2552 - aruasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 ·...

186
การแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออก พันทิพา มาลา คม. (บริหารการศึกษา) คบ. (วิชาเอกนาฏศิลป) คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 2552

Upload: others

Post on 03-Mar-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

การแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออก

พันทิพา มาลา

คม. (บริหารการศึกษา)

คบ. (วิชาเอกนาฏศิลป)

คณะครุศาสตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

2552

Page 2: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

คํานํา

หนังสือการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออกฉบับนี้ ผูเขียนไดปรับปรุงจากผลงานเกา

ที่ไดจัดทําขึ้นเพ่ือใชประกอบการเรียนการสอนในวิชาละครตะวันออก เมื่อประมาณ 4 - 5 ปที่ผานมา

โดยมุงหวังที่จะใหนักศึกษาและผูสนใจทั่วไปไดใชเปนแนวทางในการศึกษาหาความรูเพ่ิมเติม ปจจุบันนี้ประเทศไทยและประเทศเพ่ือนบานในกลุมเอเชียดวยกัน มีความสัมพันธกันมาก

ขึ้น มีการติดตอและมีโครงการรวมกันในการเผยแพรแลกเปลี่ยนทั้งทางดานการศึกษาและ

ศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นเพ่ือใหผู เขารวมโครงการดังกลาวไดมีความพรอมสําหรับการไปรวม

กิจกรรมและการศึกษา จึงควรไดทราบรายละเอียดขอมูลเกี่ยวกับการแสดงของแตละชาติใน

เบื้องตน และสามารถนําความรูเหลานี้ไปเปนพ้ืนฐานในการศึกษาตอไป หนังสือเลมนี้ผูเขียนไดใชประกอบการเรียน การสอนสําหรับนักศึกษาวิชาเอกนาฏศิลป

ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและไดเผยแพรใหกับครู อาจารยท่ีสอนวิชานาฏศิลปใน

หนวยงานตาง ๆ ที่ไดมาเขารับการอบรมในโครงการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอยุธยา

ศึกษา เชน โครงการอบรมเพลงพ้ืนบานภาคกลางโครงการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ซ่ึงไดจัดขึ้น

ต้ังแตปการศึกษา 2551 - 2552 ตลอดจนสงไปเผยแพรใหกับหองสมุดในมหาวิทยาลัยตาง ๆ เพ่ือใช

ในการศึกษาคนควา สาระของหนังสือเลมนี้แบงออกไปเปนสองสวน คือ สวนแรกเปนการใหความรูเบื้องตน

เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลปและละครตะวันออกซ่ึงถือวาเปนบริบทเบ้ืองตนของสุนทรียของเอเชีย

ที่ผูสนใจทุกคนควรจะทราบ หลังจากนั้นในสวนที่สองเปนการนําเสนอแสดงรายละเอียดเร่ือง

นาฏศิลปและละครของชาติตางๆ ซ่ึงประกอบดวย จีน เกาหลี ญี่ปุน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ

อินโดนีเซีย ตามลําดับ เปนการเสริมความรู ความเขาใจในเร่ืองนี้ใหชัดเจนย่ิงขึ้น

ทายที่สุดนี้ผูเขียนขอขอบคุณเจาของหนังสือทุกเลมที่ไดนํามาใชอางอิงในการศึกษาคนควา

ในคร้ังนี้ และขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย ผูประสิทธิประสาทวิชาความรู

ตลอดจนขอบคุณคณาจารย เจาหนาที่ ท่ีใหความอนุเคราะหชวยเหลือสนับสนุนในการจัดทํา

หนังสือเลมนี้จนสําเร็จลงดวยดีและหวังเปนอยางย่ิงวา หนังสือฉบับนี้จะเปนประโยชนสําหรับ

นักศึกษา ครู อาจารยและผูสนใจทั่วไป ที่จะใชประกอบการศึกษาหาความรูเพ่ิมเติม เพ่ือนํามาตอยอด

ทางการศึกษาใหกาวหนามากย่ิงขึ้น

พันทิพา มาลา เมษายน 2551

Page 3: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

สารบัญ

หนา

คํานํา (1)

สารบัญ (3)

สารบัญภาพ (6)

บทที่ 1 ความรูเบ้ืองตนเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออก

ความหมายของคําวานาฏศิลป

ความหมายของคําวาละคร

องคประกอบของละคร

ความหมายของคําวาตะวันออก

สรุป

คําถามทบทวน

เอกสารอางอิง

บทที่ 2 การแสดงนาฏศิลปและละครของจีน

ประวัติความเปนมา

ศิลปะการรายรําของจีน

การแสดงง้ิว

การแสดงนาฏศิลปและละครประเทศจีน

รํากลองไมของชนกลุมนอยชาววา

รํากลองใหญของชาวจินูโอ

รําแยงกี้และรํากลองรอบเอว

การแสดงง้ิว

พัฒนาการของการแสดงง้ิว

ยุคสมัยของการแสดงง้ิว

ลักษณะของการแสดงง้ิว

ธรรมเนียมนิยมในการแสดงง้ิว

เวที

บทละครที่ใชแสดง

เคร่ืองแตงกาย

Page 4: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

การแตงหนา

เคร่ืองดนตรี

สรุป

คําถามทบทวน

เอกสารอางอิง

บทที่ 3 การแสดงนาฏศิลปและละครของเกาหล ี

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของเกาหล ี

ระบําฉาบ

ระบําซัลพุลรี

ระบําผีเส้ือ

ระบําชังโกชุม

ระบําหนากาก

การแสดงปนโซรี

เคร่ืองดนตรี

สรุป

คําถามทายบท

เอกสารอางอิง

บทที่ 4 การแสดงนาฏศิลปและละครของญี่ปุน

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของญี่ปุน

การแสดงบงโอดอริ

การแสดงโนหมาฮิ

การแสดงนิฮง บูโย

การแสดงโนห

การแสดงคาบูกิ

การแสดงเคียวเง็น

การแสดงหุนบุนราขุ

สรุป

Page 5: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

คําถามทายบท

เอกสารอางอิง

บทที่ 5 การแสดงนาฏศิลปและละครของอินเดยี

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินเดีย

การแสดงภารตนาฏยัม

ละครสันสกฤต

การแสดงกถัก

การแสดงกถักฬิ

การแสดงมณีปุรี

สรุป

คําถามทายบท

เอกสารอางอิง

บทที่ 6 การแสดงนาฏศิลปและละครของไทย

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของไทย

รําโทน

รําโคม

รําฉุยฉาย

ละครชาตรี

ละครนอก

ละครใน

การแสดงโขน

ละครดึกดําบรรพ

ละครพันทาง

ละครเสภา

ละครรอง

ละครพูด

สรุป

คําถามทายบท

97

98

123

124

125

Page 6: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

เอกสารอางอิง

บทที่ 7 การแสดงนาฏศิลปและละครของมาเลเซีย

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของมาเลเซีย

รําฮานา

รําสิลัต

รําเบเลี่ยน

รําบาเลย

รําโรดัส

รํารองเง็ง

การแสดงวายัง

วายังเมลายู

วายังเซียม

รําอะเซ็ค

ละครบังสวัน

การแสดงมะยง

การแสดงเมโนรา

รําเกยัง โอตา โอตา

รําเทียน

127

127

สรุป

คําถามทายบท

เอกสารอางอิง

หนา

138

138

140

บทที่ 8 การแสดงนาฏศิลปและละครของอินโดนีเซีย

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินโดนีเซีย

การแสดงนาฏศิลปชวา

การแสดงวายังกุลิต

การแสดงวายังวอง

141

144

158

159

161

Page 7: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

การแสดงลังเงิน ดริยอ

การรําสลิมป

การแสดงเกอโตประ

การแสดงนาฏศิลปซุนดา

การแสดงวายังโกเล็ก

การแสดงโตเปง

การรําเมอลัก

การแสดงซานดิวาระ

การแสดงนาฏศิลปบาหลี

การแสดงโตเปง

การแสดงบารีส

การแสดงบารอง

การแสดงสางหยาง

สรุป

คําถามทายบท

เอกสารอางอิง

บทสรุปจากการศึกษาการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออก

162

บรรณนานุกรม

Page 8: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

สารบัญภาพ

ภาพที ่ หนา

ภาพที่ 1 แผนที่อารยธรรมตะวันออก 4

ภาพที่ 2.1 ภาพการแสดงนิชแชงยิวยี 15

ภาพที่ 2.2 ภาพการรํากลองไม 18

ภาพที่ 2.3 ภาพการรํากลองใหญ 20

ภาพที่ 2.4 ภาพการเตนแยงกี้และการรํากลองรอบเอว 21

ภาพที่ 2.5 ภาพการแสดงง้ิว 22

ภาพที่ 2.6 ภาพการแสดงง้ิว 22

ภาพที่ 2.7 ภาพบทบาทตัวละครเปาปุนจ้ิน 28

ภาพที่ 2.8 ภาพขั้นตอนการวาดหนาของตัวละครประเภทจ้ิง 31

ภาพที่ 2.9 ภาพขั้นตอนการวาดหนาของตัวละครประเภทจ้ิง 32

ภาพที่ 3.1 ภาพระบําฉาบ 40

ภาพที่ 3.2 ภาพระบําซัลพุลรี(ระบําหมอผี) 41

ภาพที่ 3.3 ภาพระบําผีเส้ือ 41

ภาพที่ 3.4 ภาพระบํากลองชังโก ชุม 42

ภาพที่ 3.5 ภาพหนากากและการแสดงระบําหนากาก 43

ภาพที่ 3.6 ภาพการแสดงปนโซรี 44

ภาพที่ 3.7 ภาพเคร่ืองแตงกายประจําชาติเกาหลี 45

ภาพที่ 4.1 ภาพเวทีการแสดงโนห 56

ภาพที่ 4.2 ภาพการแสดงละครโนห 57

ภาพที่ 4.3 ภาพการแสดงละครโนห 57

ภาพที่ 4.4 ภาพหนากากของละครโนห 58

ภาพที่ 4.5 ภาพการแสดงคาบูกิ 59

ภาพที่ 4.6 ภาพละครคาบูกิมีที่มาจากการแสดงระบําของหญิงสาว โอกุนิ โอดอริ 60

ภาพที่ 4.7 ภาพบทอาราโงโตะหรือผูกลา 64

ภาพที่ 4.8 ภาพเคร่ืองดนตรีชุดเกซาของละครคาบูกิ 66

Page 9: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

)6(

ภาพที ่ หนา

ภาพที่ 4.9 ภาพการแสดงละครเคียวเง็น 67

ภาพที่ 5.1 ภาพพระศิวะปางคชสุรสังหาร ทรงแสดงทารายรําอันเปนปรางคหนึ่ง 76

ของศิวะนาฏราช จากภาพสลักที่เทวาลัยโฮยสาเลศวระ รัฐการนาตกะ

ศิลปะอินเดียสมัยพุทธศตวรรษที่ 17

ภาพที่ 5.2 ภาพศิวนาฏราชศิลปะอินเดียใตสมัยโจฬะ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 78

ภาพที่ 5.3 ภาพโคปุระทางเขาเทวาลัยศิวนาฏราชที่จิดรัมพรัมรัฐทมิฬนาดูอินเดีย 79

ที่โคงดานในของซุมประตูทิศตะวันออก สลักเปนภาพบุคคลฟอนรํา

ตามคัมภีรนาฏยศาสตรของภรตมุนี

ภาพที่ 5.4 ภาพสลักบุคคลฟอนรําทาตาง ๆ ประดับซุมประตูดานตะวันออก 79

ของเทวาลัยศิวนาฏราชที่จิดรัมพรัม

ภาพที่ 5.5 ภาพการแสดงภารตนาฏยัม 80

ภาพที่ 5.6 ภาพการแสดงภารตนาฏยัม 80

ภาพที่ 5.7 ภาพการแสดงละครสันสกฤต 84

ภาพที่ 5.8 ภาพการแสดงละครสันสกฤต 85

ภาพที่ 5.9 ภาพการแสดงกถัก 87

ภาพที่ 5.10 ภาพการแสดงกถัก 88

ภาพที่ 5.11 ภาพการแสดงกถักฬิ 89

ภาพที่ 5.12 ภาพการแสดงกถักฬิ 90

ภาพที่ 5.13 ภาพการแสดงมณีปุรี 92

ภาพที่ 5.14 ภาพการแสดงมณีปุรี 93

ภาพที่ 6.1 ภาพการแตงกาย แบบเดิมคือ ฝายหญิงนุงผาซ่ิน สวมเส้ือแขนยาว หมสไบ 99

ชายนุงโจงกระเบน เส้ือคอกลม มีผาคาดเอว แสดงแบบ

โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ภาพที่ 6.2 ภาพโทนชาตรี 100

ภาพที่ 6.3 ภาพโทนมโหรี 101

ภาพที่ 6.4 ภาพการแสดงละครชาตรี 105

ภาพที่ 6.5 ภาพการแสดงละครนอก เร่ือง หลวิชัย คาวี 107

ภาพที่ 6.6 ภาพการแสดงละครใน 108

ภาพที่ 6.7 ภาพการแสดงโขน 110

Page 10: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

)7(

ภาพที ่ หนา

ภาพที่ 6.8 ภาพการแสดงหนังใหญ 111

ภาพที่ 6.9 ภาพการแสดงโขนนั่งราว 112

ภาพที่ 6.10 ภาพการแสดงโขนหนาจอ 113

ภาพที่ 6.11 ภาพการแสดงละครพันทาง เร่ือง พระลอ 116

ภาพที่ 6.12 ภาพการแสดงละครเสภา เร่ือง ขุนชาง ขุนแผน 118

ภาพที่ 6.13 ภาพการแสดงละครรอง เร่ือง สาวเครือฟา ตอนรอยตรีพรอมลาสาวเครือฟา 120

ภาพที่ 7.1 ภาพการแสดงชุดอะเช็ค 132

ภาพที่ 7.2 ภาพการแสดงชุด เกยัง โอตา โอตา 137

ภาพที่ 7.3 ภาพการแสดงชุดรําเทียน (Lilin ) 137

ภาพที่ 8.1 ภาพการแสดงรามายณะของอินโดนีเซีย 143

ภาพที่ 8.2 ภาพการแสดงรามายณะของอินโดนีเซีย 143

ภาพที่ 8.3 ภาพการแสดงวายังกุลิต 145

ภาพที่ 8.4 ภาพการแสดงวายังวอง หรือ วายังโอรัง 147

ภาพที่ 8.5 ภาพการแสดงสริมป 150

ภาพที่ 8.6 ภาพการแสดงโตเปง 153

ภาพที่ 8.7 ภาพหนากากปศาจที่ใชในการแสดงบารอง 157

ภาพที่ 8.8 ภาพการแสดงเขาทรงบารอง 157

Page 11: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 1

ความรูเบ้ืองตนเก่ียวกับการแสดงนาฎศิลปและละครตะวันออก

การดํารงชีวิตของมนุษย นอกจากจะตองอาศัยปจจัย 4 ซ่ึงไดแก อาหาร เคร่ืองนุงหม

ยารักษาโรค และที่อยูอาศัยแลว ยังจําเปนที่จะตองสรางสรรคส่ิงที่ทําใหเกิดคุณคาทางจิตใจ ในดาน

อารมณความรูสึก โดยเฉพาะการสรางสรรคใหเกิดคุณคาความงาม หรือความเปนสุนทรียะ

การแสดงนาฏศิลปและละครเปนผลงานการสรางสรรคของมนุษยประเภทหนึ่งที่สามารถ

ตอบสนองความตองการทางดานจิตใจใหมีอารมณสนุกสนานบันเทิงใจผอนคลายความเครียด และ

กอใหเกิดความสุขไดเปนอยางดี การแสดงนาฏศิลปและละครนั้นเปนความงดงามของ

การเคลื่อนไหวทางรางกายและการแสดงท่ีเปนเร่ืองเปนราว ซ่ึงทุกชาติทุกภาษาไดประดิษฐขึ้น

เพ่ือเปนเคร่ืองบํารุงทางจิตใจ โดยเฉพาะในกลุมชาติพันธุตางๆของทวีปเอเชียซ่ึงมีสภาพความ

เปนอยู วิถี ชี วิตที่คลายคลึงกันและมีความสัมพันธกันแทบทุกดานไมวาจะเปนเ ร่ืองของ

ประวัติศาสตร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นการท่ีจะศึกษาและ

เขาใจส่ิงตางๆ ที่เกี่ยวของกับประเทศไทยใหถองแทและรอบดาน จําเปนอยางย่ิงท่ีจะตองศึกษา

เกี่ยวกับประวัติที่มา ตลอดจนวิธีการแสดงนาฏศิลปและละครของประเทศตางๆ เพ่ือเปนบริบท

ศึกษาที่สําคัญย่ิง สําหรับผูที่ตองการจะเรียนรูเกี่ยวกับนาฏศิลปและละครทางดานเอเชียตะวันออก

ใหถูกทิศทางเพ่ือใหสามารถมองเห็นถึงความสัมพันธของไทยกับประเทศตางๆ ในเอเชีย สามารถ

วิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตาง ความคลายคลึงกันในดานการแสดงและ สามารถนําความรู

ขอคิดตางๆ ไปใชสรางสรรคงานในโอกาสตอไป กอนที่จะเขาสูรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของ

การแสดงในแตละประเทศควรที่จะทําความเขาใจในเบื้องตน ดังนี้

ความหมายของคําวานาฏศิลป

มีผูใหความหมายไวดังนี้

นาฏ หมายถึง การฟอนรํา การแสดงละคร (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525, หนา 759)

นาฏ หมายถึง การรายรําและการเคลื่อนไหวไปมา (อมรา กล่ําเจริญ, 2542, หนา 1)

ศิลปะ หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการสรางสรรคโดยมนุษย และมีจุดมุงหมายที่จะแสดงออกใน

รูปแบบวัฒนธรรม ศิลปะจึงเกี่ยวของกับวัฒนธรรมกันอยางแยกไมออก เพราะทั้งศิลปะและวัฒนธรรมเปน

ส่ิงที่แสดงใหเห็นถึงลักษณะเช้ือชาติ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ของคนแตละชาติ (สุวรรณี เครือปาน,

2542, หนา 1)

Page 12: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

2

ศิลปะคือ ส่ิงที่มนุษยสรางสรรคขึ้น เพ่ือแสดงออกซ่ึงอารมณ ความรูสึก สติปญญา ความคิด และ

ความพยายาม (ชะลูด นิ่มเสมอ, 2534, หนา 3)

ศิลปะ เปนคําภาษาสันสกฤต หมายถึง การแสดงออกมาใหปรากฏขึ้นอยางงดงามนาพึงชม

กอใหเกิดอารมณสะเทือนใจ ตรงกับคําภาษาอังกฤษวา Arts (วิมลศรี อุปรมัย, 2524, หนา 89) เมื่อนําทั้ง

สองคํามารวมกันมีผูใหความหมายไวดังนี้

นาฏศิลป คือ การฟอนรําที่มนุษยประดิษฐขึ้นจากธรรมชาติ ดวยความประณีตลึกซ้ึง

เพียบพรอมไปดวยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดออน นอกจากหมายถึงการฟอนรํา ระบํารําเตนแลว

ยังหมายถึงการรองและการบรรเลงดวย (อมรา กล่ําเจริญ, 2542, หนา 3)

นาฏศิลป คือ ศิลปะในการฟอนรํา หรือความรูแบบแผนของการฟอนรํา เปนส่ิงที่มนุษย

ประดิษฐขึ้นดวยความประณีตงดงามมีแบบแผนใหความบันเทิง อันโนมนาวอารมณและความรูสึกของผูชม

ใหคลอยตาม ศิลปะประเภทนี้ตองอาศัยการบรรเลงดนตรีและการขับรองเขารวมดวย เพ่ือสงเสริมใหเกิด

คุณคาย่ิงขึ้น (สุจิตต วงษเทศ, 2532, หนา 204)

นาฏศิลป คือ ศิลปะการรองรําทําเพลงท่ีมนุษยเปนผูสรางสรรค โดยประดิษฐขึ้นอยางประณีต

และมีแบบแผน ใหความรู ใหความบันเทิง ซ่ึงเปนพ้ืนฐานสําคัญที่แสดงใหเห็นถึงวัฒนธรรมความรุงเรือง

ของชาติไดเปนอยางดี (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 2)

สรุปวา นาฏศิลป หมายถึง ศิลปะการฟอนรําที่มนุษยประดิษฐขึ้นมาจากธรรมชาติดวยความ

ประณีตวิจิตรบรรจง มีระเบียบแบบแผน ใหความรู ความบันเทิงเพ่ือโนมนาวอารมณของผูชมใหคลอยตาม

ซ่ึงการแสดงประเภทนี้ตองอาศัยการบรรเลงดนตรีและการขับรองเขารวมดวย

ความหมายของคําวาละคร

มีผูใหความหมายไวดังนี้

ละคร คือ การแสดงที่ผูกขึ้นเปนเร่ือง มีเนื้อความและเหตุการณเกี่ยวโยงเปนตอน ๆตามลําดับ

ศิลปะการละครนั้น เปนที่รวมศิลปะทุก ๆ ดาน ทุกชาติทุกภาษาจะตองมีศิลปะประจําชาติ เพ่ือแสดงความ

เปนอารยะ ความเปนตัวของตัวเอง และเปนกระจกสองใหเห็นถึงความเจริญหรือความเส่ือม ตลอดจน

ลักษณะนิสัยและจิตใจของชนชาตินั้น ๆ (พาณี สีสวย, 2524, หนา 28-32)

ละคร หมายถึง มหรสพ หรือการแสดงที่มีเนื้อเร่ืองเปนสําคัญกลาวคือ แสดงเปนเร่ืองราว ตาง ๆ

การละครเปนศิลปะอยางหนึ่งที่เสนอตอผูชมในรูปของการแสดง (action หรือ acting) ซ่ึงประกอบไปดวย

การรองรําทําเพลง หรือแสดงกิริยาอาการตาง ๆ (ทรงศักดิ์ ปรางควัฒนากุล, 2526, หนา 1)

Page 13: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

3

ละคร หมายถึง การแสดงที่ผูกเปนเร่ือง ซ่ึงไดรับการสืบทอดมาจากกรีก อียิปต จีน มนุษยทุกเช้ือ

ชาติยอมมีการแสดงละคร ความหมายโดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงวา ส่ิงใด ๆ ก็ตามจะปรากฏเร่ืองราวท่ีเกิดความ

สนุกสนานเพลิดเพลิน ความบันเทิงใจแกมนุษยได ก็ตอเมื่อมนุษยไดแสดงธรรมชาติของตนออกมาให

ปรากฏเปนการกระทําหรือส่ิงที่ไดทําไปแลว และมีการแสดงซํ้า อีกคร้ังหนึ่ง หมายความวา ละคร ไดเร่ิม

แลว (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา 6)

จากความหมายที่ไดกลาวมานี้ สรุปไดวา ละคร หมายถึง การแสดงที่ผูกขึ้นเปนเร่ืองราว

มีเนื้อความและเหตุการณเกี่ยวโยงกันเปนตอน ๆตามลําดับเหตุการณและเนื้อเร่ือง และการแสดงละครนี้ยอม

แสดงใหเห็นถึงความแตกตางกันออกไป ตามลักษณะนิสัยจิตใจของแตละชนชาติ

องคประกอบของละคร

ละครมีองคประกอบ 4 อยาง คือ

1. ตองมีเรื่อง (Story) ผูชมการแสดงจะรูเร่ืองไดโดยวิธีฟงบทเจรจาของตัวละคร ละครจะมี

คุณคาไดก็อยูที่ผูประพันธบท จะตองมีความสามารถในเชิงกวีโวหาร แสดงออกซ่ึงลักษณะนิสัยของตัว

ละครในวรรณคดีเร่ืองนั้น ๆ

2. ตองมีเนื้อหาสรุป (Subject) หมายถึง เนื้อหาสรุปเกี่ยวกับความตองการนั้นๆ เชน

ความรักชาติหรือแนวคิด (theme) ที่กอใหเกิดสติปญญา สอนคติธรรม เชน ธรรมะยอมชนะอธรรม

ทําดียอมไดดี การชวยเปลื้องทุกข ความรักเปนทุกข เปนตน

3. ลักษณะนิสัยตัวละคร (Characterization) จะตองตรงกับเนื้อหาสรุป บุคลิกลักษณะ

กิริยาทาทาง ตองตรงกับนิสัยตัวละครในเร่ือง

4. บรรยากาศ (Atmostphere) หมายถึง การสรางบรรยากาศรอบๆ ที่เกี่ยวกับตัวละคร

จะตองกลมกลืนกับการแสดงของตัวละคร ซ่ึงบรรยากาศจะชวยใหผูชมละครมีความรูสึกคลอยตาม

ไปกับเร่ืองไดเชน บรรยากาศแจมใส เศรา ดุเดือดในฉากตอสู ฉะนั้นการสรางบรรยากาศใหกับ

ตัวละคร เปนกลวิธีอันสําคัญอยางหนึ่งของบทละคร

ความหมายของคําวาตะวันออก

ตะวันออก หมายถึง ซีกโลกตะวันออก อันประกอบดวย เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต

และเอเชียใต ซ่ึงเปนแหลงกําเนิดของอารยธรรมเกาแกและสําคัญแหงหนึ่งของโลกยุคโบราณ คืออารยธรรม

จีนแถบลุมแมน้ําฮวงโห (แมน้ําหวง แมน้ําเหลือง) ประเทศจีน และอารยธรรมอินเดีย ในแถบลุมแมน้ํา

สินธุ (วีณา ศรีธัญรัตน, 2542, หนา 3) ซ่ึงมีความสืบเนื่องตลอดมาหลายพันป โดยไมขาดตอนจนถึง

Page 14: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

4

ปจจุบัน และยังเปนอารยธรรมหลักในภูมิภาคนี้ ที่กอใหเกิดอารยธรรมอื่นๆ อีก เชน อารยธรรมพุกาม

อารยธรรมขอม เปนตน อารยธรรมจีนและอารยธรรมอินเดีย จึงเปนอารยธรรมใหญที่สงอิทธิพลทาง

วัฒนธรรมใหแกชนชาติตางๆ ในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยดวย

ภาพที่ 1 ภาพแผนที่อารยธรรมตะวันออก

ที่มา : สมัย อาภาภิรม และคณะ, 2543, หนา 65

อารยธรรมจีนเปนอารยธรรมที่เกาแกที่สุดแหงหนึ่งของโลก เกิดขึ้นประมาณ 3,500 ป

กอนคริสตศักราช ถือกําเนิดในพ้ืนที่ราบอันกวางใหญและอุดมสมบูรณของลุมแมน้ําฮวงโห

ในภาคเหนือของประเทศจีนมาต้ังแตสมัยกอนประวัติศาสตร จัดเปนอารยธรรมลุมแมน้ําท่ีมีความ

เจริญในระดับสูง เทียบไดกับอารยธรรมลุมแมน้ําไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย (ปจจุบันอยู

ในประเทศอิรัก) และอารยธรรมลุมแมน้ําสินธุในอินเดีย (แถมสุข นุมนนท, 2537, หนา 14)

Page 15: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

5

อารยธรรมจีนแผขยายขอบขายออกไปอยางกวางขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเปนผลมา

จากการติดตอทางการทูต การคา การศึกษา ตลอดจนการเผยแผศาสนา โดยเฉพาะเกาหลี ซ่ึงเคยตก

อยูภายใตการปกครองของจีนเปนเวลานานและไดรับอารยธรรมขึ้นอยางสมบูรณ ทั้งในดาน

วัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียม ประเพณี การสรางสรรคและศิลปะ เพราะจีนเปนผูกําหนด

นโยบาย และบังคับใหรับวัฒนธรรมของจีนโดยตรง

สวนญี่ปุนนั้น จีนไดติดตอกับเกาหลีและผานไปยังญี่ปุน ต้ังแตสมัยราชวงศจ้ินและฮั่น

มีการติดตอทางการทูตระหวางกัน สมัยหลังราชวงศฮั่นเกิดความไมสงบขึ้นในจีน ชาวจีนและ

ชาวเกาหลีบางพวกไดหนีเขาไปในญี่ปุนพรอมกับนําเอาอารยธรรมจีนเขาไปเผยแพรดวย

พระพุทธศาสนาที่แพรหลายเขาไปในเกาหลีจึงเขาไปในญี่ปุนดวย ในสมัยราชวงศสุยและราชวงศ

ถัง ไดมีชาวญี่ปุนเขาไปติดตอคาขายและศึกษาในจีน และรับเอาอารยธรรมกลับมาในหลายดาน

ดวยกัน โดยเฉพาะดานตัวอักษรและภาษาเขียนที่มีการดัดแปลงเขียนเปนภาษาญี่ปุน ในดาน

วรรณคดีไดมีการนําเอาตําราตางๆ ของขงจ้ือมาศึกษา และงานดานโคลง ฉันท กาพย กลอน

ของสมัยราชวงศถัง เปนที่นิยมมาก

ดานความเช่ือทางศาสนานั้น พระพุทธศาสนาไดเขาสูญี่ปุนอยางเปนทางการโดย

พุทธศาสนิกชนเกาหลี จึงเปนส่ือสําคัญในการหลั่งไหลของอารยธรรมจีนเขาสูประเทศญี่ปุน

โดยเฉพาะในสมัยนารา (ค.ศ.710 - 793 ) เปนยุคทองแหงพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนา

สามารถปรับตัวใหเขากับศาสนาชินโตของญี่ปุนไดเปนอยางดี และทําใหเกิดการถายทอด

ศิลปวิทยาการทางพระพุทธศาสนาตามมา เชน การปน การแกะสลัก สถาปตยกรรม ภาพวาดบน

ฝาผนัง เปนตน นอกจากนี้ พระนิกายเซ็นยังเปนผูถายทอดความเจริญอารยธรรมจีนเขามาในญี่ปุน

เปนผูนําการศึกษา เปนนักเขียนและศิลปน ไดริเร่ิมพิธีการดื่มน้ําชา การจัดสวนอันเปนศิลปะ

อันลือช่ือ วรรณคดี การพิมพ การละคร ดนตรี และอื่นๆ ซ่ึงเปนวัฒนธรรมสําคัญของญี่ปุนที่ได

อิทธิพลสืบเนื่องจากพุทธศาสนาทั้งส้ิน

อารยธรรมอินเดีย หรือ อารยธรรมลุมแมน้ําสินธุ เปนแหลงอารยธรรมเกาแกมีอายุ

ประมาณ 4,000-2,500 ปกอนคริสตกาล เปนอารยธรรมสมัยกอนประวัติศาสตรตอเนื่องมาจนถึง

สมัยประวัติศาสตร ครอบคลุมสองฟากฝงแมน้ําสินธุ อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียแผขยายออก

ไปสูภูมิภาคตาง ๆ ในเอเชีย โดยผานการคา ศาสนา การเมือง การทหาร และไดผสมผสานเขา

กับอารยธรรมของแตละประเทศ จนกลายเปนสวนหนึ่งของอารยธรรมของสังคมนั้น ภูมิภาคท่ีรับ

อิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียที่เดนชัดที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต การติดตอระหวางอินเดีย

กับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใตหรือเอเชียอาคเนยมีมาชานานแลว ต้ังแตกอน

ประวัติศาสตร ทั้งชาวอินเดียและชาวมาเลย ตางเปนนักเดินเรือที่สามารถ นอกจากการคาขาย

Page 16: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

6

ระหวางกันแลวพอคาอินเดียไดนําอารยธรรมอินเดียไปเผยแพรตามเสนทางท่ีผานไป สวนพอคา

ตางชาติที่ไปคาขายที่อินเดีย ก็นําเอาอารยธรรมอินเดียกลับไปบานเมืองและไดนํามาปรับปรุง

เพ่ิมเติมผสมผสานกับอารยธรรมดั้งเดิมของตน การถายทอดอารยธรรมอินเดียเปนไปอยางชา ๆ

แตฝงรากลึกอยูในดินแดนแถบนี้มาจนถึงปจจุบัน ซ่ึงยังคงปรากฏเปนหลักฐาน ดังจะเห็นไดจาก

ศิลปะ โบราณวัตถุ ตัวอักษร เปนตน

ในดานความเช่ือทางศาสนาอินเดียเปนแหลงกําเนิดศาสนาที่สําคัญหลายศาสนา และ

ศาสนาที่แพรหลายอยูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ก็ไดรับการเผยแพรมาจากอินเดีย เชนศาสนา

พราหมณ ศาสนาฮินดู โดยพวกพราหมณปุโรหิตท่ีเดินทางเขามาเผยแพรและมีบทบาทอิทธิพล

ตอราชสํานักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต สวนดานพระพุทธศาสนาก็มีการสงสมณทูตไปเผยแผ

ศาสนาในดินแดนตาง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต และมีอิทธิพลตอประชาชนในภูมิภาคนี้อยาง

มากเชนกัน ซ่ึงจะเห็นไดจากวิถีชีวิต คําสอน ประเพณีตาง ๆ และศิลปกรรมเปนตน ซ่ึงมักจะมี

การผสมผสานแนวความคิดเหลานี้เขากับความเช่ือดั้งเดิมของตนเอง

ดานวรรณคดี ก็ไดรับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่เขามาเผยแพร และเปนที่นิยม

อยางมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เชน มหากาพย รามายณะ มหาภารตะ และคัมภีรปุราณะ

โดยวรรณกรรมสวนใหญ มักมีเนื้อเร่ืองที่สะทอนใหเห็นถึงความสําคัญของอํานาจกษัตริยและ

พิธีกรรมตางๆ ซ่ึงเปนพระราชพิธีที่ลวนเกี่ยวของกับกษัตริย ดังจะเห็นไดจากวรรณคดีรามเกียรต์ิ

ทั้งของชวา ไทย ลาว พมา ซ่ึงมีแกนเร่ืองคลายกันและ นิทานชาดกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ในหลายประเทศ เชน ไทย พมา ลาว

ดานศิลปกรรมนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ก็ไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย

หลายดาน ทั้งจิตรกรรม สถาปตยกรรม และประติมากรรม ดังจะเห็นไดวาภูมิภาคนี้มีสถาปตยกรรม

ตามคติความเช่ือทางศาสนาที่ไดรับจากอินเดียหลายประการเชน คติการสรางสถาปตยกรรมในที่สูง

เชนภูเขาหรือเนินสูง อันเปรียบเสมือนยอดเขาพระสุเมรุที่สถิตของพระพุทธเจา รวมทั้งคติการสราง

ปราสาทราชวัง โบสถวิหาร เทวสถาน สถูปเจดีย ปรางค นอกจากนี้ยังพบไดจากจิตรกรรมตามผนัง

โบสถ อาคารตางๆ ที่เขียนเปนเร่ืองรามเกียรติหรือชาดกเปนตน นอกจากนั้น ยังมีประติมากรรมท่ี

ประดับตามศาสนสถานและพระราชวัง เชนการปนพระพุทธรูป เทวรูป และสัตวในวรรณคดี

ซ่ึงลวนเปนคติความเช่ือที่มาจากอินเดียทั้งส้ิน อาณาจักรโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ที่ไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย ประกอบดวย ฟูนัน จามปา เจนละ พมา มอญ สยาม ศรีวิชัย

มัชฌปาหิญ โดยการรับอารยธรรมอินเดียในระยะแรกนั้นจะเปนลักษณะเลียนแบบเหมือน

อารยธรรมอินเดียทุกประการ แตตอมาจะมีการปรับปรุงใหเหมาะสมตามสภาพแวดลอมของแตละ

ประเทศ และผสมผสานกับวัฒนธรรมพ้ืนเมืองเดิมจนกลายเปนลักษณะของแตละประเทศในที่สุด

Page 17: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

7

ดังนั้นการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออกในที่นี้จึงหมายถึง ศิลปะการฟอนรําที่

มนุษยประดิษฐขึ้นมาจากธรรมชาติแลวนํามาตกแตงใหงดงามวิจิตรบรรจง ประกอบดวยการรอง

และ การบรรเลงกับการแสดงที่เลนเปนเร่ืองราวตามความนิยมของประเทศตาง ๆ ในโลก

ตะวันออก คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใตและเอเชียใต ซ่ึงในที่นี้ จะกลาวถึง

ประวัติที่มา และวิธีการแสดงนาฏศิลปและละครของประเทศตางๆ เปนบางประเทศ เพ่ือเปน

ตัวอยางในการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออกที่ไดรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม

จาก 2 อารยธรรมหลักของซีกโลกตะวันออก คือชาติที่ไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมจีน จะกลาวถึง

ประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุน และชาติท่ีไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย จะกลาวถึงประเทศ

อินเดีย ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เปนอาทิ

สรุป

การแสดงนาฎศิลปและละครตะวันออกหมายถึง ศิลปะการฟอนรําที่มนุษยประดิษฐขึ้นมา

จากธรรมชาติ แลวนํามาตกแตงใหเกิดความงดงามวิจิตรบรรจง ประกอบดวยการรอง การบรรเลง

กับการแสดงที่ เลนเปนเร่ืองราวตามความนิยมของประเทศตาง ๆ ในโลกตะวันออก อัน

ประกอบดวยภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต และเอเชียใต ซ่ึงการแสดงของ

ประเทศเหลานี้จะมีแหลงกําเนิดทางวัฒนธรรมมาจากอารยธรรมจีนและอารยธรรมอินเดีย ในที่นี้จะ

กลาวถึงการแสดงนาฎศิลปและละครของประเทศตางๆ บางประเทศเพ่ือเปนตัวอยางในการศึกษา

ไดแก ชาติ1ที่1ไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมจีน คือประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุน และชาติท่ีไดรับอิทธิพล

จากอารยธรรมอินเดีย คือ ประเทศอินเดีย ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เปนตน

คําถามทบทวน

1. จงอธิบายความหมายของคําวา นาฎศิลป ตามความคิดเห็นของทาน

2. จงอธิบายความหมายของคําวา ละคร ตามความคิดเห็นของทาน

3. จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกตางของนาฎศิลป และละครมาใหเขาใจ

4. ละครมีองคประกอบอะไรบาง จงยกตัวอยางเนื้อเร่ืองประกอบคําอธิบาย

5. ความหมายของคําวา ละครตะวันออก หมายถึงภูมิภาคใด

6. แหลงอารยธรรมที่เกาแกที่สุด 2 แหงคือที่ใด และคําตอบทั้ง 2 แหงนั้นแหงใดเกาแก

ที่สุด

Page 18: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

8

7. แหลงอารยธรรมที่เกาแกที่สุดจากคําตอบ ขอ 6 สามารถเทียบเคียงไดกับแหลงอารย

ธรรมใด แถบเอเซียตะวันออก

8. ชาติใดบางที่ไดรับอิทธิพลดานการแสดงนาฎศิลปและละครตะวันออกจากอารย

ธรรมจีน

9. ชาติใดบางไดรับอิทธิพลดานการแสดงนาฎศิลปและละครตะวันออกจากอารยธรรม

อินเดีย

10. การแพรขยายอารยธรรม อินเดีย และอารยธรรมจีน สามารถแพรขยายไปสูภูมิภาค

ตาง ๆ ในดานใดไดบาง

Page 19: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

9

เอกสารอางอิง

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2534). องคประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

แถมสุข นุมนนท และคณะ. (2537). ส 605 สังคมศึกษาสมบูรณแบบ ช้ัน ม. 6 ภาค 1. กรุงเทพฯ :

วัฒนาพานิช.

ทรงศักดิ์ ปรางควัฒนากุล. (2526). การละครไทย. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

นงลักษณ ศรีเพ็ญ. (2542). นาฏศิลปไทย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (2525). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน.

พันทิพา มาลา. (2528). นาฏศิลปเปรียบเทียบ-การวิจารณละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครู

พระนครศรีอยุธยา.

พาณี สีสวย. (2524). สุนทรียของนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพจูจีนไทย.

ประณีต วงษเกษกรณ. (2550). การแบงเขตภูมิภาคของทวีปเอเชีย. คนเมื่อ 12 กุมภาพันธ 2550,

จาก http://www.203.172.204.162/.../act8/content5.html.

วิมลศรี อุปรมัย. (2524). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพเจริญผล.

วีณา ศรีธัญรัตน. (2542). อารยธรรมตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบาน

สมเด็จเจาพระยา.

สมัย อาภาภิรม และคณะ. (2543). แผนที่โลกปจจุบัน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุจิตต วงษเทศ. (2532). รองรําทําเพลง: ดนตรีและนาฏศิลปชาวสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ. (2539). การละครไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุมิตร เทพวงษ. (2548). นาฏศิลปไทย : นาฏศิลปสาํหรับครูประถม-อุดมศึกษา. พิมพคร้ังที่ 2.

กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร.

สุวรรณี เครือปาน. (2542). ศิลปวัฒนธรรมทองถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

อมรา กล่ําเจริญ. (2542). สุนทรียนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

อารดา กีระนันท. (2527). เอกสารการสอนชุดวชิาไทยศึกษา : อารยธรรมเลม 3 หนวยที่ 12-15.

พิมพคร้ังที่ 6. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Page 20: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 2

การแสดงนาฏศิลปและละครของจีน

เปนที่ทราบกันโดยทั่วไปวา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน หรือที่เราเรียกส้ันๆ

วาประเทศจีนนั้น เปนประเทศที่ย่ิงใหญ มีประวัติความเปนมาอันยาวนานประเทศหนึ่งของโลก

และของเอเชีย อาจกลาวไดวาจีนเปนชนชาติที่มีอารยธรรมอันเกาแก มีวิถีชีวิตที่เปนเอกลักษณของ

ตนเองโดยไมมีการเปลี่ยนแปลง มีศิลปวัฒนธรรมที่โดดเดน นอกจากนี้ยังเปนประเทศมหาอํานาจ

อันดับตน ๆ ของเอเชีย ทั้งดานเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศิลปะและวัฒนธรรม ส่ิงเหลานี้จึงมี

อิทธิพลตอวิถีชีวิตของอาณาอารยประเทศใกลเคียงในดานตาง ๆ ดังกลาว โดยเฉพาะอยางย่ิงในดาน

สังคม ศิลปะและวัฒนธรรม ที่เขาไปอยูในวิถีชีวิตของสังคมประเทศเหลานั้น

ประวัติความเปนมา

ศิลปะการรายรําของจีน

จากการศึกษางานวิจัยของ มารโกลิน (Margolin, 2003, หนา 1-8) เกี่ยวกับแหลงกําเนิด

ของศิลปะการรายรําของจีน (dance) สรุปไดวา ศิลปะการรายรําของจีนเปนวัฒนธรรมที่เกาแก

โบราณ ไดรับการพัฒนามาจากเขตภาคกลางของจีน นับเปนเวลากวาพันป และการพัฒนาก็ไดทํา

อยางตอเนื่อง จึงทําใหการรายรําของจีนเจริญรุงเรือง แมปจจุบันนี้ก็มิไดยุติการพัฒนาจึงทําให

ไมสูญส้ินไปเพราะกาลเวลา ชาวนา เกษตรกร และพระเจาจักรพรรดิหลายพระองคเปนผูคิดสราง

ศิลปะแขนงนี้ขึ้น ไดทรงใชความคิดและรวมมือกันทั้งสองฝาย ทําใหมีการพัฒนาทฤษฎีวิธีการ

รายรําที่มีความหมายอยางลึกซ้ึงขึ้นมาไดจนเปนศิลปะที่ย่ิงใหญของจีนเมื่อ 6,000 ปลวงมาแลว

หลักฐานสําคัญช้ินแรกที่พบและบอกใหรูถึงที่มาของศิลปะการรายรําโบราณของจีน ถูกคนพบจาก

การขุดคนแหลงโบราณคดี ซัน เจีย ชาย (Sun Chia Chai) ในเมืองตาถุง (Ta Tung State)

ในภาคตะวันตกของจีน หลักฐานที่ขุดคนพบคือ เคร่ืองปนดินเผาจํานวนหนึ่ง ซ่ึงเปนวัฒนธรรม

หยางเฉา (Neolithic Yang-Shao Culture) มีอายุราว 4,000 ปกอนคริสตศักราช ภาพท่ีปรากฏ

บนเคร่ืองปนดินเผา เปนภาพนาฎยศิลปนที่รายรําเพ่ือส่ือความหมายเกี่ยวของกับการลาสัตวของ

คนจีนโดยมือถืออาวุธ บางคนกําลังรองเพลง รายรําไปพรอมกับการเลนดนตรีวงออเคสตรา ซ่ึงเปน

ที่รูจักกันอยางดีในจีนตอนใตสืบมาจนถึงปจจุบัน

ยู ฮุย ไห (You Hui-hai) เปนคนหนึ่งในจํานวนเจาหนาที่หลายคนที่ทําวิจัย เร่ืองการ

รายรําของจีน ไดอธิบายวา การรายรํา (เตนรํา) เปนสวนหนึ่งของชีวิตประจําวันของคนจีน มาต้ังแต

ยุคเร่ิมตนอารยธรรมพ้ืนฐานของการรายรํา โดยเร่ิมตนมาจากศิลปะของการกระโดดและ

Page 21: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

12

การเคลื่อนไหว ถาดูการรายรําของจีนในปจจุบันจะทําใหเรารับรูถึงจิตวิญญาณในการรายรําของ

คนจีนโบราณได เชน การแสดง ยังโกะ (Yangko) และเกาเคียว (Gaogiao) จะเห็นวาผูรําได

พยายามอธิบายทิศทางของดวงดาวทั้งหลายในทองฟานําเสนอความคิดเร่ืองสวรรค ในการแสดง

ยังโกะ เราจะเห็นการเคลื่อนไหวของมือ และขาของผูรําที่แสดงความช่ืนชมตอจักรวาล การ

แสดงออกซ่ึงความหมายดวยการรายรํานี้ไดพัฒนามาตลอดเวลา และเปนสวนสําคัญของ

ชีวิตประจําวันของคนจีน

การรายรําเปนแรงบันดาลใจในความสัมพันธระหวางผูชายชาวจีนกับจักรพรรดิ ระหวาง

เพ่ือน ๆ หรือรางกายของเขา การรายรํากลายเปนการออกกําลังกายและกายกรรม และหลังจากนั้นก็

ไดพัฒนาเปนการรายรําในระดับคลาสสิค ปจจุบันนี้จะเห็นเพียงความสนุกสนานและความสุขจาก

การรายรําแบบโบราณ แตบางคร้ังก็ยังมีการแสดงออกซ่ึงความรูสึกที่เลวรายเชน ความกลัวและ

ความช่ัวรายผานการรายรํา ซ่ึงเปนแรงบันดาลใจที่มีผลมาจากสงครามดวย เมื่อ 1,000 ป

กอนคริสตศักราชสมัยราชวงศฉางและโจว (Shang and Chou Dynasty) มีการรายรําอยู 2 ชนิด คือ

การรายรําที่สะทอนความเช่ือทางศาสนา และการทหาร ในยุคสมัยนี้ผูรําจะถือไมท่ีมีขนนกในมือ

มีธง อาวุธ เคร่ืองมือจับปลา และลาสัตว ประกอบอยูในการรายรําดวย เพ่ือใหมองดูเหมือนกับอยู

ในกองทัพ

การรายรําของชาวนาในสมัยราชวงศฉาง ศาสตราจารย ลิฟ ยู เอียน อาจารยจากสถาบัน

การรายรําแหง เบจิง ผูเช่ียวชาญดานการรายรําพ้ืนบานโบราณของจีนกลาววา หลักฐานคร้ังแรก

ของการรายรําที่พบอยูระหวางศตวรรษที่ 11-16 กอนคริสตศักราช คือ สมัยราชวงศฉาง มีการรายรํา

เกิดขึ้น 2 ชนิด คือ

1. การรายรําแบบคลาสสิค กูเคียนวูเดา (Gudian WuDao)

2. การรายรําแบบพ้ืนบาน มินเจียน วูเดา (Minjian WuDao)

สวนใหญของการรายรําพ้ืนบาน จะเกี่ยวของกับวิถีชีวิตของชาวนา คนจีนภาคเหนือ เรียก

การรายรําเหลานั้นวา แยงกี้ (Yangge) และคนจีนภาคใตเรียกวา หัวกูดุง (Huagudung) คลายกับ

ชีวิตของชาวนาในอิสราเอลและยุโรป ในฤดูหนาวการทํานาหยุดลง จึงมีเวลามากพอท่ีจะรองรําทํา

เพลงไดเชนการแสดงชุดขโมยฟกทองซ่ึงเปนการรายรําแบบพ้ืนบาน แยงกี้ที่เกี่ยวของกับการ

ใหอภัยการรายรําแบบนี้จะพบในไตหวัน และเซ่ียงไฮเปนการขอโทษของผูนําหมูบานที่จับตัว

เด็กผูหญิงคนหนึ่งและคูรักของเธอ และตัดสินใจไมฆาเธอในตอนทาย ระบําชุดนี้ไดรับอิทธิพลมา

จากระบําคลาสสิค ซ่ึงพัฒนามาในระยะหลังนับวาเปนระบําที่ ย่ิงใหญที่ สุดชุดหนึ่งของจีน

การแสดงของชาวนาจะนิยมรายรําเปนกลุม เมื่อเวลาผานไปชาวนาบางคนกลายเปนนักรายรําอาชีพ

นอกจากนี้ดูเหมือนวานักรายรําเหลานี้จะนําเอาความคิดของขงจ๊ือมาปรับใชในการรําดวยโดยมี

Page 22: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

13

แนวคิดที่ไมยอมใหผูหญิงรําโดยเด็ดขาด โดยนักรําผูชายจะรําในบทบาทของผูหญิงตามคําสอน

ของขงจ๊ือที่สอนวาไมเหมาะสมสําหรับชายท่ีจะพบหญิงในที่สาธารณะหรือมีการปฏิสัมพันธทาง

รางกายกับผูหญิงรวมทั้งในการเตนรําดวย

การรายรําพ้ืนบานชาวฮั่น (Han folk dance) เมื่อประมาณ 2,000 ปลวงมาแลว

ในสมัยราชวงศฮั่น (206 กอน ค.ศ.-ค.ศ.220) ดวยอิทธิพลของความจงรักภักดี ไดมีการจัดต้ัง

สถาบันทางดานวัฒนธรรมเพ่ือเก็บรวบรวมขอมูลทางวัฒนธรรมของจีนขึ้น ทําใหศิลปะการรายรํา

ไดรับ การยอมรับในฐานะใหมในจีน การรายรําพ้ืนบานไดรับการยอมรับขึ้นโดยพิจารณาจาก

คุณสมบัติและความสามารถทางดานรางกายของผูแสดงที่เปนที่ตองการ ปจจุบันจะพบวาการราย

รําของชาวฮั่นมีหลายลักษณะ เชน การรํากลอง การรําดวยผาพันคอ การรําสิงโต การรํามังกร การ

รําพัดและ การรําประกอบไฟฉายและรม

ในศตวรรษที่ 3 หลังสมัยราชวงศฮั่น ศิลปะทางทิศเหนือและทศิตะวันตกของจีนไดขยาย

มาทางทิศเหนือ และผสมผสานกับวัฒนธรรมของภาคเหนือ ปจจุบันนี้การรายรําและการเขียนภาพ

จะพบไดทั่วไปในจีน แมวาแตละเขตแดนจะมีรูปแบบการรายรําท่ีแตกตางกันออกไป สมัยราชวงศ

ถัง (ค.ศ.618-907) เปนยุคที่มีการผสมผสานกันของวัฒนธรรม และมีปรากฏการณทางวัฒนธรรมที่

สําคัญที่สุดคือ การต้ังสถาบันนาฏศิลปและการดนตรี กระบวนการศึกษาหาขอมูลซ่ึงไดเร่ิมมาแลว

ในสมัยราชวงศฮั่นไดมีการสืบสานตอและถึงจุดเปลี่ยนที่สําคัญคือ พระเจาจักรพรรดิไดจัดต้ัง

โรงเรียนวัฒนธรรมช้ันสูงขึ้นหลายโรงเรียน จักรพรรดิในราชวงศถังหลายพระองค ทรงพิจารณา

จัดหา นักเตนรําที่ดีและนําเขาวัง เพ่ือมาจัดการแสดงในสถาบันศิลปะ 3 แหงคือ อิมพีเรียล อะ

คาเดมี (Imperial Academy) ไทย ชาง เท็มเพิล (Tai-Ch’ang Temple) และ เดอะ แพรการเดน อะคา

เดมี (The Pear Garden Academy) โดยจัดต้ังเปนสถาบันสวนลูกแพร ซ่ึงต้ังโดยจักรพรรดิ์ฉวน

(Hsuan)

ในระหวางป ค.ศ. 712-755 ไดมีนักเตนรําและนักดนตรีท่ีมีช่ือเสียงเขามาสูราชสํานัก

และกลุมนี้ไดกลายเปนคณะอุปรากรปกกิ่ง ในเวลาตอมาคณะผูแสดงที่ถูกเรียกวา ลูกๆ ของสวน

แพร ไดรวมตัวกันเปนการเตนประกอบดนตรี 10 กระบวนทา และทําใหเกิดรูปแบบที่เปน

ระบบใหม นําไปสูการประดิษฐ การรายรําแบบคลาสสิค (classical dance) และไดชวยกันคิดทารํา

จนทําใหเกิดการแสดงเปนคร้ังแรก การรายรําแบบคลาสสิคไดพัฒนาเร่ือยมา นักเตนชาวจีนได

ริเร่ิมพัฒนาเทคนิคใหมของการเคลื่อนไหวรางกาย โดยอาศัยเทคนิคการเคลื่อนไหวจากจีน เกาหลี

อินเดีย อิหรานและอิตาลีมาผสมผสานกัน ในสมัยนี้ชุดและเคร่ืองประดับการแตงกายของ

นักแสดงจึงเร่ิมมีปรากฏใหเห็น ตอมาเมื่อประเทศจีนเปดประเทศรับพอคา พระในพุทธศาสนา

และตอนรับชาวโรมัน กลาวไดวาเปนการเปดรับปรัชญาสมัยใหม เชน ปรัชญาการเตน บทกวี

Page 23: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

14

ประกอบการเตน กระบวนการที่ปรากฏใหเห็นบนเวที เปนการเตนแสดงอารมณผานกริยาทาทางท่ี

แสดงออก และพัฒนามาเปนการเคลื่อนไหวรางกายในลักษณะแปลกใหม โดยมีถึง 4 ลักษณะ

ดวยกัน คือ เช็ง (Sheng) ตัน (Tan) ชิง (Ching) และ ชาว (Chou )

การเตนในสมัยราชวงศถังเปนการเตนที่แสดงอารมณหลากหลาย เชน อารมณรัก

อารมณกวี โดยขึ้นอยูกับผูเตนวาเปนชายหรือหญิง เปนสัตวหรือเปนเทพเจา เปนเด็กวัยรุนหรือ

คนชรา อารมณที่แสดงออกจะพัฒนาโดยแรงบันดาลใจท่ีเกี่ยวของกับเหตุการณ เกี่ยวกับดนตรี

ปรัชญา การเตนก็เปนอีกประเด็นหนึ่ง ที่ชวยใหเกิดการประสานสัมพันธเปนอยางดีในแง

ประวัติศาสตรศิลปะและในดานการเขียนภาพ

ลีลอนจิ เปนพระเจาจักรพรรดิที่ทรงเปนศิลปนที่ย่ิงใหญ เปนคนที่มีความรูอยางลึกซ้ึงใน

งานศิลปะ มีความสามารถดานการวิพากยวิจารณและยกยองศิลปะ ลีเปนพระเจาจักรพรรดิที่

เพียบพรอมดวยลักษณะตาง ๆ เหลานี้ พระองคไดทรงประพันธ เพลงแหงความเศราโศกโดยใช

เปนเพลงที่รําลึกถึง บาย ยู ยี (Bai Ju Yi ) นางผูเปนที่รัก หลังจากนั้นพระองคไดทรงมอบหมายให

นักแสดงไปคิดทารําสําหรับเพลงนี้ จึงเกิดทารํานิชแชงยิวยีขึ้น ลักษณะการรายรําคลายคลึงกับ

การแสดงบัลเลตของชาวตะวันตกที่ช่ือ จิเซล (Giselle) แตการเคลื่อนไหวรางกาย และการแตงกาย

จะแตกตางจากบัลเลต การเตนของนิชแชงยิวยี ผูแสดงและเส้ือผามีความเหมาะสมในความเปน

วัฒนธรรมจีน เด็กผูหญิงที่เปนผูเตนจะเตนราวกับอยูในโลกมายา นักออกแบบทารําจะรวมเอา

ความสามารถทั้งหลายดานการเตนเขาดวยกัน และผสมกับเทคนิคทางศิลปะซ่ึงมาจากการเตนแบบ

อินเดีย และการเตนในอุทยานของพระเจาจักรพรรดิรวมเขาดวยกัน เปนการเตนท่ีใหความรูสึก

ปลดปลอยมีพลังและนุมนวล คลายกับอยูในความฝน ดังภาพที่ 2.1

ปจจุบันนิชแชงยิวยี ไดรับการยอมรับวาเปนศิลปะที่ย่ิงใหญและเปนหนึ่งในผลงานที่เปน

ความสําเร็จที่สําคัญในประวัติศาสตรจีน โดยมีเพลงไพเราะประกอบการรายรําดวย นิแชงยิวยีเปน

ศิลปะการรายรําที่ใหสาระที่เกี่ยวกับปรัชญาของคนจีน การเคลื่อนไหวของศิลปน ที่มองแลวลื่น

ไหล ความสามารถในการเปลี่ยนทารําที่ผสมกลมกลืน ทําใหการรายรําเกิดพลังความสามัคคี

ระหวางความคิดที่แตกตางกัน 2 อยาง เปนการสรางความผสมกลมกลืน นิชแชงยิวยี และความงาม

ของนักบุญลีออน (Saint Leon) ตางมีสีสันและลักษณะลีลาคลายกัน ซ่ึงความแตกตางจากการรายรํา

ของชาวตะวันตกกับ การรายรําของจีนสะทอนใหเห็นถึงความบริสุทธ์ิ ความดีงามสูงสง ส่ิงท่ีพบมี

อยูในศิลปะหลายอยางของคนจีนไดแกการแสดงอารมณ สอดแทรกปรัชญา การเคลื่อนไหว สี และ

ดนตรี

Page 24: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

15

ภาพที่ 2.1 ภาพการแสดงนิชแชงยิวยี

ที่มา : Margolin, 2003, p.8

การแสดงง้ิว

ในสมัยราชวงศถัง (พ.ศ. 1171-1149) เปนยุคทองของวัฒนธรรมจีนยุคหนึ่ง การแสดงง้ิว

มีความเจริญรุงเรืองมาก เพราะมีกษัตริยเปนองคอุปถัมภ ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการแสดงง้ิว

โปรดใหขาราชการชายหญิงจํานวน 300 คน ฝกซอมการแสดงง้ิวที่พระราชอุทยานส่ีลีเหวียน

ทรงปรับปรุงดัดแปลงลีลาทารําตาง ๆ ท่ียังบกพรองเสียใหม ท่ีสําคัญคือพระองคทรงเปนผูสอน

เอง เร่ืองที่ใชแสดงในสมัยนี้มาจากพระราชพงศาวดารประวัติศาสตร นิทานตาง ๆ บทเพลงท่ีใช

ในการแสดงง้ิวนั้น พระเจาถังเสวียนจงฮองเตไดทรงพระราชนิพนธไวเปนจํานวนมาก (อภิโชค

แซโคว, 2541, หนา 10-11)

นอกจากนั้นในสมัยนี้ไดมีการปรับปรุงการแสดงง้ิวใหเปนแบบแผน โดยกําหนดทาทาง

และการเคลื่อนไหวใหตรงกับความหมายและอารมณที่ตองการแสดงออก กลาวไดวาพระองคทรง

เปนปรมาจารยแหงการแสดงง้ิวโดยแทจริง เพราะสมัยตอมาผูแสดงง้ิวก็ไดดําเนินรอยตามแบบ

ฉบับของพระเจาถังเสวียนจงฮองเต แมวาจะมีการเปลี่ยนแปลงลีลาทาทางไปบาง แตก็ไมแตกตาง

จากเดิมเทาไรนัก ในสมัยนี้ไดมีการจัดต้ังกรมมหรสพไวถึง 3 กรม คือ เจียงฟาง หลีหยาน และ

ไตซานซิ ทําหนาที่ดานการศึกษา การแสดงทางดานดนตรีและนาฏศิลป กรมพิธีการทําหนาที่ดาน

การรวบรวมทั้งดนตรีและนาฏศิลปเพ่ือแสดงในพิธีการตาง ๆ ตอมาในป พ.ศ. 1298 เกิดกบฏอาน

Page 25: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

16

และซีขึ้น ทําใหราชวงศถังเส่ือมลงพรอมกับงานดานดนตรีนาฏศิลปก็เส่ือมลงไปดวย บรรดา

ศิลปนก็กระจายไปทั่วประเทศ

สมัยราชวงศซองหรือสูง (พ.ศ. 1503-1822 ) ไดสืบทอดนาฏศิลปราชวงศถัง การละครก็

เร่ิมเปนรูปรางมากขึ้น การรําชุดบรรยายเร่ืองตาง ๆ เปนชุดส้ัน ๆ ตลก ๆ ก็มีมากขึ้น ที่นิยมมากคือ

ชุดระบําขี่มา ระบําพายเรือ ระบําขี่ลา และระบํากลอง ระบําชุดเหลานี้แสดงเปนเร่ืองส้ัน ๆ มีผูรํา 2-

3 คน และใชทาทางประกอบดนตรี ซ่ึงระบําดังกลาวก็ยังเปนระบําพ้ืนบานของจีนอยูทุกจนวันนี้

ทารําที่ใชในการแสดงตอมาไดพัฒนาเปนทาใชบทของง้ิว และนับเปนจุดเร่ิมตนของการแสดงง้ิว

ดวย

คร้ังลวงมาถึงราชวงศหยวน หรือมองโกล (พ.ศ. 1803-1911) อุปรากรจีนไดเติบโตขึ้น

เปนละครเต็มรูปแบบ มีการรอง การรํา การแสดงกายกรรมครบถวน ชาวมองโกลไดแตงบทง้ิว

ขึ้นใหม ง้ิวอาชีพรุงเรืองมาก นับเปนยุคทองของการแสดงง้ิวอาชีพในยุคนี้ สําหรับตัวง้ิวซ่ึงแต

เดิมตัวพระหรือเซ็นเปนตัวนํา มายุคนี้ตัวนางหรือต้ันก็ยกฐานะตัวเองขึ้นมามีความสําคัญเสมอกัน

การรองถือเปนเร่ืองสําคัญกวาส่ิงใดและเปนการรองเดี่ยว ตัวเอกเชนนักรบอยางกวนอู จะรองดวย

เสียงอันดังและเฉียบขาด ผิดกับสมัยซองนิยมเสียงหวานมีลูกคูและเลนจังหวะตางๆ เร่ืองที่นิยมกัน

มาก คือ สามกก ในยุคนี้ง้ิวเร่ิมแยกตัวออกเปน 2 แบบ แบบเหนือเรียก ซาฉู สวนแบบใตเรียกวา ซิ

เวน การแสดงง้ิวทั้งสองแบบนี้จะมีขอแตกตางกันพอจะเห็นไดชัดหลายประการ (สุรพล วิรุฬห

รักษ, 2548, หนา 224)

บทง้ิวราชวงศหงวนสูงดวยปริมาณและคุณภาพในหนังสือรวมบทง้ิว 556 เร่ือง เปนของ

ราชวงศหงวนถึง 535 เร่ือง เร่ืองที่ดีเดนและเปนที่รูจักของคนไทยคือ (ไซซี) เร่ืองหองทิศตะวันตก

เปนเร่ืองรักกระจุมกระจ๋ิมของชายหนุมหญิงสาว ซ่ึงชายหนุมกําลังจะไปสอบจอหงวนมาพบกับ

หญิงสาวที่บิดาตาย นําศพกลับบานและพบกันที่วัดเปนเร่ืองรักแรกพบแทรกดวยบทสาวใชท่ีฉลาด

คมคายแตงโดย เฮงซิตโพย ดัดแปลงมาจากเร่ืองอานเลนของ งวนเจ้ียง ในราชวงศถัง (ล. เสถียรสุต,

2544, หนา 195) นอกจากนี้ก็มีสามกก ซองกั๋ง และไซอิ๋วกับดอกบวยในแจกันทอง บทง้ิวยุคนี้ ไม

ใชศัพทโบราณ ศัพทสูงและศัพทสวยงาม ใชแตภาษาพูดสามัญ บางทีใชไวยากรณมองโกลและ

ศัพทมองโกลดวย

สมัยพระเจาเซียฉิง (พ.ศ.2065-2110) แหงราชวงศหมิง ไดมีครูดนตรีฝมือเลิศช่ือไวเหลี

ยงฟู คิดปฏิรูปแบบแผนการดนตรีขึ้นใหม ใหช่ือวา กุนชู ตามนามพ้ืนเพเดิมของตนคือกุนซานซ่ึง

เปนเมืองเล็กๆ ในนครเซ่ียงไฮ ง้ิวซิเวนในยุคนี้นิยมแสดงง้ิวประเภทรักพิศวาสใชกิริยาชดชอย

นุมนวลประกอบการรองที่ออนหวานคลอเสียงขลุย มีบทง้ิวกวา 600 เร่ือง และยังคงอยูจนปจจุบัน

นี้

Page 26: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

17

ราชวงศฉิง (พ.ศ.2187-2455) พวกเมงจู เปนนักรบ รูปรางสูงใหญเขารุกรานครอบครอง

ประเทศจีน ไดควบคุมการแสดงง้ิวไมใหมีเนื้อเร่ืองตอตานราชวงศ การแสดงง้ิวทุกคร้ังตองได

รับคําอนุญาตและเห็นชอบจากเจาหนาที่เมงจูกอน ทําใหง้ิวกลายเปนเคร่ืองโฆษณาชวนเช่ือ

ตอประชาชน และลดคุณคาศิลปะลง

พระเจาเคียนหลุง (พ.ศ.2279-2339) โปรดปรานการแสดงง้ิวแบบกุนชูไดเสด็จประพาส

หัวเมืองฝายใต ทรงโปรดใหนําไปเปนของหลวง ในรัชกาลนี้ประกาศหามผูหญิงเลนง้ิว ดวยเหตุผล

สองประการ ประการแรกผูแสดงง้ิวตองชํานาญดานกายกรรมโลดโผนตลอดจนเพลงอาวุธ ผูหญิง

เลนไดไมสมบทบาท ประการที่สองกลาวกันวาวาพระราชชนนีของพระเจาเคียนหลุงเคยเปนนางง้ิว

มากอน ง้ิวจึงใชผูชายเลนแตนั้นมา

สมัยพระเจาเตากวาง (พ.ศ. 2364-2391) พระองคทรงโปรดง้ิวปฮวงซ่ึงเปนแบบปกกิ่ง

มากกวาง้ิวกุนชูซ่ึงเปนของเมืองใต ทั้งนี้ เพราะง้ิวกุนชูซ่ึงเลนมาต้ังแตสมัยพระเจาเซียฉิง

