weekly brief 1 - 6 jun 11

23
Vol. 2 Issue 18 1 1-6 June 2011 Thai Food Processors’ Association คู่มือในการผลิตเพื่อลดปัญหาการปนเปื้อน โดยสหรัฐอเมริกา พาณิชย์เตือนผู้ส่งออกรับมือระบบควบคุมการ ท�าประมงผิดกฎหมายของอียู ร้องพาณิชย์ต่อเวลาลดภาษีน�าเข้า 0% ต้นทุนมะพร้าวพุ่ง th WEEKLY BRIEF TFPA Trade & Technical Vol. 2 issue 18 สถานการณ์อาหารปนเปื้อน E.coli ในยุโรป พาณิชย์เชียร์ไทยท�าเอฟทีเอแคนาดา www.thaifood.org P i n ea p p l e S w e et C or n T u na S e af oo d F r ui t s & Veget a bl es F ood I ngr edient s & Ready- t o- Eat

Upload: thai-food-processors-association

Post on 11-Mar-2016

225 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

Weekly Brief Issue 18, 1 - 6 Jun 11

TRANSCRIPT

Page 1: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

1

1-6 June 2011

Thai Food Processors’ Association

คู่มือในการผลิตเพ่ือลดปัญหาการปนเปื้อนโดยสหรัฐอเมริกา

พาณิชย์เตือนผู้ส่งออกรับมือระบบควบคุมการ

ท�าประมงผิดกฎหมายของอียู

ร ้องพาณิชย ์ต ่อ เวลาลดภาษีน� า เข ้ า 0% ต ้นทุนมะพร ้ าวพุ ่ ง

th

WEEKLY BRIEF TFPA Trade & Technical Vol. 2

issue 18

สถานการณ์อาหารปนเปื้อน E.coli ในยุโรป

พาณิชย์เชียร์ไทยท�าเอฟทีเอแคนาดา

www.thaifood.org

Pineap

ple Sweet Corn Tun

a Se

afood

Fruits &

Vegetab

les Food

Ingredients &

Ready-to-Eat

Page 2: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

2

สารบัญแนะน�าพนักงานใหม่ข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อมูลทางด้านเทคนิคคู่มือในการผลิตเพ่ือลดปัญหาการปนเปื้อน เอกสารแนบ 1

สถานการณ์อาหารปนเปื้อน E.coli ในยุโรป

ความคืบหน้า...การติดฉลาก COOL เมืองผู้ดี

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร

ไต้หวันเรียกคืนอาหารปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง

จีนออกระเบียบควบคุมปริมาณสารเมลามีนในอาหารอย่างเป็นทางการ

สิงคโปร์ปรับปรุงข้อก�าหนดการแสดงฉลากอาหาร

แคนาดาเตือน น�้าผลไม้น�าเข้าจากไต้หวันอาจปนเปื้อน Phthalates

พาณิชย์เผยสหรัฐฯ ออกค�าแนะน�าในการผลิตอาหารพร้อมบริโภคเพื่อลดการปนเปื้อน

ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้มะกันเพ่ิมความระวังเชื้อ E.coli

อียูเริ่มไฟแดงห้ามใช้ขวดนมปนเปื้อนสารบีพีเอและห้ามน�าเข้า

สหภาพยุโรปเกาะติดการแพร่ระบาดเชื้อ E.coli – คาด ‘ถั่วงอก’ ต้นตอการปนเปื้อน

รัสเซียไฟแดงน�าเข้าผักสดจาก EU หวั่น E. coli

สถานการณ์ด้านประมงอุณหภูมิเปลี่ยนเร็ว ปลาปินส์ตายกว่า 800 ตัน

ออกซิเจนในอ่าวเม็กซิโกหด ปลาป่วนสับสนเพศ

พาณิชย์เตือนผู้ส่งออกรับมือระบบควบคุมการท�าประมงผิดกฎหมายของอียู

กุ้งต้มสุกไทยยังครองใจชาวโลก

สถานการณ์ด้านเกษตรร้องพาณิชย์ต่อเวลาลดภาษีน�าเข้า 0% ผู้ผลิตอาหารส�าเร็จรูปโอดต้นทุนมะพร้าวพุ่งไม่หยุด

สถานการณ์ด้านการค้าจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ พักน�าเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากไต้หวัน

พาณิชย์เชียร์ไทยท�าเอฟทีเอแคนาดา

ญี่ปุ่น-อียูเล็งเปิดเจรจา FTA

34

566778899101011

12121213

14

151618

Page 3: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

3

แนะน�าพนักงานใหม่

ต�าแหน่ง: เจ้าหน้าที่การค้าและวิชาการ(ข้อมูล)-กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมงE-mail : [email protected]; [email protected]เริ่มงาน : 18 พ.ค. 54

ต�าแหน่ง: เจ้าหน้าที่การค้าและวิชาการ(ประสานงาน)-กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมงE-mail: [email protected]; [email protected]เริ่มงาน: 1 มิ.ย. 54

รัตนา ชูศรี (น้อยหน่า)

ธนัญญา ตั้งจินตนา (ผึ้ง)

ต�าแหน่ง: เจ้าหน้าที่บริหารข้อมูลE-mail: [email protected]; [email protected]เริ่มงาน: 18 พ.ค. 54

ญดา ชินารักษ์ (พูห์)

ต�าแหน่ง: เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานสารสนเทศE-mail: [email protected]; [email protected]เริ่มงาน: 18 พ.ค. 54

ปวัณรัตน์ ใจกล้า (ตุ๊ก)

Page 4: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

4

ณ เมืองเม็คเนส (Meknes) ราชอาณาจักรโมร็อกโก

กระทรวงการต่างประเทศจัดท�ารายงานสรุปผลการเดิน

ทางไปร่วมงานดังกล่าวของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง

ราบัต ดังนี้

1. ภาพรวม SIAM เป็นงานนิทรรศการเกษตรท่ีใหญ่

ที่สุดในทวีปแอฟริกา มีการจัดการแสดงสินค้าทางการ

เกษตรเช่น ข้าว ข้าวสาลี อาหารสัตว์ โดยมีสินค้าจาก

โมร็อกโก และหน่วยงานด้านการเกษตรและการประมง

ของโมร็อกโก

2. ผู้เข้าร่วม มีผู้แทนจากประเทศส�าคัญเข้าร่วมจัด

งานฯ ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี

เบลเยียม สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ ่น จีน

อินโดนีเซีย เซเนกัล ไนจีเรีย และอื่นๆ มากกว่า 7.5

แสนคน

3. ข้อเสนอเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น

3.1 งาน SIAM เป็นงานที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ

ด้านธุรกิจการเกษตรสาขาต่างๆสามารถเข้าร่วมได้อย่าง

เต็มที่โดย 2 วันแรก จัดให้ส�าหรับผู้ประกอบการพบปะ

หารือ เจรจาทางธุรกิจและหาช่องทางการตลาด

3.2 ผู ้จัดงานได้แสดงความพร้อมในการจัดสรร

พ้ืนท่ีส�าหรับผู ้แทนต่างประเทศที่ติดต่อร่วมผ่านสถาน

เอกอัคราชทูตของประเทศตน โดยไม ่มีค ่าใช ้จ ่าย

กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นว่าในปี 2555 ฝ่าย

ไทยน่าจะใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมงานดังกล่าวเพื่อ

ประชาสัมพันธ์ศักยภาพและคุณภาพสินค้าเกษตรไทยสู่

ตลาดโมร็อกโกและประเทศอ่ืนๆ ในภูมิภาคดังกล่าว การ

นี้จึงประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกที่เป็นผู ้ผลิตและผู้ส่งออก

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ พิจารณาส่งผู้แทนเข้าร่วมจัดงาน หรือ

จัดส่งตัวอย่างสินค้า/เอกสารประชาสัมพันธ์ไปให้สถาน

เอกอัครราชทูต ใช้ประโยนช์ส�าหรับการเข้าร่วมงาน

ข่าวประชาสัมพันธ ์ประชาสัมพันธ์ผลการจัดนิทรรศการนานาชาติด้าน

การเกษตรแห่งโมร็อกโก (Salon International de l’Ariculture du Maroc - SIAM) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2554

ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ASEAN - Korea FTA Inter-grated Information Services เนื่องด้วยองค์กร ASEAN - Korea Center (AKC)

ซึ่งมีหน้าท่ีในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โอกาสทาง

ธุรกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่าง

ประเทศสมาชิกอาเซียนปละสาธารณรัฐเกาหลีได้แจ้งว่า

AKC ได้จัดท�าข้อมูล ASEAN - Korea FTA Intergrated

Information Services บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับอัตราภาษี

ต่างๆ กฏแหล่งก�าเนิดสินค้า และข้อมูลทางธุรกิจต่างๆ

ระหว่างอาเซียนและสาธารรณรัฐเกาหลีภายใต้ข้อตกลง

ASEAN - Korea FTA อ่านข้อมูลเพ่ิมเติมได้บนเว็บไซต์

www.akfta.net

ประชาสัมพันธ์ เชิญเข้าร่วมสัมนาเรื่อง “AEC จุดเปลี่ยน

การส่งออกสู่การลงทุนไทยในต่างประเทศ” ด้วยกรมเจรจา

การค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ปละธนาคารเพื่อ

การส่งออกและน�าเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ก�าหนด

จัดการสัมมนาเรื่อง “AEC จุดเปลี่ยนการส่งออกสู่การ

ลงทุนไทยในต่างประเทศ” ในวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554

ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพๆ โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ประโยชน์จาก

AEC/FTAs เพ่ือการส่งออกและการประกอบธุรกิจทั้งด้าน

กฎระเบียบการเปิดตลาด สินค้า/บริการท่ีมีศักยภาพใน

ตลาดเป้าหมาย และลู่ทางการท�าธุรกิจกับต่างประเทศรวม

ท้ังจุดประกายความคิดให้แก่ SMEs ในการสร้างคุณค่าให้

กับสินค้าและบริการ และใช้ประโยชน์จากผลของการเปิด

เสรีมาปรับใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ จึงขอเรียนเชิญ

เข้าร่วมสัมมนา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และขอความ

กรุณาส่งแบบตอบรับเข้าร่วมภายในวันท่ี 10 มิ.ย. 54 ดัง

เอกสารแนบ 2

Page 5: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

5

ข้อมูลทางด้านเทคนิค

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 มีการเรียกคืนแตงกวา

ซึ่งคาดว่าจะปนเปื้อนเชื้อ E.coli จากร้านค้าในออสเตรีย

และสาธารณรัฐเชคเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคดังกล่าวซึ่ง

ท�าให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย และท�าให้มีผู้ป่วย

นับร้อยรายทั่วยุโรป

เจ้าหน้าที่จากสาธารณรัฐเชคกล่าวว่าแตงกวาอินทรีย์

120 ผล ก�าลังถูกเก็บออกจากชั้นจ�าหน่ายสินค้าขณะ

ท่ีเจ้าหน้าที่ออสเตรียประกาศว่า แตงกวา มะเขือเทศ

และมะเขือม่วงจ�านวนเล็กน้อยก�าลังถูกเรียกคืนจากร้าน

ค้าจ�านวน 33 ร้าน

หน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยอาหารของ

ออสเตรียได้รับแจ้งระบบเตือนภัยจากสหภาพยุโรปท่ีระบุ

ว่า บริษัทเยอรมนีสองแห่งได้เรียกคืนและห้ามจ�าหน่าย

แตงกวา มะเขือเทศและมะเขือม่วงอย่างเร่งด่วน ซึ่ง

สินค้าดังกล่าวได้ถูกขนส่งไปยังร้านค้าในออสเตรีย และ

หน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยของออสเตรียกล่าว

ว่า สินค้าดังกล่าวบางส่วนอาจถูกจ�าหน่ายแล้วและ

กระตุ้นให้ผู้บริโภคทิ้งสินค้าเหล่านั้น โดยหน่วยงานตรวจ

สอบอาหารและการเกษตรของสาธารณรัฐเชคกล่าวว่า

แตงกวาที่ปนเปื้อนถูกส่งมายังฮังการีและลักเซมเบิร์ก แต่

ยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากทั้งสองประเทศ

เมื่อวันท่ี 29 พฤษภาคม 2554 ยอดผู้เสียชีวิตจาก

เช้ือ E.coli ในเยอรมัน เพ่ิมข้ึนเป็น 10 ราย จ�านวน

ผู้ติดเช้ือเพ่ิมข้ึนช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งอย่างน้อย 467 ราย

ในทางตอนเหนือของเมือง Hamburg เพียงแห่งเดียว มี

อาการติดเช้ือในล�าไส้ ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยท่ีมีอาการกลุ่มเม็ด

เลือดแดงแตกและไตวาย (HUS) จ�านวน 91 ราย นาย

Cornelia Pruefer-Storcks เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของ

เมือง Hamburg กล่าวกับ DAPD ส�านักข่าวเยอรมนีว่า

อาการ HUS เป็นอาการแทรกซ้อนท่ีเกิดจากเชื้อ E.coli

และมีโอกาสเกิดข้ึนได้ยาก ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์

ท้องถิ่นคาดว่า ถึงวันท่ี 29 พฤษภาคม 2554

ท่ัวประเทศ มีผู้ป่วยประมาณ 1,000 ราย ป่วยด้วย

อาการติดเช้ือในล�าไส้

นาย Fabian Fusseis โฆษกประจ�ากระทรวง

สาธารณสุขของออสเตรียกล่าวว่า พบนักท่องเที่ยวชาว

เยอรมันสองคนติดเช้ือ enterohaemorrhagic E.coli

หรือ EHEC แต่ไม่มีอาการHUS แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการ

ติดเชื้อดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อ E.coli

ในเยอรมนีหรือไม่

เจ้าหน้าท่ีด้านสุขภาพของสวีเดนกล่าวว่า มีรายงาน

การติดเช้ือ 36 รายในสวีเดนและในจ�านวนนี้มี 13 ราย

ท่ีมีอาการ HUS ในเดนมาร์ก มีผู้ติดเช้ือ 11 ราย ซึ่ง 5

รายมีอาการ HUS

ด้านหน่วยงานปกป้องสุขภาพของสหราชอาณาจักร

กล่าวว่าจนถึงขณะนี้อังกฤษพบผู้ติดเชื้อชาวเยอรมนี 3

ราย ซึ่ง 2 รายมีอาการ HUS ซึ่งหน่วยงานมาตรฐาน

อาหารกล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดๆยืนยันว่าแตงกวาอินทรีย์

ซึ่งติดเช้ือได้ถูกกระจายสินค้ามายังสหราชอาณาจักร แต่

จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

เจ้าหน้าที่ในสวิตเซอร์แลนด์ได้จดบันทึกผู ้ที่ติดเชื้อ

สถานการณ์อาหารปนเปื้อน E.coli ในยุโรป

Page 6: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

6

ความคืบหน้า...การติดฉลาก COOL เมืองผู้ดี เม่ือวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 นาย Jim Paice

รัฐมนตรีกระทรวงอาหาร แห่งสหราชอาณาจักร เปิดเผย

ว่า ขณะน้ี ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนมมากกว่า 500 ชนิด

จากห้างค้าปลีก และร้านค้าทั่วไปในสหราชอาณาจักร

ติดฉลากระบุแหล่งก�าเนิดสินค้า (Country-of-Origin

Labelling, COOL) ของส่วนประกอบแล้วโดยระบุแหล่ง

ที่มาและแหล่งผลิต

นับเป็นการประเมินคร้ังแรกของฉลาก COOL ซึ่งเป็น

มาตรฐานแบบสมัครใจ หลังจากเม่ือเดือนพฤศจิกายน

2553 เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อให้ข้อมูลแหล่ง

ก�าเนิดสินค้าแบบชัดเจนยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภค

ส�าหรับสินค้าประเภทเบคอน ไส้กรอก และผลิตภัณฑ์

เนื้อสัตว์แปรรูปเล็กน้อยอื่นๆ ของสหราชอาณาจักร พบ

ว่า 82% มีฉลาก COOL หลายแบบ โดย 67% ให้ข้อมูล

แหล่งก�าเนิดของส่วนประกอบของเนื้อสัตว์นั้นๆ และอีก

enterohaemorrhagic E.coli รายหนึ่ง เป็นผู้หญิงท่ี

กลับมาจากการท่องเที่ยวในเยอมัน ซึ่งผู้ป่วยได้รับประ

ทานบุฟเฟ่สลัดจากที่นั่น

เม่ือวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 Frederic Vincent

โฆษกจากสหภาพยุโรปกล่าวว่า โรงกระจกในสเปนซึ่ง

ถูกระบุว่าเป็นแหล่งของแตงกวาที่ปนเปื้อนเชื้อ E.coli

ได้หยุดกิจกรรมแล้ว น�้าและดินถูกน�ามาวิเคราะห์เพ่ือ

พิสูจน์ว่าโรงกระจกทั้งสองแห่งเป็นสาเหตุของปัญหาหรือ

สาเหตุการปนเปื้อนเชื้อเกิดขึ้นจากที่อ่ืน ส่วนผลการ

ทดสอบคาดว่าจะทราบได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม หรือ

1 มิถุนายน 2554

ท่ีมา มกอช.(MSNBC News) วันที่ 31 พ.ค. 54

15% ระบุเพียงว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นผลิตที่ไหนเท่านั้น

อาจกล่าวได้ว่า 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ระบุแหล่ง

ก�าเนิดสินค้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เน้ือสัตว์ที่มีความซับ

ซ้อน เช่น พาย อาหารพร้อมรับประทาน พบว่า มีการ

ติดฉลาก COOL เพียง 76%

แม้ว่าผลการส�ารวจจะออกมาว่าต้องปรับปรุงอีก แต่

ถือเป็นการเริ่มต้นท่ีดีของภาคอุตสาหกรรมอาหารของสห

ราชอาณาจักร

ที่มา มกอช.(Meat Poultry) วันที่ 31 พ.ค. 54

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

ญี่ ปุ ่ น (MHLW) ได ้

จัดการประชุมชี้แจงราย

ละ เอี ยดการปรั บปรุ ง

แก้ไขมาตรฐานสารเคมี

ตกค้าง และสารปรุงแต่ง

ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ 149

(The 149 th Conference for Promotion of Food

Import Facilitation) ในวันท่ี 31 พฤษภาคม 2554

สรุปสาระส�าคัญของการปรับปรุงแก้ไข ดูรายละเอียด

ได้ท่ี http://www.acfs.go.th/news/docs/acfs_31-

05-54-03.pdf

ที่มา : มกอช. วันที่ 31 พ.ค. 54

Page 7: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

7

ไต้หวันเรียกคืนอาหารปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุขไต้หวันเรียกร้องให้ผู ้ผลิต

อาหาร 168 ราย เรียกคืนสินค้าทั้งอาหารและเครื่อง

ดื่มมากกว่า1 ล้านรายการ หลังพบว่าสินค้าปนเปื้อน

สาร DEHP (diethylhexyl phthalate) สารดังกล่าว

ใช้เป็น plasticizer โดยสารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง

แต่ในใต้หวันสารน้ีถูกใช้ในการเพิ่มความขุ่นในอาหาร

และเครื่องดื่ม ประเภท เยลลี่ผลไม้ โยเกิร์ตผง น�้า

ผลไม้ และอาหาร เครื่องดื่มอื่นๆ รวมถึงอาหาร

เสริมเพื่อโภชนาการบางรายการ ผู้อ�านวยการองค์การ

อาหารและยาได้แจ้งเรื่องไปยัง WHO โดยคาดหวัง

ว่าจะลดความอันตรายที่เป็นไปได้ต่อมนุษย์ในประเท

ศอื่นๆ เนื่องจากสินค้าบางรายการได้ถูกส่งออกข้าม

ประเทศไปแล้ว

ท่ีมา มกอช. (Deutsche Presse-Agentur)

วันที่ 30 พ.ค. 54

จีนออกระเบียบควบคุมปริมาณสารเมลามีนในอาหารอย่างเป็นทางการ

เป็นต้นไป และยกเลิกระเบียบชั่วคราวควบคุมปริมาณ

เมลามีนในนม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งได้รับการร่างขึ้น

มาในปี 2551

ประกาศฉบับนี้ได้ก�าหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร

สูตรส�าหรับทารกจะต้องมีปริมาณสารเมลามีนไม่เกิน 1

มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นๆ จะ

ต้องมีปริมาณสารเมลามีนไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ถ้าหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารเมลามีนเกินกว่าทีก�าหนด

ไว้ จะไม่อนุญาตให้มีการน�าออกมาจ�าหน่าย

สารเมลามนี เป็นสารเคมท่ีีเป็นวัตถดิุบในอตุสาหกรรม

เคมี มีความเป็นพิษน้อย แต่ถ้าหากร่างกายได้รับเข้าไป

และมีการสะสมไว้เป็นเวลานาน จะท�าให้เป็นอันตรายต่อ

ระบบสืบพันธุ์ ระบบปัสสาวะ และท�าให้ไตวาย ตลอด

จนท�าให้เกิดมะเร็งกระเพราะปัสสาวะได้

ท้ังน้ี หน่วยงานดังกล่าวได้ระบุว่า สารเมลามีนไม่ใช่

วัตถุดิบส�าหรับผลิตอาหาร และไม่ใช่วัตถุดิบส�าหรับ

ผลิตอาหาร และไม่ใช่สารปรุงแต่งอาหาร จึงห้ามมีการ

เจือปนลงในอาหารอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน จะ

ถูกด�าเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม

สารเมลามีนเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ใช้ส�าหรับ

ผลิตพลาสติก สี และภาชนะบรรจุอาหารเป็นต้น และ

ผลวิจัยยืนยันว่า สารเมลามีนน้ีมีโอกาสเข้าไปในอาหาร

ได้ โดยมาจากส่ิงแวดล้อม และภาชนะบรรจุอาหาร แต่

ว่าปริมาณค่อนข้างต�่า

ที่มา มกอช. (ส�านักงานที่ปรึกษาการเกษตร

ประจ�ากรุงปักกิ่ง) วันที่ 1 มิ.ย. 54เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 หน่วยงานของจีน

5 แห่งเช่น กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกันออก

ระเบียบควบคุมปริมาณสารเมลามีนในอาหารอย่าง

เป็นทางการ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศ

Page 8: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

8

สิงคโปร์ปรับปรุงข้อก�าหนดการแสดงฉลากอาหารเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554

หน่วยงาน Agri-Food and Vet-

erinary Authority of Singa-

pore (AVA) ของสิงคโปร์ได้ออก

ประกาศปรับปรุง ข้อก�าหนดการ

แสดงฉลากอาหาร สาระส�าคัญ

สรุปได้ดังนี้

1 . การแสดงปริมาณสุทธิ

: ก�าหนดให้แสดงปริมาณขั้นต�่า

(minimum quantity) ของอาหาร

โดยเพิ่มเติมรายละเอียดปริมาณสุทธิของอาหาร ดังน้ี

1) อาหารที่เป็นของแข็งให้แสดงปริมาณเป็นน�้าหนัก

(by weight) ส�าหรับอาหารที่เป็นของเหลวให้แสดง

ปริมาณเป็นปริมาตร (by volume)

2) อาหารประเภท semi-solid foods หรืออาหาร

ประเภท viscous foods สามารถแสดงปริมาณได้ท้ังใน

รูปของน�้าหนักหรือปริมาตร

3) อาหารที่อยู่ในของเหลว เช่น ในน�้า น�้าเช่ือม น�้า

เกลือ น�้าผักหรือน�้าผลไม้ และอาหารที่ถูกเคลือบด้วย

น�้าแข็ง ต้องแสดงน�้าหนักรวม และน�้าหนักเฉพาะอาหาร

2. การแสดงรายชื่อส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ :

ให้ระบุช่ืออาหารและส่วนผสมที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้

อาหารในผู้บริโภคบางราย ดังนี้

1) ธัญพืชที่มีกลูเตน เช่น ข้าวสาลี ไรย์ บาร์เลย์

โอ๊ต สเปลต์ (spelt) และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ดังกล่าว

2) ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วดังกล่าว

3) ถั่ว ลูกไม้ และผลิตภัณฑ์ (tree nut)

4) ปลา สัตว์น�้าและผลิตภัณฑ์

5) นมและผลิตภัณฑ์นม

6) ไข่และผลิตภัณฑ์

7) สัตว์น�้าเปลือกแข็ง (crustacean) และผลิตภัณฑ์

8) อาหารท่ีมีซัลไฟต์ในความเข้มข้นต�่ากว่า 10

มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร

ข้อก�าหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช ้ตั้งแต่วันที่ 15

เมษายน 2554 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไทยส่งออกสินค้าอาหาร

ไปสิงคโปร์เฉล่ีย(ปี 2551-2553) มูลค่า15,743 ล้านบาท

ต่อปี โดยปี 2553 ส่งออกมูลค่า 15,262 ล้านบาท

เพ่ิมข้ึนร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับปี 2552 และปี 2554

(ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกมูลค่า 4,375 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย

ละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553

ที่มา : สถาบันอาหาร วันที่ 2 มิ.ย. 54

แคนาดาเตือน น�้าผลไม้น�าเข้าจากใต้หวันอาจปนเปื้อน Phthalates

หน่วยงานตรวจสอบอาหารแคนาดา (CFIA) ออก

มาเตือนประชาชนเรื่องน�้าผลไม้และเครื่องดื่มบางชนิด

ซึ่งน�าเข้าจากไต้หวันอาจปนเปื้อนสาร Di-Ethyl Hexyl

Phthalate (DEHP)

โดยการเรียกคืนน�้าผลไม้น�าเข้าซึ่งถูกกระจายสินค้า

ไปในรัฐ British Columbia และ Ontario เกิดขึ้น

Page 9: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

9

หลังจากการพบสารปนเปื้อนดังกล่าว

CF IA กล ่าวว ่าก�าลั งท�างานร ่วมกับกระทรวง

สาธารณสุขแคนาดา พันธมิตรด้านความปลอดภัย

อาหารสากลและผู้น�าเข้าเพื่อตรวจหาอาหารและเครื่องด่ืม

อ่ืนๆที่ปนเปื้อนซึ่งอาจจะมีอยู่ในตลาดของแคนาดา โดย

จะเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารดังกล่าวและประกาศ

รายช่ือลงบนหน้าเวปไซต์ของ CFIA

ทั้งนี้ อันตรายของสาร phthalates ที่มีต่อสุขภาพ

จะเกิดขึ้นเม่ือได้รับสารนั้นติดต่อกันเป็นเวลานาน จาก

ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระดับของ DEHP อยู่ในอาหาร

ซึ่งถูกเรียกคืนในไต้หวันนั้นไม่มีแนวโน้มว่าจะท�าให้เกิด

อาการพิษเฉียบพลันแต่อย่างใด

ท่ีมา มกอช. (Food Safety News)

วันที 1 มิ.ย. 54

พาณิชย์เผยสหรัฐฯ ออกค�าแนะน�าในการผลิตอาหารพร้อมบริโภคเพื่อลดการปนเปื้อน

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่าง

ประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า หน่วยบริการ

ตรวจสอบและความปลอดภัยอาหาร (The Food Safety

Inspection Service: FSIS ) ภายใต้กระทรวงเกษตร

สหรัฐฯ ได้ออกร่างค�าแนะน�าส�าหรับผู้ประกอบการผลิต

อาหารพร้อมบริโภค (Ready-to-Eat: RTE) น�าไปใช้เป็น

คู่มือการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนแบคทีเรีย

ก่อโรคในระหว่างการผลิต

ร่างเอกสารค�าแนะน�าดังกล่าวจะเน้นให้ผู ้ประกอบ

การหลีกเลี่ยงกระบวนการที่ท�าให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อ

จุลินทรีย์ในระหว่างการผลิตโดยเฉพาะท่ีมาจากส่วน

ผสม เช่น ช่วงการเติมเครื่องเทศ เครื่องปรุงรสซึ่งไม่

ได้ผ่านการท�าความสะอาดอย่างเพียงพอและเป็นสาเหตุ

ส�าคัญที่ท�าให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตและเป็นอันตราย

ต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้ ร่างค�าแนะน�าของ FSIS จะเป็นประโยชน์โดยตรง

ต่อผู้ประกอบการ SME ให้สามารถพัฒนาและปรับปรุง

คุณภาพการผลิตสินค้าอาหารของตนได้เป็นอย่างดี

ปี 2553 ไทยส่งออกสินค้า อาหารไปสหรัฐฯ มูลค่า

114,000 ล้านบาท เพ่ิมข้ึนจากปี 2552 ร้อยละ 6 ใน

ปี 2554 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 32,600 ล้าน

บาท เพ่ิมข้ึนร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปี 2553 ซึ่ง

ส่งออก 31,300 ล้านบาท

ที่มา มกอช. Infoquest วันที่ 2 มิ.ย. 54

ผู ้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้มะกันเพิ่มความระวังเชื้อ E.coli

หลังจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ E.coli ทั้ง

ในญี่ปุ่นที่มีผู้ป่วยกว่า 100 รายและเสียชีวิต 4 ราย และ

ท่ียุโรป ขณะน้ีมีผู้ป่วยกว่า 1,534 ราย และเสียชีวิต 17

ราย Bill Marler อัยการความปลอดภัยอาหารเรียกร้อง

ให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) และ

หน่วยงานความปลอดภัยอาหารต่างๆ ทั่วโลกขึ้นทะเบียน

เชื้อ E.coli ท่ีเป็นสายพันธุ์อันตรายทุกชนิดนอกเหนือจาก

สายพันธุ์ O157 เป็นเช้ือปนเปื้อนท่ีลดคุณภาพอาหาร

และสร้างวิธีการตรวจสอบอ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่ง

ปัจจุบันยังไม่มีกฎข้อบังคับให้ผู ้ผลิต ผู้กระจายสินค้า

หรือ ผู้จ�าหน่าย ตรวจการปนเปื้อนE.coli นอกจากสาย

พันธุ์ O157

ที่มา : มกอช. (EON) วันที่ 3 มิ.ย. 54

Page 10: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

10

อียูเริ่มไฟแดงห้ามใช้ขวดนมปนเปื้อนสารบีพีเอและห้ามน�าเข้า

สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โดยจะมีผลต้ังแต่วันท่ี 1 มิถุนายนปี 2554 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ แคนาดาเป็นประเทศแรกที่ระบุว่าสารบีพีเอ

เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และความหลาก

หลายทางชีวภาพ ขณะท่ีมีโรงงานผลิตขวดพลาสติก 6

แห่ง ในสหรัฐฯ ยุติการน�าสารเคมีดังกล่าวมาใช้ผลิตขวด

พลาสติกซึ่งจ�าหน่ายภายในประเทศเมื่อปีท่ีแล้ว ส�าหรับ

สารบีพีเอมักน�ามาใช้เพื่อท�าให้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกต่าง

ๆ มีคุณภาพแข็งแรงและใสสะอาด

ที่มา มกอช. (มติชน) วันที่ 6 มิ.ย. 54

สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามใช้ขวดนมเด็กที่ปนเปื้อน

สารเคมี บิสฟีนอล-เอ (บีพีเอ) (Bisphenol A :BPA)

เนื่องจากพบว่าสารเคมีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ

ของเด็ก

ทั้งปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อสร ้างภูมิคุ ้มกันโรคและ

กระตุ ้นให้เกิดเน้ืองอกในเด็กที่ดื่มนมจากขวดพลาสติก

ดังกล่าว โดยจะเร่ิมห้ามการน�าเข้าและจ�าหน่ายขวดนม

พลาสติกปนเปื้อนสารดังกล่าวในวันที่ 1 เดือนมิถุนายน

2554

นายจอห์น ดัลลี คณะกรรมาธิการกิจการนโยบาย

สาธารณสุขและ! ผู ้บริโภคของสหภาพยุโรป กล่าวว่า

มาตรการดังกล่าวถือเป็นข่าวดีส�าหรับผู้บริโภคเนื่องจาก

มาตรการนี้ ไม่จ�าเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

ยุโรปและจะท�าให้ค�าสั่งห้ามผลิตขวดนมทารกด้วยโพลี

คาร์บอนเนตที่มีสารประกอบบีพีเอปนเปื ้อนเป็นส่ิงผิด

กฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 และห้ามจ�าหน่าย

รวมถึงการน�าเข ้าขวดนมปนเปื ้อนสารบีพีเอในตลาด

สหภาพยุโรปเกาะติดการแพร่ระบาดเชื้อ E.coli – คาด ‘ถั่วงอก’ ต้นตอการปนเปื้อน

หลังจากทางสหภาพยุโรปการทราบการแพร่ระบาด

ของเช้ือ E.coli ท่ีก่อสารพิษ Shiga-Toxin เมื่อวันที่ 22

พฤษภาคม ได้มีการเปิดระบบเครือข่ายต่างๆในการแจ้ง

ข่าวได้แก่ รายงานการแจ้งเตือนภัยเร่งด่วนส�าหรับอาหาร

และอาหารสัตว์ (Rapid Alert System for Food and

Feed, RASFF) และ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการตอบ

สนอง (Early Warning and Response System, EWRS)

เพ่ือกระจายข่าวการพบและการกระจายท่ีมาของเชื้อใน

อาหารและคน สมาชิกสหภาพยุโรปออกค�าแถลงการณ์

จากการประชุมของคณะกรรมการด้านห่วงโซ่อาหารและ

Page 11: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

11

อาหารสัตว์ (Standing Committee on the Food

Chain and Animal Health) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม

ระบุว่าทางสหภาพยุโรปจะปรับใช้ทุกมาตรการที่จ�าเป็น

ทันทีที่พบสาเหตุการแพร่เชื้อที่แท้จริง โดยสหภาพยุโรป

จะยึดการรับรองความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่ออกสู่

ตลาดเป็นหลัก เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปได้ส่งจดหมายเน้นย�้า

ว่าขณะน้ีมีมาตรการควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ใน

ยุโรปเพื่อป้องกันการเข้ามาของสินค้าปนเปื้อน และให้ผู้

ประกอบธุรกิจอาหารท�าตามเงื่อนไขด้านสุขอนามัยเพื่อ

ป้องกันการปนเปื้อนในอาหารทั้งจากพืชและสัตว์

ขณะที่นาย Gert Lindemann โฆษกกระทรวงเกษตร

ของรัฐโลวเวอร์ แซกโซนี ทางตอนเหนือของเยอรมนี

กล่าวในแถลงการณ์เตือนประชาชนให้หลีกเล่ียงการรับ

ประทานถั่วงอก ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสลัดผักหลังการ

ตรวจสอบพบว่าน่าจะเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อ

แบคทีเรีย E. coli โดยถั่วงอกดังกล่าวปลูกจากไร่แห่ง

หนึ่งในพื้นที่รัฐโลวเวอร์ แซกโซนี และถูกส่งไปยังร้าน

อาหารหลายแห่ง เป็นสาเหตุท�าให้ร้านอาหารจ�านวนมาก

ในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศพบการแพร่ระบาดของเช้ือ

E. coli ซึ่งท�าให้ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 2! 2 คน และ

อีกกว่า 2,200 คนในยุโรปล้มป่วย

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังได้เตือนประชาชนให้หลีก

เลี่ยงการรับประทานมะเขือเทศ แตงกวา และกะหล�่าต่อ

ไปอีกระยะหนึ่ง

ท่ีมา มกอช. (สหภาพยุโรป - ไทยรัฐ )

วันที่ 6 มิ.ย. 54

รัสเซียไฟแดงน�าเข้าผักสดจาก EU หวั่น E. coli

รัสเซียห้ามการน�าเข้าผักสดทุกชนิดจากสหภาพยุโรป

เน่ืองจากเหตุการณ์เช้ือ E. coli ระบาดในเยอรมนี โดย

หัวหน้าเจ้าหน้าท่ีทางการแพทย์ของรัสเซียกล่าวว่า จะมี

การยึดผักท่ีผลิตในยุโรปซึ่งมีวางจ�าหน่ายท่ัวรัสเซีย

นาย Gennady Onishchenko หัวหน้าหน่วยงาน

คุ้มครองผู้บริโภคประกาศการขยายการห้ามน�าเข้าผักสด

เพ่ิมเป็นท่ัวท้ังสหภาพยุโรป ซึ่งก่อนหน้านั้น รัสเซียได้

ห้ามเฉพาะการน�าเข้าฝักสดจากสเปนและเยอรมนี และ

เจ้าหน้าที่ภาษีศุลกากรรัสเซียได้รับค�าสั่งให้หยุดการน�า

เข้าผักจากสหภาพยุโรป

นาย Frederic Vincent โฆษกคณะกรรมาธิการ

สหภาพยุโรป กล่าวว่า สหภาพยุโรปเห็นว่าการที่รัสเซีย

ห้ามน�าเข้าผักจากยุโรปเป็นการกระท�าที่มากเกินไปและ

จะท�าให้เกิดการประท้วง และเพ่ิมเติมว่า มูลค่าการส่ง

ออกผักสดจากสหภาพยุโปรไปยังรัสเซียอยู่ที่ 600 ล้าน

ยูโร ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 25 % ของการส่งออกทั้งหมด

โดยประเทศสเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี และโปแลนด์ เป็น

ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ท่ีสุด

ท้ังน้ี องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว ่าเชื้อ

แบคทีเรีย E.coli ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบาดครั้งนี้

เป็นสายพันธุ์ใหม่ และแตงกวาท่ีติดเช้ือโรคดังกล่าวเป็น

สาเหตุของการระบาดไม่น่าจะเป็นจริง ประกอบกับเจ้า

หน้าท่ีสาธารณสุขเยอรมนีสารภาพว่าไม่ทราบว่าแบคทีเรีย

ท่ีก่อให้เกิดโรคมาจากแหล่งใด

ที่มา มกอช. (BBC News) วันที่ 6 มิ.ย. 54

Page 12: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

12

เพ่ิมข้ึนท่ัวโลกอย่างรวดเร็วในรอบ 25 ปีท่ีผ่านมา ซึ่ง

งานวิจัยปลาจวดแอตแลนติกแสดงให้เห็นถึงผลกระทบ

ทางชีววิทยาท่ีส�าคัญของภาวะพร่องอากาศต่อสิ่งมีชีวิต

ท่ีเคล่ือนท่ีได้ ซึ่งอาจท�าให้มีผลกระทบต่อประชากรปลา

ในระยะยาว

ท้ังน้ี มีเขตมรณะ (Dead zone) ในมหาสมุทรทั่ว

โลก ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนน้อยเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะด�ารง

ชีพได้ โดยพบ Dead zone มากในบริเวณซีกโลกเหนือ

จากจ�านวนประชากรมนุษย์ที่สูงขึ้นรอบชายฝั่งท�าให้เกิด

มลภาวะเพิ่มขึ้นในน่านน�้า และท�าให้สาหร่ายเจริญเติบโต

มากข้ึนซึ่งดูดออกซิเจนท่ีมีอยู่ในน�้า

ที่มา มกอช.(FIS) วันที่ 30 พ.ค. 54

สถานการณ์ด้านประมงอุณหภูมิเปลี่ยนเร็ว ปลาปินส์ตายกว่า 800 ตัน

พบปลาจ�านวนมากถึง 800 ตัน ลอยตายอยู่ในทะเล

สาบเลค ทาล ประเทศฟิลิปปินส์ เจ้าหน้าที่กรมประมง

เผย สาเหตุมาจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เกิดเหตุปลานวลจันทร์ (Milkfish) ที่เกษตรกรเล้ียง

ไว้ตามกระชังในทะเลสาบ “เลค ทาล” จังหวัดบาตัง

กาส ไม่ไกลจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ลอย

ตายส่งกลิ่นเหม็นเน่ามากกว่า 800 ตัน โดยเจ้าหน้าท่ี

กรมประมงของฟิลิปปินส์เผยว่า พบปลาแถบนี้เริ่มตาย

ลงจ�านวนมากตั้งแต่สัปดาห์ก่อน สาเหตุเป็นเพราะ

อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีผลต่อระดับ

ออกซิเจนในทะเลสาบด้วย พร้อมสั่งห้ามขายปลาตาย

เหล่านี้แล้ว ก่อนจะน�าฝังกลบต่อไป

ท่ีมา มกอช.(ไทยรัฐ) วันที่ 30 พ.ค. 54

ออกซิเจนในอ่าวเม็กซิโกหด ปลาป่วนสับสนเพศนักวิจัยพบว ่าปลาจวดแอตแลนติก (Atlantic

croakers) ในอ่าวเม็กซิโกก�าลังได้รับผลกระทบจาก

การปริมาณที่มีน้อย ท�าให้ปลาจวดตัวเมียเริ่มผลิตน�้า

อสุจิในรังไข่

Peter Thomas นักศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัย

เท็กซัสกล่าวว่า ภาวะพร่องอากาศ (Hypoxia) เกิด

พาณิชย์ เตือนผู้ส่งออกรับมือระบบควบคุมการท�าประมงผิดกฎหมายของอียู

นายสุรศักด์ิ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่าง

ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดสหภาพ

ยุโรปได้ออกกฎระเบียบรวมภายใต้ EU’s Fisheries

Control Policy ก�าหนดระบบควบคุมการท�าประมงที่ผิด

กฎหมายและการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่ตลาด

ต้ังแต่จับปลาจนถึงผู้บริโภค (from net to plate)

ถึงแม้กฎระเบียบดังกล่าวจะบังคับใช้กับประเทศ

สมาชิกสหภาพยุโรป แต่ก็มีผลต่อการน�าเข้าสินค้าประมง

จากไทยด้วยกล่าวคือ จะต้องแนบใบรับรองการจับสัตว์

น�้า (Catch Certificate) ตามระเบียบ IUU Fishing

นอกจากนี้สินค้าประมงที่จ�าหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป

มีโอกาสถูกตรวจสอบได้ทุกจุดของห่วงโซ่ตลาด รวมทั้ง

สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งท่ีมาซ่ึงการตรวจ

สอบจะมีการเก็บข้อมูลและตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์

Page 13: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

13

หากผู้ใดละเมิดกฎหมายจะถูกลงโทษตามความผิดและ

หากกระท�าผิดซ�้าซ้อนก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตจับปลา

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกสินค้าประมง

ส�าคัญล�าดับที่ 3 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกาและ

ญี่ปุ ่น โดยในปี 2553 ไทยส่งออกสินค้าประมงแช่

เย็น แช่แข็งและแปรรูปไปสหภาพยุโรปมูลค่าประมาณ

37,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่ง

ออกสินค้าอาหารของไทยไปยังสหภาพยุโรป และในปี

2554 (มกราคม-มีนาคม) ไทยส่งออกสินค้าประมงแช่

เย็น แช่แข็งและแปรรูปไปสหภาพยุโรปมูลค่าประมาณ

8,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ร้อยละ 10

ที่มา : มกอช. (ส�านักข่าวอินโฟเควสท์)

วันที่ 3 มิ.ย. 54

กุ้งต้มสุกไทยยังครองใจชาวโลก

ประกอบการร่วมออกบู๊ทกว่า 1,600 ราย จากกว่า 80

ประเทศ และมีผู้เข้าชมงานราว 24,000 คน จากผลการ

วิจัย ในปีท่ีผ่านมา (พ.ศ. 2553) ร้อยละ 79 ของผู้เข้า

ชมงานได้พบกับบริษัทและสินค้าชนิดใหม่ๆ ท่ีตนหรือ

บริษัทของตนต้องการ และร้อยละ 80 วางแผนที่จะซื้อ

ผลิตภัณฑ์และบริการท่ีจัดแสดงในงาน

งาน European Seafood Exposition ครั้งที่ 19

ปีน้ี จัดข้ึนระหว่างวันท่ี 3 - 5 พฤษภาคม 2554 เช่น

เดียวกับทุกปี กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยน�าผู ้ประกอบการ

อาหารทะเลแช่แข็งไทยร่วมออกร้านในงาน European

Seafood Exhibition ซึ่งครั้งน้ีเป็นครั้งท่ี 16 ที่กรมฯ ได้

จัดกิจกรรมดังกล่าวข้ึน โดยมีผู้ประกอบการร่วมออกร้าน

ภายใต้ Thai Pavillion 14 ราย บนพ้ืนท่ี 170 ตาราง

เมตร ภายใน Hall 7 ของศูนย์แสดงสินค้า Brussels Expo

สินค้าสดใสของไทยในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่

แข็งปีน้ี ยังคงเป็นกุ้งต้มสุก ซึ่งเป็นเวลากว่า 10 ปีต่อ

เนื่องกันแล้วที่ไทยยังรักษาต�าแหน่งผู ้ส่งออกรายใหญ่

ที่สุดของโลกในสินค้าสาขานี้ไว้ได้ นอกจากนี้ ยังมีสิน

ค้าใหม่ๆ ท่ีแต่ละบริษัทน�ามาจัดแสดง ซึ่งเน้นความ

สะดวกรวดเร็วในการบริโภค โดยสามารถน�าเข้าเตาอบ

แล้วบริโภคได้เลย ทั้งนี้ส่วนมากเป็นสินค้าที่ได้ผ่านการ

เพ่ิมมูลค่าแล้ว ซึ่งท�าให้ก�าไรต่อหน่วยเพ่ิมมากขึ้น เช่น

กุ้งตัวตรงห่อแป้งป่อเปี้ยโชว์หาง (filo) กุ้งผ่าผีเสื้อชุบ

เกล็ดขนมปัง (breaded butterfly) ถุงทองกุ้ง (money

pockets) ป่อเปี้ยกุ้ง และเทมปุระ

อ่านรายละเอียดเพ่ิมเติมได้ท่ี

h t t p : / / new s . t ha i e u r ope . ne t / con t en t /

view/3774/212/

ที่มา ThaiEurope.net วันที่ 30 พ.ค. 54

งานเเสดงสินค้าอาหารทะเลแห่งยุโรป (European

Seafood Exposition) เป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่

มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจ�า

ทุกปี ณ ศูนย์แสดงสินค้า Brussels Expo กรุงบรัสเซลส์

โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี 1993 เป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเล

ที่น�าผู้ซื้อและผู้ขายจาก 140 ประเทศมาพบกัน โดยมีผู้

Page 14: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

14

สถานการณ์ด้านเกษตร

ขยาดกะทิแพง “เทพผดุงพรฯ” ร้องพาณิชย์ขยายเวลา

ลดภาษีน�าเข้ามะพร้าว 0% หวังใช้สิทธิอาฟต้า ช่วยลดภาระ

ต้นทุนมะพร้าวพุ่ง 100% ด้านผู้ประกอบการฉีกหนีต้นทุน

พุ่ง แห่ปรับนวัตกรรมผลิตน�้านมมะพร้าว-กะทิธัญพืช ม่ันใจ

โอกาสเติบโตดี กระแสรักสุขภาพมาแรง

นายอภิศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท

เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ากัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”

ว่า ตั้งแต่ปลายปี 2553 เป็นต้นมา ผู้ผลิตกะทิส�าเร็จรูป

ประสบปัญหาต้นทุนมะพร้าวปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก

ท�าให้ผู้ประกอบการหลายรายรวมถึงบริษัทเทพผดุงพรฯ

ต้องขอน�าเข้าผลมะพร้าว (พิกัด 0801) จากประเทศ

อินโดนีเซีย โดยอาศัยการลดภาษีน�าเข้าภายใต้กรอบ

ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ซึ่งรัฐบาล

ได้ออกประกาศ กรมการค้าต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29

พ.ย. 53

ประกาศฉบับดังกล่าวอนุญาตให้ผู ้ประกอบการที่

ขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ สามารถน�าเข้า

มะพร้าวตามกรอบความตกลงอาฟต้าโดยไม่ต้องเสียภาษี

เพ่ือมาใช้ในอุตสาหกรรมท่ีเกี่ยวข้อง โดยแบ่งระยะเวลา

น�าเข้าปีละ 2 ครั้ง คือต้ังแต่ ม.ค.-พ.ค. และตั้งแต่

พ.ย.-ธ.ค. เพ่ือป้องกันไม่ให้มีการน�าเข้ามามากจนกระทบ

ต่อราคาผลผลิต มะพร้าวในประเทศ และส่งผลกระทบ

ต่อเกษตรกร แต่ประกาศดังกล่าวได้สิ้นสุดลงในเดือน

พ.ค. 54 ซึ่งผู้ประกอบการต้องกลับไปเสียภาษีน�าเข้าใน

อัตรา 54%

“สมาคมผู ้ผลิตอาหารส�าเร็จรูปจึงได ้มีการหารือ

ในกลุ ่มสมาชิก และมีมติให้ทุกรายท�าหนังสือแจ้งไป

ยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายระยะเวลาให้น�าเข้าผล

มะพร้าว 0% ออกไปอีก เพราะผลผลิตภายในไม่เพียงพอ

หรือเพียงพอแต่ราคาสูงมาก ผู้ประกอบการไม่สามารถ

แบกรับต้นทุนน้ีได้ จึงจะขอให้ขยายเวลาต่อไป”

นายอภิศักด์ิกล่าวว่า ในส่วนของบริษัทเทพผดุงพรฯ

น�าเข้าผลมะพร้าวจากอินโดนีเซีย จ�านวน 2.8-3 แสนผล

ต่อวัน หรือคิดเป็น 70% ของปริมาณความต้องการใช้

วัตถุดิบท้ังหมด 4 แสนผลต่อวัน เพราะปริมาณมะพร้าว

ในไทยมีไม่เพียงพอท่ีจะใช้ในอุตสาหกรรม และมีราคาสูง

ข้ึน 100% ต้ังแต่ปลายปี 2553 หากจะปรับราคาก็ส่ง

ผลกระทบต่อผู้ซื้อ เพราะที่ผ่านมาได้ปรับราคาขึ้นไปแล้ว

ขณะที่นายณัฐพล วิสุทธิไกรสีห์ รองกรรมการผู ้

จัดการ บริษัท เอเซียติก อะโกร อินดัสทรี จ�ากัด ผู้

ผลิตสินค้ามะพร้าวแปรรูปและบรรจุกระป๋อง เปิดเผย

ว่า บริษัทต้องปรับตัวรับสถานการณ์หลังจากเจอปัญหา

ต้นทุนราคามะพร้าวปรับสูงขึ้น 100% โดยการหันมา

พัฒนาผลิตภัณฑ์น�้ามะพร้าวผสมน�้ากะทิ (Coconut

Milk) ปรุงรส พร้อมด่ืม 3 รสชาติ คือ รสต้นต�ารับ รส

ช็อกโกแลต และรสแมคาเดเมีย เพ่ือเพ่ิมมูลค่าจากเดิม

ร้องพาณิชย์ต่อเวลาลดภาษีน�าเข้า 0% ผู้ผลิตอาหารส�าเร็จรูปโอดต้นทุนมะพร้าวพุ่งไม่หยุด

Page 15: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

15

ท่ีผลิตและจ�าหน่ายสินค้ากะทิส�าเร็จรูปเท่านั้น โดยมีเป้า

หมายเพิ่มยอดค�าสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 20%

“บริษัทเป็นผู้ส่งออกกะทิและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว

คิดเป็นสัดส่วนกว่า 95% มาเป็นเวลา 17-18 ปีแล้ว

โดยส่งสินค้าไปทั่วโลก ตลาดหลัก เช่น สหรัฐ ยุโรป

ตะวันออกกลาง แอฟริกา เมื่อปีก่อนราคามะพร้าวปรับ

ตัวสูงขึ้น เราไม่มีปัญหาด้านวัตถุดิบขาดเพราะมีคอน

แทร็กต์ฟาร์มมิ่ง แต่ต้องขอปรับขึ้นราคาสินค้าส่งออก

100% เท่ากับราคาวัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าเข้าใจสถานการณ์ดี”

นางสาวรวมวดี เลขะกุล ผู้อ�านวยการฝ่ายการตลาด

และขาย บริษัท ฟอร์แคร์ จ�ากัด ผู้ผลิตและจ�าหน่าย

สินค้าอาหารแปรรูปเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า ราคามะพร้าว

ที่เพิ่มข้ึนเป็นโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจฟอร์แคร์กะทิ

ธัญพืช ซึ่งเป็นสินค้านวัตกรรมอาหารที่ใช้ประกอบอาหาร

แทนกะทิได้ อาทิ น�้ามันร�าข้าว ถั่วเหลืองและมีต้นทุน

ถูกกว่า มี คู่แข่งน้อยเพียง 2-3 ราย ประกอบกับ ผู้

บริโภคใส่ใจอาหารสุขภาพมากขึ้น ตลาดจึงขยายตัวได้

เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ท่ีมา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 มิย. 54

สถานการณ์ด้านการค้าจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ พักน�าเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากไต้หวัน

ทางการจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ พร้อมใจ

กันประกาศระงับพักการน�าเข้าผลิตภัณฑ์อาหารปนเปื้อน

สารไดเอทิลเฮกซิลพทาเลต (DEHP) ซึ่งเป็นอันตรายต่อ

สุขภาพ ท่ีผลิตโดยบริษัทไต้หวัน 10 ราย ขณะที่ ไต้หวัน

รับรองร่างกฎหมายการเพ่ิมโทษปรับสูงสุด 33 เท่า แก่ผู้

ผลิตท่ีใช้สาร DEHP

เมื่อวันท่ี 2 มิถุนายน 2554 คณะรัฐมนตรีไต้หวัน ได้

รับรองร่างกฎหมายการเพ่ิมโทษปรับสูงสุด 33 เท่า แก่ผู้

ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สาร DEHP ในการผลิตสินค้า

โดยจะถูกปรับเป็นเงินจ�านวน 10 ล้านเหรียญไต้หวัน (ราว

350,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เพ่ิมข้ึนจากเดิมท่ีก�าหนดไว้เพียง

300,000 เหรียญไต้หวัน นอกจากนี้ ยังอาจได้รับการตัดสิน

โทษจ�าคุก 5 ปี ขณะน้ี อยู่ระหว่างการรอนุมัติขั้นสุดท้าย

จากรัฐสภา ซึ่งจะผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการก่อนวัน

ท่ี 14 มิถุนายน 2554

เว็บไซต์ส�านักงานตรวจสอบคุณภาพจีนเปิดเผย รายชื่อ

สินค้าต้องห้ามจากไต้หวัน 19 ชนิด ซึ่งปนเปื้อนสาร DEHP

(Diethyhexylpthalate) ได้แก่ เครื่องด่ืมเกลือแร่ น�้าผล

ไม้ ชา เยลล่ีผลไม้ และแป้งดัดแปลงท่ีใช้เป็นสารปรุงแต่ง

อาหาร เป็นต้น หลังจากท่ีมีข่าวสินค้าไต้หวันปนเปื้อนสาร

DEHP ทางการฟิลิปปินส์และฮ่องกง ได้จ�ากัดการน�าเข้า

และการจ�าหน่ายสินค้าจากไต้หวัน ขณะท่ีส�านักงาน อย.

เกาหลีใต้ ได้สั่งการห้ามน�าเข้าสินค้าจากไต้หวันแล้วเช่นกัน

เมื่อวันท่ี 31 พฤษภาคม 2554 ฮ่องกงได้สั่งห้ามน�า

Page 16: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

16

เข้าสินค้าประเภทเคร่ืองดื่มจากไต้หวัน และในวันที่ 1

มิถุนายน 2554 ได้เรียกคืนยาแก้ปวดท้อง Well Tab

หลังจากตรวจพบสาร DEHP นอกจากน้ี ยังเรียกคืนสินค้า

อีก 5 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็น สินค้าประเภทวิตามิน

ชนิดเม็ด ที่ผลิตโดยบริษัทท้องถิ่นที่ใช้ตัวแทนจ�าหน่าย

วัตถุดิบจากไต้หวัน

ขณะที่ ส�านักงานอาหารและยาฟิลิปปินส์ ได้ส่ังการ

เรียกคืนสินค้าน�าเข้าจากไต้หวัน ราว 300 ชนิด พร้อม

ทั้งประกาศแจ้งต่อสาธารณะว่า ห้ามบริโภคสินค้าดัง

กล่าว และสั่งห้ามจ�าหน่ายสินค้าเหล่านั้น หลังจากทราบ

ว่า สาร DEHP อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ในสัปดาห์นี้ ไต้หวันได้ด�าเนินการตรวจสอบคุณภาพ

อาหารทั่วประเทศ เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารDEHP

หรือ สารพลาสติไซเซอร์ตัวอื่นๆ และได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์

เครื่องดื่มเกลือแร่และน�้าผลไม้ ที่พบว่ามีส่วนประกอบของ

สารอันตราย DEHP มากกว่า 460,000 ขวด

ไต้หวันได้ตรวจพบผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและ

เครื่องดื่มที่ปนเปื้อนสาร DEHP มากกว่า 506 ชนิด และ

ได้จับกุมเจ้าของบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่ใช้สาร DEHP โดย

เจ้าของบริษัทดังกล่าวจะถูกจ�าคุก 6 เดือน นอกจากน้ี

ได้ก�าหนดบทลงโทษขั้นรุนแรงส�าหรับผู้ที่จ�าหน่ายสินค้า

ปนเปื้อนสารดังกล่าว โดยจะปรับเพิ่มสูงสุดอีก 33 เท่า

ทั้งนี้ DEHP เป็นสารพลาสติไซเซอร์ที่ท�าให้พลาสติก

อ่อนตัว ใช้ผสมในโพลิเมอร์หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกพี

วีซีบรรจุอาหาร อีกท้ังใช้ผสมในอาหารได้ เนื่องจากมี

คุณสมบัติท�าให้สารละลายไม่ตกตะกอน เครื่องดื่มจะดูเข้ม

ข้นเสมอกันตลอดขวด นอกจากสาร DEHP แล้ว ก็ยังมี

อาทิ DNOP, BBP, DBP, DINP, DIDP ตามกฎระเบียบ

พาณิชย์เชียร์ไทยท�าเอฟทีเอแคนาดา แคนาดาสนใจท�า”เอฟทีเอ”กับไทย เล็งเป้าใช้เป็น

สปริงบอร์ดสู ่อาเซียนชดเชยค้ากับสหรัฐฯหดตัว ทูต

พาณิชย์ชู เป ็นคู ่ค ้าศักยภาพสูง แนะดึงถ ่ายทอด

เทคโนโลยีผลิตรถไฟฟ้าตีตลาดโลก พร้อมขอเป็นผู้ผลิต

ช้ินส่วนป้อนแบล็คเบอร์รี่

นางพัจนา ปัญจมรัศม ผู้อ�านวยการส�านักงานส่ง

เสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคร.) ณ นครโตรอนโต

ประเทศแคนาดา เปิดเผยกบั “ฐานเศรษฐกจิ”ว่า แคนาดา

เป็นอีกหนึ่งประเทศท่ีสนใจเจรจาเพ่ือจัดท�าความตกลง

เขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)กับไทย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้ส่ง

ของส�านักงาน อย.ไต้หวันระบุว่า ปริมาณสาร DEHP ใน

ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือของเล่นเด็ก ห้ามเกิน 1.5 ppm

และห้ามใส่ลงในอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะการบริโภคสาร

ดังกล่าวเป็นเวลานานจะท�าลายตับและไต ระบบสืบพันธุ์ ไป

ถึงขึ้นเป็นมะเร็ง

อนึ่ง ไต้หวันเผชิญวิกฤตความปลอดภัยอาหารครั้ง

ใหญ่จากการตรวจสอบคุณภาพอาหารทั่วประเทศ ที่เผยอ

อกมาเมื่อวันท่ี 23 พฤษภาคม 2554 โดยเจ้าหน้าที่พบ

สาร DEHP ปนเปื้อนในคลาวด่ิง (Clouding agent) ที่

ผสมในเครื่องด่ืมเกลือแร่ นอกจากน้ีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

เครื่องด่ืมน�้าผลไม้บางกลุ่มก็พบพลาสติไซเซอร์ตัวอื่นๆ

ปนเปื้อนด้วยได้แก่ DNOP, BBP, DBP, DINP, DIDP

ส�าหรับคลาวด่ิง กฎหมายให้การรับรองเป็นสารปรุง

แต่งอาหาร คลาวดิ่งเป็นเคมีอาหารชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติ

ช่วยเพิ่มความขุ่นให้กับเครื่องดื่ม , ท�าให้ผลิตภัณฑ์มี

ลักษณะดีข้ึน น่าบริโภคมากข้ึน ผู้ผลิตจึงมักใช้ในน�้าผล

ไม้ ,เยลล่ีผลไม้, ส่วนผสมของผงโยเกิร์ต และเครื่องดื่ม

ชนิดอ่ืน ๆ

ที่มา : มกอช. (ผู้จัดการออนไลน์) วันที่ 3 มิย. 54

Page 17: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

17

เจ้าหน้าที่ระดับ

สู ง ม า ห า รื อ

เบื้ อ งต ้ นกั บผู ้

บริหารระดับสูง

ขอ งกระทรว ง

พาณิชย์แล้ว 2

ครั้ง ซึ่งการหารือ

ครั้งแรกนั้นน�าโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า และครั้ง

ที่ 2 น�าโดยผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้า ทั้งนี้แคนาดามองไทยเป็น

ศูนย์กลางและเป็นผู้น�าของภูมิภาคอาเซียน

ดังนั้นหากสามารถจัดท�าเอฟทีเอระหว่างกันได้จะ

ท�าให้การค้าของไทยกับแคนาดาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่าง

มาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไทยเป็นฐานเพื่อขยายการ

ค้า การลงทุนของแคนาดาสู่กลุ่มอาเซียนอีก 9 ประเทศ

ได้

ส�าหรับในส ่วนของสคร.นั้นมองว ่าแคนาดาเป ็น

ประเทศที่น่าสนใจเน่ืองจากสินค้าที่แคนาดาส่งออกส่วน

ใหญ่เป็นสินค้าที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น สินแร่

โลหะ อะลูมิเนียม ถ่านหิน น�้ามัน เครื่องเพชร พลอย

ไม้ซุง เยื่อกระดาษ และอื่นๆ ซึ่งไทยสามารถน�าเข้า

เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าส่งออกหรือใช้ในประเทศได้

ขณะเดียวกันแคนาดายังเป็นเจ้าของเทคโนโลยีระดับสูง

ในหลายด้าน เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีมือถือแบล็ค

เบอร์รี่ เทคโนโลยีพลังงานกังหันลม เทคโนโลยีก่อสร้าง

อาคารสูง และรถไฟฟ้าใต้ดิน

“ด้วยชื่อเสียงของไทยที่เป็นศูนย์กลางการผลิต

รถยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคอาเซียน เราอาจเจรจา

กับเขาเพื่อขอเป็นโกลบัลซัพพลายเชนผลิตรถไฟฟ้าป้อน

ตลาดโลก หรือขอเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนมือถือแบล็คเบอร์รี่

หรือให้เขาถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้เรา หากเป็น

ไปได้จะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกให้เราอีกมาก ขณะ

น้ีแคนาดาได้จัดท�าเอฟทีเอแล้วกับ 6 ประเทศ เช่น

สหรัฐฯ เม็กซิโก ชิลี และอยู่ระหว่างเจรจากับสิงคโปร์

และเกาหลีใต้ หากเขาเสร็จก่อนเราจะได้เปรียบมาก”

ด้านนางสมจินต์ เปล่งข�า ผู้อ�านวยการอาวุโส สคร.

ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวเสริมว่า ขณะนี้

แคนาดาเริ่มให้ความส�าคัญกับตลาดสหรัฐอเมริกาน้อย

ลง และหันมามองอาเซียนเพราะเป็นตลาดที่ก�าลังขยาย

ตัว สินค้าท่ีแคนาดามีศักยภาพส่งมาไทยและอาเซียนได้

นอกจากสินค้าที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติข้างต้นแล้ว

ยังมีสินค้าเกษตรและอาหารอีกหลายรายการ ที่ผ่านมา

แคนาดาอยากให้ไทยเปิดตลาดเนื้อสุกร แต่ติดปัญหาที่

เนื้อสุกรของแคนาดารวมถึงสหรัฐฯอนุญาตให้มีการใช้สาร

เร่งเน้ือแดง ขณะท่ีไทยส่ังห้ามเพราะเกรงจะเป็นอันตราย

ต่อผู้บริโภค

อน่ึง การค้าระหว่างประเทศของไทยกับแคนาดาใน

ปี 2553 ท่ีผ่านมา (ส่งออก+น�าเข้า)มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,341

ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 1,428 ล้านดอลลาร์

สหรัฐฯ น�าเข้า 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่าย

ได้ดุลการค้า 515 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนช่วง 4

เดือนแรกของปีน้ีการค้าระหว่างกัน มีมูลค่า 936 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยส่งออก 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น�า

เข้า 394 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า

148 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้าส่งออกส�าคัญของไทยไปแคนาดา 5 อันดับ

แรก ประกอบด้วย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป,

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ยางพารา,

กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และเครื่องนุ่งห่ม ส่วนสินค้าที่ไทย

น�าเข้าจากแคนาดา 5 อันดับแรกประกอบด้วย เครื่อง

เพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองค�า,ปุ๋ย และยา

ก�าจัดศัตรูพืช และสัตว์, เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ,พืช

และผลิตภัณฑ์จากพืช และแผงวงจรไฟฟ้า

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 27 พ.ค. 54

Page 18: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

1 - 6 June 2011

18

ญี่ปุ่น-อียูเล็งเปิดเจรจา FTA

ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (อียู) เห็นชอบร่วมกันที่จะศึกษา

การท�าข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งญี่ปุ่นมอง

ว่ามีความส�าคัญอย่างย่ิงต่อการส่งออกไปยังคู่ค้าอันดับ 3

ของประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้น�าทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการเปิด

เจรจากันอย่างเป็นทางการ

นายเฮอร์มัน ฟาน รอมปุย ประธานสหภาพยุโรป เปิด

เผยกับผู้สื่อข่าวหลังการประชุมสุดยอดร่วมกับนายกรัฐมนตรี

ญี่ปุ่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แม้หนทางของการท�า

ข้อตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ ่นยังอีกยาวไกล แต่ในเวลานี้มี

วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว “บางคนอาจมองว่าเรายังเดิน

หน้าไปไม่มากพอ แต่ผมคิดว่าเราไม่ควรประเมินความหมาย

ทางการเมืองของการตัดสินใจของเราต�่าเกินไป”

นายฟาน รอมปุย กล่าวเสริมว่า ผลกระทบทาง

เศรษฐกิจและการเมืองที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากมีการบรรลุ

ข้อตกลงร่วมกัน มีความส�าคัญในเร่ืองของการจ้างงาน

การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอนาคตร่วมกันของทั้งสอง

ฝ่าย โดยก่อนหน้าที่จะท�าการตกลงกัน จะต้องมีการด�าเนิน

กระบวนการเบื้องต้นเพื่อก�าหนดขอบเขตและตัวแปรของการ

เจรจาด้านการค้าเสียก่อน

ในส่วนของญี่ปุ่น แถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระบุ

ว่า นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรี เห็นชอบกับนาย

ฟาน รอมปุย และนายโฮเซ่ มานูเอล บาร์โรโซ ประธาน

คณะกรรมาธิการยุโรป ให้เร่ิมต้นกระบวนการเจรจาเรื่องข้อ

ตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวรวมถึง

การร่วมหารือเพื่อตัดสินใจว่าข้อตกลงจะครอบคลุมสินค้า

ประเภทใดบ้าง

เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า ญี่ปุ่นต้องการ

ที่จะเดินหน้าท�าข้อตกลงกับอียู หลังจากที่เกาหลีใต้บรรลุ

ข้อตกลงไปแล้วก่อนหน้านี้ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง

เกาหลีใต้และอียูจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมที่จะ

ถึงนี้ และนักธุรกิจญี่ปุ่นพยายามบีบให้รัฐบาลท�าข้อตกลงใน

ลักษณะเดียวกันบ้างเพื่อไม่ให้ตามหลังคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้

ส�าหรับญ่ีปุ่น ได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการส่ง

ออกเป็นแรงขับเคลื่อนส�าคัญมีความเร่งด่วนมากย่ิงข้ึน หลัง

ประเทศประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรง จน

ท�าให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และเศรษฐกิจของ

ประเทศต้องตกอยู่ในสภาวะถดถอย

นายบาร์โรโซกล่าวว่า ขั้นตอนการก�าหนดขอบเขต

จะช่วยให้ระดับของความคาดหวังในการเจรจาชัดเจนข้ึน

และระบุประเด็นที่เป็นข้อกังวล “เราก�าลังพูดถึงญี่ปุ่น หนึ่ง

ในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฉะนั้นการตกลงล้มเหลวไม่ได้”

พร้อมกับกล่าวเสริมว่า ข้อตกลงการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์

กับทั้งญี่ปุ่นและอียู และน่าจะช่วยแก้ปัญหาความกังวลใจ

ต่างๆ อาทิ ข้อก�าหนดการจัดซื้อของภาครัฐ และการกีดกัน

การลงทุนของบริษัทยุโรป

อียูได้พยายามเรียกร้องให้ญ่ีปุ่นยกเลิกมาตรการกีดกัน

ที่ไม่ใช่ภาษี และเพิ่มการจัดซื้อของภาครัฐ ซึ่งนายคังได้

มอบหมายให้สมาชิกในคณะรัฐบาลของเขาหารือกันในเรื่อง

ดังกล่าวก่อนจะออกเดินทางไปประชุมที่ยุโรป “ผมเชื่อว่า

ด้วยความพยายามในเรื่องนี้ เราจะสามารถบรรลุข้อตกลง

สุดท้ายที่จะมีความหมายกับเราอย่างยิ่ง” นายคังกล่าวภาย

หลังการประชุม

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 หด

ตัวลงด้วยอัตรา 3.7% ต่อปี และเข้าสู่ภาวะถดถอยจาก

ผลพวงของแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายใน

ประเทศ ซึ่งรวมถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการผลิตใน

ภาคอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ทางการญ่ีปุ่นเน้นย�้าถึงความ

ส�าคัญของข้อตกลงการค้าเสรีกับอียู โดยกล่าวว่ามติจากการ

ประชุมในช่วงสุดสัปดาห์เป็นการส่งสัญญาณว่าญี่ปุ่นมีความ

คิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปต่อข้อตกลงการค้าเสรี

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 1 มิ.ย. 54

Page 19: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

Vol. 2 Issue 181 - 6 June 2011

19

THAI FOOD PROCESSORS’ ASSOCIATIONTel : (662) 261-2684-6 Fax : (662) 261-2996-7www.thaifood.org E-mail: [email protected]

สมาคมผู้ผลิตอาหารส�าเร็จรูป ขอขอบคุณเว็ปไซต์ ดังต่อไปนี้1. http://www.thannews.th.com 6. http://www.dailynews.co.th2. http://www.thairath.co.th 7. http://www.acfs.go.th3. http://www.bangkokbiznews.com 8. http://www.posttoday.com4. http://www.tnsc.com 9.http://www.matichon.co.th5. http://www.prachachat.net

เสนอข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

th

Page 20: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11

aur nru r{r.rfi n oru r: dr ri ngrJ

Yr1fi"..9.P.?.?{ufi ..4. $ff Y"'Y5'' " "" "''| " r'

fi yreu.*"nro.}*)

fir a:rrnrfrzufr norur:;{ri5o;rJU

a

v lpnuraurul5nt:n:?aao!uavnrurJaonn-uorur: (The Food Safety Inspection Service:- - . - , q v \ y I o o t yFSIS) nru"[srn:uvr:']{tnun:araigorl3nrkioonirrriruuvrjr*rifi'tJ:vnolnr:zuf;norur:niollSTnn/ ^ - , r . - . 1 _ . 6 r - - ' 3 _ 9 a 4 , { . j j o e e a v i(HeaOy-to-tat) tv!0t1JufixJ0!un1:tian tv!04ofl'r:lJuL1J0uL|auann']l:JLau{yt01ail1lytnqou9t:'tuFt0

U

v a l a 3 a d dAtnrnzulSlnn uilotqrnvrtt{ooduvr5uriasurnrfiuia rriu rfiod'aTcrLruaar '1a1 odrtrioufiortu:vavl u 9

v]21Uil1I o o u I y q e y I a { J o q w o:r { t0 n a 1: F't'l ttu vul0 { n a l't a v Luu 114 zu !:s n 0 ! n r:yd n ta u { n: u u ? u fl t:ynir Lu tn o n r:

t !. V Y , ^ - . !

r 4 r d a d d 6 l I d

uut lJ0uLlJoQauvl :uLu:v14?1. in1: t iaFlLnutQl \ ' rsyt :J1a ' tna?ui l f f i l t l ju t r rnr : tn l tnSo{ tv t f i. c

. _ 4 _ - - r - . - , . 4 4 ' q 2 t ' o | 4 d e

tnSo{l:{:afrt"Lrild'zurun'r:li'rFr'l'r:Javorqo drr.rfi urvro u"a v rfluar ur,rnrirfrryfilirl#rfionf;uvrid. _ a _ _ a - l - 4 1 9 J I t a l 4 r o o u r 4 y v 5 |ta:fUtgllJtFlttavtuu0u9t:'']uglofl1J:Lt'lFr :1uav!0ufi:1{Flluuuu'tfi{nn1'l alxJ't:flduftutoila$uJtFtx.tu - - - - € - - ' - - - - - -

lrifi http:ZZwww.fs is. usda. gov/P D F/Sa |.m o ne lla _com p_g ui de _0,42211 . pdf .

d d - { l , v y A e 8 y t s d I ra'i r: u uilM\ 0 L! : n [a { ry tn grt o.ru :ru ua v L$rJ :y Lutu m o Ll

O lkl^ u46wAt,

fff,,LSo(.ntti.b1:loc\r'>r10 -..p

{1?t rt u I &e.,,Tnqdelr iitlx'I to\2/rt,ln

-q.do

1s & \ Q ng ) ' - u ' / ^

o u v

a'ru nlJr n : n 1 :111 { n 1 : Fl't

LYll. o bddorj doc(b

sLYI:Af: o bdde'i det6nb

@ c.tlr, .rCn,

r""l ilqn rv4a?,+4

Page 21: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11
Page 22: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11
Page 23: Weekly Brief  1 - 6 Jun 11