กำหนดการ...

28

Upload: others

Post on 30-Jan-2021

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • กำหนดการ

    ประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อสรุปผลการศึกษาโครงการ โครงการจัดทำรายงานการประเมนิผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 - ทล.3 จ.ระยอง

    วันพุธท่ี 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องสร้อยเพชร โรงแรมโกลเดน้ ซิตี้ ระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

    08.30 – 09.30 น. ลงทะเบียน/รบัเอกสารประกอบการประชุม 09.30 – 09.45 น. กล่าวรายงาน โดย ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท กล่าวเปิดประชุม โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองหรือผู้แทน 09.45 – 10.00 น. เปิดวีดิทัศน์โครงการ 10.00 – 10.45 น. นำเสนอ

    ❖ รายละเอียดโครงการ แนวเส้นทางโครงการ และรูปแบบเบื้องต้น ที่เหมาะสมของโครงการ

    ❖ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิง่แวดลอ้ม

    ❖ กิจกรรมในพื้นที่และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย นายประยทุธ เจรญิกลุ ผู้จัดการโครงการ นายชม ตันติธรรมถาวร วิศวกรโครงการ นายอภิพันธ์ แนวพันธ์อัศว ผู้เช่ียวชาญด้านขนส่งและจราจร นางนงลกัษณ์ เทียงดาห์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดลอ้ม ดำเนินรายการโดย ทีมงานด้านการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน 10.45 – 11.45 น. ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยน และระดมความคิดเห็น 11.45 – 12.00 น. สรปุและปิดการประชุม

  • I

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ้

    เอกสารประกอบ การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อสรุปผลการศึกษาโครงการ

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเช่ือม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง

    สารบัญ

    หน้า

    สารบญั I

    สารบญัรูป II

    สารบญัตาราง II

    1. ความเป็นมาของโครงการ ......................................................................................................................1

    2. วัตถุประสงค์ ..........................................................................................................................................1

    3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั.....................................................................................................................1

    4. ที่ตั้งโครงการและพื้นที่ดำเนินการ ..........................................................................................................2

    5. ขอบเขตการศึกษา .................................................................................................................................4

    6. แนวคิดในการกำหนดจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และแนวเส้นทางของโครงการ ..............................................4

    7. แนวเส้นทางทีเ่หมาะสมของโครงการ .....................................................................................................8

    8. รูปแบบถนนเบื้องต้นทีเ่หมาะสมของโครงการ ........................................................................................8

    9. การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ................................................................................................................... 11

    10. การดำเนินงานการรบัฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน............................................ 13

    11. ผู้รับผิดชอบโครงการ และช่องทางติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเตมิ ...................................................... 24

  • II

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ้

    สารบัญรูป

    หน้า

    รูปที่ 4-1 ตำแหนง่ที่ตั้งโครงการและโครงข่ายถนนในพื้นที ่ 3

    รูปที่ 6-1 ทางเลือกแนวเส้นทางของโครงการ 5

    รูปที่ 8-1 รปูแบบเบื้องต้นของถนนโครงการในระยะเริ่มต้น (ก) และระยะสุดท้าย (ข) 8

    รูปที่ 8-2 รปูแบบเบื้องต้นของถนนโครงการ (ช่วงสะพาน) 9

    รูปที่ 8-3 จุดกำหนดสะพานข้ามทางแยก และจุดกลับรถของโครงการ 10

    รูปที่ 10-1 ข้ันตอนการดำเนินงานการรบัฟงัความคิดเห็นและการมสี่วนร่วมของประชาชน 14

    สารบัญตาราง

    หน้า

    ตารางที่ 4-1 พื้นที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและการมสีว่นร่วมของประชาชน 2

    ตารางที่ 6-1 รายละเอียดพื้นฐานแนวเส้นทางเลือกของโครงการ 6

    ตารางที่ 9-1 มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิง่แวดลอ้ม 11

    ตารางที่ 10-1 สรุปประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ พร้อมคำช้ีแจงในเวทกีารประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวสายทางโครงการ 15

  • 1

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 - ทล.3 จ.ระยอง

    1. ความเป็นมาของโครงการ

    ด้วยปัจจุบันปัญหาการจราจรในเขตเมืองระยอง ได้ทวีความรุนแรงมากขึ ้นจนส่งผลกระทบ ต่อการจราจร ในย่านชุมชนเมืองติดขัด จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมพร้อมทั้งจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 - ทล.3 จ.ระยอง เพื่อใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงเมือง ไปยังจุดหมายปลายทางของจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด และจังหวัดอื ่น ๆ โดยไม่ต้องผ่านตัวเมือง ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ชุมชนเมืองได้ดีขึ้น เปิดพื้นที่การพัฒนาเมือง และเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการคมนาคมและขนส่งให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ รวมทั้งประหยัดเวลา ในการเดินทาง ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก และปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท จึงได้ว่าจ้างบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการจัดทำรายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 - ทล.3 จ.ระยอง ระยะเวลาการดำเนินงาน 270 วัน โดยเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 2. วัตถุประสงค ์

    1) วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.1) แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 1.2) เพ่ือเชื่อมโยงและยกระดับโครงข่ายคมนาคมให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน

    2) วัตถุประสงค์ของการประชุม 2.1) เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ แนวเส้นทางโครงการ และรูปแบบเบื้องต้น ที่เหมาะสมของโครงการ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ ่งแวดล้อม ตลอดจนการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

    2.2) เพ่ือรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะต่อโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย เพื ่อจะนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาในด้านต่าง ๆ ของโครงการ โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม และปรับปรุงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนที่มากที่สุด

    3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1) แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 2) เพ่ือเชื่อมโยงและยกระดับโครงข่ายคมนาคมให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน 3) ส่งเสริมพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย และการคมนาคมขนส่ง 4) พัฒนาการบริการทางสังคม สาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอ และได้มาตรฐาน

  • 2

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    4. ที่ตั้งโครงการและพื้นที่ดำเนินการ 1) ที่ตั้งโครงการ แนวถนนโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย จุดเริ ่มต้นของแนวเส้นทางอยู ่บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ผ่านถนนทางหลวงสายต่าง ๆ ไปสิ้นสุดที่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ช่วงตำแหน่งที่ตั้งโครงการ แสดงในรูปที่ 4-1

    2) พื้นที่ดำเนินการ การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน มุ่งเน้นให้สอดคล้องกับขอบเขตการศึกษาทางด้านสิ ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมพื ้นที ่ศึกษาในระยะ 500 เมตร จากกึ ่งกลาง แนวเส้นทางโครงการทั้งสองข้าง รวม 1 จังหวัด 2 อำเภอ และ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลทับมา ตำบลน้ำคอก ตำบลเชิงเนิน ตำบลนาตาขวัญ ตำบลบ้านแลง ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง ตำบลหนองตะพาน และตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง รายละเอียดแสดงดังตารางท่ี 4-1 ตารางท่ี 4-1 พื้นที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน

    จังหวัด อำเภอ ตำบล เขตการปกคลอง ระยอง เมืองระยอง 1) ทับมา 1) เทศบาลตำบลทับมา

    2) น้ำคอก 2) เทศบาลตำบลน้ำคอก 3) เชิงเนิน 3) เทศบาลตำบลเชิงเนิน 4) นาตาขวัญ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลนาตาขวัญ 5) บ้านแลง 5) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง 6) ตะพง 6) องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง บ้านค่าย 7) หนองตะพาน 7) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะพาน 8) ตาขัน 8) องค์การบริหารส่วนตำบลตาขัน

    1 จังหวัด 2 อำเภอ 8 ตำบล 8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. ขอบเขตการศึกษา

    การศึกษาของโครงการ จะดำเนินงานโดยมีขอบเขตของงานหลักดังต่อไปนี้ 1) งานรวบรวมและศึกษาข้อมูลแนวถนนโครงการและบริเวณที่มีผลกระทบกับถนนโครงการ 2) งานสํารวจพื้นที่ถนนโครงการ (Topographic Survey) 3) งานศึกษาผลกระทบทางด้านวิศวกรรมจราจรบริเวณถนนโครงการและส่วนต่อเนื่อง 4) งานสํารวจและจัดเก็บข้อมูลด้านการจราจรพร้อมการคาดการณ์ปริมาณจราจร 5) งานจัดทำแนวสายทางและ/หรือรูปแบบของถนนโครงการเบื้องต้น 6) งานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน 7) การนําเสนอผลการคัดเลือกแนวสายทางและ/หรือ รูปแบบที่เหมาะสม 8) งานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

  • 3

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    รูปที่

    4-1

    ตำแห

    น่งที่ต

    ั้งโคร

    งการ

    และโ

    ครงข

    ่ายถน

    นในพ

    ื้นที่

  • 4

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    6. แนวคิดในการกำหนดจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และแนวเส้นทางของโครงการ แนวคิดในการกำหนดแนวสายทางของโครงการ ไดพิ้จารณาจากปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

    • เป็นแนวเส้นทางที ่สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื ้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562

    • เป็นแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม • เป็นแนวเส้นทางที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

    การกำหนดแนวเส้นทางเลือกของโครงการตามแนวคิดดังกล่าว สามารถสรุปรายละเอียดพื้นฐาน แต่ละแนวเส้นทางเลือกของโครงการดังแสดงในรูปที่ 6-1 และตารางท่ี 6-1

    1) จุดเริ่มต้นโครงการ

    จากการพิจารณาเส้นทางที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 ที่ปรึกษาได้กำหนดจุดเริ่มต้นของโครงการ 2 จุด ได้แก่

    จุดที่ 1 จุดเริ่มต้นของถนนสาย ฌ24 บริเวณแยกทับมา (โกลบอลเฮาส์) จุดที่ 2 จุดสิ้นสุดของถนนสาย ญ15 บริเวณแยกสวนสมเด็จย่าฯ

    2) จุดสิ้นสุดโครงการ

    จากการพิจารณาเส้นทางที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 ที่ปรึกษาได้กำหนดจุดสิ้นสุดของโครงการ 2 จุด ได้แก่

    จุดที่ 1 บริเวณแยกตะพง ซึ่งต่อเชื่อมจากจุดสิ้นสุดของถนนสาย ฌ24 ทีจุ่ดตัดถนนคันคลองตาสอนกับถนนตะพงนอก-บ้านแลง จุดที่ 2 บริเวณพ้ืนที่ว่าง และห่างจากเขตชุมชน (เยื้องหมู่บ้านบ้านฉัน)

  • 5

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    รูปที่

    6-1

    ทางเล

    ือกแน

    วเส้น

    ทางข

    องโค

    รงกา

  • 6

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    ตารางท่ี 6-1 รายละเอียดพื้นฐานแนวเส้นทางเลือกของโครงการ รายการ แนวทางเลือกที่ 1 แนวทางเลือกที่ 2 แนวทางเลือกที่ 3 แนวทางเลือกที่ 4

    ระยะทาง (กิโลเมตร) 17.0 20.3 24.7 24.0 จุดเริ่มต้นโครงการ จุดเริม่ต้นที่ 1

    แยกทับมา (โกลบอลเฮาส์) จุดเริม่ต้นที่ 1 แยกทับมา (โกลบอลเฮาส์)

    จุดเริม่ต้นที่ 2 แยกสวนสมเดจ็ยา่ฯ

    จุดเริม่ต้นที่ 2 แยกสวนสมเดจ็ยา่ฯ

    จุดสิ้นสุดโครงการ จุดสิ้นสุดที่ 1 บริเวณแยกตะพง

    จุดสิ้นสุดที่ 2 บริเวณเยือ้งหมู่บ้านบ้านฉัน

    จุดสิ้นสุดที่ 2 บริเวณเยือ้งหมู่บ้านบ้านฉัน

    จุดสิ้นสุดที่ 2 บริเวณเยือ้งหมู่บ้านบ้านฉัน

    สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย มีชุมชนอยู่หนาแน่น

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทีอ่ยูอ่าศยั มีชุมชนอยู่หนาแน่น และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงท้ายของเสน้ทาง

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มทีี่อยู่อาศยัเล็กน้อย

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มทีี่อยู่อาศยัเล็กน้อย

    อำเภอ/ตำบล ท่ีแนวเส้นทางตัดผ่าน

    แนวเส้นทางตัดผ่าน 2 อำเภอ ประกอบด้วย 6 ตำบล ในเขตอำเภอเมอืงระยอง ได้แก่ ต.ทับมา ต.น้ำคอก ต.เชิงเนิน ต.นาตาขวญั ต.บ้านแลง ต.ตะพง และ 1 ตำบล ในเขตอำเภอ บ้านค่าย ได้แก่ ต.ตาขัน

    แนวเส้นทางตัดผ่าน 2 อำเภอ ประกอบด้วย 6 ตำบล ในเขตอำเภอเมอืงระยอง ได้แก่ ต.ทับมา ต.น้ำคอก ต.เชิงเนิน ต.นาตาขวญั ต.บ้านแลง ต.ตะพง และ 1 ตำบล ในเขตอำเภอ บ้านค่าย ได้แก่ ต.ตาขนั

    แนวเส้นทางตัดผ่าน 2 อำเภอ ประกอบด้วย 5 ตำบล ในเขตอำเภอเมอืงระยอง ได้แก่ ต.ทับมา ต.นำ้คอก ต.นาตาขวัญ ต.บ้านแลง ต.ตะพง และ 2 ตำบล ในเขตอำเภอบ้านค่าย ได้แก่ ต.หนองตะพาน และ ต.ตาขัน

    แนวเส้นทางตัดผ่าน 2 อำเภอ ประกอบด้วย 6 ตำบล ในเขตอำเภอเมอืงระยอง ได้แก่ ต.ทับมา ต.น้ำคอก ต.เชิงเนิน ต.นาตาขวญั ต.บ้านแลง ต.ตะพง และ 2 ตำบล ในเขตอำเภอบ้านค่าย ได้แก่ ต.หนองตะพาน และ ต.ตาขัน

    แม่น้ำ/คลอง ท่ีแนวเส้นทางตัดผ่าน

    คลองทับมา คลองจัด คลองไฟม้า คลองพงังาย คลองนาตาขวัญ คูระบายน้ำ และคลองต้นตะเคียน

    คลองทับมา คลองจัด คลองไฟม้า คลองพงังาย คลองนาตาขวัญ และ คลองต้นตะเคยีน

    คลองกระเฉด คลองกระแมง คูระบายน้ำ คลองกะพรุนคลองค ูคลองใหญ่ คลองใน คลองอ่าง คลองขนุน คูระบายน้ำ คลองนาตาขวัญ คลองคา และคลองต้นตะเคียน

    คลองกระเฉด คลองกระแมง คูระบายน้ำ คลองกะลอก คลองไฟม้า คลองพงังาย คลองนาตาขวัญ และ คลองต้นตะเคยีน

    ถนนท่ีแนวเส้นทางตัดผ่าน ทล.3574 ทล.3139 รย.4006 รย.4038 ถนนทับมา-เกาะพรวด ถนนคนัคลองตาสอน ถนนน้ำคอก-หนองตะพาน ถนนเชิงเนิน-ชากบก ถนนตะพงนอก-บ้านแลง

    ทล.3574 ทล.3139 รย.4006 รย.4038 ถนนทับมา-เกาะพรวด ถนนน้ำคอก-หนองตะพาน ถนนเชิงเนิน-ชากบก ถนนตะพงนอก-บ้านแลง ถนนยายดา-บ้านแลง

    ทล.3574 ทล.3139 รย.4006 รย.4038 รย.6031 ถนนทับมา-เกาะพรวด ถนนน้ำคอก-หนองตะพาน ถนนเชิงเนิน-ชากบก ถนนตะพงนอก-บ้านแลง ถนนยายดา-บ้านแลง

    ทล.3574 ทล.3139 รย.4006 รย.4038 ถนนทับมา-เกาะพรวด ถนนน้ำคอก-หนองตะพาน ถนนเชิงเนิน-ชากบก ถนนตะพงนอก-บ้านแลง ถนนยายดา-บ้านแลง

    ข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม (พ้ืนที่อ่อนไหวในระยะ 500 เมตร)

    พาดผ่านอาคาร 333 หลัง โบราณสถาน 4 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดน้ำคอกเก่า - วัดนาตาขวัญ - วัดแลง - วัดตะพงใน สถานประกอบการ 3 แห่ง ได้แก่ ป๊ัมแก๊สแอลพจีี (เซฟแก๊สระยอง) ป๊ัมน้ำมัน ปตท. และ สถานีควบคุมก๊าซไออารท์ี่ 2

    พาดผ่านอาคาร 259 หลัง โบราณสถาน 3 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดน้ำคอกเก่า - วัดนาตาขวัญ - วัดแลง สถานประกอบการ 1 แห่ง ได้แก่ สถานีควบคุมก๊าซ ไออารท์ี่ 2

    พาดผ่านอาคาร 104 หลัง โบราณสถาน 1 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดเขาโบสถ ์

    สถานประกอบการ 2 แห่ง ได้แก่ ปั๊มแก๊สแอลพจีี (จีพลัสแก๊ส) และปั๊มน้ำมันปตท. (หจก.รัตนปิโตร)

    พาดผ่านอาคาร 89 หลัง โบราณสถาน 4 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดเขาโบสถ ์- วัดน้ำคอกเก่า - วัดนาตาขวัญ - วัดแลง สถานประกอบการ 1 แห่ง ได้แก่ ปั๊มแก๊สแอลพจีี (จีพลัสแก๊ส)

  • 7

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    ตารางท่ี 6-1 รายละเอียดพื้นฐานแนวเส้นทางเลือกของโครงการ (ต่อ) รายการ แนวทางเลือกที่ 1 แนวทางเลือกที่ 2 แนวทางเลือกที่ 3 แนวทางเลือกที่ 4

    ระยะทาง (กิโลเมตร) 17.0 20.3 24.7 24.0 ข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม (พ้ืนที่อ่อนไหวในระยะ 500 เมตร)

    หมู่บ้านจัดสรร 10 แห่ง ได้แก ่- หมู่บ้านตะพงไพรเวทโฮม - หมู่บ้านเจนจริาริมน้ำ - หมู่บ้านชาวราษฎร์ - หมู่บ้านนวพร - หมู่บ้านเพ็ชรรัตน์เลควิลล ์- หมู่บ้านภัทรภรณ ์- หมู่บ้านศิวาลัย - หมู่บ้านสวนวลีแลนด ์- หมู่บ้านระยองรอยัลวิลล ์- หมู่บ้านศิริชยัโฮมทาวน ์

    ศาสนสถาน 5 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดจุฬามุนี - วัดตะพงนอก - วัดตะพงใน - วัดน้ำคอกเก่า - วัดน้ำคอกใหม ่ สถานที่ราชการ 2 แห่ง ได้แก่ ทต.ทับมา และ อบต.ตะพง สถานพยาบาล 1 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ตะพง สถานศกึษา 9 แห่ง ได้แก ่- โรงเรียนชุมชนวัดทับมา - โรงเรียนระยองปัญญานกุูล - โรงเรียนวัดตะพงนอก - โรงเรียนวัดน้ำคอก - โรงเรียนอนุบาลทับมา - โรงเรียนอนุบาลตะพง - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กบ้าน

    ทับมา - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กวดั

    ตะพงนอก - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กวดั

    ตะพงใน

    หมู่บ้านจัดสรร 10 แห่ง ได้แก่ - หมู่บ้านเจนจริาริมน้ำ - หมู่บ้านชาวราษฎร ์- หมู่บ้านนวพร - หมู่บ้านเพ็ชรรัตน์

    เลควิลล ์- หมู่บ้านภัทรภรณ ์- หมู่บ้านสวนวลีแลนด ์- หมู่บ้านระยองรอยัลวิลล ์- หมู่บ้านศิริชยัโฮมทาวน ์- หมู่บ้านเรอืนรัก - หมู่บ้านบ้านฉนั เฟส 4

    ศาสนสถาน 5 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดจุฬามุนี - วัดน้ำคอกเก่า - วัดน้ำคอกใหม่ - วัดบ้านแลง - ศาลเจ้าปุญเท่ากงเบ้ียว สถานที่ราชการ 1 แห่ง ได้แก่ ทต.ทับมา

    - สถานศกึษา 8 แห่ง ได้แก ่- โรงเรียนชุมชนวัดทับมา - โรงเรียนระยองปัญญานุกูล - โรงเรียนชุมชนวัดบ้านแลง - โรงเรียนบ้านเนินเสาธง - โรงเรียนวัดน้ำคอก - โรงเรียนอนุบาลทับมา - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กบ้าน

    ทับมา - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กบ้าน

    เนินเสาธง

    หมู่บ้านจัดสรร 4 แห่ง ได้แก่ - หมู่บ้านคงคอแรนวิลเลจ - หมู่บ้านระยองการ์เดน้

    ฮิลล์ - หมู่บ้านวังใหม่วิลล่า - หมู่บ้านบ้านฉนั เฟส 4 - หมู่บ้านเรอืนรัก

    ศาสนสถาน 4 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดเกาะอรัญญิกาวาส - วัดเขาโบสถ ์- วัดตรีมติรประดิษฐาราม - วัดหนองตะแบก สถานที่ราชการ 2 แห่ง ได้แก่ หมวดทางหลวงทับมาและ อบต.ตาขนั สถานพยาบาล 1 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านแลง สถานศกึษา 8 แห่ง ได้แก ่- กศน.ตำบลทับมา - กศน.ตำบลตาขัน - โรงเรียนบ้านเนินเสาธง - โรงเรียนบ้านหนอง

    สะพาน - โรงเรียนวัดเกาะ

    (กริ่มกำพล) - โรงเรียนวัดหนองตะแบก - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กบ้าน

    เนินเสาธง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะพาน

    หมู่บ้านจัดสรร 6 แห่ง ได้แก ่- หมู่บ้านคงคอแรนวิลเลจ - หมู่บ้านระยองการ์เดน้

    ฮิลล ์- หมู่บ้านนวพร - หมู่บ้านเจนจริาริมน้ำ - หมู่บ้านบ้านฉนั เฟส 4 - หมู่บ้านเรอืนรัก ศาสนสถาน 5 แห่ง ไดแ้ก ่- วัดเขาโบสถ์ - วัดหนองสะพาน - วัดจุฬามุน ี- วัดบ้านแลง - ศาลเจ้าปุญเท่ากงเบ้ียว สถานที่ราชการ 1 แห่ง ได้แก่ หมวดทางหลวงทับมา

    - สถานศกึษา 5 แห่ง ได้แก ่- กศน.ตำบลทับมา - โรงเรยีนระยองปัญญานกุูล - โรงเรยีนชมุชนวดับ้านแลง - โรงเรียนบ้านเนินเสาธง - ศูนย์พัฒนาเดก็เล็กบ้าน

    เนินเสาธง

  • 8

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    7. แนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการ การคัดเลือกแนวเส้นทางที ่เหมาะสมของโครงการ จากการพิจารณาเปรียบเทียบทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ ่งแวดล้อม ซึ ่งสามารถสรุปใน แต่ละด้านได้ดังนี้ (รูปที่ 6-1)

    • ด้านวิศวกรรม แนวเส้นทางเลือกที่ 1 และแนวเส้นทางเลือกที่ 2 มีผลจากการประเมินที่ดีในคะแนนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีความยาวเส้นทางสั้นกว่าและมีผู้มาใช้เส้นทางมากกว่าแนวเส้นทางเลือกท่ี 3 และแนวเส้นทางเลือกที่ 4

    • ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน แนวเส้นทางเลือกที่ 3 และแนวเส้นทางเลือกที่ 4 มีผลจากการประเมินที่ดีในคะแนนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอยู่นอกเขตเมือง ส่งผลให้มีค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์ต่ำกว่าและมีผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นดีกว่าแนวเส้นทางเลือกที่ 1 และแนวเส้นทางเลือกที่ 2

    • ด้านสิ่งแวดล้อม แนวเส้นทางเลือกที่ 3 และแนวเส้นทางเลือกที่ 4 มีผลจากการประเมินที ่ดี ในคะแนนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอยู่นอกเขตเมือง ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อพ้ืนที่อ่อนไหว โบราณสถาน และการโยกย้ายถิ่นฐานของประชาชนน้อยกว่าแนวเส้นทางเลือกที่ 1 และแนวเส้นทางเลือกที่ 2

    ผลการคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการ จากการพิจารณาเปรียบเทียบและให้คะแนนทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ว่า แนวเส้นทางเลือกที่ 3 (เส้นสีฟ้า) เป็นแนวเส้นทางท่ีเหมาะสมของโครงการ

    8. รูปแบบถนนเบื้องต้นที่เหมาะสมของโครงการ

    1) รูปแบบทั่วไปของโครงการ การพิจารณารูปแบบถนนเบื้องต้นของโครงการ คำนึงถึงด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและ

    การลงทุน และด้านสิ ่งแวดล้อม จากการศึกษาถนนรูปแบบต่าง ๆ พบว่า รูปแบบถนนที่มีเกาะกลาง แบบกดร่อง เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับโครงการ โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย ถนนช่องจราจรกว้าง ช่องละ 3.50 เมตร และ 3.25 เมตร ในทางขนาน เขตทางกว้าง 60.00 เมตร โดยแบ่งเป็น 2 ระยะของ การพัฒนา คือ ระยะเริ่มต้นโครงการ เป็นถนน 6 ช่องจราจร และระยะสุดท้ายของโครงการ จะเพิ่มเติม ทางขนานฝั่งละ 2 ช่องจราจร ดังแสดงในรูปที่ 8-1

    (ก) (ข)

    รูปที่ 8-1 รูปแบบเบื้องต้นของถนนโครงการในระยะเริ่มต้น (ก) และระยะสุดท้าย (ข)

    ข้อมูลที่เผยแพร่ใช้ในการศึกษาของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

    ข้อมูลที่เผยแพร่ใช้ในการศึกษาของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

  • 9

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    2) รูปแบบจุดตัดทางแยก จากการศึกษาแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการพบจุดตัดระหว่างโครงการกับถนนเดิมหลายจุด ซึ่งที่ปรึกษาได้กำหนดรูปแบบจุดตัดให้เป็นสะพานข้ามในจุดต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดกลับรถของโครงการได้ โดยมีรูปแบบดังแสดงในรูปที่ 8-2 และมีจุดกำหนดให้เป็นสะพานข้ามทางแยกดังแสดงในรูปที่ 8-3

    รูปที่ 8-2 รูปแบบเบื้องต้นของถนนโครงการ (ช่วงสะพาน)

    ข้อมูลที่เผยแพร่ใช้ในการศึกษาของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

  • 10

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    รูปที่

    8-3

    จุดกำ

    หนดส

    ะพาน

    ข้ามท

    างแย

    ก แล

    ะจุดก

    ลับรถ

    ของโ

    ครงก

    าร

  • 11

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    9. การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

    นำแนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการคมนาคมทางบกของ สผ. มาปรับใช้ตามความเหมาะสม โดยจะกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาครอบคลุมแนวเส้นทางโครงการและบริเวณโครงการต่างระดับข้างละ 500 เมตร ยกเว้นแหล่งโบราณสถานซึ่งกำหนดขอบเขตพื้นที่ ศึกษาครอบคลุมข้างละ 1 กิโลเมตร ในหัวข้อการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมท้ังด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต โดยมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่ีสำคัญ

    - ฝุ่นจากการเปิดหน้าดินระหว่างก่อสร้าง เป็นฝุ่นขนาดใหญ่การกระจายตัวของฝุ่นจะมีเฉพาะในระยะใกล้พื้นที่ก่อสร้าง

    - เสียงเครื่องจักรทำงานช่วงก่อสร้าง ที่บริเวณหมู่บ้านระยองการ์เด้นฮิลล์ (ระยะห่างจากแนวเส้นทาง 30 เมตร) มีระดับเสียงในช่วงก่อสร้างเกินค่ามาตรฐาน (76.1 เดซิเบลเอ) แต่ตั้งแต่ที่ ระยะ 60 เมตรขึน้ไป ระดับเสียงจากเครื่องจักรจะไม่เกินมาตรฐาน

    - เศษดิน น้ำเสีย และขยะจากไซต์ก่อสร้างสะพานอาจถูกชะลงคลอง - สูญเสียที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิม แต่มูลค่าที่ดินสูงขึ้น โดยเฉพาะที่รกร้างและที่ดิน

    ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวเพ่ิมข้ึน ทั้งนี้ เมือ่พิจารณาแล้วจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในผลกระทบ ดังนี้

    (ตารางท่ี 9-1)

    ตารางท่ี 9-1 มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

    ด้านการระบายน้ำ และคุณภาพน้ำผิวดิน

    - ออกแบบระบบระบายน้ำของถนนตามขวาง-ตามยาว ระบบระบายน้ำจากโครงสร้างทางยกระดับ พร้อมจัดให้มีบ่อพักน้ำเพ่ือรอการระบายในพ้ืนที่ก่อสร้างและที่พักคนงาน

    - การจัดเก็บเศษวัสดุก่อสร้างให้เรียบร้อยและห่างจากแหล่งน้ำหรือ

    ท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 10 เมตร - ดำเนินกิจกรรมการก่อสร้างที่เก่ียวข้องกับงานดินในช่วงฤดูแล้ง

    - ที ่ตั ้งสำนักงานโครงการและที ่พักคนงาน ตลอดจนพื ้นที ่เก็บ

    กองวัสดุ ต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 50 เมตร ด้านคุณภาพอากาศ

    - ฉีดพรมน้ำบริเวณที่มีการเปิดหน้าดินเพื่อการก่อสร้าง โดยเฉพาะในเขตชุมชน อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง รวมถึงพื้นที่เก็บกองวัสดุประเภทที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง

    - ทำความสะอาดหรือกำจัดดิน ทราย โคลน ที่ตกหล่น บริเวณนอกรั้ว

    โดยรอบพื้นที่ก่อสร้างและถนนสายหลักหน้าพื้นที่ก่อสร้างเป็นประจำ

    - รถขนส่งวัสดุ ต้องปิดคลุมผ้าใบบริเวณส่วนท้ายของรถให้มิดชิด - จำกัดความเร็วในการวิ่งให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

  • 12

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    ตารางท่ี 9-1 มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ต่อ) ปัจจัยสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

    ด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

    - ติดตั้งกำแพงกั้นเสียงชั่วคราว วัสดุเมทัลชีท สูง 2 เมตร (เฉพาะช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้าง) บริเวณหมู่บ้านระยองการ์เด้นฮิลล์

    - กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานสำหรับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดัง

    กว่าปกติและแจ้งให้ชุมชนทราบ

    - เลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังน้อย

    และตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

    - จำกัดน้ำหนักบรรทุกของยานพาหนะและความเร็วให้เป็นไปตาม

    กฎหมายกำหนด

    - ในกรณีที่เกิดเสียงรบกวนเกินมาตรฐานให้ติดตั้งกำแพงกั้นเสียงที่

    ช่วยลดทอนเสียงดังลง ด้านการคมนาคมขนส่ง

    - หลีกเลี่ยงการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์ในช่วงเวลาเร่งด่วน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เส้นทางการขนส่งและแนะนำเส้นทางเลี่ยงพื ้นที่ก่อสร้างให้ประชาชนรับทราบ

    - ติดตั้งสัญญาณเตือนภัย สัญญาณไฟ ป้ายเตือน และป้ายห้ามต่าง ๆ ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ตามเส้นทางก่อสร้างและจุดตัดทางแยก

    - จัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างให้เรียบร้อยไม่กี ดขวางการจราจร

    - จัดให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน

    ด้านการโยกย้ายเวนคืน

    - ดำเนินการชดเชยทรัพย์สินแก่ผู ้ได้ร ับผลกระทบอย่างเป็นธรรม ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และแนวทางการปฏิบัติงานเวนคืนฯ ของกรมทางหลวงชนบท

    - แต่งตั ้งคณะกรรมการกำหนดค่าชดเชยทรัพย์ส ินขึ ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ ราคาค่าชดเชย (ที ่ด ิน สิ ่งปลูกสร้าง ไม้ผลไม้ยืนต้น) และตรวจสอบการจ่ายค่าชดเชย โดยมีผู้แทนจากท้องถิ่นร่วมเป็นคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

    ด้านเศรษฐกิจและสังคม

    - ตรวจสอบและดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและจ่ายค่าชดเชยให้แล้วเสร็จ ตามข้อตกลงภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมาย

    - ตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์โครงการเพื ่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมการ

    ก่อสร้าง และรับเรื่องร้องเรียน/ข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากชุมชน ตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง และแก้ปัญหาข้อร้องเรียนต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน

    - ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของงานก่อสร้าง ให้

    ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง

  • 13

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    10. การดำเนินงานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 - ทล.3 จ.ระยอง ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยยึดหลัก การดำเนินงานเพ่ือให้เกิดการสื่อสารและกระบวนการมีส่วนร่วมตลอดระยะเวลาศึกษาโครงการ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลรายละเอียดโครงการที่ถูกต้องชัดเจน ตลอดจน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา นำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่ น เพื่อให้เกิดการยอมรับร่วมกัน รวมทั้งนำไปกำหนดเป็นมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ในทางปฏิบตัิ โดยมีรายละเอียดกิจกรรมแสดงดังรูปที่ 10-1 สำหรับการดำเนินงานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนของโครงการที่ผ่านมา มีดังนี้

    • การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวคิดการพัฒนาโครงการ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องสร้อยเพชร โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ พื้นที่ศึกษาของโครงการ ขอบเขตการดำเนินงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 353 คน ประกอบด้วย ผู ้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู ้แทนหน่วยงานราชการระดับต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน/องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้ อม สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน พื้นที่อ่อนไหว ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจโครงการ

    • การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวสายทางโครงการ ดำเนินการระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จำนวน 4 เวที เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ ขอบเขตการศึกษา หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกแนวเส้นทาง และแนวทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้ง รับฟงัความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 667 คน ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พื้นที่อ่อนไหว ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจโครงการ ทั้งนี้ สามารถสรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากการประชุมได้ดังตารางท่ี 10-1

  • 14

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    รูปที่ 10-1 ขั้นตอนการดำเนินงานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน

    การป

    ระชา

    สัมพัน

    ธ์โคร

    งการ

    ได้แก

    การใ

    ห้ข้อม

    ูลขา่ว

    สารโค

    รงกา

    รผ่าน

    เว็ปไซ

    ด์ แล

    ะเฟซ

    บุ๊กโค

    รงกา

    ร สื่อ

    ประช

    าสัมพ

    ันธ์ เช่

    น เอ

    กสาร

    ประก

    อบกา

    รประ

    ชุม แ

    ผ่นพับ

    บอร

    ์ดนิทร

    รศกา

    ร สไล

    ด์ประ

    กอบก

    ารบร

    รยาย

    (Pow

    er p

    oint)

    เป็นต

    ้น

    ➢ แนะนำหน ่ วย งาน เจ ้ า ขอ ง โคร ง ก า ร บริษัทท่ีปรึกษา และคณะทำงาน

    ➢ ช ี ้แจงข ้อม ูลโครงการ และสถานภาพปัจจุบันของโครงการเบื้องต้น

    ➢ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลที ่ม ีภารกิจและหน้าที ่ เก ี ่ยวข ้อง ต่อการศึกษาของโครงการ

    การปรึกษาหารือชุมชน (เตรียมความพร้อมก่อนการรับฟังความคิดเห็น)

    (ดำเนินการระหว่างวันท่ี 20-23 ก.ค. 63 และวันท่ี 10 ส.ค. 63)

    การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวคิดการพัฒนาโครงการ

    (ดำเนินการเมื่อวันท่ี 10 ก.ย. 63)

    ➢ นำเสนอความเป็นมาของโครงการ ขอบเขตการดำเนินงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ และแนวทาง เล ือกของโครงการ ฯลฯ

    ➢ รับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินโครงการ รวมทั ้งรับฟังปัญหา ข้อจำกัด ในพื้นที ่ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

    การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวสายทางโครงการ

    (ดำเนินการระหว่างวันท่ี 14-15 พ.ย. 63)

    ➢ นำเสนอแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส ่วนร ่วมของประชาชน

    ➢ ร ับฟ ังความค ิดเห ็น ข ้อห ่วงก ังวลและข้อเสนอแนะต่อโครงการ

    การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อสรุปผลการศึกษาโครงการ

    (ดำเนินการวันที่ 23 ธ.ค. 63)

    ➢ นำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ แนวเส้นทางโครงการ และรูปแบบเบื ้องต้น ที่เหมาะสมของโครงการ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

    ➢ รับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • 15

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    ตารางที่ 10-1 สรุปประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ พร้อมคำชี้แจงในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเหน็และการมีส่วนร่วมต่อแนวสายทางโครงการ

    ประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ คำชี้แจง/การนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ ด้านวิศวกรรม 1. การพิจารณาแนวเส้นทางที่เหมาะสม ▪ จุดเริ่มต้นของโครงการ จุดเริ่มต้นที่ 1 บริเวณแยกทับมา

    (โกลบอลเฮาส ์) และจุดเร ิ ่มต ้นที ่ 2 บร ิเวณแยก สวนสมเด็จย่าฯ ทั ้งสองจุดจะมีการเชื ่อมต่อทางกันหรือไม่

    ▪ จากการพิจารณาแนวเส้นทางที ่เหมาะสม คือแนว ทางเลือกที่ 3 (เส้นสีฟ้า) ทำให้บริเวณจุดเริ ่มต้นที่ 1 บร ิเวณแยกทับมา (โกลบอลเฮาส ์ ) จะไม ่ถ ูกนำมาพิจารณา

    ▪ ต้องการทราบจุดสิ้นสุดโครงการอยู่บริเวณใด ▪ จุดสิ ้นสุดโครงการอยู ่บร ิเวณเยื ้องหมู ่บ้านบ้านฉัน เชื่อมต่อกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สุขุมวิท)

    ▪ ต้องการทราบความชัดเจนของแนวเส้นทางโครงการว่าผ่านบริเวณใดบ้าง และความชัดเจนของขนาดพื้นท่ีที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบด้านการเวนคืน

    ▪ โครงการอยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้ แต่ทั ้งนี ้จะสามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้ในข ั ้นตอนการสำรวจและออกแบบรายละเอ ียดใน ขั้นต่อไป ▪ แนวเส้นทางโครงการมีระยะห่างจากบริเวณสถานี

    สูบน้ำ อีสท์ วอเตอร์ และฝายน้ำล้นประมาณเท่าใด ▪ แนวเส้นทางโครงการบริเวณใกล้กับพื้นที่วัดหนอง

    ตะแบกจะใช้ร่วมกับแนวเส้นทางเดิมหรือเป็นทางก่อสร้างใหม่

    ▪ บร ิ เวณทางขนานทั ้งสองฝ ั ่ งของแนวเส ้นทางโครงการ จะดำเนินการก่อสร้างเฉพาะบางช่วง ใช่หรือไม่ สามารถประเมินได้หรือไม่ว่าจะก่อสร้างบริเวณช่วงใดบ้าง

    ▪ อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการ ย ังไม ่ถ ึงข ั ้นตอนการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ ท้ังนี้จะมีความชัดเจนในข้ันต่อไป

    ▪ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาแนวเส ้นทาง กรณี ตัดผ่านบ้านเรือนประชาชน และสถานที่ราชการที่อยู่ในแนวเส้นทางโครงการ

    ▪ การพิจารณาเลือกแนวเส้นทางจะมีหลักการพื้นฐานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด และจะพิจารณาจากผลประโยชน์ท่ีประชาชนจะได้รบัมากที่สุด หากเป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์เหมือนกันจะพิจารณาถึงผลตอบแทนในอนาคตที่จะสร้างผลประโยชน์ให้ชุมชนและสังคมส่วนรวม ทั ้งนี ้ในขั ้นตอนการสำรวจและออกแบบรายละเอียด จะมีการเจรจากับทั ้งสองฝ่าย กรณีหากโครงการฯ ตัดผ่านทำให้บางพื้นที่เป็นพื้นที่ ตาบอด หรือแบ่งพื้นที่ของประชาชนเป็นสองฝั่ง โครงการจะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวเป็นสำคัญ

    ▪ การพัฒนาโครงการจากจุดเร ิ ่มต ้นบริเวณแยก สวนสมเด็จย่าฯ ควรมีการพิจารณาอีกทางเลือกหนึง่ที ่ขนานกับแนวเส้นรถไฟฟ้าความเร็วสูง และมาเช่ือมต่อกับแนวเส้นทางเลือกของโครงการ (แนวทางเลือกที่ 3) โดยมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณเยื้องหมู่บ้านบ้านฉัน คาดว่าจะเกิดผลกระทบต่อชุมชนน้อยที ่ส ุดและเป็นเส้นทางที ่ส ั ้นที ่ส ุด เนื ่องจากประชาชนท่ีอยู่ตามแนวเส้นรถไฟฟ้าความเร็วสูงต้องถูกเวนคืนอยู่แล้ว จะได้ไม่มีการถูกเวนคืนซ้ำซ้อนหลายครั้ง หรืออาจเลือกแนวทางเลือกที่ 4 บริเวณใกล้กับแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง แล้วทำทางขนานกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงจนไปตัดกับแนวทางเลือกที่ 3 (เส้นสีฟ้า)

    ▪ การคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมและรูปแบบถนนของโครงการ จะพิจารณาเปรียบเทียบทั ้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ และสามารถรองรับปริมาณการจราจรในอนาคตได้

  • 16

    โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถนนต่อเชื่อม ทล.36 – ทล.3 จ.ระยอง 3 จ.ระยอง ถนนสาย บ ้

    ตารางที่ 10-1 สรุปประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ พร้อมคำชี้แจงในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมต่อแนวสายทางโครงการ (ต่อ)

    ประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ คำชี้แจง/การนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ ด้านวิศวกรรม (ต่อ) 1. การพิจารณาแนวเส้นทางท่ีเหมาะสม (ต่อ) ▪ เส้นทางจากบริเวณแยกมาบข่าถึงบริเวณแยกตะพง

    การจราจรยังติดขัดจากการก่อสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 หากก่อสร้างสะพานยกระดับแล้วเสร็จ และช่องจราจรกว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรในอนาคตได้ ต้องการทราบว่าโครงการจะดำเนินการพัฒนาโครงการต่อไปหรือไม่ อย่างไร

    ▪ โครงการยังคงดำเนินการอยู่ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัท ที่ปรึกษาได้มีการสำรวจปริมาณการจราจร จากผลการสำรวจ พบว่า รถยนต์ที ่ผ ่านถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 และ 36 ม ีการข ับเข ้าพ ื ้นท ี ่ต ัวเม ืองประมาณ 50% อีกทั้งช่องจราจรในปัจจุบันไม่สามารถรองร ับปร ิมาณรถท ี ่ม ี เพ ิ ่มมากข ึ ้นในอนาคตได้ โครงการฯ จึงมีความจำเป็นในการดำเนินการต่อไป

    ▪ การศึกษาแนวเส้นทางและออกแบบถนนโครงการได้คำนึงถึงสาเหตุของปัญหาการจราจรที ่ติดขัด เนื ่องจากสาเหตุอื ่น ๆ หรือไม่ นอกจากปริมาณความจุของถนนไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การใช้ประโยชน์สูงสุดของปริมาณถนนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรือไม่

    ▪ การศึกษาแนวเส้นทางและออกแบบถนนโครงการได้คำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพพื้นที ่ที ่เป็นสังคมชนบทหรือไม่

    ▪ การศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลการสำรวจปริมาณจราจรในปีปัจจุบันและสำรวจจุดหมายปลายทางของผู ้ที่สัญจรไปบนโครงข่ายการคมนาคมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีการพัฒนาในจังหวัดระยอง เช่น โครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ แผนพัฒนาของ กรมทางหลวง แผนพัฒนาจังหวัด เป็นต้น และนำมาคาดการณ์ปริมาณจราจรในอนาคต เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวเส้นทางและออกแบบถนนโครงการเบื้องต้น และนำมาคัดเล ือกแนวเส ้นทางที ่ เหมาะสม หากโครงการมีความเหมาะสมทั้งในด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ก็จะถูกนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาของกรมทางหลวงชนบทต ่อไป ในอนาคต

    2. การออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ▪ รูปแบบถนนเบื้องต้นของโครงการที่ออกแบบไว้ฝั่งละ

    5 ช่องจราจร หากพิจารณาช่องจราจรไป-กลับจะมีขนาดเท่ากับ 10 ช่องจราจร แต่ปัจจุบันถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 มีการก่อสร้างออกเป็น 6 ช่องจราจร (ไป-กลับฝั่งละ 3 ช่องจราจร) ต้องการทราบว่าโครงการฯ มีขนาดใหญ่หรือเท่ากับถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36

    ▪ โครงการน ี ้ม ี เขตทางน ้อยกว ่า ทางหลวงแผ ่นดินหมายเลข 36

    ▪ การพัฒนาโครงการในอนาคต จะต้องมีการประกอบกิจการค้าขายตามแนวเส้นทางโครงการ ขอให้พิจารณาออกแบบไม่ให้มีเกาะกลางระหว่างทางขนาน เพราะจะส่งผลกระทบต่อร้านค้าทั้งสองฝั่งถนน

    ▪ จะนำไปพิจารณาในขั้นตอนการสำรวจและออกแบบรายละเอียดต่อไป

    ▪ จากรูปแบบถนนโครงการ จะดำเนินการก่อสร้าง 10 ช่องจราจรในคราวเดียวหรือไม่

    ▪ จะดำเนินการก่อสร้างฝั่งละ 3 ช่องจราจรก่อน ส่วนทางขนานฝั ่งละ 2 ช่องจราจรจะต้องพิจารณาจากการเติบโตของชุมชน และถนนโครงข่ายของชุมชนที่ตัดผ่าน และเปิดให้รถจากทางหลักสามารถเข้าสู่ทางขนานได้เป็นระยะ