สารจากคณบดีบัณฑิต ... -...

676
ารศึก บั เอ าคน ฑิบัณฑตวทยากสา วาดว วิท ที1 ลั มหาวทยารเผ ยตนเ าลั บับ ลั ยราชธาน | w ยแ ระ ที4 www.rtu.ac.th รบ บบั าวิ ดื อน | Ratchathani คว ฑิตศึ ยา กรา University ษา ลั

Upload: others

Post on 16-Mar-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • กา

    ารศึกษ

    บัณ

    เอษาคนค

    ณฑิต

    ปที

    บัณฑิตวิทยาลั

    กสาควาดว

    ตวิทย

    ท่ี 1 ฉ

    ลัย มหาวิทยาลั

    รเผยตนเอ

    ยาลัย

    ฉบับที

    ลยัราชธาน ี| w

    ยแพอง ระด

    ย มห

    ท่ี 4 เดื

    www.rtu.ac.th

    พรบทดับบัณ

    หาวิท

    ดือนม

    | Ratchathani

    ทควาณฑิตศึก

    ทยาล

    มกราค

    University

    ามกษา

    ลัย

    คม

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    กเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    การจัดทําเอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา เป็นโครงการที่บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดข้ึน เพ่ือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพ่ือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์เพ่ือขอสําเร็จการศึกษาได้ และยังเป็นแนวทางนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัย และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

    ดังนั้น ผลงานที่ตีพิมพ์ในเอกสารน้ีจึงเป็นงานวิจัยที่ผ่านการคัดกรองจากคณะกรรรมการพิจารณาบทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแล้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารเผยแพร่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทุกท่าน ในการนําไปพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติต่อไป บัณฑิตวิทยาลัย ขอขอบคุณคณะทํางานที่ร่วมใจกันจัดเตรียมเอกสารส่ิงพิมพ์ที่มีประโยชน์เพ่ือเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ข เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    คณะกรรมการพิจารณาบทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Peer Review)

    1. รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ 3. รองศาสตราจารย์ อุไรวรรณ อินทรีย์ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ สุภากิจ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ น่ิมจินดา 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จํารัส มีกุศล 7. ดร.สิริรัตน์ เกษประทุม 8. ดร.อดุลศักด์ิ สุนทรโรจน์ 9. ดร.ชัชวาลย์ คัมภีรวัฒน์ 10. ดร.ชาญยุทธ หาญชนะ

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    คเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ไกรศรี ภักด ี 1

    การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านโนนบก อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ไกรสิทธิ์ กองสินแก้ว 10

    การศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครูและนักเรียนที่มีต่อการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโรงเรียนบัวงามวิทยา อําเภอเดชอุดม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธาน ี โคสิต อ่อนประทุม 22

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านโนนกาหลงน้อย อําเภอบุณฑริก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จักรภัทร จันทร์พวง 30

    ศึกษาประสิทธิภาพของผู้ประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเก่าขามยางใหญ่ อําเภอน้ํายืน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 จํารัส ศรีพูล 39

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง เสน่ห์อาหารพื้นบ้านอีสาน ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดการสอน โฉมมณี โลบุญ 47

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ชนัฏดา บุตรสิงห์ 56

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเดชอุดม ตําบลเมืองเดช อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 ชุฎากร เสียงล้ํา 65

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง สระชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ณัชธิชา พรมมาโฮม 72

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ง เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง การเขียนสะกดคําภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ดาราวรรณ แกว้ศรีทอง 81

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนบ้านสวัสด ีอําเภอขุขันธ ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ดาวเรือง อ่อนสุวรรณา 89

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข ์อําเภอขุนหาญ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 เตือนใจ ศรีระเริญ 97

    การศึกษาความต้องการของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านผือ อําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ทองเปรม ศรีโพนทอง 107

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เร่ือง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เทียนชัย แก่นการ 116

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เร่ือง การบวก การลบ จํานวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทบทวน ธงกร ประทาน 124

    การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านสุขสมบูรณ ์ อําเภอเดชอุดม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 ธงชัย กันตะพงษ์ 132

    การพัฒนาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตร)ี เร่ือง การเป่าขลุ่ยเพียงออ ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝกึทักษะ ธนกร ผาสุข 142

    ความคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนบ้านท่าคล้อ อําเภอเบญจลักษ ์ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 นท ี สุขพอด ี 149

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    จเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูผู้สอนระดับช่วงช้ันที่ 2 โรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ นาถลดา สุวพานิช 158

    ศึกษาระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 นิพนธ์ พจชนะ 166

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง สระผสม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ นิภาพร น้ําคํา 175

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เร่ือง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ นิภาพร บุญพันธ์ 183

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลไกยวินิจ อําเภอน้ํายืนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 นิยม ไกยวินิจ 190

    ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน วัดมหาพุทธาราม อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นิออน บัวมาศ 199

    ศึกษาการนิเทศภายในกลุ่มเครือข่ายแสงสมบูรณ ์ อําเภอนาจะหลวย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 บุญถิ่น พิมพ์โพธิ์ 206

    การดําเนินงานประกันคุณภาพที่ผ่านการประเมินภายนอกของโรงเรียนบ้านคลองสุด (ประชาอุทิศ) กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา 7 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปฏิญญา จันทรชติ 220

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสมสะอาด สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 ประนอม กระโทกนอก 229

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ฉ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า ศึกษาความพึงพอใจของผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุบลราชธานีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประไพร เร่งศึก 238

    ศึกษาการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 ประลอง ฉิมงาม 247

    ศึกษาความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านเก่าขาม อําเภอน้ํายืน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ประศาสตร์ วิริยะพันธ์ 256

    การพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนวัดมหาพุทธาราม อําเภอเมือง ฯ จังหวัดศรีสะเกษ ประสาท เคร่ืองทอง 267

    การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา ปิยวรรณ สิงห์ชุม 279

    ศึกษาระดับปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะกษ เขต 4 ปิยะศักดิ์ เหมือนมาตย์ 287

    การพัฒนางานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้โครงการพัฒนาจิตในในโรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 พชรพร ตายูเคน 296

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าอาวาสในเขตตําบลยาง อําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี พระสิงขร ศรไชย 306

    ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนบ้านดอนชัยชนะ อําเภอนาจะหลวย สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 5 พิชัย วิชาศิลป์ 314

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ชเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตรวจราชการนําตกห้วยจันทน ์ อําเภอขุนหาญ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 พีระวัฒน ์ โพธิ์ธนรัฐ 321

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เอกสารจริงเป็นสื่อในการเรียนรู้ เพชรี โสดา 331

    ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการศึกษาต่อระดับสายสามัญและสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสูง อําเภออุทุมพรพิสัย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ไพบูลย ์ เหล็กด ี 339

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านน้ําขุน่ อําเภอน้ําขุน่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 5 ภัทราวรรณ ทองจิตร 347

    ศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย สถานศึกษาโนนแดง อําเภอนาจะหลวย สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ภานุพงษ์ วังหนองเสียว 355

    การพัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านทับไฮ อําเภอนาจะหลวย สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 มนตร ี กอมณี 366

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง การแตง่กลอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มนูญ อามัสสา 377

    ศึกษาการดําเนินการนิเทศภายในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายหนองอ้ม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 5 ยุทธนากร ขระณยี์ 384

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองแสง อําเภอเดชอุดม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 รักศักดิ์ ง่อนสว่าง 393

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ซ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากร ที่มีต่อการบริหารกลุ่มงานบริหารท่ัวไป โรงเรียนบา้นชําแจงแมง อําเภอกันทรลักษ ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 รังสรรค ์ บุญสิทธิ์ 400

    การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนอนุบาลไกยวินิจ อําเภอน้ํายืน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 รัตติกรณ์ สางหว้ยไพร 409

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เร่ือง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โครงงาน รัศม ี ทองกลม 419

    ศึกษาปัญหาโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านโพนดวน อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 วงศ์ชัย บุญศรี 429

    การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เร่ือง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรูส้ังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านหนองคา้ อําเภอพยุห ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 วรินทรทิพย์ โอชารส 437

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร ์ เร่ือง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ วัชรินทร์ ภักดี 445

    การปฏิบัติตามระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโจดนาห่อมเดื่อ กิ่งอําเภอศลิาลาด สังกัดเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 วารี อุ่นเรือน 453

    ศึกษาการดําเนินการบริหารจัดการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 ดู่จิก อําเภอราษีไศล สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 วาสนา นิยม 462

    ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาที่ 6 (ดงแคนคํา) อําเภอราศีไศล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 วิบูลย์ศรี แหวนหล่อ 473

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ฌเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง การอ่านและการเขียนสะกดคํา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ วิยะดา บุตรวัง 482

    ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารและสารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร ์ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ GI วีระชัย มณีพิมพ์ 492

    ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนา โรงเรียนบ้านแขว อําเภอขุขันธ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ศรัญญา อาจหาญ 500

    ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาที่ 14 โพธิ์ศรีพัฒนา กิ่งอําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 สมบัต ิ เหล็กดี 508

    ศึกษาความต้องการของชุมชนในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านโจดม่วง กิ่งอําเภอศลิาลาด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 สมศักดิ์ นิยม 516

    ศึกษาระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายหนองสะโนโนนค้อ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สมัย บุญสุข 525

    ศึกษาปัญหาโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบัวงาม อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สรสิทธิ์ กลิ่นบัว 534

    การศึกษาบทบาทของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านโจดนาห่อมเดือ่ อําเภอศิลาลาด สังกัดเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 สังคมพิทักษ ์ อุ่นเรือน 543

    การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตร ี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ สัมพันธ์ บุตรวัง 550

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ญ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคํายาก กลุ่มสาระการเรียนรู ้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สิริพงษ์ พรหมกสิกร 557

    ความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการให้บริการของโรงเรียนวัดบ้านประอาง (ประสาธน์คุรุราษฎร์พัฒนา) อําเภอไพรบึง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 สุดาวรรณ วงษ์จันทรา 564

    ศึกษาการดําเนินงานการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 อําเภออุทุมพรพิสัย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 สุพจน ์ สิงห์ทอง 572

    การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านทุ่งเพียง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 สุรสิทธิ์ แสไพศาล 580

    ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านซําสะกวยน้อย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาอุบลราชธานี เขต5 สุริวิภา วงศ์อํามาตย์ 590

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรม สุวภัทร หัวดอน 598

    การศึกษาปัญหาการสร้างเคร่ืองมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแสงสมบูรณ์ อําเภอนาจะหลวย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 สุวรรณ พลสมัคร์ 608

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร ์เร่ือง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เสรีย์ บุญพันธ์ 618

    ศึกษาการดําเนินงานการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านยางเอือด อําเภออุทุมพรพิสัย สํางานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 เสาวลักษณ์ เชื้อแสดง 625

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ฎเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    สารบัญ

    หน้า ศึกษาความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านโนนสว่าง อําเภอนาจะหลวย สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 แสวง ชมภูแสน 633 การพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านโพนดวน อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 องอาจ สารพัฒน ์ 644 การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาระที่ 3 นาฎศิลป์ นาฎยศัพท ์ และภาษาท่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะ อัญชลี พลบุญ 656

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    1เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผู้ศึกษาค้นคว้า นางไกรศรี ภักด ีปรญิญา ศษ.ม. สาขาวชิา การบริหารการศึกษา

    บทคัดย่อ

    การศึกษาค้นคว้าคร้ังนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนคูณแสนสุข อําเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เคร่ืองมือที่ใช้ศึกษาค้นคว้า คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จํานวน 30 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.70 ค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคา่ดัชนีประสิทธิผล

    ผลการศึกษาคน้คว้า พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 81.16 / 85.27 ซึ่งสูงกวา่เกณฑ์ 80/80 ที่ตัง้ไว ้

    2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.7119 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.19

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    2 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    ภูมิหลัง ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจําชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเคร่ืองมือในการติดต่อสื่อสารเพ่ือสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทําให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดํารงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนําไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ําค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จะเห็นได้ว่าความสําคัญทางภาษาไทยนั้นมีหลายประการ ที่สําคัญเพื่อให้เป็นเคร่ืองมือในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในชีวิตประจําวัน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน ๆ การแสวงหาความรู้ ความเพลิดเพลินและการประกอบอาชีพ การเรียนการสอนภาษาไทยจึงมีความสําคัญโดยครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจวิธีการฝึกทักษะทั้ง 4 คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้สัมพันธ์กัน นักเรียนจะสนุกในการเรียนนักเรียนจะสนใจและรักที่จะเรียน มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทยเป็นผลให้นักเรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนวิชาภาษาไทยดีขึ้น (กรรณิการ์ พวงเกษม. 2535 : 47)

    การศึกษามีบทบาทและความสําคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนและสังคม โดยเฉพาะการเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาที่ดีนั้นจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี แต่การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล สังคม ประเทศ ยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับกระแสความคาดหวังของสังคมที่จะให้การศึกษามีบทบาทในการเตรียมคนให้พร้อมสําหรับการแข่งขันในสังคมโลกด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นความสับสน ความล้มเหลว และความล้าหลังที่เป็นปัญหาของการศึกษามากขึ้นจากมุมมองหรือทรรศนะของบุคคลสําคัญต่าง ๆ ที่เห็นพ้องต้องกันทําให้กล่าวได้ว่าการศึกษาของไทยเรากําลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง (รุ่ง แก้วแดง. 2543 : 1)

    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ได้กําหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกําหนดให้ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มแรกที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ ดังที่ รุ่ง แก้วแดง (2543 : 2) ได้กล่าวถึงวิกฤตทีสําคัญของระบบการศึกษาไทย คือ ความทุกข์ยากของผู้เรียน เนื่องจากเนื้อหาที่เรียนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจําวันของเด็ก เด็กจําใจต้องเรียนรู้สิ่งที่เป็นเร่ืองไกลตัว ต้องสร้างจินตนาการด้วยความยากลําบาก และมีความทุกข์เพราะต้องท่องจําตลอดเวลา ความทุกข์จากการเรียนทําให้เด็กเกิดเจตคติต่อการเรียนไปในทางลบ มองว่าการเรียนไม่ใช่เร่ืองสนุก ไม่มีความสุข ไม่น่าเรียนและยิ่งการสอบเข้าเรียนในทุกระดับเน้นเฉพาะความจํา ก็ยิ่งเพิ่มความเครียดให้เด็กมากขึ้น จนเกิดปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับผู้เรียนและนับวันปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ดังจะเห็นได้ชัดคือ การฆ่าตัวตาย ความประพฤติผิด และยาเสพย์ติด การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในปัจจุบันยังประสบปัญหา เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการสะกดคํา การเว้นวรรคตอน หรือการใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนสรุปความไม่เป็น อ่านหรือฟังจับใจความไม่ได้ ล้วนแต่ขาดทักษะในการอ่านและการเขียนทั้งสิ้น จึงทําให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมาย ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านคุณภาพการศึกษา (พริ้มเพราวด ี หันตรา. 2545 : 76)

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    3เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อส่ือสารตลอดจนใช้ในการศึกษาความรู้การสอนภาษาไทยจึงมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งในด้าน การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนไปพร้อม ๆ กัน จากการศึกษาผลการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในช้ันเรียนโดยท่ัวไปจะพบว่ามีทั้งเด็กที่ประสบความสําเร็จ คือ เด็กที่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนและเด็กที่ไม่ประสบความสําเร็จ คือ เด็กที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแต่ละคร้ังที่ครูจัดขึ้นได้ ครูจึงจําเป็นต้องหาวิธีช่วยเหลือเด็กที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน วิธีการหนึ่งที่ครูมักเลือกดําเนินการเพ่ือแก้ไขปัญหานี้ได้แก่ การสอนซ่อมเสริมซึ่งเป็นการสอนที่จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็กที่เรียนดีเป็นพิเศษให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ตามความสามารถ หรือเพื่อช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อนโดยช่วยขจัดข้อบกพร่อง ขจัดการเรียนที่ไม่ถูกวิธี ไม่ได้ผล เสริมความรู้และทักษะให้เด็กมีพัฒนาการไปในทางที่ดีด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กเหล่านั้นประสบความสําเร็จตามความสามารถที่แท้จริงของเขา ดังนั้นการสอนซ่อมเสริมสําหรับเด็กจึงควรเป็นการสอนที่ต้องใช้กลวิธีการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก (จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. 2544 : 2 ; อ้างอิงจาก สุมน อมรวิวัฒน.์ 2526 : 95) นอกจากนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษางานวิจัยที่สนับสนุนความสําคัญเกี่ยวกับความสนใจในการเรียนของเสนีย ์แสงดี 2543 : 4) พบว่า ความสนใจในการเรียนเป็นคุณลักษณะพิเศษที่สําคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรจะได้รับการปลูกฝัง เพราะความสนใจนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบหรือคุณลักษณะพิเศษที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีได ้เพราะหากเด็กที่มีความสนใจจะทําให้เกิดความต้ังใจเรียน ทําให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียนสามารถติดตามเนื้อหาที่เรียนได้ตลอด และจะส่งถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาน้ันด้วย ภาษาไทยเป็นวิชาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งที่ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการกําหนดให้ภาษาไทยเป็นวิชาบังคับแกน นักเรียนทุกระดับจะต้องเรียนภาษาไทยด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ตามมาว่าวิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในขั้นไม่น่าพอใจ จากการวิจับสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษาของกองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างตํ่า ปัญหาของการใช้ภาษาคือการออกเสียงพยัญชนะ สระ และคําควบกล้ําไม่ชัด การใช้คําไม่ถูกต้อง (พันธณีย์ วิหคโต. 2538) ซึ่งสอดคล้องกับสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ทําการวิเคราะห์ค่าถดถอยผลการประเมินคุณภาพนักเรียนชั้น ป.6 ในรอบ 10ปี (2527 – 2538) พบว่ากลุ่มทักษะภาษาไทยมีอัตราความก้าวหน้าค่อนข้างตํ่าเพียงประมาณร้อยละ 1 ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และจากรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (กรมวิชาการ. 2544) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GAT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระดับประเทศ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวนโรงเรียน 1,487 โรงเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เข้ารับการประเมินจํานวน 137,665 คน วิชาภาษาไทยได้คะแนนตํ่าสุด 0 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน มีจํานวน 12,121 คน คิดเป็นร้อยละ 8.81 อยู่ในระดับคุณภาพที่ควรปรับปรุง ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยที่สําคัญภายในโรงเรียนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติหน้าที่อยู่คือจากการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษาปีการศึกษา 2551 โดยกรมวิชาการร่วมกับต้นสังกัด และหน่ายงานในเขตพื้นที่ให้โรงเรียนต่าง ๆ จัดสอบพร้อมกันท่ัวประเทศ และส่งกระดาษคําตอบให้สํานักงานทดสอบทางการศึกษาดําเนินการตรวจกระดาษคําตอบ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีนักเรียนที่เข้ารับการประเมินทั้งหมดจํานวน 13 คน วิชาภาษาไทยได้คะแนนตํ่าสุด 6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน มีจํานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 อยู่ในระดับคุณภาพที่ควรปรับปรุง ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนจึงมีการประชุมครูในสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการเรียนภาษาไทยมาก

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    4 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    ขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจในที่ประชุมคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ซึ่งมีอยู่หลายวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสนใจ มีความกระตือรือร้นในการเรียน ทั้งนี้ได้เปิดกว้างให้ครูนําวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและเหมาะสมตามธรรมชาติของวิชาด้วย จากความสําคัญและปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความเห็นว่าควรจะมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ และความสนใจในการเรียน เพราะผลการเรียนรูแ้ละความสนใจในการเรียน จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ย่ังยืนของนักเรียนอันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต ิพุทธศักราช 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ต้องการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นในเร่ืองบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้ที่สําคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอน และให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ผู้ทําการศึกษาค้นคว้าในฐานะที่เป็นครูสอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา มีความตระหนักและเห็นความสําคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะนําการเรียนการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเป็นการศึกษาผลการเรียนการสอนและความสนใจการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยให้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 12 คน ประจําภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552

    ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนคูณแสนสุข กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแสงสมบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. สาระการเรียนรู้ มาตราตัวสะกดแม่กก , แม่กน , แม่กบ ตามเนื้อหากลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3. ระยะเวลาที่ใช้การศึกษาค้นคว้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 4. รูปแบบการศึกษาค้นคว้า ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบกึ่งทดลอง One Group Pre – test Post – test Design

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    5เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    เครื่องมือที่ใช้ในการศกึษาค้นคว้า เคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ม ี 3 ชนิด 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 5 แผน 2. แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 5 ชุด มีรายละเอียดดังนี้ ชุดที่ 1 เร่ืองมาตราตัวสะกด แม ่กก ชุดที่ 2 เร่ืองมาตราตัวสะกด แม ่กน ชุดที่ 3 เร่ืองมาตราตัวสะกด แม ่กน ชุดที่ 4 เร่ืองมาตราตัวสะกด แม ่กบ ชุดที่ 5 เร่ืองมาตราตัวสะกด แม ่กบ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ จํานวน 30 ข้อ นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การวางแผนที่เกี่ยวกับรายละเอียดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนการเรียนรู้ เพื่อใช้ควบคู่กับแบบฝึกทักษะที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น เขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย สาระสําคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ที่จะทําให้เกิดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จํานวน 5 แผน 2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การกําหนดการเรียนรู้ เร่ือง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ใช้แผนผังความคิด และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทุกคน ทําได้ในแต่ละแผนและรวมทุกแผน ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 80 80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 80 ผลงานนักเรียน หมายถึง ชิ้นงานที่นักเรียนทําเป็นกลุ่มหรือเดี่ยว 4. แบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบปฏิบัติสําหรับการอ่านและการเขียนสะกดคําเป็นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งสําหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเพิ่มขึ้น โดยเน้นการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําเกี่ยวกับความเข้าใจในเร่ืองการอ่าน การเขียนสะกดคําและแจกลูก ความหมายของคําและสามารถนําคําไปใช้อย่างถูกต้อง 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด โดยวัดจากแบบฝึกทักษะ ระหว่างคะแนนหลังเรียน กับคะแนนก่อนเรียน 6. มาตราตัวสะกด หมายถึง คําที่มีตัวสะกดในมาตราแม ่กก แม่กน และแม่กบ

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธาน ี| www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    6 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2554

    7. ดัชนีประสิทธิผล ( The Effectiveness Index) หมายถึง ค่าที่แสดงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เร่ือง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    8. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ครอบคลุมเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู ้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะใช้วัดสมรรถภาพสมองด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วโดยผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นเป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จํานวน 30 ข้อ สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

    ผลการศึกษาค้นคว้าการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ปรากฏผล ดังนี้

    1. ประสิทธิภาพของแผนแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพ 81.16 / 85.27

    2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.7119 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.19 อภิปรายผล การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยสรุปผลการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ นักเรียนสามารถเขียนสะกดคําและอ่านคําในมาตราตัวสะกดที่กําหนดให้ได้ถูกต้อง นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตปะจําวันได้จริง และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.16/85.27 หมายความว่า นักเรียนได้คะแนนจากการทําแบบทดสอบย่อยหลังสอนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 ชุด ร้อยละ 81.16