ปกอาขยาน - thesis.swu.ac.ththesis.swu.ac.th/swuthesis/tha/kritsana_k.pdf ·...

101
บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา : ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอ บทคัดยอ ของ นางสาวกฤษณา คงทน เสนอตอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย พฤษภาคม 2548

Upload: lamduong

Post on 12-Mar-2018

216 views

Category:

Documents


2 download

TRANSCRIPT

บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา : ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธนีําเสนอ

บทคัดยอ ของ

นางสาวกฤษณา คงทน

เสนอตอบัณฑติวิทยาลัย มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลกัสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

พฤษภาคม 2548

กฤษณา คงทน. (2548). บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา : ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธนีําเสนอ. สารนิพนธ กศ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อาจารยที่ปรึกษาสารนิพนธ : รองศาสตราจารยไพบูลย ดวงจนัทร.

การศึกษาวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ มีความมุงหมายเพื่อใหเหน็ จริยธรรมและกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ 6 โดยใชระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร ขอมูลที่ใชเปนบทอาขยานที่สอดแทรกอยูในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยและหนังสืออานเพิ่มเติมบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวนทั้งสิ้น 25 บท สําหรับหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรมไดใชหลักเกณฑจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ. ศ. 2533) และการวิเคราะหกลวิธีนําเสนอใชเกณฑการนําเสนอแบบตรงไปตรงมากับการนําเสนอแบบใหผูอานตีความ สวนวิธีเสนอผลการศึกษาใชวิธีพรรณนาวิเคราะห

ผลของการศึกษาพบวา บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาไดสอดแทรกจริยธรรมที่พึงปลูกฝงและเสริมสรางใหแกนักเรียนครบทั้ง 13 ดานตามเกณฑที่ใชวิเคราะห คือ 1) ความใฝรู 2) ความขยัน 3) ความอดทน 4) ความประหยัด 5) ความซื่อสัตยสุจริต 6) ความมีระเบียบวินัย 7) ความรับผิดชอบ 8) ความสามัคคี 9) ความเสียสละ 10) ความเมตตากรุณา 11) ความกตัญูกตเวที 12) ความยุติธรรม และ 13) ความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี จริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยแตละระดับชั้นมีไมเทากัน และแตละดานก็มีความถี่ไมเทากันดวยบทอาขยานที่มีจริยธรรมมากที่สุด คือบทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ซึ่งมีจริยธรรมปรากฏอยู 9 ดาน และความถี่ที่ปรากฏก็มากที่สุด คือมีความถี่ 13 บทอาขยานที่มีจริยธรรมนอยที่สุด คือบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 2 ซึ่งมีจริยธรรมปรากฏอยู 3 ดาน และความถี่ที่ปรากฏก็มีนอยที่สุด คือมีความถี่ 3 สวนกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาพบวา ใชกลวิธีการนําเสนอแบบตรงไปตรงมามากกวาการนําเสนอแบบใหผูอานตีความในอัตราสวน 2 : 1 บทอาขยานทั้งหมดนําเสนอในรูปแบบของบทรอยกรอง และรูปแบบของบทรอยกรองที่ใชมากที่สุดคือกลอนสุภาพ รองลงมาคือกาพยยานี และที่นอยที่สุดคือรายโบราณกับกาพยหอโคลง

THAI PRIMARY RECITATIONS : MORAL QUALITIES AND PRESENTATION STRATEGIES

AN ABSTRACT BY

MISS KRITSANA KHONGTHON

Presented in partial fulfillment of the requirements

for the Master of Education degree in Thai at Srinakharinwirot University

May 2005

Kritsana Khongthon. (2005). Thai Primary Recitations : Moral Qualities and Presentation

Strategies. Master’s project. M.Ed. (Thai). Bangkok : Graduate School, Srinakharinwirot University. Project Advisor : Associate Professor Phaiboon Duangchan.

The study aimed to analyse morals and presentation strategies in the recitations for

the first to sixth grades. The research method was document study. The data were 25 recitations interpolated in the Thai textbooks and in the supplementary recitations for primary schools assigned by the Ministry of Education. The analysis was based on 13 moral criteria from the character reinforcement subject group in the primary curriculum stipulated by the Ministry of Education in 1978 (Revised 1990). Two presentation strategies analysed were explicit and implicit moral teaching. The research results were presented in a descriptive manner. The results showed that the recitations incorporated all 13 moral criteria desirable to inculcate in and reinforce on the students. Those moral qualities were knowledge enthusiasm, diligence, patience, economy, honesty, disciplines, responsibility, unity, sacrifice, generosity, gratitude, justice, culture and tradition abiding. The amount of morals presented in each grade was unequal. The frequency of each moral teaching was also unequal. The recitations for the fifth grade had the highest number of moral qualities –nine--in 13 recitations, which was the highest number of recitations. The recitations for the second grade incorporated only three, which was the lowest number of moral qualities. They also had the least number of recitations - three. The explicit presentation strategy was used more than the implicit one at the ratio of 2:1. All recitations were presented in the form of verse. The most used verse was klon pad (the eight-syllable four-line rhyme verse) and gaapyanee (the eleven-word, non-definite rhyme and rhythm gavya) respectively. The least used verse was rai boran (the ancient narrative verse) and gaap-haw-klong (the tone-rhyme verse embedded in the non-definite rhyme and rhythm verse) respectively.

บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา : ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธนีําเสนอ

สารนิพนธ ของ

นางสาวกฤษณา คงทน

เสนอตอบัณฑติวิทยาลัย มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลกัสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

พฤษภาคม 2548 ลิขสิทธิ์เปนของมหาวทิยาลยัศรีนครินทรวโิรฒ

อาจารยที่ปรึกษาสารนิพนธ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการสอบไดพิจารณาสารนิพนธเร่ือง บทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา : ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธนีําเสนอ ของกฤษณา คงทน ฉบับนีแ้ลว เห็นสมควรรับเปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลกัสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวทิยาลยัศรีนครินทรวโิรฒได อาจารยที่ปรึกษาสารนิพนธ ………………………………………………… (รองศาสตราจารยไพบูลย ดวงจนัทร) ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ………………………………………………… (รองศาสตราจารยอัครา บุญทพิย) คณะกรรมการสอบ ………………………………………………… ประธาน (รองศาสตราจารยไพบูลย ดวงจันทร) ………………………………………………… กรรมการสอบสารนิพนธ (รองศาสตราจารยอัครา บุญทิพย) ………………………………………………… กรรมการสอบสารนิพนธ (อาจารยพิมพาภรณ บุญประเสริฐ) อนุมัติใหรับสารนิพนธฉบับนี้เปนสวนหนึง่ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ ………………………………………………… คณบดีคณะมนุษยศาสตร (รองศาสตราจารยสุภา ปานเจริญ) วนัที ่ ..... เดือน ..................... พ.ศ. ........

ประกาศคุณูปการ สารนพินธนี้สําเร็จไดดวยดี เพราะผูวิจยัไดรับความอนเุคราะหอยางดยีิง่จากรองศาสตราจารยไพบูลย ดวงจันทร อาจารยที่ปรึกษาสารนิพนธที่ไดกรุณาเสียสละเวลาใหคําปรึกษาแนะนํา ตรวจแกไขขอบกพรองตาง ๆ ดวยความเอาใจใสเปนอยางดีตลอดมา ในการจัดทาํสารนิพนธนี้ทกุขั้นตอน และยงัเปนแบบอยางปชูนียบุคคลอนัทรงคุณคาดานวชิาการและมีเมตตาธรรมทําใหผูวิจยัไดรับความรู ประสบการณและมองเห็นคณุคาของงานสารนิพนธเพิ่มมากขึ้น ผูวจิัยขอกราบขอบพระคุณเปนอยางสงู ผูวิจัยขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารยอัครา บุญทิพย และอาจารยพิมพาภรณ บุญประเสริฐกรรมการสอบสารนิพนธ ทีก่รุณาใหแนวคดิ และขอเสนอแนะเพิม่เติมที่เปนประโยชนแกงานวิจัยนี ้ ขอกราบขอบพระคุณอาจารยทุกทานที่ใหความรูแกผูวิจยัในการศกึษาตามหลกัสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ซึ่งผูวิจัยไดนาํความรูมาสรางสรรคงานสารนิพนธไดสําเร็จ

ขอกราบขอบพระคุณ บาทหลวงวิศิษฎ วเิศษเธียรกุลอธิการและคณะครูโรงเรยีนปญจทรัพยทุกทานที่ใหการสนับสนุน และอํานวยความสะดวกในเรือ่งตาง ๆ แกผูวิจัยเสมอมา

ทายสุดนี้ผูวิจยัขอกราบขอบพระคุณ คุณพอ คุณแม พี ่ และนองที่ชวยเหลือและคอยเปนกําลงัใจใหผูวจิัยอยางดีเยี่ยมมาโดยตลอด จนทําใหผูวจิัยประสบความสําเร็จในการศึกษาครั้งนี ้ กฤษณา คงทน

สารบัญ

บทที่ หนา 1 บทนํา..……....................................................................................................... 1

ภูมิหลัง…….................................................................................................. 1 ความมุงหมายของการศึกษาคนควา……......................................….............. 3 ความสาํคัญของการศึกษาคนควา…….........................................…............... 3

ขอบเขตของการศึกษาคนควา……...............................................…............... 3 นิยามศัพท.................................................................................................... 4 ขอตกลงเบื้องตน..........................................................................….............. 5 คํานิยามศัพท.................................................................................…........... 5

วิธีดําเนินการศึกษาคนควา………..........................….................……............ 5 2 เอกสารและงานวิจัยทีเ่กี่ยวของกับการศึกษาคนควา…..…............................. 7

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับจริยธรรม........... ........................................ 7 เอกสารที่เกี่ยวของกับจริยธรรม……......................................................… 9 งานวิจยัที่เกี่ยวของกับจริยธรรม.……........................................................ 10

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับกลวธินีําเสนอ……..................................... 12 เอกสารที่เกี่ยวของกับกลวธินีําเสนอ……..............................................…. 12 งานวิจยัที่เกี่ยวของกับกลวิธนีําเสนอ……................................................. 13

3 วิเคราะหลักษณะจรยิธรรมในบทอาขยานภาษาไทย…….....….....….............. 17

บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 1……........................................ 17 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 2……....................................... 19 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 3……....................................... 22 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 4……....................................... 25 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 5……....................................... 29 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 6……........................................ 34

สารบัญ (ตอ) บทที่ หนา

4 วิเคราะหกลวิธีนาํเสนอในบทอาขยานภาษาไทย…….................................... 39 การนาํเสนอแบบตรงไปตรงมา…….......................................………………... 39 การนาํเสนอแบบใหผูอานตีความ……..…....................................…………… 50

5 สรุป อภปิรายผล และขอเสนอแนะ……......................................................... 56

สรุปผลการศึกษา…………………….......................................................... 56 อภิปรายผลการศึกษา…………………....................................................... 60 ขอเสนอแนะ..............……………….......................................................... 63

บรรณานุกรม…….......................................................................................................... 65 ภาคผนวก...................................................................................................................... 70 ประวัติยอผูทําสารนิพนธ………..................................................................................... 90

สารบัญตาราง

ตาราง หนา

1 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่1....... 19 2 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่2....... 22 3 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่3....... 25 4 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่4....... 29 5 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่5....... 33 6 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่6....... 38 7 แสดงการกระจายและความถี่ของจรยิธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทย

ระดับประถมศึกษา ต้ังแตชั้นประถมศึกษาปที ่1 ถงึชั้นประถมศึกษาปที ่6 ….………… 58 8 แสดงจํานวนบทรอยกรองรูปแบบฉันทลักษณที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทย

ระดับประถมศึกษา ต้ังแตชั้นประถมศึกษาปที ่1 ถงึชั้นประถมศึกษาปที ่6 ....………… 62

บทที่ 1 บทนํา

ภูมิหลัง คําวา “อาขยาน” เปนคําที่ออกเสียงได 2 อยาง คือออกเสียงวา อา-ขะ-ยาน หรือ อา-ขะ-หยาน ก็ได และพจนานกุรมฉบบัราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1360) ไดใหนยิามคํา “อาขยาน” ไววา “บททองจํา การเลา การบอก การสวด เร่ือง นทิาน” สําหรับบทอาขยานทีน่ักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศกึษาทองจาํกนันัน้ เปนบทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธกิาร สถานศึกษา หรือครู เปนผูกาํหนด โดยเลือกสรรจากบทรอยกรองในบทเรยีนของแตละระดับที่ถือวาไพเราะ ใหคติ ขอคิดในการเลาเรียนหรือดําเนนิชีวิตประจําวนั บทอาขยานอาจเปนบททีน่ักเรียนเลือกทองจาํโดยอิสระโดยความเห็นชอบของครูหรือของคณะกรรมการผูเกี่ยวของก็ได ซึ่งเปนบทที่มีความยาก - งาย ส้ัน - ยาวตามความเหมาะสมของนักเรยีนแตละวยั กระทรวงศึกษาธิการ (2542 : คํานํา) ไดกลาวถึงความเปนมาของการทองบทอาขยานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาวา การทองอาขยานในระยะแรก (พ.ศ.2477 - 2478) เปนการทองจาํบทรอยกรองที่ถือวาไพเราะซึ่งตัดตอนมาจากหนังสือวรรณคดี โดยนํามาใหนักเรียนทองประมาณ 3 - 4 หนา และมีการทองบทอาขยานติดตอกันเรื่อยมา การทองบทอาขยานจะใชเวลากอนเลิกเรียนตอนเย็นเล็กนอย และใหนักเรียนทองพรอม ๆ กนัทั้งหอง แตเมือ่มีการประกาศใชหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน พทุธศักราช 2521 และหลกัสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 จนถึงหลักสตูรฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2533 ในหลักสูตรทุกหลักสูตรทีก่ลาวมานั้น ไมไดระบุใหชัดเจนเกีย่วกับการใหทองบทอาขยาน จงึเปนสาเหตุใหการทองบทอาขยานเริม่จางหายไปจากสถานศึกษาบางแหง จนถึงป พ.ศ. 2538 ไดมีการกําหนดใหทองบทอาขยานในระดับมธัยมศึกษาตอนปลาย แตก็ยงัไมแพรหลายเทาที่ควร กระทรวงศกึษาธกิารจงึมนีโยบายกําหนดใหมีการทองบทอาขยานอยางจริงจังในสถานศึกษาตั้งแตวันที ่ 17 มถิุนายน พ.ศ. 2542 เปนตนมา บทอาขยานภาษาไทยเปนหนังสืออานเพิ่มเติมที่กระทรวงศึกษาธิการไดพิจารณาประกาศใหใชในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทัว่ประเทศ เมื่อวนัที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งเหน็ชอบใหนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทองบทอาขยานภาษาไทย โดยคณะกรรมการคดัเลือกบทอาขยานภาษาไทยสําหรับนักเรียนในสมัยทีน่ายสมศักดิ์ ปริศนานนัทกุล เปนรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 ที่ให

2 ทองถิน่เขามามีสวนรวมในการจัดการศึกษาดวย จึงแบงบทอาขยานทีก่ําหนดใหทองจําออกเปน 3 ประเภท

คือบทอาขยานบทหลัก บทอาขยานบทรอง และบทอาขยานบทเลือกอิสระ บทอาขยานบทหลกั หมายถงึ บทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการเปนผูกําหนดใหนักเรียนทองจาํ เพื่อความเปนอันหนึ่งอนัเดียวกันทัว่ประเทศ โดยใหทองจําทกุชั้น ทกุภาคเรียน บทอาขยานบทรอง หมายถึง บทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนดมาใหครูผูสอนหรือสถานศึกษาเปนผูคัดเลือกใหนักเรียนทองจําเสริมจากบทอาขยานบทหลักที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด และเปนบทรอยกรองที่มีลักษณะตรงตามเกณฑการคัดเลือกบทอาขยาน หรือเปนบทรอยกรองทีแ่สดงถงึภูมิปญญาทองถิ่น เชน เพลงพื้นบาน เพลงกลอมเด็ก คาวซอ ผญา เพลงรองเรือ และบทกวีรวมสมัยที่มีคุณคา เปนตน โดยกําหนดใหทองจําภาคเรียนละ 1 บทเปนอยางนอย บทอาขยานบทเลือกอิสระ หมายถึง บทอาขยานที่นักเรียนแตละคนชื่นชอบ เลือกสรรมาทองเองดวยความสมัครใจ โดยความเห็นชอบของครูผูสอนหรือสถานศึกษา อาจเปนบทรอยกรองที่มีผูแตงขึ้นหรือผูปกครองเปนผูแตงขึ้นก็ได และสามารถบอกเหตุผลที่เลือกบทรอยกรองนั้น ๆ มาทองจําเปนบทอาขยานของตนเอง ในการทองบทอาขยาน ครูมักจะกําหนดใหนักเรียนทองอยูเสมอ ทองใหจําจนขึ้นใจ เพราะบทอาขยานมีสวนสําคัญอยางยิ่งที่จะชวยหลอหลอมกลอมเกลาใหเด็กเปนคนดี เนื่องจากบทอาขยานเปนสื่อสําคัญอยางหนึ่งในการถายทอดปลูกฝงจริยธรรม คติธรรม ความรูความคิดที่เปนประโยชนแกนักเรียนในการดํารงชีวิตที่ดีงามเพื่อใหอยูในสังคมไดอยางมีความสุข การทองบทอาขยานจึงไมใชเปนการทองแบบนกแกวนกขุนทอง แตเปนการทองเพื่อใหเกิดการจํา การรับรู เกิดทักษะทางภาษาไทยอยางแมนยําและยั่งยืน ซึ่งสอดคลองกับจิตวิทยาการสอน ดังที่มาลินี จุฑะรพ (2537 : 149 - 150) กลาวไววา ความจํา (Cognitive Domain) เปนกระบวนการที่สมองสามารถเก็บสะสมสิ่งที่รับรูไวและสามารถนําออกมาใชเมื่อถึงภาวะจําเปน วิธีการจําไดมี 2 วิธี คือการเห็นบอย ๆ (Over Learning) และการทบทวนเปนระยะ ๆ (Periodic Review) และปรียาพร วงศอนุตรโรจน (2534 : 55) ก็กลาวไวทํานองเดียวกันวา การฝกหัด การกระทําซ้ําบอย ๆ จะเกิดการเรียนรูที่คงทน คือตองใช ตองกระทําบอย ๆ จึงจะเกิดการเรียนรูได นอกจากนี้ วีณา วีสเพ็ญ (ม.ป.ป. : 55) ยังไดกลาวถึงความจําของเด็กวา เด็กโดยมากมีความจําดี แตเมื่อถึงวัยรุนความจําจะลดลง ตองอาศัยการทองจํา การทองบน และการกระทําซ้ําจึงจะจําไดดีข้ึน ดังนั้น การทองบทอาขยานจึงเปนการตอกย้ําจริยธรรม คติธรรม และขอคิดที่เปนประโยชนใหแกนักเรียนที่แมนยําและยั่งยืน นอกจากนี้การทองบทอาขยานยังเปนการเสริมสรางใหเด็กเกิดความซาบซึ้ง เหน็ความงดงามของภาษา เห็นคุณคาของภาษาและวรรณคดีไทยที่เปนเอกลักษณ เปนสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรคาแกการรักษาและสืบสานใหคงอยูตลอดไป อีกทั้งการทองบทอาขยานภาษาไทยนี้เปนการฝก

3 วิธีหนึ่งที่ใหเด็กจดจํารูปแบบทางฉันทลักษณที่มีบทประพันธหลายรูปแบบ เชน กลอนสี่ กลอนหก

กลอนสุภาพ กาพยยานี กาพยฉบัง กาพยสุรางคนางค และโคลงสี่สุภาพ เปนตน ความสําคัญของการทองบทอาขยานดังกลาวมานี้สอดคลองกับพระราชนิพนธของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (2541 : 97 - 100) ที่ทรงประทานความเห็นเกี่ยวกับบทอาขยานหรือบททองจําดังที่อัญเชิญมาไววา

ทองจํานี้ดี สมัยนี้มีการพูดกันไววาไมควรใหเด็กทองจําเปนนกแกวนกขุนทอง บางครั้งก็ทําตาม ความคิดนี้มากเกินไปเด็กก็จะไมทองอะไรเลย ไมมีขอมูล การทองจํานั้นขาพเจาเห็นวาเปนส่ิงสําคัญ นักการศึกษาหลายทานพยายามใหยกเลิกการทองจํา โดยกลาววาเปนการปดกั้นความคิดริเริ่มสรางสรรค แตขาพเจาเกิดความสงสัยวาถาไมมีขอมูลจะเอาอะไรเปนพื้นฐานความคิด ซึ่งการทองจําบทกวทีําใหได ศัพทมาแตงของตนเอง บางอยางคิดติดอยูในสมองแลวก็ทําใหไดคิดลึกซึ้งขึ้นเพราะไมตองการขอมูลอีก นอกจากนี้ยังเปนการฝกความจํา ฝกสมาธิไมใหฟุงซาน

จากความสาํคญัของบทอาขยานภาษาไทยดังกลาวขางตนผูวจิัยจงึสนใจและประสงคจะศึกษาวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธนีาํเสนอจริยธรรมในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา โดยคาดวาจะมีประโยชนตอนักเรียน ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการศึกษาตอไป

จุดมุงหมายของการศึกษาคนควา

เพื่อใหเห็นลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ความสําคัญของการศึกษาคนควา

การศึกษาครั้งนี้ จะทําใหเห็นลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีการนําเสนอจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ซึ่งจะเปนประโยชนแกนักเรียน ผูปกครอง ครู และผูที่เกี่ยวของที่จะนําไปใชเปนสื่อ หรือเปนเครื่องชี้นําแนวทางในการถายทอดและปลูกฝงจริยธรรมที่จะเปนประโยชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตใหเด็กและเยาวชนดําเนินชีวิตที่ดีงาม อยูในสังคมไดอยางมีความสุข ตลอดจนนําไปใชเปนเกณฑในการเลือกสรรบทอาขยาน และการแตงบทรอยกรองตาง ๆ ไดอยางเหมาะสม

4 ขอบเขตของการศึกษาคนควา

การศึกษาคนควาครั้งนี้ ผูวิจัยไดวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีการนําเสนอที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ต้ังแตชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึงประถมศึกษาปที่ 6) จํานวน 25 บท ซึ่งเปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 15 บท และบทอาขยานบทรองที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนดมาใหจํานวน 10 บท คือ

บทอาขยานบทหลกัจํานวน 15 บท มีดังนี ้1. แมวเหมียวแยกเขี้ยวยงิฟน เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 2. รักเมืองไทย เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 3. ไกแจ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 4. รักษาปา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 5. เด็กนอย เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 3 6. วิชาหนาเจา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 3 7. ปากเปนเอก เลขเปนโท

หนงัสือเปนตรี ชั่วดีเปนตรา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 8. พฤษภกาสร เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 9. สยามานุสสติ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 10. ตนเปนทีพ่ึ่งแหงตน เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 11. วิชาเหมือนสนิคา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 12. ผูรูดีเปนผูเจริญ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 13. ผูชนะ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 14. เปนมนษุยหรือเปนคน เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 15. โคลงโลกนิติ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6

บทอาขยานบทรองจํานวน 10 บท มีดังนี ้

1. ฝนตกแดดออก เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 2. มาล ี เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 3. ไทยรวมกาํลังตั้งมั่น (พระรวง) เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 3 4. กาเหวา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 5. เพลงชาต ิ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4

5 6. ปากใดเกนิบมคีวามฮู เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5

7. อนึ่งเวลากิน เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 8. เจาดวงมาลา เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 9. เพลงยาวเจาอศิรญาณ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 10. อยานัง่ใกลถงุเงินคาํ เปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6

ขอตกลงเบื้องตน

การวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยวิเคราะหจริยธรรมในบทอาขยานภาษาไทยที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนดมาให โดยใชหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) คํานิยามศัพทเฉพาะ

กลวิธนีําเสนอ หมายถึง ลักษณะวิธกีารถายทอดเรื่องราวความคิดของผูแตงไปยังผูอาน จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมที่ดีงามซึ่งเกิดการเรียนรู ที่แสดงออกทั้งตอตนเอง ตอผูอ่ืน

และตอสังคม วิธีดําเนินการศึกษาคนควา

การวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ ใชวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีข้ันตอนดังนี้

1. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ ผูวิจัยไดศึกษาทั้งเอกสารที่ใหความรูพื้นฐาน

และเอกสารที่เปนหลักในการวิจัยเพื่อเปนแนวทางในการวิจัย 2. การรวบรวมขอมูล

การศึกษาคนควาครั้งนี้ ผูวิจัยใชบทอาขยานภาษาไทยจํานวน 25 บท คือ บทอาขยาน บทหลกัจาํนวน 15 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 10 บท

3. การวิเคราะหขอมูล 3.1 การวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม -

ศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยวเิคราะหโดยอาศัยหลกัเกณฑจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนสัิย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

6

3.2 การวิเคราะหกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ผูวิจัยวิเคราะหโดยอาศัยเกณฑการนําเสนอแบบตรงไปตรงมาและนําเสนอแบบใหผูอานตีความ ของสายทิพย นุกูลกิจ (2534 : 107)

4. การเสนอผลการศึกษาคนควา การเสนอผลการศึกษาคนควาครั้งนี้ใชวิธพีรรณนาวเิคราะห

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการศึกษาคนควา

การวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยไดจําแนกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของออกเปน 2 ประเภท คือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับจริยธรรม กับเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับกลวิธีนําเสนอ 2.1 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับจริยธรรม

2.1.1 เอกสารที่เกี่ยวของกับจริยธรรม จริยธรรม (Morality) เปนคําที่มีความหมายกวางขวางและมีการกลาวถึงไวมาก ในทีน่ี้จะกลาวเฉพาะที่เห็นวาสาํคัญ ดังนี ้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 291) ใหความหมายของจริยธรรมวา จริยธรรม คือธรรมที่เปนขอประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศลีธรรม พุทธทาสภิกขุ (2521 : 3) ใหความหมายของคําจริยธรรมตรงกับคําวา Ethics ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงความประพฤติที่เปนไปตามกฎเกณฑของธรรมชาติ

ประภาศรี สีหอําไพ (2535 : 24 - 28) ไดกลาวถึงจริยธรรมวา เปนคาํที่ตรงกับคําวา Ethos ในภาษากรกี แปลวาลักษณะนิสัยที่สามารถตัดสนิคุณคาไดตามความหมายของความด ีความงาม ความสุข และจริยธรรมหมายถึงความประพฤติตามคานยิมทีพ่ึงประสงคโดยใชจริยศาสตรศึกษาพฤติกรรมดานคุณคา ซึง่สามารถแยกแยะไดวาสิ่งใดดีควรกระทํา และสิ่งใดชั่วควรละเวน ทาํใหตัดสินคุณคาของการปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีงามตามความดีระดับตาง ๆ ได ภิญโญ สาธร (2522 : 53) กนก จนัทรขจร (2525 : 8) และเสฐียรพงษ วรรณปก (2537 : 15) ไดใหความหมายของคําวา จริยธรรม ไวคลายกัน คือคุณความดีที่ควรประพฤติ ความประพฤติที่ถูกตองตามลักษณะของพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ มีบุคลิกลักษณะอปุนิสัยพฤติกรรมดี มีศีลธรรมตามความตองการและความจาํเปนของประเทศชาติ

ดวงเดือน พนัธุมนาวนิ และเพ็ญแข ประจนปจจานึก (2520 : 6) ไดกลาววา จริยธรรมมีความหมายกวางครอบคลุมถงึระเบยีบสงัคม กฎศีลธรรมตามศาสนา และคานยิมของคนในกลุมสังคมเดียวกนั และคําวาจริยธรรมยังอธิบายถงึการอยูรวมกนัของมนษุยในสังคม โดยมีส่ิงที่เกี่ยวของ 3 ประการ คือ ตัวเราเอง ผูอ่ืน และความสัมพนัธระหวางตนเองและผูอ่ืน

8

สาโรช บัวศรี (2526 : 18 - 20) ไดใหความหมายของจริยธรรมไว 2 ลักษณะ คือ จริยธรรมในความหมายแคบ หมายถึง คุณธรรมและศีลธรรม จริยธรรมในความหมายกวาง หมายถงึ คุณธรรม ศีลธรรม และรวมเอาคานิยมทีจ่ําเปนอืน่ ๆ ไวอีกดวย ซึ่งอาจจะอยูในระดับที่ลดหล่ันไปจากระดับของคุณธรรมและศีลธรรม คานิยมที่จําเปนดังกลาวนี้ ไดแก ขนบธรรมเนยีมประเพณี กฎหมาย อุดมการณ วนิัย มารยาท เปนตน หรืออาจกลาวไดวา จริยธรรมคือคานิยมในระดับตาง ๆ ซึ่งสงัคมและบุคคลจะตองยึดมัน่ถือมัน่ และจรยิธรรมนีย้อมจะนาํสนัติสุขมาใหแกบุคคลและสงัคมไดตามควรแกกรณ ี จากความหมายของจริยธรรมที่กลาวมานี้จะเห็นไดวา จริยธรรมเปนคําที่มีความหมายกวางขวางมาก แตพอจะสรุปอยางสัน้ ๆ ไดวา จริยธรรม คือพฤติกรรมที่ดีงาม เปนทีย่อมรับตามคานิยมของสังคม และจริยธรรมนี้เปนคุณลักษณะของพลเมืองที่มีคุณภาพตามความตองการและความจาํเปนของประเทศชาติ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (2523 :1-2) ไดกลาวถงึคุณลักษณะของพลเมืองที่ประเทศชาติตองการวาควรมีคุณลักษณะ 10 ประการ คือ

1. มีระเบียบวนิัย 2. มีความซื่อสัตย สุจริต และยติุธรรม 3. ขยัน ประหยัด และยึดมัน่ในสัมมาชพี 4. สํานึกในหนาที่และความรับผิดชอบตอสังคมและประเทศชาต ิ5. รูจักริเร่ิม วิจารณ และตัดสินใจอยางมีเหตุผล 6. กระตือรือรนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย รักและเทิดทนูชาติ ศาสนา พระมหากษตัริย 7. มีพลานามัยสมบูรณทั้งรางกายและจิตใจ 8. รูจักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ 9. มีความภาคภมูใิจ รูจักทํานบํุารุงศิลปวัฒนธรรม และรักษาทรัพยของชาต ิ

10. มีความเสียสละ เมตตาอารี กตัญกูตเวท ีกลาหาญ และสามคัคี สวนในรายงานการประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที ่22–27 มกราคม 2523 ณ จงัหวัดอุบลราชธาน ี(2532 : 22) ไดกําหนดคุณลักษณะของจริยธรรมที่พึงประสงคไว 11 ประการ ดังนี้

1. ความรับผิดชอบ หมายถงึความมุงมัน่ตั้งใจที่จะทาํการปฏิบัติหนาที่ดวยความผูกพันดวย ความพากเพียรและความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทาํในการปฏิบัติหนาที่เพื่อใหบรรลุ ผลสําเร็จตามความมุงหมาย ทัง้พยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหนาที่ไดดีข้ึน

2. ความซื่อสัตย หมายถงึการประพฤติการปฏิบัติอยางเหมาะสม การตรงตอความเปนจริง ประพฤติอยางตรงไปตรงมาทัง้กาย วาจา ใจ ตอตนเองและผูอ่ืน

9

3. ความมีเหตุผล หมายถึงความสามารถใชปญญาในการประพฤติปฏิบัติ การรูจักไตรตรอง พิสูจนใหประจักษไมหลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจโดยไมผูกอารมณและความยึดมั่นของตนเองที่มีอยูเดิมซึ่งอาจผิดได

4. ความกตัญกูตเวท ีหมายถึงการรูบุญคุณตอบแทนคุณตอผูอ่ืน 5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถงึการควบคุมความประพฤติใหถูกตองเหมาะสมกับจรรยา

มารยาท ขอบังคับ ขอตกลง กฎหมาย และศีลธรรม 6. ความเสียสละ หมายถึงการละความเห็นแกตัว การแบงปนแกคนที่ควรใหดวยกําลังกาย

ดวยกําลงัทรัพย ดวยกําลงัสติปญญา รวมทั้งการรูจักสลดัทิ้งอารมณรายในตนเองดวย 7. ความสามัคคี หมายถึงความพรอมเพรียงเปนน้าํหนึ่งใจเดียวกันรวมมือกันกระทาํกจิการ

ใหสําเร็จลุลวงดวยดี โดยเหน็แกประโยชนสวนรวมมากกวาสวนตวั 8. การประหยัด หมายถงึการใชส่ิงทัง้หลายพอเหมาะพอควรใหไดประโยชนมากที่สุดไมยอม

ใหมีสวนเกินมากนัก รวมทั้งรูจักระมัดระวังรูจักยับยั้งความตองการใหอยูในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะพอควร

9. ความยุติธรรม หมายถงึการปฏิบัติดวยความเที่ยงตรงสอดคลองกับความเปนจริงและเหตุผล ไมมีความลาํเอียง

10. ความอุตสาหะ หมายถึงความพยายามเพือ่ใหเกิดความสําเร็จในการทาํงาน 11. ความเมตตากรุณา

- เมตตา หมายถึง ความรักใคร ปรารถนาจะใหผูอ่ืนเปนสุข - กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะชวยใหผูอ่ืนพนทกุข

นอกจากนี้ ในป พ.ศ. 2533 กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดหัวขอจริยธรรมไวในวิชาจริยศึกษา ซึ่งเปนวิชาหนึง่ในกลุมเสริมสรางลักษณะนิสัย หลักสตูรประถมศกึษา พุทธศกัราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ไว 13 ประการ ดังนี ้

1. ความใฝรู 2. ความขยนั 3. ความอดทน 4. ความประหยัด 5. ความซื่อสัตยสุจริต 6. ความมีระเบียบวนิัย 7. ความรับผิดชอบ 8. ความสามคัคี

10

9. ความเสยีสละ 10. ความเมตตากรุณา 11. ความกตัญูกตเวท ี

12. ความยุติธรรม 13. ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณ ี

จากที่กลาวมาจะเห็นไดวาโครงสรางของคุณลักษณะทางจริยธรรมทีพ่งึประสงคมีหลากหลาย แตก็คลาย ๆ กนั เพือ่ความเหมาะสมกับการวิจัยครั้งนี้ ซึง่เปนการวจิัยลักษณะทางจรยิธรรมและกลวิธนีําเสนอ ในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ผูวิจัยจึงใชเกณฑจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมเสริมสรางลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ดังกลาวนัน้เปนกรอบในการวิเคราะห 2.1.2 งานวจิัยที่เกีย่วของกับจรยิธรรม

งานวิจัยที่เกี่ยวของกับจริยธรรมที่ผูวิจัยเห็นวาเกี่ยวของสําคัญกับการวิจัยครั้งนี้ มีดังตอไปนี้ ประทิน อภิณหสมิต (2535 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “การวิเคราะหเนื้อหาดานจริยธรรมในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)” โดยไดวิเคราะหเนื้อหาจริยธรรมจากคูมือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน หนังสือเรียน คูมือครูจํานวน 31 เลม พบวามีคุณลักษณะทางจริยธรรมที่ปรากฏรวมกันคือความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความใฝรู การรูรักสามัคคี ความเปนผูมีวัฒนธรรม และความมัธยัสถ สวนคุณลักษณะทางจริยธรรมที่ไมปรากฏในเอกสารหลักสูตร คูมือหลักสูตร และคูมือครู คือความกตัญูกตเวที ความยุติธรรม ความมีสัมมาคารวะ การสงเสริมคนใหทําความดี และความกลาหาญทางจริยธรรม

รัชนี ศิริชัย (2536 : บทคัดยอ) ไดศึกษา “จริยธรรมที่เด็กไดรับจากหนังสือแบบเรียนภาษาไทย และหนังสือการตูน กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษาปที่ 6 โรงเรียนสมฤดีสมุทรสาคร” โดยการวิเคราะหลักษณะและวิธีถายทอดความหมายจริยธรรมที่ปรากฏในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยและหนังสือการตูนพบวา วิธีถายทอดความหมายจริยธรรมที่ปรากฏในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยมากที่สุด คือการถายทอดในบทบรรยาย สวนหนังสือการตูนใชรูปภาพและคําบรรยายมากสุด ซึ่งภาพและคําบรรยายสามารถแยกแยะบุคลิกภาพที่เสริมจริยธรรมไดเดนชัดมากขึ้น หนังสือแบบเรียนภาษาไทยปรากฏจริยธรรม 2 ประเภท คือจริยธรรมที่ควรสงเสริม ไดแก ความกตัญู การคบมิตร ความรักเพื่อน ความประหยัด ความขยันหมั่นเพียร และความมีสติปญญา สวนพฤติกรรมที่ตรงขามกับจริยธรรมที่ควรสงเสริมคือความอกตัญู สวนหนังสือการตูนปรากฏจริยธรรม 2 ประเภทเชนกัน คือจริยธรรมที่ควรสงเสริม ไดแก ความกตัญู ความรักเพื่อน ความกลาหาญ ความมีน้ําใจตอกัน ความขยันหมั่นเพียร

11

ความรับผิดชอบ และความมีสติปญญา สวนพฤติกรรมที่ตรงขามกับจริยธรรมที่ควรสงเสริม ไดแก การประทุษรายตอรางกายและชีวิต การหลงอํานาจ และลามกอนาจาร

รุงฤดี ภูชมศรี (2542 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “วิเคราะหบทอานในหนังสือเรียนภาษาไทยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2523) ในฐานะวรรณกรรมเด็ก” พบวาใหคุณคาและสาระมากมาย ไดแก ดานจริยธรรม การศึกษา การบํารุงศิลปวัฒนธรรม การรักษาสิ่งแวดลอม และการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อใหเด็กมีนิสัยที ่พึงประสงค มีเจตคติที่ดี ทั้งยังชวยเสริมสรางประสบการณชีวิตใหเด็กเปนคนดีในสังคม โดยเฉพาะสังคมทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก และมส่ิีงเราที่จะทําใหเด็กขาดจริยธรรม

อัจฉริยา แยมยิ้ม (2543 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “การศึกษาผลการสอนโดยใชแบบเรียน เลมเล็กเชิงวรรณกรรมที่มีตอการใชเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศกึษาปที ่5” ผลการศึกษาพบวา

1. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชแบบเรียนเลมเล็กเชงิวรรณกรรมมีการใชเหตุผลเชงิจริยธรรม หลังการทดลองสูงเพิ่มข้ึนกวากอนการทดลองอยางมนีัยสําคัญทางสถติิที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่ไดรับการสอนโดยใชแบบเรียนเลมเล็กเชงิวรรณกรรมกับนักเรียนที่ไดรับการสอน โดยไดใชส่ือตามแนวการสอนของกรมวิชาการ จะมีการใชเหตุผลเชิงจริยธรรมที่แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ชัยณรงค ศรีสุข (2545 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม และคานิยมที่พึงประสงคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ในสังกัดสํานักงานการประถมศึกษา อําเภอทาบอ จังหวัดหนองคาย” โดยเปรียบเทียบคุณธรรม จริยธรรม คานิยมที่พึงประสงคตามการรับรูของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปที่ 6 จํานวน 285 คนในสังกัดสํานักงานการประถมศึกษา อําเภอทาบอ จังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาพบวา

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 โดยรวมนักเรียนหญงิมีคุณธรรม จริยธรรม และคานิยมที ่พึงประสงคเปนรายดาน 5 ดาน อยูในระดับมาก ยกเวนนักเรียนหญิงโดยรวมมีความซื่อสัตยสุจริตอยูในระดับปานกลาง สวนนกัเรียนชายมีคุณธรรม จริยธรรม คานยิมทีพ่ึงประสงคโดยรวมและเปนรายดานอยูในระดับปานกลาง

2. นกัเรียนหญงิมีคาเฉลีย่คุณธรรม จริยธรรม และคานยิมทีพ่ึงประสงค โดยรวมเปนรายดาน ทั้ง 5 ดาน มากกวานกัเรียนชาย มีนยัสําคญัทางสถิติที่ระดับ .01

วิจิตรา สุภากร (2523 : 75 - 83) ไดศึกษาเรื่อง ”วิเคราะหหนังสืออานสําหรับเด็กในดานคุณธรรมเฉพาะที่พิมพเปนภาษาไทยระหวางป พ.ศ. 2520 – 2522” จํานวน 103 เร่ืองแบงเปน 3 ประเภทคือ นิทานชาวบาน 38 เลม วรรณกรรมปจจุบัน 40 เลม วรรณกรรมประเภทรอยกรอง 25 เลม ผล

12

การศึกษาพบวา คุณธรรมดานมารยาทและนิสัยสวนบุคคล ความเมตตากรุณา และหลักธรรมในการอยูรวมกันเปนคุณธรรมที่ปรากฏในหนังสือสามประเภทมากที่สุด คุณธรรมที่ปรากฏนอยที่สุดในหนงัสอืสามประเภทคือ คุณธรรมดานความละอายและความเกรงกลัวตอการกระทําชั่วคุณธรรมในดานความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย

ระพีพร นาสมหมาย (2543 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “วิเคราะหคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏในหนังสอืเรียนภาษาไทยชุดทักษะสมัพนัธ ระดับชั้นมัธยมศกึษาตอนตนของกรมวิชาการ กระทรวงศกึษาธกิาร” ผลการศกึษาพบวา คุณธรรม จริยธรรมทีพ่บมากสุดคือ ความคิด พิจารณาไตรตรอง สวนคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏนอยสดุคือ ความสงบเสงี่ยม

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับกลวิธีนําเสนอ 2.2.1 เอกสารทีเ่กี่ยวของกับกลวิธีนาํเสนอ เนื่องจากกลวิธีนําเสนอยังไมมีผูใดใหคําจํากัดความที่ชัดเจนนัก โดยทั่วไปกลวิธีนําเสนอจะอยูในขอบเขตของกลวิธีในการประพันธ ซึ่งเอกสารที่เกี่ยวของที่กลาวถึงในที่นี้ มีดังนี้

สายทิพย นุกูลกิจ (2534 : 108) ไดกลาววา กลวิธีนําเสนอในการประพันธรอยกรองที่ผูแตงนํามาใช เพื่อชวยใหงานมีคุณคานาสนใจหรือชวนใหผูอานอยากติดตามอาน มีดังนี้

1. เสนอแบบตรงไปตรงมา ทําใหผูอานจบัความไดงาย 2. เสนอแบบใหผูอานตีความจากสัญลักษณ หรือความเปรียบ 3. เสนอดวยวธิีซ้ําคําหรือซ้ําความ เพื่อดึงดดูความสนใจของผูอาน เพื่อเราความคิดหรอืเร่ืองราวใหดูโดดเดนเปนเอกภาพ

4. เสนอดวยวิธีการใชภาพพจนเหนือจริง เพื่อสรางความแปลกใหมและดึงดูดความสนใจของผูอาน

5. เสนอดวยวิธีการแสดงใหเห็นอาการเคลื่อนไหวทางกายและทางอารมณ คือความรูสึก ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของตัวละคร เพราะธรรมชาติของมนุษยนั้นยอมมีอารมณปรวนแปรเปลี่ยนไปตามความนึกคิดและสภาวะแวดลอม

สุวนีย มกราพันธ (2525 : 162) กลาวถงึกลวิธีการนาํเสนอ ดังนี ้ 1. แสดงความหมายตรงไปตรงมา สามารถแบงได 2 ประเภท คือ

1.1 เกี่ยวกับอารมณสวนตัว เชนความรัก ธรรมชาติ คน ฯลฯ 1.2 เกี่ยวกับปญหาจากภายนอก เชน การถูกบีบค้ันจิตใจ การสรางความหดหู ฯลฯ

2. การใชสัญลักษณ 3. เนื้อหาเราใหคิด

13

4. เนนความคิดแบบสัจนิยม คือยึดความสมจริง อาจเปนการสื่อปญหาหรือความเปนไป ของสิ่งแวดลอม หรือความเปนไปของโลกในชวงระยะเวลาใดเวลาหนึง่

พรสุข บุญสุภา และรมณ ีเพชรคุปต. (2518 : 25 - 27) กลาววา กลวธิีการแตงของกวีจะตองพิจารณาประเด็นตอไปนี้เปนพืน้ฐานสําคญั

1. Diction หมายถึงการเลือกใชคําและวิธีการใหความหมายตอคําศัพทเหลานั้น มี 2 ประการคือ

1.1 Denotation หมายถงึการใชคําตามความหมายโดยตรงในพจนานุกรม 1.2 Connotation หมายถึงการใสความหมายพเิศษในคําศัพทนั้น นอกเหนือจากความหมาย

ในพจนานุกรม 2. Imagery หมายถึงภาพพจนที่ทําใหผูอานสรางขึ้นขณะอานคําบรรยายของนักเขียน

นักเขียนแตละคนมีวิธีสรางภาพพจนตางกันไป แบงไดดังนี้ 2.1 Literal Images คือวิธีการที่นักเขียนบรรยายเพื่อใหผูอานสามารถสรางภาพพจน

ไดตามความหมายในคําบรรยายโดยตรงดวยวิธีการเลือกคําศัพทที่จะกอใหเกิดความรูสึกดานประสาทสัมผัสทั้งหาคือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส

2.2 Figurative Images คือการใชคําบรรยายเปรยีบเทยีบในเชงิอุปมาอุปไมย เพื่อใหผูอาน เกิดภาพพจน ผูอานอาจไมเขาใจภาพพจนไดทันที ตองแปลความหมายตามศัพทโดยตรงแลวไปเชื่อมโยงกับส่ิงอื่น ๆ ผูอานจึงเกิดความเขาใจ วิธีสรางภาพพจนมีหลายแบบ เชน Simile Metaphorหรือ Symbol 2.2.2 งานวิจยัที่เกี่ยวของกบักลวธิีนําเสนอ งานวิจัยที่เกี่ยวของกับการศึกษากลวิธีนําเสนอมีอยูมาก เฉพาะที่เห็นวาเกี่ยวของสําคัญมีดังตอไปนี้

ประเมิน เชียงเถียร (2522 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “วิเคราะหวรรณกรรมรอยกรองของเนาวรัตน พงษไพบูลย” พบวาการสรางสรรควรรณกรรมของเนาวรัตน พงษไพบูลยมีพื้นฐานมาจากสิ่งตาง ๆ คือประสบการณและการศึกษาธรรมะ ทําใหบทรอยกรองของเนาวรัตน พงษไพบูลยมีความไพเราะงดงามทางดานรูปแบบฉันทลักษณ เนาวรัตน พงษไพบูลยไดแตงคําประพันธดําเนินตามรูปแบบฉันทลักษณของกวีโบราณอยางเครงครัด สวนดานทวงทํานองการแตงเนาวรัตน พงษไพบูลยมีการเลือกใชคําไดอยางไพเราะและมีการใชคําเลียนเสียงธรรมชาติ การพรรณนาประกอบดวยโวหารอุปมาอุปไมยและการใชสัญลักษณ

14

สุขกมล รัตนสุภา (2536 : บทคัดยอ) ไดศึกษาเรื่อง “การศึกษาบทรอยกรองของศิวกานท ปทุมสูติ” พบวาบทรอยกรองของศิวกานท ปทุมสูติไดนํารูปแบบการประพันธที่มีมาแตโบราณมาใชในการแตงรอยกรองโดยใชทั้งรูปแบบของโคลง ฉันท กาพย กลอน ราย และเพลงพื้นบาน อีกทั้งศิวกานท ปทุมสูติไดสรางสรรคบทรอยกรองรูปแบบใหมโดยประยุกตจากรูปแบบฉันทลักษณเดิม สวนดานกลวิธีการประพันธศิวกานท ปทุมสูติเลือกใชคําและโวหารที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่เดนทั้งดานเสียง ดานความหมาย และกลวิธีการนําเสนอ ซึ่งสวนมากเปนการนําเสนอแนวคิดแบบเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ รองลงมาเปนการนําเสนอแบบตรงไปตรงมา และการนําเสนอแนวคิดแบบสรางสถานการณ ซึ่งจะเปนแนวคิดเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง การปกครอง และการแสดงความคิดเห็นสวนใหญเปนเรื่องเกี่ยวกับปญหาดานตาง ๆ โดยไดแนะนําหนทางในการแกปญหาเพื่อความสุขสงบของสังคมไวดวย

วีณา ตางใจ (2546 : 74 - 93) ไดศึกษาเรือ่ง “วิเคราะหบทรอยกรองทีไ่ดรับรางวลั ‘การประชนักลอนสดประเภทประชาชน’ ของมหาวทิยาลัยธุรกิจบัณฑติย ระหวางป พ.ศ. 2535 – 2544” ผลการศึกษาพบวา ดานกลวิธีนาํเสนอมี 2 รูปแบบ คือ 1. การนาํเสนอแบบตรงไปตรงมา แบงไดเปน 5 ประเภท ดังนี ้

1.1 การกลาวเชงิพรรณนา 1.2 การกลาวเชงิสั่งสอน 1.3 การกลาวเชงิประชดประชัน 1.4 การกลาวเชงิเชิญชวน 1.5 การกลาวเชงิตําหน ิ

2. การนําเสนอแบบใหผูอานตีความ แบงไดเปน 2 ประเภท ดังนี ้ 2.1 การพรรณนาความโดยใชโวหารเปรียบเทียบ 2.2 การสรางสถานการณสมมุติ

ผลการศึกษาของ วีณา ตางใจยังพบดวยวาการนําเสนอแบบตรงไปตรงมามีปริมาณมากที่สุด รองลงมาเปนการนําเสนอแบบตีความโดยการใชโวหารภาพพจน เปรียบเทียบกับเนื้อเร่ืองที่นําเสนอ

กฤษฎา พุมเกิด และคณะ (2542 : 63 - 64) ไดศึกษาเรื่อง “การศึกษาวิเคราะหคุณธรรมที่ปรากฏในหนังสือสําหรับเด็ก.” ผลการศึกษาพบวา หนังสือเด็กมีคุณธรรม 29 ประการ ดานที่ปรากฏมากสุดคือคุณธรรมดานความเมตตากรุณาและดานความเอื้อเฟอเผื่อแผ สวนคณุธรรมที่ปรากฏนอยสดุคือดานมารยาทและนิสัยสวนบุคคล ในดานกลวิธีนาํเสนอคุณธรรมพบวา มีการเสนอคุณธรรมโดยผานการตั้งชื่อเร่ืองทั้งในทางตรงและทางออม ผานการเลาเรื่องโดยการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร

15

และผานการสรางบทสนทนา กลวิธีเหลานี้ผูเขียนมุงเสนอคุณธรรมแกเด็กโดยผานองคประกอบตาง ๆ เพื่อใหเด็กไดรับความสนุกสนานเพลิดเพลินและคุณธรรมตาง ๆ ไวดวย

ชูศักดิ์ ศุภรนันท. (2533). ไดศึกษาเรื่อง “การวิเคราะหบทรอยกรองเกี่ยวกบัการพฒันาเดก็และเยาวชน จากวารสารในชวงป พ.ศ. 2528 – 2530” ผลการศึกษาพบวา แนวคิดในการพฒันาเดก็ตามลาํดับสําคัญ คือ การใหความรักความอบอุน การใหความสําคัญ การเสนอปญหาความอดอยาก ยากจน การแกปญหา การจัดการศึกษา การเสนอปญหาการวางงาน และความตองการความรวมมือรวมใจจากบุคคลทกุฝาย ดานกลวธิีนาํเสนอแนวคิดพบวา สวนมากเปนการนาํเสนอแนวคิดแบบตรงไปตรงมา รองลงมาเปนการนาํเสนอแบบเปรียบเทียบ และการนาํเสนอแนวคิดแบบการสรางสถานการณมีนอย ในดานวรรณศิลปพบวา มีการสรรคําใชที่ดีพอสมควร มีความเหมาะสมกับเนื้อหา ซึ่งสวนมากใชคําที่มีความหมายตรง และตองการเสนอแนวคิดมากกวาความไพเราะ

เพ็ญพักตร สูงสุมาลย. (2544 : 153 - 155). ไดศึกษาเรือ่ง “วิเคราะหบทรอยกรองของไพวรนิทรขาวงาม” โดยวิเคราะหดานรปูแบบ กลวิธีในการนําเสนอ และทัศนะทีป่รากฏในวรรณกรรม ผลการศึกษาพบวา ไพวรนิทร ขาวงามใชรูปแบบฉนัทลกัษณมาตรฐานอยางเครงครัด บางเนือ้หาใชแบบเพลงพืน้บานหรือรูปแบบผสมผสานเพื่อความเหมาะสมกบัเนื้อหาที่ตองการนาํเสนอแนวคิดโดยการเลาใหผูอานรับทราบ ใชตัวละครสนทนากนัเพื่อแสดงทัศนะซึ่งปรากฏเปนทัศนะเกี่ยวกับสังคมและชีวิตเปนสวนใหญ โดยสะทอนภาพสังคมและยุคสมัยตามความเปนจริง

เบญจวรรณ สุขวัฒน (2545 : 175) ไดศึกษาเรื่อง “รอยกรองของแรคํา ประโดยคํา ; การศึกษาเชิงวิเคราะห” ผลการศกึษาพบวา งานรอยกรองของแรคํา ประโดยคํามกีารใชรูปแบบฉันทลกัษณโบราณฉันทลกัษณทีน่ํามาใชในบทรอยกรองมีความสัมพนัธกบัเนื้อเร่ืองของบทรอยกรอง ในดานทวงทํานองการแตงมีการใชคํา การใชโวหาร สัญลักษณ ซึ่งการใชถอยคาํเหมาะสมกับเนื้อหาของบทรอยกรอง สวนในดานความคิดและกลวิธนีําเสนอ แรคําใชการนําเสนอแบบตรงไปตรงมา การนาํเสนอโดยใชสัญลักษณหรือความเปรียบ การนําเสนอแบบซ้ําคําหรือซ้ําความ และการนาํเสนอดวยวธิีการแสดงอาการเคลื่อนไหวทางกายหรือทางอารมณ การนําเสนอชวยใหการดําเนินเรื่องในการถายทอดบทรอยกรองมีความนาสนใจและชวนใหติดตาม

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอดังกลาวขางตนชวยใหผูวิจัยมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอเปนอันมาก ซึ่งผูวิจัยไดใชเปนแนวทางในการวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้

16

บทที่ 3 วิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมในบทอาขยานภาษาไทย

ระดับประถมศึกษา

บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา เปนหนังสืออานเพิ่มเติมหนังสือเรียนภาษาไทยที่กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดใหนักเรียนทองจําในสถานศึกษาตั้งแตชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ซึ่งเนื้อหาไดสอดแทรกจริยธรรมอันจะเปนแนวทางในการปลูกฝงจริยธรรมใหแกนักเรียนในการปฏิบัติทั้งตอตนเอง ตอผูอ่ืน และตอสังคม

บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษามีจํานวนทั้งหมด 25 บท มใีนหนงัสอืเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 1 จํานวน 3 บท ชั้นประถมศึกษาปที ่2 จาํนวน 3 บท ชัน้ประถมศกึษาปที ่3 จาํนวน 3 บท ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 จํานวน 5 บท ชั้นประถมศึกษาปที่ 5 จํานวน 5 บท และชั้นประถมศึกษาปที่ 6 จํานวน 5 บท บทอาขยานภาษาไทยดังกลาวนี้ผูวิจัยไดนํามาวิเคราะหจริยธรรม ดังตอไปนี้ 3.1 บทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 1 บทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 1 มีจํานวน 3 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 2 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 1 บท ไดแก 1) แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟน 2) รักเมืองไทย 3) ฝนตกแดดออก บทอาขยานดังกลาวมีจริยธรรมสอดแทรกอยู ดังตอไปนี้

3.1.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟน” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียน ภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที ่1 เลม 1 หนา 112 วา

“แมวเอยแมวเหมียว รูปรางประเปรยีวเปนหนักหนา รองเรียกเหมียวเหมยีวเดีย๋วก็มา เคลาแขงเคลาขานาเอน็ด ูรูจักเอารักเขาตอต้ัง คํ่าค่ําซ้ํานั่งระวังหน ูควรนับวามนักตัญู พอดูอยางไวใสใจเอย”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความรักตอสัตวโดยยกตัวอยางแมว ซึ่งเปนสัตวเลี้ยงไวในบานที่มีพฤติกรรมนารักนาเอ็นดู ชางประจบประแจง และ

17

รักเจาของ ดังขอความที่วา เคลาแขงเคลาขานาเอ็นดู รูจักเอารักเขาตอต้ัง นอกจากนีแ้มวยงัทาํหนาที่คอยเฝาระวังไมใหหนูเขามารบกวนภายในบาน ดังขอความที่วา คํ่าคํ่าซํ้านั่งระวังหนู พฤติกรรมเชนนี้นับไดวามีความกตัญูกตเวทีตอผูมีพระคุณ คนเราจึงควรดูไวเปนแบบอยางและเห็นความสําคัญตอความกตัญูกตเวที

3.1.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “รักเมืองไทย” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 1 เลม 2 หนา 111 วา

“คนไทยนี้ดี เปนพี่เปนนอง เมืองไทยเมืองทอง เปนของคนไทย คนไทยเขมแขง็ รวมแรงรวมใจ รักชาติยิ่งใหญ ไทยสามัคค ี

ธงไทยไตรรงค เปนธงสามสี ทั้งสามสิ่งนี้ เปนที่บูชา สีแดงคือชาติ สีขาวศาสนา น้ําเงินงามตา พระมหากษัตริยไทย

เรารักเพื่อนบาน ไมรานรุกใคร เมื่อยามมีภัย รวมใจปองกัน เรารักทองถิ่น ทํากินแบงปน ถิ่นไทยเรานั้น ชวยกันดูแล”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความสามัคคี จากขอความที่วา ...รวมแรงรวมใจ รักชาติยิ่งใหญ ไทยสามัคคี ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และความเปนผูมีวฒันธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี

3.1.3 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ฝนตก แดดออก” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ประถมศึกษาปที่ 1

“ฝนตกแดดออก นกกระจอกแปลกใจ โผผินบนิไป ไมรูหนทาง ไปพบมะพราว นกหนาวครวญคราง พี่มะพราวใจกวาง ขอพักสักวนั

18

ฝนตกแดดออก นกกระจอกพกัผอน พอหายเหนื่อยออน บินจรผายผนั ขอบใจพี่มะพราว ถึงคราวชวยกนั

น้ําใจผูกพนั ไมลืมบุญคุณ”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความเอื้อเฟอเผื่อแผ ความเมตตากรณุา ดังขอความทีว่า พีม่ะพราวใจกวาง ขอพักสักวนั และยังสอนใหนกัเรยีนมีความกตญัูกตเวทีตอผูมีพระคุณ ดังขอความที่วา น้ําใจผูกพัน ไมลืมบุญคุณ

จากการวิเคราะหจริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ที่กลาวมาขางตนนี้ จะเห็นไดวาผูประพันธไดสอดแทรกจริยธรรมที่เกี่ยวของกับชีวิตประจําวันเปนสวนใหญ เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

19

ตาราง 1 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศกึษาปที่ 1

ขอที่ จริยธรรม ความถี ่ ลําดับ

1 ความใฝรู - - 2 ความขยนั - - 3 ความอดทน - - 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - 7 ความรับผิดชอบ - - 8 ความสามัคคี 1 2 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา 1 2 11 ความกตัญกูตเวท ี 2 1 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี- -

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏลําดับที่ 1 คือ ความกตัญูกตเวที มีความถี่ 2 ลําดับที่ 2

คือความสามคัคีและความกตัญูกตเวท ีมีความถี ่1 จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมปที่ 1 นอกจากจะมีจริยธรรมที่กําหนดไว

เปนกรอบในการศึกษาแลว ยงัพบวาไดมีจริยธรรมดานอื่น ๆ สอดแทรกไวดวยคือ ความรกั การเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และความเอื้อเฟอเผื่อแผ 3.2 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 2 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 2 มีจํานวน 3 บท เปนบทอาขยานบทหลัก จํานวน 2 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 1 บท ไดแก 1) ไกแจ 2) รักษาปา 3) มาลี (เงาะปา) บทอาขยานดังกลาวนี้มีจริยธรรมสอดแทรกอยู ดังตอไปนี้

20

3.2.1 บทอาขยานบทหลักเรือ่ง “ไกแจ” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศกึษาปที ่2 เลม 1 (หนาทายเลมหนงัสือ)

“ ไกเอยไกแจ ถึงยามขันขนัแซกระชั้นเสียง โกงคอเรื่อยรองซองสาํเนยีง ฟงเพียงบรรเลงวงัเวงดัง ถาตัวเราเหลานี้หมัน่นึก ถึงคุณครูผูฝกสอนสั่ง ไมมากนักสักวันละสองครั้ง”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความขยันและความรับผิดชอบ ดังขอความที่วา ถาตัวเราเหลานี้หมั่นนึก ถึงคุณครูผูฝกสอนสั่ง ไมมากนักสักวันละสองครั้ง คงต้ังแตสุขทุกวันเอย

3.2.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “รักษาปา” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที ่2 เลม 2 หนา 123 วา

“นกเอยนกนอยนอย บินลองลอยเปนสุขศรี ขนขาวราวสําลี อากาศดีไมมีภัย

ทุกทิศเจาเที่ยวทอง ฟาสีทองอันสดใส มีปาพาสุขใจ มีตนไมมีลําธาร

ผูคนไมมีโรค นับเปนโชคสุขสําราญ อากาศไรพิษสาร สัตวชื่นบานดินชื่นใจ

คนสัตวไดพึ่งปา มารักษาปาไมไทย ส้ินปาเหมือนสิ้นใจ ชวยปลูกใหมไวทดแทน”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อความโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนกัเรียนมีความรักในธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การพึ่งพาอาศัยกัน และการรูจักคุณคาของทรัพยากร

21

3.2.3 บทอาขยานบทรองเรื่อง “มาล”ี สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษาชั้นประถมศกึษาปที ่2 วา

“มาล ี ดอกดังสีบานเย็นเห็นหรือไม ผีเสื้อรอนวอนอยูดูวิไล งามกระไรหนอผีเสื้อชางเหลืองาม กินอะไรเกิดทีไ่หนผีเสื้อเอย อยาปดเลยตอบตอที่ขอถาม นองจะไดไปเกิดไปกินตาม ใหอรามเหมือนผีเสื้อเหลือสวยเอย”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อความโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนมีความรักในธรรมชาติและความเมตตากรุณา

จริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที ่ 2 เมื่อพิจารณาตามหลกัเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลกัสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

22

ตาราง 2 แสดงความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศกึษาปที่ 2

ขอที่ จริยธรรม ความถี ่ ลําดับ

1 ความใฝรู - - 2 ความขยนั 1 2 3 ความอดทน - - 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - 7 ความรับผิดชอบ 1 2 8 ความสามัคคี - - 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา 2 1 11 ความกตัญกูตเวท ี - - 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี- -

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏ ลําดับที่ 1 คือ ความเมตตากรุณา มคีวามถี ่2 ลําดบัที ่2

คือ ความขยันและความรับผิดชอบ มีความถี่ 1 จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมปที่ 2 นอกจากจะมีจริยธรรมที่กําหนดไว

เปนกรอบในการศึกษาแลว ยังพบวาไดมีจริยธรรมดานอื่น ๆ สอดแทรกไวดวยคือ ความรักในธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การรูจักคุณคาของทรัพยากร และการพึ่งพาอาศัยกัน 3.3 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 3 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 3 มีจํานวน 3 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 2 บท และบทอาขยานบทรองจาํนวน 1 บท ไดแก 1) เด็กนอย 2) วิชาหนาเจา 3) ไทยรวมกําลังตัง้มัน่ (พระรวง) บทอาขยานดังกลาวนี้มีจริยธรรมสอดแทรกอยู ดังตอไปนี ้

23

3.3.1 บทอาขยานบทหลักเรือ่ง “เด็กนอย” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพืน้ฐานภาษา ชั้นประถมศกึษาปที ่3 เลม 1 หนา 13 วา

“เด็กเอยเด็กนอย ความรูเรายังดอยเรงศึกษา เมื่อเติมใหญเราจะไดมีวิชา เปนเครื่องหาเลี้ยงชีพสําหรับตน ไดประโยชนหลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล ถึงลําบากตรากตรําก็จําทน เกิดเปนคนควรหมั่นขยันเอย”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความใฝรู โดยกลาววา ความรูเรายังดอยเรงศึกษา เมื่อเติมใหญเราจะไดมีวิชา ซึ่งชี้ใหเด็กเห็นความสําคัญของการศึกษาเลาเรียน อันจะมีประโยชนอยางยิ่งตอชีวิต และเพื่อใหมีวิชาความรูไวใชเปนเครื่องมือในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเมื่อเติบโตเปนผูใหญจึงสอนใหนักเรียนอดทน ขยันหมั่นเพียร ดังขอความที่วา เกิดเปนคนควรหมั่นขยันเอย

3.3.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “วิชาหนาเจา” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพืน้ฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที ่3 เลม 2 หนา 96

เกิดมาเปนคน หนงัสือเปนตน วิชาหนาเจา ถาแมนไมรู อดสูอายเขา เพื่อนฝงูเยาะเยา วาเงาวาโง

ลางคนเกิดมา ไมรูวิชา เคอะอยูจนโต ไปเปนขาเขา เพราะเงาเพราะโง บางเปนคนโซ เที่ยวขอก็ม ี

ถารูวิชา ประเสริฐหนกัหนา ชูหนาราศ ี จะไปแหงใด มีคนปราน ี ยากไรไมม ีสวัสดีมงคล

24

บทอาขยานบทหลกับทนี ้ พบวาเนื้อความทั้งหมดไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนกัเรียนมีความใฝรู และความขยนั

3.3.3 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ไทยรวมกําลังตั้งมั่น”(พระรวง) สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 3 วา

“ไทยรวมกาํลงัตั้งมัน่ จะสามารถปองกันขนัแข็ง ถึงแมวาศัตรูผูมีแรง มายทุธแยงกจ็ะปลาตไป ขอแตเพียงไทยเราอยาผลาญญาติ รวมชาติรวมจติเปนขอใหญ ไทยอยามุงรายทําลายไทย จงพรอมใจพรอมกําลงัระวงัเมือง ใหนานาภาษาเขานยิม ชมเกียรติยศฟเูฟอง ชวยกนับํารุงความรุงเรือง ใหชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา ชวยกนัเต็มใจใฝผดุง บํารุงทัง้ชาติศาสนา ใหอยูจนสิ้นดนิฟา วัฒนาเถิดไทย ไชโย”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อความโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความรักชาติ ความรับผิดชอบ และความสามัคคี

จริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที ่ 3 เมื่อพิจารณาตามหลกัเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลกัสูตรประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

25

ตาราง 3 แสดงความถี่ของจริยธรรมทีป่รากฎในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศกึษาปที ่3

ขอที่ จริยธรรม ความถี ่ ลําดับ

1 ความใฝรู 2 1 2 ความขยนั 2 1 3 ความอดทน - - 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - 7 ความรับผิดชอบ 1 2 8 ความสามัคคี 1 2 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา - - 11 ความกตัญกูตเวท ี - - 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี- -

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏลําดับที่ 1 คือ ความใฝรูและความขยัน มีความถี่ 2

ลําดับที่ 2 คือ ความรับผิดชอบและความสามัคคี มีความถี่ 1 จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมปที่ 3 นอกจากจะมีจริยธรรมทีก่ําหนดไว

เปนกรอบในการศึกษาแลว ยังพบวาไดมีจริยธรรมดานอื่น ๆ สอดแทรกไวดวย คือ ความรกัชาต ิ 3.4 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 4 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 4 มีจํานวน 5 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 3 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 2 บท ไดแก 1) ปากเปนเอก เลขเปนโท หนังสือเปนตรี ชั่วดีเปนตรา 2) พฤษภกาสร 3) สยามานุสสติ 4) กาเหวา 5) เพลงชาติ บทอาขยานดังกลาวนี้มีจริยธรรมสอดแทรกอยู ดังตอไปนี้

26

3.4.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ปากเปนเอก เลขเปนโท หนังสือเปนตรี ชั่วดีเปนตรา” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 เลม 1 หนา 221 วา

“ปากเปนเอกเหมือนเสกมนตรใหคนเชื่อ ฉลาดเหลอืวาจาปรีชาฉาน จะกลาวถอยรอยคําไมรําคาญ เปนรากฐานเทิดตนพนลําเค็ญ เลขเปนโทโบราณทานสั่งสอน เรงสังวรเวี่ยไวใชวาเลน การคํานวณควรชํานาญคูณหารเปน ชวยใหเดนดีนักหนารูทาคน หนังสือเปนตรีวิชาปญญาเลิศ เรียนไปเถิดรูไวไมไรผล ยามยากแสนแคนคับไมอับจน ไดเลี้ยงตนดวยวิชาหาทรัพยทวี ชั่วดีเปนตราประทับไวกับโลก ยามวิโยคชีพยับลับรางหนี ที่ศูนยแทก็แตตัวสวนชั่วดี คงเปนที่ลือทั่วชั่วฟาดิน”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนในเรื่องการรูจักพูดจา การรูจักเลือกใชคําพูดที่ดี ดังขอความที่วา ปากเปนเอกเหมือนเสกมนตรใหคนเชื่อ ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน จะกลาวถอยรอยคําไมรําคาญ เปนรากฐานเทิดตนพนลาํเค็ญ และยังสอนใหนักเรียนมีความใฝรู ดังขอความที่วา เลขเปนโทโบราณทานสัง่สอน เรงสงัวรเวีย่ไวใชวาเลน การคํานวณควรชํานาญคณูหารเปน ชวยใหเดนดีนกัหนารูทาคน หนังสือเปนตรีวิชาปญญาเลศิ เรยีนไปเถิดรูไวไมไรผล ยามยากแสนแคนคับไมอับจน ไดเลีย้งตนดวยวิชาหาทรพัยทว ีนอกจากนี้ยงัสอนใหทําความดีละเวนความชัว่ ดังขอความที่วา ชั่วดีเปนตราประทับไวกับโลก ยามวิโยคชีพยับลบัรางหน ีที่ศูนยแทก็แตตัวสวนชั่วดี คงเปนที่ลอืทั่วชั่วฟาดิน

3.4.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “พฤษภกาสร” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 เลม 1 หนา 58 วา

“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนตเสนงคง สําคัญหมายในกายม ี

นรชาติวางวาย มลายสิน้ทัง้อนิทรีย สถิตทั่วแตชั่วดี ประดับไวในโลกา”

บทอาขยานบทหลกับทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนกัเรียนทําความดี ละเวนความชั่ว และความไมประมาท

27

3.4.3 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “สยามานุสสติ” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 เลม 1 หนา 116 วา

“ใครรานใครรุกดาว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหล่ังไหล ยอมสละ ส้ินแล เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อกองเกยีรติงาม

หากสยามยังอยูยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยูคง ชีพดวย หากสยามพินาศลง ไทยอยู ไดฤา เราก็เหมือนมอดมวย หมดสิ้นสกุลไทย”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความรักชาติและความเสียสละ

3.4.4 บทอาขยานบทรองเรื่อง “กาเหวา” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศกึษาปที ่4 เลม 1 หนา 160 วา

“เจานกกาเหวาเอย ไขไวใหแมกาฟก แมกากห็ลงรัก คิดวาลูกในอทุร คาบเอาขาวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาปอน ถนอมไวในรังนอน ซอนเหยื่อมาใหกนิ ปกเจายังออนคลอแคล ทอแทจะสอนบิน แมกาพาไปกนิ ที่ปากน้าํพระคงคา ตีนเจาเหยยีบสาหราย ปากก็ไซหาปลา กินกุงแลกนิกัง้ กินหอยกระพงัแมงดา กินแลวก็โผมา จับที่ตนหวาโพธิ์ทอง ยังมนีายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปนขึน้สอง จองเอาแมกาดํา ตัวหนึง่วาจะตม อีกตัวหนึ่งวาจะยํา กินนางแมกาดํา คํ่าวันนี้อุแมนา”

28

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความรักและความเมตตากรุณาตอสัตว โดยยกตัวอยางความรักความผูกพันของแมกาที่มีตอลูกของนกกาเหวา แมวาจะไมใชลูกของตนแตก็เลี้ยงดูลูกนกกาเหวา หาอาหารมาปอน และพาไปสอนบินใหรูจักหากิน ดังขอความที่วา แมกาก็หลงรัก...ไปคาบเอาเหยื่อมาปอน...และทอแทจะสอนบิน นอกจากนี้ยังเห็นถึงพฤติกรรมของแมกาที่แสดงถึงความรักของแมที่มีตอลูก ดังนั้น คนเราจึงควรมีความกตญักูตเวทีตอผูมีพระคุณ

3.4.5 บทอาขยานบทรองเรือ่ง “เพลงชาติ” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชดุพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที ่4 วา

“ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว แลร้ิวร้ิวสลับงามเปนสามส ีผาผืนนอยบางเบาเพียงเทานี ้ แตเปนที่รวมชวีิตและจิตใจ

ชนรุนเยาวยนืเรียบระเบียบแถว ดวงตาแนวนิ่งตรงธงไสว ‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื่อไทย’ ฟงคราวใดเลือดซานพลานทั้งทรวง

ผืนแผนดนิถิน่นีท้ี่พาํนกั เราแสนรักและแสนจะแหนหวง แผนดินไทยไทยตองครองทัง้ปวง ชีพไมลวงใครอยาล้ํามาย่าํย ี

เธอรองเพลงชาตไิทยมัน่ใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศกัดิ์ศรี เพลงกระหึ่มกองฟากองธาตรี แมไพรีไดฟงยงัถอนใจ

แตส่ิงหนึ่งซึง่ไทยราวใจเหลอื คือเลือดเนื้อเปนหนอนคอยบอนไส บางหากินบนน้ําตาประชาไทย บางฝกใฝลัทธชิั่วนากลวัเกรง

ทุกวนันี้ศึกไกลยังไมหวง แตหวั่นทรวงศึกใกลไลขมเหง ถาคนไทยหนัมาฆากันเอง จะรองเพลงชาติไทยใหใครฟง”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมี ความรักชาติ ความกลาหาญ และความสามัคคี

จริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 4 เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

29

ตาราง 4 แสดงความถี่ของจริยธรรมทีป่รากฎในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศกึษาปที ่4

ขอที่ จริยธรรม ความถี ่ ลําดับ

1 ความใฝรู 1 1 2 ความขยนั - - 3 ความอดทน - - 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - 7 ความรับผิดชอบ 1 1 8 ความสามัคคี - - 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา 1 1 11 ความกตัญกูตเวท ี 1 1 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี- -

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏคือ ความใฝรู ความสามัคคี ความเมตตากรุณา

และความกตัญูกตเวที ซึ่งปรากฏความถี่ 1 เทากัน จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมปที่ 4 นอกจากจะมีจริยธรรมที่กําหนดไว

เปนกรอบในการศึกษาแลว ยังพบวาไดมีจริยธรรมดานอื่น ๆ สอดแทรกไวดวย คือ การรูจักพูดจา การทําความดีละเวนความชั่ว ความไมประมาท ความรักชาติ ความรักของแมที่มีตอลูก ความกลาหาญ และความเสียสละ 3.5 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 5 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 5 มีจํานวน 5 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 3 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 2 บท ไดแก 1) ตนเปนที่พึงแกตน 2) วิชาเหมือนสินคา 3) ผูรูดี

30

เปนผูเจริญ 4) ปากใดเกินบมีความฮู 5) อนึ่งเวลากิน บทอาขยานดังกลาวนี้มีจริยธรรมสอดแทรกอยูดังตอไปนี้

3.5.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ตนเปนที่พึ่งแกตน” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 5 เลม 1 หนา 112 วา

“เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึง่ อยาหมายพึง่ผูใดใหเขาหยนั ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟน คิดบากบั่นตัง้หนามานะนํา กสิกิจพณิชยการงานมเีกียรติ อยาหยามเหยยีดพาลหาวางานต่ํา หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม เชิญเลือกทาํตามถนัดอยาผดัวัน เอาดวงใจเปนทุนหนนุนําหนา เอาปญญาเปนแรงมุงแขงขนั เอาความเพยีรเปนยานประสานกนั ผลจะบรรลุสูประตูชัย เงินและทองกองอยูประตูหนา คอยเปดอายิม้รับไมขับไส ทรัพยในดินสนิในน้ําออกคล่ําไป แหลมทองไทยพรอมจะชวยอํานวยเอย”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนในเร่ืองการพึ่งพาตนเอง ความขยัน ความอดทน การรูจักประมาณตน และจากขอความที่วา อยาหยามเหยียดพาลหาวางานต่ํา เปนการสอนถึงการไมดูถูกดูหมิ่นอาชีพที่ตอยต่ํา

3.5.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “วิชาเหมือนสินคา” สอดแทรกอยูในหนังสอืเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 5 เลม 1 หนา 111 วา

“วิชาเหมือนสินคา อันมีคาอยูเมืองไกล ตองยากลําบากไป จึงจะไดสินคามา จงตั้งเอากายเจา เปนสําเภาอันโสภา

ความเพียรเปนโยธา แขนซายขวาเปนเสาใบ นิ้วเปนสายระยาง สองเทาตางสมอใหญ ปากเปนนายงานไป อัชฌาสัยเปนเสบียง สติเปนหางเสือ ถือทายเรือไวใหเที่ยง ถือไวอยาใหเอียง ตัดแลนเลี่ยงขามคงคา ปญญาเปนกลองแกว สองดูแถวแนวหินผา เจาจงเอาหูตา เปนลาตาฟงดูลม

31

ข้ีเกียจคือปลาราย จะทําลายใหเรือจม เอาใจเปนปนคม ยิงระดมใหจมไป จึงจะไดสินคามา คือวิชาอันพิสมัย จงหมั่นมั่นหมายใจ อยาไดครานการวิชา”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความขยัน ความอดทน ความรอบคอบ ความไมประมาท และความใฝรู

3.5.3 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “ผูรูดีเปนผูเจริญ” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชดุพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที ่5 เลม 1 หนา 94 – 95 วา

“มวลมนุษยผูเปร่ือง ปรีชา เชี่ยวแฮ เพราะใครใฝศึกษา ส่ิงรู รูกิจผิดชอบหา เหตุสอด สองนา นี่แหละบุคคลผู เพียบดวยความเจริญ

มวลผูชูปรีชา เสาะวิทยาไมหางเหิน ผิดชอบกอบไมเกิน รูดําเนินตามเหตุผล

ชื่อวาปรีชาดี ผิดชอบมีพิจารณยล ผูนั้นจักพลันดล พิพัฒนพนจักพรรณนา

ควรเราผูเยาววัย จงใฝใจการศึกษา อบรมบมวิทยา ปรุงปรีชาใหเชี่ยวชาญ ข้ันนี้จักชี้วา มีปญญาไมสมฐาน ตองหัดดัดสันดาน กอบวิจารณใชปญญา”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียน มีความขยัน ความใฝรู และความเปนผูมีเหตุผล

3.5.4 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ปากใดเกินบมีความฮู” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพืน้ฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 5 วา

32

“ปากใดเกนิบมีความฮู มักลบหลูคํามวนจิบหาย มีอุบายยอมแดงดวยหมาก ปากอันนัน้นกัปราชญนนิทา มันเกิดมามีปากเสียเปลา เหมือนปากเตาปากกุงปากหอย ปากอันใดเฮยีนธรรมฮูมาก บลําบากฟงมวนเย็นใจ ปากนาํไผเยือกเย็นคือน้ํา นักปราชญเจายอยองวาดี ปากมีศรีฮุงเฮอืงวิลาส ปากสะอาดคุณลนบซาม”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความใฝรู ความเปนผูมีวัฒนธรรม และมีมารยาทในการพูด

3.5.4 บทอาขยานบทรองเรือ่ง “อนึ่งเวลากนิ” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที ่5 วา

“อนึ่งเวลากิน จักหงุตมตามภาษา อยาเคียดเตรยีดมารดา เจาควรมาจัดแจงทาํ

หุงตมตามทวงท ี กับนัน่นี่ปงแกงยํา หนานวลชวนเชิญทํา อยางมุงาํฉอเลาะไฟ

สุกสรรพสิ้นแลวแหล อยาเชือนแชเที่ยวค่าํไป คดคายออกใหไว พาพอแมพีน่องมา

ยกยายใหเขากิน ครบครันสิ้นพรูพรอมหนา กินแลวเขาแคลวมา ถวนทุกหนาเขาออกไป

งามสิน้กนิภายหลัง แลวรอยชั่งกวาดครัวไฟ ถวยชามหมอนอยใหญ ลําดับไวตามอชัฌา

33

ครกเบือและสากเบือ อยาตั้งเพรื่อตกขี้กลา บวยหวักควรรักษา ไวใหดีตามวิสัย

อยาไดอุเบกษา หาน้ําทาดับฟนไฟ เสร็จแลวเจาออกไป ชักประตูหับกาํชับครัว”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนในเรื่องความมีระเบียบวินัย การเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ ความรับผิดชอบตอหนาที่ ความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี

จริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 5 เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศกึษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

ตาราง 5 แสดงความถี่ของจริยธรรมทีป่รากฎในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศกึษาปที ่5

ขอที่ จริยธรรม รวม ลําดับ

1 ความใฝรู 3 1 2 ความขยนั 2 2 3 ความอดทน 2 2 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย 1 3 7 ความรับผิดชอบ 1 3 8 ความสามัคคี - - 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา 1 3 11 ความกตัญกูตเวท ี 1 3 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี2 2

34

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏลําดับที่ 1 คือ ความใฝรู มีความถี่ 3 ลําดับที่ 2 คือความขยัน ความอดทน ความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มีความถี่ 2ลําดับที่ 3 คือ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา และความกตัญูกตเวที มีความถี่ 1

จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมปที่ 5 นอกจากจะมีจริยธรรมที่กําหนดไวเปนกรอบในการศึกษาแลว ยังพบวาไดมีจริยธรรมดานอื่น ๆ สอดแทรกไวดวย คือ การพึ่งพาตนเอง การรูจักประมาณตน ไมดูถูกดูหมิ่นอาชีพที่ตอยต่ํา ความเปนผูมีเหตุผล มีมารยาทในการพูดความรอบคอบ ความไมประมาท และเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ

3.6 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 6 บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 6 มีจํานวน 6 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 3 บท และบทอาขยานบทรองจํานวน 3 บท ไดแก 1) ผูชนะ 2) เปนมนุษยหรือเปนคน 3) โคลงโลกนิติ 4) เพลงยาวเจาอิศรญาณ 5) เจาดวงมาลา 6) อยานั่งใกลถุงเงินคํา บทอาขยานดังกลาวนี้มีจริยธรรมสอดแทรกอยู ดังตอไปนี้

3.6.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ผูชนะ” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐาน ภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 เลม 1 หนา 81 วา

“เมื่อทําการสิง่ใดดวยใจรัก ถึงงานหนักกเ็บาลงแลวครึ่งหนึง่ ดวยใจรักเปนแรงที่เรารึง ใหมุงมั่นฝนถงึซึ่งปลายทาง

เมื่อทําการสิง่ใดใจบากบั่น ไมไหวหวั่นอุปสรรคเปนขวากขวาง ถึงเหนื่อยยากพากเพียรไมละวาง งานทกุอยางเสร็จเพราะกลาพยายาม

เมื่อทําการสิง่ใดใจจดจอ คอยเติมตอต้ังจิตไมคิดขาม ทําดวยใจเปนชีวิตคอยติดตาม บังเกิดผลงอกงามตามตองการ

เมื่อทําการสิง่ใดใครครวญคิด เห็นถูกผิดแกไขใหพนผาน ใชสมองตรองตริคิดพิจารณ ปรากฏงานกาวไกลไมลําเคญ็

ความสาํเร็จจะวาใกลก็ใชที ่ จะวาไกลฤากม็ีอยูใหเห็น ถาจริงใจตัง้ใจไมยากเย็น และจะเปนผูชนะตลอดกาล”

บทอาขยานบทหลกับทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนใหมีความรักในกิจการงาน ความพอใจ ความขยัน ความอดทน ความเอาใจใส และการรูจักไตรตรอง

35

3.6.2 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “เปนมนุษยหรือเปนคน” สอดแทรกอยูในหนังสือเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 6 เลม 1 หนา 140 วา

“เปนมนษุยเปนไดเพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถาใจต่ําเปนไดแตเพียงคน ยอมเสียทีที่ตนไดเกิดมา

ใจสะอาด ใจสวาง ใจสงบ ถามีครบควรเรียกมนุสสา เพราะทําถูกพดูถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันตจริง

ใจสกปรกมืดมัวและรอนเรา ใครมีเขาควรเรียกวาผีสิง เพราะพูดผิดทาํผิดจิตประวิง แตในสิ่งนาํตัวกลั้วอบาย

คิดดูเถิดถาใครไมอยากตก จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย ใหใจสูงเสยีไดกอนตัวตาย ก็สมหมายที่เกิดมาอยาเชือนเอย”

บทอาขยานบทหลักบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียน เร่ืองการทําใจใหสงบมีสมาธิ การทาํความดีละเวนความชั่ว และความไมประมาท

3.6.3 บทอาขยานบทหลักเรือ่ง “โคลงโลกนิติ” สอดแทรกอยูในบทเรยีนภาษาไทย ชดุพืน้ฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที ่6 เลม 2 หนา 122 – 123 วา

“ความรูดูยิ่งล้าํ สินทรัพย คิดคาควรเมืองนับ ยิ่งไซร เพราะเหตุจักอยูกับ กายอาต มานา โจรจักเบียนบได เรงรูเรียนเอา

เวนวิจารณวางเวน สดับฟง เวนที่ถามอันยงั ไปรู เวนเลาลิขิตสัง - เกตวาง เวนนา เวนดัง่กลาววาผู ปราชญไดฤามี

ใหทานทานจกัให ตอบสนอง นบทานทานจกัปอง นอบไหว รักทานทานควรครอง ความรัก เรานา สามสิ่งนี้เวนไว แดผูทรชน”

บทอาขยานบทหลัก 1 บทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียน ใหมีความใฝรู ความเปนผูมีเหตุผล การยอมรับฟงความคิดเหน็ และการอยูรวมกนักับผูอ่ืน

36

3.6.4 บทอาขยานบทรองเรื่อง “เพลงยาวเจาอิศรญาณ” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทยชุดพืน้ฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 6 วา

“เกิดเปนคนเชงิดูใหรูเทา ใจของเราไมสอนใจใครจะสอน อยากใชเขาเราตองกมประนมกร ใครเลยหอนจะวาตวัเปนวัวมอ เปนบาจี้นิยมชมวาเอก คนโหยกเหยกรักษายากลาํบากหมอ อันยศศักดิ์มิใชเหลาเมาแตพอ ถาเขายอเหมอืนอยางเกาใหเราคัน บางโลดเลนเตนรําทาํเปนเจา เปนไรเขาไมจบัผิดคิดดูขัน ผีมันหลอกชางผีตามทีมนั คนเหมือนกนัหลอกกนัเองกลัวเกรงนัก สูงอยาใหสูงกวาฐานนานไปลม จะเรียนคมเรยีนเถิดอยาเปดฝก คนสามขามีปญญาหาไวทัก ไปพูดขัดเขาทาํไมขัดใจเขา ใครทําตึงแลวก็หยอนผอนลงเอา นักเลงเกาเขาไมหาญราญนกัเลง”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนรูจัก สอนตนเอง รูจักไตรตรอง การวางตัวใหเหมาะสม ความเชื่อมั่นในตนเอง และจากขอความที่วา คนสามขามีปญญาหาไวทัก ไปพูดขัดเขาทําไมขัดใจเขา ใครทําตึงแลวก็หยอนผอนลงเอา นักเลงเกาเขาไมหาญราญนักเลง เปนการสอนใหรูจักการประนีประนอม การเคารพผูอ่ืน

3.6.5 บทอาขยานบทรองเรื่อง “เจาดวงมาลา” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที ่6 วา

“เจาดวงมาลา ไปวัดดวยขา ทําบุญดวยกนั เด็ดเจาวนันี ้ จะไปสูสวรรค ทําบุญดวยกนั เถิดเจาดวงมาลา”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนใหนักเรียนมีความเปนผูมีวัฒนธรรม และปฏิบัติตามขนบธรรมเนยีมประเพณ ี ดังขอความที่วา ไปวัดดวยขา ทําบุญดวยกัน ซึง่มีความเชื่อวาการสวดมนตไหวพระดวยดอกไมของหอมแลว เมื่อตายไปจะไดไปสูสวรรค

3.6.6 บทอาขยานบทรองเรื่อง “อยานั่งใกลถุงเงินคํา” สอดแทรกอยูในบทเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา ชัน้ประถมศึกษาปที่ 6 วา

37

“อยานัง่ใกลถงุเงนิคํา อยาฟงคําคนลาย อยาจายเงนิผดิ อยาติดใจคนบาป หื้อหาบไปคา ใครเปนขาหื้ออยูดาย อยาขี้ครานลูกขวาย กินงายแลวอยานอน อยาเคียดตอหมู เขาทบูถวยหมอเจือจาน รูการคิงบรูการทาน อยาปานใจหมอง อยาตีเถียงฟา อยาเล็งมาเถยีงตาวัน อยาฟนพราเขาบาน อยาตานชูดวยเมียทาน อยาทอดไมจิม่คนใด อยาโฟใบบรูสัง อยาโยะหมา อยาฆาเด็ก อยาขวักเหล็กกาปลอม อยาบดอมปูเยียะการหนัก หื้อรักพอแม หื้อมีแผหลวงหลาย”

บทอาขยานบทรองบทนี้ พบวาเนื้อหาโดยรวมไดสอดแทรกจริยธรรมที่มุงสอนนักเรียนในเรื่อง การเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ การเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี การรูจักยับยั้งชางใจ มีวิจารณญาณในการฟง ไมประมาทในการจายทรัพย ไมคบคนชั่ว ไมข้ีเกียจ กตัญูตอพอแม และหามในสิ่งที่ไมควรปฏิบัติ ดังขอความที่วา อยานั่งใกลถุงเงินคํา ..อยาฟงคําคนลาย ...อยาจายเงินผิด ...อยาติดใจคนบาป ...อยาขี้ครานลูกขวาย ..และหื้อรักพอแม เปนตน

จริยธรรมในบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที ่ 6 เมื่อพิจารณาตามหลกัเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลกัสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) พบวามีปรากฏดังตารางตอไปนี้

38

ตาราง 6 แสดงความถี่ของจริยธรรมทีป่รากฎในบทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศกึษาปที ่6

ขอที่ จริยธรรม รวม ลําดับ

1 ความใฝรู 1 1 2 ความขยนั 1 1 3 ความอดทน 1 1 4 ความประหยดั - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - 7 ความรับผิดชอบ - - 8 ความสามัคคี - - 9 ความเสยีสละ - - 10 ความเมตตากรุณา - - 11 ความกตัญกูตเวท ี - - 12 ความยุติธรรม - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนยีมประเพณ ี1 1

จากตารางแสดงวา จริยธรรมที่ปรากฏ คือ ความใฝรู ความขยัน ความอดทน และความเปน

ผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนยีมประเพณ ีซึง่ปรากฏมีความถี่ 1 เทากัน จากการวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมปที่ 6 นอกจากจะมีจริยธรรมที่กาํหนดไว

เปนกรอบในการศึกษาแลว ยังพบวาไดมีจริยธรรมดานอืน่ ๆ สอดแทรกไวดวย คือ ความรักความพอใจ ในกิจการงาน ความเอาใจใส การรูจักไตรตรอง การทําใจใหสงบมีสมาธิ การทําความดีละเวนความชั่ว ความไมประมาท การประนปีระนอม ความเปนผูมเีหตุผล การยอมรับฟงความคิดเหน็ผูอ่ืน การอยูรวมกนัในสังคม การสอนตนเอง และการวางตนใหเหมาะสม

บทที่ 4 วิเคราะหกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทย

ระดับประถมศึกษา

กลวิธีนําเสนอ หมายถึงลักษณะวิธีการถายทอดเรื่องราวความคิดของผูแตงไปยังผูอานซึ่งมีหลายวิธ ีแตในการวิเคราะหกลวธิีนาํเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศกึษาครั้งนี ้ผูวจิัยไดวิเคราะหโดยอาศัยเกณฑการนําเสนอแบบตรงไปตรงมา กับการนําเสนอแบบใหผูอานตีความ ของสายทิพย นกุลูกิจ (2534 : 107)

จากการวิเคราะหกลวิธนีําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ชัน้ประถมศึกษาปที่ 1 – 6) เฉพาะที่เปนบทอาขยานบทหลักและบทอาขยานบทรองจํานวน 25 บท โดยใชเกณฑการวิเคราะหดังกลาวชวยใหผูวิจัยจําแนกกลวิธีในการนําเสนอความคิดดานจริยธรรมของผูแตงออกเปน 2 ลักษณะ คือ การนําเสนอแบบตรงไปตรงมา กับการนําเสนอแบบใหผูอานตีความ ดังนี้

4.1 การนําเสนอแบบตรงไปตรงมา

การนําเสนอแบบตรงไปตรงมา เปนลักษณะการนําเสนอโดยที่ผูแตงไดถายทอดเรื่องราวและแสดงความคิดออกมาตรงตามจุดมุงหมาย ประสงคจะเสนอสิ่งใดก็กลาวออกมาโดยตรง จากบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปที่ 1 - 6) เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 15 บทและบทอายานบทรองจํานวน 10 บท ปรากฏกลวิธีนําเสนอในลักษณะที่กลาวมา จํานวน 17 บท ดังนี้

4.1.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟน” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับ ชั้นประถมศกึษาปที ่1 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“แมวเอยแมวเหมียว รูปรางประเปรยีวเปนหนักหนา รองเรียกเหมียวเหมยีวเดีย๋วก็มา เคลาแขงเคลาขานาเอน็ด ูรูจักเอารักเขาตอต้ัง คํ่าค่ําซ้ํานั่งระวังหน ูควรนับวามนักตัญู พอดูอยางไวใสใจเอย”

40 จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา ทาํให ผูอานเห็นรูปรางลักษณะและพฤติกรรมของแมว มุงเนนใหตระหนักและเห็นคุณคาของความรัก ความกตัญูรูคุณและตอบแทนบุญคุณตอผูมีพระคุณ โดยเห็นไดจากพฤติกรรมของแมวที่ชอบ ประจบประแจงเคลาเคลียแสดงความรักตอเจาของ ทําหนาที่ของตน คือการจับหนูเพื่อเปนการทาํงาน ตอบแทน นับไดวาเปนความกตัญูซึ่งถือเปนจริยธรรมอันดีงามที่ควรปลูกฝงแกนักเรียน เพื่อนาํไปสู การดําเนินชวีติในสังคมอยางมีความสุข

4.1.2 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “รักเมืองไทย” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“คนไทยนี้ดี เปนพี่เปนนอง เมืองไทยเมืองทอง เปนของคนไทย คนไทยเขมแขง็ รวมแรงรวมใจ รักชาติยิ่งใหญ ไทยสามัคค ี

ธงไทยไตรรงค เปนธงสามสี ทั้งสามสิ่งนี้ เปนที่บูชา สีแดงคือชาติ สีขาวศาสนา น้ําเงินงามตา พระมหากษัตริยไทย

เรารักเพื่อนบาน ไมรานรุกใคร เมื่อยามมีภัย รวมใจปองกัน เรารักทองถิ่น ทํากินแบงปน ถิ่นไทยเรานั้น ชวยกันดูแล”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา ซึ่งสื่อใหผูอานเห็นวาเกิดเปนคนไทยตองมีความสามัคคีรักใครปรองดองกัน รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย รวมทัง้ตองรวมใจกันปกปองผืนแผนดินไทย จากเรื่องนี้เห็นไดวาความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย เปนสิ่งสาํคัญที่ควรปลูกฝงแกนกัเรียนเพื่อสรางจิตสํานึกอนัดีในการทีจ่ะเปนกําลงัสําคัญของชาติในอนาคตตอไป

4.1.3 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ฝนตก แดดออก” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชั้นประถมศึกษา ปที่ 1 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

41 “ฝนตกแดดออก นกกระจอกแปลกใจ โผผินบนิไป ไมรูหนทาง ไปพบมะพราว นกหนาวครวญคราง พี่มะพราวใจกวาง ขอพักสักวนั

ฝนตกแดดออก นกกระจอกพกัผอน พอหายเหนื่อยออน บินจรผายผนั ขอบใจพี่มะพราว ถึงคราวชวยกนั น้ําใจผูกพนั ไมลืมบุญคุณ”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา ผูแตงใชกลวิธีสมมุติใหนกกระจอกพูดจากับตนมะพราวขอที่พักพิงเพื่อหลบฝน กอนจะจากไปก็ขอบใจตนมะพราวที่ใหที่พักพิง เปนการสื่อใหนักเรียนเห็นถึงความเมตตากรุณา เอื้อเฟอเผื่อแผ ความกตัญูรูคุณ จัดเปน จริยธรรมที่นักเรียนควรยึดมั่นและถือปฏิบัติ เพื่อจะไดนําไปเปนแนวทางสําหรับดําเนินชีวิตที่ทําใหอยูในสังคมไดอยางมีความสุขและเปนสมาชิกที่ดีของสังคม

4.1 4 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ไกแจ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“ไกเอยไกแจ โกงคอเรื่อยรองซองสาํเนยีง ฟงเพียงบรรเลงวงัเวงดัง ถาตัวเราเหลานี้หมัน่นึก ถึงคุณครูผูฝกสอนสั่ง ไมมากนักสักวันละสองครั้ง คงตั้งแตสุขทกุวันเอย”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยยกไกแจมาเปนสื่อนําเสนอวาขันเสียงไพเราะราวเสียงเพลงบรรเลงทําใหผูที่ไดยินรูสึกชื่นชม ถานักเรียนรูจักฟงคําสั่งสอนของครูเหมือนกับที่รูจักฟงเสียงอันไพเราะของไกแจ แมเพียงนึกถึงคําสอนของครูแควันละ 2 คร้ังก็จะทําใหไดขอคิดที่มีประโยชนตอการดําเนินชีวิต

424.1.5 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “เด็กนอย” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 3

ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เด็กเอยเด็กนอย ความรูเรายงัดอยเรงศึกษา เมื่อเติมใหญเราจะไดมีวิชา

เปนเครื่องหาเลี้ยงชีพสําหรับตน ไดประโยชนหลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล ถึงลําบากตรากตรําก็จําทน เกิดเปนคนควรหมั่นขยันเอย”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยเปนส่ือกลางใหเด็กรูบทบาทหนาที่ของตน คือการศึกษาหาความรูใสตนเมื่อเยาววัย ตองอดทน ขยันหมั่นเพียรศึกษาเลาเรียนใหประสบความสําเร็จ ซึ่งจะสงผลทําใหเกิดสติปญญาสามารถนําไปเปนเครื่องมือในการประกอบอาชีพที่ดีในอนาคต ทั้งมุงเนนใหเด็กตระหนักและเห็นความสําคัญของการศึกษาเลาเรียนวาเปนสิ่งสําคัญและเปนพื้นฐานที่จําเปนในการดําเนินชีวิต

4.1.6 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “วิชาหนาเจา” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เกิดมาเปนคน หนงัสือเปนตน วิชาหนาเจา ถาแมนไมรู อดสูอายเขา เพื่อนฝงูเยาะเยา วาเงาวาโง

ลางคนเกิดมา ไมรูวิชา เคอะอยูจนโต ไปเปนขาเขา เพราะเงาเพราะโง บางเปนคนโซ เที่ยวขอก็ม ี

ถารูวิชา ประเสริฐหนกัหนา ชูหนาราศ ี จะไปแหงใด มีคนปราน ี ยากไรไมม ีสวัสดีมงคล”

43จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยกลาววา

คนเราเกิดมาตองขยันเรียนหนังสือ จะสงผลใหเปนคนฉลาดรูเทาทันคน สงผลใหเปนที่ยอมรับของสังคมซึ่งผูแตงมุงเนนใหผูอานตระหนักถึงความสําคัญของการเรียนและเห็นคุณคาของการศึกษาเลาเรียนวาการศึกษาเปนพื้นฐานที่สําคัญในการดําเนินชีวิตในปจจุบัน การประกอบอาชีพในอนาคตเพื่อจะไดมีชีวิตที่ดี มีแตคนรักใครชื่นชม

4.1.7 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ไทยรวมกําลังตั้งมั่น (พระรวง)” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับ ชั้นประถมศกึษาปที ่3 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“ไทยรวมกําลงัตั้งมัน่ จะสามารถปองกันขนัแข็ง ถึงแมวาศัตรูผูมีแรง มายทุธแยงกจ็ะปลาตไป ขอแตเพียงไทยเราอยาผลาญญาติ รวมชาติรวมจติเปนขอใหญ ไทยอยามุงรายทําลายไทย จงพรอมใจพรอมกําลงัระวงัเมือง ใหนานาภาษาเขานยิม ชมเกียรติยศฟเูฟอง ชวยกนับํารุงความรุงเรือง ใหชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา ชวยกนัเต็มใจใฝผดุง บํารุงทัง้ชาติศาสนา ใหอยูจนสิ้นดนิฟา วัฒนาเถิดไทย ไชโย”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยชี้ใหเห็น วาคนไทยตองมีความสามัคคี รวมใจรวมแรงกันในการปกปองประเทศชาติใหพนภัยจากศัตรู ทั้งมุงเนนใหเห็นถึงพลงัความรัก ความสามัคคีของบุคคลในชาติที่มอีานุภาพมากกวาสิ่งอื่นใด พลงัดังกลาวจะสงผลใหเกิดความเจริญ หนาที่ของคนไทยตองรักและหวงแหนในสถาบนัชาต ิศาสนา ดํารงความเปนชาตไิทยใหเจริญกาวหนา เพื่อประกาศใหนานาอารยประเทศไดรูจักยกยองสรรเสริญชาติไทยของเราตราบชั่วกาลนาน

444.1.8 บทอาขยานบทรองเรื่อง “เพลงชาติ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชัน้ประถมศึกษาปที ่4

ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว แลร้ิวร้ิวสลับงามเปนสามส ีผาผืนนอยบางเบาเพียงเทานี ้ แตเปนที่รวมชวีิตและจิตใจ

ชนรุนเยาวยืนเรียบระเบียบแถว ดวงตาแนวนิ่งตรงธงไสว ‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ ฟงคราวใดเลือดซานพลานทั้งทรวง

ผืนแผนดินถิ่นนี้ทีพ่ํานัก เราแสนรักและแสนจะแหนหวง แผนดินไทยไทยตองครองทัง้ปวง ชีพไมลวงใครอยาล้ํามาย่าํย ี

เธอรองเพลงชาติไทยมัน่ใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาตทิี่รักทรงศกัดิ์ศรี เพลงกระหึ่มกองฟากองธาตรี แมไพรีไดฟงยงัถอนใจ

แตส่ิงหนึง่ซึง่ไทยราวใจเหลอื คือเลือดเนื้อเปนหนอนคอยบอนไส บางหากินบนน้ําตาประชาไทย บางฝกใฝลัทธชิั่วนากลวัเกรง

ทุกวนันี้ศึกไกลยังไมหวง แตหวั่นทรวงศึกใกลไลขมเหง ถาคนไทยหนัมาฆากันเอง จะรองเพลงชาติไทยใหใครฟง”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยกลาวถึงธงชาติและเพลงชาติ ซึ่งเปนเอกลักษณแสดงความเปนชาติไทย เปนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชาติใหมีความรัก ความหวงแหนแผนดินไทย ผูแตงใชกลวิธีการเปรียบเทียบใหเห็นความสําคัญของความสามัคคี โดยเปรียบพวกที่คิดคดทรยศตอแผนดินวาเปนหนอนบอนไส สิ่งที่นาหวงที่สุดคือความแตกแยกของคนในชาติ บทอาขยานบทนี้จึงมุงโนมนาวใจใหทุกคนเกิดความรัก ความสามัคคีเพื่อความเปนปกแผน และความเจริญรุงเรืองของชาติ

4.1.9 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “ปากเปนเอก เลขเปนโท หนงัสอืเปนตรี ชั่วดีเปนตรา” ซึ่งเปน บทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที ่4 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“ปากเปนเอกเหมือนเสกมนตรใหคนเชื่อ ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน จะกลาวถอยรอยคําไมรําคาญ เปนรากฐานเทิดตนพนลําเค็ญ เลขเปนโทโบราณทานสั่งสอน เรงสังวรเวี่ยไวใชวาเลน การคํานวณควรชํานาญคูณหารเปน ชวยใหเดนดีนักหนารูทาคน

45หนังสือเปนตรีวิชาปญญาเลิศ เรียนไปเถิดรูไวไมไรผล ยามยากแสนแคนคับไมอับจน ไดเลี้ยงตนดวยวิชาหาทรัพยทวี ชั่วดีเปนตราประทับไวกับโลก ยามวิโยคชีพยับลับรางหนี ที่ศูนยแทก็แตตัวสวนชั่วดี คงเปนที่ลือทั่วชั่วฟาดิน”

จากบทอาขยานบทหลกัขางตน พบวาผูแตงนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยมุงเนนให เห็นถึงประโยชนของการพูด การรูจักใชถอยคําทีเ่หมาะสม การศึกษา การคิดคาํนวณ การอานเขียนหนังสอื และการทาํความดลีะเวนความชัว่ อันเปรียบเหมือนตราประทับที่จารึกการกระทาํใหมนษุยเราไดรับรูตลอดไป ซึ่งตรงกนัขามกบัรางกายของมนุษยที่มีแตจะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ดังนัน้ นักเรียนควรทาํแตความด ี

4.1.10 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “สยามานุสสติ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษา ปที่ 4 ผูแตงไดนาํเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“ใครรานใครรุกดาว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ ส้ินแล เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อกองเกียรติงาม

หากสยามยังอยูยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยูคง ชีพดวย หากสยามพินาศลง ไทยอยู ไดฤา เราก็เหมือนมอดมวย หมดสิ้นสกุลไทย”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยการสื่อให ผูอานมีความรักในชาติบานเมือง ยอมพลีชีพเพื่อชาติของตน และชี้ใหเห็นความสําคัญของการมีชาติ โดยการกลาววาประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมก็เพราะคนในชาติ ดังนั้น จึงควรชวยกันปกปองรักษาใหประเทศชาติคงอยูเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมของคนไทยอยางสงบสุขตอไป

4.1.11 บทอาขยานบทรองเรื่อง “กาเหวา” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

46“เจานกกาเหวาเอย ไขไวใหแมกาฟก

แมกากห็ลงรัก คิดวาลูกในอทุร คาบเอาขาวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาปอน ถนอมไวในรังนอน ซอนเหยื่อมาใหกนิ ปกเจายังออนคลอแคล ทอแทจะสอนบิน แมกาพาไปกนิ ที่ปากน้าํพระคงคา ตีนเจาเหยยีบสาหราย ปากก็ไซหาปลา กินกุงแลกนิกัง้ กินหอยกระพงัแมงดา กินแลวก็โผมา จับที่ตนหวาโพธิ์ทอง ยังมนีายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปนขึน้สอง จองเอาแมกาดํา ตัวหนึง่วาจะตม อีกตัวหนึ่งวาจะยํา กินนางแมกาดํา คํ่าวันนี้อุแมนา”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยสื่อใหผูอานเห็นความรักของแมที่มีตอลูก มีความสัมพันธแนบแนนไมเปลี่ยนแปลง แมจะเฝาฟูมฟกทะนุถนอมส่ังสอนลูกใหเปนคนดี ดังนั้น ลูกจะตองกตัญูรูคุณ ตอบแทนผูมีพระคุณเสมอจึงไดชื่อวาเปนคนดีโดยผูแตงใชพฤติกรรมของนกสอนและถายทอดจริยธรรมใหนักเรียนเปนแนวทางในการดําเนินชีวิต

4.1.12 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “ตนเปนทีพ่ึ่งแกตน” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชั้นประถมศกึษา ปที่ 5 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เราเกิดมาทัง้ทีชีวิตหนึง่ อยาหมายพึง่ผูใดใหเขาหยนั ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟน คิดบากบั่นตัง้หนามานะนํา กสิกิจพณิชยการงานมเีกียรติ อยาหยามเหยยีดพาลหาวางานต่ํา หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม เชิญเลือกทาํตามถนัดอยาผดัวัน เอาดวงใจเปนทุนหนนุนําหนา เอาปญญาเปนแรงมุงแขงขนั เอาความเพยีรเปนยานประสานกนั ผลจะบรรลุสูประตูชัย เงินและทองกองอยูประตูหนา คอยเปดอายิม้รับไมขับไส ทรัพยในดินสนิในน้ําออกคล่ําไป แหลมทองไทยพรอมจะชวยอํานวยเอย”

47จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยการสื่อ

ความหมายใหผูอานพึ่งตนเอง และเลือกประกอบอาชีพการงานใหเหมาะสมตามศักยภาพของตนเองไมดูถูกเหยียดหยามอาชีพที่ดอยกวา ประเทศไทยเปนประเทศที่อุดมสมบูรณ มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ใหรูจักมีความเพียรพยายาม เพื่อจะสงผลไปสูความสําเร็จในการดําเนินชีวิตและหนาที่การงาน ตลอดจนเปนสมาชิกที่ดีของสังคม

4.1.13 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ผูรูดีเปนผูเจริญ” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชัน้ประถมศึกษา ปที่ 5 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“มวลมนุษยผูเปร่ือง ปรีชา เชี่ยวแฮ เพราะใครใฝศึกษา ส่ิงรู รูกิจผิดชอบหา เหตุสอด สองนา นี่แหละบุคคลผู เพียบดวยความเจริญ

มวลผูชูปรีชา เสาะวิทยาไมหางเหิน ผิดชอบกอบไมเกิน รูดําเนินตามเหตุผล

ชื่อวาปรีชาดี ผิดชอบมีพิจารณยล ผูนั้นจักพลันดล พิพัฒนพนจักพรรณนา

ควรเราผูเยาววัย จงใฝใจการศึกษา อบรมบมวิทยา ปรุงปรีชาใหเชี่ยวชาญ ข้ันนี้จักชี้วา มีปญญาไมสมฐาน ตองหัดดัดสันดาน กอบวิจารณใชปญญา”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยชี้ให ผูอานเห็นวาการศึกษามีความสําคัญ ผูใดมีความตั้งใจและขยันหมั่นเพียรก็จะทําใหประสบความสําเร็จในชีวิต ทั้งมุงเนนใหเปนผูรักการเรียนอันจะสงผลใหเปนผูมีวิจารณญาณในการตัดสินใจ การใชเหตุผลในการทํางานอยางชาญฉลาด และดําเนินชีวิตไดอยางมีความสุข

4.1.14 บทอาขยานบทรองเรื่อง ”อนึ่งเวลากนิ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

48“อนึ่งเวลากิน จักหงุตมตามภาษา

อยาเคียดเตรยีดมารดา เจาควรมาจัดแจงทาํ หุงตมตามทวงท ี กับนัน่นี่ปงแกงยํา

หนานวลชวนเชิญทํา อยางมุงาํฉอเลาะไฟ สุกสรรพสิ้นแลวแหล อยาเชือนแชเที่ยวค่าํไป

คดคายออกใหไว พาพอแมพีน่องมา ยกยายใหเขากิน ครบครันสิ้นพรูพรอมหนา

กินแลวเขาแคลวมา ถวนทุกหนาเขาออกไป งามสิน้กนิภายหลัง แลวรอยชั่งกวาดครัวไฟ

ถวยชามหมอนอยใหญ ลําดับไวตามอชัฌา ครกเบือและสากเบือ อยาตั้งเพรื่อตกขี้กลา

บวยหวักควรรักษา ไวใหดีตามวิสัย อยาไดอุเบกษา หาน้ําทาดับฟนไฟ

เสร็จแลวเจาออกไป ชักประตูหับกาํชับครัว”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยมุงสอนใหเปนกุลสตรีที่งามพรอม โดยใชภูมิปญญาทองถิ่นของชาวไทยทองถิ่นภาคใตที่แสดงวัฒนธรรม คือ การกินอยูและวิถีชีวิต ตลอดจนเปนการถายทอดภูมิปญญาดานงานบานงานเรือนจากแมสูลูก

4.1.15 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “ผูชนะ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที ่6 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เมื่อทําการสิง่ใดดวยใจรัก ถึงงานหนักกเ็บาลงแลวครึ่งหนึง่ ดวยใจรักเปนแรงที่เรารึง ใหมุงมั่นฝนถงึซึ่งปลายทาง

เมื่อทําการสิง่ใดใจบากบั่น ไมไหวหวั่นอุปสรรคเปนขวากขวาง ถึงเหนื่อยยากพากเพียรไมละวาง งานทกุอยางเสร็จเพราะกลาพยายาม

เมื่อทําการสิง่ใดใจจดจอ คอยเติมตอต้ังจิตไมคิดขาม ทําดวยใจเปนชีวิตคอยติดตาม บังเกิดผลงอกงามตามตองการ

เมื่อทําการสิง่ใดใครครวญคิด เห็นถูกผิดแกไขใหพนผาน ใชสมองตรองตริคิดพิจารณ ปรากฏงานกาวไกลไมลําเคญ็

ความสาํเร็จจะวาใกลก็ใชที ่ จะวาไกลฤากม็ีอยูใหเห็น ถาจริงใจตัง้ใจไมยากเย็น และจะเปนผูชนะตลอดกาล”

49จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมาดวย

การสนทนา โดยมุงชี ้แนะใหผูอานเห็นวาการที่จะดําเนินชีวิตในสังคมไดอยางมีความสุขและประสบผลสําเร็จจะตองเปนคนที่มีใจรักในงานที่ทํา มีความอดทน ขยันมั่นเพียร มุงมั่นในการทํางาน กลาหาญ และรูจักใชสมองคิด พิจารณาทําในสิ่งที่ถูกตองถานักเรียนปฏิบัติไดดังที่กลาวมาก็จะไดชื่อวาเปนผูชนะที่นําตนไปสูเปาหมายของชีวิตได

4.1.16 บทอาขยานบทรองเรื่อง “เพลงยาวเจาอิศรญาณ” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชัน้ประถม - ศึกษาปที่ 6 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เกิดเปนคนเชงิดูใหรูเทา ใจของเราไมสอนใจใครจะสอน อยากใชเขาเราตองกมประนมกร ใครเลยหอนจะวาตวัเปนวัวมอ เปนบาจี้นิยมชมวาเอก คนโหยกเหยกรักษายากลาํบากหมอ อันยศศักดิ์มิใชเหลาเมาแตพอ ถาเขายอเหมอืนอยางเกาใหเราคัน บางโลดเลนเตนรําทาํเปนเจา เปนไรเขาไมจบัผิดคิดดูขัน ผีมันหลอกชางผีตามทีมนั คนเหมือนกนัหลอกกนัเองกลัวเกรงนัก สูงอยาใหสูงกวาฐานนานไปลม จะเรียนคมเรยีนเถิดอยาเปดฝก คนสามขามีปญญาหาไวทัก ไปพูดขัดเขาทาํไมขัดใจเขา ใครทําตึงแลวก็หยอนผอนลงเอา นักเลงเกาเขาไมหาญราญนกัเลง”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผู แตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยชี้ใหเห็นวาการเปนมนุษยตองกระทําสิ่งใด ๆ ดวยสติปญญาไตรตรองอยางมีวิจารณญาณ มีความประพฤติและการวางตัวอยางเหมาะสม เชน การสอนตนเอง ถอมตน ไมหลงยศศักดิ์ การรักษาคําพูด และรูจักการประนีประนอม เพื่อนําไปเปนแนวทางการดําเนินชีวิตประจําวันไดอยางมีความสุข

4.1.17 บทอาขยานบทรองเรื่อง ”อยานัง่ใกลถุงเงนิคํา” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถม - ศึกษาปที่ 6 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“อยานัง่ใกลถงุเงนิคํา อยาฟงคําคนลาย อยาจายเงนิผดิ อยาติดใจคนบาป หื้อหาบไปคา ใครเปนขาหื้ออยูดาย อยาขี้ครานลูกขวาย กินงายแลวอยานอน อยาเคียดตอหมู เขาทบูถวยหมอเจือจาน รูการคิงบรูการทาน อยาปานใจหมอง

50อยาตีเถียงฟา อยาเล็งมาเถยีงตาวัน อยาฟนพราเขาบาน อยาตานชูดวยเมียทาน อยาทอดไมจิม่คนใด อยาโฟใบบรูสัง อยาโยะหมา อยาฆาเด็ก อยาขวักเหล็กกาปลอม อยาบดอมปูเยียะการหนัก หื้อรักพอแม หื้อมีแผหลวงหลาย”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา โดยมุงสอนใหผูอานเกี่ยวกับการยับยั้งชั่งใจ มีวิจารณญาณในการฟง ไมประมาทในการจายทรัพย ไมคบคนชั่วการประพฤติตนของลูกจาง การไมเกียจคราน และความกตัญูตอพอแม ซึ่งใชภูมิปญญาทองถิ่นและคําสั่งสอนของชาวถิ่นภาคเหนือที่สืบทอดกันมาแตบรรพบุรุษสูลูกหลาน โดยการบอกเลาสืบตอกันมาเปนสื่อกลาง

4.2 การนําเสนอแบบใหผูอานตีความ การนําเสนอแบบใหผูอานตีความ เปนลักษณะการนาํเสนอโดยผูแตงไดยกเอาพฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิต บุคคล สัตว ส่ิงของ หรือสภาพการณตาง ๆ มาเปรียบเทียบกับเนื้อหาสาระที่จะนาํเสนอแกผูอานเพื่อใหเกิดความเขาใจอยางแจมชัด ซึ่งการเปรียบสิ่งหนึ่งกบัอีกสิ่งหนึง่เพือ่ชวยใหเหน็ภาพไดดียิ่งขึ้น คําเชื่อมโยงระหวาง 2 ส่ิง ไดแก คําวา เหมือน เพียง เปน ราว เปนตน คือการเปรียบเทียบโดยการอุปมาซ่ึงการใชบทเปรียบเทียบนี้ ผูแตงไมบอกตรง ๆ แตจะใชโวหารเปรียบเทียบใหผูอานตีความเอง (สายทพิย นุกลกิจ. 2523 : 160) จากบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ชั้นประถม - ศึกษาปที่ 1 - 6) เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 15 บทและบทอายานบทรองจาํนวน 10 บทปรากฏกลวิธีนาํเสนอในลักษณะทีก่ลาวมา จาํนวน 8 บท ดังนี ้

4.2.1 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “รักษาปา” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“นกเอยนกนอยนอย บินลองลอยเปนสุขศรี ขนขาวราวสําลี อากาศดีไมมีภัย ทุกทิศเจาเที่ยวทอง ฟาสีทองอันสดใส มีปาพาสุขใจ มีตนไมมีลําธาร

51ผูคนไมมีโรค นับเปนโชคสุขสําราญ

อากาศไรพิษสาร สัตวชื่นบานดินชื่นใจ คนสัตวไดพึ่งปา มารักษาปาไมไทย ส้ินปาเหมือนสิ้นใจ ชวยปลูกใหมไวทดแทน”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยอาศัยพรรณนาสภาพธรรมชาติ เปรียบเทียบนกที่มีขนขาวราวสําลีโบยบินบนทองฟาสีทองอันสดใสมีปาไมลําธาร ธรรมชาติที่รื่นรม ถามนุษยไดอยูทามกลางธรรมชาติเชนนี้ก็จะไดรับอากาศบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษ ผูแตงตองการใหเห็นความสําคัญและประโยชนของธรรมชาติ ดังนั้นจึงควรอนุรักษปาไม เพื่อใหธรรมชาติดํารงอยูตลอดไป

4.2.2 บทอาขยานบทรองเรื่อง “มาลี” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 ผูแตง ไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“มาล ี ดอกดังสีบานเย็นเห็นหรือไม ผีเสื้อรอนวอนอยูดูวิไล งามกระไรหนอผีเสื้อชางเหลืองาม กินอะไรเกิดทีไ่หนผีเสื้อเอย อยาปดเลยตอบตอที่ขอถาม นองจะไดไปเกิดไปกินตาม ใหอรามเหมือนผีเสื้อเหลือสวยเอย”

จากบทอาขยานบทรองขางตน ผูแตงนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใชผีเสื้อเปนสื่อใหเห็นธรรมชาติที่งดงามนาอนุรักษไว ผูเขียนใชกลวิธีสมมุติใหผีเสื้อฟงคําถามเพื่อใหตอบวา กินอะไรจึงไดงดงามเชนนี้ ซึ่งใชคําเปรียบวา “เหมือน” ใหเห็นวาระบบนิเวศนมีความจําเปนที่สิ่งมีชีวิตตองพึ่งพาอาศัยกันเปนวัฏจักร จึงควรรักษาระบบนิเวศวิทยาใหคงสภาพที่สมบูรณเกิดภาวะสมดุล และผลที่ไดรับคือเปนผลดีตอส่ิงมีชีวิตไมวาคนหรือสัตว

4.2.3 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “พฤษภกาสร” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนตเสนงคง สําคัญหมายในกายม ี

นรชาติวางวาย มลายสิน้ทัง้อนิทรีย สถิตทั่วแตชั่วดี ประดับไวในโลกา”

52จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ ที่มุงเนน

ใหนักเรียนตระหนักถึงการดําเนินชีวิตที่ไมประมาทและคุณคาของการทําความดีละเวนการทาํความชั่วโดยเปรียบเทียบถึงสัตวจําพวกวัว ควาย และชางถึงแมวาจะตายไปแลวตางก็ทิ้งเขา หนัง และงาเหลือไวใหคนไดใชประโยชน แตคนเราเมื่อตายไปรางกายก็เสื่อมสลายไปคงเหลือแตความดีเทานั้นที่เหลือไวเปนอนุสรณปรากฏแกเพื่อนมนุษย ดังนั้นจึงควรทําแตความดีเพื่อใหคนรุนหลังระลึกถึงเมื่อลวงลับไปแลว

4.2.4 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “วชิาเหมือนสนิคา” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชั้นประถมศกึษา ปที่ 5 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“วิชาเหมือนสินคา อันมีคาอยูเมืองไกล ตองยากลําบากไป จึงจะไดสินคามา จงตั้งเอากายเจา เปนสําเภาอันโสภา

ความเพียรเปนโยธา แขนซายขวาเปนเสาใบ นิ้วเปนสายระยาง สองเทาตางสมอใหญ ปากเปนนายงานไป อัชฌาสัยเปนเสบียง สติเปนหางเสือ ถือทายเรือไวใหเที่ยง ถือไวอยาใหเอียง ตัดแลนเลี่ยงขามคงคา ปญญาเปนกลองแกว สองดูแถวแนวหินผา เจาจงเอาหูตา เปนลาตาฟงดูลม ข้ีเกียจคือปลาราย จะทําลายใหเรือจม เอาใจเปนปนคม ยิงระดมใหจมไป จึงจะไดสินคามา คือวิชาอันพิสมัย จงหมั่นมั่นหมายใจ อยาไดครานการวิชา”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใชกลวิธีการเปรียบเทียบวิชาความรูเหมือนสินคาตองเดินทางไปเสาะแสวงหา ซึ่งเปรียบเทียบรางกายเหมือนเรือสําเภา มีความเพียรเปนกําลัง แขนซายขวาเหมือนใบเรือ นิ้วเหมือนสายระยาง สองเทาเหมอืนสมอเรอื ปากเปนผูสงงาน มีอัชฌาสัยเหมือนเสบียงอาหาร มีสติเหมือนหางเสือ มีปญญาเหมือนกลองสําหรับสองทาง มีหูตาเหมือนลาตา และความเกียจครานดังปลารายที่จะทําลายเรือ จิตใจที่เข็มแข็งเหมือนอาวุธปนที่ตอสูกับปลาทําใหไดรับชัยชนะสามารถบรรจุสินคามาไดสมปรารถนา ทําใหนักเรียนเขาใจวา การศึกษามีคุณคายิ่งใหญ การที่จะศึกษาเลาเรียนไดสําเร็จตองอาศัยความเพียรพยายาม มีสติสัมปชัญญะและมีจิตใจที่มุงมั่น

53

4.2.5 บทอาขยานบทรองเรื่อง “ปากใดเกินบมีความฮู” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชั้นประถม - ศึกษาปที่ 5 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“ปากใดเกนิบมีความฮู มักลบหลูคํามวนจิบหาย มีอุบายยอมแดงดวยหมาก ปากอันนัน้นกัปราชญนนิทา มันเกิดมามีปากเสียเปลา เหมือนปากเตาปากกุงปากหอย ปากอันใดเฮยีนธรรมฮูมาก บลําบากฟงมวนเย็นใจ ปากนาํไผเยือกเย็นคือน้ํา นักปราชญเจายอยองวาดี ปากมีศรีฮุงเฮอืงวิลาส ปากสะอาดคุณลนบซาม”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใชกลวิธีการเปรียบเทียบ คนพูดจาไมดีจะทําความหายนะมาสูตน ถึงมีปากก็เหมือนปากเตา ปากกุง ปากหอยรู วาจะกินอาหารเทานั ้น ตรงขามกับคนที่มีความรู ดี พูดจาดี ใครไดฟงก็ชื ่นใจ เปรียบเหมือนสายน้ําที่เย็นฉ่ํา เนนใหนักเรียนเขาใจความสําคัญของการพูด คิดไตรตรองกอนพูด

4.2.6 บทอาขยานบทหลกัเรื่อง “เปนมนุษยหรือเปนคน” ซึ่งเปนบทอาขยานสาํหรับชัน้ประถม - ศึกษาปที่ 6 ผูแตงไดนาํเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“เปนมนุษยเปนไดเพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถาใจต่ําเปนไดแตเพียงคน ยอมเสียทีที่ตนไดเกิดมา

ใจสะอาด ใจสวาง ใจสงบ ถามีครบควรเรียกมนุสสา เพราะทําถูกพดูถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันตจริง

ใจสกปรกมืดมัวและรอนเรา ใครมีเขาควรเรียกวาผีสิง เพราะพูดผิดทาํผิดจิตประวิง แตในสิ่งนาํตัวกลั้วอบาย

คิดดูเถิดถาใครไมอยากตก จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย ใหใจสูงเสยีไดกอนตัวตาย ก็สมหมายที่เกิดมาอยาเชือนเอย”

54จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใช

กลวิธีการเปรียบเทียบคนที่มีจิตใจดีเหมือนนกยูงมีดีที่แววขน คนที่มีจิตใจชั่วรายก็เหมือนคนที่ถูกผีเขาสิง ที่มุงเนนใหนักเรียนทําความดีละเวนความชั่ว เกรงกลัวตอการทําบาป โดยกลาวถึงคุณสมบัติของบุคคลที่ข้ึนชื่อวาเปนมนุษยนั้นจะตองมีจิตใจที่สะอาดคือมีศีล มีสมาธิ มีปญญา มีสติและคิไตรตรองกอนพูดเสมอเพราะชีวิตมนุษยเรานั้นสั้นจึงไมควรประมาท ควรยึดมั่นในหลักคําสอนของพระพุทธเจาจึงไดชื่อวาเปนมนุษยที่ประเสริฐ โดยใชกลวิธีการเปรียบเทียบคนที่มีจิตใจดีเหมือนนกยูงมีดีที่แววขนคนที่มีจิตใจชั่วรายก็เหมือนคนที่ถูกผีเขาสิง

4.2.7 บทอาขยานบทหลักเรื่อง “โคลงโลกนิติ” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที ่ 6 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ วา

“เสียสิ้นสงวนศักดิ์ไว วงศหงส เสียศักดิ์สูประสงค ส่ิงรู เสียรูเรงดํารง ความสัตย ไวนา เสียสัตยอยาเสียสู ชีพมวยมรณา

ความรูดูยิ่งล้าํ สินทรัพย คิดคาควรเมืองนับ ยิ่งไซร เพราะเหตุจักอยูกับ กายอาต มานา โจรจักเบียนบได เรงรูเรียนเอา

เวนวิจารณวางเวน สดับฟง เวนที่ถามอันยงั ไปรู เวนเลาลิขิตสัง - เกตวาง เวนนา เวนดัง่กลาววาผู ปราชญไดฤามี”

จากบทอาขยานบทหลักขางตน พบวาผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใชสัญลักษณ “วงศหงส” แทนวงศตระกูลที่สูงสง ในที่นี้ผูแตงสื่อใหผูอานเห็นวาการยอมสูญเสียทรัพยสินเพื่อรักษาวงศตระกูล ยอมเสียศักดิ์ศรีเพื่อแลกกับความรู ยอมเปนรองผูอ่ืนเพื่อรักษาความซื่อสัตย และยอมเสียชีพเพื่อรักษาความซื่อสัตย นับไดวาผูแตงมุงสอนใหเห็นความสําคัญในเรื่องความซื่อสัตยสุจริต และใชโวหารเปรียบเทียบความรูมีคายิ่งกวาทรัพยสินใด ๆ มุงสอนใหเขาใจวาทรัพยสินอาจถูกลักขโมยไดแตวิชาความรูจะอยูกับเราตลอดไป ดังนั้นเมื่อมีโอกาสควรแสวงหาความรู อีกทั้งไดนําเสนอความคิดโดยชี้ใหเห็นวาถาเวนจากการคิดพิจารณา เวนจากการสดับตรับฟง เวนจากการถามในสิ่งที่ไมรู เวนจากการเขียนเวนจากการสังเกตสิ่งตาง ๆ ก็ไมมีวันจะเปนนักปราชญได

55

4.2.8 บทอาขยานบทรองเรื่อง “เจาดวงมาลา” ซึ่งเปนบทอาขยานสําหรับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ผูแตงไดนําเสนอความคิดแบบตรงไปตรงมา วา

“เจาดวงมาลา ไปวัดดวยขา ทําบุญดวยกนั เด็ดเจาวนันี ้ จะไปสูสวรรค ทําบุญดวยกนั เถิดเจาดวงมาลา”

จากบทอาขยานบทรองขางตน พบวาผูแตงไดนาํเสนอความคิดแบบใหผูอานตีความ โดยใชกลวิธีสมมุติใหดวงดอกไมมีชีวิตจิตใจจึงไดชวนดอกไมไปทําบุญดวยกันที่วัด เพราะมีความเชื่อวาอานิสงสของการทาํบุญ คือการไดข้ึนสวรรค นับเปนการโนมนาวใจใหนักเรียนรูจักการไปทําบุญการถวายดอกไมแดพระพุทธรูป พระภิกษุ และสามเณร

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ

การศึกษาคนควาครั้งนี้ มีจุดมุงหมายเพื่อใหเหน็ลักษณะทางจริยธรรมและกลวนีําเสนอจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา โดยใชหลักเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลกัสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธกิาร พทุธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) และเสนอผลการศึกษาดวยวธิีพรรณนาวิเคราะห ผลการศึกษาสรุปไดดังนี ้ 5.1 สรุปผลการศึกษา

5.1.1 ลักษณะทางจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา การวิเคราะหจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ชั้นประถม -

ศึกษาปที่ 1 - 6) จาํนวน 25 บท เปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 15 บท และบทอาขยานบทรองจาํนวน10 บท คือ 1) บทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที ่1 จํานวน 3 บท 2) บทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศกึษาปที่ 2 จํานวน 3 บท 3) บทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที่ 3 จาํนวน 3 บท 4) บทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 4 จํานวน 5 บท 5) บทอาขยานภาษาไทยชัน้ประถมศึกษาปที่ 5 จํานวน 5 บท และ 6) บทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 6 จํานวน 6 บท พบวาในบทอาขยานภาษาไทยไดสอดแทรกเนื้อหาสาระเกี่ยวกับจริยธรรม เพื่อการปลูกฝงจริยธรรมและเปนแนวทางที่พึงเสริมสรางใหแกนักเรียนครบถวนตามเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ที่ใชเปนกรอบในการศกึษาครั้งนี ้คือ 1) ความใฝรู 2) ความขยนั 3) ความอดทน 4) ความประหยัด5) ความซื่อสัตย 6) ความมีระเบียบวินัย 7) ความรับผิดชอบ 8) ความสามัคคี 9) ความเสียสละ 10) ความเมตตากรุณา 11) ความกตัญูกตเวท ี 12) ความยุติธรรม และ13) ความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจริยธรรมเหลานี้กระจายอยูในหนังสือเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิาร ซึง่เปนหนังสอือานเพิม่เติม ทีก่ระทรวงศึกษาธกิารไดกําหนดใหนักเรียนทองจาํในสถานศึกษา

จริยธรรมที่กระจายอยูในบทอาขยานภาษาไทยระดบัประถมศึกษาปที ่ 1 ถึงชัน้ประถมศึกษาปที่ 6 แตละระดับชั้นมีไมทากนั และจริยธรรมแตละดานปรากฏความถี่ไมเทากนัดวย ซึ่งผลจากการวิเคราะหพบวา

57

บทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ปรากฏจริยธรรมตามลําดับความถี่จากมากไปหานอยตามลําดับดังนี้ ลําดับที่ 1 คือ ความกตัญูกตเวที มีความถี่ 2 ลําดับที่ 2 ความสามัคคี และความเมตตากรุณา มีความถี่ 1 บทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที ่ 2 จริยธรรมที่ปรากฏ คือ ความขยัน ความรับผิดชอบ และความเมตตากรุณา ซึ่งปรากฏมีความถี่ 1 เทากัน บทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ปรากฏจริยธรรมตามลําดับความถี่จากมากไปหานอยตามลําดับดังนี้ ลําดับที่ 1 คือ ความใฝรู ความขยัน มีความถี่ 2 ลําดับที่ 2 คือ ความรับผิดชอบ และความสามัคคี มีความถี่ 1 บทอาขยานภาษาไทยระดับชัน้ประถมศกึษาปที่ 4 จริยธรรมทีป่รากฏ คือ ความใฝรู ความสามัคค ีความเมตตากรุณา และความกตัญูกตเวที มีความถี่ 1 เทากัน บทอาขยานภาษาไทยระดับชัน้ประถมศกึษาปที ่ 5 ปรากฏจรยิธรรมตามลาํดับความถี่จากมากไปหานอยตามลําดับดังนี้ ลําดับที ่1 คือ ความใฝรู มคีวามถี ่3 ลําดับที่ 2 คือ ความขยนั ความอดทน ความเปนผูมวีฒันธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณ ี มีความถี่ 2 ลําดบัที่ 3 คือ ความมีระเบียบวนิัย ความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา และความกตัญกูตเวท ีมีความถี่ 1 บทอาขยานภาษาไทยระดับชัน้ประถมศกึษาปที ่ 6 จริยธรรมทีป่รากฏ คือ ความใฝรู ความขยนั ความอดทน และความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มีความถี่ 1 เทากัน จริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ซึ่งมีจํานวน 25 บทเปนบทอาขยานบทหลักจํานวน 15 บท บทอาขยานบทรองจํานวน 10 บท ดังกลาว สามารถสรุปเพื่อแสดงการกระจายและความถี่ของการปรากฏจริยธรรมไดตามตารางที่ 7 ดังตอไปนี้

58

ตาราง 7 แสดงการกระจายและความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับ ประถมศึกษา ต้ังแตชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปที่ 6

ความถี ่ขอที่ จริยธรรม

ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 รวม ลําดับ

1 ความใฝรู - - 2 1 3 1 7 1 2 ความขยนั - 1 2 - 2 1 6 2 3 ความอดทน - - - - 2 1 3 5 4 ความประหยดั - - - - - - - - 5 ความซื่อสัตยสุจริต - - - - - - - - 6 ความมีระเบียบวินัย - - - - 1 - 1 6 7 ความรับผิดชอบ - 1 1 - 1 - 3 5 8 ความสามัคคี 1 - 1 1 - - 3 5 9 ความเสยีสละ - - - - - - - - 10 ความเมตตากรุณา 1 2 - 1 1 - 5 3 11 ความกตัญกูตเวท ี 2 - - 1 1 - 4 4 12 ความยุติธรรม - - - - - - - - 13 ความเปนผูมวีฒันธรรมและ

ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณ ี

- - - - 2 1 3 5

รวม 4 4 6 4 13 4 จากตาราง 7 แสดงใหเห็นวา จริยธรรมที่พึงปลูกฝงเพื่อเปนแนวทางและเสริมสรางใหแกนักเรียนทั้ง 13 ประการกระจายอยูในบทอาขยานภาษาไทยแตละระดับชั้นไมเทากัน ระดับชั้นที่มี จริยธรรมมากที่สุดคือ บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 5 มีจริยธรรมอยูถึง 8 ดาน (ดานที่ไมปรากฏ 5 ดานคือ ความประหยัด ความซื่อสัตยสุจริต ความสามัคคี ความเสียสละ และความยุติธรรม) และความถี่ปรากฏก็มากที่สุดดวย คือ มีความถี่ 13 สวนระดับชั้นที่มีจริยธรรมกระจายอยูนอยที่สุดคือ บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาปที่ 1 และประถมศึกษาปที่ 2 ซึ่งมีจริยธรรมปรากฏอยู 3 ดาน ซึ่งมีดานจริธรรมไมตรงกัน ระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 1 (ดานที่ไมปรากฏ 10 ดานคือ ความใฝรู ความขยัน ความอดทน ความประหยัด ความซื่อสัตยสุจริต ความมี

59

ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความยุติธรรม และความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี) ระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 2 (ดานที่ไมปรากฏ10 ดานคือ ความใฝรู ความอดทน ความประหยัด ความซื่อสัตยสุจริต ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความยุติธรรม และความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี) และจากตาราง 7 ยังแสดงถึงความถี่ของจริยธรรมแตละดานที่ปรากฏโดยรวมจากมากไปหานอยตามลําดับ ดังนี้ ลําดับที่ 1 คือความใฝรู มีความถี่ 7 ลําดับที่ 2 คือความขยัน มีความถี่ 6 ลําดับที่ 3 คือความเมตตากรุณา มีความถี่ 5 ลําดับที่ 4 คือความกตัญูกตเวที มีความถี่ 4 ลําดับที่ 5 ความอดทน ความรับผิดชอบ ความสามัคคี และความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มีความถี่ 3 และลําดับที่ 6 คือความมีระเบียบวินัย มีความถี่ 1 สวนจริยธรรมที่ไมปรากฏใหเห็น คือความประหยัด ความซื่อสัตยสุจริต ความเสียสละ และความยุติธรรม บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา นอกจากจะปรากฏจริยธรรมตามที่ไดกําหนดไวเปนกรอบในการศึกษาแลว ยังปรากฏวามีจริยธรรมดานอื่น ๆ อีกหลายประการ ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ความเอื้อเฟอเผื่อแผ ความรักในธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การรูจักคุณคาของทรัพยากร การพึ่งพาอาศัยกัน การรูจักเลือกใชคําพูดที่ดี การทําความดีละเวนความชั่ว ความไมประมาท ความรักของแมที่มีตอลูก ความกลาหาญ การพึ่งพาตนเอง การรูจักประมาณตน ไมดูถูกดูหมิ่นอาชีพที่ดอยกวา ความเปนผูมีเหตุผล มีมรรยาทในการพูด ความรอบคอบ ความรักความพอใจในกิจการงาน ความเอาใจใส การรูจักไตรตรอง การทําใจใหสงบมีสมาธิ การประนีประนอม ความเปนผูมีเหตุผล การยอมรับฟงความคิดเห็นตอผูอ่ืน การอยูรวมกันในสังคม การเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ และการวางตัวใหเหมาะสม

5.1.2 กลวิธีนาํเสนอจริยธรรมในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา จากการวิเคราะหกลวิธนีําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ชัน้ประถม -

ศึกษาปที ่1 – 6) พบวามี 2 ลักษณะ คือ การนาํเสนอแบบตรงไปตรงมา มีจาํนวน 17 บท ดังนี้ ไดแกเร่ือง 1) แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟน 2) รักเมอืงไทย 3) ฝนตก แดดออก 4) ไกแจ 5) เดก็นอย6) วิชาหนาเจา7) ไทยรวมกําลังตั้งมัน่ (พระรวง) 8) เพลงชาต ิ9) ปากเปนเอก เลขเปนโท หนงัสือเปนตรี ชัว่ดีเปนตรา 10) สยามานุสสติ 11) กาเหวา 12) ตนเปนที่พงึแหงตน 13) ผูรูดีเปนผูเจริญ 14) อนึ่งเวลา 15) ผูชนะ 16) เพลงยาวเจาอิศรญาณ และ17) อยานัง่ใกลถงุเงนิคํา

สวนการนําเสนอแบบใหผูอานตีความ มีจํานวน 8 บท ไดแก เร่ือง 1) รักษาปา 2) มาล ี3) พฤษภกาสร 4) วชิาเหมอืนสนิคา 5) ปากใดเกนิบมคีวามฮู 6) เปนมนุษยหรือเปนคน 7) โคลงโลกนิติ และ8) เจาดวงมาลา

60

5 . 2 อภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาวิเคราะหจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้

มีประเด็นตาง ๆ ที่ควรกลาวถงึ ไดแก 5.2.1 เกณฑการวิเคราะหและจริยธรรมที่ปรากฏ

การวิเคราะหจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยพบวาเกณฑจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ. ศ. 2533) ที่ใชเปนกรอบในการวิเคราะหมีความเหมาะสม กลาวคือ ในการวิเคราะหขอมูลพบจริยธรรมที่อยูในกรอบ 13 ประการ ซึ่งลวนเปนจริยธรรมที่ควรปลูกฝงใหแกนักเรียนตั้งแตวัยเยาว เพื่อนักเรียนจะไดเติบโตขึ้นเปนผูใหญที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งตอตนเอง ตอผูอ่ืน และตอสังคมที่เหมาะสม อันจะนําไปสูการอยูรวมกันในสังคมอยางมีความสุข แตอยางไรก็ตาม จะเห็นไดวาจริยธรรมทั้ง 13 ประการที่ใชเปนกรอบในการวิเคราะหครั้งนี้ยังไมครอบคลุมถึงจริยธรรมหลายประการที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ซึ่งเปนจริยธรรมที่ควรปลูกฝงใหมีข้ึนแกนักเรียนดวย เชน ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ความเอื้อเฟอเผื่อแผ ความรักในธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การรูจักคุณคาของทรัพยากร การพึ่งพาอาศัยกัน การทําความดีละเวนความชั่ว ความไมประมาท ความรักของแมที่มีตอลูก ความกลาหาญ การพึ่งพาตนเอง การรูจักประมาณตน ไมดูถูกดูหมิ่นอาชีพที่ดอยกวา ความเปนผูมีเหตุผล มีมรรยาทในการพูด ความรอบคอบ ความรักความพอใจในกิจการงาน ความเอาใจใสการรูจักไตรตรอง การทําใจใหสงบมีสมาธิ การประนีประนอม ความเปนผูมีเหตุผล การยอมรับฟงความคิดเห็นตอผูอ่ืน การอยูรวมกันในสังคม การเชื่อฟงคําสั่งสอนของผูใหญ และการวางตวัใหเหมาะสมและอื่น ๆ จริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้งที่ปรากฏตามเกณฑ 13 ประการ และนอกเหนือเกณฑดังกลาวลวนมีลักษณะเปนคําสั่งสอนที่เปนไปตามแนวเดียวกัน ไมมีขอแตกตางมากนัก

5.2.2 ความถี่ของจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาทัง้ 25 บทปรากฏจริยธรรมโดยภาพรวม

เรียงลําดับความถี่ได 10 ลําดับ ซึ่งแตละลาํดับไดดังนี ้

ลําดับที่ 1 คือ ความใฝรู มีความถี่ 7 ลําดับที่ 2 คือ ความขยนั มีความถี่ 6

ลําดับที่ 3 คือ ความเมตตากรุณา มีความถี่ 5 ลําดับที่ 4 คือ ความกตัญูกตเวท ี มีความถี่ 4

61

ลําดับที่ 5 คือ ความอดทน มีความถี่ 3 ลําดับที่ 6 คือ ความรับผิดชอบ มีความถี่ 3 ลําดับที่ 7 คือ ความสามคัคี มีความถี่ 3 ลําดับที่ 8 คือ ความเปนผูมีวัฒนธรรม มีความถี่ 3 ลําดับที่ 9 คือ ความเปนผูมีวัฒนธรรมและปฏิบัติ มีความถี่ 3

ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ลําดับที1่0 คือ ความมีระเบียบวนิัย มคีวามถี่ 1

จากการวิเคราะหจริยธรรมทีป่รากฏในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาดังกลาว ผูวิจยั เห็นวาการปลูกฝงจริยธรรมเปนเรื่องสําคัญและละเอียดออน ที่ตองอาศัยการนําเสนอเนื้อหาสาระใหเหมาะสมเพื่อผูเเรียนจะไดเขาใจ ไมเบื่อหนาย และสามารถใชวิจารณญาณในการนําจริยธรรมไปปรับพฤติกรรมของตน เพื่อไมใหเปนปญหาตอตนเอง ตอสังคม และประเทศชาติ ดังนั้น บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษานับไดวาเปนบทอาขยานที่มีเนื้อหาสาระเหมาะสมกับการปลูกฝง จริยธรรม คือ บทอาขยานแตละเรื่องมีเนื้อหาสาระของจริยธรรมที่ปลูกฝงแกผูเรียนอยางเหมาะสม ไมมากไมนอยจนเกินไป มีการใชภาษาที่ผูเรียนเขาใจไดงาย ตรงไปตรงมาไมซับซอน มีความชัดเจน ผูเรียนสามารถเขาใจไดงายขึ้น และนําไปแกไขปรับปรุงพฤติกรรมของตนใหดีข้ึน จึงนับไดวาบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาเปนสื่อที่ดี อยางไรก็ดีไดมีบทอาขยานภาษาไทยบางบท บางชั้นเรียนที่ใชภาษาถิ่น คือมีการใชภาษาทองถิ่นของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใตจึงทําใหผูเรียนและผูอานยากแกการเขาใจเนื้อหาในบทอาขยานเพราะไมทราบความหมายของคําภาษาทองถิ่นจึงไมสามารถแปลความบทรอยกรองได แตก็สงผลดีทําใหผูเรียนและผูอานไดเรียนรูภาษาที่เปนภูมิปญญาไทยในแตละภาค แตละทองถิ่น อีกทั้งเปนการชี้แนะใหเด็กสํานึกรักบานเกิด ภาคภูมิใจในทองถิ่นของตนและสงเสริมใหบรรพบุรุษไดนําภูมิปญญาไทยทางภาษาถายทอดใหลูกหลานไดเรียนรูสืบตอไป

5.2.3 รูปแบบบทรอยกรอง

จากการศึกษาบทอาขยานภาษาไทยในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยตั ้งแตชั ้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ทั้ง 25 บทลวนเปนบทรอยกรองทั้งสิ้น บทรอยกรองเหลานี้มีรูปแบบฉันทลักษณการประพันธ 10 ประเภทคือ 1) กลอนสี่ พบวามี 2 เร่ืองไดแก เรื่องรักเมืองไทยและฝนตกแดดออก 2) กลอนสุภาพ พบวามี 6 เร่ือง ไดแก เรื่องปากเปนเอก เลขเปนโท หนังสือเปนตรี ชั่วดีเปนตรา เพลงชาติ ตนเปนที่พึ่งแหงตน ผูชนะ เปนมนุษยหรือเปนคนและเพลงยาวเจาอิศรญาณ 3) กลอนบทละคร พบวามี 2 เร่ือง ไดแก เร่ืองมาลีและไทยรวมกําลังตั้งมั่น (พระรวง) 4)

62

กลอนดอกสรอย พบวามี 3 เรื่อง ไดแก เรื่องแมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟน ไกแจ และเด็กนอย 5) กาพยยานี 11 พบวามี 5 เร่ือง ไดแก เร่ืองรักษาปา พฤษภกาสร กาเหวา วิชาเหมือนสินคา และอนึ่งเวลากิน 6) กาพยสุรางคนางค พบวามี 2 เรื่อง ไดแก เรื่องวิชาหนาเจา และเจาดวงมาลา 7) กาพยอีสาน พบวามี 1 เร่ือง ไดแก เร่ืองปากใดเกินบมีความรู 8) โคลงสี่สุภาพ พบวามี 2 เร่ือง ไดแก เร่ืองสยามานุสสติและโคลงโลกนิติ 9) โคลงสี่สุภาพสลับกาพยยานี 11 พบวามี 1 เร่ือง ไดแก เร่ืองผูรูดีเปนผูเจริญ 10) รายโบราณ พบวามี 1 เร่ือง ไดแก เร่ืองอยานั่งใกลถุงเงินคํา

รูปแบบฉันทลักษณในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาทั้ง 10 ประเภทดังกลาวสามารถสรุปไดดังตารางตอไปนี้

ตาราง 7 แสดงจํานวนบทรอยกรองรูปแบบฉันทลักษณที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ 6

ระดับชัน้ ความถี ่

ประเภท ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 รวม ลําดับ

1. กลอนสี ่ 2 - - - - - 2 4

2. กลอนสุภาพ - - - 2 1 3 6 1 3. กลอนบทละคร - 1 1 - - - 2 4

4. กลอนดอกสรอย 1 1 1 - - - 3 3 5. กาพยยานี 11 - 1 - 2 2 - 5 2

6. กาพยสุรางคนางค 28 - - 1 - - 1 2 4 7. กาพยอีสาน - - - - 1 - 1 5

8. โคลงสี่สุภาพ - - - 1 - 1 2 4 9. กาพยหอโคลง - - 1 - - - 1 5

10. รายโบราณ - - - 1 - - 1 5

รวม 3 3 4 6 4 5

63

จากตารางแสดงวา กลอนสุภาพมีจํานวนมากที่สุด พบในชั้นประถมศึกษาปที่.4 ประถม -ศึกษาปที่ 5. และประถมศึกษาปที่.6 มีความถี่ 6 รองลงมาคือ กาพยยานี 11 พบในชั้นประถมศึกษาปที่.2 ประถมศึกษาปที่.4 และประถมศึกษาปที่ 5 มีความถี่ 5 กลอนดอกสรอย พบในชั้นประถมศึกษาปที่.1 ประถมศึกษาปที่ 2 และประถมศึกษาปที่.3 มีความถี่ 3 กลอนสี่ พบในชั้นประถมศึกษาปที่.1 กลอนบทละคร พบในชั้นประถมศึกษาปที่ 2 และ3 กาพยสุรางคนางค 28 พบในชั้นประถมศึกษาปที่ 3 และประถมศึกษาปที่ 6 มีความถี่ 2 สวนโคลงสี่สุภาพพบในชั้นประถมศึกษาปที่ 4และประถมศึกษาปที่ 6 สวนเพลงพื้นบาน พบในชั้นประถมศึกษาปที่ 5 กาพยหอโคลง พบในชั้นประถมศึกษาปที่ 3 และรายโบราณพบในชั้นประถมศึกษาปที่ 4 มีความถี่ 1

จากการศึกษารูปแบบของบทรอยกรองที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยดังกลาว พบวา รูปแบบรอยกรองที่ใชสวนใหญจะเปนรูปแบบคําประพันธงาย ๆ ไมซับซอน ซึ่งมีความเหมาะสมกับการถายทอดความคิดผานเนื้อหาของบทรอยกรอง เพื่อใหผูอานและเด็กนักเรียนสามารถทําความเขาใจไดงาย ดังนั้น เนื้อหาของบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาสวนใหญเปนบทรอยกรองที่มีความยากงายเหมาะสมกับวัยของผูเรียน ความยาวพอเหมาะ สอนและกลาวถึงเรื่องที่อยูใกลตัว สามารถพบเห็นหรือประพฤติปฏิบัติไดงาย เชน พฤติกรรมการแสดงความกตัญูกตเวทีตอผูมีพระคุณ ความมีระเบียบวินัย ความขยันอดทน ความรักความเมตตากรุณา และการอยูรวมกันในสังคม เปนตน จนถึงสิ่งที่อยูไกลตัว ไมวาจะเปนการอยูรวมกับบุคคลอื่นในสังคม ความจงรักภักดีตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย เห็นคุณคาของสิ่งตาง ๆ ไมวาจะเปนธรรมชาติ หรือส่ิงที่บงบอกถึงความเปนไทย ไดแก วรรณคดี ภาษา วรรณกรรมทองถิ่น และเพลงกลอมเด็ก ที่มีการชี้ใหเห็นผลดีและผลเสียของการกระทํา อีกทั้งยังสอดแทรกขอคิดเกี่ยวกับจริยธรรม คําสอน คติเตือนใจไปสูนักเรียนและผูอาน ใหปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามเปนประโยชนตอตนเอง ตอผูอ่ืน และตอสังคม 5.3 ขอเสนอแนะ จากการศึกษาวิเคราะหบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา ผูวิจัยมีขอเสนอแนะในการศึกษาคนควาเพิ่มเติม ดังนี้

1. จากที ่บทอาขยานภาษาไทยระด ับประถมศ ึกษาเป นหน ังส ืออ านเพิ ่ม เต ิมที่กระทรวงศึกษาธิการไดพิจารณาประกาศใหใชในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดยใหนักเรียนทองบทอาขยานภาษาไทย ซึ่งเปนบทรอยกรองที่สอดแทรกจริยธรรมที่พึงปลูกฝงและเสริมสรางใหแกนักเรียนเปนอยางดี ดังที่ผูวิจัยไดกลาวแลว ดังนั้น โรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศควรใหนักเรียนทองบทอาขยานภาษาไทยตอไป

64

2. ครูผูสอนควรศึกษาวิเคราะหสังเคราะหเนื้อหาสาระของจริยธรรมที่สอดแทรกอยูในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาใหละเอียด รวมทั้งในการสอนก็ควรอาศัยศิลปะการถายทอดใหผูเรียนมีการแยกแยะตอกย้ําพฤติกรรมที่ถือวาดีและพฤติกรรมที่ถือกันวาไมดี เพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูและเปนการปลูกฝงใหจริยธรรมที่พึงประสงคเกิดขึ้นกับผูเรียนอยางยั่งยืน

3. การศึกษาวิเคราะหลักษณะจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษาครั้งนี้ ผูวิจัยไดใชวิธีการวิจัยเอกสาร และใชเกณฑการวิเคราะหจริยธรรม 13 ประการ จากกลุมสรางเสริมลักษณะนิสัย หลักสูตรประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) เปนกรอบในการวิจัย ซึ่งพบวาทั้งวิธีการวิจัยและเกณฑการวิเคราะหสามารถใชไดดี จึงนาจะใชวิธีการวิจัยและเกณฑการวิเคราะหเดียวกันนี้ไปใชศึกษาวิเคราะหลักษณะ จริยธรรมและกลวิธีนําเสนอบทอาขยานภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาดวย ทั้งนี้ เพื่อเปนแนวทางการปลูกฝงและเสริมสรางจริยธรรมที่พึงประสงคเกิดขึ้นกับผูเรียนอยางยั่งยืน

4. การศึกษาวิเคราะหลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอครั้งนี้ ผูวิจัยไดใชวิธีวิจัยเอกสาร ซึ่งไดผลที่ทําใหเห็นจริยธรรมที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทย จึงนาจะมีการวิจัยจริยธรรมที่เกิดขึ้นจริงกับผูเรียนทุกระดับ โดยใชวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อใหเห็นวาบทอาขยานภาษาไทยไดสงเสริมใหเกิดจริยธรรมที่พึงประสงคไดจริงเพียงใด

บรรณานุกรม กนก จันทรขจร. (2525). ความรูและจริยธรรมเพื่อชีวิต. พิมพคร้ังที ่3. กรุงเทพฯ : เพชรสยาม

การพิมพ. กระทรวงศึกษาธิการ. (2523). คูมือครูจริยธรรมชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4. กรุงเทพฯ : กรมศาสนา. _______ . (2532) แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ. _______ . (2535). คูมือหลกัสตูรประถมศึกษาตอนตนตอนปลายพุทธศกัราช2521 (ฉบับปรบัปรงุ

พ.ศ. 2533). พิมพคร้ังที ่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา _______ . (2542). แนวการจัดกิจกรรมเพือ่สรางเสริมคณุลกัษณะ ดี เกง มสีุข. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ

พ.ศ. 2533). พิมพคร้ังที ่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา ______ . (2542) บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศกึษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา. กฤษฏา พุมเกิด และคณะ. (2542). การศึกษาวิเคราะหคุณธรรมที่ปรากฏในหนังสือสําหรบัเด็ก. รายงานการวิจัย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. กุหลาบ มัลลิมะมาส. (2517). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง. กุหลาบ มัลลิมะมาส. (2543). วรรณคดีวิจารณ. พิมพคร้ังที่ 10. กรุงเทพฯ : มหาวทิยาลัยรามคําแหง. ชัยณรงค ศรีสุข. (2545). คุณธรรม จริยธรรม และคานิยมที่พึงประสงคของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปที่ 6 ในสงักดัสาํนกังานการประถมศกึษา อําเภอทาบอ จงัหวัดหนองคาย. ปริญญานิพนธ กศ.ม. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ชูศักดิ์ ศุภรนันท. (2533). การวิเคราะหรอยกรองเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนจากวารสาร ในชวงป พ.ศ. 2528 – 2530. ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวโิรฒ อัดสําเนา. ชําเลือง วุฒิจนัทร. (2524). คุณธรรมและจริยธรรมหลักการและวธิีการพัฒนาจริยศกึษาใน สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศกึษาธิการ. กรุงเทพฯ : กรมศาสนา. ดวงเดือน พันธุมนาวนิ และเพ็ญแข ประจนปจจานึก. (2520). รายงานการวิจัยเรือ่งจริยธรรมของ

เยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสําเนา.

ธวัช ปุณโณทก. (2527). แนวทางศกึษาวรรณกรรมปจจบัุน. กรุงเทพฯ : ไทยวฒันาพานิช. ธิดา โมสิกรัตน. (2533). “ประวติัการอานทาํนองเสนาะ” ในเอกสารการสอนชุดวิชาการใช

ภาษาไทย 2 : หนวยที่ 8-15. พิมพคร้ังที่ 2 . นนทบุรี : มหาวิทยาลยัสุโขทัยธรรมาธิราช.

67

นภาลัย สุวรรณธาดา.(2533) “ความรูเบื้องตนเรื่องการประพันธ” ในเอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย 2. : หนวยที่ 1-7. พิมพคร้ังที่ 2. นนทบุรี : มหาวทิยาลยัสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญยงค เกศเทศ. (2525). วรรณกรรมวเิคราะห. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร. เบญจมาศ พลอินทร. (2525). แงคิดจากวรรณคดี และวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร. เบญจวรรณ สุขวัฒน. (2545). รอยกรองของแรคํา ประโดยคํา :.การศกึษาเชิงวเิคราะห.

ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวโิรฒ อัดสําเนา.. ประภาศรี สีหอําไพ. (2535). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ประทิน อภิณหสมิต. (2535). การวเิคราะหเนื้อหาดานจรยิธรรมในหลักสตูรมัธยมศึกษา ตอนตน พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติร. ประเมิน เชียงเถียร. (2522). วิเคราะหวรรณกรรมรอยกรองของเนาวรัตน พงษไพบูลย.

ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวโิรฒ อัดสําเนา. ปรียาพร วงศอนุตรโรจน. (2534). จิตวิทยาการศกึษา. กรุงเทพฯ : ศูนยสงเสริมกรุงเทพฯ. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, (2541). ด่ังดวงแกว. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส. พุทธทาสภิกขุ. (2521). การสรางเสรมิจรยิธรรมแกเด็กวัยรุน. กรุงเทพฯ : สมชายการพิมพ. เพ็ญพักตร สูงสุมาลย. (2544). การวิเคราะหบทรอยกรองของไพวรินทร ขาวงาม

ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวโิรฒ อัดสําเนา. พรสุข บุญสุภา และรมณี เพชรคุปต. (2518 ). นวนิยายอังกฤษและนวนิยายอเมริกัน.กรุงเทพฯ : มิตรสยาม. ภิญโญ สาธร. (2522.พฤษภาคม - มิถุนายน). ความหมายของจริยธรรม. การศึกษาแหงชาติ. ปที่ 15 (6) : 22. มาลิน ี จฑุะรพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : พิทยพิสุทธิ.์ ระพีพร นาสมหมาย. (2543). วิเคราะหคุณธรรม จรยิธรรมที่ปรากฏในหนังสอืเรียนภาษาไทย

ชุดทักษะสัมพันธ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน ของกรมวิชาการ. ปริญญานิพนธ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวทิยาลัยมหาสารคาม.

รัชนี ศิริชัย. (2536). จริยธรรมที่เด็กไดรับจากหนังสือแบบเรียนภาษาไทยและหนังสือการตูน กรณีศึกษานกัเรียนชั้นประถมปที่ 6 โรงเรียนสมฤดีสมุทรปราการ.ปริญญานิพนธ กศ. ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรนีครินทรวิโรฒ อัดสําเนา.

68

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานกุรมฉบับราชบณัฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทศัน. รุง ใจมา.(2541) การสรางสารานุกรมวรรณกรรมรอยกรองระดับประถมศกึษา. การคนควา แบบอิสระ ศษ. ม. เชียงใหม : ถายเอกสาร. รุงฤดี ภูชมศรี (2542). วิเคราะหบทอานในหนังสือเรียนภาษาไทยหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2523) ในฐานะวรรณกรรมสาํหรับเด็ก.

ปริญญานพินธ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวทิยาลยัมหาสารคาม. วันเนาว ยูเด็น. (2525). วรรณคดีเบื้องตน. กรุงเทพฯ : มิตรสยาม. วิจิตรา สุภากร. (2523). วิเคราะหหนังสืออานสาํหรับเด็กในดานคุณธรรมเฉพาะที่พิมพเปน

ภาษาไทยระหวางป พ.ศ. 2520 - 2522 ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิริยะ สิริสิงห. (2537). การเขียนเรื่องสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน. วีณา ตางใจ. (2546). วิเคราะหบทรอยกรองทีไ่ดรับรางวัล “การประชนักลอนสดประเภท

ประชาชน” ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบณัฑิตย พ.ศ. 2535 - 2544. สารนพินธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรนีครินทรวิโรฒ อัดสําเนา.

วีณา วีสเพญ็.(ม.ป.ป.) เอกสารประกอบการเรยีนการสอนภาษาไทยระดับมธัยมศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวนัออก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศรีวิไล ดอกจันทร (2529). การสอนวรรณกรรมวรรณคดีไทย. เชียงใหม : คณะศึกษาศาสตร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สาโรช บัวศรี. (2526) จริยธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว. สายทิพย นุกูลกิจ. (2533). วรรณคดีวิจารณ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. _______ . (2534). วรรณกรรมไทยปจจุบัน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. สุดารัตน ชรรินชัย. (2531) .การรวิเคราะหเนื้อหาดานมโนทัศนทางจริยธรรมในนวนิยายที่เปน หนังสืออานนอกเวลาวิชาภาษาไทย. ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ อัดสําเนา. สุวนีย มกราพันธ. (2525). แงคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : แพรพิทยา. สุขกมล รัตนสุภา (2536). การศึกษาบทรอยกรองของศิวกานท ปทุมสูติ. ปริญญานิพนธ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อัดสําเนา.

69

เสฐียรพงษ วรรณปก. (2537,สิงหาคม - กันยายน). ความหมายของจริยธรรม. การศึกษาแหงชาติ. ปที่ 28 (6) : 15. อัจฉริยา แยมยิ้ม. (2543). การศกึษาผลการสอนโดยใชแบบเรยีนเลมเลก็เชงิวรรณกรรมที่มีตอ การใชเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5. ปริญญานิพนธ กศ.ม.

กรุงเทพฯ :มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ อัดสําเนา.

ภาคผนวก

71

บทอาขยานภาษาไทยบทหลักระดับประถมศึกษา : ขอมูลที่ใชวิเคราะหจริยธรรมและกลวิธีนําเสนอ

ระดับประถมศึกษาปที่ 1

แมวเหมียวแยกเขีย้วยิงฟน

แมวเอยแมวเหมียว รูปรางประเปรียวเปนหนักหนา รองเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา เคลาแขงเคลาขานาเอ็นดู รูจักเอารักเขาตอต้ัง คํ่าค่ําซ้ํานั่งระวังหนู ควรนับวามันกตัญู พอดูอยางไวใสใจเอย

ของ ทัด เปรียญ รองลําแขกบรเทศ จาก ดอกสรอยสุภาษิต

รักเมืองไทย

คนไทยนีดี้ เปนพีเ่ปนนอง เมืองไทยเมืองทอง เปนของคนไทย

คนไทยเขมแข็ง รวมแรงรวมใจ รักชาติยิ่งใหญ ไทยสามัคคี ธงไทยไตรรงค เปนธงสามสี ทั้งสามสิ่งนี้ เปนที่บูชา สีแดงคือชาติ สีขาวศาสนา น้ําเงินงามตา พระมหากษัตริยไทย เรารักเพื่อนบาน ไมรานรุกใคร เมื่อยามมีภัย รวมใจปองกัน เรารักทองถิ่น ทํากินแบงปน ถิ่นไทยเรานั้น ชวยกันดูแล

ของ นภาลัย สุวรรณธาดา ในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 1 เลม 2 หนา 111

72

ระดับประถมศึกษาปที่ 2

ไกแจ

ไกเอยไกแจ ถึงยามขันขันแซกระชั้นเสียง

โกงคอเรื่อยรองซองสาํเนยีง ฟงเพียงบรรเลงวงัเวงดัง

ถาตัวเราเหลานี้หมั่นนึก ถึงคุณครูผูฝกสอนสั่ง

ไมมากนักสักวันละสองครั้ง คงตั้งแตสุขทุกวันเอย

ของ หมอมเจาประภากร รองลํานางนาค จาก ดอกสรอยสุภาษิต

รักษาปา

นกเอยนกนอยนอย บินลองลอยเปนสุขศรี ขนขาวราวสําลี อากาศดีไมมีภัย ทุกทิศเจาเที่ยวทอง ฟาสีทองอันสดใส มีปาพาสุขใจ มีตนไมมีลําธาร ผูคนไมมีโรค นับเปนโชคสุขสําราญ อากาศไรพิษสาร สัตวชื่นบานดินชื่นใจ คนสัตวไดพึ่งปา มารักษาปาไมไทย ส้ินปาเหมือนสิ้นใจ ชวยปลูกใหมไวทดแทน ในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 2 เลม 2 หนา 123

73

ระดับประถมศึกษาปที่ 3

เด็กนอย

เด็กเอยเด็กนอย ความรูเรายังดอยเรงศึกษา เมื่อเติมใหญเราจะไดมีวิชา เปนเครื่องหาเลี้ยงชีพสําหรับตน ไดประโยชนหลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล ถึงลําบากตรากตรําก็จําทน เกิดเปนคนควรหมั่นขยันเอย รองลําฝร่ังรําเทา ในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 3 เลม 1 หนา 13

วิชาหนาเจา

เกิดมาเปนคน หนงัสือเปนตน วิชาหนาเจา ถาแมนไมรู อดสูอายเขา เพื่อนฝงูเยาะเยา วาเงาวาโง

ลางคนเกดิมา ไมรูวิชา เคอะอยูจนโต ไปเปนขาเขา เพราะเงาเพราะโง บางเปนคนโซ เที่ยวขอก็ม ี ถารูวิชา ประเสริฐหนกัหนา ชูหนาราศ ี จะไปแหงใด มีคนปราน ี ยากไรไมม ี สวัสดีมงคล

จากประถม ก กา ฉบับหอสมุดแหงชาติ ในหนังสือเรียนภาไทย ชุดพื้นฐานภาษา

ชั้นประถมศกึษาปที ่3 เลม 2 หนา 96

74

ระดับประถมศึกษาปที่ 4

ปากเปนเอก เลขเปนโท หนังสือเปนตรี ชั่วดีเปนตรา

ปากเปนเอกเหมือนเสกมนตรใหคนเชือ่ ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน จะกลาวถอยรอยคําไมรําคาญ เปนรากฐานเทิดตนพนลําเค็ญ เลขเปนโทโบราณทานสั่งสอน เรงสังวรเวี่ยไวใชวาเลน การคํานวณควรชํานาญคูณหารเปน ชวยใหเดนดีนักหนารูทาคน หนังสือเปนตรีวิชาปญญาเลิศ เรียนไปเถิดรูไวไมไรผล ยามยากแสนแคนคับไมอับจน ไดเลี้ยงตนดวยวิชาหาทรัพยทวี ชั่วดีเปนตราประทับไวกับโลก ยามวิโยคชีพยับลับรางหนี ที่ศูนยแทก็แตตัวสวนชั่วดี คงเปนที่ลือทั่วชั่วฟาดิน ของ ทานผูหญิงสมโรจน สวัสดิกุล ณ อยุธยา จากบทประพันธอธิบายสุภาษิต

พฤษภกาสร

พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนตเสนงคง สําคัญหมายในกายม ี นรชาติวางวาย มลายสิน้ทัง้อนิทรีย สถิตทั่วแตชั่วดี ประดับไวในโลกา พระนพินธสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระปรมานุชิตชโินรส ในหนังสือเรียนภาษาไทย ชดุพื้นฐานภา ชั้นประถมศกึษาปที ่4 เลม 1 หนา 58

75

ระดับประถมศึกษาปที่ 4

สยามานสุสติ

ใครรานใครรุกดาว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ ส้ินแล เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อกองเกียรติงาม หากสยามยังอยูยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยูคง ชีพดวย หากสยามพินาศลง ไทยอยู ไดฤา เราก็เหมือนมอดมวย หมดสิ้นสกุลไทย พระราชนิพนธพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 เลม 1 หนา 116

76

ระดับประถมศึกษาปที่ 5

ตนเปนที่พึ่งแกตน

เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึง่ อยาหมายพึง่ผูใดใหเขาหยนั ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟน คิดบากบั่นตั้งหนามานะนํา กสิกิจพณิชยการงานมีเกียรติ อยาหยามเหยียดพาลหาวางานต่ํา หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม เชิญเลือกทําตามถนัดอยาผัดวัน เอาดวงใจเปนทุนหนุนนําหนา เอาปญญาเปนแรงมุงแขงขัน เอาความเพียรเปนยานประสานกัน ผลจะบรรลุสูประตูชัย เงินและทองกองอยูประตูหนา คอยเปดอายิ้มรับไมขับไส ทรัพยในดินสินในน้ําออกคล่ําไป แหลมทองไทยพรอมจะชวยอํานวยเอย ของ เพิ่ม สวัสด์ิวรรณกิจ จากบทประพันธอธิบายสุภาษิต

77

ผูรูดีเปนผูเจริญ

มวลมนษุยผูเปร่ือง ปรีชา เชี่ยวแฮ เพราะใครใฝศึกษา ส่ิงรู รูกิจผิดชอบหา เหตุสอด สองนา นี่แหละบุคคลผู เพียบดวยความเจริญ มวลผูชูปรีชา เสาะวิทยาไมหางเหิน ผิดชอบกอบไมเกิน รูดําเนินตามเหตุผล ชื่อวาปรีชาดี ผิดชอบมีพิจารณยล

ผูนั้นจักพลันดล พิพัฒนพนจักพรรณนา ควรเราผูเยาววัย จงใฝใจการศึกษา อบรมบมวิทยา ปรุงปรีชาใหเชี่ยวชาญ ข้ันนี้จักชี้วา มีปญญาไมสมฐาน ตองหัดดัดสันดาน กอบวิจารณใชปญญา ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร ใน หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 5 เลม 1 หนา 94 – 95

78

วิชาเหมือนสนิคา

วิชาเหมือนสินคา อันมีคาอยูเมืองไกล ตองยากลําบากไป จึงจะไดสินคามา จงตั้งเอากายเจา เปนสําเภาอันโสภา ความเพียรเปนโยธา แขนซายขวาเปนเสาใบ นิ้วเปนสายระยาง สองเทาตางสมอใหญ

ปากเปนนายงานไป อัชฌาสัยเปนเสบียง สติเปนหางเสือ ถือทายเรือไวใหเที่ยง ถือไวอยาใหเอียง ตัดแลนเลี่ยงขามคงคา ปญญาเปนกลองแกว สองดูแถวแนวหินผา เจาจงเอาหูตา เปนลาตาฟงดูลม ข้ีเกียจคือปลาราย จะทําลายใหเรือจม เอาใจเปนปนคม ยิงระดมใหจมไป จึงจะไดสินคามา คือวิชาอันพิสมัย จงหมั่นมั่นหมายใจ อยาไดครานการวิชา ของเกา จาก ดรุณศึกษา เลม 3

79

ระดับประถมศึกษาปที่ 6

ผูชนะ

เมื่อทําการสิ่งใดดวยใจรัก ถึงงานหนักก็เบาลงแลวครึ่งหนึง่ ดวยใจรักเปนแรงที่เรารึง ใหมุงมั่นฝนถึงซึ่งปลายทาง เมื่อทําการสิ่งใดใจบากบั้น ไมไหวหวั่นอุปสรรคเปนขวากขวาง ถึงเหนื่อยยากพากเพียรไมละวาง งานทุกอยางเสร็จเพราะกลาพยายาม เมื่อทําการสิ่งใดใจจดจอ คอยเติมตอต้ังจิตไมคิดขาม ทําดวยใจเปนชีวิตคอยติดตาม บังเกิดผลงอกงามตามตองการ เมื่อทําการสิ่งใดใครครวญคิด เห็นถูกผิดแกไขใหพนผาน ใชสมองตรองตริคิดพิจารณ ปรากฏงานกาวไกลไมลําเค็ญ ความสําเร็จจะวาใกลก็ใชที่ จะวาไกลฤาก็มีอยูใหเห็น ถาจริงใจตั้งใจไมยากเย็น และจะเปนผูชนะตลอดกาล ของ บุญเสริม แกวพรหม ใน หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 เลม 1 หนา 81

80

เปนมนุษยหรือเปนคน

เปนมนษุยเปนไดเพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถาใจต่ําเปนไดแตเพียงคน ยอมเสียทีที่ตนไดเกิดมา ใจสะอาด ใจสวาง ใจสงบ ถามีครบควรเรียกมนุสสา เพราะทําถูกพูดถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันตจริง ใจสกปรกมืดมัวและรอนเรา ใครมีเขาควรเรียกวาผีสิง เพราะพูดผิดทําผิดจิตประวิง แตในสิ่งนําตัวกลั้วอบาย คิดดูเถิดถาใครไมอยากตก จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย ใหใจสูงเสียไดกอนตัวตาย ก็สมหมายที่เกิดมาอยาเชือนเอย ของ พระธรรมโกศาจารย (พุทธทาสภิกขุ) จาก หัวขอธรรมในคํากลอน ใน หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 เลม 1 หนา 140

81

โคลงโลกนิติ

เสียสิน้สงวนศักดิ์ไว วงศหงส

เสียศักดิ์สูประสงค ส่ิงรู เสียรูเรงดํารง ความสัตย ไวนา เสียสัตยอยาเสียสู ชีพมวยมรณา ความรูดูยิ่งล้ํา สินทรัพย คิดคาควรเมืองนับ ยิ่งไซร เพราะเหตุจักอยูกับ กายอาต – มานา โจรจักเบียนบได เรงรูเรียนเอา เวนวิจารณวางเวน สดับฟง เวนที่ถามอันยัง ไปรู เวนเลาลิขิตสัง - เกตวาง เวนนา เวนดั่งกลาววาผู ปราชญไดฤามี พระนิพนธสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาเดชาดิศร ใน หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 เลม 2 หนา 122 – 123

82

บทอาขยานบทรองระดับชั้นประถมศกึษา

กาเหวา

เจานกกาเหวาเอย ไขไวใหแมกาฟก แมกาก็หลงรัก คิดวาลูกในอุทร คาบเอาขาวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาปอน ถนอมไวในรังนอน ซอนเหยื่อมาใหกิน ปกเจายังออนคลอแคล ทอแทจะสอนบิน แมกาพาไปกิน ที่ปากน้ําพระคงคา ตีนเจาเหยียบสาหราย ปากก็ไซหาปลา กินกุงแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแลวก็โผมา จับที่ตนหวาโพธิ์ทอง ยังมีนายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปนขึ้นสอง จองเอาแมกาดํา ตัวหนึ่งวาจะตม อีกตัวหนึ่งวาจะยํา กินนางแมกาดํา คํ่าวันนี้อุแมนา จาก บทกลอนกลอมเด็ก รวบรวมโดย หอพระสมุดวชิรญาณ

เจาดวงมาลา

เจาดวงมาลา ไปวัดดวยขา ทําบุญดวยกัน เด็ดเจาวันนี้ จะไปสูสวรรค ทําบุญดวยกัน เถิดเจาดวงมาลา จาก บทเชิญดอกไม เพลงพื้นบานภาคใต

83

ไทยรวมกาํลงัต้ังมั่น

ไทยรวมกาํลังตั้งมั่น จะสามารถปองกนัขันแข็ง ถึงแมวาศัตรูผูมีแรง มายทุธแยงกจ็ะปลาตไป ขอแตเพียงไทยเราอยาผลาญญาติ รวมชาติรวมจติเปนขอใหญ ไทยอยามุงรายทําลายไทย จงพรอมใจพรอมกําลงัระวงัเมือง ใหนานาภาษาเขานิยม ชมเกียรติยศฟเูฟอง ชวยกนับาํรุงความรุงเรือง ใหชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา ชวยกนัเต็มใจใฝผดุง บํารุงทัง้ชาติศาสนา ใหอยูจนสิน้ดนิฟา วัฒนาเถิดไทย ไชโย พระราชนิพนธพระบาทสมเดจ็พระมงกุฎเกลาเจาอยูหวั จาก บทละครพูดคํากลอนเรื่อง พระรวง

84

ปากใดเกินบมีความหมาย

ปากใดเกนิบมีความฮู มักลบหลูคํามวนจิบหาย มีอุบายยอมแดงดวยหมาก ปากอันนัน้นกัปราชญนนิทา มันเกิดมามีปากเสียเปลา เหมือนปากเตาปากกุงปากหอย ปากอันใดเฮยีนธรรมฮูมาก บลําบากฟงมวนเย็นใจ ปากนําไผเยือกเยน็คือน้ํา นักปราชญเจายอยองวาดี ปากมีศรีฮุงเฮอืงวิลาส ปากสะอาดคุณลนบซาม จาก ประมวลธรรมยอดคําสอน ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

85

ฝนตก แดดออก

ฝนตกแดดออก นกกระจอกแปลกใจ โผผินบนิไป ไมรูหนทาง ไปพบมะพราว นกหนาวครวญคราง พี่มะพราวใจกวาง ขอพักสักวนั ฝนตกแดดออก นกกระจอกพกัผอน พอหายเหนื่อยออน บินจรผายผนั ขอบใจพี่มะพราว ถึงคราวชวยกนั น้ําใจผูกพนั ไมลืมบุญคุณ ของ ฐะปะนีย นาครทรรพ ใน รวมบทรอยกรองสําหรับเด็ก ระดับอนุบาลและประถมศกึษา

86

เพลงชาติ

ธงชาติไทยไกวกวัดสะบดัพลิ้ว แลร้ิวร้ิวสลับงามเปนสามสี ผาผืนนอยบางเบาเพียงเทานี้ แตเปนที่รวมชีวิตและจิตใจ ชนรุนเยาวยืนเรียบระเบียบแถว ดวงตาแนวนิ่งตรงธงไสว “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื่อไทย” ฟงคราวใดเลือดซานพลานทั้งทรวง ผืนแผนดินถิ่นนี้ที่พํานัก เราแสนรักและแสนจะแหนหวง แผนดินไทยไทยตองครองทั้งปวง ชีพไมลวงใครอยาล้ํามาย่ํายี เธอรองเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี เพลงกระหึ่มกองฟากองธาตรี แมไพรีไดฟงยังถอนใจ แตส่ิงหนึ่งซึ่งไทยราวใจเหลือ คือเลือดเนื้อเปนหนอนคอยบอนไส บางหากินบนน้ําตาประชาไทย บางฝกใฝลัทธิชั่วนากลัวเกรง ทุกวันนี้ศึกไกลยังไมหวง แตหวั่นทรวงศึกใกลไลขมเหง ถาคนไทยหันมาฆากันเอง จะรองเพลงชาติไทยใหใครฟง ของนภาลัย สุวรรณธาดา ใน ดอกไมใกลหมอน

87

เพลงยาวเจาอิศรญาณ

เกิดเปนคนเชิงดูใหรูเทา ใจของเราไมสอนใจใครจะสอน อยากใชเขาเราตองกมประนมกร ใครเลยหอนจะวาตัวเปนวัวมอ เปนบาจี้นิยมชมวาเอก คนโหยกเหยกรักษายากลําบากหมอ อันยศศักดิ์มิใชเหลาเมาแตพอ ถาเขายอเหมือนอยางเกาใหเราคัน บางโลดเลนเตนรําทําเปนเจา เปนไรเขาไมจับผิดคิดดูขัน ผีมันหลอกชางผีตามทีมัน คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก สูงอยาใหสูงกวาฐานนานไปลม จะเรียนคมเรียนเถิดอยาเปดฝก คนสามขามีปญญาหาไวทัก ไปพูดขัดเขาทําไมขัดใจเขา ใครทําตึงแลวก็หยอนผอนลงเอา นักเลงเกาเขาไมหาญราญนักเลง จาก สุภาษิตอิศรญาณ

มาล ี

มาล ี ดอกดังสีบานเย็นเห็นหรือไม ผีเสื้อรอนวอนอยูดูวิไล งามกระไรหนอผีเสื้อชางเหลืองาม กินอะไรเกิดทีไ่หนผีเสื้อเอย อยาปดเลยตอบตอที่ขอถาม นองจะไดไปเกิดไปกินตาม ใหอรามเหมือนผีเสื้อเหลือสวยเอย พระราชนิพนธพระบาทสมเดจ็พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว จาก บทละครเรื่อง เงาะปา

88

อนึ่งเวลากิน

อนึง่เวลากิน จักหงุตมตามภาษา อยาเคียดเตรียดมารดา เจาควรมาจัดแจงทํา หุงตมตามทวงที กับนั่นนี่ปงแกงยํา หนานวลชวนเชิญทํา อยางุมงําฉอเลาะไฟ สุกสรรพสิ้นแลวแหล อยาเชือนแชเที่ยวค่ําไป คดคายออกใหไว พาพอแมพี่นองมา ยกยายใหเขากิน ครบครันสิ้นพรูพรอมหนา กินแลวเขาแคลวมา ถวนทุกหนาเขาออกไป งามสิ้นกินภายหลัง แลวรอยชั่งกวาดครัวไฟ ถวยชามหมอนอยใหญ ลําดับไวตามอัชฌา ครกเบือและสากเบือ อยาตั้งเพรื่อตกขี้กลา บวยหวักควรรักษา ไวใหดีตามวิสัย อยาไดอุเบกษา หาน้ําทาดับฟนไฟ เสร็จแลวเจาออกไป ชักประตูหับกําชับครัว จาก วรรณกรรมทองถิ่นภาคใต ประเภทคําสอน

89

อยานั่งใกลถงุเงินคํา

อยานัง่ใกลถุงเงินคาํ อยาฟงคําคนลาย อยาจายเงินผิด อยาติดใจคนบาป หื้อหาบไปคา ใครเปนขาหื้ออยูดาย อยาขี้ครานลูกขวาย กินงายแลวอยานอน อยาเคียดตอหมู เขาทบูถวยหมอเจือจาน รูการคิงบรูการทาน อยาปานใจหมอง อยาตีเถียงฟา อยาเล็งมาเถียงตาวัน อยาฟนพราเขาบาน อยาตานชูดวยเมียทาน อยาทอดไมจิ่มคนใด อยาโฟใบบรูสัง อยาโยะหมา อยาฆาเด็ก อยาขวักเหล็กกาปลอม อยาบดอมปูเยียะการหนัก หื้อรักพอแม หื้อมีแผหลวงหลาย จาก วรรณกรรมลานนา ปูเจาสอนหลาน (ภาคเหนือ)

ประวัติยอผูทําสารนิพนธ

91

ประวัติยอผูทําสารนิพนธ

ชื่อ ชื่อสกุล นางสาวกฤษณา คงทน วัน เดือน ปเกิด 25 ตุลาคม 2505 สถานที่เกิด จังหวัดกาญจนบุรี สถานที่อยูปจจุบัน 771/53 ซอยวัดรมไผเงิน ถนนจันทน แขวงทุงวัดดอน

เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 ตําแหนงหนาที่การงานปจจบัุน ครู สถานทีท่ํางานปจจุบัน โรงเรียนปญจทรัพย 212 ซอยโชคชยัรวมมติร ถนนวภิาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 ประวัติการศกึษา

พ.ศ. 2548 การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) ภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. 2528 ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ภาษาไทย จากวทิยาลัยครูสวนสุนนัทา

พ.ศ. 2526 ประกาศนยีบตัรวิชาการศึกษาชัน้สูง (ป.กศ.สูง) ภาษาไทย จากวทิยาลัยครูกาญจนบุรี

พ.ศ. 2522 มัธยมศึกษาปที่ 3 (ม.ศ. 3) จากโรงเรียนทามะกาวทิยาคม จงัหวัดกาญจนบุรี