cbc/files_up/49010910582.doc · web viewโครงสร างความส มพ นธ...

36
1 ชชชชชชชชชชชชชชชชช ชชชชชชชชชชชชชช & ชชชชชช ชชชชช ชชชชชชช/ชชช คคค คคคคคคคค คคคคคคคคคคคค ชชชชชชชชชชช คคคคคคคคคค ชชชชชชชชชช 2551 ชชชชชชชชชชชชช คคคคคคคคคคคคค1 ชช/ชชชชชชชชชช คคคคคค/208 คคคค ชชชช 159 ชชช ISBN 978-974-13-7469-4 ชชชชชชชชชชชชชชชชชชช คคคคคคคค คคคคคค คคคคค GM 493 (2) คคคค 49010910582 ชชชชชชชชชชชชชชชชชชชช คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค

Upload: others

Post on 16-Jan-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

20

ชื่อหนังสือเรื่อง องค์การภิวัตน์ & โลกาภิวัตน์

ผู้แต่ง/แปล คือ ประเวศน์ มหารัตน์สกุล

สำนักพิมพ์ พิมพ์ตะวัน

ปีที่พิมพ์ 2551

ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่1

ปก/จำนวนหน้า ปกอ่อน/208 หน้า

ราคา 159 บาท

ISBN 978-974-13-7469-4

ผู้สรุปและวิเคราะห์ นายนพนัย ชัยแสง

นิสิต GM 493 (2) รหัส 49010910582

สาระสำคัญของหนังสือ

หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดต่างๆในการพัฒนาองค์การให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยจะมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ก่อนที่จะวิเคราะห์หาจุดแข็งหรือจุดอ่อนขององค์การ เพื่อนำไปสู่การวางยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ แล้วจึงออกแบบองค์การให้มีความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆจากโลกาภิวัตน์ให้ได้มากที่สุด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเปรียบอะไรอีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบริษัทหรือองค์การที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างเข้าใจและสามารถรับมือได้ทันที

บทที่1

กรจัดการภายใต้โลกาภิวัตน์

ในยุคโลกใหม่นี้ทุกคนต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอดใครไม่แย่งชิงแข่งขันคนนั้นจะอยู่ไม่ได้ใน โลกของการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆอย่างไม่มีหยุด โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านธุรกิจจะต้องมีการแข่งขันกันสูงมากใครไวเข้าสู่ตลาดได้เร็วมีการบริหารจัดการที่ดีก็ถือว่าเป็นผู้ชนะบนเวทีธุรกิจ อาจกล่าวได้ว่าแข่งขันกันจนตายไปข้างหนึ่งก็ว่าได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สงครามทางธุรกิจ ยังรวมไปถึงสินค้าที่แข่งขันกันด้วยว่า บริษัทหรือองค์การไหนจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานก็จะเป็นจุดแข็งด้านการแข่งขัน แต่บางบริษัทไหนหรือองค์การไหนผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานไม่มีคุณภาพก็จะเป็นจุดอ่อน จะไม่มีโอกาสในการแข่งขันกับองค์การอื่นๆ ในการแข่งขันทุกวันนี้มีความจำเป็นมากที่ต่างคนก็ต้องแสวงหาโอกาสให้กับตนเองที่จะทำให้ธุรกิจของตนดำเนินต่อไปได้ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุด

ในการแข่งขันในเรื่องของกระบวนการผลิตที่ใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากก็จะเป็นการเสียเปรียบถือได้ว่าจะเป็นการเสียเปรียบในระยะยาว เพระการใช้แรงงานคนจะต้องขึ้นค่าแรงและค่าครองชีพของทุกปี แต่อย่างไรก็ตามบริษัทหรือองค์การไหนใช้แรงงานคนในการผลิตแต่ละเลยไม่ไห้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน ลูกค้าก็จะปฏิเสธสินค้านั้นทันที เพราะมีหลายบริษัทต้องเลิกกิจการไปเนื่องจากไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิทธิมนุษยชน และด้านมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญและเป็นเงื่อนไขในการชื้อสินค้า เพราะประเทศในยุโรปและอเมริกา จะไห้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ถ้าผู้ผลิตรายใดเห็นถึงความสำคัญและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สินค้านั้นก็จะได้การยอมรับเป็นอย่างดี แต่ถ้าผู้ผลิตสินค้ารายใดไม่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมก็จะถูกปฏิเสธสินค้านั้นๆไป

การศึกษาในเรื่องของมาตรการความสามารถขององค์การต่างๆจะต้องมีการวิเคราะห์หาข้อมูลต่างๆ สภาพแวดล้อมภายนอก ภายใน ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างการบริหารงานของประเทศและนโยบายต่างๆของรัฐบาล เหมือนกับความสามารถของประเทศ ที่เปรียบเหมือนเกาะกำบังภัย เพื่อให้บริษัทน้อยใหญ่ในประเทศไม่ถูกประเทศอื่นเอาเปรียบ ซึ่งตรงกันข้ามถ้าหากหลายประเทศไม่มีความสามารถ บริษัทน้อยใหญ่ย่อมได้รับผลกระทบตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรุนแรงทันที ถ้าประเทศใดมีความสามารถในการจัดการที่ดีก็จะรับมือทันต่อกระโลกาภิวัตน์ ซึ่งในบทนี้จะเน้นให้รู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์เพื่อให้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อิทธิพลโลกภิวัตน์

โลกาภิวัตน์เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องเข้าใจว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดผลกระทบไปทั่วโลกอย่างแน่นนอนไม่ว่าจะเป็นด้านของบริษัทหรือองค์การการค้าเศรษฐกิจ นโยบายโครงสร้างหรือข้อมูลย่อมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามความเป็นโลกาภิวัตน์ก็ยังก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อน เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมระดับโลก การตลาด เศรษฐกิจ ทำให้มีคู่แข่งในด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ภาครัฐกับเอกชนมีการเผชิญหน้ามากขึ้นเกิดการแย่งชิงทรัพยากรของโลก มีการค้าขายแบบเสรีมากขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น ความต้องการของสินค้าก็มากขึ้นตามไปด้วย

เมื่อเกิดโลกาภิวัตน์ขึ้นทั่วโลกแต่ละประเทศต้องแข่งขันกัน มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน รัฐบาล บริษัท องค์การ และ ห้างหุ้นส่วนหรือผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญและรู้ผลที่เกิดขึ้นกับบริษัทหรือองค์การ เมื่อเกิดโลกาภิวัตน์ขึ้นทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดนั่นเอง

โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ

แต่ก่อนไทยไม่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี และความรู้ด้านวิชาการเป็นของตัวเอง สินค้าส่วนมากเป็นเกษตรกรรม ซึ่งการลงทุนไม่มีความแน่นอนส่วนมากเป็นการใช้แรงงานคนทำให้ไม่มีทักษะในการเพิ่มผลผลิต ต้องอาศัยธรรมชาติในการพัฒนา บางทีฝนแล้งบ้าง น้ำท่วมบ้าง ซึ่งมีความไม่แน่นอนทำให้เศรษฐกิจของไทยเกิดวิกฤตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2527 และ ปี 2540

โลกาภิวัตน์ทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปจริงๆ มีอะไรใหม่เกิดขึ้นแถบตามไม่ทัน มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยการสื่อสารที่รวดเร็ว ทำให้ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศมีการขยายกว้างขึ้น ประกอบกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ดังนั้นใครที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร หรืออุปกรณ์ที่ทันสมัยก็จะมีกำไรมหาศาล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

เศรษฐกิจโลก

ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจทุกประเทศมีระบบเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของประเทศ ปัจจุบันเศรษฐกิจมีการขยายขอบเขตมากขึ้น เปิดกว้างทางการค้าและทางการเมืองมากขึ้น ความต้องการของมนุษย์ก็มากขึ้น ย่อมส่งผลให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และความไร้พรมแดนของการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้ไทยมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดโลกาภิวัตน์ ก็เป็นเรื่องของกระบวนการผลิตและการบริการแทบทั้งสิ้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และเทคโนโลยีทั้งนั้น

โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการบริหารประเทศ ตามการเปลี่ยนแปลงไปของโลก ถ้าประเทศใดที่อ่อนแอ ยึดติดกับแนวคิดเดิมๆก็จะไม่สามารถสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ แต่ถ้าประเทศใดเข้าใจถึงความเลวร้ายของกระแสโลกาภิวัตน์ มีความคิดแบบใหม่ๆ ก็จะสามารถสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์ได้

เศรษฐกิจไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์

โลกภิวัตน์ คือ กระบวนการเกิดจากที่ใดจะส่งผลกระทบถึงอีกที่หนึ่งเป็นลูกโซ่ ซึ่งไทยจะปฏิเสธอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ไม่ได้ ต้องมีการแย่งชิงแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ใครดีใครอยู่ ซึ่งประเทศไทยไม่มีสิทธิ์เลืลอกออกจากเกมนี้ มีทางเดียวคือ ต้องแข่งขัน ต้องหาสินค้าที่เป็นจุดแข็งถึงจะมีโอกาสชนะ.ในการแข่งขันในเวทีระดับโลก

ดังนั้นในการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนทั้งภายในประเทศ และในโลก เพื่อแสวงหาโอกาสให้ประเทศไทยนั้นอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้

ความสำพันธ์ระหว่างองค์การรัฐและเอกชน

โดยปกติแล้วทุกประเทศองค์การเอกชนจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การรัฐบาล ซึ่งสองหน่วยงานนี้มีความร่วมมือในการกำหนดนโยบายและการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการเมือง การค้าขาย การดำเนินธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการบริหารประเทศอย่างเฉียบคม ก้าวหน้า สู้กับตลาดเวทีโลกได้ในอนาคต

บทที่2

องค์การท่ามกลางพลวัตของเศรษฐกิจโลก

องค์การระดับประเทศ

เป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ มีการแข่งขันสูงมากเป็นการแข่งขันด้านความมั่งคั่งในด้านของการค้า การแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการทั่วทั้งโลก การบริหารประเทศใดประเทศหนึ่งก็เช่นเดียวกันถือว่าเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่องค์การหนึ่งที่มีโครงสร้างการบริหารของแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป ประเทศไทยซึ่งมีการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตย ที่ให้อำนาจอยู่กับประชาชนซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศและประชาชน ในการใช้อำนาจประชาธิปไตยจะต้องมีความชัดเจนถ้าอำนาจใดยังไม่เชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชน ยังถือว่าไม่เป็นอำนาจประชาธิปไตย

การปกครองระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยในยุคโลกาภิวัตน์นี้การที่องค์การใดจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ องค์การนั้นจะต้องมีความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากที่สุด มีมาตรฐาน และมีราคาที่สมเหตุสมผล

ค่านิยมที่ทำลายความเข้มแข็งขององค์การ

ในปัจจุบันนี้ค่านิยมและวัฒนธรรมในการบริหารประเทศจะใช้วิธีการหาแพะมารับบาป หากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นในองค์การก็จะโยนความผิดให้คนใดคนหนึ่ง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะเห็นได้ในหลายๆองค์การซึ่งย่อมมีความเสียงต่อการขาดทุนและล้มละลาย แทนที่คนในองค์การจะช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาเดิมหรือปัญหาใหม่ๆไม่ใช่โทษคนใดคนหนึ่ง องค์การต้องมีการเปลี่ยนแนวคิดและค่านิยมใหม่ๆเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์การซึ่งปัญหามีไว้ให้แก้อยู่แล้ว จะต้องระดมความคิด หันหน้าเข้าหากันร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาองค์การ ซึ่งถ้าองค์การช่วยกันแก้ปัญหาก็จะช่วยสร้างเกาะในการป้องกันองค์การให้ความแข็งแกร็งมากยิ่งขึ้น และกล้าที่จะเผชิญปัญหาต่างๆได้

องค์การภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดๆในประเทศ ภาครัฐหรือเอกชนในการบริหารจัดการองค์การนั้นจะต้องรู้ถึงอุปสรรคและโอกาส รู้จักระเบียบทางการเงินและระเบียบทางการค้าของโลก ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ในอดีตการติดต่อค้าขาย การขนส่งสินค้าจะขนส่งทางรถไฟ และรถราง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งทำให้การขนส่งสินค้าและการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสินค้าโดยทางเรือหรือทางเครื่องบิน ซึ่งมีความรวดเร็วสะดวกสบายกว่าในอดีต

ดังนั้นหากองค์การต่างๆภายในประเทศรู้ทันถึงระเบียบทางการเงินการพัฒนาไปของโลกโลกาภิวัตน์ องค์การก็จะไม่มีกรปิดกิจการ หรือล้มละลายของกิจการโดยเด็ดขาด

โครงสร้างความสัมพันธ์ระบบเศรษฐกิจโลก ประทศ องค์กร

ในกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีอิทธิพลจนไม่มีทางหลีกเลี่ยง ปฏิเสธ หรือต่อต้านไม่ได้ ต้องรู้จักการเรียนรู้และทำความเข้าใจ เช่น ประเทศไทย เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่นับว่าด้อยกว่าประเทศใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็น ประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา หากประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและประเทศเล็กๆๆอย่างประเทศไทยเราจะเหลืออะไรจะได้รับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์มากขนาดไหน

ดังนั้นองค์การภายในประเทศจะต้องรู้จักการเรียนรู้การใช้เศรษฐกิจอย่างพอเพียง ใช้ทรัพยากรอย่างเห็นคุณค่า นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อพร้อมที่จะรับมือกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่จะเกิดขึ้นด้วย เพราะเศรษฐกิจโลก ประเทศ องค์กรมีความสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบถึงอีกอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน

การสร้างความมั่งคั่ง

ผู้นำของประเทศมีความสำคัญมากในการที่จะบริหารประเทศและสร้างความมั่งคั่ง การบริหารให้เกิดความมั่งคั่งแก่ประเทศนั้นเราจะต้องรู้และเข้าใจถึงหลักการการบริหารสร้างความมั่งคั่ง ประเทศถึงจะพัฒนาและเติบโตไปได้ ต้องรู้ว่าควรพัฒนาสิ่งไหนก่อนหลังถึงจะแก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่น รัฐบาลแก้ปัญหาความยากจน การรักษาพยาบาลฟรี และต่อจากนั้นก็วางแผนนโยบายเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับประเทศ

บทที่ 3

กลยุทธ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ นาม อดัม สมิธ ได้คิดหลักการและการบริหารพัฒนาองค์การ จนปัจจุบันมีการแตกกิ่งก้านสาขามีแนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ภายในประเทศไทยองค์การต่างๆก็มีแนวคิดที่แตกต่างกันบางคนบอกเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญ บางคนบอกบุคลากรสำคัญที่สุด ต่างคนต่างแนวคิดทำให้ระบบการบริหารจัดการองค์การขาดความสมดุลเมื่อปะทะกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจัยทำให้ประสบปัญหาในการดำเนินงานทำให้องค์การซบเซา และประเทศอ่อนแอลง

การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด

ประเทศไทยไม่สามารถไม่อาจหลีกเลี่ยงกระแสโลกาภิวัตน์โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิธีการที่พยุงตัวเศรษฐกิจไทยได้มาก เนื่องจากประชาชนรู้จักการประมานตน แต่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดเท่านั้นแต่ในด้านการปฏิบัติยังมีปัญหา เพราะความรุนแรงในโลกาภิวัตน์มีพลังมหาศาลฉะนั้นมนุษย์ต้องรู้จักการปรับพื้นฐานของตนเองให้เข้มแข็ง มีคุณธรรมความรอบคอบ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบองค์การ

คำถามพื้นฐานในการบริหารเชิงกลยุทธ์

ในการประกอบธุรกิจหรือกิจการต่างๆ นักธุรกิจต้องมีการวงกลยุทธ์ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้า ต้องรู้จักคำว่ารู้เขารู้เราสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศว่ามีทิศทางอย่างไรบ้าง รู้จักตั้งคำถามให้กับวงการธุรกิจ เพื่อเป็นการวางกรอบความมั่นคง รู้จักการวิเคราะห์และโอกาสได้ รู้เทคนิคการบริหารดังกล่าวมาล้วนแต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการริหารเชิงกลยุทธ์

ปรากฏการของการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากการคิดเชิงเหตุผลไม่ใช่คิดจากความเชื่อ เมื่อคิดได้จึงต้องขจัดเงื่อนไขที่เป็นปัญหา ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างโอกาสไปด้วย วิธีการมีหลายวิธี เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนากิจกรรมใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือการปรับองค์การให้เหมาะสมกับองค์การธุรกิจ มีการสบเปลี่ยนแรงงานและหน้าที่ และต้องดูความเหมาะสมด้วย ดูว่าในช่วงใดจะสามารถให้ประโยชน์สูงสุด

การจัดการการเปลี่ยนแปลง

ในการจัดการการเปลี่ยนแปลงขององค์การย่อมจะตกอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดการได้ หากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบองค์การในด้านต่างๆผู้บริหารจะต้องเข้าใจ เข้าถึงความเคลื่อนไหวขององค์การธุรกิจที่เป็นอยู่ คิดถึงความเป็นไปได้ เตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นโดยเฉพาะพนักงานในองค์การ เพราะตัวพนักงานเองจะมีความใกล้ชิด และเข้าถึงมากกว่าตัวผู้บริหาร

ความรู้ที่ไม่มีคุณค่าต่อการจัดการในองค์การ

หากผู้บริหารมีความรู้มากในเรื่องของการบริหารจัดการ วันหนึ่งคิดหากำไรผลประโยชน์จะมีความหมายอะไรหากไม่รู้จักวางเป้าหมาย ว่าจุดหมายสูงสุดของการทำงานคืออะไร ผู้บริหารต้องรู้จักจินตนาการต่อเหตุการณ์ในอนาคตเปิดโอกาสให้พนักงานช่วยบริหารองค์การ นำแนวคิดของหลายๆฝ่ายมาช่วยแก้ปัญหา วิธีการนี้จะมีโอกาสเอาชนะคู่แข่งได้ จุดประกายให้ผู้บริหารคิดเผื่อไปข้าหนา คิดเหนือกว่าสิ่งที่เป็นอดีต มีวิธีการอย่างไรที่จะจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ ทำอย่างไรให้พนักงานมีความเชื่อมั่น

อนาคตไม่มีความสำคัญกับอดีต

ในปี พ ศ 2540 ไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ค่าเงินบาทลดลง เนื่องจากที่ไทยกำหนดนโยบายทางการเงินผิดพลาด โดยเปิดกว้างให้มีการไหลเข้าของกระแสเงินอย่างแสรี โดยไม่มีการวางโครงสร้างพื้น ฐานทางการเงินให้เข้มแข็ง เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์กระหน่ำโจมตีไทยยิ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เหตุการณ์ในอดีตนักบริหารประเทศได้หาแนวทางในการจัดการกับภาวะโลกาภิวัตน์ที่จเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อวางพื้นฐานทางการเงินที่ดีให้กับไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

ความรู้ที่มีคุณค่าต่อการจัดการองค์การ

การบริหารจัดการองค์การ ต้องมีการพัฒนาให้ทันต่อสภาพแวดล้อม ผู้บริหารต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อวางพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ และควบคู่ไปกับจินตนาการ อิงกับปรัชญาแนวคิด หลักการจึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

ลักษณะการจัดการจะเปลี่ยนไป

ความรู้ในสิ่งที่อยู่ในปัจจุบันแตกต่างจากความรู้เดิม การผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น เช่น ความรู้ในการออกแบบ การเชิญชวนลูกค้า การบริการที่ดี และตัวผู้บริหารเองจะต้องเรียนรู้ที่ตัวพนักงานภายในองค์การด้วย แต่หากมีการเรียนรู้แบบเดิมๆ คือการเรียนรู้แบจำเป็นวิธีการโดยปราศจากความคิด ถือเป็นความสูญเปล่าจึงเป็นความเสี่ยงอันยิ่งใหญ่ที่องค์การอาจล้มละลายได และการวางแผนต้องมีความชัดเจน

ยุทธศาสตร์เป็นเรื่องของความคิด

ยุทธศาสตร์เป็นความรู้ในสภาวะแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความคิดการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การ ในอดีตจะเรียกว่า ตำรา หรือเรียกว่า ตำราพิชัยสงคราม จะนำมาใช้ในการรบ เพื่อชัยชนะของบ้านเมือง ปัจจุบันนำมาใช้ในทางบริหาร รู้จักการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ รู้จักวางกรอบการบริหารเป็นคุณลักษณะพิเศษของผู้นำ หากมีการกำหนดกลยุทธ์จะเป็นผู้ได้เปรียบมีโอกาสจะเอาชนะคู่แข่งได้

คิดใหญ่ทำเรื่องใหญ่

ความคิดที่มีการพัฒนาหาแนวทางในการพัฒนาองค์อยู่ตลอดเวลาย่อมนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ สามารถประสบความสำเร็จโดยอาศัยผู้ร่วมงาที่ดีมีความสามัคคีภายใยองค์การ ดั่งแนวคิดที่ว่า คิดใหญ่ทำเรื่องใหญ่ อีกประเด็นหนึ่งคือ คิดเล็กทำเรื่องเล็ก คือ ผู้บริหารไม่มีการวางแผนพัฒนาองค์การการกรทำลักษณะนี้จะสร้างความสำเร็จได้ยาก

บทที่ 4

ภาวะผู้นำสร้างคุณค่าองค์การ

เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในยุคของโลกาภิวัตน์ โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อองค์การต่างๆโดยตรง หากผู้บริหารไม่มีการางแผนล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พนักงานในองค์การทุกคนล้วนจะเป็นตัวช่วยของผู้บริหาร และผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจึงจะต้านทานและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

แบบฉบับผู้บริหาร

ผู้นำจะต้องรู้จักวางความสัมพันธ์ให้กับพักงาน สามารถชักชวนพนักงานให้ปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจ ด้วยความรอบครอบ ผู้นำต้องมีทักษะในการพูดจา มีแบบฉบับในการบริหารเป้นของตนเองมิใช่เลียนแบบจากผู้อื่นมีคุณสมบัติเป็นผู้นำอย่างเต็มตัว เป็นผู้ที่ลืมความเจ็บปวด แต่อย่าลืมความกรุณาปราณี มีความรับผิดชอบมีความกล้า แบ่งงานให้ลูกน้องทำอย่างเหมาะสม เป็นคนมีเหตุผล มีคุณธรรมจริยธรรม จะเห็นว่าลักษณะผู้นำส่วนใหญ่จะศึกษาจากพฤติกรรม และทัศนคติ

ผู้นำเหนือผู้นำ : ผู้นำสร้างผู้นำ

องค์การย่อมที่จะมีอายุยาวนานมากกว่าผู้นำอยู่แล้ว หากผู้นำลาออกหรือเสียชีวิต ผู้นำใหม่ก็ต้องดำเนินกิจการขององค์การต่อไป แต่มิใช่เมื่อเปลี่ยนผู้นำปัญหาก็เกิดขึ้น ผู้นำทุกท่านต้องสร้างความมั่นคงต่อไป ทำให้พนักงานมีความเชื่อถือ และได้รับการชมเชยต่อไปเพื่อเป็นการสานต่อความก้าวหน้าต่อไปดั่งคำกล่าวที่ว่า ผู้นำสร้างผู้นำ

การใช้อำนาจของผู้นำ

เราจะได้ยินคำกล่าวที่ว่าการได้มาซึ่งอำนาจ แต่การรักษาอำนาจนั้นยากกว่า หากผู้ที่ได้รับตำแหน่งผู้นำต้องบริหารงาน บริหารลูกน้องด้วยความยุติธรรม ให้ความเข้าใจในการทำงานก็จะได้รับการยอมรับการไว้ใจ ลูกน้องมีความเคารพ แต่หากผู้นำใช้อำนาจเด็ดขาดในการบริหารงาน การบังคับและทำให้ลูกน้องเกิดความกลัว วิธีการนี้จะทำให้ลูกน้องไม่เคารพนับถือ เกิดการต่อต้าน ไม่ทำงานหรือทำด้วยความไม่เต็มใจ อำนาจในการบริหารต้องเป็นอำนาจโดยชอบธรรมจึงจะได้รับการยอมรับ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

องค์การจะประสบผลสำเร็จหรือล้มละลายนั้นขึ้นอยู่ผู้นำ ผู้นำจะต้องรู้จักปรับเปลี่ยนระบบองค์การคือ โครงสร้างขององค์การ บุคลากร ระบบบริหารภายในการเปลี่ยนแปลงที่ยากมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้คน โดยผู้นะต้องมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจมีการปรับโครงสร้างการบริหาร โยกย้าย ลดถอน กำลังคน

ผู้นำควรรู้อะไรบ้าง

ผู้นำผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการเงิน การผลิต การตลาด การขาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีต้องมีความรู้ในองค์ประกอบขององค์การของตนในการพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้ามีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งงานหลักและงานสนับสนุน มีความเข้าใจงานทุกๆหน้าที่ จึงจะทำให้องค์การขับเคลื่อนไปได้ และสิ่งสำคัญผู้บริหารจะต้องมีภาวะเป็นผู้นำการตัดสินใจจะได้ไม่ผิดพลาดในเรื่องการมอบหมายงานโดยเฉพาะการแต่ตั้งบุคคลในการทำงานต้องมีการตัดสินใจที่แน่นอน

ผู้ตามที่ดี

ผู้ตามในระบบองค์การ คือ พนักงาน พนักงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้องค์การพัฒนาก้าวหน้าไปฉะนั้นผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้ความเป็นธรรม แก่พนักงานทุกคนเท่าเทียมกับ และตัวพนักงานเองจะต้องทำงาด้วยความเติมใจ มีความรับผิดชอบ รอบคอบในการทำงาน มีความเคารพในผู้นำ จึงจะสามารถพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้าไปได้

บทที่ 5

เศรษฐกิจโลก : อิทธิพลที่องค์การต้องเผชิญ

ในบทนี้เราจะค้นหาองค์การภายในประเทศ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือเอกชน ถือเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ในการบริหารประเทศไม่ใช่หน้าที่เฉพาะผู้นำเท่านั้น เราทุกๆคนต้องช่วยกันวางกลยุทธ์ ทำอย่างไรก็ได้ให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของเศรษฐกิจโลก องค์การทุกองค์การต้องสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์การของตัวเอง เมื่อองค์การมีความมั่งคั่ง ก็แสดงว่าประเทศก็มีความมั่งคั่งด้วยเช่นกัน องค์การต้องคอยดู คอยระวัง ถึงกระแสโลกาภิวัฒน์อยู่ตลอดเวลา เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆมากขึ้นและสามารถทำได้เร็วด้วย จากการรับเข้ามาจากตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม ก็ทำให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทย ซึ่งองค์การจะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าการเปลี่ยนแปลงใดที่เกิดขึ้นในโลก องค์การจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย

ระบบเศรษฐกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันทั่วโลกคือ แต่ละประเทศจะต้องมีการค้าขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลามีการเปิดตลาดกว้างในการพัฒนาเศรษฐกิจมีการเกื้อหนุนกัน หรือแม้บางครั้งก็มีการทำลายกันด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ การค้าขายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งไทยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วเห็นจากหลักฐานที่ค้นพบ ไทยมีการผลิตสินค้าทั้งในประเทศและส่งออกขายนอกประทศ นำเงินเข้ามาในประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศมากขึ้น และยังจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น

มองภาพใหญ่ย่อมได้เปรียบ

ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็หนีไม่พ้นอิทธิพลของเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน เมื่อผู้ผลิตผลิตเพื่อส่งออกนำรายได้เข้าสู่ประเทศสร้างความมั่นคงให้กับประเทศย่อมส่งผลกับองค์การขนาดเล็กก็จะได้รับความมั่งคั่งไปด้วยกัน ดังนั้นผู้บริหารต้องมองว่าประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มอย่าง มีผลอย่างไรต่อโลก และจะรับมืออย่างไรคาดการเศรษฐกิจในอนาคตได้ ต้องรู้แนวโน้มภาวการณ์ตลาดด้วย ว่ามีแนวโน้มไปในทางที่ดีหรือไม่ดี ถ้าเราเริ่มธุรกิจใหม่จะทำออย่างไร ผลิตสินค้าและบริการใหม่ ต้องมีกรทดลองขายอย่างไร และดูว่าได้รับการตอบรับมากน้อยเพียงใดจากตลาด

การแข่งขันที่ไร้ความปราณี

การแข่งขันที่ยุติธรรมจะต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจนในการสู้กันบนเวทีการค้าโลกที่เรารู้จักกันอยู่เรียกว่า ระเบียบการค้าหรือระเบียบการเงินของโลก ส่วนเกมการแข่งขันทางการค้าและการเงินของไทยที่เป็นผู้ตามไม่ใช่ผู้นำจึงจำเป็นต้องค่อยศึกษาความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจภายในและนอกประเทศอยู่ตลอดเวลา ในการค้าระหว่างประเทศ ถึงการระดับโลกแต่เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทข้ามชาติก็ยังเป็นองค์การที่เล็กอยู่

โครงสร้างเศรษฐกิจของไทย

โครงสร้างการบริการประเทศมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความสำคัญมาก เช่น โครงสร้างภาษีนโยบายการเงิน การใช้จ่ายเงินภาครัฐภาครัฐ นโยบายการส่งเสริมทางการเงิน อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ระบบเศรษฐกิจ กฎหมายแรงงาน ระบบการเมืองรัฐบาล พลังงาน ๚ล๚

บทที่ 6

การออกแบบระบบการวัดการ

ในบทนี้จะกล่าวถึงการเริ่มต้นธุรกิจใหม่โดยเน้นไปที่ผู้ประกอบการว่าควรจะมีระบบการจัดการอย่างไร เริ่มตั้งแต่ต้องการทำธุรกิจอย่างไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจว่าทำอย่างไรให้องค์การประสบผลสำเร็จ

ในการจัดการองค์การธุรกิจจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด ทฤษฎี เป้าหมาย จุดประสงค์ หน้าที่และกระบวนการปฏิบัติงานต้องเข้าใจในทุกคน มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีการติดต่อสื่อสารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้องค์การมีความสามารถในการทำกำไรให้มากที่สุดและมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด และอีกอย่างที่สำคัญคือสินทรัพย์หรือเงินลงทุนเพราะเปรียบเสมือนขุมพลังงานที่จะผลักดันขับเคลื่อนให้องค์การมีกำไรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ข้อมูลที่จำเป็นต่อการออกแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์

การออกแบบโครงสร้างโครงสร้างขององค์กรมีหลายประเภทแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ ในการจัดสรรทรัพยาการในองค์การให้พนักงานรับผิดชอบตามความถนัดและตามตำแหน่ง เช่น

1.ใครรับผิดหน้าที่อะไร

2.ใครมีอำนาจสั่งการใคร

3.ใครรายงานใคร

4.การประสานงานระหว่างหน้าที่จะทำอย่างไร

5.มีประสิทธิภาพของการบริหารการจัดการหรือไม่อย่างไร

การออกแบบองค์การนี้มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจเปรียบเหมือนการจัดกำลังการรบในสงคราม ยิ่งกองทัพใหญ่ยิ่งไม่มีความคล่องตัวจึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องคอยรับมือจากกระแสโลกาภิวัตน์ตลอกเวลา แบบขององค์การก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้ศึกษาข้อมูลให้ดีให้ครบถ้วน

การออกแบบระบบข้อมูลและระบบควบคุม

ข้อมูลข่าวสารถือเป็นสิ่งจำเป็นมากในองค์การต้องมีความชัดเจนของข้อมูลถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้บริหารนำข้อมูลไปประกอบกับการตัดสินใจ ถ้าข้อมูลผิดพลาดการตัดสินใจของผู้บริหารก็จะผิดพลาดไปด้วย และในส่วนของการควบคุมบริษัทก็เหมือนกันต้องควบคุมข้อมูลตั้งแต่ขั้นแรกคือ ขั้นป้อนข้อมูล ขั้นตอนของกระบวนการ และขั้นตอนผลงาน ทุกขั้นตอนต้องมีการควบคุมอย่างเข็มงวดไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังคน เทคโนโลยี ทุน ทรัพยากรทางกายภาพที่ส่งผลต่อองค์การในยุคโลกาภิวัตน์ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวการในการขับเคลื่อนไปขององค์การ

ข้อมูลเพื่อการจัดการ

เป็นการจัดระเบียบเกี่ยวกับข้อบังคับ กฎ กติกาต่างๆหรืออาจเรียกได้ว่า คู่มือพนักงาน หรือคู่มือปฏิบัติงานนั้นเอง ทุกวันนี้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทนำมาประยุกต์ใช้ในกิกรรมต่างๆอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า ขายสินค้า เป็นต้น จะเห็นได้ว่ากระแสโลกาภิวัตน์มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การอย่างมาก

การออกแบบกำลังคน

สิ่งที่สำคัญในองค์การก็คือกำลังคนที่จะนำแผนธุรกิจไปสู่การปฏิบัติเพราะต้องอาศัยความคิดของคนช่วยในการคิดแผนการต่างๆให้กับองค์การ ดังนั้นองค์การจะขาดคนที่เป็นกำลังที่สำคัญไม่ได้ สิ่งที่จะจูงใจให้คนหรือพนักงานทุ่มเทในการทำงานก็คือ เงินเดือน โบนัส และผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากคนที่มีวัฒนธรรมของแต่ละคนในองค์การที่ต่างคนต่างมาจากคนละวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะสร้างให้องค์การเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน เพื่อให้คนในองค์การมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันกับองค์การ

การเมืองในองค์การ

การเมืองเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่ผู้ออกแบบระบบงานที่ต้องทำความเข้าใจและยอมรับว่าองค์การทุกองค์การย่อมมีความขัดแย้งกันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ซึ่งผู้บริหารและพนักงานต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิกฤติทางการเมือง

การจัดการกลยุทธ์ช่วยลดความเสียง

องค์การธุรกิจทุกองค์การที่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาลไทยย่อมต้องมีความเสี่ยงจากรัฐบาลกำหนดให้อำนาจไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นในการวางกลยุทธ์ในการจัดการจะต้องเปิดกว้างยอมรับข้อมูลใหม่ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรไป

บทที่ 7

การออกแบบและรายได้ขององค์การ

การจัดการองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่งคั่งซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด เช่น องค์การดำเนินงานแล้วมีกำไรเมื่อมีกำไรแล้วองค์การย่อมมีความมั่งคั่ง ต้องหารายได้มาล่อเลี้ยงองค์การสามารถสร้างผลผลิตขายได้และมีกำไร

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตมีความสำคัญกับเหตุการณ์ในอดีตเสมอเนื่องจากโลกอนาคตตกอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สภาพแวดล้อมโลกาภิวัตน์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจมาจากมนุษย์ในธรรมชาติการดำเนินงานของผู้บริหารต้องเข้าใจที่มาของรายได้และที่ใช่ไปของรายจ่ายต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต้องไม่กระทบต่อยอดขาย

ค่าใช้จ่ายบุคลากร

ผู้บริหารต้องมีการกำหนดวาแผนในระยะยาวโดยตระหนักถึงค่าจ้างเงินเดือน คือ เงินเดือนค่าจ้างไม่ใช่ปัจจัยในการจูงใจแต่เป็นปัจจัยที่ป้องกันไม่ให้การไม่พอใจ องค์การจึงมีการจ้างงานแบบเป็นปีตามความชำนาญ

พันธกิจที่สำคัญในการจัดการองค์การ คือ การควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เติบโตเกินความจำเป็นบ้างครั้งองค์การประสบปัญหาทำให้องค์การต้องลดค่าใช้จ่าย ด้านบุคคลากรจึงควรพิจารณาเป็นอันดับสุดท้ายควรนึกถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อนเพราะจะทำให้ไม่กระทบต่อกำลังใจของพนักงาน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

การดำเนินงานเป็นการใช่จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการใช้จ่ายบุคคลากรและการลงทุนแต่เป็นการใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายๆปัจจัย

การควบคุมค่าใช้จ่าย

เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องวางแผนประมาณค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง มีความชัดเจนการบริหารต้องเหมาะสมกับคุณภาพของงาน ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมีส่วนค่อนข้างมากในการจ้างพนักงาน ดังนั้นการจ้างพนักงานต้องมั่นใจว่าผู้ที่ถูกจ้างมานั้นจะต้องมีความสามารถจริงๆ หรือมีคุณค่ามากกว่าเงินที่จ้างไป

ความเสี่ยงทางธุรกิจ

การประกอบธุรกิจมีทั้งความแน่นอนและไม่แน่นนอน แต่สิ่งที่แน่นอนคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนไปของโลก ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจนั้นมีหลายอย่าง เช่น ความเสี่ยงด้านการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และที่สำคัญเสี่ยงจากกระแสของโลกาภิวัตน์ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การหรือธุรกิจในอนาคต

บทที่ 8

องค์การในอนาคต

ในบทนี้จะเป็นเรื่องขององค์การในอนาคตพร้อมกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ว่าองค์การไหนควรอยู่รอด

การเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ทุกวันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรสดเร็วซึ่งองค์การจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

1.สร้างทัศนคติของพนักงานใหม่ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเรื่องปกติ

2.การปรับนโยบายให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง

3.การปรับระดับการเปลี่ยนแปลง

4.การสื่อสารอย่างทั่วถึงและถูกต้องชัดเจน

5.การกลัวที่จะตกงานของพนักงาน

6.ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่างานที่จะทำปกติ

องค์การที่จะยิ่งใหญ่

เป็นองค์การที่จะต้องหารายได้ให้มากกว่ารายจ่ายไม่ใช่เฉพาะขนาดขององค์การเท่านั้นที่บ่งบอกว่าเป็นองค์การใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับความสามารถในการหากำไรมากกว่าค่าใช่จ่าย บางครั้งมีองค์การจิ๋วแต่แจ๋ว ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา สร้างวัฒนธรรมในการทำงานมีกฎระเบียบกระตุ้นในการสร้างความแตกต่างในองค์การ รู้จักแก้ไขข้อบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันได้

การออกแบบแนวทางปฏิบัติงาน

เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะทำการตัดสินใจในการบริหารองค์การซึ่งการตัดสินใจก็มีอยู่หลายแบบ เช่น การตัดสินใจเชิงเหตุผล การตัดสินใจแบบต่อรอง การตัดสินแบบมีส่วนร่วม การตัดสินใจที่มีทางเลือกที่ดีที่สุด เป็นต้น

องค์การในวันพรุ่งนี้

ในยุคโลกาภิวัตน์แบบนี้องค์การมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแบบวันต่อวันก็ว่าได้ การจะทำเช่นนี้ได้ก็ต้องอาศัยพนักงานที่ทีคุณภาพสามารถเรียนรู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปรวมทั้งผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์การตามไปด้วย

CEO องค์การยุคใหม่

ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ CEO มีความสำคัญมากในการที่จะรับมือต่อโลกและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต้องมีความรู้และความสามรถยิ่งขึ้นในการบริหารการจัดการ ต้องรู้ว่าเรารับผิดชอบอะไร จะสร้างคุณค่าให้กับองค์การอย่างไร จะทำอย่างไรให้พนักงานสามัคคีกันได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์

สาระสำคัญของแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดทฤษฎีของ Adam smith เป็นผู้คิดค้นแนวคิดการสร้างประสิทธิภาพในการบริหารโดยอาศัยหลักการแบ่งงานกันทำซึ่งในหนังสือเล่มนี้ปรากฏอย่างเห็นได้ชัดในบทที่ 3 กลยุทธ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆมากมายซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆต้องอาศัยความสามารถของผู้บริหารที่จะหาวิธีการจัดการให้เป็นไปอย่างมีระบบมีหน้าที่ชัดเจนเพื่อความอยู่รอดขององค์การ

แนวคิดทฤษฎีของ Mas low ที่ได้ศึกษาความต้องการของมนุษย์เป็นลำดับขั้น ได้แก่

1.ความต้องการทางกาย คือ ควมต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม

2.ความต้องกาความมั่นคงปลอดภัย คือ ความต้องการที่จะมีชีวิตในหน้าที่การงานที่มั่นคง

3.ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอรับของกลุ่มและสังคม

4.ความต้องการการยกย่องจากผู้อื่น

5.ความต้องการประสบความสำเร็จ

จากแนวคิดของ Mas low เป็นลำดับความต้องการของมนุษย์ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องขององค์การ ที่องค์การทุกองค์การต้องให้ความสำคัญเมื่อโลกมีการพัฒนาไปเรื่อยๆความต้องการของมนุษย์ก็ย่อมเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆตามขั้นของ Mas low อย่างไม่สิ้นสุดไม่ว่าจะเป็นองค์การ บริษัท ห้างร้านต่างๆหรือแม้แต่ประเทศก็มีความต้องการความก้าวหน้าสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าสู่ระดับโลก

แนวคิดทฤษฎีของ Maxweber เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับระบบการจัดการ คือบริษัทหรือองค์การต้องมีโครงสร้างตามทฤษฎีของ Maxweber ซึ่งเป็นเรื่องของการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ การมีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจนมีความเป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ การไม่เลือกที่รักมักที่ชังและการแยกการทำงานออกเป็นสายอาชีพ ซึ่งในหนังสือได้กล่าวไว้ในบทที่6 ในหัวข้อ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการออกแบบจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งองค์การหรือบริษัทต้องมีการออกแบบโครงสร้างที่ดีชัดเจน คือใครรับผิดชอบอะไร ใครมีอำนาจสั่งการใคร การประสานงานระหว่างหน้าที่จะทำอย่างไร และมีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการหรือไม่อย่างไรถ้าองค์การมีการแบ่งโครงสร้างอย่างชัดเจนตามทฤษฎีของ Maxweber ก็จะทำให้องค์การสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์ได้

แนวคิดของจอห์น ล็อก เป็นนักปราชญ์ชาวอังกฤษได้เสนอแนวคิดเสรีนิยมที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีโดยธรรมชาติ กล่าวคือ เป็นคนที่มีเหตุผล มีจริยธรรม ซึ่งจะพบในบทที่4 แบบฉบับของผู้นำซึ่งคนเราจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคนแนวคิดนี้ยังได้นำมาจัดการระเบียบการค้าและระเบียบการเงินของโลกอีกด้วยถือเป็นแนวคิดที่สำคํญสำหรับองค์การ

แนวคิดของ ไมเคิล อี พอทเตอร์ นักวิชาการการตลาดในยุคปัจจุบันผู้เสนอแนวคิดการสร้งผลิตภัณฑ์ที่ได้เปรียบคู่แข่งขันจะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ ต้องมีความแตกต่าง รายคาต่ำ และตอบสนองเร็วซึ่งเหมาะสมกับยุคโลกาภิวัตน์นี้มาก ทำอย่างไรก็ได้ให้ได้เปรียบคู่แข่งขันของตนเองอยู่ตลอดเวลาในทุกวันนี้ไม่มีองค์การไหนหนีพ้นการแข่งขันมีแต่จะต้องแสวงหากลยุทธ์มาต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

แนวคิดทฤษฎีบุคลิกลักษณะ คือผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้นำที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น คนที่เสียงใหญ่ห้าว ร่างกายสูงใหญ่กล้าได้กล้าเสียกล้าตัดสินใจ ซึ่งตรงกับบทที่4 เรื่องของภาวะผู้นำ ถ้าผู้นำดีมีความสามารถองค์การนั้นก็จะอยู่รอดพร้อมเปิดกว้างรับข้อมูลข่าวสารจากภายนอก

แนวคิดทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์ ซึ่งเขาเชื่อว่า เราจะเข้าใจและสามารถควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้เงื่อนไขการเสริมแรงเพียงใดและบุคคลจะแสดงพฤติกรรมเช่นใดขึ้นอยู่กับว่า เขาได้รับผลเช่นใดในอดีต ถ้าเรารู้เงื่อนไขของการเสริมของบุคคลเหล่านี้ได้ก็สามารถจูงใจพนักงานไว้ได้ ซึ่งกล่าวใน เรื่องของ การออกระบบการจัดการที่มีการออกแบบกำลังคน คนในองค์กรถือว่ามีความสำคัญขาดไม่ได้ถ้าเขาพอใจมีแรงจูงใจที่ดีในการทำงานเขาก็จะทำงานอย่างทุ่มเทให้กับเรา แต่ถ้าองค์การใดไม่ให้ความสำคัญกับพนักงานงานออกมาก็ไม่มีคุณภาพ

แนวคิดทฤษฎีของ Eideler มีการจำแนกผู้นำออกเป็น 2 แบบคือ

1.ผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์หรือมุ่งคน คือ องค์การจะให้ความสำคัญกับคนโดยที่ผ็บริหารจะสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา

2.ผู้นำแบบมุ่งงาน คือ ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าคนคำนึกถึงผลผลิต กำไรเป็นหลัก

ถ้าองค์การทุกองค์การมีผู้นำที่มีการมองถึงความสำคัญของทั้งสองอย่างนี้ ก็จะทำให้ได้เปรียบองค์การอื่นๆที่คำนึงถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการทำงานของพนักงานผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญทั้งคนและงานเท่าๆกันตามยุ