(พ.ศ. 2065-2110) นั้นมีแตเร่ืองรักใครซํ้าซากนาเบื่อ สูเร่ืองหลากรสของง้ิวปฮวงมิได และเพลงง้ิว

แบบกุนชูก็เย่ินเยอไมมีทํานองงายเพลินหู และกลมกลืนแบบง้ิวปฮวง ตรงกับภาษิตจีนที่วา

เพลงย่ิงหนักคนย่ิงนอย กอปรกับกุนชูเปนศิลปะฝายใตแถบซิวเจา อันเปนฝายกบฏไตเผง จึงทําให

ง้ิวกุนชูหายไปจากราชสํานักเมงจู

สมัยพระนางซูสีไทเฮา (พ.ศ.2404-2455) ผูสําเร็จราชการในแผนดินพระเจาตุงจ่ี กวางสู

และปูยี โปรดการแสดงง้ิวมากบางคร้ังเลนประชันกันถึง 3 โรง ตองทอดพระเนตรจากคนละฟาก

แมน้ําเพ่ือจะไดดูทั่วถึง การที่ ง้ิวตองแสดงหางจากที่ประทับ ทําให ง้ิวตองสงเสียงดังใหถึง

พระกรรณ คร้ันตกมาภายหลังพวกศิลปนไมทราบก็ปฎิบัติตาม เสียงง้ิวจึงดังมาก

พ.ศ. 2454 จีนเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดสงครามกลางเมือง ง้ิวก็

ทรุดโทรมระสํ่าระสาย คร้ันบานเมืองสงบลงภายใตการปกครองของคอมมิวนิสต ง้ิวจึงกลายเปน

เคร่ืองมือของรัฐบาลในการโฆษณาชวนเช่ือ ง้ิวคอมมิวนิสตลดความดังของดนตรีโดยลดกลองและ

ฆองลง เพ่ือใหคําเจรจาที่บรรจุไวดวยคําโฆษณาของรัฐดังชัดเจน หลังจาก พ.ศ. 2473 เปนตนมา

ง้ิวเร่ิมใชวิธีการดานฉากและแสงเสียงของประเทศตะวันตก อันขัดกับทฤษฎีการใชจินตนาการ

ของง้ิว ในที่สุดเทคนิคแบบใหมก็สลายไปจากง้ิว เพราะเขากันไดยาก คนดูผูยึดมั่นในประเพณี

เดิม ไมนิยมง้ิวไดเกิดขึ้น และพัฒนามานานนับพันป มีความรุงเรืองและเส่ือมโทรมไปตามสภาพ

บานเมืองแตละสมัย แตไมเคยสลายตัวลง คงย่ังยืนมาจนทุกวันนี้ นับไดวาง้ิวเปนศิลปะการแสดง

ที่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหอยูในความนิยมของคนดูตลอดเวลา ดังนั้นการแสดงง้ิวจึงยังคง

อยูใหความบันเทิงแกโลกไดตลอดไป

Page 27: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

18

การแสดงนาฎศิลปและละครของจีน

การแสดงนาฎศิลปและละครของจีน มีดังนี้

1. รํากลองไมของชนกลุมนอยชาววา (Wooden Drum Dance of The Wa Minority)

การรํากลองไมเปนการเตนรําของชนกลุมนอยชาววา ซ่ึงจัดขึ้นเพ่ือบวงสรวง

สังเวยเทพเจาหรือส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ โดยจะมีพอมดหรือหมอผีเปนหัวหนาและเปนผูกําหนดการรายรํา

ในระหวางการทําพิธีบวงสรวง กลองไมนี้จะถือวาเปนเคร่ืองมือหรืออุปกรณของเทพเจา ท่ีสืบ

ทอดเปนมรดกมาจากชาววารุนตอรุน เปนตนกําเนิดของชนเผาวา ตามตํานานของชาววาในตอน

แรกของการสรางโลก จะมีน้ําทวมใหญที่เกือบจะกลืนกินชีวิตมนุษยทั้งหมดบนโลก แตบรรพบุรุษ

ชาววาไดรับความชวยเหลือใหปลอดภัยโดยพระเจาไดประทานถังไมขนาดใหญใหขึ้นมาอาศัย

นับแต นั้นมาชาววาจึงเคารพบูชาถังไมเปนอยางมาก การรํากลองไมแสดงในภาพที่ 2.2

การรํากลองไมมีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

1.1 วิธีแสดง กลองไมขนาดยาวกวา 2 เมตร จะถูกนํามาใชในพิธีเตนรําของชาววา

โดยใชเปนสัญลักษณแทนถังไมในการเตนรําเพ่ือบวงสรวง กลองไมจะใหเสียงตํ่าลึก มีความชัดเจน

ในทวงทํานอง นับเปนสวนประกอบสําคัญของการรํานี้

1.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามแบบพ้ืนเมืองของชนกลุมนอยชาววา

1.3 เคร่ืองดนตรี กลองไมยาวประมาณ 2 เมตร

1.4 โอกาสที่ใชแสดง ในพิธีบวงสรวงสังเวยเทพเจาและส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ ซ่ึงจะจัด

ประมาณเดือนสิบสองตามปฎิทินจันทรคติของทุกป

ภาพที่ 2.2 ภาพการรํากลองไม

ที่มา : Hongtu Real Estate Development Company, 2009, p. 1

Page 28: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

19

2. รํากลองใหญของชาวจินู โอ (Big drum Dance)

รํากลองใหญเปนการรําพ้ืนบานชนิดหนึ่ง ท่ีมีประวัติความเปนมาท่ียาวนาน มี

อิทธิพลอยางลึกซ้ึงตอชาวจีนทั่วไป เปนที่รูจักกันแพรหลายในหมูบานชาวจินูโอ ชานเมืองจิงฮอง

แหงเขตปกครองตนเองซิฉวนบานนา แหงจังหวัดยูนนาน คนจีนเช้ือสายจินูโอมีนิยาย นิทาน

พ้ืนบาน (myth) ของตนเอง ซ่ึงถือวาเปนรากฐานของครอบครัว ชาวจินูโอจะจัดใหมีพิธีบวงสรวง

บูชาและรําลึกถึงบรรพบุรุษของครอบครัว โดยการรองเพลง การเตนรํา และการบวงสรวงสังเวยใน

งานเทศกาลทั้งหลาย เ พ่ือถือโอกาสส่ังสอนประวัติศาสตรของชนเผานี้ตออนุชนรุนหลัง

การรํากลองใหญ เรียกในภาษาจินูโอวา อี เช ซอง (E’Che Song)ช่ือเดิมคือ เพลงไบลา เปา ซิตู

(Bailapao-Situ-Song) ซ่ึงไบลาเปา แปลวา พอมด และชิตู จะหมายถึงช่ือหมูบาน ตามตํานาน

พ้ืนบานในยุคที่น้ําทวม บรรพบุรุษของชาวจินูโอ คือ อไม เยาบาย (A’mai Yaobai) ไดสรางกลอง

ขนาดใหญและให มาย เฮ (Mai Hei) และมาย นิอู (Mai Niu) นั่งในกลองเพ่ือหนีมหันตภัยน้ําทวม

ตอมา 2 คนนี้แตงงานและใหกําเนิดลูก ๆ จํานวนมาก จนกลายเปนชนชาติจินูโอ ดวยเหตุนี้ชาวจินู

โอจึงจัดใหมีพิธีรํากลองใหญสืบตอมา เพ่ือรําลึกถึงอดีตที่ผานมาและทุกคนจะใหความเคารพตอ

กลองเหมือนกับส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ และจะวางกลองไวในบานคนชรา ซูโอบา (Zhuoba) ในหมูบาน

กลองใหญของชาวจินูโอจะมีขนาดยาว 1 เมตร และกวาง 40-50 เซนติเมตร และท้ัง 2

ดานของกลองจะปดดวยหนังวัว ในเวลาปกติไมอนุญาตใหตีกลอง แตจะจัดใหมีพิธีรํากลองใหญ

ในเทศกาลทีมาโอค (Temaoke Festival) และในพิธีบวงสรวงเทพเจาท่ีมีพระนามวา ไทลูโอ โมโม

(Tieluo Momo) จะมีแทงไมประมาณมากกวา 10 แทง มาติดประกอบไว 2 ขางของกลองใหญทําให

มองดูเหมือนดวงอาทิตยสงประกายรําแสงออกมา เปนเหตุใหประชาชนเรียกวากลองพระอาทิตย

การรํากลองใหญมีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

2.1 วิธีแสดง การรํากลองใหญของชาวจินูโอ จะเร่ิมดวยผูสูงอายุหลายคนชวยกัน

ฆาหมูและไกเพ่ือนําไปเปนเคร่ืองเซนสังเวย และมีผูสูงอายุอีกคนหนึ่งอานคําบวงสรวงบูชากลอง

ซ่ึงเช่ือวาจะนําสันติสุข และความมั่งคั่งมาสูพวกเขา หลังพิธีบวงสรวงจะมีคนถือไมและตีกลองดวย

มือทั้งสอง ในขณะเตนรําจะมีการตีฉาบและรองเพลงอูยูเก (Wuyouke) เนื้อเพลงท่ีรองจะบรรยาย

เกี่ยวกับประวัติศาสตร คุณธรรม และประเพณีของชาวจินูโอ การรํากลองใหญจะประกอบดวย

การสวดออนวอนพระเจา การกระโดดอยางสนุกสนาน และเสียงเพลงแหงปใหม กิริยาทาทางใน

การรําจะเปนทางอขา ยกแขน หมุนตัวไปรอบๆ นี่คือการเคลื่อนไหวหลักของการรํากลองใหญ

ผูแสดงทั้งหลายจะอยูในทายืนตรง เทาทั้งสองแตะพ้ืนดิน มือทั้งสองจับไมตีกลองปลอยปลายไมช้ี

พ้ืนดิน เทาซายกาวไปขางหนาและสัมผัสพ้ืนดิน เขาซายจะโคงลง ขาทั้งสองขางส่ัน จากนั้นมือซาย

ที่ถือไมตีกลองอันหนึ่งจะยกขึ้นเหนือหัว และมือขวาที่กําไมตีกลองจะถือไวตรงสะโพกขวา

Page 29: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

20

แลวมือซายก็ปลอยลง และมือขวายกขึ้นทําสับเปลี่ยนเร่ือยไป หลังจากเวียนไปรอบๆ ผูรําจะเปลี่ยน

ทาทางการยืนของขาซายและขาขวา การรํากลองใหญแสดงในภาพที่ 2.3

ภาพที่ 2.3 ภาพการรํากลองใหญ

ที่มา : Hongtu Real Estate Development Company, 2009, p.1

2.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายพ้ืนเมืองของชาวจินู โอ

2.3 เคร่ืองดนตรี กลองใหญและฉาบ

2.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในพิธีบวงสรวง บูชาและระลึกถึงบรรพบุรุษของ

ครอบครัว

3. รําแยงกี้ และรํากลองรอบเอว (Yangge and Waist Drum Dance)

การรําแยงกี้เร่ิมเกิดขึ้นเมื่อ 2,000 ปลวงมาแลว ในฤดูหนาวคนหนุมในหมูบานทาง

ภาคเหนือของมณฑลชานสี (Shanxi) จะเร่ิมการเตนแยงกี้ และการเตนรํากลองรอบเอว เพ่ือ

ตอนรับเทศกาลในฤดูใบไมผลิ (spring festival) ซ่ึงจะเร่ิมในเดือนแรกของปทางจันทรคติ และ

เทศกาลโคมไฟ

ประวัติของการรําแยงกี้และกลองรอบเอวในจังหวัดชานสีนี้ เช่ือวาเปนการแสดง

ของขาราชการในสมัยโบราณและทหารที่อยูชายแดน จะใชเปนสัญญาณของกองทัพ โดยเฉพาะ

อยางย่ิงคือทหารมา จังหวะของการตีกลองบวกกับเสียงของเทามาท่ีกําลังเดินไป ตอมาการตีกลอง

แบบนี้จึงแพรหลายมาสูประชาชน อีกทัศนะหนึ่งมองวาการเร่ิมตนของรํากลองแบบนี้เกิดขึ้นโดย

คนเลี้ยงแกะในภาคเหนือของจังหวัดชานสี โดยกลองจะหุมดวยหนังแกะ และตีกลองเพ่ือสราง

ความรูสึกมีชีวิตชีวาใหแกชีวิตที่อางวางเปลาเปลี่ยวของพวกเขา ตอมาการตีกลองมีเคร่ืองมือ

Page 30: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

21

ประกอบจังหวะอยางอื่นเขามาประกอบ จึงคอย ๆ กลายเปนกิจกรรมเพ่ือความสนุกสนานของ

ชาวบาน และสวดออนวอนเพ่ือใหมีโอกาสท่ีดี สําหรับพืชพันธท่ีเขาปลูกและชีวิตที่มีความสุข

การรําแยงกี้แสดงในภาพที่ 2.4

ภาพที่ 2.4 ภาพการเตนแยงกี้และการรํากลองรอบเอว

ที่มา : Qiu & Zhongmin, 2009, p.2

การเตนแยงกี้และการรํากลองรอบเอว มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

3.1 วิธีแสดง ในวันปใหมกลุมนักเตนแยงกี้จะเร่ิมงานเตนดวยการเตนรําท่ีมีกลอง

เปนสวนประกอบ นักเตนจะโบกผาไหมคาดเอวสีแดง คนชมจะปลอยพลุตะไลไฟพะเนียง

เพ่ือแสดงการตอนรับการมาถึงของนักเตน และเปนการเชิญชวนใหนักเตนไดชิมลิ้มรสไวนจากขาว

ที่ชาวบานทําเอง เสียงเพลงและเสียงพลุตะไลผสมกัน ทําใหเกิดบรรยากาศของความร่ืนเริงใน

หมูบาน สวนที่นาสนใจมากที่สุดของการรํากลองรอบเอวคือ นักเตนผูชายที่มีกลองสีแดงใบหนึ่ง

ผูกอยูที่เอวของเขา มือถือไมตีกลองผูกผาไหมสีแดง จะตีกลองและเตนไปดวยเสียงของจังหวะ

กลอง และการเตนที่สวยงามจะแสดงออกถึงความตรงไปตรงมา และความกลาหาญของชาวบาน

แหงจังหวัดชานสี นอกจากนั้นยังเปนการแสดงออกของความรูสึกที่เปนสุข และความรัก

3.2 เคร่ืองแตงกาย ชุดนักรบโบราณทางภาคเหนือ

3.3 เคร่ืองดนตรี กลองกลมใบใหญ

3.4 โอกาสที่ใชแสดง เปนกิจกรรมท่ีเกี่ยวของกับศาสนา เพ่ือตอนรับพระเจาและ

ขับไลความช่ัวราย ปจจุบันเปนกิจกรรมสนุกสนาน พักผอนในฤดูเร่ิมทํานา หรือในวันหยุด

Page 31: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

22

4. การแสดงงิ้ว

ภาพที่ 2.5 ภาพการแสดงง้ิว

ที่มา : อภิโชค แซโคว, 2541, หนา 8

ภาพที่ 2.6 ภาพการแสดงง้ิว

ที่มา : อภิโชค แซโคว, 2541, หนา 8

Page 32: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

23

พัฒนาการของการแสดงง้ิว

จากหลักฐานที่ทานผูรูไดศึกษาคนควาและกลาวไวนั้น มีขอสันนิษฐานไดเปน 2 นัย คือ

1. การแสดงง้ิว มีแหลงกําเนิดมาจากการแสดงของชาวตาดที่เรียกวา ซูซู เรวดี คงสุวรรณ

(ม.ป.ป., หนา 1-2) ไดอธิบายวา มีลักษณะเปนการแสดงจําอวด คือ เปนการเนนหนักไปในทางตลกโปก

ฮาเพ่ือใหเกิดความสนุกสนานแกผูชมทั้งมีการแสดงกิริยาวาจาเสียดสีสังคม และการเมืองแทรกอยู

ดวยเสมอ การแสดงซูซูนี้ไดเคยจัดการแสดงตอนรับขุนนางขาราชการจีน ซ่ึงไดเดินทางไปเยือน

พวกตาดเพ่ือเช่ือมสัมพันธไมตรีหลายคร้ังในบทรองมีบทเสียดสีเหยียดหยามชาวจีนวาออนแอขี้แพ

ทุกยุคทุกสมัย แตจีนก็ไมสามารถจะทําอะไรได เพราะตอนนั้นพวกตาดมีอํานาจเขมแข็ง ตอมาสมัย

เส่ียอองต้ังตัวเปนปฐมกษัตริยตอจากราชวงศจ้ิงซ่ึงส้ินอํานาจ เมื่อพ.ศ. 289 จีนก็ไดเดินทางไปเยือน

แควนตาดอีกโดยการนําของขุนนางช่ือ หลูอี๋ ลูอ ี ตาดผูครองแควนในอาณาจักรจีนก็ไดตอนรับและ

นําเอาการแสดงซูซูมาเลนใหชมอีกคร้ังหนึ่ง การแสดงนั้นยังคงสอดแทรกการเสียดสีชาวจีน

และคอนขางจะรุนแรงมากกวาทุกคร้ังทําใหหลูอี๋แคนใจมาก แตเนื่องจากหลูอี๋เปนศิลปนที่มี

ความสามารถในเร่ืองระบํา รําฟอนและการเลนดนตรี จึงไดคิดนําแบบอยางการแสดงของชาวตาด

มาดัดแปลงแกไขเปนการแสดงระบํา รํา ฟอน ประกอบการรองเพลงประเภทปลุกใจใหมีความรัก

ชาติ โดยใชเคร่ืองดนตรีเขาบรรเลงประกอบดวย และเรียกการแสดงชนิดนี้วา หว่ีหรือง้ิว

คร้ันถึงยุคสมัยของเจงอองเรืองอํานาจ ไดมีการปราบปรามแควนตางๆ จนสําเร็จ

และสถาปนาตนเองขึ้นเปนจ๋ินซีฮองเต ในสมัยนี้มีขุนนางช่ือ ลีตอง ไดนําง้ิวของเดิมมาแกไข

ดัดแปลง โดยแทรกบทเจรจาตลกโปกฮา สลับไปกับการขับรองฟอนรําประกอบดนตรี พรอมทั้ง

เพ่ิมบท เสียดสีซ่ึงเปนแนวทางการแสดงของตาด คือ ซูซู เขาไปดวย เพ่ือเปนการโตตอบพวกตาด

นั่นเอง แตลักษณะการแสดงแบบนี้ยังมิไดเปนเร่ืองราว จนกระท่ังถึงสมัยของพระเจายวนต่ีฮองเต

ไดมีเหตุการณประทับใจเกิดขึ้น ซ่ึงมีการจารึกเทิดทูนไวในประวัติศาสตร เกี่ยวกับการเสียสละของ

วีรสตรีหญิง ซ่ึงเปนพระสนมเอกฮองเตช่ือ เจียวกุน มีเหตุการณเกิดขึ้นดังนี้คือ พระเจายวนต่ีฮองเต

โปรดใหหาสาวงามพรหมจารีที่สวยงามจากหัวเมืองตางๆ สงมายังเมืองหลวงเพ่ือแตงต้ังเปน

นางสนม และคัดเลือกคนที่เหมาะสมขึ้นเปนสนมเอก ในบรรดาสาวงามที่ถูกคัดเลือกมาเหลานี้

กอนถูกถวายตัว จะมีการอบรมส่ังสอนใหรูขนบธรรมเนียมประเพณีกิริยามารยาท การถวายงาน

ดีด สี ตี เปา หรือการฟอนรําเสียกอน จากนั้นหัวหนาขันทีจะคัดเลือกอีกขั้นหนึ่ง โดยจะมี

การวาดรูปสาวงามขึ้นถวายใหทรงทอดพระเนตร และจะเปนผูทรงคัดเลือกเอง สมัยนั้นเลากันวา

การเปนขาบาทบริจาริกาใกลชิดกับยุคลบาทเปนของมีเกียรติทําใหบรรดาพอแมของสาวงามที่ไดรับ

คัดเลือกตางก็ว่ิงเตนติดสินบนพวกขันที แตเจียวกุนยากจนจึงมิไดมีการนําภาพวาดขึ้นถวาย

ใหทอดพระเนตร

Page 33: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

24

ตอมาพวกตาดไดกรีธาทัพมารุกรานจีน พระเจายวนต่ีฮองเตทรงกลัดกลุมพระทัย

จึงไดเสด็จไปพักผอนในอุทยาน และไดพบนางเจียวกุนกําลังเลนพิณอยู พระองคทรงพอพระทัย

มาก ทรงลุมหลงและแตงต้ังนางขึ้นเปนพระสนมเอก และทรงโปรดลงโทษขันทีที่ประพฤติตัวไมดี

แตขันทีผูนั้นไดหนีไปอยูกับพวกตาด และไปยุยงสงเสริมใหประมุขตาดเกิดความพอใจในรูปโฉม

ของนางเจียวกุน ถึงกับสงสาสนมาขอตัวนางโดยแลกเปลี่ยนกับการยกทัพกลับไป พระเจายวนต่ี

ฮองเตทรงกลัดกลุมพระทัยมากดวยความรักนาง แตเกรงกลัวอํานาจของพวกตาด ในท่ีสุด

นางเจียวกุนไดเปนผูกราบทูลใหฮองเตทรงเห็นแกอาณาประชาราษฎร จะไดอยูอยางรมเย็น

ไมเดือดรอน ดังนั้นควรสงนางไปใหพวกตาด แมนางจะมีความจงรักภักดีตอพระองคเทียบเทาฟา

และมหาสมุทรมารวมกัน แตนางตองเห็นแกแผนดินมากกวา ดวยเหตุนี้สนมเอกเจียวกุนจึงไดช่ือวา

เปนวีรสตรีแหงยุคผูรักสันติสุขใหแกประเทศชาติ เร่ืองราวของนางไดมีกลุมศิลปนช้ันครูอาจารย

ในสมัยนั้น ไดนําเร่ืองราวแหงชีวิตนางมาแกไขดัดแปลงแสดงเปนง้ิว ที่มีเร่ืองสัมพันธติดตอกัน

แบบนิยายและเนนหนักไปทางปลุกใจใหรักชาติ ซ่ึงเปนที่นิยมแกชาวจีนโดยทั่วไป ต้ังแตนั้นมา

การแสดงง้ิวอันมีตนกําเนิดมาจากการแสดงซูซู ของพวกตาด ก็ไดมีการแสดงเปนเร่ืองเปนราว

ตลอดมา

2. ง้ิวที่เกิดจากการแสดงของประเทศจีน ง้ิวชนิดนี้ไมไดรับอิทธิพลมาจากชนชาติใดๆ

เดิมง้ิวมีแตบทเจราจาเรียกวา ปอี้ ซ่ึงไมเพียงพอที่จะถายทอดอารมณสูผูดูไดเต็มที่ จึงตองนําเพลง

เขามาประกอบ คร้ันประชาชนเร่ิมเบื่อจึงผนวกระบํา รํา เตน เขาไวในกระบวนการแสดงดวย

ดังนั้นง้ิวจึงเปนการแสดงที่รวมเอาศิลปะแขนงตาง ๆ มาผสมกัน เพ่ือส่ือความหมายและอารมณสู

ประชาชน ง้ิวเกิดจากการรวมกันเตนบูชาเทพเจาการเกษตรของชาวจีนยุคโบราณ ตอมามีการเลือก

ตัวผูแสดงหรือผูเตนที่ดีทั้งชายและหญิงออกแสดงแทนคนซ่ึงมีมากมาย ในที่สุดก็เจริญขึ้นถึงขั้นมี

นักแสดงอาชีพ จุดประสงคของการเลนง้ิวก็เพ่ือบําเรอองคจักรพรรดิและขาราชบริพารตลอดจน

พลีเปนบูชา ง้ิวจึงเปนการแสดงที่จัดขึ้นหนาศาลเจา โดยแสดงใหคนดูหรือแสดงในที่ที่มีผูวาจางให

ไปแสดง

ยุคสมัยของการแสดงง้ิว

ยุคสมัยของการแสดงง้ิว แบงออกเปน 2 ยุค คือ

1. งิ้วที่แสดงในสมัยโบราณ ไดแก

1.1 งิ้วซาฉู การแสดงง้ิวซาฉูแบงเปน 4 ตอนตายตัวในแตละตอนตัวพระ (เซ็น)

ตัวนา(ต้ัน) จะผลัดกันออกมารองใชบท สวนตัวประกอบใชบทเจรจาเทานั้น แตถาพระนางจะตอง

Page 34: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

25

ออกมารองพรอมกันก็จะผลัดกันรอง นอกจากนี้ง้ิวตัวนําไมจําเปนตองเลนเปนตัวเดิมตลอดส่ีตอน

อาจแสดงเปนตัวอื่นได เพราะมีธรรมเนียมแนะนําตัวเองในแตละตอน เชนเดียวกับการแสดงลิเก

ของไทย การกําหนดเพลงง้ิวซาฉู จะมีทํานองเพลงในการแสดงตางๆ ไวเปนชุดๆ ในการรองเพลง

นั้นการรองคําเต็มมีจังหวะกระช้ัน การหยุดวรรคมีกําหนดตายตัว ไมแตเฉพาะระหวางประโยค คํา

ตอคํา แตเจาะจงถึงการหยุดแตละพยางคดวย ลักษณะของการรองใชแบบไกเฟง ซ่ึงเปนเมืองหลวง

ของราชวงศซอง และใชภาษาโอนาน การจบของง้ิวซาฉูชอบจบแบบเศราๆ จะเห็นไดวา

คุณลักษณะของง้ิวซาฉูนั้น เปนแบบเรียบๆ จืดและคอนขางกระดาง เปนการแสดงง้ิวที่นิยมกันมาก

ในสมัยราชวงศหยวน

1.2 งิ้วซิเวน ง้ิวชนิดนี้เปนง้ิวของฝายใตไมจํากัดความยาวของเร่ืองบางเร่ืองมีความ

ยาวประมาณ 40-50 ฉาก การรองไมจํากัดเฉพาะตัวเซ็นและต้ัน การรองนั้นจะรองนอยคําแตเอื้อน

มาก โดยเอื้อนตามเสียงขลุย จะหยุดวรรคถอนใจตรงใดไมกําหนด มีทั้งการรองเดี่ยวและหมูโดย

ตัวเองในตอนนั้นๆ การแนะนําตัวมีการแบงช้ันกันชัดเจน ในการรองจะมีการรายรําประกอบดนตรี

ที่ใชประกอบการแสดงง้ิวซิเวนนั้นใชกรับพวง เรียกวา ปน เปนเคร่ืองทําจังหวะ ขลุยเปนทํานอง

ดนตรี ง้ิวซิเวนจะมีลักษณะหวานร่ืนหู แตการเอื้อนท่ีมีลักษณะ ยืดยาวเปนเหตุใหเกิดความเส่ือม

เพราะฟงแลวเขาใจยาก (ล. เสถียรสุต, 2544, หนา 78)

1.3 งิ้วกุนชู เปนการแสดงง้ิวที่เกิดขึ้นในรัชกาล พระเจาเซียฉิง โดยครูดนตรี ช่ือ

ไว เหลียงฟูไดเปนผูประดิษฐขึ้น และใหช่ือวา กุนชู ตามนามพ้ืนเพเดิมของตน คือ กุนซานที่เปน

เมืองเล็กๆ ในนครเซียงไฮ ง้ิวชนิดนี้นิยมแสดงเร่ืองรักพิศวาส การแสดงใชกิริยาชดชอยนุมนวล

ประกอบการรองที่ออนหวานคลอดวยเสียงขลุย บทง้ิวกวา 600 เร่ืองที่มีอยูในปจจุบันนี้

1.4 งิ้วปฮวง เปนง้ิวท่ีเกิดขึ้นในสมัยพระเจาเตากวาง (พ.ศ. 2364-2391) มีลักษณะ

เปนการแสดงที่มีเนื้อเร่ืองหลายรส ไมเย่ินเยอ มีทํานองเรียบงายไพเราะเพลินหู และมีความ

กลมกลืน

2. งิ้วที่แสดงในปจจุบัน

2.1 งิ้วหลวง คือง้ิวประจําชาติของประเทศจีนที่เรียกกันวา จิงจว้ี หรือ กั๋วจว้ีเปนง้ิว

ที่มีมาตรฐานทั้งดานลีลาการรายรํา ทํานอง ดนตรี เนื้อหาในการแสดง การแตงกาย และ

การแตงหนาตัวละครทุกอยางเปนไปตามแบบแผนที่ครูง้ิวกําหนดไวแตโบราณอยางเครงครัด ภาษา

ที่ใชรองใชภาษาจีนกลาง ง้ิวหลวงนี้เนนความถูกตองในดานศิลปะการแสดง ความชํานาญของ

ตัวละครทําใหง้ิวชนิดนี้เปนเสมือนกระจกสะทอนใหเห็นถึงวัฒนธรรมจารีตประเพณีของคนจีน

ยุคโบราณไดอยางชัดเจน (พิมพรัตน นะวะศิริ, 2538, หนา 5)

Page 35: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

26

2.2 งิ้วแตจ๋ิว หรือไปจ้ือซี ใชภาษาแตจ๋ิว ผูแสดงมีทั้งเด็กและผูใหญ เปนที่นิยม

ที่สุดในปจจุบันนี้

2.3 งิ้วไหหลํา ใชบทพูดจีนไหหลํา มีลักษณะการแสดงคลายง้ิวงัวกัง

2.4 งิ้วกวางตุง ใชบทเจรจาเปนภาษาจีนกวางตุง มักนิยมแสดงตามศาลเจาในสมัย

โบราณง้ิวช้ันสูงนั้นนิยมใชผูชายแสดงลวน ตอมาไดมีการดัดแปลงเพ่ือเอาใจคนดู จึงใหผูหญิงเขา

แสดงรวมดวย ปจจุบันเทาที่แสดงอยูตามศาลเจาหรือตามโรงง้ิวถนนเยาวราช ก็ใชผูแสดงหญิงเปน

ตัวสําคัญหมด นอกจากบทตัวผูชายหรือตัวพอแกๆ ซ่ึงเปนตัวประกอบจึงใชผูชายแสดง

(อภิโชค แซโคว, 2541, หนา 17-18)

2.5 งิ้วปกกิ่ง การแสดงง้ิวชนิดนี้ถูกขนานนามวาเปน อุปรากรแหงบูรพา เพราะ

เกิดขึ้นในปกกิ่ง เรียกกันอีกอยางหนึ่งวา จิงจว้ี แปลเปนไทยวา ง้ิวปกกิ่ง ตนกําเนิดของง้ิวปกกิ่งมา

จากการแสดงง้ิวในทองถิ่นที่เรียกวา ฮุยปน เปนง้ิวที่เคยแสดงอยางแพรหลายในภาคใตของจีน เมื่อ

ศตวรรษที่ 18 เนื่องจาก ฮุยปน เคลื่อนยายไปแสดงตามท่ีตางๆ อยูเสมอจึงดูดซับเอาบทละครและ

ศิลปะการแสดงมาอยางรวดเร็ว และกลายเปนการแสดงง้ิวบนเวทีชนิดใหญท่ีสุดของจีน ง้ิวปกกิ่ง

เปนศิลปะการแสดงที่สมบูรณแบบ ไดรวมเอาศิลปะการขับรอง การพูด การแสดงลีลาการแสดง

ศิลปะการตอสู และ ระบํารําฟอน เขาไวดวยกัน รูปแบบการแตงหนาเปนศิลปะที่มีเอกลักษณ

ที่สําคัญที่สุดของง้ิวปกกิ่ง ความซ่ือสัตยกับความคดโกง ความงามกับความขี้เหร ความดีกับความช่ัว

และความสูงศักดิ์กับความตํ่าตอย เปนตน ตางก็แสดงใหเห็นไดโดยผานลวดลายในการแตงหนา

เชน สีแดงใชกับบุคคลที่มีความซ่ือสัตย สีมวงเปนสัญลักษณแหงความชาญฉลาด ความกลาหาญ

และความมีน้ําใจ สีดําสะทอนอุปนิสัยใจคอสูงสงที่ซ่ือตรง สีขาวบงบอกถึงความคดโกงและ

ความโหดเห้ียมของคนราย สีน้ําเงินแฝงไวดวยความหมายท่ีมีใจนักสูและเกงกลา สีเหลืองใชกับ

ตัวละครที่โหดรายทารุณ สวนสีทองกับสีเงิน มักจะใชกับตัวละครที่เปนเทวดาและภูตผีปศาจ

(สถานีวิทยุ ซี. อาร. ไอ ปกกิ่ง, 2550, หนา 4)

ลักษณะของการแสดงง้ิว

ลักษณะของการแสดงง้ิวโดยทั่วไป มีรูปแบบดังนี้

1. มักนิยมแสดงตามหนาศาลเจาตาง ๆ ในงานเทศกาลของแตละทองถิ่นท่ีจัดโดยคน

จีน

2. แนวความคิดเปนการผสมผสานระหวางลัทธิเตาและแนวคําสอนของขงจ้ือ

3. เนนเร่ืองความสัมพันธอันแนนแฟนในครอบครัวและหนาที่ที่มีตอกัน

4. เนนเร่ืองความสําคัญของสังคมที่มีเหนือบุคคล

Page 36: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

27

5. ถือวาความสุขเปนรางวัลของการทําความดี และความตายเปนการชําระลางบาป

6. ตัวละครเอกอาจจะตองตาย แตในฉากสุดทายผูที่ทําผิดตองไดรับโทษ

7. ถือวาฉากตายเปนฉากไคลแมกซ (Climax) ของเร่ือง

8. จะตองจบลงดวยขอคิดสอนใจ

9. ชนิดของละครมีทั้งโศกปนสุข ซ่ึงมักเนนเกี่ยวกับความกลาหาญ

10. ใชผูชายแสดงบทผูหญิงในสมัยโบราณ ปจจุบันใชชายจริงหญิงแทหรือใชผูหญิง

แสดงเปนตัวผูชายดวย

ธรรมเนียมนิยมในการแสดงง้ิว

1. เมื่อเปดฉากการแสดง จะมีผูแสดงออกมารําเบิกโรงไหวครูกอน โดยแตงกายเปนชุด

โปยเซียน

2. จะมีตัวง้ิว แตงเปนพระเจาถังเสวียนจง ซ่ึงถือวาเปนบรมครูของพวกง้ิวออกมากลาว

คําใหพร

3. เมื่อตัวละครออกมาแสดงตองแนะนําตนเองแกผูชม ประกาศช่ือแซบรรพบุรุษ

คุณสมบัตินักเลง หรือคนซ่ือสัตย

4. เสนสีบนใบหนา จะแสดงถึงอายุ อารมณ และลักษณะพิเศษของตัวละครเส้ือผา

อาภรณหรูหรา ใชสีตัดกันหลายสี

5. การแสดงง้ิวของไทยในปจจุบันการแสดงแบงเปน 3 ชวงคือ ชวงแรกจะแสดงเปน

ง้ิวบู ชวงที่สองเปนง้ิวเพลง ชวงที่สามเปนการแสดงง้ิวเร่ืองยาว

6. มีความเช่ือเกี่ยวกับโชคลาง กลาวกันวา หามนําปูทะเลขึ้นไปบนเวทีแสดงเปนอัน

ขาด เพราะเช่ือวาเจาของคณะจะตองตายไปเพราะถูกปูทะเลหนีบ แมแตคนนุงกระโปรง ลูกหมา

ลูกแมวก็หามขึ้นบนเวทีผานหนาเจา พวกง้ิวกลัววาผานแลวเจาจะหนี แตปจจุบันความเช่ือบางอยาง

ก็ ไมเครงครัด เหมือนสมัยโบราณ

บทบาทในการแสดงง้ิว

บทบาทในการแสดงง้ิวแบงเปน 4 อยาง คือ

1. บทบาทตัวละครชาย (เซิง)

1.1 เลาเซิง คือ ตัวแสดงฝายชายที่มีอายุมากและไวเครา เรียกวา พระเอกแก

Page 37: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

28

1.2 เส่ียวเซิง คือ ตัวแสดงฝายชายท่ียังหนุม เรียกวาพระเอกหนุม จะตองเปนผูที่มี

ใบหนาคมคาย ไมมีเครา แตงกายสะอาดเรียบรอย การขับรองใชเสียงสูงอันเปนการแสดงออกถึง

ความหนุมแนนของตัวแสดง

1.3 เหวินเซิง คือ ผูแสดงบทบาทของพระเอกฝายพลเรือนหรือพระเอกฝายบุนจะมี

บทบาทเรียบ ๆ ไมโลดโผน แตตองมีความสามารถในดานการขับรองสูง จะตองขับรองไดท้ังเสียง

สูง เสียงตํ่าและขับรองไดหลากหลายลักษณะทั้งในทํานองเศรา ร่ืนเริงและโกรธแคน

1.4 อูเซิง คือ พระเอกฝายบูจะตองเปนผูที่แสดงบทบาทโลดโผน มีการหกคะเมนตี

ลังกา สูรบเกง

ภาพที่ 2.7 ภาพบทบาทตัวละครเปาบุนจ้ิน

ที่มา : ถปรร, 2551, เว็ปไซต

2. บทบาทตัวละครหญิง (ต้ัน)

อภิโชค แซโคว (2541, หนา 53-56) อธิบายวา ต้ันในภาษาจีนหมายถึงการแสดง

เลียนแบบผูหญิงหรือการแสดงในบทบาทของผูหญิง การท่ีใชคําวา ต้ัน เรียกตัวแสดงผูหญิงของง้ิว

นั้น เพราะในสมัยโบราณหามใหชายกับหญิงแสดงรวมบนเวทีเดียวกันจะตองแยกเพศหนึ่งออกจาก

เพศหนึ่ง มิใหปะปนกันเพ่ือรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอยางเครงครัด ดังนั้นจึงไดมีการฝกหัด

ชายใหแสดงเปนตัวผูหญิง ปจจุบันใชผูแสดงที่เปนชายจริงหญิงแท แบงเปนได 5 ประเภท คือ ชิงอี้

ฮัวต้ัน ไซต้ัน เลาต้ัน และอูต้ัน บทบาททั้งหานี้มีความหมายตางกัน คือ

Page 38: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

29

2.1 ชิงอี้ นางเอกเรียบรอยเงียบขรึม เปนตัวละครที่มีบทบาทของแมบานที่ดี ภรรยา

ที่ซ่ือสัตยเปนบุตรที่เช่ือฟงบิดามารดา บทบาทนี้เนนที่การขับรองเปนสวนใหญ ไมมีการตอสูหรือ

แสดงบทบาทโลดโผน

2.2 ฮัวต้ัน นางเอกท่ีมีชีวิตชีวา สนุกสนาน เหลวไหลเสเพล เปนบทบาทหญิงสาว

ที่มีชีวิตสดใสราเริง เนนบทบาทการแสดงออกเปนสําคัญ การเคลื่อนไหวทุกลีลา ตองมีชีวิตเต็มไป

ดวยเสนห ผูแสดงจะขับรองและเจรจาโดยใชน้ําเสียงระดับกลางขบขันและนาชิงชัง

2.3 ไซต้ัน นางเอกที่มีอารมณขันนาชิงชัง เปนบทบาทที่ผูแสดงตองมีอารมณขบขัน

และนาชิงชัง ในบทบาทของเธอตองเต็มไปดวยความเจาเลห แสดงใหเห็นถึงความมีมายาและพิษสง

รอบดาน

2.4 อูต้ัน นางเอกที่มีฝมือในการตอสูปองกันตัวหรือนางเอกบู มีความเกงกาจ

ในขณะเดียวกันก็มีความงามแฝงอยู มีการเคลื่อนไหวในลีลาพร้ิวไหว กระฉับกระเฉงเพราะ

ตัวละคร ตองแสดงบทบาทตอสูในสงคราม ซ่ึงแสดงไดยากสุด

2.5 เลาต้ัน หรือนางเอกชราที่มีอายุมาก นักแสดงตองแสดงในลักษณะที่เปน

ธรรรมชาติ ผูแสดงจะตองถือไมเทาแบบคนแกใจดีมีเมตตากรุณา กมศีรษะตํ่าๆ เดินหลังคู บางคร้ัง

ตองถือไมเทาออกมาแสดง

3. บทบาทตัวละครหนาลาย (จ้ิง)

ผูแสดงบทนี้ตองตกแตงใบหนาดวยสีสันในลักษณะ ตาง ๆ เรียกอีกอยางหนึ่งวา ฮัว

เหลียน (ระบายหนา) ผูแสดงตองมีรูปรางล่ําสัน ตัวใหญ น้ําสียงหาว ทรงอํานาจ เคลื่อนไหวดวย

ความสงาผาเผย มีความสามารถในการเลนกายกรรมตอสู หรือ มีการแสดงออกในลักษณะทหาร

4. บทบาทตัวละครตัวตลก (โฉว)

ถือเปนตัวละครที่มีความสําคัญมากของคณะง้ิว เพราะผูที่รับบทตลกจะตองเปนคนมี

พรสวรรคมีประสบการณสูง รูจักสรางสถานการณใหมีความสนุกสนาน บทบาทของตัวตลกแบง

ไดดังนี้ คือ ตัวตลกผูหญิง (โฉว ต้ัน ) ตลกชาย (โฉว) มี 2 ประเภทคือ ตลกฝายบุน เรียกวา

เว่ินโฉว และตลกฝายบูเรียกวาอูไหวผูแสดงบทบาทตลกจะตองระบายสีท่ีหนา โดยระบายสีขาวที่

จมูกตกแตงดวยเสนสีดําใหรูวาเปนตัวตลก นอกจากนั้น ก็ยังมีการเขียนลวดลายอื่น ๆ ท่ีนิยมมาก

คือ รูปผีเส้ือ หนาที่ตัวตลกคือ การแสดงเพ่ือเรียกเสียงหัวเราะจากผูชม ดังนั้นลวดลายบนใบหนา

ตองเปนลวดลายแปลกๆ ใชสีสันสดใส ถาเปนตลกฝายบู จะตองแสดงออกซ่ึงอารมณขันใหปรากฏ

แกผูชมดวย (นิตยา ชวี, 2546, หนา 10)

Page 39: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

30

เวที

การแสดงง้ิวสวนมากจะแสดงบนเวทียกพ้ืนสูงประมาณ 1.20 เมตร มีหลืบสําหรับเปน

ทางเขาออกของผูแสดง มีฉากหลังและกรอบหนาเวที ดานขางของเวทีสวนหนึ่งจะใชเปนที่

วางเคร่ืองดนตรีสําหรับใชบรรเลง ไมมีการตกแตงฉาก แตจะมีอุปกรณเทาท่ีจําเปน และอุปกรณ

เหลานั้นก็อาจจะเปนสัญลักษณของส่ิงอื่น ๆ เชน เกาอี้แทนภูเขา ธงสีเหลืองมีลอตรงกลาง 2 อัน

จะเปนรถศึก ธงที่มีเสน 4 หยักแทนแมน้ํา เมื่อตัวละครจะแสดงเปนวิญญาณเขาก็จะเอาผาคลุม

ศรีษะบนเวที อุปกรณเหลานี้จะมีคนแตงตัวชุดดําเอาออกมาวางให โดยคนดูตองถือวามองไมเห็น

ตัว

บทละครท่ีใชแสดง

ในสมัยโบราณบทละครที่ใชแสดง เชน เร่ือง ไซซี(หองทิศตะวันตก) แตงโดยเฮงชิตโพย

สามกก ไซอิ๋ว ดอกบวยในแจกันทอง ปจจุบันนี้ไดมีการพัฒนาแตงบทละครท่ีใชแสดงง้ิวใหเปน

ที่ถูกใจผูชมมากย่ิงขึ้น เชน เหมย หลานฟง ซ่ึงเปนนักแสดงง้ิวที่มีช่ือเสียงไดแตงบทง้ิวไวหลายเร่ือง

เชน นางงูขาว คุณหญิงดอกมณฑา นางงามน้ําจัณฑ การแกแคนของชาวประมง มู กุยหยิง

รับบัญชาทางผานฟางเจียง คุณนายฉางอีเหาะไปดวงจันทร เทพธิดาแหงทะเลสาปสีฟา มนตรักธนู

เหล็ก เปนตน (ป. รัตนปญญา, 2536, หนา 70)

เคร่ืองแตงกาย

มาลินี ดิลกวณิช (2543, หนา 143 ) ไดอธิบายลักษณะเคร่ืองแตงกายของง้ิวไวสรุปได

ดังนี้เส้ือผาจะมีลักษณะรุมรามแขนยาว ลําตัวยาวจรดปลายเทา ตัดดวยเนื้อผาที่มันวูบวาบ หลากสีดู

งดงาม ในการแตงกายจะบอกใหผูชมทราบถึงฐานะของตัวละคร นอกจากนั้นยังมีการปกดวย

เสนทองและเงินเปนรูปตาง ๆ ที่สวยงาม และมีความหมาย เชน มังกร หงส เมฆ คลื่น เปนตน

การใชเคร่ืองแตงกายของจีนมีกฎเกณฑที่เขมงวดมาก ตองใชใหสอดคลองกับสถานภาพ บุคลิกภาพ

ของตัวละครที่แสดง ศิราภรณหรือมงกุฎที่สวมใสของผูแสดงบทบาทนั้น ตองมีความสงางาม

หมวกธรรมดาสําหรับตัวละครบางตัว อาจมีความงามกวามงกุฎที่ไดรับการตกแตงอยางหรูหรา

การแตงหนา

การแตงหนาหรือการวาดหนาง้ิว เปนองคประกอบที่สําคัญมากของอุปรากรจีน กลาวได

วาเปนเอกลักษณเฉพาะตัวของง้ิวทีเดียว ตัวละครทุกตัวกอนออกแสดง นอกจากแตงตัวใสเส้ือผา

Page 40: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

31

เคร่ืองประดับแลว ตองดูแลการแตงหนาดวยตัวเองทุกคน ตัวละครแตละบทแตละประเภทมีสูตร

การแตงหนาของตน การแตงหนาง้ิวทั่วไปนั้น วิภา จิรภาไพศาล (2548, หนา 34) ไดกลาววา

“แกมตองเปนลูกทอ จมูกตองเปนลูกแอพริคอตหรือมะปราง คิ้วตัวนางตองเปนคิ้วหลิว

เพราะเสนหของผูหญิงอยูที่คิ้วและตา เมื่อผูหญิงโบราณพูดกับผูชายไมได อาวุธของผูหญิงก็คือ

คิ้วและตา จึงตองบรรจงเขียนใหสวยแลวสะบัดอารมณจากปลายคิ้วเหมือนกิ่งหลิวสะบัดออกไป

สวนตัวพระตองขึงขัง คิ้วตองเปนคิ้วดาบ โดยตาตองเปนตาหงสทั้งคู ปากเปนลูกเชอร่ี ภายหลัง

เปรียบเทียบเปนปากกระจับ สวนรูปหนาที่ดีตองเปนรูปไขจะแตงหนาง้ิวไดสวยเพราะ “มีคางรับ”

สําหรับประเภทตัวละครวาดหนาหรือจ้ิง ตองรูเทคนิคการละเลงสีตางๆ บนใบหนา

รูกฎเกณฑของการใชสี และรู เทคนิคและหลักของการวาดลายเสน ตลอดจนลวดลายตางๆ

บนใบหนา การวาดลวดลายบนใบหนา มีต้ังแตลวดลายเรียบงายไปจนถึงลวดลายท่ีสลับซับซอน

ไมมีผูใดทราบอยางแนชัดวาการวาดลวดลายบนใบหนาแบบง้ิวนี้มีความเปนมาท่ีแทจริงอยางไร

ทราบแตเพียงวาเร่ิมปฏิบัติมาต้ังแตสมัยราชวงศหมิง มีผูเปรียบเทียบเกี่ยวกับความแตกตางระหวาง

ตัวละครวาดหนา กับประเภทที่ไมวาดหนาวา การจะระบุวาตัวละครใดสมควรจะเปนตัวละคร

ที่วาดหนานั้น ใหดูที่อุปนิสัยเดนของตัวละครนั้น หากมีลักษณะที่เปนไปในดานลบก็จะเขาขายอยู

ในกลุมวาดหนา เพราะการวาดหนาเปนสัญลักษณของการอําพรางปกปดขอเสีย หรือความไมดี

บางอยาง สวนตัวที่ไมวาดหนาโดยทั่วไปเปนตัวละครที่มีความสําคัญสํานึกผิดชอบช่ัวดี และมี

คุณธรรมระดับที่สูงกวา (มา นามแฝง, 2544, หนา ฉ)

ภาพที่ 2.8 ภาพขั้นตอนการวาดหนาของตัวละครประเภทจ้ิง

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 150

Page 41: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

32

ภาพที่ 2.9 ภาพขั้นตอนการวาดหนาของตัวละครประเภทจ้ิง

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 150

เคร่ืองดนตรี

เคร่ืองดนตรีที่ใชบรรเลงประกอบการแสดงง้ิว แบงออกไปเปน 2 ประเภทคือ ประเภทที่

บรรเลงดวยการดีด สี และเปา ซ่ึงมีช่ือเรียกวา เหวิน และประเภทท่ีประกอบไปดวยเคร่ืองตี และ

เคร่ืองกระทบตางๆ มีช่ือเรียกวา หวู

1. ชนิดของเครื่องดนตรีประเภทดีด สี และเปา (เหวิน) ไดแก

1.1 ซอดวง หรือที่เรียกวา จิงฮู เปนเคร่ืองดนตรีที่ใชบรรเลงคลอไปกับการขับรอง

1.2 ซออู หรือที่เรียกวา เออ ฮู เปนเคร่ืองดนตรีชนิดสายท่ีมีลักษณะคลายกับซอ

ดวง แตมีระดับเสียงตํ่ากวามาก ซออูใชบรรเลงประกอบกับซอดวง และบรรเลงคลอกับการขับรอง

1.3 ซอส่ีสาย ส่ี ฮู เปนเคร่ืองดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่ใชบรรเลงประกบกับการรอง

ของตัวละคร ลักษณะคลายกับซออู จะตางเพียงแตสายส่ีเสนเทานั้น สวนอื่น ๆ นอกนั้นเหมือนกัน

หมด

1.4 แมนโดลินเดือน เปนเคร่ืองดนตรีที่ใชบรรเลงโดยการดีด มีลักษณะ

คลายกีตารยอสวน ใชบรรเลงควบคูไปกับซอดวง เปนการคลอไปกับการรองของตัวละคร

1.5 น้ําเตาส่ีสาย หรือปปา เปนเคร่ืองดนตรีประเภทดีด มีเสียงทุม นุมนวล

Page 42: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

33

1.6 น้ําเตาสามสาย หรือเสียน ซี เปนเคร่ืองดนตรีประเภทดีดอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช

บรรเลงในการแสดงง้ิว มีระดับเสียงคอนขางสูง คลอไปกับการขับรองของตัวละคร

1.7 ขลุยจีน หรือ ต้ีซี เปนเคร่ืองดนตรีเปาที่ทําดวยไมไผ มีรูแปดรู การเลน เคร่ือง

ดนตรีชนิดนี้ใชวิธีการผิว โดยวางขลุยใหอยูในแนวขนานกับปาก

1.8 ปจีน หรือ ซู หนา สวนใหญใชบรรเลงเดี่ยว บางโอกาสก็บรรเลงประกอบกับ

การขับรองของตัวละคร

2. เครื่องดนตรีประเภทตีและกระทบใหเกิดเสียง (หวู)

2.1 กรับ หรือปน เปนเคร่ืองดนตรีหลักที่ใชในการแสดงง้ิวที่คอยใหจังหวะ

2.2 กลองเล็ก หรือ เซ่ียว กู เปนเคร่ืองดนตรีที่คอยใหจังหวะอีกชนิดหนึ่ง

2.3 กลองใหญ เปนเคร่ืองดนตรีที่ใชบรรเลงในการแสดงง้ิว ชวงสงครามหรือ

การตอสู

2.4 ฆอง หรือโล ใชตีเมื่อจะเร่ิมบรรเลงเคร่ืองดนตรีชนิดอื่น

2.5 ฆองเล็ก หรือ เ ซียว โล มีลักษณะเหมือนกับฆองใหญ ใช ตีสลับกับ

เคร่ืองดนตรีชนิดใหญๆ

2.6 ฆองเกาเสียง หรือ เจียว หยิน ลู ใชเพ่ือการควบคุมจังหวะของวงดนตรีและ

ใชบรรเลงควบคูไปกับเคร่ืองดนตรีประเภทอื่นๆ

2.7 ฉาบ หรือ โน เคร่ืองดนตรีชนิดนี้มีลักษณะเหมือนฉาบของเคร่ืองดนตรีสากล

ทําดวยทองเหลือง

2.8 ฉ่ิง ใชบรรเลงควบคูไปกับเคร่ืองดนตรีชนิดอื่น

โอกาสที่ใชแสดง แสดงในราชสํานัก ตามศาลเจาและงานเทศกาลตาง ๆ

สรุป

ศิลปะการรายรําของจีน มีความสลับซับซอนเพราะเปนวัฒนธรรมที่เกาแกโบราณ แตก็

ไดมีการพัฒนามาอยางตอเนื่อง ทําใหการรายรําของจีนเจริญรุงเรืองมาจนถึงปจจุบัน ชาวนา

เกษตรกร และพระมหาจักรพรรดิไดรวมมือกันในการพัฒนาทฤษฏีวิชาการรายรํา ที่เปนการแสดง

แบบ คลาสสิคขึ้นมาจนเปนศิลปท่ีย่ิงใหญมากวา 6,000 ป การรายรําของจีนเปนสวนหนึ่งของ

ชีวิตประจําวันที่มีมาต้ังแตยุคเร่ิมตนอารยธรรม พ้ืนฐานศิลปะการรายรําของจีนจะเปนศิลปะของ

การกระโดด และการเคลื่อนไหว ปจจุบันการแสดงของจีนจะส่ือใหผูชมไดรับรูในเร่ืองจิตวิญญาณ

ของการรายรํา

ในสมัยราชวงศฉางและราชวงศโจวมีการรายรําอยู 2 ชนิดคือ การรายรําท่ีมาจากความ

เช่ือทางศาสนาและการทหาร โดยผูรําในสมัยนั้นจะถืออาวุธหรืออุปกรณตางๆ ใหมีลักษณะ

Page 43: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

34

เหมือนกับกองทัพ นอกจากนั้นการรายรําของชาวนา มักเกี่ยวของกับวิถีช ีวิตซ่ึงคนจีนทางเหนือจะ

เรียกวารําแยงกี้ ซ่ึงแสดงในเวลาวางจากการทํานา การแสดงชนิดนี้ไดนําแนวคิดของขงจ๊ือมาปรับ

ใชในการแสดง คือ เนนในเร่ืองขนบธรรมเนียมประเพณีจีนแตเดิม ที่หามผูหญิงกับผูชายไมควร

ใกลชิดกัน

1การแสดงของจีนไดรับการพัฒนาเร่ือยมาจนถึงสมัยราชวงศถัง มีการต้ังสถาบัน

นาฏศิลปและการดนตรี เมื่อจีนเปดประเทศรับอารยธรรมสมัยใหมเขามา ทําใหรูปแบบศิลปะการ

รายรําและปรัชญาในการนําเสนอเปลี่ยนแปลงหลากหลายมากย่ิงขึ้น ลีลอนจิ เปนจักรพรรดิที่

ย่ิงใหญ เปนศิลปน เปนนักประพันธ ที่มีความรูความสามารถ ไดทรงประพันธบทเพลงแหงความ

เศราโศกเพ่ือรําลึกถึง บาย ยู ยี นางผูที่เปนที่รัก และมอบหมายใหเหลาศิลปนไปประดิษฐทารํา

ประกอบการแสดงนิชแชงยิวยี การรายรําชนิดนี้มีความคลายคลึงกับบัลเลต แตจะแตกตางกันใน

การเคลื่อนไหวรางกายและ การแตงกายซ่ึงยังเปนวัฒนธรรมของจีน

ในสมัยราชวงศถัง การแสดงง้ิวมีความเจริญรุงเรืองมาก เพราะมีพระมหากษัตริยเปน

องคอุปถัมภ ไดทรงปรับปรุงลีลาทารําตาง ๆ จนกลาวไดวาพระองคทรงเปนปรมาจารยแหงการ

แสดงง้ิว ตอมาในสมัยราชวงศหยวนอุปรากรจีนไดเติบโตเปนละครเต็มรูปแบบ มีการแตงบทง้ิว

ขึ้นใหม สมัยนี้นับเปนยุคทองของง้ิวอาชีพ ตอมาการแสดงง้ิวไดเร่ิมแยกตัวออกไปเปนแบบตางๆ

ไดแก 1.ง้ิว ซาฉู 2.ง้ิวซิเวน 3.ง้ิวกุนชู 4.ง้ิวปฮวง ตอมาจีนเกิดการปฏิวัติอยูภายใตการปกครอง

ของคอมมิวนิสต ง้ิวกลายเปนเคร่ืองมือของรัฐบาล ตอมาไดรับอิทธิพลจากทางตะวันตก แตง้ิวก็ยัง

ยึดมั่นในประเพณีเดิม นับไดวาง้ิวเปนศิลปะการแสดงที่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตลอดเวลา

เคร่ืองแตงกายง้ิวจะมีลักษณะรุมราม แขนยาว ตัวยาวจรดปลายเทา ตัดดวยเนื้อผาวูบวาบ หลากสี

งดงาม บอกถึงฐานะ ตําแหนงของตัวละคร เคร่ืองดนตรีที่ใชประกอบการแสดง แบงเปน 2

ประเภทคือ ประเภทที่บรรเลงดวยการดีด สี เปา ไดแก ซอดวง ซออู ซอส่ีสาย แมนโดลินเดือน

น้ําเตาส่ีสาย น้ําเตาสามสาย ขลุยจีน ปจีน และประเภทที่เปนเคร่ืองตีและเคร่ืองกระทบ ไดแก กรับ

กลองเล็ก กลองใหญ ฆอง ฉาบ ฉ่ิง เปนตน

คําถามทบทวน

1. ในสมัยโบราณการแสดงง้ิวยุคใด ท่ีถือวาเปนยุคทองของง้ิวอาชีพ จงอธิบายมาให

เขาใจ

2. จากหลักฐานที่กลาววา ง้ิวมีกําเนิดมาจากการแสดงของชาวตาด หมายถึงอะไร

3. นางเจียวกุน ไดช่ือวาเปนวีรสตรีแหงยุคผูรักสันติสุข หมายความวาอะไร

4. การแสดงง้ิวในสมัยโบราณ มีกี่ประเภท อะไรบาง

5. จงวิเคราะหลักษณะเดนของการแสดงง้ิวปกกิ่งมาใหเขาใจ

Page 44: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

35

6. มีส่ิงใดที่การแสดงง้ิวในปจจุบันยังคงอนุรักษไวอยางเครงครัด เพราะเหตุใดจึงให

ความสําคัญกับส่ิงเหลานั้น

7. บทละครที่นิยมมาใชแสดงง้ิวในสมัยโบราณ มีช่ืออะไรบาง จงบอกมา 5 ขอ

8. เคร่ืองดนตรีที่ใชในการแสดงง้ิว ประเภท ดีด สี ตี และเปามีอะไรบาง และใชใน

โอกาสใด

9. นาฎศิลปจีน มีกําเนิดมาจากอะไร

10. จงวิเคราะหรูปแบบการแตงกายผูแสดงง้ิวที่แสดงเปนฮองเตมาใหเขาใจ

Page 45: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

36

เอกสารอางอิง

จันทรา ทองสมัคร. (2542). พัฒนาการประวัติศาสตรสาธารณรัฐประชาชนจีน. นครศรีธรรมราช

: สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ถปรร.(2551). อุปรากรจีน. คนเมื่อ 24 กุมภาพันธ 2551, จากhttp://www.bloggang.com/viewdiary.

นิตยา ชวี. (2546). อารยธรรมจีน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.

ป. รัตนปญญา. (2536). ชุดเที่ยวเมืองจีน ตอน “งิ้ว”. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร.

พันทิพา มาลา. (2528). นาฏศิลปเปรียบเทียบ-การวิจารณละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครู

พระนครศรีอยุธยา.

พิมพรัตน นะวะศิริ. (2538). นาฏศิลปของสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพ : คณะศิลปกรรม

ศาสตร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

มา (นามแฝง). (2544, กรกฎาคม). แตงหนาง้ิว. พลอยแกมเพชร, (10), 222-225.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําและละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

เรวดี คงสุวรรณ. (ม.ป.ป). นาฏศิลปประจําชาติจีน "งิ้ว". ม.ป.ท. อัดสําเนา.

ล. เสถียรสุต. (2544). ประวัติวัฒนธรรมจีน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วิภา จิรภาไพศาล. (2548, พฤษภาคม). “ง้ิว” โอเปรา (แฝงคุณธรรม) ตะวันออก ละครรองที่

UNESCO ยกยองเปนมรดกโลก. ศิลปวัฒนธรรม, (26), 32-39.

สถานีวิทยุ ซี. อาร. ไอ ปกกิ่ง. (2550). ตัวละครในงิ้วปกกิ่ง. คนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2550, จาก

http://www. thai.cri.cn/ chinaabc/chapter 19/ chapter 190102. htm.

สุรพล วิรุฬหรักษ. (2548, มิถุนายน–กันยายน). ง้ิว. ราชบัณฑิตยสถาน, (25), 224-228

อภิโชค แซโคว. (2541). งิ้ว. กรุงเทพฯ : คอมแพคทพร้ินท.

Hongtu Real Estate Development Company. (2009). Big Drum Dance. Retrieved September 14,

2009, from http://www.taraditions.cultural-china.com/en/17 traditious 3443.html

_______. (2009). Wooden Dance Drum of The Wa Minority. Retrieved September 14, 2009,

from http://www.taraditions.culturalchina.com/en/17 traditious 3443.html

Margolin, Y. (2003). Dance history of China. Retrieved August 1, 2009, from http://www.

Isracldance.co.il/dance-history-of-china.htm.

Qiu, H. & Zhohgmin, Lu. (2009). Yangge and Waist Drum Dance. Retrieved March 1, 2009,

from http://www.chiavista.com/experience/yangge/yangge.html.

Page 46: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

37

The Culture of China. (1998) Chinese dance. Retrieved September 4, 2009, from http://library.

Thinkquest.org/20443/dance.htm

Page 47: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 3

การแสดงนาฏศิลปและละครของเกาหลี

เดิมทีเกาหลีถูกเขาใจวาเปนเพียงสะพานการเผยแพรวัฒนธรรมของชาวจีนไปสูญี่ปุน

ฉะนั้นศิลปวัฒนธรรมตางๆ ก็มิได เปนเอกลักษณของตนเองอยางแทจริง ทั้งนี้ เพราะกอนที่

วัฒนธรรมเหลานี้จะผานไปยังประเทศจีนก็คงจะตกหลนอยูในประเทศเกาหลีบาง แตปจจุบันเปนที่

ยอมรับกันแลววา ศิลปะตาง ๆ โดยเฉพาะการฟอนรําและดนตรี มิไดมีตนตอแหลงกําเนิดมาจาก

ประเทศจีนเทานั้น แตมีหลายส่ิงหลายอยางท่ีเกิดจากมันสมองของสายเลือดชาวเกาหลีโดยแทจริง

ทั้งยังเผยแพรออกไปยังทางตะวันตกและทางตะวันออกอีกดวย โดยเฉพาะการฟอนรําประกอบ

ดนตรีที่มีลีลาออนชอยงดงาม แสดงใหเห็นถึงสภาพความรูสึกท่ีออกจากใจ เปนการแสดงถึง

อุปนิสัยอันราเริงและละเอียดออน ในขณะเดียวกันก็เครงครัดในสถาบันกษัตริยและศาสนาท่ีมีมา

อยางไมเส่ือมคลาย ในบทนี้จะไดกลาวถึงประวัติความเปนมา วิธีแสดงนาฎศิลปและละครท่ีเปน

เอกลักษณของเกาหลี รวมทั้งเคร่ืองดนตรีที่ใชประกอบในการแสดง

ประวัติความเปนมา

การแสดงระบํารําฟอนในเกาหลีนั้น ไดรับการพัฒนาปรับปรุงมาพรอม ๆ กับการเลน

ดนตรีของชนเผาตางๆ ละครเกาหลีเร่ิมขึ้นในศตวรรษที่ 3 ในสมัยกอนจะมีการเตนรําเพ่ือ

บวงสรวงเทพยดาอารักษ โดยจัดแสดงปละ 2 คร้ังคือ ในเดือนพฤษภาคมซ่ึงเปนฤดูไถหวาน และ

เดือนตุลาคมซ่ึงเปนฤดูเก็บเกี่ยวหรือเปนระบําปลุกใจในยามสงครามเพ่ือใหกําลังใจแกนักรบ

พิธีกรรมทางศาสนา การรองรําทําเพลงในหมูชนช้ันกรรมาชีพ เปนตน การเตนรําดังกลาวนี้เปน

การแสดงออกตามธรรมชาติ โดยอาศัยการเคลื่อนไหวของแขน ขาและไหล โดยไมมีแบบแผน

และลักษณะของการแสดงระบํารําฟอน เมื่ออารยธรรมไดเจริญกาวหนาไปมากย่ิงขึ้นก็ไดมี

การพัฒนารูปแบบการเตนรําใหสมบูรณแบบโดยจัดใหเปนระเบียบขึ้น

การแสดงระบํารําฟอนในราชสํานักนั้น จะกระทํากันในลักษณะท่ีสมบูรณ มีแบบแผน

มีหลักเกณฑ การเคลื่อนไหวตางๆเปนไปอยางคงท่ีชาๆ และผูแสดงท่ีแสดงเปนอาชีพจะสวมใส

เคร่ืองแตงกายที่ทําขึ้นเปนพิเศษ นักแสดงเหลานี้โดยปกติแลวจะแสดงเพ่ือความบันเทิงของกษัตริย

และเช้ือพระวงศ เมื่อทรงจัดงานพระราชทานเลี้ยงขึ้นในโอกาสสําคัญ เชน งานพิธีอุทิศปูชนีย

สถานและสถานที่สําคัญตางๆ นอกจากนี้แลวในเกาหลียังมีระบํา รําฟอนท่ีจัดขึ้นเพ่ือความบันเทิง

ใจโดยเฉพาะ เพ่ือแสดงอารมณออกมาใหเห็นเดนชัด เชน การเตนรําของพวกกีเซง (หญิงท่ีใหการ

บริการดานบันเทิง) มีลักษณะแคลวคลอง รวดเร็วและแสดงทาทีขวยเขินนาชม การเตนเนนหนัก

Page 48: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

38

ที่การเคลื่อนไหวของแขนและขาที่โคงเขาออกอยางสวยงาม นําเอาลักษณะดึงดูดเยายวนใจออกมา

ใชประโยชนอยางเต็มที่ (สํานักงานแถลงขาวเกาหลี, 2517, หนา 140)

การเตนรําอีกชนิดหนึ่งที่นักเตนรําอาชีพไดนําแบบอยางมาใชคือ การเตนรําของนางชี

ซ่ึงเปนการแสดงที่บงบอกถึงความศรัทธาในศาสนาอยางแนนแฟนจริงจัง และปลาบปลื้มยินดีจาก

การปฏิบัติทางศาสนา สําหรับผูคนในชนบทนั้นโดยปกติจะเตนรํากันเปนรูปวงกลมใหญ

ในโอกาสที่มีงานฉลองร่ืนเริงกัน เชน หลังจากการเก็บเกี่ยวพืชผลหรือการจับปลาไดเปนจํานวน

มาก หรือเมื่อพนอันตรายจากน้ําทวม อากาศแหงแลงจัด ซ่ึงเปนการแสดงถึงความรูสึกราเริงยินดี

ซ่ึงก็เปนแนวคิดแบบเดียวกันกับชาวชนบทในตะวันตก แตในแงรูปลักษณะจะเห็นวามีความ

แตกตางกันมาก

การเตนรําของเกาหลีแตละแบบนั้นจะมีลักษณะเปนของตนเองและผูแสดงตองมีฝมือ

ความสามารถสูง จึงจะทําใหการแสดงนั้นดีเดนขึ้นได ในประเทศเกาหลีนั้นมีนักเตนระบําปลายเทา

ทั้งแบบคลาสสิคและสมัยใหมอยูเปนจํานวนมาก รวมทั้งนักเตนรําสมัยใหมดวยแตนักเตนรําแบบ

ประเพณีเดิมของชาวเกาหลีก็มีอยูจํานวนมากเทา ๆ กันหรืออาจมากกวา ปจจุบันนี้ในเกาหลีมี

สถาบันสอนการเตนรําคลาสสิคดั้งเดิมอยูหลายแหง การเตนรําในแบบแผนประเพณีเดิมปรากฏวา

เปนที่ช่ืนชอบและพอใจแกชาวตางประเทศเปนจํานวนมาก กวาการแสดงแบบอื่น ๆ

ชาวเกาหลีชอบดูละครกันมาก ในสมัยแรก ๆ ละครที่ชอบดูคือ การแสดงละครแบบ

อุปรากรบรรยายเร่ืองราวของนักรบที่เรียกวา ปนโซรี ซ่ึงใชผูแสดงเพียง 2 คน คือ ผูรองเพลงและ

คนตีกลองเทานั้น นอกจากนั้นก็จะเปนการแสดงละครแบบโขนซ่ึงเปนที่ช่ืนชอบของชาวเกาหลีมา

แตโบราณ การแสดงชนิดนี้อาจมีฉากเดียวหรือหลายฉาก เนื้อเร่ืองสวนใหญมุงกระทบกระแทก

เสียดสีชนช้ันปกครอง หรือกระทบบรรดาภิกษุที่ประพฤติตนเส่ือมทราม รวมทั้งเปนการแสดง

ความคิดเห็นในลักษณะตาง ๆ นอกจากนั้นก็จะมีระบําหนากาก การแสดงพันโซริ (เพลงนิทาน)

การเลนหุน หรือ กกดูถักซิโนรึม เปนตน

คริสศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนานาฏศิลปสมัยใหมในเกาหลีอยางกวางขวาง โจ แทก

วอน และซอย ซึง ฮี เปนผูริเร่ิมในชวงที่ตกเปนอาณานิคมของญี่ปุน ตอมาในยุคท่ีไดรับอิสรภาพ

บริษัทโซล บัลเลต ไดกอต้ังขึ้นในป ค.ศ.1950 เปนองคกรแรกท่ีจัดการแสดงบัลเลตและการเตนรํา

สมัยใหมเปนที่นิยมอยางแพรหลายมีนักแสดงและนักดนตรีเกาหลีเปนจํานวนมากที่ไดออกไป

แสดงนอกประเทศและไดรับการตอนรับจากผูชมเปนอยางดี และเพ่ือเปนการสงวนรักษาและ

พัฒนาศิลปะการแสดงนาฏศิลปและละครของเกาหลีใหมีความเจริญตอไป ศูนยศิลปะการแสดง

ประเพณีแหงชาติเกาหลี จึงไดถูกจัดต้ังขึ้นเมื่อ ป ค.ศ. 1951 และรัฐบาลไดจัดต้ังมหาวิทยาลัย

ศิลปะแหงชาติเกาหลีขึ้นใน ป ค.ศ. 1993 เพ่ือเปดสอนทางดานศิลปะและอบรมฝกฝนศิลปนอาชีพ

Page 49: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

39

ในระดับโลก มหาวิทยาลัยนี้มี 6 สถาบัน คือ ดนตรี ละคร นาฏศิลป ทัศนศิลป ภาพยนตรและ

ส่ือประสม ศิลปะพ้ืนบานเกาหลี สถาบันดนตรี และนาฏศิลป ต้ังอยูที่ เซียวโช ดอง สวนสถาบัน

อื่นๆ อยูที่ ซอกกวาน ดอง (ชูพินิจ เกษมณี, 2546, หนา 141-145)

ปจจุบันนี้ศิลปนรุนเยาวเร่ิมศึกษาปรับรูปแบบและสาระของละครดั้งเดิม เชน ละครระบํา

หนากาก พิธีของหมอผีและพันโซริ โดยมูลนิธิศิลปะและวัฒนธรรมเกาหลีไดเปนเจาภาพ

สนับสนุนเทศกาลละครประจําปเพ่ือสงเสริมการแสดงละครในทองถิ่นโดยมีการจัดแสดงตลอดป

การแสดงนาฏศิลปของชาวเกาหลีนั้นเปนการแสดงที่มีจุดมุงหมาย 2 อยาง คือ

1. การแสดงเพ่ือความร่ืนเริง ความโอบออมอารีและความออนไหวแหงอารมณ

2. แบบพิธีการ ซ่ึงดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมและประเพณีทางพระพุทธศาสนา

โรงเรียนนาฏศิลปเกาหลีที่เปดสอนนาฏศิลปในปจจุบันมี 2 ประเภท คือ

1. โรงเรียนนาฏศิลปแผนโบราณ เปนโรงเรียนท่ีไมยอมรับอิทธิพลสมัยใหม นอกจาก

รักษาแบบฉบับของเดิมไว

2. โรงเรียนนาฏศิลปสมัยใหม เปนโรงเรียนที่รับเอาแบบอยางของนาฏศิลปตะวันตกเขา

มาผสมผสาน

ศิลปะการรายรําแบบเกาหลีแบงออกเปน 2 ประเภทคือ แบบราชสํานัก และแบบพ้ืนบาน

การรายรําในแบบฉบับราชสํานักนั้น ทาทางของการรําจะชาและสงางาม ซ่ึงสะทอนปรัชญาของ

การเดินทางสายกลางและการระงับอารมณความรูสึก เปนอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจ้ือในทาง

ตรงกันขาม ระบําพ้ืนบานซ่ึงสะทอนชีวิตการทํางานและศาสนาของสามัญชนจะใชจังหวะและ

ทํานองที่สนุกสนาน เปนลักษณะของการแสดงออกท่ีเปนอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เชน

ระบําของชาวนาชาวไร ระบําหนากาก และการรายรําทางไสยศาสตร การไดรูจักและเห็นคุณคา

ของนาฏศิลปเกาหลีจะชวยใหผูศึกษาไดเขาใจวัฒนธรรมของคนเกาหลีไดมากย่ิงขึ้น ( ตุกตานารัก,

2550, หนา2)

การแสดงนาฎศิลปและละครของเกาหลี

การแสดงนาฎศิลปและละครของเกาหลี มีดังนี้

1. ระบําฉาบ

ระบําฉาบ เปนระบําอันศักดิ์สิทธ์ิที่รายรําประกอบในพิธีทางพุทธศาสนานิกาย

มหายานของเกาหลี บทรองที่ใชจะเปนบทสรรเสริญพุทธคุณที่ชวยกลอมเกลาจิตใจใหสงบเยือกเย็น

ละทิ้งกิ เลสทั้งหลายทั้งปวงในโลกโดยถือกํา เนิดมาจากอินเดียและแพรหลายเขาสู จีนใน

คริสตศตวรรษที่ 3 ตอมาจึงถายทอดใหกับเกาหลีและญี่ปุนอีกช้ันหนึ่ง

Page 50: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

40

การแสดงระบําฉาบ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

1.1 วิธีแสดง แสดงโดยพระซ่ึงจะถือฉาบอันใหญโตไวในมือทั้งสองขาง ในขณะ

ที่รายรําจะยกขึ้นกวัดแกวงหมุนไปมาเหนือศีรษะ เปนการวิงวอนขอใหสรรพสัตวในนรกภูมิรอด

พนจากบาปกรรม

1.2 เคร่ืองแตงกาย แตงชุดพระของเกาหลี

1.3 เคร่ืองดนตรี ฆองและกลองใหญ

1.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชแสดงประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา

ภาพที่ 3.1 ภาพระบําฉาบ

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีและสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ, 2541, หนา 17.

2. ระบําซัลพุลรี (ระบําหมอผี)

การแสดงระบําซัลพุลรี มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

2.1 วิธีแสดง เปนการแสดงที่เกิดขึ้นในจังหวัดทางภาคใต แสดงการขับไลวิญญาณ

ช่ัวรายและเปนขั้นสุดทายของพิธีการขับไลปศาจของเกาหลี ท่ีเรียกกันวา กุล ผูแสดงจะถายทอด

ความรูสึกของคนเกาหลีในดานความประณีต ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความ เศราใจ

2.2 เคร่ืองแตงกาย แตงชุดฮันบกสีขาว โบวแดง

2.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีเกาหลี

2.4 โอกาสที่ใชแสดง ในพิธีกรรมทางศาสนา

Page 51: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

41

ภาพที่ 3 .2 ภาพระบําซัลพุลรี (ระบําหมอผี)

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี และสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ, 2541, หนา 11.

3. ระบําผีเสื้อ

ภาพที่ 3 .3 ภาพระบําผีเส้ือ

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีและสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ, 2541, หนา 17.

Page 52: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

42

Page 53: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

43

5. ระบําหนากาก (ซันแดโนริ หรือ ทัลชุม)

ภาพที่ 3.5 ภาพหนากากและการแสดงระบําหนากาก

ที่มา : ตุกตานารัก, 2550, หนา 2

การแสดงระบําหนากากมีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้ (ชูพินิจ เกษมณี, 2546, หนา 145-146)

5.1 วิธีแสดง ประกอบดวยการเตนรํา เพลง และการเลาเร่ืองเปนตอน ๆ ดวยถอยคํา

ลอเลียนแทรกอารมณขัน บทสนทนา

5.2 เคร่ืองแตงกาย การแตงกายของการแสดงชนิดนี้อาจจะแตกตางกันในแตละภูมิภาค

5.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีเกาหลี

5.4 โอกาสที่ใชแสดง งานร่ืนเริงทั่วไป

6. การแสดงปนโซรี (Pansori)

เปนการแสดงของเมืองเจิงจูซ่ึงต้ังอยูทางตะวันตกเฉียงใตของโจลาบุกโด ซ่ึงเปนเมือง

ที่มีช่ือเสียงในฐานะที่เปนสถานที่เกิดของการแสดงปนโซรี การแสดงชนิดนี้มีช่ือเสียงแพรหลาย

เปนเอกลักษณรูจักกันทั่วไปในหมูคนเกาหลี ช่ือการแสดงในภาษาเกาหลีคือ ฮังกุล (Hangul)

คําวา ปนโซรี มาจากภาษาเกาหลี คือ ปน (Pan) แปลวา สถานท่ีแหงหนึ่งท่ีมีคน

จํานวนมากรวมกันอยูและคําวา โซรี ในภาษาเกาหลี แปลวา เสียง รวมความไดวา เปนเสียงเพลงที่

เลนในสถานที่หนึ่งซ่ึงมีคนอยูรวมกันจํานวนมาก คําวา ปนโซรี เปนคําเกา ดังนั้น คํานี้ จึงไมคอยได

ใชกันในวัฒนธรรมรวมสมัยของเกาหลีใต องคการยูเนสโกไดประกาศใหปนโซรีเปนมรดกทาง

Page 54: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

44

วัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ศิลปะการแสดงปนโซรีแสดงในภาพ

ที่ 3.6

ภาพที่ 3.6 ภาพการแสดงปนโซรี

ที่มา : Hangul, 2003, p.1

การแสดงปนโซรีมีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

6.1 วิธีแสดง เปนการแสดงดนตรีพ้ืนเมืองในลักษณะการขับรองประกอบ

เคร่ืองดนตรีประเภทตีโดยมีผูรอง (โซริกกุน) คนหนึ่ง และคนตี(โกสุ) กลอง (บุก) ปนโซรีเปน

การแสดงเร่ืองราวที่เกี่ยวกับความรักหรือ การเสียดสีสังคม มาดัง (Madang) เปนลักษณะของบท

ละครที่มีเนื้อเร่ืองเต็มที่ยาวมาก เปนการแสดงที่ตองใชเวลาหลายช่ัวโมง จึงจะแสดงไดเสร็จ

สมบูรณ เชนการแสดงที่ช่ือวา เพลงแหงชุนยาง (Song of Chunhyang) จะตองใชเวลาแสดงมากกวา

8 ช่ัวโมง โดยไมตองหยุดพักระหวางการแสดง มาดังจะประกอบดวย แอนิริส (aniris) เปนลักษณะ

คําพูดและ เพลง มีเพียง 5 ใน 12 ของการแสดงปนโซรี มาดังดั้งเดิมท่ีคงอยูสืบมาจนถึงปจจุบันคือ

ฮวงบูกา (Heungbuga) ซิมเชิงกา (Simcheongga) ชุนฮังกา (Chunhyangga) เจิกบิออกกา

(Jeokbyeokga) และซูกุงกา (Sugungga)

ในการแสดงปนโซรี ผูรองจะรองเพลงโดยยืนถือพัดท่ียังไมไดคลี่มือหนึ่ง และ

พัดจะโยกไปมา เพ่ือเนนการเคลื่อนไหวของนักรอง และพัดจะถูกคลี่ออกเพ่ือบอกใหทราบถึงการ

เปลี่ยนตอนและฉาก (Seene) คนตีกลองจะใหจังหวะจากการตีกลอง และจากเสียงท่ีเปลงออกมา

หรือ ที่เรียกวา ชุมแซ (chuimsae) เสียงที่เปลงออกมาหรือชุมแซ อาจจะเปนเพียงเสียงสละงายๆ ท่ี

ไมมีความหมาย แตอาจจะเปนคําส้ันๆ ที่กระตุนใหเกิดความกลาหาญก็ได นักแสดงก็หวังใหผูชม

Page 55: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

45

เปลงเสียงหรือชุมแซในระหวางการแสดงดวยซ่ึงคลาย ๆ กับการแสดงคาเคโกะ (kakegoe) และ

เสียงตะโกน โอเล (ole)

6.2 การแตงกาย แตงชุดประจําชาติ ฮันบก ดังภาพที่ 3.7

6.3 เคร่ืองดนตรี ใชเคร่ืองดนตรีแบบตะวันตกในการแสดงอุปรากร

6.4 โอกาสที่ใชแสดง งานร่ืนเริงทั่วไป

ภาพที่ 3 .7 ภาพเคร่ืองแตงกายประจําชาติเกาหลี

ที่มา : ศิริรัตน สาโพธ์ิสิงห, 2548, เว็บไซต

ฮันบก (Hanbok) เปนชุดแตงกายตามประเพณีของชาวเกาหลี ในฤดูหนาวชุดแตงกาย

จะใชผาที่ทอจากฝาย และกางเกงขายาวที่มีสายรัดที่ขอเทา ซ่ึงจะชวยในการเก็บความรอนของ

รางกาย ในขณะที่ชวงฤดูรอนจะใชผาปานลงแปงแข็งหรือผารามีซ่ึงชวยในการซึมซับและการ

แผซานของความรอนในรางกายใหมากที่สุด ฮันบกเปนเคร่ืองแตงกายประจําชาติเกาหลีมาเปน

เวลาหลายพันปมาแลว ความงามและความออนชอยของวัฒนธรรมเกาหลี จะถูกถายทอดออกมา

ผานเคร่ืองแตงกายฮันบกนี้ กอนที่วัฒนธรรมการแตงกายแบบตะวันตกจะไดเขามาในเกาหลี

เมื่อรอยปมาแลวนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเปนประจําทุกวัน สวนสุภาพบุรุษ

จะสวม ชอโกรี (เส้ือนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะท่ีสุภาพสตรีสวมชอกอรี

และชีมา (กระโปรง) ในปจจุบันชุดประจําชาติฮันบก จะใชสวมเฉพาะในโอกาสพิเศษตาง ๆ เชน

Page 56: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

46

งานมงคลสมรส วันขึ้นปใหม หรือวันขอบคุณพระเจา (สํานักงานแถลงขาวเกาหลี, 2517, หนา

161 -162)

เคร่ืองดนตรี

ชาวเกาหลีนิยมแสดงความรูสึกคึกคักและอารมณอยางเปดเผย โดยอาศัยดนตรีและ

การแสดงระบํารําฟอนตางๆ ชาวเกาหลีไดสรางเคร่ืองดนตรีท่ีมีคุณภาพหลายช้ิน มีลักษณะเปน

ของตนเองหลายแบบดวยกัน ดนตรีพ้ืนเมืองของเกาหลีแบงออกเปน 3 ประเภทคือ

1. อา อัก เปนดนตรีที่ใชในพิธีกรรม

2. ตัง อัก เปนดนตรีสําหรับงานพิธีในพระราชวังแบบของจีนและของพ้ืนเมือง

3. ดนตรีที่ใชบรรเลงในโอกาสท่ัวไป เชนสําหรับทหาร บรรเลงในหองโถง พิธีการ

ทางศาสนา ดนตรีสําหรับชาวนา ชาวไร เปนตน

การบรรเลงดนตรีในราชสํานักนั้น จะมีความชา เราใจ ทํานองเพลงจะยืดยาวเช่ือมโยง

ติดตอกัน จะมีการตกแตงดวยเสียงดนตรีตางชนิดอยางประณีตบรรจงเพ่ือความไพเราะ ดนตรีใน

ราชสํานักโดยปกติจะเลนโดยวงดนตรีอุปรากรวงใหญ ใช เคร่ืองมือดีด สี ตีเปาครบครัน

เคร่ืองดนตรีช้ินที่สําคัญที่สุดของเกาหลีคือ กายา กุม มีลักษณะคลายขิมใชนิ้วดีดมีสิบสองสาย

บรรเลงเพลงไดเกือบทุกลักษณะ ต้ังแตเพลงเบาๆ มีชีวิตชีวาไปจนถึงเพลงเศรา ผูเลนท่ีเช่ียวชาญ

ใชนิ้วไดคลองและถูกตอง จะสามารถใชเคร่ืองดนตรีช้ินนี้เลนเพลงไดอยางไพเราะ ผูหญิงเกาหลี

นิยมเลนเคร่ืองดนตรี กายา กุม กันมาก เคร่ืองดนตรีอีกชนิดหนึ่งคือ เกียวมุนโก มีเจ็ดสายแต

ใหเสียงมีลักษณะลี้ลับและออนละมุน แตคนจะนิยมเลนนอยกวา กายา กุม ในประเทศเกาหลีนั้น

หญิงสาวในสังคมช้ันสูงนิยมเลน กายา กุม เปนงานอดิเรก สวนชายหนุมในวงสังคมช้ันสูง จะเลน

ขิมแบบเกาหลี ซ่ึงมีรูปรางคลายกับแมนโดลิน (สํานักงานแถลงขาวเกาหลี, 2517, หนา135-137)

เคร่ืองดนตรีเกาหลี มีดังนี้

1. ชังโก หรือ กลองนาฬิกาทราย แกนกลางมีลักษณะคอดตรงกลาง ผูแสดงสามารถ

ตีกลองไดทั้งสองดาน คือ ทั้งที่หัวกลองและทายกลอง ทั้งสองดานมีเสนผาศูนยกลางเทากัน ความ

สูงของกลองประมาณ 20 นิ้ว ผูตีกลองจะคลองกลองไวประมาณเอวรายรําพรอมควงไมกลอง

2. กายา กุม มีลักษณะคลายพิณฝร่ัง มีเสนลวดทําใหเกิดเสียง มีสายท้ังหมด 12 สาย

เคร่ืองดนตรีชนิดนี้ เร่ิมมีมาต้ังแตในสมัยคายา และคายากุมนี้ยังเปนตนกําเนิดของเคร่ืองดนตรีที่

เรียกวา โคโตะ ของญี่ปุนอีกดวย

3. เทกุม เปนขลุยขนาดใหญ เปนเคร่ืองดนตรีท่ีทําดวยไมมีความยาวประมาณ 2 ฟุต

คร่ึง มีรูบังคับเสียงเพียง 6 รู แตมีเคร่ืองดนตรีอีกชนิดหนึ่งท่ีมีลักษณะคลายกับเทกุม แตมีระดับ

Page 57: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

47

เสียงมากกวา เพราะมีรูที่ปรับระดับเสียงมากกวาถึง 8 รู ดังนั้นเวลาเปาจะมีเสียงที่เล็กและแหลม

กวา เขาเรียกเคร่ืองดนตรีชนิดนี้วา พิริ

4. ทันโซ คือ ปอีกชนิดหนึ่งซ่ึงเปนตนกําเนิดของเหลาบรรดาปอีกหลายๆ ชนิดของ

เกาหลี

5. แซงซอง หรือเมาทออรแกน ประกอบขึ้นจากไมไผลําเกหลายลํามารวมกัน คลายกับ

แคนของชายไทยภูเขาของไทยนั้นเอง

6. พิพา หรือซอน้ําเตา มีสาย 5 สาย

7. โคมุนโก มีลักษณะเปนกลองเล็กๆ คลายกับกลองที่ใชเลนกลในบานเราสมัยกอน

แตของเกาหลีมีสีสันงดงามกวา ใชตีตอนออกฤกษเบิกโรงและตอนปดทายการแสดง กลองนี้จะตี

เพ่ือเราใจคนดู

8. เพียงจอง เปนเคร่ืองดนตรีท่ีมีลักษณะคลายโคมุนโก แตแตกตางกันท่ีผูเลนคือ ผู

เลนดนตรีชนิดนี้จะเปนผูหญิง และตัวปรับระดับจะแตกตางกัน เพียงจอง ในภาษาเกาหลีหมายถึง

ระฆังทอง เคร่ืองดนตรีชนิดนี้มีลักษณะแปลกออกไปคือ เปนระฆังหอยลงมาตามแนวนอนแถวละ

ประมาณ 8 ใบ จะเปรียบไปก็คลายกับการนําเอาขวดใสน้ําตางระดับกันแลวแขวนบนราวและ

ใชไมเคาะ

9. กอง เปนกลองเล็ก นิยมใชเคาะเวลาสวดมนต และในหมูที่ยึดถือในส่ิงที่ไมมีตัวตน

สรุป

การแสดงนาฎศิลปและละครของเกาหลีสวนหนึ่งไดรับอิทธิพลจากจีน แตใน

ขณะเดียวกันก็เกิดจากความคิดดั้งเดิมของชาวเกาหลีดวย การแสดงระบํารําฟอนของชาวเกาหลี

ไดรับการพัฒนามาจากการเลนดนตรีของชนเผาตาง ๆ สมัยกอนจะมีการเตนรําเพ่ือบวงสรวงเทพดา

อารักษ หรือใชเปนระบําปลุกใจในยามศึกสงครามหรือพิธีกรรมทางศาสนา ซ่ึงการเตนรําเหลานี้

เปนการแสดงออกตามธรรมชาติไมมีแบบแผน ตอมาไดมีการพัฒนารูปแบบการเตนรําใหสมบูรณ

มีแบบแผนมีหลักเกณฑ

ลักษณะการแสดงของเกาหลีเดิมจัดแสดงเพ่ือความบันเทิงของกษัตริยและเช้ือพระวงศ

ในโอกาสตาง ๆ เชนงานอุทิศปูชนียสถาน และสถานที่สําคัญตาง ๆ นอกจากนั้นก็จะเปนการแสดง

ที่จัดขึ้นเพ่ือความบันเทิงใจโดยเฉพาะเชน การเตนรําของพวกกีเซง (หญิงท่ีใหบริการดานความ

บันเทิง) การเตนรําของนางชี ที่บงบอกถึงความศรัทธาในศาสนา การเตนรําที่ฉลองความร่ืนเริง

หลังจากประสบความสําเร็จในโอกาสตาง ๆ

Page 58: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

48

การเตนรําของเกาหลีในแตละรูปแบบ จะมีลักษณะเปนของตนเอง และผูแสดงตองมี

ฝมือและความสามารถสูง ปจจุบันประเทศเกาหลีมีสถานบันสอนเตนรําคลาสสิคดั้งเดิมอยูหลาย

แหง นอกจากนั้นคนเกาหลียังชอบดูละครกันมากเชน ละครแบบอุปรากรไดแก ปนโซรี ละครหุน

ละครระบําหนากาก เปนตน

การแตงกายของชาวเกาหลีนั้น จะนิยมแตงกายชุดประจําชาติซ่ึงมีช่ือเรียกวา ฮันบก เปน

รูปแบบการแตงกายที่นิยมมาเปนเวลาหลายรอยปแลวโดยไมมีการเปลี่ยนแปลง การแสดงดนตรี

ของเกาหลีจะมีทั้งแบบที่ใชในพิธีกรรม งานพิธีในพระราชวัง และแสดงในโอกาสทั่วไป ผูหญิง

เกาหลีในสังคมช้ันสูง จะนิยมเลนเคร่ืองดนตรี กายา กุม ซ่ึงมีลักษณะคลายขิม และผูชายจะนิยม

เลนขิมแบบเกาหลี เคร่ืองดนตรีเกาหลีที่เปนเอกลักษณเฉหพาะไดแก ชังโก เทกุม กายา กุม ทันโซ

เปนตน

คําถามทบทวน

1. อะไรคือตัวแปรที่ทําใหหลักการทางศาสนาและการเมืองแยกออกจากกัน

2. จุดมุงหมายของการแสดงนาฎศิลปเกาหลีในสมัยโบราณคืออะไร

3. จงอธิบายจุดมุงหมายในการแสดงนาฎศิลปเกาหลี มาใหเขาใจ

4. จากคําตอบขอ 3 อะไรคือสาเหตุของจุดมุงหมายดังกลาว

5. การเตนรําของกีเซง หมายถึงอะไร

6. กายากุม คืออะไร มีลักษณะอยางไร

7. นักเตนรําอาชีพของเกาหลีไดนํารูปแบบการแสดงของใครมาเปนแบบอยางในการ

แสดง

8. พันโซริ คืออะไร และส่ือถึงอะไร

9. ชุดการแตงกายประจําชาติของเกาหลี เรียกวาชุดอะไร และสามารถสะทอน

เอกลักษณในดานใดบาง

10. จงยกตัวอยางเคร่ืองดนตรีเกาหลี พรอมอธิบายมาคนละ 5 ช่ือ

Page 59: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

49

เอกสารอางอิง

เกตนนิภา อมรราตรี. (2549). เกาหล ี: เพียงเดชไดงายๆสบายกระเปาสตางคสไตลพี่วุฒิและ

พี่แคท. กรุงเทพฯ : พี เอส ซัพพราย.

แจน ฮัว. (2551). การแสดงนาฏศิลปเกาหลี การแสดงรําพัด. คนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2551,

จาก http://photo.lannaphotoclub.com/index.php?topic=2763.0.

เฉลิมพล สนานอย. (2548). การแสดงนาฏศิลปเกาหล.ี คนเมื่อ 17 มกราคม 2548, จาก

http://www.info.ru.ac.th/album/2005-01-17-n/index.html ชูพินิจ เกษมณี. (2546). สาระนารูเกี่ยวกับเกาหลี. กรุงเทพฯ : แคยอดแพ็คกิ้ง แอนด พร้ินต้ิง.

ตุกตานารัก. (2550). หนากากและการแสดงระบําหนากาก. คนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2552, จาก

http://www.oknation.net/blog/culturekorea/2007/11/15/ entry-2.

นัท กอย. (2549). เที่ยวไมงอทัวร ตีต๋ัวตะลุยเกาหลี. กรุงเทพฯ : ไทย อินเตอรบุค.

พันทิพา มาลา. (2538). เอกสารประกอบการสอนละครตะวันออก. พระนครศรีอยุธยา : สถาบัน

ราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ไพบูลย ปตะเสน. (2545). ประวัติศาสตรเกาหลี จากยุคเผาพันธุถึงราชวงศสุดทาย. กรุงเทพฯ :

คงวุฒิคุณากร.

ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2521). ประวัติศาสตรเกาหลีสมัยใหม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

รามคําแหง.

ศิริรัตน สาโพธ์ิสิงห. (2548). ชุดประจําชาติเกาหลี. คนเมื่อ 12 ธันวาคม 2552, จาก

http://koreansarang.3.forumer.com/a/hanbokhistory_post106.html.

สถานเอกอคัรราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี และสํานกังานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. (2541).

การแสดงนาฏศิลปสาธาณรัฐเกาหลี, (11), 8

สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. (2531). งานมหกรรมวัฒนธรรมพ้ืนบานเอเชีย คร้ังที่

1. (2), 16-17.

สํานักงานแถลงขาวเกาหลี. (2517). ความรูเรื่องเมืองเกาหลี. กรุงเทพฯ : สํานักงานแถลงขาว

เกาหลี.

Hangul. (2003). Pansori. Retrieved August 29, 2009, from http://en.wikipedia.org/wiki/Pansori

The Korean Culturer and Information Service.(2009). Pansori. Retrieved August 29,

2009, from http://www.korea.net/Newo/NewoView.96p?suval_na=

Page 60: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 4

การแสดงนาฏศิลปและละครของญี่ปุน

ญี่ปุนแมจะไดรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากจีนโดยผานเกาหลี ทั้งในดานการเมือง

ภาษา เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงศิลปะการแสดง และรสนิยมตางๆ แตญี่ปุนก็ยังคงรักษาประเพณี

เดิมของตนไว และไดนําเอาความรู ความคิดใหมๆมารวมกันและนํามาปรับเปลี่ยนใหเขากับ

รสนิยม ความเช่ือและส่ิงแวดลอมเปนลักษณะของชาวญี่ปุนเอง ในบทนี้จะกลาวถึงประวัติความ

เปนมา วิธีการแสดง เคร่ืองแตงกาย เคร่ืองดนตรีของการแสดงนาฎศิลปและละครญี่ปุนประเภท

ตาง ๆ

ประวัติความเปนมา

ศิลปะการแสดงของญี่ปุนมีกําเนิดมาจาก การรายรําตามความเช่ือของคนในสมัย

โบราณ หลักฐานตนกําเนิดมีปรากฏในเทวตํานานช่ือ อูซูเหมะ โนะ โอโดริ (Uzume No

Odori) ตํานานเร่ืองนี้ กลาวถึงเหตุการณตอนท่ีเทพธิดาแหงดวงอาทิตยพิโรธนองชาย ผูชอบ

ประพฤติตนเกเรเที่ยวรังแกมนุษยและสัตว เทพธิดาแหงดวงอาทิตยจึงหนีเขาไปซอนตัวอยูใน

ถ้ํา และเอากอนหินใหญปดปากถ้ําไวอยางแนนหนา การกระทําเชนนี้ทําใหโลกตกอยูในความ

มืด เหลาเทพยดาตางเกรงวาชาวโลกจะเดือนรอน จึงพากันไปชุมนุมอยูหนาถ้ํา เพ่ือขอรองให

เทพธิดาแหงดวงอาทิตยออกมา แตไมวาจะขอรองอยางไรเทพธิดาแหงดวงอาทิตยก็ทําเฉยเสีย

ในที่สุดเทพธิดาองคหนึ่งช่ืออูซู เหมะ จึงคิดอุบายใหเหลาเทพยดาชวยกันปรบมือรองเพลง

ในขณะที่เทพธิดา อูซู เหมะ เตนรํา การเตนรําของเทพธิดา อูซู เหมะ เปนที่ถูกใจของเหลา

เทพยดามากจึงพากันสงเสียงเชียรอยางคร้ืนเครง เสียงอึกทึกภายนอกทําใหเทพธิดาแหง

ดวงอาทิตยเกิดความสงสัย จึงออกจากถ้ํามาดู ทําใหโลกกลับคืนสูความสวางอีกคร้ังหนึ่ง

ตอมาในปลายคริสตศตวรรษที่ 6 ญี่ปุนไดรับการละเลนในแบบที่เรียกวา กิงาขุ

จากประเทศจีนพรอม ๆ กับพุทธศาสนานิกายมหายาน กิงาขุในประเทศญี่ปุนเปนการละเลนใน

ขบวนแหตามงานวัด ผูเขาขบวนทุกคนสวมหนากาก สนุกสนานร่ืนเริงและทําทาไปตาม

ลักษณะของหนากากที่ใส ปจจุบันการละเลน กิงาขุไมมีเหลืออยูแลว ยังคงมีแตหนากากไม

เหลืออยูประมาณ 200 อัน (ดวงแข ออนหนู, 2537, หนา 81-82)

การแสดงนาฏศิลปและละครในประเทศญี่ปุน เร่ิมตนประมาณศตวรรษที่ 7

แบบแผนการแสดงในสมัยโบราณยังคงมีเหลืออยูและปรากฏชัดเจน ในการแสดงสมัยปจจุบันนี้

Page 61: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

52

กําเนิดของการแสดงนาฏศิลปและละครญี่ปุนนั้น กลาววามีกําเนิดมาจากการแสดงพ้ืนเมืองคือ มี

วิวัฒนาการมาจากการแสดงระบําเพ่ือบูชาเทพเจาแหงภูเขาไฟ ตอมาไดรับอิทธิพลแบบแผนการ

แสดงมาจากทวีปเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีน โดยไดรับผานมาจากประเทศเกาหลีอีกชวงหนึ่ง

แตการแสดงทั่วๆ ไป สวนมากแลวจะไดรับการหลอหลอมภายใตบรรยากาศวัฒนธรรมญี่ปุน

อยางแทจริง

การแสดงนาฏศิลปและละครของญ่ีปุน

การแสดงนาฏศิลปและละครของญี่ปุน มีดังนี้

1. การแสดงบงโอดอริ (Bon Odori)

การแสดงบงโอดอริ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

1.1 วิธีแสดง การแสดงบงโอโดริเปนการรายรําแบบพ้ืนบานโบราณของญี่ปุน

รูปแบบการรายรําทวงทํานองดนตรีจะแตกตางกันไปตามทองถิ่น เปนการเตนเพ่ือตอนรับ

ดวงวิญญาณของผูลวงลับไปแลวการเตนชนิดนี้จะมีลักษณะแตกตางกันไปตามแตละทองถิ่น

และภูมิภาคตาง ๆ ในประเทศญี่ปุน

การเตนบงโอดอริโดยท่ัวไปท่ีเหมือนกันคือ การรวมตัวกันของคนรอบ ๆ

ยากูระ (Yagura) ยากูระคือ เวทีสูงที่ทําดวยไมถูกสรางขึ้นเพ่ือเทศกาลบงโอดอริโดยเฉพาะเปน

ที่ต้ังดนตรีและกลองที่ใชประกอบในการแสดง คนในหมูบานจะมารวมตัวกันรอบๆ ยากูระจะ

หมุนออกหางจากยากูระ หรือหมุนเขาหายากูระแบบทวนเข็มนาฬิกา หรือแบบตามเข็มนาฬิกา

บางทีก็ปรับเปลี่ยนทิศทางการเตนไปรอบๆ ยากูระ ในขณะที่คนเตนรําบงโอ ดอริ จะรองเพลง

เลาเร่ืองเกี่ยวกับประวัติของทองถิ่นเพ่ือใหผูชมไดรับทราบดวย เชน ในภูมิภาคหนึ่งมีการทํา

เหมืองถานหิน คนเตนก็จะแสดงทาทางเกี่ยวกับการขุดถานหิน การดึงรถเข็น การบรรทุกถาน

หิน การแสดงภาพการแขวนหรือถือตะเกียงสองสวาง

สวนที่แตกตางกันของการเตนบงโอดอริคือการใชอุปกรณตาง ๆ ประกอบ

การเตน เชน พัด ผาเช็ดตัวผืนเล็ก หรือมือตบที่ทําดวยไมเล็กๆ เปนตน

1.2 เคร่ืองแตงกาย ชาวญี่ปุนจะสวมชุดยูกาตะ และสวมถุงเทาท่ีเรียกวา โซริ

(Zori) และรองเทาเกี๊ยะที่เรียกวา กีตา (Geta)

1.3 เคร่ืองดนตรี กลองและดนตรีพ้ืนบาน

1.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในเทศกาลโอบง (Obon) ชวงฤดูรอนชาวญี่ปุน

จะเดินทางกลับบานเกิด เพ่ือเฉลิมฉลองตอนรับดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเช่ือกันวาในชวง

Page 62: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

53

เทศกาลนี้วิญญาณคนตายจะกลับลงมาเย่ียมโลก ดังนั้นลูกหลานที่เดินทางกลับมาบานจะเตรียม

ทําความสะอาดหลุมฝงศพ และเซนไหวดวงวิญญาณ ตามบานเรือนจะมีการจุดตะเกียงหรือ

คบเพลิงเพ่ือสองนําดวงวิญญาณใหกลับบานไดถูกตอง

2. การแสดงโนหมาฮิ

การแสดงโนหมาฮิ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

2.1 วิธีแสดง เปนการเตนที่ใชเคร่ืองดนตรีประกอบการแสดง ในชวงจังหวะ

ของการเตนรูปแบบตางๆ มาจากโครงรางของการเคลื่อนไหวรางกายใหสวยและสงางาม

ระบําโนหมาฮิประกอบดวยการแสดงทุกอยางคือ ชูโนหมาฮิ เปนการแสดงระบําที่ไมชาหรือเร็ว

ใชผูแสดงเปนหญิง โจโนหมาฮิเปนการแสดงระบําที่ใชผูหญิงแสดงและจะตองแตงกายใน

ลักษณะที่ส่ือใหคนดูไดรูถึงบทบาทที่แสดง เชน เปนผูหญิงที่มีช่ือเสียง โสเภณีฯลฯ โอโทดะ ผู

แสดงเปนชายจะแสดงเปนพระ ซ่ึงไมตองสวมหนากาก จะแสดงออกถึงความเปนฮีโร คามิมาฮิ

เปนการแสดงระบําชุดที่รวดเร็วมาก รูปแบบชุดนี้ใชผูแสดงเปนหญิง เรียกวา คะงูระ แสดงได

หลายรูปแบบ (Japanese, 2009, website)

2.2 เคร่ืองแตงกาย โดยทั่วไปจะใชผูแสดงหลัก ผูแสดงหลักจะสวมหนากากซ่ึง

หนากากที่ใสจะตองไดรับการยกยองวาเปนหนากากที่ใหอารมณความรูสึกและความพึงพอ

ในทางศิลปะ การแสดงโนหมาฮิ จะสรางสรรคชุดที่สวยงาม เพ่ือสะกดใหผูชมสนใจ เชน

หมอกไมไผ จะแสดงใหเห็นถึงวิถีชีวิตในชนบท

2.3 เคร่ืองดนตรี ขลุยและกลอง

2.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหรสพตาง ๆ

3. การแสดงนิฮง บูโย (Nihon Buyo)

เปนการรายรําที่มีระเบียบแบบแผนตามแบบญี่ปุน (Japanese Dance) ใชสําหรับ

แสดงบนเวที มีประวัติการพัฒนาปรับปรุงยาวนานกวา 4 ศตวรรษ การแสดงนิฮง บูโย

มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

3.1 วิธีแสดง เปนศิลปะการรายรําท่ีผสมผสานจากศิลปะการรายรํา 4 ประเภท

คือ

3.1.1 คาบูกิ บูโย (Kabuki buyo) นิฮง บูโยพัฒนามาจากคาบูกิ (Kabuki)

กอนที่จะกลายมาเปนการเตนบนเวทีกลาวคือ นิฮง บูโยคือ ศิลปะการรายรําในละครคาบูกิ

นั่นเอง

Page 63: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

54

3.1.2 โนห (Noh) นิฮง บูโยไดนําเอาลักษณะสําคัญ 3 อยางมาจาก

การแสดงโนหเชน การเตนที่เปนวงกลม วิธีการรายรํา เคร่ืองดนตรี และอุปกรณตางๆ ที่นํามาใช

ประกอบ การเตน

3.1.3 รําแบบพ้ืนเมือง (Folk) นิฮง บูโยรับเอาทาการหมุนตัวและทาการ

กระโดด มาใชในการเตนและรําแบบพ้ืนเมือง

3.1.4 ศิลปะการรายรําที่ไดรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของยุโรป และ

อเมริกา ซ่ึงการเตนของญี่ปุนในปจจุบันที่ไดรับการผสมผสาน จนทําใหเกิดเปนนิฮง บูโย และ

ภายหลังไดมีการปรับปรุง พัฒนาจนกลายเปนการแสดงที่ใหความบันเทิงบนเวที (The Japanese

Dancs Association Ine, 2009, website)

3.2 เคร่ืองแตงกาย สวมชุดกิโมโนประจําชาติญี่ปุน

3.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีโนห

3.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในโอกาสทั่วไป

4. การแสดงโนห ( Noh )

ละครโนห เปนละครโบราณท่ีมีกฎเกณฑ และระเบียบแบบแผนในการแสดง

มากมาย ปจจุบันถือวาเปนศิลปช้ันสูงของญี่ปุนที่ตองอนุรักษเอาไว ความเปนมาของละครโนห

ไดพัฒนามาจนเปนรูปรางประมาณกลางศตวรรษที่ 14 และไดแสดงเร่ือยมาจนกระทั่งปจจุบัน

ผูพัฒนาละครโนห คือ ทานคังอามิ (ค.ศ.1333-1384) และบุตรชายช่ือ เซอามิ (ค.ศ. 1363-1443)

เซอามิ นั้นเปนทั้งนักแสดงและนักประพันธบทละครโนหจํานวนมากมาย อีกทั้งเปน

ผูวางรากฐานตาง ๆ ที่สําคัญใหแกวงการละครโนหดวย

หลังจากศตวรรษที่ 17 โนหไดรับการอุปถัมภจากรัฐบาลเปนหลักประกันในการ

ดํารงชีวิต ก็มิไดคิดแตงบทประพันธใหม ๆ ขึ้นมาอีกเพียงแตไดสืบทอดบทละครโนห

ในสมัยกอนที่ดีมาแลว แตคอย ๆ จัดระบบและเพ่ิมความประณีตงดงามใหแกการแสดง

การตีความของนักแสดงทําใหการแสดงโนหกลายเปนศิลปะละครคลาสสิคไปอยางแทจริง

เมื่อรัฐบาลโทกุงาวะหมดอํานาจลงในราวกลางศตวรรษที่ 19 นักแสดงก็ขาด

ผูอุปถัมภการแสดง เส่ือมความนิยมลงเกือบจะไปไมรอด จนกระทั่งจักรพรรดิเมจิและบุคคล

ช้ันสูงอื่นๆ ไดเขามาใหการสนับสนุนอยางเต็มที่ ทําใหละครโนหรุงเรืองขึ้นมาอีกระยะหนึ่ง

ปจจุบันการแสดงละครโนหของญี่ปุนไดมีการเคลื่อนไหวพัฒนาปรับปรุงการ

แสดงละครประเภทนี้ โดยเขียนบทละครใหทันสมัยขึ้นใชภาษาแบบปจจุบัน ใสเส้ือผาตามสมัย

Page 64: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

55

นิยม และใช เคร่ืองดนตรีประเภทเคร่ืองสายประกอบ ละครโนหที่ประยุกตขึ้นใหมนี้ เรียกวา

ชินชากุโน หรือที่เรียกวาละครโนหสรางใหม (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 281)

การแสดงโนห มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

4.1 วิธีแสดง (Nakamara, 1971, p 20-21) การแสดงละครโนหจะมีองคประกอบ

ของละคร คือ มีการพล็อตเร่ือง มีบทเจรจา และมีการแสดงทาทาง แตหัวใจสําคัญของโนหอยูที่

การรายรํา โดยมีบทรองและดนตรีประกอบ การแสดงละครโนหนั้นจะเร่ิมตนดวยการที่

นักดนตรีเดินเขาสูเวทีมาตามทางเดินฮาชิงาคาริ แลวนั่งลงเปนแถวตามตําแหนงที่กําหนดไว คือ

จากขวาไปซาย จะเปนเคร่ืองดนตรีประเภท ขลุย กลองเทินไหล กลองหนีบสีขาง และกลองบน

ขาหย่ัง สวนกลุมคอรัสจะเขามาจากประตูเล็กๆ ทางขวาของเวทีท่ีตองกมตัวลงจึงจะเดินผานได

แลวนั่งเรียงเปนสองแถวหนากระดานทางดานขวาของเวที หลังจากนั้นเสียงขลุยก็จะเร่ิมขึ้น

ตามดวยเสียงกลอง ขณะที่มานตรงปลายทางเดินถูกยกขึ้น วากิ (ตัวละครรอง) จะปรากฏตัวขึ้น

และแนะนําตัวเอง คอรัสและวากิจะผลัดกันอธิบายเร่ืองราวใหผูชมเขาใจส้ันๆ กอนท่ีชิเตะ(ตัว

เอก) จะออกมาเร่ิมแสดง ผูแสดงที่เปนชิเตะนั้นโดยปกติจะสวมหนากาก และแสดงเปนตัวเทพ

เจา ปศาจหรือวิญญาณของบุคคลที่มีช่ือเสียงในประวัติศาสตร หรืออาจเปนวิญญาณของตัว

ละครจากวรรณกรรมสําคัญ เชน นิยายเร่ืองเก็งจิโมโนงาทาริ จะออกมาปรากฏตัวขึ้นเพ่ือเลา

เร่ืองในอดีต กอนที่จะลมหายกลับไปยังโลกของตน การแสดงละครโนหนั้นเนื่องจากมีเนื้อเร่ือง

ยืดยาวจึงนิยมแสดงเปนตอนๆ ติดตอกันไป ซ่ึงใครจะเขาชมชวงเวลาใดก็ได แตเนื้อหาคอนขาง

หนักสมอง ดังนั้นจึงนิยมที่จะมีการแสดงเคียวเง็นซ่ึงเปนละครส้ันๆ คั่นสลับระหวางการแสดง

ละครโนหเพ่ือเปนการคลายเครียด ในการแสดงละครโนหนั้นจะมีองคประกอบดังนี้

4.1.1 ผูแสดง ในละครโนหแบงเปน 4 กลุมดังนี้ (ฮิโรชิ โคยามา,

ม.ป.ป., หนา 43-44)

4.1.1.1 ชิเตะ ประกอบดวยผูที่เลนเปนชิเตะ (ตัวละครเอก) ซึเระ

(ผูติดตาม ชิเตะ) โคเค็ง (ทําหนาท่ีคอยสงหรือรับอุปกรณการแสดงใหแกชิเตะ แสดงแทนชิเตะ

และเปนจิอุทาอิ (คอรัส)

4.1.1.2 วากิ ประกอบดวยฝายท่ีเลนเปน วากิ (ตัวละครรอง) และ

วากิซึเระ (ผูติดตามวากิ)

4.1.1.3 ฮายาชิ ประกอบดวยนักดนตรีผูเลน ขลุย กลองเทินไหล

กลองหนีบสีขาง ซ่ึงจะใชเลนประกอบการแสดงเสมอ กับกลองต้ังบนขาหย่ัง ซ่ึงจะใชเลน

เฉพาะบางเร่ือง

4.1.1.4 เคียวเง็น ประกอบดวยผูแสดงเคียวเง็น

Page 65: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

56

4.1.2 เวทีการแสดงโนห แสดงในภาพที่ 4.1

ภาพที่ 4.1 ภาพเวทีการแสดงโนห

ที่มา : Nohgakado, 2008, website

เวทีสําหรับการแสดงละครโนหเปนรูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัส ยาวประมาณดานละ

5.4 เมตร มีเสามุมละตน พ้ืนเวทีและหลังคาทําดวยไมสนญี่ปุน ทางดานซายของเวทีจะมี

ทางเดินตอเปนมุมเฉียงออกไป เรียกทางเดินนี้วา ฮาชิงาคาริ ที่ปลายทางเดินนี้จะมีมานเปดออก

ไปสูหองแตงตัวของนักแสดง และผนังดานหลังของเวทีจะวาดภาพเปนฉากตนสน สวนที่เหลือ

ดานหนาและดานขางจะเปดโลง ใหผูชมเห็นการแสดงบนเวทีไดจากทั้งสามดาน ในปจจุบันอาจ

พบเวที ที่สรางอยูกลางแจงตามวัดหรือศาลเจา ต้ังแตราวปลายศตวรรษที่ 19เปนตนมา

การสรางเวทีไดเปลี่ยนมาสรางใหหลังคาเวทีอยูใตหลังคาของโรงละครอีกช้ันหนึ่ง ลักษณะเดน

ของเวทีไดแก การไมมีมานกั้นระหวางผูชมและผูแสดง ซ่ึงเปนประเพณีสืบตอกันมากวาหกรอย

ปมาแลว นอกจากนี้ยังไมมีการใชสปอตไลท เสียงประกอบ และไมมีการใชฉากบรรยาย

ทองเร่ือง แตจะบรรยายโดยการพูดหรือบทรองจากนักแสดงและกลุมคอรัส บทละครโนห

ที่เขียนขึ้นไวทั้งในอดีตและปจจุบันมีอยูประมาณ 1,700 เร่ือง และจากจํานวนนี้มีบทละครท่ีนํา

ออกแสดง ในปจจุบันอยางจริงจังประมาณ 40 เร่ืองเทานั้น(สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 282)

เนื้อเร่ืองในบทละครจะมีเร่ืองราวตาง ๆ กันเชน เร่ืองราวจากเหตุการณในประวัติศาสตร นิยาย

เกี่ยวกับนักรบ ที่มีลีลาการแสดงอันต่ืนเตน ความเศราโศกของผูหญิงที่เปนนางเอกในเร่ืองหรือ

จากวรรณกรรมที่สําคัญ ๆ เชน เก็งจิโมโนงาทาริ ซึเนมาสะ ฮาโงโรโหมะ เปนตน

Page 66: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

57

4.2 เคร่ืองแตงกาย การแสดงละครโนหจะใชเคร่ืองแตงตัวละครที่หรูหรา

ผูแสดงจะสวมหนากากแตกตางกันออกไปตามลักษณะของเนื้อเร่ือง สวมชุดกิโมโนตามแบบ

นักรบโบราณหรือแตงกายตามแบบที่กําหนดไว ต้ังแตสมัยกลางเอโด (ค .ศ .2146-2410)

มือถือพัดและอาวุธตามเนื้อเร่ือง ดังภาพที่ 4.2-4.4

ภาพที่ 4.2 ภาพการแสดงละครโนห

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 164

ภาพที่ 4.3 ภาพการแสดงละครโนห

ที่มา : อารท อัจฉรา, 2552, เว็บไซต

Page 67: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

58

ภาพที่ 4.4 ภาพหนากากของละครโนห

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 185

4.3 เคร่ืองดนตรี มีขลุย กลองเทินไหล กลองหนีบสีขาง บางโอกาสใชกลองต้ัง

บนขาหย่ังดวย

4.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานบูชาเทพเจา เปนเคร่ืองบันเทิงใจ แสดงใน

งานมหรสพทั่วไปถือเปนเอกลักษณประจําชาติ (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา 69)

5. การแสดงคาบูกิ ( Kabuki )

ความหมายของคําวา คาบูกิ สามารถแยกออกเปนคํา ๆ ได ดังนี้คือ

คําวา คา แปลวา การรองเพลง

คําวา บู แปลวา การรายรํา

คําวา กิ แปลวา การเลนละคร

Page 68: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

59

ดังนั้นคําวา คาบูกิ จึงเปนการผสมผสานระหวาง โอเปรา บัลเลยและละคร ซ่ึงมี

ทั้งการรอง การรํา และการแสดงละคร (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 281)

ละครคาบูกินั้นเปนละครท่ีมีผูกลาววา ไดพัฒนารูปแบบมาจากละครโนหแตได

นํามาปรับปรุงแกไขใหเหมาะสมกับสภาวะสังคมสมัยใหม ทั้งในดานเนื้อเร่ือง เทคนิคการ

นําเสนอ เคร่ืองแตงกาย ฯลฯ นับเปนการเช่ือมประสานความบันเทิงของมหรสพจากยุคเกากับ

ยุคปจจุบันเขาดวยกัน อยางไรก็ตามลักษณะขัดแยงท่ีเกิดขึ้นคือ ย่ิงละครคาบูกิแสดงรูปแบบ

โบราณมาก แคไหน มันก็ย่ิงดึงดูดความสวยงามที่เปนสมัยใหมใหเขาใกลกันมากขึ้นเทานั้น

(Yoshida, 1977, p.128)

ภาพที่ 4.5 ภาพการแสดงคาบูกิ

ที่มา : สถาบันพิพิธภัณฑการเรียนรูแหงชาติ, 2551, เว็บไซต

นับยอนหลังไปประมาณ 300 ป โอกุนิ โอดอริ ไดจัดแสดงการรายรําบวงสรวงที่

เก็บศพของลัทธิชินโต (Shinto) กลาวกันวาเปนการรายรําพ้ืนบานที่ไดรับเกียรติในยุคนั้น

ผสมผสานกับการรายรําทางศาสนาของชินโตและพุทธศาสนา เปนที่ยกยองกันวาเปนผลงาน

ทางการบันเทิง เพราะการรายรําของโอกุนิซ่ึงเปนหญิงงามนั้นเปนท่ีประทับใจแกบุคคลท่ัวไป

ตอมา นาโกยา ซานซา ชายหนุมรูปงามซ่ึงเปนคูรักของโอกุนิ ไดมาชวยกันพัฒนาทารําของ

โอกุนิใหมีชีวิตชีวาย่ิงขึ้น ดวยศิลปะการรายรําท่ีสวยงาม และทําใหการรายรํานี้ไดพัฒนาเขาสู

Page 69: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

60

กาวแรกของละครคาบูกิ จากนั้นละครคาบูกิก็เร่ิมแสดงดวยการรายรําท่ีใชสตรีลวนๆ จนกระท่ัง

ตอมาไมไดรับความสนับสนุนจากรัฐบาล โทคูกาวา โซกูเนท จึงตองลมเลิกการแสดงไป

อยางไรก็ตาม คาบูกิก็ไดเปนที่รู จักของประชาชนทั่วไป ในฐานะที่เปนรูปแบบหนึ่งของ

การแสดง ตอมาการละครคาบูกิไดฟนกลับคืนมาใหมในรูปแบบที่ตางไปจากเดิม ซ่ึงเรียกวา

วากาซุ คาบูกิ แสดงโดยผูชายลวนๆ บทใดที่เปนผูหญิงก็ใชนักแสดงชายแตงชุดกิโมโนและเตน

ไดอยางสวยงาม การแสดงคาบูกิประเภทนี้ไดกลายเปนมหรสพประเภทการละครที่แพรหลาย

อยางรวดเร็ว

ภาพที่ 4.6 ภาพละครคาบูกิมีที่มาจากการแสดงระบําของหญิงสาว โอกุนิ โอดอริ

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 204

ยุคเจนโรกุ (ค.ศ. 1688-1704) การแสดงท่ีประกอบดวยการรายรําเพียงอยางเดียว

ไดกลับกลายมาเปนการแสดงที่มีความสมบูรณแบบที่สุดแหงยุคนั้น ละครคาบูกิได เปด

การแสดงขึ้นโดยแยกการแสดงออกเปน 2 แขนง ภายใตการนําของนักแสดงผูย่ิงใหญ 2 คน คือ

ซากาตา โตจูโร (Sakata Tojuro) ซ่ึงสวนใหญแสดงในเกียวโต และอิชิกาวา ดันจูโล (Ichikawa

Danjuro) ซ่ึงกําลังโดงดังในเอโด

Page 70: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

61

ซากาตา โตจูโร (ค.ศ. 1647-1709) ไดจัดการแสดงในเร่ืองประโลมโลกในแนว

ของ ยุคโสเภณี ที่ตําบลเกียวโต และโอซากา จนไดรับยกยองวาแสดงไดยอดเย่ียมในบท วาโง

โตะ(Wagoto) มีลักษณะการแสดงสไตลออนหวาน เปนการแสดงของแถบโอซากา สะทอนให

เห็นความออนโยนละเมียดละไมของชาวเกียวโต พระเอกจะเปนชายหนุมรูปงามพราวเสนห

แตออนโยนเกือบเหมือนผูหญิง ขณะเดียวกันที่เอโด อิชิกาวา ดันจูโร ก็ไดจัดแสดงละครวีรบุรุษ

ที่เรียกวา อาราโงะโตะ (Aragoto) แปลวาหยาบหรือกระดาง เปนการแสดงที่เนนใหเห็นถึง

อํานาจและพละกําลังชายชาตรี การแสดงจะดูเกินจริงไมวาการเปลงเสียง การเคลื่อนไหว

เคร่ืองแตงกาย การแตงหนา เชน การบรรยายถึงเฮอคิวลิสผูลงโทษซามูไรที่ช่ัวราย ซ่ึงประชาชน

พากันช่ืนชมมาก เพราะความเกลียดชังในบรรดาซามูไรที่หย่ิงยโส ดวยลักษณะที่ดีนี้เองจึงไดมี

การสงวนรักษาละครคาบูกิเอาไวโดยการอนุรักษสืบทอด ถือเปนมรดกของตระกูลที่จะตอง

รักษาไว ขณะเดียวกันก็พัฒนาส่ิงที่เขาเหลานั้นไดรับสืบทอดมาใหดีขึ้น และมอบใหแก

ผูสืบทอดรุนหลังชวยกันพัฒนาใหดีย่ิงขึ้นตอไป คาบูกิเปนละครที่มีการรายรํา การเตนและ

เพลงประกอบ ใชผูชายแสดงลวน ๆ แตการเตนท่ีสวยงามตามฉบับของญี่ปุน ไมไดสรางความ

ประทับใจใหกับผูชมชาวตางประเทศ ผูชมสวนมากจะชอบดูละครบูกิแบบหนักมากกวา

เชน เร่ืองชูชิงกุระ (Chushingura) และอิสโบซากา รีเจนกิ (Isbosaka Reigenki) สาเหตุเพราะ

ละคร ที่มีแตการเตนเปนเพียงละครท่ีแสดงความงามของการรายรําแบบญี่ปุนเพียงอยางเดียว

แตการแสดงคาบูกิแบบหนักใหอารมณที่เขมขนและเราใจมากกวา (Yoshida, 1977, p.28)

การแสดงคาบูกิ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

5.1 วิธีการแสดง การแสดงละครคาบูกิจะเร่ิมดวยเสียงกระดิ่งที่ดังขึ้น

จะเรียกรองใหผูชมเขานั่งประจําที่ของตน อันเปนเคร่ืองแสดงวาละครคาบูกิจะเร่ิมเปดฉากแลว

จากนั้นก็จะมีเสียงตีกิ (Ki) (ลูกตุมระฆังที่ทําดวยไม) ซ่ึงจะเปนเสียงคลาย ๆ โลหะกระทบกัน

เปนจังหวะที่เรงใหเร็วขึ้น ๆ และดังขึ้นทีละนอย พรอมกับเสียงกิ มาน 3 สีหนาเวทีซ่ึงมี

ช่ือเรียกวาโจชิกิ มากุ (Joshiki-maku) หมายถึง มานสามสีบนเวทีการแสดงละครคาบูกิ

ที่เปรียบเสมือนใบอนุญาตใหแสดงละครได ซ่ึงออกใหโดยรัฐบาล โตกุกาวา โชกุเนท

(Tokugawa Shogunate) ซ่ึงมีสีดํา น้ําตาล และเขียว ก็จะถูกดึงรูดจากซายไปขวาอันเปนการเร่ิม

การแสดงไดทันที ในการแสดงละครคาบูกินิยมที่จะใหผูแสดงแสดงทาที่เรียกวา เมอิ ซ่ึง

หมายถึง การหยุดช่ัวขณะโดยใชทารายรําพิสดารอันมีถึง 10 ทา เชน ทาเจนโรกุ-เมอิ เปนทาที่

ตองแสดงออกอยางขึงขังจริงจัง เพ่ือแสดงถึงพละกําลังอันมหาศาลของบุรุษผูทรงพลัง

ทาอากาฮิเมะ เปนทาหลักของเจาหญิงในละครคาบูกิ หมายถึงเจาหญิงสีแดง ทาตาเตะ

เปนรูปแบบของการแสดงเปนกลุมโดยมุงเนนความหนักแนนจริงจังของตัวเอกในฉากตอสู

Page 71: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

62

ทาทางที่ใช จะรวมทาตีลังกา หกคะเมน ทากระโดด และทาการเคลื่อนไหวที่โลดโผนอื่นๆ

ทาขวางกอนหิน เปนทาที่มักใชในฉากการเตนและฉากรบ ช่ือนี้ไดมาจากการที่ตัวละครทําทา

ตีตัวเมอิ ราวกับเขาเพ่ิงจะโยนกอนหินขึ้นไป เปนตน และในการแสดงทาเมอินั้นทุกคร้ังหลัง

การแสดงเมอิจะหยุดการแสดงช่ัวครู ทั้งนี้เพ่ือใหผูชมเกิดความประทับใจมากย่ิงขึ้น การแสดง

ละครคาบูกินิยมทําเสียงบนเวที (Sound Effects) วิธีนี้เรียกวา ซุเคะ (Tsuke )ใชเมื่อเวลาที่

ตัวละครทําทาทางใหดูเปนจริงโดยผูชวยบนเวทีจะเปนผูตีกรับกับไมกระดาน และเมื่อผูแสดงว่ิง

ลงไปบนทางจากเวทีสูผูชม เสียงเคาะไมก็จะเนนเรงเรามากย่ิงขึ้น คาบูกินั้นมีสไตลการเดิน

การว่ิงมากมาย เรียกวา รอบโป (roppo)โดยผูแสดงไดนํามาใชในเทคนิคของการแสดงละคร

คาบูกิเพ่ือใหเกิดความสวยงามอีกดวย ในการแสดงละครคาบูกิมีองคประกอบดังนี้คือ

5.1.1 ผูแสดงละครคาบูกิ มีดังนี้

5.1.1.1 ออนากาตะ (Onnagata) ในยุคแรก ๆ ละครคาบูกิจะใช

ตัวแสดงเฉพาะที่เปนหญิงซ่ึงจะรายรําบรรยายชีวิตประจําวันของคนสามัญ แตเนื่องจากบทบาท

เหลานั้นขัดตอศีลธรรมสวนรวม รัฐบาลโชกุนจึงไดออกกฏหมายกําหนดใหใชตัวละครท่ีเปน

ชายเทานั้น ดังนั้นจึงทําใหมีการใชตัวละครชายแสดงบทบาทของหญิงเกิดขึ้น (Yoshida, 1977,

p. 94-95)

5.1.1.2 ตัวละครชายที่เปนตัวหลักในบทละครประเภทต่ืนเตน

เราใจ ไดแก โคโนโมโรโน (konomorono )ในเร่ืองชูชิงกรูะ (Chushingura) จะมีลักษณะเปนผูที่

มีความช่ัวรายแตงชุดดําตามธรรมเนียม วากาซาโน ซุเคะ (Wakasano-Suke) จะมีลักษณะเปน

คนขี้โกง ไดมโย (Daimyo) ขุนนางศักดินาแตงกายชุดสีฟาหรือน้ําเงิน แฮงแกน (Hangan)

สุภาพบุรุษผูนาคบหาแตงดวยชุดสีเหลือง เปนตน

5.1.1.3 คุโรโกะ (kurogo) ในละครคาบูกิมักจะมีนักพากยซอนตัว

อยูเบื้องหลังผูแสดง เพ่ือทําหนาที่ชวยสงส่ิงของที่จําเปนใหผูแสดง เชน กระดาษ ประตูไม เรียก

เปนภาษาญี่ปุนวา คุโรโกะ แปลวา คนในชุดดํา คุโรโกะ แบงเปน 3 ระดับคือ

(1) ลูกศิษยหรือ คนใชของตัวแสดงที่เปนเจานาย อาจชวย

ถอดเส้ือผาเปลี่ยนเคร่ืองแตงกายได

(2) คนบอกบท มีหนาท่ีใหสัญญาณการรูดมานตลอดจน

การบรรเลงดนตรี

(3) ชางไมมีหนาที่ รับผิดชอบเร่ืองฉาก วัสดุอุปกรณ

การแสดงและเอาออกเมื่อใชเสร็จแลว

Page 72: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

63

5.1.2 เวที และฉากประกอบการแสดง ในปที่ 15 ของ เกียวโฮ (Kyoho)

(ค.ศ. 1730) นามิกิ โชโซ (Namiki Shozo) ไดพัฒนาและปฏิรูปโครงสรางของการละคร มีการใช

มาวาริบูเต (Mawaributai) หรือเวทีหมุนซ่ึงเปนกลไกที่ชวยในการเปลี่ยนฉากใหรวดเร็ว

คือหมุนฉากที่จัดไวเรียบรอยแลวหลังเวทีมาดานหนาดวยกลไกแบบเดียวกับโตะหมุน นับเปน

การชวยประหยัดเวลาในการจัดฉากลงอยางมาก จนเปนที่ยอมรับกันในหมูนักดูละครตะวันตก

(เสาวลักษณ สุริยะวงศไพศาล, 2546, หนา 2) มีการใชฮานามิชิ หรือทางเดินบนเวทีซ่ึงตัดผาน

คนดู สูดานหลังของโรงละครและมี ซิชิซัน (Shichi-San) ซ่ึงมีลักษณะเปนชองอยูประมาณ 3/10

ของระยะทางจากเวที ชองนี้ใชเปนท่ีปรากฏตัวของนักแสดง ซ่ึงจะขึ้นมาโดยลิฟทที่เลื่อนดวย

มือ มีมาน (Maku) ที่กั้นระหวางเวทีกับผูชม เมื่อตองการมีการเปลี่ยนฉาก หรือแสดงใหเห็นวา

เวลาไดเปลี่ยนไปจากเดิม

ฮานามิชิ (Hanamichi) แปลวา ทางดอกไม (Yoshida, 1977, p.105)

หมายถึงชานเวทีที่ยาวผานผูชมทางดานซายมือของเวที แลวยาวตอมาถึงหองสีเขียวเล็ก ๆ

ดานหลังหองโถงโรงละครที่แสดงคาบูกิเปนประจํา จะตองจัดฮานามิชิไวอยางไมเปลี่ยนแปลง

และถาตองเดินทางไปแสดงที่อื่น ผูเช่ียวชาญดานเวทีชางไมจะตองเดินทางไปจัดเตรียมฮานามิชิ

ไวลวงหนา ทั้งนี้ผูแสดงจะใชเปนที่จัดแสดงเทคนิคต่ืนตาต่ืนใจใหผูชมไดเห็นอยางใกลชิด

นั่นเอง ที่ฮานามิชิจะมีสุปปง (Suppon) เปดอยูใกล ๆ มีลักษณะเปนลิฟตใชยกผูแสดงขึ้นลงโดย

มีนาราขุ (Naraku) ซ่ึงเปนทางแคบ ๆ อยูใตฮานามิชิ เช่ือมระหวางหองสีเขียวกับมานบังประตู

ซ่ึงปดบังหองเล็กๆ ดานปลายสุดของฮานามิชิท่ีจะแสดงเทคนิคต่ืนตาต่ืนใจใหผูชมไดเห็นอยาง

ใกลชิดนั่นเอง สุปปงนี้มักใชกับปรากฏการณที่แปลกประหลาดลึกลับ เชน ผี นินจา นอกจากนี้

สุปปง ยังแสดงใหเห็นถึงประดิษฐกรรมอันย่ิงใหญของคณะผูจัดการแสดงละครคาบูกิเมื่อหลาย

รอยปมาแลวอีกดวย

ฉากในการแสดงละครคาบูกินั้นจะถือปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณ

เชน ใชสีแดงสําหรับระเบียงศาลเจาและวัด ใชประตูเล็กๆ ทําดวยไมไผ ดานบนเวทีจะหอยฉาก

ดอกไม ฉากหลังจะวาดภาพแบบญี่ปุน บนเวทีจะประดับประดาประทีปโคมไฟสวางไสว ต้ังแต

เร่ิมการแสดงจนจบ โดยไมคํานึงถึงวาแตละฉากนั้นจะเปนกลางวัน กลางคืน หรือฉากในรม

แตจะใชรูปสัญลักษณ เชน ถาตัวแสดงคือโชชิน (โคมกระดาษ) ปรากฏอยูในฉากก็แสดงวาเปน

ฉากกลางคืน ถามีเสียงไกขันผูชมก็จะทราบวาเวลากลางวันจะเร่ิมขึ้นแลว ถาตัวละครแสดงทา

คลําทางอยางระมัดระวัง ก็หมายความวา เขาอยูในความมืดสนิท เปนตน มานบนเวที ตัวอยาง

ที่แสดงถึงความรูสึกที่แสดงออกทางสีในละครคาบูกิ คือมานสามสีบนเวที อันมี สีดํา น้ําตาล

และเขียว ในละครตะวันตกสัญญาณของการดึงมานจะบอกดวยเสียงกระดิ่ง แตในละครคาบูกิ

Page 73: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

64

จะบอกดวยเสียงเคาะไมที่เรียกวา กิ (Ki) การเคาะไมจะแตกตางกันตามโอกาส เชน เปดมาน

เร่ิมแสดง หรือปดมาน เสียงเคาะไมนี้เปนเสนหอยางหนึ่งของละครคาบูกิ

เร่ืองที่ใชแสดง ละครคาบูกิสวนมากจะแสดงเร่ืองราวของวีรบุรุษ

เฮอคิวลิส ซ่ึงจะปรากฏตัวเพ่ือลงโทษคนช่ัวรายที่กดขี่ขมเหงคนดี หรือลักษณะของเร่ืองอาจเปน

เร่ืองแบบเด็กๆ แตการดําเนินเร่ืองของละครใหลึกซ้ึงนั้น ตองอาศัยการแสดงในรูปแบบที่

มหัศจรรยมากๆ เชนการแตงตัวที่เนนเกินความจริง และการแตงหนาแบบคุมาโดริ บางคร้ังแกน

ของเร่ืองมักเปนพวกความจงเกลียดจงชังของมนุษย ละครจะแสดงถึงการปรากฏกายของปศาจ

และฉากฆาตกรรมอันนาหวาดกลัว จากการพรรณนาอยางละเอียดถึงลักษณะอันเลวรายและ

สามัญชนที่บกพรอง บทละครที่นิยมนํามาแสดงเชนทะสุโบซากา รีเจนกิ ชูชิงกูระ

(Tsubosaka Reigenki chushingura )หรือ คูมาไก จินยา ( Kumagai Jinya ) เปนตน

5.1.3 บทบาทของการแสดงละครคาบูกิ ที่เปนพ้ืนฐานมีอยู 3 บท คือ

5.1.3.1 อา รา โง ะโ ตะ ( Aragoto) บท ขอ งผู กล าห าญ ย่ิง ให ญ

เฉียบขาดเปนวีรบุรุษผูปลดปลอยความทุกขของผูนอย อาราโงะโตะที่เปนตัวรายจะเขียน

ลายเสนรอบตาและวาดผานแกมทั้งสองขางดวยสีน้ําเงิน สวนตัวพระเอกจะแตงหนาลักษณะที่

เรียกวา คุมาโดริ (Kumadori) คือทารองพ้ืนหนาสีขาว รอบตาและบนแกมจะเปนลายเสนสี

แดงเปนสัญลักษณแสดงความโกรธที่มีตอพฤติกรรมอันช่ัวราย เปรียบเสมือนเสนเลือดบนหนา

ปูดออกมาเหมือนมีอาการโกรธ

ภาพที่ 4.7 ภาพบทอาราโงะโตะหรือผูกลา

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 207

Page 74: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

65

5.1.3.2 วาโงโตะ ( Wagoto) เปนบท ละเอียดออน เ รียบรอ ย

แตสง างาม ซ่ึงตรงกันขามกับบทดุดันแข็ งกร าวของอาราโงโตะ บทวาโงโตะเปน

ศิลปะการแสดงที่บงบอกถึงลักษณะชีวิตธรรมดาสามัญแบบชาวบานใกลเคียงกับความเปนจริง

5.1.3.3 ออนากาตะ (Onnagata) ศิลปะการแสดงบทหญิงโดย

นักแสดงชายซ่ึงลวนแสดงไดแนบเนียนและเปนไปอยางธรรมชาติ นักแสดงบทหญิงบางคนที่

เขาถึงบทบาทถึงขนาดแตงเปนหญิงในชีวิตจริงดวย โยชิซาวา อายะเมะ ไดช่ือวาเปนศิลปนยอด

เย่ียมในบทออนากาตะ ตัวละครที่สําคัญไดแกหญิงผูดีมีตระกูลและหญิงโสเภณีหรือเกอิชา

(มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 206)

5.2 เคร่ืองแตงกาย ชุดกิโมโนท่ีใชในการแสดงละครคาบูกินั้น มีท้ังแบบและ

คุณภาพที่หลากหลายทั้งนี้จะแตกตางกันออกไปตามเร่ืองที่เลนและบทที่แสดง มีทั้งชุดที่สมจริง

และชุดที่ใสตามแบบแผนเฉพาะของคาบูกิเอง มีทั้งชุดที่ตองส่ังยอมเปนพิเศษและชุดที่ปกอยาง

วิจิตรงดงาม ลวดลายบนชุดกิโมโนอาจเปนรูปแบบท่ีดูเรารอนสะดุดตา หรือแบบท่ีดูเครงขรึม

หรือออนหวานและมีการเลนสีท่ีสวยงาม การใชสีแดงและดํานั้นนับวาเปนศิลปะการเลนสีที่

ตางไปจากการละครประเภทอื่นๆ ปกติการสวมชุดกิโมโนนั้นอาจตองใหคนอื่นอีกคนหรือสอง

คนชวย ย่ิงถา เปนชุดที่มีลักษณะเกินจริงอยางชุดที่ใชในการแสดงในสไตลที่ เ รียกวา

อาราโงะโตะ ดวยแลว อาจตองมีคนชวยแตงใหถึง 5-6 คน การเปลี่ยนเคร่ืองแตงกายกลับ

สามารถใชเทคนิค ฮิกินุกิ และ บุกคาเอริ (Hikinuki and Bukkaeri) ซ่ึงการเปลี่ยนเคร่ืองแตง

กายบนเวทีตอหนาผูชมอยางรวดเร็วนั้น ทําไดโดยการท่ีผูชวยบนเวทีจะดึงดายของชุดกิโมโน

ช้ันนอกออก อยางแคลวคลองวองไว เทคนิคการดึงดายแลวถอดกิโมโนช้ันนอกออก เผยใหเห็น

กิโมโนช้ันที่อยูขางในถัดไปเรียกวา ฮิกินุกิ แตถาดึงดายของกิโมโนช้ันนอกเฉพาะทอนบนออก

แลวสอดไวที่เอวเพ่ือเผยใหเห็นลวดลายสีสันดานในของกิโมโนตอนบนนั้นจะเรียกวา บุกคาเอริ

ซ่ึงจะใช ในฉากที่ตัวละครเปลี่ยนจากคนดีไปเปนตัวราย (เสาวลักษณ สุริยะวงศไพศาล,

ม.ป.ป., หนา 9-10)

การแตงหนาในการแสดงละครคาบูกิ จะแสดงถึงสีหนาอยางใดอยางหนึ่งที่

แนนอนและเห็นชัด เปนการบอกใหผูชมรูถึงลักษณะนิสัยที่แทจริงของตัวละครนั้น และเปนการ

พยายามลบลักษณะหนาตาของนักแสดงออกไป จนกลายเปนใบหนาของตัวละครท่ีกําลังแสดง

อยู ตัวละครที่เปนผูหญิงหรือหนุมรูปงามจะทาหนาดวยแปงสีขาวปราศจากเสนลายอื่นๆ ตัวเอก

ที่แสดงสไตล อาราโงโตะ ใชการแตงหนาแบบที่เรียกวา คุมาโดริ โดยใหเสนลายท่ีวาดแสดงถึง

เสนเลือดที่ปูดออกมาเพ่ือเปนการเนนอารมณของตัวละครใหเดนชัด และจะเนนสีบริเวณที่เปน

กระดูกและกลามเนื้อ ทําใหจมูก กระดูกแกม หนาผาก และคางดูเดนขึ้นมาจากใบหนา

Page 75: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

66

นอกจากนี้ คุมาโดริ ยังถูกนํามาใชกับทุกสวนของรางกาย เชน แขน ขา หนาอก หรือทอง

เพียงแตในปจจุบันแทนที่จะใชสีวาดลงไปโดยตรง นักแสดงจะใชวิธีสวมชุดรัดตัวท่ีมีลวดลาย

เหลานี้บนเนื้อผาอยูแลว

5.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีหลักที่ใชในการแสดงไดแก

5.3.1 ไมเคาะหรือกรับเรียกวา เคียวชิงิ (hyoshigi) หรือ กิ (Ki) หนา 3 นิ้ว

ยาว 1 ฟุต มีเสียงแหลมใชเคาะในการเปดปดมาน

5.3.2 ซุเคะ (Tsuke)เปนเคร่ืองเคาะอีกชนิดหนึ่งเพ่ือใหจังหวะทาหยุดมิเอะ

แกผูแสดงบทอาราโงะโตะ

5.3.3 เก ซ า ( Geza) เ ป น ด น ต รี ป ร ะ ก อ บ ก า ร แ ส ด ง ที่ อ ยู น อ ก เว ที

ประกอบดวยเคร่ืองดนตรีประเภทขลุย ซามิเซ็น กลองเล็ก ฆอง และเคร่ืองเคาะตางๆ นอกจากนี้

เกซายังมีหนาที่ผลิตเสียงประกอบฉาก เชน ฉากรบ เสียงฝนตก เสียงลม ฟาผา น้ําไหล คลื่น

ทะเล เปนตน

5.3.4 เดบายาชิ(Debayashi) เปนการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง

คาบูกิ ที่เนนใชเคร่ืองดนตรีซามิเซ็น ในการแสดงนี้จะจัดแทน 2 ระดับ แทนระดับบนใหดนตรี

ที่เรียกวา นางาอุตะ (Nagauta) เลนดนตรีซามิเซ็น สวนแทนช้ันลางสําหรับใหนักดนตรีพวก

ฮายาชิ (Hayashi) เลนเคร่ืองดนตรีประเภทขลุยและกลอง (กัลยาณี สัตสุวรรณ, 2530, หนา 69)

5.3.5 โชโบ (Chobo) เปนกลุมนักดนตรีกับนักรองประกอบละคร คาบูกิ

ประเภทที่ยืมเร่ืองมาจากละครหุนบุนราขุ โดยจะมีผูเลาเร่ืองและดนตรีซามิเซ็นบรรเลงประกอบ

กลุมนักดนตรีและนักรองนี้จะนั่งอยูดานหนึ่งของเวที ซ่ึงเปนดานตรงกันขามกับหองดนตรีของ

พวกเกซา (มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 209)

5.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานบวงสรวง และงานมหรสพทั่วไป

ภาพที่ 4.8 ภาพเคร่ืองดนตรีชุดเกซาของละครคาบูกิ

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 211

Page 76: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

67

6. การแสดงเคียวเง็น ( Kyogen )

การแสดงเคียวเง็นเปนละครตลกเกาแกของญี่ปุนที่มีมาต้ังแตสมัยโบราณ กัลยาณี

สัตสุวรรณ (2530, หนา 69) ไดอธิบายคําวา เคียวเง็น หมายถึง ละครตลกโบราณหรือการเลน

ละค รตบ ตา มีคว าม หมา ยตา มตัว อักษ รว า คํ า พูด ที่บ า หรื อ การ ลอ เลี ยน ในคํ า พู ด

ในคริสตศตวรรษที่ 8 เรียก เคียวเง็นกิโงะ หมายถึง ภาษาท่ีแปลกเกินจริง การเสริมแตงหรือพูด

ถึงส่ิงที่ไมมีตัวตน โดยสรุป เคียวเง็น คือ การแสดงละครตลกโบราณ ท่ีมีการพูดหรือใชภาษาใน

เชิงลอเลียนแฝงการเสียดสีสะทอนสังคมในลักษณะตางๆ ซ่ึงแสดงออกมาในรูปแบบที่ตลกเพ่ือ

เรียกเสียงหัวเราะไปพรอมกับการสะทอนและเสียดสีสังคม เปนการแสดงท่ีไมมีแบบแผน

ตายตัว สามารถดัดแปลงได ซ่ึงเปนสาเหตุที่ทําใหการแสดงเคียวเง็นไดรับการพัฒนาเปนรูปราง

แนนอนชากวาละครชนิดอื่น ๆ การแสดงเคียวเง็นไดรับความอุปถัมภจากรัฐบาลเปน

หลักประกันในการดํารงชีวิตเชนเดียวกับละครโนห จึงมิไดมีผูคิดแตงบทละครใหมๆ ออกมา

เพียงแตรับสืบทอดบทละครของสมัยกอนแลวนํามาปรับปรุงใหดีขึ้นเทานั้น

ภาพที่ 4.9 ภาพการแสดงละครเคียวเง็น

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 164

การแสดงเคียวเง็น มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

6.1 วิธีแสดง การแสดงเคียวเง็นเปนการแสดงละครตลกที่มีลักษณะเฉพาะ

เปนตลกที่แตกตางจากตลกโดยท่ัวไป เนื่องจากมีบทละครท่ีใชสําหรับการแสดงในแตละเร่ือง

มีการกําหนดระเบียบเคร่ืองแตงกายของผูแสดงและทวงทํานองการแสดงมีแบบแผนเฉพาะตัว

Page 77: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

68

เนื้อหาที่ใชในการแสดงนั้นก็มีความเปนสากล กลาวคือเนื้อเร่ืองเขาใจงายแมไมเขาใจภาษาญี่ปุน

ก็สามารถเขาใจกิริยาทาทาง เนื่องจากเปนมุขตลกที่สะทอนชีวิต และธรรมชาติของมนุษย

อันเปนสากล เชน ความโลภ ความตะกละ ความกลัว ความขี้ขลาด ฯลฯ และบางคร้ังก็เสียดสี

สังคม และนําเสนอออกมาในรูปแบบที่ตลกขบขัน (ศุภฤกษ ชัยรัตน, 2548, หนา 1)

การแสดงเคียวเง็นเปนละครส้ันๆ แสดงคั่นระหวางการแสดงโนหสององก

โดยแสดงคั่นระหวางองกที่ 1 กับองกที่ 2 เปนการแสดงที่ใชบทเจรจาและการแสดงทาทางโดย

ไมมีคอรัส หรือ ดนตรีประกอบ ส่ิงสําคัญอยูที่การเจรจาและการแสดงทาทาง สวนเนื้อหาและ

การแสดงไมมีลักษณะที่เปนแบบแผนตายตัวคือสามารถดัดแปลงได ผูแสดงเปนชายลวน

นักแสดงเปน ยามะบูชิ (พระภูเขา) ภิกษุ ขโมย เทวดา หรือปศาจตัวละคร ในการแสดงชนิดนี้

ลวนแตเปนคนธรรมดาที่ไมมีช่ือเสียง แตฐานะของผูแสดงจะเปนไปตามกลุมของการแสดง

โนห คือ มีชิเตะ วากิ ฮายาชิและผูแสดงเคียวเง็น โดยไมมีคอรัสหรือดนตรีประกอบ ส่ิงสําคัญอยู

ที่การเจรจาและการแสดงทาทาง บทละครที่ ใชแสดงละครเคียวเง็น เปนบทละครที่

วิพากษวิจารณสังคมในยุคเอโด ที่ถอดแบบมาจากสภาพชีวิตจริงที่เปนไปในเอโด อันเปนเร่ือง

เกี่ยวกับภูตผีปศาจ เร่ืองขโมยและเร่ืองราวของสามัญชนที่กลาหาญ ในสมัยปจจุบันมีบทละครที่

ใชสําหรับแสดงเคียวเง็นอยูประมาณ 200 เร่ือง มักเปนเร่ืองตลกเกี่ยวกับความสัมพันธระหวาง

เจ านายกับคนใช สามีภรรยา พอตากับลูกเขย หรือ เ ร่ืองความโง เง า ความป า เปอ

ถูกลอเลียน ภาษาที่ใชเปนภาษาในแถบเกียวโตในศตวรรษที่16-17 บทละครที่ใชแสดงเชน

เร่ืองคากิ ยามะบูชิ เปนเร่ืองของพระภูเขารูปหนึ่งที่เยอหย่ิงทะนงตัวท่ีชอบคุยโวในอํานาจพิเศษ

ของตนที่ไมมีจริง เปนตน

6.2 เคร่ืองแตงกาย เดิมการแสดงเคียวเง็นจะแตงกายตามลักษณะเนื้อเร่ือง หรือ

ตามรูปแบบที่ไดกําหนดไวต้ังแตสมัยกลางเอโด (ค.ศ. 2146-2410) แตตอมาไดมีการปรับปรุง

ใหมใหดูสดใสเดนสะดุดตาขึ้น ไมมีการสวมรองเทา หากสวมถุงเทาแบบเดิมของญี่ปุนที่เรียกวา

ทะบิ

6.3 เคร่ืองดนตรี มีขลุย กลองเทินไหล กลองหนีบสีขาง บางโอกาสใชกลอง

ต้ังบนขาหย่ังดวย

6.4 โอกาสที่ใชแสดง การแสดงเคียวเง็น จะแสดงบนเวทีละครโนห หรือลาน

แสดงที่มีพ้ืนเวทีเหมาะสมกับการสวมทะบิเลนได เปนการแสดงสลับฉากในการแสดง

ละครโนหเพ่ือสรางความสนุกสนานใหกับผูชมหรือ แสดงในงานมหรสพท่ัวไป

Page 78: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

69

7. การแสดงหุน บุนราขุ ( Bunraku )

การแสดงหุนบุนราขุ ช่ือนี้เพ่ิงเร่ิมใชเมื่อราวกลางสมัยเมจิ (1868-1912) นี้เอง

ทั้ง ๆ ที่ศิลปะการละครประเภทนี้ เร่ิมมีมาต้ังแตราวศตวรรษที่ 17 โดยใชช่ือวา นิงโย โจรุริ

(Ningyo Joruri ) มีกําเนิดดังนี้คือ

ป 1480 ไดมีการขับรองเลาเร่ืองประกอบเคร่ืองดนตรีบิวะและการตีจังหวะ

ดวยพัดไดถือกําเนิดขึ้น การขับรองเชนนี้มีช่ือเรียกวา โจรุริ (Joruri)

ป 1560 เคร่ืองดนตรีซามิเซ็นจากโอกินาวา ถูกนํามาใชประกอบดวยเพ่ือเพ่ิม

ความไพเราะ และไดรับความนิยมอยางมาก จนราวป 1600 ศิลปะการเชิดหุนซ่ึงมีในญี่ปุนมา

ต้ังแตสมัยโบราณ ไดถูกนํามาแสดงรวมดวย กลายเปนละครหุนที่มีผูขับรอง โจรุริทําหนาที่เปน

คนพากย และมีผูเลนซามิเซ็นใหเสียงดนตรี ตอมาไดมีผูนําไปแสดงในเกียวโต โอซากา เอโด

ในสไตลการรองที่แตกตางกันออกไป

ป 1703 เนื้อหาของบทละครหุนในยุคนี้มีความสมจริงขึ้นเร่ือยๆ สวนที่เปน

บรรยาย ที่ประกอบดวยกวีนิพนธลดลงไป ขณะสวนที่เปนบทเจราจาเพ่ิมขึ้น ที่เปนเชนนี้

เพราะความกาวหนาในศิลปะการเชิดหุน ทําใหหุนสามารถเลนละครเร่ืองที่ใชนักแสดงเลนได

ป 1734 โยชิดะ บันซาบูโร (Yoshida Bunzaburo) ไดพัฒนาการเชิดหุนตัวเดียว

ดวยคนสามคนใหมีประสิทธิภาพสมบูรณ และหุนสามารถแสดงอากัปกิริยาตาง ๆ ไดใกลเคียง

กับมนุษยมากขึ้น ในยุคนี้เองที่มีการเสนอผลงานช้ินเอก 3 ช้ิน ในประวัติศาสตรของ บุนราขุ

ไดแกเร่ือง ซูกาวารา เดนจู เทนนาไร คากามิ (Sugawara Denju Tenarai Kagami) โยชิซูเนะ เซน

บอนซากุรา(Yoshitsune Senbonzakura) และ คานาเดฮอน ชูชิงกุระ (Kanadehon Chushingura )

ในยุคตอมาไดมีผูพยายามท่ีจะพัฒนาละครหุนใหเกินเลยออกไป จากขอบเขต

ของความเปนละครหุน โดยจะพยายามใหหุนกลายเปนคน นับเปนการทําลายศิลปะของละคร

หุนเอง ผูชมเร่ิมเส่ือมความนิยม หันไปดูละครท่ีมีนักแสดงจริง ๆ ท่ีนาสนใจมากกวา ปจจุบัน

หุนบุนราขุ ไดกลายเปนละครคลาสสิคที่ไดแตรักษาของเกาไวเทานั้น ในขณะเดียวกันก็มีการ

แสดงอยูตามชนบทในเกาะชิโกกุในฐานะเปนศิลปะพ้ืนเมือง (กระทรวงการตางประเทศ,

ม.ป.ป., หนา 81)

การแสดงหุนบุนราขุ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

7.1 วิธีแสดง การแสดงหุนบุนราขุ มีองคประกอบ 3 สวนคือ การขับรอง

การเลนดนตรีซามิเซ็นและการเชิดหุนขนาดใหญราว2 ใน3 ของคน โดยใชคน 3 คนเชิดหุน

ตัวเดียว แสดงในโรงหุนที่สรางขึ้นโดยเฉพาะ แตพ้ืนลึกลงไปสําหรับใหคนลงไปเชิดหุนได

การเชิดจะเห็นไดทั้งตัวหัวจรดเทา เห็นคนเชิดดวย ดนตรีหรือคนพากยจะนั่งบนดานขวาของเวที

Page 79: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

70

โดยคนพากยจะมีโตะเล็กๆ วางบทหุนอยูหนาผูแสดงในการเชิดหุนนั้นจะมีองคประกอบ

ดังนี้คือ

7.1.1 หุน แ ล ะ ก า ร เ ชิด หุ น หุ น มี โ ค ร ง ส ร า งส ว น ป ร ะ ก อ บ ที่ ง า ย

ไมซับซอนประกอบดวยสวนหัว แผนไหล แขนต้ังแตชวงขอศอกลงไป และขาต้ังแตชวงหัวเขา

ลงไปกับ มีหวงไมไผทําหนาที่แทนสะโพก แขน ขา และหวงสะโพกจะถูกแขวนดวยเชือกจาก

แผนไหล สําหรับตัวหุนผูหญิงนั้นกอนนํามาแตงตัว จะใชแผนรองนิ่มๆ บริเวณหัวไหลใหได

ความรูสึกแบบไหลของผูหญิง เส้ือผาหุนจะมีชองเปดดานหลังเพ่ือใหมือของคนเชิดหุนสอดเขา

ไปได หัวหุนจะทําใหติดกับสวนตัวหุนตรงรูตรงกลางแผนไหล นักเชิดหุนคนแรกจะเอา

มือซายสอดเขาไปในชองอกที่กลางตัวหุนจากใตผารัดเอว (Obi) เพ่ือจับหัวหุนไว ตรงท่ีมือจับ

จะมีเชือก ตาง ๆ เพ่ือใหผูเชิดหุนใชบังคับการเคลื่อนไหวของตาคิ้ว ปาก หรือในบางคร้ังแมแต

จมูก ไมใชหุนทุกตัวจะมีกลไกละเอียดเชนนี้ หุนบางตัวโดยเฉพาะหุนผูหญิงจะไมสามารถ

เคลื่อนไหวอวัยวะบนใบหนาได บางตัวเคลื่อนไหวนิ้วไดถาตองเลนดนตรีเชน ซามิเซ็นหรือ

โคโตะก็จะประกอบมือพิเศษเขาไปที่ตัวหุน ความแตกตางของความละเอียดในการเคลื่อนไหว

ของหุนแตละตัว จะขึ้นอยูกับบทบาทในแตละฉาก ผูเชิดหุนแตละคนจะตองรับผิดชอบกับการ

ประกอบช้ินสวนและแตงตัวใหหุนเอง แลวนําไปแขวนเตรียมไวท่ีหองหลังเวที หัวหุนที่ใช

แสดงกันอยูทั่วไปมี 45 ประเภท ทาพ้ืนฐานของหุนมีราว 40 ทา ทาของหุนหลายทาที่ได

กลายเปนตนฉบับของทาแสดงที่เปนแบบแผนของคาบูกิ นักเชิดหุนจะพยายามเชิดใหทาทาง

ของหุนดูเปนธรรมชาติใกลเคียงกับมนุษยมากที่สุด (เสาวลักษณ สุริยะวงศไพศาล, 2546, หนา 11)

7.1.2 วิธีเชิด คนเชิดท่ีเปนหัวหนาคนเชิด 3 คนจะใชมือซายจับบริเวณ

หนาอกของหุนและใชนิ้วเชิดตา คิ้ว ปาก สวนมือขวาก็เชิดมือขวาของหุนรวมทั้งนิ้วของหุนดวย

ผูเชิดจะสวมชุดกิโมโนผาพ้ืนสีดําหรือชุดคามิชิโม (Kamishimo) ซ่ึงเปนชุดกิโมโนทางการท่ีมี

อายุเกาแกมาต้ังแตสมัยศตวรรษที่ 12 และสวมเกี๊ยะพิเศษซ่ึงทําใหตัวผูเชิดสูงขึ้นราวคร่ึงฟุต

เพ่ือความสะดวกในการเชิดรวมกับผูเชิดอีก 2 คน คนเชิดหุนคนท่ีสองและสามจะสวมชุด

กิโมโน สีดํา ถุงมือสีดําและคลุมทั้งหนาศีรษะดวยผาดําเชนกัน คนเชิดคนที่สองจะเชิดแขนซาย

คนเชิดคนที่สามเชิดขา แตถาเปนหุนเชิดผูหญิงซ่ึงไมมีขาก็จะคอยขยับกิโมโน ใหดูเหมือนขาที่

กําลังเคลื่อนไหว คนเชิดที่สองนั้นตองทําหนาที่คอยสงของใชตาง ๆ เชน ผา พัดใหกับหุน

รวมทั้งสงคืนใหคนดูแลอยางแนบเนียนไมใหผูชมสังเกตเห็นดวย

7.1.3 คนพากย เนื่องจากหุนไมมีชีวิตจึงตองมีคนพากย (Tayu) ขับรอง

เลาเร่ืองและเจรจาแทนหุน คนพากยจะกางหนังสือที่มีคํารองและทวงทํานอง ซ่ึงประกอบกัน

ขึ้นเปนละครทั้งเร่ืองของบุนราขุ ซ่ึงเรียกวา โจรุริ คนพากยจะเปนคนสรางบรรยากาศใหแก

Page 80: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

71

ฉากตาง ๆ ในบทรองที่เต็มไปดวยอารมณนั้น คนพากยอาจจะเปลี่ยนสีหนา เหง่ือตกหรือน้ําตา

ไหลจริง ๆ นอกจากนั้นยังดัดเสียงใหเปนท้ังชายและหญิงแตกตางกันออกไปตามบุคลิกของ

ตัวละครอีกดวยตามประเพณีนิยมแลวคนพากยจะไดรับการยกยองสูงกวาผูเชิดหุน และจะเปน

หัวหนาคณะของละครบุนราขุ

7.1.4 ดนตรีซามิเซ็น ซามิเซ็นหมายถึง กระจับป เปนเคร่ืองดนตรีที่ใชอยู

ในวงเคร่ืองสาย ผูเลนดนตรีซามิเซ็นนี้ไมเพียงแตจะบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงเทานั้น

แตยังตองใหเสียงประกอบอื่นๆ ดวย เชน เสียงฝน ลม หิมะ เพ่ือเพ่ิมบรรยากาศของการแสดง

และเสียงดนตรีจะตองเหมาะกับบรรยากาศและแตละเหตุการณในตอนสําคัญ

7.1.5 เวที เวทีของหุนบุนราขุมีลักษณะพิเศษคือ สวนหนาสุดของเวทีจะ

มีแผนไมกระดานสูงราว 18 นิ้ว ตลอดแนวของเวทีหลังแผนไมนี้จะมีแผนไมอีก 1 แผน

สูงราว 21 นิ้ว ซ่ึงจะบังสวนลางของนักเชิดหุนไว สวนของเวทีถัดจากแผนไมที่สองนี้ จะตํ่ากวา

ตัวเวทีราว 14 นิ้ว และเปนบริเวณท่ีนักเชิดหุนใชยืน เรียกบริเวณนี้วาฟูนาโซโก (Funazoko)

ทางดานซายขวาของฟูนาโซโก จะเปนทางเขาออกของตัวหุน

7.1.6 บทละคร บทละครท่ีใชในการแสดงหุนบุราขุนั้น เนื้อเร่ืองที่นิยม

นํามาแตงในการแสดงหุนไดแก จิไดโมโน (Jidaimono) หมายถึงละครอิงประวัติศาสตร ตัวเอก

จะเปนบุคคลที่มีช่ือเสียงในประวัติศาสตร หรือวงวรรณกรรมของญี่ปุน แบงเปนหลายลักษณะ

เชน ละครราชสํานักซ่ึงเปนละครเกี่ยวกับขุนนางในสมัยนารา (646-749) และสมัยเฮอัน

(794-1185) เกี่ยวกับการโคนลมอํานาจของขุนนาง ละครจิไดโมโน เปนละครเกี่ยวกับการ

รบพุงในสมัยกลาง ต้ังแตสงครามระหวางตระกูลเก็นจิและเฮเคในตอนปลายศตวรรษที่ 12 และ

ละครฟวดัลเปนเร่ืองเกี่ยวกับการลอบฆา ลางแคน และแยงชิงอํานาจกันระหวางซามูไรตระกูล

ตาง ๆ ที่ปกครองประเทศอยูในสมัยเอโด (1600-1967) ซ่ึงมีการปกครองในระบบฟวดัล

ทํานองเดียวกันกับเร่ืองแมคเบ็ท (Macbeth) หรือ แฮมเล็ต (Hamlet) บทละครเดน ๆ เชน เร่ือง

โยชิซูเน เซนโบนซาคูระ อิชิโนทานิ ฟูตาบา กันกิ (Yoshitsune-Senbonzakura Ichinotani

Futaba Gunki) และ ซันกนา (Shunkna) สามเร่ืองนี้นํามาจากเหตุการณทําสงครามระหวาง

ตระกูลเก็นจิกับเฮเค หรือ โกกูเซนยา กาสเซน (Kokusenya Kassen) ซ่ึงเลาถึงวีรกรรมของหนุม

ลูกคร่ึงจีนและญี่ปุน ในการชวยปราบกบฏในแผนดินจีน เปนตน

7.1.7 ฉาก ในการแสดงหุนบุนราขุนี้ ดานหลังของ ฟูนาโซโก หมายถึง

สวนของเวทีที่อยูถัดจากแผนไมที่ 2 ท่ีใชบังสวนลางของคนเชิดหุนไวจะตํ่ากวาตัวเวทีราว 14

นิ้ว เปนบริเวณที่นักเชิดหุนใชยืนเชิดหุน จะมีแผนไมอีกแผนหนึ่งซ่ึงสูงกวาแผนที่สองราวหนึ่ง

ฟุต ถาฉากในทองเร่ืองเปนเหตุการณภายในบาน รูปวาดฉากแสดงภายในบานก็จะถูกหยอน

Page 81: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

72

จากขางบน ลงมาที่บริเวณกระดานไมแผนนี้ นักเชิดหุนจะไมยืนอยูหลังแผนไมที่สามเพ่ือใหดู

เหมือนวาตัวละครกําลังอยูในบาน สวนบนของไมแผนที่สามจะทําหนาที่เหมือนพ้ืนเส่ือภายใน

ตัวบาน และไมแผนที่สองก็เหมือนเปนพ้ืนสนามหญาของบาน เปนตน

7.2 เคร่ืองแตงกาย ผูเชิดหุนมักสวมชุดกิโมโนสีดํา ถุงมือสีดํา ผาคลุมหนาและ

ศีรษะสีดํา หรือบางคร้ังก็สวมชุดคามิชิโม ซ่ึงเปนกิโมโนที่เปนทางการที่มีอายุเกาแกต้ังแต

ศตวรรษที่ 12 และบางคร้ังก็สวมเกี๊ยะเพ่ือใหตัวสูงขึ้นเพ่ือความถนัดในการเชิดหุน

7.3 เคร่ืองดนตรี ในการแสดงหุนบุนราขุนิยมใชดนตรีซามิเซ็น หรือท่ีเรียกวา

กระจับปดีดคลอเสียงรอง ผูเลนเคร่ืองดนตรีชนิดนี้จะตองเปนผูมีความสามารถคือ สามารถสราง

อารมณใหผูฟงเกิดการคลอยตามในการบรรยายฉาก

7.4 โอกาสที่ใชแสดง ปจจุบันนี้แสดงในงานมงคลท่ัวไป ขณะเดียวกันก็นิยม

แสดงอยูตามชนบทในชิโกกุในลักษณะศิลปะพ้ืนเมืองและเร่ิมแพรหลายไปท่ัวในแถบเอเชีย

และยุโรป

สรุป

ประเทศญี่ปุนแมจะไดรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากจีน ทั้งในดานการเมือง ภาษา

เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงศิลปะการแสดงและรสนิยมตาง ๆ แตญี่ปุนยังคงรักษาประเพณีเดิมของ

ตนไว โดยนําความรู ความคิดใหม ๆ มารวมกันแลวปรับใชใหเขากับรสนิยม ความเช่ือและ

ส่ิงแวดลอมที่เปนลักษณะของชาวญี่ปุน ศิลปะการแสดงของญี่ปุนมีกําเนิดมาจากการรายรําตาม

ความเช่ือของคนในสมัยโบราณ หลักฐานตนกําเนิดมีปรากฏในเทวตํานานช่ืออูซู เหมะโนะ

โอดอริ

ตอมาในปลายคริสตศตวรรษที่ 6 ญี่ปุนไดรับอิทธิพลจากการละเลนในแบบที่เรียกวา

กิงาขุ มาจากประเทศจีน กิงาขุในประเทศญี่ปุนเปนการเลนในขบวนแหตามงานวัด ผูเขารวม

ขบวนจะสวมหนากากทําทาทางสนุกสนานราเริง ในปจจุบันนี้ไมมีการแสดงชนิดนี้เหลืออยู

แลว คงเหลือเพียงหนากากไมที่ใชประกอบการแสดงเทานั้น การแสดงนาฏศิลปและละครของ

ญี่ปุนมีดังนี้ คือ 1) การแสดงบงโอดอริ เปนการเตนเพ่ือตอนรับดวงวิญญาณของ

ผูลวงลับ 2) การแสดงโนหมาฮิ เปนการเตนเคลื่อนไหวรางกายประกอบดนตรี 3) การแสดง

นิฮง บูโย เปนการรายรําที่มีระเบียบแบบแผนของญี่ปุน 4) การแสดงโนห เปนละครแบบ

โบราณที่มีกฎเกณฑ และระเบียบแบบแผนในการแสดงเครงครัดถือกันวาเปนศิลปะช้ันสูงของ

ญี่ปุน 5) การแสดงคาบูกิ เปนละครที่ไดมีผูกลาวไววา พัฒนารูปแบบจากละครโนห แตได

นํามาปรับปรุงแกไขใหเหมาะกับสภาวะสังคมสมัยใหม ทั้งในดานเทคนิคการนําเสนอ เคร่ือง

Page 82: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

73

แตงกาย ฯลฯ 6) การแสดงเคียวเง็น เปนการแสดงที่ไมมีแบบแผนตายตัว สามารถดัดแปลงได

มีลักษณะเปนละครส้ัน ๆ แสดงคั่นระหวางการแสดงโนห มีบทเจรจาทาทาง โดยไมมีคอรัส

และดนตรีประกอบ ส่ิงที่สําคัญอยูที่บทเจรจา 7)การแสดงหุนบุนราขุ เปนการแสดงที่มี

องคประกอบ 3 อยางคือ การรอง การเลนดนตรี และการเชิดหุน โดยใชคน 3 คนเชิดหุนตัว

เดียว การเชิดจะเห็นไดทั้งตัวหุนและคนเชิด

คําถามทบทวน

1. คนในสมัยโบราณเช่ือวาการแสดงนาฏศิลปและละครญี่ปุนมีกําเนิดมาจากส่ิงใด

2. ละครญี่ปุนมี กี่ประเภท อะไรบาง

3. ละครคลาสสิคของญี่ปุน คือละครอะไร อธิบายมาใหเขาใจ

4. ฮานามิชิ คืออะไร

5. อธิบายความหมายของคําวา คาบูกิ มาใหเขาใจพอสังเขป

6. การแสดง เมอิ หมายถึงอะไร และใชในโอกาสไหน

7. ยามะบูชิ เปนตัวละครประเภทใด ใชในการแสดงชนิดใด

8. จงอธิบายถึงความแตกตางของวิธีการแสดงละครโนหกับละครคาบูกิมาใหเขาใจ

9. การแสดง บุนราขุ คืออะไร

10. เคียวเง็น คืออะไร

Page 83: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

74

เอกสารอางอิง

กระจกสองญี่ปุน. (2541). พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

กระทรวงการตางประเทศ. (ม.ป.ป). ญี่ปุนปจจุบัน. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.

กัลยาณี สัตสุวรรณ. (2530). เคียวเง็นในญี่ปุนศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ดวงแข ออนหนู. (2537). นาฏศิลปเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

พันทิพา มาลา. (2528). นาฏศิลปเปรียบเทียบ-การวิจารณ การละคร. พระนครศรีอยุธยา :

วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ศุภฤกษ ชัยรัตน. (2548). การศึกษาวิเคราะหตัวละคร ในบทละครเคียวเง็นประเภทโฌเมียว

เคียวเง็น 3 เรื่อง. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ . (2539). การละครไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุมิตร เทพวงษ. (2548). นาฏศิลปไทยและนาฏศิลปสําหรับครูประถมและอุดมศึกษา.

พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

เสาวลักษณ สุริยะวงศไพศาล. (2546). บทละครคาบุกิและบุนราขุ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย.

_______. (ม.ป.ป.). คาบูกิ. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ.

สถาบันพิพิธภัณฑการเรียนรูแหงชาติ. (2551). ละครคาบูกิ. คนเมื่อ 5 มิถุนายน 2553, จาก

http://www.ndmi.or.th/.../ activities_255112.html.

อารท อัจฉรา. (2552). ละครโนห. คนเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2552, จาก

http://www.drartchula.blogsport.com/2009/02/traditional-p.html.

ฮิโรชิโคยามา. (ม.ป.ป). โนห แปลโดย โยชิโนบุกากิอุลิ และเสาวลักษณ สุริยวงศไพศาล.

กรุงเทพฯ : มูลนิธิญี่ปุน.

Amphitheater Publie School. (2006 ). Kabuki and Japanese Dance. Retrieved September

14, 2009, from http://www.amphi.com ~psteffen/fmf/ //kabuki.html.

Jamesbond. ( 2009). Obon. Retrieved August 8, 2009, from http://www.tarad.org/thread-

4290-1-1-htmL

Japanese. (2009). Japanese traditional dance. Retrieved August 25, 2009, from

http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_traditional_dance.

Page 84: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

75

Nohgakado, K. (2008). The Noh Stage. Retrieved November 4, 2008, from

http://www.zoka.blogs.com/.../the noh stage 2.html.

Nakamara, Y. (1971). Noh The elanieal Theater. New York : weatherlhiee.

The Japanese Dance Association. (2009). Nihonbuyo- a defintion. Retrieved August 8,

2009, from http://www.nihonbuyou.or.jp/english/nihonbuyo.htm

Yoshida, Chiaki. (1977). Kabuki. Tokyo : Japan Time.

Page 85: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 5

การแสดงนาฎศิลปและละครของอินเดีย

นาฏศิลปอินเดียเปนแหลงกําเนิดของนาฏศิลปเอเชียเกือบทุกประเทศ ไมวาจะเปนพมา

กัมพูชา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลวนมีที่มาจากแมแบบเดียวกันคือ นาฏศิลปอินเดีย ท้ังนี้เพราะ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตรของการเผยแพรอารยธรรม อินเดียมีบทบาทสําคัญตอการพัฒนา

ดานศิลปวัฒนธรรมของประเทศตาง ๆ ในแถบเอเชีย ส่ิงที่วางรากฐานไวอยางลึกซ้ึงก็คือ ศาสนา

แนวความคิด รสนิยมทางศิลปะ เมื่อแตละชาติรับไวแลวก็ไดผสมผสานใหกลมกลืนกับวัฒนธรรม

พ้ืนบาน ดังนั้นจึงทําใหการแสดงของชาติตาง ๆ มีรากฐานทางความคิดและรูปแบบพ้ืนฐานจาก

อินเดียรวมกัน เพ่ือใหเกิดความเขาใจมากย่ิงขึ้นในบทนี้จะไดกลาวถึงประวัติความเปนมา และ

วิธีการแสดงนาฎศิลปและละครของอินเดียในลักษณะตาง ๆ

ประวัติความเปนมา

อินเดีย เปนชาติที่มีความ เจริญรุ ง เ รืองมา แตค ร้ังโบราณกาล เปนตนแบบของ

ศิลปวัฒนธรรมในทุกๆดาน ทั้งในดานศาสนา วรรณคดี และนาฏศิลป นาฏศิลปอินเดียนั้นมี

มากมายทั้งในแบบมาตรฐานและแบบนาฏศิลปพ้ืนเมือง การละครในประเทศอินเดียเจริญรุงเรือง

มาก ประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือและเช่ือมั่นในศาสนา พระผูเปนเจา ตลอดจนส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ

ตางๆ พระผูเปนเจาที่ชาวอินเดียนับถือมาก ไดแก พระศิวะ (พระอิศวร) พระวิษณุ (พระนารายณ)

และพระพรหม โดยเฉพาะพระพรหมและพระศิวะนั้น กลาวกันวาเปนผูสรางโลกและพระเวท

ทางการรายรํา โดยแบงออกเปน 2 ตํานาน คือ

ตํานานที่ 1 กลาวกันวาพระพรหมเปนผูสรางโลก และสรางทุกส่ิงทุกอยางในโลก

รวมทั้งพระเวททั้ง 5 ดวย มีเร่ืองเลาวา บรรดาทวยเทพท้ังหลายตองการใหมีงานร่ืนเริงสนุกสนาน

แตยังไมมีบทละครที่จะใชแสดง พระอินทรซ่ึงเปนใหญในหมูทวยเทพจึงไปเฝาพระพรหมเพ่ือทูล

ขอตําราเกี่ยวกับการละคร พระพรหมจึงไดสราง นาฏยเวท (Natayaveda) โดยทรงหยิบสาระสําคัญ

จากคัมภีรพระเวททั้งส่ีเลมมารวมกันดังนี้

1. ฤคเวท ความรูทางปญญา ภาษา และถอยคํา

2. สามเวท ความรูทางดานลํานํา ทํานองเพลง และดนตรี

3. ยชุรเวท ความรูทางดานกิริยา ทาทาง และลีลาการแสดง

Page 86: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

76

4. อาถรรพเวท ความรูทางดานการแสดงออกทางอารมณ ประกอบดวยรสและภาวะ

(มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 13)

เมื่อพระอินทรไดตําราการแสดงละครไปแลวก็ไดนําไปใหเทวดาเลน โดยพระพรหมมี

บัญชาใหพระวิษณุกรรมเทพแหงวิชาชางไปสรางเวทีละครใหในแดนของพระอินทร และให

พระภรตมุนีเปนผูควบคุมการแสดง พระภรตมุนีไดจัดเร่ืองแสดงละครถวาย พรอมทั้งไดรวบรวม

ความรูเกี่ยวกับการละคร และนําไปเขียนเปนตําราขึ้นเรียกวา คานธรรพเวทหรือนาฏยศาสตร

(สุมาลี สุวรรณแสง, ม.ป.ป., หนา 1-2)ซ่ึงปจจุบันคัมภีรนี้ไดตกทอดมาถึงมนุษยและใชเปนแบบ

แผนการแสดงละครสืบมา ละครที่มีแบบแผนการแสดงที่นํามาจากกฏเกณฑในคัมภีรนาฏยศาสตร

เรียกวา ภารตนาฏยัม

ภาพที่ 5.1 ภาพพระศิวะปางคชสุรสังหาร ทรงแสดงทารายรําอันเปนปรางคหนึ่งของศิวะนาฏราช

จากภาพสลักที่เทวาลัยโฮยสาเลศวระ รัฐการนาตกะ ศิลปะอินเดียสมัยพุทธศตวรรษที่ 17

ที่มา : แสง มนวิทูร, 2541, หนา 4

พระภรตมุนี จึงไดรับการยกยองวาเปนปรมาจารยแหงการละคร เปนผูคิดการละครขึ้น

นาฏยศาสตร คือตําราทารํา บางทีก็เรียก ภรตศาสตร ตามช่ือผูแตง สวนที่เรียกวาคานธรรพเวท นั้น

เปนเพราะพวกคนธรรพ เปนพวกนักรองนักรําที่มีความสามารถ และท่ีเรียกยอเปนเวทนั้นเพราะ

Page 87: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

77

เห็นวาเปนวิชาที่สําคัญย่ิงอยางหนึ่ง ดังนั้นคนทั้งหลายจึงไดนับถือพระภรตมุนี เปนบรมครูของการ

ละครและนาฏศิลปทั่วไป (นิยะดา สาริกภูติ, 2515, หนา 12)

ตํานานที่ 2 ตํานานการฟอนรําท่ีเช่ือวาพระศิวะเปนผูประสิทธ์ิประสาทขึ้นนั้น ปรากฏอยู

ใน โกยิลปุราณะ ซ่ึงเปนคัมภีรปุราณะของทมิฬ เร่ืองราวมีอยูวามีฤาษีพวกหนึ่งพรอมดวยภรรยา

ต้ังอาศรมอยูในปาตารกะ ตอมาฤาษีพวกนี้ประพฤติผิดทําอนาจาร ฝาฝนเทวบัญญัติของพระผูเปน

เจา พระศิวะเห็นวาฤาษีเหลานี้เปนผูมีมิจฉาทิฏฐิ ควรที่จะไดรับการส่ังสอนใหรูจักผิดชอบช่ัวดี

พระองคจึงไดชวนพระนารายณเสด็จมายังมนุษยโลก เพ่ือท่ีจะทรมานพระฤาษีเหลานี้ พระอิศวร

ทรงแปลงพระองคเปนพระฤาษีหนุมรูปงาม และใหพระนารายณแปลงเปนหญิงสาวรูปรางสวยงาม

นาเสนหา พากันตรงไปยังปาตารกะ เมื่อบรรดาฤาษีเห็นก็พากันกําหนัดลุมหลงรักใครนาง

นารายณ ฝายภรรยาฤาษีก็พากันหลงใหลฤาษีแปลง จึงวิวาทกันดวยอํานาจราคะจริต เนื่องจาก

ตางพยายามที่จะเกี้ยวคนทั้งสองแตไมสําเร็จ ฤาษีตนหนึ่งไดเตือนวาฤาษีหนุมและภรรยานั้นคง

มิใชมนุษยธรรมดา และไดเลาเร่ืองใหฤาษีทุกตนทราบ เหลาฤาษีตางพากันสาปแชง ขณะกําลัง

ประกอบพิธีบูชายัญไดปรากฏเสือใหญตัวหนึ่งในกองเพลิงตรงเขาหาฤาษีแปลง แตฤาษีแปลงก็

มิไดหวาดกลัว จับเสือขึ้นมาและถลกหนังเสือมาครองแทนผา แตเหลาฤาษีก็ยังไมยอมแพกลับ

เนรมิตงูใหญขึ้นอีกตัวหนึ่ง ฤาษีแปลงก็มาจับมาคลองคอเปนสังวาล ฤาษีท้ังหลายจึงส้ินฤทธ์ิใน

ที่สุด พระอิศวรและพระนารายณก็กลายรางกลับคืนดังเดิม และไดกลาวคําสอนใหรูจักผิดชอบช่ัว

ดี จากนั้นพระองคจึงทรงรายรําเพ่ือแสดงความยินดีในชัยชนะ แตไดมียักษตนหนึ่งช่ือ มุยะคะละ

หรือ อสูรมูลาคนี เขามาขัดขวางเพ่ือจะชวยฤาษีพวกนั้น พระอิศวรจึงใชพระบาทเหยียบอสูร

ตนนั้นไว แลวรายรําดวยทาทางอันงดงาม โดยมีเหลาเทวดาและ ฤาษีมาเฝามองดวยความพิศวงใน

ทารําอันงดงามนั้น เมื่อจบการฟอนรําแลวเหลาฤาษีก็ละทิฐิ ตางพากันมาขอขมาโทษตอพระอิศวร

และพระนารายณ

การฟอนรําของพระอิศวรที่ปรากฏตอสายตาประชาชนเปนคร้ังแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ

พระยาอนันตนาคราช หรือ เศษนาคราช ซ่ึงเปนบัลลังกของพระนารายณ ใครที่จะไดชมการฟอนรํา

ของพระอิศวรอีก จึงทูลขอตอพระนารายณ พระนารายณทรงแนะนําวาใหไปบําเพ็ญตบะ ทําพิธี

บูชาพระศิวะที่เชิงเขาไกรลาส พระศิวะจะเสด็จมาประทานพรเอง พระยาอนันตนาคราชก็ได

ทําตามที่พระนารายณแนะนํา พระศิวะไดประทานพรใหตามที่ขอ ทรงกําหนดสถานที่ใหที่

มนุษยโลก ณ ตําบลจิดัมพรัม (Chidambaram) ซ่ึงอยูทางตอนใตของอินเดีย เปนสถานที่ที่พระองค

จะเสด็จมาฟอนรําใหมนุษยโลกชมเปนคร้ังแรก เมื่อถึงกําหนดพระศิวะเสด็จมาถึง ณ ที่นั้น พรอม

ดวยบริวาร ทรงนิมิตสุวรรณศาลาขึ้น และเร่ิมตนการฟอนรําใหแกพระยาอนันตนาคราชและ

มนุษยไดชม

Page 88: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

78

จากตํานานดังกลาวชาวฮินดูเช่ือวา เมืองจิดัมพรัม เปนสถานที่ที่พระอิศวรเสด็จลงมา

แสดงการฟอนรําบนโลกมนุษยเปนคร้ังแรก จึงไดสรางเทวรูปของพระองคปางฟอนรําเรียกวา

นาฏราช หรือ ศิวะนาฏราช และชวยกันจําหลักทารํา 108 ทาของพระอิศวรไวที่เสาไมทาง

ตะวันออกที่ทางเขามหาวิหาร ทารําเหลานี้ตรงกับท่ีกลาวไวในตํารานาฏยศาสตร ซ่ึงรจนาโดย

พระภรตมุนี ทาฟอนรําเหลานี้ถือเปนแบบฉบับของนาฏศิลปอินเดีย ซ่ึงตอมาไดแพรหลายไปทั่ว

ประเทศ และแพรกระจายมาสูดินแดนไทย (Potcharaporn Thongtanorm, 2008, p.10-11)

ภาพที่ 5.2 ภาพศิวนาฏราชศิลปะอินเดียใตสมัยโจฬะ ราวพุทธศตวรรษท่ี 16

ที่มา : แสง มนวิทูร, 2541, หนา 1

Page 89: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

79

ภาพที่ 5.3 ภาพโคปุระทางเขาเทวาลัยศิวนาฏราชที่จิดรัมพรัมรัฐทมิฬนาดูอินเดียที่โคงดานในของ

ซุมประตูทิศตะวันออก สลักเปนภาพบุคคลฟอนรํา ตามคัมภีรนาฏยศาสตรของภรตมุนี

ที่มา : แสง มนวิทูร, 2541, หนา 2

ภาพที่ 5.4 ภาพสลักบุคคลฟอนรําทาตาง ๆ ประดับซุมประตูดานตะวันออกของเทวาลัยศิวนาฏราช

ที่จิดรัมพรัม

ที่มา : แสง มนวิทูร, 2541, หนา 3

Page 90: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

80

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินเดีย

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินเดียมี 2 ประเภท ดังนี้

1. การแสดงภารตนาฏยัม (Bharata Natyam)

ภาพที่ 5.5 ภาพการแสดงภารตนาฏยัม

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.3

ภาพที่ 5.6 ภาพการแสดงภารตนาฏยัม

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.3

Page 91: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

81

ภารตนาฏยัม เปนนาฏศิลปที่เกาแกที่สุดของอินเดีย มีกําเนิดทางภาคใต รัฐทมิฬนาดู

ในดินแดนของชาวทมิฬ นาฎศิลปภารตนาฎยัมรุงเรืองมาก ในปริมณฑลของนครตันชอร

ในคริสตวรรษที่ 17เคยเปนนครหลวงอันรุงเรืองของกษัตริยตระกูลวิชัยนคร และตระกูลมารธา

ซ่ึงสนับสนุนวัฒนธรรมฮินดูอยางเต็มที่ ภารตนาฎยัมเปนนาฎศิลปประจําราชสํานัก ไดรับการ

สนับสนุนเปนพิเศษ ปจจุบันเมืองตันชอรเปนสถานที่สําคัญที่ผลิตศิลปนแนวภารตนาฎยัม

ในสมัยกอนนั้นการแสดงภารตนาฎยัม เปนองคประกอบสําคัญของพิธีในศาสนาฮินดู เปนการราย

รําในวัด ถือเปนพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์ิ ผูท่ีจะแสดงระบําถวายเทพเจาตองเปนนางเทวทาสีเทานั้น

การแสดงระบําของนางเทวทาสี เรียกวา ทาสีอัตตัม คือที่มาของการแสดงภารตนาฎยัม

ในปจจุบัน (มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 28)

ในสมัยกอนผูที่จะเขามายึดอาชีพเทวทาสีนี้ จะไดรับการฝกหัดอยางเขมงวดจริงจัง

ต้ังแตอายุ 5 ขวบ นอกจากจะฝกวิธีการรายรําอันเปนหนาท่ีหลักแลว ยังตองฝกการขับรอง ฝกเลน

ดนตรีหลายประเภท ศึกษาพระเวท วรรณกรรมและตําราสําคัญเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญาของฮินดู

งานประจําของเทวทาสี คือ การรายรําและการขับรอง บรรเลงเพลงตอหนาเทพเจาฮินดูในเทวาลัย

บางคร้ังมีงานพิธีสําคัญที่ตองจัดขบวนแหเทพเจา เทวทาสีก็มีหนาท่ีถือ พัดโบกและจามรประจํา

องคเทพเจาดวย ภายหลังเมื่ออินเดียตกเปนอาณานิคมของอังกฤษ สถานภาพเทวทาสีไดรับความ

กระทบกระเทือนมาก วัดไมสามารถอุปถัมภเทวทาสีได จึงทําใหเปลี่ยนจากผูดูแลมาเปนผูหวัง

ผลประโยชน ภาพของเทวทาสีตกตํ่าลงกลายเปนระบําของการหากิน ดังนั้นเพ่ือเปนการอนุรักษ

ความเกาแก และภาพลักษณอันดีงามของนาฎศิลป ชาวทมิฬไวจึงไดเปลี่ยนช่ือจาก ทาสีอัตตัม

มาเปน ภารตนาฎยัม ดังกลาว

การแสดงภารตนาฏยัม มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

1.1 วิธีการแสดง การแสดงภารตนาฏยัมนั้น มีองคประกอบพ้ืนฐาน 3 ประการคือ

ภาวะ ( Bhava) หมายถึง การแสดงออก ราคะ ( Raga) หมายถึง บทเพลง ทํานองเพลง ตาละ (Tala)

หมายถึง จังหวะ การเคลื่อนไหวในเชิงศิลปะการแสดง จําเปนตองอาศัยจังหวะ ทํานองเพลง และ

ทาทาง การแสดงออก เปนปจจัยหลัก การแสดงภารตนาฏยัมมีลีลาการแสดงที่มีจังหวะชาและ

คอย ๆ กระชับขึ้นจนถึงรวดเร็ว ในการแสดงจะใชองคประกอบตางๆ ของรางกาย เชน ตา ศีรษะ

หนา คอ มือ แขน และขาเปนตน ในการแสดงประกอบดนตรี และเร่ืองราว ลักษณะการเคลื่อนไหว

ของรางกายมี 6 รูปแบบ หรือหกทิศทาง ไดแก เคลื่อนจากซายไปขวา เคลื่อนจากบนมาลาง และ

เคลื่อนไปมาดานหนา ดานหลัง สวนภาษาที่ใชในการแสดงภารตนาฏยัม จะใชภาษาสันสกฤต

ทมิฬ และตารกู ซ่ึงเปนภาษาที่สลับซับซอน บทเพลงก็นํามาจากเร่ืองราวท่ีเกี่ยวกับพระผูเปนเจา

Page 92: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

82

ในศาสนาฮินดู การแสดงการรายรําแบบภารตนาฏยัม จะประกอบดวย 7 ชุดการแสดงดวยกันโดย

เรียงตามลําดับและขั้นตอนดังนี้ (Potcharaporn Thongtanorm, 2008, p. 17- 18)

1.1.1 การแสดงชุดอลาริปปู (Alarippu) อลา (alar) หมายถึง ดอกไม อิปปู

(ippu) หมายถึงการวาง หรือการโปรยลงบนพ้ืน อลาริปปู หมายถึงอาการแยมของดอกไม หรือ

อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ดอกไมที่ใชบูชาเทพเจา การแสดงชุดนี้จัดวาเปนชุดการแสดงสําหรับ

การไหวครูหรือ รําเบิกโรง เพ่ือบูชาองคพระอิศวร หรือ นาฏราชา เทพเจาแหงการฟอนรํา การแสดง

ชุดอลาริปปู มีอยูดวยกัน 3 แบบ ไดแก ติสรา อลาริปปู (Tisra Alarippu) มิสอลาริปปู

(Mishralarippu) และคันดะอลาริปปู (Khandalarippu) ซ่ึงเรียกตามชวงจังหวะของดนตรีที่ใช

ประกอบการแสดง การแสดงชุดนี้จะใชเวลาประมาณ 3 นาที หลังจากนั้นจะเร่ิมตนดวยชุดการ

แสดงที่เรียกวา จัสติสวารัม

1.1.2 การแสดงชุดจัสติสวารัม (Jathiswaram) เปนการรายรําตามชวงจังหวะ

และทํานองแบบศิลปะบริสุทธ์ิที่จัดวายากกวาชุดแรก ผูแสดงจะตองมีความสามารถในการ

เคลื่อนไหวสวนตางๆ ของรางกายอยางเช่ียวชาญและสงางามในทุกทวงทา การแสดงจะเปนแบบ

แผน เร่ิมจากจังหวะที่ชาและคอย ๆ เรงจังหวะขึ้นเร่ือย ๆ ตามลําดับคือ ติสรา (Tisra) 3 จังหวะ

จัตุสรา (Chatusra ) 4 จังหวะ คันดะ (Khanda) มิสรา (Misara) การแสดงมีอยูดวยกัน 3 รูปแบบ

ไดแก กัลยาณี จัสติสวารัม (Kalyani Jathiswaram) ราคะ มัลลิกา จัสติสวารัม (Rag Malika

Jathiswaram) และวสันตา จัสติสวารัม (Wasanta Jathiawaram) แตจะเร่ิมตนดวยการแสดงที่

เรียกวา ตีรมานัม (Teermanam) กอนเสมอ การแสดงในชุดนี้จะใชเวลาแสดงประมาณ 5-7 นาที

1.1.3 การแสดงชุดชับดัม (Shabdam) เปนการรายรําตามทํานองและ

บทเพลง จัดเปนชุดการแสดงลําดับที่สามของการแสดงภารตนาฏยัม ผูแสดงจะใชวิธีฟอนรํา

แบบฤตตาหรือศิลปะบริสุทธ์ิ สลับสับเปลี่ยนเพ่ือปดทายดวยตีรมานัม กอนจะเร่ิมตนดวยการ

แสดงเปนเร่ืองราวโดยใชการรําแบบใชบทหรือตีบท ส่ือความหมายดวยอารมณและความรูสึก

เนื้อเร่ืองสวนใหญจะเปนการสรรเสริญเทพเจาตาง ๆ เชนพระกฤษณะกับราธา พระศิวะกับนาง

ปารวตี พระรามกับสีดา หรือพระคเณศวร เปนตน เวลาท่ีใชในการแสดงชุดนี้ประมาณ 10 – 12

นาที

1.1.4 การแสดงชุดวรรณัม (Varnam) เปนการแสดงท่ีจัดวาเดนและสมบูรณ

แบบที่สุดของภารตนาฏยัม เพราะการรายรําแบบผสมผสานระหวางนฤตตาศิลปะบริสุทธ์ิและการ

รายรําแบบนฤตยาเปนการแสดงที่ส่ืออารมณและความรูสึกในระดับช้ันสูง ผูแสดงตองแสดง

ความสามารถเฉพาะตัวอยางเต็มที่ การใชภาษาทาทาง การเคลื่อนไหวตางๆ ตองถูกตองแมนยํา

และสวยงาม วิธีการแสดงจะแบงออกเปน 3 ขั้นตอนดวยกัน เร่ิมดวยเนื้อรองจะกลาวถึงอารมณของ

Page 93: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

83

ความรักจากความรูสึกที่เกิดขึ้น ตอมาขยายความโดยการอุปมาอุปมัยดวยการสรางจินตนาการและ

ทายที่สุดจะรายยาวถึงความสัมพันธที่เคยสรางมารวมกันในอดีต รวมถึงความสุขสมหวังในความ

รัก การแสดงนี้จัดไดวาเปนชุดการแสดงที่ยาวและใชเวลานานที่สุด ประมาณ 30-45 นาที และ

สุดทายจะจบดวยตีรมานัมในแบบฉบับที่คอนขางยาก ใชความสามารถสูงในการแสดง

1.1.5 การแสดงชุดปาดัม (Padam) เปนการแสดงที่เกี่ยวกับการบรรยายบท

กวีแหงความรักที่นุมนวลออนหวานเพ่ือผอนคลาย บรรยากาศบทเพลงท่ีจะบรรยายเกี่ยวกับความ

รักในรูปแบบตาง ๆ เชนยโสดา(Yasoda) เปนความรักของมารดาหรือพระนางยโสดาที่มีตอ

พระกฤษณะ หรือพระคีตวินท (Geetagavin) เปนความรักอันหวานซ้ึงระหวางหนุมสาวไดแก

พระกฤษณะกับนางราธา เปนตน การแสดงชุดนี้จะใชเวลาประมาณ 10 -15 นาที

1.1.6 การแสดงชุดติลลานา (Tillana) เปนชุดการแสดงท่ีจัดวามีความสําคัญ

และมีความนาสนใจอยางย่ิง หรือจะเรียกไดวาเปนเพชรเม็ดงามแหงภารตนาฏยัมก็ได เพราะเปน

บทสรุปของการโชวพลัง เทคนิคและกฎเกณฑการประดิษฐทารําแบบนฤตตาอยางแทจริง

ทวงทํานองและจังหวะเต็มไปดวยความมีชีวิตชีวาสนุกสนานเราใจ การรายรํามีลักษณะ

คลองแคลววองไว เด็ดเดี่ยว รวดเร็วและแมนยําในจังหวะ ประกอบกับการเคลื่อนไหวสวนตาง ๆ

ของรางกายอยางรวดเร็วและชัดเจนของผูแสดง ซ่ึงบงบอกถึงฝมือและความสามารถตาม

หลักเกณฑของนาฏยศาสตรอยางสมศักดิ์ศรีสมบูรณแบบ

และทายสุดของการแสดงจะจบดวยโศลก (Sloka) หรือคํากลอนภาษา

สันสฤตบทส้ัน ๆ เพ่ือเปนการกลาวสรรเสริญพระผูเปนเจา เนื้อหาจะเนนถึงปรัชญาแหงความรัก

และความศรัทธาในพระผูเปนเจา ผูแสดงจะรายรําตีบทเพ่ือส่ือความหมายตามนาฏยศัพทเปน

การเลาเร่ือง การรายรําแบบภารตนาฏยัม มีศิลปะในการแสดงอารมณของมนุษย 9 ประการคือ

(แสง มณวิทูร, 2541, หนา 6)

(1) ศฤงคาระ แสดงออกซ่ึงความรัก ความปติยินดี

(2) วีระ แสดงออกซ่ึงความกลาหาญ

(3) กรุณะ แสดงออกซ่ึงความ โศกเศรา

(4) หัสยะ แสดงออกซ่ึง ความตลกขบขัน

(5) ภยันกระ แสดงออกซ่ึงความนากลัว

(6) รุทระ แสดงออกซ่ึงความโกรธ

(7) พีภัตสะ แสดงออกซ่ึงความอัศจรรยใจ ฉงน สงสัย

(8) อัพภุตะ แสดงออกซ่ึงความสยดสยอง

(9) สันตะ แสดงออกซ่ึงความบริสุทธ์ิในจิต

Page 94: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

84

1.2 เคร่ืองแตงกาย หญิงจะสวมเส้ือสีขาว คอกวาง แขนส้ัน ความยาวถึงใตอก

หมสาหรีสีขาวรัดรูป คลี่หนานางเปนรูปพัดที่ใตเข็มขัด จีบหนานางดานหนา หรือนุงกางเกงขายาว

ไวดานใน หญิงจะเกลามวยตํ่าหรือสูง ประดับดวยดอกไมสีขาวและเคร่ืองประดับที่ผม และ

หนาผากเจิมหนาจุดสีแดงกลางหนาผาก

1.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีที่ใชประกอบการแสดงไดแก มฤดังกัม (Mridangam)

กลองสองหนาคลายกลองแขก ตาลัม (Talam) ฉ่ิง ตานปูระ (Tanbura) เคร่ืองดีดคลายพิณ และ

ไวโอลิน

1.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชแสดงเพ่ือบูชาพระผูเปนเจาในเทวาลัย ปจจุบันใชแสดง

ในงานทั่วไป

2. ละครสันสกฤต

ภาพที่ 5.7 ภาพการแสดงละครสันสกฤต

ที่มา : Fotoshyam, 2009, website

Page 95: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

85

ภาพที่ 5.8 ภาพการแสดงละครสันสกฤต

ที่มา : Fotoshyam, 2009, website

ละครสันสกฤตเปนละครพ้ืนเมืองของชาวอินเดียอยางหนึ่งเรียกวา ยาตรา

มีลักษณะเปนละครเร มีผูแสดงเพียง 3 คน คือ พระ นางและตลก ละครสันสกฤตท่ีนิยมเลนกันใน

อินเดียสมัยโบราณ แบงเปน 2 ประเภท คือ ประเภทรูปกะเปนละครช้ันสูง และละครอรูปกะเปน

ละครช้ันตํ่า ในละครทั้ง 2 ประเภทนี้ ประเภทรูปกะไดรับความนิยมอยางแพรหลาย จนไดรับการ

ถายทอดเปนภาษาตางประเทศหลายภาษา เชน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝร่ังเศส ภาษาเยอรมัน ฯลฯ และ

ไดแสดงติดตอกันเร่ือยมา จนกระทั่งศตวรรษที่ 16 จึงปรากฏมีละครอรูปกะเกิดขึ้น แตไมไดรับ

ความนิยมเทาที่ควร

การแสดงละครสันสกฤต มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

2.1 วิธีการแสดง ละครอรูปกะ เปนนาฏกะประเภทหนึ่ง ซ่ึงกําหนดวาจะตองมี

จํานวนองกต้ังแต 5-10 องก เนื้อเร่ืองจะแสดงเกี่ยวกับความรักและความกลาหาญจบลงดวย

ความสุข ตัวละครเปนชนช้ันสูงใชภาษาสันสกฤต ละครอรูปกะเปนนาฏิกาประเภทหนึ่ง

ซ่ึงปรากฏคลายคลึงกับนาฏกะ ตางกันเพียงจํานวนองกเทานั้น คือนาฏิกามีเพียง 4 องก

2.1.1 ลักษณะของละครสันสกฤต โดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้

2.1.1.1 เปนละครอันมีบทรองเปนพ้ืน มีการรําใชบท มีเจรจาเปน

ตอน ๆ และมีลูกคูรับ

2.1.1.2 นิยมจบแบบสุขนาฏกรรม

Page 96: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

86

2.1.1.3 จะไมมีการแสดงที่เปนเหตุการณรายแรง เชน การรบราฆาฟน

กันและตายบนเวที แตจะใชฉากแทรกที่เปนการบรรยายเหตุการณแทน

2.1.1.4 บทละคร ตองแตงใหพูดภาษาตางกันตามสมควรแกช้ันและ

บุคคล เชน พระเอก กษัตริย พราหมณ และชนช้ันสูงพูดภาษาสันสกฤต ตัวนางและผูชวยช้ันตํ่าพูด

ภาษาปรากฤต เปนตน

2.1.1.5 ละครสันสกฤตทุกเร่ืองจะเร่ิมดวยการใหพร ซ่ึงเรียกวา นาน

นที แลวเจาของโรงหรือตัวละครจะออกมาบอกกลาวใหผูชมทราบวา จะแสดงเร่ืองใด ใครแตง มี

เร่ืองยออยางไรบาง แลวจึงลงมือแสดงเร่ืองที่กําหนดไว

2.1.1.6 ในการแสดงละครสันสกฤตทุกคร้ัง จะมีตัวตลกติดสอยหอย

ตามพระเอก 2 แบบ คือ วิทุษกะเปนตลกหลวง ท่ีมีบทบาทสําคัญรองลงมาจากพระเอกนางเอก

มีหนาที่คอยติดตามรับใชพระเอก ซ่ึงสวนมากมักจะเปนกษัตริย พูดจาตลก โปกฮาและเสียดสีผูอื่น

ปฏะ เปนตัวตลกอีกประเภทหนึ่งที่ไมมีบทบาทสําคัญนัก แตเปนตัวตลกที่มีความสามารถทางดาน

ดนตรีและการขับรอง

2.1.1.7 ในการแสดงละครสันสกฤต ดังไดกลาวแลววาไมนิยมแสดง

ฉากรุนแรงตอหนาคนดู แตจะใชฉากแทรกแทนซ่ึงเรียกวา อรรโถปกเษปกะ แบงเปน 5 ประเภท

คือ วิษกัมภะ ประเวศกะ จูลิกา องกาสยะ และองกาวตาระ แตท่ีนิยมใชมากคือวิษกัมภะ และ

ประเวศกะ มีลักษณะดังนี้คือ วิษกัมภะ เปนฉากแทรกที่ปรากฏไดทั้งตอนตน ตอนกลางหรือ

ตอนทายของเร่ือง โดยใหผูแสดงหนึ่งหรือ สองคนออกมาสนทนาหรือ เลาเร่ืองที่เกิดขึ้นใหผูชมฟง

โดยใชภาษาปรากฤต (ภาษาพ้ืนเมือง) และตัวที่เปนนายจะใชภาษาสันสกฤต ประเวศกะ เปนฉาก

แทรกที่อยูระหวางองก โดยตัวละครจะออกมาเลาเร่ืองหรือ อธิบายเหตุการณระหวางองกที่ขามไป

หรือแนะนําประกาศการปรากฏตัวของตัวละครใหม

2.1.1.8 ผูแสดงละครสันสกฤตแตเดิมใชผูชายลวนๆ สวนผูหญิงจะ

แสดงแตระบํา ไมไดเลนเปนเร่ืองราว ตอมาเมื่อผูหญิงเร่ิมเลนเปนเร่ืองราวตามบทละคร จึงไดเกิดมี

ละคร 2 แบบ คือ ละครนอกเปนชายลวน และละครในเปนหญิงลวน ๆ

2.1.1.9 บทละครที่ใชแสดง บทละครของกาลิทาส เชน มาลวิภาค

นิมิตร (ความรักของมาลวิกาและอัคนิ) วิกรโมรวสี (อุรวสีผูถูกพิชิตดวยความกลาหาญ) ศกุนตลา

(แหวนที่หาย) บทละครของภวภูติ เชน มหาวีรจริต อุตตรรามจริต (เปนเร่ืองราวตอนปลายของ

รามเกียรต์ิ เร่ิมต้ังแตสีดาวาดรูปทศกัณฐ จนสีดามีโอรส และโอรสหาอุบายใหสีดาเขาเมือง) เปนตน

Page 97: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

87

2.1.1.10 เวที ไมปลูกโรงแสดงประจํา มักเลนในสังคีตศาลา ในวัง

เจานาย มีฉากกั้นเปนหนาโรง หลังโรงเรียกวา เนปถย เปนที่แตงตัวและที่พักตัวละคร อุปกรณ

การแสดงมีเตียงและราชรถเปนสําคัญ

2.2 เคร่ืองแตงกาย การแตงกายละครสันสกฤตในสมัยโบราณนั้น เขาใจวาคงมี

การแตงกายตามลักษณะของเนื้อเร่ือง ตามเหตุการณประวัติศาสตร หรือมีการแบงศักดิ์ ฐานะของ

ตัวละครแตละประเภท

2.3 เคร่ืองดนตรี ใชเคร่ืองดนตรีในราชสํานัก

2.4 โอกาสที่ใชแสดง มักใชแสดงในราชสํานัก และเปนเคร่ืองบันเทิงใจสําหรับ

ชนช้ันสูง ปจจุบันเปนเคร่ืองบันเทิงใจในงานมหรสพทั่วไป

3. การแสดงกถัก (Kathak)

ภาพที่ 5.9 ภาพการแสดงกถัก

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.11

Page 98: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

88

ภาพที่ 5.10 ภาพการแสดงกถัก

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.19

นาฏศิลปกถัก นาฏศิลปประเภทนี้เปนการฟอนรําทางภาคเหนือของอินเดีย แถบ

เมือง ลัคเนาวและเมืองชัยปูร การฟอนรําแบบนี้ถือกําเนิดมาแตอดีตกาล การฟอนรําดําเนินไป

ตามเร่ืองราว เนนเร่ืองความรักความกลาหาญเปนเนื้อหาสําคัญ กถัก แปลวา การแสดงเร่ืองราว

ประกอบคําบรรยายและดนตรี เร่ืองราวที่แสดงมาจากตํานานทางวรรณคดีตางๆ พระกฤษณะ

และนางราธา เปนตัวละครสําคัญ การแสดงเปนเร่ืองราวเกี่ยวกับชีวิตตอนตาง ๆ ของพระกฤษณะ

การแสดงกถัก มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

3.1 วิธีแสดง นาฎศิลปกถักใชผูแสดงท้ังหญิงและชายแสดงรวมกันบนเวที เวทีที่

แสดงจะไดรับการประดับตกแตงสวยงาม นิยมแสดงเดี่ยวมากกวาแสดงหมู ลักษณะเดนของ

นาฎศิลปกถักคือ มีลีลาการรายรําเปนแนวตรง เสนลายลักษณะสําคัญของโครงสรางกถัก คือการ

ตบเทาหรือการกระทืบเทาอยางรวดเร็ว และเปนจังหวะที่เราใจประกอบกับจังหวะกลอง ซ่ึงผูแสดง

จะผูกกระดิ่งที่ขอเทาที่เรียงรอยเปนรอยๆลูกเพ่ือใหเกิดเสียงดังเปนจังหวะ นาฎศิลปประเภทนี้

มีการประชันการตบเทาลอเลียนกับจังหวะกลอง สรางความร่ืนเริงใหกับผูชม นอกจากนี้การหมุน

ตัวดวยสนเทาอยางรวดเร็วและตอเนื่อง และลีลาการเคลื่อนไหวของมือที่ออนชอยและมีแบบแผน

Page 99: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

89

ทําใหการแสดงนาฎศิลปกถักมีความนาสนใจอยางย่ิง การแสดงชนิดนี้เปนการแสดงผสมผสาน

ระหวางวัฒนธรรมฮินดูและมุสลิม (ฉันทนา เอี่ยมสกุล, 2545, หนา 40)

บทละครที่ใชแสดงมี 2 ประเภทคือ เร่ืองพระกฤษณะกับนางโคป (นางเลี้ยง

โค) แสดงความรัก เกี้ยวพาราสี เยาแหย เนื่องจากพระกฤษณะนั้นโดยลักษณะจะเปนคนเจาชู

เร่ืองราวจึงเกี่ยวกับความรัก เมียที่แทจริงของพระกฤษณะช่ือวา นางราธะ และเร่ืองโลกธรรมมี

คือ เหตุการณในชีวิตประจําวัน เชน อาชีพการรีดนมวัว ขายสินคา เปนตน

3.2 เคร่ืองแตงกาย ตัวพระเอกไมสวมเส้ือ สวมแตทับทรวง สังวาล ทองกร

กระพรวนเทา คาดปนเหนง เพราะฉะนั้นพระเอกของละครกถักจึงเหมือนกับละครโนหราดั้งเดิม

ของไทย ที่ไมสวมเส้ือ

3.3 เคร่ืองดนตรี มีฉ่ิง ฉาบ พิณ กลองตัดการ

3.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหรสพทั่วไป

4. การแสดงกถักฬิ (Kathakli)

ภาพที่ 5.11 ภาพการแสดงกถักฬิ

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.13

Page 100: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

90

ภาพที่5.12 ภาพการแสดงกถักฬิ

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.16

คําวา กถักฬิ เปนภาษาอินเดีย กถัก หมายถึง เร่ืองราว นิยาย หรือตํานาน กะฬิ

หมายถึงการแสดงละครหรือการละเลน ดังนั้นกถักฬิ จึงหมายถึงการเลนท่ีแสดงเปนเร่ืองเปนราว

(มงคล พูนเพ่ิมสุขสมบัติ, 2526 , หนา 71 )

การแสดงกถักฬิ เปนนาฏศิลปของชาวอินเดียใต ในแควนเกราลา ถือเปนศิลปะ

โบราณแบบหนึ่งของอินเดียที่มีแบบแผน และหลักวิชาตรงกับที่กลาวไวในคัมภีรนาฏยศาสตร

หมายถึง ตําราทารําที่ถูกบันทึกไวโดยพระภรตฤาษี ทาฟอนรําเหลานี้เปนทารําท่ีนาฏศิลปอินเดีย

ใชเปนแบบฉบับในการฟอนรํา เช่ือกันวาเปนทารําที่พระศิวะทรงฟอนรําที่ตําบลจิดัมพรัม

มีทั้งหมด 108 ทา กถักฬินี้ไดรับอิทธิพลมาจากกุดิยัตตัม (Kudiyattam) ซ่ึงเปนสวนหนึ่งของการ

แสดงละครโบราณ ซ่ึงปจจุบันยังมีการแสดงอยูที่เวทีกีราลา

การแสดงกถักฬิ นอกจากจะหมายถึงละครที่แสดงเร่ืองนิยายตามความหมายทาง

ภาษา(มะละยาลั่ม) แลว ยังมีลักษณะการแสดงท่ีอาจเปรียบเทียบไดกับบัลเลต ละครอภินิหาร

นาฏศิลปอุปรากร และละครใบ องคประกอบทางศิลปะของการแสดงกถักฬิ มีครอบคลุมถึง

ศิลปกรรม ดานประติมากรรมที่ปรากฏอยูตามเทวสถาน เทวาลัยในศาสนาฮินดูแตคร้ังโบราณกาล

กถักฬิมีกําเนิดในศตวรรษที่ 17 ในคร้ังนั้นพระราชาผูปกครองเมือง โกฏฏาระกะระ

ซ่ึงอยูในภาคกลางของรัฐทราวากอร ทรงพระราชนิพนธบทละครเร่ืองพระราม โดยใชภาษามะละ

ยาลั่มและภาษาสันสกฤตผสมผสานกัน แตสามัญชนก็เขาใจได กถักฬิมีประวัติความเปนมาใน

Page 101: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

91

ระยะแรก ๆ ในรูปแบบศิลปชาวพ้ืนเมือง ซ่ึงตางกับละครตามแบบแผนในอดีต ศิลปะการแสดงที่

เกิดขึ้นใหมนี้ไดรับความนิยมเปนอยางย่ิง จนทําใหเกิดการแขงขันกันในบรรดาผูครองรัฐตาง ๆ

ที่ตองการอุปถัมภ และกอต้ังคณะนาฏศิลปกถักฬิกันมากมาย การประชันแขงขันนี้ทําใหการ

แสดง กถักฬิมีวิวัฒนาการอยางรวดเร็ว แตอยางไรก็ตามเมื่ออํานาจของผูปกครองรัฐตาง ๆ

ได เปลี่ ยนแปลงไปจนขาดการอุปถัมภ ในปลายศตวรรษที่ 18 ตอ เนื่องศตวรรษที่ 19

นาฏศิลปกถักฬิ ไดเผชิญกับความหายนะไปช่ัวขณะหนึ่ง

ปจจุบันสถาบันที่เปดสอนกถักฬิที่มีช่ือเสียงคือ กลามัณฑลัม ต้ังอยูที่ตําบล เจรุตุรุ

ตี ต้ังขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2473 โดยมหากวีชาวมะละยาลี ช่ือวอลลาโตล นารายนัน เมนอน ปจจุบัน

กลามัณฑาลัม เปนโรงเรียนของรัฐบาลท่ีใหการฝกหัดนาฏศิลปนแขนงนี้ และในทุกปลายปจะมี

การสอบประสิทธิภาพการเรียน เมื่อจบการศึกษาจะไดรับประกาศนียบัตรรับรอง และมีศักดิ์และ

สิทธิในการเพ่ิมคําวา กลามัณฑลัมนําหนาช่ือของตน ซ่ึงเปนเกียรติอันสูงสงของศิลปนกถักฬิทุก

คน (ศูนยวัฒนธรรมแหงประเทศไทย, 2531, หนา 13)

การแสดงกถักฬิ มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

4.1 วิธีการแสดง การแสดงกถักฬิจะแสดง กลางแจงภายใตดวงดาว ไมมีหลังคา

มีตะเกียงทองเหลืองอยางที่ใชจุดในเทวสถานต้ังอยูหลังโรง ใชความมืดหลังเวทีไมมีฉากกั้น แสดง

บนเวที และการแสดงจะเร่ิมต้ังแตเย็นไปจนตลอดคืน กอนการแสดงจะมีการเกร่ินนําดวยกลอง

ตีดังไปไกลประกาศใหคนรูวาจะมีการแสดงเกิดขึ้น จากนั้นก็จะมีการแสดงที่เรียกวา โตทยัม

เปนการสวดสรรเสริญพระผูเปนเจามีลักษณะเหมือนบทไหวครูหรือบทบวงสรวง โดยตัวละครจะ

ยืนอยูขางหลัง ดานหนาจะมีเด็กสองคนถือมานบังตัวละครไว เมื่อจบ โตทยัม ก็จะลดมานลง

การแสดงก็จะเร่ิมขึ้น ในการแสดงกถักฬินี้ ผูแสดงคนหนึ่งสามารถแสดงไดหลายบทบาท เชน เมื่อ

ผูแสดงคนหนึ่งกลาวถึงอีกบุคคลหนึ่ง ก็จะตองแสดงทาทางไปดวย เราเรียกวาเอกาภินัย (Kathakali,

1977, p.34-38) การแสดงแตเดิมใสหนากาก ปจจุบันหันมาแตงหนาใหเหมือนกับการใสหนากาก

แทน ในขณะแสดงผูแสดงไมพูดหรือรองเอง จะมีนักรองจํานวน 2 คนเปนผูรองเพลงใหดวย สวนผู

แสดงจะทําทาใหสอดคลองกับความหมายของเพลง ดวยภาษาถิ่นช่ือ มาลาวาลั่ม(Malavalam)

การแสดง กถักฬินี้จะมีเพลงประกอบการแสดงเรียกวา กลาสัม คลายกับเพลงหนาพาทยของไทย

การฝกหัดผูแสดงจะมีความสามารถแสดงไดดี มีความเช่ือมั่นในตัวเองได เขาตองศึกษาอยางนอย

12 ป คลายกับดาลังหรือการแสดงหุนกระบอกของอินโดนีเซียและการแสดงง้ิวของจีน ซ่ึงตอง

อดทน อดกลั้นและรับผิดชอบตอบทบาทท่ีไดรับ เขาตองเรียนรูจังหวะ การประสานเสียง ทํานอง

เพลง จําเร่ืองราวที่คลายคลึงกันเปนจํานวนมาก การเคลื่อนไหวตา ขอศอก แกม ลําคอ แขนขา

ทุกคนตองอาศัยการเรียนรูและความชํานาญ ผูแสดง กถักฬินี้ใชผูแสดงประเภท ตัณฑพ (ผูชาย)

Page 102: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

92

แสดงเปนตัวละครในเร่ือง และจะมีนักดนตรี นักรองและนักพากยรวมแสดงดวย บทละครท่ีนิยม

แสดง คือ เร่ืองราวจากวรรณคดีอินเดียเชน เร่ืองมหาภารตะ เร่ืองรามยณะ และจากนิยายปุราณะ

ตางๆ ที่มีช่ือเสียง จําพวกเทวกําเนิด หรือเร่ืองที่ศักดิ์สิทธ์ิทางศาสนา ประวัติศาสตร (จาตุรงค

มนตรีศาสตร, 2523, หนา 170)

4.2 เคร่ืองแตงกาย เดิมใสหนากาก ตอมาหันมาแตงหนาใหวิจิตรพิสดารเหมือนกับ

การใสหนากาก การแตงหนามีแบบและสัญลักษณโดยเฉพาะเชนเดียวกับอุปรากรจีน เชน

การแตงหนาดวยสีเขียว หมายถึงผูกลาหาญหรือเทพเจา สีแดง สีขาว หมายถึงความช่ัวรายและ

จะทําปุมขนาดใหญย่ืนออกมาที่จมูก การเตรียมการแสดงของตัวเอก อาจใชเวลาแตงหนา แตงตัวถึง

4 ช่ัวโมง โดยใชกระดาษและแปงขาวเจาเคลาน้ําผสมปูนขาวทา เปนลวดลายบนใบหนา

การใสเส้ือผาจะมีลักษณะเปนกระโปรงบาน รูดเอวจีบรอบตัวและมีสุมใสไวขางใน แตงเฉพาะ

ดานหนา ดานหลังเปดคลายเอี้ยมเพ่ือผูแสดงจะไดไมรอน ดังนั้นเวลาแสดงจะไมมีการหันหลัง

ที่ศีรษะจะใสศิราภรณ ซ่ึงมีรัศมีของเทพเจาเปนแผนกลมใหญ ซ่ึงบางคร้ังมีน้ําหนักถึง 3 กิโลกรัม

4.3 เคร่ืองดนตรี เคร่ืองดนตรีที่ใชประกอบการแสดงมี 4 ชนิด คือกลองมัดดะลัม

กลองเจ็นดะ ฉาบเหล็กและโหมง

4.4 โอกาสที่ใชแสดง นิยมแสดงในงานมงคลทั่วไป

5. การแสดงมณีปุรี (Manipuri)

ภาพที่5.13 ภาพการแสดงมณีปุรี

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.20

Page 103: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

93

ภาพที่5.14 ภาพการแสดงมณีปุรี

ที่มา : Venleataraman & Paorieha, 2005, p.26

นาฏศิลปมณีปุรี เปนการฟอนรําท่ีมีแบบแผนสัมพันธกับลัทธิประเพณีของแควน

มณีปุระ หรือรัตนนคร อยูทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย บางตําราโบราณกลาววา การฟอน

รํามณีปุรี มีกําเนิดจากการบัญชาของเทพยดา ซ่ึงแปลงรางเปนสาวชาวมณีปุระ แลวไปปรากฏกาย

ตอหนาหัวหนาเผาช้ีแนะใหชาวมณีปุรีจับระบํารําฟอนเพ่ือขับไลปศาจราย ดังนั้นชาวมณีปุระจึงได

รวมกันจัดพิธีกันเปนการเอิกเกริก และเปนประเพณีสืบตอกันมา

การแสดงมณีปุรี มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

5.1 วิธีแสดง นาฏศิลปมณีปุรีมีลีลาที่ออนชอยแชมชา กวาการแสดงนาฏศิลป

ประเทศอื่นที่กลาวมาแลว เนื่องจากนาฏศิลปของชาวมณีปุรีเปนการแสดงนาฏศิลปพ้ืนเมือง การรํา

ประเภทนี้ไมมีการยักยายจากการยืนมากนัก มือที่ชูยกสูงไมเกินศีรษะ การเคลื่อนไหวศีรษะชวงตัว

ชวงมือ และเทาออนชอยนุมนวล ขณะท่ีรางกายจะโอนโคงเปนเลขแปดกลับไปกลับมา สวนการ

ฟอนรําของชายนั้นคอนขางเข็มแข็งคึกคัก มีการกระโดดและหมุนตัวอยางรวดเร็ว การแสดง

นาฎศิลปมณีปุรีนี้ จะเปนการแสดงหมูมากกวาการแสดงเดี่ยว มีนักแสดงท้ังชายและหญิงปนกัน

บางคร้ังใชพวกลัสยะ (ผูหญิง) เปนผูแสดงลวนๆ เร่ืองท่ีแสดงเปนเร่ืองเกี่ยวกับเทพเจาในศาสนา

ฮินดูและนิยายพ้ืนเมืองเชน เร่ืองราวของพระรามและ พระศิวะ เปนตน

5.2 เคร่ืองแตงกาย แตงคลายพวกยุโรป คือ นุงกระโปรงสุมที่มีลวดลายมากและมี

การนํากระจกสีตางๆ มาประดับกระโปรง เพ่ือความสวยงาม สวนผูชายแตงกายดวยการนุงผาโจง

กระเบนตามแบบอินเดีย

Page 104: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

94

5.3 เคร่ืองดนตรี ใชเคร่ืองดนตรีพ้ืนเมือง

5.4 โอกาสที่แสดง แสดงในมหรสพทั่วไป หรือ งานร่ืนเริงตาง

สรุป

อินเดียเปนประเทศตนแบบที่มีบทบาทสําคัญ ในดานการแสดงนาฏศิลปและละครตอ

การพัฒนา ศิลปวัฒนธรรมของประเทศตาง ๆ ในแถบเอเชีย ส่ิงที่วางรากฐานไวอยางลึกซ้ึง คือ

ศาสนา วรรณคดีและนาฎศิลป การแสดงในประเทศอินเดียนั้น มีมากมายท้ังในแบบมาตรฐาน

และแบบนาฎศิลปพ้ืนเมือง การแสดงนาฏศิลปและละคร ในประเทศอินเดียเจริญรุงเรืองมาก ชาว

อินเดียนับถือและเช่ือมั่นในศาสนา พระผูเปนเจา และส่ิงศักดิ์สิทธ์ิตาง ๆ พระผูเปนเจาท่ีชาวอินเดีย

นับถือ ไดแก พระศิวะ (พระอิศวร) พระวิษณุ (พระนารายณ) และพระพรหม โดยเฉพาะพระพรหม

และพระศิวะนั้น กลาวกันวาเปนผูสรางโลก และพระเวททางการรายรํา โดยแบงเปน 2 ตํานานคือ

ตํานานที่ 1 พระพรหมเปนผูสรางโลก และพระเวททั้ง 5 ตํานานที่ 2 พระศิวะ เปนผูประสิทธ์ิ

ประสาทการฟอนรําขึ้น โดยคร้ังแรกทรงฟอนรําท่ีปาตาระกะ ในการปราบเหลาฤาษี คร้ังท่ี 2 ทรง

รายรําในมนุษยโลก จากตํานานดังกลาว ชาวอินเดียจึงไดสรางเทวรูปทารํา ช่ือ นาฎราช หรือศิวะ

นาฏราช ประดิษฐานไวในเทวาลัย ศิวะนาฏราชอยูมาจนปจจุบันนี้

การแสดงนาฏศิลปและละครอินเดียที่ควรรูจัก ไดแก 1) การแสดงภารตนาฏยัม เปนการ

ฟอนรําบูชาพระผูเปนเจาในเทวาลัยโดยนางเทวทาสี 2) ละครสันสกฤต มีลักษณะคลายกับละคร

ยาตรา ซ่ึงเปนละครพ้ืนเมืองของอินเดีย แบงเปนสองประเภทคือ รูปกะ กับอรูปกะ 3) การแสดง

กถัก เปนการแสดงที่เลนเปนเร่ืองราวเนนในเร่ืองความกลาหาญ 4) การแสดงกถักฬิ เปนการ

แสดงที่มีระเบียบแบบแผนและหลักวิชาตรงกับท่ีกลาวไวในคัมภีรนาฎยศาสตร 5) การแสดง

มณีปุรี เปนการแสดงของแควนมณีปุระ แตงกายคลายพวกยุโรปมักแสดงเร่ืองเกี่ยวกับเทพเจาใน

ศาสนาฮินดู และนิยายพ้ืนเมือง

คําถามทายบท

1. คําวา ตํารานาฎยศาสตร หมายถึงอะไร

2. จงวิเคราะหถึงที่มาของทารํา 108 ทา ที่ปรากฏอยูในเทวาลัย ศิวะนาฎราช

3. ละครโบราณที่เกาแกที่สุดของอนิเดียมีลักษณะอยางไร

4. จงบอกลักษณะของการแสดงละครสันสกฤตมา 4 ขอ

Page 105: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

95

5. อรรโถปกเษปกะ จะถูกนํามาใชในการแสดงละครสันสกฤตในโอกาสใด

6. ภารตนาฎยัม หมายถึงการแสดงอะไร

7. การแสดงกถักฬิมีรูปแบบการแสดงคลายกับการแสดงประเภทใดของไทย อธิบายมา

ใหเขาใจ

8. บทละครที่นิยมนํามาใชในการแสดงกถัก มีเนื้อเร่ืองอะไรบาง

9. นาฎยเวท คืออะไร อธิบายมาใหเขาใจ

10. จงวิเคราะหและเปรียบเทียบลักษณะความคลายกนั ของการแสดงโนหราของไทย

คลายกับการแสดงประเภทใดของอินเดีย

Page 106: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

96

เอกสารอางอิง

จาตุรงค มนตรีศาสตร. (2523). นาฏศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรสยาม.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2545). นาฏลีลาอาเซียน. กรุงเทพฯ : เอ็ม พี เพรส .

นิยะดา สาริกภูติ. (2515). ความสัมพันธระหวางละครไทยและภารตะ. วิทยานิพนธปริญญาอักษร

ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พันทิพา มาลา. (2528). นาฏศิลปเปรียบเทียบ-การวิจารณการละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัย

ครูพระนครศรีอยุธยา.

มงคล พูนเพ่ิมสุขสมบัติ. (2526). วรรณคดีการละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครู

พระนครศรีอยุธยา.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําละครในเอเชีย. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ศรีสุรางค พูลทรัพย. (ม.ป.ป.). รามเกียรต์ิ : รามยณะของไทย ที่มา สาระ และคุณคา. ใน

นิทรรศการพิเศษรามเกียรต์ิในศิลปะและวัฒนธรรมไทย (หนา 21). กรุงเทพฯ : ศูนย

วัฒนธรรมแหงประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ.

ศูนยวัฒนธรรมแหงประเทศไทย. (2534). มหกรรมรามายณะนานาชาติ เฉลิมพระเกียติสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 4-27,(4) , 13.

สุมาลี สุวรรณแสง. (ม.ป.ป). วรรณกรรมการละคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.

แสง มณวิทูร. (2541). นาฏศิลปตําราทารํา. กรุงเทพฯ : ศิวพร.

Fotoshyam. (2009). Sansakit picture. Retrieved Febuary 27, 2009, from http://

www.wikipedia/Koodiyattam.

Kathakali. (1977, May-June). A power beyond world. Sawasdee, 6, 34-38.

Venleataraman, L. & Paorieha, A. (2005). Indian classieal dance tradition in thirce

cinpresion. New Delhi : Sri Satguru.

Potcharaporn Thongtanorm. (2008). A study of historical develment of teaching of

Bharatanatyam in India. Dissertation of Mastes of Banaras Hindu University,

Varanas, India.

Page 107: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 6

การแสดงนาฏศิลปและละครของไทย

ประเทศไทยมีประเพณีแบบอยางทางศิลปะการแสดงมาชานาน ซ่ึงไดผานมาหลาย

ศตวรรษและหลายช่ัวอายุคน การถายทอดทางศิลปะการแสดงนี้ไดผานมาหลายทาง จากที่เปน

คําพูดจนถายทอดมาเปนเอกสาร จากเร่ืองราวของคนๆ เดียวหรือครอบครัวมาจนเปนกิจการ

ทางการศึกษาอยางมีระบบ แตกระนั้นประเพณีทางศิลปะของการแสดงนี้ ก็ไดผานจากยุครุงเรือง

และ ยุคที่เส่ือมมาจนถึงปจจุบัน นาฏศิลปและละครของไทยเปนสวนหนึ่งของกระแสแหง

การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่สําคัญ และยังเปนส่ิงสําคัญอยางมากตอวิถีชีวิตของชาวไทย ไมใช

เปนเพียงแคความบันเทิงอยางเดียว แตยังเปนสวนหนึ่งของพิธีกรรมที่สําคัญและเกี่ยวของกับ

ศาสนาและกลุมสังคมหลายกลุม โดยแทจริงแลวนาฏศิลปและละครของไทยนั้น สามารถที่จะ

บรรยายลักษณะเฉพาะตัว และยังสามารถที่จะสะทอนใหเห็นถึงลักษณะของสังคมไทยท่ีแตกตาง

จากที่อื่นๆโดยเฉพาะ ดังนั้นเราจะสังเกตไดวานาฏศิลปและละครของไทยจะสะทอนใหเห็นถึง

ลักษณะที่จะบงบอกใหเห็นถึงความเปนไทย

ประวัติความเปนมา

การแสดงนาฏศิลปและละครของไทยมีมาต้ังแตสมัยโบราณ เปนมรดกทางดาน

วัฒนธรรม ที่แสดงถึงความเปนเอกลักษณของไทย ธนิต อยูโพธ์ิ (2515, หนา 136-137) ไดเขียนไว

ในหนังสือพ้ืนฐานอารยธรรมไทยวา จากหลักฐานของอาจารยจีนผูหนึ่ง แหงโรงเรียนสตรีชุงต้ัก

ที่เซ่ียงไฮ กลาววา ตามหลักฐานที่คนพบเกี่ยวกับถิ่นฐานบานเดิมของชนชาติไทยนั้นคือ อาณาจักร

ฉองหวู ซ่ึงต้ังอยูในมณฑลยูนาน มณฑลกวางตุงและมณฑลกวางสีรวมกัน และมีมาอยางนอย

5,000 ปมาแลว ในสมัยของพระเจาจุนกษัตริยของจีนไดเสด็จเยือนอาณาจักรฉองหวูของไทย และ

พบวาคนไทยเปนผูมีความสามารถในทางศิลปะดานดนตรีเปนอยางดี แสดงใหเห็นวาบรรพบุรุษ

ของชนชาติไทยนั้น มีอุปนิสัยรักการดนตรีและละครฟอนรํามาแตโบราณ

สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ (2515, หนา 14) สันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของละครไว

วา “การเลนละครรํา ไทยเราไดตํารามาแตอินเดียเปนแนไมมีที่สงสัย ถึงละครพมาและละครชวา

ก็ไดตําราไปแตอินเดียเชนเดียวกัน เพราะฉะนั้นละครไทยกับละครพมาและชวา กระบวนการเลน

จึงคลายคลึงกัน”

Page 108: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

98

สรุปไดวา ไทยเรานาจะมีการแสดงดนตรี ฟอนรํามาต้ังแตสมัยโบราณประมาณ 5,000 ป

มาแลว และการแสดงละครของไทยนาจะไดรับอิทธิพลมาจากอินเดีย การแสดงนาฏศิลปและละคร

ของไทยมีประวัติความเปนมายาวนาน มีความสําคัญควรคาแกการศึกษา เพราะการแสดงในแตละ

ยุคสมัยนอกจากจะใหความบันเทิงแลวยังบงบอกใหเห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ของ

คนในยุคนั้นๆ ดวย

การแสดงนาฎศิลปและละครของไทย

การแสดงนาฎศิลปและละครของไทย มีดังนี้

1. รําโทน

รําโทนเปนการแสดงอยางหนึ่ง นิยมเลนกันแพรหลายในชวงสงครามโลกคร้ังท่ี 2

ระหวาง พ.ศ. 2484 – 2488 ทั้งในเมืองหลวงและจังหวัดตาง ๆ ในภาคกลาง เชน พระนครศรีอยุธยา

สิงหบุรี ลพบุรี สระบุรี อางทอง ชัยนาท นครสวรรค ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก เปนตน

เหตุที่เรียกช่ือวารําโทน เพราะเดิมใชโทนเปนเคร่ืองดนตรีตีใหจังหวะในการรํา

เดิมทีเดียวรําโทนเปนการละเลนพ้ืนบานของคนไทยภาคกลาง ในยุคแรกรําโทนยัง

ไมมีเนื้อรอง เปนเพียงการรายรํางาย ๆ ตามใจผูรําใหไปตามจังหวะโทนเทานั้น ตอมาไดมีการ

พัฒนาขึ้นโดยมีการแตงเนื้อรองส้ัน ๆ รองใหเขาจังหวะ มีทารําใหเขากับเนื้อรอง คนไทยเลนเพลง

รําโทนกันแพรหลายที่สุด ในระหวางสงครามโลกคร้ังท่ี 2 เหตุท่ีคนไทยสมัยนั้นนิยมเลนเพลงรํา

โทนเพราะมหรสพอื่นๆ ไมสามารถเปดการแสดงได และรําโทนเปนการละเลนท่ีลงทุนนอย เลน

งาย เลนไดทุกเพศทุกวัย จึงเปนการละเลนเพ่ือความสนุกสนานร่ืนเริงยามค่ําคืนในสมัยนั้น

ภายหลังการเลนรําโทนพัฒนาไปเปนรําวง และรําวงมาตรฐานตามลําดับ

การแสดงรําโทน มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

1.1 วิธีเลนรําโทน สมทรง กฤตมโนรถ (2536, หนา 62-69) ไดพูดถึงวิธีการเลน

รําโทนสรุปไดดังนี้ การเลนรําโทนไมมีระเบียบวิธีเลนอะไรมาก เพียงแตนัดหมายกันวาคืนนี้จะ

เลนรําโทนที่บริเวณลานบานของใคร พอใกลค่ําหลังจากเสร็จส้ินภารกิจตาง ๆ กินขาวอาบน้ํา

แตงตัวแลวก็ไปยังบานที่นัดหมายใครมีเคร่ืองดนตรีอะไรก็นําไปดวย รวมกลุมกันไดสัก 10 คนก็

เร่ิมตีโทนเปนจังหวะใหรูวาจะเลนรําโทนแลว ผูเลนชายหญิงมีทั้งหนุมสาวและผูสูงอายุ สวน

เด็กๆ มักจะไปยืนดูรอบๆวง ชวยรอง ชวยปรบมือมากกวาจะเขาไปรํา การเลนรําโทนไมเก็บ

คาเลนคาดู ผูเลนจะแตงกายสวยงาม ตามสบายยืนลอมกันเปนวง เมื่อเพลงขึ้นก็ชวยกันรอง ผูชาย

จะไปชวนผูหญิงออกมารําเปนคู ๆ เดินตามกันเปนวงไปในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา เปลี่ยนเพลง

รองรําตอไปเร่ือย ๆ อยางสนุกสนานใครจะรองเพลงอะไรก็รองนําขึ้น ผูเลนก็จะรองตาม ๆ กันไป

Page 109: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

99

ใครเหนื่อยก็หยุดพักหายเหนื่อยก็ออกมารําตอ เปลี่ยนคูรําไดตามความพอใจ แตตองรําเปนคูชาย

หญิงเทานั้น

การเลนรําโทนจะมีลําดับขั้นตอนการเลนต้ังแตเร่ิมตนจนจบขั้นตอนการเลน

แตละคร้ัง 3 ลําดับขั้นตอน (อมรา กล่ําเจริญ, 2547, หนา 65 ) ดังนี้

1.1.1 การไหวครู การเลนรําโทนทุกคร้ังจะมีการประกอบพิธีไหวครูกอน

โดยเร่ิมจากการเตรียมเคร่ืองประกอบในพิธีไหวครู ไดแก ธูป 9 ดอก เทียน 1 เลม ดอกไมมงคล

3 สี สุรา 1 ขวด และเงินคากํานล 1 บาท 50 สตางค พรอมดวยอุปกรณประกอบจังหวะทุกชนิด

ไดแก กลอง โทน ฉ่ิง กรับ รวมทั้งผูเลนรําโทนจะตองเขารวมในพิธีไหวครูดวย เมื่อจัดเตรียม

เคร่ืองประกอบในพิธีไหวครูเรียบรอยแลว จะเตรียมนําการไหวครูขอพรใหการแสดงประสบ

ความสําเร็จและเปนที่ช่ืนชอบแกผูชมทั่วไป

1.1.2 ผูรองและผู เลนเคร่ืองประกอบจังหวะจะออกไปนั่งตรงกลางวง

บริเวณที่จัดเตรียมไว หรือบางคร้ังจะนั่งดานหนาวงรํา หรือดานขางแลวแตสถานที่จะอํานวย

1.1.3 ผู รํา จะยืนเรียงแถวหนากระดานสลับชายหญิงตามจํานวนคู รํา

โดยใหฝายชายยืนดานหลังฝายหญิง จากนั้นจะรวมรองเพลงแรกของวง ซ่ึงอาจจะเร่ิมดวยเพลงไหว

ครู เมื่อจบเพลงก็จะเดินรําเวียนเปนวงกลม เร่ิมตนการแสดงรําโทนตามลําดับเพลง ต้ังแตเพลงเชิญ

ชวนใหรํา การเกี้ยวพาราสี พบรัก แทรกเพลงรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ

จบดวยเพลงลา

1.2 เคร่ืองแตงกาย การเลนรําโทนจะแตงกายตามวัฒนธรรมไทยของแตละ

ทองถิ่น ดังภาพที่ 6.1

ภาพที่ 6.1 การแตงกายรําโทนแบบเดิมคือ ฝายหญิงนุงผาซ่ิน สวมเส้ือแขนยาว หมสไบ ชายนุงโจงกระเบน

เส้ือคอกลม มีผาคาดเอว แสดงแบบโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ที่มา : พันทิพา มาลา, 2551, ตุลาคม 1

Page 110: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

100

1.3 เคร่ืองดนตรี ดนตรีประกอบการรําโทนมีลักษณะเปนเคร่ืองประกอบจังหวะ

ไดแก โทน กรับ เดิมทีเดียวใชโทนตีใหจังหวะ ดังนี้

“ปะ โทน ปะ โทน ปะ โทน โทน” หรือ

“ปะ โทน โทน ปะ โทน โทน”

อาจใชโทนใบเดียวหรือหลายใบก็ได เพราะจะทําใหเกิดเสียงดังไพเราะ เราใจ

ย่ิงขึ้น บานไหนมีตะโพนก็ใชแทนโทนได ยามสงครามขาวของเคร่ืองใชตาง ๆ ขาดแคลน บาน

ที่ไมมีเคร่ืองดนตรีก็อาจใชถังน้ํามันหรืออะไรท่ีคลายคลึงมาตีใหเกิดเสียงดังเปนจังหวะแทนได

ตอมานิยมใชรํามะนาซ่ึงมีขนาดใหญเสียงดังไพเราะกวาตีใหจังหวะแทนโทน นอกจากนี้อาจใช

ฉ่ิง กรับ เกราะ ลักษณะเคร่ืองดนตรี ที่ใชในการรําโทนมีดังนี้

โทน เปนเคร่ืองดนตรีที่มีบทบาทสําคัญตอการเลนรําโทน ใชตีเปนจังหวะ

หลักในการรํามาต้ังแตสมัยกรุงศรีอยุธยา โทนมีอยู 2 รูปแบบ คือ โทนชาตรี และโทนมโหรี

โทนชาตรี ตัวกลองทําดวยไม เวลาตีจะใชมือใดมือหนึ่งตี อีกมือหนึ่งใชปด

เปดทายโทน เพ่ือใหเกิดเสียงตามตองการ ใชในวงปพาทยชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี

และหนังตะลุง นอกจากนี้ยังใชตีกํากับจังหวะในวงปพาทยเคร่ืองสาย และวงมโหรี เมื่อเวลาเลน

เพลงออกภาษาเขมรและตะลุง

ภาพที่ 6.2 โทนชาตรี

ที่มา : ณัฐฐิญา แกวแหวน, 2551, ตุลาคม 13

Page 111: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

101

โทนมโหรี โบราณตัวกลองทําดวยดินเผาแตตอมาทําดวยไม วิธีตีเชนเดียวกับ

โทนชาตรีดวยเหตุที่โทนชนิดนี้ใชเฉพาะกับวงเคร่ืองสาย และวงมโหรี จึงเรียกวา โทนมโหรี

เวลาตีจะใชตีคูกับรํามะนามโหรี

ภาพที่ 6.3 โทนมโหรี

ที่มา : ณัฐฐิญา แกวแหวน, 2551, ตุลาคม 13

1.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานตรุษ งานสงกรานตและงานร่ืนเริงทั่วไป

2. รําโคม

เปนการฟอนรําอยางหนึ่งทํานองเดียวกับระบํา สําหรับเลนที่หนาพลับพลาเวลา

พระเจาแผนดินเสด็จออกถอดพระเนตรมหรสพในตอนค่ํา การเลนรําโคมนี้แตเดิมพวกญวน

ที่เขาสวามิภักดิ์พ่ึงพระบรมโพธิสมภารคิดฝกหัดกันขึ้น เพ่ือเลนถวายถอดพระเนตร ตอมาจึง

กลายเปนมหรสพของไทยสําหรับเลนในงานหลวง การรําโคมญวนหรือญวนรํากระถางใน

เมืองไทยมีมาต้ังแตสมัยกรุงธนบุรี

จากหลักฐานทางประวัติศาสตรไดกลาววา เมื่อคร้ังเมืองเวเกิดขบถ พวกเช้ือพระวงศ

เจาเมืองเวหลายองคที่รอดตายพากันหนีลงมาทางเมืองไซงอน และทายท่ีสุดไดเขามาพึงพระบรม

โพธิสมภารยังกรุงธนบุรี ราว พ.ศ. 2318 – 2319 สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชไดพระราชทานที่

ใหญวนเขาพักอาศัยอยูนอกพระนครทางฝงตะวันออก ปจจุบันคือบริเวณแถวถนนพาหุรัด

ในสมัยนั้นคงจะมีการฝกหัดการเลนรําโคมและแสดงถวายทอดพระเนตรบาง ดังปรากฏหลักฐาน

การเลนมหรสพในงานฉลองพระแกวมรกตในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.2322 วามีญวนรําโคมรวมอยู

ดวย

Page 112: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

102

ตอมาการแสดงชนิดนี้ไดแพรหลายเขามาอีกคร้ังหนึ่งในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร

โดยองคเชียงสือราชนัดดาเจาเมืองญวนไดพาครอบครัวหนีพวกขบถเขามาขอพึงพระบรมโพธิ

สมภาร รัชกาลที่ 1 โดยทรงพระราชทานที่ใหต้ังบานเรือนอยูแถวตําบลคอกกระบือ องคเชียงสือ

ไดคิดฝกหัดใหพวกญวนเลนเตนสิงโต ญวนหก สําหรับเลนในเวลากลางวัน สวนเวลากลางคืนก็

มีญวนรํากระถางเมื่อฝกหัดดีแลว ไดนําเลนถวายรัชกาลที่ 1 ในหลายโอกาส

การเลนรําโคมญวนไดวิวัฒนาการมาเปนรําโคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยโปรด

ใหกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ผูบังคับบัญชากรมญวนหก เปนผูดัดแปลงและเลนเปนคร้ังแรกในงาน

เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ในปชวด พ.ศ. 2407

การแสดงรําโคม มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

2.1 วิธีแสดง วิธีเลนรําโคมอยางญวนหรือที่เรียกวาโคมรํากระถางนั้นสมเด็จพระ

เจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธไวในหนังสือ ประชุมบทรําโคมวา

” มีคนรํา 40 คน ยืนเรียงกันเปน 2 แถว แถวหนึ่งแตงตัวโพกศีรษะดวยแพรแดง ใสเส้ือแพรเขียว

นุงกางเกงแพรแดง อีกแถวพวกศีรษะดวยแพรเขียว ใสเส่ือแพรแดง นุงกางเกงแพรเขียว สวนโคม

นั้นทําโครงเปนรูปกระถางตนไม ส่ีเหลี่ยมกนสอบ ปดกระดาษตัวกระถางทําเปนโคม ติดเทียนจุด

ไฟที่ในกระถางนั้น ที่ปากกระถางปกลวดดัดทําเปนตนไม มีดอกขางกนกระถางทําเปนดามตอลงมา

สําหรับมือถือ พวกรําถือโคมกระถางคนละคู รองรําเพลงตางๆ มีกรับเคาะจังหวะคร้ันรองรําจนจบ

บทหนึ่งแลว ก็ตอกันเปนรูปตางๆ เชน รูปเรือ เปนตน เตนเขากับเพลงเคร่ืองโลโก เสร็จแลวรองรํา

โคมอีกครบ 5 คราวจึงหมดเร่ือง “

ตอมาเมื่อแกไขการรําโคมญวนมาเปนรําโคมไทยไดมีการแตงบทรองเปน

ภาษาไทย เปลี่ยนรูปโคมจากทรงส่ีเหลี่ยมแบบกระถางตนไม มาเปนรูปดอกบัวสีเขียวแถวหนึ่ง

สีแดงแถวหนึ่ง ปจจุบันใชสีชมพูเหมือนกันทั้งหมดและเพ่ิมผูเลนใหมีจํานวนมากขึ้นประมาณ

60 คน เวลาเลนมีการตีกรับใหสัญญาณ และรองรําเขาปพาทย สวนลีลาทารําก็เปนแบบไทย มีการ

ตอตัวเปนรูปตางๆ เชน รูปมังกร โคมเวียน ซุม เปนตน ปจจุบันนี้รําโคมไทยไดมีวิวัฒนาการทั้ง

รูปแบบการเลน และผูเลนที่เดิมใชผูชายเลนเปลี่ยนมาเปนผูหญิงเลนรายรําตามทํานองเพลงําฟองน้ํา

หรือลองหนายโดยไมมีการขับรอง ผูที่ปรับปรุงและประดิษฐทารําเปนคนแรกคือ ทานผูหญิงแผว

สนิทวงศเสนี ผูเช่ียวชาญนาฎศิลปไทยของกรมศิลปากร และศิลปนแหงชาติ

2.2 เคร่ืองแตงกาย การแตงกายในสมัยรัชกาลที่ 4 ไดเปลี่ยนมาแตงแบบไทย สวม

สนับเพลา นุงผาเกี้ยว (ผาลายดอกโต ๆ) ใสเส้ือแพรสีแดงแถวหนึ่ง สีเขียวแถวหนึ่ง ปจจุบันนี้ใส

เส้ือสีเดียวกันทั้งหมด มีผาคาดพุง ศีรษะสวมหมวกพับยอดเปนรูปหัวพญานาค สีแดงแถวหนึ่ง

Page 113: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

103

สีเขียวแถวหนึ่ง ปจจุบันนี้ใชสีแดงเพียงสีเดียว ปจจุบันนี้รําโคมไทย เมื่อใชผูหญิงแสดงไดเปลี่ยน

มาแตงกายโดยนุงผาจีบหนานาง หมสไบ สองมือถือโคมดอกบัวสีชมพู

2.3 เคร่ืองดนตรี วงปพาทยเคร่ืองหา

2.4 โอกาสที่ใชแสดง นิยมจัดแสดงในงานร่ืนเริงทั่วไป

3. รําฉุยฉาย

ในสมัยโบราณเปนการรําอยูในการแสดงโขนและละคร ในตอนที่ตัวละครในเร่ือง

แปลงกายหรือแตงกายไดสวยงาม การรําฉุยฉายในสมัยนั้นยังไมมีบทรอง ตัวละครรายรําไปตาม

ทํานองเพลงฉุยฉาย เพลงฉุยฉายเปนเพลงไทยอัตรา 2 ช้ัน มีมาต้ังแตสมัยกรุงศรีอยุธยาใชบรรเลงให

ตัวละครรําในตอนแปลงกายหรือแตงกายไดสวยงาม ตอมามีผูแตงบทขับรองสําหรับรองเพลง

ฉุยฉาย ซ่ึงยังไมมีเพลงแมศรีตอทาย สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอเจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ

ทรงอธิบายวา รองฉุยฉาย คือการรองเพลงชา รองแมศรีคือรองเร็วแทนปพาทย เร่ืองนี้มีหลักฐาน

เพลงฉุยฉายที่ปรากฏอยูในการแสดงโขนเร่ืองรามเกียรต์ิอยู 3 บท คือ ฉุยฉายทศกัณฐลงสวน

ฉุยฉายหนุมานแปลงเปนทศกัณฐ และฉุยฉายหนุมานแปลงเปนมานพ ท้ัง 3 บทนี้มีแตบทขับรอง

เพลงฉุยฉายไมมีเพลงแมศรี นายมนตรี ตราโมท ศิลปนแหงชาติเปนผูแตงบทขับรองเพลงแมศรี

เพ่ิมจนสมบูรณและใชประกอบการแสดงโขนมาจนถึงปจจุบันนี้

การรําฉุยฉาย มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

3.1 วิธีแสดง การรําฉุยฉายนอกจากจะใชรําประกอบการแสดงโขนละคร ตอนที่

ตัวละครแปลงกาย หรือแตงกายไดสวยงามแลว ยังนิยมท่ีจะนําชุดการแสดงดังกลาวมาแสดงใน

ลักษณะเปนการแสดงเบ็ดเตล็ดเชน การรําฉุยฉายพราหมณ ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายฮเนา ฉุยฉาย

เบญจกายแปลง ฯลฯ นอกจากนั้นในปจจุบันนี้ยังไดมีผูนําเพลงฉุยฉายไปแตงเนื้อรองเพ่ือนํามา

ประกอบการแสดงในโอกาสตางๆเชน การรําฉุยฉายดอกไมเงินทอง

เพลงฉุยฉายดอกไมเงินทอง

รองเพลงฉุยฉาย

“ฉุยฉายเอย สองนางเนื้อเหลืองยางเย้ืองกรีดกราย

หมผาหนาปกชาย ผันผายมาเบิกโรง

มือถือดอกไมเงินทอง เปนของสงาอาโถง

ไดฤกษงามยามโมง จะชักโยงคนมาดู

การฟอนละครใน มิใหผูใดมาเลนสู

ลวนอรามงามตรู เชิดชูพระเกียรติเอย”

Page 114: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

104

รองเพลงแมศรี

“สองแมเอย แมงามหนักหนา

เสมือนหนึ่งเทพธิดา ลงมากรายถวายกร

รําเตนเลนดูดี ย่ิงกวามีมาแตกอน

เวนแตทายไมงอน ไมเหมือนละครนอกเลย

สองแมเอย แมงามแมงอน

ย่ิงแมนแขนออน ออนแอนประหนึ่งวาด

ไหลเหลี่ยมเสง่ียมองค คิ้วเปนวงผิวสะอาด

ดังนางในไกรลาส รอนลงมารําเอย”

ปพาทยทําเพลงเร็ว-ลา

(ธนาคารไทยพาณิชย,2542 ,หนา 5587)

3.2 เคร่ืองแตงกาย ผูแสดงแตงกายยืนเคร่ืองตามลักษณะของตัวละคร

3.3 เคร่ืองดนตรี วงปพาทยเคร่ืองหา

3.4 โอกาสที่แสดง ในงานพิธีการและงานร่ืนเริงตางๆ

4. ละครชาตรี

ละครชาตรีเปนละครที่มีมาแตสมัยโบราณ มีอายุเกาแกกวาละครชนิดอื่น ๆ

มีลักษณะเปนละครเรคลายละครของอินเดียที่เรียกวา ยาตรี หรือ ยาตรา ซ่ึงแปลวาเดินทาง

ทองเที่ยว ละครยาตรา เปนละครพ้ืนเมืองของชาวเบงคลีในประเทศอินเดีย เปนละครเรนิยมเลน

เร่ือง คีตโควินทร ซ่ึงเปนเร่ืองอวตารของพระวิษณุ ตัวละครมีเพียง 3 ตัว คือพระกฤษณะ

นางราธิ และ นางโคป ละครยาตรานี้เกิดขึ้นในอินเดียมาชานาน (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 56)

ในสมัยโบราณละครชาตรีเปนที่นิยมแพรหลายในภาคใตของไทย เร่ืองท่ีนิยมแสดง

คือ พระสุธนและนางมโนราห ตอมาจึงเรียกการแสดงชนิดนี้วา โนราหชาตรี เพราะชาวใตมัก

ชอบพูดตัดพยางคหนาออก

Page 115: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

105

ภาพที่ 6.4 ภาพการแสดงละครชาตรี

ที่มา : กนกวรรณ ญาณี และคณะ, 2547, เว็ปไซต

การแสดงละครชาตรี มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

4.1 วิธีแสดง ในสมัยโบราณจะใชผูชายแสดงลวน มีตัวละครเพียง 3 ตัว คือ

ตัวนายโรง ตัวนาง และตัวตลก ซ่ึงตัวตลกนี้สามารถแสดงเปนตัวประกอบอื่น ๆ อีกหลายตัว

การแสดงเร่ิมตนดวยพิธีบูชาครูเบิกโรง จากนั้นปพาทยเร่ิมโหมโรงชาตรีแลวรองประกาศหนาบท

ตัวยืนเคร่ืองออกมารําซัดหนาบทตามเพลง จากนั้นก็เร่ิมจับเร่ืองโดยตัวละครออกมานั่งเตียงแลว

ดําเนินเร่ืองตอไป ตอนดําเนินเร่ืองมีผูบอกบทนํา ผูแสดงจะรองเองหนึ่งวรรค มีลูกคูรับเชนนี้

ตลอดไป เมื่อผูแสดงรองและรําไปจบตอนหนึ่งแลว จะมีการหยุดใหเจรจาทวนตน เพ่ือแนะนํา

ตัววาช่ืออะไร เปนใคร จะไปพบใคร หรือจะทําอยางไร เมื่อดําเนินเร่ืองตอไปแลวจะมีการพบตัว

อื่น ตอนนี้จะมีการโตตอบกัน เมื่อตัวละครแสดงจบบทของตนแลวแลวก็นั่งลงขางเตียง แลวถอด

เคร่ืองสวมศรีษะออกแสดงวาพัก ตัวอื่นก็แสดงตอไป ผูท่ีพักจะทําหนาท่ีเปนลูกคูรับรองตอไป

เมื่อการแสดงจบแลวจะตองรําซัดอีกคร้ังหนึ่ง วาอาคมถอยหลังรําเวียนขวาเรียกวา คลายยันต

เปนการถอนอาถรรพทั้งปวง (พาณี สีสวย , 2524, หนา 44 ) บทละครที่ใชแสดงไดแก

เร่ืองมโนราห และ รถเสน

4.2 เคร่ืองแตงกาย การแตงกายละครชาตรี สันนิษฐานกันวาเดิมคงแตงแบบ

พ้ืนเมือง คือแตงใหทะมัดทะแมงเพ่ือสะดวกในการรํา สําหรับตัวนางใชผาพาดหลังเพ่ือบอกให

ผูชมทราบเนื่องจากละครชาตรีไมมีผูหญิงแสดง สวนตัวตลกก็ยังแตงกันอยางธรรมดาเชน

เมื่อแสดงเปนยักษก็สวมหัวเปนยักษ ถาแสดงเปนนกก็ใชผาขาวมาคลุมตางปก ถาแสดงเปนชางก็

ใชผาขว้ันเปนงวง ถาแสดงเปนมาก็ใชผาขาวมาผาปากทําเปนมา และถาแสดงเปนฤๅษีก็ใชผาโพก

Page 116: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

106

ศีรษะแบบฤๅษีได (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา 122) การแตงกายในสมัยปจจุบันจะแตง

แบบเขาเคร่ือง หรือยืนเคร่ืองเหมือนละครนอก ไมคอยพิถีพิถันนักในเร่ืองลวดลายปกหรือความ

ประณีตของเคร่ืองประกอบศีรษะ และเร่ิมมีตัวละครผูหญิงแสดงเปนตัวสําคัญ สวนผูชายแสดง

เปนตัวตลกและตัวประกอบ ละครเร่ืองหนึ่ง ๆ มีตัวสําคัญอยางนอย 3 ตัว คือ พระเอก นางเอก

ยักษหรือตัวตลก สวนตัวพอแมแมจะเปนกษัตริยก็ไมเขาเคร่ืองครบเหมือนละครนอก เพราะตัว

ละครเหลานี้จะเปนตัวกึ่งตลกไปดวย

4.3 เค ร่ืองดนตรี วงดนตรีที่ ใชประกอบการแสดงเ รียกวา ปพาทยชาตรี

ประกอบดวย ปนอก 1 เลา กลองเล็ก 1 คู (กลองชาตรี) โทนชาตรี 1 คู ฆองคู ฉ่ิง กรับ

ละครชาตรีที่มาแสดงในกรุงเทพฯ มักตัดฆองคูออกใชมาลอแทน ซ่ึงถือเปนประเพณีสืบมา

4.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชแสดงแกบนตามสถานศักดิ์สิทธ์ิตาง ๆ ปจจุบันแสดงใน

งานมหรสพทั่วไป

5. ละครนอก

สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ (2466, หนา 16) ทรงอธิบายความหมายคําวา

ละครนอก ไวดังนี้

“ละครนอกเขาใจวาเดิมคงเรียกละครเฉย ๆ แตเมื่อละครในไดเกิดขึ้น จึงคิดเรียก

ละครพ้ืนเมืองตามที่มีมาแตเดิมวา ละครนอก เพ่ือใหเห็นความแตกตางระหวางละคร

สองประเภทนี้”

ละครนอกแตเดิมคงมาจากการละเลนพ้ืนเมืองของชาวบาน รําและรองแกกัน เชน

เพลงปรบไก เพลงพวงมาลัย แลวภายหลังจับเปนเร่ืองเปนตอนขึ้น เปนบทละครท่ีวิวัฒนาการมา

จากการแสดงละครโนราหชาตรี โดยปรับปรุงวิธีแสดงตาง ๆ ตลอดจนเพลงรอง และดนตรี

ประกอบใหแปลกออกไป

การแสดงละครนอก มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

5.1 วิธีแสดง การแสดงละครนอก มุงดําเนินเนื้อเร่ืองใหรวดเร็ว โลดโผน

ตลกขบขัน ตัวแสดงที่เปนตัวทาวพระยามหากษัตริยและนางพระยา อาจจะเลนตลกคลุกคลีกับ

พวกเสนาขาราชบริพารได ไมเครงครัดตอระเบียบแบบแผนจารีตประเพณี เพราะฉะนั้นบท

ประพันธที่แตงขึ้นสําหรับเลนละครนอก จึงตองแตงใหรวบรัด ใชถอยคําตลาดเปดชองไวใหเลน

ตลกไดมาก ๆ ไมใชคําราชาศัพทตามฐานะตัวละคร แตใชถอยคําตลาด ศิลปะในการรําก็ตองให

กระฉับกระเฉงวองไวเหมือนกิริยาของชาวบาน เปนละครที่ชาวบานเรียกกันเปนภาษาธรรมดาวา

ละครตลาด ทั้งนี้เพ่ือใหทันใจผูชมละคร บทละครที่ใชแสดงไดแกเร่ืองการเกด โมงปา คาวี

Page 117: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

107

มณีพิชัย ไชยทัต สังขทอง พิกุลทอง สังขศิลปชัย พิมพสวรรค สุวรรณศิลป พิณสุริวงศ

สุวรรณหงส มโนหรา โสวัต

ภาพที่ 6.5 ภาพการแสดงละครนอกเร่ืองหลวิชัย คาวี

ที่มา : กนกวรรณ ญาณี และคณะ, 2547, เว็ปไซต

5.2 เคร่ืองแตงกาย เดิมตัวละครแตงตัวอยางคนธรรมดาสามัญรูวาเปนตัวแสดง

หญิงหรือชายเทานั้น เชน ถาแสดงบทเปนตัวนาง ก็นําเอาผาขาวมามาหมสไบเฉียง ถาแสดงเปน

ตัวยักษก็เขียนหนาหรือใสหนากาก ตอมาละครนอกไดปรับปรุงการแตงกายใหงดงามขึ้น โดยนํา

แบบอยางมาจากละครใน ไดแก การแตงกายแบบยืนเคร่ืองพระนาง มีเคร่ืองประดับศีรษะ ไดแก

มงกุฎ ชฏา รัดเกลายอด รัดเกลาเปลว

5.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงปพาทยเคร่ืองหา ประกอบดวย ระนาดเอก ปใน ฆองวง

กลองทัด ตะโพนและฉ่ิง

5.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมงคล งานมหกรรมร่ืนเริงตาง ๆ งานมหรสพ

ตาง ๆ

Page 118: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

108

6. ละครใน

ละครในคือละครที่เกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เปนละครรําที่พระมหากษัตริยทรง

จัดใหมีขึ้น โดยนางในราชสํานักเปนผูแสดง สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุ

ภาพ (2515, หนา 146) ทรงสันนิษฐานวา

“คําที่เรียกวาละครใน เขาใจวาจะมาแตเรียกกันในขั้นแรกวา ละครนางในหรือละคร

ขางใน แลวจึงเรียกแตโดยยอวา ละครใน เมื่อมีละครในขึ้นอีกเชนนี้ คนทั้งหลายก็เรียก

ละครเดิมวา ละครนอก จึงมีช่ือเปนละครสองอยางตางกัน”

การแสดงละครใน นาจะเกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจาบรมโกศ (2275-2301) ดังมี

กลาวถึงในหนังสือบุณโณวาทคําฉันท ของพระมหานาควัดทาทราย ซ่ึงแตงวาดวยงานสมโภช

พระพุทธบาทในรัชกาลนั้นวา (พระมหานาควัดทาทราย, 2530, หนา 40)

ฝายฟอนลครใน บริรักษจักรี

โรงริมคิรีมี กลลับบแลชาย

ลวนสรรสกรรจนาง อรออนลอออาย

ใครยลบอยากวาย จิตรจงมเมอฝน

รองเร่ืองระเดนโดย บุษบาตุนาหงัน

พักพาคูหาบรร พตรวมฤดีโลม

ภาพที่ 6.6 ภาพการแสดงละครใน

ที่มา : ภาควิชานาฎศิลปะและดุริยางค สาขานาภศิลปไทยละคร, 2550, เว็บไซต

Page 119: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

109

การแสดงละครใน มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

6.1 วิธีแสดง ในสมัยโบราณวงปพาทยจะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็นจนจบกระบวน

เพลง แลวจึงบรรเลงเพลงวาเปนเพลงสุดทาย เมื่อถึงทายเพลงวาตัวละครจะออกมานั่งเตียง ตนเสียง

จะรองเพลงชาปใน ปพาทยรับทุกคําแลวจะรองเพลงอื่นๆ ปจจุบันดนตรีบรรเลงเพลงวาเปดฉากเร่ิม

แสดง ไมตองบรรเลงเพลงโหมโรงเหมือนสมัยกอน ถาจะดําเนินเร่ืองจะรองเพลงร้ือราย และรายใน

ตามลําดับ การแสดงละครในนั้นเนื่องจากผูแสดงละครในเปนนางในราชสํานัก ซ่ึงไดรับยกยองวา

เปนผูมีกิริยามารยาทงดงาม เพราะฉะนั้นละครในจึงมีความมุงหมายอยูที่ศิลปะของ การรายรํา

ไมนิยมแสดงตลกขบขันโลดโผน ทั้งยังตองรักษาแบบแผนจารีตประเพณี (พาณี สีสวย, 2524, หนา

62)

6.2 เคร่ืองแตงกาย ละครในจะแตงกายยืนเคร่ือง เนื่องจากละครในเปนหลวงและ

ใชผูหญิงแสดง จึงจําเปนตองใหตัวละครสวมเส้ือแขนยาว ตอมาในสมัยรัชกาลท่ี 6 ทรงมี

พระราชดําริวา ผูหญิงนั้นลําแขนสวยงามดีไมควรจะใหแขนเส้ือมาปดบังความงามในการที่จะ

ใชแขนรายรํา จึงโปรดเกลาฯใหตัดเส้ือแขนยาวเปนแขนส้ัน ติดกนกปลายแขนเส้ือเพ่ือความ

สวยงาม ในสมัยโบราณตัวเส้ือและแขนจะใชสีตางกัน แตในปจจุบันนี้ใชสีเดียวกันหมด

6.3 เคร่ืองดนตรี เดิมใชปพาทยเคร่ืองคูเพราะมีความไพเราะ แตตอมาเปลี่ยน

ความนิยมไปใชปพาทยเคร่ืองหา เพราะสะดวกในการขนยายเหมือนปพาทยของละครนอก

6.4 โอกาสที่ใชแสดง เดิมแสดงเฉพาะภายในเขตพระราชฐาน ปจจุบันไมจํากัด

สถานที่ แสดงไดทุกโอกาส

7. การแสดงโขน

โขนเปนการแสดงที่มีมาต้ังแตสมัยอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลู

แบร ราชทูตฝร่ังเศสสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช ไดกลาวถึงการเลนโขนวา เปนการเตนออก

ทาทางเขากับเสียงซอและเคร่ืองดนตรีอื่น ๆ ผูเตนสวมหนากากและถืออาวุธราวกับจะรบราฆาฟน

กัน โขนเปนนาฏกรรมที่ประกอบไปดวยศิลปะอันประณีตงดงาม และถือวาเปนแมบทของบรรดา

นาฏกรรมไทยอื่น ๆ เพราะมีระเบียบแบบแผนการแสดงท่ีไดรักษากันไวสืบมา ผูแสดงจะตอง

สวมหัวปดหนาทุกคน ยกเวนตัวตลกเพราะจะตองพูดและเจรจาเอง ตอมาภายหลังผูท่ีแสดงเปน

ตัวพระ นาง เทวดา ไมตองสวมหัวปดหนา (อมรา กล่ําเจริญ, 2542, หนา 45) เร่ืองท่ีใชแสดงโขน

ในปจจุบันนี้ นิยมเพียงเร่ืองเดียว คือ เร่ืองรามเกียรต์ิ

Page 120: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

110

ภาพที่ 6.7 ภาพการแสดงโขน

ที่มา : สํานักขาวกรมประชาสัมพันธ, 2550, เว็บไซต

การแสดงโขนมีกําเนิดมาจากการแสดง 3 ประเภท คือ การเลนหนังใหญ การเลน

ชักนาคดึกดําบรรพ และการเลนกระบี่กระบอง กระบี่กระบอง ซ่ึงมีลักษณะการแสดงดังนี้

การเลนหนังใหญ เปนมหรสพที่มีมาต้ังแตสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังที่มีขอความกลาว

ไวในหนังสือ บุณโณวาทคําฉันทของพระมหานาค วัดทาทราย ซ่ึงแตงขึ้นในราว พ.ศ. 2294-2301

ในหนังสือเลมนี้ไดกลาวถึงการแสดงหนังใหญที่แสดงฉลองงานพระพุทธบาท ในตอนกลางคืนวา

การละเลนหนังใหญนั้นเขานําแผนหนังวัว หนังควาย มาฉลุสลักเปนรูปตัวยักษ ลิง พระ นาง ตาม

เร่ืองรามเกียรต์ิ การเลนหนังใหญนอกจากจะมีตัวหนังแลว ยังตองมีคนเชิดหนังทําหนาท่ีเอาตัว

หนังออกมาเชิดและยกขาเตนเปนจังหวะ นอกจากนี้ยังตองมีผูพากย-เจรจาทําหนาท่ีพูดแทนตัว

หนัง มีวงปพาทยประกอบการแสดง สําหรับสถานท่ีแสดงหนังใหญนิยมแสดงบนสนามหญา

หรือบนพ้ืนดิน มีจอผาขาวราว ๆ 16 เมตร ขึงโดยมีไมไผหรือไมกลม ๆ ปกเปนเสารอบ ๆ จอผา

ขาว ขลิบริมดวยผาแดง ดานหลังจอจุดไตใหมีแสงสวางเพ่ือเวลาท่ีผูเชิดหนังเอาตัวหนังทาบจอ

ทางดานใน ผูชมจะไดแลเห็นลวดลายของตัวหนังไดชัดเจนสวยงาม การเตนของคนเชิดหนังใหญ

นั้น ไดรับการยอมรับวาเปนทาแสดงโขนในโอกาสตอมา (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา

135)

Page 121: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

111

ภาพที่ 6.8 ภาพการแสดงหนังใหญ

ที่มา : มณีปน พรหมสุทธิรักษ, 2534, หนา 1052

การเลนชักนาคดึกดําบรรพ การเลนแบบนี้ผูเลนจะแตงกายเปนอสูร เทวดา วานร

สุครีพ พาลี มหาชมพู อยางละตัว เขาขบวนแหพรอมดวยเคร่ืองพิธีตาง ๆ การเลนชักนาคดึกดํา

บรรพในพระราชพิธีอินทราภิเษกของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นี้ ทานผูรูสันนิษฐานวาบางที

พระมหากษัตริยไทยในสมัยโบราณอาจจะไดแบบอยางมาจากขอม แมจะไมมีตํานานกลาวไว

ชัดเจน แตก็ปรากฏหลักฐานอยูที่ปราสาทนครวัด วามีพนักสะพานท้ังสองขางท่ีทอดขามคูเขาสู

นครธม ทําเปนรูปพญานาคตัวใหญมี 7 เศียรขางละตัว มีเทวดาอยูฟากหนึ่ง อสูรอยูฟากหนึ่งกําลัง

ทําทาฉุดพญานาค และที่ในนครวัดก็จําหลักรูปชักนาคทําน้ําอมฤตไวที่ผนังระเบียงดานตะวันออก

เฉียงใต ดวยเหตุนี้โขนจึงไดนําเอารูปแบบการแตงกายมาจากการเลนชักนาคดึกดําบรรพ

การเลนกระบี่กระบอง กระบี่กระบองเปนการตอสูของไทยที่ฝกให จัดเจนกับการ

ใชอาวุธของไทยหลายชนิด ประกวดประชันกันในเชิงฝมือไหวพริบในการตอสู กระบวนการหลีก

หลบ หยอกลอ ย่ัวคูตอสู ลีลาทาทางตาง ๆ เหลานี้ไดถูกประดิษฐเปนทาตาง ๆ เชน ทากรายดาบเขา

หาคูตอสู การหลีกหลบ เปนตน (อมรา กล่ําเจริญ, 2542, หนา 46)

การแสดงโขน มีวิวัฒนาการและมีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

7.1 วิธีแสดง จําแนกตามลักษณะการแสดงดังนี้

7.1.1 โขนกลางแปลง เปนการแสดงโขนบนพ้ืนดิน ไมมีการสรางโรง

ผูแสดงเลนกลางสนามคลายกับการเลนชักนาคดึกดําบรรพ เปนการเลนตํานานการกวน

Page 122: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

112

เกษียรสมุทรของพราหมณ เลนในพิธีอินทราภิเษก โขนกลางแปลงสวนใหญจะเลนเกี่ยวกับการ

ยกทัพและการรบระหวางฝายพระรามและฝายทศกัณฐ ดนตรีท่ีใชอยางนอย 2 วง บรรเลงเพลง

หนาพาทย บทที่เลนมีแตคําพากยและบทเจรจา (มณีปน พรหมสุทธิรักษ, 2534, หนา 78)

7.1.2 โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เปนโขนท่ีแสดงบนโรงมีหลังคา มีราว

พาดตามสวนยาวของโรงสําหรับใหตัวละครนั่งแทนเตียง ตัวละครที่จะนั่งราวไดจะตองเปน

ตัวละครสูงศักดิ์เชน พระราม พระลักษณ สุครีพ ทศกัณฐ มีการพาทยและเจรจา แตไมมีการรอง

มี ปพาทยบรรเลงเพลงหนาพาทย 2 วงต้ังหัวโรงทายโรงจึงเรียกวาวงหัวและวงทาย หรือวงซาย

และ วงขวา กอนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรงและใหพวกโขนออกมากระทุงเสาตามจังหวะ

เพลง พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวปาจับสัตวกินเปนอาหาร พระรามหลงเขาสวนพวา

ทองของพระพิราพ แลวก็หยุดแสดงพักนอนคางคืนท่ีโรงโขน รุงขึ้นจึงแสดงตามเร่ืองท่ีเตรียมไว

ลักษณะนี้จึงเรียกวา โขนนอนโรง

ภาพที่ 6.9 ภาพการแสดงโขนนั่งราว

ที่มา : กลุมสาระการเรียนรูศิลปะKภูษิต, 2550, เว็บไซต

7.1.3 โขนหนาจอ คือโขนที่เลนตรงหนาจอหนังใหญ ในการเลนหนังใหญ

นั้น มีการเชิดหนังใหญอยูหนาจอผาขาว การแสดงหนังใหญมีศิลปะสําคัญคือการพากย และ

เจรจา มีดนตรีปพาทยประกอบการแสดง ผูเชิดตัวหนังตองเลนตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยม

แสดงเร่ืองรามเกียรต์ิ ตอมามีการปลอยตัวแสดงออกมาแสดงหนาจอแทนการเชิดหนังในบาง

Page 123: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

113

ตอนเรียกวา หนังติดตัวโขน มีผูนิยมมากขึ้นเลยปลอยตัวโขนออกมาแสดงหนาจอตลอด ไมมีการ

เชิดหนังเลย จึงกลายเปนโขนหนาจอ

ภาพที่ 6.10 ภาพการแสดงโขนหนาจอ

ที่มา : มนตรี ตราโมท, 2534, หนา 1552

7.1.4 โขนโรงใน คือโขนที่นําศิลปะของละครในเขามาผสม โดยมีทั้งออกทา

รําเตน มีบทพาทยและเจรจาตามแบบโขน กับนําเพลงขับรอง เพลงประกอบกิริยาอาการของดนตรี

แบบละครใน รวมทั้งมีการนําระบํารําฟอนมาผสมเขาดวยกัน เปนการปรับปรุงใหการแสดงโขนมี

วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหวางโขนกับละครใน สมัยรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 มี ราชกวี

ภายในราชสํานักชวยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธบทพาทยบทเจรจาใหไพเราะ จึงทําใหการ

แสดงโขนชนิดนี้มีความงดงามในเร่ืองของทารําและมีความไพเราะในเร่ืองของเพลงรอง

(สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 32-33)

7.1.5 โขนฉาก คือการแสดงโขนที่มีฉากประกอบการแสดงตามเนื้อเร่ือง

เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว โดยมีการแสดงโขนบนเวทีคลายกับละคร

ดึกดําบรรพ สวนวิธีแสดงดําเนินเชนเดียวกับโขนโรงใน คือ มีการขับรอง การพาทย เจรจา

มีดนตรีบรรเลงเพลงประกอบการแสดง แตมีการแบงเปนชุด เปนตอน เปนฉาก มีการตัดตอเร่ือง

ใหมไมใหยอนไปยอนมา เพ่ือสะดวกในการจัดฉาก กรมศิลปากรไดทําบทเปนชุด ๆ ไวหลายชุด

เชน ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณสะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร เปนตน

Page 124: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

114

7.2 ลักษณะคําประพันธ

7.2.1 บทพากยโขน เปนศิลปะของการใชเสียงที่ประกอบการแสดงโขน

โดยเฉพาะชาวบานในสมัยโบราณ เรียกวา โขนใบ เพราะโขนไมเจรจาเองจะตองมีคนพากยและ

เจรจาให บทพากย จะแตงเปนคําประพันธชนิดตางๆ เชน กาพยฉบัง 16 หรือกาพยยานี 11 ฉันท

บางฉันท เชน อินทรวิเชียรฉันท เมื่อจบบทหนึ่ง ๆ ของการพากย ก็ตีตะโพนและกลอง แลวรับดวย

คําวา เพย ซ่ึงใชเปนประจําในการแสดงโขนและหนังใหญ การพากยแบงออกเปนประเภทใหญ ๆ

ได6 ประเภทคือ พากยเมือง พากยพลับพลา พากยรถ พากยโอ พากยชมดง และพากยเบ็ดเตล็ด

(อมรา กล่ําเจริญ, 2542, หนา 51)

7.2.2 บทเจรจา เปนบทกวีที่แตงเปนรายยาวสงและรับสัมผัสกันไปเร่ือย ๆ

ใชไดทุกโอกาส สมัยโบราณเปนบทที่คิดขึ้นสดๆ เปนความสามารถของคนพาทย คนเจรจา ท่ีจะ

ใชปฎิภาณคิดขึ้นใหมีถอยคําสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และไดเนื้อถอยกระทงความถูกตองตาม

เนื้อเร่ือง ปจจุบันนี้บทเจรจาไดแตงไวเรียบรอยแลว ผูพาทยเจรจาก็วาตามบทใหเกิดอารมณคลอย

ตาม คนพาทยและเจรจานี้ ใชผูชายคนหนึ่งตองทําหนาที่ทั้งพาทยและเจรจา และตองมีไมนอยกวา 2

คน จะไดโตตอบกันทันทวงที

7.4 เคร่ืองแตงกาย แตงกายในลักษณะยืนเคร่ือง แตสําหรับตัวยักษและลิงจะตอง

สวมหัวโขนปดหนา

7.5 เคร่ืองดนตรี ในสมัยโบราณใชวงปพาทยเคร่ืองหาประกอบดวย ปใน ระนาด

เอก ฆองวงใหญ กลองทัด ตะโพน และฉ่ิง ปจจุบันอาจใชวงปพาทยเคร่ืองคู หรือ เคร่ืองใหญก็ได

7.6 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหกรรมบูชา มโหรสพสมโภช หรืองาน

บันเทิงตาง ๆ

8. ละครดึกดําบรรพ

ละครดึกดําบรรพเปนละครที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา

เจาอยูหัว ปรับปรุงมาจากการแสดงละครโอเปรา ผูใหกําเนิดคือเจาพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน

เกี่ยวกับความเปนมานั้น ดวงใจ จิตรพงศ (2515, หนา 90-91) อธิบายวา

เมื่อ พ.ศ.2434 เจาพระยาเทเวศรฯไปยุโรป ไดดูละครโอปะราท่ีฝร่ังเลนก็ตัดสินใจ

กลับมาเลาถวาย สมเด็จเจาฟากรมพระยานริศก็ทรงโปรดเห็นวาดี จึงคบคิดกันจัดการเลน

ละครไทยอยางละครโอปะราฝร่ัง เจาพระยาเทเวศรซ่ึงทรงมีละครอยูแลวจะเปนผูสราง

โรงและทําเคร่ืองใหละครของทานเลน ใหสมเด็จเจาฟากรมพระยานริศทรงคิดบท และ

คิดจัดวิธีการเลน เมื่อเจาพระยาเทเวศทรงสรางโรงเสร็จแลวก็ต้ังช่ือวา ละครดึกดําบรรพ

Page 125: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

115

ประสงคจะใหเปนช่ือคณะละครของทาน... แตเลนละครวิธีใหมนี้ดวยเปนปฐมคํา ดึกดํา

บรรพ จึงกลายเปนช่ือวิธีเลนไปดวย

ละครดึกดําบรรพนี้ไดแสดงคร้ังแรกในงานรับเสด็จเจาชายเฮนร่ี พระอนุชาแหง

กษัตริยรัสเซีย พระราชอาคันตุกะ ณ โรงละครดึกดําบรรพ ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2442

การแสดง ชนิดนี้ไดรับความนิยมตลอดมาจนถึง พ.ศ.2452 จึงยุติดวยเจาพระยาเทเวศรฯปวยทุพพล

ภาพ รวมเวลาการแสดงละครดึกดําบรรพในยุคนี้ได 10 ป

การแสดงละครดึกดําบรรพ มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

8.1 วิธีแสดง เร่ิมดวยการโหมโรงจากนั้นเขาเร่ืองแสดง ผูแสดงตองรองและ

รําเอง ลีลาทารําเหมือนกับตัวละคร การรําหนาพาทยมีนอยลง การดําเนินเร่ืองกระชับรวดเร็วแบบ

ละครนอก มีฉากตกแตงสมจริงตามเนื้อเร่ือง ไมมีการบรรยายเร่ือง มีบางตอนท่ีแทรกบทเจรจา

เพ่ือใหเกิดความสนุกสนาน ผูแสดงใชผูหญิงท้ังหมด ตองมีความสามารถในการรําทําบทเขากับ

จังเหวะเพลงขับรองเพลงไดถูกตองตามจังหวะ มี(ทรงศักดิ์ ปรางควัฒนากุล, 2526, หนา 118)

บทละครที่ใช เชน เร่ืองสังขทอง คาวี อิเหนา สังขศิลปชัย กรุงพานชมทวีป รามเกียรต์ิ อุณรุท

มณีพิชัย จันทกินรี ฯลฯ

8.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายแบบยืนเคร่ือง นอกจากบางเร่ืองที่ดัดแปลงเพ่ือ

ความเหมาะสม และใหตรงกับความเปนจริง

8.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงปพาทยดึกดําบรรพ เปนวงดนตรี ท่ีสมเด็จเจากรมพระยา

นริศฯ ทรงปรับปรุงขึ้นใหมโดยการตัดเคร่ืองดนตรีที่มีเสียงสูงแหลมออก เหลือแตเคร่ืองดนตรีที่มี

เสียงทุมนุมนวล และประดิษฐเคร่ืองดนตรีที่เหมาะสมขึ้นใหมบางอยาง ไดแก ระนาดเอก ฆองวง

ให ญ ร ะ น า ด ทุ ม ร ะ น า ด ทุ ม เห ล็ ก ข ลุ ย ซ อ อู ก ล อ ง แ ข ก ต ะ โ พ น ก ล อ ง ต ะ โ พ น

(ประดิษฐ อินทนิล, ม.ป.ป., หนา 50)

8.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหรสพทั่วไป

9. ละครพันทาง

เกิดขึ้นในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ผูริเร่ิมละครพันทาง

คือ เจาพระยามหินทรศักดิ์ธํารง (เพ็ง เพ็ญกุล) เมื่อ พ.ศ.2400 ทานไดเดินทางไปประเทศอังกฤษ

ในฐานะอุปทูตเพ่ือเจริญสัมพันธไมตรี เมื่อกลับมาจึงไดเกิดแนวคิดนําวิธีการมาปรับปรุงการแสดง

ละครของทานใหแปลกใหมจากเดิม โดยนําเนื้อเร่ืองจากพงศาวดาร ของชาติตาง ๆ มาแตงเปน

บทละครเพ่ือนํามาแสดง เชน สามกก ราชาธิราช หองสิน ซุยถัง เปนตน ละครของเจาพระยา

มหินทรศักดิ์ธํารง เปนคณะแรกที่จัดการแสดงเก็บเงินคนดูที่โรงละครของทานช่ือ ปร๊ิน เธียเตอร

Page 126: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

116

โดยจะแสดงสัปดาหละหนึ่งคร้ัง คนที่ไปชมก็ไปกันทุกสัปดาห หรือไปชมทุก ๆ วีค จนทําให

เกิดศัพทคําวา วีค มาจนถึงปจจุบัน ละครของทานไดรับความนิยมมาก ตอมาเมื่อทานถึง

แกอนิจกรรมลง พระเจาบรมวงศเธอกรมพระนราธิปประพันธพงศ จึงไดนําแบบอยางละครของ

เจาพระยามหินทรศักดิ์ธํารงมาปรับปรุงใหม โดยปรับปรุงเพลง วิธีการแสดงโดยวิธีนําศิลปะทาง

เพลง ดนตรีขับรอง กับฟอนรํา ประเภทตาง ๆ ที่สามารถแทรกผสมไดใสเขาไวดวย เพ่ือใหนาชม

หนาฟง (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา 145)

ภาพที่ 6.11 ภาพการแสดงละครพันทาง เร่ืองพระลอ

ที่มา : ปานทิพย อิทธิวัฒนะ, 2548, เว็บไซต

การแสดงละครพันทาง มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

9.1 วิธีการแสดง ละครพันทางมีวิธีการแสดงอยางละครนอก แตปรับปรุงใหม

จากละครรําของเดิม และมีแบบแผนในการแสดงละครตางจากละครอื่นๆ เพลงที่รองเปนเพลง

จําพวกเพลงภาษา ทางดานทา รํานั้นพระเจาบรมวงศ เธอกรมพระนราธิปประพันธพงศ

ทรงดัดแปลงลีลาการรายรําเสียใหม คือ ปรับปรุงลีลาการรําของชนตางชาติ กับทาทางอิริยาบถ

ของสามัญชนเขามาผสมกัน เพลงรองประกอบการแสดงนั้น สวนมากตนเสียงกับลูกคูเปนผูรอง

แตก็มีบางที่กําหนดใหตัวละครเปนผูรอง (รานี ชัยสงคราม, 2544, หนา 65) เร่ืองท่ีแสดงละคร

พันทางไดแกเร่ือง พระลอ ขุนชางขุนแผน ราชาธิราช สามกก เร่ืองที่เปนละครนอกบางตอนนํา

Page 127: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

117

มาแสดงละครพันทางได เชนเร่ืองสังขทอง ตอนเลือกคู เร่ืองพระอภัยมณีตอนที่มีตัวฝร่ังลังกา เชน

อุศเรน นางละเวง ซ่ึงมีการรายรําเปนทาฝร่ังยุโรป ตะวันตกเปนตน

9.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามเช้ือชาติของตัวละครในเร่ือง เชน เปนลาวก็แตง

เปนลาว เปนมอญก็แตงมอญ เปนพมาก็แตงพมา เปนตน

9.3 เคร่ืองดนตรี วงปพาทยท่ีบรรเลงประกอบใชวงปพาทยไมนวม (เหมือนวง

ปพาทยสามัญ แตระนาดเอกตีดวยไมนวม ใชขลุยแทนป จะมีซออูดวยก็ได) ถาเร่ืองใดผสมดวย

ทารําและเพลงรองภาษาอื่นๆเคร่ืองบรรเลงในวงปพาทยจะตองเพ่ิมเคร่ืองดนตรีอันเปนสัญลักษณ

ของภาษานั้น ๆ ซ่ึงเรียกวา เคร่ืองภาษา เชน กลองจีน กลองตอก ฉาบใหญ (สําหรับภาษาจีน) โทน

(สําหรับภาษาเขมร) ตะโพนมอญ ปมอญ(สําหรับภาษามอญ) กลองยาว (สําหรับภาษาพมา)

9.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหรสพทั่วไป

10. ละครเสภา

คําวา เสภา นั้นมาจากคําวา เสวา เปนภาษาสันสกฤต หมายถึงการพูดอยางหนึ่ง

และถามีคําประกอบวา เสวากากุ ก็หมายถึงการสวดบูชาเปลี่ยนเปนทํานองตาง ๆ คือเปนเสียงแข็ง

บาง ออนบาง โกรธบาง โศกเศราบาง (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ, 2539, หนา146) อีกนัยหนึ่งภาษา

ของชาวเมืองมัทราสวา เศรไว หรือ หริเศรไว หมายถึงการบูชาพระผูเปนเจาดวยการขับลํานํา

สรรเสริญบารมีพระเปนเจาองคนั้น เขากับเคร่ืองดนตรี ดีด สี ตี เปา เปนจังหวะ จากขอความเหลานี้

สรุปไดวา เสภานําแบบอยางการแสดงมาจากอินเดีย ในสมัยโบราณศิลปะแหงการขับเสภาไดรับ

การยกยองวาเปนศิลปะประเสริฐสุดในบรรดาศิลปะทั้งมวล ผูที่ขับเสภาไดดียอมไดรับการยกยอง

เปนอยางสูง

เกี่ยวกับกําเนิดเสภานั้น สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(2515, หนา 73-74) สันนิษฐานวา นาจะมาจากการเลานิทานใหคนฟง อันเปนประเพณีมีมาแตดึก

ดําบรรพคร้ังพระพุทธกาล ตามเมืองในมัชฌิมประเทศที่มักมีคนไปรับจางเลานิทานใหฟงกันตามที่

ชุมชน เชน ศาลาพักคนริมทาง เปนตน แมในสยามประเทศก็มีมาแตโบราณ จนนับเปนมหรสพ

อยางหนึ่ง ซ่ึงมักมีในงานเชน งานโกนจุกในตอนค่ํา เมื่อพระสวดมนตแลวก็หาคนไปเลานิทานให

แขกฟง เปนประเพณีเกาแกมีมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร ขับเสภาก็คือเลานิทานนั่นเอง ตอมาเมื่อ

การเลานิทานเปนที่นิยมกันแพรหลาย มีผูเลานิทานบางทานตัดแตงเปนกลอนใสทํานอง มีเคร่ือง

ดนตรีประกอบคือ กรับ จึงกลายเปนขับเสภาขึ้น

การเลนเสภาในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานวาเกิดขึ้นสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

ประมาณป พ.ศ. 2011 เสภาสมัยนี้ไมมีดนตรีประกอบจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลา

นภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาใหมีปพาทยบรรเลงประกอบ (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 69)

Page 128: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

118

เพ่ือใหคนขับเสภามีเวลาพักเหนื่อย และโปรดเกลาใหแทรกเพลงรองสงใหปพาทยรับและบรรเลง

เพลงหนาพาทยเหมือนอยางละคร ตอนใดทําเปนเร่ืองก็ขับเสภา ตอนใดเปนขอความรําพันควร

แกการรองสงก็รอง การขับและการรองสงในลักษณะนี้ เรียกวา ปพาทยประกอบเสภา

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว วงปพาทยไดขยายตัวออกเปนปพาทยเคร่ืองใหญ

การขับเสภาที่เคยเปนตัวสําคัญกลับกลายเปนรองวงปพาทย การขับเสภาเปนเพียงองคประกอบ

เทานั้น วิธีบรรจุเพลงก็เปลี่ยนไปไมเหมือนละครดังที่เปนมาแตกอน ศิลปะการขับเสภาที่มีปพาทย

ประกอบในยุคนี้เรียกวา เสภาทรงเคร่ือง

ภาพที่ 6.12 ภาพการแสดงละครเสภาเร่ืองขุนชางขุนแผน

ที่มา : ปานทิพย อิทธิวัฒนะ, 2548, เว็บไซต

การแสดงละครเสภา มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

10.1 วิธีแสดง ละครเสภาจําแนกตามลักษณะการแสดงดังนี้คือ

10.1.1 เสภาทรงเคร่ือง เร่ิมดวยปพาทยโหมโรงเพลงรัวประลองเสภาตอจาก

เพลงโหมโรงอื่นๆเชน เพลงไอยเรศ เพลงสะบัดสะบ้ิงหรือบรรเลงเพลงเปนชุดส้ันๆเชน เพลง

ครอบจักรวาล แลวออกเพลงมายองก็ได แตการบรรเลงเพลงโหมโรงนี้ตองจบดวยเพลงวา จากนั้น

ผูขับจะขับเสภาไหวครูดําเนินเร่ือง และรองสงเพลงพมาหาทอนแลวขับเสภาคั่น รองสงเพลงจระเข

หางยาวแลวขับเสภาคั่น รองสงเพลงส่ีบทแลวขับเสภาคั่น รองสงเพลงบุหลันแลวขับเสภาคั่น

ตอจากนี้ไปไมมีกําหนดเพลงแตจะสลับเชนนี้ตลอดไปจนหมดเวลาจึงสงเพลงสงทายอีกเพลงหนึ่ง

Page 129: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

119

เพลงสงทายนี้เดิมใชเพลงกราวรําตอมาเปลี่ยนเปนอกทะเล เตากินผักบุงหรือพระอาทิตยชิงดวง เดิม

บรรเลงเพลง 2 ช้ัน ตอมาประดิษฐเปนเพลง 3 ช้ัน ท่ีเรียกวาเสภาทรงเคร่ือง คือ การขับเสภาแลวมี

รองสงใหปพาทยรับนั่นเอง

10.1.2 เสภารํา กระบวนการแสดงมีคนขับเสภาและเคร่ืองปพาทย บางคร้ัง

ใชมโหรีแทน มีตัวละครออกแสดงการรําและทําบทบาทตามคําขับเสภา มีรองเพลงและมีเจรจาตาม

เนื้อรอง เสภารํามีทั้งแบบสุภาพและแบบตลก ผูริเร่ิมคือ ขุนรามเดชะ (หวง) บางทานวาขุนราม

(โพ) กํานันตําบลบานสาย จังหวัดอางทอง ซ่ึงมีช่ือวาขับเสภาดีนัก ผูแตงเลือกเร่ืองขุนชางขุนแผน

ตอนขุนแผนเขาหองนางแกวกิริยามาแสดง (สุมนมาลย นิ่มเนติพันธุ, 2539, หนา 149)

10.1.3 ละครเสภา เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

ผูริเร่ิมคือพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ ทรงปรับปรุงการแสดงจากเสภารําอีก

ขั้นหนึ่ง บทละครเสภาเร่ืองแรกที่นํามาแสดงคือ เร่ืองไกรทอง ลักษณะการแสดงเปนละครที่มี

ลักษณะทั่วไปเชนเดียวกับละครนอกไดแก การรํา การรอง การบรรเลงปพาทยประกอบ การแตง

กาย ตางกันเพียงวาละครเสภาใชการขับเสภาเปนการดําเนินเร่ืองสวนใหญ ตอนใดที่ตองการแสดง

อารมณหรือความหมายเปนพิเศษจึงจะใชการรอง บทละครเสภาที่นิยมแสดงคือขุนชางขุนแผนตอน

พลายเพชรพลายบัวออกศึก พระไวยแตกทัพ ขุนแผนเขาหองนางแกวกิริยา เปนตน (รานี ชัย

สงคราม, 2544, หนา 67)

10.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะเนื้อเร่ือง

10.3 เคร่ืองดนตรี เดิมใชวงปพาทยเคร่ืองหา

10.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในมหรสพทั่วไป

11. ละครรอง

เปนละครแบบใหมอีกชนิดหนึ่งที่ถือกําเนิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว ละครรองไดปรับปรุงขึ้นโดยไดรับอิทธิพลจากละครตางประเทศ ละครรอง

นั้นตนกําเนิดมาจากการแสดงของชาวมลายูที่เรียกวา บังสาวัน หรือมาเลยโอเปรา (สุมิตร เทพวงษ,

2548, หนา 73) ผูริเร่ิมคือพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ พระองคทรงมีคณะ

ละครรําอยูแลวคือคณะละครนฤมิตร บุคคลที่มีสวนสําคัญในคณะละครของทานคือ เจาจอมมารดา

เขียนพระชนนี หมอมหลวงตวน ศรีวรวรรณพระชายา โดยพระชนนีเปนกําลังสําคัญในการรํา พระ

ชายาเปนกําลังสําคัญในดานเพลงรองและดนตรี พระองคทรงนิพนธบทละครและทรงกํากับการ

แสดง ละครรองเร่ืองแรกของคณะนฤมิตรคือ อาหรับราตรี แสดงคร้ังแรกท่ีโรงละครดึกดําบรรพ

ของเจาพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ตองการท่ีจะ

ฉลองตนลิ้นจ่ีที่ติดลูกจึงใหหาละครหมอมตวนมาแสดง ดังนั้นเสด็จในกรมฯจึง จัดแสดงละคร

Page 130: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

120

เร่ืองพระลอถวาย รัชกาลที่ 5 ทรงพอพระราชหฤทัยเปนอันมาก พระราชทานเกียรติยศใหละคร

คณะนี้เปนละครหลวง ทรงใหเติมช่ือคณะเปน คณะละครหลวงนฤมิตร (จรูญศรี วีระวานิช, 2542,

หนา 30-31) ละครคณะนี้ตอมาไดจัดแสดงที่ โรงละครปรีดาลัย ในระยะแรกก็เลนเปนละครรําแต

ตอมาเลนเปนละครรอง ไมรําและไมเลนเร่ืองจักรๆวงศๆ ทรงคิดแบบแผนการเลนใหม แตงเร่ือง

ใหมใหเปนเร่ืองชาวบานสามัญ แตงตัวอยางชาวบานทั่วไป ไมมีรํามีแตรองใชกิริยาสามัญ ตัวละคร

เปนหญิงลวน แสดงที่โรงละครปรีดาลัย จึงเรียกละครชนิดนี้วาละครปรีดาลัย (กาญจนาคพันธุ,

2534, หนา 376)ละครรองแบงออกเปน 2 ชนิดคือ ละครรองสลับพูด (แบบกรมพระนราธิปฯ)และ

ละครรองลวนๆ (แบบพระมงกุฎฯ)

ภาพที่ 6.13 ภาพการแสดงละครรองเร่ืองสาวเครือฟา ตอนรอยตรีพรอมลาสาวเครือฟา

ที่มา : วิหคพลัดถิ่น, 2550, เว็บไซต

การแสดงละครรอง มีลักษณะที่โดดเดน ดังนี้

11.1 วิธีแสดง

11.1.1 ละครรองสลับพูด กรมพระนราธิปประพันธพงศ ไดทรงนําแบบ

แผนการแสดงละครของชาวตะวันตกที่เรียกวา มิวซิเคิล ดรามา (Musical Drama) มาดัดแปลงเปน

ละครไทย แสดงบนเวทีมีทั้งบทรองและบทพูด ยึดถือการรองเปนสวนสําคัญ บทพูดเจรจา

สอดแทรกเขามา เพ่ือทวนบทที่รองมาแลวแมตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแตบทรองก็ยังไดเนื้อเร่ือง

สมบูรณ มีลูกคูคอยรองรับอยูในฉากยกเวนการเกร่ินหรือดําเนินเร่ือง ลูกคูจะเปนผูรองเองทั้งหมด

ผูแสดงจะทําทาทางประกอบตามธรรมชาติ เดิมใช ผูหญิงแสดงลวน เ ร่ืองที่แสดงไดแก

เร่ือง สาวเครือฟา เครือณรงค ขวดแกวเจียรนัย ท้ังสามเร่ืองนี้เปนบทประพันธของกรมพระ

Page 131: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

121

นราธิปประพันธพงศ เร่ืองจันทรเจาขา เร่ืองฝนส่ังฟา เร่ืองโรสิตา ผูแตงคือ พรานบูรณ (ลัดดา

พนัสนอก, 2542, หนา74-75)

11.1.2 ละครรองลวนๆ ผูแสดงจะดําเนินเร่ืองโดยบทรองลวนๆโตตอบกัน

โดยไมมีบทเจราจาแทรก คลายโอเปราชนิดท่ีเรียกวา โอเปอเรติก ลิเบรตโต (Operatic Libretto)

ตัวละครใชทาทางอยางสามัญชน อาจออกทารําบางเล็กนอยมีเพลงหนาพาทยประกอบอิริยาบถของ

ผูแสดง จัดฉากประกอบตามเนื้อเร่ืองใชเทคนิคอุปกรณ แสง สี เสียง เพ่ือสรางบรรยากาศ

เร่ือง ที่แสดงไดแก สาวิตรี

11.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามสมัยนิยมของคนสามัญท่ัวไป เชน สมัยนั้นผูชาย

นุงผามวง ตัวละครหญิงที่แสดงเปนชายก็ตองนุงผามวง ตัดผมแบบผูชาย

11.3 เคร่ืองดนตรี ใชปพาทยไมนวมประกอบการแสดงเฉพาะเวลาท่ีตองการ

บรรเลงเพลงหนาพาทย เมื่อถึงบทรองสวนมากจะใชเคร่ืองสายฝร่ัง เชน ไวโอลิน ออรแกน

หรือ ซออู เดี่ยวคลอกับเสียงรอง มีกรับพวงประกอบจังหวะ

11.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานมหรสพทั่วไป

12. ละครพูด

ละครพูดคือละครที่ดําเนินเร่ืองดวยการพูด โดยตัวละครจะสนทนาโตตอบกันและ

แสดงทาทางประกอบเหมือนในชีวิตจริง (วันแรม สมบูรณสาร, 2542,หนา 52) เพ่ือทําใหผูดู

เกิดความรูสึกคลอยตามไปดวย ละครชนิดนี้เปนแบบอยางของละครตะวันตกที่มีกําเนิดมาจาก

ละครพูดของกรีกและโรมันเกี่ยวกับความเปนมา สุรพล วิรุฬหรักษ (2547, หนา 228) ไดเขียน

อธิบายเกี่ยวกับที่มาของละครพูดไววา การแสดงละครพูดควรเกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับละคร

พูดสลับลํา โดยสมาชิกสมาคมรอยัลมายิกัล โซไซเอตี ซ่ึงจัดแสดงในงานฉลองปใหมไทยหรือ

สงกรานตดังกลาว... ผูเขียนคอนขางแนใจวารัชกาลที่ 5 ทรงริเร่ิมละครพูดขึ้นเปนพระองคแรก

เชนเดียวกับละครพูดสลับลํา กลาวคือ ละครเร่ืองผัวกลัวเมีย ซ่ึงไมสามารถสืบคนบทละครได

แสดงโดยกรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ และกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เมื่อป พ.ศ. 2420 นับเปนปแรก

แหงละครพูดในเมืองไทย โดยรัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดพระราชทานบทพระราช

นิพนธ เร่ือง นิทราชาคริต ใหสมาชิกสมาคม รอแยลมายิกัล โซไซเอตี (Royal Magical Society)

เพ่ือ จัดแสดงละครในงานประจําปและพระองคไดเสด็จมากํากับการแสดงอยางใกลชิดดวย ใน

การจัดการแสดงคร้ังนี้ ทรงเปนผูกําหนดตัวละครเอง โดยโปรดใหกรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ

แสดงเปนตัวอะบูหะซัน พระองคเจาจิตเจริญ (สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยานริศรา

นุวัติวงศ) เปนตัวนางนอซอตอล (ดวงใจ จิตรพงศ, 2506, หนา 21)

Page 132: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

122

พ.ศ. 2447 สมเด็จเจาฟามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดแสดงละครพูด

สมพอสมลูก ณ ทวีปญญาสโมสร พระราชวังสราญรมย เพ่ือเปนการเลี้ยงอําลาสมเด็จพระเจาลูกเธอ

เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธเสด็จไปทรงศึกษาตอในประเทศยุโรป โดยการแสดงคร้ังนี้ยังมิไดแสดง

ในโรงละคร ตอมาป พ.ศ. 2448 ไดมีการสรางโรงละครใหมในทวีปญญาสโมสร จากนั้นสมเด็จเจา

ฟามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ไดทรงจัดละครพูดเร่ือยมาจึงทําใหละครพูดแพรหลายใน

ชนช้ันระดับสูง (สุรพล วิรุฬหรักษ, 2547, หนา 228) และในสมัยเดียวกันนี้ไดมีการต้ังสามัคยา

จารยสโมสรขึ้น มีเจาพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเปนประธาน กิจกรรมของสโมสรที่คลายกันคือการ

แสดงละครพูดแบบใหม ที่ไดรับอิทธิพลจากละครตะวันตกที่เรียกวา เพลย (Play) ละครพูดจะแสดง

เปนคร้ังแรกที่โรงละครใดไมมีหลักฐานแนชัด แตสมเด็จเจาฟามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร

ไดทรงรวมในกิจกรรมการแสดงละครพูดของท้ังสองสโมสรเร่ือยมา จนไดรับการยกยองวาเปน

บิดาแหงละครพูด ละครพูดแบงเปนประเภทใหญๆดังนี้ คือ ละครพูดลวนๆ ละครพูดสลับลํา ละคร

พูดแบบคํากลอน ละครพูดแบบคําฉันท

12.1 วิธีแสดง

12.1.1 ละครพูดลวนๆ คือละครท่ีดําเนินเนื้อเร่ืองโดยการพูดเปนหลัก ไมมี

การบรรยายเนื้อเร่ืองเดิมใชผูแสดงชายลวนตอมาในป พ.ศ. 2463 จึงนิยมใชผูแสดงชายจริงหญิงแท

มีฉากประกอบการแสดงตามเนื้อเร่ือง ผูกเร่ืองตามสมัยนิยม ไดแกเร่ือง โพงพาง เจาขาสารวัด

เห็นแกลูก ลามดี ฟอกไมขาว หัวใจนักรบ กลแตก ผูรายแผลง เปนตน

12.1.2 ละครพูดสลับลํา คําวา ลํา ยอมาจากคําวา ลํานํา แปลวาการรอง

ดังนั้นละครพูดสลับลําจึงหมายถึง ละครพูดสลับรองนั่นเองแตการดําเนินเร่ืองอยูท่ีการพูดไมใช

เพลง บทรองเปนการสอดแทรกเขาไวบางตอน เพ่ือเสริมความหรือขยายความหรือเพ่ือสรางอารมณ

ความรูสึก ลักษณะของละครพูดสลับลํานี้ ถาตัดบทรองออกไปก็ไมทําใหเนื้อเร่ืองเสียหายแต

อยางใด เร่ืองที่ใชแสดงละครพูดสลับลําไดแกเร่ือง หนามหยอกเอาหนามบง บทพระราชนิพนธ

ของรัชการที่ 6 และเร่ืองปลอยแก ของนายบัว วิเศษกุล ซ่ึงรัชกาลท่ี 6 ไดทรงพระราชนิพนธ

บทเพลงแทรกไวโดยใชพระนามแฝงวา ศรีอยุธยา (วันแรม สมบูรณสาร, 2542, หนา 56)

12.1.3 ละครพูดแบบคํากลอน ละครประเภทนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ

เกลาเจาอยูหัวไดทรงพระราชนิพนธขึ้น การที่เรียกวาละครพูดแบบคํากลอนนั้น อาจเปนเพราะเรียก

ตามลักษณะของคําประพันธที่แตงเปนบทกลอนและผูแสดงตองพูดเปนคํากลอน บทละครแบบ

คํากลอนนี้รัชกาลที่ 6 ไดทรงพระราชนิพนธขึ้น 2 เร่ืองคือ เร่ืองพระรวงและเวนิสวานิช สําหรับ

เร่ืองพระรวงนั้นไดมีการแสดงคร้ังแรกที่พระราชนิเวศนมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี โดยพระองค

ไดทรงรวมแสดงเปนตัวนายมั่น ปนยาวดวย สําหรับบทละครเร่ืองเวนิสวานิชนั้นรัชกาลที่ 6 ไดทรง

Page 133: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

123

พระราชนิพนธขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2459 โดยทรงแปลมาจากบทละครภาษาอังกฤษเร่ือง เดอะ เมอชันท

ออฟ เวนิช (The Merchant of Venice) ของวิลเลียม เช็คสเปยร (William Shakespeare) นักประพันธ

ชาวอังกฤษ

12.1.4 ละครพูดแบบคํ าฉันท ละครชนิดนี้บทละครจะแตงขึ้นดวย

คําประพันธประเภทคําฉันท ดังนั้นในการแสดง ผูแสดงจะตองฝกอานคําฉันทในลักษณะตางๆ

ใหถูกตอง เพราะจะตองโตตอบกันดวยคําประพันธที่มีลักษณะเปนคําฉันทในลักษณะตางๆ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ไดทรงพระราชนิพนธบทละครพูดคําฉันทไดแก

เร่ือง มัทนะพาธา (ตํานานดอกกุหลาบ) การแสดงประเภทนี้จะมีการจัดฉากประกอบอยางสวยงาม

และเปลี่ยนฉากตามเนื้อเร่ืองที่แสดง ละครพูดคําฉันทเร่ืองมัทนะพาธานี้ มีบทรอยกรองท่ีไพเราะ

มาก จึงไดรับการยกยองจากกรรมการวรรณคดีสโมสรท่ีมีความเห็นวาเปนหนังสือท่ีดีไดทูลเกลา

ถวายประกาศนียบัตร เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 นอกจากนั้นยังมีละครพูดคําฉันทอีก

เร่ืองหนึ่งที่นิยมนํามาแสดงคือ เร่ือง สามัคคีเภทคําฉันท ของนายชิต บูรทัต

12.2 เคร่ืองแตงกาย

12.2.1 ละครพูดลวน ๆ การแตงกายของตัวละครจะแตงตามแบบสามัญชน

หรือแตงตามบทบาทของตัวละครในเร่ือง โดยคํานึงถึงสภาพความเปนจริง

12.2.2 ละครพูดสลับลํา การแตงกายเหมือนกับการแสดงละครพูดลวน ๆ

12.2.3 ละครพูดแบบคํากลอน แตงกายใหเหมาะสมกับยุคสมัยและลักษณะ

ของตัวละคร

12.2.4 ละครพูดแบบคําฉันท แตงกายตามเนื้อเร่ือง

12.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงปพาทยไมนวมหรือวงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ

12.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในมหรสพตาง ๆ

สรุป

การแสดงนาฎศิลปและการแสดงละครของไทยมีมาต้ังแตสมัยโบราณ เปนมรดกทาง

ศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเปนเอกลักษณของไทยมาจนทุกวันนี้ จากการศึกษาพบวาการ

แสดงนาฏศิลปและละครของไทยมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงไดยกมาประกอบคําอธิบายเปน

บางชนิด ดังนี้ คือ 1) การรําโทน 2) การรําโคม 3) รําฉุยฉาย 4) ละครชาตรี เปนละครท่ีเกิดขึ้น

ในสมัยอยุธยา และเปนตนกําเนิดของละครไทยในสมัยตอมา 5) ละครนอก เปนละครชาวบานที่

ดัดแปลงมาจากละครโนราห-ชาตรี เดิมใชผูชายแสดงลวนๆ มุงการดําเนินเนื้อเร่ือง ไมเครงครัดใน

เร่ืองขนบธรรมเนียมประเพณี 6) ละครใน เปนละครท่ีเลนในวังใหพระมหากษัตริยดู ใชผูหญิง

Page 134: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

124

แสดงลวน การแสดงละครประเภทนี้ตองพิถีพิถัน กระบวนการรําตองออนชอยงดงาม 7)การแสดง

โขน เปนการแสดงที่มีกําเนิดมาจาก การแสดงหนังใหญ การละเลนชักนาคดึกดําบรรพและการ

แสดงกระบี่กระบอง ผูแสดงจะสวมหัวโขน และออกทาทางรําเตนประกอบดนตรี มีบทพากย เจรจา

แสดงเร่ืองรามเกียรต์ิ 8) ละครดึกดําบรรพ เปนละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลท่ี 5 พัฒนามาจาก

ละคร โอเปราของประเทศยุโรป โดยใหผูแสดงรองเอง รําเอง เจรจาเองมีฉากประกอบการแสดง

ตาม เนื้อเร่ือง 9) ละครพันทาง เปนละครผสมที่มีต้ังแต 2 เช้ือชาติขึ้นไป การดําเนินเร่ืองรวดเร็ว

ทันใจเหมือนกับละครนอก เพลงที่ใชประกอบการแสดงและการแตงกายเปนไปตามเช้ือชาติ 10)

ละครเสภา เปนละครที่พัฒนามาจากการเลานิทาน การขับเสภา การมีปพาทยประกอบการขับเสภา

และภายหลังจึงไดปรับปรุงกลายเปนละครเสภาในที่สุด 11) ละครรอง เปนละครท่ีใชศิลปะใน

การรองดําเนินเร่ือง เดิมใชผูหญิงแสดงลวนยกเวนตัวตลก แบงเปน ละครรองสลับพูด และรองลวน

ๆ ตลอดเร่ือง 12) ละครพูด เปนละครที่ใชศิลปะในการพูดดําเนินเร่ือง แบงเปนชนิดตาง ๆ ดังนี้

1) ละครพูดลวน ๆ 2) ละครพูดสลับลํา 3) ละครพูดแบบคํากลอน และ 4) ละครพูดแบบคําฉันท

คําถามทบทวน

1. การแสดงละครของไทยในสมัยโบราณ นิยมใชผูแสดง ประเภทใด

2. การแสดงละครที่เปนตนเคาของละครชนิดอืน่ไดแกละครอะไร มีลกัษณะอยางไร

3. จงอธิบายถึงความแตกตางของการแสดงละครนอกและละครในมาใหเขาใจ พอ

สังเขป

4. หลักฐานใดที่แสดงใหเห็นวา ละครใน เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา

5. ละครชนิดใดที่พัฒนามาจากการแสดงโอเปราของชาวยุโรป มีรูปแบบการแสดง

อยางไร

6. คําวา ดึกดําบรรพ หมายถึงอะไร

7. จงวิเคราะหลักษณะเดนของละครพันทาง และลกัษณะการแตงกายมาใหเขาใจ

8. จงสรุปวิวัฒนาการของโขนในภาพของ Flow Chart

9. จงเปรียบเทียบลักษณะที่แตกตางของโขนโรงนอก และโขนโรงใน

10. จงบอกขอแตกตางของละครรํา ละครรองและละครพูด

Page 135: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

125

เอกสารอางอิง

1กนกวรรณ ญาณี และคณะ. (2547). ละครชาตรีเมืองเพชร. คนเมื่อ 17 สิงหาคม 2547,

จาก http://www.cablephet.com/board/n_view.php?nc_id=11&n_id=391.

กลุมสาระการเรียนรูศิลปะKภูษิต. (2550). โขน. คนเมื่อ 8 กันยายน 2550, จาก http://nongkidr.blogspot.com/2007/09/blog-post.html.

กาญจนา นาคพันธ (นามแฝง). (2534). กรุงเทพเมื่อ 70 ปกอน. พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : โรง

พิมพเรืองศิลป.

จรูญศรี วีระวานิช. (2542). ละครรองในสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตรและ

สังคมศาสตร สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. ดวงใจ จิตรพงศ, ม.จ. (2506). สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ. ใน ชุมนุมบทละครและบทคอนเสิรต,

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยานรศิรานุวัดติวงศ (หนา21-22). พระนคร :

กรมศิลปากร.

_______. (2515). ละครดึกดําบรรพ. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสืออานประกอบคํา

บรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา 90-91).

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. (2466). ตํานานการฟอนราํ. พระนคร :

กรมศิลปากร.

_______. (2515). ตํานานเสภา. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสืออานประกอบคําบรรยาย

วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา 73-146). กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

_______. (2515). ประวัติฟอนรํา. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสืออานประกอบคํา

บรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา 14-16).

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ทรงศักดิ์ ปรางควัฒนากุล. (2526). การละครไทย. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ธนาคารไทยพาณิชย. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาค

กลาง. กรุงเทพ : สยามเพรส เมเนจเมนท.

ธนิต อยูโพธ์ิ. (2515). กําเนิดนาฏศิลปไทย. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสอือานประกอบ

คําบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา136-137).

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Page 136: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

126

ประดิษฐ อินทรนิล. (ม.ป.ป.). ดนตรีและนาฏศิลป. กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาสน. ปานทิพย อิทธิวัฒนะ. (2548). ขุนแผน และนางแกวกิริยา จาก ละครเสภาเรือ่งขุนชาง–ขุนแผน

ตอน ข้ึนเรือนขุนชาง. คนเมื่อ 20 สิงหาคม 2548, จาก http://www.snr.ac.th/elearning/

parntip/sec04p01.html.

_______. (2548). ภาพการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ. คนเมื่อ 20 สิงหาคม 2548, จาก

http://www.snr.ac.th/elearning/parntip/sec04p01.html

พระมหานาควัดทาทราย. (2530). บุณโณวาทคําฉันท. พระนคร : กรมศิลปากร.

พาณี สีสวย. (2524). สุนทรียของนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพจีนไทย.

ภาควิชานาฏศิลปและดุริยางค สาขานาฏศิลปไทยละคร. (2550). ละครใน. คนเมื่อ 21 สิงหาคม

2550, จาก http://www. learners.in.th/blog/dramaone9/61934.

มณีปน พรหมสุทธิรักษ. (2534). อิทธพิลของเรื่องรามเกยีรต์ิในศิลปะการแสดง ในนิทรรศการ

พิเศษรามเกียรต์ิ ในศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทรพร้ินต้ิง.

รานี ชัยสงคราม. (2544). นาฏศิลปไทยเบ้ืองตน. กรุงเทพฯ : องคการคาคุรุสภา .

ลัดดา พนัสนอก. (2542). สุนทรียะทางนาฏศิลปไทย. สกลนคร : สถาบันราชภัฏสกลนคร.

วันแรม สมบูรณสาร. (2542). ประวัติการละครไทย. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม.

วิหคพลัดถิ่น. (2550). ภาพจําลองละครรอง "สาวเครือฟา" คนเมือ่ 1 สิงหาคม 2550, จาก

http://www.oknation.net/blog/vihokpludtin/2007/08/01/entry-1.

สํานักขาวกรมประชาสัมพันธ. (2550). โขน. คนเมื่อ 22 มกราคม 2550, จาก http://www.

thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/view.

สุภาพ บุญไชย. (2548). ภูมิศาสตรประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

สมทรง กฤตมโนรถ. (2536, เมษายน). “รําโทน ความสนุกสนานของคนไทยสมัยสงครามโลก

คร้ังที่ 2,” ศิลปวัฒนธรรม. 14 (6), 62-69.

สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ. (2539). การละครไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุมิตร เทพวงษ. (2548). นาฏศิลปไทย: นาฏศิลปสําหรับครูประถม-อุดมศึกษา. พิมพคร้ังที่ 2 .

กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

สุรพล วิรุฬหรักษ. (2547). วิวัฒนาการนาฏศิลปไทยในกรุงรัตนโกสนิทร. พิมพคร้ังที่ 2.

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อมรา กล่ําเจริญ. (2542). สุนทรียนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

_______. (2547ข). วิเคราะหการละเลนพื้นบาน รําโทน : ศึกษาเฉพาะกรณี อําเภอสามโก จังหวัด

อางทอง. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Page 137: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 7

การแสดงนาฏศิลปและละครของมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียเปนประเทศที่มีพ้ืนฐานทางวัฒนธรรมคลายกับชาวอินโดนีเซีย ทั้งเปน

ชนจากชาติพันธุเดียวกัน คือเปนแขกมาเลย รับอารยธรรมอินเดียและมุสลิมเหมือนกัน แตในดาน

การสรางสรรคทางศิลปะการแสดงจะแตกตางกันออกไป ศิลปะการแสดงของมาเลเซียนั้นสวนมาก

จะลอกเลียนแบบมาจากชาติอื่น ในปจจุบันนี้ประเทศมาเลเซียมีคนอาศัยอยูหลายเช้ือชาติ ไดแก

ชาวมาเลย จีน อินเดีย และชาวพ้ืนเมือง จึงเปนผลทําใหนาฏศิลปมาเลเซียเปนนาฏศิลปท่ีแยกไป

ตามชนชาติคอนขางชัดเจน การแสดงที่ออกมาจึงไปในแนวทางของตนเองในแตละชาติ

ประวัติความเปนมา

การรายรําเปนการแสดงท่ีพิเศษอยางหนึ่งของศิลปะในหลายๆ แขนงของมาเลย เพราะ

ชาวมาเลยเปนชนชาติที่มีเช้ือชาติและวัฒนธรรมหลากหลาย การรําของมาเลยเปนการดัดแปลง

มาจากวัฒนธรรมหลายๆ ชนิด มีทั้งทวงทาท่ีออนชอย นุมนวล และการรําที่รวดเร็ว ไมวาจะเปน

การรองหรือการแสดง แสดงใหเห็นวาส่ิงเหลานี้เปนสมบัติที่มีมาต้ังแตสมัยโบราณ ที่หาชมไดยาก

ในปจจุบันที่มาของการรําเหลานี้ อาจมาจากพิธีการตางๆ เชน พิธีฉลององค พิธีแตงงาน หรือ

เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวฯ การแสดงเหลานี้เปนที่ ช่ืนชอบของคนทุกวัย ไมวาจะเปน คนแก วัย

หนุมสาว หรือวัยเด็กก็ตาม ในภาษามาเลยมี 4 คํา ที่ใหความหมายของคําวาดานซ (Dance)

คือ ทานดัก (Tandak) หมายถึง จังหวะการรําของผูรํา ลีกอล (Legal) หมายถึง ทาทางหรือ

การเคลื่อนไหวของรางกาย ไลค (Like) หมายถึงการโยกตัว และทาริ(Tari)หมายถึง การเคลื่อนไหว

ของสวนแขนโดยมีการเคลื่อนไหวของนิ้วมือและมือเปนสวนสําคัญ การรําของมาเลยนั้นส่ิงที่

นับวาสําคัญที่สุดคือคําวา ทาริ ซ่ึงถูกจัดใหเปนรูปแบบของการรายรําแบบมาเลย (ขวัญฤทัย ปทุม

รัตนโชติ, 2538, หนา 4)

การแสดงนาฏศิลปและละครของมาเลเซีย

การแสดงนาฏศิลปและละครของมาเลเซียที่ควรรูจัก มีดังนี้

1. รําฮานา ( Hana)

การแสดงของชาวมาเลยนั้นสวนมากเกิดจากความเช่ือในเร่ืองของวิญญาณที่

เปนมิตร ซ่ึงอาจบันดาลใหขาวในนาสมบูรณหรือเสียหาย หรืออาจชวยใหจับปลาไดหรือไมได

Page 138: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

128

การแสดงในลักษณะนี้ หลาย ๆ ประเทศมุงหวังจัดขึ้นเพ่ือใหวิญญาณนั้นพึงพอใจ ชาวมาเลยทุก

คนตางกระตือรือรนและเตรียมพรอมที่จะรวมงานเฉลิมฉลองในทุกๆป ภายใตการนําของ

ผูใหญบาน การแสดงแบบนี้จะจัดกลางแจง การรําจะเกี่ยวพันกับการปลูกขาว หนุมสาวท่ีมีความ

เช่ียวชาญในการรําจะถูกเลือกมาเปนตัวแทนของคนในหมูบาน

การรําฮานา มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

1.1 วิธีแสดง จะมีเด็กหญิง 6 คนเปนนักรองหมูและนักแสดงประกอบการรําฮานา

(Hana) การรําชนิดนี้มุงที่จะแสดงความกตัญูตอวิญญาณ ในการรําแบบนี้สตรีที่เรียกวา ปาวัง

(Pawang) จะรํานําแถวของหญิงสาวและชายหนุมแถวละ 6 คนไปที่ทุงนา โดย มีผลไมและดอกไม

ขาวสุก ขนม ไขระบายสี และไกยางไปดวย ผูชายจะถือของที่มีน้ําหนักมากกวาอยูแถวหนึ่ง ผูหญิง

จะถือพวกดอกไม ขาว และจะฟอนรําเปน 2 แถวไปจนถึงปลายนา ทุงนานี้ จะไดรับการไถ

พรวนเตรียมพรอมไวแลวสําหรับปลูกขาว สวนขาวของที่นํามานั้นจะวางไวตรงพ้ืนหญาใตตนไมที่

ปลายนา การรําในลักษณะนี้จะทําใหวิญญาณเปนสุขสดช่ืนอยูเสมอ ซ่ึงในที่สุดจะบันดาลให

หมูบานประสบความสุข การรายรําที่ใชในโอกาสนี้เรียกวา ยูเล็ก แบนเดอร (Ulek Bander) ซ่ึงอาจ

แปลไดวา การเหกลอมผูทําพิธี ในขั้นแรกจะเลียนแบบการหวานพันธขาว จากนั้นก็จะนั่งลงกลาง

หมูวงกลมของหญิงสาวทั้ง 6 คน และจะส่ันหัวแกวงไหลไปมาจนในที่สุดจะตกอยูในภวังค ขณะที่

อยูในภวังคนั้นเช่ือกันวาเธอไดติดตอกับวิญญาณแหงทองทุง และจะขอใหวิญญาณนั้นชวยเหลือ

ในชวงฤดูกาลที่จะมาถึง นอกวงกลมของหญิงสาวท้ัง 6 นี้ จะมีชายหนุม 2 คนจะรายรําไปชาๆ

โดยรอบ คนหนึ่งในนั้นแทน ปาวัง (Pawang) และเขาจะรายรําไปเร่ือยๆ จนถึงกลางวง ซ่ึงเปน

หนาที่ที่ชายหนุมผูนี้จะปลุกหญิงสาวที่อยูกลางวงใหต่ืนจากภวังค เมื่อหญิงสาวต่ืนจากภวังคแลว

ทั้งชายหนุมและหญิงสาวจะรายรําเปนวงกลม เปนอันส้ินสุดการแสดง (เอมิกา โพธิศรัทธาและ

อลงกรณ สุขสวัสดิ์, 2552, หนา 45)

1.2 เคร่ืองแตงกาย แตงตามลักษณะชาวพ้ืนเมืองในทองถิ่น

1.3 เคร่ืองดนตรี ใชเคร่ืองดนตรีประเภทเดียวกับหนังตะลุงของมาเลย ไดแกขลุย

ฆองทองเคร่ืองเล็ก 1 คู กลอง 2 ตัว และกลองยาว 1 ตัว

1.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชในพิธีกรรมเกี่ยวกับการขอพรจากวิญญาณ และส่ิงที่ไมมี

ตัวตน

Page 139: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

129

2. รําสิลัต (Silat)

การรําสิลัต มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

2.1 วิธีแสดง การแสดงชนิดนี้จะตอเนื่องกับการแสดงชุดฮานา (Hana) คือ เมื่อทุก

อยางดําเนินไปดวยดี และผลการเก็บเกี่ยวเปนที่นาพอใจก็จะมีการเฉลิมฉลอง ท่ียังคงปรากฏอยูใน

ปจจุบันคือ การอง และ อูเล็ค แกมโบห การอง หมายถึง กระดึงของวัวหรือควาย ปจจุบันใช

กลองจากมะพราว 2 ใบทําเสียงแทนเสียงกระดึงนี้ ทั้งหญิงสาวและชายหนุมจะรายรํา ในการรําชุด

นี้ แกมโบห (GAMBOH) ในที่นี้หมายถึง ความรักใครพึงพอใจ และกลุมผูรายรํามักจะรํา อูเล็ค

แกมโบห หนาบานสาวโสดซ่ึงเปนที่รักใครของคนในหมูบานและจะเชิญเธอมารวมรําดวย

2.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะของทองถิ่น

2.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีหนังตะลุงของมาเลย

2.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานพิธีกรรมเกี่ยวกับการขอพรจากวิญญาณและส่ิงที่

ไมมีตัวตน

3. รําเบเลียน ( Belian)

การฟอนรําชนิดนี้ รําเพ่ือจะใหวิญญาณคุมครองใหพนจากการรุกรานของสัตวปา

และใหรอดพนจากการบาดเจ็บและปวยไข

การรําเบเลียน มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

3.1 วิธีแสดง ใชชายหนุมและหญิงสาวรวม 11 คน โดย 10 คนจะรําเปนคูๆ และ

ตางฝายจะรายรํามาจากฟากตรงขามเบเลียนจะเปนผูรําและเขาทรงดวยตัวเองรวมท้ังจะแสดงทา

เลียนแบบสัตวปา เชน เสือ และแสดงทานอบนอมตอวิญญาณเจาปาเจาเขาเพ่ือขอขมาที่อาจจะ

รบกวน และงดเวนจากคําดูหมิ่นตางๆ

3.2 เคร่ืองดนตรี ใชดนตรีที่ใชกับหนังตะลุงของมาเลยโดยมีขลุยไผรวมดวย 2 เลา

3.3 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะของชาวพ้ืนเมืองในทองถิ่น

3.4 โอกาสที่ใชแสดง ในพิธีกรรมความเช่ือ เพ่ือขอใหวิญญาณคุมครองจาก

สัตวปา

4. รําบาเลย( Balai)

การรําบาเลย มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

4.1 วิธีแสดง เปนการรํากอนเขาฤดูทํานาใหมซ่ึงรําโดยหญิงสาว 12 คน มีจังหวะ

การเคลื่อนไหว 5 ทา ใชเวลารําเกือบคร่ึงช่ัวโมง การรําชนิดนี้จะมีเสาหนึ่งตนสูงประมาณ 10 ฟุต

ตกแตงดวยดอกไม ธง โดยผูรําจะเคลื่อนไหว รองเพลงและรายรําทาตางๆ รอบเสาตนนี้ เร่ิมจากการ

Page 140: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

130

รายรําเลียนทาของชาวนาเมื่อหวานขาว ปกดํา และสวนหนึ่งจะมีผูรายรํา 2 คน เลียนทาของไกและ

แสดงทาชนไกและส่ิงบันเทิงซ่ึงมีหลังฤดูเก็บเกี่ยว การรองในบางชุดจะใชรูปแบบพิเศษที่ใชในการ

รํามะยง ซ่ึงจะบอกถึงอายุของการฟอนรําแบบนี้

4.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะของชาวพ้ืนเมืองในทองถิ่น

4.3 เคร่ืองดนตรี กลอง 1 คู ฆอง 1 คู หรือมากกวานั้น

4.4 โอกาสที่ใชแสดง เปนการขอพรส่ิงศักดิ์สิทธ์ิกอนฤดูกาลทํานา

5. รําโรดัต ( Rodat)

เปนระบําแบบหนึ่งที่มีการอิงศาสนา มีช่ือเรียกอีกอยางหนึ่งวาฮัลราห (Hadzrah)

และมักจะจัดในที่กลางแจงนอกสถานที่ โดยอาศัยแสงจันทรหรือตะเกียงประมาณ 6 ดวง

การรําโรดัต มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

5.1 วิธีแสดง ใชผูชายหนุมอายุประมาณ 12 – 18 ป เรียกวาการเตนอาลี เมนเลน

กอก (Ahli Melenggok) โดยจะนั่งเปนแถวบนลานหันหนาไปทางผูชาย 3 – 4 คน ซ่ึงบางคร้ังจะ

สวมหมวก หนึ่งในบุคคลนี้คือโตะครู (ผูสอนศาสนา) ผูชายเหลานี้เรียกวาทูกัง อาดิ (Tukang Adi)

ทางซายมือของพวกเขามีกลองหนาเดียวและมีแผนทองเหลืองผูกติดอยูกับกลอง การตีกลองจะตี

ดวยมือขวา และแผนทองเหลืองจะส่ันเปนการทําใหจังหวะเรงเราขึ้น ไมมีดนตรีช้ินอื่นเลนอยูรวม

เลย พวกผูชายเหลานี้จะรวมรองเพลงอาหรับ เด็กหนุมจะลุกขึ้นอยางชาๆ เร่ิมจากการเคลื่อนไหวมือ

และแขนตอไปก็รางกายและขาในทายสุด ในแตละทอนของเพลง เด็กหนุมเหลานี้จะขับรอง

ประสานเสียงไปดวย เขาจะเคลื่อนไหวและรองรําไปตามจังหวะกลอง จะกาวไปขางหนาหรือขางๆ

ก็ตามก็มักจะกลับมาอยูตําแหนงเดิม ในตอนจบของเพลงแตละชุดพวกเขาจะนั่งพัก 2 – 3 นาทีกอน

จะเร่ิมใหม ไดมีความพยายามที่จะใหระบําโรดัต แพรหลายโดยใชเด็กชายแตงเปนเจาหญิง ซ่ึงจะ

รองเพลงอาหรับคลอไปกับเสียงไวโอลิน (นีรนุช เหลือลมัย, 2538, หนา 10)

5.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะของชาวพ้ืนเมืองในทองถิ่น

5.3 เคร่ืองดนตรี ไวโอลิน

5.4 โอกาสที่ใชแสดง ในพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองในโอกาสตาง ๆ

6. รํารองเง็ง ( Ronggeng )

การรํารองเง็ง มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

6.1 วิธีแสดง รองเง็งหมายถึง นักรําอาชีพท้ังท่ีรําและรอง การรายรําแบบนี้เปน

รูปแบบใหม เด็กหนุมสาวจะรายรําเปน 2 แถวหันหนาเขาหากัน จุดเนนอยูที่จังหวะของการเตนและ

การรําการเคลื่อนไหวของมือและแขนจะเนนรองลงมา

Page 141: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

131

6.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามแบบพ้ืนเมืองของมาเลย

6.3 เคร่ืองดนตรี เปนแบบตะวันตก และมีดนตรีประกอบเคร่ืองสายแบบใหม คือ

ไวโอลิน ที่ทํามาจากยุโรป แมวากลองและฆองจะยังคงอยู เมื่อไวโอลินอยางเดียวไมอาจเพียงพอ

ได ก็จะใชขลุยไมไผซ่ึงเรียกวา เซรูลิง (Seruling)

6.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานเทศกาลและงานเฉลิมฉลองตางๆ

7. การแสดงวายัง หรือการแสดงเชิดหุนในมาเลเซีย

วายังหรือการแสดงเชิดหุนในมาเลเซียมีหลายชนิดไดแก

7.1 วายัง เมลายู วายังชนิดนี้ มาลินี ดิลกวณิช (2543, หนา 283) ไดอธิบายวา

ไดรับการถายทอดจาก วายัง กุลิต ของอินโดนีเซีย ในประวัติศาสตรของมาเลเซียชวง คริส

ศตวรรษที่ 13 และ 14 กษัตริยชวามีอํานาจและอิทธิพลเหนือมาเลเซีย การบริหารประเทศและ

การคาตกอยูในมือของชวา ทั้งพอคาและขาราชการ เจานาย พากันมาต้ังถิ่นฐานในแหลมมาลายู

ในชวง 300 – 400 ป ที่ชวามีอํานาจและไดใชชีวิตแบบเดิม นําเอาผูรับใชคณะละครและขาทาส

บริวารมาจากอินโดนีเซีย ในคริสศตวรรษท่ี 16 มีหลักฐานบันทึกวา ชาวมาเลเซียนิยมการแสดง

แบบอินโดมาก จึงไมตองสงสัยวา วายัง กุลิต ไดมาเผยแพรอยางไร วายัง กุลิตไดเผยแพรอยาง

กวางขวางในบริเวณนี้ และเร่ืองราวที่นิยมดูก็เปนเร่ืองจาก รามายณะ

การแสดงวายัง เมลายู มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

7.1.1 วิธีแสดง ผูแสดงใชภาษามาเลย เทคนิคการแสดงเลียบแบบ วายังกุลิต

ทั้งรูปราง ลักษณะ ของตัวหนังก็ใชรูปแบบเดิม แตสวนแขนของ วายังเมลายู ขยับไดสวนเดียว

สันนิษฐานวามีชวงตอแหงเดียว ตรงสวนไหล แทนท่ีจะมีขอศอกดวยอาจเปนเพราะ วายังเมลายู

เปนรูปแบบที่เกาแกและมากอนอิสลามที่จะเขามาอยางแนนอน เร่ืองที่ใชแสดงนอกจากมหากาพย

ทั้งสองของอินเดีย ยังมีเร่ืองปนหยี และเร่ืองราวกษัตริยอิสลามในยุคหลังคริสศตวรรษที่ 17 เปนตน

มา

7.1.2 เคร่ืองแตงกาย รูปรางลักษณะของตัวหนังคลายกับวายังกุลิต แตแตง

กายแบบชาวมาเลเซีย

7.1.3 เคร่ืองดนตรี มีป 1 เลา กลองเกนดัก 2 ใบ ฆองราวหรือฆองวง

7.1.4 โอกาสที่ใชแสดงในงานเทศกาลและงานเฉลิมฉลองตางๆ

7.2 วายังเซียม

การแสดงวายังเซียม มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

7.2.1 วิธีแสดง วายังเซียมใชเทคนิคการตัดและฉลุตัวหุนแบบวายัง

แตลักษณะหนาตาและเคร่ืองแตงตัวเห็นชัดวาลอกเลียนแบบจากตัวละครในโขนของไทย วายัง

Page 142: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

132

เซียม เลนเร่ือง รามเกียรต์ิ ตามเร่ืองของไทย แตพูดเปนภาษามาเลย ศิลปะการแสดงละครของไทย

เขามาผสมผสานกันอยูมาก การไหวครูและบูชาเทพเจากอนการแสดงจะมีทั้งบทสวดที่เปนของ

มาเลยและไทย

7.2.2 เคร่ืองแตงกาย เลียนแบบจากตัวละครในโขนของไทย

7.2.3 เคร่ืองดนตรี ใชเคร่ืองดนตรีมาเลยผสมกับเคร่ืองดนตรีของไทย เชนฉ่ิง

และกลองยาว

7.2.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานเทศกาล และงานเฉลิมฉลองตาง

8. รําอะเช็ค

เปนการรําในราชสํานักที่มีช่ือเสียงท่ีสุด ปจจุบันการรําอะเช็คจะมีผูรําประกอบดวย

ผูหญิง 11 คน ราชินีของมาเลยผูครองรัฐ ปตตานี ในปค.ศ. 1644 มีนักฟอนรําในราชสํานักถึง 12 คน

ที่จะรองและรํา อะเช็ค การรําแบบนี้ปรากฏในคร้ังสุดทายอยางเต็มรูปแบบ ในฐานะสวนหนึ่งของ

การเฉลิมฉลอง ในปค.ศ. 1909 ของเคตามารู ตอมาในป ค.ศ. 1957 ไดรับการฟนฟูโดยกลุมอนุรักษ

คําวาอะเช็ค หมายถึง คนรัก เด็กผูหญิงที่รําอะเช็คนั้นไดรับการคัดเลือกตอนอายุ 7 หรือ 8 ขวบ

และถูกนําเขาไปในวัง เพ่ือฝกรํา คนที่ไดรับเลือกจะฝกรําสัปดาหละ 2 ช่ัวโมงทุกวัน และจะไดรับ

การสอนมารยาทในราชสํานักและประเพณีในราชสํานัก เด็กเหลานี้จะไมปรากฏตัวตอผูครองนคร

เปนเวลา 4 ป บทบาทของผูรายรําในอะเช็คเปนตําแหนงที่สําคัญและผูรายรําทุกคนจะพยายามใหถึง

จุดนี้ เพราะส่ิงนี้อาจจะนําไปสูสถานะที่เดนย่ิงขึ้น

ภาพที่ 7.1 ภาพการแสดงชุดอะเช็ค

ที่มา : เอมมิกา โพธิศรัทธา และอลงกรณ สุขสวัสดิ์, 2552, หนา 7

Page 143: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

133

การแสดงอะเช็ค มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

8.1 วิธีแสดง การรายรําแบบนี้เร่ิมจากเด็กหญิง 10 คน เขามาในสถานที่แสดงและ

นั่งคุกเขาเปนรูปหัวลูกศรขางละ 5 คน นั่งกมหนารอเจาหญิง ปูเตริ อะเช็ค (Puteri Ashek) ผูรํานํา

ของราชสํานัก ซ่ึงเธอจะเขามาหลังจากนั้นเพียงครูเดียว เธอจะสวมเคร่ืองแตงกายแบบราชสํานักลัน

ตันในศตวรรษที่ 19 และจะนั่งอยูตรงตําแหนงปลายสุดของลูกศรจะเร่ิมการรายรําโดยผูรําท้ัง 11

คน จะพนมมือไวระหวางอก ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติยังคงอยูต้ังแตสมัยที่ อะเช็คใชรําถวาย

พระราชาเทานั้น หลังจากนั่งคุกเขาบนสนเทาแลว ผูรําจะเร่ิมขยับแขนและมือคร้ังแรกเหนือไหลทั้ง

สองขาง หลังจากนั้นก็ลดลงมาอยูระดับอก และลดตํ่าลงมาจนเกือบถึงพ้ืน ทาเคลื่อนไหวหลายทา

สะทอนใหเห็นการปฏิบัติภารกิจของสาวใชในราชสํานัก เชน การปนฝาย การทอผา และมีหลาย

ทาทางที่แสดง ทาอันสงางามของกวาง การรวมตัวและการแตกกระจายของฟองคลื่นฯลฯ

8.2 เคร่ืองแตงกาย การรํา อะเช็คนี้ใชเคร่ืองแตงกายแบบเดียวกันกับการรํามะยง

คือผมมวนเกลาเปนมวยลอมรอบดวยดอกมะลิสวนไหลเปลือย จนกระท่ังปค.ศ. 1890 เปลี่ยนมา

เปนสวมเส้ือรัดรูปแขนยาว ตัวเส้ือจะทําดวยไหมทอดวยมือสีแสด สวนผาถุงผาไหม คาดดวยเข็ม

ขัดเงิน รัดใหแนนดวยหัวเข็มขัดและพาดบาดวยผาโสรงไหมผืนยาวพับจนเทาฝามือ พาดบา

ดานซายชายยาวถึงเขาดานหนา ดานหลังยาวถึงขอศอก และคาดทับโดยเข็มขัด สําหรับผูรําที่เปนตัว

เอกนั้น จะมีกรวยสีเงินเปนเล็บยาวครบทุกนิ้วทั้ง 2 มือ

8.3 เคร่ืองดนตรี ประกอบดวยเคร่ืองดนตรี 3 ชนิด จะเปนกลองเดี่ยวเรียกวา

เกเด็นบัค อะเช็ค (Gedenbak Ashek) จะวางอยูบนพ้ืน หนากลองทําดวยหนังแพะเวลาตีก็ใชนิ้วมือ

ทั้งสองมือ กลองนี้มีทั้งหมด 11 ใบ เคร่ืองดนตรีช้ินท่ี 2 เปนเคร่ืองระนาดไมรูปเรือเรียกวา เกนบัง

(Genbang) ซ่ึงถือกําเนิดมาจากเขมร แตช่ือจะเปนอินโดนีเซีย เคร่ืองดนตรีช้ินท่ี 3 คือ ขลุย เรียกวา

เรไบ (Rebai) ซ่ึงเปนเคร่ืองดนตรีช้ินสําคัญในการฟอนมะยง นักดนตรีที่เลนขลุยมักเปนชายวัย

กลางคน

8.4 โอกาสที่ใชแสดง ในราชสํานักและงานเฉลิมฉลองตางๆ เชนพระราชพิธีหมั้น

เปนตน

9. ละครบังสวัน

มาลินี ดิลกวณิช (2543 , หนา 284) อธิบายวาเปนการแสดงที่สรางขึ้นในยุค

สมัยใหม ในศตวรรษที่ 20 นี้เอง เปนละครที่ไดรับความนิยมมากอนสงครามโลกคร้ังท่ี 2 เนื้อเร่ือง

นํามาจากประวัติศาสตรของมาเลเซีย นิทานอาหรับ วรรณคดีอิสลาม หรือเร่ืองจากส่ือบันเทิงดาน

Page 144: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

134

อื่นในยุคสมัยใหม ในชวง ค.ศ. 1920 – 1930 ละครบังสวันไดออกแสดงอยางแพรหลายท้ังใน

ประเทศและนอกประเทศ เชน สุมาตรา บอรเนียว เกาะชวา

การแสดงละครบังสวัน มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

9.1 วิธีแสดง เปนละครพูดที่มีการรองเพลงและรายรําสลับกัน ใชผูแสดงท้ังผูชาย

และผูหญิง(สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 269) เวลาตัวแสดงรองเพลงจะมีเสียงดนตรีบรรเลงคลอ

เสียงรอง เนื้อเร่ืองที่นํามาแสดง ในปจจุบันมักนําเร่ืองที่ใกลตัว ปญหาสังคมและชีวิตในยุคปจจุบัน

เชน อิสรภาพในการเลือกคู ความเสมอภาคในสังคม ปญหาของชะตากรรมมาแสดง ความดีความ

ช่ัวเปนแกนของเร่ืองที่เห็นเดนชัดในละครบังสวัน

9.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะของเนื้อเร่ือง ถาเปนละครประวัติศาสตร

ก็แตงตัวแบบกษัตริยแพรวพราว การแตงหนาแตงแบบธรรมชาติ

9.3 เคร่ืองดนตรี เดิมใชเคร่ืองดนตรีพ้ืนเมือง ปจจุบันใชเปยโน กลอง กีตาร

ไวโอลิน แซ็กโซโฟน

9.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในงานนักขัตฤกษและมหรสพทั่วไปของมาเลเซีย

10. การแสดงมะยง

มีกํ า เนิ ดใน รา ชสํา นั กที่ เ รียก ว า ลั ง กา สุ กะ (ป จ จุบั น คือ จังห วั ดป ต ตา นี )

ต้ังแตศตวรรษที่ 17 เร่ืองที่แสดงเปนนิยายรักของมาเลเซีย การแสดงมีเคาโครงเร่ืองแบบสังขทอง

เคยเปนที่นิยมกันในสมัยหนึ่ง ปจจุบันมะยงแสดงเร่ืองรามเกียรต์ิ โดยคณะมะยงจากรัฐกลันตัน

เปนที่นิยมกันมาก ผูที่จะแสดงมะยงไดนั้น จะตองไดรับการฝกหัดต้ังแตอายุยังนอย คือประมาณ 8-

9 ขวบ

การแสดงมะยง มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

10.1 วิธีแสดง เปนการแสดงละครเปนเร่ือง ดําเนินเร่ืองโดยการรองและรํา เร่ือง

ที่ใชแสดงมักจะเปนทํานองรักใคร มีบทตลกเขามาแทรกเปนบางตอน ผูแสดงเปนหญิงลวน ยกเวน

ตลก เดิมแสดงในราชสํานัก ในทองพระโรง ไมมีฉากหรือเวทีอื่นใด ผูแสดงจะนั่งเปนแถวโคง เมื่อ

ถึงบทของตนก็จะออกไปแสดง เมื่อหมดบทก็กลับมานั่งท่ีเดิมทําหนาที่เปนลูกคู โดยกลุมผูแสดง

จะนั่งดานขวาของสถานที่ ไมมีการใชอุปกรณอื่นใดยกเวนไมเทา การแสดงจะเร่ิมตนดังนี้คือ

10.1.1 ผูแสดงนําฝายหญิงจะออกมารองและรําเดี่ยว ประมาณ 20 นาที

ตัวแสดงที่เหลือทั้งหมดเปนลูกคู

10.1.2 พระเอกลุกขึ้นมาแนะนําบทบาทของตน เรียกตัวตลกออกมาและเร่ิม

ดําเนินเร่ืองใชเวลาประมาณ 1 ช่ัวโมง เร่ืองที่ใชแสดงมี 12 เร่ือง ที่นิยมแสดงมากคือ เร่ืองเดวา มุดา

Page 145: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

135

ซ่ึงเปนเร่ืองของเจาชายเมืองมนุษยไปรักกับเจาหญิงบนฟาและเร่ือง เดอะ ไตรตอน เชลล ปร้ินส

(The Triton Shell Prince) เนื้อเร่ืองคลายเร่ืองสังขทอง

10.1.3 เคร่ืองแตงกาย

(1) ฝายชายใสเส้ือคอเหลี่ยมเขารูปแขนยาว สวมกรองคอทําดวย

ลูกปดทับเส้ือ นุงกางเกงขายาวสีเขม นุงโสรงสีแดงเขมทับ มีผาโสรงสีแดงสดพันทับรอบเอวแทน

เข็มขัด เหน็บกริชที่เอวซาย ทัดอุบะดอกมะลิหรือโพกผาที่ศีรษะ

(2) ฝายหญิงใสเส้ือรัดรูปตัวยาว แขนยาว นุงผาโสรงไหมยาวกรอม

เทา พาดผาสะบักบาซายยาวถึงพ้ืน คาดเข็มขัดเงินทับ สวมมงกุฎเล็กๆ และเคร่ืองประดับตามที่มี

บางคร้ังเกลามวยทายทอย ประดับดวยดอกมะลิโดยรอบ

(3) ตลก ใสเส้ือขาวคอกลม นุงกางเกงหลวมๆ และนุงโสรงทับ

โพกผาสีแดง หรือน้ําเงิน

10.1.4 เคร่ืองดนตรี ประกอบดวยซอสองสาย เรียกวาซอรีบับ ทําหนาท่ีเปน

ตัวดําเนินทํานอง มีฆองโหมง 1 คู กลองแขก 1 คู เปนตัวประกอบจังหวะ ดนตรีจะต้ังอยูทางซาย

ของสถานที่ ยกเวนซอรีบับจะอยูกลางเวที

10.1.5 โอกาสที่ใชแสดง เดิมใชแสดงในวังของสุลตาน ตอมาใชแสดงให

ประชาชนชม ในงานนักขัตฤกษทั่วไป

11. การแสดงเมโนรา (Menora)

เมโนราหรือมโนหรานี้จะแสดงเฉพาะที่กลันตันเทานั้น ที่อื่นจะหาดูไดยากมาก ตาม

ประวัติกลาววา ละครรําแบบนี้มีมาแตสมัยโบราณ สมัยอาณาจักรลิกอร(Ligor) ประมาณ 2,000 ป

มาแลว

การแสดงเมโนรา มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

11.1 วิธีแสดง ผูแสดงจะตองรายรํา ออกทารําตามบทบาท ลีลาการรําออนชอย

งดงาม การเจรจาการรองตามบท ในเวลาแสดงใชภาษามาเลย ตัวละครเมโนรานี้ใชผูแสดงชาย

ทั้งหมด ไมมีผูหญิงมาปะปนเลย วิธีหรือกฎเกณฑแบบนี้ก็เหมือนกับละครนอกของไทยเรานั้นเอง

เวลาแสดงก็สวมหนากาก เร่ืองที่ใชแสดงเปนเร่ืองจักรๆ วงศ ๆ ละครพ้ืนบานเกา เร่ืองวีรบุรุษใน

ประวัติศาสตร นิยมแสดงกลางแจงตามลานวัด

11.2 เคร่ืองแตงกาย ใสหนากากรูปทรงแปลกๆ หนากากจะทาสีสันดูฉูดฉาดบาด

ตา เปนรูปหนาคน หนายักษ หนาปศาจ สําหรับหนามนุษยนั้นมีสีซีดๆ แลดูหนากลัว

Page 146: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

136

11.3 เคร่ืองดนตรี ใชกลองสองหนาและกลองหนาเดียว กลองหนาเดียวจะมี

ลักษณะคลายโทนของไทย มีช่ือเปนภาษามลายูวา เกอตอกซ (Kertox) สวนกลองสองหนามี

ลักษณะคลายกลองทัด ตัวกลองวางเอียงไปขางหนึ่งเพ่ือสะดวกในการตี วางอยูบนขาหย่ังหรือขาต้ัง

สามขา เคร่ืองดนตรีอื่นๆก็มี ฆองราว ฆองวง (รูปรางส่ีเหลี่ยมผืนผา หรือรางยาว ไมเปนวงกลม

เหมือนของไทย) ปและขลุย (เพ่ิมพร ศิริศักดิ์, ม.ป.ป., หนา 57)

11.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชแสดงในงานร่ืนเริงตาง ๆ

12. ระบําซาปน (Zapin)

การแสดงชนิดนี้เปนศิลปะพ้ืนเมืองของมาเลเซียมาแตโบราณ ตามประวัติเกิดขึ้น

กอนในดินแดนอาราเบีย ตอมาไดมีคนนํามาเผยแพรในมาเลเซีย คริสตวรรษที่ 15 เปนตนมา

การแสดงระบําซาปน มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

12.1 วิธีแสดง เปนการแสดงฟอนรําหมู มีผูแสดง 12 คน แบงเปนหญิงชายจํานวน

เทากัน ฝายละ 6 คน จับคูเตนกันเปนวงกลม บางคร้ังจะเตนรวมกันเปนกลุมใชการยกเทาพรอมกัน

เปนจังหวะ เตนรําตามจังหวะดนตรี ซ่ึงบรรเลงจากชาไปหาเร็ว

12.2 เคร่ืองแตงกาย เปนแบบเรียบๆ ชายใสหมวกอิสลามหรือหมวกแขก

ใสเส้ือกั๊ก นุงโสรง หญิงใสกระโปรง เส้ือรัดรูป มีผาแพรคลุมศีรษะ

12.3 เคร่ืองดนตรี ใชกีตารแบบอาระเบียน หรือฝร่ังเรียกวา แกมบัส (Gambus)

กลองเล็กสองหนา ใชตีดวยฝามือ กลองชนิดนี้เรียกวา มารูซาใหจังหวะนํากีตาร

12.4 โอกาสที่ใชแสดง เปนระบําพ้ืนเมืองใชแสดงในงานร่ืนเริง งานนักขัตฤกษ

ทางศาสนาหรือร่ืนเริงในหมูชาวบานในเวลาปกติ

13. รํา เกยัง โอตา โอตา (Gayung Ota Ota)

การรํา เกยัง โอตา โอตา มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

13.1 วิธีแสดง การแสดงชนิดนี้เปนการแสดงของนักรบซ่ึงมีตนกําเนิดมาจากรัฐ

ตรังกานู การรําชุดนี้มีทาทางของการปองกันตัวและทาทางของการตอสูท่ีสมบูรณแบบ โดยแขน

ขางหนึ่งจะถือดาบและ แขนอีกขางหนึ่งจะถือโลแผงปองกันตัว ทาทางของผูแสดงฝายหนึ่งจะลุก

ไปขางหนา ในขณะที่อีกฝายหนึ่งจะถอยและเปนฝายปองกันตัว

13.2 เคร่ืองแตงกาย แตงชุดนักรบประจําชาติ

13.3 เคร่ืองดนตรี จ็องสและกลอง

13.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานเฉลิมฉลองและงานเทศกาลตาง ๆ

Page 147: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

137

ภาพที่ 7.2 ภาพการแสดงชุด เกยัง โอตา โอตา

ที่มา : เอมมกิา โพธิศรัทธา และอลงกรณ สุขสวัสดิ์, 2552, หนา 11

14. รําเทียน( Lilin )

รําเทียนเปนการรําที่มีตนกําเนิดมาจากเกาะสุมาตราซ่ึงเร่ิมมาจากประเทศอินโดนีเซีย

แตกลับมาแพรหลายในมาเลเซีย

Page 148: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

138

ภาพที่ 7.3 ภาพการแสดงชุดรําเทียน (Lilin )

ที่มา : เอมมกิา โพธิศรัทธา และอลงกรณ สุขสวัสดิ์, 2552, หนา 16

การแสดงรําเทียน มีลักษณะที่โดดเดนดังนี้

14.1 วิธีแสดง รําเทียนเปนการฟอนรําของเด็กผูหญิงโดยเฉพาะอยางย่ิงเด็กๆ ผู

แสดงจะถือจานรองที่มีเทียนจุดไวในมือแตละขาง และจะฟอนเปนวงกลมในขณะยอตัวตํ่าลง ใน

ขณะเดียวกันจะหมุนขอมือที่มีเทียนไขในมือกลับหัวลง ช่ัวขณะหนึ่งโดยท่ีเทียนจะไมดับเลย ใน

นิ้วกลางของผูรําแตละคน จะสวมแหวนโลหะซ่ึงจะเคาะจังหวะที่ใตจานรองไปพรอมกับเสียง

ไวโอลิน การรําจะจบลงดวยทานั่งคุกเขาของผูรําพรอมกับมีจานรองเทียนไขวางอยูบนพ้ืนตรงหนา

ผูรํา

14.2 เคร่ืองแตงกาย ผูแสดงนุงผายาว ใสเส้ือแขนยาว ลําตัวคลุมลงมาที่ผาถุง

โพกศีรษะ

14.3 เคร่ืองดนตรี ไวโอลิน กลอง

14.4 โอกาสที่ใชแสดง งานเทศกาลตางๆ

สรุป

ประเทศมาเลเซียมีพ้ืนฐานทางวัฒนธรรมคลายกับชาวอินโดนีเซีย เพราะมาจากชาติพันธ

เดียวกัน คือเปนแขกมาเลย รับอารยธรรมอินเดียและมุสลิมเหมือนกัน แตในดานการสรางสรรคทาง

ศิลปะการแสดงจะแตกตางกันออกไป ศิลปะการแสดงของมาเลเซียสวนใหญจะลอกเลียนแบบมา

จากชาติอื่น ในปจจุบันนี้ประเทศมาเลเซียมีคนอาศัยอยูหลายเช้ือชาติ ไดแก ชาวมาเลย จีน อินเดีย

และชาวพ้ืนเมือง จึงเปนผลทําใหนาฏศิลปมาเลเซียเปนนาฏศิลปที่แยกไปตามชนชาติคอนขาง

ชัดเจน การแสดงที่ออกมาจึงเปนไปในแนวทางของตนเองในแตละชาติ

นาฏศิลปและละครของมาเลเซียที่ควรรูจักมีดังนี้คือ 1) รําฮานา เปนการรําในพิธีกรรม

เพ่ือขอพรจากวิญญาณและส่ิงที่ไมมีตัวตน 2) รําสิลัต เปนการแสดงท่ีตอเนื่องจากชุดฮานาใชใน

การเฉลิมฉลองเมื่อไดรับความสําเร็จ โดยการไปชักชวนหญิงสาวที่ตนรักมารวมรายรําดวย

3) รําเบเลียน เปนการฟอนรําเพ่ือใหวิญญาณคุมครองพนจากการรุกรานของสัตวปา และใหรอด

พนจากการบาดเจ็บและปวยไข 4) รําบาเลย เปนการรําเพ่ือขอพรส่ิงศักสิทธ์ิกอนฤดูการทํานา

5) รําโรดัต เปนการแสดงของเด็กหนุมที่รวมรองเพลงอาหรับ พรอมกับเตนและรําไปตามจังหวะ

กลอง ใชแสดงในงานพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองตาง ๆ 6) รํารองเง็ง เปนการเตนรําของเด็กหนุม

สาวในรูปแบบใหม จุดเนนอยูที่จังหวะของการเตน การรําการเคลื่อนไหวของมือและแขนจะเนน

Page 149: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

139

รองลงมา 7) การแสดงวายัง เปนการเชิดหุนของมาเลเซีย มีหลายชนิดไดแก วายัง เมลายู วายังเซียม

เปนตน 8) รําอะเชค เปนการรายรําในราชสํานักท่ีมีช่ือเสียง และจะใชรําถวายเฉพาะพระราชา

เทานั้น 9) ละครบังสวัน เปนละครที่ไดรับความนิยมมากอนสงครามโลกคร้ังที่ 2 เปนละครพูดที่มี

การรองเพลงและรายรําสลับกัน เนื้อเร่ืองที่ใชแสดงนํามาจากประวัติศาสตรของมาเลเซีย

10) การแสดงมะยง เปนการแสดงละครเปนเร่ือง ดําเนินเร่ืองโดยการรองและรํา เดิมแสดงในราช

สํานักในทองพระโรง มีลักษณะเหมือนกับการแสดงละครชาตรีของไทย 11) การแสดงเมโนรา

เปนการแสดงที่ใชชายลวน สวมหนากาก ผูแสดงจะรายรําตามบทบาท ใชภาษามาเลย แสดงเร่ือง

จักรๆวงศเหมือนกับละครนอกของไทย 12) ระบําซาปน เปนระบําพ้ืนเมืองท่ีใชแสดงในงานร่ืน

เริง เปนการฟอนรําหมู ผูแสดงเปนชายและหญิงจับคูเตนกันเปนวงกลม

คําถามทบทวน

1. นาฎศิลปของประเทศมาเลเซียแบงไดกี่ประเภท อะไรบาง

2. เพราะเหตุใดการแสดงนาฎศิลปของประเทศมาเลเซียจึงมีหลายรูปแบบ

3. จงวิเคราะหความหมายของคําวา Dance ในภาษามาเลย สามารถใชคําวาอะไรไดบาง

4. รําฮานา เปนนาฏศิลปมาเลย ที่แสดงเพ่ือวัตถุประสงคอะไร

5. จงเปรียบเทียบความคลายคลึง และความแตกตางระหวางการแสดงวายังเมลายู กับวา

ยังกุลิต

6. จงสรุปที่มาและวิธีการแสดงในราชสํานักที่มีช่ือเสียงของมาเลเซีย

7. จงวิเคราะหการแตงกายประกอบการแสดงมะยง

8. ละครชนิดใด ของมาเลยที่มีลักษณะเหมือนกับละครนอกของไทย จงอธิบาย

9. การแสดง รองเง็ง หมายถึงอะไร

10. จงอธิบายลักษณะเคร่ืองแตงกาย ชาย-หญิง ประจําชาติมาเลเซียมาใหเขาใจ

Page 150: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

140

เอกสารอางอิง

ขวัญฤทัย ปทุมรัตนโชติ. (2538). นาฏศิลปมาเลเซีย. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขา

นาฏยศิลป) คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นีรนุช เหลือลมัย. (2538). นาฏศิลปมาเลเซีย. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขานาฏยศิลป)

คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

เพ่ิมพร ศิริศักดิ์. (ม.ป.ป.). การแสดงละครในประเทศอินโดนีเซยี. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต

(สาขานาฏยศิลป ) คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําและละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

สํานวน แสงเพ็ง และคนอื่น ๆ. (2547). ประเทศเพื่อนบานและบุคคลสําคัญ. กรุงเทพฯ : แม็ค.

สุมิตร เทพวงษ. (2548). นาฏศิลปไทย : นาฏศิลปสาํหรับครูประถม-อุดมศึกษา. พิมพคร้ังที่ 2.

กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

เอมมิกา โพธิศรัทธา และอลงกรณ สุขสวัสดิ์. (2552). การแสดงนาฏศิลปอนิโดนีเซยี. รายงาน

ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขานาฏยศิลป) คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Page 151: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทที่ 8

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเปนอีกประเทศหนึ่งที่การแสดงนาฎศิลปและละครของอินโดนีเซียไดรับ

อิทธิพลมาจาก อารยธรรมอินเดีย นาฏศิลปของประเทศอินโดนีเซียนั้นมีความหลากหลายมาก

เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรจํานวนมาก ในแตละเกาะลวนมีการแสดงที่มีช่ือเสียงและเปน

ที่รูจักกันแพรหลาย มีความเปนเอกลักษณโดดเดนเฉพาะตน ในบทนี้จะไดกลาวถึงประวัติความ

เปนมาตลอดจน วิธีการแสดงนาฎศิลปและละครในประเทศอินโดนีเซียประเภทตาง ๆ

ประวัติความเปนมา

เมื่อประมาณ 500,000 ปมาแลว ประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-9 ไดมีอาณาจักรใหญนอย

เกิดขึ้นตามหมูเกาะตาง ๆ มากมาย บางก็มีอํานาจและรุงเรืองในระยะเวลาเดียวกันแตตางสถานที่

ไกลกัน ในยุคนี้ประชาชนนับถือภูตผี วิญญาณบรรพบุรุษ มีการขับรองฟอนรําเพ่ือเซนสรวงบูชา

ใหส่ิงศักดิ์สิทธ์ิเหลานั้นอํานวยพรแกชีวิต ผูทําหนาที่ขับรองฟอนรํามักเชิญวิญญาณที่ตน

ปรารถนาใหมาประทับทรง การแสดงนาฏศิลปตามความเช่ือนี้ยังมีปรากฏอยูอยางชัดเจน

ตอมาชาวอินเดียโบราณไดเขามาต้ังถิ่นฐานอยูบนเกาะสุมาตรา ทําใหศาสนาฮินดู

แพรหลายเขามาติดตามดวยศาสนาพุทธนิกายมหายาน ดังจะเห็นไดจากโบราณสถานทางพุทธ

ศาสนาที่ปรากฏอยูในปจจุบัน ที่ถือวาเปนพุทธสถานที่เปนส่ิงมหัศจรรยของโลก คือ โบโรบูดู

(Borobudur) หรือ บุโรพุทโธ ซ่ึงแปลวา วิหารหิน ในฐานของบุโรพุทโธนี้มีภาพแกะสลักเปนการ

แสดงนาฏศิลปอยูหลายภาพ ซ่ึงเห็นอิทธิพลของอินเดียไดอยางชัดเจน

พุทธศตวรรษที่ 13-15 อาณาจักรมะตะรามโบราณไดยายไปต้ังอยูทางทิศตะวันออกของ

ชวากลางเรียกวา อาณาจักรกาหุริปน ยุคนี้มีการแตงบทละครตอนหนึ่งจากมหาภารตะช่ืออารจุนา

วิวาหะ ในรัชสมัยพระเจาไอยลังคะ (พ.ศ. 1562-1585) แลวนํามาใชแสดงวายังกุลิต ซ่ึงเปนตัวหนัง

แกะเปนภาพ และในยุคตอมาก็ไดมีการพัฒนาการแสดงวายังประเภทอื่นๆ เชน วายังวอง

ใชคนจริง ๆ แสดงเร่ืองรามยณะ ผูแสดงสวมหนากาก หากแสดงเร่ืองมหาภารตะ ไมสวม

หนากาก ภายหลังเมื่อลวงมาถึงอาณาจักรสิงหะสาหรีและอาณาจักรมาจาปาหิต (พ.ศ. 1835-2043)

การแสดงวายังกุลิตและวายัง วอง ไดรับความสนใจจากราชสํานักเปนอยางมาก

คร้ันตอมาศาสนาอิสลามแพรหลายเขามา พรอมกับการคาระหวางอินเดียกับอินโดนีเซีย

และลงหลักปกฐานอยูในชวา ในยุคนี้ไดมีการสรางวายัง โกเล็ก (Wayang Golek) ซ่ึงเปนหุนตุกตา

Page 152: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

142

ไมคลายหุนกระบอก เพ่ือใชแสดงในเวลากลางวันแทนวายังกุลิตที่ใชแสดงในเวลากลางคืน กษัตริย

อิสลามที่ทํานุบํารุงนาฏศิลปจนเปนที่สรรเสริญทั่วไป คือ สุลตาน อกุง (Sultan Agung) แหง

อาณาจักรมะตะราม(ใหม) โดยพัฒนาตัวหนังวายังกุลิต เชนมีการฉลุลายละเอียดภายในลําตัว ขยาย

ขนาดตัวใหโตขึ้น ลงสีใหสดสวย และภายหลังก็ไดแกไขใหแขนท้ังสองขางตรงหัวไหล ขอศอก

และขอมือขยับได

เมื่ออาณาจักรฮินดูและพุทธถูกบุกรุก คนสวนหนึ่งยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม อีกสวน

หนึ่งอพยพหนีไปยังเกาะบาหลี โดยนําศิลปวัฒนธรรมฮินดูเขาไปปะปนกับวัฒนธรรมของลัทธิ

ดั้งเดิมและลัทธิฮินดูของอาณาจักรเล็ก ๆ ในเกาะบาหลีที่มีมาเดิม ปจจุบันชาวบาหลียังรักษา

ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมฮินดู ซ่ึงสะทอนถึงศิลปะและวัฒนธรรมของฮินดูใน

อินโดนีเซีย กอนแพรกระจายเขามาของศาสนาอิสลาม อีกทั้งยังพัฒนาการแสดงนาฏศิลปของ

ตนเองขึ้นอีกหลายรูปแบบ

คร้ันป พ.ศ. 2200 บริษัท ดัทช อีสต อินเดียของประเทศเนเธอแลนด ไดเดินเรือพานิช

เขามาทําการคาเคร่ืองเทศแถบหมูเกาะโมลุกและเกาะอื่น ๆ ซ ึ่งตอมาไดแผอิทธิพลเขายึดครอง

อาณาบริเวณบนเกาะตาง ๆ ของอินโดนีเซีย รวมทั้งไดทําสงครามแกงแยงอํานาจกันในราชวงศ เมื่อ

ไดชัยชนะก็ไดแบงอาณาจักรมะตะรามออกเปน อาณาจักรยอกยาการตา (Yogyakarta) และ

อาณาจักรสุราการตา (Surakarta) จากนั้นมาราชสํานักทั้งสองตางก็สืบทอดการแสดงนาฏศิลปตาง ๆ

ที่มีมาแตเดิมและมีการพัฒนารูปแบบการแสดงเพ่ือแขงขันกันตลอดเวลา (สุรพล วิรุฬหรักษ, 2544,

หนา 19-25)

ปจจุบันประเทศอินโดนีเซีย มีสถาบันท่ีสอนนาฏศิลปดนตรีประจําอยูตามหมูเกาะหรือ

ภาคตาง ๆ ดังนี้คือ (ฉันทนา เอี่ยมสกุล, 2538, หนา 45)

1. นาฏศิลปชวายอกยาการตา (ชวากลาง)

2. นาฏศิลปชวาสุราการตา (ชวากลาง)

3. นาฏศิลปซุนดา (ชวาตะวันตก)

4. นาฏศิลปบาหลี (เกาะบาหลี)

5. นาฏศิลปสุมาตรา (เกาะสุมาตรา)

Page 153: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

143

ภาพที่ 8.1 ภาพการแสดงรามายณะของอินโดนีเซีย

ที่มา : ศรีสุรางค พูลทรัพย, ม.ป.ป., หนา 21

ภาพที่ 8.2 ภาพการแสดงรามายณะของอนิโดนีเซีย

ที่มา : ศรีสุรางค พูลทรัพย, ม.ป.ป., หนา 21

Page 154: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

144

การแสดงนาฏศิลปและละครของอินโดนีเซีย

การแสดงนาฏศิลปและละครของอนิโดนีเซีย มีดังนี้

1. การแสดง นาฏศิลปชวา

เปนการแสดงที่เปนสวนหนึ่งของพิธีกรรม พิธีการและการบันเทิงของราชสํานักท่ี

จัดถวายแดพระมหากษัตริย การฟอนรําตองมีความประณีต งดงาม มีระเบียบแบบแผน มีลีลาทารํา

อันออนชอยงดงาม มีทาสงบนิ่ง การแสดงทารําของตัวละครตองเคลื่อนไหวอยางระมัดระวัง

ดวงตามองตํ่า ใชการเลนหนาชาๆสําหรับตัวละครท่ีเปนฝายธรรมะ ซ่ึงแสดงถึงจิตใจอันบริสุทธ์ิ

ออนโยน จากการรุกรานของดัชตในป พ.ศ. 1943 ไดแบงชวาออกเปน 2 สวน คือ ยอกยาการตาและ

สุราการตา ทําใหนาฏศิลปชวามีรูปแบบที่แตกตางกันออกไป คือ นาฏศิลปแบบยอกยาการตา

(Yogyakarta Style) เปนการแสดงแบบชวากลาง เดิมนิยมสอนในราชสํานัก สวนมากเปนโอรส

ธิดาของกษัตริย บุตรธิดาขุนนาง ลักษณะการสอนนั้นจะสอนใหลูกศิษยเลียนแบบทาทางทุกอยาง

ของครู ซ่ึงตองทําจนสามารถจําได ในการสอนนี้ครูจะแตะตองตัวลูกศิษยไมได เพราะมีขอหามมิ

ใหถูกตองตัวเช้ือพระวงศ โดยเฉพาะโอรส ธิดา แตปจจุบันวิธีการสอนไดเปลี่ยนแปลงไป ครู

สามารถจับตองตัวลูกศิษยได สามารถจัดทาใหศิษยไดควบคูไปกับการออกคําส่ัง โดยใชเสียงและ

การปรบมือ แมสมัยนี้สุลตานจะหมดไปแลว แตก็ยังมีการสอนและการรําในราชสํานักอยู ทั้งนี้เพ่ือ

เปนการอนุรักษ โดยทุกวันอาทิตยที่ในวังซ่ึงเปดใหประชาชน นักทองเท่ียวเขาชม จะมีการสอน

นาฏศิลปใหเห็นอยูดวยทุกคร้ังการสอนแบบยอกยาการตานี้ จะเร่ิมสอนโดยใหผูเรียนไดรูจัก

นาฏศิลปที่ใชในการรํากอน ซ่ึงเรียกวา รากัม รากัม (Ragam-Ragam) สอนใหรูจักการเดิน การใชมือ

การนั่ง การไหว การใชหนาตา การกลอมไหล การปาดเทา การทรงตัว การใชผา จากนั้นก็จะเร่ิม

สอนรําจากทางายไปหายากตามขั้นตอน (ราณี ศักดิ์สิทธ์ิวิวัฒนา, ม.ป.ป., หนา 27)

นาฏศิลปแบบสุราการตา (Surakarta Style) จากการแบงแยกดินแดนชวาออกเปน

2 สวน คือ ยอกยาการตาและสุราการตา ซ่ึงเปรียบไดกับเมืองพ่ีเมืองนอง ท้ังสองเมืองต้ังอยูไมหาง

กันมากนัก มีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเดียวกัน จากพ้ืนฐานทางนาฏศิลป

เดียวกันนี้ ทําใหรูปแบบการแสดงใกลเคียงกันมาก แตจากการถูกแบงแยกดินแดนทําใหมีการคิด

ประดิษฐทารําใหเปนรูปแบบเฉพาะตนขึ้นมา ทําใหลีลาทารํา ตลอดจนการแตงกายไดถูกกําหนดจน

เปนแบบแผนที่แตกตางกันออกไปบางเล็กนอย เชน การต้ังวงของสุราการตาจะโคงขอศอกเพียง

เล็กนอย ดนตรีที่ใชประกอบการรํา ก็จะมีจังหวะทวงทํานองราบเรียบมากกวา ใชเสนแบงจังหวะ

นอยกวาเปนตน (สุมิตร เทพวงษ, 2548, หนา 276)

Page 155: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

145

การแสดงนาฏศิลปชวาที่สําคัญ ไดแก

1.1 การแสดงวายังกุลิต (Wayang Kulit)

วายังกุลิต หมายถึง การแสดงเงาของตุกตาท่ีฉลุดวยหนังแสดงเปนเร่ืองราว

นับเปนการแสดงที่ราชสํานักอินโดนีเซียอุปถัมภและทํานุบํารุงอยางตอเนื่อง ถือเปนเคร่ือง

ราชูปโภคชนิดหนึ่ง กษัตริยหลายพระองคไดทรงพระราชนิพนธบทละครสําหรับแสดง

บางพระองคทรงเปนคนเชิด คนพากยเอง วายังจึงถือเปนของสูงของศักดิ์สิทธ์ิ แสดงเร่ืองราว

เกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู เพ่ือแสดงความเช่ือมโยงระหวางเทพและเทวานุภาพ กับอานุภาพแห

งกษัตริยาธิราชอินโดนีเซีย ตอมาไดพัฒนาใหแสดงเร่ืองอื่นๆอีกเปนอันมาก ตัวหนังก็ไดรับการ

ออกแบบ แกะสลักใหมีรูปลักษณที่แตกตางกันออกไป เชน เปนตัวยักษ วานรและรูปอื่นตาม

ทองเร่ือง ตัวหนังมีความสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ตัวนางมีขนาดเล็ก ตัวพระมีขนาดปานกลาง

ตัวยักษมีขนาดใหญบางตัวอาจสูงถึง 1 เมตร ตรงกลางตัวหนังมีกานทําดวยเขาควายผาประกบตัว

หนังใหต้ังได ปลายเปนดามถือเวลาเชิด ปลายดามเรียวเพ่ือใหงายกับการปกลงบนหยวกกลวย

(สุรพล วิรุฬหรักษ, 2544, หนา 51-52)

ภาพที่ 8.3 ภาพการแสดงวายังกุลิต

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 234

Page 156: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

146

1.1.1 วิธีแสดง การแสดงวายังกุลิตตองมีองคประกอบ 3 อยาง คือ ตัวหุน

จอหนัง และเคร่ืองกําเนิดแสง ตัวหุนจะมีชีวิตขึ้นมาดวยการเชิด การพากยของนายหนังท่ีเรียกวา

ดาลัง (Dalang) กอนการแสดงจะมีการปลูกโรงยกพ้ืน มีฝา มีหลังคา ดานหนาขึงจอผาขาวขนาด

ประมาณ 2 เมตร x 5 เมตร มีลวดลายประดับท่ีขอบผา ถาแสดงในรมมีแตจอขึงบนเวที ยกสูงพอ

ไมใหคนดูบังศีรษะกัน มีตะเกียงน้ํามันมะพราวเปนแหลงใหแสงสวางเพียงท่ีเดียว มักนิยมทําเปน

รูปครุฑ ทําดวยทองเหลืองหรือสําริด ปจจุบันใชไฟฟา ดานลางของจอมีหยวกกลวยวางพาดไปตาม

สวนยาวของจอสําหรับพักตัวหนัง ดาลังนั่งกลางจอ ดนตรีจะอยูดานหลัง เวลาแสดงตัวละครฝาย

ธรรมะจะอยูดานขวาของดาลัง และฝายอธรรมจะอยูดานซายมือการแสดงวายัง มักจะเร่ิมแสดงจริง

เวลาประมาณ 3 ทุมและเลิกเวลารุงเชาโดยไมมีการหยุดพักระหวางการแสดง ต้ังแตหัวค่ําวงปพาทย

จะเร่ิมโหมโรงเปนการเรียกคนดู หลังจากการไหวครูโดยจุดธูปบูชาครูดวยกลีบดอกไม จากนั้นก็

เอารูปกุนูงงันมาปกไวตรงกลาง กุนูงงันเปนหนังรูปรางคลายใบโพธ์ิ มีลวดลายเปนตนไมแผ

กิ่งกานสาขา ถือเปนภาพศักดิ์สิทธ์ิ จากนั้นนายหนังหรือดาลังก็จะเร่ิมการแสดงตามเร่ืองท่ีกําหนด

ไว เชน รามเกียรต์ิ พระมหาบุตร นิยายโบราณจากประวัติศาสตร วรรณคดีอาหรับ เปนตน

1.1.2 ลักษณะตัวหนัง รูปหนังแตละประเภทนั้น สวนใหญจะทําจาก

หนังควาย ตัวหนังแตละประเภทจะมีรูปรางแตกตางกันออกไป ตามลักษณะของเนื้อเร่ืองที่นํามาใช

แสดง ตัวหนังเหลานี้จะถูกสลักศิลปะลวดลายศิลปกรรม ตามรูปแบบของอินโดนีเซียสวยงามมาก

สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร สีที่ใชระบายจะเปนสีผสมกาว ดามสําหรับถือเวลาเชิดหนัง

มักทําดวยเขาสัตว ตัวหนังแตละเร่ืองจะมีประมาณ 200-400 ตัว จะสามารถบอกไดทันทีวาตัวหนัง

ไหนช่ืออะไร จากลักษณะของเคร่ืองแตงกาย จากผานุง ทรงผม ศิราภรณหรือเคร่ืองประดับตางๆ

รูปรางของรูปหนังจะไมเหมือนคนธรรมดา แตจะมีลักษณะท่ีจะแสดงสัญลักษณความหมายของ

รูปหนังแตละตัว เชน ผูหญิง ผูชาย วีรบุรุษ ผูราย

1.1.3 เคร่ืองดนตรี วงปพาทยที่ใชในการแสดงเรียกวา กาเมลัน (Gamelan)

เคร่ืองดนตรีสวนใหญเปนฆองทองเหลือง คลายฆองวงของไทย แตมีหลายสํารับมีขนาดตางๆฆอง

แตละลูกวางอยูบนรางไม อีกชนิดหนึ่งเปนระนาดทองเหลืองหลายสํารับและมีหลายขนาด

นอกจากนั้นก็จะมีเคร่ืองดนตรีประเภทขลุย ซอ พิณผสมอยูเปนสวนประกอบ ปมีใชในบางโอกาส

กลองมีใชทั่วไป เคร่ืองดนตรีที่ใชในวงกาเมลัน ไดแก เกนดัง (กลอง) บอนัง บารุง (ฆองราว ฆองวง

เสียงตํ่า) บอนัง เปอเนอรุส(ฆองเล็กเสียงสูง) สเลนเด็ม (ระนาดใหญ) เดอมุง(ระนาด) ซารอน

บารุง (ระนาดเล็ก) ซารอน เปอเนอรุส(ระนาดเหล็กเล็ก) เจนเดอร(ระนาดทําดวยโลหะ) กัมมัง

(ระนาด) เกอตุค (ไมฉาบ) คัมปูล (ฆองมีสาย) เรอบับ(ซอ2สาย) จิเตอร(พิณ) ซูลิง(ขลุย)

(ฉันทนา เอี่ยมสกุล, 2538, หนา 35-36)

Page 157: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

147

1.1.4 โอกาสที่ใชแสดง สมัยกอนจัดขึ้นเพ่ือใชบูชาบรรพบุรุษ เทพเจา

ในศาสนาฮินดู จัดขึ้นเพ่ือใชในพิธีการตางๆ ตอมาในปจจุบันเปนการแสดงเพ่ือความบันเทิงใจ

1.2 การแสดงวายัง วอง (Wayang Wong)

การแสดงชนิดนี้ มีกําเนิดมาจากระบําในราชสํานัก ยอกยาการตา และสุราการ

ตา มีลักษณะเปนละครรํา หรือการแสดงวายังโดยใชคนแสดง จึงมีช่ือเรียกอีกอยางหนึ่งวา วายัง โอ

รัง (Wayang Orang) นับเปนการแสดงละครที่เกาแกที่สุดในชวา วายัง วอง เกิดขึ้นต้ังแตศตวรรษที่

12-13 เปนการรําในราชสํานัก เกิดขึ้นโดยสุลตาน ฮาเมงกุ ภูวโนท่ี 1 แหงราชสํานักยอกยาการตา

ไดพัฒนาปรับปรุงการแสดง เบอโดโย ดั้งเดิมที่สตรีราชสํานัก 9 คนขึ้นไปเปนละครรําจากมหาภา

รตะเร่ือง คันธาวารดายา มีเนื้อเร่ืองเกี่ยวกับการตอสูแยงชิงอํานาจระหวางบุตรสองคนของอรชุน

คลายกับการแยงชิงอํานาจระหวางราชสํานักยอกยาการตา และสุราการตานั่นเอง ตอมาเมื่อรูวาเปน

พ่ีนองกันจึงปรองดองกันและรวมมือกันสรางสันติสุขในโลก ใชผูแสดงคร้ังนั้นประมาณ 300คน

แสดงต้ังแต 6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเชาของวันรุงขึ้น

ภาพที่ 8.4 ภาพการแสดงวายังวอง หรือ วายังโอรัง

ที่มา : มาลนิี ดิลกวณิช, 2543, หนา 237

Page 158: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

148

1.2.1 วิธีแสดง การแสดงวายัง วอง จะแสดงบนเวทีขนาดใหญ กวาง

ประมาณ 10 เมตร ลึก 7 เมตร มีหลืบ และระบาย เปนช้ันๆ บางคร้ังมีมานหนาปดเปดฉาก บนเวที

ไมมีอุปกรณ ฉากต้ังเปนการถาวร การแสดงวายังวองนี้ เมื่อกลายเปนละครสําหรับประชาชนก็จะ

ตัดทอนรายระเอียดบางอยางลง แสดงใหรวบรัด ทันใจคนดู การแสดงแตละฉากจะมีตัวละครใช

บทหลักเพียงตัวเดียว ตัวละครเอกมักยืนกลางโรง ในขณะที่ตัวประกอบยืนหรือนั่งตามที่ ตัวเอกใช

ภาษาชวาโบราณคือ กาวี ตัวละครรองลงมาใชภาษาปจจุบัน และจะพูดขยายความแทนตัวเอก

ในกรณีที่ตัวเอกสวมหนากาก ไมมีธรรมเนียมการรําตีบทแบบไทย เดิมผูแสดงในราชสํานักเปน

ชายลวน ปจจุบันใชชายจริงหญิงแท บางคร้ังผูหญิงจะแสดงเปนตัวพระแทนผูชายดวย บทละครที่

ใชแสดงไดแก รามายณะ และมหาภารตะ

1.2.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายเลียนแบบการแสดงวายังกุลิต

1.2.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันบรรเลงประกอบการแสดง

1.2.4 โอกาสที่ใชแสดง เดิมแสดงในราชสํานักเปนของหลวง ปจจุบันจัด

แสดงใหประชาชนดูเพ่ือการคา

1.3 การแสดงลังเงิน ดริยอ (Langen Driya)

สุรพล วิรุฬหรักษ (2544, หนา 64)ไดอธิบายวา ลังเงินแปลวาการแสดง ดริยอ

แปลวา หฤทัย เปนวายัง วอง ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในราชสํานักยอกยาการตาและสุราการตา เมื่อ

พ.ศ.2420

1.3.1 วิธีแสดง มีลักษณะเหมือนละครรองสลับรํา คือผูแสดงใชการรอง

แทนการเจรจาตลอดทั้งเร่ือง สลับกับการรายรําทําบท ลังเงิน ดริยอ แสดงเร่ืองคามาวูลัน ซ่ึงเปน

เจาชายแหงราชวงศมาจาปาหิต การแสดงชนิดนี้เปนท่ีนิยมในราชสํานักท้ังสอง ใชผูแสดงเปน

นางในราชสํานัก การแสดงลังเงินดริยอ มีแบบแผนการแสดงคลายคลึงกับ วายัง วอง ตางกันใน

หลักใหญ คือมุงเนนรองเพลง สวนแบบแผนการฟอนรําก็เปนแบบแผนของวายัง วอง

1.3.2 เคร่ืองแตงกาย เลียนแบบเคร่ืองแตงกายของราชสํานักในสมัย

พ.ศ. 2420

1.3.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงปพาทยกาเมลัน

1.3.4 โอกาสที่ใชแสดง เปนการแสดงในราชสํานัก ซ่ึงปจจุบันหาดูไดยาก

1.4 การรําเบอโดโย (Bedoyo)

รําเบอโดโย มีช่ือเต็มวา เบอโดโย ซังงอ เปนระบําดั้งเดิมของอาณาจักรมะตะ

รามที่สืบทอดมาจนปจจุบัน เบอโดโย แสดงโดยผูหญิงในราชสํานัก สุลตานอกุ(พ.ศ. 2156 – 2189

) เปนผูประดิษฐ์ิการแสดงชุดนี้ขึ้น และมีความสําคัญมากคือ เปนการฟอนรําที่แสดงเร่ืองราวความ

Page 159: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

149

ผูกพันของสุลตานตนราชวงศ มะตะรามกับ ปาเนม บาหัน เสนาปติ และกังเจง ระตู กิดุล

เทพและเทวีแหงทะเลใต ผูปกปกรักษาอํานวยพรแดองคสุลตานและรัชทายาท ดังนั้นสุลตาน อกุง

จึงไดจัดการแสดงเบอโดโย เพ่ือรําลึกถึงเทพเทวีดังกลาว สุลตานองคตอมาก็ปฏิบัติเชนเดียวกัน

โดยจัดแสดงในวันขึ้นครองราชย กับ วันราชสมภพ และภายหลังก็แสดงเพ่ือเปนเกียติแกแขกเมือง

1.4.1 วิธีแสดง เปนระบําของสตรีในราชสํานัก ใชหญิงสาวจํานวน 9 คน

ที่เดินอยางชา ๆ ออกมาจากหองเก็บเคร่ืองราชกกุฏภัณท ตรงมายังทองพระโรงท่ีมีสุลตานประทับ

อยูตรงกลางเสมือนเปนศูนยกลางจักรวาล จากนั้นผูแสดงก็รายรําไปตามตําแหนงสําคัญในจักรวาล

ตามความเช่ือแตคร้ังโบราณ เมื่อจบแลวก็จะกลับไปยังหองเก็บเคร่ืองราชกกุฏภัณฑ เชนเดิม

เนื่องจากการแสดงชุดนี้เปนระบําเกาแกหลายศตวรรษทําใหความหมายในการฟอนรําเจือจางไป

มีผูกลาววา เบอโดโย ซังงอ หมายถึง ทวารท้ัง 9 ของมนุษยคือ ตา หู จมูก ปาก ทวารเบา ทวาร

หนัก สวนช่ือและตําแหนงผูรําก็สัมพันธกับอวัยวะท้ัง 9 ของมนุษย คือ หัวใจ ศีรษะ คอ แขน อก

ขา และอวัยวะเพศ เร่ืองราวเปนเทพนิยาย ตํานานของชวา และเร่ืองเกี่ยวกับประวัติศาสตร

เปนการรายรําของบรรดาราชนิกูลและมเหสีของกษัตริย

1.4.2 เคร่ืองแตงกาย ตัวนางสวมเส้ือกํามะหย่ีปกลายทอง แขนกุด สวมเส้ือ

ทับผาถุง ทิ้งชายขางตัวดานซาย ผูกผาสไบทิ้งชาย 2ขางยาวกรอมเทา สวมเข็มขัด สรอยคอ จอนหู

เสียบปนทอง ดอกไมผา สวมกระบังหนาตรงกลาง เสียบดวยขนนก

1.4.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลัน

1.4.4 โอกาสที่ใชแสดง เดิมแสดงในราชสํานัก ในงานพิธีกรรมตางๆ

ปจจุบันใชแสดงในวันประเพณีสําคัญและตอนรับแกแขกบานแขกเมือง

1.5 การรําสริมป (Srimpi)

เปนการรําของสตรีในราชสํานัก เชนเดียวกับเบอโดโย แตใชผูแสดงเปนหญิง

4 คน ซ่ึงมีความหมายของทิศทั้ง 4 คือ เหนือ ใต ตะวันออก ตะวันตก วัตถุประสงคในการแสดง

สริมป ก็คลายกับเบอโยโด คือ เปนสัญลักษณแสดงความผูกพันระหวางสุลตานกับเสนาปติ และ

เทวีแหงทะเลใตเพ่ือประกาศสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองอาณาจักรมะตะราม เปนการตอสู

กันระหวางความดีกับความช่ัวของมนุษย

Page 160: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

150

ภาพที่ 8.5 ภาพการแสดงสริมป

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 248

1.5.1 วิธีแสดง เปนทารายรําของเจาหญิง ซ่ึงรายรําดวยลีลา ของจังหวะมือ

แขน และลีลาการปาดเทาที่แผวเบา ทวงทาเช่ืองชา สงางาม ผูแสดงเปนนางละครหลวง และเปน

หญิงที่จัดพิธีการตางๆเปนผูเชิญเคร่ือง และตามเสด็จเจานาย หรือ กษัตริยและเปนนางละครหลวง

ซ่ึงเขาถวายความสําราญ

1.5.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายแบบนางในราชสํานัก

1.5.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลัน

1.5.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในราชสํานักในพิธีกรรมตางๆ

1.6 การแสดงเกอโตประ (Ketoprak)

เกอโตประ เปนละครพูดสลับรําที่เกิดขึ้นในราชสํานักสุราการตาในป พ.ศ.2457

โดยการนําการรองเพลง และจังหวะการตําขาวของชาวบาน มาพัฒนาเปนดนตรีและการรายรํา

ตอมาพัฒนาแสดงเปนเร่ืองราวอยางละคร ภายหลังไดมีการนําวงกาเมลันมาบรรเลงประกอบ

1.6.1 วิธีแสดง การแสดงเกอโตประ เดิมใชชายลวน ปจจุบันใชผูแสดงชาย

จริงหญิงแท มีดาลังเปนนายโรง เลาเร่ืองยอและแจกบทใหผูแสดง ในสุราการตาจะเปนการฟอน

รํา แตในยอกยาการตาเนนการเจรจา การแสดงเกอโตประ แบงออกเปน 7 ฉากตอเนื่องกัน ไดแก

Page 161: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

151

ฉากทองพระโรงที่พระราชาออกวาราชการ ฉากอุทยานที่มีพระราชินีหรือองคหญิงเสด็จลงสวน

พรอมนางกํานัล ฉากพระราชาลงสวนเพ่ือลาสัตว ฉากอาศรมพระฤาษี ฉากชนบท ฉากหนาพระ

ลานเพ่ือปรึกษาราชการ และฉากสุดทายเพ่ือเตรียมตัวสูสงคราม การแสดงเกอโตประจะใชเวลา

แสดงประมาณคร่ึงคืนหรือทั้งคืน

1.6.2 เคร่ืองแตงกาย การแตงกายเปนไปตามทองเร่ือง เร่ืองโบราณแตงคลาย

วายัง วอง ปจจุบันแตงกายสมัยนิยม

1.6.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

1.6.4 โอกาสที่ใชแสดง นิยมแสดงในงานสุหนัด งานแตงงานและงานมงคล

ตางๆ

2. การแสดงนาฏศิลปซุนดา

ซุนดาเปนนาฏศิลปของเกาะ ๆ หนึ่ง ซ่ึงต้ังอยูทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย

มีขนบธรรมเนียมประเพณีคลายชวากลาง ประชาชนสวนใหญของเกาะนี้นับถือศาสนาอิสลาม

มีภาษาทองถิ่นเปนของตนเอง แตใชภาษาอินโดนีเซียเปนภาษากลาง ลักษณะผิวพรรณของชาวซุน

ดาออกขาวเหลือง เนื่องจากภูมิอากาศคอนขางเย็น

ลีลานาฏศิลปของชาวซุนดามีเอกลักษณตรงท่ีเนนหนักไปในเร่ืองของการใชผา ซ่ึง

เรียกวา ซัมปน การเรียนการสอนนาฏศิลปแบบซุนดาจะตองเร่ิมเรียนรูการใชนาฏยศัพทตางๆกอน

จากนั้นก็ตองเรียนรูการใชผา ซัมปน แลวจึงเร่ิมฝกทารําจากงายไปหายาก (มาลินี ดิลกวณิช, 2543,

หนา 249) การแสดงนาฏศิลปของชาวตะวันตกอยูในเมืองบันดุง ซ่ึงเปนเมืองท่ีมีทิวทัศนสวยงาม

ทามกลางภูเขา มีนาฏศิลปที่เปนแบบฉบับของตนเอง คือ การใชหนา ไหลและสะโพก ประกอบ

ลีลาการรายรําใหเขากับจังหวะทํานองเพลง ชุดการแสดงที่มีช่ือเสียงและยังไดรับความนิยมถึง

ปจจุบันมีดังนี้

2.1 การแสดงวายัง โกเล็ก (Wayang Golek)

การแสดงชนิดนี้เขามาสูชวาตะวันตกประมาณกลางพุทธศตวรรษท่ี 24 โดยดา

ลังเปนผูนํามาจากเตกาล เบรเบส และจิเรอบอน ตอมาการแสดงหุนอยางใหมก็แพรหลายไปทั่วเขต

ชนบท เรียกกันวาวายัง โกเล็ก ปูรวา ตอมาประมาณป พ.ศ.2383 วีระนะ ตะกุสุมาท่ี 2 แหงบันดุง

อยากดูวายังในตอนกลางวัน ดาลังช่ือดารมันจึงไดสรางหุนไม 3 มิติขึ้น ตอมาดาลัง ดิปะ กูนาผูมี

ช่ือเสียง ไดแสดงหุนไมสามมิตินี้ใหแกราชสํานักตางๆ ในเขตชนบท จึงไดเกิดการแสดง วายัง

โกเล็ก ขึ้น และภายหลังก็ไดมีการใชภาษาซุนดา แทนภาษาชวา (สุรพล วิรุฬรักษ, 2544, หนา 71-

73)

Page 162: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

152

วายัง โกเล็ก มีช่ือเรียก 2 ประเภทคือ วายัง โกเล็ก ปรูวา แสดงเร่ือง มหาภารต

และรามายณะและวายัง เจอปก แสดงเร่ืองอิสลามเกี่ยวกับพระมูฮัมหมัด และเร่ืองพงศาวดารราช

สํานักตางๆของชวา

2.1.1 วิธีแสดง วายัง โกเล็กมีลักษณะเปนหุนไม เชนเดียวกับหุนกระบอก

เวทีเปนแผงผายกสูงจากพ้ืนประมาณ 1 เมตร กวาง 2.50 เมตร บังตัวดาลังไว ดานบนมีหยวกกลวย

วางกับพ้ืนไวปกหุน มีตัวหุนประมาณ 60-90 ตัวตอการแสดง 1 โรง ดาลังจะทําหนาที่คนพากย

เชิด รองเพลงและทําเสียงประกอบ มีวงกาเมลันอยูดานหลัง การแสดงมักเปนลานกลางแจง เร่ิม

แสดง 21.00น.ถึง 04.30 น.ของวันรุงขึ้น การแสดงจะเร่ิมดวยการโหมโรงดนตรี จากนั้นก็จะเร่ิม

ดําเนินเร่ือง ตอนจบจะมีการสรุปเนื้อเร่ืองเปนการสงทาย ขอบคุณและอวยพรคนดู

2.1.2 ลักษณะตัวหนัง เปนหุนไมแกะลวดลาย ตามลักษณะของตัวละครใน

เร่ืองที่ใชแสดง มีลักษณะคลายหุนกระบอก

2.1.3 คร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันบรรเลงประกอบการแสดง

2.1.4 โอกาสที่ใชแสดง เดิมแสดงถวายสุลตานในราชสํานัก ปจจุบันแสดง

ทั่วไป

2.2 การแสดงโตเปง (Topeng)

โตเปง ซุนดาเปนการแสดงละครสวมหนากาก ในราชสํานักบันเตน และจิเร

บอนมาแตโบราณ ในบันเตนเรียกวาราเกต ในจิเรบอนเรียกวา โตเปง การแสดงโตเปงมี 2

ประเภท คือ

วายัง โตเปง แสดงเร่ืองราวเกี่ยวกับวายังและดาลัง ในการแสดงจะมีผูเลาเร่ือง

โดยผูแสดงไมตองพูดเอง นอกจากนี้ในการแสดงแตละเร่ือง จะมีตัวละครซ่ึงสวมหนากาก ไมตํ่า

กวา 30 ตัว

โตเปง บาบากัน เปนการแสดงเดี่ยว โดยผูแสดงแตละคนจะมีบุคลิกลักษณะ

ตัวละครแตกตางกันออกไปตามรูปแบบ ตัวละครเหลานี้จะมีหนากากเฉพาะของตนที่มีการ

แกะสลักใบหนา และสีสันแตกตางกัน เชนหนากากสีขาวจะแทนตัวละครผูมียศศักดิ์ เปนตัวแทน

แหงความดี สีน้ําเงินแสดงถึง ความสงบ สีแดงแสดงถึงความโกรธเปนตน (ฉันทนา เอี่ยมสกุล,

2538, หนา 68)

Page 163: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

153

ภาพที่ 8.6 ภาพการแสดงโตเปง

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 248

2.2.1 วิธีแสดง ผูแสดงจะสวมหนากากตามลักษณะของตัวละคร การแสดง

แตละเร่ืองจะมีตัวละครซ่ึงสวมหนากากไมตํ่ากวา 30 ตัว การเคลื่อนไหวของมือ เทา และหนา

ในการเตนโตเปงทําใหดูทาทางการเตนแปลกออกไป การเตนโตเปงจะแบงออกเปน 2 กลุม แตละ

กลุมตางแยงชิงความสนใจจากผูชม โดยการสรางสถานการณจริง การแสดงจะเปนการตอสูกัน

ถอยคําตลกหรือมีการเสียดสีกันดวยคําพูด ลักษณะเดนอยูที่จังหวะของการตีกลอง โดยกลองมีช่ือ

วา เคนดัง (Kendang) จะถูกตีเพียงดานเดียว ยกเวนประกอบการเตน ทิวเม็ง เก็ง (Tumeng Gung)

จึงจะตีสองดาน

2.2.2 เคร่ืองแตงกาย วายัง โตเปงจะแตงตัวตามเร่ืองวายังแตเดิม แตโตเปง

บาบากัน จะแตงเคร่ืองแตงกายแตกตางกันออกไปเชน นําชลอมมาทําเปนรูปรางกลมคลอบลงบน

ศีรษะ แลวยังมีการใชผาที่มีความยาวเปนพิเศษ เรียกวา มงครง (Mongkrong).

2.2.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันบรรเลงประกอบการแสดง

2.2.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชแสดงในราชสํานักและงานร่ืนเริงทั่วไป

Page 164: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

154

2.3 การรําเมอลัก (Melak)

เปนการแสดงของนาฏศิลปซุนดา ผูแสดงจะแตงกายเปนนกยูง ซ่ึงเปนนกที่

สวยงามและมีเสนหที่สุดของอินโดนีเซีย มีหลากสีงดงาม โดยเฉพาะในฤดูเกี้ยวพาราสี นกยูงตัวผู

จะรําแพนหางอันสวยงาม สงเสียงเพ่ือดึงดูดความสนใจของนกยูงตัวเมีย

2.3.1 วิธีการแสดง ผูแสดงเปนนกยูงจะรายรําดวยลีลาการเคลื่อนไหวที่ออน

ชอยงดงามและแสดงใหเห็นถึงการเกี้ยวพาราสีระหวางนกยูงตัวผูและตัวเมีย

2.3.2 เคร่ืองแตงกาย แตงเลียนแบบลักษณะของนกยูง

2.3.3 วงดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

2.3.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานร่ืนเริงทั่วไป

2.4 การแสดงซานดิวาระ (Sandiwara)

เปนละครพูดสลับลําที่เกิดขึ้นในซุนดาเมื่อ พ.ศ.2433 โดยนักศึกษาวิทยาลัยครู

ที่บันดง และโรงเรียนขาราชการพลเรือนของบันดง รวมกันจัดต้ังคณะละครสมัครเลนท่ีมีช่ือวา

โคเมดี แสดงละครเกี่ยวกับปญหาชีวิตในปจจุบัน เชนปญหาการหยาราง การมีภริยาคนเดียวใน

สังคมมุสลิม ความลมเหลวในการปกครอง ละครเหลานี้เปนที่นิยมกันมาก ตอมาคณะละครโคเมดี

ซ่ึงมีหลายคณะและรับจางเปนอาชีพไดเปลี่ยนช่ือเปน โตนิล ซ่ึงแปลวา ละคร ในภาษาดัทช

เนื้อหาในการแสดงเปลี่ยนเปนเร่ืองราวประโลมโลกจากตางประเทศ โดยนําเนื้อหามาจากละคร

บังสวันของมาเลเซีย

2.4.1 วิธีแสดง การแสดงซานดิวาระเปนละครพูดสลับลํา แสดงไดหลาย

แบบ เชนในการแสดงเร่ืองรามยณะและมหาภารตะ จัดในรูปคลายวายัง โอรัง แตเปลี่ยน ภาษา

ดนตรีและการฟอนรําเปนภาษาซุนดา ตอมาไดมีการนําเอาเร่ืองรามายณะและมหาภารตะมาแสดง

และไดรับอิทธิพลจากวายัง วอง มาดวย ซานดิวาระในปจจุบันไดรับอิทธิพลจากละครบังสวัน ของ

มาเลเซีย

2.4.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามเนื้อเร่ือง

2.4.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

2.4.4 โอกาสที่แสดง แสดงในงานร่ืนเริง พิธีการตาง ๆ

3. การแสดงนาฏศิลปบาหลี

บาหลีต้ังอยูบนเกาะเล็กๆทางตะวันออกของชวา ชาวบาหลีสวนใหญ นับถือศาสนา

ฮินดูมีภาษาทองถิ่นของตนเอง แตใชภาษาอินโดนีเซียเปนภาษากลาง สังคมของบาหลีไมเขมงวด

และรุนแรงแบบชวา เพราะกษัริยมีความใกลชิดและเขาถึงประชาชน แมพระราชวังจะเปน

ศูนยกลาง การพัฒนาทางวัฒนธรรม แตวัฒนธรรมทางดานการแสดงก็ปรากฏนอกกําแพงวังดวย

Page 165: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

155

เพราะชาวบานตองการนาฎศิลปไปเปนสวนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา (มาลินี ดิลกวานิช,

2543, หนา 249) ชาวบาหลีจะมีความเช่ือในเร่ืองของเทพเจา วิญญาณ บรรพบุรุษ มีความเช่ือเร่ือง

ความดีความช่ัว พระผูเปนเจาซ่ึงสถิตย อยูในหุบเขาและทะเล นับเปนศาสนาฮินดู ในรูปแบบของ

บาหลีโดยเฉพาะ วัดในบาหลีมีความสวยงาม และมีเอกลักษณที่โดดเดนเฉพาะตัว เปนสถานที่

สําคัญที่ชาวบาหลีใชประกอบพิธีกรรมทางประเพณี และในพิธีกรรมตางๆนั้นก็จะมีการรายรํา

เพ่ือบูชาและบวงสรวงเทพเจา ส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ นาฏศิลปบาหลีมีความเกาแกและมีอายุมายาวนาน

มีการแสดงทั้งที่เปนมาตรฐานดั้งเดิมในราชสํานัก และการแสดงพ้ืนเมืองมากมาย ลักษณะเดนของ

นาฏศิลปบาหลีคือ การยักยายสายสะโพก การใชดวงตา กลอกไปมา และบางขณะก็จะหร่ีตาแลว

เบิกตากวาง นิยมใชดอกลั่นทมเปนดอกไมประดับ เคร่ืองดนตรีของบาหลี จะมีจังหวะที่หนักแนน

เสียงดังกังวาน รุกเรามากกวาดนตรี ของชวา (ฉันทนา เอี่ยมสกุล, 2545, หนา 66)

นาฏศิลปบาหลีถือไดวามีบทบาทสําคัญตอประเพณีและชีวิตประจําวันเปนอยางมาก

พิธีกรรม การรําและละคร มีความเกี่ยวของโดยตรงกับศาสนาของชาวบาหลี ภาวินี บุญเสริม

(2551, หนา 32) ไดกลาวถึงนาฏศิลปบาหลีวาแบงออกไปเปน 3 หมวดใหญ ๆ คือ

วาลี เปนการแสดงทางศาสนาที่ศักดิ์สิทธ์ิ ใชในการบวงสรวงเทพยดา จัดแสดงใน

เทวสถานเชน การแสดงชุดเปนเดต ผูรายรําจะถือเคร่ืองบวงสรวง และโปรยกลีบดอกไมไปรอบๆ

เปนการสักการะบูชา

เบอบาลี เปนการแสดงในพิธีกรรม เชนการแสดงชุดซังหยาง ผูรําจะประกอบพิธี

เขาทรงกอนรําคลายกับการฟอนผีในบานเรา การแสดงบารอง เปนการตอสูระหวางบารองตัวแทน

แหงความดี กับบรังคดา พอมดเปนตัวแทนแหงความช่ัวเปนตน

บาลี บาลีฮัน เปนการแสดงเพ่ือความบันเทิง มักจะดัดแปลงมาจากการแสดงในสอง

หมวดขางตน ปจจุบันไดมีการสรางสรรคขึ้นมามากมาย

การแสดงนาฏศิลปบาหลี มีดังนี้คือ

3.1 การแสดงโตเปง (Topeng) โตเปง หรือ วายังโตเปงของบาหลี เปนการแสดง

เกาแกแมรูปแบบการแสดงจะไมปรากฏวาไดพัฒนาเลย แตก็ไดรับความนิยมในหมูชาวบานอยาง

ตอเนื่อง

3.1.1 วิธีแสดง ใชผูแสดง 1- 5 คน ทุกคนสวมหนากากและรายรําอยู

ตลอดเวลา โตเปงในบาหลีจะไมเจรจาเอง แตจะใหดาลังหรือตัวละครผูติดตามพูดแทน ตัวเอกพูด

ภาษาบาหลีโบราณ ตัวประกอบแปลเปนภาษาบาหลีปจจุบัน นิยมแสดงเร่ืองกาจา มาดา อัครมหา

เสนาบดีผูมีช่ือเสียง สมัยมัชปาหิต และเร่ืองของราชา ฮายัมวูรุก หนากากที่ใชในการแสดงโตเปงมี

Page 166: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

156

3 ชนิดคือ ชนิดปดเต็มหนา ชนิดปดเต็มหนาแตผาปาก และกรามใหพูดได และชนิดปดคร่ึงหนา

เปดใหปากพูดไดเต็มที่

3.1.2 เคร่ืองแตงกาย ผูแสดงแตละตัวจะสวมศีรษะ หรือหมวกท่ีมีลักษณะ

แตกตางกันออกไปตามบทบาทที่แสดง

3.1.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

3.1.4 โอกาสที่ใชแสดง เปนการแสดงในงานพิธีกรรมเชนงานแตงงาน

พิธีสุหนัด หรืองานร่ืนเริงทั่วไป

3.2 การแสดงบารีส (Baris)

บารีสเปนการแสดงรําอาวุธ แสดงโดยผูชายลวน บารีสมีสองประเภทใหญๆ

คือ ชนิดที่เปนระบําอาวุธในพิธีกรรม กับชนิดท่ีเปนละคร ชนิดท่ีเปนระบําในพิธีกรรมแสดงโดย

ผูชายในหมูบานมารวมตัวกันที่ในวัด สมมติตนเปนองครักษของเทวดา ท่ีมาสถิตในองคพระ

ประติมาของวัด ชายหนุมแตละคนตางมีอาวุธประจํากาย ของตนในการรายรํา เชนหอก ดาบ ทวน

การแสดงจัดออกเปนกลุมๆตามชนิดของอาวุธ

3.2.1 วิธีแสดง การรายรําเร่ิมดวยการบูชาเทวดาและอาวุธประจํากาย จากนั้น

แบงผูแสดงออกเปนสองฝาย ตางรายรําอาวุธที่พรอมเพรียงกันและประทะกันพอเปนที ดวยทาทาง

ตางๆจนจบกระบวนทา ถือเปนหนึ่งยก แลวเร่ิมยกตอไปสําหรับบารีส มาเลมปาหัน เปนการ

แสดงฉากยกรบในเร่ืองรามายณะ การแสดงเร่ิมดวยการรําเดี่ยวแสดงประมาณ 2 – 5คนตอเนื่องกัน

ผูแสดงจะออกลวดลายใหเห็นพลังและความสามารถในการใชแขนขาอาวุธอยางคลองแคลวและมี

พลัง เมื่อจบการแสดงเดี่ยวแลวก็จับเร่ือง มีตัวเอก ตัวประกอบ แสดงบทบาทคลายวายัง วอง แต

เนนการรําอาวุธ และการรบเปนหลัก (สุรพล วิรุฬหรักษ, 2544, หนา 34)

3.2.2 เคร่ืองแตงกาย แตงกายตามลักษณะเนื้อเร่ือง

3.2.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

3.2.4 โอกาสที่ใชแสดง ในงานพิธีกรรมและงานร่ืนเริงทั่วไป

3.3 การแสดงบารอง (Barong)

บารองเปนการแสดงที่ แตงกายเลียนแบบสัตวไดแก สิงโต หมี เสือ ฯลฯ

ผูแสดงเมื่อสวมเคร่ืองแตงกายและสวมหนากากแลวก็เหมือนสวมวิญญาณของภูตเหลานั้น ภูตท่ี

สําคัญที่สุดคือเจาปาช่ือ บารอง มีอํานาจปกปองชาวบานใหพนภัยอันตรายทั้งปวง การแสดง

บารองเปนการตอสูระหวางภูตดีคือ บารอง กับภูตรายคือ แรงดา ซ่ึงเปนผีแมมด เมื่อแรงดา

แผลงฤทธ์ิก็จะเกิดเภทภัย ชาวบานชายที่อาสาเปนผูชวยของบารองก็ออกมาชวยกันขับไล แตตอง

Page 167: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

157

โดนเวทยมนตของแรงดา จึงเอากริชมาแทงตัวตาย ดวยอํานาจฝายดีของบารองทําใหแทงไมเขา

การแสดงบารองเปนการทําใหโลกกลับคืนสูสันติสุขอีกคร้ังหนึ่ง

ภาพที่ 8.7 ภาพหนากากปศาจที่ใชในการแสดงบารอง

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 251

ภาพที่ 8.8 ภาพการแสดงเขาทรงบารอง

Page 168: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

158

ที่มา : มาลินี ดิลกวณิช, 2543, หนา 251

3.3.1 วิธีแสดง บารองเร่ิมการแสดงดวยการปรากฏตัวของแรงดา ณ บริเวณ

ลานวัด จากนั้นแรงดาก็รายรําทําอิทธิฤทธ์ิไปท่ัวลานวัดท่ีมีประชาชนชาวบานหอมลอมอยู ตอมา

บารองก็ปรากฏกายและเตนไปตามเสียงดนตรีกาเมลัน จากนั้นบารองก็เร่ิมไดกลิ่นสาบสางของแรง

ดา ก็เขามาดมและขบกัด เมื่อการตอสูดุเดือดขึ้นบารองทําทาจะพายแพ บรรดาชาวบานก็โหมเขา

ชวยแทงแรงดาดวยกริช แรงดาก็แผลงฤทธ์ิ ทําใหชาวบานหันไปแทงตนเอง แตบารองก็รายเวทย

ชวยชาวบานเหลานั้นซ่ึงตกอยูในสภาพผีสิงใหแทงไมเขา จากนั้นแรงดาก็ลาถอยกลับไป

3.3.2 เคร่ืองแตงกาย แตงตามลักษณะของพ้ืนบานในบาหลี

3.3.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีกาเมลันประกอบการแสดง

3.3.4 โอกาสที่ใชแสดง แสดงในพิธีกรรมตางๆ

3.4 การแสดงสางหยาง ( Sanghyang)

สางหยาง เปนการแสดงดั้งเดิมของบาหลี มีลักษณะเปนการฟอนรําแบบเขาทรง

ของผีฟา ผีปา ผีสัตวตางๆ สางหยาง แสดงเพ่ือปดเปาเภทภัยตางๆหรือเพ่ือการทําคุณไสย ผูแสดง

เปนเด็กสาวอายุประมาณ 9-13 ป กลุมละ 4-5 คน แตแสดงตอนละ 2 คน เด็กหญิงเหลานี้มักเปน

ลูกหลานของพรามณในเทวสถาน และเปนพนักงานในเทวาลัย ที่ตองปฏิบัติตนในกรอบประเพณีที่

บริสุทธ์ิอยางเครงครัด

3.4.1 วิธีแสดง การแสดงเร่ิมในเวลากลางคืน ภายในลานของเทวาลัยประจํา

หมูบาน คนทั้งหมูบานมารวมในพิธีโดยนั่งสงบนิ่ง พิธีเร่ิมโดยเด็กหญิงนั่งสงบนิ่ง และถูกรมดวย

เคร่ืองหอมนานาชนิด ขณะที่พราหมณกําลังรายมนตและบูชาดวยบัตรพลี เพ่ือเชิญผีนางฟาหรือนาง

อัปสร เขาสิงสถิตในเด็กหญิงประมาณ 30 นาที เด็กหญิงเหลานั้นก็เร่ิมจับทรงและหมดสติ ผูหญิงท่ี

เคยแสดงจะเขามาชวยประคองขึ้นนั่งหรือยืนพรอมกับการรองเพลง เด็กหญิงท้ังสองจะถูกยกขึ้น

บนบาของผูชายที่คอยอยูในที่พรอมรายรําไปดวย ทารําไมมีกําหนดตายตัว ชายท้ังสองพาเด็กหญิง

รายรํานําขบวนชาวบานไปทุกแหงในหมูบาน เพ่ือปดรังควาน เพ่ือขจัดขับไลส่ิงช่ัวรายใหหมดไป

(สุรพล วิรุฬหรักษ, 2544, หนา 35)

3.4.2 เคร่ืองแตงกาย แตงตามลักษณะของพ้ืนบานในบาหลี

3.4.3 เคร่ืองดนตรี ใชวงดนตรีพ้ืนบาน

3.4.4 โอกาสที่ใชแสดง ใชในพิธีกรรมตางๆเพ่ือปดเปาส่ิงช่ัวราย

Page 169: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

159

สรุป

การแสดงนาฎศิลปและละครของอินโดนีเซีย เดิมเกิดจากการนับถือ ภูตผี วิญญาณ บรรพ

บุรุษ มีการขับรอง ฟอนรํา เพ่ือเซนสรวงบูชา ใหส่ิงศักดิ์สิทธ์ิเหลานี้อํานวยอวยพรใหกับชีวิต

ตอมาเมื่อชาวอินเดียโบราณไดเขามาต้ังถิ่นฐานอยูในเกาะสุมาตรา ก็ไดนําเอาศาสนาตาง ๆ เขามา

แพรหลายในประเทศอินโดนีเซีย ศาสนาเหลานี้มีอิทธิพลตอวิถีชีวิตความเปนอยูของชาว

อินโดนีเซียเปนอยางมาก เชน ศาสนาฮินดู พุทธ อิสลาม เปนตน ตอมาภายหลัง บริษัท ดัทช ยีสต

อินเดีย ของประเทศเนเธอรแลนด ไดเขามาทําการคา และแพรอิทธิพลเขามาในอินโดนีเซีย รวมทั้ง

นําศาสนาคริส เขามาเผยแพร และไดทําสงคราม แกงแยงอํานาจในราชวงศ จนไดอาณาจักรมะตะ

รามมาครอบครอง และไดแบงอาณาจักรมะตะรามออกเปน 2 สวนคือ ยอกยาการตา และสุราการตา

ทําใหการแสดงของชาวอินโดนีเซียมีรูปแบบท่ีหลากหลาย อาณาจักรท้ังสองไดสืบทอดการแสดง

ในราชสํานักดั้งเดิมและมีการพัฒนารูปแบบ เพ่ือแขงขันกันตลอดเวลา ขณะเดียวกันเกาะอื่น ๆ เชน

เกาะซุนาดา เกาะบาหลีกีโดรับอิทธิพลทางศาสนาเขาไปผสมประสานและมีวิถีชีวิตความเช่ือท่ี

หลากหลายออกไป

การแสดงนาฎศิลปและละครของอินโดนีเซียที่ควรรูจักมีดังนี้ 1. นาฏศิลปชวา เปนการ

แสดงที่ เปนสวนหนึ่งของพิ ธีกรรม พิธีการและการบันเทิงของราชสํานักที่ จัดถวายแด

พระมหากษัตริย ซ่ึงแบงเปน 2 ประเภท คือ นาฏศิลปแบบยอกยาการตา และนาฏศิลปแบบสุรา

การตา การแสดงนาฏศิลปและละครของชวาที่สําคัญไดแก การแสดงวายังกุลิต การแสดงวายังวอง

การแสดงลังเงินดริยอ การรําเบอโดโย การรําสริมป และ การแสดงเกอโตประ 2. นาฏศิลปซุนดา

เปนนาฏศิลปของเกาะ ๆ หนึ่ง ซ่ึงต้ังอยูทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย มีขนบธรรมเนียม

ประเพณีคลายชวากลาง ลีลานาฏศิลปของชาวซุนดามีเอกลักษณตรงที่เนนหนักไปในเร่ืองของการ

ใชผา ซ่ึงเรียกวา ซัมปน การแสดงท่ีมีช่ือเสียงและนิยมจนถึงปจจุบันมี 4 ชนิด ไดแก การแสดง

วายังโกเล็ก การแสดงโตเปง การรําเมอลัก และ การแสดงซานดิวาระ 3.นาฏศิลปบาหลี ถือได

วามีบทบาทสําคัญตอประเพณีและชีวิตประจําวัน เปนอยางมาก พิธีกรรมการรําและละคร มีความ

เกี่ยวของโดยตรงกับศาสนาของชาวบาหลี นาฏศิลปบาหลีแบงออกเปนสามหมวดใหญ ๆ คือวาลี

เปนการแสดงทางศาสนา ใชในการบวงสรวงเทพยดา เบอบาลี เปนการแสดงในพิธีกรรม

บาลี บาลีฮัน เปนการแสดงเพ่ือความบันเทิง การแสดงบาหลีที่ควรรูจักไดแก การแสดงโตเปง การ

แสดงบารีส การแสดงบารอง และ การแสดงสางหยาง

Page 170: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

160

คําถามทบทวน

1. จงสรุปสภาพทั่วไปของประเทศอินโดนีเซีย มาใหเขาใจพอสังเขป

2. จงยกตัวอยางหมูเกาะที่มีสถาบันสอนนาฏศิลปต้ังอยูมา 5 แหง

3. จากการรุกรานของดัชต ใน ป ค.ศ. 1943 ไดแบงอาณาจักรมะตะราม ออกเปนกี่สวน

อะไรบาง

4. จงเขียนตารางเปรียบเทียบความแตกตางของลีลาทารํา ระหวางการแสดงนาฎศิลป

ของยอกยาการตาและสุราการตามาใหชัดเจน

5. วายังกุลิต คืออะไร

6. วงดนตรีกาเมลัน คืออะไร ยกตัวอยางเคร่ืองดนตรีมา 5 ชนิด

7. วายังวอง คือการแสดงอะไร อธิบายมาใหเขาใจ

8. จงวิเคราะหวายัง โกเล็กวามีลักษณะและวิธีการแสดงแบบใด

9. นาฏศิลปบาหลีแบงเปนกี่หมวด อะไรบาง

10. อาวุธประเภทใด ที่ใชส่ือถึงความดีตองชนะความช่ัว และใชกับการแสดงประเภทใด

อธิบายมาใหเขาใจ

Page 171: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

161

เอกสารอางอิง

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2538). นาฏศิลปอินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําและละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

รานี ศักดิ์สิทธ์ิวิวัฒนา. (ม.ป.ป.). นาฏศิลปอินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ : บางกอก พร้ินต้ิง.

ศรีสุรางค พูลทรัพย. (ม.ป.ป.). รามเกียรต์ิ : รามยณะของไทย ที่มา สาระ และคุณคา. ใน

นิทรรศการพิเศษรามเกียรต์ิในศิลปะและวัฒนธรรมไทย (หนา 21). กรุงเทพฯ : ศูนย

วัฒนธรรมแหงประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ.

สุมิตร เทพ_______. (2545). นาฏลีลาอาเซียน. กรุงเทพฯ : เอ็ม ที เพรส.

ภาวินี บุญเสริม. (2551). นาฏศิลปบาหลี . ศิลปกรรมสาร, 3 (1), 34.

วงษ. (2548). นาฏศิลปไทย : นาฏศิลปสําหรับครูประถมศึกษา อุดมศึกษา.

พิมพคร้ังที่ 2 . กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

สุรพล วิรุฬหรักษ. (2544). นาฏศิลปอินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Page 172: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

162

บทสรุปจากการศึกษาการแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออก

จากการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเปนมา รูปแบบการแสดงของนาฏศิลปและละครใน

กลุมเอเชียตะวันออก เอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียงใตพบวา แตละชาติที่ไดศึกษาและนํามาเปน

ตัวอยางในคร้ังนี้ มีประวัติความเปนมา รูปแบบของการแสดงที่มีลักษณะคลายคลึงและแตกตางกัน

ดังนี้

1. กําเนิดและที่มาของนาฏศิลปและละครจะมีประวัติความเปนมาที่คลายคลึงกันคือ

1.1 มาจากการแสดงพ้ืนบานท่ีคนในทองถิ่นตองการท่ีจะแสดงอารมณความรูสึก

ในดานความบันเทิงใจ ประกอบกับมีความเช่ือในส่ิงท่ีไมมีตัวตน ความตองการเอาชนะธรรมชาติ

ดวยวิธีกรรมตางๆ เชน การบูชาธรรมชาติ ความเช่ือเร่ืองวิญญาณ การบูชาบรรพบุรุษและวีรบุรุษ

ความเช่ือทางศาสนาซ่ึงมีรูปแบบที่แตกตางกันออกไป ไดแก การแสดงบารองของอินโดนีเซีย การ

แสดงง้ิวของจีน การแสดงภารตนาฏยัมของอินเดีย การแหนางแมวของไทยเปนตน 1.2 มาจากการแสดงในราชสํานัก ตามประเพณีดั้งเดิมของชาวเอเชีย ผูอุปถัมภ

ดูแลสนับสนุนการแสดงนาฏศิลปและละครสวนมากจะเปนจักรพรรดิ์ พระมหากษัตริย สุลตาน โช

กุนเจาเมืองและผูนําประเทศตางๆ ซ่ึงผูนําแตละชนชาติจะใหการสนับสนุนและมีไวเพ่ือความ

บันเทิงใจและแสดงในพิธีการของราชสํานัก เปนการเสริมสรางความมั่นคง ความมีบุญบารมีของ

ผูนําและยังเปนส่ิงที่แสดงถึงความเจริญรุงเรืองในดานศิลปวัฒนธรรมของประเทศอีกดวย 2. การแสดงและการถายทอดความรูในแตละชาติสวนใหญ ลวนมีขนบธรรมเนียม

ประเพณีในดานการแสดงและการถายทอดที่คลายคลึงกันคือ มีการกําหนดกฎเกณฑ รูปแบบ

วิธีการ และเทคนิคตางๆไวแลว โดยครูอาจารยท่ีอบรมส่ังสอนมาหลายช่ัวอายุคน การฝกหัดและ

การแสดงจะมีหลักเกณฑที่เครงครัด ต้ังแตการเตรียมตัวในดานการแตงกาย เพ่ือใหการฝกหัดเกิด

ความคลองตัว การใหความเคารพครู อาจารยที่ถายทอดวิชาให การเร่ิมฝกทาพ้ืนฐาน การฝกใชลีลา

ทาทาง การแสดงความรูสึก การแสดงตามรูปแบบท่ีไดกําหนดไวในแตละประเภท นักแสดงตอง

ปฏิบัติตามคําส่ังของครูอยางเครงครัดตองเรียนรูไปตามแบบแผนหรือธรรมเนียมนิยมตามที่ครู

อาจารยไดรับการถายทอดมา การสรางสรรค คิดใหม ทําใหม ไมปฎิบัติตามกฎเกณฑจะถือวาผิด

ประเพณีหรือธรรมเนียมนิยมที่ไดปฎิบัติมา เชนการแสดงละครโนหของญี่ปุน การแสดงโขน

ละครในของไทย การแสดงกถักฬิของอินเดีย หรือการแสดงนาฎศิลปของชวาในประเทศ

อินโดนีเซีย เปนตน

3. วิธีแสดง การแสดงนาฎศิลปและละครในประเทศตะวันออกสวนมาก จะมีขั้นตอน

ของการแสดงที่คลายคลึงกันคือ จะเร่ิมดวยการโหมโรงกอนการเปดฉากดําเนินเร่ืองเชน การ

Page 173: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

163

แสดงกถักฬิในประเทศอินเดียจะเร่ิมการแสดงดวยการตีกลองใหมีเสียงดังไดยินไปไกลเปนการ

ประกาศใหคนทั่วไปไดรูวาการแสดงจะเร่ิมขึ้นแลวและตามดวยการสวดโศลกท่ีเรียกวา โตทยัม

เปนการบูชาครู จากนั้นจึงลดมานลงและเร่ิมลงมือแสดงในขณะเดียวกันการแสดงละครคาบูกิของ

ญี่ปุนก็จะเร่ิมดวย เสียงกระดิ่งที่ดังขึ้นเปนสัญญลัษณใหทราบวาการแสดงจะเร่ิมขึ้นแลวเชนกัน

จากนั้นก็จะมีเสียงตีกิดวยจังหวะที่เรงเราเร็วขึ้น ๆ พรอมกับมานบนเวทีก็เปดออก การแสดงก็จะ

เร่ิมขึ้น ขั้นตอนการแสดงในรูปแบบดังกลาวนี้ จะใชทั่วไปในการแสดงของประเทศแถบ

ตะวันออก เนื่องจากคนเอเชียมีความเช่ือใหความเคารพในส่ิงศักดิ์สิทธ์ิและ ครู อาจารยท่ีเปนผู

ถายทอดวิชาความรูให ดังนั้นกอนการแสดงทุกคร้ังก็จะตองมีการบอกกลาวครูอาจารย ส่ิง

ศักดิ์สิทธ์ิเพ่ือความราบร่ืนและเปนสิริมงคลในการแสดง ซ่ึงยังคงยึดถือมาจนปจจุบัน

4. การอนุรักษณรูปแบบการแสดง จะพบวาการแสดงนาฎศิลปของแตละประเทศนั้น

จะมีทั้งการแสดงที่เปนแบบดั้งเดิมและการแสดงท่ีไดรับอิทธิพลมาจากการแสดงประเภทอื่น ๆ

เชน การแสดงละครโนห การแสดงละครคาบูกิของประเทศญี่ปุน การแสดงภารตนาฎยัม

การแสดงกถักฬิ ของอินเดีย การแสดงโขน การแสดงละครในของไทย การแสดงนาฎศิลปของ

ยอกยาการตาและสุราการตาของอินโดเนียเซีย ฯลฯ ซ่ึงการแสดงนาฎศิลปของประเทศเหลานี้ลวน

มีรูปแบบที่ครู อาจารย ไดกําหนดวิธีการแสดงไวแลวต้ังแตในสมัยโบราณ ดังนั้นนักแสดงรุนหลัง

ยังตองยึดมั่นในรูปแบบเดิมไมมีการเปลี่ยนแปลง ซ่ึงในบางประเทศเชน ญี่ปุน อินเดีย จะมีความ

เครงครัดในการแบงแยกนักแสดงแตละประเภทไมใหมาปะปนกัน ทั้งในดานการฝก สถานที่ฝก

หรือแมกระทั่งบริเวณสถานที่พักอาศัย

5. การแสดงนาฎศิลปและละครในเอเชียตะวันออก เอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตจะมีความประณีตในการเตรียมการแสดงมาก จะเห็นไดจากการฝกซอม การแตงกาย การ

แตงหนา การจัดเตรียมอุปกรณการแสดงและการจัดฉาก ซ่ึงตองจัดเตรียมรายละเอียดอยาง

ครบถวนกอนการแสดง เชน การแตงกายในการแสดงโขนละครของไทย การแตงกายของตัวละคร

ในการแสดงกถักฬิของอินเดีย การแสดงละครคาบูกิของญี่ปุน หรือการแสดงง้ิวของจีน นอกจาก

จะตองแตงกายดวยชุดที่อลังการสวยงามแลว ยังตองมีการแตงหนาที่ตองมีความประณีตและใชรูป

สัญลักษณที่บงบอกถึงความดี ความช่ัว หรือความนากลัว สงบเยือกเย็นของตัวละครเชน การ

แตงหนาในละครคาบูกิสําหรับตัวละครที่มีบทบาทเปนผูกลาหรือตัวราย จะใชวิธีการแตงหนาแบบ

คุมาโดริ ที่ตองใชเวลาสรางสรรคเพ่ือใหคนดูเห็นรายละเอียดบนใบหนาเพ่ือแสดงถึงสัญลักษณของ

ความโกรธ ความดุราย หรือความดี ซ่ึงตองใชเวลาในการตกแตงงานอยางละเอียดออนเปนเวลา

หลายช่ัวโมงหรือการแตงหนาของการแสดงกถักฬิของอินเดีย ที่ตองมีการเสริมแตงโดยใช

อุปกรณเสริมประกอบและใชสีสัญลักษณและการตกแตงเชนเดียวกับอุปรากรจีน บางคร้ังตองใช

Page 174: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

164

เวลาในการแตงหนาถึง 5 ช่ัวโมงเพ่ือใหออกมาสมจริงและสวยงามตรงตามความตองการของผู

แสดง

6. ลีลาทารําที่ใชในการแสดงของแตละชาติ จะแตกตางกันออกไปตามวัฒนธรรม

ความเปนอยู วิถีชีวิตของแตละชนชาติ ซ่ึงการแสดงนาฏศิลปในกลุมตะวันออกนี้สวนมากจะไดรับ

อิทธิพลซ่ึงกันและกัน เชน อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเชีย แตในที่สุดทุกประเทศตางก็มี

นาฏศิลปประจําชาติที่งดงามแตกตางกันไปตามความถนัด และรสนิยมของแตละประเทศท่ีมี

มุมมองแตกตางกันในดานของความงาม

7. ดนตรีที่ใชประกอบการแสดง การแสดงของทุกประเทศจําเปนที่จะตองใชดนตรี

ประกอบการแสดง ซ่ึงอาจเปนดนตรีพ้ืนบานหรือเปนดนตรีที่ไดรับอิทธิพลจากทางตะวันตก

การศึกษานาฏศิลปและละครตะวันออกนี้จะทําใหผูศึกษาไดรูจักเคร่ืองดนตรีของแตละชาติไมวาจะ

เปนเคร่ืองดีด สี ตี เปา ที่นํามาบรรเลงประกอบการแสดงใหเกิดความสนุกสนาน หรือใช

ประกอบการรายรํา กอใหผูชมเกิดการคิดวิเคราะหในดานรูปแบบของเคร่ืองดนตรีและเสียงเพลงท่ี

ใชประกอบการแสดงในรูปแบบที่หลากหลาย จะเห็นไดวาทุกประเทศมีลักษณะของเคร่ืองดนตรีที่

คลายคลึงกันแตอาจแตกตางกันดวยรูปราง ลักษณะของเคร่ืองดนตรี

การแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออกในแตละประเทศ ตางมีศิลปการแสดงในรูปแบบ

ที่หลายหลายไปตามสภาพวิถีชีวิตและลักษณะนิสัยของคนในแตละชาติแตละภาษา นาฏศิลป

ตะวันออกลวนมีลีลาทารํา ดนตรีและเคร่ืองแตงกายอันโดดเดนเปนเอกลักษณประจําชาติท่ีลวน

แลวแตมีประวัติศาสตรความเปนมาอันยาวนาน ตางฝายตางก็ไดรับอิทธิพลซ่ึงกันและกันในเร่ือง

ของศิลปะทุกคนตางมีสิทธิเสรีภาพที่จะช่ืนชมไดโดยไมถูกจํากัดขอบเขตหรือแบงแยกดวยเช้ือชาติ

ผูเขียนหวังเปนอยางย่ิงวาหนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนสําหรับผูท่ีตองการศึกษาคนควาเกี่ยวกับ

การแสดงนาฏศิลปและละครทางตะวันออก หากผูอานมีขอทวงติงประการใด ผูเขียนขอนอมรับ

ดวยความยินดี และหวังวาในโอกาสตอไปคงจะไดมีผูสนใจชวยกันศึกษาคนควานําเสนอขอมูลใหม

เพ่ือนํามาใชในวงการการศึกษาตอไป

Page 175: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

165

Page 176: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บทสรุป จากการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเปนมา รูปแบบการแสดงของนาฏศิลปและละครใน

กลุมเอเชียตะวันออก เอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียงใตพบวา แตละชาติที่ไดศึกษาและนํามาเปน

ตัวอยางในคร้ังนี้ มีประวัติความเปนมา รูปแบบของการแสดงที่มีลักษณะคลายคลึงและแตกตางกัน

ดังนี้ 1. กําเนิดและที่มาของนาฏศิลปและละครจะมีประวัติความเปนมาที่คลายคลึงกันคือ 1.1 มาจากการแสดงพ้ืนบานท่ีคนในทองถิ่นตองการท่ีจะแสดงอารมณความรูสึก

ในดานความบันเทิงใจ ประกอบกับมีความเช่ือในส่ิงท่ีไมมีตัวตน ความตองการเอาชนะธรรมชาติ

ดวยวิธีกรรมตางๆ เชน การบูชาธรรมชาติ ความเช่ือเร่ืองวิญญาณ การบูชาบรรพบุรุษและวีรบุรุษ

ความเช่ือทางศาสนาซ่ึงมีรูปแบบที่แตกตางกันออกไป ไดแก การบารองของอินโดนีเซีย การแสดง

ง้ิวของจีน การแสดงภารตนาฏยัมของอินเดีย การแหนางแมวของไทยเปนตน 1.2 มาจากการแสดงในราชสํานักตามประเพณีดั้งเดิมของชาวเอเชีย ผูอุปถัมณดูแล

สนับสนุนการแสดงนาฏศิลปและละครสวนมากจะเปนจักรพรรดิ์ พระมหากษัตริย สุลตาน โชกุน

เจาเมืองและผูนําประเทศตางๆ ซ่ึงผูนําแตละชนชาติจะใหการสนับสนุนและมีไวเพ่ือความบันเทิง

ใจและการแสดงในพิธีการของราชสํานัก เปนการเสริมสรางความมั่นคง ความมีบุญบารมีของผูนํา

และยังเปนส่ิงที่แสดงถึงความเจริญรุงเรืองในดานศิลปวัฒนธรรมของประเทศอีกดวย 2. การแสดงและการถายทอดความรูในแตละชาติสวนใหญ ลวนมีขนบธรรมเนียม

ประเพณีในดานการแสดงและการถายทอดที่คลายคลึงกันคือ มีการกําหนดกฎเกณฑ รูปแบบ

วิธีการ และเทคนิคตางๆไวแลว โดยครูอาจารยที่อบรมส่ังสอนมาหลายช่ัวอายุคนการฝกหัดและการ

แสดงจะมีหลักเกณฑที่เครงครัด ต้ังแตการเตรียมตัวในดานการแตงกาย เพ่ือใหการฝกหัดเกิดความ

คลองตัว การใหความเคารพครู อาจารยที่ถายทอดวิชาให การเร่ิมฝกทาพ้ืนฐาน การฝกใชลีลา

ทาทาง การแสดงความรูสึก การแสดงตามรูปแบบท่ีไดกําหนดไวในแตละประเภท นักแสดงตอง

ปฏิบัติตามคําส่ังของครูอยางเครงครัดตองเรียนรูไปตามแบบแผนหรือธรรมเนียมนิยมตามท่ีครู

อาจารยไดรับการถายทอดมา การสรางสรรค คิดใหม ทําใหม ไมปฎิบัติตามกฎเกณฑจะถือวาผิด

ประเพณีหรือธรรมเนียมนิยมที่ไดปฎิบัติมา เชนการแสดงละครโนหของญี่ปุน การแสดงโขน

ละครในของไทย การแสดงกถักฬิของอินเดีย หรือการแสดงนาฎศิลปของชวาในประเทศ

อินโดนีเซีย เปนตน

3. วิธีการแสดง การแสดงนาฎศิลปและละครในประเทศตะวันออกสวนมาก จะมีขั้นตอน

ของการแสดงที่คลายคลึงกันคือ จะเร่ิมดวยการโหมโรงกอนการเปดฉากดําเนินเร่ืองเชน การ

Page 177: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

แสดงกถักฬิในประเทศอินเดียจะเร่ิมการแสดงดวยการตีกลองใหมีเสียงดังไดยินไปไกลเปนการ

ประกาศใหคนทั่วไปไดรูวาการแสดงจะเร่ิมขึ้นแลวและตามดวยการสวดโศลกท่ีเรียกวา โตทยัม

เปนการบูชาครู จากนั้นจึงลดมานลงและเร่ิมลงมือแสดงในขณะเดียวกันการแสดงละครคาบูกิของ

ญี่ปุนก็จะเร่ิมดวย เสียงกระดิ่งที่ดังขึ้นเปนสัญญลัษณใหทราบวาการแสดงจะเร่ิมขึ้นแลวเชนกัน

จากนั้นก็จะมีเสียงตีกิดวยจังหวะที่เรงเรา เร็วขึ้น ๆ พรอมกับมานบนเวทีก็จะเปดออก การแสดงก็

จะเร่ิมขึ้น ขั้นตอนการแสดงในรูปแบบดังกลาวนี้ จะใชท่ัวไปในการแสดงของประเทศแถบ

ตะวันออก เนื่องจากคนเอเชียมีความเช่ือใหความเคารพในส่ิงศักดิ์สิทธ์ิและ ครู อาจารยที่เปนผู

ถายทอดวิชาความรูให ดังนั้นกอนการแสดงทุกคร้ังก็จะตองมีการบอกกลาวครูอาจารย ส่ิง

ศักดิ์สิทธ์ิเพ่ือความราบร่ืนและเปนสิริมงคลในการแสดง ซ่ึงยังคงยึดถือมาจนปจจุบัน

4. การอนุรักษณรูปแบบการแสดง จะพบวาการแสดงนาฎศิลปของแตละประเทศนั้นจะมี

ทั้งการแสดงที่เปนแบบดั้งเดิม และการแสดงที่ไดรับอิทธิพลมาจากการแสดงประเภทอื่น ๆ เชน

การแสดงละครโนห การแสดงละครคาบูกิของประเทศญี่ปุน การแสดงภารตนาฎยัม การแสดงก

ถักฬิ ของอินเดีย การแสดงโขน การแสดงละครในของไทย การแสดงนาฎศิลปของยอกยาการตา

และสุราการตาของอินโดเนียเซีย ฯลฯ ซ่ึงการแสดงนาฎศิลปของประเทศเหลานี้ลวนมีรูปแบบที่ครู

อาจารย ไดกําหนดวิธีการแสดงไวแลวต้ังแตในสมัยโบราณ ดังนั้นนักแสดงรุนหลังยังตองยึดมั่นใน

รูปแบบเดิมไมมีการเปลี่ยนแปลง ซ่ึงในบางประเทศเชน ญี่ปุน อินเดีย จะมีการแบงแยกนักแสดง

แตละประเภทไมใหมาปะปนกัน ทั้งในดานการฝก สถานที่ฝก หรือแมกระทั่งบริเวณสถานที่พัก

อาศัย

5. การแสดงนาฎศิลปและละครในเอเชียตะวันออก เอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียงใตจะ

มีความประณีตในการเตรียมการแสดงมาก จะเห็นไดจากการฝกซอม การแตงกาย การแตงหนา การ

จัดเตรียมอุปกรณการแสดงและการจัดฉาก ซ่ึงตองจัดเตรียมรายละเอียดอยางครบถวนกอนการ

แสดง เชน การแตงกายในการแสดงโขนละครของไทย การแตงกายของตัวละครในการแสดงก

ถักฬิของอินเดีย การแสดงละครคาบูกิของญี่ปุน หรือการแสดงง้ิวของจีน นอกจากจะตองแตงกาย

ดวยชุดที่อลังการสวยงามแลว ยังตองมีการแตงหนาที่ตองใชรูปสัญลักษณที่บงบอกถึงความดี ความ

ช่ัว หรือความนากลัว สงบเยือกเย็นของตัวละครเชน การแตงหนาในละครคาบูกิสําหรับตัวละครที่มี

บทบาทเปนผูกลาหรือตัวราย จะใชวิธีการแตงหนาแบบคุมาโดริ ที่ตองใชเวลาสรางสรรคเพ่ือใหคน

ดูเห็นรายละเอียดบนใบหนาเพ่ือแสดงถึงสัญลักษณของความโกรธ ความดุราย หรือความดี ซ่ึง

ตองใชเวลาในการสรางสรรคงานอยางละเอียดออนเปนเวลาหลายช่ัวโมงหรือการแตงหนาของการ

แสดงกถักฬิของอินเดีย ที่ตองมีการแตงโดยใชสีสัญลักษณและการตกแตงเชนเดียวกับอุปารากรจีน

Page 178: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บางคร้ังตองใชเวลาในการแตงหนาถึง 5 ช่ัวโมงเพ่ือใหออกมาสมจริงและสวยงามตรงตามความ

ตองการของผูแสดง 6. ลีลาทารําที่ใชในการแสดงของแตละชาติ จะแตกตางกันออกไปตามวัฒนธรรมความ

เปนอยู วิถีชีวิตของแตละชนชาติ ซ่ึงการแสดงนาฏศิลปในกลุมตะวันออกนี้สวนมากจะไดรับ

อิทธิพลซ่ึงกันและกัน เชน อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเชีย แตในที่สุดทุกประเทศตางก็มี

นาฏศิลปประจําชาติที่งดงามแตกตางกันไปตามความถนัด และรสนิยมของแตละประเทศที่มี

มุมมองแตกตางกันในดานของความงาม 7. ดนตรีที่ใชประกอบการแสดง การแสดงของทุกประเทศจําเปนที่จะตองใชดนตรี

ประกอบการแสดง ซ่ึงอาจเปนดนตรีพ้ืนบานหรือเปนดนตรีที่ไดรับอิทธิพลจากทางตะวันตก

การศึกษานาฏศิลปและละครตะวันออกนี้จะทําใหผูศึกษาไดรูจักเคร่ืองดนตรีของแตละชาติไมวาจะ

เปนเคร่ืองดีด สี ตี เปา ที่นํามาบรรเลงประกอบการแสดงใหเกิดความสนุกสนาน หรือใช

ประกอบการรายรํา กอใหผูชมเกิดการคิดวิเคราะหในดานรูปแบบของเคร่ืองดนตรีและเสียงเพลงที่

ใชประกอบการแสดงในรูปแบบที่หลากหลาย จะเห็นไดวาทุกประเทศมีลักษณะของเคร่ืองดนตรีที่

คลายคลึงกันแตอาจแตกตางกันดวยรูปราง ลักษณะของเคร่ืองดนตรี การแสดงนาฏศิลปและละครตะวันออกในแตละประเทศ ตางมีศิลปการแสดงในรูปแบบที่

หลายหลายไปตามสภาพวิถีชีวิตและลักษณะนิสัยของคนในแตละชาติแตละภาษา นาฏศิลป

ตะวันออกลวนมีลีลาทารํา ดนตรีและเคร่ืองแตงกายอันโดดเดนเปนเอกลักษณประจําชาติท่ีลวน

แลวแตมีประวัติศาสตรความเปนมาอันยาวนาน ตางฝายตางก็ไดรับอิทธิพลซ่ึงกันและกันในเร่ือง

ของศิลปะทุกคนตางมีสิทธิเสรีภาพที่จะช่ืนชมไดโดยไมถูกจํากัดขอบเขตหรือแบงแยกดวยเช้ือชาติ

ผูเขียนหวังเปนอยางย่ิงวาหนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนสําหรับผูท่ีตองการศึกษาคนควาเกี่ยวกับ

การแสดงนาฏศิลปทางตะวันออก หากผูอานมีขอทวงติงประการใด ผูเขียนขอนอมรับดวยความ

ยินดี และหวังวาในโอกาสตอไปคงจะไดมีผูสนใจชวยกันศึกษาคนควานําเสนอขอมูลใหมเพ่ือ

นํามาใชในวงการการศึกษาตอไป

Page 179: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

บรรณานุกรม

1กนกวรรณ ญาณี. (2547). ละครชาตรีเมืองเพชร. คนเมื่อ 17 สิงหาคม 2547, จาก

1http://www.cablephet.com/board/n_view.php?nc_id=11&n_id=391.

กระจกสองญี่ปุน. ( 2541). พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

กระทรวงการตางประเทศ. (ม.ป.ป). ญี่ปุนปจจุบัน. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.

0กลุมสาระการเรียนรูศิลปะ Kภูษิต. (2550). โขน. 0 คนเมื่อ 8 กันยายน 2550, จาก

http://nongkidr.blogspot.com/2007/09/blog-post.html.

_______. (2547). 1การแสดงละครนอกเรื่องหลวชัิย คาวี. 1 คนเมื่อ 17 สิงหาคม 2547, จาก

http://www.cablephet.com/board/n_view.php?nc_id=11&n_id=391.

กัลยาณ ี สัตสุวรรณ. (2530). เคียวเง็นในญี่ปุนศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

กาญจนา นาคพันธ. (นามแฝง). (2434). กรุงเทพเมื่อ 70 ปกอน. พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพเรืองศิลป.

เกตนนิภา อมรราตรี. (2549). เกาหลี :เพียงเดชไดงายๆสบายกระเปาสตางคสไตลพี่วุฒิและพี่แคท.

กรุงเทพฯ : พี เอส ซัพพราย.

ขวัญฤทัย ปทุมรัตนโชติ. (2538). นาฏศิลปมาเลเซีย. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชา

นาฏยศิลป) คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จรูญศรี วีระวานิช. (2542). ละครรองในสวนสนุันทา. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตรและ

สังคมศาสตร สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

จันทรา ทองสมัคร. (2542). พัฒนาการประวัติศาสตรสาธารณรัฐประชาชนจีน. นครศรีธรรมราช:

สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

จาตุรงค มนตรีศาสตร. (2523). นาฏศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรสยาม.

3แจน ฮัว. (2551). การแสดงนาฏศิลปเกาหลี. 3 คนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2551

จากhttp://photo.lannaphotoclub.com/index.php?topic=2763.0 2.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2538). นาฏศิลปอินโดนีเซยี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

_______. (2545). นาฏลีลาอาเซียน. กรุงเทพฯ : เอ็ม พี เพรส .

เฉลิมพล สนานอย. (2548). การแสดงนาฏศิลปเกาหล.ี คนเมื่อ 17 มกราคม 2553 จาก

, http://www.info.ru.ac.th/album/2005-01-17-n/index.html.

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2534). องคประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Page 180: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

166

ชูพินิจ เกษมณี. (2546). สาระนารูเกี่ยวกับเกาหลี. กรุงเทพฯ : แคยอดแพ็คกิ้ง แอนด พร้ินต้ิง.

ณัฐฐิญา แกวแหวน. (2551). โทนชาตรี [ภาพถาย].พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา.

_______. (2551) . โทนมโหรี [ภาพถาย] .พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา.

ดวงแข ออนหนู. (2537). นาฏศิลปเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

ดวงใจ จิตรพงศ, ม.จ. (2506). สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ. ใน ชุมนุมบทละครและบทคอนเสิรตสมเด็จ

พระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยานริศรานุวดัติวงศ (หนา21-22). พระนคร : กรม

ศิลปากร.

_______. (2515). ละครดึกดําบรรพ. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ). หนังสืออานประกอบคํา

บรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา90-91). กรุงเทพฯ

: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. (2515). ประวัติฟอนรํา. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ

(บรรณาธิการ). หนังสืออานประกอบคําบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและ

นาฏศิลปไทย (หนา14-16). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

_______. (2515). ตํานานเสภา. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสืออานประกอบคําบรรยาย

วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา146). กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

_______. (2466). ตํานานการฟอนรํา. พระนคร : กรมศิลปากร.

ตุกตานารัก. (2550). หนากากและการแสดงระบําหนากาก. คนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2552 จาก

http://www.oknation.net/blog/culturekorea/2007/11/15/ entry-2.

2Tถปรร. (2551). อุปรากรจีน. คนเมื่อ 2T24 กุมภาพันธ 2551, จาก http://www.bloggang.com/

viewdiary.

แถมสุข นุมนนท และคณะ. (2537). ส 605 สังคมศึกษาสมบูรณแบบ ช้ัน ม. 6 ภาค 1. กรุงเทพฯ :

วัฒนาพานิช.

ทรงศักดิ์ ปรางควัฒนากุล. (2526). การละครไทย. เชียงใหม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ธนาคารไทยพาณิชย มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาค

กลาง. กรุงเทพ : สยามเพรส เมเนจเมนท.

ธนิต อยูโพธ์ิ. (2515). กําเนิดนาฏศิลปไทย. ใน ธนิต อยูโพธ์ิ (บรรณาธิการ) หนังสืออานประกอบ

คําบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนดนตรีและนาฏศิลปไทย (หนา 136-137).

Page 181: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

167

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

นงลักษณ ศรีเพ็ญ. (2542). นาฏศิลปไทย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ.

นัท กอย. (2549). เที่ยวไมงอทัวร ตีต๋ัวตะลุยเกาหลี. กรุงเทพฯ : ไทย อินเตอรบุค.

นิตยา ชวี. (2546). อารยธรรมจีน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.

นิยะดา สาริกภูติ. (2515). ความสัมพันธระหวางละครไทยและภารตะ. วิทยานิพนธอักษรศาสตร

มหาบัณฑิต (แผนกวิชาภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย .

นีรนุช เหลือลมัย. (2538). นาฏศิลปมาเลเซีย. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชา

นาฏยศิลป). คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ป. รัตนปญญา. (2536). ชุดเที่ยวเมืองจีน ตอน “งิ้ว”. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร.

ประณีต วงษเกษกรณ. (2550). การแบงเขตภูมิภาคของทวีปเอเชีย. คนเมื่อ 12 กุมภาพันธ 2550,

จาก http://www.2T203.172.204.162/.../act8/content5.html 2T.

ประดิษฐ อินทรนิล. (ม.ป.ป.). ดนตรีและนาฏศิลป. กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาสน.

ปานทิพย อิทธิวัฒนะ. (2548). ขุนแผน และนางแกวกิริยา ละครเสภาเรือ่งขุนชาง – ขุนแผน

ตอนข้ึนเรือนขุนชาง. คนเมื่อ 25 มิถุนายน 2553, จาก http://www.snr.ac.th/

elearning/parntip/sec04p01.html

_______. (2548). ภาพการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ. คนเมื่อ 24 มิถุนายน 2553, จาก

2Thttp://www.snr.ac.th/elearning/parntip/sec04p01.html 2T.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (2525). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน.

พระมหานาควัดทาทราย. (2530). บุณโณวาทคําฉันท. พระนคร : กรมศิลปากร.

พันทิพา มาลา. (2538). เอกสารประกอบการสอนละครตะวันออก. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันราช

ภัฎพระนครศรีอยุธยา.

_______. (2528). นาฏศิลปเปรียบเทยีบ-การวิจารณ การละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครู

พระนครศรีอยุธยา.

_______. (2551). การแตงกายรําโทนแบบเดิม คือ ฝายหญิงนุงผาซ่ิน สวมเส้ือแขนยาว หมสไบ

ชายนุงโจงกระเบน เส้ือคอกลม มีผาคาดเอว แสดงแบบโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา [ภาพถาย].พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.พาณี สี

สวย. (2524). สุนทรียของนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพจูจีนไทย.

พิมพรัตน นะวะศิริ. (2538). นาฏศิลปของสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพ : คณะศิลปกรรม

ศาสตร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Page 182: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

168

เพ่ิมพร ศิริศักดิ์. (ม.ป.ป.). การแสดงละครในประเทศอินโดนีเซยี. รายงานศิลปศาสตรบัณฑิต

(สาขาวิชานาฏยศิลป) คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ไพบูลย ปตะเสน. (2545). ประวัติศาสตรเกาหลี จากยุคเผาพันธุถึงราชวงศสดุทาย. กรุงเทพฯ :

คงวุฒิคุณากร.

ภาควิชานาฏศิลปและดุริยางค สาขานาฏศิลปไทย ละคร. (2550). ละครใน. คนเมื่อ 21 สิงหาคม

2550, จาก http://www.2Tlearners.in.th/blog/dramaone9/61934 2T.

ภาวินี บุญเสริม. (2551). นาฏศิลปบาหล.ี ศิลปกรรมสารม, 3(1), 34.

ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2521). ประวัติศาสตรเกาหลีสมยัใหม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

รามคําแหง.

มงคล พูนเพ่ิมสุขสมบัติ. (2526). วรรณคดีการละคร. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครู

พระนครศรีอยุธยา.

มณีปน พรหมสุทธิรักษ. (2534). อิทธิพลของเร่ืองรามเกียรต์ิในศิลปะการแสดง ใน นิทรรศการ

พิเศษรามเกียรต์ิ ในศิลปะและวัฒนธรรมไทย (หนา 5). กรุงเทพฯ : อมรินทรพร้ินต้ิง.

มา (นามแฝง). (2544, กรกฎาคม). แตงหนาง้ิว. พลอยแกมเพชร, (10), 222-225.

มาลินี ดิลกวณิช. (2543). ระบําและละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

รานี ชัยสงคราม. (2544). นาฏศิลปไทยเบ้ืองตน. กรุงเทพฯ : องคการคาคุรุสภา.

รานี ศักดิ์สิทธ์ิวิวัฒนา. (ม.ป.ป.). นาฏศิลปอินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ : พี.พี. บางกอก พร้ินต้ิง.

เรวดี คงสุวรรณ. (ม.ป.ป). นาฏศิลปประจําชาติจีน "งิ้ว". ม.ป.ท. อัดสําเนา

ล. เสถียรสุต. (2544). ประวัติวัฒนธรรมจีน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

ลัดดา พนัสนอก. (2542). สุนทรียะทางนาฏศิลปไทย. สกลนคร : สถาบันราชภัฏสกลนคร.

วันแรม สมบูรณสาร. (2542). ประวัติการละครไทย. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม.

วิภา จิรภาไพศาล. (2548,พฤษภาคม). “ง้ิว” โอเปรา (แฝงคุณธรรม) ตะวันออก ละครรองที่

UNESCO ยกยองเปนมรดกโลก. ศิลปวัฒนธรรม, (26), 32-39.

วิมลศรี อุปรมัย. (2524). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพเจริญผล.

วิหคพลัดถิ่น. (2550). ภาพจําลองละครรอง “สาวเครือฟา” คนเมื่อ 1 สิงหาคม 2550, จาก

http://www.oknation.net/blog/vihokpludtin/2007/08/01/entry-1.

วีณา ศรีธัญรัตน. (2542). อารยธรรมตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบาน

สมเด็จเจาพระยา.

Page 183: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

169

ศรีสุรางค พูลทรัพย. (ม.ป.ป.). รามเกียรต์ิ : รามยณะของไทย ที่มา สาระ และคุณคา. ใน

นิทรรศการพิเศษรามเกียรต์ิในศิลปะและวัฒนธรรมไทย (หนา 21). กรุงเทพฯ :

ศูนยวัฒนธรรมแหงประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ.

ศิริรัตน สาโพธ์ิสิงห. (2548). ชุดประจําชาติเกาหลี. คนเมื่อ 12 ธันวาคม 2551, จาก

http://koreansarang.3.forumer.com/a/hanbokhistory_post106.html.

ศุภฤกษ ชัยรัตน. (2548). การศึกษาวิเคราะหตัวละคร ในบทละครเคียวเง็นประเภทโฌเมยีวเคียว

เง็น 3 เรื่อง. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศูนยวัฒนธรรมแหงประเทศไทย. (2531). งานมหกรรมวัฒนธรรมพ้ืนบานเอเชีย คร้ังที่ 1. (2), 16-

17.

สถานเอกอคัรราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี และสํานกังานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. (2541).

การแสดงนาฏศิลปสาธาณรัฐเกาหลี, (11), 8

สถานีวิทยุ ซี. อาร. ไอ ปกกิ่ง. (2550). ตัวละครในงิ้วปกกิ่ง. คนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2550,

จาก http://www. thai.cri.cn/ chinaabc/chapter 19/ chapter 19010

สถาบันพิพิธภัณฑการเรียนรูแหงชาติ. (2551). ละครคาบูกิ. คนเมื่อ 5 มิถุนายน 2553, จาก

http://www.ndmi.or.th/.../activities_255112.html.

สมัย อาภาภิรม และคณะ. (2543). แผนที่โลกปจจุบัน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สํานวน แสงเพ็ง และคณะ. (2547). ประเทศเพื่อนบานและบุคคลสําคัญ. กรุงเทพฯ : แม็ค.

สํานักขาวกรมประชาสัมพันธ. (2550). โขน. คนเมื่อ 22 มกราคม 2550, จาก

http://www.thaigov.go. th / pageconf ig /v i ewcontent /v i ew.

สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. (2534). มหกรรมรามายณะนานาชาติ เฉลิมพระ

เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร,ี 4-27,(4) , 13.

สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. (2541). การแสดงนาฎศิลปจากสาธารณรัฐเกาหลี.

(8), 11.

สํานักงานแถลงขาวเกาหลี. (2517). ความรูเรื่องเมืองเกาหลี. กรุงเทพฯ : สํานักงานฯ.

สุจิตต วงษเทศ. (2532). รองรําทําเพลง : ดนตรีและนาฏศิลปชาวสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุภาพ บุญไชย. (2548). ภูมิศาสตรประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

สมทรง กฤตมโนรถ. (2536, เมษายน). “รําโทน ความสนุกสนานของคนไทยสมัยสงครามโลก

คร้ังที่ 2,” ศิลปวัฒนธรรม. 14 (6), 62-69.

สุมนมาลย นิ่มเนติพันธ. (2539). การละครไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุมาลี สุวรรณแสง. (ม.ป.ป.). วรรณกรรมการละคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.

Page 184: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

170

สุมิตร เทพวงษ. (2548). นาฏศิลปไทย : นาฏศิลปสาํหรับครูประถม - อุดมศึกษา. พิมพคร้ังที่ 2

กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

สุรพล วิรุฬหรักษ. (2544). นาฏศิลปอินโดนีเซยี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

_______. (2547). วิวัฒนาการนาฏศิลปไทยในกรุงรัตนโกสินทร. พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

_______. (2548, มิถุนายน–กันยายน). ง้ิว. ราชบัณฑิตยสถาน, (25), 224-228.

สุวรรณี เครือปาน. (2542). ศิลปวัฒนธรรมทองถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

เสาวลักษณ สุริยะวงศไพศาล. (2546). บทละครคาบุกิและบุนราขุ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย.

_______. (ม.ป.ป.). คาบูกิ. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ.

แสง มณวิทูร. (2541). นาฏศิลปตําราทารํา. กรุงเทพฯ : ศิวพร.

อภิโชค แซโคว. (2541). งิ้ว. กรุงเทพฯ : คอมแพคทพร้ินท.

อมรา กล่ําเจริญ. (2542). สุนทรียนาฏศิลปไทย. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

_______. (2547ข). วิเคราะหการละเลนพื้นบาน รําโทน : ศึกษาเฉพาะกรณี อําเภอสามโก จังหวัด

อางทอง. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อารดา กีระนันท. (2527). เอกสารการสอนชุดวชิาไทยศึกษา : อารยธรรมเลม 3 หนวยที่ 12-15.

พิมพคร้ังที่ 6. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อารท อัจฉรา. (2552). ละครโนห. คนเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2552, จาก http://www.drartchula.

blogsport.com/2009/02/traditional-p.html.

เอมมิกา โพธิศรัทธา และอลงกรณ สุขสวัสดิ์. (2552). การแสดงนาฏศิลปอนิโดนีเซยี. รายงาน

ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชานาฏยศิลป). คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย.

ฮิโรชิ โคยามา. (ม.ป.ป). โนห แปลโดย โยชิโนบุกากิอลุิ และเสาวลักษณ สุริยวงศไพศาล.

กรุงเทพฯ : มูลนิธิญี่ปุน.

Amphitheater Public School. (2006). Kabuki and Japanese Dance. Retrieved september 14,

2009, from 2Twww.amphi.com 2T ~psteffen/fmf/ //kabuki.html.

Fotoshyam. (2009). Sansakit picture. Retrieved Febuary 27, 2009, from

http:// 2Twww.wikipedia/Koodiyattam 2T.

Hangul. (2003). Pansori. Retrieved August 29, 2009, from http://en.wikipedia.org/wiki/Pansori

Page 185: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

171

Hongtu Real Estate Development Company. (2009). Wooden Dance Drum of The Wa

Minority. Retrieved September 14, 2009, from 2TUhttp://www.taraditions.cultural-

china.com/en/17U2T traditious 3443.html

_______. (2009). Big Drum Dance. Retrieved September 14, 2009, from

http://www.taraditions.cultural-china.com/en/17 traditious 3443.html

Jamesbond( 2009). Obon. Retrieved August 8, 2009, from http://www.tarad.org/thread-4290-1-

1-htmL

Japanese. (2009). Japanese traditional dance. Retrieved August 25, 2009, from

http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_traditional_dance.

Kathakali. (1977, May-June). A power beyond world. Sawasdee, 6, 34-38.

Nakamara, Y. (1971). Noh The elanieal Theater. New York : weatherlhiee.

Nohgakado, K. (2008). The Noh Stage. Retrieved November 4, 2008, from

http://www.zoka.blogs.com/.../the noh stage 2.html.

Margolin, Y. (2003). Dance history of China. Retrieved August 1, 2009. from http://www.

Isracldance.co.il/dance-history-of-china.htm.

Potcharaporn Thongtanorm. (2008). A study of historical develment of teaching of

Bharatanatyam in India. Dissertation, Banaras Hindu University, Varanas, India.

Qiu, H. & Zhohgmin, Lu. (2009). Yangge and Waist Drum Dance. Retrieved March, 1,

2009, from http://www.chiavista.com/experience/yangge/yangge.html.

The Culture of China. (1998). Chinese Dance. Retrieved September 4, 2009, from

http://library.Thinkquest.org/20443/dance.htm

The Japanese Dance Association. (2009). Nihonbuyo-a definition. Retrieved

August 8, 2009, from 2Thttp://www.nihonbuyou.or.jp/english/nihonbuyo.htm 2T

The Korean Culture and Information Service. (2009). Pansori. Retrieved August 29,

2009, from http://www.korea.net/Newo/NewoView.96p?suval_na=

Venleataraman, L. & Paorieha, A. (2005). Indian classieal dance tradition in thirce

cinpresion. New Delhi : Sri Satguru.

Yoshida Chiaki. (1977). Kabuki. Tokyo : Japan Time.

Page 186: 2552 - ARUasi.aru.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/eastdrama.pdf · 2016-09-15 · เกี่ยวกับการแสดงนาฎศิลป และละครตะวันออกซึ่งถือว

172