จดหมายข่าวประชากรและสังคม ปีที่ 32...

12
ปีท่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน - กรกฎาคม 2555 POPULATION AND DEVELOPMENT NEWSLETTER ISSN : 0125-5754 Website: www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/ อาเซียนจากมุมมองของนักศึกษา 10 ประเทศ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน กำลังจะมาถึงในปพ.ศ. 2558 ทำให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน กำลังตื่นตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือทีใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ผู้ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถ ปรับตัวได้ก็จะได้ประโยชน์กับความร่วมมือดังกล่าว จากตลาด การบริโภคจำนวน 600 ล้านคน และขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญมหาศาลประมาณ 1.85 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 6 เท่าของขนาดเศรษฐกิจของไทย แต่ผู้ที่ไมสามารถปรับตัวได้ หรือขาดความตระหนักรับรู้กับการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังเกิดขึ้น ก็อาจเสียโอกาสหรือไม่สามารถแข่งขันในสังคม ที่เปิดกว้างและมีคู่แข่งจำนวนมากได้ ผู้เขียนนึกถึงหนังสือที่โด่งดัง เรื่อง The Third Wave (คลื่นลูกที่สาม) ของ Alvin Toffler นักอนาคตวิทยาชั้นนำของโลก ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่ยังคงสอดคล้องกับสถานการณ์ยุคปัจจุบัน โดยหนังสือ ดังกล่าวได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคต่างๆ ของโลก นับตั้งแต่ ยุคสังคมเกษตรกรรมมาสู่ยุคสังคมอุตสาหกรรมและยุคสังคม หลังอุตสาหกรรม (post-industrial society) โดยสังคม ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร (information age) และสามารถ ยืนอยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงได้ก็จะสามารถอยู่รอด และเป็นผู้ชนะ ในทางตรงกันข้ามหากสังคมใดตามไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็จะค่อยๆ เสื่อมลงและถูกแทนที่โดย ผู้ที่อยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสำรวจความรู้และความเข้าใจของนักศึกษาจากประเทศ สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศต่อพัฒนาการของประชาคม อาเซียน อาจเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งว่า สังคมใดมีความตระหนักรับรูและเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด นักศึกษาคือปัญญาชนที่ในอนาคตจะทำหน้าที่ผู้นำของสังคม มุมมองของคนเหล่านี้จึงอาจเป็นพื้นฐานของการปรับตัวของ แต่ละสังคมในอนาคตได้ จากงานศึกษาเรื่อง Attitudes and Awareness toward ASEAN: Findings of a Ten Nation Survey (ทัศนคติและการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน: ข้อค้นพบ จากการสำรวจสิบประเทศ) ของ ASEAN Foundation (มูลนิธิ อาเซียน) เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยหลักสองท่าน ได้แก่ Dr. Eric C. Thompson จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และ ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำรวจนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ (อาทิ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ของสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยมลายา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น) จำนวนประเทศละ 200-220 คน รวมทั้งสิ้น 2,170 คน ทำให้เราทราบถึงความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่ออาเซียนของ ปัญญาชนท้งสิบประเทศ โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี 1.ภาพรวมต่ออาเซียน นักศึกษาส่วนใหญ่รวมทั้งไทย มองอาเซียนในด้านบวก ส่วนนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและ เวียดนามจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษต่อความร่วมมือกับอาเซียน ส่วนสิงคโปร์จะมองอาเซียนทั้งบวกและลบควบคู่กัน ขณะที่พม่า จะมีทัศนคติในทางลบหรือความแคลงใจกับอาเซียนมากกว่า ประเทศอื่น 2.ความเป็นพลเมืองอาเซียน นักศึกษาร้อยละ 88.5 คิดว่า ประเทศของตนได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอาเซียน และ ประมาณร้อยละ 70 คิดว่าตนจะได้ประโยชน์จากอาเซียน โดยนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและเวียดนามมีมุมมองเชิงบวก มากที่สุด ขณะที่นักศึกษาจากสิงคโปร์และพม่าเห็นด้วยในเรื่องนีน้อยกว่าชาติอื่น ส่วนไทยเห็นด้วยร้อยละ 89.5 และร้อยละ 74.5 ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่ว่า ตนเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) หรือไม่นั้น ร้อยละ 76.8 ของนักศึกษา อาเซียนทั้งหมดเห็นด้วยว่าตนเป็นพลเมืองอาเซียน ส่วน นักศึกษาไทยเห็นด้วยร้อยละ 67 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ รูปที่1ฉันเป็นพลเมืองอาเซียน 3. ความรู้ความเข้าใจต่ออาเซียน โดยเฉลี่ยนักศึกษาส่วนใหญ่ สามารถระบุชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนได้ 9 ประเทศจาก 10 ประเทศ และสามารถระบุตำแหน่งประเทศอาเซียนในแผนทีได้ 7 จาก 10 ประเทศ และร้อยละ 75 สามารถจดจำธงของ อาเซียนได้ ยกเว้นกัมพูชา (ตอบถูกร้อยละ 63.1) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 38.6) และไทย (ร้อยละ 38.5) และ นอกจากนี้ไทย สักกรินทร์ นิยมศิลป [email protected] คนแก่กับ อินเตอร์เน็ต หน้า 6-7

Upload: ipsr-mu

Post on 30-Mar-2016

237 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

Population and Development Newsletter, Vol 32, No. 5, Institute for Population and Social Research, Mahidol University , THAILAND

TRANSCRIPT

Page 1: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน - กรกฎาคม 2555

POPULATION AND DEVELOPMENT NEWSLETTER ISSN : 0125-5754 Website: www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/

อาเซียนจากมุมมองของนักศึกษา 10 ประเทศ

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน กำลังจะมาถึงในปีพ.ศ. 2558 ทำให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนกำลังตื่นตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นผู้ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถปรับตัวได้ก็จะได้ประโยชน์กับความร่วมมือดังกล่าว จากตลาดการบริโภคจำนวน 600 ล้านคน และขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่มหาศาลประมาณ 1.85 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี พ.ศ. 2553หรือประมาณ 6 เท่าของขนาดเศรษฐกิจของไทย แต่ผู้ที่ ไม่สามารถปรบัตวัได้ หรอืขาดความตระหนกัรบัรูก้บัการเปลีย่นแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ก็อาจเสียโอกาสหรือไม่สามารถแข่งขันในสังคมทีเ่ปดิกวา้งและมคีูแ่ขง่จำนวนมากได้ ผูเ้ขยีนนกึถงึหนงัสอืที่โดง่ดงัเรื่อง The ThirdWave (คลื่นลูกที่สาม) ของ Alvin Tofflerนักอนาคตวิทยาชั้นนำของโลก ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523แต่ยังคงสอดคล้องกับสถานการณ์ยุคปัจจุบัน โดยหนังสือดงักลา่วไดพ้ดูถงึการเปลีย่นแปลงของยคุตา่งๆ ของโลก นบัตัง้แต่ยุคสังคมเกษตรกรรมมาสู่ยุคสังคมอุตสาหกรรมและยุคสังคมหลังอุตสาหกรรม (post-industrial society) โดยสังคมที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร(informationage)และสามารถยืนอยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงได้ก็จะสามารถอยู่รอดและเป็นผู้ชนะ ในทางตรงกันข้ามหากสังคมใดตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็จะค่อยๆ เสื่อมลงและถูกแทนที่โดยผู้ที่อยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสำรวจความรู้และความเข้าใจของนักศึกษาจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศต่อพัฒนาการของประชาคมอาเซียนอาจเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งว่าสังคมใดมีความตระหนักรับรู้และเตรยีมพรอ้มในการเปลีย่นแปลงที่จะเกิดขึน้มากนอ้ยเพยีงใดนักศึกษาคือปัญญาชนที่ ในอนาคตจะทำหน้าที่ผู้นำของสังคมมุมมองของคนเหล่านี้จึงอาจเป็นพื้นฐานของการปรับตัวของแต่ละสังคมในอนาคตได้ จากงานศึกษาเรื่อง Attitudes andAwareness toward ASEAN: Findings of a Ten NationSurvey (ทัศนคติและการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน: ข้อค้นพบจากการสำรวจสิบประเทศ)ของASEANFoundation(มูลนิธิอาเซียน) เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยหลักสองท่าน ได้แก่Dr. Eric C. Thompson จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และ ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งสำรวจนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของ

ประเทศสมาชกิอาเซยีนทัง้สบิประเทศ (อาทิ มหาวทิยาลยัแหง่ชาติของสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยมลายา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้น)จำนวนประเทศละ200-220คนรวมทั้งสิ้น2,170คนทำให้เราทราบถึงความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่ออาเซียนของปัญญาชนทั้งสิบประเทศโดยมีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้ 1. ภาพรวมต่ออาเซียน นักศึกษาส่วนใหญ่รวมทั้งไทยมองอาเซียนในด้านบวก ส่วนนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและเวียดนามจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษต่อความร่วมมือกับอาเซียนส่วนสิงคโปร์จะมองอาเซียนทั้งบวกและลบควบคู่กัน ขณะที่พม่าจะมีทัศนคติในทางลบหรือความแคลงใจกับอาเซียนมากกว่าประเทศอื่น 2. ความเป็นพลเมืองอาเซียนนักศึกษาร้อยละ88.5คิดว่าประเทศของตนได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอาเซียน และประมาณร้อยละ 70 คิดว่าตนจะได้ประโยชน์จากอาเซียนโดยนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและเวียดนามมีมุมมองเชิงบวกมากที่สุด ขณะที่นักศึกษาจากสิงคโปร์และพม่าเห็นด้วยในเรื่องนี้น้อยกว่าชาติอื่น ส่วนไทยเห็นด้วยร้อยละ 89.5 และร้อยละ74.5 ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่ว่า ตนเป็นพลเมืองอาเซียน(ASEAN Citizen) หรือไม่นั้น ร้อยละ 76.8 ของนักศึกษาอาเซียนทั้งหมดเห็นด้วยว่าตนเป็นพลเมืองอาเซียน ส่วนนักศึกษาไทยเห็นด้วยร้อยละ67ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

รูปที่ 1 ฉันเป็นพลเมืองอาเซียน

3. ความรูค้วามเขา้ใจตอ่อาเซยีน โดยเฉลีย่นกัศกึษาสว่นใหญ่สามารถระบุชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนได้ 9 ประเทศจาก10 ประเทศ และสามารถระบุตำแหน่งประเทศอาเซียนในแผนที่ได้ 7 จาก 10 ประเทศ และร้อยละ 75 สามารถจดจำธงของอาเซียนได้ ยกเว้นกัมพูชา (ตอบถูกร้อยละ 63.1) ฟิลิปปินส์(ร้อยละ 38.6) และไทย (ร้อยละ 38.5) และ นอกจากนี้ ไทย

สักกรินทร์ นิยมศิลป์[email protected]

คนแก่กับ อินเตอร์เน็ต

หน้า 6-7

Page 2: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

2/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

ยังเป็นประเทศที่จดจำปีที่มีการก่อตั้งอาเซียนได้น้อยที่สุดแม้ว่าอาเซียนจะถือกำเนิดในประเทศไทยก็ตาม โดยตอบถูกเพียงร้อยละ 27.5 เท่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือร้อยละ49.5

รูปที่ 2 ฉันอยากรู้จักประเทศอาเซียนอื่น

4. ทัศนคติต่อประเทศอาเซียนอื่น นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าประเทศที่ตนคุ้นเคยที่สุดในอาเซียนคือไทยกับสิงคโปร์อย่างไรก็ตามนักศึกษาจากประเทศในอินโดจีนกลับรู้สึกคุ้นเคยกับสิงคโปร์และมาเลเซียมากกว่าเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงเช่นไทยนอกจากนี้ นักศึกษาถึงร้อยละ 91.8 ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนอื่น ส่วนนักศึกษาไทยเห็นด้วยในข้อนี้เพียงร้อยละ 87.5 ซึ่งน้อยเป็นอันดับที่สี่รองจากพม่า สิงคโปร์และบรูไน 5. ทัศนคติต่อการเดินทางและทำงาน ประเทศอาเซียนที่นักศึกษาอยากเดินทางไปมากที่สุดคือสิงคโปร์ ไทย มาเลเซียและเวียดนาม ส่วนประเทศที่นักศึกษาอยากไปทำงานได้แก่สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนและไทยตามลำดับ โดยกว่าครึ่งหนึ่งเลือกสิงคโปร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่กำลังจะเปิดเสรีในอนาคตอันใกล้

รูปที่ 3 ประเทศที่ฉันอยากไปทำงาน

6. แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนส่วนใหญ่มาจากโทรทัศน์โรงเรียน หนังสือพิมพ์และหนังสือ รองลงไปได้แก่อินเตอร์เน็ตและวิทยุ ขณะที่แหล่งข้อมูลที่สำคัญน้อยที่สุดได้แก่ ครอบครัวการเดินทาง ภาพยนตร์ ดนตรีและการทำงาน อย่างไรก็ตามในแต่ละประเทศจะมีการบริโภคสื่อที่แตกต่างกัน โดยวิทยุจะมีความสำคัญในประเทศอินโดจีนมากกว่าสื่ออื่นเป็นต้น 7. มิติความร่วมมือของอาเซียนที่สำคัญ ในสายตาของนกัศกึษาอาเซยีน เรยีงตามลำดบัไดแ้ก่ เศรษฐกจิ การทอ่งเทีย่วความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การศึกษา ความมั่นคงและการทหารกีฬาวัฒนธรรมและการเมืองส่วนประเด็นสำคัญของความร่วมมือที่สำคัญที่สุดได้แก่ การลดความยากจนการแลกเปลีย่นดา้นการศกึษา และความรว่มมอืทางวทิยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามลำดับ

8. ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาแต่ละประเทศ ในภาพรวม cบรูไน มีความความเข้าใจเรื่องอาเซียนดีมาก และมี

ทัศนคติในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่cกัมพูชา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนไม่ดีนัก

แต่มีทัศนคติในเชิงบวกและกระตือรือร้นต่ออาเซียนมาก

cอินโดนีเซียมาเลเซีย ไทยมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติในเชิงบวก โดยมีค่าเฉลี่ยระดับกลางๆ ของภูมิภาค

cลาว และเวียดนาม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนดีมาก และมีทัศนคติในเชิงบวกและกระตือรือร้นต่ออาเซียนมาก

cพม่า มีความรู้ความเข้าใจต่ออาเซียนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค และมีความเห็นทั้งบวกและลบต่ออาเซียน

cฟิลิปปินส์ มีความรู้ความเข้าใจต่ออาเซียนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคแต่มีความเห็นในทางบวก

cสิงคโปร์ มีความรู้ความเข้าใจต่ออาเซียนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค คิดว่าตนเป็นพลเมืองอาเซียนน้อยกว่านักศึกษาชาติอื่น แต่เห็นว่าประเทศตนได้ประโยชน์อย่างมากจากอาเซียน

จากงานสำรวจข้างต้น สรุปได้ว่า นักศึกษาจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีทัศนคติต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนค่อนข้างดี และเห็นประโยชน์จากการรวมตัวที่เกิดขึ้น ที่สำคัญนักศึกษาส่วนใหญ่ตระหนักรับรู้ว่าตนเป็นพลเมืองอาเซียนอย่างไรก็ตาม นักศึกษาจากพม่าและสิงคโปร์ยังมีทัศนคติต่ออาเซียนทั้งทางบวกและลบ โดยกรณีพม่านั้น ระบบการเมืองที่ปิดกั้นและการปิดมหาวิทยาลัยบ่อยครั้งทำให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนยังจำกัด ส่วนกรณีสิงคโปร์นั้น เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและมุมมองที่แตกต่างไปจากประเทศอาเซียนอื่น เนื่องจากต้องปรับตัวเข้ากับกระแสโลกาภิวัตน์มากกว่าประเทศที่มีตลาดในประเทศขนาดใหญ่ จึงเป็นไปได้ว่าชาวสิงคโปร์มองว่าตนเป็นพลเมืองของโลกมากกว่าภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ส่วนนักศึกษาไทย จะมีทัศนคติคล้ายกับนักศึกษาจากมาเลเซียและอินโดนีเซียซึ่งมองอาเซียนในแง่บวกแต่จะน้อยกว่ากลุ่มประเทศอินโดจีนซึ่งเป็นสมาชิกใหม่อาเซียนที่กระตือรือร้นที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอาเซียน อย่างไรก็ตาม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนในบางด้านของนักศึกษาไทยยังอ่อนด้อยอยู่มาก เช่น ยังไม่รู้จักธงหรือประวัติศาสตร์อาเซียนดีพอ ในทางตรงกันข้าม ประเทศอาเซียนอื่นกลับรู้จักประเทศไทยมากกว่าและสนใจที่จะเดินทางมาเที่ยวและทำงานในไทยเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค จึงจำเป็นที่นักศึกษาไทยจะต้องพัฒนาตนเอง และขวนขวายที่จะเรียนรู้ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น เพื่อให้รู้จักอาเซียนอย่างจริงจัง ดังคำสอนของซุนวูที่ว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”แต่หากเรายังไม่(ค่อย)รู้จักและสนใจเพื่อนบ้านเท่าที่ควรก็คงถูกคลื่นที่สาม (หรืออาจจะเป็นลูกที่สี่ ในอนาคตอันใกล้) ของ AlvinToffler ถาโถมเข้ามาจนสำลักน้ำหน้าเขียวหน้าเหลืองไปตามๆกัน คงถึงเวลาที่พวกเราชาวไทยต้องหัดโต้คลื่นกันอย่างจริงจังแล้วสินะ

aaaaaaaaa

Page 3: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

3/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

ประชากรต่างแดน

อะเจ้ะห์ดินแดนแห่งภัยธรรมชาติแต่เป็นสวรรค์ของนักลงทุน

อมรา สุนทรธาดา [email protected]

อะเจ้ะห์เป็นเขตปกครองพิเศษของอินโดนีเซียตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะสุมาตรา มีประชากร ราว 4 ล้านคนประกาศอิสรภาพในปี 2519 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนามุสลิมนิกายสุหนี่ มีอาชีพหลักในภาคเกษตรกรรมและประมงประชากรกว่า 300,000 คน มีฐานะยากจน ผู้ชายย้ายถิ่นเพื่อ

หางานทำในถิ่นอื่นๆ ของอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่นิยมไปสร้างครอบครัวใหม่ไม่กลับบ้านเกิด ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ พบหลักฐานว่าชนเผ่าดั้งเดิมมีถิ่นฐานอาศัยในดินแดนนี้มานานราว3,000ปี

ทั่วโลกรู้จักอะเจ้ะห์เพราะเหตุการณ์ต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการปลดปล่อยอะเจ้ะห์ ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและภัยพิบัติจากสึนามิ (ความตายสีขาว) ปี 2547 มีคนตายมากกว่า 120,000 คน ผู้พลัดถิ่น ประมาณ 500,000 คนมีรายงานว่า ช่วงที่เกิดสึนามิ พบผู้เสียชีวิต 300 ศพ ทุกๆหนึ่งชั่วโมงและเกิดเหตุซ้ำอีกเมื่อเดือนเมษายนปีนี้

สภาพพื้นที่หลังเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 การสู้รบของขบวนการปลดปล่อยอะเจ้ะห์เพื่อต่อต้านรัฐบาลกลางยังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลกลางปฏิเสธการเรียกร้องอิสรภาพเพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองกรณีติมอร์ตะวันออกที่แยกดินแดนเป็นประเทศใหม่ได้สำเร็จ เป็นตัวอย่างสำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอะเจ้ะห์เป็นแหล่งเศรษฐกิจลำดับต้นๆ ของประเทศ จากการลงทุนแหล่งน้ำมันดิบระหว่างรัฐบาลกลางและบริษัทข้ามชาติเพื่อการส่งออกและครองตลาดโลกประมาณ 1 ใน 4 ของปริมาณการบริโภค มีรายได้ประมาณ สามแสนล้านบาทต่อปีที่น่าตกใจคือรายได้จากธุรกิจน้ำมันเพียง10%เท่านั้นที่นำมาใช้พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในอะเจ้ะห์

อะเจ้ะห์มีเรื่องราวอื่นๆที่น่าเรียนรู้มากกว่าด้านมืดของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพและการถูกเลือกปฏิบัติชนดั้งเดิมมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่นการร่ายรำซามานมีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 13 โดย ชิค ซามาน เป็นผู้ริเริ่ม การร่ายรำใช้นักเต้นชายล้วน แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดใส ที่มีลายปักจากช่างฝีมือชั้นยอดมีท่าเต้นคือการใช้มือตบร่างกายส่วนต่างๆให้เข้าจังหวะกับดนตรีและบทร้องที่มีคำสอนตามหลักศาสนาวาทกรรมกินใจต่างๆการเล่าเรื่องความงามของธรรมชาติ องคก์ารการศกึษาวทิยาศาสตร์และวฒันธรรมแหง่สหประชาชาติหรือ ยูเนสโก ประกาศให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะชั้นยอดของชาวอะเจ้ะห์ซึ่งจะกลายเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวสำหรับผู้มาเยือนจากแดนไกล

มัสยิดบันดาอะเจ้ะห์จุดรวมจิตวิญญาน

การร่ายรำซามาน วันนี้ อะเจ้ะห์ กำลังฟื้นตัวจากฝันร้าย ไม่หวาดหวั่นกับภัยธรรมชาติหรือกระแสเชี่ยวของการลงทุนจากนายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น เกาหลี หรือ ญี่ปุ่น ที่เข้ามากอบโกยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่หวั่นแม้แต่การกล่าวร้ายชาวอะเจ้ะห์ว่าขาดการศึกษา ดำรงชีวิตแบบทำลายธรรมชาติจากการทำไร่เลื่อนลอย ชาวอะเจ้ะห์เตือนสังคมของเขาเสมอว่าความรุนแรงไม่ ใช่วัฒนธรรมของดินแดนอะเจ้ะห์ที่มีบรรพบุรุษสร้างชาติมายาวนานกว่า3,000ปี

aaaaaaaaa

Page 4: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

4/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

Rabies หรือโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง โรคพิษสุนัขบ้าเป็นการติดเชื้อของระบบประสาทจากสัตว์สู่คน โรคพิษสุนัขบ้าหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคกลัวน้ำ ซึ่งโรคนี้ ไม่ ได้เกิดจากสุนัขหรือแมวเท่านั้นแต่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วยสัตว์เลิ้ยงลูกด้วยนมเช่นหนูลิงชะนีกระรอกเป็นต้นปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีทางรักษาให้หายได้แต่เราสามารถป้องกันได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่มนุษย์สาเหตุของโรคเกิดจาก Rabies virus ซึ่งเป็น อาร์ เอ็น เอ (RNAvirus)ชื่อลิสซ่าไวรัส(Lyssavirus)เชื้อพิษสนุขับา้จะผา่นจากนำ้ลายเขา้สู่บาดแผลและผา่นเขา้สูเ่สน้ประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมองจากนั้นมีการแบ่งตัวในสมองและปล่อยเชื้อกลับสู่ระบบขับถ่ายต่างๆเช่นต่อมน้ำลายน้ำปัสสาวะน้ำตาตามแขนงประสาทต่างๆซึ่งจะเป็นช่วงที่สัตว์แสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น เมื่อเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจึงส่งผลให้มนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นโรคนี้แสดงอาการทางประสาทออกมาอย่างเด่นชัดนอกจากนี้ยังมีความผิดปกติด้านความรู้สึกการรับรู้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงให้ห่างไกลจากโรคพิษสุนัขบ้าคือต้องฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงอายุ3ปีขึ้นไปและกระตุ้นเข็มที่2ซ้ำอีกในอีก3-4สัปดาห์จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกในทุกๆปี เจ้าของควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์อื่นที่ ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กรณีมันหนีออกนอกบ้านแล้วถูกสัตว์ ไม่ทราบประวัติกัดก็ควรรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบแพทย์เพื่อทำความสะอาดบาดแผล และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้นซ้ำอีก 4 เข็ม และต้องฉีดก่อนที่เชื้อจะเข้าสู่สมองหรือก่อนที่สัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าออกมาซึ่งระยะเวลาที่เชื้อจะเข้าสู่สมองมีค่าเฉลี่ยที่30-60วัน ข้อมูลดังกล่าวคงจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสัตว์ เลี้ยงและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า Rabies หรือโรคพิษสุนัขบ้าไม่ ได้เกิดจากสุนัขหรือแมวเท่านั้น แต่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด การเลี้ยงสัตว์ ให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆเป็นสิ่งที่จำเป็นเพือ่ใหส้ตัวเ์ลีย้งมสีขุภาพรา่งกายทีแ่ขง็แรง ไมเ่ครยีด อกีทัง้ขอ้มลูขา้งตน้จะช่วยตอบคำถามที่ว่า“เลี้ยงสัตว์อย่างไรให้ห่างไกลRabies”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

เมื่อพูดถึง “โรคพิษสุนัขบ้า” เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าไม่ใช่มีเฉพาะในสุนัขเท่านั้น ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดก็มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าซึ่งมีทั้งชนิดที่คนเลี้ยงไว้ ใกล้ตัว และเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ ใกล้ตัวเช่นสุนัขแมวกระรอกสัตว์ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติเช่นค้างคาวชะมดหนูในเมืองไทยมีคนเสียชีวิตจากการรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทุกฤดูกาล ที่ผ่านมาลูกสุนัขอายุต่ำกว่า 3 เดือนสามารถทำให้คนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าหลายราย นอกจากนี้ แมวซึ่งเป็นสัตว์ใกล้ชิดกับคนไม่น้อยไปกว่าสุนัขก็นำเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกายเจ้าของที่เลี้ยงแมวเอง ในปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียาที่รักษาได้ผล ผู้ที่เป็นโรคนี้มักเสยีชวีติทกุรายดงันัน้การปอ้งกนัโรคจงึเปน็วธิทีีด่ทีีส่ดุ โดยเฉพาะผูเ้ลีย้งทีค่ลกุคลกีบัสนุขั แมว ซึง่การปอ้งกนัโรคพษิสนุขับา้ทำได้ 2 ทาง ไดแ้ก่การปอ้งกนัทีส่ตัวเ์ลีย้งและปอ้งกนัทีต่วัเรา

ผลการประกวดเรียงความเรื่อง เลี้ยงสัตว์อย่างไรให้ห่างไกล Rabies รางวัลชนะเลิศ นางสาววิววดี บุญเลี้ยงโรงเรียนโพธิสารพิทยากร กรุงเทพฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1นางสาวกฤตพร มานุรัตนวงศ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2นางสาวณัฎฐิกา จงจอหอ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ รางวัลชมเชย 1. นางสาวพินทุสร ปัดชา โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม นครปฐม

2. นางสาวจริยาภรณ์ ฉ่ำบุญรอด โรงเรียนวัดทรงธรรม สมุทรปราการ 3. นางสาวณิชาภา แพทยารักษ ์โรงเรียนวัดสังเวช กรุงเทพฯ 4. นางสาวแพรวพรรณ พลอยธนชัย โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ

“หมายเหตุบทความรางวัลชนะเลิศได้นำเสนอไปแล้วใน“ประชากรและการพัฒนา”ปีที่32ฉบับที่4”

นางสาวกฤตพร มานุรัตนวงศ ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

นางสาวณัฎฐิกา จงจอหอ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ

คำถาม“ประชากรและการพัฒนา”ปีที่32ฉบับที่4 “ประชากรในกลุ่มอาเซียนมีจำนวนรวมกันประมาณเท่าไร และมีจำนวนมากหรือน้อยกว่าประชาคมยุโรป (EU)” เฉลย: ประชากรในกลุ่มอาเซียนมีประมาณ 600 ล้านคนและมากกว่าประชาคมยุโรป รายชื่อผู้ที่ตอบถูกและได้รับรางวัล ดวงวิไล ไทยแท้ ไพบูลย์ ถิระเรืองรัตน์ สนั่น รัดแก้ว สุภาพ รัดแก้ว สุคนธา มหาอาชา อัมพร ลมสูงเนิน ท่านที่ ได้รับรางวัล โปรดรอรับของรางวัลจากกองบรรณาธิการ คำถาม“ประชากรและการพัฒนา”ปีที่32ฉบับที่5 “ประเทศใดในอาเซียนที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศอินโดนีเซีย” ส่งคำตอบมายัง “ประชากรและการพัฒนา” ตามที่อยู่หน้า 12 หรืออีเมล์ [email protected] ภายในวันจันทร์ที่9กรกฎาคม2555กองบรรณาธิการจะจัดส่งของรางวัลไปให้ผู้ที่ตอบถูก ประกาศรายชื่อผู้ตอบถูก และได้รางวัลในฉบับหน้า“ประชากรและการพัฒนา” ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (สิงหาคม-กันยายน2555)

ตอบดีๆ มรีางวลั

การปอ้งกนัทีส่ตัวเ์ลีย้งทำได้โดยการพาสนุขัหรอืแมวทีส่ขุภาพแขง็แรงมาพบ“สัตวแพทย์”เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเจ้าของไม่ควรฉีดเองที่บ้าน วัคซีนที่ ใช้จะต้องเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ ได้รับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่หมดอายุ และฉีดตามคำแนะนำของผู้ผลิตเท่านั้น จะเริ่มทำวัคซีนเมื่อลูกสัตว์อายุ 3 เดือน หลังจากนั้นควรทำซ้ำอีกครั้งที่อายุ6เดือนและฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกปี สำหรับคนนั้นไม่ควรเข้าไปยุ่งหรือเล่นกับสุนัขที่ ไม่มีเจ้าของหรือไม่ไปแกล้งหรือยุแหย่สุนัขดังกล่าวเนื่องจากอาจจะถูกกัดได้นอกจากนี้บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวแพทย์ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์ หรือแม้แต่คนที่เลีย้งสตัวห์รอืชอบเลน่กบัสตัวค์วรทำการฉดีวคัซนีเพือ่ปอ้งกนัโรค และกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์จะเป็นการลดความเสี่ยงลงได้มาก อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรที่จะประมาท เพราะโรคพิษสุนัขบ้านี้ ไม่ ได้เกิดเฉพาะกับสุนัขหรือแมว แต่มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนและกับสัตว์ทุกชนิดเราจงึควรรว่มมอืกนัเพือ่ปอ้งกนัโรคพษิสนุขับา้นี้ โดยศกึษาจากรายละเอยีดที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หรืออาจหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเพื่อทำให้คนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงของเราปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า

