แด่คุณพ่อแสม พริ้งพวงแก้ว...

11
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ปูชนียบุคคล แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว ในวงการสาธารณสุขไทย

Upload: bon-kalasin

Post on 22-Mar-2016

212 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

แด่คุณพ่อแสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคคลในวงการสาธารณสุขไทย โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน์

TRANSCRIPT

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

ปูชนียบุคคล แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว

ในวงการสาธารณสุขไทย

ปีที่พิมพ์ พฤษภาคม2554

จำนวนที่พิมพ์ 3,000เล่ม

โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

120หมู่3ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

80พรรษา5ธันวาคม2550

อาคารรวมหน่วยงานราชการชั้น2-4

ถนนแจ้งวัฒนะแขวงทุ่งสองห้องเขตหลักสี่

กรุงเทพมหานคร10210

โทรศัพท์021414000โทรสาร021439730

ออกแบบรูปเล่ม วัฒนสินธุ์สุวรัตนานนท์

พิมพ์ที่ บ.ทีคิวพีจก.

�ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย โดย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว �ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ถือเป็นบุคคลใน

ตำนานที่ยังมีชีวิตอันงดงามและยืนนานอย่างมีศักดิ์ศรีและบารมีอันสูงส่ง

ท่านเป็นแพทย์ชนบทรุ่นแรกๆ ที่ใช้วิชาชีพแพทย์ออกไปทำงานรับใช้

ประชาชนในถิ่นทุรกันดารอย่างยาวนาน ตั้งแต่ออกไปตั้ง “โรงพยาบาล

เอกเทศ” เพื่อช่วยเหลือปราบปราม อหิวาตกโรคที่ระบาดในจังหวัด

สมุทรสงคราม ใช้ศาลาวัดเป็นเสมือนโรงพยาบาลสนามคนไข้รายแรกที่

หามเข้าวัดไปให้ท่านดีใจว่าจะได้ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมา ปรากฏว่าท่านไม่มี

โอกาสได้แตะต้องตัวคนไข้รายนั้น เพราะแทนที่ญาติจะพาขึ้นศาลาไปให้

ท่านดูแลรักษากลับเลี้ยวไปป่าช้าแทนเพราะตายเสียแล้ว

จังหวัดที่ท่านได้สร้างตำนานแพทย์ผู้บุกเบิกในชนบทอยู่อย่าง

ยาวนานคือจังหวัดเชียงรายดินแดนอันไกลโพ้นเหนือสุดแดนสยามที่ก่อน

ไปมีผู้แนะนำให้เอาหม้อติดตัวไปด้วยใบหนึ่ง “เผื่อจะได้ใส่กระดูกกลับมา”

แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย

ทา่นเปน็แพทยค์นเดยีวไดร้บัความไวว้างใจจากผูใ้หญใ่หไ้ปเปน็ผูอ้ำนวยการ

โรงพยาบาล ซึ่งชาวบ้านบริจาคเงินคนละบาท สร้างโรงพยาบาลขึ้นเป็น

ผลสำเร็จ และเพราะเป็นเงินที่ประชาชนบริจาคสร้างขึ้น โรงพยาบาล

แห่งนี้จึงมีชื่อว่า “โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์” สืบมาจน

ปัจจุบันนี้ ยิ่งกว่านั้นเพราะเป็นเงินประชาชนที่สร้างโรงพยาบาลขึ้น เมื่อ

เก็บเงินค่ารักษาพยาบาล ท่านจึงไม่ยอมส่งเงิน “เข้าหลวง” แต่ใช้

หมุนเวียนซื้อยาอุปกรณ์และพัฒนาโรงพยาบาลเมื่อกระทรวงการคลัง

รู้เข้า จึงมีคำถามว่าท่าน “ถือดี” อย่างไรไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ท่านก็

ชี้แจงความจริงไปตามประสาซือ่ และนบัเปน็โชคดขีองวงการสาธารณสขุ

ไทยและประชาชนชาวไทยทั้งมวลที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังสมัยนั้นคือ

พระยาไชยยศสมบัติเป็นผู้มีเมตตาธรรมอันสูงและมีปัญญายิ่งแทนที่จะ

ลงโทษแพทย์หนุ่มที่ไม่สนใจระเบียบ กลับออกระเบียบให้เงินรายได้โรง

พยาบาลไม่ต้องนำส่งคลัง กลายมาเป็นระบบเงินบำรุง ซึ่งเป็นหัวใจ

สำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศมีความคล่องตัว สามารถ

พัฒนาจนเติบโตมาตราบเท่าทุกวันนี้

ลองคิดดู ถ้าพึ่งแต่งบประมาณ จะซื้อเครื่องมือสักชิ้น จะซื้อยา

แต่ละครั้งหรือจะซื้อไม้กวาดแต่ละอันอาจต้องรอเป็นปีๆเพราะต้องตั้ง

งบประมาณล่วงหน้าอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

เสียก่อน ชีวิตคนไข้จำนวนมากคงต้องสูญเสียไปเพราะระเบียบกฎหมาย

� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว �ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาไม่คล่องตัวฉับไวทันการณ์อย่างระบบ

เงินบำรุง

หลายปีก่อนผู้เขียนไปประชุมที่อินโดนีเซียเพื่อนแพทย์ที่นั่นเล่าให้

ฟังถึงความยุ่งยาก ล่าช้าและความไม่พัฒนาของระบบโรงพยาบาล โดย

เฉพาะในท้องที่ชนบทห่างไกลเพราะต้องพึ่งพาแต่เงินงบประมาณเท่านั้น

ไม่มีระบบเงินบำรุงอย่างบ้านเรา เงินทุกบาททุกสตางค์ที่โรงพยาบาลหา

มาได้ต้องส่งเข้าคลังทั้งหมด

ช่วงสงครามท่านต้องเผชิญภัยจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร

เช่น ช่วงที่เดินทางโดยรถไฟ คราวหนึ่งถึงกับต้องกระโดดหนีลงจากโบกี้

ขณะรถไฟกำลังวิ่ง เคราะห์ดีที่เทวดาคุ้ม ทำให้ไม่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ

จนแขนขาหักเพียงแค่มีแผลถลอกและรอยฟกช้ำเท่านั้น

ช่วงที่อยู่เชียงราย ท่านได้มีโอกาสรู้จักคุ้นเคยกับนายทหารหนุ่ม

ซึ่งต่อมาคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็น “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ช่วง

หนึ่งท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้รับเลือกเข้าร่วม

รัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นโอกาสให้ท่านได้

ทำงานใหญ่ให้แก่ประเทศชาติในช่วงที่รัฐบาลดำเนินนโยบาย“ทศวรรษ

แห่งการพัฒนาชนบท” และกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การนำของ

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้เริ่มนโยบายสร้างโรงพยาบาล

� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว �ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

พี่น้องและประหยัดงบประมาณค่าเช่าบ้านได้มากมาย ที่สำคัญยังช่วยให้

ไม่มีปัญหา “ขาดแคลนพยาบาลในชนบท” อย่างที่เกิดกับบุคลากรวิชาชีพ

อย่างแพทย์ทันตแพทย์เภสัชกรกายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์

ที่ใช้ระบบสอบคัดเลือกจากส่วนกลางแบบของ ก.พ. และยังมีปัญหามา

จนทุกวันนี้

ท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม ทำหน้าที่จนเป็นที่รักและไว้

วางใจของ“ผู้นำ”ประเทศสมัยนั้นคือจอมพลป.พิบูลสงครามเมื่อ

จอมพลป. ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลูกน้องที่เคยประกาศว่า “จะ

ไม่วัดร้อยเท้าท่าน” ปฏิวัติโค่นล้มและต้องหนีกระเซอะกระเซิงจนต้องไป

จบชีวิตลงในต่างแดน ไม่นานศาสตราจารย์ นายแพทย์เสมได้ขอลาออก

จากราชการด้วยคติไทยๆ ที่ไม่ต้องการเป็น “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย”

ออกไปประกอบสัมมาชีพด้วยวิชาชีพแพทย์สมตามที่สมเด็จฯ พระบรม

ราชชนกเคยทรงสอนไว้ว่าแพทย์ที่ดีไม่ร่ำรวยแต่ไม่อดตาย

จนถึงยุคของ“ยังเติร์ก”สาธารณสุขที่มีศาสตราจารย์นายแพทย์

ประเวศวะสีผู้ก้าวออกจากรั้วโรงเรียนแพทย์มา“ร่วมแจม”และกลายเป็น

“ผู้นำ” ยิ่งใหญ่ในวงการสาธาณสุข และต่อมาขยายวงออกไปเป็น “ผู้นำ”

ของอีกหลายๆ วงการตราบจนปัจจุบัน บรรดายังเติร์กซึ่งแสวงหา “ผู้นำ”

ก็ค้นพบ“เพชรที่หลุดจากเรือนแหวน”อย่างท่านศาสตราจารย์นายแพทย์

เสม พริ้งพวงแก้ว และได้ไปเชื้อเชิญให้ท่านกลับมาร่วมกับกองทัพของ

ให้ครบทุกอำเภอ และสถานีอนามัยให้ครบทุกตำบลจนสำเร็จ แม้ระยะนั้น

ประเทศจะประสบปัญหามากมายทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีปฏิวัติ

รัฐประหารหลายครั้ง ยุบสภาหลายหน และสถานะการเงินผันผวนถึง

ขั้นต้องลดค่าเงินบาทและต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ

ก่อนหน้านั้นท่านได้รับเลือกจากผู้ใหญ่ในสมัยรัฐบาลจอมพล

ป.พิบูลสงคราม ให้เข้ามาเป็นผู้อำนวยการ “โรงพยาบาลหญิง” ซึ่ง

ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลราชวิถี นอกจากเพื่อเป็นผู้บริหารในโรงพยาบาล

ตามนโยบาย “สร้างชาติ” ของจอมพล ป. ที่มองเห็นว่าชาติจะเข้มแข็ง

ได้สุขภาพของประชาชนจะต้องเข้มแข็ง และการอนามัยแม่และเด็กจะ

ต้องดี ทำให้เกิดนโยบายสำคัญคือการสร้างโรงพยาบาลขึ้นในภูมิภาค

โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดน และมีการตั้งโรงพยาบาลหญิงขึ้น ซึ่ง

โรงพยาบาลหญิงนั้นนอกจากเพื่อการ “บำรุงอนามัยแม่และเด็ก” แล้ว

ยังมีโรงเรียนพยาบาลเพื่อผลิตพยาบาลส่งไปอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่

กำลังเร่งรัดสร้างขึ้นด้วย

สิ่งที่มาพร้อมกับการผลิตพยาบาลก็คือ แนวคิดอันฉลาดปราดเปรื่อง

สุดๆ แทนที่จะเปิดสอบรับคนเข้ามาเรียนพยาบาลแล้วกระจายส่งไปแบบ

ที่ก.พ.ใช้“หัวสี่เหลี่ยม”คิดและทำอยู่จนทุกวันนี้กระทรวงสาธารณสุข

สมัยนั้นได้ใช้วิธีเลือกคัด “เยาวสตรี” จากแต่ละจังหวัดมาเข้าเรียนแล้ว

ส่งกลับไปทำงานในจังหวัดภูมิลำเนา ทำให้ไม่ต้องห่างไกลจากพ่อแม่

10 | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว 11ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

ยังเติร์กสาธารณสุข สร้างตำนานอันลือลั่น ทำให้ระบบสาธารณสุขของ

ประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้ามาอย่างภาคภูมิ เป็นที่ยอมรับของชาวโลก

มากมายในปัจจุบัน

งานที่โดดเด่นที่สุดในช่วงแรกหลังกลับมา “ผงาด” ในแวดวง

สาธารณสุขอีกครั้ง คือการได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

สาธารณสุข ในสมัย “รัฐบาลพระราชทาน” หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

ด้วยช่วงเวลาสั้นๆ ท่ามกลางปัญหาการเมืองที่ร้อนระอุอยู่ตลอดเวลา

ท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ร่วมกับศาสตราจารย์

นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เพื่อนรักของท่านได้ช่วยกันผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง

สาธารณสุข สร้างเอกภาพของงานด้านรักษาและป้องกันเป็นผลสำเร็จ

เปน็รากฐานสำคญัของความสำเรจ็ในการพฒันาสาธารณสขุเรือ่งอืน่ๆ อกี

มากมายตามมาการปฏริปูคราวนัน้ตอ้งเผชญิกบัการตอ่ตา้นมากมายเปน็

“ศึกสายเลือด”ครั้งใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุขแต่ก็ทำกันจนสำเร็จ

สมัยรัฐบาลอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ มีรัฐมนตรีที่โดดเด่นมาก

อีกท่านหนึ่งที่สื่อมวลชนชื่นชมกันอย่างเอิกเกริกคือหลวงอรรถสิทธิ์สิทธิ

สุนทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง “หาญกล้า” สั่งย้ายผู้ว่า

ราชการจังหวัด 2จังหวัดแต่ “ปัญญาชนเบอร์หนึ่งแห่งกรุงสยาม”คือ

อาจารย์สุลักษณ์ศิวรักษ์เป็นคนเดียวสมัยนั้นที่วิจารณ์“ฟันธง”ว่างาน

12 | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว 1�ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

ชิ้นที่โดดเด่นและจะมีผลมั่นคงยืนยาวของรัฐบาลสัญญา คือผลงานการ

ปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว

และศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมโปษะกฤษณะซึ่งณบัดนี้กาลเวลา

ก็ได้พิสูจแล้วว่า ทุกวันนี้แทบไม่มีใครจดจำวีรกรรมหลวงอรรถสิทธิ์สิทธิ

สุนทรกันแล้วแต่ผลงานการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขยังสร้างคุณูปการ

สืบมาจนปัจจุบันและจะสืบต่อไปอีกยาวนานในอนาคต

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสมและอาจารย์สุลักษณ์ ได้กลายเป็น

กัลยาณมิตรที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนอาจารย์สุลักษณ์ได้ใช้กุศโลบายขอ

อนุญาตใช้ชื่อท่านไปตั้งเป็นสถาบันการศึกษา คือ “เสมสิกขาลัย” ซึ่งปกติ

ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์เสมจะระมัดระวังมากแม้มีความกล้าหาญ

อย่างยิ่งแต่มีความอ่อนน้อมถ่อมตัวอย่างมากเป็นพื้นฐาน เมื่อพวกเราไป

ขอทำหนังสือประวัติของท่าน ท่านปฏิเสธอยู่ถึง 4 ปี กว่าจะยอมให้ทำ

ออกมาแต่กับกรณีเสมสิกขาลัยท่านยอมอนุญาตในเวลาค่อนข้างรวดเร็ว

งานอีกชิ้นที่โดดเด่นและมีผลยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้คือ งาน

สาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดคือ อสม. ที่เวลานี้มีเกือบ

1 ล้านคน เป็นระบบอาสาสมัครที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สามารถเป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุข ทั้งในยามปกติและ

ในยามฉุกเฉิน อย่างกรณีการระบาดของไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่

สายพันธุ์ใหม่2009เป็นต้น

นอกเหนือจากงานด้าน “การสาธารณสุข” แล้ว ในฐานะแพทย์

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสมยังเป็นศัลยแพทย์ฝีมือดีผู้มีผลงานจารึกไว้

ในประวัติการแพทย์ของโลกคือเป็นศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดแยก“แฝดสยาม”

เป็นผลสำเร็จรายแรกในประเทศไทยในสมัยที่การแพทย์ในประเทศไทย

ยังไม่เจริญนักแฝดสยามคู่ที่มีการบันทึกไว้คือปราจีนกับบุรีเป็นเด็ก

หญิงทั้งคู่ ตามหลักฐานเท่าที่มีระบุว่า ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม ได้

ผ่าตัดแยกแฝดสยามก่อนหน้านั้นคือวันดีกับศรีวันผ่าแยกเมื่อวันที่

20 ธันวาคม 2499 แต่หลังผ่าตัดสิบวัน คนหนึ่งเสียชีวิต เพราะโรค

แทรกซ้อนจากการดมยาสลบ คู่นี้เป็นคู่ที่สอง ผ่าเมื่อเดือนธันวาคม

พ.ศ.2504 มีเรื่องเล่าว่า ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม ต้องการลาออก

จากราชการเพราะเป็นผู้ผูกพันใกล้ชิดกับจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ยื่น

ใบลาออกไปถึง 3 ครั้ง คำสั่งอนุญาตให้ลาออกได้มาถึงขณะกำลังผ่าตัด

แฝดสยามคู่นั้นพอดีแต่ท่านสามารถรักษาสมาธิและผ่าตัดจนเรียบร้อย

เรื่องนี้ควรตรวจสอบและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป

ในทางสากล แม้ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว จะ

เริ่มชีวิตราชการเป็น “หมอบ้านนอก” หรือ “หมอชนบท” แต่ท่านได้

ติดตามความเจริญก้าวหน้าของโลก โดยการบอกรับวารสาร Scientific

American มาอ่านอย่างต่อเนื่องยาวนาน และภาษาอังกฤษของท่านอยู่

ในขั้นยอดเยี่ยมทั้งการอ่านการพูดและการเขียน

1� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว 1�ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

บทพิสูจน์ทั้งความสามารถทางภาษา และภาวะผู้นำของท่านคือ

ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมัยที่สอง

นายแพทย์ฮาล์ฟดาน มาห์เลอร์ (Halfdan Mahler) ผู้อำนวยการใหญ่

องค์การอนามัยโลก ได้เดินทางมาประชุมในประเทศไทย โดยประชุม

เป็นเวลาสามวันที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาโครงการช่วยเหลือ

ต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลกจะให้แก่ประเทศไทย ซึ่งปกติจะพิจารณา

โดยสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การอนามัยโลกที่

กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม ได้ให้ความ

สำคัญกับการประชุมครั้งนั้นอย่างสูงด้วยการเชิญทั้งผู้บริหารระดับสูงใน

กระทรวงสาธารณสุข และผู้นำคนสำคัญในวงการแพทย์และสาธารณสุข

จากนอกกระทรวงมาร่วมประชุมด้วย โดยแม้จะมีภารกิจทีส่ำคัญมากมาย

ในฐานะรัฐมนตรี แต่ท่านได้อยู่ร่วมการประชุมนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้

นอกจากฐานะตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็น

ตำแหน่งอันสำคัญระดับโลกแล้ว โดยส่วนตัวนายแพทย์มาห์เลอร์ เป็น

ผู้นำระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากด้วย

นายแพทย์มาห์เลอร์เป็นทั้งนักคิดนักบริหารผู้นำและนักพูดที่มี

วาทศิลป์สูงยิ่ง สามารถเสนอให้ประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก

ยอมรับมติสำคัญที่จะร่วมผลักดันในสิ่งที่ยากยิ่ง เหมือน “ฝันที่ไกลเกิน

ไขวค่วา้”(TheImpossibleDream)คอืการประกาศทีจ่ะทำใหป้ระชาชน

1� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว 1�ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

ทั่วโลกมี “สุขภาพดีถ้วนหน้า เมื่อ 2543” (Health For All By the

Year 2000) เป็นที่เลื่องลือกันว่า ในทุกเวทีการประชุม ไม่ว่านายแพทย์

มาหเ์ลอรจ์ะเขา้ประชมุในฐานะใดพอประชมุไปสกัพกันายแพทยม์าหเ์ลอร์

จะแสดงความฉลาดปราดเปรื่องและวาทศิลป์อันเยี่ยมยอด จนเป็นผู้มี

บทบาทสำคัญคือเป็นผู้นำการประชุมเสมอแต่ในการประชุมที่กระทรวง

สาธารณสุขไทยครั้งนั้น เพียงไม่นาน นายแพทย์มาห์เลอร์ก็ยอมรับ

“ภาวะผู้นำ” ของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม และในช่วงท้ายของการ

ประชุม นายแพทย์มาห์เลอร์ ได้ลุกขึ้นยืน โยนแฟ้มเอกสารลงตรงหน้า

ประกาศว่า “อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด พวกคุณจะทำอะไรก็ได้ตามที่

ต้องการ”(Whaithehellwithit,youcandowhatyouwant)

นัน่คอืเหตกุารณท์ีก่ลายเปน็ตำนานขององคก์ารอนามยัโลก เพราะ

ปกติเงินช่วยเหลือขององค์การอนามัยโลกที่ให้แก่ประเทศต่างๆ จะต้อง

เข้าสู่ “ระบบราชการ” (bureaucracy) อันยุ่งยากซับซ้อนขององค์การ

อนามัยโลกและผู้มีอำนาจตัดสินใจคือผู้บริหารขององค์การอนามัยโลก

แต่การประกาศครั้งนั้นของนายแพทย์มาห์เลอร์ คือการมอบอำนาจให้

ประเทศไทยพิจารณาการใช้เงินส่วนนี้เอง ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูงของ

ประเทศไทย และเป็นที่อิจฉาริษยาของประเทศอื่นทั่วโลก เพราะยังไม่

เคยมีประเทศใดได้รับสิทธิพิเศษนี้มาก่อนและไม่มีประเทศใดได้รับสิทธิ

พิเศษนี้อีกเลย

นอกจากความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นทุ่มเททำงาน

อย่างเต็มที่ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดประการหนึ่งของศาสตราจารย์นายแพทย์

เสมคือความเป็นผู้มีสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่าIntegrityคำคำนี้ยังไม่มีคำแปล

ที่เป็นทางการในภาษาไทย เพราะไม่มีคำในภาษาไทยคำใดที่ให้ความ

หมายครอบคลุมความหมายของคำคำนี้ ได้สอบถามราชบัณฑิตยสถาน

แล้ว ยังไม่มีคำแปลที่เป็นศัพท์บัญญัติอย่างเป็นทางการ พจนานุกรม

อังกฤษ-ไทยแปลคำคำนี้ต่างๆกัน เช่นคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

บูรณภาพเป็นต้น

ผู้ที่อธิบายความหมายของคำคำนี้ไว้อย่างน่าสนใจ คือ สตีเฟน

โคเวย์ (Stephen M.R. Covey) ในหนังสือ “พลานุภาพแห่งความไว้

วางใจ”(TheSpeedofTrust)สรุปว่าIntegrityมี4องค์ประกอบคือ

1) ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีเกียรติยศ(Honestyand

Dignity)สตีเฟน โคเวย์ ได้ยกตัวอย่างกรณีแอนดี้ ร็อดดิกนักเทนนิส

ชาวอเมริกัน เมื่อครั้งลงแข่งขันอิตาเลียนมาสเตอร์รอบที่สามที่กรุงโรม

เมื่อปี พ.ศ.2548 คู่แข่งคือ เฟอร์นานโด เวอร์ดาสโก จากสเปน ตอน

แมตช์พอยน์ของร็อดดิก เวอร์ดาสโก เสิร์ฟลูกที่สอง กรรมการขาน

“ออก” ซึ่งแปลว่าร็อดดิกชนะ ผู้คนรอบสนามส่งเสียงเชียร์ร็อดดิก

เวอร์ดาสโก เดินตรงมาที่เน็ต เพื่อจับมือแสดงความยินดีกับร็อดดิก แต่

รอ็ดดกิไมย่อมรบัคะแนนนัน้ เพราะเขาเหน็วา่ลกูไมอ่อก แตต่กลงบนเส้น

1� | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว 1�ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย |

กรรมการประหลาดใจและยอมรบัคำทกัทว้งของรอ็ดดกิคะแนนนัน้จงึกลบั

เป็นของเวอร์ดาสโก ซึ่งมีผลพลิกผล แพ้-ชนะ เพราะแทนที่ร็อดดิกจะ

ชนะในแมตช์นั้นจากลูกนั้นการแข่งขันต่อมาผลลงเอยด้วยร็อดดิกแพ้

ร็อดดิกแพ้เกมนั้นแต่ผู้คนในวงการชื่นชมในIntegrityของร็อดดิก

อย่างยิ่ง

2) ความกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว (Congruence) คือคิดและ

เชื่ออย่างไรพูดอย่างนั้นและทำอย่างนั้น

สตีเฟน โคเวย์ ยกตัวอย่างกรณีมหาตมะ คานธี ไปกล่าว

คำปราศรัยที่สภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ คานธีกล่าวปราศรัยนานถึง

สองชั่วโมงโดยไม่มีร่างคำปราศรัยอยู่ในมือ เปลี่ยนให้ผู้ฟังที่โดยสถานะเป็น

ศัตรูและเกลียดชังคานธีลุกขึ้นปรบมือให้เกียรติ(Ovation)อย่างยาวนาน

หลังการปราศรัยนักข่าวถามมหาเทพ เทศัย เลขานุการของคานธีว่า

คานธพีดูสะกดคนฟงัอยา่งยาวนานโดยไมม่โีนต้ใดๆ ไดอ้ยา่งไร มหาเทพ

ตอบว่า “สิ่งที่คานธีคิด สิ่งที่คานธีรู้สึก และทุกการกระทำล้วนเป็นเรื่อง

เดียวกันท่านไม่ต้องมีโน้ตเตือนความจำใดๆ...”

คานธีไม่เพียงกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับตนเองเท่านั้น แต่ยัง

กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับหลักการประจำใจ ท่านไม่เพียงมีราก แต่มี

รากแก้วที่หยั่งลึกลงไปในพื้นฐานทั้งปวงที่กำหนดชีวิตของท่าน

3) ความอ่อนน้อมถ่อมตน(Humility)ซึ่งคงไม่ต้องมีคำอธิบาย

20 | แด่คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว

4) ความกล้าหาญ (Courage) คือกล้าที่จะทำในสิ่งถูกต้องดีงาม

แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะทำหรือต้องเสี่ยงที่จะทำ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เสมมีคุณสมบัติของ Integrityครบถ้วน

ทั้งในเรื่องใหญ่และเรื่องที่อาจดูเป็นเรื่องเล็ก

คราวหนึ่ง มีการทุจริตในแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสมลุกขึ้นพูดถึงเรื่องดังกล่าวด้วยท่าทีที่จริงจัง

แต่สุภาพ ซึ่งในที่สุดกรรมการที่เบียดบังเอาเงินไปต้องเอาเงินมาคืน

จนเป็นที่เรียบร้อย

อีกคราวหนึ่ง มีอาจารย์ผู้หนึ่งขอยืมเงินมูลนิธิไปทำกิจกรรม โดย

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม เป็นผู้รับรองให้ แต่เมื่อถึงกำหนดอาจารย์

ผู้นั้นไม่นำเงินมาใช้คืน ศาสตราจารย์นายแพทย์เสมนำเงินส่วนตัวมาคืน

เอง โดยเป็นเงินที่ “แคะกระปุก” มาเป็นส่วนใหญ่เพราะเป็นเงินเหรียญ

จำนวนมากมาย ในที่สุดอาจารย์ผู้นั้นต้องละอายแก่ใจ นำเงินมาใช้คืน

มูลนิธิจึงนำเงินไปคืนท่าน ท่านไม่รับคืน เพราะต้องการแสดงความรับ

ผิดชอบอย่างเต็มที่

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว จึงเป็นปูชนีย

บุคคล ที่หาได้ยาก และคนส่วนใหญ่คงจะไม่เดินตาม แต่เชื่อว่า

ท่านจะเป็นแรงบันดาลใจของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะเติบโตต่อไป

เป็นบุคคลผู้มีคุณค่า และคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างแน่นอน