appreciative inquiry from movies

16
APPRECIATIVE INQUIRY FROM MOVIES เยน APPRECIATIVE INQUIRY (AI) ศาสตการฒนาองกรเงบวก จากหงง© ดร.ญโญ ตนาน www.aithailand.org

Upload: pinyo-rattanaphan-

Post on 14-Apr-2017

184 views

Category:

Business


4 download

TRANSCRIPT

APPRECIATIVE INQUIRY

FROM MOVIES

“เรียนรู้ APPRECIATIVE INQUIRY (AI) ศาสตร์การพัฒนาองค์กรเชิงบวก

จากหนังดัง”

© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Starwars: ไม่มีหนังอะไรอธิบาย Appreciative Inquiry (AI ) ได้ดีไปกว่าเรื่อง Starwars เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ว่าจะตอนไหนก็จะเป็นการค้นพบพลัง ที่ซ่อนเร้นอยู่ในคนที่ดูจะธรรมดาคนหนึ่ง แต่แล้วก็มีใครช่วยขยายผล สร้างโอกาส จนสามารถพลิกจักรวาลได้ AI คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก คล้ายๆ การค้นพบพลังอัศวินเจได ในหนัง Starwars ...AI เริ่มจากการตั้งโจทย์ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร Affirmative Choice จากนั้นก็มาออกแบบคำถามว่าจะค้นหาอะไร (Discovery) เมื่อค้นพบก็เอามาสร้างฝันร่วมกัน (Dream) แล้วมาออกแบบร่วมกันว่าจะทำฝันให้เป็นจริงอย่างไร (Design) จากนั้นก็หาคนทำ หาวิธีวัดผล กลยุทธ์เปลี่ยนแปลง แล้วก็ทำจริง แล้วก็มีการประเมินเป็นระยะ ทำเป็นวงจรจนกระทั่งฝันเป็นจริง เช่นเดียวกับ Starwars ที่เชื่อว่าภายใต้การครอบงำของด้านมืด จักรวาลยังมีพลังด้านสว่างอยู่ และมักเจอเสมอ AI ก็เช่นกัน เราเชื่อว่าในทุกคน ทุกระบบ มีเรื่องราวดีๆ ช่อนเร้น รอการค้นพบ ไปขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ลองดูตัวอย่าง การค้นพบวิถีแห่งพลังในบริบทของไทยได้ที่ www.aithailand.org ครับ แล้วคุณจะรู้ว่า “พลังอยู่กับท่าน” May the force be with you จริงๆ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

James Bond 007: เจมศ์ บอนด์เป็นเรื่องของสายลับที่ทำหน้าที่ช่วยประเทศชาติอย่างมี Style มาตลอด แต่เก่งปานไหน ก็ต้องเริ่มจากการสืบหาร่องรอยของศัตรู บอนด์เริ่มค้นพบร่องรอยเล็กๆก่อน จากนั้นค่อยขยายผลจนโค่นล้มอาชญากรตัวเอ้ได้ในที่สุด การกระทำของบอนด์ก็คล้ายๆกับการทำ AI ครับ เอาง่ายๆ ถ้าคุณจะเป็น AI Practitioner ได้ดีแล้ว คุณต้องทำแบบเจมส์ บอนด์ครับ ที่ค่อยๆ พาคนสืบหาเรื่องราวลับๆ จะคนเดียวก็ยังได้ แต่เราสืบหาเรื่องดีๆ เรื่องดีๆเล็กๆ จะนำไปสู่เรื่องดีๆ ขนาดใหญ่ได้เอง เช่นธนาคารแห่งหนึ่งต้องการขายประกันให้ชาวต่างชาติ แต่พนักงานจำนวนมากไม่ค่อยถนัดภาษอังกฤษ เลยลองสืบหา ถามกันเลยว่ามีใครขายประกันให้ชาวตางชาติเก่งๆ บ้าง เลยไปเจออยู่คนหนึ่ง ไม่เก่งมากเรื่องภาษา แต่ขายได้ นี่เองครับเราเอามาถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้คนอื่นต่อได้

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Batman Vs Superman: เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของชาวโลกที่แบ่งเป็นสองขั้วคือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการมีซูเปอร์ฮีโร่จากต่างดาว กับกลุ่ม FC นำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งที่ตามมาอย่างมากมาย องค์กรเช่นกัน Appreciative Inquiry เป็นศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร และแม้คุณจะเป็นสุดยอดในฟีลล์ AI ก็ตาม ก็จะมีคนเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับการเข้ามาของที่ปรึกษาด้าน AI เรียกว่าเจอแรงต้านแน่นอน ไม่อยากเศร้าอย่างซุปเปอร์แมนก็ต้องวางแผนลดแรงต้านก่อน ด้วยการถามคำถามเชิงบวกว่าองค์กรนี้เคยเปลี่ยนแปลงได้ผลด้วยวิธีการอะไรมาก่อน ดึงตรงนั้นมาใช้ได้ เพราะขนาดลูกเถ้าแก่ ลูกศิษย์ผมอยากทำอะไรดีๆ ให้ที่ร้านยังไม่ได้เลย บอกว่า “พ่อไม่เชื่อ” เลยถามว่าตอนที่พ่อเชื่อคุณ คุณทำอย่างไร ลูกศิษย์บอกว่า “เคยทำอะไรเล็กๆ ให้สำเร็จก่อนพ่อจะเชื่อ” เท่านั้นเองเลยลองทำซ้ำ ตอนนี้พ่อยกธุรกิจให้ทั้งหมดเลย นี่ครับ เป็นเทคนิกหนึ่งของการทำ AI จะทำในครอบครัว Family Business หรือองค์กรขนาดใหญ่ เราก็ต้องค้นหาวิธีการ ยุทธวิธีสร้างการเปลี่ยนแปลงก่อนเสนอ จึงจะราบรื่นมากขึ้น

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

สามก๊ก: ดูสามก๊กแล้วทำให้นึกถึงเรื่องของ AI คือ การเลือก Change Agent ที่เหมาะสม สามก๊กจริงๆ แล้ว ให้ข้อคิดทุกมิติของการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะการใช้คน จะเห็นว่าสามก๊ก คือการค้นหาคนเก่ง เข้าหา ดึงมาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของตน AI เช่นกัน เรามีขั้นตอนหนึ่งคือการเลือกคนที่เหมาะสมมาช่วยในการสร้างความสำเร็จ จะว่าไปสามก๊ก ก็ดึงคนมามีส่วนร่วม แต่ด้วยบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบที่ต่างกันไป AI เช่นกัน ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วม ในขณะเดียวก็ต้องมี Change Agent ด้วย ขงเบ้งคนเดียว ทำให้เล่าปี่ทำงานง่ายขึ้นมาก เช่นกันในการทำ AI ก็ต้องมองหาคนที่จะช่วยผลักดันความเปลี่ยนแปลงให้ เช่นในรัฐวิสาหกิจหนึ่งมีการสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่อาจต้องกระทบกับสหภาพแรงงาน เราก็เลยถามว่าใครที่จะสื่อสารความคิดของพวกเราให้สหภาพแรงงานได้ดีที่สุด ที่สุดเราก็ได้ Change Agent ที่มาช่วยเราให้สามารถสื่อสารความคิดได้ราบรื่นขึ้น

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

ไซอิ๋ว: เห้งเจียจะเก่งอย่างไร ก็ต้องมีครูดีช่วย ถึงจะไปที่สุดของชีวิตได้ ในการพัฒนาองค์กรแนว AI หรือแนวอื่นๆก็ตาม ส่ิงสำคัญมากๆ คือการมี Peer Review หรือมีเพื่อนช่วยมองงานให้ หรือถ้าอยังใหม่ ควรหา Mentor หรือครูช่วยให้คำปรึกษา ชี้แนะ เพราะการทำงานในเชิงคุณภาพ มีสิทธิที่เราจะใช้ความเห็นส่วนตัวตีความจนเกินจริง ต้องให้ผู้รู้ หรือเพื่อนช่วยมองๆ งานให้ด้วย จะได้งานที่มีคุณค่าสูงได้มากขึ้น เห้งเจียก็เช่นกันดูฉลาด ว่องไว แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะประสบความสำเร็จได้ การที่เห้งเจียมีครู จึงเป็นอะไรที่ทำให้เห้งเจียมีการพัฒนาตนเองไปไกลกว่าเดิม ผมเองก็ได้ครูดี Dr. Rita และ Dr. Perla สมัยเรียน ABAC สองท่านเป็นสุดยอดของมืออาชีพ การได้ครูดี มีโอกาสไกล้ชิดกับท่าน ทำให้เห็นการทำงาน ความเป็นมืออาชีพ การดำรงตนอย่างมีศีลธรรม ทำให้เรารู้ว่ามืออาชีพในศาสตร์นี้ต้องเดินเส้นทางไหน และต้องเดินอย่างไร ส่วนเวลาทำงานก็ต้องหา Peer Review ผมได้คนที่ทำงานด้วยช่วยมองงานให้ ช่วยสังเกตให้ เมื่อวานก็ได้พี่ป๋อง ที่มานั่งเรียนกับผมนั่นเอง ลูกศิษย์ครับ แต่เป็นผู้ใหญ่หน่อย ช่วยมอง ช่วยสังเกตการสอนผม ทำให้ผมได้แนวคิดดีๆ จากโรงเรียนฉือจี้ โดยเฉพาะการตัดเกรดที่อาจเน้นความเมตตา ตัดเกรดก่อนหนึ่งเดือน เราจะเห็นปัญหาของศิษย์ แล้วเราก็เชิญชวนคนเก่งให้ไปช่วยยกระดับคนไม่เก่ง เท่านี้เองจะไม่มีใครถูกทอดทิ้ง เพราะตัดเกรดแบบเดิม คนไม่เก่งก็ไม่เก่งอยู่ตลอดไป นี่ไงครับ ผมจะทำตามพี่ป๋อง ลูกศิษย์ผมแนะนำ เทอมนี้เลย ชัดไหมครับ เราเองขนาดทำมาสิบกว่าปี ก็อย่าคิดว่าเราจะสมบูรณ์แบบ เราเองต้องหาครู หากัลยาณมิตรมาช่วยมองงานเรา เราจะดีมากขึ้น เก่งขึ้น มีความสุขขึ้น

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Allegiant: เป็นเรื่องราวของคนที่ถูกทำให้เชื่อว่าโลกภายนอก อันตราย หนีออกไปไม่ได้ แต่ด้วยความสงสัยจึงพยายามสืบค้น ที่สุดก็ค้นพบความจริง การค้นพบความจริงนำมาสู่การฝัน และการกระทำเพื่อสร้างอนาคตใหม่ นี่ทำให้เห็นอะไรชัดมากครับ องค์กรจำนวนมากติดหล่มปัญหา คนนจำนวนมากชินกับการอยู่กับปัญหา โดยไม่ชินกับการค้นหาเรื่องดีๆ มาแก้ ถ้าเราอดทนค้นหา สังเกต สอบถามหาวิธีแก้เราจะหลุดปัญหาได้ เช่นเกาะแห่งหนึ่งที่ผมไปทำโครงการพัฒนาเกาะก็มีการบ่นมาตลอดว่าเกาะนี้คนไม่รับผิดชอบปล่อยน้ำเสียลงทะเล แต่พอถามว่าว่าแล้วใครไม่ปล่อยน้ำเสียลงทะเล คนงงครับ แต่ก็มีคนตอบว่ามีโรงแรมแห่งหนึ่งไม่ปล่อยน้ำเสียลงทะเลย เลยถามต่อเขาทำอย่างไร เขาร่วมมือกับชาวบ้านทำบ่อบำบัดนำ้เสีย นี่ไงครับได้ต้นแบบเป็นคำตอบ เงียบลงคนเริ่มมองหาวิธีการและอนาคตใหม่ทันที มีบ่นอีก คนที่นี่ไม่ภักดีต่อองค์กร อยู่ไม่นาน เราเลยถามเชิงบวกว่าที่ไหนอยู่นาน ก็ได้มาสองโรงแรมต้นแบบ อย่าบ่นอย่างเดียวครับ นั่นสะท้อนว่าคุณอยู่ในกรงกัน ล้วจะอยู่ไปอีกนาน หาวิธีครับ ตั้งคำถามเชิงบวก หาวิธีการดีๆ ต้นแบบดีๆ ที่เคยทำได้ ในพื้นที่ก็ได้ นอกพื้นที่ก็ได้ คนจะสนุก เห็นโอกาสใหม่ๆ มีโอกาสแก้ปัญหาได้มากกว่า

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Vikings: เรื่องนี้ผมชอบมากครับ ติดตามมานาน เป็นเรื่องราวของกษัตริย์แร็กน่า ที่พาชาวไวกิ้งบุกยุโรป แร็กน่าเป็นคนมีวิสัยทัศน์เห้นคนไวกิ้งฆ่ากันเองเพื่อชิงพื้นที่ทำกินที่มีอยู่จำกัดแถมทุรกันดาน เลยชวนคนเผ่าอื่นมาเป็นพันธมิตรบุกเบิกหาพื้นที่ใหม่ดีกว่าจะได้ไม่ต้องมาฆ่ากันเอง นี่เองเป้นจุดเริ่มของเรื่องราวการเปลี่ยนแปลง แร็กน่าไม่ได้สร้างวิสัยทัศน์กับสร้างการมีส่วนร่วมอย่าวเดียว แร็กน่ายังหาความรู้ด้วย ด้วยการเป็นมิตรกับคนที่เคยเป็นบาทหลวงชาวอังกฤษ ที่มีการศึกษามีความรู้เรื่องของยุโรปเป็นอย่างดี ทำให้เห็นหาทางที่จะไปบุกยึดยุโรปอย่างดี ชัดมากครับ ตรงนี้ในการทำ AI หนังเรื่อง Vikings ให้ข้อคิดเรื่องการสร้างโจทย์จากปัญหาหรือการสร้าง Affirmative Choice ปัญหาเดิมคือแย่งกันเพราะทรัพยกรจำกัด แต่กษัตริย์แร็กน่า ที่สร้างกรอบใหม่ ด้วยการตีกรอบใหม่ (Reframing) พอเปลี่ยนกรอบใหม่คือ “มาร่วมกันหาดินแดนใหม่กันดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาฆ่ากัน” เท่านั้นเองโจทย์ใหม่ นำมาซึ่งการสืบค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ จนนำมาสู่การสั่งสมความรู้ การสร้างพันธมิตร และการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด สำหรับทิศทางใหม่ จนประสบความสำเร็จในที่สุด การสร้างโจทย์แบบการตีกรอบใหม่ Reframing ใหม่นี้สำคัญกับ AI มากๆ เช่น องค์กรแห่งหนึ่งเป็นโรงานแกะกุ้ง มีปัญหาคนงานออกมาก เราก็สร้างโจทย์ใหม่ว่า มาทำโรงงานที่คนอยากอยู่กัน ที่สุดก็นำมาสู่การตั้งคำถามเชิงบวก ค้นหาว่าทำไมคนดีๆ ถึงอยู่นาน และนำมาซึ่งคำตอบที่ดี เอามาแก้ไขปัญหาปัจจับน และเพิ่มผลผลิตได้ การสร้างโจทย์ใหม่ ทำให้บรรยากาศการพัฒนาองค์กรดีแต่ต้น ไม่เกิดการโทษ หรือการแบ่งแยกกัน ทำให้ง่ายต่อการสร้างการมีส่วนร่วม

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

The Martian: เรื่องนี้เป็นเรื่องคนที่ถูกทิ้งไว้บนดาวอังคาร เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ต้องหาทางกลับบ้าน ทั้งที่ความหวังริบหรี่ แต่พระเอกก็ใช้ความรู้ที่มีในฐานะนักพฤกษศาสตร์ ค้นหาวิธีการปลูกพืช และเอาตัวรอด จนกระทั่งสามารถติดต่อกลับมายังโลก และได้รับความช่วยเหลือในที่สุด เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงการทำ AI จริงๆ ว่า ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสามารถเริ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่ เช่นความสามารถ หรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติม หลายครั้งเพียงปรับวิธีการทำงานด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ ทุกอย่างก็เปลี่ยนได้แล้ว เช่นในองค์กรของรัฐแห่งหนึ่งที่ผมไปทำ พนักงานรู้สึกว่าแต่ก่อนคนน้อยเลยรู้จักกัน มีอะไรก็หารือกัน ไอ้ที่ไม่รู้เลยรู้เร็ว พี่สอนน้อง แต่ตอนนี้องค์กรขยายตัว มากขึ้น คนเยอะ ไม่ไกล้ชิดเกิดความเสี่ยง เพราะเด็กใหม่ ไม่รู้อะไรที่ควรรู้ ทำให้เกิดความเสี่ยง เลยค้นหากันว่าเคยมีเหตุการณ์ไหนในชีวิตที่ทำให้คนรู้จักกันแล้วสอนกัน ก็มีคนพูดเรื่องประเพณีสายระหัสในมหาลัย ก็เลยเอาแนวคิดนี้มาใช้ในองค์กรชั้นนำนั้นครับ ไม่ต้องเสียเงินอะไรเพิ่ม เป็นเทคนิกดีๆ ที่เคยทำสมัยเด็กๆ แต่เอามาใช้กับผู้ใหญ่ ตอนนี้ผู้บริหารระดับสูงตื่นเต้นมาก เพราะมีรุ่นน้องสายระหัส ทำให้เกิดความสนิทสนม ถ่ายทอดความรู้กัน ชัดไหมครับ ไม่ต้องลงทุนก็ได้ เอาความรู้ที่มีอยู่นี่เองมาทำ ก็ไปได้ดีแล้วครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Harry Potter: การเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่จำเป็นต้องเริ่มกับคนที่ดูเหมือนมีประสบการณ์สูงตลอดไปครับ คนใหม่ๆ ก็สามารถมามีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนกับ Harry Potter พระเอกตัวจริงๆ เป็นเด็กๆ ทั้งนั้นครับ ลูกศิษย์ผมที่โรงงานแห่งหนึ่งไปถามพนักงานว่า “ภาคภูมิใจอะไรที่สุด” พนักงานบอก “พี่ๆ ผมเพิ่มผ่านโปร เข้างานมาแค่สี่เดือนจะมีอะไรภาคภูมิใจเหรอ” ลูกศิษย์ผมเลยถามว่า “เอาเท่าที่มี นิดหนึ่งก็ได้” เขาเลยเล่าว่าเขาภูมิใจที่ผ่านงานได้เร็ว เลยซักต่อว่าสาเหตุที่ทำให้ผ่านเร็วคืออะไร พนักงานใหม่บอกว่า “มีป้าคนหนึ่งในสายการผลิต สอนงานให้ เลยเป็นเร็ว” เรื่องนี้คือการค้นพบเรื่องหนึ่งที่สำคัญในโรงงานแห่งนั้นเลย ที่สุดมีการขยายผลหาคนเก่ง สร้างโครงการ Mentroship ขึ้นมา ช่วยลดเวลาฝึกคนได้มาก เพราะฉะนั้นการทำ AI ก็เหมือนกับ Harry Potter ที่ใครก็ตามแม้อาวุโสน้อยสุด ก็จะมีเรื่องดีๆ ประสบการณ์ดีๆให้เราไปดึงมาขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลงดีๆได้เสมอ

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Lord of the Rings: ผมนึกถึง Positive Change Consortium เป็นวิธีการทำ AI แบบหนึ่ง คือหลายองค์กรมาร่วมกันคนหาสิ่งดีๆ แล้วเอาไปขยายผลในองค์กรของตน เช่นกลุ่มโรงงานหนึ่งมาค้นหาวิธีการฝึกคนงานร่วมกัน ก็ได้วิธีกลับไปขยายผลกัน อยู่ต่างที่กันก็สร้างสิ่งดีๆ ร่วมกัน ได้ คล้ายๆกับปรากฏการณ์ใน Lord of the Rings ที่คนต่างเผ่า ต่างอาณาจักรมาสร้างเป้าหมายร่วมกัน แล้วเป็นพันธมิตรกัน จนสามารถรักษาสันติภาพใน Middle Earth ได้ในที่สุด การทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรแนว AI ก็เช่นกัน เราสามารถไปฟอร์มพันธมิตรทำงานร่วมกันคนใน Field อื่นๆได้ ผมเองก็ทำงานควบคู่กับ HRD หลายคนทำให้เห็นปัญหา พัฒนาโจทย์ร่วมกัน เกิดเป็นโครงการพัฒนาองค์กรที่ตรงจุดมากขึ้น สองสามปีหลังผมไปทำงานร่วมกับสมาคม Thai Coach ก็มีโอกาสได้ไปพัฒนาโครงการ AI Coaching ร่วมกัน ทำให้ผมเองก็พัฒนาตนเองในขณะที่ไปพัฒนาคนอื่นด้วย ดังนั้นการทำงานร่วมกัยบคนต่างองค์กร ต่างแผนกจึงทำให้ได้พันธมิตร กัลยาณมิตรมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้นไปด้วย

