thailand technology trends 2012

3
แนวโน้มเทคโนโลยีของประเทศไทย 2555 (Thailand Technology Trends 2012) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ได้ จัดการสัมมนา Technology Trends มาอย่างต่อเนื่องทุกๆปั โดยปีที่ผ่านๆมา จะอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของสำนักวิจัยในต่างประเทศ ซึ่งจากการประชุม หารือกับผู้เชืยวชาญด้านไอทีหลายท่านต่างก็เห็นว่า Technology Trends ของต่างประเทศในหลายเรื่องอาจรวดเร็วกว่าภายในประเทศไทยอยู่หลายปี และในบางครั้ง Trends ต่างๆที่สำนักวิจัยในต่างประเทศกำหนดไว้เมื่อ 2-3 ปี ก่อนก็อาจเพิ่มมีความสำคัญกับในประเทศไทยในปีนีดังนั้นทางเขต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยจึงได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วย งานต่างๆอาทิเช่น สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สมาคมความ มั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) บริษัท True IDC บริษัท ACIS Professional Center และ บริษัท S-Generation เพื่อหารือเกี่ยวแนวโน้ม เทคโนโลยีของประเทศไทย 2555 (Thailand Technology Trends 2012) โดย ได้กำหนดมา 8 เรื่องที่มีสำคัญดังนี1) Business Continuity สถานการณ์ในประเทศและเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ ธุรกิจต่างๆให้ความสนใจในเรื่องการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity)มากขึ้น องค์กรต่างๆจะเริ่มให้ความสำคัญกับการทำแผนธุรกิจ ต่อเนื่อง (Business Continuity Planning) การทำ Disaster Recovery ในปีนีเราจะเห็นการเติบโตของ Data Center โดยมีการนำ Infrastructure ทั้งส่วนทีเป็น Production หรือ Backup site มาอยู่ทีData Center มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจ สามารถดำเน้นงานได้แบบ 24x7 2) Cloud Computing กระแสเรื่องของ Cloud Computing ก็ยังแรงอยู่ในประเทศไทย องค์กร ขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญกับการสร้าง Private Cloud มากขึ้น ทางด้าน Public Cloud จะเห็นความต้องการทางด้าน Infrastructure as a Service (IaaS) และ Software as a Service (SaaS) มากขึ้น ผู้ให้บริการจะมีการ แข่งขันกันมากขึ้น กระแสความต้องการ Business Continuity จะทำให้ตลาด

Upload: softwarepark-thauland

Post on 22-Mar-2016

216 views

Category:

Documents


4 download

DESCRIPTION

รายละเอียด Technology Trends 2012 ที่ทาง Software Park นำเสนอในการบรรยายวันที่ 26 มกราคม 2012

TRANSCRIPT

แนวโน้มเทคโนโลยีของประเทศไทย 2555 (Thailand Technology Trends 2012)

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ได้จัดการสัมมนา Technology Trends มาอย่างต่อเน่ืองทุกๆปั โดยปีที่ผ่านๆมาจะอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของสำนักวิจัยในต่างประเทศ ซึ่งจากการประชุมหารือกับผู้เชืยวชาญด้านไอทีหลายท่านต่างก็เห็นว่า Technology Trends ของต่างประเทศในหลายเรื่องอาจรวดเร็วกว่าภายในประเทศไทยอยู่หลายปี และในบางครั้ง Trends ต่างๆที่สำนักวิจัยในต่างประเทศกำหนดไว้เมื่อ 2-3 ปีก่อนก็อาจเพิ่มมีความสำคัญกับในประเทศไทยในปีน้ี ดังน้ันทางเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยจึงได้เรียนเชิญผู้เช่ียวชาญจากหน่วยงานต่างๆอาทิเช่น สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) บริษัท True IDC บริษัท ACIS Professional Center และ บริษัท S-Generation เพื่อหารือเก่ียวแนวโน้มเทคโนโลยีของประเทศไทย 2555 (Thailand Technology Trends 2012) โดยได้กำหนดมา 8 เรื่องที่มีสำคัญดังน้ี

1) Business Continuity

สถานการณ์ในประเทศและเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจต่างๆให้ความสนใจในเรื่องการทำธุรกิจอย่างต่อเน่ือง (Business Continuity)มากขึ้น องค์กรต่่างๆจะเริ่มให้ความสำคัญกับการทำแผนธุรกิจต่อเน่ือง (Business Continuity Planning) การทำ Disaster Recovery ในปีน้ีเราจะเห็นการเติบโตของ Data Center โดยมีการนำ Infrastructure ทั้งส่วนที่เป็น Production หรือ Backup site มาอยู่ที่ Data Center มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเน้นงานได้แบบ 24x7

2) Cloud Computing

กระแสเรื่องของ Cloud Computing ก็ยังแรงอยู่ในประเทศไทย องค์กรขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญกับการสร้าง Private Cloud มากขึ้น ทางด้าน Public Cloud จะเห็นความต้องการทางด้าน Infrastructure as a Service (IaaS) และ Software as a Service (SaaS) มากขึ้น ผู้ให้บริการจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น กระแสความต้องการ Business Continuity จะทำให้ตลาด

Cloud Computing ในประเทศไทยโตขึ้นแม้จะต้องมีพัฒนาในด้าน High Speed Connectivity และ Data Protection Policy มากขึ้นก็ตาม

3) Media Tablet and Beyonds

Gartner ได้กำหนดให้เทคโนโลยี Media Tablet เป็น Top Technology Trends 2012 ซึ่งเรื่องน้ีก็เป็นหน่ึงในเทคโนโลยีทัี่ประเทศไทยให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าที่ีอื่นๆในโลก ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศก็จะมีการเติบโตอย่างต่อเน่ือง ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการแจก Tablet ให้กับนักเรียนจะเป็นการเร่งให้ตลาดน้ีโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งน้ีเราจะเห็นผู้บริโภคในประเทศเน้นไปที่ตลาดระบบปฎิบัติการทั้ง iOS และ Android เช่นเดิม

4) Mobile Centric Application, Contents and Interfaces

เรื่องน้ีสอดคล้องกับ Gartner Trends 2012 ที่เราจะเห็นความต้องการทางด้าน Application และ Content ต่างๆมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคที่ใช้งานอุปกรณ์ Smartphone และ Tablet โดยจะเห็นการแข่งขันกันพัฒนา Application ที่เป็น Mobile Centric มากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับการเติบโตของตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ และการโตของตลาด High Speed Connectivity จะทำให้ผู้บริโภคต้องการที่เข้าถึง Application และ content ในทุกทีี ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ (Anywhere, Anytime and AnyDevice)

5) Social Network

คงปฎิเสธไม้ได้ว่ากระแส Social Network ในประเทศไทยก็ยังแรงอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะ Facebook ที่เรามีจำนวนผู้ใช้ล่าสุดมากกว่า 13 ล้านคน เราจะเห็นความเติบโดของการทำ Social Media Marketing ความต้องการ Application ต่างๆบน Social Network มากขึ้น ร่วมถึงการแข่งขันของผู้ให้บริการมือถือที่จะให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง Social Network กันมากขึ้น และรวมถึงอาจเห็นการทำธุรกรรมผ่าน Social Network มากขึ้น

6) High Speed Connectivity

ความต้องการใช้ online Application จะทำให้การเข่้าถึง Internet ความเร็ว

สูงยังเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ตลาด Broadband ในประเทศไทยยังจะโตอย่างต่อเน่ือง และจะเห็นการแข่งขันในด้านน้ีมากขึ้น ประกอบกับการแข่งขันของ Telecom Operator ในการให้บริการ 3G และการเปิดประมูล 3G ในปีน้ีจะทำให้ตลาดทั้งในส่วน Mobile Connectivity และ BroadBand Connectivity โตอย่างต่อเน่ือง ร่วมถึงการให้บริการ WiFi ของค่ายต่างๆ และนโยบายฟรี WiFi ของรัฐบาล

7) Online Consumerization

ผู้บริโภคในประเทศไทยจะมีการใช้บริการออนไลน์ต่างๆมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการทำงานและเรื่องส่วนตัว เราจะเห็นการทำงานแบบ Virtual Office มากขึ้นมีการใช้งาน e-Mail และเครื่องมือที่เป็น Online Communication มากขึ้น รวมถึงการ share ข้อมูลต่างๆของสำนักงานทางออนไลน์ ผู้บริโภคจะใช้เครื่องมืออย่าง Whatsapp หรือ Facebook Message ในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น

8) Predictive Analytic

ความต้องการที่จะวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆในประเทศจะมีมากขึ้น ทั้งในส่วนที่เป็น Business Intelligent และการนำข้อมูลขนาดใหญ่ใน Internet มาวืเคราะห์เช่นการทำ Social Network Analytic รวมไปการใช้ข้อมูลมาคาดการณ์ในเรื่องภัยวิบัติที่จะอาจเกิดขึ้น