chiangrai identity/ethnic people

14
เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Upload: chooglin-ounvijit

Post on 20-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


4 download

DESCRIPTION

ethnic people in Chiangrai

TRANSCRIPT

Page 1: Chiangrai identity/ethnic people

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 2: Chiangrai identity/ethnic people

อาข่า

อาข่า เป็นกลุ่มย่อยของชนชาติโลโล อพยพมาจากแถบหยวนเชียง ซึ่งอยู่ห่างจากนครคุนหมิงประมาณ

๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๕ กระจายตั้งถิ่นฐานในรัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ในแขวงหลวงน้ำ

ทาและบ่อแก้วของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเข้ามาอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนบนไทย

เมื่อประมาณ ๙๐ – ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา โดยย้ายจากเชียงตุงมาอยู่ที่ดอยช้างงูหรือดอยสะโง้ ตำบลศรีดอนมูล ใกล้

สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวละว้า

ผู้นำชาวอาข่าจากเชียงตุงคือ แสนอุ่นเรือน ได้พาผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบนดอยตุงหลังแสนอุ่นเรือนเสียชีวิต

ญาติพี่น้องได้แยกย้ายกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ แสนพรหมน้องชายไปตั้งหมู่บ้านผาหมี แสนใจผู้เป็นหลานนำอาข่าส่วน

หนึ่งย้ายไปอยู่ในพื้นที่แม่จันส่วนหนึ่งไปอยู่ที่กิ่วสะไตและในแนวลำน้ำกกตอนบนหลังปีพ.ศ.๒๔๙๒ชาวอาข่าบ้าน

ลายเมืองฮายในสิบสองปันนาซึ่งเคยปลูกฝิ่นบนภูเขาปลังได้อพยพมาอยู่ที่ดอยตุงอำเภอแม่จันเนื่องจากรัฐบาลจีนมีน

โยบายเข้มงวดห้ามมิให้ปลูกฝิ่นและค้าฝิ่นอย่างเด็ดขาด

จากการสำรวจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.๒๕๔๕พบว่ากลุ่มอาข่าในเชียงรายมีจำนวน๕๙,๗๘๒

คน โดยทั่วไปชาวอาข่านิยมตั้งถิ่นฐานบนสันเขาในระดับความสูง๔,๕๐๐ฟุต

หรือประมาณ๑,๒๐๐เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางการเลือกทำเลที่ตั้ง

ชุมชนมักเลือกภูเขาลูกกลางแวดล้อมด้วยภูเขาสูงมีดินดำอุดมสมบูรณ์ ไม่

ไกลจากห้วยน้ำลำธาร แต่ไม่ใช่แม่น้ำใหญ่หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อ

ป้องกันโรคระบาดและภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมชุมชนมีทั้งขนาดเล็กและ

ขนาดใหญ่บางชุมชนมีถึง๒๐๐ครัวเรือนจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยครัว

เรือนละ๗คน

ลักษณะบ้านของอาข่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงฝาเป็นไม้ไผ่สานหลังคามุงหญ้าคาช่วยให้อากาศ

ถ่ายเทได้ดีมีบันไดหน้าและบันไดหลังตัวบ้านแยกเป็นชานบ้านด้านหน้าบริเวณเตาไฟห้องฝ่ายชายห้องฝ่ายหญิง

ซึ่งมีหิ้งผีบรรพบุรุษและมีกระชุใส่พันธุ์ข้าวเชื้อบริเวณพื้นดินใกล้ห้องฝ่ายหญิงมีครกตำข้าวแต่ปัจจุบันมักนำไปสีที่

โรงสีในหมู่บ้าน

ครอบอบครัวอาข่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยายบุตรชายคนโตและครอบครัวและบุตรชายคนสุดท้องจะอยู่

ร่วมในครัวเรือนเดียวกับพ่อแม่ส่วนบุตรชายคนอื่นๆและบุตรสาวจะแยกไปตั้งบ้านเรือนสร้างครอบครัวใหม่อาข่ามี

แบบแผนการตั้งชื่อเป็นระบบที่สามารถบ่งบอกชื่อของบรรพบุรุษย้อนหลังไปได้ถึง๑๕ชั่วอายุเป็นอย่างน้อย

ภาษาที่ชาวอาข่าใช้ มีหลายกลุ่มกลุ่มหลักคือJeuG’oeซึ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่

บ้านอาข่าในปัจจุบัน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 3: Chiangrai identity/ethnic people

พิธีกรรมสำคัญมีหลากหลาย เช่นพิธีทำประตูหมู่บ้านพิธีย้อมไข่แดงหรือพิธี

ชนไข่แดง เพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษพิธีเซ่นไหว้ผีบ่อน้ำ หรือพิธีปลูกข้าวพิธีโล้

ชิงช้า เป็นต้น พิธีทำประตูหมู่บ้านสำคัญมากถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งแยก

ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของภูตผีวิญญาณออกจากกันเป็นการรำลึกถึง“ซุมมิโอ”

บรรพบุรุษผู้ริเริ่มทำประตูหมู่บ้าน

ช่วงเมษายนชาวบ้านจะช่วยกันทำประตูเข้าด้านหน้าหมู่บ้านและด้านหลัง โดยมี

“ซยือมะ”หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมเป็นประธานเสาประตูทั้งสองข้างประดับไว้ด้วย“ตาแหลว”ที่

ใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปคล้ายดาวเรียงรายเป็นแถวมีตุ๊กตาไม้(ตาผ่ามะ)แกะสลักเป็นรูปชาย–หญิง

๑คู่ มีตุ๊กตาเก่าตั้งอยู่เป็นคู่ทั้งด้านซ้ายและขวาของประตู ชาวอาข่าเชื่อว่าตุ๊กตาเพศหญิง (ยามี

ยะ)นั้นเป็นหญิงชาวป่าลูกสาวพญานาคแกะสลักเต็มตัวตุ๊กตาดังกล่าวแสดงอวัยวะเพศชัดเจนโดย

ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่ง เป็นสัญลักษณ์การเจริญพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ส่วนตุ๊กตาเพศชาย

(ฮะจือหยะ)นั้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นพ่อคนแสดงอวัยวะเพศอย่างเปิดเผยการจัดวางตุ๊กตาหญิงชายใน

ท่าร่วมเพศเป็นการสื่อความหมายถึงการดำรงเผ่าพันธุ์

พิธีโล้ชิงช้า (หละเฉอะปิ) จัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม เพื่อรำลึกถึงเทพธิดา

“อิ่มซาแยะ”ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่พืชผลในไร่นา และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เช่น เทพน้ำ – เทพฝน (เย้อีซะ) มีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ (อะเพอะพี)

สำหรับชิงช้านั้นมักสร้างขึ้นใกล้ประตูหมู่บ้าน จัดทำขึ้น๓แบบคือแบบ

เสากระโจมเต็นท์อินเดียนแดงแบบระหัดวิดน้ำและแบบสำหรับเด็ก

วิถีชีวิตของอาข่าเป็นวิถีของเกษตรกรทำการเกษตรเพื่อ

ยังชีพปลูกข้าวไร่ ถั่ว และพืชผักเป็นอาหารการตั้งถิ่นฐานบน

ภูเขาสูงในผืนป่าฝนเขตร้อน เอื้ออำนวยให้มีการสั่งสมองค์ความรู้

และภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพรซึ่งปัจจุบันนำไปใช้ในตำรับปรุงยา

ของยูนนานและของบริษัทยาชั้นนำของโลกแพทย์พื้นบ้านอาข่ามี

ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการต่อกระดูกที่หักหรือแตก

พิธีเซ่นไหว้ผีบ่อน้ำบ้านแสนสุข

ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

เสาประตูเข้าด้านหน้า

และด้านหลังหมู่บ้าน

การโล้ชิงช้าของชายหญิงอาข่า

ที่จัดขึ้นในจังหวัดเชียงราย

เครื่องแต่งกายของอาข่ามีอัตลักษณ์โดดเด่นผู้ชายสวมเสื้อผ้าที่นำพืชตระกูล“ห้อม”มา

ย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มปักด้ายหลากหลายสีเป็นลวดลายต่างๆสวมหมวกปักลวดลายประณีตผู้หญิง

