การย ายถิ่น - iom thailand · 2017-01-30 ·...

282

Upload: others

Post on 04-Mar-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • การยายถ ิ ่นในประเทศไทยฉ บ ั บ ป

    2 0 1 4

    การยายถิ่นของประเทศไทย ฉบับป 2557

  • ก ารย ้ า ยถิ่ น ของปร ะ เ ทศ ไทย ฉบั บป ี 2557คณะทำางานเฉพาะเร ื ่องแห่งสหประชาชาติว ่าด ้วยการย้ายถิ ่นของประเทศไทย

    บรรณาธ ิการโดย J e r r o l d W . H u g u e t

    องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)

    องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

    โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

    กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA)

    สำานักงานข้าหลวงผู้ใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)

    องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)

    โครงการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-ACT)

    สำานักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)

    กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UN Women)

    สำานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (OHCHR)

    องค์การอนามัยโลก (WHO)

    โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)

    ธนาคารโลก (World Bank)

  • การย้ ายถิ่ นของประเทศไทยฉ บั บ ปี

    2 5 5 7

    เรียบเรียงโดย

    J e r r o l d W . H u g u e t

  • ถ่ายรูปปกโดย (จากซ้ายไปขวา):

    Suvicha Premjaicheun/UNFPA, Thierry Falise/IOM, Joe Lowry/IOM, Thierry Falise/ILO

    การนำาเสนอข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในรายงานฉบับน้ีมิได้แสดงถึงความคิดเห็นใดๆ ขององค์การสหประชาชาติ

    และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน เกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของประเทศ พื้นท่ี หรือเขต

    การปกครอง หรืออำานาจการปกครองใดๆ หรือเกี่ยวกับการกำาหนดแนวเขตชายแดนใดๆ

    ความคิดเห็น ตัวเลข และการคาดการณ์ที่นำาเสนอในบทต่างๆ ของรายงานฉบับน้ี เป็นของผู้เขียนในบทน้ันๆ

    และมิได้เป็นการสะท้อนความคิดเห็นและมิได้เป็นการรับรองขององค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่าง

    ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานแต่อย่างใด

    ผู้จัดพิมพ์:

    คณะทำางานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย

    กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    โทร: +66 2 343 9300

    อีเมล: [email protected]

    ออกแบบและพิมพ์:

    บริษัท ธรรมดาเพรส จำากัด

    โทร: +66 2 883 0342-4

    แฟกซ์: +66 2 435 6960

    อีเมล: [email protected]

    พิมพ์ในประเทศไทย

    © 2014 คณะทำางานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย

    สงวนสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำาซำ้า ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของรายงานฉบับนี้ ไม่ว่ารูปแบบใดๆ นอกจากจะได้

    รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดพิมพ์

    การผลิตซำ้ารายงานฉบับนี้ทั้งเล่มหรือในบางส่วน เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาหรือไม่ได้เป็นการแสวงหา

    กำาไร กระทำาได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นกรณีพิเศษ หากอ้างอิงแหล่งท่ีมาของข้อมูล

    อย่างเหมาะสม

  • คำ า นำ า

    รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นรายงานฉบับท่ี 4 ตั้งแต่มีการริเร่ิมจัดทำารายงาน

    การย้ายถิ่นขึ้นในปี พ.ศ. 2548 (2005) รายงานนี้เป็นผลผลิตของความพยายามร่วมมือกันระหว่างคณะทำางาน

    เฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย (United Nations Thematic Working Group

    on Migration in Thailand)

    ในฐานะประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทาง สำาหรับผู้ย้ายถิ่นจำานวนมากจาก

    ทั้งภายในภูมิภาคและทั่วโลก กระแสการย้ายถิ่นของประเทศไทยมีท้ังความซับซ้อนและความเป็นพลวัต ใน

    บริบทของภูมิภาคที่กำาลังมีการเติบโตโดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับความเป็นไปได้ที่แรงงานย้ายถิ่นและคนผลัดถ่ิน

    จากประเทศพม่าจำานวนมากจะย้ายกลับมาตุภูมิในอนาคต และการรวมเป็นประชาคมอาเซียนที่กำาลังจะเกิดขึ้น

    ในปี พ.ศ. 2558 ความสามารถในการจัดการกระแสการย้ายถิ่นของประเทศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ จะส่งผลกระทบ

    ระยะยาวต่อการเติบโตและการพัฒนาเป็นระยะเวลาหลายปี

    ดังเช่นในฉบับรายงานก่อนหน้านี้ รายงานนี้มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับแนวโน้มและ

    รูปแบบด้านการย้ายถิ่นของประเทศไทยแก่ผู้กำาหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน และนักวิชาการ พร้อมกันน้ันยังให้

    ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องต่อการพัฒนานโยบาย นอกจากนั้นยังประกอบด้วยบทตามธีมเนื้อหาต่างๆ ที่แบ่งขึ้น

    ตามความเชี่ยวชาญของหน่วยงานสหประชาชาติในไทย ซึ่งระบุความท้าทายและข้อเสนอแนะในมิติท่ีสำาคัญ

    ของนโยบายด้านการย้ายถิ่นฐาน บทตามธีมเน้ือหาเหล่าน้ีเจาะถึงรายละเอียดเชิงลึกในเน้ือหาท่ีมีความสำาคัญ

    ต่ออนาคตของนโยบายด้านการย้ายถิ่นของประเทศไทย ตั้งแต่การจัดการและการปรับเปลี่ยนสถานะของแรงงาน

    ย้ายถิ่นทักษะตำ่า สุขภาวะของแรงงานข้ามชาติ และการค้ามนุษย์

    ผู ้ย้ายถิ่นจากเมียนมาร์ กัมพูชา และ สปป.ลาวจะมีบทบาทสำาคัญในการทดแทนการขาดแคลน

    แรงงานในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย อันเป็นแนวโน้มท่ีน่าจะมีอยู่อย่างต่อเน่ืองและเติบโตมากย่ิง

