พระประวัติ -...

Post on 28-Dec-2019

4 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์

ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษพระนามในสูจิบัตรเมื่อแรกประสูติ คือเมย์ ตามเดือนที่ประสูติ ทรงมีพระอนุชาซึ่ ง ต่ อ ม า เ ส ว ย ร า ช ส ม บั ติ เ ป็ นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยถึง๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระประวัต ิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมา

เมื่อพ.ศ.๒๔๗๐พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๗ทรงสถาปนาเป็น

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในปี

พ.ศ.๒๕๓๘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า

โปรดกระหม่อม สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน โดยอนุโลมตามแบบอย่าง

โบราณราชประเพณี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ห ลั ง จ า กที่ พ ร ะ ธิ ด า ป ร ะ สู ติ ไ ด้ ไ ม่ น า น

สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไป

ประทับอยู่ที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของ

ประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้ประทับณประเทศอังกฤษจนพระชันษา

ประมาณ ๖ เดือน ในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ตามเสด็จ

สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี

เสด็จกลับประเทศไทย เมื่อเสด็จถึงพระนคร สมเด็จ

พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ โดยมีพระพี่เลี้ยงเนื่อง

จินตดุล พระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาล

ที่ โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้อภิบาล ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จ

พระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส

ณ ประเทศเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระราชสมภพ

ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับกรุงเทพฯ

พระองค์เดียว เพื่อร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น

สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงนำพระธิดา

และพระโอรสพระองค์แรกไปประทับ

ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก

ชองโซเลย(Champ Soleil)อยู่หลายเดือนสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส

ซึ่งต่อมาก็ทรงลืมหมด เมื่อเสด็จจากกัน

ไปแล้ว

ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรม

ราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน

(Boston ) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียน

พาร์ค (Park School) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชสมภพใน

พ.ศ.๒๔๗๑ณเมืองบอสตันนี้

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนก

ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย

อาร์วาร์ด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวกลับประเทศไทยและประทับณพระตำหนักใหญ่วังสระปทุม

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และ

ทรงศึกษาอยู่จนถึงพ.ศ.๒๔๗๖

ภายหลังจากที่สมเด็จพระบรมราชชนก

เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ

ต่อไปอีกระยะหนึ่งจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ทรงได้รับพระบรมราชานุญาต นำพระโอรส พระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ไปประทับ

ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ทรงเข้าศึกษาในซองโซเลย อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงทรงเข้าศึกษา

ในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) มีเรื่องเล่าขณะที่ทรงศึกษาที่เมียร์มองต์ว่า ครูอ่านเรื่องสั้น ๆ ให้ฟังแล้ว นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้

ครูตรวจ ในระยะแรก ๆ ทรงเขียนได้เพียง ๑ บรรทัด จากเรื่องยาวที่ครูอ่านให้ฟัง

ประมาณครึ่งหน้ากระดาษและอีกครั้งหนึ่ง ครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ)

ทรงเข้าพระทัย คิดว่า PAON (นกยูง) เพราะมีเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า“TOAN เป็นนกที่สวยงาม” หลังจากนั้นอีกประมาณ๒ปีก็ทรงเรียนร่วมกับนักเรียน

ชาวสวิสได้อย่างดีจนจบชั้นประถมศึกษา

พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ

สละราชสมบัติ และรัฐบาลได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำ

พระโอรสพระธิดาไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่าวิลลาวัฒนา(Villa Vadhana)เมืองปุยยี ใกล้กับโลซานน์ พ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีชื่อ Ecole Suprieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจากชั้น ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ทรงสามารถสอบเข้าชั้น ๕ ในระดับมัธยมศึกษานี้ได้

ทรงศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย

พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวาในลักษณะของนักเรียนประจำที่

Lnternational School of Geneva ทรงสอบชั้นสูงสุดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา

ได้ดี เยี่ยมเป็นที่ ๑ ของโรงเรียนและเป็นที่ ๓ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์

สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Diplome de Chimiste A เมื่อพ.ศ.๒๔๙๑ ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรง

เข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ Diplome de Sciences Sociales Pedagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญาและจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้วก็ยังทรงศึกษา

วรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระทัย

ความสนพระทัยในการกีฬา

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงสนพระทัยและ

ทรงเล่นกีฬาหลายประเภท อาทิ กีฬาขี่ม้าข้ามเครื่อง

กีดขวางระหว่างที่ทรงศึกษาชั้นประถมในโรงเรียน

เมียร์มองต์ อาจารย์ใหญ่มีสถานที่เลี้ยงเด็กอยู่ใกล้ภูเขา

ก็ทรงเริ่ ม เล่นสกีแต่ ไม่สม่ ำ เสมอเพราะทรงห่วง

การศึกษาจนพระชนมายุประมาณ๑๖ชันษาจึงทรงสกี

อย่างจริงจัง ส่วนแบดมินตันนั้นได้ทรงตามเสด็จสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากทรงร่วมเล่นแล้ว

ยังทรงสนับสนุนนักแบดมินตันหลายคนให้เข้าแข่งขัน

ระดับนานาชาติด้วย

ความสนพระทัยในการถ่ายภาพ

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ทรงสนพระทัยอย่างจริงจังในเรื่องการถ่ายภาพ

โดยที่ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ การใช้กล้องบันทึกภาพจึงมิใช่เพียง

เพื่อเก็บภาพไว้ดูเล่นเท่านั้น แต่จะเป็นการบันทึกภาพ

อย่างมีจุดมุ่งหมายทั้งในแง่ศิลปะและวิชาการ

ในการเสด็จเยือนโบราณสถานและสถานที่

สำคัญทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทรงบันทึก

ภาพที่สนพระทัยด้วยพระองค์เองเสมอ ภาพที่ทรง

บันทึกไว้จะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรง

จัดทำพระนิพนธ์ในภายหลัง แม้การบันทึกภาพด้วยวีดิทัศน์

ของผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ในการทำข่าวเยือนเสด็จสถานที่

ต่าง ๆ ก็จะพระราชทานคำแนะนำแก่ผู้บันทึกภาพ

เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์และมีความหมายสอดคล้องกับคำบรรยาย

�0

ความสนพระทัย ในด้านการอ่านและการเขียน

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงสนพระทัยด้านการอ่านและการเขียน มาแต่ทรงพระเยาว์เมื่อทรงศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในโรงเรียนราชินี ได้ทรงอ่านหนังสือภาษาไทยเท่าที่จะทรงหาได้แต่ในเวลานั้นหนังสือสำหรับเด็กยังมีน้อยจึงทรงอ่านหนังสือพิมพ์ ทรงจำได้ว่าทรงอ่านเรื่องสำหรับเด็กเรื่องหนึ่งซึ่งต่อมาเมื่อเสด็จไปศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ทรงได้อ่านเรื่องเดียวกันนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสคือเรื่องSANS FAMILLE ขณะทรงศึกษาในชั้นมัธยมศึกษา โดยเฉพาะที่โรงเรียนนานาชาติที่เจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงอ่านหนังสือวรรณคดีมากด้วยทรงพบว่าการอ่านมีส่วนช่วยให้ภาษาฝรั่งเศสดีขึ้น เมื่อทรงงานเป็นอาจารย์วิชาภาษาฝรั่งเศส ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาค้นคว้าด้านการสอน ได้ทรงอ่านหนังสือด้านภาษาศาสตร์

��

จำนวนมาก นอกจากนี้ยังทรงอ่านและศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี

และประวัติศาสตร์มาโดยตลอดในการเสด็จเยือนประเทศต่างๆจะทรงแสวงหาหนังสือ

และเอกสารเกี่ยวกับประเทศนั้นมาศึกษาอย่างละเอียดก่อนเสมอ

ในด้านการเขียน เมื่อพระชนมายุประมาณ ๙ ชันษา ได้ทรงริเริ่มการออก

วารสาร “รื่นรมย์” โดยชักชวนให้พระสหายในวังสระปทุมเขียนเรื่อง ทรงทำหน้าที่

บรรณาธิการ และทรงเขียนบทความลงวารสารนี้ด้วย นอกจากนี้สมเด็จพระศรีนครินทรา

บรมราชชนนีก็ได้ทรงสนับสนุนให้ทรงอ่านนิทานภาษาอังกฤษและเรียบเรียงเรื่อง

เรื่องที่ต่อมาได้จัดพิมพ์แจกในงานวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา

บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คือ เรื่อง

“นิทานสำหรับเด็ก” ความสามารถด้านการนิพนธ์เป็นที่ประจักษ์จากผลงาน

อันประกอบด้วยพระนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ๑๑ เรื่อง พระนิพนธ์แปล ๓ เรื่อง

พระนิพนธ์สารคดีเชิงท่องเที่ยว๑๐เรื่องและพระนิพนธ์บทความทางวิชาการ๑เรื่อง

��

การทรงงาน

เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จนิวัติประเทศไทย

ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่าพระธิดา

โปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรง

รับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรงวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส นิสิต

ที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ล้วนปีติยินดีในพระกรุณาธิคุณยิ่งนัก หลายคนรำลึกได้ว่าในวิชา

วรรณคดีฝรั่งเศสทรงสอนผลงานของ VICTOR HUGO นักประพันธ์เอกของโลก

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จนถึงพ.ศ.๒๕๐๑

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขอ

พระราชทานพระกรุณาเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงรับงานสอน

และบริหาร โดยทรงเป็นหัวหน้าสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสและผู้อำนวยการ

ภาษาต่างประเทศ อันประกอบด้วยภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน และรัสเซีย

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนวิชาภาษาและวรรณคดี

ฝรั่งเศสแก่นักศึกษาชั้นปีต่าง ๆ และทรงดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและ

��

ชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีภาษาและวรรณคดี

ฝรั่งเศสจนสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและ

วรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม

ใน ร ะหว่ า งที่ ท ร งปฏิ บั ติ ง าน

อาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้กราบทูลเชิญเป็นองค์บรรยายพิเศษ

ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๑๕

เนื่องจากพระภารกิจด้านอื่น ๆ

เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙

จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำ

ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ยังเสด็จ

เป็นองค์บรรยายพิเศษต่อไปอีกนอกจากนั้น

ยั งทรงรั บ เป็นองค์บรรยายพิ เศษวิ ชา

ภาษาฝรั่งเศสในคณะวิทยาศาสตร์และ

อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อีกด้วย

ต่อมาเมื่อได้ทรงทราบปัญหา

ของคณะมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เรื่อง

การขาดแคลนอาจารย์ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลและมีปัญหา

เรื่องความปลอดภัยก็ได้พระราชทานพระเมตตาเสด็จสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยประทับ

อยู่ในวิทยาเขตปัตตานีดังเช่นอาจารย์อื่นๆ

ระหว่างที่ทรงงานเป็นอาจารย์ ได้ทรงร่วมกิจกรรมทางวิชาการหลายด้าน

เช่น ทรงเป็นกรรมการสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเป็นประธาน

ออกข้อสอบภาษาฝรั่งเศสในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ

��

ด้วยพระปรีชาญาณจากประสบการณ์ที่ทรงงานสอนภาษาฝรั่งเศสมาเป็น

ระยะเวลานานจึงทรงตระหนักถึงปัญหาความต่อเนื่องในการเรียนภาษาฝรั่งเศส

ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงริ เริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศส

แห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์ การปรับปรุงวิธีการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา

ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ จากนั้น

ก็ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมฯ มาจนถึงปัจจุบัน ได้พระราชทาน

อนุเคราะห์แก่สมาคมฯ ในทุกทาง อาทิ ทรงสนับสนุนการจัดพิมพ์วารสารของสมาคม

เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ พระราชทานพระนิพนธ์บทความลงวารสาร ทรงส่งเสริม

ให้สมาชิกครูได้เข้ารับการสัมมนา ดูงานและศึกษาต่อเป็นต้น การเรียนการสอน

วิชาภาษาฝรั่งเศสและการวิจัยด้านภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยทั้งมัธยมศึกษาและ

ระดับอุดมศึกษาจึงเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ

หลังจากที่ทรงปฏิบัติงานด้านการสอนมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑

ทรงได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ

ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

��

ความรอบรู้ทางด้านวิชาการและการอุทิศพระองค์เพื่อการศึกษาของ

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นที่ประจักษ์ชัดทั้งในประเทศไทย

และต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ในหลายสาขาวิชาและทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากรัฐบาลและองค์กรต่างประเทศ

หลายแห่ง อาทิ รัฐบาลฝรั่งเศสและองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

แห่งสหประชาชาติ(UNESCO)

��

ค ว า ม ส น พ ร ะ ทั ย แ ล ะ

พระปรีชาสามารถทางด้านการศึกษา

ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวง

นราธิวาสราชนครินทร์ มิได้จำกัดอยู่

เฉพาะในแวดวงอุดมศึกษาเท่านั้น

ทรงตระหนักดีว่า การศึกษาระดับต้น

มี ค ว ามส ำคัญยิ่ ง ต่ อ ก า รพัฒน า

คุณภาพของประชากร ทั้งประเทศ

เมื่อมูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษา

แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

จัดตั้ ง โครงการสอนการอ่านแก่ เด็กเล็กในชั้นเตรียมความพร้อมทั่ วประเทศ

ก็ได้พระราชทานความช่วยเหลือ โดยทรงรับเป็นผู้ดำเนินการทดลองอุปกรณ์การเรียน

ของมูลนิธิสมาคมฯ โดยทรงนำไปทดลองใช้ในระหว่างการตามเสด็จสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จเยี่ยมและสงเคราะห์ราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร

ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทรงประเมินผลอุปกรณ์ วิเคราะห์ และแนะนำข้อแก้ไข

จนแล้วเสร็จตามโครงการ อาทิ อุปกรณ์ชุดไปโรงเรียน เสริมทักษะภาษาไทย ทรงนำ

ไปสาธิตและสอนตามโรงเรียนต่าง ๆ กว่า ๓๐ จังหวัด รับสั่งว่า เกมนี้ดี ข้อเสียมีน้อย

ถ้าไม่ดีคงไม่เสียเวลาทีละ๓ชั่วโมง

เมื่อพระภารกิจด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ จึงทรงลดงานสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ก็ยังทรงพระราชทาน

พระอนุเคราะห์แก่สถาบันการศึกษาในกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

เช่นการประชุมสัมมนาและการเสนอผลงานการวิจัย เป็นต้นความสนพระทัยที่มีต่อ

วิทยาการแขนงต่างๆมิได้ลดถอยลงแต่ประการใด

��

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงเป็นนักวิชาการและ

ทรงศึกษามาทางวิทยาศาสตร์จึงสนพระทัยโครงการจัดส่งเยาวชนไทยไปเข้าร่วมแข่งขัน

โอลิมปิกวิชาการตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๒มาจนถึงปัจจุบันการแข่งขันมีทั้งวิชาคณิตศาสตร์

ฟิสิกส์ เคมี คอมพิวเตอร์และชีววิทยา ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และ

เงินจากทุนการกุศลสมเด็จย่าเพื่อช่วยเหลือ ด้วยทรงตระหนักว่าเยาวชนมีสติปัญญา

เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ทรงติดตามความเคลื่อนไหว

ทุกขั้นตอนการแข่งขัน พระราชทานกำลังใจ และแสดงความยินดีด้วยทุกครั้งที่เยาวชนไทย

ได้รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณเยาวชนที่ไปแข่งขัน คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง

ได้รับพระกรุณาธิคุณเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ พระราชทานข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

เช่น ทรงสนับสนุนให้จัดตั้งชมรมโอลิมปิกวิชาการ และพระราชทานเงินทุนสำหรับใช้

ในกิจการของชมรมด้วย

��

สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีวิญญาณของความ

เป็นครูโดยแท้จริง นอกจากจะพระราชทานความรู้แล้วก็ยังได้ทรงอบรมมารยาทและ

ระเบียบวินัยแก่นิสิต นักศึกษา เพื่อให้เข้าสู่สังคมได้อย่างภาคภูมิ ทรงส่งเสริมและ

สนับสนุนศิษย์ให้เจริญก้าวหน้า พระราชทานความช่วยเหลือการแก้ปัญหาการศึกษา

ทั้งด้านวิชาการและทุนทรัพย์ ทั้งนี้มิได้ทรงต้องการสิ่งใดตอบแทน พระเกียรติคุณ

พระกรุณาธิคุณ และพระปรีชาญาณเป็นที่ประจักษ์แก่เหล่าครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา

โดยทั่วกัน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์ องค์นายกกิตติมศักดิ์ องค์ประธาน รองประธาน

องค์อุปถัมภ์มูลนิธิสมาคมและทุนการกุศลต่างๆดังนี้

องค์ประธานกิตติมศักดิ์

๑. มูลนิธิกองทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

๒. มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในพระบรมราชูปถัมภ์

๓. มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

องค์นายกกิตติมศักดิ์

๑. มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

๒. สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย

๓. สมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย

๔. สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่

๕. สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

องค์ประธาน

๑. มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย

๒. มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร(ชุมพล)จุฑาธุช

๓. กองทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อพัฒนาการพยาบาล

๔. มูลนิธิถันยรักษ์

��

๕. ศิริราชมูลนิธิ

๖. มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา

รองประธาน

๑. ทุนการกุศลสมเด็จย่า

องค์อุปถัมภ์

๑. มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม

๒. มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

๓. มูลนิธิช่วยการสาธารณชุมชน

๔. มูลนิธิส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและเยาวชน

๕. มูลนิธิสตรีอุดมศึกษา

๖. ราชินีมูลนิธิ

๗. กองทุนสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ในพระอุปถัมภ์สมเด็จ

พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

๘. ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๙. สมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่

๑๐. ศูนย์เด็กอ่อนก่อนวัยเรียนณศูนย์รังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑๑. กองทุน“หม่อมเจ้าฟ้า”

๑๒. โรงเรียนวรนารีเฉลิมจังหวัดสงขลา

๑๓. สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย

๑๔. มูลนิธิโลกสีเขียว

๑๕. มูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลราชานุกูล

๑๖. สมาคมศิลปศาสตร์ธรรมศาสตร์

๑๗. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา

๑๘. สมาคมนักเรียนเก่าสวิส

๑๙. โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

�0

๒๐. มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

๒๑. มูลนิธิโรงเรียนนันทบุรีวิทยาจังหวัดน่าน

๒๒. มูลนิธิกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

๒๓. มูลนิธิชีวิตพัฒนา

๒๔. สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย

๒๕. มูลนิธิกาญจนาภิเษกจังหวัดน่าน

๒๖. มหาวิทยาลัยณิวัฒนา

๒๗. มูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ

๒๘. มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน

๒๙. สโมสรโรตารีกรุงเทพ-บางลำพู

๓๐. พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีถ่ายภาพ

จากหนังสือ “เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”สำนักเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติสำนักเลขาธิการ

คณะรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา

วันที่๖พฤษภาคมพุทธศักราช๒๕๔๖

การทรงกรม

ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี

พระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ซึ่งเป็นพระโสทรเชษฐภคินีเธอ

พระองค์เดียวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์ ด้วยทรงรับราชการ

สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ

อย่างอเนกอนันต์มาโดยลำดับ ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงประชาชนชาวไทยทั่วไป

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ

เป็นการเฉลิมพระเกียรติอย่างสูง

��

การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เฉลิมพระเกียรติยศพระบรมวงศ์ผู้ทรงทำ

คุณประโยชน์ต่อแผ่นดินและต่อพระราชวงศ์ให้“ทรงกรม” เป็นธรรมเนียมราชประเพณี

ที่มีมาแต่โบราณ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จผ่าไอศูรย์

ราชสมบัติปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ได้ทรงสถาปนา

พระอิสริยยศเจ้านายในพระราชวงศ์ ทรงตั้งเป็นต่างกรมตามชั้นซึ่งบัญญัติมาแต่ครั้ง

กรุงศรีอยุธยา มีผิดกันบ้างเพียงเล็กน้อย อาทิ ได้ทรงสถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ

สองพระองค์ คือ สมเด็จกรมพระยาสุดาวดี และสมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์ ในรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์

ทรงได้รับการเฉลิมพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์

กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๘ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จ

พระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

ตามพระราชประเพณีเฉลิมพระอิสริยยศเจ้านายแต่เดิมจะต้องประกอบพิธี

๒ ครั้ง คือ พิธีอภิเษก หมายถึง พิธีรดน้ำบนศีรษะ และพิธีรับกรม หมายถึง

พิธีรับสุพรรณบัฏต่อพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสุพรรณบัฏนั้นเป็น

แผ่นทองคำจารึกพระนามเจ้านายพระองค์นั้นและมีใบกำกับพระสุพรรณบัฏเป็นอำนาจ

ในการตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีตามวังของเจ้านายที่ได้รับพระราชทาน

อิสริยยศนั้น เป็นเช่นนั้นจนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ทรงมีพระราชดำริว่าประเพณีการเสด็จฯ ไปพระราชทานพระสุพรรณบัฏถึงวังเจ้านาย

ดูกลับจะทำให้เจ้านายที่ได้กรมเดือดร้อนสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นจึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯให้แก้ไขประเพณีการตั้งกรมเจ้านายในบางอย่างคือ

��

๑. โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งกรมเนื่องในเวลามีงานมงคลราชพิธี เช่น

เฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ตั้งพระสุพรรณบัฏเจ้านายในมณฑลพระราชพิธีนั้น

ไม่ต้องมีงานสวดมนต์เลี้ยงพระที่วังอย่างแต่ก่อน

๒.ให้เจ้านายเสด็จเข้ามารับพระราชทานพระสุพรรณบัฏและให้อาลักษณ์

อ่านประกาศในท้องพระโรงและเสด็จออกเป็นการเต็มยศในงานนั้น

๓. เมื่อเสร็จการพระราชพิธีแล้วจึงให้พนักงานเชิญพระสุพรรณบัฏไป

ส่งมอบถวายที่วังในวันฤกษ์ตามที่เจ้านายพระองค์นั้นจะทรงกำหนด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกพระราชบัญญัติลักษณะ

เกณฑ์ทหารปล่อยพลเมืองจากสังกัดกรมต่าง ๆ ไปอยู่ในปกครองของเทศาภิบาล

ตามท้องที่ และให้บรรดาชายฉกรรจ์ทุกคนต้องรับราชการทหารชั่วคราวแทนขึ้นทะเบียน

เป็นเลกสังกัดอยู่ในกรมอย่างแต่ก่อน อย่างไรก็ดี การเฉลิมพระอิสริยยศเจ้านายก็มิได้

เลิกล้มไป ยังคงมีการเฉลิมพระนามและสถาปนาตามพระราชประเพณีตลอดมา

ทุกรัชกาลจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

��

ประกาศ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี

จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี

อันสนิทแต่พระองค์เดียวที่ได้ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์กันมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งเป็นผู้ที่

ทรงเคารพนับถือในฐานะที่ทรงมีอุปการคุณมาแต่หนหลัง ดังมีข้อความปรากฏอยู่ใน

ประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า นั้นแล้ว ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ก็ยังใฝ่พระหฤทัยมั่นคงอยู่ มิได้ทอดทิ้งในอุปการกิจที่มี

แก่พระองค์ โดยเจตจำนงมุ่งหมายแต่จะให้ทรงพระเกษมสุข และทรงพระเจริญยิ่งด้วย

พระราชอิสริยยศในมไหศูรยสมบัติ โดยทรงปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์ในหลายวาระ

และทรงรับเป็นธุระในการส่วนพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีให้ดำเนินลุล่วงไปด้วย

ความเรียบร้อย ทั้งได้ปฏิบัติวัฏฐากสมเด็จพระบรมราชชนนีอย่างใกล้ชิดในที่ทุกสถาน

และรักษาพยาบาลในเมื่อทรงพระประชวรโดยมิได้มีความเบื่อหน่าย ย่อหย่อน ด้วยมี

พระประสงค์จะแบ่งเบาพระราชภาระ ทำให้ทรงคลายพระราชกังวลและวางพระราชหฤทัย

ในการส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนีได้เป็นอันมาก

นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ยังมีพระหฤทัย

เปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา ปรารถนาที่จะให้ประชาชนทุกชนชั้นได้มีวิชาความรู้

มีฐานะความเป็นอยู่และมีสุขภาพอนามัยที่ดีถ้วนหน้าจึงทรงพระอุสาหะรับเป็นอาจารย์

สอนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยมิได้ทรงคิดเห็นแก่ความเหนื่อยยาก ทั้งทรง

รับเป็นธุระบริหารกองทุนการกุศลสมเด็จย่า ทรงเป็นประธานมูลนิธิโรคไตมาแต่แรกเริ่ม

และทรงรับมูลนิธิตลอดจนสมาคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสังคมสงเคราะห์

และการสาธารณสุขไว้ในพระอุปถัมภ์อีกเป็นจำนวนมาก ได้ทรงปฏิบัติบริหารกองทุน

��

มูลนิธิ ที่ทรงเป็นประธานและบริหารอยู่โดยเต็มพระสติกำลังปรีชาสามารถ และได้

พระราชทานความช่วยเหลือนานัปการแก่มูลนิธิและสมาคมที่อยู่ในพระอุปถัมภ์ ทำให้

กิจการต่าง ๆ ของกองทุน มูลนิธิ และสมาคมเหล่านั้นดำเนินก้าวหน้ามาด้วยความมั่นคง

และก่อเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวงพระเกียรติคุณด้านนี้

เป็นที่ประจักษ์เด่นชัด ด้วยเหตุนี้ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศและองค์การ

ระหว่างประเทศมากแห่งจึงได้ถวายปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ในสาขาวิชาต่าง ๆ และ

เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณ

มาบัดนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเจริญด้วย

วัสสายุกาลวัยวุฒิ กอปรด้วยพระอัธยาศัยซื่อตรง ดำรงพระองค์มั่นอยู่ในสุจริตธรรม

สัมมาจารี มีความกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างยิ่ง ทั้งทรงพระคุณแก่บ้านเมืองปรากฏอยู่

เป็นอเนกปริยาย สมควรที่จะได้สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น โดยอนุโลมตาม

แบบอย่างโบราณราชประเพณี

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามจารึก

ตามพระสุพรรณบัฏ ว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ขอจงพระเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ

สรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลอิฐศุภผลธนสารสมบูรณ์ วรเกียรติคุณอดุลยยศปรากฏ

ยั่งยืนนานเทอญ

ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐

ในรัชกาลปัจจุบัน

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒ ตอนพิเศษ ๒๔ ง วันที่ ๖ พฤษภาคม

พ.ศ. ๒๕๓๘ หน้า ๑-๓)

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ประกอบพระราชพิธีจารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน

พ.ศ.๒๕๓๘ณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเมื่อวันเสาร์ที่๖พฤษภาคม

��

พ.ศ. ๒๕๓๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีสถาปนา ณ พระบรม

มหาราชวังดังปรากฏในรายละเอียดดังนี้

วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

เวลา ๑๖.๒๙ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จ

พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ

พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปในการ

พระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์และบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ณ พระที่นั่ งอมรินทรวินิจฉัย

ในพระบรมมหาราชวัง

ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเครื่อง

นมัสการบูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงจุดเทียน

พระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์และธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปพระเคราะห์แล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนพัดที่ระลึกฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ สมเด็จ

พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ

พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ ๗๓ รูป

แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

อ่านประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และพระราชทานพระสุพรรณบัฏ ขณะนั้นพระสงฆ์๗๓ รูป

มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธาน

เจริญชัยมงคลคาถา พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคม

ฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ แล้วพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระชนมายุ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จบแล้ว

��

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอาราธนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ

พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายพระธรรมเทศนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรมสมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกถวายพระธรรมเทศนาจบ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหส้มเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมเครื่องกัณฑ์เทศน์

และไทยธรรมถวายพระสงฆ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์

ถวายอนุโมทนาถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้มี

พิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันเสาร์ที่๑๕พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๕๑

��

top related