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Top Secret วัยรุ่นพันล้าน: เรื่องนี้เป็นชีวประวัติของเถ้าแก่น้อย ที่สร้างความสำเร็จด้วยการถามครับ ผมชอบเรื่องนี้ในประเด็นที่ว่า การถามนี่ไม่ใช่จะถามคนในองค์กรอย่างเดียว อยากสร้างการเปลี่ยนแปลง ถามคนภายนอกเช่นลูกค้า ซัพพลายเออร์ด้วยก็ได้ หรือในบางเรื่องที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ เราสามารถดึงการมีส่วนร่วมจากผู้รู้ข้างนอกองค์กรได้ ตอนหนึ่งที่น่าสนใจคือเถ้าแก่น้อย ติดปัญหาว่าทำอย่างไรจะรักษาความกรอบของสาหร่ายได้นานขึ้น ก็เลยสืบหาใครช่วยได้ ก็ไปเจออาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตร ที่สุดท่านก็แนะนำวิธีการดีๆให้ทำให้สาหร่ายเถ้าแก่น้อยสามารถคงความกรอบได้นาน ลูกศิษย์ผมที่ธนาคารแห่งหนึ่งมีคนมาขอกู้เงินเพื่อทำซิตี้มอลล์ ก็ไม่มีความรู้เลยไปขอคำแนะนำจากลูกค้าที่มีประสบการณ์ ก็ได้แนวคิดมาเป็น Checklist มา 6-7 ข้อ เอามากรอง ที่สุดก็ทำให้ไม่ต้องเสี่ยง เพราะรายนี้ไม่ให้กู้ เลยไปกู้ธนาคารอื่น ธนาคารอื่นให้กู้แต่ไปไม่รอด ...การค้นหาเรื่องดีๆ ถามเรื่องดีๆ จากลูกค้า หรือผู้รู้ก็ทำให้องค์กรได้เทคโนโลยีความคิดดีๆ มามากครับ อย่าลืมตั้งประเด็ยแล้วไปถามมาด้วย

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Cloud Atlas: ทำอะไรดีๆไว้ ดูเหมือนเล็กน้อยแต่จริงๆสร้างผลกระทบมหาศาล Cloud Atlas เป็นหนังโปรดของผมที่สุดเรื่องหนึ่งที่ผมดูหลายรอบๆ พอๆกับ Starwars เป็นเรื่องราวของการสร้างความเปลี่ยนแปลงของคนที่ไม่ได้รับตวามยุติธรรมของคนในยุคต่างๆ รวมถึงการพลิกผันของชีวิตของมนุษย์ด้วยเหตุการณ์ทั้งดีๆไม่ดี ผมชอบวลีเด็ดที่ว่า “ชีวิตนี้ไม่ใช่เป็นของเราเพียงคนเดียว จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน อดีต ปัจจุบัน และด้วยการการกระทำที่ชั่วร้าย หรือด้วยความเมตตา เราได้ให้กำเนิดอนาคตของเรา” เรื่องนี้อธิบายการทำ AI ไว้ดีมากๆ AI เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกไม่ว่าจะทำอะไรเล็กๆก็ตาม ขอให้ดี ขอให้เมตตา เราจะสร้างอนาคตที่ดีได้เสมอ แต่หากเน้นแต่เรื่องลบมาก แต่ไม่พายามเอามาเป็นโจทย์แล้วหาทางออก องค์กรก็จะย่ำอยู่กับที่ เช่น

ลูกศิษย์เล่าว่าเคยบริจาคเสื้อบอลเก่าๆให้เด็กติดยา ไม่นานเด็กคนนั้นหันไปเล่นบอล จนกลายเป็นนักกีฬา เลิกเสพยา มีอนาคตไปเลย ...

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

มหาภารตะ: หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องตามมหาคำภีร์สำคัญของโลก ผมว่าคนเราควรดูนะครับ ได้เรยนรู้วัฒนธรรมดีๆของชาวฮินดู ผมชอบเรื่องนี้มากตรงที่พอเรื่องดำเนินไปสักพักก็จะมีเทพเจ้าของชาวฮินดู ปรากฏตัวออกมาสั่งสอนด้วยข้อคิดดีๆ ที่ผมฟังแล้วทึ่งเลย เพราะสอนดีมากๆ มีตอนหนึ่งที่เป็นความขัดแย้งในครอบครัว เมื่อไกล้จบก็จะมีพระกฤษณะออกมาให้ข้อคิดดีๆ เรื่องการเลี้ยงลูก ทันสมัยม๊ากๆ.. เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงการทำ AI ครับ เวลาคุณทำงานไปคุณต้องหันกลับมาทบทวนสิ่งที่คุณทำ พฤติกรรม วิธีการว่าอะไรได้ผลไม่ได้ผล เราเรียกว่า Reflection หรือการใคร่ครวญครับ การใคร่ครวญนี้ถือเป็นสิ่งที่คนในสายการพัฒนาองค์กรต้องทำครับ เพราะจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการทำงานได้อย่างดี หนังเรื่องมหาภารตะให้ข้อคิดดีมากๆ ว่าคนเราไม่ใช่ใช้ชีวิตไปวันๆ ต้องหมั่นทบทวนตัวเองด้วย ไม่งั๊นเราจะไปตามบุญตามกรรม แนะนำคนไทยทุกคนต้องดูครับ เราจะได้ข้อคิดดีๆ และเราจะรู้สึกชื่นชมอารยธรรมอินเดีย และคนอินเดียมากขึ้นอย่างไม่เป็นก่อนครับ

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Jiro Dreams of Sushi: เป็นเรื่องราวของร้านอาหารดังระดับโลกของญี่ปุ่นที่มีที่นั่งสิบที่ แต่ได้รับรางวัลมิชลิน 3 ดาว หนังถ่ายความเป็นมา ของร้านในทุกแง่มุมตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำอย่างตั้งใจ ที่ชอบมากๆคือเรื่องการฝึกคน เชฟที่นี่ก็จะเป็นเชฟใหญ่ก็ฝึก 10 ปี แม้กระทั้งเรื่องง่ายๆแค่พักผ้า แล่ปลา หุงข้าวทุกอย่างล้วนทำอย่างมีศิลปะ เรื่องนี้ทำให้เห็นว่าจะเป็นสุดยอดระดับโลกได้ ต้องตั้งใจฝึกผน พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อนับสิบปี สุดยอดมากๆ ...นึกถึงทำ AI ครับ จะทำ AI เรียนในห้องเรียนไม่พอต้องฝึก ฝึกง่ายๆ ด้วยการถามเรื่องดีๆ ในทุกหัวข้อ ใครพูดลบถามบวก เจอเรื่องไม่ดี ไปค้นหาข้อมูลดีๆ แล้วเอามาขยายผลจะดีมาก เท่าที่ผมสังเกต คนที่ทำ AI ถ้าถามหรือสักเกตเรื่องดีๆ สัก 30 ครั้ง จะเห็นโอกาส แล้วเอาเรื่องดีๆไปขยายผล แล้สถ้าขยายผลได้สัก 5 เรื่องจะเก่งเลย ผมเองสังเกตตัวเองตอนสอน Fail คนไม่ชอบ ก็ไปนั่งนึกว่าตอนสอนแล้วคนชอบเป็นอย่างไร สิ่งที่ต่างคือต่อให้สอนมา 10 ปีในเรื่องเดียวกัน แต่ก่อนสอนไม่ทำ Mindmap ไปก่อน หรือนั่งคิดว่าจะพูดอะไรสัก 10-20 นาทีจะไม่ดีทุกครั้ง ตั้งแต่นั่นมาก็เอามาคิดทำก่อนสอนทำ Mindmap ก่อน การสอนจะออกมาดี ผมทำอย่างนี้กับหลายเรื่องๆ การทำ AI ในสนามจริงก็จะคล่อง มั่นใจขึ้นเรื่อย ฝึกเยอะ ทำเยอะจะเก่งเองครับ เรียนมาจากอาจารย์ดังแค่ไหน ไม่เอามาทำ ไม่สังเกตเพิ่มก็เท่านั้นครับ ต้องทำมากๆ จะดีเอง

©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์➤ อาจารย์ประจำ MBA KKU

➤ สอน/วิจัย/Consulting การพัฒนาองค์กรแนว Appreciative Inquiry

➤ เป็นผู้ก่อตั้ง Thailand Appreciative Inquiry Network หรือ AI Thailand

➤ เป็น Thai Coach Master ให้กับสมาคม Thai Coach สอน AI Coaching

➤ Website: www.aithailand.org

➤ LINE: aithailand

➤ มีความสุขกับการค้นคว้า สอน เผยแพร่ AI มากว่า 10 ปี

➤ “ชอบดูหนังมากพอๆกับทำ AI ดูแล้วชอบเชื่อมโยงมาอธิบายการทำ AI ให้ลูกศิษย์/ผู้สนใจได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานมากขึ้น”