    ขึ้นในอนาคต รายงานฉบับนี้ได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นหลังจากมีการก่อตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (one stop service

    centres) ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เพื่อจดทะเบียนแรงงานย้ายถิ่นไปประเทศไทย การจดทะเบียนแรงงาน

    ขนานใหญ่นี้เป็นโอกาสครั้งสำาคัญที่จะเพิ่มพูนการคุ้มครองและทำาให้แรงงานข้ามชาติรวมถึงผู้ติดตามได้รับ

    การปฏิบัติตามสิทธิที่มี อันอาจจะมีผลในการลดจำานวนการย้ายถิ่นแบบผิดปกติลง และทำาให้การจัดการการ

    ย้ายถิ่นฐานของประเทศไทยมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำาเป็นอย่างมากที่จะต้องจัดตั้ง

    กระบวนการติดตามผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อตรวจสอบระดับความโปร่งใสของกระบวนการพิสูจน์สัญชาติท่ีจะ

    มีขึ้นต่อจากน้ี และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังเช่นการเข้ามามีบทบาทของนายหน้าโดยไม่มีการควบคุม

    หรือราคาของกระบวนการและการเข้าถึงกระบวนการสำาหรับตัวแรงงานเอง

    การที่เศรษฐกิจและสังคมไทยจะได้รับประโยชน์จากการย้ายถ่ินต่อไปนั้น มีความจำาเป็นอย่างย่ิงที่รัฐบาล

    ไทยและภาคีจะต้องทำาการกำาหนดนโยบายด้านการย้ายถิ่นฐานท่ีรอบคอบและมีแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน

    เป็นพื้นฐาน จากความพยายามที่จะทำาให้แรงงานย้ายถิ่นที่ไม่มีเอกสารได้รับการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบที่กำาลัง

    ดำาเนินการอยู่นั้น ทำาให้ประเทศไทยได้มีโอกาสสดใสสำาหรับการพัฒนานโยบายด้านการย้ายถิ่นฐาน และ

    การเดินหน้าเพ่ือจัดการกับการค้ามนุษย์รวมถึงการลดการแสวงหาผลประโยชน์ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน

    ประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศ

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    vi

    รายงานฉบับนี้มีเป้าหมายที่จะให้การสนับสนุนทางข้อมูลหลักฐานแก่ผู้กำาหนดนโยบายสำาหรับการ

    พัฒนานโยบายการย้ายถิ่นฐานที่มีความโปร่งใส และตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน โดยเชื่อมโยง

    และสนับสนุนทุกภาคส่วนตามกรอบนโยบาย ผู้ย้ายถิ่นมีส่วนสำาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

    และสังคมของประเทศไทย ซึ่งนโยบายที่จะคงไว้และรับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมนี้จะเป็นคุณูปการต่อ

    ประเทศไทย ประเทศต้นทาง และตัวผู้ย้ายถิ่นเอง

    Luc Stevens Jeffrey Labovitz

    ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติประจำาประเทศไทย หัวหน้าสำานักงานไอโอเอ็มประจำาประเทศไทย

    องค์การสหประชาชาต ิ ประธานคณะทำางานเฉพาะเรื่อง

    แห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่น

  • คำ า ขอบคุณ

    รายงานฉบับนี้เป็นผลมาจากการดำาเนินงานร่วมกันของคณะทำางานเฉพาะเร่ืองแห่งสหประชาชาติว่า

    ด้วยการย้ายถิ่น (the United Nations Thematic Working Group on Migration) โดยมีองค์การระหว่างประเทศ

    เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เป็นประธานดำาเนินการ ซึ่งมีบทบาทนำาในการพัฒนาและการผลิตรายงานฉบับ

    นี้ ทั้งยังมีส่วนร่วมอย่างสำาคัญในทุกข้ันตอนของการเตรียมการ บรรณาธิการใคร่ขอแสดงความขอบคุณเป็น

    พิเศษต่อ Jeffrey Labovitz หัวหน้าคณะผู้แทนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สาขา

    ประเทศไทย สำาหรับการชี้แนะแนวทางอย่างสร้างสรรค์มาตลอดระยะเวลา 2 ปี ของการดำาเนินโครงการนี้ ทั้งใน

    การจัดเตรียมงานการเรียบเรียง และการตีพิมพ์รายงาน Claudia Natali ผู้จัดการโครงการแผนกต่อต้านการค้า

    มนุษย์และแผนกแรงงานข้ามชาติ และ Euan McDougall เจ้าหน้าที่แผนกแรงงานข้ามชาติซึ่งได้คอยประสาน

    งานและควบคุมดูแลการทำางานทุกข้ันตอน บรรณาธิการยังใคร่ขอขอบคุณ Martin Wyndham ผู้จัดการ

    โครงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ต้องกักเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย และ David John

    ผู้ประสานงานอาวุโสส่วนภูมิภาค สำาหรับการให้ข้อคิดเห็นและการมีส่วนร่วมอย่างสำาคัญในการบรรณาธิการ

    และ นายกานน คุมพ์ประพันธ์ ผู้เรียบเรียงรายงาน ฉบับภาษาไทย

    หัวข้อสำาคัญในบทต่างๆ ที่ได้นำาเสนอไว้ในรายงานฉบับน้ีจัดทำาขึ้นโดยหน่วยงานภาคีของคณะทำางาน

    เฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่น โดยแต่ละบทของรายงานมีเนื้อหาที่ประกอบด้วยการประเมิน

    สถานการณ์ในปัจจุบัน การวิเคราะห์สิ่งท้าทายและช่องว่างท่ีมีอยู่ในปัจจุบันทางด้านนโยบาย การอภิปราย

    หารือกันในเรื่องกลไกในระดับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ถึงแนวทางในอนาคต อีกทั้ง

    รายงานฉบับนี้ยังได้ให้ข้อเสนอแนะนานัปการเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท่ีเกี่ยวข้องได้

    พัฒนาและดำาเนินนโยบายการย้ายถิ่นที่ใช้แนวทางด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะเฉพาะเรื่องไว้

    อย่างละเอียดในหลายๆ บท

    เช่นเดียวกับรายงานฉบับที่แล้ว รายงานฉบับปี พ.ศ. 2557 นี้ จัดเตรียมขึ้นโดยการนำาขององค์การ

    ระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ซึ่งมีศักยภาพในการทำาหน้าท่ีเป็นประธานของคณะทำางาน

    เฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่น ประกอบด้วยคณะบุคคลที่มาจากหน่วยงานต่างๆ หลาย

    หน่วยงานที่มีฐานการดำาเนินงานอยู่ในประเทศไทย ดังนี้

    • องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)

    • องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

    • โครงการการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)

    • สำานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (OHCHR)

    • สำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR)

    • องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)

    • โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

    • คณะทำางานความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (UN-ACT)

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    viii

    • สำานักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)

    • สำานักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำาประเทศ(UNRC)

    • กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA)

    • องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ

    (UN WOMEN)

    • ธนาคารโลก (WB)

    • องค์การอนามัยโลก (WHO)

    องค์กรภาคีของคณะทำางานเฉพาะเรื่องได้ให้แนวคิดสำาหรับการจัดทำารายงานฉบับนี้ พัฒนาส่วน

    ประกอบและโครงร่าง รวมทั้งทบทวนเนื้อหาของแต่ละบทในขั้นตอนการจัดเตรียมและการปรับปรุงแก้ไข

    ทุกหน่วยงานที่ประกอบเป็นคณะทำางานเฉพาะเรื่องดังกล่าวต่างมีส่วนร่วมในการผลิตรายงานฉบับนี้ ไม่ว่าจะ

    เป็นการจัดหาการสนับสนุนทางการเงิน และ/หรือ การให้คำาแนะนำาทางเทคนิค องค์การระหว่างประเทศเพื่อ

    การโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) มีบทบาทเป็นศูนย์กลางของการจัดเตรียม รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย

    พ.ศ. 2557 นี้ โดยมีการประสานงานกันอย่างไม่หยุดหย่อนระหว่างภาคีของคณะทำางาน บรรณาธิการ ผู้เขียน

    ผู้แปล และผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องฝ่ายอื่น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานทำางานเพื่อรับประกัน

    ให้รายงานฉบับนี้มีคุณภาพในระดับสูงและมีการจัดส่งงานตรงตามกรอบระยะเวลาท่ีกำาหนด ในขณะเดียวกัน

    ให้การรับรองว่ารายงานฉบับนี้เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นมาจากการที่หลายฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมและพยายาม

    ร่วมมือกันดำาเนินงานอย่างแท้จริง

    รายงานนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การระหว่าง

    ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน คณะทำางานความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

    กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ สำานักงานป้องกันยาเสพติดและ

    ปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก

    นอกจากนี้ คณะบรรณาธิการและผู้เขียนยังใคร่ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำาหรับความช่วย

    เหลือที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐบาลไทย ซึ่งได้จัดหาข้อมูลที่สำาคัญให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยก

    ย้ายถิ่นฐานและผู้เขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงแรงงาน สำานักงานตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดสำานักงาน

    ตำารวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทยที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูลทางสถิติให้อย่างเต็มที่

    Jerrold W. Huguet บรรณาธิการ

    กรุงเทพฯ พ.ศ. 2557

  • ส ารบัญ

    ค�าน�า v

    ค�าขอบคุณ vii

    สารบัญ ix

    รายการตาราง x

    รายการรูป xii

    ค�าอธิบายอักษรย่อ xiv

    บทสรุปส�าหรับผู้บริหาร xix

    บทน�า xxv

    บทที่ 1 ข้อมูลการย้ายถิ่นโดยรวมของประเทศไทย 1

    Jerrold W. Huguet

    บทที่ 2 นโยบายการย้ายถิ่นของประเทศไทย 17

    Claudia Natali, Euan McDougall and Sally Stubbington

    บทที่ 3 ความคุ้มครองทางสังคมส�าหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย 33

    Benjamin Harkins

    บทที่ 4 ผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อเด็กในประเทศไทย 55

    UNICEF

    บทที่ 5 สถานะสุขภาพของผู้ย้ายถิ่นในประเทศไทย 85

    BrentBurkholderและอารีย์ม่วงสุขเจริญ

    บทที่ 6 อนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้ย้ายถิ่นในประเทศไทย 113

    เฉลิมพลแจ่มจันทร์

    บทที่ 7 แรงงานข้ามชาติท�างานบ้าน 135

    ไรรัตน์รังสิตพล

    บทที่ 8 กลไกร้องทุกข์ที่เหมาะสมต่อกรณีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย 163

    Benjamin Harkins

    บทที่ 9 การค้ามนุษย์ในประเทศไทย 183

    Paul Buckley

    บทที่ 10 ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในรูปแบบการย้ายถิ่นของชาวเมียนมาร์ 201

    และผลกระทบต่อประเทศไทย

    องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานประจ�าประเทศไทย

    และศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

    บทที่ 11 ประชาคมอาเซียนและนัยความหมายต่อการย้ายถิ่นของประเทศไทย 217

    Claudia Natali, Euan McDougall, Max Tunon and Sally Barber

    บทที่ 12 บทสรุป 243

    Jerrold W. Huguet

  • ร ายก ารต าร าง

    ตารางที่ 1.1 ประมาณการประชากรต่างชาติที่พำานักและทำางานอยู่ในประเทศไทย พ.ศ. 2556 2

    ตารางที่ 1.2 จำานวนคนต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำางานในประเทศไทย จำาแนกตามเพศและพื้นที่/ภาค 3

    เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ตารางที่ 1.3 จำานวนผู้ย้ายถ่ินที่มีใบอนุญาตทำางานจากสามประเทศเพื่อนบ้านที่ติดตาม 4

    การพิสูจน์สัญชาติ จำาแนกตามเพศ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ตารางที่ 1.4 จำานวนคนต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำางานตามหมวดอาชีพที่ใช้ทักษะฝีมือ 5

    และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ จำาแนกตามสัญชาติ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ตารางที่ 1.5 จำานวนประชากรวัยทำางานของประเทศไทยในกลุ่มอายุกว้างๆ พ.ศ. 2553 6

    และ พ.ศ. 2563 (หลักพัน)

    ตารางที่ 1.6 จำานวนคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำางานต่างประเทศ (รวมทุกประเทศ) 9

    จำาแนกตามประเทศและภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำางาน พ.ศ. 2555

    ตารางที่ 1.7 จำานวนแรงงานไทยที่จัดส่งไปทำางานในต่างประเทศ จำาแนกตามหมวดอาชีพ พ.ศ. 2555 10

    ตารางที่ 1.8 จำานวนประมาณการคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2555 11

    ตารางที่ 1.9 ประชากรที่ย้ายถิ่นภายใน 5 ปี (ก่อนการสำารวจสำามะโนประชากรฯ พ.ศ.2553 - ผู้แปล) 12

    จำาแนกตามประเภทการย้ายถิ่นและเพศ พ.ศ. 2553

    ตารางที่ 1.10 ร้อยละของประชากรที่ย้ายถิ่นภายใน 5 ปี (ก่อนการทำาสำามะโนประชากรฯ 13

    พ.ศ. 2553 -ผู้แปล) จำาแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2553

    ตารางที่ 1.11 ประชากรไทยที่ย้ายถิ่นภายใน 5 ปี (ก่อนการทำาสำามะโนประชากรฯ) จำาแนกตามเพศ 14

    และเหตุผลของการย้ายถิ่น พ.ศ. 2553

    ตารางที่ 2.1 ยอดรวมของผู้ย้ายถิ่นที่ทำางานอยู่ในประเทศไทย โดยจัดหามาตามขั้นตอนใน MOU 19

    ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ตารางที่ 2.2 จำานวนผู้ย้ายถ่ินทั้งหมดที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 21

    พ.ศ. 2555

    ตารางที่ 3.1 มาตรฐานสากลด้านการคุ้มครองทางสังคมของแรงงานข้ามชาติ 36

    ตารางที่ 3.2 การประกันที่จัดให้กับแรงงานข้ามชาติภายใต้ระบบการอนุญาตทำางาน (EPS) 38

    ของสาธารณรัฐเกาหลี

    ตารางที่ 3.3 แผนความคุ้มครองทางสังคมสำาหรับแรงงานข้ามชาต ิ 43

    ตารางที่ 3.4 ช่องว่างที่สำาคัญในการจัดหาความคุ้มครองทางสังคมให้กับแรงงานข้ามชาติ 47

    ตารางที่ 4.1 การจัดกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายถิ่น 57

    ตารางที่ 4.2 จำานวนผู้ย้ายถ่ินที่เข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนผู้ย้ายถิ่น ณ วันที่ 13 เมษายน 60

    พ.ศ. 2556

    ตารางที่ 4.3 ประมาณการสูงสุด ปานกลาง และตำ่าสุด ของจำานวนผู้ย้ายถิ่นในสองกลุ่ม 60

    อายุจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาร์ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ พ.ศ. 2555

    ตารางที่ 4.4 จำานวนเด็กย้ายถิ่นในโรงเรียนไทย จำาแนกตามระดับชั้นเรียนและประเทศต้นทาง 63

    พ.ศ. 2555

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xi

    ตารางที่ 4.5 อัตราร้อยละของผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาประเทศไทยครั้งแรกขณะที่มีอายุตำ่ากว่า 18 ปี 67

    จำาแนกตามประเทศต้นทางและเพศ

    ตารางที่ 4.6 การอยู่อาศัยของเด็กไทยอายุตำ่ากว่า 18 ปี และเหตุผลที่ไม่ได้อยู่กับบิดาและมารดา 72

    ตารางที่ 5.1 สาเหตุการตายห้าอันดับแรกในหมู่ประชากรที่มีและไม่ได้มีสัญชาติไทย 90

    โรงพยาบาลแม่สอด ปีงบประมาณ 2555

    ตารางที่ 5.2 ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นใน 10 จังหวัดของประเทศไทย 98

    ที่คัดเลือกมา พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555

    ตารางที่ 5.3 ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นใน 10 จังหวัดของประเทศไทย 99

    ที่คัดเลือกมา จำาแนกตามสัญชาติ พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555

    ตารางที่ 5.4 ผู้ป่วยมาลาเรียที่ได้รับรายงานในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย ในกลุ่มประชากรทั้งที่ม ี 100

    และไม่มีสัญชาติไทย ปีงบประมาณ 2549-2553

    ตารางที่ 6.1 จำานวนการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรของสตรีย้ายถิ่น ปีงบประมาณ 2553-2555 117

    ตารางที่ 6.2 ร้อยละของการรับบริการดูแลการตั้งครรภ์ บริการทำาคลอด และการดูแลหลังคลอด 122

    ของมารดาย้ายถิ่นซึ่งคลอดบุตรในประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำาแนกตามพื้นที่

    ตารางที่ 7.1 อนุสัญญา CEDAW และมิติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติทำางานบ้าน 139

    ตารางที่ 7.2 สถานะของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 144

    ตารางที่ 7.3 จำานวนแรงงานข้ามชาติที่ประกันตนภายใต้ พ.ร.บ. ประกันสังคม 148

    ตารางที่ 8.1 ข้อเสนอแนะต่อกลไกการร้องทุกข์แบบ 3 ระดับ 165

    ตารางที่ 8.2 แนวนโยบายในกรอบพหุภาคีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับ 166

    กลไกการร้องทุกข์

    ตารางที่ 9.1 เหยื่อของการค้ามนุษย์ที่ทางราชการไทยระบุจำานวนไว้ พ.ศ. 2551-2555 183

    ตารางที่ 9.2 การพิพากษาลงโทษผู้ค้ามนุษย์ในประเทศไทย 184

    ตารางที่ 9.3 ความผิดสำาคัญและบทกำาหนดโทษภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 191

    ตารางที่ 9.4 สถานสงเคราะห์เหยื่อจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทย 193

  • ร ายก ารรู ป

    รูปที่ 1.1 ผู้ลี้ภัยและประชากรในค่ายพักผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 8

    รูปที่ 2.1 ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นปกติสำาหรับแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศกัมพูชา 22

    สปป.ลาว และเมียนมาร์ ภายหลังวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 13 สิงหาคม

    พ.ศ. 2556

    รูปที่ 3.1 คุณสมบัติและการเข้าร่วมกองทุนประกันสังคมของแรงงานข้ามชาติ 45

    รูปที่ 4.1 อัตราร้อยละของเด็กย้ายถิ่นในโรงเรียนไทย จำาแนกตามปีการศึกษา 63

    รูปที่ 4.2 อัตราร้อยละของเด็กย้ายถิ่นจำาแนกตามประเทศต้นทาง 63

    รูปที่ 5.1 จำานวนผู้ป่วยโรคติดต่อต้องรายงานที่ได้รับรายงานในกลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้ป่วยข้ามแดน 91

    และผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน จำาแนกตามการเฝ้าระวังประจำาปี พ.ศ. 2551-2554

    ในประเทศไทย

    รูปที่ 5.2 การแจกแจงสัดส่วนของผู้ป่วยโรคติดต่อต้องรายงานในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นที่ได้รับ 92

    รายงาน จำาแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย (N=30,333)

    รูปที่ 5.3 (a) ร้อยละของรายงานการเจ็บป่วยโดยรวมจาก 10 สาเหตุหลักในประชากรที่มีสัญชาติไทย 93

    พ.ศ. 2554

    รูปที่ 5.3 (b) ร้อยละของรายงานการเจ็บป่วยโดยรวมจาก 10 สาเหตุหลักในประชากรที่ไม่ได้มี 93

    สัญชาติไทย พ.ศ. 2554

    รูปที่ 5.4 (a) สาเหตุหลักของการเจ็บป่วยในกลุ่มประชากรที่มีสัญชาติไทยในจังหวัดตาก 94

    พ.ศ. 2553-2555

    รูปที่ 5.4 (b) สาเหตุหลักของการเจ็บป่วยในกลุ่มประชากรที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยในจังหวัดตาก 94

    พ.ศ. 2553-2555

    รูปที่ 5.5 แนวโน้มผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย พ.ศ. 2549-2555 95

    รูปที่ 5.6 จำานวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในระยะแพร่เชื้อ (M+ สีแดง) และจำานวนผู้ป่วยวัณโรค 96

    รายใหม่ทั้งหมด (สีฟ้า) ในกลุ่มประชากรที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย จำาแนกตามภูมิภาค

    ของสำานักงานป้องกันและควบคุมโรค พ.ศ. 2555

    รูปที่ 5.7 การกระจายของไข้มาลาเรียทุกสายพันธุ์ จำาแนกตามภูมิภาคของสำานักงานป้องกัน 102

    และควบคุมโรคในประเทศไทย เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2555

    รูปที่ 5.8 สถานะการรักษาผู้ป่วยที่ยืนยันพบเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม 103

    และ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ ชนิดไม่ซับซ้อน ในกลุ่มประชากรทั้งที่มีและไม่ม ี

    สัญชาติไทย ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555

    รูปที่ 6.1 ประชากรที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยจำาแนกตามเพศและกลุ่มอายุ (n=2.1 ล้านคน) 113

    รูปที่ 6.2 วิธีที่สตรีย้ายถ่ินใช้คุมกำาเนิดอยู่ในปัจจุบัน จังหวัดสมุทรสาครและกรุงเทพฯ 119

    รูปที่ 6.3 การคุมกำาเนิดของผู้ย้ายถิ่น จำาแนกตามวิธีและพื้นที่ (ร้อยละ) 119

    รูปที่ 6.4 สถานที่ใช้บริการคุมกำาเนิดของผู้ย้ายถิ่น จำาแนกตามพื้นที ่ 120

    รูปที่ 6.5 จำานวนเด็กย้ายถิ่นที่คลอดในประเทศไทย จำาแนกตามประเภทผู้ทำาคลอด 121

    (ปีงบประมาณ 2553-2555)

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xiii

    รูปที่ 6.6 เหตุผลของการไม่เข้ารับบริการดูแลการตั้งครรภ์ก่อนคลอดสำาหรับมารดาย้ายถิ่น 122

    ที่คลอดบุตรในประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำาแนกตามพื้นที ่

    รูปที่ 6.7 จำานวนผู้ย้ายถ่ินที่เข้ารับบริการดูแลการตั้งครรภ์ก่อนคลอดและบริการทำาคลอดที่ 123

    โรงพยาบาลนครพิงค์ (พ.ศ. 2553-2555) และโรงพยาบาลสมุทรสาคร (พ.ศ. 2550-2553)

    รูปที่ 6.8 จำานวนเด็กย้ายถิ่นอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2553-2555 124

    รูปที่ 6.9 ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์และพฤติกรรมใช้ถุงยางอนามัยของผู้ย้ายถิ่น 125

    จำาแนกตามพื้นที่

    รูปที่ 6.10 รูปแบบความรุนแรงเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ 5 อันดับแรก ที่สตรีย้ายถิ่น 126

    ประสบในช่วงปีที่ผ่านมา (n=1,501)

    รูปที่ 10.1 ความช่วยเหลือที่ได้รับเพื่อย้ายถิ่นเข้ามาประเทศไทย จำาแนกตามจังหวัดที่พำานักอยู่ 205

    ในปัจจุบัน

    รูปที่ 10.2 สถานะเอกสารของผู้ย้ายถิ่นในกลุ่มสำารวจ จำาแนกตามจังหวัดในประเทศไทยที่ปัจจุบัน 206

    พำานักอยู่

    รูปที่ 10.3 ระดับรายได้ของผู้ย้ายถิ่นในกลุ่มสำารวจ ใน 3 ภาคการจ้างงานหลักของแต่ละจังหวัด 206

    รูปที่ 10.4 สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นในกลุ่มสำารวจที่เต็มใจกลับประเทศต้นทาง จำาแนกตามระยะเวลา 208

    ที่พำานักอยู่ในประเทศไทย

    รูปที่ 10.5 กรอบเวลากลับประเทศต้นทางของผู้ย้ายถิ่นในกลุ่มสำารวจที่เต็มใจกลับประเทศต้นทาง 209

    รูปที่ 10.6 ค่าจ้างขั้นตำ่าที่ยอมรับได้ในประเทศเมียนมาร์ จำาแนกตามระดับรายได้ในประเทศไทย 210

    รูปที่ 10.7 จุดหมายที่ชื่นชอบหลังกลับประเทศต้นทางของผู้ย้ายถิ่นในกลุ่มสำารวจ 211

    จำาแนกตามเพศภาวะ

  • คำ า อธิ บ ายอั กษรย ่ อ

    AANZFTA โครงการเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

    ACCDP โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย

    ACE สมาพันธ์นายจ้างอาเซียน

    ACMW คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริม

    และคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว

    ACT การบำาบัดที่ผสมผสานโดยอาศัยยาอาร์ติมิซินีน

    AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    AESR รายงานการทบทวนการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำาปี

    AFAS ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีการค้าบริการ

    AFML ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยแรงงานย้ายถิ่น

    AHTD กองบังคับการปราบปรามการกระทำาความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

    AIDS กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม

    AMS ประเทศสมาชิกอาเซียน

    ANC การฝากครรภ์

    ARCM ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

    ART การรักษาด้วยยาต้านไวรัส

    ARV ต้านไวรัส

    ASCC ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

    ASEAN สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ATP ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

    ATUC สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งอาเซียน

    AZT ยาต้านไวรัสเอดส์อะซิโดไทมิดีน

    BATWC สำานักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก

    BCG วัคซีนบาซิลลัส แคลแมต-เกแรง

    BOE สำานักระบาดวิทยา

    BPS สำานักนโยบายและยุทธศาสตร์

    BHA สำานักบริหารการสาธารณสุข

    BIOPHICS ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข

    BVBD สำานักโรคติดต่อนำาโดยแมลง

    CCS คณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน

    CEDAW อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

    CERD อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ

    CHAMPSEA โครงการศึกษาบิดามารดาย้ายถิ่นและสุขภาพเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ

    โครงการแชมป์ซี

    CLAIM โครงการศึกษาผลกระทบของการการย้ายถิ่นภายในประเทศของบิดามารดาที่มีต่อเด็ก

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xv

    CLMV กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม

    CMHIS แผนการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวภาคบังคับ

    CMP การประสานและกำากับการดำาเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

    COPD โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    CRC อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ

    CWD กองบังคับการปราบปรามการกระทำาผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี

    DFID สำานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

    DLPW กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    DOE กรมการจัดหางาน (ประเทศไทย)

    DOLE กรมแรงงานและการจ้างงาน (ประเทศฟิลิปปินส์)

    DOT การรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง

    DPT โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

    DRG กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม

    DSDW กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

    DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ

    EDT บริการตรวจโรคและให้การรักษาแต่เนิ่น

    EPI แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

    EPS ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ

    EU สหภาพยุโรป

    FDI การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

    FTUB สหพันธ์แรงงานแห่งชาติเมียนมาร์

    GATS ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ

    GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

    GMS โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำ้าโขง

    HIV ไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในคน

    HSS ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี

    IAI ข้อริเริ่มเพื่อการบูรณาการของอาเซียน

    IBBS การสำารวจเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี

    ICCPR กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

    ICDP การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา

    ICESCR กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

    ICRC คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

    IDC สถานกักกันของสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง

    IDP ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ

    ILO องค์การแรงงานระหว่างประเทศ

    IOM องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

    IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xvi

    IPSR สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

    JE2 วัคซีนโรคสมองอักเสบ จาแปนนีส บี

    JICA องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น

    MCH อนามัยแม่และเด็ก

    MDG เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ

    MDR ดื้อยาหลายขนาน

    MDT ทีมสหวิชาชีพ

    MFLM กรอบพหุภาคีว่าด้วยการเคลื่อนย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ

    MHI การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว

    MICS การสำารวจสถานการณ์เด็กและสตรี

    MIS ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โรคไข้มาลาเรีย

    MMC ศูนย์ศึกษาการย้ายถิ่นมหิดล

    MMP ผู้ย้ายถิ่นและประชากรเคลื่อนย้าย

    MMR วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

    MOE กระทรวงศึกษาธิการ

    MOJ กระทรวงยุติธรรม

    MOL กระทรวงแรงงาน

    MOM กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ (ประเทศสิงคโปร์)

    MOTS กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

    MOPH กระทรวงสาธารณสุข

    MOU บันทึกความเข้าใจ

    MRA ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ

    MSDHS กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

    MSM กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย

    MWC อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว

    NAPHA โครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำาหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์

    NESDB สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    NGO องค์กรพัฒนาเอกชน

    NHSO สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    NLD พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (ประเทศเมียนมาร์)

    NLRC คณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ

    NQF กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ

    NSO สำานักงานสถิติแห่งชาติ

    NTP แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ

    NV การพิสูจน์สัญชาติ

    OAG สำานักงานอัยการสูงสุด

    ODPC สำานักงานป้องกันควบคุมโรค

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xvii

    OHS สุขภาพและความปลอดภัยในการทำางาน

    OPTA สำานักงานคณะผู้เชี่ยวชาญด้านประชากร

    OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน

    OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

    OSSC ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ

    PHAMIT โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงามข้ามชาติในประเทศไทย หรือ โครงการฟ้ามิตร

    PMTCT การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

    POCHT ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด

    POEA สำานักบริหารการจ้างงานนอกประเทศฟิลิปปินส์

    POLO สำานักแรงงานนอกประเทศฟิลิปปินส์

    RQF กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับภูมิภาค

    RTG รัฐบาลไทย

    RTP สำานักงานตำารวจแห่งชาติ

    SDQ แบบสอบถามเพื่อคัดกรองพฤติกรรมของเด็ก

    SLOM การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงาน

    SLOM-WG การประชุมคณะทำางานเจ้าหน้าท่ีอาวุโสด้านแรงงานว่าด้วยปฏิบัติการแรงงานแบบก้าวหน้า

    เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

    SOM-ED การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

    SOM-TC การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ

    SOPs มาตรฐานวิธีปฏิบัติ

    SSF กองทุนประกันสังคม

    SSO สำานักงานประกันสังคม

    SSS การประกันสังคม

    STD โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    STI โรคติดต่อที่ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

    TB วัณโรค

    TH ปรากฏการณ์ที่สมาชิกในครัวเรือนอาศัยอยู่กันคนละประเทศ

    THB บาทไทย

    TIP การค้ามนุษย์

    TPQI สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

    TVET การศึกษาและฝึกอบรมทางเทคนิคและสายอาชีพ

    UC หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    UN องค์การสหประชาชาติ

    UN-ACT คณะทำางานความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

    UNDP โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

    UNESCO องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ

    UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xviii

    UNGASS การประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์

    UNHCR สำานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

    UNIAP โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสหประชาชาติด้านการค้ามนุษย์

    UNICEF องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ

    UNIFEM กองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ

    UIS สถาบันสถิติขององค์การยูเนสโก

    USD เหรียญสหรัฐ

    UTCC มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

    VPD โรคที่ฉีดวัคซีนป้องกันได้

    VPTE การออกใบอนุญาตทำางานชั่วคราว

    WCC คลินิกสุขภาพเด็กดี

    WCF กองทุนเงินทดแทน

    WHO องค์การอนามัยโลก

  • บทส รุปสำ า ห รั บผู ้ บ ริ ห าร

    การย้ายถิ่นมีส่วนสนับสนุนอย่างมีนัยสำาคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย

    แต่ในปี พ.ศ. 2557 มีแง่มุมที่สำาคัญหลายด้านของนโยบายการย้ายถิ่นท่ียังไม่ได้รับการแก้ไข ประกอบด้วย

    การจัดตั้งระบบการจัดการกับการย้ายถิ่นที่รับรองได้ว่าผู้ย้ายส่วนใหญ่จะมีสถานะปกติ การเตรียมการเป็น

    ประชาคมอาเซียนที่ดำาเนินการไปอย่างล่าช้า การค้ามนุษย์ และการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น ตลอดจนสถานการณ์

    ของผู้พลัดถิ่นตามแนวชายแดนประเทศเมียนมาร์

    อาจประมาณการได้ว่ามีชาวต่างชาติที่กำาลังพำานักอยู่ในประเทศไทยรวมเป็นจำานวนระหว่าง 3.5-4

    ล้านคน โดยเป็นผู้ที่มีงานทำาอยู่ประมาณ 3.25 ล้านคน ผู้ท่ีมีงานทำาจำานวนประมาณ 2.7 ล้านคน มาจาก

    ประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ย้ายถิ่นในประเทศไทย

    ไม่ได้มีแต่แรงงานข้ามชาติเท่านั้น เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2556 มีผู ้พลัดถิ่นในค่ายพักพิงใกล้ชายแดนประเทศ

    เมียนมาร์ทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนเป็นจำานวนรวม 127,000 คน ในปี พ.ศ. 2555 มีบุคคลที่พำานักอยู่

    ในประเทศไทยด้วยการตรวจลงตราเพื่อเข้ามาใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุเป็นจำานวน 34,500 คน และในปี พ.ศ.

    2553 มีนักศึกษาต่างชาติในระดับอุดมศึกษาเป็นจำานวน 20,155 คน

    ขณะท่ีการย้ายถิ่นเข้าส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยมากยิ่งกว่าการ

    ย้ายถิ่นออก แต่การย้ายถิ่นออกยังคงมีนัยสำาคัญอยู่เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555 แรงงานไทยจำานวน 134,101 คน

    ถูกส่งไปทำางานที่ประเทศอ่ืน และกระทรวงการต่างประเทศประมาณการว่ามีคนไทยที่พำานักอยู่ในต่างประเทศ

    รวมเป็นจำานวนประมาณ 1 ล้านคน

    ปี พ.ศ. 2535 ประเทศไทยเริ่มออกบัตรประจำาตัวแรงงานย้ายถิ่นให้กับชาวเมียนมาร์ที่พำานักอยู่ใน 10

    จังหวัดติดชายแดน ซึ่งเป็นระบบที่ทำาให้ผู้ย้ายถิ่นมีสถานะการจ้างงานที่ปกติแต่ไม่ได้ทำาให้สถานะการเข้าเมือง

    ของผู้ย้ายถิ่นเป็นปกติตามไปด้วย ระบบนี้มีการขยับขยายการดำาเนินงานค่อนข้างรวดเร็ว มีการออกมติคณะ

    รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2539 แรงงานจากประเทศกัมพูชาและสปป.ลาวยังสามารถได้

    รับใบอนุญาตทำางานอีกด้วย เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2544 ระบบการออกใบอนุญาตทำางานครอบคลุมไปทั่วทุกจังหวัด

    ในประเทศไทยและทุกอาชีพหลักที่ใช้แรงงานฝีมือตำ่า

    ในปี พ.ศ. 2547 ผู้ย้ายถิ่นและผู้ติดตามจำานวน 1.28 ล้านคน จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามเข้ามาจด

    ทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย และอีกจำานวน 814,000 คน ยังคงดำาเนินการเพื่อขอรับใบอนุญาตทำางาน

    ประเทศไทยเริ่มดำาเนินการตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน

    กับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาวในปี พ.ศ. 2549 และกับประเทศเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ระบบ

    ของ MOU แรงงานได้รับการเสนอตำาแหน่งงานและเอกสารการเดินทางก่อนการย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทย

    เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 แรงงานย้ายถิ่นที่ถือใบอนุญาตทำางานอันเป็นผลมาจากการดำาเนินงานตาม

    กระบวนการ MOU มีจำานวน 139,048 คน แต่จำานวนดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของแรงงานจาก

    ประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

    ถึงแม้กระบวนการตาม MOU ทำาให้แรงงานย้ายถิ่นมีช่องทางตามกฎหมายเข้ามาทำางานอยู่ใน

    ประเทศไทย ยังคงมีแรงงานนอกกระบวนการตาม MOU เป็นจำานวนกว่า 1 ล้านคน ที่มีงานทำาอยู่แล้วใน

    ประเทศไทย แรงงานเหล่านี้ได้รับโอกาสให้ทำาการปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นปกติได้หากผ่านการพิสูจน์สัญชาติ

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xx

    โดยรัฐบาลของประเทศต้นทางแล้ว ในขณะที่ตัวเลขสะสมของจำานวนผู้ย้ายถิ่นทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์จาก

    การพิสูจน์สัญชาติตั้งแต่เริ่มมีการดำาเนินงานข้ึนเมื่อปี พ.ศ. 2552 ยากท่ีจะประมาณการได้ สถิติล่าสุดระบุว่า

    มีผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาร์เป็นจำานวนมากกว่า 1 ล้านคน และมีผู้ย้ายถิ่นชาวกัมพูชาและสปป.ลาวอีกจำานวน

    150,000 คน ที่ได้ดำาเนินการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้ว และถือหนังสือเดินทางชั่วคราวพร้อมกับมีใบอนุญาต

    ทำางานที่มีผลใช้ได้จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 การเข้าร่วมใน

    กระบวนการพิสูจน์สัญชาติรอบใหม่ถูกระงับไป

    ประเทศไทยมีการวางกลไกมากมายเพื่อจัดหาความคุ ้มครองให้กับแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิก

    ครอบครัวของแรงงาน ประกอบด้วย การจัดให้เด็กทุกคนในประเทศได้เรียนฟรีในระดับชั้นประถมศึกษา การ

    ให้แรงงานย้ายถิ่นจดทะเบียนสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมในกองทุนประกันสังคมและเข้าถึงการประกันสุขภาพ

    โดยไม่ต้องคำานึงถึงสถานะการย้ายถิ่น อย่างไรก็ตาม กองทุนประกันสังคมยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ

    หรือผู้ที่ทำางานบนเรือประมง และยังมีอุปสรรคอื่นอีกมากมายท่ีกีดกันไม่ให้ผู้ย้ายถิ่นสามารถเข้าถึงการศึกษา

    และการดูแลจากสาธารณสุขได้

    ถึงแม้โดยปกติบิดามารดาเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการย้ายถิ่น เด็กหลายคนในประเทศไทยต่างได้รับ

    ผลกระทบโดยตรงจากการย้ายถิ่น ประกอบด้วย (1) เด็กที่ย้ายถิ่นมาจากประเทศอื่นพร้อมกับสมาชิกครอบครัว

    หรือเด็กที่เกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาย้ายถิ่น (บุตรของผู้ย้ายถิ่นเข้า) (2) เด็กที่ย้ายถิ่นมาจากประเทศ

    อื่นด้วยตนเองหรือมาพร้อมกับเพื่อน (เด็กย้ายถิ่น) (3) เด็กไทยท่ีย้ายถิ่นภายในประเทศด้วยตนเอง (เด็กไทย

    ย้ายถิ่นภายในประเทศ) (4) เด็กไทยที่มีบิดามารดาย้ายถิ่นไปยังประเทศอื่นหรือย้ายถิ่นภายในประเทศไทย

    การไหลทะลักเข้ามาของผู้ย้ายถิ่นในประเทศไทยก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของ

    ความเสี่ยงรับโรคติดต่อที่เพ่ิมข้ึน และความต้องการให้มีระบบการดูแลจากสาธารณสุขท่ีเพิ่มขึ้นตามไป

    ด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณชายแดน แม้ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรงดี แต่อาจเสี่ยง

    ได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วยจากอันตรายในการประกอบอาชีพ สถานะความเป็นอยู่ท่ียากจน การเคล่ือนท่ี และ

    ขาดการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ด้วยขอบเขตและสถานะของความเส่ียงท่ีสูงเช่นน้ี จึงจำาเป็นท่ีเจ้าหน้าที่รัฐ

    และชุมชนจะต้องสำานึกรู้อย่างถ่องแท้ นอกจากน้ันความเข้าใจท่ีบิดเบือนของสาธารณะเกี่ยวกับสุขภาพของ

    ผู้ย้ายถิ่นและการขาดข้อมูลทางระบาดวิทยาที่เบ็ดเสร็จเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพที่

    ครบถ้วน และการดำาเนินงานบริการสาธารณสุขอย่างเป็นบูรณาการให้กับประชากรทั้งที่มีและไม่มีสัญชาติไทย

    ผู ้ย้ายถ่ินในประเทศไทย ขาดการวางแผนครอบครัวท่ีเหมาะสม มีวิธีการคุมกำาเนิดท่ีไม่ถูกต้อง

    มีการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์และการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น มีสภาวะอนามัยแม่และเด็กที่ไม่ดีมีความชุก

    ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์สูง และมีปัญหาอื่นๆ (เช่น ความรุนแรงอันเนื่องมา

    จากบทบาททางเพศ) ปัญหาเหล่าน้ีล้วนเป็นความกังวลในด้านอนามัยการเจริญพันธุ์สาเหตุสำาคัญท่ีก่อให้เกิด

    ปัญหาดังกล่าว คือ การที่ผู้ย้ายถิ่นไม่สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขด้านอนามัยการเจริญพันธุ์อย่าง

    เพียงพอ ตลอดจนไม่ได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสม เนื่องจากข้อจำากัดใน

    ส่วนของผู้ย้ายถิ่นเองและอุปสรรคที่มีอยู่ในระบบการให้บริการสาธารณสุขของประเทศไทย

    ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวง ฉบับท่ี 14 (พ.ศ. 2555) ภายใต้

    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับนายจ้างซึ่งมีลูกจ้างเป็น

    แรงงานทำางานบ้าน และไม่ได้เป็นลูกจ้างในกิจการ กฎกระทรวงน้ีแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการให้ความ

  • การย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2557

    xxi

    คุ้มครองสิทธิของแรงงานทำางานในบ้าน เพราะระบุว่าแรงงานกลุ่มน้ีสามารถมีวันหยุดได้ 1 วัน ใน 1 สัปดาห์

    มีวันหยุดนักขัตฤกษ