สวมกระโปรงสั้นสีดำสวมเสื้อผ้าฝ้ายทอมือด้านหน้ามีแผ่นเงินกลมๆ เรียงรายลงมาจากหน้าอก

ด้านหลังปักลวดลายประณีตในรูปทรงเรขาคณิตทั้งหญิงชายสะพายย่ามปักลวดลายสวยงามผู้มี

ฐานะดีจะนำเหรียญเงินและกระดุมเงินมาประดับตบแต่งให้ดูภูมิฐานยิ่งขึ้นส่วนผู้หญิงสวมหมวก

ประดับด้วยกระดุมเงินเป็นแถวยาวด้านล่างของหมวกประดับด้วยเหรียญเงินรูปีของอินเดียหรือ

เหรียญเงินเปียสต้า(เงินหมันหัวหนาม)ของสหภาพอินโดจีนฝรั่งเศสนิยมนำขนนกหางกระรอก

หรือขนลิงย้อมสีสดใสมาประดับตกแต่งมีพู่ห้อยระย้าและสวมสร้อยลูกปัดสีสันสดใส

อาหารสมุนไพรอาข่า

ชาวอาข่ามีอุปนิสัย ร่าเริงสนุกสนานชอบร้องเพลงมีบทเพลงและท่วงทำนองหลากหลายผู้หญิงนำกระบอก

ไม้ไผ่มาใช้เป็นเครื่องเคาะจังหวะพร้อมทั้งตีฆ้องกลองและฉาบ ในอดีตหนุ่ม-สาวเวลาเดินทางไปไร่หรือ

ทำงานในไร่มักร้องเพลงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบกันในลักษณะ“ร้อยเนื้อทำนองเดียว”

ธรรมเนียมอาข่า มีข้อห้ามมิให้หนุ่ม–สาวเกี้ยวพาราสีกันในบ้านแต่ละหมู่บ้านจะมีข่วง(แดข่อง) เป็นลาน

วัฒนธรรมให้หนุ่ม–สาวได้เรียนรู้ด้านต่างๆรวมทั้งร้องเพลงและเต้นรำเป็นคู่ๆหากคู่ไหนพึงพอใจกันก็พัฒนาไปสู่การ

สู่ขอและแต่งงานโดยความยินยอมของพ่อ-แม่ทั้งสองฝ่าย

ชาวอาข่ามีการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง

ผู้ชายสืบทอดวิธีการจักสานตะกร้าและภาชนะไม้ไผ่ บางคนมีฝีมือด้านการตีเหล็กตีมีดและเครื่องมือการเกษตร

รวมทั้งมีฝีมือทำปืนแก๊ปสำหรับล่าสัตว์ ผู้หญิงอาข่าส่วนใหญ่มีฝีมือด้านหัตถกรรมปักผ้าเป็นลวดลายประณีต

เรียนรู้จากย่า ยาย และแม่ ดังมีสุภาษิตอาข่าบทหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อแม่ตายจากไปมรดกที่มอบให้ลูกสาว

นอกจากกี่ทอผ้าแล้วยังมีลวดลายศิลปะการปักผ้าวิจิตรประณีต”

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 4: Chiangrai identity/ethnic people

ลาหู่

ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชนชาติโลโล ตระกูลย่อยธิเบต – พม่า คำว่า ลาหู่ หมายถึง ผู้มีความซื่อสัตย์และมีสัจจะ

ช่วงศตวรรษ ๑๘ และ ๑๙ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ภูเขาโหล่เฮ่ย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มีพระเป็นผู้นำ จักรพรรดิ

พยายามแผ่ขยายอิทธิพลวัฒนธรรมเข้าครอบงำ ทว่าพระและชาวลาหู่ส่วนใหญ่ต่อต้านปฏิเสธ จักรพรรดิจึงส่งทหารเข้า

ปราบปราม ชาวลาหู่ต้านทานไม่ไหวหนีไปพึ่งพิงชาวละว้าบนภูเขาว้า ช่วงเวลานั้นชาวละว้ามีพิธีกรรมล่าศีรษะมนุษย์แต่

ก็ยกเว้นไม่ล่าศีรษะชาวลาหู่ เพราะหญิงชายลาหู่นิยมเคี้ยวหมากจนฟันดำ และนิยมใส่ลานหูเช่นเดียวกับชาวละว้า ชาว

ลาหู่และละว้ามักพึ่งพาอาศัยกันฉันพี่น้อง

ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากจำแนกกลุ่มย่อยได้ถึง๒๓กลุ่ม เฉพาะที่อพยพเข้ามาอยู่ใน

ภาคเหนือตอนบนของไทยมีเพียง๕กลุ่มย่อยตามภาษาที่พูดและสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่อันได้แก่ลาหู่นะหรือลาหู่ดำลาหู่ยี

หรือลาหู่แดงลาหู่ซีหรือลาหู่เหลืองลาหู่ฟู่หรือลาหู่ขาวและลาหู่เฌเลหรือลาหู่เมี้ยว

ชาวลาหู่ในจีนส่วนหนึ่งเคลื่อนลงมายังรัฐฉานตั้งถิ่นฐานบนภูเขาในเขตเชียงตุงส่วนหนึ่งเข้ามาในไทยราว๑๐๐ปี

ที่ผ่านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านเหนือและด้านตะวันตกของเชียงรายเช่นดอยปู่ไข่ดอยตุงดอยแม่สลองดอยหินแตกและ

ดอยวาวี ในระดับความสูงประมาณ๔,๕๐๐ฟุตหรือประมาณ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีสภาพภูมิ

อากาศหนาวเย็น

ลาหู่เฌเลและลาหู่ซี(ลาหู่เหลือง)ลาหู่นะ(ลาหู่ดำ)เคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือเมื่อประมาณไม่เกิน๙๐

ปีที่แล้วในเชียงรายมีเพียงไม่กี่หมู่บ้านส่วนใหญ่เลิกนับถือผีหันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

ชาวลาหู่สืบทอดองค์ความรู้ดั้งเดิมของบรรพชนไว้ได้อย่างดีมีการนำเปลือกต้นยางน่องซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

มาทุบให้น้ำยางซึ่งมีพิษร้ายแรงออกจนหมดแล้วนำมาทำเป็นเสื้อคลุมหรือทำเสื่อปูรองนั่ง

ชาวลาหู่ในไทยนับถือคำสอนของผู้นำศาสนาคืออาขาฟูคูพร้อมทั้งเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้สร้างสิ่งดีงามในโลก ส่วนผีมีทั้งผีดีและผีร้าย ทุกหมู่บ้านมีหมอผีทำพิธีไสยศาสตร์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือปัจจุบันชาวลาหู่ในเชียงราย รวมทั้งในภาคเหนือมีความเชื่อและการนับถือศาสนาแตกต่างกัน มีทั้งนับถือ “เทพเจ้าหงื่อซา” ผีบรรพบุรุษหรือ“หนี่”บ้างนับถือพุทธและคริสต์ส่วนหนึ่งนับถือผีบรรพบุรุษควบคู่กับพุทธศาสนานิกายเถรวาทชาวลาหู่เลื่อมใสในพระป่าคือ“หลวงปู่มั่น”และสานุศิษย์อันได้แก่หลวงปู่แหวน สุจิณโณหลวงปู่สิม อาจารโร ฯลฯ อีกส่วนหนึ่งศรัทธาครูบาศรีวิชัยที่จาริกไปสร้างโบสถ์วิหารพระธาตุเจดีย์บูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานต่างๆและสร้างโรงเรียนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลทุรกันดารและบนภูเขาสูงทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้เข้าถึงการศึกษาอ่านออกเขียนได้สืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

ภาษาลาหู่ใช้ คำหลายคำเหมือนภาษาพม่าลีซอและอาข่าบางคำหยิบยืมจากภาษาจีนและภาษาไตลาหู่แต่ละกลุ่มพูดสำเนียงต่างกันเล็กน้อยสามารถสื่อสารกันได้ยกเว้นลาหู่เฌเลที่แตกต่างออกไปมากผู้มีอาชีพค้าขายมักพูดภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นยูนนาน(จีนฮ่อ)ได้ดีอีกทั้งในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ภูเขาแถบแม่จันและแม่ฟ้าหลวง รวมทั้งในรัฐฉานมักใช้ภาษาลาหู่เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกันมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตเข้มแข็งแต่ละครอบครัวจะต้องเข้าพิธีแต่งงาน๒ครั้ง ครั้งแรกเป็นการสร้างครอบครัวครั้งที่๒เป็นการทดแทนพระคุณพ่อ –แม่ โดยเชื้อเชิญคนทั้งหมู่บ้านมาร่วมงานคนในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติการแต่งงานความเป็นเพื่อนและการพึ่งพากันในเชิงเศรษฐกิจผู้ชายลาหู่มีอิสระในการเลือกหญิงสาวมาเป็นภรรยาและมักมีภรรยาเพียงคนเดียวมีการสู่ขอแต่งงานโดยการยินยอมของพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายมีผู้อาวุโสเป็นผู้ประกอบพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าหมู๑ตัวเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษขอให้การแต่งงานมีความสุขหากจะหย่าร้างกันคนทั้งหมู่บ้านจะมาเป็นพยานมีการฆ่าหมูและจ่ายค่าธรรมเนียมให้หัวหน้าหมู่บ้าน “คะแซป่า”หรือหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบให้การดำเนินชีวิตของลูกบ้านอยู่ในกรอบขนบจารีตและกฎระเบียบของหมู่บ้าน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 5: Chiangrai identity/ethnic people

การตั้งถิ่นฐานของลาหู่ พิจารณาว่าบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหรือไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวไร่

และพื้นที่ปลูกฝิ่นหรือไม่ ในอดีตชาวลาหู่ปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยอีกทั้งยังมีความ

สามารถเป็นเลิศในการล่าสัตว์ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานเรียกพวกเขาว่าชนเผ่านายพรานหรือ“มูเซอร์”ปัจจุบันเปลี่ยน

จากการปลูกฝิ่นมาปลูกข้าวโพดแทน

การปลูกสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่ยึดแบบแผนสถาปัตยกรรมพื้นที่ใช้สอยในบ้านแยกเป็นสี่ส่วน คือ

เฉลียงหน้าบ้านติดกันเป็นพื้นที่เก็บฟืนและภาชนะใส่น้ำ ในตัวบ้านมีห้องโถงใหญ่เป็นที่ตั้งเตาไฟอีกส่วนเป็นห้อง

หัวหน้าครอบครัวและภรรยามีหิ้งบูชาผีเรือนหากเป็นลาหู่ยีจะมีกระบอกไม้ไผ่ก้อนหินจอกเหล้าและปุยฝ้ายวาง

อยู่ แต่หากเป็นลาหู่เฌเลจะเป็นประตูปิด-เปิดที่มุมด้านในสุดของห้องนอนบริเวณหน้าบ้านของหัวหน้าหมู่บ้านลาหู่

เฌเลจะต้องมีลานเต้น“จะคึ”เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า“หงื่อซา”

การเต้นจะคึของเด็กสาวลาหู่ซี ในงานแลกเปลี่ยน

วัฒนธรรมชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย

ด้านพิธีกรรมชาวลาหู่เฌเลและลาหู่ยียึดถือปฏิบัติตามแบบแผน

ขนบจารีตดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดดำเนินชีวิตตามความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีของ

ชาติพันธุ์ นิยมเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคลาหู่ยีดั้งเดิมนับถือ “หงื่อซา”ไม่ฆ่าสัตว์เลี้ยงผี โดย

เฉพาะวัวหมูและไก่ส่วนลาหู่เฌเลมีธรรมเนียมฆ่าหมูดำและไก่เซ่นไหว้พิธีกรรมของลา

หู่มีหลากหลายเช่นกินข้าวใหม่ระหว่างตุลาคม–พฤศจิกายนถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดมี

อาหารการกินบริบูรณ์มีการฆ่าหมูเพื่อเซ่นไหว้ผีใหญ่

วันดอซียีเทียบได้กับปีใหม่สงกรานต์ วันเข้าซียีเทียบได้กับวันเข้าพรรษา วันออกซียีเทียบได้กับวันออก

พรรษาพิธีฉลองปีใหม่หรือกินวอปีใหม่ (เขาะจ่าเว) จัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน หัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสเป็นผู้

กำหนดวันซึ่งแต่ละหมู่บ้านมักจัดไม่ตรงกัน เพื่อให้ญาติมิตรพี่น้องจากหมู่บ้านอื่นเดินทางมาร่วมนอกจากนี้ยังมีพิธี

เซ่นไหว้ผีป่าผีไร่ผีภูเขาฯลฯ

ชาวลาหู่มีอุปนิสัยสนุกสนานร่าเริงชอบร้องรำทำเพลงลาหู่เฌเลมีเครื่องดนตรีหลักคือกลองฆ้องฉาบ

แคนซึง และขลุ่ย ใช้บรรเลงในการเต้นจะคึ และมีจ้องหน่อง (อ่ะถะ) ใช้ดีดและเป่าในงานรื่นเริงและในการเกี้ยว

พาราสีช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งตรงกับตรุษจีนและเทศกาลกินข้าวใหม่ญาติมิตรจากต่างบ้านทั้งหญิงชายจับมือเต้นรำ

เป็นวงกลมรอบต้นวอ โดยเต้นรำเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน เฉพาะลาหู่เฌเลจะไม่มีการจับมือถูกเนื้อต้องตัว

กันในขณะเต้นรำซึ่งจัดให้มีขึ้นเฉพาะในลานจะคึ โดยผู้หญิงจะเต้นรำในวงด้านในส่วนผู้ชายจะเต้นรำอยู่ในวงด้าน

นอกคนเล่นดนตรีส่วนมากมักเป็นผู้ชาย

การเต้นจะคึของชาวลาหู่ซี ในเทศกาลปีใหม่ (กินวอ)

บ้านจะพือ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

บ้านของชาวลาหู่ซี

จังหวัดเชียงราย

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 6: Chiangrai identity/ethnic people

ด้านการแต่งกาย ลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มแต่งกายแตกต่างกัน

ผู้ชายลาหู่ยีและลาหู่นะใส่เสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีดำชายเสื้อรั้งสูง ไม่ติด

กระดุม เดิมมักมีผ้าโพกศีรษะสีดำหรือน้ำเงินสวมกางเกงจีนขายาวเลยเข่ามี

ผ้าคาดเอวบางคนมีผ้าพันขาผู้ชายลาหู่เฌเลใช้ผ้าพันขาสีดำและสีขาว

ผู้หญิงลาหู่ยีสวมผ้าถุงและเสื้อสีดำมีแผ่นเงินกลมประดับเรียงรายที่ด้านหน้าของ

เสื้อมีแถบผ้าสีแดงขาวและสีอื่นเย็บติดชายเสื้อและขอบผ้าถุงส่วนผู้หญิงเฌเลสวมกางเกงหลวมขายาวถึง

ข้อเท้าสวมเสื้อคลุมยาวถึงปลายเท้ามีห่วงเงินติดที่หน้าอกยาวลงมาถึงขอบเอวด้านผู้หญิงลาหู่ซีมักสวมเสื้อ

และผ้าถุงหากเป็นโอกาสพิเศษจะสวมกางเกงและเสื้อคลุมยาวคล้ายเครื่องแต่งกายผู้หญิงลีซอผู้หญิงลาหู่

ทุกกลุ่มมักพันแข้งด้วยผ้าสีต่างๆส่วนเด็กทั้งชายหญิงมักแต่งกายแบบเดียวกับผู้ใหญ่

ผู้ชายชาวลาหู่นิยมสวมเครื่องประดับคือกำไลมือทำด้วยเงินแท้ คนที่ฐานะดีมักนำเหรียญเงินแท้

มาติดที่เสื้อด้านหน้า เรียงเป็นแถวจากคอลงมาจนถึงเอวผู้ชายเมื่อก่อนนิยมใส่ลานหู (ต่างหู)พร้อมทั้งมี

รอยสักตามร่างกายบริเวณแขนแผ่นหลังหน้าอกและขาอ่อนส่วนผู้หญิงมักประดับเสื้อด้วยกระดุมเงิน

เหรียญเงินรูปีและเหรียญเงินหมันหัวหนามคนมีฐานะดีมักใส่ลานหูเงิน(ต่างหูเงิน)กำไลเงินแหวนสร้อย

คอและเข็มขัดเงินกลุ่มลาหู่นะมีความสามารถในด้านงานหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่เป็นภาชนะต่างๆนำ

ไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้และเครื่องเฟอร์นิเจอร์อีกทั้งยังเป็นช่างเหล็กและช่างเครื่องเงิน

กะเหรี่ยง

ชาวกะเหรี่ยงขาวหรือสกอว์ (ปกาเกอะญอ) บเว และโปว์ (โพล่ง) เป็นชนชาติโลโล เป็นชาติพันธุ์ที่มีจำนวน

ประชากรมากที่สุดในไทย คำว่า “ปกาเกอะญอ” มีความหมาย ว่า “คน” ส่วน “โพล่ง” มีความหมาย ว่า “ประชาชน”

ในอดีตคนไทยในภาคเหนือมักเรียกชาวกะเหรี่ยง ว่า “ยาง” และ “ยางกะเลอ”

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ชาวกะเหรี่ยงมีถิ่นฐานดั้งเดิมบริเวณด้านตะวันตกของธิเบตแล้วย้ายเข้ามาตั้ง

ถิ่นฐานในจีนเมื่อประมาณ๗๓๓ปีก่อนพุทธกาล ในปีพ.ศ.๒๐๗ชาวกะเหรี่ยงถูกกองทัพหลวงของจักรพรรดิจีนรุกราน

จึงเคลื่อนย้ายลงมาตามลำน้ำแยงซีแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวินในเขตพม่าโดยส่วนใหญ่เคลื่อนลงไปตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบ

ลุ่มอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำอิระวดีหลังจากมอญทำสงครามครั้งใหญ่กับพม่าและตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ส่งผลให้ทั้งมอญและ

กะเหรี่ยงจำนวนมากพากันอพยพเข้ามาในไทย

การอพยพเข้ามาในไทยครั้งใหญ่ของกะเหรี่ยงมีขึ้นในปี๒๔๒๘ เมื่อจ่อปาละผ่อผู้นำกะเหรี่ยงไม่ยอมโอนอ่อนอยู่

ใต้อำนาจของอังกฤษอังกฤษส่งกำลังทหารเข้าปราบชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากหนีข้ามแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเมยเข้ามาตั้ง

ถิ่นฐานปะปนกับชาวละว้า โดยเฉพาะบริเวณที่ราบสูงกองลอย แม่เหาะ เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาแดนลาว

โดยเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนของละว้าและได้จ่ายค่าแผ่นดินให้ชาวละว้าต่อมาได้กระจายไปอยู่ที่แม่ตื่นอมก๋อยแม่โถ

แม่สะเรียงแม่แจ่มแม่วางแม่วินสันป่าตองแม่คองเชียงดาวห้วยแก้วแม่ปิงเมืองน้อยอำเภอปายต่อมาชาวกะเหรี่ยง

กลุ่มเดียวกับยางคำนุได้ข้ามเทือกเขาสันปันน้ำมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เชียงราย เช่นที่บ้านห้วยหินลาดตำบลบ้านโป่งอำเภอ

เวียงป่าเป้าเมื่อประมาณ๑๐๐ปีที่แล้วชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีความเชื่อในเรื่องผีและมีศรัทธาในพุทธศาสนาแรงกล้า กลุ่ม

ที่มาจากอมก๋อยและแม่แจ่มตั้งชุมชนในพื้นที่แม่สรวยกลุ่มที่มาจากแม่โถแม่แจ่มบ่อแก้วสะเมิงไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้าน

น้ำลัด อำเภอเมือง ก่อนจะแยกย้ายไปอยู่ที่บ้านรวมมิตร บ้านห้วยขม และบ้านโป่งน้ำตก ส่วนที่อำเภอดอยหลวง

มีกะเหรี่ยงโพล่ง(โปว์)ซึ่งบรรพบุรุษมีศรัทธาในครูบาศรีวิชัยไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านห้วยสักบ้านดอยฯลฯ

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 7: Chiangrai identity/ethnic people

ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ที่อำเภอเมือง ๑๑ หมู่บ้าน อ.เวียงชัย ๑ หมู่บ้าน

อ.เวียงป่าเป้า๑๒หมู่บ้านอ.แม่สรวย๑๑หมู่บ้านอ.เวียงแก่น๑หมู่บ้านและอ.ดอยหลวง๔หมู่บ้าน รวมจำนวน

ประชากรทั้งสิ้น๗,๖๒๓คน(ตัวเลขการสำรวจเป็นทางการปี๒๕๕๑)

ชาวกะเหรี่ยงมักตั้งถิ่นฐานในหุบเขาที่มีห้วยน้ำลำธารไหลผ่านมีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทาง

ชีวภาพสูงมีป่าเป็นแหล่งอาหารนอกจากพืชผักในผืนป่าแล้วยังมีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเป็นแหล่งโปรตีนในห้วยน้ำลำธาร

อุดมด้วยกุ้งหอยปูปลา รวมทั้งพืชสมุนไพร ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรตามแบบแผนชาติพันธุ์ คือ

เกษตรผสมผสานในไร่หมุนเวียนปลูกพืชหลากหลายชนิดปะปนกับข้าวไร่ ไร่หมุนเวียนมีช่วงระยะเวลาการใช้พื้นที่แตกต่าง

กันโดยทั่วไปแปลงหนึ่งใช้เวลา๒–๓ปีแล้วเวียนไปแปลงอื่นบางหมู่บ้านเช่นหินลาดในอำเภอเวียงป่าเป้าใช้เวลาถึง

๗ปีจึงย้ายไปยังแปลงใหม่

เศรษฐกิจ ของชาวกะเหรี่ยงเน้นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองปลูกข้าวไร่บนภูเขาและทำนาขั้นบันได เพื่อให้มีข้าว

เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีพร้อมทั้งปลูกพืชผักหลากหลายชนิดในไร่ข้าวส่วนรายได้นั้นมาจากการขายสัตว์เลี้ยงเช่น

วัวควายหมูและไก่เป็นต้น

ชาวกะเหรี่ยงบนเทือกเขาถนนธงชัยและบนที่ราบสูงกองลอย เดิมมี

เพียงภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนมิชชันนารีชาวอเมริกันนิกายโปรเตสแตนท์ได้

นำตัวอักษรแบบพม่าหรือล้านนามาประยุกต์ใช้ในปี๒๓๗๕ส่วนตัวอักษรภาษา

กะเหรี่ยงที่ประยุกต์จากอักษรโรมันหรืออักษรในภาษาอังกฤษนั้น มิชชันนารีชาว

ฝรั่งเศสนิกายโรมันคาทอลิกได้ประยุกต์ขึ้นใช้ในปี๒๔๙๗

มิชชันนารีอเมริกันได้เผยแพร่คริสต์ศาสนาบนเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกซึ่ง

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและละว้ามีการเปิดโรงเรียนสอนภาษากะเหรี่ยงและพระ

คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนให้มีการแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากะเหรี่ยงและละว้า บรรดาเด็ก

และเยาวชนละว้าบนเทือกเขาถนนธงชัย ทั้งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย

ล้วนได้เรียนภาษากะเหรี่ยงและภาษาละว้าอีกทั้งได้เรียนพระคัมภีร์ไบเบิลส่วนหนึ่งได้เปลี่ยน

มานับถือคริสต์ศาสนาบางคนเป็นผู้ประกาศศาสนาหรือศิษยาภิบาล

ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากยังคงนับถือผีอย่างเหนียวแน่นควบคู่ไปกับนับถือพุทธศาสนา

โดยมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษช่วยคุ้มครองให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขสงบร่มเย็นผีเจ้าที่ช่วย

คุ้มครองให้ทุกคนในหมู่บ้านทำมาหากินได้ผลผลิตดี มีการความอุดมสมบูรณ์ ผีทำหน้าที่เป็น

เสมือนผู้ควบคุมกลไกการขับเคลื่อนของสังคมไม่ว่าใครจะทำอะไรทั้งในที่สว่างและมืดแม้ว่าจะไม่มีใครเห็น

แต่ว่าผีเห็นและรับรู้ ใครทำผิดจะถูกผีลงโทษซึ่งไม่เพียงลงโทษผู้กระทำผิดเท่านั้นหากแต่ลงโทษทุกคนใน

ชุมชนด้วยการทำให้เกิดเจ็บป่วยหรือเกิดวิบัติต่อทรัพย์สินเช่นข้าวสัตว์เลี้ยงรวมทั้งความปลอดภัยของทุก

คนในหมู่บ้านด้วยเหตุนี้ผู้กระทำผิดจึงต้องขอขมาต่อผีด้วยเหล้าและไก่หากทำผิดร้ายแรงผีอาจเลือกกิน

ควาย๑ตัวหรือหมู ๑ตัวหลังฆ่าควายหรือหมูแล้ว จะนำเอาดีมาพิจารณาหากว่าดีผิดปกติถือว่าใช้

ประกอบพิธีไม่ได้ต้องซื้อควายหรือหมูตัวใหม่มาฆ่าเซ่นไหว้อีกตัว

ผู้นำตามประเพณีของชาวกะเหรี่ยงในแต่ละชุมชนคือ “ฮีโข่” รวมถึงกลุ่มผู้อาวุโส เป็นผู้นำ

ธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่นกำหนดวันประกอบพิธีปีใหม่ของหมู่บ้านทุก

ครัวเรือนจะมาร่วมสักการะบวงสรวงผีเจ้าที่ขอให้ช่วยปกครองคุ้มครองทุกคนในครัวเรือนให้อยู่ดีมีสุขดูแลให้

ทุกคนในหมู่บ้านดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบของขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหากมีผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษด้วย

การปรับไหม

อาหารสมุนไพรอาข่า

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 8: Chiangrai identity/ethnic people

ชาวกะเหรี่ยงมีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญา

อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้บทเพลงพื้นบ้านซึ่งเป็นวรรณกรรม

มุขปาฐะ เช่น ปริศนาคำทาย เพลงร้องเล่นของเด็ก นิทาน

(ปลอเลอเปลอ)และบทลำนำสุภาษิตหรือ“ธา” ซึ่งเป็นคำสอนของ

บรรพบุรุษ โดยอาจร้องในขณะเดินทางในป่าเขา เดินทางไปไร่นา ไปล่าสัตว์

ไปตักน้ำหรือหาฟืน ขณะนั่งจิบชาสนทนารอบเตาไฟในบ้านหรือบนลานดินหน้าบ้าน

รวมทั้งในงานศพ

การที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายมารดาส่งผลให้ผู้หญิงมีบทบาท

สำคัญในทุกครัวเรือนสังคมกะเหรี่ยงถือว่าผู้หญิงเป็นใหญ่ชายหนุ่มที่แต่งงานจะไปอยู่

บ้านฝ่ายภรรยาและมีผัวเดียว–เมียเดียวเมื่อมีลูกชายหรือลูกสาวคนแรกก็จะเปลี่ยน

มาเรียกว่า“พ่อของ(ชื่อลูกคนแรก)”

เด็กสาวที่เป็นโสดจะสวมชุดผ้าฝ้ายสีขาวหากแต่งงานมีครอบครัวจะแต่งแบบ

สองท่อนคือสวมเสื้อแขนสั้นปักลวดลายและสวมซิ่นสีแดงพิธีศพถือเป็นงานสำคัญยิ่ง

ทุกคนต้องไปร่วมในพิธี คนหนุ่มสาวจะเดินแถวเรียงหนึ่งไปรอบๆศพผู้ตายขับขาน

“ธา” กันตลอดทั้งคืน หนุ่มสาวบางคู่ถือโอกาสนี้ทำความรู้จักกัน บ้างพัฒนาความ

สัมพันธ์ไปสู่การแต่งงาน

บ้านของชาวลาหู่ซี จังหวัดเชียงราย

ชาวกะเหรี่ยงมีฝีมือในด้านงานหัตถกรรมปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอ

ผ้า ย้อมสีธรรมชาติ นำเมล็ดพืชมาประดับเป็นลวดลายงดงามประณีตมี

ความชำนาญในการนำไม้ไผ่และหวายมาจักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ

อีกทั้งมีเครื่องดนตรีของชาติพันธุ์ที่โดดเด่นคือ เตหน่าซึ่งเป็นเครื่องดนตรี

ประเภทพิณนักวิชาการด้านดนตรีจัดเป็นพิณโบราณยุคแรกนอกจากนี้ยัง

มีฆ้องกลองฉิ่งฉาบรวมทั้งฆ้องกบ (โกละ)ที่นำมาเล่นเป็นดนตรีของ

ชาติพันธุ์ รวมทั้งศิลปะการขับร้องและฟ้อนรำ เช่นการเล่นม้าจกคอก(รำ

ตง) หรือการเต้นรำกระทบไม้ – (โคยวะ) เหล่านี้ล้วนแสดงถึงการมี

อารยธรรมของชาติพันธุ์

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 9: Chiangrai identity/ethnic people

ม้ง

ชาวม้งจัดอยู่ในกลุ่มจีน – ธิเบต สาขาชนชาติจีน มีประวัติการตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีมายาวนาน

คำว่า“ม้ง” มีความหมายว่า “อิสระชน” ต่อมาได้ทยอยเคลื่อนย้ายจากลุ่มน้ำแยงซี ลงสู่ดินแดนที่มีความ

อุดมสมบูรณ์ทางใต้ในช่วงศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ หลังมีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองกับพระจักรพรรดิ มีการปะทะสู้รบกับ

กองทัพหลวงของจีน และประสบความพ่ายแพ้

ช่วงสงครามลับในลาวหรือที่ชาวลาวเรียกว่า“สงครามลาวฆ่าลาว”ชาวม้งจำนวนมากเป็นทหารรับจ้างในกองทัพซี

ไอเอภายใต้บัญชาการของนายพลวังเปาหลังพ่ายแพ้ต่อกองทัพขบวนการประเทศลาวชาวม้งพากันอพยพเข้ามาในไทย

และอพยพไปยังประเทศที่สามส่วนหนึ่งไปอยู่ฝรั่งเศสสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียกัมพูชาแคนาดา เยอรมันและกีอานา

ฝรั่งเศส

สำหรับชาวม้งที่เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคเหนือตอนบนของไทยจำแนกเป็น๓กลุ่มคือม้งขาว

ม้งน้ำเงินและม้งลายหรือม้งกอบั้งซึ่งมีจำนวนน้อยมาก โดยเคลื่อนย้ายจากกุ้ยโจวและกว่างสี –จ้วงผ่านชายแดนลาว

ส่วนหนึ่งเคลื่อนต่อลงมายังเมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้ว จากนั้นข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอเชียงของแล้ว

กระจายไปที่เวียงแก่นเทิงขุนตาล

ชาวม้งตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขา ในระดับความสูงประมาณ๑,๐๐๐ -๒,๐๐๐

เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นพื้นที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ปลูกข้าวพอยังชีพ

ปลูกข้าวโพดเป็นพืชการ

เศรษฐกิจ การตั้งชุมชนอยู่ในระดับความสูงค่อนข้างมาก เป็นเขตรอยต่อของ

ระบบนิเวศ ระหว่างป่าเบญจพรรณกับป่าสนจึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมีสมุนไพร

หลากหลายชนิดชาวบ้านจึงมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสมุนไพรรวมทั้งตำรับการแพทย์พื้นบ้านของชาติพันธุ์

สืบทอดสู่คนรุ่นหลัง

ชาวม้งแต่ละกลุ่มมีพูดภาษาคล้ายคลึงกันมากทั้งม้งขาวม้งน้ำเงินและม้งลายสามารถสื่อสารกันได้

แต่ว่าไม่มีภาษาเขียนต่อมามิชชันนารีได้นำตัวอักษรโรมันมาประยุกต์ใช้เป็นภาษาเขียน

เก็บเกี่ยวข้าวโพดของเด็กชาวม้งเขียว

บ้านกะแล ต.พญาเม็งราย อ.พญาเม็งราย

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 10: Chiangrai identity/ethnic people

พิธีกรรมของชาวม้งมีหลากหลาย เช่นพิธีแต่งงานฝ่ายชาย

มักไปสู่ขอหญิงสาวหมู่บ้านอื่นที่มิใช่คนในตระกูลเดียวกับตนในตอน

เช้าตรู่ เมื่อสู่ขอได้แล้วจะจัดพิธีแต่งงานที่บ้านหญิงสาวในเช้าวันนั้น

ฝ่ายชายจะจัดเตรียมหมูและไก่สำหรับให้ฝ่ายหญิงเลี้ยงแขกพร้อมทั้ง

มีเหล้าต้มกลั่นเองเช่นเหล้าข้าวโพดรินแจกแขกผู้มาร่วมงานทุกคน

พิธีศพถือเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่อีกโลกหนึ่งเป็นงาน

ใหญ่บรรดาญาติพี่น้องลูกหลานที่อยู่ห่างไกลจะเดินทางมาร่วมพิธีฝัง ทั้งนี้

ต้องรอวันที่ฤกษ์ดีเท่านั้น โดยมีความเชื่อว่าผู้ล่วงลับจะไปเกิดในสถานที่ดีมีความ

สุขลูกหลานจะร่ำรวยมั่งมีศรีสุข

หนึ่งในพิธีสำคัญของม้งคือพิธีปีใหม่หรือ “น่อเปโจ่วย์” เป็นพิธีสำคัญจัดขึ้น

หลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธันวาคม–มกราคมของทุกปีนอกจากเฉลิม

ฉลองความสำเร็จในการเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาหารแล้ว ยังเป็นการเซ่นไหว้ผีฟ้าผีป่าผีบ้าน

และดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ช่วยดูแลรักษาผลผลิตให้เจริญงอกงามและปกปักรักษาผู้คนให้มี

ความสุขปราศจากโรคภัยใดๆ

ชาวม้งมีการประกอบพิธีกรรม เช่นพิธี “ฮูปลี”หรือเรียกขวัญและพิธีเซ่นไหว้บูชา

บรรพบุรุษส่วนกิจกรรมบันเทิงมีการเล่น“จุเป๊าะ

หรือโยนลูกช่วงของหนุ่มสาวการเล่น“เดาต้อลุ๊”หรือ

การเล่นลูกข่าง ยิงหน้าไม้ เป่าแคน ร้องเพลง เต้นรำ เช่น รำกระด้ง รำเก็บใบชา

รำฟ้อนงิ้วเป็นต้น

ศาลพระภูมิในครัวเรือนที่นับถือผีบรรพบุรุษ

พิธีฮูวปรี่ (การเรียกขวัญ) ก่อนถึงปีใหม่ม้ง

ครื่องแต่งกายของชาวม้งทั้ง๓กลุ่มผิดแผกแตกต่างกันผู้ชายนิยมสวมกางเกงจีนเป้ากว้างสีดำคล้าย“เตี่ยวสะดอ”ของคนเมือง รอบเอวผูกผ้าผืนใหญ่สีแดงปักด้วยลวดลายต่างๆปล่อยชายผ้าลงมาปรกด้านหน้าประมาณ๑–๑.๕ฟุตคาดทับด้วยเข็มขัดสวมหมวกจีนสีดำมีพู่สีแดงที่ยอดหมวกสวมเสื้อครึ่งท่อนตัดเย็บรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือ หญิงม้งน้ำเงินนุ่งกระโปรงสั้นสีครามหรือสีฟ้าแก่มีผ้าคาดเอวสีแดงคาดทับด้านหน้ามีผ้าปักลวดลายประณีตสวยงามตามแบบแผนของชาติพันธุ์หญิงม้งขาวนุ่งกางเกงขาก๊วยสีน้ำเงินส่วนหญิงม้งลายหรือม้งกอบั้งไม่มีแบบแผนเฉพาะ เครื่องประดับที่ชาวม้งนิยมคือห่วงคอและกำไลเงินบางคนสวมห่วงคอเงินหลายชิ้นแสดงถึงฐานะอันมั่งคั่ง ชาวม้งมีความเชื่อเรื่องผีอย่างเหนียวแน่นดำเนินชีวิตในกรอบขนบจารีตประเพณีและความเชื่อซึ่งผูกโยงร้อยรัดไว้กับ “ผี”หรือ “ด๊ะ” ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีการเล่นโยนลูกช่วงของหนุ่มสาวการเล่นลูกข่าง และการเป่าแคน โดยผู้เป่าแคนจะเต้นรำวาดลวดลายไปตามจังหวะพร้อมทั้งมีการทำขนมปุ๊กแจกจ่ายกัน ชาวม้งเชื่อว่าโลกนี้มีผีอยู่ทุกหนแห่งไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้าสายลมแม่น้ำลำธารผืนป่าและภูเขาผีของชาวม้งมีหลายระดับผีสูงสุดคือ “ผีฟ้า” เป็นผู้สร้างทุกสิ่งในโลกมีอำนาจให้คุณให้โทษรองลงมาคือ “ผีหมู่บ้าน”หรือ “ดงเช้ง”จะคุ้มครองหมู่บ้านให้ร่มเย็นเป็นสุขถัดมาเป็นผีบรรพบุรุษหรือผีเรือนพร้อมทั้งมีความเชื่อเกี่ยวกับนรก –สวรรค์ ว่าหากใครทำดีตายไปจะได้ไปสู่สวรรค์ หากทำชั่วจะลงนรกใต้พื้นดิน เผชิญความทุกข์ทรมานและความทุกข์ยากนานา ในอดีตชาวม้งดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรกรรมเป็นหลักปลูกข้าวพอยังชีพในรอบปีและปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกพืชเมืองหนาวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขิงข้าวและพืชผักต่างๆอีกทั้งยังนิยมเลี้ยงหมูดำและไก่เพื่อใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ สตรีชาวม้งส่วนใหญ่มีความสามารถสูงด้านงานหัตถกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปักผ้าเป็นรูปต่างๆและการเขียนลวดลายบนผ้าด้วยเทียน เพื่อนำไปย้อมในลักษณะเดียวกับการย้อมผ้าบาติกต่างกันเพียงชาวม้งย้อมด้วยต้นครามหรือต้นห้อมที่ให้สีน้ำเงินเข้ม ชาวม้งมีกฎจารีตและขนบธรรมเนียมที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกฎจารีตนั้นเกี่ยวโยงอยู่กับความเชื่อในเรื่องผีอย่างเหนียวแน่นหากใครกระทำ“ผิดผี”จะถูกลงโทษหรือถูกปรับไหม โดยหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งดูแลรับผิดชอบในการรักษาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีหากเป็นข้อพิพาทจองคนในตระกูลเดียวกันจะมีผู้อาวุโสของตระกูลนั้นมาตัดสินหรือไกล่เกลี่ย แต่หากเป็นกรณีพิพาทของคนต่างตระกูล ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลางที่หัวหน้าหมู่บ้านเป็นคนแต่งตั้งหรือคู่กรณีของทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งในจำนวนเท่าๆกัน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 11: Chiangrai identity/ethnic people

เย้า (อิ้วเมี่ยน)

ชาวเย้าอยู่ในกลุ่มจีน – ธิเบต กลุ่มย่อยชนชาติจีน มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ลุ่มน้ำแยงซี ชาวเย้าแยกเป็นกลุ่มเย้า

เมียนและกลุ่มเย้ามุน ช่วงหนึ่งถูกปกครองโดยพระจักรพรรดิ์ที่โหดเหี้ยม ได้แบ่งแยกชาวเย้าออกจากกัน แล้วขับไล่ให้

ขึ้นไปอยู่บนเทือกเขาหนานหลิง อันหนาวเย็น ต้องเผชิญความทุกข์ยากแสนสาหัส ต่อมาได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เจียงซี

กวางตุ้ง ฮูหนาน กุ้ยโจว ยูนนาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเขตปกครองตนเองกวางสี – จ้วง

นักประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ระบุว่าการเคลื่อนย้ายของเย้าจากบนภูเขาตอนกลางของจีน ไปยังกวางตุ้งกุ้ยโจวและ

กวางสี ก่อนจะย้ายไปยังตอนเหนือของเวียดนามและตอนเหนือของลาว ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานับศตวรรษ เย้ากลุ่ม

อิ้วเมี่ยนเคลื่อนลงมาสู่ภาคเหนือของไทยด้านจังหวัดน่าน บ้างตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาที่เชื่อมต่อน่านกับพะเยา โดยเฉพาะที่

อำเภอปงบางส่วนย้ายไปอยู่แม่สลองอำเภอแม่ฟ้าหลวงบ้างไปตั้งชุมชนที่บ้านเล่าชีก๋วย อำเภอแม่จันบันทึกภายใต้การ

ครอบครองของนายแคะแว่นศรีสมบัติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า ตำบลผาช้างน้อยอำเภอปงจังหวัดพะเยา

ระบุว่าชาวอิ้วเมี่ยนกลุ่มแรกเข้ามาอยู่ในไทยได้ประมาณ๑๓๒ปี (นับถึงปีพ.ศ.๒๕๕๔ได้๑๕๕ปี)บรรพบุรุษชาวเย้า

บันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนโดยใช้ภาษาจีน

หมู่บ้านเย้าในไทยแต่ละแห่งมีหมอผีประจำหมู่บ้าน (เจี้ย เจียว)ซึ่งได้รับการเคารพนับถือจากคนในชุมชนรับผิด

ชอบด้านการประกอบพิธีกรรมต่างๆรวมทั้งตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ

ในรอบปีมีพิธีกรรมหลากหลายพิธีกรรมสำคัญคือ“กว๋าตัง”ซึ่งมีความ

หมายว่า “พิธีแขวนตะเกียง” เป็นการเซ่นไว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับและเสริมสร้างสิริ

มงคลให้ลูกหลานผู้สืบสกุลพิธีนี้นิยมเรียกว่า“พิธีบวชเมี่ยน”

เนื่องจากผู้เข้าพิธีทุกคนจะปฏิบัติตนเหมือนนักพรตหรือนักบวชที่รักษา

ศีลอย่างเคร่งครัด ในลักษณะเดียวกับ “การเข้ากรรม”ของพุทธศาสนิกชนคือ

ประพฤติพรหมจรรย์งดเว้นเบียดเบียนสัตว์งดเว้นดื่มสุราพูดคำหยาบไม่สวมใส่

เครื่องประดับมีค่าและอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่ไกลจากสถานประกอบพิธีกรรม

ชาวเย้าแยกพิธีกรรมออกเป็นพิธีกรรมเฉพาะบุคคล และพิธีกรรมของ

หมู่บ้านหรือพิธีกรรมส่วนรวมแต่ละพิธีกรรมจะมีการเชิญผีและเลี้ยงผีที่แตกต่าง

กันพิธีกรรมเฉพาะบุคคลและพิธีกรรมในครอบครัว เช่นพิธีเรียกขวัญพิธีบนผี

จะเลี้ยงเฉพาะผีบรรพบุรุษยกเว้นงานศพที่จะมีการเชิญภาพผีใหญ่มาร่วมในพิธี

พิธีฮูวปรี่ (การเรียกขวัญ) ก่อนถึงปีใหม่ม้ง

ศาลพระภูมิในครัวเรือนที่นับถือผีบรรพบุรุษ

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 12: Chiangrai identity/ethnic people

ชาวเย้าเป็นคนขยันขันแข็งทั้งหญิงชาวมักช่วยกันทำงานในไร่นา

ฝ่ายชายใช้ไม้ไผ่ขุดหลุมฝ่ายหญิงเป็นคนหยอดเมล็ดข้าวแต่หากเป็นงาน

หนักต้องใช้แรงมากเช่นตัดต้นไม้ใหญ่ เผาไร่ขุดหลุมมักจะมอบหมาย

ให้เป็นภาระของฝ่ายชายฝ่ายหญิงจะถางหญ้ากำจัดวัชพืชและเก็บเกี่ยว

ผลผลิต

ผู้หญิงมีฝีมือด้านการปักผ้าที่เรียนรู้จากยายและแม่มีการสืบทอด

ลายผ้าต่อๆกันมาจากแม่สู่ลูกสาวและหลานสาวด้วยเหตุนี้การแต่งกาย

ของหญิงชายนอกจากแสดงถึงฝีมืออันเป็นเลิศในศิลปะการปักผ้าเป็น

ลวดลายงดงามประณีตแล้วยังบ่งบอกถึงการเป็นสาขาย่อยใดหรือกลุ่มย่อย

ใดและสามารถบ่งบอกได้ว่าอยู่หมู่บ้านใดแม้ปัจจุบันชาวอิ้วเมี่ยนจะเปลี่ยน

ไปแต่งกายตามสมัยนิยมแต่ทุกคนมักมีเครื่องแต่งกายตามจารีตประเพณี

ไว้ชุดหนึ่งเพื่อสวมใส่ในการประกอบพิธีกรรมหรือในงานสำคัญต่าง

การแต่งของชาย-หญิงอิ้วเมี่ยน

การปักลายผ้า

ลีซอ

ชาวลีซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลจีน – ธิเบต (Sino - Tibetan) เรียกตนเองว่า “ลีซฟู” (Li - sfu) เชื่อว่า

เดิมบรรพบุรุษของตนตั้งถิ่นฐานอยู่ภาคตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต แล้วย้ายลงมายังตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลุ่มน้ำสาละวินตอนบน

ชาวลีซอไม่มีไม่มีตัวอักษรใช้มีเพียงภาษาพูดในตระกูลภาษาจีน–ธิเบตกลุ่มโลโลเช่นเดียวกับลาหู่และอาข่าจึง

ไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนเย้า

เอกสารประวัติศาสตร์ยูนนาน บันทึกไว้ว่า ลีซอตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณรอยต่อยูนนาน เสฉวน และไกวเจา

(กุ้ยโจว)มาตั้งแต่ประมาณ๒๒๐ปีก่อนคริสตกาล

การอพยพเคลื่อนย้ายของลีซอมีขึ้นหลังมีปัญหาขัดแย้งกับฝ่ายปกครองของจีน ได้พากันจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้ แต่ว่า

สู้กองทัพหลวงจีนไม่ได้จึงอพยพลงมาอยู่ตอนเหนือของพม่าในช่วงต้นศตวรรษที่๒๐ต่อมาประสบปัญหาด้านการเมืองและ

ขาดแคลนที่ดินทำกินจึงเคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่และเชียงรายในช่วงปี๒๔๒๒–๒๔๖๔หรือเมื่อประมาณ

๑๐๐ปีที่แล้ว

ปัจจุบันชาวลีซอตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ที่เชียงดาวพร้าว เวียงแหง และแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง

แม่สรวยและอำเภอเมืองเชียงรายอำเภอปายและปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนนอกจากนี้ยังกระจายไปอยู่ที่จังหวัดตาก

เพชรบูรณ์กำแพงเพชรลำปางสุโขทัยพะเยาและแพร่

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 13: Chiangrai identity/ethnic people

โดยทั่วไปชาวลีซอมักตั้งบ้านเรือนบนภูเขาในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า๘๐๐ เมตรมีแม่น้ำลำธาร

ไหลผ่านหรือมีบ่อน้ำซับที่มีน้ำตลอดปี เดิมมักปลูกบ้านคร่อมลงบนดินโดยบ้านตั้งอยู่บนเนินผนังทั้งสี่ด้านทำ

ด้วยดินมีความหนามากป้องกันความหนาวเย็นได้ดีหลังคามุงด้วยหญ้าคาช่วงฤดูร้อนจึงไม่ร้อนบริเวณพื้นที่

สูงสุดของหมู่บ้านเป็นที่ตั้งศาลผีประจำหมู่บ้านหรือศาลผีปู่ตาผู้เฒ่า ที่เชื่อว่าปกปักรักษาให้ทุกคนอยู่เย็น

เป็นสุขมีพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ผีบรรพบุรุษทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมกลไกการขับเคลื่อนของสังคมผู้ทำผิดหรือ

ฝ่าฝืนขนบจารีตมักถูกผีบรรพบุรุษลงโทษให้เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวลีซอมักประกอบพิธีเซ่นไหว้ขอโทษผีเป็นประจำ

พร้อมทั้งปรับปรุงความประพฤติเสียใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมผู้เปลี่ยนมานับถือคริสต์มีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็น

ผู้สร้างสรรพสิ่งและเลิกล้มความเชื่อในเรื่องผีโดยสิ้นเชิง

ชาวลีซอสืบเชื้อสายทางบิดา ให้ความสำคัญกับผู้เฒ่าผู้แก่ในสายตระกูลและผูกพันช่วยเหลือกัน

ในหมู่ญาติพี่น้องเหนียวแน่นมากฝ่ายหญิงใช้นามสกุลสามีและไปอยู่บ้านสามี ยกเว้นเป็นลูกสาวคนเดียว

ต้องดูแลพ่อแม่กรณีนี้สามีต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงและในพิธีแต่งงานไม่ต้องเสียค่าสินสอด

ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคนหากได้รับการยินยอมจากภรรยาขณะเดียวกันหญิง

ลีซอก็มีอิสรภาพในการดำเนินชีวิต เช่นการเลือกคู่ครองและการหย่าร้างผู้หญิงทั้งโสดและแต่งงานแล้ว

นิยมสวมชุดสีสันสดใสมีเครื่องเงินประดับประดาเช่นห่วงคอเงินและกำไลเงิน

การแต่งกายของชาย การแต่งกายของหญิง

ประเพณีและพิธีกรรมในรอบปีนอกจากการเฉลิมฉลองปีใหม่พิธีการเกิดแต่งงานและการตาย

แล้วยังมีพิธีกรรมเกี่ยวพันกับการเกษตร เช่นการไหว้ผีหลวง ไหว้ผีไร่และผีนาการฉลองพืชผลใหม่ กิน

ข้าวโพดใหม่กินข้าวใหม่การอาศัยอยู่บนภูเขาแวดล้อมด้วยผืนป่าลีซอจึงสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา

ด้านพืชสมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรรวมทั้งวิธีการรักษาโรคเช่นการกดจุดการนวดการฝังเข็มการ

ประคบร้อนซึ่งรับมาจากกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียงคือจีนฮ่อ

ชาวลีซอชอบร้องเพลงและเต้นรำ บทเพลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่

การเกษตรกรรมความเชื่อ เพลงเกี้ยวสาวที่ชาย–หญิงร้องโต้ตอบกันเป็นที่นิยมมากมีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจและมี

ท่วงทำนองไพเราะผู้ชายจะเป่าแคนน้ำเต้าและดีดซึง โดยนักดนตรีจะเล่นและเต้นอยู่กลางวงผู้ชายจะจับมือเต้นรำสนุกสนานอยู่วง

ด้านในส่วนหญิงจะจับมือกันเต้นรำอยู่วงด้านนอก

วิถีชีวิตของลีซอทำเกษตรผสมผสานปลูกข้าวและข้าวโพดเป็นหลัก รวมทั้งข้าวโพดสำหรับเลี้ยงหมูและ

ไก่ ในไร่ยังมีพืชอื่นๆ เช่นฟักฟักทองแตงถั่วชนิดต่างๆ เผือกมันผักกาดผักคะน้าฯลฯ ในอดีตชาวลีซอ

ปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกถั่วเหลืองข้าวโพดงากาแฟและกะหล่ำปลี

ชาวลีซอมีความเชื่อเกี่ยวกับ“ขวัญ”โดยเชื่อว่า“ขวัญ”เกี่ยวพันกับสุขภาพของแต่ละคนบทเพลงที่ใช้

เรียกขวัญ (เพลงโชฮาคูอื่มกัวะ)มีเนื้อหาตอนหนึ่ง ว่า “......การที่ท่านไม่มีเรี่ยวแรงเพราะขวัญของท่านหาย

ข้าพเจ้าได้ตามหาขวัญของท่านและพบอยู่ในโลกของวิญญาณจึงเอาเงินทองและสัตว์ถวายให้ดังนั้นขวัญจะกลับมา

สุขภาพของท่านจะกลับมาแข็งแรงดังเดิม.........”

การอบรมเลี้ยงดูเด็กของลีซอมุ่งเน้นว่ากล่าวตักเตือนด้วยเหตุผลไม่ใช้การลงโทษเฆี่ยนตีเมื่อมีปัญหาเด็กสามารถใช้เหตุผล

โต้แย้งกับผู้ใหญ่ได้โดยผู้ใหญ่ยินดีรับฟังเด็กวิธีการอบรมในแบบแผนดังกล่าวส่งผลให้ชาวลีซอมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 14: Chiangrai identity/ethnic people

เจสส์จี.พูเรต์.ชนชาติเย้า เย้าเมี่ยนและเย้ามุนในจีน เวียดนาม ลาว และไทย.กรุงเทพมหานคร:รีเวอร์บุ๊คส์,๒๕๔๘

ณัฐธิดาจุมปา.พิธี“กว่าตัง”ในกลุ่มชาพันธุ์เมี่ยน.GMS News.ปีที่๒ฉบับที่๘ตุลาคม–ธันวาคม, ๒๕๕๐.

พิทักษ์รัตนแสงสว่าง.พิธีปีใหม่ม้ง. GMS News.ปีที่๒ฉบับที่๘ตุลาคม–ธันวาคม,๒๕๕๐.

บุญช่วยศรีสวัสดิ์.๓๐ ชาติในเชียงราย.กรุงเทพมหานคร:รับพิมพ์,๒๔๙๙.

ประวิตร โพธิอาสน์.กะเหรี่ยงกับประเพณีวัฒนธรรม :ซึ่งนับวันจะเสื่อมทรามและสาปสูญ.ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา.

ปีที่๑๒ฉบับที่๓,๔กรกฏาคม–ธันวาคม,๒๕๓๑.

พรชัยปรีชาปัญญา.ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับระบบนิเวศเกษตรวนเกษตรบนแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ.เชียงใหม่:

ธนบรรณการพิมพ์,๒๕๔๔.

ลักขณาดาวรัตนพงษ์.สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ.กรุงเทพมหานคร:สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

มหาวิทยาลัยมหิดล,๒๕๓๙.

สุนทรีศีลพิพัฒน์.ชาวเขาในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๒๖.

ฮันส์เพนธ์(ก).“จารึกวัดกานโถมและความเป็นมาของอักษรไทย”. ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติบ้านเมือง โบราณสถาน

และบุคคลสำคัญ. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ,๒๕๒๘.

------------- (ข). “การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ล้านนาจากศิลปกรรม”.ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติบ้านเมือง โบราณสถาน

และบุคคลสำคัญ. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ,๒๕๒๘.

FeiXiaotong. “Revisiting theMountainsof theYaoPeople”.China’s Minority Nationalities [1]. Beijing :

GreatwallBooks,1984.

เอกสารอ้างอิง

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย