จะรับมืออย่างไร กับความ...

48
จะรับมืออย่างไร กับความสัมพันธ์ที่แตกร้าว WhatDoYouDoWithABrokenRelationship? โดย เจมส์ พิทแมน ฉบับแก้ไขใหม่ เจมส์ พิทแมน เขียน ศราวดี วีรเธียร แปล ตรูจิตต์ บัณฑุกุล เรียบเรียง วารินทร์ ควรทรงธรรม

Upload: others

Post on 23-Feb-2020

27 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

จะรับมืออย่างไร

กับความสัมพันธ์ที่แตกร้าว

What Do You Do With A Broken Relationship?

โดย

เจมส์ พิทแมน

ฉบับแก้ไขใหม่

เจมส์ พิทแมน เขียน

ศราวดี วีรเธียร แปล

ตรูจิตต์ บัณฑุกุล เรียบเรียง

วารินทร์ ควรทรงธรรม

Page 2: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

� �

ฉบับแก้ไขใหม่

กรกฎาคม 2014

จำนวน 1,000 เล่ม

ฉบับภาษาไทย บรรณาธิการผู้พิมพ์ : นิติเชษฐ์ สดุดีวงศ์

บรรณาธิการบริหาร : วรรณี ธนาวัฒนเจริญ

ผู้เขียน : เจมส์ พิทแมน

ผู้แปล : ศราวดี วีรเธียร

เรียบเรียง : ตรูจิตต์ บัณฑุกุล วารินทร์ ควรทรงธรรม

จัดรูปเล่ม : นริศ ภูษิตประภา

พิสูจน์อักษร : สุพรทิพย์ ทองสุวรรณ

พิมพ์ที่ : www.actsco.org

พันธกิจมานาประจำวัน ตู ้ปณ. 35 ปณฝ.หวัหมาก กรงุเทพฯ 10243

โทร 0-2718-5166-7 โทรสาร 0-2718-6016

E-mail: [email protected]

หนงัสอืนีส้งวนลขิสทิธิแ์ละไดร้บัอนญุาตจากพนัธกจิอารบ์ซี ี

เมอืงแกรนด ์แรพพดิส ์สหรฐัอเมรกิา

ภาษาไทยใชพ้ระคมัภรีฉ์บบัเรยีงพมิพใ์หม ่1998

บรรณาธกิาร: เดวดิ สเปอร ์ ภาพปก: เทอรี ่บดิกูด๊

ขอ้พระคมัภรีท์ีใ่ชอ้า้งองิมาจากพระคมัภรีฉ์บบัคงิสเ์จมสใ์หม ่ ป ี1979,

1987, 1999 พนัธกจิอารบ์ซี ีเมอืงแกรนด ์แรพพดิส,์ มชิแิกน

Page 3: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

จะรับมืออย่างไร กับความสัมพันธ์ที่แตกร้าว

เราต้องยอมรับความจริงว่า ในทุกความสัมพันธ์จะต้องพบเจอกับวิกฤตการณ์ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อคนเราเกิดความขุ่นเคืองแล้ว ก็จะเริ่มห่างเหิน ทัศนคติเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ช้าคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมก็ตามมา ความสัมพันธ์นั้นก็จะตึงเครียด และหลายคราก็ถึงกับขาดสะบั้นลงก็มี คุณมีประสบการณ์อย่างนี้หรือไม่ ถ้ามี เราขอให้หนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียนโดย เจมส์ พิทแมน ช่วยให้คุณมีวิธีการอันเหมาะสมที่จะแก้ปัญหาร้ายแรงนี้

มาร์ติน อาร์.ดี ฮาน ที่สอง

Page 4: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

� �

อยากจะบอกว่าผมคิดอย่างไร ไม่ทราบว่าคุณเคยเป็นเหมือนผมบ้างหรือไม่? บางครั้ง

มีความสงสัย ไม่เข้าใจพระเจ้าในบางเรื่อง และอยากรู้คำตอบ

จริงๆ แต่ไม่รู้จะไปถามใคร ครั้นจะไปค้นคว้าหาอ่านดูในหนังสือ

ก็ไม่รู้ว่าจะหาอ่านได้ที่ไหน เห็นตำราแต่ละเล่มหนาเป็นฟุต

อีกทั้งเป็นภาษาอังกฤษก็หมดแรงหมดกำลังใจที่จะอ่าน อยาก

จะได้จริงๆหนังสือที่ว่านี้ เล่มบางๆ เล็กๆ เนื้อหาตรงประเด็น

ชัดเจน สามารถอ่านเข้าใจได้ในเวลาอันสั้น

ถ้าคุณกำลังหาหนังสือเช่นที่ว่านี้ “ก็หนังสือเล่มที่คุณ

กำลังถืออยู่ในมือนี่ไงครับ!” หัวข้อน่าสนใจ...แปลเป็นไทย

...เข้าใจง่าย...เล่มเล็กบาง...พกสะดวก...รูปเล่มสวยงาม...

ใช้เวลาอ่านไม่นาน

Page 5: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

หนังสือในชุด Discovery Series (หนังสือเพื่อการเรียนรู้)

ของพันธกิจมานาประจำวัน (RBC Ministries) มีหัวข้อที่น่า

สนใจในแง่มุมต่างๆ มากกว่า 200 เรื่อง เช่น พระเจ้า มนุษย์

สังคม ความสัมพันธ์ การประกาศ ฯลฯ พันธกิจมานาฯ จะได้

ทยอยจัดพิมพ์ หนังสือชุดนี้ออกมาตามลำดับ

ผมหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะสามารถสร้างเสริมชีวิตของ

คุณให้เติบโตในพระเจ้า สู่ความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ โดยไม่

ต้องอยู่ในเงามืดแห่งความสงสัยอีกต่อไป

นิติเชษฐ์ สดุดีวงศ์

Page 6: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

� �

อาการเป็นอย่างไร 7

ทำให้ยิ่งเลวร้าย 10

แบบแผนที่ถูกต้อง 12

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง 17

ขั้นที่ 1 : รัก 17

ขั้นที่ 2 : ถ่อมใจ 21

ขั้นที่ 3 : เต็มใจที่จะทนทุกข์ 24

ขั้นที่ 4 : ชวนมาคืนดีกัน 27

ขั้นที่ 5 : ให้อภัย 30

แล้วถ้ายังไม่ได้ผลเล่า 34

การดูแลทะนุถนอมความสัมพันธ์ 41

กรณีศึกษา : คนที่เคยลองมาแล้ว 45

ก้าวแรก 47

สารบัญ

Page 7: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

อาการเป็นอย่างไร

ถ้าคุณไม่ได้อยู่ตามลำพังบนเกาะอันห่างไกล คุณจะต้องรู้จักความเจ็บปวดของความสัมพันธ์อันแตกร้าวเป็นอย่างดีแน่ แม้แต่มิตรภาพที่แน่นแฟ้นที่สุดก็อาจแปรเปลี่ยนเป็นความขุ่นเคืองได้ การแต่งงานก็มีวันขมขื่นได้ เพื่อนร่วมงานก็อาจเปลี่ยนที่ทำงานให้เป็นสนามรบได้เช่นกัน คริสตจักรแตกร้าวเพราะสมาชิกผิดใจกัน ครอบครัวแตกแยกเพราะคำพูดที่ไม่รักษาน้ำใจ เพื่อนบ้านเถียงกันเพราะสุนัขเห่าไม่หยุด ปัญหานี้เป็นเหมือนโรคระบาด เป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวงต่อชีวิตอันสงบสุขของเรายิ่งกว่าโรคหวัด โรคมะเร็งหรือโรคหัวใจเสียอีก

ผมรักมนุษยชาติ

แต่คนต่างหากที่ผมทนไม่ได้

- Linus

เช่นเดียวกับโรคทางกาย เราสังเกตเห็นได้ถึงอาการที่ปรากฏอันอาจพาไปถึงต้นเหตุที่แท้จริงได้ เหมือนไฟสีแดงที่กระพริบเตือน อาการเหล่านี้บอกเราว่ามีบางอย่างร้ายแรงเกิดขึ้น คุณอาจนึกอาการเหล่านี้ออกจากประสบการณ์ของคุณเอง

Page 8: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

� �

หลบลี้หนีหน้า จู่ๆ คนที่เป็นเพื่อนกันมานานปีก็เกิดหลบหน้ากันหลังจากมีเหตุขัดเคืองกัน แม้ว่าที่ผ่านมาจะชอบสังสรรค์กัน แต่เดี๋ยวนี้เมื่อเจอกันต่างฝ่ายต่างพยายามไม่เฉียดใกล้กัน โกรธง่าย “เธอว่าอะไรนะ?” “อย่ามายุ่งกับฉันได้ไหม!” “เธอทำให้ฉันเอือมระอาเต็มทนแล้วนะ! อย่ามาสอดเรื่องคนอื่นเลย” “แล้วไงล่ะ?” “ฉันบอกว่าไม่ก็ไม่สิ!” “ฉันสุดจะทนแล้วนะ!” “เลิกเกาะฉันซะทีได้ไหม ขอทีเถอะ!” คุณพอจะจำคำพูดที่ร้ายๆ เหล่านี้ได้ไหม ผมแน่ใจว่าคุณจำได้ เราเคยได้ยินทุกคำที่กล่าวมา และส่วนใหญ่เราก็ต้องยอมรับว่าเราได้พูดคำเหล่านี้บ้าง

เหมือนไฟสีแดงที่กระพริบเตือน

อาการเหล่านี้บอกเราว่ามีบางสิ่งร้ายแรงเกิดขึ้น

เล่นลูกเงียบ การตอบสนองเบื้องต้นเมื่อเจ็บช้ำคือ “การเยียวยาด้วยการเงียบ” เราก็แค่ไม่อยากคุยกับคนอื่น นี่เป็นสัญญาณเงียบที่สื่อว่า “ฉันไม่อยากเกี่ยวข้องกับเธอ อย่ามายุ่งกับฉัน” บางคนใช้วิธีนี้เพื่อจะไม่ให้ตัวเองเจ็บช้ำไปมากกว่านี้ส่วนบางคนอาจใช้เป็นวิธีแก้แค้น หวังจะทำให้อีกฝ่าย

Page 9: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

ต้องเป็นทุกข์โดยการไม่ยอมพูดด้วย หาพวก ไม่ดีเลย แต่บางคนตอบสนองต่อความ สัมพันธ์ที่ขาดสะบั้นราวกับเป็นประเทศที่เพิ่งจะประกาศสงคราม พวกเขาเรียกหาพวกสนับสนุน โดยเล่าความเห็นของตนฝ่ายเดียวและใช้การชวนเชื่อนี่เอง เป็นกระสุนในสงครามครั้งนี้ พฤติกรรมอย่างนี้เผยให้เห็นความไม่มั่นคงและความอ่อนแอ บุคคลนั้นขาดความมั่นใจที่จะรับมือกับปัญหาอย่างจริงจังด้วยตัวเอง คิดไม่ซื่อ เช่นเดียวกับการวางระเบิดและการจี้เครื่องบิน ความรุนแรงในตัวบุคคลรูปแบบนี้ค่อนข้างจะมีเล่ห์เหลี่ยมและเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ด้วยวิธีทางอ้อมและลับๆซึ่งมักจะทำลายคนอื่นซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไปพร้อมกับศัตรูด้วย มีแววตาและคำพูดที่แฝงด้วยความโกรธเกรี้ยวและมีแม้กระทั่งการทำร้ายร่างกายกัน มีหลายครั้งที่อาจรวมไปถึงการเข้าทำร้ายจนถึงตาย ซึ่งเป็นการทำลายอิทธิพลในแง่บวกหรือชื่อเสียงอันดีของบุคคล หากคุณพบอาการใดๆ เหล่านี้แสดงว่าความสัมพันธ์ของคุณอาจกำลังถดถอยลง และถึงเวลาที่ต้องแก้ปัญาหาแล้ว

Page 10: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

10 ��

ทำให้ยิ่งเลวร้าย

พิษของเถาต้นหมามุ่ยทำให้ต้องทนทรมาน ผื่นแดงที่เกิดขึ้นก็สุดจะทนแล้ว แต่อาการคันยิบๆนั้นทรมานยิ่งกว่า ถ้าอดใจไม่ไหวลงมือเกาก็มีแต่จะทำให้ยิ่งเลวร้าย พิษร้ายยิ่งแพร่กระจายและยิ่งเจ็บปวดทรมานมากขึ้น การรักษาที่ถูกต้องก็คือ การทาครีมแก้คันและอดใจไม่เกา ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวก็สามารถทำให้ทนทุกข์ทรมานได้เหมือนกันและเช่นเดียวกับพิษของเถาต้นหมามุ่ย ถ้าเราตอบสนองตามใจอยากก็มีแต่จะทำให้ยิ่งแย่ลง หลายครั้งที่เราพยายามแก้ไขปัญหา แต่กลับไม่ได้ผลเอาเสียเลย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนั้น ลองมาพิจารณากลวิธีต่างๆที่ใช้ไม่ได้ผลและมีแต่จะทำให้ตัวเองตกต่ำกันเถอะ เพิกเฉย แม้ว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่เจ้านกกระจอกเทศซึ่งเป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็มีชื่อเสียงด้านนี้ เพราะมันตอบสนองต่ออันตรายที่จู่โจมมันกะทันหัน โดยการเอาหัวมุดทราย การทำเช่นนี้ช่างดูโง่เขลา แต่กระนั้นหลายๆคนก็ตอบสนองต่อความสัมพันธ์ที่แตกร้าวด้วยวิธีคล้ายๆกันนี้ ทำเป็นเพิกเฉย ปล่อยให้ลุกลามไปเหมือนมะเร็ง กัดกินความสัมพันธ์จนไม่เหลือชิ้นดี โจมตีตัวบุคล แทนที่จะตีประเด็นปัญหาให้แตก เรากลับพลาดไปโจมตีตัวบุคคล บ่อยครั้งที่ต้นเหตุของความขัด

Page 11: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

10

��

แย้งถูกลืมไป มีการตั้งฉายาให้กันอย่างเสียๆหายๆ และจ้องจับผิดกันจนกลายเป็นกำแพงมาบดบังประเด็นที่แท้จริงเสีย เจ้ากี้เจ้าการ บางครั้งเราสนใจแต่การบรรลุุเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของตัวเองมากกว่าสิ่งอื่นใด เราอาจคิดว่าเรารอบรู้ไปเสียหมดและพยายามทำให้คนอื่นเห็นตามด้วย ความจริงแล้ว นี่เป็นความหยิ่งและความเห็นแก่ตัวรูปแบบหนึ่ง ไปคบคนผิด เราอาจจะหลงผิดไปข้องเกี่ยวกับคนบางพวกที่ชอบนินทาลับหลัง แทนที่จะมาช่วยฟื้นความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น (สภษ.16:28)

คำเดียวที่ถูกกาละก็ดีจริง ๆ

- สุภาษิต 15:23

พูดมากเกินไป เราเป็นผู้ฟังที่ดีหรือเปล่า เราตั้งใจฟังและพยายามทำความเข้าใจหรือเปล่า การเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองฝ่ายเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ ไม่ใส่ใจเวล่ำเวลาและกาลเทศะ เราอาจทำและพูดสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับไม่ได้ผลดังคาด หากความพยายามของเราไม่ถูกเวลา และ กาลเทศะ เราก็เพียงแค่ชะลอปัญหาเท่านั้น กลบไว้ “โธ่ ลืมซะเถอะ” “ทิ้งไปซะ แล้วมาเริ่มต้นกัน

Page 12: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ใหม่เถิด” คำพูดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีหากแสดงถึงการกลับมาคืนดีกันจริงๆ แต่คำพูดเหล่านี้ย่อมไม่เพียงพอ หากเราใช้มันเป็นเหมือนแค่พลาสเตอร์ติดแขนที่หัก บาดแผลที่ก่อเกิดในจิตใจต้องการมากกว่าคำพูดเพียงผิวเผิน ตัดขาด บางครั้งเราก็ปฏิบัติต่อความสัมพันธ์นั้นราวกับของใช้แล้วทิ้ง ถ้าความสัมพันธ์ไปได้ไม่ดี ก็ดูเหมือนจะยุ่งยากเกินกว่าจะไปซ่อมแซมเยียวยา บางคนอาจเสนอด้วยซ้ำว่า ทางแก้ที่ดีก็คือการยุติความสัมพันธ์นั้นเสีย ใช่แล้ว ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวอาจแย่ลงไปอีกแทนที่จะดีขึ้น หากเราจัดการรับมือกับมันผิดวิธี การฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างจริงจังจะสำเร็จได้เมื่อเราเต็มใจที่จะทำตามแบบแผนที่พระเจ้าทรงประทานให้ แบบแผนที่ถูกต้อง

ลองจินตนาการว่าคุณเป็นทหารผู้โดดเดี่ยวได้รับคำสั่งให้ยึดเมืองของข้าศึก คุณค่อยๆเคลื่อนเข้าไปใกล้และในที่สุด คุณก็เริ่มเห็นเมืองนั้น เป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ กำแพงที่ล้อมรอบเมืองแข็งแกร่ง มีทหารยืนเป็นทิวแถว ประตูบานใหญ่ยากที่จะทะลวงผ่าน คุณได้แต่ยืนตะลึงอยู่ตรงนั้น คิดว่าจะทำอย่างไรดี

Page 13: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

��

��

ฟังดูน่าขันใช่ไหม แต่พระคัมภีร์กล่าวว่า การรื้อฟื้นมิตรภาพกับคนที่ผิดใจกันนั้น ก็เหมือนการพยายามตีเมืองที่มการคุ้มกันอย่างดี กล่าวกันว่า ความโกรธเป็นดั่งประตูเมืองที่ลงดาลไว้แน่นหนา ยากที่จะฝ่าเข้าไปได้

พี่น้องที่ได้รับความช่วยเหลือก็เหมือนเมืองที่เข้มแข็ง

และการทะเลาะวิวาทเหมือนดาลที่ป้อมปราการ (สภษ.18:19)

การซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกสลายแล้วให้กลับฟื้นคืนดีอีกนั้น นับเป็นเรื่องยากแสนเข็ญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับทหารนายนั้นที่ยืนเผชิญหน้ากับเมืองที่ป้องกันแน่นหนา คุณจะต้องรู้ว่าตัวเองควรจะทำอะไร ในพระคัมภีร์มีแบบปฏิบัติที่พระเจ้าทรงวางไว้ด้วยพระองค์เอง ในชีวิตของพระเยซูคริสต์นั้น เราได้เห็นลำดับขั้นที่พระเจ้าทรงใช้ซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกหักระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ สิ่งที่พระเยซูคริสต์ทำนั้น ในความเป็นจริงก็คือพระราชกิจที่พระเจ้าทำ เพื่อจะนำโลกที่ขาดจากพระองค์ให้กลับมาหาพระองค์อีกครั้ง เปาโลเขียนว่า

คือพระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดยพระคริสต์

(2 คร.5:19)

ในแบบอย่างของพระองค์ เราเห็นลำดับขั้นตอน ที่เราต้องทำตามเพื่อสร้างสันติกับผู้อื่น พระเจ้าทรงทำอะไร พระองค์ทรงทำตามลำดับขั้นตอนใดบ้างเพื่อนำเรากลับไปเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์อีก พระ

Page 14: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

คัมภีร์ ให้คำตอบเราว่า พระองค์ทรงรัก พระองค์ทรงถ่อมพระองค์ลง พระองค์ทรงทนทุกข์ พระองค์ทรงเชื้อเชิญและพระองค์ทรงยกโทษ พระองค์ทรงรัก “โดยข้อนี้ความรักของพระเจ้า

ก็เป็นที่ประจักษ์แก่เราทั้งหลาย คือพระเจ้าทรงใช้พระบุตร

องค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อเราทั้งหลายจะได้

ดำรงชีวิตโดยพระบุตร ความรักที่ข้าพเจ้าพูดถึงนี้มิใช่ที่เรา

รักพระเจ้า แต่ที่พระองค์ทรงรักเราและทรงใช้พระบุตรของ

พระองค์มาทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญาที่ตกกับเราทั้ง

หลายเพราะบาปของเรา” (1 ยน.4:9-10)

พระเจ้าทรงเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการคืนดี พระองค์ไม่ได้รอให้เราเริ่มก่อน แม้เราจะเป็นฝ่ายผิดเองและไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะคืนดีกับพระองค์ก็ตามโดยทรงส่งพระบุตรของพระองค์ลงมา พระองค์เริ่มก้าวแรก ขณะที่เรายังเป็นคนบาป พระองค์ทรงพิสูจน์รักของพระองค์ที่มีต่อเรา (รม.5:8) พระองค์ทรงถ่อมพระองค์ลง “และเมื่อทรงปรากฏพระ

องค์ในสภาพมนุษย์แล้วพระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟังจนถึง

ความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน” (ฟป.2:8)

เป็นความจริงที่ล้ำลึกมาก พระเจ้าทรงถ่อมพระองค์ลง พระเจ้าพระบุตรทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ คือ พระเยซูคริสต์ ซึ่งมิได้เห็นแก่พระราชศักดิ์และสิทธิ์ทั้งปวง พระคริสต์ทรงไม่ถือสิทธิ์ และทรงห่วงใยเรายิ่งกว่าตัวพระองค์เอง การถ่อมลงเป็น

พระเจ้า

ความรัก

ความ ถ่อมใจ การ

ทนทุกข์ การ

เชิญชวน การ

ให้อภัย

คุณ

Page 15: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

��

��

ขั้นตอนอันน่าทึ่ง ซึ่งจำเป็นอย่างขาดไม่ได้ หากจะซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกหักระหว่างเรากับพระเจ้า พระองค์ทรงทนทุกข์ “ด้วยว่าพระคริสต์ก็ได้สิ้นพระชนม์

ครั้งเดียวเท่านั้นเพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่

ชอบธรรม เพื่อจะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า ฝ่ายกายพระองค์

จึงสิ้นพระชนม์ แต่ฝ่ายวิญญาณทรงคืนพระชนม์ (1ปต.3:18)

ความบาปได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าและมีแต่การเสียสละอันเจ็บปวดเท่านั้นที่จะสามารถทำให้ทุกอย่างดีดังเดิม การที่พระองค์ทรงยอมให้พระบุตรมา สละพระชนม์นั้น พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะเสียสละเพื่อเรา ช่างเป็นวิธีที่สุดยอดจริงๆ พระเจ้าทรงเลือกที่จะทนทุกข์ พระองค์ทรงเลือกที่จะให้พระบุตรต้องมารับทุกข์ทรมาน และแม้ว่าจะต้องตายก็ตาม เพื่อให้เราได้มีชีวิต พระองค์ทรงเชื้อเชิญ “และพระองค์ได้เสด็จมาประกาศ

สันติสุขแก่ท่านที่อยู่ไกล และประกาศสันติแก่คนที่อยู่ใกล้ เพราะว่า

พระองค์ทรงทำให้เราทั้งสองพวกมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดา โดยพระ

วิญญาณองค์เดียวกัน” (อฟ.2:17-18)

โดยผ่านทางพระคริสต์ พระเจ้าได้ทรงกระทำขั้นต่อไปคือ พระองค์ทรงเชื้อเชิญทั้งชาวยิวและชนต่างชาติ นี่เป็นข้อเสนอแห่งสันติสุขที่เกิดขึ้น เพราะการเสียสละพระชนม์ชีพของพระบุตรของพระองค์ เป็นโอกาสดีที่จะกลับมาหาพระองค์

Page 16: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

และเผชิญหน้ากับความจริงว่าเราตัดขาดจากพระองค์มานานแล้ว นี่เป็นคำเชิญชวนให้เราสนใจเรื่องนี้และรับข้อเสนอที่จะกลับคืนดีกับพระองค์ ประตูที่เปิดไปถึงพระเจ้านั้นได้เปิดออกแล้ว พระองค์ทรงยกโทษ “ในพระเยซูนั้น เราได้รับการไถ่บาป

โดยพระโลหิตของพระองค์ คือได้รับการอภัยโทษบาปของเราโดยพระ

กรุณาอันอุดมของพระองค์” (อฟ.1:7) แม้ว่าเราจะดื้อดึง แต่พระเจ้าก็ยังทรงพระกรุณาเรา เราสมควรถูกลงโทษ แต่พระองค์ยังทรงมีพระประสงค์จะสำแดงพระกรุณา แทนที่พระเจ้าจะทรงถือโทษเรา พระองค์ปรารถนาจะยกโทษให้เราผ่านพระบุตรของพระองค์ คนทั่วไปที่ใช้ชีวิตด้วยคติพจน์ว่า “ฉันไม่โกรธหรอก แต่ฉันจะเอาคืน!” จึงยากที่จะเข้าใจพระกรุณาที่เราไม่สมควรได้รับนี้ พระเจ้าไม่ประสงค์จะเอาคืน พระองค์ปรารถนาจะนำเราให้กลับมาสู่ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ การให้อภัยที่ไม่สมควรกับเรา จึงย่อมเป็นเหตุผลที่เราจะสามารถสรรเสริญพระองค์ได้ เรามั่นใจได้ว่าพระเจ้าทรงยอมรับเราไว้ในพระองค์อย่างเต็มที่ ก็เพราะพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราบนไม้กางเขน หากเราเต็มใจที่จะรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อใด พระองค์ก็ทรงเต็มพระทัยที่จะอภัยให้เราอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อนั้น ถูกต้อง พระเจ้าได้ทรงออกแบบลำดับขั้นตอนที่จำเป็นในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่ชอกช้ำและแตกหักไว้ แบบอย่าง

Page 17: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ของพระองค์ควรเป็นพื้นฐานแก่เราที่จะลงมือทลายปราการที่ขวางกั้นระหว่างผู้คน วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับที่เด็กเลียนแบบพ่อแม่ คริสตชนทุกคนควรจะเอาอย่างพระเจ้าพระบิดา ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกร้าว พระบิดาพระเจ้าทรงให้เรารู้จักการคืนดีอันสมบูรณ์ ดังนั้น เราจึงควรทำตามลำดับขั้นแบบเดียวกันนั้นคือ ความรัก ความถ่อมใจ การทนทุกข์ การเชื้อเชิญ และการให้อภัยเช่นเดียวกับพระบิดาของเรา ขั้นที่ 1 : รัก

“เหตุฉะนั้นท่านจงเลียนแบบของพระเจ้าให้สมกับเป็นบุตรที่รัก และ

จงดำเนินชีวิตในความรัก เหมือนดังที่พระคริสต์ได้ทรงรักเราทั้งหลาย”

(อฟ.5:1-2) การรักคนที่เราผิดใจด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่หากจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้สำเร็จแล้วล่ะก็ เราต้องเริ่มที่จะยอมรักเขา เนื่องจากขั้นตอนนี้สำคัญมาก จึงจำเป็นที่เราจะ

ความรัก ผู้อื่น คุณ

Page 18: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ต้องเข้าใจความหมายของความรัก อันดับแรก เรามาดูกันว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่ความรัก ความรักไม่ ใช่แค่ความรู้สึก เมื่อสัมพันธ์แตกร้าว อารมณ์แง่บวกมักถูกแทนที่ด้วยอารมณ์แง่ลบ ความจริงแล้วในแง่ของความรู้สึก อาจต้องใช้เวลานานพอดู กว่าที่เราจะยอมรับอีกฝ่ายอย่างเต็มที่ ความรักไม่ใช่การเสแสร้ง การฝืนยิ้มหรือการแสดงความเอื้ออารีอันไม่จริงใจ ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงสิ่งผิวเผินและเสแสร้ง ไม่มีทั้งความจริงใจและความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ที่แตกหัก การแสร้งรักผู้อื่นไม่ได้ผล แต่ต้องรักด้วยใจจริง เปาโลเขียนไว้ว่า “จงรักด้วยใจจริง จงเกลียดชังสิ่งที่ชั่ว จงยึดมั่นในสิ่งที่ดี” ความรักไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ความรักไม่ได้กำเนิดมาจากมนุษย์หรือเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ความรักของพระเจ้าก็อยู่เหนือความสามารถที่เราจะสร้างขึ้นได้ ในเมืื่อเราไม่อาจสร้างความรักได้ แล้วใครล่ะที่สร้างความรัก บุคคลนั้นก็คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ผู้ซึ่งสถิตอยู่ในคริสตชนทั้งปวง (1คร.6:19) โดยการทรงนำของพระเจ้า เราจึงสามารถรักบุคคล ซึ่งเราอยากให้เขายอมรับอีกครั้งได้อย่างแท้จริง (กท.5:22)

ความรักไม่ใช่การแก้เผ็ด เมื่อคนอื่นทำไม่ดีต่อเรา เราต้องเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง พระเยซูตรัสว่า “แต่เราบอกท่านทั้งหลายที่กำลังฟังอยู่ว่า จงรักศัตรูของท่าน จงทำดีแก่ผู้เกลียด

Page 19: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ชังท่าน จงอวยพรแก่คนที่แช่งด่าท่าน จงอธิษฐานเพื่อคนที่เคี่ยวเข็ญท่าน”(ลก.6:27-28) พระองค์กำลังบอกเราว่าเราต้องมีความเมตตาแทนความเกลียดชัง เราควรพูดจาอ่่อนหวาน กับผู้ที่พูดถึงเราในทางไม่ดี เราควรจะแสดงความห่วงใยอย่างสม่ำเสมอต่อผู้ที่ปฏิบัติต่อเราอย่างต่ำทราม โดยสรุปก็คือเราควรเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องต่อผู้อื่น โดยไม่คำนึงว่าเขาจะตอบโต้เราอย่างไร ตอนนี้เราได้เห็นแล้วว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่ความรัก คราวนี้มาดูด้านบวกกันบ้าง ความรักเป็นใหญ่เหนือความรู้สึกส่วนตัว หลักการนี้ปฏิบัติไม่ง่ายเลย เพราะหมายถึงการฝืนตัวเองมาก เมื่อเราทำสิ่งที่ถูกต้องต่อผู้อื่น เราต้องอดทนไม่แสดงอารมณ์ในทางลบในความเป็นจริงเรากดความรู้สึกไม่ดีไว้เพื่อเห็นแก่คนอื่น แต่นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิเสธตัวเองซึ่งพระคริสต์เรียกร้องให้เราทำ (มธ.16:24) การตอบสนองต่อผู้อื่นในทางที่ถูกต้องโดยไม่เอาความรู้สึกของตนเป็นใหญ่ ย่อมเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ความรักช่วยส่องกระจก บางครั้งสิ่งที่ยากที่สุดในการรักผู้อื่น ก็คือ การสำรวจทัศนคติของตัวเราเอง แต่นั่นควรเป็นงานหลักของเราเลย ก่อนที่เราจะพยายามแก้ไขคนอื่น เราควรจะแน่ใจก่อนว่าเราควรบริสุทธิ์ใจ พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ท่านคนน่าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่านก่อนแล้วท่าน

Page 20: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

20 ��

จะเห็นได้ถนัดจึ งจะเขี่ ยผงออกจากตาพี่น้องของท่านได้”(มธ.7:5) แม้ว่าจะยากและมักจะเจ็บปวด แต่ก็เป็นจริงได้ นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราพึ่งพาการงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของเรา พันธกิจของพระองค์คือการให้ดวงใจและอุปนิสัยที่ฟื้นคืนขึ้นใหม่ (รม.12:2) ด้วยความช่วยเหลือของพระองค์ เราจะสามารถแทนที่ความโกรธ ความขมขื่นและการผูกพยาบาท ด้วยความเมตตา ดวงใจที่อ่อนสุภาพและการให้อภัย (อฟ.4:31-32)

พระเจ้าทรงรักเราแต่ละคน

ราวกับว่ามีเราอยู่เพียงคนเดียว

- ออกัสติน

ความรักชิงลงมือก่อน โดยธรรมชาติแล้วเรามีแนวโน้มที่จะคอยหลีกเลี่ยงคนที่เราขัดแย้งด้วย แต่หากเราจะแก้ไขสถานการณ์นี้ เราต้องเต็มใจเป็นคนเริ่มกระบวนการนี้ก่อน ก็คือ การรักเขาก่อนนั่นเอง คือความเต็มอกเต็มใจที่จะเริ่มก้าวไปหาเขาและเริ่มลงมือ(มธ.5:23-24;18:15) ใช่แล้ว ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวสามารถซ่อมแซมได้ เมื่อเราเป็นฝ่ายเริ่มกระบวนการให้ความรักก่อน

Page 21: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

20 ��

คิดทบทวน เมื่อไม่นานมานี้มีคนทำให้คุณเจ็บช้ำหรือไม่? คุณได้ตัดสินที่จะตัดอารมณ์ของคุณทิ้งแล้วทำสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า? คุณได้ขอพระเจ้าช่วยคุณให้รักคนคนนั้นแทน ที่จะเมินเขาหรือแก้แค้นเขาหรือไม่ ถ้าคุณได้ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า และลงมือทำขั้นแรกแล้ว มีหลักประกันหรือไม่ว่าคนคนนั้นจะยอมรับรักของคุณ? ความรักนี้ควรจะดำเนินไปอีกนานแค่ไหนเพื่อให้เกิดการคืนดีกัน? ขั้นที่ 2 : ถ่อมใจ

“เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า

ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจอันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น

คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน จงเพียรพยายามให้

คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติ

ภาพและพันธนะ” (อฟ.4:1-3) อปุสรรคสำคญัอยา่งหนึง่ทีก่อ่ใหเ้กดิการโตเ้ถยีงกบัคนอืน่กค็อื ความหยิง่ยโส ปญัหาเหลา่นีแ้กไ้ขได ้แต่อัตตาของเรามักเข้ามาขวาง บางครั้งผู้คนมักมองว่าการลงมือสร้างสันติสุขเป็นความอ่่อนแอ และเพราะเราไม่ต้องการให้คนอื่นมองเราว่าอ่อนแอ เราจึงปกป้องศักดิ์ศรีของเราโดยการไมเ่ขา้หาคนเหลา่นัน้กอ่น หรอืไมก่ป็ดิกัน้ตวัเองไปเลย แต่ความเย็นชาที่เกิดขึ้นเพราะทิฐิแบบนี้ ไม่ถูกต้องโดย

ความรัก ความ ถ่อมใจ ผู้อื่น คุณ

Page 22: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

เฉพาะสำหรับคริสเตียน หากพระคริสต์ผู้ทรงเป็นพระเจ้ายังลดพระองค์ลงเพื่อสร้างสันติกับคนบาปได้ เราก็ต้องลดตัวเองลง เพื่อสร้างสันติกับผู้อื่นได้เช่นกัน ความจริงแล้วนี่เป็นคำสั่งให้เราดำเนินไปด้วย “ใจถ่อมลงทุกอย่าง” ฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่เรามีปัญหากับผู้อื่น เราควรเข้าหาเขาด้วยความถ่อมใจ เมื่อเราคิดเช่นนี้ เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าความถ่อมใจคืออะไร ความหมายของความถ่อมใจ พจนานุกรมอเมริกันเฮอริเทจ

(The American Heritage Dictionary) จำกัดความ “ความถ่อม” ว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า ความภูมิใจ แต่เป็นความภูมิใจชนิดไหนเล่า สิ่งที่ผู้เรียบเรียงพจนานุกรมคิดไว้ในใจ ต้องไม่ใช่แบบที่น่ายอมรับ อย่างความภูมิใจที่เรามีต่องานของเรา ต่อครอบครัวของเราและต่อประเทศชาติแน่นอน คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่าความถ่อม น่าจะเป็นคำว่า ความถือดี การเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และความจองหองมากกว่า หากความถ่อมนั้นตรงข้ามกับความภูมิใจอย่างนี้ ก็หมายความว่าเราไม่ควรคิดถึงตัวเองมากเกินกว่าที่ควรเป็น (รม.12:3) หมายความว่าเราควรสนใจความต้องการและความทุกข์ของผู้อื่น (ฟป.2:4) และเมื่อเราคิดเช่นนี้ เราก็จะมีความปรารถนาเพียงอย่างเดียวคือ การเป็นผู้ที่ปรนนิบัติกันและกัน (อฟ.5:21)

ความถ่อมที่เป็นรูปธรรม ความถ่อมใจมีบทบาทอย่างไรในการฟื้นความสัมพันธ์ ข้อแรก ถ้าเราไม่ใช่คนหยิ่งยโสเราก็

Page 23: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

คงยอมทำทุกสิ่งแม้แต่สิ่งเล็กน้อยและสละได้แม้แต่สิ่งที่ใหญ่ เพื่อให้ความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นราบรื่น ข้อที่สอง ถ้าเราใส่ใจในความเดือดร้อนของคนอื่นจริงๆแล้วล่ะก็ เราคงเห็นว่า ความรู้สึกและความคิดเห็นของพวกเขาก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความรู้สึกและความคิดเห็นของเราเอง และแม้ว่าจะทำยาก แต่เราก็จะพยายามเข้าใจ

ความถ่อมใจคือความสามารถที่จะมองตัวเอง

อย่างที่พระเจ้าได้ทรงบรรยายถึงเราเอาไว้

- เฮนรี่ เจคอบเซ่น

สุดท้ายถ้าเราถ่อมใจลงเราจะยังคงนับถือคนอื่นอยู่ แม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นด้วยกับคนอื่นก็ตาม เราจะพยายามส่งเสริมเขาในทางที่เป็นประโยชน์ แม้ว่าเขาจะไม่เห็นคุณค่าความพยายามของเราก็ตาม ความสัมพันธ์สามารถซ่อมแซมได้ หากเรามีหัวใจของพระคริสต์และถ่อมอย่างที่พระองค์ทรงกระทำ (ฟป.2:5) แล้วเราก็พร้อมที่จะรับการทนทุกข์ได้ด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปที่สำคัญ คิดทบทวน พระคริสต์ทรงยอมสละสิทธิ์ใดบ้าง เพื่อจะนำเรากลับมาหาพระองค์อีกครั้ง ถ้าพระองค์ทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อเราแล้ว ทำไมเราจึงมีปัญหามากนักในการยอมสละสิทธิ์

Page 24: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ของเราบ้าง ครั้งสุดท้ายที่คุณ “เป็นฝ่ายถูก” แต่คุณกลับยอมถ่อมใจลง และเป็นฝ่ายขอโทษคนอื่นก่อนคือเมื่อไหร่ หากคุณรู้ว่า คุณเป็นฝ่ายผิดคุณจะแสดงความถ่อมใจของคุณอย่างไร ขั้นที่ 3 : เต็มใจที่จะทนทุกข์

“ฉะนั้นโดยเหตุที่พระคริสต์ได้ทรงทนทุกข์ทรมานทางพระกายแล้ว ท่าน

ทั้งหลายก็จงมีความคิดอย่างเดียวกันไว้เป็นเครื่องอาวุธด้วย” (1ปต.4:1) พระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพมนุษย์ที่ตายเพื่อความบาปของโลกนี้ การทนทุกข์ของคริสเตียนย่อมไม่เหมือนการทนทุกข์ของพระองค์แน่ แต่เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระคริสต์ได้หลายวิธี การทนทุกข์อย่างพระคริสต์ ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความจริงใจ ความกล้าหาญ ความมั่นใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความอดทน ความมุ่งมั่นตั้งใจจริง พระคริสต์ทรงตั้งพระทัยที่จะทำตามพระประสงค์ของพระบิดา โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ทรมานที่จะได้รับ (มธ.26:39) พระบิดาในสวรรค์ทรงมีพระประสงค์ให้เราอยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง (รม.12:18) เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น และมักจะต้องเกิดขึ้น เราควรมีความตั้งใจจริงที่จะทำทุกอย่างให้เกิดการประนีประนอมขึ้นโดยระลึกเสมอว่าการทนทุกข์จะต้องเกิดขึ้น

ความรัก ความ ถ่อมใจ

การ ทนทุกข์ ผู้อื่น คุณ

Page 25: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

��

��

ความกล้าหาญ พระคริสต์ทรงทราบว่าการทนทุกข์ของพระองค์นั้นหนักหนาสากรรจ์ แต่พระองค์ก็ทรงเผชิญอย่างกล้าหาญ (ลก.9:51) เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างเรากับคนอื่น ใจเรามักไม่กล้าพอที่จะเผชิญกับปัญหาเพราะกลัวจะเจ็บปวด แม้ว่าเราจะต้องทนทุกข์ แต่เราก็ต้องเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างกล้าหาญ ความมั่นใจ พระเยซูทรงมอบพระองค์ไว้ในพระหัตถ์พระบิดาเจ้า แม้ว่าพระองค์ต้องเจอกับความทนทุกข์ทรมานทั้งปวง (1ปต.2:23) การต้องรับสภาพนี้คงเป็นเรื่องยากมากทีเดียวสำหรับเรา อย่างไรก็ตามวิธีนี้คือกุญแจที่จะก่อให้เกิดสิ่งดีจากสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เมื่อเรามั่นใจในพระเจ้า พระองค์ไม่เพียงทำให้เราเข้มแข็ง แต่พระองค์ทรงช่วยให้เกิดผลดีแก่เราในทุกสิ่ง (รม.8:28)

ความเห็นอกเห็นใจ พระเยซูทรงเข้าใจถึงความทุกข์ใจอย่างมนุษย์เราได้เป็นอย่างดี (อสย.53:3-4) ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจที่พระองค์แสดงออกนั้น ดึงดูดผู้คนที่อยากจะกลับคืนดีกับพระเจ้า ในทำนองเดียวกันหากเรารับฟังปัญหาและความปวดร้าวใจของคนที่ห่างเหินจากเรา เราก็จะสามารถมีอิทธิพลต่อเขาได้มากทีเดียว พวกเขาอาจยอมรับเรา หากพวกเขาได้สังเกตว่าเราก็รู้สึกเจ็บปวด เมื่อพวกเขาเจ็บปวด เปาโลกล่าวว่า “จงอวยพรแก่คนที่เคี่ยวเข็ญท่าน จงให้พร อย่าแช่งด่าเลย จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี จง

Page 26: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้” (รม.12:14-15)

ไม่มีใครสนใจหรอกว่าคุณจะรู้มากแค่ไหน

จนกว่าพวกเขาจะรู้ว่าคุณสนใจเขามากเพียงใด

- จอห์น แคสซิส

ความอดทน พระคริสต์เผชิญหน้ากับความทุกข์ด้วยความอดทนอดกลั้นอย่างเหลือล้น และเราก็ต้องเป็นเช่นนั้นด้วย (ฮบ. 12:1-3) การทนทุกข์เพราะผู้อื่นที่เป็นต้นเหตุนั้นก็ยากที่จะยอมรับได้โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ที่แตกร้าว โดยธรรมชาติแล้วเรามักจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการถูก วิพากษ์วิจารณ์ การถูกเข้าใจผิด และถูกปฏิเสธ แต่หากจะให้ความขัดแย้งระหว่างบุคคลคลี่คลายได้ เราก็ต้องยอมทนความเจ็บปวดในกระบวนการนี้ให้ได้ ไม่มีใครชอบความเจ็บปวด แต่ก็คุ้มค่าหากจะทำให้มิตรภาพที่เคยมีกลับมาอีกครั้งหรือได้ประสานรอยร้าวในชีวิตสมรสที่พังทลาย ใช่แล้ว การแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกร้าวเป็นกระบวน การที่เจ็บปวด แต่หากเราพร้อมที่จะรับความเจ็บปวด การรื้อฟื้นความสัมพันธ์นั้นเป็นไปได้ คิดทบทวน ความทุกข์นี้เริ่มขึ้นที่ไหนและเพราะเหตุใดจึงเกิดขึ้น (ดู ปฐก.3) ความเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริงที่แสดงออกสามารถทลายปราการแห่งความขมขื่นและความ

Page 27: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

เกลียดชังได้อย่างไร คุณจำได้ไหมว่าคุณเต็มใจทนทุกข์อย่างไรบ้างเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่แตกร้าวให้กลับดี ขั้นที่ 4 : ชวนมาคืนดีกัน

“หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดบาปต่อท่าน จงไปแจ้งความผิด

บาปนั้นแก่เขาสองต่อสองเท่านั้น ถ้าเขาฟังท่าน ท่านจะได้พี่น้องคืนมา”

(มธ.18:15) เมื่อเราขัดแย้งกับผู้อื่นอยู่ สิ่งหนึ่งที่ทำได้ยากที่สุดก็คือนั่งลงและพูดกันให้เข้าใจอย่างสงบ การหลบหน้ากันหรือการระเบิดโทสะใส่กัน ย่อมง่ายกว่าการพูดคุยกันเงียบๆถึงความเห็นที่แตกต่างกันเรามักหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันเพราะความอาย ความกลัว และแม้แต่ความโกรธ แต่หากตั้งใจจะแก้ไขความสัมพันธ์ให้ดีจริงๆ เราก็จำเป็นต้องทำอย่างนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความขัดแย้ง เราต้องชวนอีกฝ่ายมาคุยกันในเรื่องนั้นๆว่าจะแก้ไขความไม่ลงรอยนี้ได้อย่างไร พระบัญชา การเชิญชวนให้มาคืนดีกันนั้น เป็นการแสดงออกถึงการเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้า พระเยซูสอนว่าวิธีที่ถูกต้องที่จะยุติการถกเถียงนั้นก็คือ การให้แต่ละคนมาร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ว่าเราจะเจตนาล่วงเกินเขาหรือเขาเป็นฝ่ายล่วงเกินเรา ความรับผิดชอบของเราก็คือไปหาเขาแล้วแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะให้ความร่วมมือ แต่

ความรัก ความ ถ่อมใจ

การ ทนทุกข์

การ เชิญชวน ผู้อื่น คุณ

Page 28: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

พระเจ้าสอนเราให้ทำเช่นนั้น เราไม่มีทางเลือกอื่นใดที่เหมาะสมไปกว่าการเชื่อฟังพระองค์ ต้องมีความซื่อตรง การพบกันหน้าต่อหน้าจะไร้ความหมายหากเราไม่พูดกันอย่างเปิดเผย และจริงใจ หากใครทำผิดต่อเรา เราต้องบอกเขา หากเราเจ็บปวดหรือโกรธเคืองเราก็ต้องพูด อย่างไรก็ดี เราไม่ควรจะพูดหรือจะบอกเพราะอยากเถียงหรือแก้แค้น แต่เราควรให้อีกฝ่ายรู้ว่าเรามีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างกันจริงๆ ความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญ ปัญหามักจะเลวร้ายลงหากปัญหานั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงคนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เราต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะพูดอะไรก็ขอให้พูดกันเป็นการส่วนตัวกับคนที่ผิดเท่านั้น วิธีนี้ป้องกันไม่ให้เกิดการลอบกัด การทำลายชื่อเสียงและการนินทา อีกทั้งยังปกป้องชื่อเสียงของทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วย การไม่ทำให้เรื่องราวแพร่ไป ถือว่าเราให้ความนับถือและการทำเช่นนี้ยังอาจส่งผลให้คนคนนั้นให้ความร่วมมือด้วยอย่างดีก็เป็นได้

หากใครทำผิดต่อเรา เราต้องบอกเขา

หากเราเจ็บปวดหรือโกรธเคือง เราต้องพูด

Page 29: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ถึงเวลาของผู้ไกล่เกลี่ย การเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัวกับอีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มธ.18:16 กล่าวว่าหากการเผชิญหน้ากันตามลำพังนั้นล้มเหลว เราควรขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น สติปัญญาและอิทธิพลของคนนอกอาจเป็นประโยชน์และแม้ว่าปัญหาจะยังคงอยู่ พวกเขาก็จะช่วยเป็นพยาน ซึ่งจะกันไม่ให้เรื่องราวที่พูดคุยกันถูกสื่อผิดเพี้ยนไป ดังนั้นหากเราไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว ขั้นต่อไปคือพาเขาไปคุยต่อหน้า คริสตจักร ดังนั้นเมื่อเราขัดเคืองใจกับผู้อื่น เราจะต้องชวนพวกเขาให้มาเผชิญหน้ากับเรื่องนี้และแก้ไขปัญหาร่วมกับเขา คิดทบทวน ครั้งสุดท้ายที่คุณนั่งลงคุยกับคู่กรณีให้ทะลุปรุโปร่งถึงเรื่องคาใจที่ทำให้คุณห่างเหินกันคือเมื่อไหร่ เพราะเหตุใดเมื่อต้องเผชิญหน้าอีกฝ่ายจึงยากนักที่จะพูดตรงๆ เพราะเหตุใดการหาคนเข้าข้าง ง่ายกว่าคนไกล่เกลี่ยที่เชื่อฟังพระเจ้า หากคุณรู้ว่าคนสองคนแตกแยกกัน คุณจะช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาอย่างไร

Page 30: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

30 ��

ขั้นที่ : 5 ให้อภัย

“...และอภัยโทษให้กันเหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้

แก่ท่านในพระคริสต์นั้น”(อฟ.4:32) ครูรวีฯท่านหนึ่งกำลังอธิบายเรื่องการให้อภัยให้กับนักเรียนชั้นเด็กเล็กฟัง เธอกล่าวว่าหากนักเรียนถูกเพื่อนร่วมชั้นแกล้ง นักเรียนต้องมีเมตตาตอบ และหากคนที่แกล้งนั้นกล่าวขอโทษ ก็ไม่ควรจะไปเอาผิดกับเขาอีก นักเรียนในชั้นมองหน้ากันไปมาด้วยความสงสัย จนในที่สุดเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งโพล่งออกมาว่า “แต่ครูคะ มันยากจัง” หนูน้อยพูดถูก เป็นเรื่องยากสำหรับเราทุกคน แต่ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวจะไม่อาจฟื้นคืนได้ หากเราไม่พร้อมที่จะทำสิ่งที่ยาก เราต้องเต็มใจที่จะยอมรับคนที่ทำร้ายเราและอภัยให้กันและกัน อย่างที่พระเจ้าทรงอภัยให้เรา แต่เราจะมีท่าทีตอบสนองต่อผู้อื่นอย่างไร เพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการให้อภัยของพระเจ้า การให้อภัยอันเที่ยงธรรม หมายความว่าการให้อภัยของเราต้องเป็นเช่นเดียวกับการที่พระเจ้าทรงให้อภัยคือ ไม่ใช่การมองข้ามหรือยกเว้นความผิดของผู้อื่น แต่เป็นการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม เป็นการรับรู้ถึงความผิดที่คนเราทำต่อกันและการลงโทษที่ถูกต้องสมควร ทั้งยังเป็นการตระหนักด้วยว่า

ความรัก ความ ถ่อมใจ

การ ทนทุกข์

การ เชิญชวน

การ ให้อภัย ผู้อื่น คุณ

Page 31: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

30 ��

เพราะพระเยซูได้ทรงยอมรับโทษทัณฑ์แล้ว เราจึงมีอิสระเต็มที่ที่จะให้อภัย โดยไม่สวนทางกับหลักการเรื่องการลงโทษอย่างยุติธรรม จริงอยู่ ที่คนเราอาจทำร้ายจิตใจกันไปแล้ว แต่พระเยซูได้ทรงจ่ายค่าไถ่สำหรับการกระทำเหล่านั้นหมดแล้ว ดังนั้นการให้อภัยกันและกันจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การให้อภัยที่มีข้อแม ้ ดังเช่นที่พระเจ้าได้ทรงอภัยให้เรา เราก็ต้องเต็มใจให้อภัยกันและกันทุกครั้งไป แต่การให้อภัยนั้นจะไม่สมบูรณ์หากคนที่ทำร้ายเรานั้นไม่เต็มใจที่จะกลับใจ พระเยซูสอนว่า

ถ้าพี่น้องผิดต่อท่าน จงเตือนเขา และถ้าเขากลับใจแล้ว

จงยกโทษให้เขา แม้เขาจะผิดต่อท่านวันหนึ่งเจ็ดหน

และจะกลับมาหาท่านทั้งเจ็ดหนนั้น แล้วว่า “ฉันกลับใจ

แล้ว” จงยกโทษให้เขาเถิด (ลก.17:3-4)

ต้องมีการยอมรับผิดอย่างแท้จริงและมีความพยายามอย่างจริงจังที่จะเจรจาแก้ไขกับคนที่ทำผิด มิฉะนั้นความสัมพันธ์ก็ไม่อาจดีดังเดิมได้ การให้อภัยที่เกิดจากการตัดสินใจ หมายความว่าเราต้องเลือกที่จะยกโทษทั้งๆที่ขัดกับความรู้สึกของเรา พระคัมภีร์กล่าวว่าแม้พระเจ้าจะทรงเสียพระทัยและพิโรธเพราะความบาปของเรา (สดด.7:11) แต่พระองค์ก็ทรงเลือกที่จะให้อภัย (อฟ.4:32) และเราก็ต้องทำเช่นนี้ต่อกันด้วย โดยไม่มัวแต่คำนึงถึงความรู้สึกของเราเอง เราต้องเลือกที่จะยกโทษที่มีคนพูด

Page 32: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

หรือทำไม่ดีต่อเรา

เราต้องเลือกที่จะยกโทษ

ทั้งๆที่ขัดกับความรู้สึกของเรา

การให้อภัยทางอารมณ์ แม้ว่าเราต้องให้อภัยทั้งๆที่ไม่อยาก แต่เราก็ควรพยายามอย่างยิ่งที่จะมีความรู้สึกที่สอด คล้องกับการให้อภัย หมายความว่าการอภัยให้กันมิใช่อาศัยเพียงความตั้งใจจริงเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงท่าทีในใจด้วย เปาโลชี้ให้เห็นความสำคัญนี้ในจดหมายที่ส่งถึงคริสตจักรเมืองโคโลสี ท่านกล่าวว่า เราควรสวมใจเมตตาต่อผู้อื่น อีกทั้งมีใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพ ใจอดทนไว้นาน เราควรอดทนซึ่งกันและกันยก โทษคำบ่นของกันและกัน (คส.3:12-

13)

อุดมคติเหล่านี้ไม่ง่ายเลยที่จะนำไปปฏิบัติ เมื่อมีคนมาทำให้เราเจ็บใจ และดูถูกเหยียดหยามเรา แต่เราสามารถตอบสนองอย่างเหมาะสมได้หากเรายอมให้พระเจ้าทรงควบคุมใจของเรา ผลแห่งพระวิญญาณที่เป็นแรงผลักดันของเปาโลเป็นถึงท่าทีที่ถูกต้อง

ฝา่ยผลของวญิญาณนัน้ คอื ความรกั ความปลาบปลืม้ใจ

สนัตสิขุ ความอดกลัน้ใจ ความปราน ี ความด ี ความสตัย ์

ซือ่ ความสภุาพออ่นนอ้ม การรูจ้กับงัคบัตน เรือ่งอยา่งนี้

Page 33: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ไมม่ธีรรมบญัญตัหิา้มไวเ้ลย ผูท้ีอ่ยูฝ่า่ยพระเยซคูรสิตไ์ด้

เอาเนือ้หนงักบัความอยากและตณัหาของเนือ้หนงัตรงึไว้

ทีก่างเขนแลว้ ถา้เรามชีวีติอยูใ่นพระวญิญาณ กจ็งดำเนนิ

ชวีติตามพระวญิญาณดว้ย เราอยา่ถอืตวั อยา่ยัว่โทสะกนั

อยา่อจิฉารษิยากนัเลย (กท.5:22-26)

หากเราปรารถนาจะถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยชีวิตของเราจริง ๆล่ะก็ เราต้องให้พระวิญญาณของพระองค์ทำงานในตัวเรา เพื่อให้การให้อภัยของเราเป็นการให้อภัยที่มาจากใจ คิดทบทวน เมื่อมีคนขอให้คุณยกโทษให้ คุณคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะอภัยให้หรือไม่ เพราะเหตุใด เราทำถูกหรือไม่ที่ไม่ยอมให้อภัยคนที่ไม่สำนึกผิด การที่เราไม่ยอมให้อภัยเป็น

อุปสรรคอย่างไรต่อความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า แบบแผนของพระเจ้า/การปฏิบัติของเรา อาจฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่มีเรื่องแบบนี้จริง ๆ คือ หลายคนเลือกที่จะละเลยไม่ประสานความสัมพันธ์ที่แตกร้าวตามวิธีของพระเจ้า เพราะจริงๆแล้วพวกเขาชอบความขัดแย้ง มีคนพูดด้วยซ้ำว่า “ฉันชอบเกมการต่อสู้ที่สูสี มันทำให้ชีวิตน่าสนใจ” บางคน

พระเจ้า

ความรัก

ความ ถ่อมใจ การ

ทนทุกข์ การ

เชิญชวน การ

ให้อภัย

ความรัก ความ ถ่อมใจ

การ ทนทุกข์

การ เชิญชวน

การ ให้อภัย ผู้อื่น คุณ

Page 34: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ไม่อยากทำตัวดีกับเพื่อนบ้านที่รั้วติดกัน องค์กรธุรกิจต่างๆยังคงต่อสู้เชือดเฉือนกันอย่างดุเดือดเพื่อไปสู่ความสำเร็จ สมาชิก คริสตจักรบางคนจะรู้สึกว่าชีวิตของตนได้รับการทรงเรียกให้เริ่มก่อปัญหาเวลาประชุมเรื่องพันธกิจ พระคัมภีร์บอกเราถึงเหตุผลที่เกิดท่าทีที่ผิดๆ เหล่านี้ในจิตใจผู้คน ยากอบกล่าวว่า “อะไรเป็นสาเหตุของสงคราม และอะไรเป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาทกันในพวกท่าน มิใช่กิเลสตัณหาของท่านหรือที่ทำให้ท่านต่อสู้กัน” (ยก.4:1) ในทางตรงกันข้าม วิถีทางของพระเจ้าเป็นทางที่ไม่เห็นแก่ตัว เมื่อพระองค์ทรงพยายามคืนดีกับเรา พระ องค์ทรงวางแบบอย่างของความรัก ความถ่อมใจ การทนทุกข์ การเชิญชวนและการให้อภัยไว้ หากเรารับพระคุณนี้ แต่กลับปฏิเสธที่จะแสดงน้ำใจอย่างเดียวกันต่อผู้ที่ทำผิดต่อเรา ก็ถือว่าเราไม่รู้พระคุณอย่างยิ่งเลยทีเดียว หากคุณตระหนักความจริงว่า พระเจ้าทรงทำอะไรเพื่อคุณบ้าง ก็ขอให้คุณอยู่ร่วมกับคนอื่นโดยตั้งใจดำเนินตามแบบอย่างของพระเจ้า แล้วถ้ายังไม่ได้ผลเล่า พระเจ้ามิได้ขอให้เรารับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น แต่พระองค์เรียกร้องให้เรารับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำและวิธีที่เรา

Page 35: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ดำเนินชีวิตคริสเตียน เรามีหน้าที่ที่ต้องเลียนแบบพระบิดาในสวรรค์และก้าวเดินตามขั้นตอนที่ทรงวางแบบอย่างไว้ หากเราพยายามอย่างแท้จริงที่จะทำตามนี้ แต่ปัญหาก็ยังไม่คลี่คลายแล้วล่ะก็คุณควรพิจารณาข้อแนะนำต่อไปนี้ อย่าโทษตัวเอง ผู้เขียนสดุดีได้เขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าพักอยู่ท่ามกลางผู้เกลียดศานตินานจนเกินไปแล้ว ข้าพเจ้าชอบศานติ แต่เมื่อข้าพเจ้าพูด เขาหนุนสงคราม” (สดด.120:6-7)

คุณรู้หรือไม่ว่าความโกรธของเขามาจากสิ่งใด บางครั้งดูเหมือนว่าคุณได้พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว เพื่อสร้างสันติ แต่อีกฝ่ายยังรังควานคุณไม่เลิกและหาเรื่องคุณตลอด ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณต้องทำเท่าที่คุณทำได้ แล้วฝากที่เหลือไว้กับพระเจ้า เมื่อความสัมพันธ์แตกร้าว ทั้งสองฝ่ายต้องเต็มใจที่จะฟื้นความสัมพันธ์ แต่ก็มักจะไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป บ่อยครั้งที่ฝ่ายหนึ่งพยายามแก้ไข แต่อีกฝ่ายกลับไม่ยอมร่วมมือเหมือนที่ผู้เขียนสดุดีบอกไว้ว่า เราใฝ่หาศานติ แต่ “พวกเขาใฝ่หาสงคราม” ฉะนั้นจึงไม่ใช่ความผิดของเรา แต่เป็นของเขา ท่าทีของพวกเขาขัดขวางกระบวนการคืนดี อาจเป็นเพราะความขมขื่น ความกลัว ความโกรธ ความอาย ความเสียใจ หรือแม้แต่ศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็ตาม ก็เป็นความผิดของเขามิใช่เรา หากเราได้พยายามทำทุกอย่างแล้ว แต่ความสัมพันธ์ก็ยังร้าวฉานอยู่อย่างนั้น พวกเขาจะต้องตอบ

Page 36: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

คำถามกับพระเจ้าในเรื่องนี้เอง วางใจให้พระเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงอีกผ่ายหนึ่ง เปาโลเขียนคำแนะนำถึงทิโมธีดังต่อไปนี ้ “ฝา่ยผูร้บัใชข้ององคพ์ระผูเ้ปน็เจา้

ตอ้งไมเ่ปน็คนทีช่อบทะเลาะววิาท แตต่อ้งมใีจเมตตาตอ่ทกุคน เปน็ครทูีเ่หมาะ

สมและมีความอดทน ชี้แจงให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจด้วยความสุภาพ ว่าพระเจ้า

อาจจะทรงโปรดใหเ้ขากลบัใจและมาถงึซึง่ความจรงิ” (2ทธ.2:24-25) เราต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะทำตามคำแนะนำนี้ เมื่อเราถูกผู้อื่นต่อต้าน เราไม่ควรเป็นฝ่ายชวนทะเลาะ แต่เราควรจะสุภาพอ่อนโยนและอดทน เราควรพูดกับเขาอย่างนุ่มนวลและมีมารยาท และแม้ว่าความพยายามของเราจะไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้นเลย แต่พระเจ้าจะทรงสามารถเปลี่ยนแปลงท่าทีและพฤติกรรมของพวกเขาได้

พระเจ้ามิได้เรียกร้อง ให้เรารับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น

แต่พระองค์ทรงเรียกร้องให้เรารับผิดชอบ

ต่อสิ่งที่เราทำและวิธีที่เราทำ

ฉะนั้น เราควรมีกำลังใจ เราอาจล้มเหลวในครั้งแรก แต่คงไม่เป็นอย่างนั้นในระยะยาว เราต้องอดทนและอธิษฐานเผื่อเขา เราต้องวางใจให้พระเจ้าทรงเปลี่ยนพวกเขา ขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม บางครั้งก็ต้องอาศัยคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้คืนดีกัน ขณะที่เปาโลถูกจำ

Page 37: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

คุกท่านได้ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างคนรับใช้ที่ชื่อ โอเนสิมัส กับเจ้านายที่ชื่อฟีเลโมน เห็นได้ชัดว่าคนรับใช้เป็นฝ่ายผิดและทิ้งนายไป ต่อมาไม่นานโอเนสิมัสได้พบกับเปาโลและมาเป็นคริสเตียน เปาโลจึงเขียนจดหมายถึงฟีเลโมนเพื่อเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เปาโลขอร้องให้ฟีเลโมนยอมรับโอเนสิมัสอีกครั้ง ไม่ใช่ในฐานะคนรับใช้ แต่ในฐานะพี่น้องคริสเตียนโดยการสำแดงความรักแบบคริสเตียนอันน่าอัศจรรย์ เปาโลยังออกตัวด้วยว่าจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่โอเนสิมัสเคยกระทำต่อฟีเลโมน (ฟม.16-18)

เช่นเดียวกับฟีเลโมนและโอเนสิมัส เราอาจต้องการคนไกล่เกลี่ยให้เช่นกัน บุคคลผู้นั้นควรเป็นคนที่รับใช้พระเจ้า มีสติปัญญา และมีความรัก ควรเป็นผู้ที่เข้าใจเราและสถาน-การณ์ ยุติธรรมและไม่มีอคติในการตัดสินความ และเหนือสิ่งอื่นใด ต้องเป็นคนไวต่อการทรงนำของพระเจ้า คนกลางอาจเป็นศิษยาภิบาล ที่ปรึกษาหรือเพื่อนที่ไว้วางใจได้ ซึ่งสามารถช่วยได้หากเราฟื้นความสัมพันธ์ไม่สำเร็จ รักเขาโดยไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าเราไม่อาจแก้ไขสาเหตุของปัญหาระหว่างเรากับเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องรักเขา เราควรปรารถนาที่จะปฏิบัติต่อเขาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าเขาจะรู้สึกหรือทำกับเราอย่างไร ใน 1โครินธ์์.13:4-7 เปาโลบรรยายถึงลักษณะของความรักที่ไม่มีเงื่อนไขไว้ดังนี้ “ความรักนั้นก็อดทนนานและ

Page 38: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

กระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง”

วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำลายศัตรูก็คือ

ทำให้เขาเป็นมิตรของคุณเสีย

- อับราฮัม ลินคอล์น

เราควรจะอดทน ต้องอาศัยสติที่ตั้งมั่นและบ่อยครั้งต้องอาศัยความพยายามอันยากยิ่งที่จะไม่ตอบโต้แบบทันควัน เราควรฝึกให้ตนเองสามารถตอบสนองแบบพระคริสต์เมื่อผู้อื่นทำผิดต่อเรา เราควรจะกระทำคุณให้ หากเราเลือกที่จะแสดงความเมตตาอารี เราก็จะสามารถตอบแทนการกระทำที่ร้ายกาจได้ด้วยความดี ศัตรูของเราจะแทบล้มลงเสียหลักเพราะเราตอบโต้อย่างไม่คาดฝันเช่นนี้ เราไม่ควรอิจฉา เมื่อศัตรูของเราประสบความสำเร็จ เราไม่ควรอิจฉาความโชคดีของเขา แม้ว่าพวกเขาอาจจะไม่สมควรได้รับสิ่งที่กำลังได้รับ แต่เราก็ต้องมอบจำนนตัวเราต่อ

Page 39: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

พระเจ้า เราไม่ควรอวดตัว คำพูดใดก็ตามที่อวดคุณค่าตัวเราอย่างผิดๆเพื่อให้ตัวเองดูดีกว่าคนที่ปฏิเสธเรา ล้วนเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม เราไม่ควรหยิ่งผยอง ความหยิ่งสร้างปราการขัดขวางการแก้ไขความขัดแย้ง ทำให้เราไม่ยอมเสียสละตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องมี หากเราจะซ่อมแซมมิตรภาพที่ขาดวิ่น เราไม่ควรหยาบคาย แน่นอนทีเดียวที่คุณย่อมไม่ดับไฟโดยการราดน้ำมันลงบนไฟ ในทำนองเดียวกัน คุณก็ไม่อาจสงบความโกรธได้ด้วยวาจาเผ็ดร้อนเช่นกัน แม้เราจะเจ็บใจเพียงไหนก็ตาม แต่คำพูดท่ี่ดูหมิ่นหรือไม่เกรงใจก็ล้วนแต่ไม่เหมาะทั้งนั้น เราไม่ควรคิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว เราต้องไม่คำนึงถึงแต่ความปรารถนาและความจำเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว เราต้องฝึกตัวเองให้สนใจคนที่ขัดแย้งกับเราเท่าๆกับที่เราใส่ใจตนเอง เราไม่ควรฉุนเฉียว เมื่อมีคนทำให้เราขุ่นเคืองใจ เราพูดโพล่งโดยไม่คิดหรือเปล่า พระเจ้าไม่พอพระทัยการกระทำนี้ คนประเภท “เลือดร้อน” ต้องเรียนรู้ที่จะหยุดตัวเองก่อนที่จะพูดอะไรออกไป เราไม่ควรช่างจดจำความผิด หากเราไม่จดจำความผิดที่เขาทำกับเรา ก็จะไม่เกิดความปรารถนาที่จะแก้แค้นคนที่

Page 40: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

40 ��

ทำร้ายเรา เราไม่ควรชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด เมื่อฝ่ายตรงข้ามต้องทนทุกข์เพราะความตกต่ำหรือความอยุติธรรมใดๆเราต้องไม่รู้สึกสะใจกับความทุกข์ของเขา เราควรชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติชอบอยู่เสมอ เมื่อมีคนเชื่อฟังพระคำของพระเจ้าและตอบสนองต่อปัญหาอย่างเหมาะสม เราก็ควรสรรเสริญพระเจ้าและชื่นชมยินดี เราควรทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น หากเราจริงใจต่อคนที่เราขัดเคืองด้วย เราก็จะไม่กระจาย “เรื่องน่าอาย” ของเขาให้ทุกคนรู้ เราควรเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ แทนที่จะมาคาดเดาว่าเขาจะทำอะไรร้ายๆอีก หรือระแวงคนที่ปฏิเสธเรา ความรักจะช่วยละลายความคลางแคลง เราควรมีความหวังอยู่เสมอ ความรักทำให้มองโลกในแง่ดีว่า เป็นไปได้ที่จะคืนดีกัน จงคาดหวังความเปลี่ยน แปลงในแง่บวกเสมอ

หากคุณกำลังทนทุกข์เพราะความอยุติธรรมของคนเลว

จงให้อภัยเขาเสีย

มิฉะนั้นก็จะมีคนเลวถึงสองคน

- ออกัสติน

Page 41: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

40 ��

เราควรทนต่อทุกอย่าง ความรักทนได้เมื่อหนทางไม่ราบรื่น หมายความถึงท่าทีอันเสมอต้นเสมอปลายต่อผู้ที่เรามีปัญหาด้วยเมื่ออีกฝ่ายปฏิเสธที่จะอยู่อย่างสันติกับเรา เราก็ยังต้องรักพวกเขาเช่นเดิม แม้ว่าเราอาจพยายามแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกร้าวแล้วแต่ไม่ประสบผล คำแนะนำเหล่านี้ก็ยังช่วยได้ เราไม่ควรยอมแพ้ พระเจ้าทรงอดทนกับคนบาป โดยหวังว่าทุกคนจะหวนกลับมาสู่ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ เราต้องทำตาม อย่างพระองค์โดยยอมเปิดประตูใจยอมรับการคืนดีและทำทุกอย่างที่ทำได้ แล้วคอยดูสิ่งที่เกิดขึ้น การดูแลทะนุถนอมความสัมพันธ์ แท้จริงแล้ว ไม่มีใครอยากจะเจ็บปวดและอับอายเพราะความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว เราอยากให้ทุกสิ่งระหว่างเรากับผู้อื่นเป็นไปได้ด้วยดีมากกว่า แต่การรักษาความสัมพันธ์ที่ีดีไว้ไม่ใช่เรื่องง่าย ความจริงแล้ว ต้องอาศัยความพยายามอย่างเต็มที่จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หากเราได้ดำเนินตามขั้นตอนที่จำเป็น ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่มั่นคงยิ่งขึ้น การพูดเปิดอก เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะแสดงความ

Page 42: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

คิดเห็นและความรู้สึกต่อกันอย่างเป็นอิสระและสม่ำเสมอ เมื่อเราทำแล้วเราจะเข้าใจกันมากขึ้นรู้จักกันดีขึ้นและตอบสนองต่อกันอย่างเหมาะสมมากขึ้น สื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา พระคัมภีร์สอนให้เรากำจัดการหลอกลวงและการตีสองหน้าทุกอย่าง(1ปต.2:1) ทั้งยังบอกอีกด้วยว่าเราไม่ควรโกหกกัน (คส.3:9) ฉะนั้นเราจึงควรซื่อสัตย์ในทุกสิ่งที่เราทำและพูด เพื่อให้เราไว้ใจกันและกันได้และเชื่อมเราให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ให้เกียรติกันและกัน การที่ผู้อื่นเชื่อมั่นในตัวเราเป็นรากฐานของการเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ เราจะรู้สึกไม่ดีกับตัวเองหากคนอื่นคิดว่าเราไม่สำคัญ ด้วยเหตุนี้ที่เพื่อนๆและบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งเป็นห่วงสนใจเราจึงสำคัญนัก เพราะพวกเขาช่วยย้ำคุณค่าในตัวเรา เมื่อต่างฝ่ายต่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน เราจะตอบสนองต่อกันด้วยการยอมรับอันอบอุ่นและการยอมรับนี้จะคงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่เรายังคงให้เกียรติกันและกัน (รม.12:10) ดับความโกรธของคุณ พระคัมภีร์กล่าวว่า “จะโกรธก็โกรธ

ได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตกท่านยังโกรธอยู่” (อฟ.4:26) เราควรจะระงับความโกรธของเราให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ก่อนที่จะสิ้นวัน เราควรจะไปพบคนที่ล่วงเกินเราและจัดการสะสางเรื่องราวเสีย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น แต่ปัญหาจะถูกสะสางไปก่อนที่มันจะทันโตด้วย

Page 43: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

บุคคลที่ไม่อาจอภัยให้คนอื่น ก็ได้ทำลาย

สะพานที่ตัวเองจะต้องข้าม

- จอร์จ เฮอร์เบิร์ท

จงอดทน เราต้องมองข้ามความบกพร่องของกันและกัน พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าเราต้องอดทนไม่ถือโทษโกรธกัน (คส.3:13) ไม่มีใครอยู่นอกกฎนี้ เราทุกคนก็ต่างมีนิสัยที่เป็นจุดอ่อน แทนที่จะตัดสินผู้อื่นและช่างวิพากษ์วิจารณ์ เราควรจะถ่อมใจและอดทน การกระทำเช่นนั้นจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น ช่วยแก้ปัญหาของกันและกัน เราต้องยอมรับว่าเราต้องการกันและกัน โดยเฉพาะยามที่เรามีปัญหา เป็นความจริงที่เราแต่ละคนต่างมีความรับผิดชอบที่จะแก้ไขปัญหาของตนเอง แต่ก็มีบางเวลาที่เราต่างก็ปรารถนาความช่วยเหลือของเพื่อน ความจริงแล้วพระคัมภีร์บอกเราว่าเราควรจะร่วมแบกภาระของกันและกัน หากเราทำเช่นนี้ ก็ถือว่าเราปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า (กท.6:2) เมื่อเราเล่าปัญหาให้กันฟัง เราก็ได้แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจที่่จะทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ พระคัมภีร์กล่าวว่า “ว่ากันต่อหน้าดีกว่ารักกันลับๆ”(สภษ.27:5) เราอาจจะลังเลที่จะเผชิญ

Page 44: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

หน้ากับคนอื่นเมื่อต้องพูดถึงความผิดของเขา แต่การที่จะพูดอะไรบางอย่างกับเขาย่อมเป็นการแสดงความรักมากกว่า ดีกว่าเงียบไว้แล้วปล่อยให้ทำเช่นนั้นต่อไป คำวิจารณ์ที่จริงใจและหวังดีให้ผลดีแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าการวิจารณ์แบบนี้จะเจ็บปวด แต่ก็เป็นความเจ็บปวดที่มาจากมิตรภาพ เมื่อเราช่วยกันและกันแบบนี้ เรากำลังแสดงให้เห็นว่า เราใส่ใจจริงๆการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ช่วยให้เราเป็นคนที่ดีขึ้น แล้วผลที่ตามมาก็คือความสัมพันธ์ของเราก็พัฒนาขึ้น รับใช้กันและกัน แทนที่เราจะถามว่าเราจะได้อะไร เราควรจะถามว่าเราจะให้อะไรได้บ้าง แทนที่จะขวนขวายทำให้ตัวเองพอใจ เราควรขวนขวายทำให้คนอื่นพอใจ (รม.15:2) ท่าทีเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าความเห็นแก่ตัวมีแต่จะทำลายมิตรภาพ แต่การเสียสละตนเองจะช่วยเสริมสร้าง เมื่อเรารับใช้กันและกัน ความสัมพันธ์ของเราก็จะได้รับการใส่ใจดูแลและทุกคนก็จะได้รับประโยชน์ ถูกต้อง ที่กระบวนการการดูแลทะนุถนอมเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก หากเราทำตามอย่างสัตย์ซื่อ ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น

Page 45: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

กรณีศึกษา : คนที่เคยลองมาแล้ว หลักการที่ได้ให้ไว้ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีที่ฟังดูดี ความจริงเหล่านี้ในพระคัมภีร์เกิดผลจริงในชีวิต และทุกคนที่เต็มใจจะลองดู ก็นำหลักการเหล่านี้ไปใช้ได้ มีการตั้งคำถามผู้คนหลากหลายสถานภาพว่าเคยประสบกับความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวหรือไม่ และพวกเขาได้ทำอะไรเพื่อแก้ไขบ้าง ต่อไปนี้คือคำตอบของพวกเขา หากอาศัยหลักการในหนังสือเล่มนี้ คุณคิดอย่างไรกับคำตอบของพวกเขา สามีภรรยา “มีบางครั้งที่เราคิดว่าชีวิตการแต่งงานของเราไม่ยั่งยืน ความจริงแล้วมีครั้งหนึ่งที่ความสัมพันธ์ของเราถึงขั้นแตกหักเลยทีเดียว เริ่มด้วยคำพูดที่รุนแรง แล้วก็เลิกพูดกันไปเลย เราใช้เวลาหลายวันสมานแผลใจและไม่สนใจกันและกัน ในที่สุดเราก็ช่วยกันสมานรอยร้าว เดี๋ยวนี้เราไม่เถียงกันบ่อยแล้ว เพราะไม่คุ้มกันกับความเจ็บปวดที่ได้รับ” วัยรุ่น “ความสัมพันธ์น่ะหรือ มีใครที่ไหนกันที่ต้องการ ไม่ว่าฉันจะพยายามเท่าไร ฉันก็มักจะทำให้ความสัมพันธ์ของฉันกับใครสักคนพังทลาย ถ้าไม่ใช่กับพ่อแม่ ก็กับพี่ๆน้องๆ แล้วที่โรงเรียนก็แย่พอกัน ฉันไม่พยายามเข้ากับใครที่นั่นเลยด้วยซ้ำ แต่ฉันดิ้นรนเพื่อรักษาเพื่อนไม่กี่คนที่มีไว้ แม้บางครั้งก็ทะเลาะกัน แต่ไม่นานนักเราก็คืนดีกัน ฉันว่าคงเป็นเพราะเรา

Page 46: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

รักกันมากจริงๆ” เลขานุการ “ฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่คอยวิจารณ์ฉันตลอด พอฉันไปคุยกับเธอเรื่องนี้ เธอโกรธ แล้วความสัมพันธ์ของเราก็จบลง ต่อมาเราเจอกันอีกครั้ง แล้วฟื้นความสัมพันธ์ใหม่ เธอไม่เคยขอโทษ แต่เธอเลิกวิจารณ์ แม้ว่าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้น ฉันก็ยังคิดถึงใจเธอและฉันก็บอกเธอไปแบบนั้นด้วย”

บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุขเพราะว่า

พระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร

- มัทธิว 5 :9

คนงานในโรงงาน “ฉันว่าความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ แต่ฉันก็มีเรื่องอื่นๆให้ต้องกังวล ฉันมีครอบครัวต้องเลี้ยง มีค่าใช้จ่าย แน่นอนที่ฉันอยากเข้ากันได้กับทุกคน แต่บางครั้งก็ยากเกินกว่าจะทำได้ มีครั้งหนึ่งฉันขัดแย้งกับเจ้านาย เราเถียงกัน แต่ต่อมาฉันก็ขอโทษ เวลาฉันอยู่กับคนอื่น โดยทั่วไปฉันก็ทำอย่างนี้ ฉันพยายามจะทำดี แต่ฉันก็มักจะสนใจธุระตัวเองมากกว่า” ผู้บริหารบริษัท “แก่นของความสัมพันธ์ทุกแบบคือ ความซื่อสัตย์ ถ้าความสัมพันธ์ถูกทำลาย คุณก็ควรทำสิ่งที่เหมาะสมเพื่อกู้คืนมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกครั้ง อย่างน้อยก็ไม่ใช่กับฉัน ครั้งหนึ่งฉันตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหาร

Page 47: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

�� ��

ซึ่งทำให้หลายคนตีจากฉันไป ฉันพยายามที่จะแก้ปัญหานี้ แต่ก็ไม่เป็นผล ดังนั้นต้องมีบางสิ่งที่คุณต้องทนอยู่กับมันไป” ประชาชนผู้สูงอาย ุ “ถ้าคุณอายุมากอย่างฉัน คุณจะเห็นคุณค่าทุกช่วงเวลาที่คุณอยู่ร่วมกับคนอื่น เพื่อนและญาติๆส่วนใหญ่ก็ล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว ฉันจึงทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อจะเข้ากับผู้คน เมื่อก่อนฉันไม่ได้ระมัดระวังขนาดนี้ แต่ฉันไม่อยากจะมีจุดจบอย่างคนแก่บางคนที่ฉันรู้จัก พวกเขาทำทุกอย่างวุ่นวายไปหมด จนไม่มีใครอยากจะยุ่งด้วยอีกต่อไป ตอนนี้พวกเขาเหงาและขมขื่น” ก้าวแรก คุณมีความสัมพันธ์ที่แตกร้าวไหม ถ้ามีคุณทำอย่างไรกับความสัมพันธ์นั้น คุณเพิกเฉย ตอบโต้ หาประโยชน์จากสถานการณ์ ไปยุ่งเกี่ยวกับคนไม่ดี พูดมากเกินไป ไม่ใส่ใจเรื่องเวล่ำเวลาและกาลเทศะ ปกปิดไว้ หรือคุณฝังมันไปเลย เหล่านี้คือการกระทำที่ผิด ๆ การกระทำที่ถูกต้องคือการแก้ไขโดยทำตามขั้นตอนที่พระเจ้าได้ทรงวางแบบไว้ในพระคริสต์ ได้แก่ ความรัก ความถ่อมใจ การทนทุกข์ การเชิญชวน และการให้อภัย

Page 48: จะรับมืออย่างไร กับความ ...cdn.rbcintl.org/cdn/pdf/th_DSBrokenRe141119s.pdfจะร บม ออย างไร ก บความส

��

ถ้าคุณเป็นคริสเตียน พระคัมภีร์สอนคุณให้ทำตามแบบอย่างของพระบิดาในสวรรค์ (อฟ.5:1) คุณต้องดำเนินตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อจะกู้สันติระหว่างคุณและคนอื่นกลับคืนมา ไม่มีใครที่จะสามารถตอบคุณได้ทุกเรื่อง แต่การทำตามขั้นตอนและหลักการจากพระคัมภีร์สามารถสร้างความแตกต่างได้ หากคุณไม่ใช่คริสเตียน สิ่งแรกที่คุณควรพิจารณาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพระเจ้าที่ขาดสะบั้น เพราะการกระทำที่ไม่เชื่อฟังของคนเพียงคนเดียว มนุษย์ทุกคนถูกแยกออกจากพระเจ้า (รม.5:12)

ด้วยความรักอันยิ่ งใหญ่ที่พระเจ้าทรงมีต่อโลกนี้ พระองค์จึงทรงกระทำสิ่งที่แก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกร้าวเพราะความบาป พระองค์ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาสู่โลก เพื่อช่วยคนบาป (1ทธ.1:15) พระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าทรงสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของเรา พระองค์ทรงทำให้เรากลับคืนดีกับพระเจ้าได้อีก บัดนี้ทุกคนที่ต้อนรับพระองค์ก็ได้รับการอภัยอย่างไม่มีเงื่อนไขและเข้าสู่ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพระเป็นเจ้า (ยน.1:12) ต้อนรับพระองค์เสียแต่วันนี้และมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระเจ้า! จงออกเดินก้าวแรก