีการที่ชาวบ้านจะตรวจดูว่าถ่านชนิดไหนเป็น

ถ่านที่มีคุณภาพดี ดูได้จากเคาะแล้วมีเสียงดังกังวาน

หรือเมื่อหักดูแล้ว รอยหักมีความมันวาว และเมื่อติดไฟ

แล้วไม่แตกประทุ กระทั่งไม่มีควันหรือมีก็แต่น้อย

แม้ถ่านจะมีคุณสมบัติดีๆ หลายประการ แต่ถ่านก็

ถูกเมิน ไม่ได้รับการเหลียวแล เมื่อคนเราสามารถคิดค้น

พลังงานตัวอื่นที่สามารถใช้อย่างสะดวกสบายกว่าเข้ามา

แทน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือก๊าซ แต่ในยุคที่เศรษฐกิจ

ชะลอตัวอย่างทุกวันนี้ เราอาจต้องลดความสะดวกสบาย

นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานแล้ว คุณค่าของ

ถ่านยังขยายไปสู่การเกษตร ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ช่วย

ดูดซับสารเคมี และเพิ่มปริมาณแบคทีเรียในดิน ถ่านที่มี

คุณภาพสูงยังนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ เช่น ดูด

กลิ่น กรองน้ำ ใช้ในกระบวนการอาหาร ยา และ

เคมีภัณฑ์อีกด้วย

เมื่อถ่านมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นเช่นนี้ จึงมีการ

พัฒนาวิธีการสร้างเตาเผาขึ้น ที่เรียกชื่อว่าเตาเผาถ่าน

๒๐๐ ลิตร เพราะแต่เดิมเราได้ถ่านด้วยการเผาแบบ

เตาหลุมหรือเตาอบ เตาแกลบ และเตาผี การเผาถ่าน

ด้วยวิธีนี้ความร้อนจะถูกเนื้อไม้โดยตรง ไม้ถูกเผาจนเป็น

ขี้เถ้ามาก และส่วนที่เหลือเป็นถ่านก็เป็นถ่านที่มีคุณภาพ

ต่ำ อีกทั้งการเผาชนิดนี้จะต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่

เตาเผาถ่าน ๒๐๐ ลิตร ใช้ถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตรเป็น

ตัวเตา โครงสร้างเตาเป็นเตาปิดที่สามารถควบคุมอากาศ

ได้ อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ ทำให้ไม้กลาย

เป็นถ่านได้ด้วยกระบวนการ “คาร์บอนไนเซชั่น”

(Carbonization) ไฟจะไม่ลุกติดที่เนื้อไม้ ผลผลิตที่ได้

จึงเป็นถ่านที่มีคุณภาพ เตาเผาถ่านชนิดนี้จึงเป็นเตาที่มี

ประสิทธิภาพสูง

ประการสำคัญคือ เป็นเตาที่เหมาะกับการผลิตถ่าน

เพื่อใช้ในครัวเรือน เพราะไม้ที่ใช้เป็นกิ่งไม้ขนาดเล็ก ที่

ได้จากการลิดและทอนกิ่งไม้ในสวนผลไม้ หรือตามหัวไร่

ปลายนาของเราเอง

Page 7: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

การณ์ของประเทศในปัจจุบัน เราต้องการ

งานในลกัษณะสรา้งสรรค ์ บกุเบกิ เอาจรงิ

เอาจัง และทำให้เห็นเป็นรูปธรรม อย่างโครงการรั กษ์ ป่ า

สร้ างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง ซึ่งผมเห็นว่างานนี้เป็น

การเพาะเมล็ดพันธุ์ที่สำคัญ เพราะไม่ว่าสถานการณ์จะมีการ

เปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม เมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะยังคงมีคุณภาพ มี

ภูมิคุ้มกัน และสามารถเอาตัวรอดได้

หลังไฟป่ามอดลง เมล็ดพันธุ์ใหม่ย่อมเกิดขึ้น ในจินตนาการของผม ผมเห็นภาพไฟป่ากำลังลุกไหม้

เผาผลาญประเทศอยู่ ไฟไหม้ป่าหมายถึงประเทศของเราเดินมาสู่

มุมอับ มีวิกฤตรอบด้าน ประสบปัญหาหลายเรื่อง จนคล้ายกับ

ไฟไหม้ประเทศ

๑๓

ถ้าไฟเผาผลาญประเทศจนมอดไหม้อย่างนั้น แล้วอะไรจะ

เกิดขึ้น ผมเห็นเมล็ดพันธุ์แห่งความพอเพียง ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์

ที่มีภูมิต้านทาน มีคุณภาพพอที่จะผ่านพ้นการถูกไฟเผาผลาญ

ผมเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์วิถีพอเพียงที่พวกท่านทั้งหลายกำลัง

สร้างอยู่นี้ จะอยู่รอด เมื่อเหตุการณ์สงบ ต้นไม้เรายังอยู่ ป่าเรา

ยังอยู่ อาหารเรายังอยู่ ภูมิปัญญาเรายังอยู่ พวกนี้จะแทงทะลุ

ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

นั่นเป็นประการแรกที่ผมเห็นว่า ท่านทั้งหลายกำลังทำงาน

เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เป็นการขยายเมล็ดพันธุ์และสะสม

เอาไว้รอเวลา ไม่ย่อท้อ แม้มีวิกฤตก็ไม่กลัว ใครวิกฤตก็ช่างเขา

แต่เราไม่วิกฤต เราจะรอดได้

ฐานสี่ แห่งวิถีพอเพียง ผมอยากชี้ให้เห็นวิถีพอเพียงจากฐานสี่ฐานด้วยกัน

ฐานแรก คือ วิถีพอเพียงบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสมบัติของส่วนรวมไม่ใช่

สมบัติของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ผ่านมาเราจัดการเรื่องนี้ไม่ดีนัก

ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่แข็งแรงกว่า ช่วงชิงเอาสมบัติสาธารณะ

ของพวกเราทุกคนไปเป็นสมบัติส่วนตัว ใช้และบริโภคกันอย่าง

ไม่บันยะบันยัง ในที่สุดสมบัติสาธารณะก็ร่อยหรอลง

ถ้าเราดูแลป่าผืนเล็กผืนน้อยได้แล้วใช้ประโยชน์จากมัน ก็

จะทำให้เกิดวิถีพอเพียงของกลุ่มคน ของชุมชนท้องถิ่นได้เลย นี่

เป็นสวัสดิการโดยธรรมชาติ

ฐานอันที่สอง คือ ฐานทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมของไทยใน

ชนบทหรือในเมืองก็ตาม เป็นวัฒนธรรมแบบชุมชน ตรงกันข้าม

กับทุนนิยม วัฒนธรรมทุนนิยมมุ่งเน้นในเรื่องปัจเจก ในเรื่องของ

การบริโภค แสวงหา แย่งชิงและเห็นแก่ตัว

แต่วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิม คือวัฒนธรรมของการอยู่

ร่วมกัน คือการรวมกลุ่มเป็นชุมชน มีจิตใจที่ผูกร้อยเข้าด้วยกัน

เอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันนี้อยู่ในสายเลือดของพวกเรา

แสดงออกมาทางสายตา ทางมือไม้ ทางกิริยามารยาท

การส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ไม่ว่าจะในชนบทหรือ

ในเมืองก็ตาม จะเป็นการส่งเสริมที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม

ของการอยู่ร่วมกัน

ฐานที่สาม เป็นวิถีพอเพียงบนฐานปัจจัยการผลิต หรือฐาน

ภูมิปัญญา นี่เป็นวิถีพอเพียงของปัจเจก เช่น คนที่ทำเรื่องของ

เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร

ขณะนี้ในชนบท แนวคิดนี้กำลังขยายตัวออกไป แล้วมี

ปฏบิตักิารทีเ่ปน็จรงิ ผมเหน็วา่ขบวนนีก้ำลงัเปน็ขบวนทีเ่คลือ่นไป

โดยที่ไม่อาจต้านทานได้

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม

และความมั่นคงของมนุษย์

วิถีพอเพียง ทางรอดสังคมไทย

เมื่อเริ่มโครงการฯคุณหมอพลเดชปิ่นประทีป

ให้เกียรติเป็นองค์ปาฐกเจ้าหน้าที่โครงการรักษ์ป่า

สร้างคน๘๔ตำบลวิถีพอเพียงความคิดเห็นต่างๆ

ของคุณหมอนักพัฒนาสังคมไม่เพียงแต่มีคุณค่าและให้

ประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของโครงการฯเท่านั้น

แต่ยังเอื้อให้ชุมชนตำบลเห็นทางรอดของสังคมไทย

ภายใต้วิถีพอเพียงอย่างไรได้อีกด้วย

๑๒

สถาน

Page 8: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๑๔

ตรงนี้มีความสำคัญต่อการสร้างเมล็ดพันธุ์วิถีพอเพียงใน

ระดับปัจเจกหรือบุคคล

วิถีพอเพียงบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ บางคนเรียก

ธรรมชาติสวัสดิการ วิถีพอเพียงบนฐานวัฒนธรรมชุมชน ก็เรียก

เป็นสวัสดิการชุมชน พอฐานปัจจัยการผลิตก็เป็นสวัสดิการระดับ

ครอบครัว

ทั้งสามฐานนี้ล้วนอยู่ในวิสัยที่เราสามารถทำได้เลย

มาถึงฐานใหญ่ คือวิถีพอเพียงบนฐานที่สี่ เป็นฐานนโยบาย

สาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผ่านมาประชาชนเราสนใจ

นโยบายสาธารณะน้อยไป บทบาทในการกำหนดนโยบายเหล่านี้

จึงอยู่ในมือของชนชั้นนำที่เป็นข้าราชการ นักการเมือง แทคโน

แครต และนักวิชาการ

ต่อไปนี้นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องของเราทุกคน ถ้าหาก

ประชาชนมีความสนใจในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปมีบทบาทในการ

กำหนด ตรวจสอบการออกนโยบายสาธารณะต่างๆ นี่เป็นหน้าที่

ของพวกเราทุกคน

เรื่องนี้ผมถือว่าเป็นสวัสดิการสังคมในระดับใหญ่ อันแรก

เป็นธรรมชาติสวัสดิการ อันที่สองเป็นสวัสดิการชุมชน อันที่สาม

เป็นสวัสดิการปัจเจก อันที่สี่เป็นสวัสดิการสังคม

๑๕

ข่าวเล็กๆ แต่ชวนให้ปลื้มใจ แทรกหมอกและสายลมหนาวมาจาก

ภาคเหนือว่า ตำบลแม่ทายินดีให้พื้นที่ของตำบลตนเอง เป็นแหล่ง

เรียนรู้สำหรับ โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง ในภาคเหนือ

ทุกพื้นที่ นั่นหมายถึงว่า ตำบลวิถีพอเพียงที่อยู่ในเครือข่ายของโครงการฯ

ในภาคเหนือ ต่อแต่นี้ไปจะมีพื้นที่ตำบลแม่ทาเป็นพี่เลี้ยง และพร้อมให้เป็น

พื้นที่ดูงาน

แม่ทาเป็นหนึ่งในเก้าตำบลนำร่องของโครงการฯ และหากถอยหลังไป

ไกลกว่านั้น แม่ทาคือพื้นที่แรกๆ ที่มีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาส่งเสริมงาน

พัฒนา ให้การช่วยเหลือชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ จนกระทั่งพัฒนาเป็น

ชุมชนต้นแบบด้านเกษตรยั่งยืนของภาคเหนือที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน

จนทำให้แม่ทาวันนี้ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน สำหรับองค์กร

หน่วยงาน ส่วนราชการต่างๆ และสถานศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในและ

ต่างประเทศ

ชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาดูงาน สามารถกระจายกันพักตามบ้านเพื่อ

เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน สถานศึกษาสามารถจัดแบ่งนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้

ตามฐานความรู้ของหมู่บ้านได้ เช่น การจัดการทรัพยากรป่าชุมชน

การเกษตรยั่งยืน การดำรงอยู่ของคนต้นแบบวิถีพอเพียง ศึกษาการบริหาร

จัดการงานและกิจกรรมต่างๆ ผ่านการรวมกันของชาวบ้านในรูปของเครือข่าย

สำคัญสองกลุ่มคือ เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ

สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด และเครือข่ายการจัดการทรัพยากร

ธรรมชาติตำบลแม่ทา

“ชาพร่องถ้วย” ที่ตำบลแม่ทา มี

นโยบายสาธารณะจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อยากฝากท่านทั้ง

หลายว่า ทำให้ดีก็สามารถเกื้อหนุนวิถีพอเพียงได้ แต่ถ้าทำไม่ดี

ก็ทำลายวิถีพอเพียงได้เช่นกัน

แต่เรื่องวิถีพอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องสวัสดิการ เป็นเรื่องของ

สวัสดิภาพความปลอดภัย เป็นเรื่องของการพัฒนาความสามารถ

และการส่งเสริมบทบาทในการแข่งขันไปพร้อมกันด้วย

ตำบลแห่งการบ่มเพาะ เมล็ดพันธุ์ใหม ่ โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง เป็น

โครงการฯ ทีท่ำทัง้ตำบล ถงึ ๘๔ ตำบล เพือ่นอ้มเกลา้ฯ ถวายใน

โอกาส ๘๔ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี ๒๕๕๔

คือทำตำบลให้ได้คุณภาพสูง ๘๔ แห่ง ต่อไปก็ให้ตำบลแห่ง

เมล็ดพันธ์ุใหม่เหล่านี้ขยายตัวไปเองทั่วประเทศ ตำบลทั้ง ๘๔ นี้

จะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่กระจายตัวอยู่ในแผ่นดินไทย

เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองคลี่คลายลง พื้นที่เหล่านี้จะเป็น

ตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ การขยายตัว

แล้วก็นำไปสู่การฟื้นตัวของสังคมไทยในที่สุด

Page 9: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

และเพื่อการถ่ายทอดความรู้ชุดต่างๆ ให้กับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน หรือสื่อความเข้าใจต่อสังคมนั้น

แกนนำของตำบลแม่ทาจึงจัดตั้งองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยตรง ให้ชื่อว่า สถาบันพัฒนาทรัพยากร

และเกษตรยั่งยืน ให้เครือข่ายทั้งสองมาร่วมกันถ่ายทอดความรู้ ระดมความคิดและการวางแผน

กำหนดบทบาทและแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

เป็นองค์กรเพื่อทำหน้าที่สร้างชุดความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับสังคม

ชาวบ้านแม่ทามีประสบการณ์จากการร่วมกันต่อสู้ปกป้องทรัพยากรป่าไม้ ต่อสู้ทั้งกับนโยบายของ

รฐัและตอ่สูก้บัอทิธพิลของพอ่คา้ไม ้จนรกัษาปา่ชมุชนเอาไวไ้ด ้การตอ่สูห้ลายครัง้หลายระลอกตลอดระยะ

เวลากว่า ๓๐ ปี ได้สร้างผู้นำคนสำคัญอย่างพ่อกำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน จนทำให้ได้รับรางวัล

ลูกโลกสีเขียวประเภทบุคคล ในปี ๒๕๔๖

เมื่อสังคมผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจการค้า แม่ทาก็อยู่ในกระแสปลูกทุกอย่างเพื่อขายเหมือนเช่น

เกษตรกรทั่วไปที่เผชิญหน้ากับการปลูกพืชเชิงเดียว ทั้งยาสูบ ถั่วลิสง ข้าวโพด ผืนดินอันอุดมสมบูรณ์

รองรับสารเคมีทุกชนิด ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ผ่านฤดูการเพาะปลูกไปปีแล้วปีเล่า ความหวังของ

ชาวบ้านที่อยากได้เงินถูกทดแทนด้วยหนี้สินกองโต

จากพื้นฐานที่เคยมีกับการปกป้องเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ถูกนำมาแผ้วถางสู่ทางเลือกของชีวิต

ใหม่ นั่นคือเกษตรยั่งยืน พวกเขาได้ผู้นำคนสำคัญอย่างพ่อพัฒน์ อภัยมูล ขึ้นมา ทั้งแบบอย่างของ

ชีวิตที่พ่อพัฒน์ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และความมุ่งมั่นตั้งใจถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้กับคนรุ่นหลัง จึงได้

รับเลือกให้เป็นปราชญ์ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อปี ๒๕๔๙

ผู้นำทั้งสองรวมทั้งแกนนำชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมใจกันนำชาวบ้านตำบลแม่ทาทั้ง ๗

หมู่บ้าน เข้าร่วมกับโครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง เพื่อร่วมกับตำบลต่างๆ อีก

๘๔ ตำบลในประเทศไทย นอ้มนำเอาพระราชดำรเิศรษฐกจิพอเพยีงของในหลวงมาชว่ยกนัทำใหค้นปรบั

๑๖

ความคิดและพลิกใจสู่การพึ่งตนเอง เมื่อทำให้คนคนหนึ่งคิดเป็น ชุมชนที่เขาอยู่ย่อมเข้มแข็งตามมา

เมื่อเข้าร่วมงานกับโครงการฯ ระยะหนึ่ง แกนนำของตำบลมองเห็นว่า มีความจำเป็นต้องขยาย

แกนนำเพื่อรับผิดชอบด้านต่างๆ ในทุกระดับ จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมวิถีพอเพียงยังมีสัดส่วนที่

ไม่มากพอเกษตรยั่งยืนยังจำเป็นต้องขยายฐานออกไปให้กว้าง

ปัญหาสำคัญของพวกเขาคือการสื่อสาร เพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจ กระจายออกไปสู่

ชาวบ้านให้มากที่สุด

และความเคลื่อนไหวล่าสุดก็คือ การประกาศเจตนารมณ์ของผู้นำอย่างพ่ออนันต์ ดวงแก้วเรือน

พร้อมให้ตำบลแม่ทาเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับโครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง

โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือทุกพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ว่า

“หนึ่งพวกเราเป็นเครือข่ายกัน สองผมอยากให้การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายเป็นการ

ยกระดับการทำงานของคนแม่ทาทุกระดับ ผู้นำทุกคน ทั้งผู้นำในครัวเรือนไปจนถึงผู้นำตั้งแต่

อบต.กำนันและผู้ใหญ่บ้าน”

“เครือข่าย ๘๔ ตำบลที่เข้ามา พวกเขาต้องการมาเรียนรู้อย่างจริงจัง ดังนั้น คนแม่ทาต้องมี

ความรับผิดชอบ

“คนแม่ทามีความมุ่งมั่นร่วมกันว่า ป่าไม้ต้องอุดม น้ำแม่ทาต้องมีน้ำไหลตลอดปี อากาศที่แม่ทา

ต้องไม่มีมลพิษ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนแม่ทาต้องพออยู่พอกิน และต้องมีภูมิคุ้มกันต่อวัฒนธรรมที่

ไม่ดีที่คุกคามมาจากข้างนอกได้

“คนแม่ทาจึงต้องตื่นตัวเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา”

แม่ทากำลังเป็น“ชาพร่องถ้วย”แม้จะมีบทเรียนที่เป็นชุดความรู้มากมายที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้อื่น

แต่ก็เปิดกว้างเพื่อการเรียนรู้ใหม่ให้ความรู้ที่มีอยู่ได้รับการยกระดับสู่คุณภาพใหม่ต่อไป

๑๗

Page 10: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๑๘

กล่าวของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ปรมาจารย์ด้านเกษตร

ธรรมชาติชาวญี่ปุ่น ข้างต้นซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือชุด

“ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” นั้น นำมาใช้เทียบกับชีวิต

ของคนต้นแบบแห่งตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

อย่าง อ๋า พรมไธสง ได้อย่างเหมาะเจาะที่สุด เพราะเมื่อเขาได้

ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตจากชาวประมงมาเป็นเกษตรกรนั้น ชีวิต

เขาพลิกผันไปอย่างสิ้นเชิง อย่างสุดที่ใครจะคาดเดาได้

และพร้อมกันนี้ งานด้านเกษตรกรรมที่เขาได้ลงเรี่ยวแรง

ไปนั้น แม้เฉพาะหน้าจะได้อาศัยเพื่อยังชีพ แต่ผลที่ได้รับอย่าง

ยิ่งใหญ่กว่ากลับเป็นเรื่องการเปลี่ยนชีวิตชาวประมงที่เมาแปล้

ก่อนกลับบ้านทุกเย็น ให้เป็นชาวนาที่มีความสำนึกในคุณค่าแห่ง

ชีวิตทั้งของตนเองและเพื่อนบ้าน

อ๋า พรมไธสง ติดตามพี่ชายออกไปเรียนรู้ชีวิตกลางทะเล

กว้างหลังจากจบชั้นประถมปีที่ ๔ ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น อาจเป็น

เพราะเติบโตมาอย่างยากจน ทำให้เด็กอย่างเขาต้องเรียนรู้ทุก

อย่างที่ชาวเรือที่ดีจะพึงเป็น ด้วยความขยันขันแข็ง เมื่ออายุได้

๑๙

เพียง ๑๗ ปีเท่านั้น เขาได้เป็นไต้ก๋งควบคุมเรือทั้งลำ มีรายได้

ร่วม ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน

เขาท่องไปในทะเลทุกแห่งที่มีปลาชุม ย้ายเรือและเปลี่ยน

เถ้าแก่ลำแล้วลำเล่า แต่แล้วเกิดนึกเบื่อทะเลน้ำลึก เพราะต้อง

ห่างบ้านนานหลายเดือน บางครั้งเป็นปี ลองเปลี่ยนมาหาปลา

ชายฝั่งประเภทไปเช้าเย็นกลับบ้าง เริ่มตั้งแต่ลัดเลาะริมหาดจาก

สามย่านของระยองไปจนถึงชายฝั่งนายายอามจันทบุรี

หากินอยู่กับทะเลน้ำตื้นเช่นนี้อีกร่วมสิบปี จนสามารถต่อ

เรือขายได้ และทำอุปกรณ์จับปลาทุกชนิดจำหน่ายเอง

ในห้วงยามนั้น เขาบอกว่าทะเลยังดีอยู่และปลาก็หาง่าย

เสียแต่ว่าเมื่อขึ้นฝั่งตอนเย็นก่อนกลับบ้าน คนหาปลาด้วยกันราว

๔-๕ คน เป็นต้องชวนแวะที่ร้านเหล้าเพื่อดื่มแก้หนาวทุกเย็นย่ำ

เสมอไป จนกลายเป็นความเคยชินที่ต้องเมากลับบ้านทุกคืน

แต่แล้วจุดเปลี่ยนของชีวิตก็มาถึง เช้าวันหนึ่ง ภรรยาเอา

เอกสารการฝึกอบรมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

การเกษตร (ธกส.) แจ้งให้ไปอบรมที่ปฐมอโศก จ.นครปฐม

เป็นเวลาสี่คืนกับห้าวัน

“เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรม

ไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล

แต่คือการบ่มเพาะ

ความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์”

มาซาโนบุฟูกูโอกะ

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว

กำลังเบื่อความจำเจของชีวิตประจำวันที่เช้าออกหาปลา

และเย็นเมาหยำเปอยู่พอดี เขาอ่านเอกสารอย่างลวกๆ เข้าใจว่า

ปฐมอโศกเป็นชื่อโรงแรมอะไรสักอย่างหนึ่ง ธกส. มาชวนให้ไป

นอนโรงแรม ก็เอาซิ จะได้นอนๆ กินๆ ให้สบายสักสี่ห้าวัน

นี่คือเจตจำนงที่จะไปอบรมของอ๋า พรมไธสง คนหาปลา

ขี้เมาแห่งทุ่งควายกิน ที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ว่า ความที่อยากไปนอน

โรงแรมให้สบายๆ นั้น ได้ทำให้ชีวิตของเขาต้องเดินไปบนหนทาง

อีกสายหนึ่งอย่างสิ้นเชิง

เขาเล่าว่า การอบรมดังกล่าวนั้น เป็นโครงการที่ธนาคาร

เพือ่การเกษตรและสหกรณก์ารเกษตร รว่มกบัสำนกัสงฆส์นัตอิโศก

จัดอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับตัวแทนชาวบ้านที่เป็นลูกค้า

ของธนาคาร

เมื่อรู้ว่าปฐมอโศกไม่ใช่โรงแรม เขาหันหลังกลับไม่ได้เสีย

แล้ว จำต้องเดินหน้าเข้าปฐมนิเทศร่วมกับตัวแทนชาวบ้านจาก

๑๗ จังหวัดภาคกลาง ราวหนึ่งร้อยคน ต้องตื่นเช้า ฟังเทศน์

รับประทานอาหารมังสวิรัติ ฟังการอบรมความรู้ต่างๆ ด้าน

การเกษตร และดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง จากสมณะและ

ญาติธรรม

เหล้าและบุหรี่ถือเป็นอบายมุข และถูกสั่งห้ามอย่างเด็ด

ขาด หลายคนตกใจและรู้สึกอึดอัด เนื่องจากไม่ได้เตรียมตัว

เตรียมใจ แต่เขากลับรู้สึกว่า สิ่งที่ผู้คนภายในปฐมอโศกประพฤติ

ปฏิบัตินั้น มีแต่ให้ผู้อื่น ไม่มีใครเห็นแก่ได้เลย สิ่งที่ทำให้เขา

วางใจได้สนิทกับคำสอนของคนเหล่านี้ก็คือ คนที่นี่ย้ำเสมอว่า

พูดและฟังเท่านี้ยังไม่พอ ต้องกลับไปปฏิบัติดู

อ๋า พรมไธสง เพิ่งได้รู้ว่าที่ดินคือต้นทุนสำคัญในการตั้งต้น

ชวีติ เขานกึถงึทีด่นิรกรา้งมากมายในตำบลทุง่ควายกนิ ถา้เชน่นัน้

จากทะเลกลับขึ้นฝั่ง พลิกชีวิตชนิด “กลับหลังหัน” อ๋า พรมไธสง

คำ

Page 11: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๒๐

บ้านเขาจึงมีทุนอยู่มากมาย ไฟปรารถนาที่จะกลับไปพิสูจน์

สิ่งที่ได้รู้ได้คิดจากที่นี่ให้เกิดขึ้นจริง โหมอยู่ในใจของเขา

วันที่เสร็จสิ้นการอบรมนั้น ใจหนึ่งลิงโลด แต่อีกใจหนึ่งก็

อยากได้ความรู้ต่ออีกสักนิดหนึ่ง เขาละล้าละลัง พลันก็เหลือบ

ไปเห็นรูปในหลวงบนขาตั้งในห้องอบรม เขายืนตรงบอกกับรูป

ในหลวงวา่ จะออกไปทดลองทำ ใหเ้วลาสามปเีพือ่พสิจูน ์จะไมย่อม

ล้มเลิกก่อนอย่างเด็ดขาด

แม้วันนี้ อ๋า พรมไธสง หยัดยืนอยู่ด้วยหนทางการพึ่งตนเอง

เป็นปีที่หกแล้ว คือเกินกว่าที่ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ถึงเท่าตัว แต่เมื่อ

เริ่มต้นแต่แรกนั้น เขายังต้องออกทะเลอยู่บ้าง เพราะการปลูก

ข้าวนั้น จำต้องรอให้ข้าวตั้งท้องและออกรวง เขาหวังที่จะได้เงิน

จากการหาปลามาสำรองเอาไว้บ้างระหว่างรอข้าวแก่

แต่การออกทะเลหนหลัง เขาไม่ใช่ประมงขี้เมาคนเดิมเสีย

แล้ว ทำอะไรไม่ได้เลยกับปลา กุ้ง หรือแม้กระทั่งปู เพราะรู้สึกถึง

การมีชีวิตของสัตว์เหล่านั้น เขาหาเงินจากทะเลไม่ได้เสียแล้ว

แต่ยังทดสอบจิตใจตัวเองด้วยการออกทะเลอีกสองสาม

ครั้ง จนแน่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่กับจิตใจของเขาแล้ว นั่นแหละ

จึงหันหลังให้กับทะเล แล้วมุ่งหน้าพลิกผืนดินให้เป็นนาข้าว

เริ่มต้นกับนารกร้างของคนอื่น ไปขอเขาทำบ้าง ขอเช่าเขา

บ้าง ได้ผลผลิตไม่ดีนักกับการเริ่มต้น เพราะยังขาดความรู้และ

ไม่มีทักษะเลย เขาค่อยๆ สังเกตสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไปแล้วจด

บันทึกเอาไว้ เอาทุกอย่างมาทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ทิ้งอะไรให้

สูญเปล่า เก็บฟางมาสุมเป็นกองปุ๋ย ระหว่างนั้นก็เร่งทำปุ๋ยหมัก

จากฟางข้าวและหอยเชอรี่ที่เป็นศัตรูสำคัญของต้นข้าว

เขาใช้ปุ๋ยหมักมุ่งฟื้นฟูบำรุงดิน ตามที่ได้รับการอบรมมา

เมื่อดินมีคุณภาพดีขึ้น เขาก็ตักปุ๋ยหมักแจกชาวบ้านที่ผ่านไป

ผ่านมา เอาปุ๋ยหมักไปใส่ต้นไม้ในวัด ใส่ต้นไม้ข้างถนน เอาน้ำ

หมักฉีดรดต้นไม้ ทั้งเช้าทั้งเย็น เขาทั้งให้ทั้งสอน เมื่อเอาปุ๋ยหมัก

ไปให้ถึงสวน เขาก็จะสอนให้เจ้าของสวนทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

จากที่ทำอยู่คนเดียว ก็มีคนมาช่วยทำ กลายเป็นกลุ่มทำ

ปุ๋ยหมักขึ้น

ข้าวได้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อดินมีคุณภาพ ปัญญาที่ได้รับจาก

ข้าวก็เกิดขึ้น เมื่อแรกต้องเอาข้าวไปสียังโรงสีที่อยู่ไกลหมู่บ้าน

ออกไป ครั้นต้องการรำกับแกลบ ก็ต้องหวนกลับไปขอซื้อจาก

โรงส ี ทำใหเ้สยีทัง้เวลาและเงนิทอง ความคดิทีจ่ะปรบัปรงุโรงสเีลก็

ที่ทิ้งรกร้างในหมู่บ้านก็เกิดขึ้น

เมื่อมีโรงสีข้าว แกลบหยาบที่ถูกพ่นทิ้งออกมาจากปล่อง

เครื่องสี ทำให้เกิดกิจกรรมการเลี้ยงหมูหลุม แกลบหยาบที่รอง

พื้นหลุมคลุกผสมกับขี้หมูผ่านเวลาระยะหนึ่งก็ถูกตักขึ้นมาผสม

เข้ากับขี้วัวจำนวนหนึ่ง ผสมกับกากของปุ๋ยหมักอีกจำนวนหนึ่ง

ก็ได้ปุ๋ยอย่างดีที่ใช้ในนาข้าว

เปลือกของข้าวที่เรียกว่าแกลบหยาบ เดินทางกลับไปยัง

นาข้าวที่ที่ให้กำเนิดมันอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนรำละเอียดที่มีปลายข้าวหักปนถูกพ่นออกมาจากอีก

ปล่องหนึ่งนั้น ส่วนหนึ่งไปเป็นอาหารในบ่อปลาข้างบ้าน อีกส่วน

หนึ่งถูกนำไปหมักด้วยน้ำจุลินทรีย์เพื่อเอาไปขุนเป็ดที่อยู่ในคอก

หลังบ้าน

เขาไม่เพียงแต่รู้สึกว่าตัวเขาเองทำงานจนไม่ว่างมือแล้ว

เทา่นัน้ แตก่บัลกูๆ แมเ้รยีนหนงัสอืกนัมาระดบัไหน เขากส็ามารถ

รับประกันกับลูกได้ว่า พวกเขาไม่ตกงานกันอย่างแน่นอน

วันนี้ อ๋า พรมไธสง อายุ ๔๕ ปีแล้ว ทำนาแปลงหลังบ้าน

๙ ไร่ แปลงข้างบ้านอีก ๙ ไร่ ร่วมกับกลุ่มสีข้าวทำนาในแปลง

รวมอีก ๕ ไร่ และกำลังบุกเบิกที่แปลงใหม่โดยฟื้นฟูจากที่ดิน

ที่เคยปลูกต้นยูคาลิปตัสอีกร่วมสิบไร่

เขาเตือนตัวเองอยู่ เสมอว่า อย่าทำให้เกินกำลังตัวเอง

เนื่องเพราะเห็นผลที่ใช้กับตัวเองแล้ว ก็อยากให้เป็นประโยชน์แก่

คนอื่นด้วย เขาจึงเที่ยว “พูดให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และเป็นให้

จริง” ซึ่งถือเสมือนเป็นหลักยึดในการครองตน

อ๋า พรมไธสง หมอดินอาสาแห่งตำบลทุ่งควายกิน ผู้กล้า

เปลี่ยนวิถีชีวิต ชนิดหันหลังกลับ และน้อมนำเอาความเป็น

เกษตรกรพัฒนาความเป็นอยู่ให้มีคุณค่าขึ้น ด้วยการทำให้ชีวิต

ของตนเองเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นไปด้วย

๒๑

“สมัยก่อนมีควายเยอะ หมู่บ้านนี้มีประมาณ ๘๐๐ ตัว พอถึงปี ๔๒ ทั้งหมู่บ้านเหลือ

ควายอยู่ ๖๗ ตัว”

“ขายควาย ๘ ตัว ซื้อรถไถได้ ๑ คัน ช่วงนั้นหมู่บ้านมีรถไถเกือบ ๔๐ คัน”

ชาวบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ ตำบลจันดุม ให้คำตอบแก่เจ้าหน้าทีโ่ครงการรักษ์ป่า

สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง เมื่อครั้งที่มีโอกาสไปเยี่ยมกลุ่มอนุรักษ์ควายไทยของ

หมู่บ้าน แม้จะเป็นประโยคเพื่อตอบคำถาม แต่เนื้อความก็ได้บอกเรื่องราวเอาไว้มากมาย

อย่างเช่น หมู่บ้านนี้เคยมีควายมากถึง ๘๐๐ ตัว จำนวนควายขนาดนี้นับว่าเป็นฝูงใหญ่

เอาการ จะต้องมีบวกน้ำ (ปลักโคลน) ให้ควายลงนอนแช่จำนวนไม่น้อย และจะต้องมี

งานให้ควายเหล่านี้ทำงานเป็นจำนวนมาก

เพราะควายกับสังคมไทยแต่เดิมมา ไม่เคยเลี้ยงควายไว้กินเนื้อ แต่เลี้ยง

ไว้ใช้งาน

แต่เมื่อ ๙ ปีที่แล้ว จำนวนควายลดลงเหลือ

เพียง ๖๗ ตัวเท่านั้น จำนวนตัวเลขของควายที่

หายไป แทนที่ด้วยจำนวนรถไถ (ควายเหล็ก)

๔๐ คัน

ก็เพราะจำนวนควาย ๘ ตัว จึงจะได้ควายเหล็กมา

๑ คันนั่นเอง

พ่อบุญชู สายบุตร ประธานกลุ่มอนุรักษ์ควายไทย เล่าถึง

ความเป็นมาว่า ชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องต้นทุนการทำเกษตร

ค ควายกำลังจะกลับมา

Page 12: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

๒๒ ๒๓

เรียนรู้ เ รื่ องราวใหญ่น้อย

จดจำ สะสม มาตลอดเส้น

ทางของชีวิต แต่แรกก็เพื่อการ “จำได้

หมายรู้” แต่มันก่อรูปเป็น “ตัวฉัน” อย่าง

เป็นอัตโนมัติ แล้วก่อตัวเป็นพลังว่า “ตัว

ฉันผู้รู้”

แค่เป็น “ตัวฉัน” เมฆหมอกของ

ปัญหาก็เริ่มก่อตัวตั้งเค้าขึ้นแล้ว พอเป็น

“ตัวฉันผู้รู้” ปัญหาทั้งสิ้นทั้งมวลที่มีอยู่ใน

โลกนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง

เพราะการเกิดเป็น “ตัวฉัน” มันได้

แยกตัวเราออกมาจากสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้

หรือกำลังเห็น มีระยะห่างระหว่างสิ่งที่

กำลังเป็นอยู่ กับสิ่งที่เราหยิบขึ้นมาจนก่อ

รูปเป็นตัวฉัน ระหว่างการก่อรูปเป็นตัวฉัน

สิ่งที่กำลังเป็นอยู่ได้เคลื่อนผ่านไปแล้ว มี

สัมพันธภาพใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยที่ตัวฉันไม่

ได้รับรู้ เพราะมัวอยู่กับอดีตที่กำลังก่อร่าง

สร้างรูปอยู่

นอกจากนี้ ตัวฉันยังแยกตัวเองออก

มาจากที่ไม่ใช่ตัวฉัน คือตัวอื่น คนอื่น

เป็นการตัดสัมพันธภาพที่เป็นปกติวิถีที่

ชีวิตเราจะต้องร่วมกับชีวิตอื่นเพื่อการ

เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เมื่อแยกตัวเองออก

มาเสียแล้ว ก็เท่ากับตัดการเรียนรู้ออกไป

นั่นเอง

ความที่คิดว่าตัวเองรู้ หล่อเลี้ยงให้

“ตัวฉัน” เติบโตกลายเป็น “ตัวฉันผู้รู้ ”

เป็นอัตตาตัวตน ใหญ่โตเท่าภูเขาแต่ละลูก

มันกู่ร้องบอกตัวเจ้าของอยู่เสมอว่า เรา

คือผู้รู้ ในเวลาเดียวกันซึ่งเร็วยิ่งกว่าแสง

มันก็บอกว่า คนอื่นคือผู้ไม่รู้ หรือผู้รู้น้อย

กว่าเรา

สถานะของตัวฉันผู้รู้ บงการชีวิตให้

คิด ให้ทำไปในทิศทางที่มันต้องการ แม้

กระทั่งบุคลิกภาพมันก็เป็นตัวกำหนดด้วย

จะเดินเหิน จะนั่งในตำแหน่งไหน จะคุย

กับใครและไม่คุยกับใคร แม้กระทั่งจะรับ

ไหว้ ก็ต้องฝึกให้รับไหว้ด้วยจังหวะและ

ท่าไหน ที่จะคงความเป็นตัวฉันผู้รู้เอาไว้

ปัญหาใหญ่หลวงที่ตัวฉันผู้รู้สร้างขึ้น

ก็คือ เขานำเอาอดีตอันเป็นความรู้ที่ตาย

แล้ว มาพยายามแก้ไขปัญหา ที่กำลังเป็น

อยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อย่าพูดถึงว่าปัญหา

จะได้รับการแก้ไขเลย เพราะเห็นได้ชัดว่า

ปัญหาใหม่เข้าไปซ้อนทับปัญหาเก่า ซ้อน

กันอยู่จนสลับซับซ้อน

ตัวฉันผู้รู้คือตัวแทนของอิทธิพลใน

อดีตนั่นเอง

กฤษณมูรติ ปราชญ์ของโลกผู้หนึ่ง

เคยกล่าวว่า ผู้สังเกตมักทอดเงาของตัว

เองไปยังสิ่งที่สังเกตเสมอ เงาที่ทอดไปก็

คือ คติ อคติ หรือแม้แต่อุดมคติ เราจะ

ต้องสลัดอิทธิพลของอดีตออกไปให้ได้

แล้วใส่ใจกับสิ่งที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน มี

เพียงเช่นนี้เท่านั้นพลังสร้างสรรค์อันใหญ่

หลวงจึงจะเกิดขึ้นอย่างเป็นจริง

เรา

และต้องการลดต้นทุนลง ซึ่งเป็นช่วงที่ทางองค์การบริหาร

ส่วนตำบล ได้จัดงบประมาณมาให้จำนวนหนึ่งแสนบาท จึงได้มี

การรวมตัวกันตั้งกลุ่มอนุรักษ์ควายไทย เมื่อปี ๒๕๔๓

ถือเป็นทุนตั้งต้นนำไปซื้อควายมาได้ ๑๐ ตัว และได้รับการ

สนับสนุนจากมูลนิธิหมู่บ้าน ให้ควายมาสมทบอีก ๔๘ ตัว จึงได้

กระจายควายจำนวนดังกล่าวนี้ไปให้สมาชิกของกลุ่มฯ ช่วยกัน

เลี้ยง โดยมีข้อตกลงว่าแม่พันธุ์ตัวหนึ่งตกลูก ต้องส่งคืนให้กลุ่ม

๑ ตัว เพื่อทางกลุ่มจะได้นำไปให้สมาชิกใหม่เลี้ยง เป็นการขยาย

สมาชิกเพิ่มอีกนั่นเอง

เรื่องนี้ชาวบ้านมีข้อมูลว่า ควายเริ่มตั้งท้องได้ตั้งแต่อายุ

๓ ปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ ๑๐ เดือน ตกลูกปีละ ๑ ตัว ตลอด

อายุขัยจะมีลูกได้ถึง ๑๔ ตัว ควายมีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ

๒๕ ปี

ท่านประธานฯ บุญชู หน้าระรื่นเมื่อตอบว่า “ขณะนี้กลุ่มฯ

มีสมาชิก ๑๒๑ ครัวเรือน และมีควายเพิ่มขึ้นถึง ๔๘๐ ตัวแล้ว”

ผลต่อเนื่องจากการเลี้ยงควายของชาวบ้านคือ ขี้ควาย

ที่ชาวบ้านนำมาใช้แทนปุ๋ยเคมีโดยมีการคิดค่าใช้จ่ายออกมา

คร่าวๆแล้วว่าที่นา๑ไร่ใช้ปุ๋ย๑กระสอบราคา๑,๓๐๐บาท

ถ้าเป็นขี้ควายต้องใช้ประมาณ ๑ ตัน ราคาประมาณ ๑,๐๐๐

บาทแต่ผลที่ได้คือใช้ปุ๋ยเคมีผลผลิตจะงามแค่๒เดือนก็ต้องใส่

เพิ่มใช้ขี้ควายผลผลิตจะงามอยู่๒ปีและทำให้ดินดีไม่แห้งแตก

อีกด้วย ขี้ควายที่เหลือใช้สามารถขายให้กับกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์

ราคากระสอบละ ๔๐-๕๐ บาท (๓๐ กิโลกรัม) โดยชาวบ้าน

คนหนึ่งยืนยันว่า จะทยอยขายขี้ควายปลดหนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่า

จะหมด พอถึงหน้าทำนา ก็จะเอาควายลงไถนาแทนควายเหล็ก

ซึ่งยังช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานได้จำนวนมาก โดยเฉพาะ

ในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงที่สุดเมื่อปีที่ผ่านมา

ควาย (กระบือ) เป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ โตเต็มวัยอายุระหว่าง ๕-๘ ปี ควายที่เลี้ยงในประเทศไทยคือควายปลักเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นาเพื่อปลูกข้าวและทำไร่ลักษณะนิสัยชอบลงแช่ในปลักโคลน

ควายธนู เป็นเครื่องรางตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อของสังคมเกษตรกรรมซึ่งเลี้ยงควายไว้ใช้งาน เชื่อว่าการบูชาควายธนูให้ดี ต้องหาหญ้าและน้ำเลี้ยงเสมอ สามารถใช้ให้เฝ้าบ้านหรือไร่นา

ใช้งานได้ตามความประสงค์ทั้งป้องกันภูตผีและโจรผู้ร้ายได้

Page 13: Cover ptt 3 - 84tambonsforking.com · ป ที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ ๒๕๕๒ 5h$ หน อไม กำเนิดจาก

ปที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกุมภาพ

ันธ ๒๕๕๒

กอไผหนอไมกำเนิดจากเหงาไผ มันคอยๆ เติบใหญเปนลำไผ ที่ยังมีเหงาชวยยึดใหลำตั้งตรง

ระหวางที่เปนลำไผหนุม มีสายลมพัดโบกโยกไหว ชวยสรางทักษะในการดำรงชีวิตและยังมีไผลำอื่นที่อยูขางเคียง คอยประคองไมใหมันหักโคนลง

สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ลวนเกี่ยวเนื่องสัมพันธกับสิ่งมีชีวิตอื่นเสมอ ไมมีขอยกเวนเลย

ดำคุณคาของถานอีกทางเลือกของพลังงานทดแทน

ยังดูดีพูดใหรู ทำใหดู อยูใหเห็น และเปนใหจริงคาถาครองตนของคนทุงควายกิน

หลังไฟปามอดไหมเมล็ดพันธุวิถีพอเพียงจะรอดและแทงทะลุขึ้นมาอีกครั้งนายแพทยพลเดช ปนประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนทองถิ�นพัฒนา