Page 5: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

5/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555

ในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็น “แรงงานข้ามชาติ”โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน พม่า ลาวและกัมพูชา กำลังเป็นประเด็นการศึกษาที่ ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นข้อคำถามที่ว่า ปัจจุบันมีแรงงานอยู่ เท่าไร ร้อยละเท่าไรที่ทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฏหมาย มีลักษณะเชิงประชากรสภาพความเปน็อยู่ สถานะและพฤตกิรรมทางสขุภาพเปน็เชน่ไรแรงงานกลุ่มนี้เป็นทางออกในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ ของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นได้จริงหรือไม่ จากหลายข้อคำถามข้างต้น ประเด็นปัญหาทางสุขภาพโดยเฉพาะเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของแรงงานข้ามชาติรวมถึงผู้ติดตาม ที่อาศัยอยู่ ในประเทศไทยเมื่อเจ็บป่วย เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ ทั้งต่อการวางนโยบายทางสุขภาพที่เหมาะสมและการคุ้มครองทางสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อประชากรกลุ่มนี้ ภายใต้ โครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตนเกี่ยวกับวัณโรค ปี 2554 สถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลในระดับประเทศกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทย แรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งหนึ่งในมิติของข้อคำถามที่สำคัญเป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอัตราการเจ็บป่วย พฤติกรรมทางสขุภาพเมือ่เจบ็ปว่ย การมหีลกัประกนัทางสขุภาพและการเขา้ถงึบริการสุขภาพที่จำเป็น

ผลการสำรวจ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนไทย แรงงานข้ามชาติมีอัตราการเจ็บป่วยเล็กน้อย (การเจ็บป่วยแบบผู้ป่วยนอก) และการเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักในสถานพยาบาลที่ต่ำกว่าคนไทย แต่มีลักษณะของการเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักอยู่ที่บ้านเป็นอัตราที่สูงกว่า แรงงานที่เจ็บป่วย ส่วนใหญ่กว่าครึ่งดูแลตนเองด้วยการซื้อยามากินเอง หรือไปรักษาที่คลินิกเอกชนและอีกจำนวนหนึ่งไม่ ได้รับการรักษาอะไรเลย สาเหตุหลักมาจากการไม่มีหลักประกันหรือสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพในการเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล (กว่า 3 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างแรงงานข้ามชาติทั้งหมด) ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันที่อธิบายว่าเหตุใดอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องเข้าพักในสถานพยาบาลในกลุ่มแรงงานข้ามชาติจึงค่อนข้างต่ำ ในขณะที่การเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาตนเองอยู่ที่บ้านมีอัตราที่สูงกว่ามาก สำหรบัคา่ใชจ้า่ยทางสขุภาพคำนวณจากอตัราการเจบ็ปว่ยเฉลี่ยต่อคนต่อปี คูณด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเฉลี่ยในการรักษาครั้งสุดท้าย โดยแยกเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยการเจ็บป่วยเป็นผู้ป่วยใน และการเจ็บป่วยที่พักรักษาตนเองที่บ้าน พบว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อปีที่สูงกว่าแรงงานข้ามชาติเฉลี่ย1,171บาทและ713บาทตามลำดับอย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าของคนไทยเป็นผลมาจากการเลือกที่จะไม่ ใช้สิทธิประโยชน์ที่มี ในการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะในการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย แตกต่างจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ส่วนใหญ่ ไม่มีหลักประกันทางสุขภาพและมีแนวโน้มไม่ ได้รับการรักษา ใช้วิธีซื้อยามากินเองหรือพกัรกัษาตวัอยูท่ีบ่า้นมากกวา่ (ทำใหม้คีา่ใชจ้า่ยทีเ่กดิขึน้ตำ่กวา่)นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบระดับค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมดนี้กับระดับรายได้จะพบว่าแรงงานข้ามชาติมี“ภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ”ที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับคนไทย ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการไม่มีหลักประกันทางสุขภาพ รวมถึงสถานะภาพการอยู่อาศัยและการทำงานในประเทศไทยที่ถูกกฎหมาย เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนเกี่ยวโยงไปในหลายมิติ ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานความมั่นคงของประเทศ ข้อกฎหมายและระเบียบต่างๆ ระบบการเงินการคลังทางสุขภาพ ยังคงเป็นประเด็นการบ้านสำหรับผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงสังคมไทยได้ขบคิดต่อไปถึงทางออกที่เหมาะสม

aaaaaaaaa

โครงการวิจัย เฉลิมพล แจ่มจันทร์ [email protected]

ว่าด้วย...แรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ...

Page 6: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

6/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

นานาสาระประชากร ปราโมทย์ ประสาทกุล [email protected]

คนแก่กับอินเตอร์เน็ต ไม่น่าเชื่อว่าวันเวลาจะผ่านไปเร็วอย่างนี้ เผลอแพล้บเดียวเวลาก็ล่วงมาถึงเดือนที่ 6 ของปีที่ลงท้ายด้วยเสียงหัวเราะฮ่า ฮ่า ฮ่า (555) แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเมื่อเพียง 8-9 เดือนก่อนพวกเราหลายคนยังต้องลี้ภัยน้ำท่วมกันเตลิดเปิดเปิง หลายคนต้องทนอยู่กับน้ำที่ท่วมรอบบ้าน บางคนต้องขึ้นไปอยู่ชั้นบนของบ้าน ภาพเหตุการณ์เหล่านี้เพิ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงเดือนตลุาคมพฤศจกิายนและธนัวาคมปกีลายนีเ้อง เมือ่นำ้ลดแลว้พวกเราต่างก้มหน้าก้มตาซ่อมแซมบ้านและสิ่งของเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย สิ่งของบางอย่างที่ ใช้การไม่ ได้ก็ตัดใจทิ้งเป็นขยะหรือไม่ก็ขายเป็นเศษไม้เศษโลหะในราคาถูก หลายคนยังไม่ ได้จัดการกับสิ่งของเครื่องใช้ที่รวบรวมใส่หีบห่อแล้วยกขึ้นไว้บนที่สูงเพื่อหนีน้ำ เพื่อนคนหนึ่งอยู่แถวลาดพร้าว หนีไปอยู่เชียงใหม่ขณะน้ำท่วม โชคดีที่น้ำไม่ท่วมบ้านเขาเล่าให้ฟังว่าเตรียมขนของทั้งหมดจากชั้นล่างขึ้นไปไว้ชัน้สองนำ้ทว่มขา้งนอกบา้นเลก็นอ้ยไมเ่ขา้มาในบา้นแตต่อนนี้ของที่ขนขึ้นไปไว้ชั้นสองยังไม่ได้เอาลงมา หมดแรง ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นเผื่อว่าปีนี้น้ำท่วมจะได้ ไม่ต้องขนขึ้นไปอีก คนที่บ้านถูกน้ำท่วมอย่างผม พอน้ำลดก็ดี ใจ หมดทุกข์หมดกังวลเสียที ตั้งหน้าตั้งตาชดใช้กรรมบูรณะซ่อมแซมบ้านช่องต่อไป ผมได้บทเรียนราคาแพงจากมหาอุทกภัยครั้งนี้และปวารณาตัวว่าจะปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระแม่คงคาอย่างเคร่งครัด ท่านอุตสาห์เดินทางมาสอนให้ถึงบ้านเมื่อปลายปีก่อน ผมจดบันทึกเป็นบทกลอนไว้ว่า “อย่าสะสมสิ่งไรไว้มากนัก ของดีๆ รู้จักเก็บรักษา สิ่งทั้งผองของทั้งมวล ล้วนมายา แม่คงคาสั่งสอนก่อนจากไป” สาธุ ลูกจะนำคำสอนของแม่ใส่เกล้าและจดจำใส่ใจไว้จนตาย หลังจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในรอบ6เดือนที่ผ่านมาดูเหมือนภูมิอากาศบนโลกและในประเทศไทยจะผันแปรไปอย่างน่าหวาดผวา ทั้งเรื่องจริง ข่าวลือ เกี่ยวกับภัยธรรมชาติสร้างความหวาดระแวงให้คนไทยเรื่อยมา ปีนี้น้ำจะท่วมมากกว่าปีกลายเสียอีก ลือกันว่าวันนั้นเขื่อนจะแตกวันนี้จะเกิดสึนามิ ทำนายว่าโลกจะถล่มพินาศในเดือนธันวาคมเรื่องจริงก็คือ เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ บางแห่งแห้งแล้งจนขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ เกิดแผ่นดินทรุดแผ่นดินแยกให้เห็นกันชัดๆ แผ่นดินไหวที่เกาะภูเก็ต ซึ่งแม้จะรุนแรงเพียง 2-3ริกเตอร์ แต่ เหตุการณ์เช่นนี้ก็ ไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ข่าวความแห้งแล้งยังไม่ทันจาง ก็มีข่าวพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงพัดถล่มบ้านเรือนผู้คนพังพินาศไปหลายหลัง เกิดอะไรขึ้นกับโลกที่เราอยู่ ภูมิอากาศจึงได้เปลี่ยนแปลง ไปได้มากมายอย่างนี้

อนาคตของผู้เฒ่า เมื่อนึกถึงภัยธรรมชาติ ผมก็นึกแปลกใจว่า ภายในระยะเวลาเพียงแค่ปีเดียวได้เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผันแปรของภูมิอากาศและภูมิประเทศหลายอย่าง ต่อไปอีก20-30ปีถ้าผมยังมีชีวิตอยู่คงได้พบเห็นภัยธรรมชาติที่ ไม่เคยคาดคดิมากอ่นอกีมากมายอกี20ปขีา้งหนา้เปน็เวลาไมน่านเลย เมือ่คยุกนัเรือ่งอนาคตอกี20-30ปขีา้งหนา้ เพือ่นๆหลายคนถามว่าพวกเราอยากจะมีชีวิตอยู่ ไปทำไมให้แก่ขนาดนั้นแต่ทุกคนก็ยอมรับว่าคนไทยตายยากขึ้นทุกที ถ้าเรามีอายุยืนยาวได้ถึง 60 กว่าปีอย่างนี้ แล้วไม่เป็นมะเร็ง หัวใจวายหรือเกิดอุบัติเหตุประการใดตายเสียก่อน ก็มีสิทธิอยู่ต่อไปได้อีกนาน สมัยนี้มีคนตายด้วยโรคติดเชื้อ และโรคระบาดต่างๆน้อยลง ทุกวันนี้ยาดีขึ้น การแพทย์การสาธารณสุขดีขึ้นเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีการในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาก โอกาสที่คนรุ่นผมจะมีชีวิตยืนยาวไปจนถึง 80-90 ปี มีมากขึ้น น่าจะมีเพื่อนผมสักคนสองคนที่อยู่ยาวไปจนเป็น “ศตวรรษิกชน” ได้ (แม้จะมีโอกาสน้อยเต็มทีก็ตาม) เพื่อนๆ เกือบทุกคนคิดตรงกันว่า ถ้าจะมีอายุยืนยาวไปถึง90-100 ปี ก็ขอให้มีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดี ไม่ต้องการอยู่อย่างเป็นภาระของคนอื่น อยากอยู่อย่างช่วยตัวเองได้กินข้าวเองได้ นั่งส้วมขับถ่ายเองได้ อาบน้ำ สระผม แต่งตัวเองได้ พอเคลื่อนไหวไปมาได้บ้างแม้จะเงอะงะ จะเชื่องช้าไปบ้างก็ยังดี พวกเราทุกคน (ยกเว้นคนที่ยืนยันว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปนานๆ) เห็นพ้องกันว่าไม่อยากนอนเป็นผักอยู่แต่บนเตียง ต้องมีคนคอยช่วยดูแลตลอดเวลา ทั้งยามกินยามถ่ายไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ ผู้เฒ่าอยากเข้าอินเตอร์เน็ต สมมุติว่าผมไม่เป็นอะไรตายเสียก่อน และสามารถรักษาชีวิตไว้ ได้จนอายุ 80-90 ปี อายุปูนนั้น ผมคงต้องยอมรับว่าเป็นผู้เฒ่าอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่คงไม่เดินหลังโกง ถือไม้เท้าอยา่งรปู“ฒ ผูเ้ฒา่ ไมม่อง”ในแบบฝกึอา่นเขยีน“ก เอย๋ ก. ไก ่ข. ไข่ ในเล้า ...”ถึงเวลานั้นแม้สังขารจะทรุดโทรมร่วงโรยไปตามกาล แต่หวังว่าจิตใจของผมจะยังกระฉับกระเฉงไม่แก่ ไปตามวัย ผมคงต้องยอมรับสภาพของคนชราว่าคงไม่สามารถโลดแล่นออกไปนอกบ้าน ตระเวนไปตามที่ต่างๆ ได้ดั่งใจแม้ถนนหนทาง และยานพาหนะในอนาคต จะได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เอื้อต่อผู้สูงอายุมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ด้วยความชราภาพ ผมก็คงไม่สามารถเดินทางไปทุกหนทุกแห่งได้ตามใจ

Page 7: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

7/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

คงต้องรักษาตัวอยู่ในบริเวณบ้านเป็นหลัก และออกไปข้างนอกบ้างตามสมควรแก่สังขารของตน ผมคิดว่าตัวเองคงต้องติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกโดยไม่ต้องเดินทางมากขึ้น ที่จริงเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารทุกวันนี้ได้ก้าวหน้าไปไกลกว่าเมื่อ20-30ปีก่อนมากอีก20-30ปีข้างหน้าเทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องพัฒนาก้าวไกลยิ่งกว่านี้อีก อย่างโทรทัศน์และวิทยุอีก20ปีข้างหน้าอาจจะมีนับร้อยๆช่อง โทรทัศน์ในอนาคตอาจเป็นภาพ3มิติ โดยไม่ต้องใช้แว่นจอใหญ่คมชัดดูเหมือนของจริง โทรทัศน์และวิทยุเป็นเพื่อนที่ดีเสมอของผู้สูงอายุ เมื่อผมแก่ตัวลง แล้วสายตายังใช้การได้ดีหูยังพอได้ยิน ผมก็มั่นใจว่าวิทยุและโทรทัศน์จะยังเป็นเพื่อนที่ดีช่วยให้ผมได้รับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอก ได้รับความรู้ ใหม่ๆได้รับความบันเทิงที่จะช่วยคลายเหงา โทรทัศน์อีก20-30ปีข้างหน้าจะพัฒนาไปถึงไหนก็ยากที่จะเดา เดี๋ยวนี้มีไอโฟน มีโทรศัพท์ขนาดจิ๋ว เล็กๆ บางๆ ที่ทำหน้าที่ ได้สารพัดถ่ายรูปอัดเสียงฟังวิทยุดูโทรทัศน์ส่งอีเมล์เข้าอินเตอร์เน็ต อนาคตโทรศัพท์มือถือคงทำอะไรได้อีกหลายอย่างที่เรานึกไม่ถึงในวันนี้ ผมค่อนข้างแน่ใจว่าเมื่อผมแก่ชราแล้วสติสัมปชัญญะยังดียังพูดรู้เรื่อง ไม่เป็นโรคสมองเสื่อมจนหลงลืม จำความอะไรไม่ได้ โทรศัพท์นี่แหละจะเป็นเพื่อนสนิทอีกอย่างหนึ่งของผมโทรศัทพ์จะช่วยให้ผมยังติดต่อกับญาติพี่น้องและเพื่อนๆ ที่อยู่ห่างไกล (ถ้าพวกเขายินดีรับโทรศัพท์ เมื่อเห็นชื่อผมปรากฎบนหน้าจอ) เมื่อผมอายุ80-90ปีแล้วผมยังมีสุขภาพดีทั้งกายใจและสมอง อินเตอร์เน็ตคงเป็นโลกอีกใบหนึ่งของผม เดี๋ยวนี้ผมใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตอยู่มากทีเดียว ส่งอีเมล์ ส่งรูปภาพเอกสารและขอ้ความตา่งๆผมคน้ควา้หาความรู้และหาคำตอบต่อข้อสงสัยต่างๆ จาก “พี่กู” หรือ “อากู๋” คือ กูเกิ้ล ผมมีเพื่อนผ่านทางเครือข่าย “เฟซบุ๊ค” ทั้งเพื่อนที่อาวุโสกว่าคนวัยเดียวกันและเพื่อนรุ่นเยาว์วัยเราใช้เฟซบุ๊คส่งข่าวถึงกันและกัน ทุกวันนี้ เพื่อนๆ รุ่นเดียวกับผม ใช้อินเตอร์เน็ตกันมากทีเดียว พวกเราไม่คุ้นชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ สมัยเรายังเป็นหนุ่มสาว ยามห่างไกลเราติดต่อกันทางจดหมาย สมัยนั้น

โทรศัพท์ทางไกลระหว่างจังหวัดก็ยังไม่แพร่หลายนัก คนรุ่นผมต้องเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง หลายคนที่เคยมีตำแหน่งสูงในงานราชการ ได้อาศัยบารมีใช้ลูกน้องช่วยส่งอีเมล์พิมพ์เอกสารและค้นหาข่าวสารความรู้จากอินเตอร์เน็ต พอเกษียณอายุออกจากงาน ไม่มีผู้ ใต้บังคับบัญชาช่วยทำให้ ก็รู้สึกอ้างว้าง ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่เป็นบางคนกลายเป็นโรคภูมิแพ้คอมพิวเตอร์ ไปเลย แต่บางคนก็ตั้งใจที่จะเรียนรู้การใช้เครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ให้ ได้ พยายามฝึกฝนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นยานพาหนะท่องอินเตอร์เน็ตอย่างสนุกสนาน เพื่อนบางคนติดเฟซบุ๊คเหมือนเด็กติดเกมส์คอมพิวเตอร์ วันๆ หนึ่งนั่งเฝ้าแต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตอนเช้า จนกระทั่งก่อนเข้านอน วันไหนไม่ ได้ติดต่อกับเพื่อนผ่านเฟซบุ๊คก็จะเกิดอาการคล้ายกับ“ลงแดง” เลยทีเดียว อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ชาตินี้ผมคงไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าอีเมล์โต้ตอบและติดต่อระหว่างผู้คนนับล้านๆ ครั้งในขณะเดียวกันไปถึงมือผู้รับได้อย่างไร อีเมล์ที่ส่งกันก็ใช่จะมีแต่ข้อความเป็นตัวหนังสือ หากมีทั้งรูปภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวและแม้กระทั่งเสียงผมจะไม่มีวันเข้าใจเลยว่าข้อมูลความรู้มากมายมหาศาลเหล่านั้นเก็บเอาไว้ที่ ไหนอย่างไร คอมพิวเตอร์จะมีความสามารถทำอะไรได้พิเศษพิสดารยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้อย่างไรนั้น ย่อมเกินสติปัญญาของผมที่จะจินตนาการ อีก 20-30 ปี ข้างหน้ากับอนาคตของผู้เฒ่า แม้ผมจะนึกไม่ออกว่าเครื่องมือสื่อสารในอนาคตอีก 20-30ปีข้างหน้าจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ผมก็เชื่อว่ามนุษย์คงประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอย่างใหม่ๆ ขึ้นมาอีก สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เหล่านั้นคงจะช่วยให้การดำเนินชีวิตของผู้เฒ่าสูงอายุ 80-90 ปี อย่างผมเป็นไปอย่างรื่นรมย์สะดวกสบายและสนุกสนานอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตคนเราเท่านั้นส่วนที่สำคัญคือตัวเราเองที่ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและติดตามให้ทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านั้น ผมจะทำได้ ไหม... ทำตัวให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าทำไม่ ได้...ก็ ไม่รู้จะอยู่ ไปทำไมให้เป็นผู้เฒ่าอายุเกือบร้อยปี ที่พิกลพิการ

“เสียงนกกาจักจั่นประชันซ้อง ระงมก้องกลืนประสานทุกย่านหน พอฟ้าสางแสงทองทาบฉาบสกล

พุทธมณฑลชูใจอุทัยธรรม”

Page 8: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

8/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

รางวัลอีกโนเบล วรชัย ทองไทย [email protected]

ผลัดวันประกันพรุ่งคือการเลื่อนภาระหรืองานที่ต้องทำในเวลานั้นออกไปก่อน เช่น นักศึกษาเลื่อนเวลาทำการบ้านหรือแบบฝึกหัดจากเวลาที่ ได้รับออกไปก่อน จนกระทั่งใกล้เวลาส่งผลงานจึงจะเริ่มทำ อาจารย์เลื่อนเวลาตรวจการบ้าน หรือนักวิจัยเลื่อนเวลาเขียนบทความเป็นต้น ผลัดวันประกันพรุ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่เกือบทุกคนต่างมีประสบการณ์ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ ใช่จะเกิดเฉพาะในแวดวงการศึกษาหรือวิชาการดังตัวอย่างข้างต้นตัวอย่างอื่น ได้แก่ เลื่อนตอบจดหมาย เลื่อนออกกำลังกายหรือเลื่อนทำสิ่งที่สัญญาไว้เมื่อวันขึ้นปีใหม่ว่าจะทำ เป็นต้นแต่ที่ยกเป็นตัวอย่างในแวดวงการศึกษา เพราะเป็นภาระงานที่มีกำหนดเวลาส่งผลงานแน่นอน ทำให้เห็นได้ชัดเจนถึงผลเสียของการผลัดวันประกันพรุ่งว่า ทำให้ผลงานที่ ได้รับไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง จากผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่านักศึกษาราวร้อยละ90เคยผลัดวันประกันพรุ่งโดยกว่าครึ่งผลัดวันประกันพรุ่งเป็นประจำ ส่วนในประชากรทั่วไป มีถึงร้อยละ 20 ที่ผลัดวันประกันพรุ่งจนเป็นนิสัย สาเหตุของการผลัดวันประกันพรุ่งได้แก่ c งานทีต่อ้งทำไมน่า่สนใจ ไมส่ำคญันา่เบือ่ ใชเ้วลานาน หรือยาก c มีความวิตกกังวลในงานที่ต้องทำ c มีภาระงานอื่นที่ต้องทำมาก c กลัวว่าจะทำได้ ไม่ดีเท่าที่ควร c มีสมาธิสั้น c ไม่รู้จักการบริหารเวลา c ไม่รู้จักวิธีจัดลำดับความสำคัญของงานว่า งานใด ควรทำก่อนหรือหลัง เนื่องจากการผลัดวันประกันพรุ่งเป็นนิสัยที่ ไม่ดี ทำให้มีหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับวิธีแก้ ไขไม่ ให้เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งพิมพ์เผยแพร่มากมาย แต่มีบทความหนึ่งที่เสนอวิธีที่จะทำให้คนชอบผลัดวันประกันพรุ่ ง กลายเป็นคนมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ บทความนี้ชื่อ “ผลัดวันประกันพรุ่งอย่างไรจึงยังคงทำงานให้เสร็จได้”(HowtoProcrastinateandStillGetThingsDone)ของศาสตราจารย์ John Perry แห่งมหาวิทยาลัย Stanfordที่ ได้รับรางวัลอีกโนเบล สาขาวรรณคดีในปีล่าสุดนี่เอง วิธีการที่เสนอในบทความคือ การผลัดวันประกันพรุ่งอย่างเป็นระบบ(StructuredProcrastination)

ผลัดวันประกันพรุ่ง ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การผลัดวันประกนัพรุง่ไม่ไดห้มายความวา่ ไมท่ำอะไรเลย เพราะคนผลดัวนัประกันพรุ่งไม่ ใช่คนที่ชอบอยู่เฉยๆ แต่เป็นคนที่ชอบทำงานที่พอจะมีประโยชน์อยู่บ้าง เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ ทำสวนครัวหรือเหลาดินสอเป็นต้นทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการเลี่ยงงานที่สำคัญกว่า แต่ถ้าคนผลัดวันประกันพรุ่งมีงานที่ต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ เหลาดินสอแล้ว เขาจะไม่ยอมทำงานนี้แน่นอน ดังนั้นความคิดที่จะให้คนผลัดวันประกันพรุ่ง ลดงานที่ต้องทำให้เหลือน้อยที่สุด (เพียง 2-3 ชิ้น) โดยเชื่อว่า จะทำให้เขาเลิกผลัดวันประกันพรุ่ง และเริ่มทำงานที่มีอยู่ ให้เสร็จทั้งหมดยอ่มเปน็ไปไม่ได้ทัง้นีเ้พราะงานทีม่อียูเ่พยีงไมก่ีช่ิน้จะกลายเปน็งานที่สำคัญที่สุดไป มีผลให้เขาต้องเลี่ยงงานที่สำคัญนี้ด้วยการไม่ทำอะไรเลยและจะทำให้คนผลัดวันประกันพรุ่งกลายเป็นคนเกียจคร้านในที่สุด แต่เราสามารถทำให้คนผลัดวันประกันพรุ่งสนใจทำงานสำคัญที่ยากและต้องใช้เวลาได้ถ้าทำให้เขาคิดว่างานที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นการเลี่ยงงานที่มีความสำคัญมากกว่า ขั้นแรกของการผลัดวันประกันพรุ่งอย่างเป็นระบบคือจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย โดยจัดให้งานที่สำคัญมากที่สุดอยู่ต้นแถวการจัดลำดับงานเช่นนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผลัดวันประกันพรุ่ง ได้เลือกทำงานสำคัญที่รองๆลงมาทั้งนี้เพื่อจะได้เลี่ยงงานที่สำคัญกว่าในลำดับต้นๆ ที่สำคัญคือ การเลือกงานที่อยู่ต้นแถว ซึ่งจะต้องเป็นงานที่มีกำหนดเวลาส่งแน่นอน (แต่จริงแล้วอาจไม่มี) และเป็นงานที่มีความสำคัญ (แต่จริงแล้ว อาจไม่สำคัญ) เพื่อเป็นเป้าล่อให้คนผลัดวันประกันพรุ่งหลีกเลี่ยงไม่ทำงานที่สำคัญที่สุดชิ้นนี้ซึ่งจะมีผลให้เขาทำงานในลำดับรองๆ ลงมาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สรุปแล้ว คนผลัดวันประกันพรุ่งก็สามารถทำงานสำคัญที่ต้องใช้เวลาและยากได้ ตราบใดที่เขาเชื่อว่างานที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นการเลี่ยงงานที่สำคัญมากกว่า สำหรับคนไทย เรามีวิธีแก้ ไขการผลัดวันประกันพรุ่งอย่างได้ผลชงัดอยู่แล้ว คือ “ความไม่ประมาท” ซึ่งเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนานั่นเอง

รางวัลอีกโนเบล: รางวัลสำหรับงานวิจัยที่ทำให้ “หัวเราะ” ก่อน “คิด”

Page 9: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

9/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

เวทีวิจัยประชากรและสังคม จงจิตต์ ฤทธิรงค์ [email protected]

13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอายุ เพราะลูกหลานเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุจึงมีประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ ใหญ่สบืทอดกนัมา เชน่เดยีวกนักบัผูส้งูอายทุี่ ต.โคกรกั อ.โนนสวุรรณจ.บุรีรัมย์ ชมรมผู้สูงอายุที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือที่เรามักเรียกกันจนติดปากว่าสถานีอนามัย ได้จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มที่ให้ผู้สูงอายุมาพบปะ พูดคุย กิจกรรมนี้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชำนาญการของอำเภอโนนสุวรรณ ด้วยมุขตลกในการทำกิจกรรมนันทนาการ และทำให้ผู้สูงอายุได้ยิ้มกว้างๆ และหัวเราะดังๆ ซึ่งน่าจะดังกว่าวันอื่นๆ ในรอบปี เพราะวันนี้เป็นวันของท่าน กิจกรรมวันนี้มีหนุ่ม(เหลือ)น้อย สาว(เหลือ)น้อย มาร่วมกิจกรรม ราว 50 คน ลุงสมานบอกว่าปีนี้มากันน้อยกว่าปีที่ผ่านมาอาจเป็นเพราะไม่มีคนบริการรับ-ส่งในจำนวนผู้สูงอายุที่มาร่วมงาน ส่วนมากเป็นผู้หญิงที่มานั่งล้อมวง เล่นเกมส์ยืดเส้นยืดสาย ส่วนผู้ชาย นั่งดู อยู่นอกวง สอบถามบรรดาคุณลุง คุณตาว่าทำไมไม่เข้าไปร่วมเล่นด้วยกัน คุณตาคนหนึ่งบอกว่า ปล่อยให้ยายแกทำไปเถอะ ตาเขิน ตาออกกำลังอยู่เป็นประจำ ทำงานออกกำลังมากกว่านี้ อีกคนบอกว่า ลุงเป็นนักมวยเก่า แข็งแรงอยู่แล้ว(เข้าใจว่าลุงคนนี้คงจะซ้อมชกมวยอยู่ที่ค่ายมวยโคกรัก ข้างๆบ้านสมจิตร จงจอหอ ที่อยู่ ไม่ห่างจาก รพ.สต.โคกรัก) ว่าแล้วหนุ่มๆ (เหลือน้อย) ก็แอบมองอยู่ห่างๆ และขบขำไปพร้อมๆ กับกิจกรรมที่สาว (เหลือ) น้อยทำอยู่ จะมีก็แต่เพียงคุณตา สามียายลัง ที่เป็นห่วงภรรยาผู้มีอารมณดี์และหัวเราะดังที่สุดเข้าไปนั่งหลบมุมอยู่ใต้ต้นไม้ข้างๆวงกิจกรรมนั้นแบบนี้ก็น่ารักโรแมนติกอยู่ ไม่น้อย ส่วนการดูแลผู้สูงอายุในตำบล รพ.สต.โคกรัก ได้ริเริ่มให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. สำรวจผู้สูงอายุทั้งหมด บันทึกชื่อ อายุ โรคประจำตัว และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง โดยใช้แบบประเมินที่ระบุในคู่มือปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2554 ที่พัฒนามาจากดัชนีบาร์เธลเอดีแอล(Barthel ADL index) เพื่อประเมินว่าผู้สูงอายุแต่ละคนมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ ในระดับใด คะแนนที่ประเมินได้จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 0-4 ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ (ติดเตียง) 5-11 ภาวะพึ่งพาปานกลาง-รุนแรง(ติดบ้าน)และตั้งแต่12-20ไม่มีภาวะพึ่งพา(ติดสังคม) ที่ตำบลโคกรักนี้มีผู้สูงอายุจำนวน507คนในจำนวนนี้ส่วนมากจะมีสุขภาพดี สามารถเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนได้หรือกลุ่มติดสังคม แต่บางส่วนป่วยเรื้อรังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือศัพท์ทางสาธารณสุขเรียกผู้สูงอายุกลุ่มนี้ว่า กลุ่มติดเตียงมีจำนวน 17 คน ฟังดูแล้วรันทดใจเพราะคำที่ ใช้เรียกชวนให้จินตนาการได้ถึงสภาพชีวิตที่ยากลำบากของท่านในบั้นปลายชีวิต และอีกส่วนหนึ่งพอจะช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแต่ออกไปไหนมาไหนลำบากหรือกลุ่มติดบ้านมีจำนวน74คน

ไดม้ีโอกาสพดูคยุกบัผูอ้ำนวยการ รพ.สต.โคกรกั หญงิคนเกง่พี่พรเพ็ญ วัฒนากลาง เล่าให้ฟังว่า ปีนี้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุแบบระยะยาวเป็นอย่างมากทางรพ.สต.โคกรักก็ ไม่ ได้นิ่งนอนใจ จัดอสม.ออกสำรวจทุกหลังคาเรือนและจัดทำแผนที่ศักยภาพเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครในชุมชนหมู่บ้านละ 10คนจาก 12หมู่บ้าน รวม 120คนเพื่อเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงและติดบ้าน พี่พรเพ็ญตั้งใจจะฝึกให้คนใกล้ชิดของผู้สูงอายุที่อยู่ ในบ้านได้ดูแลได้เองเพราะคนในครอบครัวย่อมมีความรักและเอาใจใส่ผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายได้ดีและใกล้ชิดกว่าคนอื่นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นลูกสาวที่อยู่ ในบ้านเดียวกันหรืออยู่บ้านใกล้กันที่ผ่านมาก็มีผู้ชายมาร่วมฝึกอบรมบ้าง เพราะว่าลูกสาวไม่อยู่เมื่อถามพี่พรเพ็ญว่า รู้สึกหนักใจหรือไม่ที่ปีถัดๆไป จะมีคนในพื้นที่อีกจำนวนเป็นร้อยที่กำลังรอคิวเป็นผู้สูงอายุ และกำลังจะมากขึ้นๆ ทุกปี พี่พรเพ็ญตอบอย่างมั่นใจว่า ไม่กังวล เพราะคิดว่าทางอสม.และรพ.สต.โคกรักจะรับมือสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุนี้ ได้อย่างแน่นอน รพ.สต. โคกรักนี้มีชมรมผู้สูงอายุและมีการส่งเสริมอาชีพการนวดแผนไทย ซึ่งจัดให้บริการบนชั้นสองของสำนักงานสถานที่สะอาด เป็นส่วนตัว และสวยงามไม่แพ้ร้านที่ให้บริการในเมืองท่องเที่ยวเลยทีเดียว หากว่ามีเวลา ผู้เขียนคงจะใช้บริการเป็นแน่ แต่เสียดายที่ยังมีภารกิจ ไปพบปะพูดคุยกับผู้สูงอายุในพื้นที่ที่กำลังรออยู่ เนื่องจากการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่ ไม่พึ่งแต่บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งขาดแคลนการริเริ่มให้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยคนในครอบครัว การรวมกลุ่มเป็นชมรมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมอาชีพ และความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนจึงทำให้ รพ.สต.โคกรัก เป็นหนึ่งใน 14 แห่งที่ ได้รับรางวัลนวัตกรรมด้านสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุ ของจ.บุรีรัมย์น่าภูมิใจแทนชาวบ้านโคกรักที่มีชุมชนเข้มแข็งเช่นนี้ หากผู้เขียนเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ ในพื้นที่ ตำบลโคกรักแห่งนี้ คงรู้สึกมีความสุขและอุ่นใจที่มีคนดูแลแม้ยามเจ็บป่วยและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในยามชรา

สงกรานต์สูงวัย

Page 10: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

10/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

ในโลกยุคสังคมออนไลน์ มีมือใหม่ด้านไอทีแต่สนใจใฝ่รู้เทคโนโลยี เพื่อจะสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันและประยุกต์ ใช้ ในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุดจดหมายข่าวฉบับนี้จะขอนำเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของเน็ตบุ๊ค (Netbook) และ โน้ตบุ๊ค (Notebook)มานำเสนอเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนขี้น ซึ่งอาจมีข้อสงสัยว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรตามตารางต่อไปนี้

เพ็ญพิมล คงมนต์

[email protected] Netbook และ Notebook

มีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?

จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความสามารถของ เน็ตบุ๊คตำ่กวา่ โนต้บุค๊ เพราะเนต็บุค๊ เหมาะสำหรบัใชง้านอนิเทอรเ์นต็พิมพ์งาน แซต ฟังเพลง ตกแต่งรูปภาพเล็กๆ น้อยๆ เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา และการนำเสนองานทั่วๆ ไป แต่ถ้าต้องการใช้งานประเภทหนัก นอกเหนือจากใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้ว โน้ตบุ๊คน่าจะเหมาะสมกว่า เน็ตบุ๊ค เช่น การตัดต่อวีดีโอเล่นเกมส์แรงๆ หรือ ชมวีดีโอระดับ HD เป็นต้น ฉะนั้นอาจสรุปได้ว่าก่อนจะใช้งานอุปกรณ์ไอทีประเภทใด เราควรมองถึงจุดประสงค์ในการใช้งาน และลักษณะของอุปกรณ์นั้นๆ เป็นสำคัญ(ที่มา:[email protected] วารสารประกันชีวิตปีที่32ฉบับที่134(ม.ค-มี.ค2555):28-29)

จัดกิจกรรมเป็นประจำทุกวันพุธ เวลา 12.30-13.30 น. ที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคมสนใจกำหนดการเสวนาแต่ละเดือน ดูที่ www.ipsr.mahidol.ac.th “รูปแบบการอยู่อาศัยกับภาวะความสุขของผู้สูงอายุไทย (LivingArrangementandHappinessofThaiElderly)”โดยนางสาว สิรินทร์ญา ไข่เขียว นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม4เม.ย.55“Mothers’ Employment Related to InfantMorbidity andInfant Mortality in Thailand” โดย Miss Tiwarat Tor. Jarern, Ph.D. student in Demography11เม.ย.55“ExtremeClimateEventsandMigration:AnAgent-BasedModeling Approach in Nang Rong, Thailand” โดยDr. Natalie Will iams, Carolina Population Center, University of North Carolina at Chapel Hill, USA25เม.ย.55“รปูแบบของความรกัในโลกออนไลน”์โดยนายอทิธพิงษ ์ทองศรเีกต ุนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม2พ.ค.55“SmugglingofMigrantsfrom,through,andwithinSouth-EastandEastAsia”โดยDr. Rebecca Miller, IPSR Foreign Expert16พ.ค.55“สารประชากร ปีที่ 21 กับ อายุคาดเฉลี่ย” โดย รศ.ดร. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์23พ.ค.55“ผลการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน:ครัวเรือนเกษตรในกาญจนบุรีพ.ศ.2543-2550”โดยอาจารย์ ดร. ธีระพงศ์ สันติภพ30พ.ค.55

เสวนาใต้ชายคาประชากร

aaaaaaaaa

ประชากรประชุมกัน ช่วงเดือน มี.ค. และเม.ย 55 สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการประชุมวิชาการที่น่าสนใจหลายงานด้วยกันขอนำเสนอเนื้อหาการประชุม2เรื่องดังนี้ การประชุม เรื่อง ความเป็นเมืองในหลากหลายมุมมองกับทิศทางการวิจัย เมื่อ 16 มี.ค. 55 จัดร่วมกับคณะกรรมการสภาวิจัย สาขาสังคมวิทยา ในที่ประชุมมีการนำเสนอหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเมือง เช่น ความเป็นเมืองในสายตานักประชากรและนักสังคมวิทยาความเป็นเมืองกรณีศึกษาอำเภอแม่สอดที่เปลี่ยนไปในสายตานักรัฐศาสตร์การเมือง ความเป็นเมืองกับความเหลื่อมล้ำของรายได้ในครัวเรือนผู้สูงอายุ และเรื่องเมืองๆในประชาคมอาเชี่ยน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมาจากหน่วยงานต่างๆในสายสังคมศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลและบุคคลภายนอกรวมทั้งสิ้น45คน การประชุมระดับนานาชาติ The 2nd MMC RegionalConsultative Meeting จัดขึ้นเมื่อ 23-24 เม.ย. 55 เรื่อง Migrants, Minorities and Refugees: Integration and Well-being โดยศูนย์ศึกษาการย้ายถิ่นมหิดล (MahidolMigrationCenter –MMC)และศนูยศ์กึษาการพฒันาเชงินวตักรรมแห่งเอเชีย (Center for Innovative Development Studies ofAsia - IDSA มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ 8 ประเทศทั้งหมด 68 คน สาระการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลประสบการณ์ และผลการศึกษาจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่นประเทศไทย กัมพูชา ลาว ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น เกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การได้รับการยอมรับและการคุ้มครองทางสังคม และรูปแบบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติชนกลุ่มน้อยและผู้ผลัดถิ่นaaaaaaaaa

วรารัตน์ ชัยสุข[email protected]

aaaaaaaaa

Page 11: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

สนใจหนังสือทั้งสองเล่ม สามารถติดต่อได้ที่ โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากรสถาบันวิจัยประชากรและสังคมโทรศัพท์02-441-0201-4ต่อ100หรือ[email protected]

11/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

ชวนอ่าน

สถิติน่ารู้ ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ [email protected]

คนไทยมีความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพมากน้อยเพียงใด?

