: b.a. (buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 ·...

25
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุง . ชื่อหลักสูตร .ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา .ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Programme in Buddhism . ชื่อปริญญา .ชื่อเต็มภาษาไทย : พุทธศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (Buddhism) .ชื่อย่อภาษาไทย : พธ.. (พระพุทธศาสนา) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.A. (Buddhism) . หน่วยงานที่รับผิดชอบ ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . วัตถุประสงค์ของหลักสูตร .เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์วิพากษ์และ วิจัยวิชาการด้านพระพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน .เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นาสังคมด้านจิตใจและปัญญา .เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนาพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา ชีวิตและสังคม

Upload: others

Post on 21-Feb-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาควิชาพระพุทธศาสนา

คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุง

๑. ชื่อหลักสูตร

๑.๑ ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ๑.๒ ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Programme in Buddhism

๒. ชื่อปริญญา

๒.๑ ชื่อเต็มภาษาไทย : พุทธศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (Buddhism) ๒.๒ ชื่อย่อภาษาไทย : พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.A. (Buddhism)

๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๔.๑ เพ่ือผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์วิพากษ์และวิจัยวิชาการด้านพระพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน

๔.๒ เพ่ือผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้น าสังคมด้านจิตใจและปัญญา ๔.๓ เพ่ือผลิตบัณฑิตให้สามารถน าพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา

ชีวิตและสังคม

Page 2: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๕. โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างท่ี ๑ วิชาเอก - โท

๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ๒. หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔ หน่วยกิต

๒.๑ วิชาแกนพระพุทธศาสนา ๓๐ หน่วยกิต ๒.๒ วิชาเฉพาะด้าน ๗๔ หน่วยกิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

๒.๒.๑ วิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ๑๐ หน่วยกิต ๒.๒.๒ วิชาเอก ๔๖ หน่วยกิต ๒.๒.๓ วิชาโท ๑๘ หน่วยกิต

๓. หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต

รวม ๑๔๐ หน่วยกิต

๖. รายวิชา ๖.๑ โครงสร้างที่ ๑ วิชาเอก- โท

๖.๑.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต นิสิตทุกคณะต้องศึกษาจ านวน ๓๐ หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

๑) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๘ หน่วยกิต ๒) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๘ หน่วยกิต ๓) กลุ่มวิชาภาษา ๘ หน่วยกิต ๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต

๑) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๘ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๐๑ มนุษย์กับสังคม ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๐๒ กฎหมายทั่วไป ๒(๒-๐-๔)

ข. วิชาเลือก ๔ หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๐๓ การเมืองกับการปกครองของไทย ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๐๔ เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๐๕ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๐๖ เหตุการณ์โลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔)

Page 3: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๒) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๘ หน่วยกิต ก. วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๐๗ เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒ (๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๐๘ ปรัชญาเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๐๙ ศาสนาทั่วไป ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๑๐ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (๒)(๒-๐-๔) หมายเหตุ : รายวิชา ๐๐๐ ๒๑๐ เป็นวิชาบังคับโดยไม่นับหน่วยกิต

ข. วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต

๐๐๐ ๒๑๑ วัฒนธรรมไทย ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๑๒ มนุษย์กับอารยธรรม ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๑๓ ชีวิตกับจิตวิทยา ๒(๒-๐-๔)

๓) กลุ่มวิชาภาษา ๘ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๑๔ ภาษากับการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๑๕ ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ข. วิชาเลือก ๔ หน่วยกิต ให้เลือกเรียน ๑ ภาษา ๐๐๐ ๑๑๖ ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๑๗ ภาษาอังกฤษชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๑๘ ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๑๙ ภาษาสันสกฤตชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๐ ภาษาเวียดนามเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๑ ภาษาเวียดนามชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๒ ภาษาพม่าเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๓ ภาษาพม่าชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๔ ภาษามาเลย์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๕ ภาษามาเลย์ชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๖ ภาษาลาวเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๗ ภาษาลาวชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๘ ภาษาจีนเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๒๙ ภาษาจีนชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๐ ภาษาญี่ปุุนเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๑ ภาษาญี่ปุุนชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๒ ภาษาเขมรเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๓ ภาษาเขมรชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๔ ภาษาฮินดีเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)

Page 4: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๐๐๐ ๑๓๕ ภาษาฮินดีชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๖ ภาษาเกาหลีเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๗ ภาษาเกาหลีชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)

๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๒๓๘ สถิติเบื้องต้นและการวิจัย ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๓๙ คณิตศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ข. วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๔๐ โลกกับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๔๑ วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกตวิทยา ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๔๒ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๔๓ สาธารณสุขมูลฐาน ๒(๒-๐-๔)

๖.๑.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔ หน่วยกิต

๑) วิชาแกนพระพุทธศาสนา ๓๐ หน่วยกิต นิสิตทุกคณะต้องศึกษาวิชาแกนพระพุทธศาสนา จ านวน ๓๐ หน่วยกิต ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ภาษา

บาลี ๖ หน่วยกิต และกลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา ๒๔ หน่วยกิต ก. กลุ่มวิชาภาษาบาลี ๖ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๔๔ แต่งแปลบาลี ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๔๕ วรรณคดีบาลี ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๔๖ บาลีไวยากรณ์ชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา ๒๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๔๗ พระไตรปิฎกศึกษา ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๔๘ พระวินัยปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๔๙ พระสุตตันตปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๕๐ พระอภิธรรมปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๑๕๑ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (๒)(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๑๕๒ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ ๑(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๒๕๓ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (๒)(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔ ๑(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๓๕๕ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (๒)(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๓๕๖ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ ๑(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๔๕๗ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ ๑(๑-๒-๔) ๐๐๐ ๑๕๘ ประวัติพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๕๙ เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๖๐ การปกครองคณะสงฆ์ไทย ๒(๒-๐-๔)

Page 5: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๐๐๐ ๒๖๑ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๖๒ ธรรมนิเทศ ๒(๒-๐-๔) ๐๐๐ ๒๖๓ งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)

๒) วิชาเฉพาะด้าน ๗๔ หน่วยกิต ก. วิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ๑๐ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๐๑ พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๐๒ พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๐๓ พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๐๔ ธรรมประยุกต์๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๐๕ พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)

ข. วิชาเอก ๔๖ หน่วยกิต

(๑) วิชาบังคับ ๓๖ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๐๖ หลักพุทธธรรม ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๓๐๗ พุทธปรัชญาเถรวาท ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๓๐๘ ธรรมบทศึกษา ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๓๐๙ วิสุทธิมัคคศึกษา ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๓๑๐ นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๓๑๑ พระพุทธศาสนามหายาน ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๔๑๒ พระสูตรมหายาน ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๔๑๓ พุทธศิลปะ ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๔๑๔ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖) ๑๐๑ ๔๑๕ จิตวิทยาในพระไตรปิฎก ๓(๓-๐-๖) ๑๐๑ ๔๑๖ ศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา ๓(๐-๖-๖) ๑๐๑ ๔๑๗ สัมมนาพระพุทธศาสนา ๓(๓-๐-๖) (๒) วิชาเลือก ๑๐ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๑๘ เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๑๙ ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๐ อักษรจารึกในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๑ ชาดกศึกษา ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๒ พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๓ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๔ ชีวิตและผลงานของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๕ พุทธธรรมกับสังคมไทย ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๓๒๖ สังคมวิทยาในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๒๗ รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔)

Page 6: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๑๐๑ ๔๒๘ พุทธประวัติในพระไตรปิฎก ๒(๒ - ๐-๔) ๑๐๑ ๔๒๙ พระพุทธศาสนากับสันติภาพ ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๐ พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๑ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๒ มังคลัตถทีปนีศึกษา ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๓ พระพุทธศาสนากับสตรี ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๔ พระพุทธศาสนากับวรรณคดีไทย ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๕ พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๖ ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๗ พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข ๒(๒-๐-๔) ๑๐๑ ๔๓๘ มิลินทปัญหาศึกษา ๒(๒-๐-๔)

ค. วิชาโท ๑๘ หน่วยกิต

นิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิชาเอก - โท ต้องศึกษารายวิชาในสาขาวิชาอ่ืนสาขาใด สาขาหนึ่ง จ านวน ๑๘ หน่วยกิต เป็นวิชาโท หรือศึกษาวิชาโทวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอน ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษานิสิตที่ประสงค์จะศึกษาสาขาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาโท จะต้องศึกษารายวิชาในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา จ านวนไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต ตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้

(๑) วิชาบังคับ ๒ วิชา จ านวน ๖ หน่วยกิต คือ ๑๐๑ ๓๐๖, ๑๐๑ ๔๑๗ (๒) วิชาเลือก จ านวน ๑๒ หน่วยกิต ให้เลือกศึกษารายวิชาต่าง ๆ ในวิชาเอกสาขาวิชาพระพุทธศาสนาอีกจ านวน ๑๒ หน่วยกิต โดยความ

เห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา ๖.๑.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต นิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิชาเอก - โท ต้องเลือกศึกษารายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนใน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นวิชาเลือกเสรี จ านวน ๖ หน่วยกิต โดยความ เห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

Page 7: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๗. ค าอธิบายรายวิชา ๗.๑ โครงสร้างท่ี ๑ วิชาเอก - โท ๗.๑.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต

๑) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๘ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๐๑ มนุษย์กับสังคม ๒(๒-๐-๔)

(Man and Society) ศึกษาความหมายและความเป็นมาเก่ียวกับมนุษย์และสังคม ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธ

ศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ กระบวนการ ทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหาแบบสันติวิธี

๐๐๐ ๑๐๒ กฎหมายทั่วไป ๒(๒-๐-๔) (General Law)

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ที่มาของระบบกฎหมาย ลักษณะทั่วไปและประเภทของกฎหมาย กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชนที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ กฎหมาย ที่พระสงฆ์ควรรู้เป็นการเฉพาะ และกฎหมายที่เกี่ยวกับมุสลิม

ข. วิชาเลือก ๔ หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๐๓ การเมืองกับการปกครองของไทย ๒(๒-๐-๔) (Thai Politics and Government)

ศึกษาความรู้ทั่วไปเก่ียวกับการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครองของ ไทย สถาบันทางการเมือง และการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย การจัด ระเบียบการปกครองของไทย และพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย

๐๐๐ ๑๐๔ เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน ๒(๒-๐-๔) (Economics in Daily Life)

ศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดข้ึนในชีวิตประจ าวัน รูปแบบต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ การท างานของกลไกราคาในตลาด บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ เงินตราและสถาบันการเงิน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องท่ีเกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ

๐๐๐ ๒๐๕ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔) (Man and Environment)

Page 8: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เก่ียวกับมนุษย์ แนวคิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ การแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนกับสิ่งแวดล้อม หลักค าสอนทางพระพุทธศาสนาที่เก่ียวกับ สิ่งแวดล้อม และบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

๐๐๐ ๒๐๖ เหตุการณ์โลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔) (Current World Affairs)

ศึกษาเหตุการณ์ส าคัญที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความ ร่วมมือและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ประเทศไทยกับเหตุการณ์ส าคัญของโลก ความร่วมมือของชาวพุทธในเวทีโลก บทบาทของพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโลกปัจจุบัน ๒) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๘ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๐๗ เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒(๒-๐-๔)

(Technique of Higher Learning) ศึกษาเทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุด การ

สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต วิธีแสวงหาความรู้ การเรียนเป็นกลุ่ม การเรียนด้วยกิจกรรมท่ีส่งเสริม ทางวิชาการ การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์

๐๐๐ ๑๐๘ ปรัชญาเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) (Introduction to Philosophy)

ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญาและสาระส าคัญของปรัชญาสาขาต่างๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก

๐๐๐ ๑๐๙ ศาสนาทั่วไป ๒(๒-๐-๔) (Religions)

ศึกษาความหมาย ลักษณะ ความส าคัญ คุณค่าของศาสนา ประวัติ พัฒนาการ หลัก ในการศึกษาศาสนา หลักค าสอน พิธีกรรมและจุดมุ่งหมายของศาสนาต่างๆ วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นสากลร่วมกันและต่างกันของศาสนาปัจจุบัน อิทธิพลของศาสนาต่อสังคมโลก วิธีการเผยแผ่ศาสนา ความร่วมมือระหว่างศาสนา และท่าทีของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

๐๐๐ ๒๑๐ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (๒)(๒-๐-๔) (Introduction to Logic)

ศึกษานิมิต ค าท่ีปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่างๆการแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่างๆ ศึกษาหลักการและวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้า ในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่นๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวา -สติวาทินวิภาษวิธีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ ตะวันตกกับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Page 9: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ข. วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต

๐๐๐ ๒๑๑ วัฒนธรรมไทย ๒(๒-๐-๔) (Thai Culture)

ศึกษาความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภท ของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย

๐๐๐ ๒๑๒ มนุษย์กับอารยธรรม ๒(๒-๐-๔) (Man and Civilization)

ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายของอารยธรรม บ่อเกิดและพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกในยุคต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมตะวันออกและตะวันตก ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ การแลกเปลี่ยนกันระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับอารยธรรมตะวันตก และอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองท่ีมีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

๐๐๐ ๒๑๓ ชีวิตกับจิตวิทยา ๒(๒-๐-๔) (Life and Psychology)

ศึกษาพัฒนาการและองค์ประกอบของชีวิต ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับการด ารงชีวิต วิเคราะห์คุณสมบัติของจิตใจในลักษณะต่างๆ ผลของสุขภาพจิตที่มีต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และ การด ารงอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม ๓) กลุ่มวิชาภาษา ๘ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๑๔ ภาษากับการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔)

(Language and Communication) ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร การอ่าน เขียน พูด และฟังภาษาไทย เพ่ือการสื่อสารในชีวิตประจ าวัน การอ่านค าร้อยแก้ว ค าร้อยกรอง อ่านประกาศ แถลงการณ ์การเขียนสาขาวิชาพระพุทธศาสนา จดหมาย ย่อความ เรียงความ โวหารต่าง ๆ การพูด การสนทนา บรรยาย อภิปราย มารยาทในการพูด การฟัง การจับสาระของเรื่อง มารยาทในการฟัง และศึกษาระเบียบงานสารบรรณ

๐๐๐ ๑๑๕ ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ๒ (๒-๐-๔) (Introduction to Linguistics)

ศึกษาความหมายของภาษาและภาษาศาสตร์ สาขาของวิชาภาษาศาสตร์ ลักษณะทั่วไป ของภาษา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics) สรศาสตร์ (Phonemics) สัทอักษรสากล สัทอักษรไทย และหลักการวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์

Page 10: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ข. วิชาเลือก ๔ หน่วยกิต ให้เลือกเรียน ๑ ภาษา ๐๐๐ ๑๑๖ ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)

(Basic English) ศึกษากฎเกณฑ์และการใช้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการใช้ค าน าหน้านาม (Article) การใช้กาล (Tense) การสร้างประโยค (Sentence) การใช้บุรพบท (Preposition) สันธาน(Conjunction) ฝึกทักษะเบื้องต้นในการฟัง พูด อ่าน และเขียนในลักษณะที่สัมพันธ์กันเน้นด้านการอ่านและความเข้าใจภาษาอังกฤษซึ่งมีรูปประโยคและค าศัพท์ต่าง ๆ

๐๐๐ ๑๑๗ ภาษาอังกฤษชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) (Advanced English)

ศึกษาโครงสร้างประโยคตามหลักไวยากรณ์และฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่านและเขียนเน้นการอ่าน การเขียนและความเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งมีค าศัพท์และโครงสร้างประโยคสัมพันธ์กับเอกสารที่ใช้ศึกษา

๐๐๐ ๑๑๘ ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) (Basic Sanskrit)

ศึกษาโครงสร้างของภาษาสันสกฤต อักษร เครื่องหมาย ระบบเสียง การเปลี่ยน อักษรและเสียง การเขียน การอ่านค าศัพท์ ส่วนประกอบของนามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์ สระการันต์ สระสนธิ บุรุษสรรพนาม นิยมสรรพนาม ปุจฉาสรรพนาม สัมพันธสรรพนาม กริยาศัพท์ส่วนประกอบของกริยาอาขยาต การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ การแจกรูปกริยา แปลและแต่งประโยคสันสกฤตที่เหมาะสมกับไวยากรณ์ท่ีได้ศึกษา

๐๐๐ ๑๑๙ ภาษาสันสกฤตชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) (Advanced Sanskrit)

ศึกษานามศัพท์ การแจกรูปนามศัพท์ พยัญชนะการันต์ พยัญชนะสนธิ สังขยาศัพท์อัพยยศัพท์ กริยาศัพท ์การประกอบรูปเป็นอาขยาตกรรตุวาจกจากธาตุ กริยาอาขยาตกรรมวาจก ภาววาจก ณิชันตกรรตุวาจก ณิชันตกรรมวาจก การสลับเปลี่ยนประโยคกรรตุ -วาจกเป็นสาขาวิชาพระพุทธศาสนากรรมวาจก ประโยคค าถาม ประโยคปฏิเสธ แปลและแต่งประโยคภาษาสันสกฤตท่ีเหมาะสมกับไวยากรณ์ท่ีได้ศึกษา ๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต

ก. วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต

๐๐๐ ๒๓๘ สถิติเบื้องต้นและการวิจัย ๒(๒-๐-๔) (Basic Statistics and Research)

ศึกษามโนมติพ้ืนฐานของสถิติ การแจกแจงความถี ่การวัดและแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางการกระจายความเบ้และความโค้ง เปอร์เซ็นไทล์ เดไซส์ ควอร์ไทส์ ทฤษฎีความน่าจะเป็นเบื้องต้นและการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ

Page 11: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

สมมติฐานการวิจัย ขั้นตอนของการวิจัย ลักษณะและประเภทของการวิจัย รูปแบบและขบวนการของการวิจัย และการเขียนรายงานผลงานการวิจัย

๐๐๐ ๑๓๙ คณิตศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) (Basic Mathematics)

ศึกษาหลักพ้ืนฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยนิยาม ประพจน์ การใช้สัญลักษณ์ แสดงกฎเกณฑ์ การอ้างเหตุผลทางตรรกศาสตร์ เรื่องเซต และพีชคณิตของเซต เรื่องระบบจ านวนและคุณสมบัติที่ส าคัญของจ านวนชนิดต่างๆ การแก้สมการและอสมการ ทฤษฎีเมตริกซ ์และดีเทอร์มิแนนท์ ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น ข. วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๔๐ โลกกับสิง่แวดล้อม ๒(๒-๐-๔) (World and Environment)

ศึกษาความหมายของวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภาวะอุณหภูมิพ้ืนโลก ที่สูงขึ้น ฝนกรดและหมอกควันด า สภาวะเรือนกระจก ภาวะมลพิษทางอากาศ ทางน้ า การ ตัดไม้ท าลายปุา ปัญหาขยะล้นโลกและสารพิษใต้ดิน การใช้ทรัพยากรอย่างฟุุมเฟือย การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิ จและสังคม การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเสริมสร้างบทบาทของพระสงฆ์และของกลุ่มหลักในสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยง

๐๐๐ ๒๔๑ วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกตวิทยา ๒(๒-๐-๔) (Physical Science and Technology)

ศึกษาประวัติและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเอกภาพ และระบบสุริยะ การเพ่ิมผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมที่เก่ียวกับผลผลิตทางการเกษตร วัชพืช วิธีการปูองกันและก าจัดโรคพืช การขนส่งและ การสื่อสาร อุปกรณ์ด้านเครื่องเสียงและภาพ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยา

๐๐๐ ๒๔๒ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔) (Introduction to Computer and Information Technology)

ศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเลขฐาน ภาษาคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และโปรแกรม ประยุกต์ต่าง ๆ

๐๐๐ ๒๔๓ สาธารณสุขมูลฐาน ๒(๒-๐-๔) (Primary Health Care)

ศึกษาประวัติความเป็นมาของสมุนไพร ประเภทยาสามัญประจ าบ้าน ยาปฏิชีวนะ สารเสพ ติด การปฐมพยาบาล การออกก าลังกาย การเลือกบริโภคอาหารตามวัยและการพักผ่อน การแพทย์ทางเลือก และสุขภาวะองค์รวม

Page 12: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๗.๑.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔ หน่วยกิต ๑) วิชาแกนพระพุทธศาสนา ๓๐ หน่วยกิต ก. กลุ่มวิชาภาษาบาลี ๖ หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๔๔ แต่งแปลบาลี ๒(๒-๐-๔) (Pali Composition and Translation)

ศึกษาการแต่งบาลี การแปลบาลี ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะให้ถูกต้องตามหลัก ภาษา การแต่งและการแปลประโยคพิเศษและส านวนที่ควรทราบ การแปลบาลีเป็นไทยและแปล ไทยเป็นบาลีจากหนังสือที่ก าหนด\

๐๐๐ ๑๔๕ วรรณคดีบาลี ๒(๒-๐-๔) (Pali Literature)

ศึกษาประวัติ ความหมาย ประเภท และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา อนุ ฎีกา โยชนา และปกรณ์วิเสส วรรณกรรมบาลีในประเทศไทย และคุณค่าของวรรณกรรมบาลีต่อ สังคมไทย

๐๐๐ ๒๔๖ บาลีไวยากรณ์ชั้นสูง ๒(๒-๐-๔) (Advanced Pali Grammar)

ศึกษาไวยากรณ์บาลี โดยอาศัยสูตรต่าง ๆ ในคัมภีร์กัจจายนะ โมคคัลลานะ สัททนีติ- ปกรณ ์และปทรูปสิทธิปกรณ์

ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา ๒๔ หน่วยกิต ๐๐๐ ๑๔๗ พระไตรปิฎกศึกษา ๒(๒-๐-๔)

(Tipitaka Studies) ศึกษาก าเนิด ความเป็นมา และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจ าแนกโครงสร้างและเนื้อหา

สาระพระไตรปิฎก ค าอธิบายโดยย่ อของพระอรรถกถาจารย์ การรักษาสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ล าดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ในประเทศไทย และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก

๐๐๐ ๑๔๘ พระวินัยปิฎก ๒(๒-๐-๔)

(Vinaya Pitaka) ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระวินัยปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่

ส าคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระวินัยปิฏก

๐๐๐ ๑๔๙ พระสุตตันตปิฎก ๒(๒-๐-๔)

(Suttanta Pitaka)

Page 13: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์พระสูตรที่ส าคัญ คือ พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร รวมทั้งประเด็นที่น่าสนใจจากนิกายทั้ง ๕ นิกาย คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกายและขุททกนิกาย โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ

๐๐๐ ๒๕๐ พระอภิธรรมปิฎก ๒(๒-๐-๔) (Abhidhamma Pitaka)

ศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก เนื้อหาสาระประเด็นท่ีน่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกท้ัง ๗ คัมภีร์ โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม คือ จิตเจตสิก รูป และนิพพาน โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ

๐๐๐ ๑๕๑ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (๒)(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation I)

ศึกษาความเป็นมา ความหมาย หลักการ วิธีการ และประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน อารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ สติปัฏฐาน ๔ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ ภาวนา ๓ นิมิต ๓ สมาธิ ๓ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ วสี ๕ นิวรณ์ ๕ อุปกิเลส ๑๑ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติและน าไปใช้ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยการเดินจงกรม ๑ ระยะ นั่งก าหนด ๑ ระยะ หรือ ๒ ระยะ

๐๐๐ ๑๕๒ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ ๑(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation II)

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร และ อานาปานสติสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะหลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ วิชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา -กรรมฐาน โดยการเดินจงกรม ๒ ระยะ นั่งก าหนด ๒ ระยะ ส่งและสอบอารมณ ์

๐๐๐ ๒๕๓ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (๒)(๑-๒-๔)

(Buddhist Meditation III) ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ วิปปลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๓ ระยะ นั่งก าหนด ๓ ระยะ ส่งและสอบอารมณ ์

๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔ ๑(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation IV)

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรกระบวนการเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐วิปัสสนาญาณ ๑๖ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๔ ระยะ นั่งก าหนด ๔ ระยะส่งและสอบอารมณ์

Page 14: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๐๐๐ ๓๕๕ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (๒)(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation V)

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรกระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม๓๗ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ นั่งก าหนด ๕ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

๐๐๐ ๓๕๖ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ ๑(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation VI)

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระสูตรที่เชื่ อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งก าหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

๐๐๐ ๔๕๗ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ ๑(๑-๒-๔) (Buddhist Meditation VII)

ศึกษาวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติ วิธีการแก้สภาวธรรมของส านักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบันเปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยการเดินจงกรมและนั่งก าหนด ส่งและสอบอารมณ ์

๐๐๐ ๑๕๘ ประวัติพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)

(History of Buddhism) ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความส าคัญและลักษณะเด่นของ

พระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ รวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์กรใหม่ๆ ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันและอนาคต

๐๐๐ ๒๕๙ เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)

(Buddhist Festival and Traditions) ศึกษาเทศกาลและพิธีกรรมที่ส าคัญทางพระพุทธศาสนา ความหมาย คุณค่าของ เทศกาลและพิธีกรรม

นั้น ๆ ให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

๐๐๐ ๒๖๐ การปกครองคณะสงฆ์ไทย ๒(๒-๐-๔) (Thai Sangha Administration)

ศึกษาพัฒนาการของระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน ศึกษา และวิเคราะห์เนื้อหาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับต่างๆ กฎ ระเบียบ ค าสั่ง และประกาศที่ส าคัญ ของคณะสงฆ ์

๐๐๐ ๒๖๑ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)

Page 15: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

(Dhamma in English) ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และหนังสือที่ส าคัญทาง

พระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้เป็นภาษาอังกฤษ

๐๐๐ ๒๖๒ ธรรมนิเทศ ๒(๒-๐-๔) (Dhamma Communications)

ศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปะการเขียนบทความ การพูด ในที่ชุมชน การพัฒนาบุคลิกภาพเก่ียวกับการพูด การเทศนา การแสดงปาฐกถาธรรม การ อภิปรายและการใช้สื่อประกอบการบรรยาย

๐๐๐ ๒๖๓ งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)

(Research and Literary Works on Buddhism) ศึกษาความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับงานวิจัยท างพระพุทธศาสนา ศึกษางานวิจัยและวรรณกรรมทาง

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถาของพญาลิไท มังคลัตถทีปนีของพระสิริมังคลาจารย์กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพนฯพระมงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาสภิกขุ กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร) พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต ) พุทธวิทยาของนายพร รัตนสุวรรณ และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย ๒) วิชาเฉพาะด้าน ๗๔ หน่วยกิต

ก. วิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ๑๐ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๐๑ พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Science) ศึกษาเปรียบเทียบความหมาย ลักษณะ ขอบข่ายและวิธีการแสวงหาความจริงของพระพุทธศาสนากับ

วิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีวิวัฒนาการ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพัทธภาพ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยากับพระพุทธศาสนา

๑๐๑ ๓๐๒ พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Social Works) ศึกษาความหมาย และขอบข่ายของสังคมสงเคราะห์ หลักการ รูปแบบ และวิธีการสังคม สงเคราะห์ในพระไตรปิฎก เน้นพระจริยาของพระพุทธเจ้าตามแนวโลกัตถจริยา และบทบาท ของ พระสงฆ์ในการสังคมสงเคราะห์

๑๐๑ ๔๐๓ พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Ecology)

Page 16: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของนิเวศวิทยา ค าสอนในพระไตรปิฎกท่ีเกี่ยวกับนิเวศวิทยา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์กับธรรมชาติ แนวทาง การอนุรักษ ์และ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

๑๐๑ ๔๐๔ ธรรมประยุกต์ ๒(๒-๐-๔) (Applied Dhamma)

ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพ่ือน ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและ แก้ปัญหา ชีวิตและสังคม

๑๐๑ ๔๐๕ พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Economics)

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลัก ทางเศรษฐศาสตร์ที่ปรากฏในค าสอนทางพระพุทธศาสน า จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปรวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ข. วิชาเอก ๔๖ หน่วยกิต

(๑) วิชาบังคับ ๓๖ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๐๖ หลักพุทธธรรม ๓(๓-๐-๖)

(Principles of Buddhism) ศึกษาหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎก เน้นอริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เบญจขันธ์ ไตรลักษณ์โพธิปักขิยธรรม

กรรม สังสารวัฏและนิพพาน โดยใช้อรรถกถาและฎีกาประกอบ

๑๐๑ ๓๐๗ พุทธปรัชญาเถรวาท ๓(๓-๐-๖) (Theravada Buddhist Philosophy)

ศึกษาอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยเปรียบเทียบกับลัทธิปรัชญาส านักอ่ืนทั้งตะวันตกและตะวันออก

๑๐๑ ๓๐๘ ธรรมบทศึกษา ๓(๓-๐-๖) (Dhammapada Studies)

ศึกษาความหมาย ประวัติ โครงสร้าง และเนื้อหาสาระของธรรมบท เน้นหลักธรรมส าคัญแนวคิดเชิงเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมอินเดีย และอิทธิพลของธรรมบทที่มีต่อวิถีชีวิตไทย โดยอาศัยอรรถกถาธรรมบทประกอบ

๑๐๑ ๓๐๙ วิสุทธิมัคคศึกษา ๓(๓-๐-๖) (Visuddhimagga Studies)

ศึกษาโครงสร้างและหลักธรรมส าคัญของวิสุทธิมรรค และอิทธิพลของวิสุทธิมรรคท่ีมีต่อ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตไทย

Page 17: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๑๐๑ ๓๑๐ นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๓(๓-๐-๖)

(Communication in Tipitaka) ศึกษาความหมายและขอบข่ายของนิเทศศาสตร์ ค าสอนในพระไตรปิฎกท่ีเกี่ยวกับหลักการ

รูปแบบ วิธีการสื่อค าสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก และจริยธรรมกับการสื่อสาร

๑๐๑ ๓๑๑ พระพุทธศาสนามหายาน ๓(๓-๐-๖) (Mahayana Buddhism)

ศึกษาก าเนิดและพัฒนาการของมหายานในอิน เดีย การเผยแผ่มหายานเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ หลักธรรม พิธีกรรม และนิกายส าคัญของมหายานในประเทศต่าง ๆ

๑๐๑ ๔๑๒ พระสูตรมหายาน ๓(๓-๐-๖) (Mahayana Sutras)

ศึกษาหลักธรรมในพระสูตรมหายาน โดยเลือกศึกษาพระสูตรที่ส าคัญ เช่น ปรัชญาปารมิตาหฤทยสูตร ทศภูมิกสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร สุขาวดีวยูหสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร และลังกาวตารสูตร

๑๐๑ ๔๑๓ พุทธศิลปะ ๓(๓-๐-๖) (Buddhist Arts)

ศึกษาพัฒนาการของพุทธศิลปะในอินเดีย และคลื่นพระพุทธศาสนาที่เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งสัมพันธ์กับสกุลศิลปะสมัยต่าง ๆ จนเกิดเป็นสกุลศิลปะในประเทศไทย ทั้งด้านประติมากรรมจิตรกรรม และสถาปัตยกรรม ปรัชญาธรรมทางวัตถุและความงามจากพุทธศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยอาศัยพุทธลักษณะ

๑๐๑ ๔๑๔ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง ๓(๓-๐-๖)

(Dhamma in Advanced English) ศึกษาหนังสือธรรมะที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้รจนาไว้เป็นภาษาอังกฤษตามที่ก าหนดให้

๑๐๑ ๔๑๕ จิตวิทยาในพระไตรปิฎก ๓(๓-๐-๖) (Psychology in Tipitaka)

ศึกษาค าสอนเรื่องจิตและเจตสิกในพระไตรปิฎก เปรียบเทียบกับทฤษฎีจิตวิทยาตะวันตกปัจจุบัน พฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวจริต ๖ และการพัฒนาจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา

๑๐๑ ๔๑๖ ศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา ๓(๐-๖-๖) (Independent Study on Buddhism)

ศึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ในกิจการทางพระพุทธศาสนาโดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

๑๐๑ ๔๑๗ สัมมนาพระพุทธศาสนา ๓(๓-๐-๖)

Page 18: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

(Seminar on Buddhism) สัมมนาปัญหาเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาในประเด็นต่าง ๆ โดยเสนอผลงานการค้นคว้าและรายงาน

ประกอบการสัมมนา

(๒) วิชาเลือก ๑๐ หน่วยกิต ๑๐๑ ๓๑๘ เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน ๒(๒-๐-๔)

(Comparison between Theravada and Mahayana) ศึกษาความแตกต่างและความเหมือนกันระหว่างเถรวาทกับมหายาน เปรียบเทียบสถานะและพระจริยา

ของพระพุทธเจ้า สถานะและบทบาทของพระโพธิสัตว์ ค าสอนเรื่องธรรมกายทศบารมี ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน และพิธีกรรมส าคัญของนิกายทั้งสอง

๑๐๑ ๓๑๙ ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) (Education in Tipitaka)

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของศึกษาศาสตร์ ค าสอนในพระไตรปิฎกท่ีเกี่ยวกับการศึกษา เน้นเปูาหมายของการศึกษาตามไตรสิกขา กระบวนการจัดการศึกษาแบบกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ วิธีสอนของพระพุทธเจ้า คุณธรรมและจริยธรรมของครู

๑๐๑ ๓๒๐ อักษรจารึกในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) (Tipitaka Scripts)

ศึกษาอักษรต่าง ๆ ที่ใช้จารึกพระไตรปิฎก คือ อักษรเทวนาครี สิงหล ขอม มอญพม่า อักษรธรรมล้านนา และโรมัน ให้สามารถอ่านออก เขียนได ้

๑๐๑ ๓๒๑ ชาดกศึกษา ๒(๒-๐-๔)

(Jataka Studies) ศึกษาโครงสร้าง เนื้อหา และแนวคิดท่ีปรากฏในชาดก อิทธิพลของชาดกที่มีต่อวรรณกรรม

ทางพระพุทธศาสนา ศิลปะ และวิถีชีวิตไทย

๑๐๑ ๓๒๒ พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Thai Wisdom)

ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปะ และวัฒนธรรม

๑๐๑ ๓๒๓ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔) (Buddhism in Contemporary World)

ศึกษาสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน ผลกระทบของลัทธิการเมืองและศาสนาอ่ืน ๆ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมโลก และบทบาทขององค์การพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

Page 19: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๑๐๑ ๓๒๔ ชีวิตและผลงานของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔) (Life and Works of Buddhist Scholars)

ศึกษาชีวประวัติและผลงานของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาฝุายเถรวาทและมหายานด้านการแต่งหนังสือและแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนา

๑๐๑ ๓๒๕ พุทธธรรมกับสังคมไทย ๒(๒-๐-๔) (Buddhadhamma and Thai Society)

ศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย ความเข้าใจพุทธธรรม การใช้พุทธธรรม แก้ปัญหาชีวิตและสังคม แนวโน้มของความเชื่อและการปฏิบัติของชาวพุทธในปัจจุบัน และการ วิจารณ์พระพุทธศาสนาของนักคิดไทยสมัยใหม่

๑๐๑ ๓๒๖ สังคมวิทยาในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) (Sociology in Tipitaka)

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของสังคมวิทยา วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางสังค มวิทยาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เปรียบเทียบคุณค่าและความส าคัญของสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์กับสังคมวิทยาทั่วไป

๑๐๑ ๔๒๗ รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔) (Political Science in Tipitaka)

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของรัฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางรัฐศาสตร์ที่ป รากฏในพระไตรปิฎก หลักธรรมของผู้บริหาร เปรียบเทียบรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์กับรัฐศาสตร์ทั่วไป

๑๐๑ ๔๒๘ พุทธประวัติในพระไตรปิฎก ๒(๒-๐-๔)

(Life of The Buddha in Tipitaka) ศึกษาวิเคราะห์พุทธประวัติ และพุทธจริยาวัตรที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ

๑๐๑ ๔๒๙ พระพุทธศาสนากับสันติภาพ ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Peace)

ศึกษาหลักค าสอนทางพระพุทธศาสนาที่เก่ียวกับสันติภาพ หลักการและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งแนวพุทธ โดยเน้นรูปแบบและวิธีการสังฆสามัคคี และใช้แนวคิดเรื่องสันติภาพทางตะวันตกมาเทียบเคียง

๑๐๑ ๔๓๐ พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Human Right) ศึกษาหลักสิทธิมนุษยชนตามหลักค าสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเปรียบเทียบกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญของไทย และพระราชบัญญัติของไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักสิทธิมนุษยชนของนานาอารยประเทศ

Page 20: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๑๐๑ ๔๓๑ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ย่ังยืน ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Sustainable Development) ศึกษาหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักการพัฒนามนุษย์ธรรมชาติ และ

สังคม

๑๐๑ ๔๓๒ มังคลัตถทีปนีศึกษา ๒(๒-๐-๔) (Mangalatthadipani Studies)

ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาสาระของมังคลัตถทีปนี อิทธิพลของมังคลัตถทีปนีที่มีต่อวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตไทย

๑๐๑ ๔๓๓ พระพุทธศาสนากับสตรี ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Women) ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและปัญหาเกี่ยวกับสตรีในพระพุทธศาสนา ด้านสถานภาพ บทบาทหน้าที่

ศักยภาพในการบรรลุธรรม การอุปถัมภ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๑๐๑ ๔๓๔ พระพุทธศาสนากับวรรณคดีไทย ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Thai Literature)

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับวรรณคดีไทย และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวรรณคดีส าคัญของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

๑๐๑ ๔๓๕ พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ ๒(๒-๐-๔)

(Buddhism and Kings) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันบทบาทหน้าที่ของ

พระมหากษัตริย์ในการอุปถัมภ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการเมืองการปกครองของพระมหากษัตริย์

๑๐๑ ๔๓๖ ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒(๒-๐-๔)

(Dasa Parami in Theravada Buddhism) ศึกษาความหมาย เนื้อหา ความส าคัญของทศบารมี วิธีการบ าเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าและทศบารมี

กับการบรรลุธรรม อิทธิพลของความคิดเรื่องบารมีในวัฒนธรรมไทย

๑๐๑ ๔๓๗ พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข ๒(๒-๐-๔) (Buddhism and Health Care)

ศึกษาค าสอนในพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เก่ียวกับเรื่องโรค ยา อาหาร การบริโภคปัจจัย ๔ การบริหารร่างกาย การพยาบาล การพักผ่อน และจริยธรรมของผู้รักษาพยาบาล

Page 21: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๑๐๑ ๔๓๘ มิลินทปัญหาศึกษา ๒(๒-๐-๔)

(Milindapanha Studies) ศึกษาความเป็นมาของมิลินทปัญหา เนื้อหาสาระ ส านวนภาษา วิธีการตอบปัญหาและแนวคิดทาง

ปรัชญา

วิชาโท ๑๘ หน่วยกิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

(ส าหรับนิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา)

นิสิตสาขาวิชาอ่ืนที่ประสงค์จะศึกษาวิชาการจัดการเชิงพุทธเป็นวิชาโท ต้องศึกษารายวิชาการ จัดการเชิงพุทธไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต ตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้

(๑) วิชาบังคับ ๔ รายวิชา ๑๒ หน่วยกิต คือ

๔๐๖ ๓๐๖ ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับการบริหารจัดการ ๓ (๓-๐-๖) ๔๐๖ ๓๑๒ การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ ๓ (๓-๐-๖) ๔๐๖ ๓๑๓ กฎหมายส าหรับพระสงฆ์ ๓ (๓-๐-๖) ๔๐๖ ๓๑๔ การจัดการสาธารณูปการ ๓ (๓-๐-๖)

(๒) วิชาเลือก ๖ หน่วยกิต ให้เลือกศึกษาวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธอีกไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

๔๐๖ ๓๐๖ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Introduction to Management)

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบเขตของการบริหารและการจัดการ พัฒนาการของการบริหารและการจัดการ นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการบริหาร การบริหารภาครัฐ การจัดการทางธุรกิจ การวางแผน การติดต่อประสานงาน การวินิจฉัยสั่งการ ภาวะผู้น า การบริหารจัดการตามแนวบูรณาการ การบริหารจัดการตามแนวธรรมาภิบาล การบริหารเชิงพุทธ

๔๐๖ ๓๑๒ กฎหมายคณะสงฆ์ ๓ (๓-๐-๖) (Sangha Laws)

ศึกษาความหมาย ลักษณะที่มาและประเภทของกฎหมาย ขั้นตอนและวิธีการการออกกฎหมายคณะสงฆ ์ความสัมพันธ์ของคณะสงฆ์กับกฎหมายอื่นๆ เปรียบเทียบกฎหมายคณะสงฆ์กับกฎหมายต่างๆการบังคับใช้

Page 22: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

กฎหมายคณะสงฆ์ การใช้อ านาจหน้าที่ของพระสังฆาธิการ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์

๔๐๖ ๓๑๓ การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ ๓ (๓-๐-๖) (Sangha Educational Management)

ศึกษาประวัติความเป็นมาของการศึกษา หลักการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ ระบบการศึกษาคณะสงฆ์ บทบาทของพระสงฆ์ต่อการบริหารจัดการการศึกษา การปฏิรูปการศึกษากับการศึกษาของคณะสงฆ์ กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาของคณะสงฆ์ แนวโน้มการจัดการศึกษาของพระสงฆ์

๔๐๖ ๓๑๔ การจัดการสาธารณูปการ ๓ (๓-๐-๖) (Monastery Compound Management)

ศึกษาความหมายและความเป็นมาในการจัดการงานสาธารณูปการ การก าหนดส่วนพุทธาวาสสังฆาวาส การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผังวัด กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดผังวัด ระเบียบและการด าเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด กฎระเบียบการขออนุญาตตั้งวัด การพัฒนาจัดแผนการจัดการสาธารณูปการ ปัญหาและแนวโน้มการจัดการงานสาธารณูปการ ข. วิชาเลือก ๒๒ หน่วยกิต

๔๐๖ ๓๒๐ การบริหารจัดการงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) (Budgeting Administration)

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ กระบวนการงบประมาณ เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งบประมาณ บทบาทของระบบการเมืองต่อการบริหารจัดการงบประมาณ การบริหารจัดการงบประมาณเพ่ือพระพุทธศาสนา ปัญหาและแนวโน้มของการบริหารจัดการงบประมาณ

๔๐๖ ๓๒๑ การจัดการการเงินและทรัพย์สิน ๓ (๓-๐-๖ (Financial and Asset Management)

ศึกษาสถานะแวดล้อมทางการเงิน ทฤษฎีการเงินเบื้องต้น การเปรียบเทียบโครงการลงทุน การจัดหาเงินทุนระยะต่างๆ การบริหารทุนหมุนเวียน การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ศึกษาการจ าแนกประเภททรัพย์สิน การจัดส่วนแบ่งของทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายก าหนดราคาทรัพย์สิน วิธีการดูแลรักษาศาสนสมบัติกลางวิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินวัดและการแสดงรายการทรัพย์สินในงบดุลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

๔๐๖ ๓๒๒ การบัญชีเพื่อการจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Managerial Accounting)

ศึกษาวิธีการและระบบบัญชีเบื้องต้น ศึกษาระบบบัญชีที่น ามาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใ จการจัดการการวางแผน การออกแบบบัญชีเอกสารบันทึกรายงานต่างๆ การวางรูปบัญชีส าหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ เครื่องมือและโปรแกรมที่ช่วยในการท าบัญชีและปัญหาที่เก่ียวข้องกับระบบบัญชี และระบบบัญชีเพ่ือการจัดการงานของกิจการคณะสงฆ ์

Page 23: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

๔๐๖ ๓๒๓ กฎหมายทางการจัดการ ๓ (๓-๐-๖)

(Laws on Management) ศึกษาความหมาย ลักษณะ ปัจจัยและความส าคัญของการบริหารและการจัดการ องค์กรบริหารกับการออกกฎหมาย ขั้นตอนและวิธีการออกกฎหมายขององค์กรบริหารของรัฐ การใช้อ านาจและการควบคุมการใช้อ านาจ กฎหมายปกครอง และศึกษากรณีตัวอย่างของคดีทางการจัดการที่เกี่ยวข้ องกับการจัดการทางพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๓๒๔ การจัดการคุณภาพ ๓ (๓-๐-๖) (Quality Management)

ศึกษาความหมาย แนวคิดและวิวัฒนาการทางการจัดการคุณภาพ การวางแผนคุณภาพเชิงกุลยุทธ์ การประกันคุณภาพ ผลและความพึงพอใจของลูกค้า กลยุทธ์และระบบมาตรฐานต่าง ๆ ในการปรับปรุงกระบวน การผลิต เพ่ือให้ประสบความส าเร็จในการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ และการจัดการคุณภาพเชิงพุทธ

๔๐๖ ๓๒๕ จิตวิทยาการจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Management Psychology)

ศึกษาความหมายจิตวิทยาการบริหารการจัดการ ความสามารถในการบริหาร และการใช้จิตวิทยาในการบริหาร กลวิธีในการเข้าใจ ผู้อื่น การจัดการกับความเครียดในการท างาน การให้ค าปรึกษาและแนะน า การจูงใจผู้ร่วมงาน ศิลปะในการวิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ วิธีบริหารคนให้มีพลังสร้างสรรค์การปรับตัวทางสังคมและการตัดสินใจในการท างานร่วมกับผู้อ่ืน กระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าท างานประสิทธิภาพในกา รท างาน และจิตวิทยาการจัดการตามแนวพุทธ

๔๐๖ ๔๒๖ หลักการฝึกอบรมและการประชุม ๓ (๓-๐-๖) (Principle of Training and Meeting)

ศึกษาหลักการ วิธีการ และกระบวนการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการประชุม บรรยากาศลักษณะหรือรูปแบบในการฝึกอบรมและการประชุมในสถานการณ์ต่างๆ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมและการประชุมเพ่ือประโยชน์ในการบริหารกิจการทางพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๒๗ การพัฒนาประสิทธิภาพในการท างาน ๓ (๓-๐-๖)

(The Development of Efficiency in Working) ศึกษาหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการท างาน ทักษะและวิสัยทัศน์ในหน่วยงานทั้งภาครั ฐและเอกชน

โดยเน้นหลักการท างานในเชิงกลยุทธ์และประสิทธิภาพในการท างานตามแนวทฤษฎีการบริหารจัดการในลักษณะทีมงานเป็นหลัก และการพัฒนาประสิทธิภาพในการท างานแนวพุทธ

๔๐๖ ๔๒๘ การจัดการงานสารบรรณและธุรการ ๓ (๓-๐-๖) (Correspondence and Routine Work Management)

Page 24: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ศึกษาลักษณะความหมาย และโครงสร้างของการจัดการงานสารบรรณและธุรการ หลักทฤษฎีเกี่ยวกับงานสารบรรณ บทบาทและความส าคัญของงานสารบรรณ กลไกของระบบการท างาน การควบคุมดูแลงานในส านักงาน ระบบของการรายงาน การสรุปผลของงาน การประชุมสัมมนา รวมทั้งการเขียนโครงการที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ ์

๔๐๖ ๔๒๙ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ๓ (๓-๐-๖) (Current Affair Analysis)

ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดในโลกในปัจจุบัน ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาศาสนาและวัฒนาธรรม การวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน เพ่ือหาแนวทางแก้ไขปัญหาในสถ านการณ์ปัจจุบัน ศึกษาแนวโน้มของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ และการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

๔๐๖ ๔๓๐ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Information Systems for Management)

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและโครงสร้างของระบบสารสนเทศเพ่ือการจัดก าร ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การจัดการฐานข้อมูล การวางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เก่ียวข้องกับการบริหารองค์การ การจัดการด้านการบริหารงานบุคคล การด าเนินการตรวจสอบ และระบบควบคุมสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพ่ือการจัดองค์การกับระบบ ISO และระบบสารสนเทศเพ่ื อการจัดการทรัพย์สินทางพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๓๑ การสื่อสารกับการจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Communication and Management)

ศึกษาแนวคิดเก่ียวกับการสื่อสาร ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสาร ความส าคัญ และเปูาหมายของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสารในการจัดการ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในการจัดการ โครงสร้างของการจัดการองค์การ พฤติกรรมบุคคลกับการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสารในการจัดการองค์การ ระบบการสื่อสารขององค์การ กิจกรรมการสื่อสารในการจัดการองค์การ การแก้ไขปัญหาโดยการจัดระบบการสื่อสารให้ประสานกัน การสื่อสารกับการจัดการแนวพุทธ

๔๐๖ ๔๓๒ มนุษยสัมพันธ์กับการจัดการ ๓ (๓-๐-๖) (Human Relations and Management)

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและปัจจัยพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความต้องการของบุคลากรในองค์กร หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหาร หน้าที่และบทบาทความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม การติดต่อสื่อสารกับการบริหารจัดการ จิตวิทยาของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน หลักพุทธธรรมที่ช่วยส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์

๔๐๖ ๔๓๓ การบริหารชุมชนและสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖) (Communication and Environment Management)

Page 25: : B.A. (Buddhism)lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2015/09/budda.pdf · 2019-02-23 · ๕.โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างที่

ศึกษาหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารชุมชนและสิ่งแวด ล้อม ด้านการศึกษา เศรษฐกิจอนามัย และคุณภาพชีวิต เพ่ือการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ตามแนวทางการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แบบยั่งยืน และการบริหารชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๓๔ การพัฒนาบุคลิกภาพ ๓ (๓-๐-๖)

(Personality Development) ศึกษาความหมาย ทฤษฎี การพัฒนาบุคลิกภาพ อุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง การส ารวจบุคลิกภาพ

การปรับบุคลิกภาพของตนเองและผู้อ่ืน การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การพัฒนาร่างกายอารมณ์และจิตใจ โดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๓๕ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ๒ (๒-๐-๔) (English for Communication and Information Retrieval)

ศึกษาและพัฒนาด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ เพ่ือการติดต่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจ าวัน การสืบค้นและการใช้พจนานุกรม โดยอาศัยการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบสารนิเทศรูปแบบต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับสาขาวิชาของตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

๔๐๖ ๔๓๖ โปรแกรมส าเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งาน ๒ (๒-๐-๔) (Software Package and Application)

ศึกษาโครงสร้างคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการและการใช้โปรแกรมส าเร็จรูปที่นิยมในปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดท ารูปแบบเอกสาร สารบรรณ การจัดเก็บ การจัดท าตาราง บัญชี การค านวณ การน าเสนอ สื่อช่วยสอน ระบบฐานข้อมูล การสืบค้น อินเตอร์เน็ต การสร้างเว็บเพจ โปรแกรมส าเร็จรูปด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิจัย และโปรแกรมส าเร็จรูปเพ่ือการประยุกต์ใช้งานทางพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๓๗ สัมมนาการจัดการกิจการคณะสงฆ์ ๒ (๒-๐-๔) (Seminar on Sangha Management)

สัมมนาการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ตามหัวข้อท่ีก าหนด

๔๐๖ ๔๓๘ สัมมนาปัญหาการจัดการ ๒ (๒-๐-๔) (Seminar on the Problem of Management)

สัมมนาการปัญหาการจัดการตามหัวข้อที่ก าหนด โดยเน้นหัวข้อปั ญหาการจัดการกิจการทางพระพุทธศาสนา

๔๐๖ ๔๓๙ การศึกษาอิสระทางการจัดการเชิงพุทธ ๒ (๐-๔-๔) (Independent Study on Buddhist Management)

ศึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางการจัดการเชิงพุทธ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในกิจการทางพระพุทธศาสนา โดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา