วัดอนงคาราม - sys.dra.go.th · พระอารามหลวง...

Post on 15-Jan-2020

6 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

209 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดอนงคาราม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยท่านผู้หญิงน้อย ในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่เดิมเป็นสวนกาแฟของผู้สร้าง ครั้นสร้างเสร็จได้ถวายเป็นพระอารามหลวงวัดอนงคาราม เดิมชื่อ วัดน้อยขำแถม คำว่า น้อย เป็นนามของท่านผู้หญิงน้อยผู้สร้างวัดนี้ คำว่าขำแถม เป็นนามเดิมของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ซึ่งมีส่วนในการสร้างปฏิสังขรณ์วัดนี้ ต่อมารัชกาลที่๔พระราชทานนามว่าวัดอนงคาราม สถานะและที่ตั้ง วัดอนงคาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๔๕๕ถนนสมเด็จเจ้าพระยาแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสานกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๒ ไร่๖๑ตารางวา

วัดอนงคาราม

210 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทยหลังคามุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรัก ประดับกระจกมี เสาพาไลรอบ หน้าบันปูนปั้นลายดอกลอยซุ้มประตูหน้าต่างลายปูนปั้น ลงรักปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำรูปเซี่ยวกาง และรูปยักษ์ ผนังภายในฝ้าเพดานทาสีปิดทองล่องชาด สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ และทำการปฏิสังขรณ์เมื่อปีพุทธศักราช๒๔๙๙-๒๕๐๐ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่บนบุษบกเหนือฐานชุกชีลงรักปิดทองประดับกระจกมีลายกระจังทำด้วยโลหะและมีพระพุทธรูปยืน ๒ องค์ คู่กันหล่อด้วยโลหะปิดทองอยู่หน้าบุษบก ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงบูรณะบุษบกและสร้างโคมกึ่งไฟฟ้าติดประจำผนังอุโบสถ

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทยหลังคามุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา ประดับกระจก หน้าบันลายดอกไม้ประดับกระจก ระหว่างเสาระเบียงตรงประตูด้านหน้าและด้านหลังประดับรวงผึ้งห้อย ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้น บานประตูหน้าต่างสลักลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลงรักปิดทอง ประดับกระจกฝ้าเพดานทาสีปิดทองล่องชาด ผนังภายในทาสีปิดทองล่องชาดมีภาพลายก้านแย่งภายในประดิษฐาน

พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย อัญเชิญมาจากสุโขทัย พระนามว่าพระจุลนาค และพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางสมาธิ พระนามว่าพระพุทธมังคโล พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา พระมณฑป๒หลังอยู่๒ข้างพระวิหารหลังทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ปูนปั้นจำลองแบบจากพระพุทธไสยาสน์วัดราชาธิวาสหลังทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ศาลาการเปรียญ เป็นอาคาร๒ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้หลังคามุงกระเบื้องเคลือบมีช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ประดับกระจก ตู้พระไตรปิฎก สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นตู้ ไม้เขียนลายทองรูปขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารคบานประตูเขียนรูปเล่าเรื่องรูปพระมโหสถตอนข้าศึกมาล้อมเมือง ปัจจุบันพระเทพเวที (ยิ้มภทฺรธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

211 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดพิชยญาติการามเดิมเป็นวัดร้างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัตบุนนาค)ครั้งดำรงยศเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๓๘๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ มีกำปั่นค้าขายกับต่างประเทศ ฐานะร่ำรวยได้ซื้อหาวัสดุก่อสร้างส่วนมากจากเมืองจีน ถาวรวัตถุที่ก่อสร้างขึ้น จึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนและพระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าวัดพระยาญาติ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพิชยญาติการาม แผนผังของวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสมองดูสวยงาม โดยเฉพาะเขตพุทธาวาส มองจากด้านหน้าวัดจะเห็น เจดีย์คู่อยู่ด้านหน้า พระอุโบสถอยู่ตรงกลาง มีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถดูสอดคล้องรับกันอย่างพอเหมาะพอดีสถานะและที่ตั้ง วัดพิชยญาติการาม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๖๘๕ถนนสมเด็จเจ้าพระยาแขวงสมเด็จเจ้าพระยาเขตคลองสานกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๕ไร่

วัดพิชยญาติการาม

212 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องศิลปะแบบจีนหน้าบันทั้งสองด้านเป็นลายปูนปั้นมังกร สอดสีประดับกระเบื้อง เพดานเหนือระเบียงเขียนลายดอกไม้สอดสี เสาพาไลเป็นศิลากลมฐานพาไลสลักศิลาเป็นรูปภาพ เรื่องสามก๊กบานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำเป็นรูปเซี่ยวกางเหยียบสิงโต บานประตูกลางเป็นลายรดน้ำรูปเทวดาถือพระขรรค์เหยียบราชสีห์ ผนังภายในและเสามีภาพจิตรกรรมรูปลายดอกไม้ ผนังบานกกหน้าต่างด้านนอกเขียนรูปต้นไม้สวรรค์ต่าง ๆ หลังพระประธานเขียนเป็นรูปซุ้มเรือนแก้ว ลานหน้าพระอุโบสถปูด้วยแผ่นศิลาจากเมืองจีน เสมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นเสมาคู่ ซุ้มเสมาช่างไทยออกแบบ และ

สั่งแกะสลักศิลาสำเร็จมาจากเมืองจีนซุ้มประตูมี๓ซุ้ม เป็นทรงไทยหลังคาจั่ว ๓ ระดับ ประดับช่อฟ้า เป็นรูปพญานาคเหนือประตูทั้ง๓ซุ้มประดับด้ ว ยลวดลายปู นปั้ น รู ปพญาหงส์ตกแต่งด้วยถ้วยกระเบื้องเคลือบสีและหน้าบันของแต่ละซุ้มประดับด้วยลายดอกไม้ปูนปั้น พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย พระนามว่าพระสิทธารถ อัญเชิญมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก พระเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานสี่เหลี่ยมอยู่หน้าพระอุโบสถ ฐานมีซุ้มประตูสี่ด้านและมีระเบียงเดินได้รอบ

213 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระปรางค์ มี๓องค์คือ ๑. พระปรางค์องค์ ใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์คือพระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า ๒. พระปรางค์องค์เล็ก มี๒องค์แต่ละองค์มีขนาดและรูปทรงเดียวกันพระปรางค์ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตยหรือ พระศรีอาริย์ พระปรางค์ด้านทิศตะวันตก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ๔ รอย สลักไว้บนแผ่นศิลาวางบนแท่นหล่อด้วยสำริด

พระวรวินายก หรือ หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปปางสมาธิประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถองค์หน้าพระประธาน กุฏิทรงช่วย สถาปัตยกรรมแบบยุโรป ปรากฏนามตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการช่วยสร้าง ปัจจุบันพระพรหมโมลี (สมศักดิ์อุปสโม)เป็นเจ้าอาวาส

214 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดทองธรรมชาติเป็นวัดโบราณไม่ปรากฏนามผู้สร้างเดิมเรียกกันว่าวัดทองบนคู่กับวัดทองล่าง(วัดทองนพคุณ) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเสนาสนะเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์เจ้าหญิงกุ (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี)ซึ่งเป็นขนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือเรียกกันว่าเจ้าครอกวัดโพธิ์กับพระสวามี คือ หม่อมมุก (กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์) ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถใหม่แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเพราะกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์สิ้นพระชนม์ลง ครั้นรัชกาลที่ ๓ ทรงทราบว่าวัดทองธรรมชาติบูรณะยังไม่เสร็จ จึงโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เป็นแม่กองก่อสร้างจนเสร็จและทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงสถานะและที่ตั้ง วัดทองธรรมชาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๑๔๑ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่๑งาน๑๖.๕ตารางวา

วัดทองธรรมชาติ

215 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ หน้าบันลายปูนปั้นบานประตูหน้าต่างด้านนอกลงรักเขียนลายทองมีลักษณะเป็นลายกลับสองชั้น ช่างเขียนชื่อนายมั่น เขียนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนเมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถสมัยรัชกาลที่ ๓บริเวณเหนือขอบหน้าต่างเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม แบ่งตามศักดิ์ ๓ ชั้น รองลงมาเป็นภาพพระพุทธประวัติฝีมือเขียนแบบไทย ภาพที่อยู่หลังพระประธาน เป็นภาพมองจากที่สูงผู้เขียนคงเขียนขึ้นเพื่อแสดงที่อยู่ของผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ เป็นภาพท้องที่วังบูรพาภิรมย์ สมัยรัชกาลที่ ๓ เห็นวังตั้งเด่นอยู่กลาง แวดล้อมด้วยตึกใหญ่ข้าง ๆ หลายหลัง ต่อจากกำแพงวังเป็นทางเดินปูอิฐสีแดงต่อมาเป็นห้องแถวซึ่งมีทั้งคนไทยอาศัยอยู่ และคนจีนทำการค้าขายตามลำคลองมีโรงสำหรับเก็บเรือและแสดงการฝึกพายของพวกฝีพายต่อจากประตูกำแพงเมืองมีซุ้มประตูและมีสะพานขนาดใหญ่ลงน้ำเห็นช้างพลายกำลังเดินออกจากประตูเพื่ออาบน้ำในคลอง ซึ่งนับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพราะได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะชุมชนของคนในสมัยนั้นเป็นอย่างดี หน้าบันพระอุโบสถจำหลักไม้เป็นรูปเทพพนมบนลายก้านขดเป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา

พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัยหน้าตัก ๔ ศอก ๔ นิ้ว และมีพระอัครสาวกซ้ายขวาประดิษฐานอยู่บนแท่นชุกชี

216 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง แบบสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย มีจำนวน ๑๐ องค์ บนแท่นชุกชีมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่๑องค์และมีองค์เล็กกว่าตั้งลดหลั่นลงมาอีก๓แถวมีลักษณะอย่างเดียวกันทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีกุฏิสงฆ์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ หลายหลัง และมีศาลาโถงสร้างไว้ตรงมุมกำแพงแก้วทั้ง๔มุม หอไตรเป็นอาคารไม้กว้าง๔เมตรยาว๕เมตรสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๕๗ หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น รูปร่างคล้ายป้อมฝรั่ง ชั้นที่ ๑ ประดิษฐานพระพุทธรูประฆังอยู่ชั้นล่าง ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้หลังคามุงกระเบื้องกว้าง๑๐.๗๐เมตรยาว๑๙.๘๐เมตร ธรรมาสน์ เป็นไม้จำหลักแบบบุษบก๓ชั้น ปัจจุบันพระครูสิริสุวรรณคุณ (ทองสุขสุขธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

217 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดทองนพคุณ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกกันทั่วไปว่า วัดทองล่าง คู่กับวัดทองบน คือ วัดทองธรรมชาติ ต่อมาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่๓ สมัยรัชกาลที่๔พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่งสถานะและที่ตั้ง วัดทองนพคุณ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖๔๕ แขวงคลองสานเขตคลองสานกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่๒๐ไร่๓งาน๖๘ตารางวา

วัดทองนพคุณ

218 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบเก๋งจีน ตามที่นิยมกันในรัชกาลที่๓ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระครูกสิณสังวร(มี) เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณะใหม่เปลี่ยนเป็นหลังคามุงกระเบื้องทรงไทย ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ และเปลี่ยนซุ้มประตูกำแพงแก้ว หลังคาเก๋งด้านตะวันออกมาเป็นยอดปรางค์

ซุ้มประตูมีช่อฟ้าและบราลีซุ้มหน้าต่างมี๑๐ช่องด้านละ๕ช่องแต่ละด้านจะเจาะช่องหน้าต่างเป็นรูปไข่ และเมื่อปิดหน้าต่าง ลายที่บานหน้าต่างก็จะเข้ากับลายปูนปั้นข้างบนเป็นรูปพัดยศ ส่วนหน้าต่างบานที่อยู่กลางทั้งสองด้านทำเป็นซุ้มมงกุฎพระอุโบสถที่เจาะช่องหน้าต่างเรียกว่าอุโบสถมหาอุด ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเขียนโดยพระครูกสิณสังวร (มี) ผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์อิน(ขรัวอินโข่ง)ผนังด้านข้างทั้งสองเขียนรูปฉัตรเรียงกัน

ตามความยาวจนเต็ม ตอนเหนือขอบหน้าต่างเขียนเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก ตามช่องระหว่างหน้าต่างเขียนรูปโต๊ะบูชาคล้ายของจีน ผนังด้านหลังเขียนรูปม่านแหวกต้องการให้เห็นพระประธานเด่นอยู่ตรงกลาง ผนังด้านหน้าตอนบนเขียนรูปพระไตรปิฎกซ้อนกันเป็น ๓ ตอนหมายถึง พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม ระหว่างช่องประตูเขียนรูปวิมานพระอินทร์ ภายในนันทอุทยานเห็นนางฟ้ากำลังอาบน้ำในสระ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพระราชทานพระกฐิน ทรงตำหนิเพราะอยู่ตรงพระพักตร์พระประธาน พระครูกสิณสังวรจึงได้แก้ ไขใหม่ ตอนเหนือขอบประตูเขียนรูปเตียงไม้ขนาดใหญ่มีคัมภีร์แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ วางอย่างมีระเบียบจนเต็ม มีแจกันดอกไม้และแมวสองตัวอยู่ใกล้ ๆเตียงไม้เป็นปริศนาธรรม

219 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง๔ศอก๔นิ้วสูง๕ศอกคืบ๖นิ้ว พระวิหาร อยู่ใกล้พระอุโบสถ ลักษณะอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้อง หน้าบันประดับกระเบื้อง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ขนาดต่างๆกัน พระมณฑป สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔อยู่บนภู เขา สูง ๖ ศอก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์องค์ใหญ่ ลักษณะย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง อยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้สร้างในสมัยรัชกาลที่๓ต่อมาพระสุธรรมสังวรเถร(มา)ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ปัจจุบันพระเทพปริยัติมุนี (สมคิดเขมจารี)เป็นเจ้าอาวาส

220 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดเศวตฉัตรเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยามีชื่อเรียกต่างๆกันหลายชื่อเช่นวัดแมลงภู่ทอง วัดกัมพูฉัตร วัดบางลำภู และวัดบางลำภูล่าง ตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัด เดิมอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาต่อมาแผ่นดินริมแม่น้ำบริเวณหน้าวัดได้งอกออกมา ทำให้ตัววัดห่างจากแม่น้ำมากขึ้นดังเห็นจากที่ตั้งของพระอุโบสถเก่า อยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำประมาณ ๕๐๐ เมตร (ปัจจุบันมีถนนเจริญนคร ตัดระหว่างวัดกับพระอุโบสถเก่า) สมัยรัชกาลที่ ๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าฉัตรได้สถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ โดยย้ายบริเวณพุทธาวาสมาสร้างริมน้ำลงพระอุโบสถเก่าไว้ที่เดิมสร้างพระอุโบสถพระวิหารศาลาการเปรียญและพระปรางค์ขึ้นใหม่ในรัชกาลที่๔พระราชทานนามว่าวัดเศวตฉัตร สถานะและที่ตั้ง วัดเศวตฉัตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๑๐ ถนนเจริญนครแขวงบางลำพูล่างเขตคลองสานกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๓ไร่๓๒ตารางวา

วัดเศวตฉัตร

221 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะแบบศิลปะจีนที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง หน้าบันตอนบนประดับลายปูนปั้นรูปดอกไม้ ตอนล่างเป็นกระเบื้องเคลือบรูปสัตว์ต่างๆภูเขาต้นไม้และดอกไม้แบบจีนซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปดอกไม้ประกอบแถบผ้าติดกระจกสี บานประตูและหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำรูปฉัตร ๕ ชั้น และรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ผนังภายในเขียนเป็นลายดอกไม้ร่วง

พระอุโบสถเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปทรงแบบสมัยอยุธยา เป็นพระอุโบสถขนาดเล็กหลังคาลด๒ชั้นมุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกามีเพิงยื่นออกมาด้านหน้า หน้าบันเจาะเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืนรวม๓ช่องพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ กล่าวกันว่าเป็นพระสานด้วยไม้ไผ่แล้วปั้นด้วยปูนสร้างคู่มากับวัดแต่โบราณ

222 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะแบบศิลปะจีนเหมือนพระอุโบสถหน้าบันประดับลายปูนปั้น พระประธานในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ หลังคามุงกระเบื้องประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ มีนามว่าพระพุทธบัณฑูรพูลประดิษฐสถิตไสยาสน์ พระปรางค์ เป็นพระปรางค์ฐานแปดเหลี่ยม๒ชั้นย่อมุมไม้สิบสองทรงสูง สูงประมาณ ๒๐ เมตร องค์ปรางค์ มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง๔ด้าน ปัจจุบันพระราชวิจิตรการ (ภักดิ์อตฺถกาโม)เป็นเจ้าอาวาส

223 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดหนัง เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ)เนื่องจากมีจารึกที่ระฆังโบราณในวัดกล่าวว่าสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช๒๒๖๐ ในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากท่านเพ็งพระชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาลัย มีถิ่นพำนักอยู่ใกล้วัดหนัง สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่าง ๆมีสภาพมั่นคงถาวรได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๓๘๐สถานะและที่ตั้ง วัดหนัง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๒๐๐ แขวงบางค้อเขตจอมทองกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่๑งาน๓ตารางวา

วัดหนัง

224 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเฉลียงรอบมีเสาหานรองรับประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ พนักระหว่างเสากระเบื้องปรุหลังคามุขลดยื่นลงมาอีกชั้นหนึ่งหน้าบันประดับกระจก ประตูด้านหน้าและด้านหลังมีด้านละ ๒ ช่อง หน้าต่างด้านละ ๕ ช่อง กรอบประตู และหน้าต่างประดับลายปูนปั้น บานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำ ด้านในลงพื้นฝุ่นน้ำมันเขียนลายทองประเภทช่อพะเนียง เพดาน

มีลายคอสองโดยรอบ ลงชาดประดับด้วยดาวทอง ขื่อเขียนลายตาสมุก ปลายขื่อ สองข้างเขียนลายกรวยเชิง เหนือกรอบหน้าต่างประดับภาพกระจกอยู่ในกรอบทอง ผนังภายในเขียนลายทองเป็นลายดอกไม้ร่วง ซุ้มสีมารอบพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนประดิษฐานใบสีมาศิลาจำหลักซุ้มละ๑คู่ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะปางมารวิชัยพระนามว่าพระพุทธปฏิมากรประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีเป็นฐานแว่นฟ้า ๒ ชั้น ปั้นลวดลายปิดทองประดับกระจกถัดลงมาประดิษฐานพระสาวก๕องค์ พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด๒ ชั้นมุงกระเบื้อง เฉลียงรอบมีเสาหานรองรับ ประดับช่อฟ้า

ใบระกา หางหงส์ มีประตูด้านละ๒ ช่อง ภายในมีผนังกั้นกลางแบ่งพระวิหารเป็น ๒ ส่วน เดินถึงกันไม่ ได้ส่ วนหน้ าประดิ ษฐานพระพุ ทธ เจ้ า๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธพระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโมและพระเมตเตยโย ส่วนหลังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาพอกปูนลงรักปิดทองปางมารวิชัย

225 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระปรางค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนประดิษฐานอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารมีขนาดสูงใหญ่ฐานทักษิณ๓ชั้นรูปแปดเหลี่ยม พระเจดีย์ ลักษณะก่ออิฐถือปูน ย่อไม้สิบสอง ประดิษฐานอยู่หน้าลานพระวิหาร ๒ องค์และประดิษฐานที่มุมกำแพงแก้ว๔องค์ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่อง หลวิชัยคาวีรัชกาลที่ ๕ เสด็จทอดพระเนตรเห็นภาพที่ผนังหมองและชำรุดจึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ บูรณปฏิสังขรณ์เขียนภาพให้ เหมือนเดิม ภายหลังมีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันพระธรรมศีลาจารย์ (สุกรีสุตาคโม)เป็นเจ้าอาวาส

226 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดนางนองเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัดและสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ศาลาหน้าวัดล้วนเป็นทรงเก๋งจีน พร้อมทั้งศิลปกรรมที่ปั้นลม หน้าบันประตูหน้าต่าง พระประธานในพระอุโบสถและที่ฝาผนังมีลายรดน้ำรูปทรงศิลปะไทยจีนประยุกต์ ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมคือพระอุโบสถและศาลาการเปรียญเป็นต้นสถานะและที่ตั้ง วัดนางนอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่เลขที่ ๗๖ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๗ไร่๓งาน๒๕ตารางวา

วัดนางนอง

227 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนสร้างสมัยรัชกาลที่๓หลังคาลด๒ชั้นมุงกระเบื้องหน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบ เสาพาไลรูปสี่เหลี่ยมซุ้มประตูเป็นลายดอกพุดตาลซุ้มประตูและหน้าต่างประดับลายปูนปั้น บานประตูด้านนอกประดับมุกทั้งบานมีลวดลาย ขอบประตูเขียนลายทองเป็นรูปต้นกัลปพฤกษ์และโคตรเพชร ขอบหน้าต่างตรงผนังด้านนอกเขียนรูปเพชรบานประตูและหน้าต่างด้านในเป็นลายรดน้ำ บานหน้าต่างเขียนภาพวรรณคดี

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย

พระเจดีย์ อยู่หน้าพระอุโบสถ ลักษณะเป็นแบบย่อมุมไม้ยี่สิบฐานทักษิณแปดเหลี่ยมเป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่๓ พระวิหาร มี ๒ หลัง ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประตูทางเข้า มีลักษณะทรงโค้ง เป็นวงกลมแบบฝรั่ง ๒ ชั้น ก่อด้วยอิฐฝาผนังฉาบปูนทาสี

พระปรางค์ ๒ องค์ อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ของพระเจดีย์ ฐานทรงบาตรคว่ำองค์พระปรางค์กลมมีบัวคว่ำบัวหงายเป็นชั้น ๆสูง๑๖เมตร ปัจจุบัน พระเทพสิทธิเวที (สำราญรตนธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

228 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดราชสิทธาราม เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดพลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ซึ่งอยู่ติดกับวัดพลับเดิมแล้วโปรดให้รวมวัดพลับเดิมเข้าไว้ในเขตวัดที่ทรงสร้างใหม่แต่ยังคงเรียกว่าวัดพลับต่อมาในปีพุทธศักราช๒๓๕๑ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพลับเดิมเนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามมีการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะสงฆ์ และปฏิสังขรณ์พระตำหนักจันทน์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างและพระราชทานแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวชและเสด็จมาจำพรรษาณพระอารามนี้สถานะและที่ตั้ง วัดราชสิทธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๕ไร่

วัดราชสิทธาราม

229 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์มีเสาพาไลรอบทั้ง๔ด้านหน้าบันด้านหน้าและด้านหลังประดับลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ประกอบลายก้านขดประดับกระจกสีปิดทอง ผนังภายนอกด้านหน้าและด้านหลังตอนบน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค แต่ชำรุดลบเลือนไปมาก ผนังภายในตอนบนเขียนภาพเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและพระเวสสันดรชาดกผนังด้านหลังพระประธานเป็นภาพเล่าเรื่องไตรภูมิ

พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย พระนามว่าพระพุทธจุฬารักษ์

230 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระตำหนักจันทน์ เดิมเป็นพระตำหนักเล็ก๒ห้องชั้นล่างก่ออิฐถือปูนชั้นบนเป็นไม้จันทน์ทรงไทยประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกอย่างสวยงาม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์โดยย้ายมาปลูกเคียงพระตำหนักเก๋งจีน ปัจจุบัน พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ (พลายงามจนฺทสุวณฺโณ)เป็นเจ้าอาวาส

231 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า วัดเจ้าสัวหง ตามชื่อของเศรษฐีจีนผู้สร้าง สมัยกรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขึ้น สร้างกุฏิและเสนาสนะทั้งพระอารามพระราชทานนามว่าวัดหงส์อาวาสวิหาร สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เปลี่ยนชื่อวัดว่า วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหงส์อาวาสวรวิหารในสมัยรัชกาลที่๒สมัยรัชกาลที่๓มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถพระวิหารและเสนาสนะอื่นๆต่อมารัชกาลที่๔พระราชทานนามว่าวัดหงส์รัตนารามใช้มาจนถึงปัจจุบันสถานะและที่ตั้ง วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๒ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๔๖ไร่๑งาน๒๓ตารางวา

วัดหงส์รัตนาราม

232 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีเสารับพาไลโดยรอบบานประตูด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะสลักรูปหงส์เกาะกิ่งไม้ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลาย

ปูนปั้นลักษณะศิลปกรรมแบบจีนผสมตะวันตกยอดซุ้มทำหลังคาปิดเป็นเส้นทแยงมุม มีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นเล่าเรื่องรัตนพิมพวงศ์ (ตำนานพระแก้วมรกต)ใส่กรอบกระจกแขวนไว้ที่ผนังในพระอุโบสถฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่๓และรัชกาลที่๔

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทองเหลือง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้วประดิษฐานอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ มีเศวตฉัตร ๗ ชั้นมีพระอัครสาวกซ้ายขวา

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ มีเสาพาไลโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย พระนามว่าหลวงพ่อสุข หอไตร เป็นอาคารไม้ ฝาปกน เขียนลายรดน้ำปิดทอง บานประตูไม้แกะสลักลายเครือเถาฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปสำริด เป็นพระพุทธรูปสำริดนวโลหะ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสนประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานในพระอุโบสถพระนามว่าหลวงพ่อแสน ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่หน้าวัดสร้างขึ้นเป็นพระราชานุสรณ์ที่พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามตลอดรัชสมัย ปัจจุบันพระเทพรัตนโมลี (ชูศักดิ์ธมฺมทินฺโน)เป็นเจ้าอาวาส

233 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดโมลี โลกยาราม เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมเรียกว่าวัดท้ายตลาด เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ทรงรวมวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดเข้าไว้ ในเขตพระราชวัง จึงเป็นวัดไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดรัชกาล ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายราชธานีไปตั้งอยู่ฟากฝั่งตะวันออกคือ กรุงรัตนโกสินทร์ทรงโปรดให้สร้างเสนาสนะขึ้นที่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด เฉพาะวัดท้ายตลาดโปรดให้พระมหาศรี เปรียญเอกวัดพลับ เป็นพระเทพโมลี แล้วโปรดให้นำพระสงฆ์อันดับมาครองวัดท้ายตลาด ส่วนวัดแจ้งโปรดให้พระปลัดในสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พระครู เมธังกร เป็นพระศรีสมโพธิแล้วโปรดให้พระราชาคณะทั้ง๒รูปไปครองวัดแจ้ง ทั้งวัดท้ายตลาดและวัดแจ้งจึงมีพระสงฆ์อยู่ประจำและเป็นพระอารามหลวงนับแต่นั้นมา

วัดโมลีโลกยาราม

234 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดและพระราชทานนามว่า วัดพุทไธศวรรย์ ในรัชกาลนี้สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี ทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นหลังหนึ่ง คือพระอุโบสถหลังปัจจุบันและผูกพัทธสีมาเป็นที่เรียบร้อย สมัยรัชกาลที่ ๒ มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่รัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวตามลำดับตั้งแต่ทั้ง๓พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดให้บูรณะวัดท้ายตลาดใหม่ทั้งอาราม และได้พระราชทานนามวัดใหม่ ว่า วัดโมลีโลกย์สุธาราม สันนิษฐานว่าคงเพราะเป็นวัด ที่ประดิษฐานพระเกศา (พระเมาฬี)ของรัชกาลที่๓และรัชกาลที่๔ต่อมาเรียกวัดนี้ว่าวัดโมลีโลกยารามถึงปัจจุบัน สถานะและที่ตั้ง วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๒ไร่๓งาน สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ ลักษณะทรงไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดกระจก ฝาผนังภายในและเพดานเขียนภาพลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประตูหน้าต่างแกะสลักเป็นลายกระหนก ลงรักปิดทองงดงาม พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองพุทธลักษณะงดงาม

235 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร ลักษณะทรงไทยผสมจีนหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกาปูนปั้นภายในกั้นเป็น๒ห้องด้านหลังเป็นห้องเล็กมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ และพระอัครสาวกซ้ายขวา ฝาผนังและเพดานเขียนลวดลายงดงาม ตรงกลางมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ สร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน เล่าสืบต่อกันมาว่าในสมัยกรุงธนบุรีโปรดให้ใช้พระวิหารนี้เป็นฉางเกลือ จึงเรียกกันว่า พระวิหารฉางเกลือมาถึงทุกวันนี้ หอสมเด็จเป็นอาคาร๒ชั้นทรงไทยก่ออิฐถือปูนมีบันไดทางขึ้น๒ ทาง ซึ่งอยู่ด้านข้างชิดกับหอประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่มีลักษณะหอทรงเก๋งจีน ประตูหน้าต่างเขียนภาพลายรดน้ำสวยงามรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างขึ้น เพื่อบูชาสักการะและประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)พระราชกรรมวาจาจารย์ หอพระไตรปิฎก เรียกทั่วไปว่า หอไตร เป็นอาคารไม้ทรงไทย ประดับช่อฟ้าปูนปั้นรูปเจดีย์ประตูหน้าต่างและผนังด้านในเขียนภาพลายรดน้ำสวยงามสร้างในรัชกาลที่๓และบูรณะในรัชกาลที่๕ ปัจจุบันพระธรรมปริยัติโสภณ(วรวิทย์คงฺคปญฺโ )เป็นเจ้าอาวาส

236 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดสังข์กระจาย เป็นวัดโบราณ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนายสังข์ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ(ในกรมพระสุรัสวดี)ได้มีจิตศรัทธาสร้างวัดจึงได้ปรึกษากับนายพลับ เพื่อขอไม้ซุงมาสร้างวัด เมื่อได้มาก็ตั้งสัตยาธิษฐานว่า หากซุงที่ปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด ณ ที่ ใดก็สร้างวัด ณ ที่นั้น ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานซุงก็ ได้ลอยมาติดที่หน้าพระวิหารในปัจจุบัน นายสังข์และนายพลับจึงได้สร้างวัดในบริเวณนี้ การสร้างตามกำลังทรัพย์ โดยเริ่มสร้างกุฏิวิปัสสนาโดยก่ออิฐถือปูนมีประตูหน้าต่างอย่างละ๑บานภายในเป็นแท่นก่อปูนสำหรับนั่งหรือใช้เป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนาเฉพาะเพียงคนเดียวโดยใช้ซุงเป็นเครื่องบน เจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้มอบทุนให้จำนวนหนึ่งสร้างกุฏิ ๔ คณะ ด้านใต้เป็นกุฏิถือปูนทั้งหมด ปัจจุบันกลายเป็นเขตบ้านเช่า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถ โดยให้หันหน้าวัดไปทางคลองบางวัวทอง อยู่เคียงกับกุฏิของเดิม พร้อมสร้างกุฏิขึ้นใหม่บริเวณพระอุโบสถด้านใต้ เล่ากันว่าเมื่อขุดพื้นที่เพื่อสร้างพระอุโบสถ ได้ขุดพบพระกัจจายน์หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ นิ้ว ไม่มีฐานและสังข์ตัวหนึ่ง แต่สังข์ได้ชำรุด ส่วนพระกัจจายน์ได้เก็บรักษาไว้เป็นคู่พระอารามครั้นเมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงถือนิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามว่าวัดสังข์กระจาย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ โดยเจ้าจอมแว่นได้อุทิศสวนของตนซึ่งอยู่ติดกับเขตวัดให้แก่วัด

วัดสังข์กระจาย

237 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ปีพุทธศักราช ๒๓๙๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปรับปรุงปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั้งพระอารามโดยการสร้างกุฏิใหม่เรียงรายล้อมหอฉันศาลาการเปรียญหอระฆังและศาลาท่าน้ำ๕แห่งซึ่งปัจจุบันวัดได้ปรับปรุงก่อสร้างและทำการพัฒนาวัดให้เป็นไปตามแบบแปลนที่สวยงามซึ่งได้ทำสืบเนื่องมาตั้งแต่พุทธศักราช๒๔๕๒ในยุคของพระครูอริยศีลาจารย์(วรรณปณฺฑิโต)เป็นต้นมาสถานะและที่ตั้ง วัดสังข์กระจาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐๔ แขวงท่าพระเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๖ไร่๑งาน๒๐ตารางวาสิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด๕ห้องหลังคาลด๒ชั้นมุงกระเบื้องดินเผาประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ หน้าบันไม้แกะสลักปิดทองเป็นภาพเทพประทับบนดอกบัว แวดล้อมด้วยลายก้านขด ซุ้มประตู หน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้น มีพาไลหน้าหลัง มีทวยรองรับชายคารอบพระอุโบสถ ฝาผนังมีภาพจิตรกรรมทั้ง ๔ ด้านด้านหน้าเป็นพระพุทธประวัติตอนมารผจญด้านหลังเป็นตอนเปิดโลกผนังด้านข้างแบ่งเป็น๒ส่วนตอนบนเป็นภาพเทพชุมนุมตอนล่างของผนังด้านขวาเป็นภาพพระเวสสันดรชาดกด้านซ้ายเป็นภาพพระพุทธประวัติเป็นภาพฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ รอบพระอุโบสถมีซุ้มเสมาตั้งประจำทั้ง ๘ ทิศ เป็นซุ้มคูหายอดแบบหน้านางเสมาภายในเป็นเสมาคู่สลักจากหิน

238 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง๔ศอกมีพระอัครสาวกซ้ายขวา พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีกำแพงล้อมรอบ ฐานชุกชีภายในมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆรวม๒๔องค์หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระสังกัจจายน์จำลองหน้าตักกว้างประมาณ๒ศอกไว้บนแท่น

หอระฆัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะเป็นซุ้มเก๋งจีนตั้งอยู่บนฐานสูง มีบันไดทางขึ้นอยู่ภายใน สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่๓ หอพระไตรปิฎก ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ใต้ถุนสูงหลังคา ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ มีหลังคาปีกนกใต้หน้าบัน ชั้นบนมีหน้าต่างโดยรอบ

บุษบกธรรมาสน์ ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองล่องชาด มีลักษณะงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ ในศาลาการเปรียญ ปัจจุบันพระพิศาลพิพัฒนพิธาน(อรุณอริยวํโส)เป็นเจ้าอาวาส

239 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดนาคกลางเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี รัชกาลที่ ๑ โปรดให้รวมวัดนาค วัดกลาง และวัดน้อย เป็นวัดเดียวกัน แล้วพระราชทานนามว่าวัดนาคกลางและได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินในปีพุทธศักราช๒๓๓๐ รัชกาลที่๒โปรดให้สร้างพระอุโบสถ รัชกาลที่๓โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนาคกลางและได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน รัชกาลที่๔ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินปีพุทธศักราช๒๓๙๘และ๒๓๙๙ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้วัดนาคกลางจัดพระสงฆ์เข้ารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังพอถึงเทศกาลเข้าพรรษา โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ไปจุดเทียนพรรษาที่วัดนาคกลาง และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลายครั้ง รัชกาลที่๖เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน รัชกาลที่ ๗ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ โดยย้ายกุฏิจากแนวริมคลองมอญมาสร้างขึ้นใหม่เป็น๒คณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมาวัดนาคกลาง เพื่อทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(อยู่ ญาโณทยมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระเทพสิทธินายก(เหรียงอินฺทสรมหาเถร)อดีตเจ้าอาวาสเมื่อวันที่๒๙มิถุนายนพุทธศักราช๒๕๑๕

วัดนาคกลาง

240 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สถานะและที่ตั้ง วัดนาคกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๗๖๑ ถนนอรุณอมรินทร์เขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๔๗ไร่๑งาน๘๘ตารางวาสิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์เมื่อพุทธศักราช๒๕๐๔ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่

พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสมาธิ ลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง๗๑นิ้วสูง๑๐๔นิ้ว

พระวิหารสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๕เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พระพุทธรูปปางถือผลสมอ หล่อด้วยโลหะ เป็นเนื้อทองสำริด ประทับนั่งพระหัตถ์ถือผลสมอ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนอยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถลักษณะแบบเก๋งจีนหลังคามุงกระเบื้อง หอระฆังเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๒ ปัจจุบันพระครูสิริคุณสาทร(คุณากรณ์ ิตธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

241 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดเครือวัลย์ เป็นวัดโบราณ เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) ผู้เป็นบิดาของเจ้าจอมเครือวัลย์พร้อมด้วยเจ้าจอมเครือวัลย์เป็นผู้สร้างในสมัยรัชกาลที่๓แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์ แล้วพระราชทานนามว่าวัดเครือวัลย์ และเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๙๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินณวัดเครือวัลย์ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระวิหาร เสนาสนะ และสร้างกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก ต่อมาเจ้าอาวาสปกครองวัดได้พัฒนาและสร้างสะพานข้ามคลองมอญเชื่อมถนนอรุณอมรินทร์แล้วตั้งชื่อว่า สะพานธรรมสาร และได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ทั้งหลัง ติดโคมไฟรอบพระระเบียงพระอุโบสถ ซ่อมหอระฆัง ย้ายกุฏิเรือนไม้สักโบราณคณะกลาง ๒ หลัง ไปสร้างทางด้านทิศตะวันออกของวัดเพื่ออนุรักษ์ของเก่าไว้สถานะและที่ตั้ง วัดเครือวัลย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ ฝั่งใต้คลองมอญถนนอรุณอมรินทร์แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่

วัดเครือวัลย์

242 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๒ ชั้น หน้าบันปูนปั้นลายเครือเถาบานประตูและหน้าต่างพระอุโบสถมีลายปูนปั้นรูปโขดเขาป่าและสัตว์ต่างๆลงรักปิดทองประดับกระจก ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่๓เล่าเรื่องพระเจ้า๕๐๐ชาติ

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามญาติ มีลักษณะเหมือน พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่องค์พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐมสูงประมาณ๔วาฐานชุกชีทำเป็นรูปบัวหงาย

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย มีพาไลรอบ แบบสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ บานประตูและหน้าต่างมีลายปูนปั้นรูปโขดเขาป่าและสัตว์ต่างๆลงรักปิดทองประดับกระจก พระเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา มี ๓ องค์ เฉพาะพระเจดีย์องค์หน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเพื่อบรรจุพระบรมสาริกธาตุ หอระฆัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงโบราณ ปัจจุบันพระธรรมวราภรณ์ (มนตรีคณิสฺสโร)รักษาการเจ้าอาวาส

243 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดสุวรรณาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดทอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร กำแพงแก้ว เก๋ง พร้อมทั้งเสนาสนะขึ้นใหม่ทั้งพระอารามพระราชทานนามว่าวัดสุวรรณาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม และขยายพื้นที่วัดให้กว้างขึ้น โปรดให้สร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นหมู่หนึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนจำนวน๖หลังหอระฆังหอพระไตรปิฎกศาลาการเปรียญและโปรดให้จัดงานสมโภชพระอารามในปีพุทธศักราช๒๓๗๔ วัดสุวรรณาราม เดิมเคยเป็นที่ตั้งพระเมรุหลวง สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างขึ้นเป็นฌาปนสถานสำหรับปลงศพเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่จนถึงสมัยรัชกาลที่๔สถานะและที่ตั้ง วัดสุวรรณาราม พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ แขวงบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๒ไร่เศษ

วัดสุวรรณาราม

244 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังหลังคาลด๓ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันจำหลักรูปเทพพนม และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑปิดทอง บานประตู หน้าต่าง เขียนลายรดนํ้าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ จิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นภาพเทพชุมนุม ภาพเล่าเรื่องทศชาติพระพุทธประวัติตอนผจญมาร และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์เป็นต้น อันเป็นภาพที่ยกย่องกันว่างามยอดเยี่ยมของยุครัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นฝีมือของช่างที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่๓อาทิคงแป๊ะครูทอง

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๑ คืบมีพระนามว่าพระศาสดา พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทยมีมุขขวางทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด ๓ ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก หน้าบันจำหลักลายเป็นรูปเทพพนม พระประธานในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปศิลาหุ้มปูนปิดทองปางสมาธิ พระเจดีย์ มี ๓ องค์ อยู่ด้านหน้าพระวิหาร ๑ องค์เป็นเจดีย์ ๘ เหลี่ยม อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ๒ องค์เป็นพระเจดีย์ย่อมุมสิบหก ปัจจุบันสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒสุวฑฺฒโน)เป็นเจ้าอาวาส

245 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดดุสิดาราม เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดเสาประโคน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระอาราม สมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างกุฏิด้านหน้า ๑ คณะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่น ทรงบรรจุอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินี ในบริเวณกุฏิที่สร้างใหม่ และพระราชทานนามวัดว่า วัดดุสิดาราม สมัยรัชกาลที่๓ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระอุโบสถพระวิหารและกุฏิทั่วพระอารามถึงสมัยรัชกาลที่๕ได้สร้างอาคารเสนาสนะต่างๆเพิ่มขึ้นพร้อมกับได้สร้างโรงเรียนสอนหนังสือไทย๑หลัง สมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จตรวจวัดดุสิดารามวัดภุมรินราชปักษีและวัดน้อยทองอยู่ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินติดต่อกันทรงรับสั่งให้รวมวัดภุมรินราชปักษีซึ่งมีพระสงฆ์อยู่รูปเดียวเข้ากับวัดดุสิดาราม เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๘๘ วัดดุสิดารามและวัดน้อยทองอยู่ ประสบภัยทางอากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดน้อยทองอยู่ ถูกระเบิดเสียหายเหลือแต่กำแพงอุโบสถ เมื่อสงครามสงบลงแล้วทางราชการจึงได้ประกาศรวมเข้ากับวัดดุสิดารามเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๘๙สถานะและที่ตั้ง วัดดุสิดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๗๑ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าแขวงอรุณอมรินทร์เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๗ไร่๑งาน๙๕ตารางวา

วัดดุสิดาราม

246 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ลักษณะก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันตอนล่างก่ออิฐถือปูน ตอนบนจำหลักไม้เป็นลวดลายก้านขดมีเทวดาถือพระขรรค์ประทับนั่งบนแท่น ลงรักปิดทอง ประดับกระจก ประตูหน้าต่างทำซุ้มแกะลายปูนปั้นแบบหน้าบัน ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา แต่ส่วนที่ เป็นหางหงส์ดัดแปลงเป็นเศียรนาค บนบานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ

พุ่มข้าวบิณฑ์ ส่วนด้านในเขียนเป็นภาพเทพทวารบาลยืนประนมมือบนแท่นมียักษ์แบก ผนังด้านนอกเขียนสีเป็นลายดอกไม้พุ่มข้าวบิณฑ์เพดานเขียนลายดอกลอยสลับดาวสีทองบนพื้นแดง ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่๑รอบผนังทั้งสี่ด้านขอบล่างของหน้าต่างเขียนภาพต้นไม้ดอกไม้ ผนังด้านหลังพระประธานเขียนเล่าเรื่องไตรภูมิ ส่วนผนังด้านหน้าและด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน ในระดับขอบหน้าต่างล่างถึงขอบบนเขียนภาพเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ สูงขึ้นไปจรดเพดานของผนังด้านหน้าเขียนภาพมารผจญ ผนังด้านข้างที่เหลือเขียนภาพเทพชุมนุม ๓ ชั้น เหนือบานประตูและหน้าต่างทุกช่องติดกรอบเป็นภาพเรื่องสมุทรโฆษจำนวน๒๖ภาพ พระระเบียง รอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน มีพระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรก่อด้วยปูนลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในซุ้มจระนำในผนังพระระเบียงโดยรอบจำนวน๖๔องค์

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตัก๒.๑๒เมตรสูง๒เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวา พระอุโบสถเก่า เป็นพระอุโบสถเดิมของวัดภุมริน-ราชปักษี มีขนาดเล็ก หน้าบันมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ และมยุรารำแพนปิดกระจกสีสวยงาม พระวิหารเก่า เป็นพระวิหารขนาดเล็กลักษณะรูปทรงแบบเรือสำเภา หน้าบันมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังป ร ะ ดิ ษ ฐ า น พ ร ะ พุ ท ธ รู ป ยื นปางประทานพร

ปัจจุบันพระธรรมญาณมุนี (วรรณมนุญฺโ )เป็นเจ้าอาวาส

247 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดอมรินทราราม เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่า วัดบางหว้าน้อย กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขโปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม คือ สร้างพระอุโบสถ พระระเบียง วิหาร กำแพงแก้วศาลาราย หอระฆัง หอไตร หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ เสนาสนะ และ ถนนในพระอารามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอมรินทราราม และโปรดให้สร้างพระอุโบสถที่สร้างค้างอยู่ต่อไปจนสำเร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร และสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งโปรดให้สร้างกุฏิเพิ่มเติมอีกหลายห้องการปฏิสังขรณ์ ได้ทำต่อเนื่องมาทุกยุคของเจ้าอาวาสแต่ละรูป รวมทั้งพระบรมราชวงศ์ ข้าราชบริพารและราษฎรผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดอมรินทรารามมาด้วยดีจนถึงปัจจุบันนี้สถานะและที่ตั้ง วัดอมรินทราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๖๖ แขวงศิริราชเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๒ไร่๓งาน๗๒ตารางวา

วัดอมรินทราราม

248 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยจตุรมุขหลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ซึ่งออกแบบก่อสร้างโดยหลวงวิศาลศิลปกรรม สร้างเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๒ พระประธาน ในพระอุโบสถพระนามว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะแบบสุโขทัยปางมารวิชัยลงรักปิดทอง

โบสถ์น้อย เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ อยู่ใกล้กับสะพานอรุณอมรินทร์ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๔๙๒

249 พระอารามหลวง เล่ม ๑

มณฑปพระพุทธบาทจำลอง ประดับด้วยกระเบื้องและถ้วยชามเขียนสีของจีนฝีมือประณีตงดงามมาก พระองค์เจ้าหญิงจงกลพระธิดาในกรมพระราชวังหลังทรงสร้างขึ้น

พระพุทธฉายจำลอง พระองค์เจ้าหญิงกระจับ พระธิดาในกรมพระราชวังหลังทรงสร้างขึ้นเป็นภูเขามีความสูง๓วา๒ศอกกว้างโดยรอบ๑๙วา หอสวดมนต์ ใหญ่ ๗ ห้อง เดิมมีเฉลียงโดยรอบ ทรงปั้นหยา ต่อมาได้รื้อปฏิสังขรณ์ใหม่โดยเทเสาคอนกรีตและแปลงทรงปั้นหยาเป็นทรงมนิลา

ตำหนักเขียว ปัจจุบันอยู่ ในคณะ ๑ของวัด เป็นเรือนไทยหลังใหญ่ ทรวดทรงงดงามทางวัดได้ปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพดี ปัจจุบัน พระพิศาลพัฒนกิจ(ปัญญาปญฺ าธโร)เป็นเจ้าอาวาส

250 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดโบราณ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงอาราธนาพระเถระมาประชุมและชำระพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชที่วัดระฆังโฆสิตารามนี้ ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ขุดสระแล้วรื้อพระตำหนักและหอนั่งทางด้านตะวันตกของพระอุโบสถเก่า (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพระวิหาร) มาปลูกลงในสระทำหอไตรเป็นรูปเรือน ๓ หลังแฝด กลางน้ำ ระหว่างการขุดสระมีการขุดพบระฆังโบราณมีเสียงดังกังวาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้นำไปไว้ที่หอระฆังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และโปรดให้สร้างระฆังขึ้นใหม่ ๔ ลูก พร้อมกับสร้างหอระฆัง ในการนี้จึงพระราชทานนามวัดว่าวัดระฆังโฆสิตาราม สถานะและที่ตั้ง วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๐ ถนนอรุณอมรินทร์แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๑ไร่๑งาน๑๓ตารางวา

วัดระฆังโฆสิตาราม

251 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นทรงแบบรัชกาลที่ ๑หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีทวยสลักสวยงามรองรับชายคา บริ เวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ใต้จั่วหรือหน้าบันที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกระหนกปิดทอง เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๒ ช่อง เหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทอง ทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทอง มีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนบนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัย ขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือเบื้องบนเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว เขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร(ทองจารุวิจิตร) พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ๔ศอกเศษประดิษฐานบนฐานชุกชีเบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ คือ พระสารีบุตรพระอานนท์ และพระโมคคัลลานะ พระประธานนี้ได้รับการยกย่องว่างดงาม พระนามว่าพระประธานยิ้มรับฟ้า

พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า) ลักษณะก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องลดเป็นมุขด้านหน้าภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ รวมทั้งพระประธานองค์เดิมของวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์เล็ก ต่อมาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ปั้นปูนหุ้มพระพุทธรูปใหม่ใหญ่กว่าองค์เดิม

252 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี) อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ติดทวยตามเสาสวยงาม หน้าบันทั้งสองด้านจำหลักรูปฉัตร ๓ ชั้น อันเป็นเครื่องหมายพระยศสมเด็จพระสังฆราช วิหารหลังนี้เดิมหลังคาเป็นทรงปั้นหยา เรียกว่า ศาลาเปลื้องเครื่อง

ต่อมาพระราชธรรมภาณี(ละมูล) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนเป็นหลังคาทรงไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๔เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระสังฆราช (สี) ซึ่งเดิมบรรจุอยู่ในพระศรีอาริยเมตไตรย ประดิษฐานในซุ้มพระปรางค์ของวัดระฆังโฆสิตาราม ต่อมาได้ย้ายมาไว้ที่พระวิหาร ที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เพื่อยกย่องพระเกียรติของพระองค์

ตำหนักแดง เป็นเรือนไม้ฝาปกน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขทรงยกถวายวัด เพื่อปลูกเป็นกุฏิสงฆ์ ปัจจุบันอยู่ภายในบริเวณคณะ ๒ เชื่อกันว่าเป็นตำหนักสำหรับทรงกรรมฐานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สันนิษฐานจากพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ตรัสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมื่อเสด็จมาทอดพระเนตรกุฏินี้ว่ากุฏินี้แต่เดิมเป็นตำหนักของพระเจ้ากรุงธนบุรี

หอพระไตรปิฎก เดิมอยู่กลางสระที่ขุดขึ้นด้านหลังพระอุโบสถ สร้างเป็นเรือนแฝด ๓ หลังหอด้านหน้าลักษณะเป็นหอนอน หอกลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเป็นห้องรับแขก หลังคามุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะ ๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่างๆบานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำบาน

ประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกระหนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกระหนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกระหนกดอกไม้ ภายนอกติดทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ๒ตู้ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ๑ตู้หอด้านใต้๑ตู้หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาสทิศใต้ของพระอุโบสถ

253 พระอารามหลวง เล่ม ๑

หอพระไตรปิฎกหลังเล็ก อยู่ด้านหน้าตำหนักแดง ในคณะ ๒ เป็นเรือนไม้ฝาปกนปิดทอง ทาสีเขียวสด ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงามมาก ต้นโพธิ์ลังกาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับมาในรัชสมัยของพระองค์โปรดให้นำไปปลูกตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ตามประวัติกล่าวว่า ได้เสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นโพธิ์ที่วัดระฆังโฆสิตารามนี้ด้วยพระองค์เอง ปัจจุบัน พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยงอคฺคธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

254 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดพระยาทำ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัดนาค รัชกาลที่ ๒ โปรดให้เจ้าพระยารัตนาธิ เบศร์ (กุน) สมุหนายก บูรณปฏิสังขรณ์ และถวายเป็นพระอารามหลวงทรงพระราชทานนามว่าวัดพระยาทำ รัชกาลที่๓ทรงมีพระราชศรัทธาโปรดให้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมทั้งพระอาราม ต่อมา พระครูสุนทรารากษรวิจิตร์ (แจ้ง) เจ้าอาวาสได้ร่วมกับทายกและทายิกาบูรณปฏิสังขรณ์จนเสนาสนะมีความมั่นคงแข็งแรงสถานะและที่ตั้ง วัดพระยาทำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๔๗ ริมคลองมอญถนนอรุณอมรินทร์แขวงบ้านช่างหล่อเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่เศษ

วัดพระยาทำ

255 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ศิลปะสมัยอยุธยาหลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นหัวนาค ส่วนฐานโค้งอ่อนลงตรงกลางคล้ายท้องเรือสำเภาหน้าบันเป็นลายไม้แกะ รูปพระนารายณ์ทรงช้างเอราวัณ มีฉัตรทอง๕ชั้นอยู่เบื้องบน พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง๑วา๑๒นิ้วสูง๑วา๑๒นิ้วพระนามว่าพระพุทธศรีธรรมมุนีนาถหรือหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หอไตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย๒ชั้นกว้าง๘เมตรยาว๑๒เมตร พระเจดีย์คูหา มี ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งอยู่ด้านใต้พระอุโบสถเป็นพระเจดีย์มีรูปครุฑจับนาค มีคูหา ๔ ด้านมีรูปยักษ์๔ตนคนดำดินและคชสารครึ่งตัว

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ลักษณะแบบโบราณ อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ มีรูปปูนปั้นเป็นรูปครุฑยืนคร่อมทวารสี่ทิศ เหยียบหางนาค แบกมณฑป ชั้นบนมีรูปยักษ์ปูนปั้นยืนเฝ้าทั้ง๔ทิศยอดหอระฆังรูปทรงแบบยอดปราสาทประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๓ ธรรมาสน์ เป็นไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวกระหนกซ้อนลายสลักซับซ้อน ปัจจุบัน พระครูสุธีสุตกิจ(ประทุมจินฺตคุโณ)รักษาการเจ้าอาวาส

256 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดชิโนรสาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๗๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์และโปรดให้ช่างปั้นและเขียนรูปนาคไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระนามเดิมของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คือพระองค์เจ้าวาสุกรี และโปรดให้ปั้นรูปพระมหามงกุฎลงรักปิดทองไว้เหนือเรือนแก้วหลังพระประธานในพระอุโบสถสถานะและที่ตั้ง วัดชิโนรสาราม เป็นพระรามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่เลขที่ ๓ ริมคลองมอญแขวงบ้านช่างหล่อเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่๑๑ไร่๒๔ตารางวา

วัดชิโนรสาราม

257 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทย หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันปูนปั้นเป็นรูปกิ่งไม้ดอกไม้ มีเทพพนมครึ่งองค์อยู่ตรงกลางปิดทองประดับกระจกซุ้มประตูหน้าต่างปั้นเป็นกระหนกลายฝรั่ง ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานประตูหน้าต่างภายในเขียนลายฮ่อหรือลายโต๊ะจีน ภายนอกเขียนลายรดน้ำรูปนาคดั้นเมฆ บานประตูกลางด้านนอกเขียนรูปเซี่ยวกางเหยียบนาคถือพัดแฉกเพดานภายในทาสีแดงเขียนรูปนาค ลายฉลุปิดทอง จิตรกรรมฝาผนังแบ่งเป็นช่วง ๆ ช่วงด้านหน้าพระประธานระดับหน้าต่างเขียนภาพแผนที่วัดชิโนรสาราม แผนที่คลอง แม่น้ำ และแผนที่พระบรมมหาราชวังนอกนั้นเขียนภาพวัดต่าง ๆ ผนังด้านหน้าช่วงบนเขียนเป็นภาพโรงสุธรรมสภาตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุเมื่อครั้งพระเนมิราชโพธิสัตว์เสด็จขึ้นไปแสดงธรรมผนังด้านข้าง ๒ ด้าน และด้านหลังเขียนเป็นภาพเทพบุตรเทพธิดาเหาะตามกลีบเมฆ มือถือเครื่องสักการบูชาลักษณะพิเศษของศิลปะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดคือ ใช้พื้นสีดำ เช่นภาพหลังพระประธานเขียนรูปม่านทองแหวกตรงกลางมีเทพยดาเหาะในหมู่เมฆบนพื้นท้องฟ้าสีดำ ที่เสาทาพื้นสีแดง เขียนลายกรวยเชิงล่างบน กลางเสาเขียนเป็นลายกระหนกล้วนแต่เป็นรูปนาคทั้งสิ้น พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง๓ศอก๔ นิ้ว สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามว่าพระพุทธชินศรีวรมงคลมุนี มีพระอัครสาวกซ้ายขวา

258 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร ๔ ทิศ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย ทิศละ ๒ หลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ ากรมพระปรมานุ ชิ ตชิ โนรสท ร งส ร้ า ง เ มื่ อ ค รั้ ง ด ำ ร งพ ร ะอิ ส ริ ย ยศ เ ป็ นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระเจดีย์ยอดปรางค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูน ฐานย่อเหลี่ยมไม้สิบสองยอดปรางค์อยู่ภายในมุมกำแพงพระอุโบสถ พระเจดีย์องค์ใหญ่ ลักษณะก่ออิฐถือปูนฐานล่างย่อมุม ๖ เหลี่ยม กว้าง ๑๓ วาองค์พระเจดีย์ย่อมุม ๕ เหลี่ยม สูง ๑๔ วามีมารแบก๑๘ตนกรมหมื่นนุชิตชิโนรสทรงสร้าง หอระฆัง ลักษณะก่ออิฐถือปูน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น มีช่องคูหา ๔ ด้าน สูง ๔ วา ๒ ศอกกว้าง ๒ วา ๑ ศอก ฐานล่างสี่เหลี่ยม ยอดเป็นทรงตึกฝรั่ง ตั้งอยู่ ใกล้กำแพงพระอุโบสถด้านเหนือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๐๐ ปัจจุบันพระราชพัฒนโสภณ(มงคลเกสโร)เป็นเจ้าอาวาส

259 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดศรีสุดาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัดชีปะขาว ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ซึ่งเป็นพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและพระอุโบสถขึ้นใหม่พระราชทานนามวัดว่า วัดศรีสุดาราม ซึ่งตรงกับพระนามกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์วัดนี้เคยเป็นวัดที่พระสุนทรโวหาร(ภู่)เคยศึกษาในวัยเยาว์สถานะและที่ตั้ง วัดศรีสุดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยเลขที่๘๓ถนนบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๙ ไร่๑งาน๒๐ตารางวา

วัดศรีสุดาราม

260 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑ หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์มีมุขยื่นด้านหน้าและด้านหลัง เสาสี่เหลี่ยม หน้าบันจำหลักไม้ลายรูปเทพพนม มีรูปคชสีห์และรูปสิงห์ตามลายก้านขด ประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มปูนปั้นยอดเทพพนมปิดทอง ประดับกระจก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง บานประตูพระอุโบสถลายรดน้ำลงรักปิดทองรูปตราพระมหามงกุฎ

พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูป ปางปลงพระชนมายุสังขาร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก๑คืบ

261 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เดิมเป็นพระอุโบสถมีลักษณะเป็นยอดมณฑปแปดเหลี่ยม ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้รื้อแล้วสร้างขึ้นใหม่ลักษณะคล้ายพระอุโบสถ หน้าบันเป็นปูนปั้นรูปปิ่น ประดิษฐานบนพาน ๒ ชั้นล้อมรอบด้วยลายก้านขด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัยและพระพุทธรูปทรงเครื่องอยู่รวมกันหลายองค์ หอไตร ลักษณะทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องมีระเบียง๔ด้าน หอระฆังเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทย

ศาลาวรรณกรรมสุนทรภู่ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทย สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระสุนทรโวหาร(ภู่) ศ า ล า ก า ร เ ป รี ย ญเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทยสร้างสมัยอยุธยา รูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี)หน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๘ เมตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๗ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุดารักษ์ อยู่ด้านข้างพระวิหารพระศรีอาริยเมตไตย

ปัจจุบัน พระราชพิพัฒน์โกศล (โกศล มหาวีโร)เป็นเจ้าอาวาส

262 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดคฤหบดี สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๗ โดยพระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ข้าราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติ ได้ยกบ้านเดิมให้สร้างเป็นวัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงพระราชทานนามว่าวัดคฤหบดีหมายความว่าเป็นวัดของผู้มีฐานะดีและพระราชทานพระพุทธรูปเป็นพระประธานคือพระแซกคำ(บางแห่งเรียกว่าแทรกคำ) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่๕โปรดให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมสถานะและที่ตั้ง วัดคฤหบดี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๕๒ ถนนจรัญสนิทวงศ์แขวงบางยี่ขันเขตบางพลัดกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๕ไร่

วัดคฤหบดี

263 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน หลังคามุงกระเบื้องลด๒ชั้นมีระเบียงรอบพระอุโบสถเสานางเรียงที่รองรับชายคาเป็นเสาเหลี่ยมไม่มีบัวหัวเสา ระหว่างเสามีพนักกรุกระเบื้องเคลือบปรุ หน้าบันประดับถ้วยกระเบื้องเคลือบสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่และเครื่องถ้วยชามจีน กรอบประตูหน้าต่าง เป็นปูนปั้นลายเฟื่องอุบะ บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ

ลายหน้าสิงห์ก้านแย่ง ผนังด้านในเขียนลายดอกไม้แบบจีน นอกนั้นเป็นผนังฉาบปูนเกลี้ยง ผนังด้านบนระดับเหนือหน้าต่างขึ้นไปจนจรดเพดานเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์เพดานเขียนลายดอกไม้แบบจีน

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสน ขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย หล่อด้วยทองลูกบวบหน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายใน ๑๐๐ องค์ประดิษฐานอยู่ในบุษบก เดิมเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทยในอาณาจักรล้านนาพระนามว่าพระแซกคำ ในปีพุทธศักราช๒๑๐๗พระเจ้าไชยเชษฐากษัตริย์ลาวเชื้อสายไทย ทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เวียงจันทน์พร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตพระแซกคำ และพระพุทธรูปสำคัญของไทยอีกหลายองค์ ไปอยู่ที่เวียงจันทน์ เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชานำกองทัพไปปราบเวียงจันทน์ ได้ชัยชนะ ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๙จึงอัญเชิญพระแซกคำกลับประเทศไทย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็น

พระประธานของวัดคฤหบดี พระวิหาร มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับพระอุโบสถและตั้งอยู่คู่กันภายในบริเวณกำแพงแก้ว ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆหลายองค์ หอสวดมนต์ เป็นอาคารไม้ลักษณะทรงไทย หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีต๓ชั้นสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๗ ปัจจุบันพระราชรัตนเมธี (บุญลอยรตนโชโต)เป็นเจ้าอาวาส

264 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดดาวดึงษาราม เจ้าจอมแว่น พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช๒๓๕๐และนิมนต์พระอาจารย์อินมาครองวัดจึงเรียกกันว่าวัดขรัวอิน สมัยรัชกาลที่ ๒ ข้าราชการฝ่ายในชื่อ อิน ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมแว่น ได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชทานนามวัดว่าวัดดาวดึงษาสวรรค์ หมายถึงสวรรค์ชั้นที่พระอินทร์สถิต สมัยรัชกาลที่๓พระมหาเทพ(ปาน)ได้บูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุเช่นพระอุโบสถพระประธานในพระอุโบสถและกุฏิสงฆ์เป็นต้นแล้วน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่าวัดดาวดึงษาราม สมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์บ้าง ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ คุณหญิงกลาโหมราชเสนา(มิปาณิกบุตร)ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถสำเร็จสมบูรณ์สถานะและที่ตั้ง วัดดาวดึงษาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญตั้งอยู่เลขที่๘๗๒แขวงบางยี่ขันเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่๑๐ไร่

วัดดาวดึงษาราม

265 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ลักษณะก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องลด๒ชั้นประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์หน้าบันทำด้วยไม้สักจำหลักเป็นรูปดอกไม้ใหญ่ประดับกระจกปิดทอง พื้นปูหินอ่อน มีเฉลียงรอบ ภายในแบ่งเป็น ๓ ห้อง สองห้องหัวท้ายสกัดเป็นห้องแคบ ๆประตูหน้าต่างทำซุ้มประดับลายดอกไม้ปูนปั้นติดกระจกบานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำเล่าเรื่องทศชาติและพระพุทธประวัติ ประตูด้านนอกเขียนลายรดน้ำรูปท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ประตูด้านในเขียนรูปทวารบาลถือพระขรรค์ยืนแท่นมียักษ์แบกระบายสีงดงามผนังด้านหน้าของห้องแรก ระดับกรอบหน้าต่ างเขียนเล่ า เรื่ องพระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลพระไตรปิฎกที่ลังกา ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเล่าเรื่องมโหสถชาดก ผนังด้านหลังเขียนเล่าเรื่องพระเวสสันดรและผนังด้านหลังของห้องชั้นในเขียนเล่าเรื่องพระเจ้าทธิวาหนะส่วนบริเวณผนังโดยรอบระดับเหนือประตูหน้าต่างจรดเพดานเขียนเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์รูปดอกไม้ล้อมพระโพธิสัตว์

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตักกว้าง๔ศอกสูง๕ศอกลงรักปิดทองสร้างในสมัยรัชกาลที่๓ หอระฆัง ลักษณะก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ๒ ชั้น หลังคาเป็นกระโจมกลมแบบแขก หอสวดมนต์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้นสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๔ ปัจจุบัน พระกิตติสารเมธี (สุชาติ กิตฺติปญฺโ )เป็นเจ้าอาวาส

266 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดภคินีนาถ เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดบางจาก อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางจากฝั่งซ้ายเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดนอกด้วยมีวัดอื่นอยู่ถัดเข้าไปเช่นวัดทองและวัดสิงห์ สมัยรัชกาลที่๒สมเด็จเจ้าฟ้าประไพวดีกรมหลวงเทพยวดีราชธิดาองค์ที่๙ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และเปลี่ยนพระอุโบสถเดิมเป็นพระวิหาร ทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และสร้างพระระเบียงวิหารคด พระประธานในพระอุโบสถพระพุทธรูปปูนปั้นกุฏิสงฆ์และพระเจดีย์พระราชทานนามว่าวัดภคินีนาถแปลว่าวัดของพระน้องนาง รัชกาลที่๓โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์และยุบคณะกุฏิมารวมกับคณะตำหนัก รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ สร้างศาลาการเปรียญ ปูพื้นหน้าพระวิหาร ขุดสระและได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาโดยลำดับสถานะและที่ตั้ง วัดภคินีนาถ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙๕ แขวงบางยี่ขันเขตบางพลัดกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๖ไร่๓งาน๔๔ตารางวา

วัดภคินีนาถ

267 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์มี ทวยรองรั บหลั งคาปี กนกรอบพระอุ โบสถหน้าบันด้านหน้าและด้านหลังจำหลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มปูนปั้นทรงเรือนแก้ว บานประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ ผนังภายในมีภาพเครื่องบูชาแบบจีน เพดานมีรูปค้างคาวรุมล้อมลูกไม้ฉลุลายทองล่องชาด ผนังบริเวณเหนือหน้าต่างมีลาย

ดอกไม้ร่วงระบายสีศิลปะแบบจีน ระดับต่ำลงมามีลายเครื่องบูชาของจีน เช่น แจกันดอกไม้ เครื่องลายครามถ้วยชา เป็นต้น บานประตูหน้าต่างมีกรอบภาพพงศาวดารจีนติดอยู่ โดยรอบพระอุโบสถ ด้านหลังพระอุโบสถติดผนังด้านนอกมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร๔องค์แกนในเป็นหินทรายสีแดงประดิษฐานอยู่บนแท่นเดียวกัน พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง๒.๕๐เมตรสูง๓.๕๐เมตร

268 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระระเบียงล้อมพระอุโบสถมีประตู๔ด้านซุ้มประตูเป็นหลังคามุขลด ๒ ชั้น หน้าบันเป็นลายปูนปั้น เสาระเบียงทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองมีหัวเสาเป็นบัวแวงเพดานฉลุลายทองค้างคาวล้อมลูกไม้ล่องชาด ภายในก่ออิฐถือปูนยกเป็นอาสนะสูงประมาณครึ่งเมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยจำนวน๘๐องค์

พระวิหาร เป็นพระอุโบสถหลังเดิม หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีพาไลหน้าหลัง รองรับด้วยเสาสี่ เหลี่ยมประตูหน้าต่างเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมไม่มีซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางและสมัยต่าง ๆ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยพระนามว่าหลวงพ่อดำ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๐ หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยกว้าง๓.๕๐เมตรยาว๓.๕๐เมตรสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๓๕๖ กุฏิตำหนัก เป็นตำหนักเรือนไทยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีที่รื้อมาสร้างถวาย ปัจจุบันพระมงคลสิทธิญาณ (วิสิทธิ์นนฺทิโก)เป็นเจ้าอาวาส

269 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดบวรมงคล เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดลิงขบ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้มีสถานที่ประกอบกิจกุศลตามประเพณีของตนและพระราชทานนามว่าวัดบวรมงคล วัดบวรมงคลเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นวัดสำหรับพระสงฆ์รามัญนิกายปีพุทธศักราช๒๔๖๒ได้เปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุตและมีพระสงฆ์ไทยจำพรรษาสถานะและที่ตั้ง วัดบวรมงคล เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๕ แขวงบางยี่ขันเขตบางพลัดกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๙ไร่๒งาน๒๕ตารางวา

วัดบวรมงคล

270 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด ๓ ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันเป็นรูปพัดยศอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยลายเครือเถา เพดานเขียนเป็นลวดลายจีน แต่ปัจจุบันลบเลือนหมดแล้ว ผนังภายในฉาบปูน ที่มุมทั้งสี่ของพระอุโบสถมีพระเจดีย์ทิศประจำอยู่ทุกมุม

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง ๓ เมตร ๔๐ เซนติเมตรสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๗ เมตร ๔๕ เซนติเมตรปางมารวิชัยพร้อมพระอัครสาวกซ้ายขวา

top related