วรารัตน์ ชัยสุข[email protected]

ในขณะที่คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้ทำให้ชีวิตของคนไทยยืนยาวขึ้นโดยลำดับแต่ “คนไทยมีความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพมากน้อยเพียงใด?” นั้นเป็นคำถามที่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพให้ความสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการทำให้คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น เมื่อต้นเดือนมกราคม 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจเพื่อประเมินความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบสุขภาพใน4ด้านได้แก่การบริการสุขภาพการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคการคุ้มครองผู้บริโภคและธรรมาภิบาลระบบสุขภาพพบว่าประชากรตัวอย่างให้ความเชื่อมั่น(คะแนน1=ไม่เชื่อมั่นมากคะแนน4=เชื่อมั่นมาก) คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยสูงสุดต่อการบริการสุขภาพ (คะแนนเฉลี่ย = 3.00) ในขณะที่แสดงความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลระบบสุขภาพต่ำสุด(คะแนนเฉลี่ย=2.72) ประชาชนตัวอย่างในแต่ละภาคต่างมีความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพในทิศทางที่เหมือนกัน นั่นคือ ให้ความเชื่อมั่นต่อการบริการสุขภาพมากที่สุดและให้ความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลระบบสุขภาพต่ำที่สุด

ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา “สุขภาพคนไทย” นำเสนอประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับสุขภาพของคนไทยมาโดยตลอด ปีนี้ สุขภาพคนไทย 2555 นำเสนอเรื่องพิเศษประจำฉบับ “ความมั่นคงทางอาหาร”เกีย่วกบัรากเหงา้ของปญัหาการขาดแคลนอาหารและแนวโนม้ราคาอาหารทีเ่พิม่สงูขึน้ในปจัจบุนั โดยชี้ ใหเ้หน็แกน่ของความจริงดังคำกล่าว“เงินทองเป็นของมายาข้าวปลาสิของจริง” ภายในเล่มยังได้นำเสนอ11ตัวชี้วัดสุขภาพคนไทยที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางประชากรของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งในด้านโครงสร้างประชากร การเกิดการตาย การย้ายถิ่นในประเทศและระหว่างประเทศ 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพและ4ผลงานที่เป็นเรื่องดีๆเพื่อสุขภาพคนไทยที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา “ความสุขที่สร้างได้” (Happiness that can be created) เป็นเรื่องเล่าประสบการณ์ของผู้มีรายได้น้อยในการแสวงหาความสุข เรื่องราวของเขาเหล่านั้นได้บอกว่า แท้จริงแล้วความสุขของคนเรานั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง ไม่ว่า

เราจะเกดิมามฐีานะอยา่งไร เราสามารถสรา้งความสขุขึน้มาดว้ยตนเองได้ ทัง้นีค้วามสขุจะสรา้งไดจ้ากอะไรบา้งเชิญหาคำตอบได้จาก“ความสุขที่สร้างได้”เล่มนี้

แหล่งข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2555). “การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพพ.ศ.2555”

คะแนนความเชื่อมั่นในระบบสุขภาพตามมิติด้านต่างๆ

แหล่งข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2555). “การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพพ.ศ.2555”

คะแนนความเชื่อมั่นในระบบสุขภาพตามมิติด้านต่างๆ จำแนกตามภาค

Page 12: จดหมายข่าวประชากรและสังคม  ปีที่ 32 ฉบับที่ 5

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 17/2536

ปณจ.พุทธมณฑล

สถาบนัวจิยัประชากรและสงัคม มหาวทิยาลยัมหดิล ต.ศาลายา อ.พทุธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศพัท ์0-2441-0201 0-2441-9666 โทรสาร 0-2441-9333 E-mail : [email protected], Website: www.ipsr.mahidol.ac.th ทีป่รกึษา รศ.ดร.สรุยีพ์ร พนัพึง่ ผูอ้ำนวยการสถาบนัฯ บรรณาธกิาร อมรา สนุทรธาดา เฉลมิพล แจม่จนัทร ์สกักรนิทร ์นยิมศลิป ์กองบรรณาธกิาร กศุล สนุทรธาดา เกรยีงศกัดิ ์ โรจนค์รุเีสถยีร จรมัพร โหล้ำยอง นำพงศ ์ฉมิสขุ ปราโมทย ์ประสาทกลุ ปทัมา วา่พฒันวงศ ์มนสกิาร กาญจนะจติรา ภาณ ี วงษเ์อก โยธนิ แสวงด ีพอตา บนุยตรีณะ เพญ็พมิล คงมนต ์ วรชยั ทองไทย ศรินินัท ์ กติตสิขุสถติ สชุาดา ทวสีทิธิ ์ อภชิาต ิ จำรสัฤทธริงค ์ อรพนิทร ์ พทิกัษม์หาเกต ุ อาร ี จำปากลาย ฝ่ายศิลป ์ สมชาย ทรัพย์ยอดแก้ว จุฑารัตน์ ทรัพย์ยอดแก้ว ฝ่ายสมาชิก วรารัตน์ ชัยสุข เยาวลักษณ์ เจียรนัย ติดต่อสอบถาม โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร โทรศัพท์ 0-2441-0201 ต่อ 100 หรือ 0-2441-9666

ข่าวสถาบันฯ วิสัยทัศน์: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เป็นสถาบันชั้นนำในระดับนานาชาติ ที่สรรสร้างวิทยาการด้านประชากรและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ช่วยกันประหยัดน้ำ “สำนักงานสมัยใหม่

รถ กระดาษ น้ำ โทร ไฟ ใช้ประหยัด”

12/ ประชากรและการพัฒนา ปีที่ 32 ฉบับที่ 5 v มิถุนายน-กรกฎาคม 2555 www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

c2-6เม.ย.55รศ.อรทยั อาจอำ่จดัอบรม“การวจิยัเชงิปฏบิตักิาร”ณหอ้งประชมุราชาวดี สถาบันฯc 10–15 เม.ย. 55รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานร่วมของคณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการการประชุมนานาชาติ“The5thIUHPELatinAmericanRegionalConferenceonHealthPromotion” ประเทศเม็กซิโกc 11 เม.ย. 55 ชาวสถาบันฯ ร่วมกันจัดงาน“สงกรานต์ สราญสุข’55” เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยอันดีงามเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ปี 2555 ณ ลานหน้าห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์รูป 1c 23-24 เม.ย. 55 ศูนย์ศึกษาการย้ายถิ่น (MMC) และ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเชิงนวัตกรรมแห่งเอเชีย จัดประชุม The 2nd MMC RegionalConsultative Meeting เรื่อง “Migrants, Minorities and Refugees:IntegrationandWell-being”ณห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์c 23-27เม.ย. 55 ผศ.ดร.พิมลพรรณ อิศรภักดี จัดอบรม “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ”ณหอ้งประชมุราชาวดีสถาบนัฯc 23-27เม.ย.55รศ.ดร.ชืน่ฤทยั กาญจนะจติราจัด “Global Health Diplomacy National Workshop” โดยการสนับสนุนจากThe Rockefeller Foundation ณ สวนสามพราน นครปฐมc 26 เม.ย. 55ชาวสถาบันฯ เข้าร่วมกิจรรม “อิ่มบุญ อุ่นใจ ผู้สูงวัยเป็นสุข” จัดโดยคณะทำงานโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจสำหรับบุคลากรของสถาบันฯ ณ สถานีอนามัยบ้านคลองโยง ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม รูป 2c 27 เม.ย 55รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง และ รศ.ดร.อารี จำปากลาย ต้อนรับอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดูงานด้านการบูรณาการวิจัยกับการบริการวิชาการ ณ สถาบันฯc 27 เม.ย 55 รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง และรศ.ดร.รศรินทร์ เกรย์ต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่จากสหภาพพม่าและผู้ประสานงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดูงานเรื่องวิธีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะของประเทศต่างๆ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรในงานวิจัย ณ สถาบันฯc 1 พ.ค. 55 สถาบันฯ จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) และ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบณัฑติสาขาวชิาวจิยัประชากรและสงัคมณสถาบนัฯรปู 3c 7-11พ.ค.55รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา จัด “Global Health Diplomacy RegionalWorkshop” โดยการสนับสนุนจาก The Rockefeller Foundation และWHO/SEARO ณ เมืองนิวเดลี อินเดียc 10-12 พ.ค. 55 สถาบันฯ จัดสัมมนาพัฒนาการจัดการงานวิจัยและการเรียนการสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 22ณบา้นทะเลสคีรมีรสีอรท์ดอนหอยหลอดสมทุรสงครามรปู 4c 14-18พ.ค.55รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เข้าร่วมประชุมในฐานะคณะกรรมการจัดประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี2556“TheScientificCommitteeMeetingPMAC2013”และ“JointSecretariatMeetingand InternationalOrganizingCommitteeMeetingPMAC2013”ณสมาพันธรัฐสวิส

รูป 3

รูป 4

รูป 1

รูป 2

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค ์