พญาคันคาก กับประเพณีบุญบั้งไฟ

4
เพิ่มเติม นิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก พระนางสีดา มเหสีแห่งพญาเอกราชเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งมี ผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองคา แต่ว่ามีผิวหนังดุจคางคก และในวันที่พระกุมารประสูติ เกิดอัศจรรย์ ขึ้นบนพื้นโลก ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยงปร้าง ลมพายุพัดต้นไม้หักล้มระเนระนาด เสียงดังสนั่น หวั่นไหวราวกับว่าโลกจะถล่มทลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญลงมาเกิด พระยาเอกราชได้จัดหา หญิงสาว ที่มีลักษณะดี เช่น มีถันเต่งตึงกลมงาม มาเป็นแม่เลี้ยงนางนมแก่พระกุมาร เมื่อพระกุมาร เจริญวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็คิดอยากจะได้คู่ครอง และอยากได้ปราสาทเสาเดียวไว้เป็นที่ประทับ จึง เข้าเฝ้าและทูลขอให้ พระบิดาช่วย ฝ่ายบิดาเห็นว่าพระโอรสของตนมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากคน ทั่วไป คงไม่มีหญิงใดปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง จึงทรงบอกให้พระกุมารเลิกล้มความคิดเช่นนั้นเสีย โดยให้เหตุผลว่าพระกุมารมีรูปร่างอัปลักษณ์ ทาให้พระกุมารเสียพระทัยยิ่งนัก ต่อมาในกลางดึกสงัดของคืนวันหนึ่ง พระกุมาร จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนเคยได้สร้างสม บุญบารมีมา ก็ขอให้สาเร็จดังความปรารถนาด้วยเถิด ด้วยแรงอธิษฐานทาให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่ง เป็นที่ประทับนั่งของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างขึ้น พระอินทร์จึงลงมาเนรมิตปราสาทเสาเดียวอัน งดงามหาที่เปรียบไม่ได้ พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยทิพย์ปาน ประหนึ่งเมืองสวรรค์ และยังได้เอานางแก้ว จากอุดรกุรุทวีปมามอบให้เป็นคู่ครอง ก่อนจาก ได้เนรมิต พระกุมาร ให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชเห็นประจักษ์ในบุญบารมีของลูก จึงยกราชสมบัติ บ้านเมืองให้ครอบครอง เมื่อพระกุมารได้ครองราชย์แล้ว เจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาขออยู่ภายใต้ ร่มบารมี แม้พวกพญาครุฑ พญานาค พญาหงส์ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ เช่น ช้าง ม้า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ลงไปถึงกบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ผึ้ง ต่อ แตน มด ปลวก ต่างก็พากันมาถวายตัวเป็นบริวารจน หมดสิ้น ทาความไม่พอใจให้พญาแถนเป็นยิ่งนัก พญาแถนจึงไม่ยอมให้พวกพญานาคลงเล่นนา เป็น เหตุ ให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกลงมายังโลกมนุษย์เป็นเวลาหลายปี ทาให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยว เฉา ตาย มนุษย์และเหล่าสัตว์ต่างพากันเดือดร้อน จึงไปทูลให้พญาคันคากทราบ พญาคันคากจึงไปยัง เมืองบาดาลถามพวกนาคดู เมื่อรู้เหตุที่ทาให้ฝนแล้งแล้ว พญาคันคากจึงยกทัพอันประกอบไปด้วยมนุษย์ และเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกขึ้นไป ทาสงครามกับพวกพญาแถน

Upload: chainarong-maharak

Post on 02-Aug-2015

86 views

Category:

Education


2 download

TRANSCRIPT

Page 1: พญาคันคาก กับประเพณีบุญบั้งไฟ

เพิ่มเติม นิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก พระนางสีดา มเหสีแห่งพญาเอกราชเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองค า แต่ว่ามีผิวหนังดุจคางคก และในวันที่พระกุมารประสูติ เกิดอัศจรรย์ ขึ้นบนพ้ืนโลก ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยงปร้าง ลมพายุพัดต้นไม้หักล้มระเนระนาด เสียงดังสนั่นหวั่นไหวราวกับว่าโลกจะถล่มทลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญลงมาเกิด พระยาเอกราชได้จัดหาหญิงสาว ที่มีลักษณะดี เช่น มีถันเต่งตึงกลมงาม มาเป็นแม่เลี้ยงนางนมแก่พระกุมาร เมื่อพระกุมารเจริญวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็คิดอยากจะได้คู่ครอง และอยากได้ปราสาทเสาเดียวไว้เป็นที่ประทับ จึงเข้าเฝ้าและทูลขอให้ พระบิดาช่วย ฝ่ายบิดาเห็นว่าพระโอรสของตนมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากคนทั่วไป คงไม่มีหญิงใดปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง จึงทรงบอกให้พระกุมารเลิกล้มความคิดเช่นนั้นเสียโดยให้เหตุผลว่าพระกุมารมีรูปร่างอัปลักษณ์ ท าให้พระกุมารเสียพระทัยยิ่งนัก ต่อมาในกลางดึกสงัดของคืนวันหนึ่ง พระกุมาร จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนเคยได้สร้างสมบุญบารมีมา ก็ขอให้ส าเร็จดังความปรารถนาด้วยเถิด ด้วยแรงอธิษฐานท าให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างขึ้น พระอินทร์จึงลงมาเนรมิตปราสาทเสาเดียวอันงดงามหาที่เปรียบไม่ได้ พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยทิพย์ปานประหนึ่งเมืองสวรรค์ และยังได้เอานางแก้ว จากอุดรกุรุทวีปมามอบให้เป็นคู่ครอง ก่อนจาก ได้เนรมิตพระกุมาร ให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชเห็นประจักษ์ในบุญบารมีของลูก จึงยกราชสมบัติบ้านเมืองให้ครอบครอง เมื่อพระกุมารได้ครองราชย์แล้ว เจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาขออยู่ภายใต้ ร่มบารมี แม้พวกพญาครุฑ พญานาค พญาหงส์ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ เช่น ช้าง ม้า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ลงไปถึงกบ เขียด อ่ึงอ่าง คางคก ผึ้ง ต่อ แตน มด ปลวก ต่างก็พากันมาถวายตัวเป็นบริวารจนหมดสิ้น ท าความไม่พอใจให้พญาแถนเป็นยิ่งนัก พญาแถนจึงไม่ยอมให้พวกพญานาคลงเล่นน้ า เป็นเหตุ ให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกลงมายังโลกมนุษย์เป็นเวลาหลายปี ท าให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยวเฉา ตาย มนุษย์และเหล่าสัตว์ต่างพากันเดือดร้อน จึงไปทูลให้พญาคันคากทราบ พญาคันคากจึงไปยังเมืองบาดาลถามพวกนาคดู เมื่อรู้เหตุที่ท าให้ฝนแล้งแล้ว พญาคันคากจึงยกทัพอันประกอบไปด้วยมนุษย์ และเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ ในโลกขึ้นไปท าสงครามกับพวกพญาแถน

Page 2: พญาคันคาก กับประเพณีบุญบั้งไฟ

2

พญาคันคากกับพญาแถน ได้ต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เมื่อพญาแถน เห็นว่า จะเอาชนะพญาคันคากด้วยฤทธิ์เดชไม่ได้ จึงท้าให้ชนช้างกัน ในที่สุดพญาคันคากชนะ จึงจับพญาแถนและให้พญานาค จับมัดไว้ พญาแถนจึงขอยอมแพ้ พญาแถนพ่าย ร้องบอกให้พญาคันคากปล่อยตนเสีย แต่พญาคันคาก กลับบอกว่าขอเพียงพญาแถนผู้เป็นใหญ่ให้พรสามประการ ก็จะมิท าประการใด หนึ่ง ให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาล เหล่ามวลมนุษย์จะจุดบั้งไฟบวงสรวงพญาแถน สอง แม้ว่าฝนตกลงมาดั่งใจมาดแล้ว ให้ในทุ่งนามีเสียงกบเขียดร้อง สาม เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นเล้า(ยุ้งข้าว) ตัวข้าพญาคันคากจะส่งเสียงว่าวสนูให้พ่อฟังเป็นสัญญาณว่า ปีนั้นข้าวอุดมสมบูรณ์ พญาแถนได้ฟังจึงได้ให้พรตามปรารถนา นับเนื่องจากนั้นมากลางเดือนหกของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะร่วมกันท าบั้งไฟแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านแล้วจุดบูชาพญาแถน

Page 3: พญาคันคาก กับประเพณีบุญบั้งไฟ

3

ประเพณ ีบญุบัง้ไฟ (บญุเดอืนหก)

ความส าคัญ ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการท าบุญประจ าปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการท านา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พิธีกรรม ประกอบด้วย 1. การเซิ้งเพ่ือขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพ่ือน ามาเป็นทุนในการจัดท าบั้งไฟและเป็นเสบียงส าหรับผู้จัดท าบั้งไฟ 2. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 3. การประกวดขบวนร าเซิ้ง 4. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ 5. การแขง่ขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง 6. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง) 7. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง สาระที่ส าคัญ 1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท 2. เป็นงานประเพณีท่ีสร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน 3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ 4. เป็นงานประเพณีท่ีสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร

Page 4: พญาคันคาก กับประเพณีบุญบั้งไฟ

4

อา้งองิ

คมคาย จินโจ. ประเพณีบุญบั้งไฟ[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558. จาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-56%28500%29/page6-10- 56%28500%29.html. เทศกาลบั้งไฟของชาวอีสาน[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558. จาก http://pakkhadcity.com/about_history_payataan.html. นิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558. จาก http://chali0701.blogspot.com/2008/09/2542-588-1.html. ประเพณีบุญบั้งไฟ กับต านานบูชาพญาแถนขอฝน [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558. จาก http://hilight.kapook.com/view/101828.